เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ร้อยโทแม้น เหมะจุฑาผู้บังคับบัญชาทหารอาสาที่โรงเรียนการรถยนต์ตำบลลียอง ได้รับยศร้อยเอกระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในประเทศฝรั่งเศส ส่วนจะได้รางวัลอะไรเพิ่มเติมหรือมีเรื่องราวมากน้อยแค่ไหน โปรดติดตามตอนต่อไปผมเองซึ่งเป็นผู้เขียนยังไม่กล้ายืนยัน
ปี 2479 ร้อยโทแม้น เหมะจุฑาได้รับแต่งตั้งเป็นพันเอก ปีถัดไปได้รับแต่งตั้งเป็นพระสงครามภักดี และออกจากประจำการในปีถัดไปหรือปี 2481 อายุเพียง 48 ปี ฉะนั้นคนรุ่นหลังจะรู้จักท่านในชื่อพันเอกพระสงครามภักดี
ไปค้นประวัติท่านเพิ่มเติม ได้มาอีกนิดหน่อยค่ะ
พันเอกพระสงครามภักดี ( แม้น เหมะจุฑา ) เกิดที่ปากครองบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2433 เป็นบุตร นายตุย นางสมโอ ได้สมรสกับ นางสาวเลื่อน กัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ. 2463 มีบุตรและธิดารวม 5 คน คือ
1 นายแพทย์จิตต์ เหมะจุฑา
2 นายแพทย์ยุคนธ์ เหมะจุฑา
3 นางสาวมยุรี เหมะจุฑา
4 นายอัมพร เหมะจุฑา
5 นายมิลินท์ เหมะจุฑา
พันเอกพระสงครามภักดี ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2508 เวลาประมาณ 05.00 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคหัวใจวาย หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร 11 วัน อายุ 76
พระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2509
พันเอกพระสงครามภักดี ได้เข้าศึกษาวิชาที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุยังเยาว์ อาศํยอยู่กับ พันตำรวจเอก พระยาเทพผลู ( ผาด เหมะจุฑา ) ผู้เป็นพี่ ( ญาติเรียงพี่เรียงน้อง ) ครั้งแรกได้เข้าศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเคริสเตียนไฮสกูล ถนนประมวล ซึ่งเป็นโรงเรียนกรุงเทพ ฯ คริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบันนี้ ภายหลังได้ย้ายมาเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 ตั้งแต่บัดนั้นก็ดำเนินชีวิตเกี่ยวกับราชการทหารตลอดมา
พันเอกพระสงครามภักดี ได้ศึกษาวิชาอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 จนถึง พ.ศ. 2453 ( เลขประจำตัว 1554 ) แล้วได้เรียนสำเร็จออกรับราชการมีตำแหน่งและยศดังกล่าวเป็นลำดับดังต่อไปนี้
3 เมษายน 2454 เป็นนักเรียนนายร้อยสำรอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ตั้งอยู่ที่บางซื่อ
1 ตุลาคม 2454 เป็นว่าที่ร้อยตรี
11 เมษายน 2455 เป็นร้อยตรี
ตุลาคม 2456 ย้ายมาเป็นนายทหารฝึกราชการกรมเสนาธิการทหารบก
1 เมษายน 2458 เป็นร้อยโท
กันยายน 2458 เป็นสำรองราชการกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
กรกฎาคม 2459 เป็นประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
1 พฤศจิกายน 2461 เป็นผู้บังคับกองย่อยในกองใหญ่รถยนต์ไปในราชการสงครามในยุโรป และได้รับยศเป็นร้อยเอกในระหว่างนั้น
22 กันยายน 2462 เป็นประจำแผนกที่ 1 กรมยุทธศาสตร์ทหารบก
ธันวาคม 2462 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าแผนกที่ 3 กรมยุทธศาสตร์ทหารบก
1 เมษายน 2465 เป็นพันตรี
7 กรกฎาคม 2466 เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
1 พฤษภาคม 2470 เป็นปลัดกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
1 เมษายน 2471 เป็นเสนาธิการกองพลที่ 4 นครสวรรค์
1 เมษายน 2472 เป็นพันโท
สิงหาคม 2474 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายจังหวัดทหารบก
22 พฤษภาคม 2476 เป็นรองเสนาธิการทหารบกและเจ้ากรมยุทธศาสตร์ทหารบก
25 สิงหาคม 2477 เป็นรองจเรทหารบก
1 เมษายน 2479 เป็นพันเอก
1 กรกฎาคม 2481 ออกจากประจำการ
พันเอกพระสงครามภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทั้งตราและเหรียญดังต่อไปนี้
7 พฤศจิกายน 2454 เหรียญบรมราชาภิเษก
21 เมษายน 2462 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้น 4 อ.ร.
21 กันยายน 2462 เหรียญที่ระลึกในงานพระราชสงคราม
26 ตุลาคม 2466 เหรียญชัย
30 ธันวาคม 2466 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
25 กุมภาพันธ์ 2468 เหรียญบรมราชาภิเษก
6 ธันวาคม 2469 เหรียญจักรมาลา
2 ธันวาคม 2473 จตุรถาภรณ์มงกฏ
21 พฤศจิกายน 2474 เหรียญที่ระลึกในงานฉลองพระนคร
21 กันยายน 2477 เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
20 กันยายน 2480 ตติมงกฏ
ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ประเทศฝรังเศสให้ตรา ครัว เดอะ แกร์ ( Croix de Guerre )
ประเทศเบลเยี่ยม ให้ เลโอโปลด์ที่ 4 ( Leopold IV )
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
7 พฤษภาคม 2463 เป็นหลวงสงครามภักดี
13 พฤษภาคม 2470 เป็นพระสงครามภักดี
ได้รับตำแหน่งพิเศษ
12 สิงหาคม 2475 เป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางกลาโหม
9 ธันวาคม 2476 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
30 ธันวาคม 2476 เป็นกรรมการกลางกลาโหม
15 มกราคม 2476 เป็นกรรมการศาลพิเศษ พิจารณาคดีขบถ
22 พฤษภาคม 2477 เป็นตุลาการศาลทหารบกกลาง
16 พฤศจิกายน 2477 เป็นตุลาการสำรองศาลทหารกลาง
พันเอกพระสงครามภักดี ได้สมัครไปรับราชการทัพในงานพระราชสงครามในยุโรป ซึ่งเป็นมหาสงครามโลกครั้งแรก พ.ศ. 2457 - 61 ออกจากกรุงเทพฯ วันที่ 19 มิถุนายน 2461 กลับถึงกรุงเทพฯ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2462 รวมเป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน กับ 3 วัน