เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 71247 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 11:13

แต่เมื่อจะลงมือพัฒนาพื้นที่ ทางการเมียนมากลับพบว่า พื้นที่ดังกล่าวน่าจะมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จะมากหรือน้อยยังไม่รู้ แต่น่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมได้อีกมาก เพราะเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง การพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็น Historical site ย่อมทำให้เกิดมูลค่าทางการท่องเที่ยวที่สูงกว่าการทำเป็นพลาซ่าหลายสิบหลายร้อยเท่า ซึ่งถ้ามองด้วยมุมมองนี้ จะสามารถอธิบายท่าทีของทางการเมียนมาได้เป็นอย่างดีครับ เหตุใดทางโน้นถึงค่อนข้างจะเชื่อว่านี้เป็นสถูปของอดีตพระมหากษัตริย์ของไทยแน่นอน

ข้อเท็จจริงก็คือ แม่เหล็กการท่องเที่ยวสำคัญที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ก้าว คือสะพานอูเบ็ง วันๆหนึ่งมีนักท่องเที่ยวแห่แหนกันเข้ามาเที่ยวชมมากอยู่แล้ว เป็นพันเป็นหมื่น โดยไม่จำเป็นต้องหาแม่เหล็กใดมาเพิ่ม  แต่สิ่งที่ขาดอยู่ก็คือ facility กล่าวคือพวกห้องน้ำห้องท่าที่ทันสมัย ร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึกอันเป็นสิ่งที่จะทำให้นักท่องเที่ยวควักกระเป๋าออกมาส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองมากขึ้น ซึ่งในประเด็นดังกล่าว การทำพลาซ่าย่อมดีกว่า Historical site แน่นอน

แต่การที่คณะทำงานของไทยไปเปิดเจอโบราณสถานที่สำคัญเช่นนี้  ทำให้ทางการพม่าต้องเลิกล้มความคิดที่จะใช้ที่ดินนั้นทำศูนย์การค้า เพราะขัดกับกฏหมายว่าด้วยการอนุรักษ์  ถือว่าเขาเสียประโยชน์ มากกว่าได้  สถูปพระเจ้าอุทุมพร ดึงความสนใจได้เฉพาะนักท่องเที่ยวไทย ซึ่งจะพัฒนาหรือไม่พัฒนาก็มีคนดั้นด้นไปขอหวยอยู่แล้ว แต่การมีพลาซ่า เขาได้นักท่องเที่ยวชาติอื่นๆด้วยอีกเยอะมาก โดยเฉพาะทัวร์จีน

ย้ายฝั่งกลับมาที่ท่าทีของทางการไทย อย่างที่ผมได้เรียนไปแต่ต้น การขุดค้นนี้มีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้วในเชิงประวัติศาสตร์และความร่วมมือของสองชาติ แต่สำหรับประเทศไทย เรื่องนี้ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเป็นการนำเอาเงินของรัฐบาลไทยไปช่วยสร้างสถานที่ท่องเที่ยวให้กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อดูดเงินคนไทยออกนอกประเทศด้วยซ้ำ จริงอยู่ครับ ประวัติศาสตร์นั้นไม่อาจตีราคาเป็นเงินได้ แต่การทำเอาเงินงบประมาณไปลงทุนในสิ่งที่ไม่แน่ว่าจะใช่หรือเปล่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่อธิบายได้ง่ายนัก

คำนึงก็ทางการไทย สองคำก็รัฐบาลไทย กรุณาย้อนไปอ่านเรื่องนี้อีกทีเถิดครับ ว่าที่ผ่านมาถึงจุดนี้พวกนั้นทำอะไร  การที่บอกว่ารัฐบาลไทยจะไปช่วยสร้างสถานที่ท่องเที่ยวให้กับประเทศเพื่อนบ้านนั้น เป็นสิ่งที่ไปไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง รัฐบาลมีแค่งบส่งข้าราชการไปเที่ยวต่างประเทศเท่านั้น

ขอประทานโทษ กรุณาเห็นศีรษะคนทำงานจริงๆบ้างเถิดครับ  สิ่งที่ทางการหรือรัฐบาลไทยมีผลงานในเรื่องนี้ก็คือ การทรยศหักหลังพวกเขาตั้งแต่ต้นจนจบ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 11:18

ดังนั้น เมื่อเรื่องนี้มีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ ท่าทีของรัฐบาลก็คือ ไม่ปิดกั้นที่นักประวัติศาสตร์จะดำเนินการต่อไป แต่การใช้งบประมาณเพื่อสนับสนุนเรื่องนี้ ยังไม่ได้

การประกาศบ้าๆบอๆออกไปโดยไม่มีศิลปะทางการทูต แล้วบอกว่าไม่ปิดกั้นที่ฝ่ายเอกชนจะทำอะไรต่อไปนั้น  คนฉลาดเขามีวิธีพูดและกระทำดีกว่านี้แน่นอน

เช่น ไปพบกับรัฐบาลพม่า และเรียกสมาคมสถาปนิกสยามไปพบ บอกจุดยืนกับเขาให้ห้องประชุมอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าไม่มี Hard Evidence แล้ว รัฐบาลไทยคงให้การรับรองไม่ได้ว่าอัฐิที่เจอนั้น เป็นพระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร ไม่ใช่ไปพูดปาวๆฝากหนังสือพิมพ์ กล่าวโทษว่าพวกเขาไม่สุจริต ให้ลอยไปถึงหูถึงตาเขา

ถ้าพูดกันด้วยเหตุด้วยผล ใครก็ยอมรับได้ครับ แล้วจะได้ปรึกษากันต่อว่า ในเมื่อรัฐบาลทั้งสองไม่มีงบประมาณ ก็ควรจะสนับสนุนฝ่ายเอกชนให้ทำอย่างไรต่อไป
ยังไงก็ไปห้ามฝ่ายพม่าไม่ได้ว่าไม่ให้ไปทำอะไรต่อ  ก็มันประเทศของเขา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 11:21

ย้อนกลับไปที่ฝั่งเมียนมา เมื่อรัฐบาลไทยแสดงท่าทีอย่างนี้ ทางการเมียนมาเริ่มที่จะลำดับความสำคัญของพื้นที่ใหม่อีกครั้ง เพราะหากรัฐบาลไทยไม่ช่วยการันตีว่า นี่คือสถูปของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตจริงๆ คนไทยคงไม่มาเที่ยวที่นี่เยอะอย่างที่คาดการไว้ และแน่นอนว่า คนลาว คนเวียตนาม คนอินเดีย คงไม่มีใครสนใจจะมาดูสถูปของพระมหากษัตริย์ไทยแน่ ที่มั่นใจว่า Historical site จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่า Plaza นั้นก็ไม่แน่เสียแล้ว ฉะนั้น ฉันกลับไปดำเนินการตามแผนเดิมน่าจะดีกว่า

อันนี้ผมอธิบายไปบ้างแล้ว  ยังไงเขาก็กลับไปสร้างพลาซ่าไม่ได้ครับ ผิดกฏหมาย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 11:28

ผมกราบขออนุญาตบังอาจแนะนำครับ

คือถ้าหากจะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป น่าจะนำเสนอเหตุผลความจำเป็นต่อรัฐบาลในแง่มุมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์โดยแท้ มาประกอบการพิจารณาด้วย เช่น โครงการนี้ จะช่วยประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของคนไทยและของรัฐบาลไทย ในแง่ที่ว่า คนไทยมีความเคารพรักและผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแน่นแฟ้น แม้แต่พระมหากษัตริย์ในอดีตกว่าสองร้อยปีล่วงมาแล้ว คนไทยก็ถวายความเคารพต่อพระองค์ท่านโดยไม่ละเลยทอดทิ้ง

หรือการนำเสนอเป็น Package เช่น การดำเนินการในครั้งนี้ นอกจากจะมีการขุดค้นและบูรณะองค์สถูปแล้ว คณะผู้ดำเนินการยังอยากให้รัฐบาลไทยจะจัดสร้างศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย-เมียนมา ไว้ ณ บริเวณข้างสถูปด้วย สำหรับสถูปที่จะบูรณขึ้นใหม่นั้น คณะผู้ดำเนินการอยากให้รัฐบาลไทยช่วยเจรจากับทางการเมียนมาให้สามารถจัดสร้างขึ้นเป็นสถูปทรงไทยศิลปอยุธยาตอนปลายได้ แทนสถูปทรงพม่า ซึ่งนอกจากจะเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าอุทุมพรผู้ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาประการหนึ่งแล้ว การที่มีศิลปะไทยตั้งอยู่ตรงนั้น จะเป็นเครื่องประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวสนใจประเทศไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย (ทำนองว่า ไปเที่ยวพม่า แต่กลับมีศูนย์แนะนำการท่องเที่ยวไทยอยู่ตรงนั้นแบบเนียนๆ)

หรืออะไรอื่นๆในแนวนี้ เพื่อให้เห็นว่า เรื่องนี้มีความคุ้มค่าที่จะจ่ายเงินหนะครับ


ผมเชื่อว่า คณะทำงานฝ่ายเอกชนคงจะรับความเห็นของคุณไปพิจารณาทำเท่าที่ทำได้  นอกจากการบากหน้าเข้าไปขอร้องอะไรกับรัฐบาลอีก เพราะที่แล้วๆมา บากหน้าไปขอนัดพบกี่ทีๆ ก็ไม่มีใครยอมให้เข้าพบ ทำหนังสือเข้าไป ก็หายต๋อม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 13:59

ภาค ๓
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 14:02

ความเดิม หลังการไปทัวร์พม่าของอธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ซึ่งคราวนั้นได้พานายสด แดงเอียด ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและอดีตอธิบดีกรมการศาสนา ซึ่งเมื่อปี ๒๕๓๐ พระอินตาคา เจ้าอาวาสวัดข่ามีนเว เมืองสะกาย บอกนายสดว่าในวัดมีหลักศิลาจารึก บ่งบอกว่ามีเจ้านายไทยในสมณะเพศมรณภาพ มีการจัดพิธีปลงพระศพใหญ่โต  และได้นำพระบรมอัฐิมาบรรจุที่เจดีย์ของวัดข่ามีนเว ไปด้วย  อันเป็นเหตุหนึ่งที่กรมศิลปากรไม่เชื่อว่าอัฐิที่ค้นพบที่ลินซินกอง จะเป็นของพระเจ้าอุทุมพร แล้วให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ สร้างความเสื่อมเสียให้รัฐบาลพม่า จึงทำหนังสือแจ้งให้ระงับการดำเนินการโครงการเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้รับคำชี้แจงจากรัฐบาลไทย  นับตั้งแต่วันที่ ๑๐ มี.ค. ๒๕๕๗ นั้น

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ รัฐมนตรีวัฒนธรรมรัฐมัณฑะเลย์ ดร. มินท์ คิว ได้เดินทางมาที่โครงการ เพื่อตรวจดูว่าได้ทำอะไรไปถึงไหนแล้ว แต่มิได้แสดงท่าทีอะไรกับคณะทำงาน
หลังจากนั้นคณะทำงานได้รับแจ้งให้ทราบว่า ยังสามารถคงคนงานไว้รักษาสถานที่ได้ และเมืองอมระปุระจะไม่สั่งรื้อรั้วลวดหนามที่ล้อมรอบพื้นที่ ๑ เอเคอร์ที่ได้กันให้ไว้

๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗   สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมจิตพรรณ จัดแถลงข่าว ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ

๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ผู้อำนายการโครงการ ถวายรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในงานสถาปนิก '๕๗

๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ งานเสวนาอนุรักษ์ไร้พรมแดน "ตามรอยพระบาทมหาเถระพระเจ้าอุทุมพร" ภาคสอง ในงานสถาปนิก '๕๗  โดยมีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ของพม่า และอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพวงแพทย์ นักโบราณคดีของโครงการ มาร่วมชี้แจงด้วย แต่ไม่มีนักวิชาการฝ่ายราชการไทยให้ความสนใจเช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว

เมื่อทำท่าจะถึงทางตัน ซึ่งเป็นเหตุให้คนทำงานเสียกำลังใจมาก  หากว่าการกระทำนั้นมาจากฝ่ายพม่า พวกเขาจะไม่เสียใจเลย เพราะคนต่างชาติก็ต่างวัฒนธรรม เขาอาจไม่รู้จักสิ่งที่คนไทยเรียกว่ามารยาทผู้ดี จนถึงบัดนี้พวกเขายังคิดไม่ออก ว่าทำไมฝ่ายรัฐจึงได้กระทำต่อผู้ที่ฝ่ายรัฐเองมอบหมายให้ไปทำงานแทนตน  ถึงปานฉะนั้น

วัฒนธรรมของข้าราชการไทยเช่นนี้  ใครไม่โดนเข้าไปเองคงไม่รู้สึก

เมื่อบุคคลในภาครัฐไม่มีใครดูดาย เหมือนหนึ่งพวกเขาไปกระทำความผิดฉกรรจ์อะไรมาสักอย่าง ประชาชนด้วยกันจึงเข้าโอบอุ้ม ทั้งในนามของสมาคมสถาปนิกสยาม และการแสดงออกของบุคคลเป็นการส่วนตัว การยืนยันอย่างขันแข็งที่จะสนับสนุนพวกเขาต่อไปโดยไม่หวั่นไหว  ได้ทำให้คนทำงานสามารถกู้คืนกำลังใจกลับคืนมา และพร้อมที่ฟันฝ่าอุปสรรคต่อ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 14:06

สำหรับหลักฐานพยานวัตถุทางโบราณคดีที่สำคัญที่สุดได้แก่ อัฐิธาตุจำนวน ๖ ชิ้น (แต่ยังจะมีอีกมากในบาตร) และทันตธาตุหน้าส่วนบน ๑ ชิ้น และตัวบาตรกับองค์ประกอบที่ประดับกระจกฝีมือระดับเครื่องราชูปโภค หรือสมณูโภคของพระมหาเถระชั้นสูงเท่านั้น

จากหลักฐานทั้งหมด คณะนักโบราณคดีพม่าเชื่อว่า โบราณสถานสิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อสายสกุลที่สำคัญยิ่งสายสกุลหนึ่ง ที่นิยมปลงศพด้วยการเผา ซึ่งไม่ใช่สายสกุลฝ่ายพม่าแน่ เพราะพม่านิยมการฝัง ที่จะเผาก็จะมีเฉพาะพระเถระเท่านั้น ส่วนชนชาติโยเดียนิยมการเผาศพเมื่อเผาแล้วก็จะนำอัฐิเข้าบรรจุในสถูปรายล้อมสถูปของบุคคลสำคัญในสายสกุล เมื่อพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ไม่มีสายสกุลของชาวต่างชาติใดในพม่าที่จะใหญ่เท่าสายราชสกุลวงศ์ของพระเจ้าอุทุมพร ที่มีเจ้านายโยเดียได้ตามเสด็จไปด้วยนับร้อยนับพันพระองค์ ทั้งนี้ยังไม่รวมข้าราชบริพารอีกเป็นจำนวนมากอีกด้วย

อย่างไรก็ดี คณะทำงานได้ย้ำว่า ไม่มีหน้าที่ที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ข้อยุติจะต้องมาจากคณะกรรมการที่รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้น ตามโครงการที่จะบูรณาการร่วมกันระหว่างพม่ากับไทยเท่านั้น

ในเมื่อฝ่ายเอกชนไม่ได้จะเป็นจะตายในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองประเทศ  ผู้บริจาคทุนทรัพย์ก็เข้าใจอยู่แล้ว เงินทองโอนมาให้สมาคมสถาปนิกสยามเรียบร้อย สุดแล้วแต่ผู้เชี่ยวชาญของสมาคมจะตัดสินใจจะทำอะไรต่อไป  ก็เชื่อใจเต็มร้อย
นักวิชาการฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าในสมาคมจิตพรรณจึงนั่งคุยกันว่า การที่จะไปชี้แจงทุ่มเถียงในประเด็นเรื่องใช่ไม่ใช่พระบรมอัฐินั้น ก็เป็นประเด็นหนึ่ง  แต่ที่สำคัญกว่าก็คือ ในเมื่อทางการพม่าได้มอบพื้นที่ถึง ๑ เอเคอร์ให้แล้ว ถ้ามัวแต่มาติดบ่วงเรื่องที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับทิษฐิของมนุษย์  ก็จะเป็นการเปล่าประโยชน์

แต่แรกเริ่มเลยที่รัฐบาลไทยจะเข้ามาตั้งให้สมาคมสถาปนิกสยามเป็นตัวแทน  ทางคณะทำงานเคยคิดกันก็เพียงแต่ว่า  หากขุดหาหลักฐานพบสิ่งของใดในสถูปที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับมหาเถระอุดุมบารา ก็จะนำไปบรรจุในสถูปใหม่ที่จะสร้างขึ้นในวัดใกล้ๆนั้น  เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์
คุยกันใหม่ครั้งนี้  คนพม่าถามว่าคนไทยรู้จักอนุสรณ์สถานหรือเปล่า ในพม่ามีอนุสรณ์สถานของพระเจ้าบุเรงนองอยู่สี่ห้าแห่งทั่วประเทศ  ที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าเกี่ยวข้องกับพระราชประวัติใดๆของพระองค์เลย   ทำไมเราจึงจะไม่บูรณะโบราณสถานที่ค้นพบบนเนินลินซินที่ทางการของพม่ายกให้แล้วนี้   ให้เป็นอนุสรณ์สถานของมหาเถระอุดุมบารา อดีตกษัตริย์พระองค์หนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ผู้ทรงมาใช้ชีวิตในพม่าถึง ๒๙ ปี จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในฐานะพระอรหันต์ในความเชื่อถือศรัทธาของชาวพม่า

จริง…ทำไมคนไทยจะไม่รู้จักอนุสรณ์สถาน ยกตัวอย่าง ในเมืองไทยก็มีอนุสรณ์สถานของสมเด็จพระนเรศวรนับสิบแห่ง โดยไม่ได้ระบุว่า ณ จุดนั้นพระองค์ได้เคยเสด็จไปประทับพระบาทเช่นกัน

ถึงจุดนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นพ้องกันว่า จะดำเนินงานต่อไป ภายใต้ชื่อว่า “โครงการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์อุทยานประวัติศาสตร์มหาเถระอุดุมบารา” โดยฝ่ายพม่าจะเป็นผู้ดำเนินการ  ฝ่ายเอกชนไทยจะเป็นผู้สนับสนุนในด้านการแบบก่อสร้างและเงินทุน  ตามหลักการเดิมเป็นดีที่สุด แต่เมื่อไม่มีฝ่ายรัฐทั้งสองประเทศสนับสนุนแล้ว ก็จำเป็นต้องหาบุคคลที่รัฐบาลพม่าเกรงใจมาเป็นผู้นำ

คณะทำงานฝ่ายพม่าได้คนเชื้อสายโยเดียเข้ามาเป็นแนวร่วม  และมีความเห็นว่าควรอาราธนาพระสงฆ์ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของมหาชนชาวพม่าสักองค์หนึ่งมาเป็นองค์อุปถัมภ์ เพื่อที่จะยื่นขออนุญาตต่อทางราชการเมืองมัณฑะเลย์  ในการทำโครงการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์อุทยานประวัติศาสตร์มหาเถระอุดุมบาราดังกล่าวนี้ต่อไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 17:56

สี่เดือนหลังจากวันที่ถูกระงับ

๗ กรกฏาคม ๒๕๕๗ กองกิจการสังคม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ตั้งโครงการ เป็นกำลังใจให้แก่คณะทำงาน

๙ กรกฏาคม ๒๕๕๗ คณะทำงานได้เข้ากราบนมัสการหลวงพ่อษิตากู อธิการบดีมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติของพม่าที่มาสาขาทั่วโลก นิมนต์ให้ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์โครงการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์อุทยานประวัติศาสตร์มหาเถระอุดุมบารา หลวงพ่อท่านแบ่งรับแบ่งสู้ว่าควรจะอาราธนาพระสงฆ์ไทยเข้าร่วมด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 17:59

ขณะที่ความเห็นของฝ่ายเอกชนพม่ายังไม่มีความพร้อมเป็นเอกภาพดังเช่นฝ่ายไทย  โครงการจึงถูกทิ้งร้างหลังจากถูกสั่งระงับ ภาพที่ถ่ายเมื่อ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ แสดงให้เห็นถึงเห็นสภาพพื้นที่ที่กลับมารกรุงรังเช่นเคย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 18:01

๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ คณะกรรมการโครงการฝ่ายไทย พร้อมด้วยนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินทางมาเยี่ยมชมบริเวณหน้างาน และขอให้ฝ่ายพม่าช่วยว่าจ้างคนดูแลรักษาสถานที่

๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ คณะกรรมการร่วมไทยพม่า พร้อมด้วยนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าพบรัฐมนตรีวัฒนธรรม ดร. มินท์ คิว เพื่อให้ความมั่นใจว่าเอกชนไทยจะสนับสนุนทั้งความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเงินทุนที่จะทำโครงการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์อุทยานประวัติศาสตร์มหาเถระอุดุมบาราให้แล้วเสร็จ  เพื่อมอบให้เป็นของขวัญให้กับรัฐบาลและประชาชนชาวพม่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 18:13

๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ มีพระสงฆ์ผู้ใหญ่ของไทยระดับพระราชาคณะ มีความประสงค์จะไปสร้างวัดไทยในย่างกุ้ง แต่ได้รับคำแนะนำว่าควรจะมาสร้างที่อมรปุระดีกว่า โดยให้ขอพื้นที่ของสุสานลินซินกงที่ทางการไถไว้แล้ว แต่ยังไม่มีแนวคิดจะทำอะไรต่อ เพราะพื้นที่ส่วนหนึ่งได้ถูกกันเป็นเขตอนุรักษ์โบราณสถานไปแล้ว โดยจะขอสร้างวัดไทยในพื้นที่ส่วนที่เหลือ

๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ มิกกี้ ฮาร์ทได้เป็นตัวแทนของสมเด็จฯ นำหนังสือไปยื่นถึง พระมหาสังฆนายกแห่งสาธารณรัฐเมียนมาร์ เพื่อขออนุญาต

๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘ สมเด็จฯ ทำหนังสือถึง พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องที่มีความประสงค์จะสร้างวัดดังกล่าว เรื่องถูกส่งไปยังสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติๆจึงทำหนังสือถึงกระทรวงต่างประเทศให้ช่วยประสานงานต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 18:17

๙ มิถุนายน  ๒๕๕๘  ทางการเมืองมัณฑะเลย์ แจ้งว่าต้องการให้คณะทำงาน พม่า-ไทย ที่ถูกระงับการดำเนินโครงการ ให้กลับมาทำงานต่อ  คณะทำงานรวมไทย-พม่าจึงอาราธนาให้หลวงพ่อษิตากูยื่นแบบขออนุญาตในนามของท่าน

๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ เอกอัครราชทูต พิษณุ สุวรรณะชฎเข้าพบผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์เพื่อติดตามเรื่องการขอสร้างวัดไทย

๒๒ กย ๒๕๕๘ ธรรมกายจัดมหกรรมตักบาตรพระสงฆ์ ๑๐๐๐๐ รูปในมัณฑะเลย์ เหตุการณ์นี้ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่รัฐบาลพม่าเกี่ยวกับบทบาทขิงคณะสงฆ์ไทยมาก

๓๐ พ.ย. ๒๕๕๘ ผู้แทนหลวงพ่อษีตะกูนำเสนอรายละเอียดและแผนการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรัฐมัณฑะเลย์

๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ทางการเมืองมัณฑเลย์ออกใบอนุญาตให้หลวงพ่อษีตะกู ดำเนินโครงการอนุรักษ์อนุสรณ์สถาน มหาเถระอุดุมบาราได้ในเนื้อที่เท่าเดิม คือ ๑ เอเคอร์ และไม่อนุญาตให้สร้างวัดในพื้นที่ที่เหลือของลินซินกอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 18:19

๒๗ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๙ คณะทำงานฝ่ายไทยลงพื้นที่เพื่อปฎิบัติงาน

๑ เมษายน ๒๕๕๙  รัฐบาลทหารของพม่าพ้นอำนาจ รัฐบาลนางออง ซาน ซูจีเข้ารับหน้าที่ต่อ ผู้บริหารระดับท้องถิ่นล้วนเปลี่ยนแปลงหมด

๒๑ เมษายน ๒๕๕๙  ผู้รับเหมาเริ่มทำงาน

๒๒ เมษายน ๒๕๕๙  ภาพข่าวThe Global New Light of Myanmar รายงานว่าคณะกรรมการพัฒนาแห่งรัฐมัณฑะเลย์ใด้ออกเอกสารอนุญาตเป็นทางการ แก่หลวงพ่อษิตากู พระเถระผู้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพม่า ตั้งแต่ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘  เพื่อให้บูรณะต่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และ ความสัมพันธ์ ระหว่างพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์พม่า ที่มีมาแต่ในอดีตซยาวนานนับพันปี   โดยให้ใช้ชื่อโครงการว่า " Mahathera King Udumbara memorial ground project (MKUMG) " ภายในพื้นที่ 2.5 ไร่ โดยกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม๒๕๕๙


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 18:22

๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ เริ่มเกิดการเดินขบวนประท้วงเรื่องโรฮินยา และลามกลายเป็นความขัดแย้งระหว่าชาวพุทธและมุสลิมทั่วประเทศ ในอมระปุระนั้น ชาวมุสลิมได้รวมตัวกันเรียกร้องตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว เมื่อเห็นโครงการดำเนินการก่อสร้างรั้วถาวรและดำเนินการบูรณะพระสถูป จึงต้องการจะขอกันพื้นที่ในสุสานอิสลามบ้าง

จนงานแล้วเสร็จถึงขั้นที่กำหนดจะอาราธนาคณะสงฆ์พม่าและไทย  ทำประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงบริเวณคอระฆัง และพระเครื่องและพระบูชาลงในกรุกลางพระสถูปองค์ประธานซึ่งเป็นพุทธเจดีย์   แล้วจะบรรจุบาตรและพระอัฐิที่เชื่อว่าเป็นพระบรมอัฐิพระเจ้าอุทุมพร แม้ว่าจะพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์ไม่ได้  ลงยังที่เดิมที่ค้นพบ แล้วจึงจะบูรณะพระสถูปองค์นั้นต่อไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต
 
ชาวพม่ามุสลิมในพื้นที่ได้กดดันรัฐบาลรุนแรงขึ้น โดยอ้างว่าในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว  รัฐบาลได้รับคะแนนเสียงจากชาวมุสลิมมากมาย ผู้บริหารใหม่ของเมืองมัณฑเลย์เป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อยจากที่คุมขัง  ขาดประสบการณ์ในการต่อรองกับฝูงชน 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 18:25

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙  ภาพข่าวThe Global New Light of Myanmar รายงานว่าอาจจะมีการแจ้งให้ชลอการดำเนินการเป็นการชั่วคราว  โดยรัฐบาล มีแนวคิดว่า อาจจะมีการพิจารณานำเทคโลโลยีที่ทันสมัยมาใช้ โดยอาจตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย  แต่เรื่องนี้เป็นเพียงข่าวเท่านั้น 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 18 คำสั่ง