เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 2852 อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 05 พ.ย. 23, 18:36

คิดว่าในงานเลี้ยงแบบฝรั่งจะไม่มีการเลือกเมนูอาหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตะเกียบ ครับ  เพราะเป็นลักษณะของการกินอาหารแบบจานใครจานมัน ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟอาหารให้แต่ละคนหรือด้วยการตักอาหารจากจานกลางใส่จานของแต่ละคน 

อย่างไรก็ตาม ก็มีกรณีที่มีการใช้ตะเกียบ แต่ก็ควบคู่ไปกับการจัดให้มีมีดและส้อมวางใว้พร้อมให้ใช้ เช่น ในงานประเภท working lunch หรือ working dinner  ซึ่งมักจะเป็นงานที่จัดโดยเจ้าภาพที่เป็นประเทศที่ใช้ตะเกียบในการกินอาหาร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33587

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 06 พ.ย. 23, 07:08

โดนท่านอาจารย์ดุเอานิดนึง คุณ atomicno1 หายไปเลย ผมก็กำลังตามอ่านเรื่องการทูตได้ความรู้มากมายจากท่าน naitang อยู่ มีข้อสงสัยเหมือนกันเลยอดเลย   
ยุคนี้ คำว่า "เกรงใจ" กลายเป็นตัดโอกาสในการเรียนรู้ไปแล้ว ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 พ.ย. 23, 14:13

ผมยังตามเป็นนักเรียนอยู่ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 พ.ย. 23, 17:39

เพิ่งนึกออกภาพของนักเรียนนอกในสมัย พ.ศ.2500 

นึกย้อนไปในยุคประมาณ พ.ศ.2505-2510+ ได้มีการเปิดมหาวิทยาลัยใน ตจว. ในลักษณะของมหาวิทยาของภูมิภาคในหลายจังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา)  อาจารย์รุ่นแรกๆของมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษา(ม.7, ม.เจ๋ง ที่ส่อบไล่ได้คะแนนสูงระหว่างอันดับที่ 1 ถึงที่ 50  ซึ่งในช่วงระดับหนึ่งจะได้รับทุนไปศึกษาต่อใน ตปท. เข้าใจว่าพวกสายวิทยาศาสตร์ทั้งหมดจะไปเรียนต่อกันในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ใช้เวลาเรียนอยู่ประมาณ 8-10 ปี  เมื่อกลับมา ส่วนหนึ่งก็ไปเป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยที่กล่าวถึง   สำหรับกลุ่มที่ไปเรียนในยุโรปนั้น(โดยเฉพาะอังกฤษ) ผมไม่มีความรู้ใดๆที่เกี่ยวข้อง  รู้แต่เพียงว่า หลังจากประมาณ พ.ศ.2510 เป็นต้นมา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยดูจะไปเรียนต่อ ป.โท ป.เอก ในอังกฤษกันเป็นจำนวนมาก     
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 08 พ.ย. 23, 20:20

เรียนปริญญาเอกที่อเมริกาจะต้องมีสอบหลายสอบครับ อย่างสายวิทยาศาสตร์นอกจากผลภาษาอังกฤษแล้วอาจยังต้องมีคะแนนผลสอบ GMAT หรือ GRE วัดความรู้คณิตพื้นฐาน, ภาษาอังกฤษ และวิชาเฉพาะของแต่ละสาขาอีก  พอไปเรียนแล้วต้องเรียนผ่าน coursework หแล้วสอบ qualifying exam ผ่าน ถึงจะเป็น PhD candidate เต็มตัว     แต่ในสายอังกฤษถ้ามีผลภาษาอังกฤษ ได้รับการตอบรับสามารถไปแล้วเริ่มทำวิจัยได้เลย สอบก็มีแค่สอบหัวข้อ แต่ไม่ต้องสอบโน่นนี่เยอะแยะเท่าครับ คนเลยนิยมไปอังกฤษไม่น้อย

ทั้งอเมริกา อังกฤษ ก่อนจบต้องสอบป้องกันวิทยาพิพนธ์อีกทั้งคู่ แต่ก่อนหน้านั้นอังกฤษดูจะสะดวกสบายกว่าหน่อยครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 พ.ย. 23, 18:55

ผมเรียนต่อในอเมริกา จะไม่ค่อยเหมือนใครเขาหน่อยตรงที่เรียนในระบบ Quarter มิใช่ระบบ Semester    เริ่มแรกด้วยการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อปรับฐานการพูดและการเขียนให้เป็น proper English    สามเดือนผ่านไปสอบ qualify exam. แบบรุมซักโดย prof. 5 คน เพื่อดูระดับความรู้ทางวิชาการและที่เกี่ยวข้อง ว่าจำเป็นจะต้องเรียนเพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง จากเรื่องเครียดก็เปลี่ยนเป็นเรื่องคุยกัน ผลคือผ่านและได้เป็น candidate ในการศึกษาระดับ Post Grad.  ก็สามารถเริ่มทำวิทยานิพนธ์ได้เลย แต่ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาใดก็ได้ เพื่อให้ได้หน่วยกิตครบ  ทำวิจัยอยู่ไม่นานก็จะจบเอาภายใน 1 ปี  ก็เลยถูกขอให้ขยายประเด็นทำวิจัยต่อไป ทำให้ได้พบกับการใช้ความรู้และวิทยาการบางอย่างในการพิสูจน์และยืนยันเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาบางอย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีต  ตอนสอบ defend thesis ก็เลยไม่เครียด เป็นสภาพของการนั่งคุยกันเสียมากกว่า เลยจบภายใน 2 ปีเต็ม

ในช่วงการทำ Thesis ก็มีการติดต่อเข้ามา เสนอตัวรับเขียนวิทยานิพนธ์  ที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยห้องแถวและที่ว่าจบมาด้วยการซื้อปริญญานั้นมีมาตั้งแต่สมัยโน้นแล้ว  โดยระบบของการไปเรียนต่อในระดับ Post Grad. ทุกคนจะต้องเสนอวิทยานิพนธ์และผ่านการอนุมัติจึงจะจบได้   ทุกคนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (พูด เขียน) ทั้งในทางวิชาการและในชีวิตประจำวัน  การใช้ภาษาอังกฤษของคนที่ว่าจบเมืองนอกมา เลยทำให้เราพอจะใช้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องอื่นใดได้
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 พ.ย. 23, 21:11

ข้อสังเกตุของผม คนพวกที่ซื้อปริญญามา โดยเฉพาะ ป เอก มักจะชอบเติมยี่ห้อ ดร. นำหน้าชื่อแบบฟุ่มเฟือยครับ เช่นตั้งชื่อใน Facebook ก็ต้องมี ดร.นำหน้าชื่อ หรือให้สัมภาษณ์อะไร ก็ต้องใส่ยี่ห้อหน้าชื่อ เห็นได้ในนักการเมืองบางคน  ในขณะที่พวกที่จบมาแบบจบเองจริง ๆ ไม่ค่อยเห็นใครใส่ยี่ห้อ ดร. ไว้ ยกเว้นจำเป็นต้องใส่

สรุปพวกที่ชอบมีเฟอร์นิเจอร์เยอะ ๆ ประดับชื่อนี่ มักจะเก๊
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33587

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 พ.ย. 23, 19:49

ไม่ทราบว่ายุคคุณตั้งไปเรียน ต้องสอบ TOEFL หรือเปล่านะคะ ไม่เห็นเอ่ยถึง

ยุคดิฉัน ถ้านักเรียนต่างชาติไปเรียนต่อในระดับ Post Grad  คือสูงกว่าปริญญาตรี ต้องได้คะแนน TOEFL เกิน 550 ขึ้นไป มหาวิทยาลัยในอเมริกาถึงจะรับ  บางแห่งเขี้ยวกว่านี้ เรียกถึง 600  
นอกจากนี้ยังต้องสอบ GRE  เพื่อดูว่าพื้นทางภาษาและความรู้แน่นพอจะไปเรียนหลักสูตรของเขาได้ไหวหรือไม่  จำไม่ได้แล้วว่าคะแนนผ่านต้องเท่าไหร่

ระบบ quarter  ทำให้เรียนได้ปีละ 4 เทอม รวม Summer ด้วย  ทำให้จบได้เร็วกว่าระบบ Semester ซึ่งเรียนได้แค่ปีละ 2 เทอม + Summer เป็น 3 เทอม    
บางคนเรียนจบปริญญาโทภายในปีเดียว  โดยมากเป็นข้าราชการที่ได้ทุนหรือลาไปเรียน  ต้องการกลับบ้านเร็วๆ  ก็ขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาจัดวิชา  หรือเรียกว่าอัดวิชาก็คงจะได้   เพื่อให้เรียนจบได้ภายใน 1 ปี

ระบบการเรียนขั้นสูงกว่าปริญญาตรีในอเมริกา ต้องเรียนวิชาต่างๆ เรียกว่า course works  จนสะบักสะบอมพอสมควร  ถึงจะมีสิทธิ์ทำวิทยานิพนธ์   ถ้าเป็นปริญญาโทเรียกว่า Thesis   ส่วนปริญญาเอกเรียกว่า Dissertation
ขั้นตอนคือหลังจากเรียนวิชาได้ครบตามหลักสูตรแล้ว ก็ทำ หัวข้อ หรือ outline ของวิทยานิพนธ์  หัวข้อในที่นี้ไม่ได้หมายถึงหัวข้อเรื่อง   แต่หมายถึงทำ 3 บทแรกก่อน แล้วไปสอบ  กรรมการจะพิจารณาว่าหัวข้อที่นำเสนอมาโอเคไหม   ถ้าโอเคว่าใช้ได้ ก็ทำบทที่ 4 และ 5  ต่อจนจบ  
ถ้าใช้ไ่ม่ได้ ต้องไปเขียนมาใหม่ คือไปนับหนึ่งใหม่นั่นเอง   หัวข้อเก่าที่ทำมาแทบตายก็ลงถังขยะไป

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33587

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 พ.ย. 23, 19:58

ข้อสังเกตุของผม คนพวกที่ซื้อปริญญามา โดยเฉพาะ ป เอก มักจะชอบเติมยี่ห้อ ดร. นำหน้าชื่อแบบฟุ่มเฟือยครับ เช่นตั้งชื่อใน Facebook ก็ต้องมี ดร.นำหน้าชื่อ หรือให้สัมภาษณ์อะไร ก็ต้องใส่ยี่ห้อหน้าชื่อ เห็นได้ในนักการเมืองบางคน  ในขณะที่พวกที่จบมาแบบจบเองจริง ๆ ไม่ค่อยเห็นใครใส่ยี่ห้อ ดร. ไว้ ยกเว้นจำเป็นต้องใส่

สรุปพวกที่ชอบมีเฟอร์นิเจอร์เยอะ ๆ ประดับชื่อนี่ มักจะเก๊
ดิฉันเคยทำ term paper เรื่อง Degree For Sale  ในอเมริกามีปริญญาห้องแแถวเกล่ื่อนกลาดมาก  แต่โดยมากเป็นสายสังคม และสายธรรมะ คือดีกรีที่พวกศาสนาจารย์หรือนักบวชเขาเรียนกัน  สายแพทย์ไม่เคยเห็นค่ะ
ในยุคนั้นชาวบ้านอเมริกันส่วนใหญ่นึกว่าคำนำหน้า Dr. ของบุคคล หมายถึงแพทย์อย่างเดียว  อาจารย์ฝรั่งของดิฉันเล่าว่าเคยขึ้นเครื่องบินไปประชุมอะไรสักอย่าง    ใส่คำว่า Dr. นำหน้าชื่อ  บังเอิญได้นั่งติดกับคุณยายอเมริกันคนหนึ่ง   แกก็คุยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บให้ฟังแล้วถามอาจารย์ทำนองปรึกษา   อาจารย์ตอบว่า "ผมไม่ได้เป็นหมอครับ"
คุณยายย้อนถามว่า " Dr. ที่ไม่ใช่หมอ  มีด้วยหรือ?"
นี่คงเป็นสาเหตุหนึ่ง ทำให้ฝรั่งที่จบ Ph.D  เขินๆไม่ค่อยกล้าใส่คำนำหน้าอื่นนอกจาก Mr. ก็เป็นได้
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33587

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 พ.ย. 23, 11:42

   ข้อมูลที่ดิฉันให้ไป เป็นการไปอเมริกายุค 70s แต่นึกขึ้นได้ว่า เพื่อนที่เรียนจบมัธยมต้นแล้วไปเรียนต่อ ที่อังกฤษกับอเมริกาก่อนหน้านั้น  คือในยุค 60s เล่าว่า ทั้งๆไปทุนส่วนตัว แต่กพ. ก็ต้องเรียกให้ไปรับการอบรมก่อนออกเดินทางด้วย  คือไปอบรมมารยาทตะวันตก เช่นมารยาทบนโต๊ะอาหาร วิธีการกินที่ไม่เหมือนคนไทย   
   คนอังกฤษกับอเมริกันใช้มีดกับส้อม ไม่ใช้ช้อน  ช้อนมีไว้สำหรับซุป เป็นช้อนกลมๆเรียกว่าช้อนซุป  กับอีกอย่างคือช้อนเล็กสำหรับของหวาน  แต่วิธีกินไม่เหมือนกัน
   คนอังกฤษจับส้อมในมือซ้าย มีดในมือขวา  หั่นเนื้อหรือผักในจานเป็นช้ิ้นก่อน ด้วยการใช้มีดในมือขวาหั่น แล้วเอาส้อมในมือซ้ายตรึงเนื้อหรือผักไว้ให้อยู่กับที่  พอหั่นเป็นช้ิ้นเล็กออกมาจากชิ้นใหญ่ได้ก็ใช้ส้อมในมือซ้ายจิ้มอาหารส่งเข้าปาก โดยคว่ำส้อม  กินไปหั่นไป
   ส่วนคนอเมริกัน ตอนแรกจับส้อมกับมีดแบบเดียวกับอังกฤษ   แต่พอหั่นเนื้อหรือผักเสร็จก็จะเปลี่ยนมือ ย้ายส้อมจากมือซ้ายมาไว้ในมือขวา แล้วจิ้มอาหารเข้าปากด้วยมือขวา   หั่นหลายๆชิ้นก่อน ไม่งั้นถ้ากินไปหั่นไป เปลี่ยนมือไปด้วย   จะชุลมุน
   เวลากินอาหารเส้น เช่นสปาเกตตี้  ใช้ส้อมหมุนพันอาหารเป็นก้อน แล้วส่งเข้าปาก   ไม่หั่นสปาเกตตี้เป็นท่อนๆ
   ส่วนการกินซุป (เดี๋ยวนี้อาจจะเลิกแบบนี้แล้ว) คือจิบซุปจากด้านข้างช้อน   ไม่ใช่เอาช้อนใส่ปากอย่างเวลาเรากินแกงจืด    ถ้าซุปใกล้หมดถ้วย แล้วจะกินให้หมดถ้วย   ให้ตะแคงถ้วยซุปออกจากตัว ไม่ตะแคงเข้าตัว ตักกินซุปที่เหลือให้หมด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 พ.ย. 23, 19:21

ตอนที่ผมไปเรียนนั้น มีแต่การใช้ผลการสอบ TOEFL และผลการศึกษาในระดับ ป.ตรี  ส่งไปพร้อมกับใบสมัครเข้าเรียน และพร้อมกับหนังสือรับรองภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างการเล่าเรียน หากมหาวิทยาลัยรับเข้าเป็นนักศึกษา ก็จะส่งหนังสือตอบรับมาพร้อมกับเอกสารที่เรียกว่า I-20 เพื่อเอาไปยื่นขอวีซ่า(นักเรียน)เข้าสหรัฐฯ  วีซ่าประเภท I-20 จะมีอายุ 1 ปี จึงต้องส่งพาสปอร์ตไปประทับตราต่ออายุพร้อมกับหนังสือรับรองของมหาวิทยาลัยทุกๆปี

เมื่อไปถึงและเริ่มเปิดเรียน นักศึกษาใหม่ที่เป็นต่างชาติทั้งหมดจะถูกทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแบบ proper English ซึ่งเกือบทั้งหมดจะทดสอบไม่ผ่าน  จะต้องเข้าชั้นเรียนอังกฤษฉบับเร่งรัด สามเดือนทดสอบใหม่ครั้งหนึ่ง หากทดสอบผ่านถึงจะถูกส่วตัวไปยังภาควิชาที่ตอบรับให้เราเข้าศึกษาต่อ เพื่อจะได้เริ่มเรียน course works  ก็จะเป็นการพบกับด่านที่สองที่ทำการทดสอบโดยคณาจารย์ของภาควิชาที่รับเรา ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ทางวิชาการ หากความรู้ในมุมใดของ ป.ตรี ตั้งแต่ ระดับ 101 ไปจนจบไม่เข้าขั้น ก็จะถูกกำหนดให้เรียนซ้ำเป็นรายวิชาไป เมื่อผ่านทั้งหมดแล้วจึงจะได้เป็น candidate ในการศึกษาระดับ Post Grad  ก็มีนักศึกษาเป็นจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียเวลาเรียนซ้ำในลักษณะนี้ บางคนเสียเวลาทั้งปีเลยทีเดียว ที่เห็นว่าใช้เวลาในการไปเรียนกันนานปี ส่วนหนึ่งก็มาจากเหตุนี้ เพราะต้องรอเวลาที่จะมีการเปิดสอนในวิชานั้นๆ เวลาว่างมาก..ก็เลยหาความสุขใส่ตัวมากขึ้น บ้างก็ทำงาน บ้างก็เที่ยวเตร่ .... คุ้นเคยชีวิตชิลๆมากเข้าก็เลยเอาไปเป็นวิถีในการเรียน  ยิ้มกว้างๆ

แต่แรกก็ไม่เข้าใจหรอกครับว่า เราก็สอบ TOEFL ผ่านแล้ว ไฉนจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษฉบับเร่งรัดใหม่ มาถึงบางอ้อก็เมื่อตอนทดสอบผ่านมาแล้ว ว่าภาษาอังกฤษของเราที่ว่าพอได้นั้นแท้จริงแล้วมันก็เป็นเพียงภาษาที่ใช้กันในหมู่คนทำงานทั่วๆไป เป็นภาษาพูด(colloquial)  แต่ในทางวิชาการและในเอกสารที่เป็นทางการนั้น จะต้องสื่อความที่ถูกต้องและชัดเจนผ่านรูปแบบประโยคที่ใช้ การใช้คำศัพท์ การเรียงถ้อยความ และ grammar ต่างๆ  สุดท้ายก็คือใช้ประโชน์ในการเขียน Thesis ซึ่งต้องเป๊ะทั้งข้อมูล เรื่องราว และความถูกต้องในด้านของภาษา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 11 พ.ย. 23, 20:15

เรื่องของคำนำหน้าว่า Dr. ที่ อ.เทาชมพู บอกเล่ามานั้นเป็นเรื่องจริง  นามบัตรที่เคยเห็นในสมัยนั้น มีแต่ชื่อ นามสกุล แล้วต่อท้ายด้วย PhD. ในระดับ ศ. ก็ใช้เพียง Prof. นำหน้าชื่อ และตามท้ายด้วย PhD.

สำหรับหมอ ก็จะใช้คำว่า Dr. นำหน้าชื่อแล้วต่อท้ายด้วย MD.

ที่จริงแล้วยังมีระดับ ป.เอก ในบางสายวิชาและสายอาชีพ ใช้คำแสดงวุฒิต่อท้ายที่ต่างออกไป เช่น DEng  PDEng  DSc  แต่จำไม่ได้ว่าเคยเห็นเขาใช้คำว่า Dr. นำหน้าชื่อหรือไม่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 พ.ย. 23, 18:55

เมื่อครั้งที่ยังทำงานอยู่ เคยคุยกับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ และคนที่จบการศึกษาในระดับ ป.เอก ที่เป็นคนยุโรปในแผ่นดินใหญ่ สแกนดิเนเวียน และในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์  ได้รับความรู้ในเรื่องของระบบการศึกษาในระดับ Post Grad.ในยุโรปพอสมควร  เมื่อไปประจำการในพื้นที่ด้านยุโรปตะวันตก ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกพอประมาณ รวมทั้งของยุโรปตะวันออกที่มีพื้นที่ติดต่อกัน   แน่นอนว่าระบบการศึกษาก็ย่อมจะต้องมีความแตกต่างกัน  ที่มีความเหมือนกันก็คือ ทุกระบบจะต้องมีการเรียน Course works ในระดับหนึ่งตามเส้นทางสู่เป้าหมายของการศึกษาสูงสุด บ้างก็แล้วแต่นักศึกษาจะเลือก บ้างก็เป็นวิชากำหนดหรือบังคับ   

เมื่อตั้งใจจะเรียนในระดับ Post Grad. โดยนัยของระบบการศึกษาของเขา (ยุโรป)  ก็หมายความว่าบุคคลนั้นๆมีเป้าของการศึกษาไปอยู่ที่ระดับ ป.เอก   สำหรับคนที่ไปไม่ไหว คนที่ตกหล่นอยู่กลางทาง เมื่อคณาจารย์เห็นว่ามีความรู้เพิ่มเติมมากพอในระดับหนึ่ง ก็จะได้รับประกาศนียบัตรยืนยันวุฒิความรู้นั้นๆ (Diploma) ซึ่งเทียบเคียงได้กับระดับ ป.โท ที่เราคุ้นกัน   ก็จึงอาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นชื่อวุฒิแปลกๆ ซึ่งก็บ้างก็จะเป็นวุฒิบนพื้นฐานทางวิชาการ  บ้างก็จะเป็นวุฒิบนพื้นฐานทางวิทยาการ บ้างก็จะเป็นวุฒิบนพื้นฐานเฉพาะสาขาวิชาการ   

แต่ก่อนนั้น ดูคล้ายกับว่าในระบบการเรียน Post Grad. ของยุโรปนั้น จะไม่มีระบบ/ระดับที่เรียกว่าเป็นการเรียน ป.โท   เท่าที่ได้ยินได้ฟังมา ระบบการเรียน ป.โท ในยุโรปนั้นมีพื้นฐานเริ่มต้นจากกรณีที่นักศึกษาที่ได้รับทุนไปเรียนต่อในหลายประเทศในยุโรประยะเวลาประมาณ 2 ปีแล้วได้รับ Diploma   เมื่อกลับประเทศตน ได้รับการประเมินวุฒิต่ำกว่าพวกที่ได้วุฒิ ป.โท  ก็เลยมีการเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนให้เป็น วุฒิ ป.โท เหมือนๆกัน   

ก็เป็นภาพที่ผมเห็น ที่ได้ประมวลมาจากข้อมูลที่พอมี     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 13 พ.ย. 23, 19:24

ผมไปเรียนในช่วงปี 1970+ ในมหาวิทยาลัยในพื้นที่เทือกเขา Appalachian บริเวณรอยต่อพื้นที่ระหว่างรัฐฝ่ายเหนือกับรัฐฝ่ายใต้ ได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งตกค้างทางสังคมของอเมริกันจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในอดีต พร้อมไปกับสังคมที่กำลังพลวัติจากเหตุการณ์น่าสลดใจภายในประเทศที่ผ่านมาไม่กี่ปี และพร้อมๆไปกับสังคมที่กำลังปรับตัวกับการรองรับผู้อพยพกรณีสงครามเวียดนามยุติลง

จะไม่ขยายความละเอียดลงไป เพียงแต่เป็นการนำเรื่องเข้ามาสู่ความเห็นโดยสรุปทั่วๆไปว่า ในเรื่องในเชิงของ Racism นั้น มีภาพปรากฏให้เห็นน้อย มีแต่ในเรื่องในเชิงของ Apartheid ที่ยังเห็นได้ค่อนข้างจะเป็นปกติ     สำหรับคนผิวสีอื่นใด(เอเซีย)นั้น ดูจะมีแต่เรื่องในเชิงของ Prejudice   สมัยนั้น ชาวอเมริกันที่อยู่ในพื้นที่ชนบทนอกเมืองเกือบจะไม่รู้จักประเทศไทยและคนไทยเอาเลย

เมื่อภาพในช่วงทศวรรษ พ.ศ.2520+/- เป็นเช่นนี้  ก็คงพอจะนึกภาพย้อนยุคของสังคมอเมริกันในช่วง พ.ศ.2500 ก่อนเหตุการณ์ที่ได้เล่าความว่า น่าจะเป็นเช่นใดได้บ้าง   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33587

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 13 พ.ย. 23, 20:24

   ดิฉันไปเรียนช่วงเดียวกับคุณตั้ง ในรัฐไกลปืนเที่ยง ที่ชาวบ้านฝรั่งไม่รู้ว่าไทยแลนด์คืออะไรที่ไหน   หลายครั้งพอบอกว่ามาจากไทยแลนด์  เขาก็ร้องอ๋ออย่างเข้าใจว่า "Oh! Taiwan"
   Racism หรือการแบ่งแยกผิวมีน้อย  ที่มีน้อยเพราะรัฐนี้(เกือบ)ไม่มีคนผิวดำ  เป็นรัฐคนผิวขาวที่อพยพจากทางตะวันออกมาตั้งหลักแหล่งเมื่อปลายศตวรรษที่ 19   คนต่างถิ่นสำหรับพวกเขาคือพวกอเมริกาใต้ เช่นเมกซิกัน ที่อพยพมาเป็นแรงงานในฟาร์ม  รั
    รัฐนี้หนักไปทางเกษตรกรรม  ไม่มีอุตสาหกรรม   เลยมีอาหารการกินสมบูรณ์มาก  มีเนื้อวัว   ไก่ นม เนย ผัก สรุปว่าผลผลิตจากฟาร์มมีให้กินไม่อั้นด้วยราคาถูก   ส่วนหมูหาซื้อได้ในซูเปอร์ แต่คนอเมริกันไม่นิยมเท่าเนื้อวัว
   เมืองที่ดิฉันอยู่ไม่มีคนผิวดำเลยนอกจากนักศึกษาจากรัฐอื่น มาเรียนกันไม่กี่คน     สำหรับฝรั่งแก่ๆในเมือง  ยังคงมีกลิ่นอายของการเหยียดผิวอยู่มาก  ตกทอดมาตั้งแต่ยุคหลังสงคราม   เช่นบางคนไม่ยอมให้คนผิวดำมาเช่าอะพาร์ตเมนต์ของตัวเอง  หรือเรียกพวกเขาว่า Negro ตรงๆ   คำนี้ถือเป็นคำเหยียดหยามรุนแรง  เดี๋ยวนี้ไม่ใช้กันแล้ว
    ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รังเกียจนักศึกษาเอเชียอย่างเราๆ แต่ส่วนน้อยเช่นคนแก่(อีกนั่นแหละ)ค่อนข้างดูถูก   (พวกผิวขาวยุคเก่ามักมีนิสัยรังเกียจคนผิวสีอื่นๆค่อนข้างมาก)  สาเหตุหนึ่งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รังเกียจเพราะเขารู้ว่าเรามาชั่วคราว เรียนจบแล้วก็กลับบ้าน   ระหว่างเรียนก็เอาเงินมาเพิ่มเติมรายได้ให้เมืองเขาโดยตลอด
  แต่ถ้าเรียนจบแล้วอยู่ทำงานต่อละก็  ทัศนะเขาจะเปลี่ยนไปทันที  คือปฏิบัติต่อเราอย่างพลเมืองชั้นสอง   ต่อให้เก่งแสนเก่งก็อย่าหวังว่าจะได้ตำแหน่งการงานก้าวหน้าล้ำพวกผิวขาวได้    การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง  ผิวขาวจะชิงชัย  ผิวเหลืองจะเป็นรอง
   อคติแบบนี้สมัยนั้นเรียกว่า Discrimination  ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย  แต่ในยุคนั้น ยังไม่มีการจัดการให้เด็ดขาดเหมือนยุคนี้  ยังคงกล้อมแกล้มกล้ำกลืนกันไปได้   ปัญญาชนไทยจำนวนมากที่โยกย้ายจากไทยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอเมริกาจะรู้เรื่องนี้ดี    หลายคนจึงเลือกกลับมาอยู่บ้านเดิมเมื่อเกษียณแล้ว  หอบเงินเกษียณมาใช้ในไทยสบายกว่าหลายเท่า
   คนไทยหลายคนโดยเฉพาะคนรุ่นลูกหลานไม่รู้ว่า  Racism เป็นเรื่องเจ็บปวดขนาดไหน  เพราะเป็นคนไทยเจ้าของประเทศ ไม่เคยเจอคำนี้     ไปอยู่ต่างแดนแล้วจะรู้สึก    
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง