เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 2730 อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 15:14

 
อ้างถึง
หนูอยากเขียนนิยายแนวนี้เพราะว่าชอบนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในช่วงยุคสมัยนี้มากเลยค่ะ
    ขอถามหน่อยค่ะ ช่วยยกนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในยุค 2510-20 ที่หนูอ่านและชอบมาให้เห็นหน่อยได้ไหม
เป็นนิยายพาฝันอย่าง จำเลยรัก หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต  เผื่อจะเข้าใจคำถามมากขึ้น
     ส่วนตัวเองก็คงไม่เขียนถึงสังคมต่างถิ่นที่ตัวเองไม่มีประสบการณ์   ในยุคสมัยที่นึกภาพไม่ออก   ในอาชีพต่างๆเช่นเจ้าหน้าที่สถานทูต ที่ไม่เคยพบเห็น    มันยากมากที่จะเริ่ม   และจะยากขึ้นเรื่อยๆขณะเขียน
    แต่ก็อวยพรให้หนูฝ่าฟันไปได้จนจบก็แล้วกัน  
    ขอท่านอื่นๆเข้ามาแนะนำด้วยนะคะ  

ก่อนอื่นหนูขอโทษค่ะที่มาตอบช้า มาเห็นกระทู้อีกทีมีหลายท่านมาตอบเยอะมากเลย ขอบพระคุณทุกๆ ท่านเป็นอย่างสูงค่ะ

นิยายที่ชอบ พอหนูกลับไปค้นดูว่าพิมพ์ครั้งแรกเมื่อไหร่ ส่วนใหญ่ถอยหลังไปอยู่ที่ประมาณ 2490 กว่าๆ จนประมาณไม่เกิน 2510 ซะเป็นส่วนมากเลยค่ะ

ถ้าพาฝัน หนูชอบตั้งแต่คู่กรรม เซ็ตปริศนาทั้งเซ็ตเลย ปราสาทมืด มาลัยสามชาย ละอองดาว อันนี้คือเท่าที่คิดออกว่ามีการดำเนินเรื่องอยู่ในยุคสมัยนี้หรือตีพิมพ์ในช่วงนี้ค่ะ
ถ้าเป็นเพื่อชีวิต หนูไม่แน่ใจว่าชอบเรื่องอะไรบ้าง แต่น่าจะมีตึกกรอสส์ เรื่องของน้ำพุ บ้านน้อยในโพรงไม้ (ไม่แน่ใจนะคะว่าเป็นวรรณกรรมเพื่อชีวิตหรือออกแนวเป็นวรรณกรรมเยาวชน) ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง

โดยส่วนตัวแล้วหนูเป็นคนชอบอ่านนิยายสืบสวนสอบสวนหรือแนวเรื่องสั้นหักมุม แต่เวลาเขียนนิยายชอบเขียนนิยายรักค่ะ
ที่หนูอยากลองเขียนดู อาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อก่อนตอนเด็กๆ ได้อ่านนิยายที่คุณแม่เก็บไว้ อ่านนิยายรักหรือแนวพาฝันเรื่องแรกในชีวิตก็คือในฝันกับรัตนาวดีค่ะ พอโตมาอีกหน่อยก็เห็นละครที่แต่งตัวน่ารักดีค่ะ เลยอยากลองเขียนดู เห็นนักเขียนคนอื่นๆ เขาเขียนแนวนี้กันเยอะพอสมควรด้วย แต่หาข้อมูลค่อนข้างมหาศาลเลยค่ะ  ร้องไห้ แต่ก็ยังอยากลองเขียนดูสักตั้งค่ะ

อีกแรงบันดาลใจหนึ่งที่อยากเขียนเพราะว่าหนูมีอาจารย์ที่ท่านเคยใช้ชีวิตอยู่ในยุคสมัยนั้นนั่นแหละค่ะ แล้วพอได้เรียนกับท่าน รู้สึกสนุกมากเวลาท่านเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ฟัง รู้สึกว่าท่านเป็นผู้หญิงที่เท่มาก หนูเลยอยากลองเขียนนิยายที่นางเอกเป็นคนที่มีบุคลิกแบบนั้นบ้างค่ะ

บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 15:18

นร ทุนที่ไปเรียนอังกฤษก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะต้องไปทำที่สถานทูตครับ  ยกเว้นไปทำ passport ใหม่  ส่วนในอดืตห้าสิบปีก่อน เวลาสถานทูตมีงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ ก็คงไม่เชิญ นร ทุนเช่นกัน อาจจะยกเว้น นร ทุนที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์แต่ผมก็ไม่แน่ใจครับ   

อาจจะต้องปรับพล็อตใหม่ดูครับ หรืออิงจากเรื่องจริงที่มีสุภาพสตรีหลายท่านในวงสังคมไทยในอดีตที่เคยเป็นลูกทูตอะไรแบบนี้

ยากเหมือนกันนะคะ สถานการณ์ที่จะไปเจอกันได้ ทำไมในนิยายที่หนูอ่าน (แต่เป็นนิยายที่เขียนโดยนักเขียนยุคหลังๆ ที่เขียนถึงยุคนั้น) ค่อนข้างเจอกันง่ายจัง 555
หนูอาจจะต้องปรับพล็อตหรืออาจจะต้องปรับสถานการณ์บางอย่างจริงๆ นั่นแหละค่ะ
ขออนุญาตสอบถามอีกหน่อยค่ะ แล้วถ้าเกิดนักเรียนทุน สมมุติเป็นนักเรียนทุนหลวงก็ได้ค่ะ เกิดประสบอุบัติเหตุบางอย่าง อย่างนี้สถานทูตจะเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 15:25

   
    เห็นทีหนูอาจจะต้องปรับให้ตัวนางเอกเองเรียนพยาบาลหรือแพทย์น่าจะพอสมเหตุสมผลขึ้นมาบ้าง
   
    ช่วงศตวรรษที่ 2510-15  เป็นช่วงสงครามเวียดนาม   อเมริกาขาดแคลนแพทย์พยาบาล เพราะส่งไปรบเสียเยอะ  จึงรับแพทย์พยาบาลจากไทยและประเทศอื่นๆ ไม่อั้น    บุคลากรทางการแพทย์ของเราได้วีซ่าง่ายดาย  อพยพไปอยู่ในอเมริกากันเยอะมาก ว่ากันว่าเช่าเครื่องบินเหมาลำกันไปเลย    รับเงินเดือนสูงลิบ  คุณน้าของเพื่อนไปเป็นพยาบาลอยู่ชิคาโก ขับโรลสรอยซ์ไปทำงาน
    ดิฉันรู้จักหลายท่านด้วยกัน  ปัจจุบันก็อยู่ในวัย 70 ขึ้นไปกันหมดแล้ว  ย้อนหลังไป 50 ปียังเป็นหนุ่มสาววัยนางเอกของหนูกันทั้งนั้น
   ลองพิจารณาดูว่าจะให้นางเอกสมัครงานไปเป็นแพทย์หรือพยาบาลที่อเมริกาไหม   
   ส่วนสถานทูต ยังหาเหตุผลให้ไปเจอกันไม่ได้อยู่ดี 

อาจจะต้องปรับให้เรียนแพทย์หรือพยาบาลอย่างที่คุณเทาชมพูแนะนำจริงๆ ค่ะ เพราะว่าหนูลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมา เจอข้อมูลว่ามีสุภาพสตรีท่านหนึ่งสามารถสอบชิงทุนหลวงได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ ในสาขาแพทย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2469 -2470 กว่าๆ เลยคิดว่าถ้าเป็นนางเอกไปเรียนแพทย์หรือพยาบาลคงน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าเรียนกฎหมายหรืออาชญาวิทยาจริงๆ ค่ะ (ซึ่งถ้าหนูจำไม่ผิด มีสุภาพสตรีที่ได้เรียนวิชากฎหมายเช่นเดียวกันแต่ว่าตอนนี้หนังสืออยู่ที่บ้านเลยไม่สามารถค้นข้อมูลได้ค่ะว่าเป็นการไปเรียนในปี พ.ศ. ใด)
บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 15:41

เคยได้รับทุนไปเรียนต่อในสหรัฐฯ ไม่เคยไปสถานทูตและก็ไม่เคยพบกับข้าราชการของสถานทูตผู้ใดเลย  การติดต่อกับสถานทูตเท่าที่จำได้ ก็ดูจะมีการติดต่อกันอยู่เพียงครั้งเดียวในเรื่องของการต่ออายุ Passport   

ก็คงจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่า ม.ที่เรียนตั้งอยู่ในอีกรัฐหนึ่งห่างไกลจากเมืองและรัฐที่เป็นที่ตั้งของสถานทูต  สถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งมีลักษณะกลายๆคล้ายๆกับสถานทูตก็มีอยู่ใน 2-3 รัฐเท่านั้น  ส่วนสำนักงานกงสุลกิติมศักดิ์ที่อาจจะมีกระจายอยู่ในบางรัฐ ก็ไม่ทราบว่ามี เป็นผู้ใด หรืออยู่ที่ใดกันบ้าง

คนไทยและนักเรียนไทยที่มีถิ่นพำนักหรือเรียนหนังสืออยู่ในพื้นที่ๆไม่ไกลจากที่ตั้งของสถานทูต จะเป็นกลุ่มคนที่ที่มีความใกลชิดและสนิทสนมกับสถานทูตค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงของความเป็นคนไทยและในเชิงของการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ 

สำหรับในเรื่องของธรรมเนียมทางการทูตนั้น

ก็เคยอยู่ประจำการทำงานในสถานะ Diplomats ในยุโรป(ออสเตรีย) ที่มีลักษณะงานทั้งแบบพหุภาคี(งานหลัก)และงานแบบทวิภาคี(งานรอง) และที่ญี่ปุ่นซึ่งลักษณะงานหลักแบบทวิภาคี   เห็นว่า ธรรมเนียมปฏิบัติโดยพื้นๆในงานเชิงพหุภาคีกับเชิงทวิภาคีซึ่งดูน่าจะไม่ต่างกันนั้น หากแต่ในทางการปฏิบัติจริง มันก็มีความต่างอยู่ไม่น้อย    ก็มีอยู่หลายคำศัพท์บัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของคำว่าธรรมเนียม เช่น  custom, etiquette, protocol, code of conduct .... ฯลฯ   

คุณ atomicno1 ลองค้นลึกเข้าไปในความหมายของคำเหล่านั้น ทั้งในเชิงของตรรกะ ความคิด และการปฏิบัติ   ก็อาจจะดลให้เห็นภาพ ของ consequences ต่างๆที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องราวได้     

ขอบพระคุณคุณ naitang มากๆ เลยค่ะ

งานในหน้าที่ทูตหนูจะพยายามหาข้อมูลให้มากขึ้นค่ะ หลังจากที่เห็นคำแนะนำหนูเลยไปลองหาข้อมูลคำศัพท์ดู พบว่ากระทรวงการต่างประเทศมีคำศัพท์ต่างๆ เอาไว้ด้วย เป็นประโยชน์กับหนูมากเลยค่ะ
ที่หนูจะติดมากๆ จะมีอย่างเช่น มารยาททางการทูต การวางตัว ข้อห้ามข้อปฏิบัติ หรือสำนวนติดปาก ธรรมเนียมปฏิบัติยิบย่อยต่างๆ อะไรอย่างนี้ จะพอมีหนังสือหรือแหล่งข้อมูลไหนที่สามารถค้นหาได้บ้าง หนูลองตามหาทางอินเตอร์เน็ตก็พอเจออยู่บ้างแต่ไม่รู้ว่าครอบคลุมหรือไม่น่ะค่ะ

ข้อมูลตรงนี้หนูอยากทราบเพื่อที่จะสร้างตัวละครพระเอกขึ้นมาว่าในสถานการณ์แบบนี้พระเอกจะทำยังไง ตอบสนองแบบไหน หรือมีคำพูดอะไรที่เหล่านักการทูตอาจจะพูดเป็นพื้นฐาน ตัวพระเอกหนูน่าจะมีตำแหน่งเลขานุการเอกค่ะ ซึ่งหนูก็ยังพยายามหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้อยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 15:50

คุณนกข. นักการทูตตัวจริงเสียงจริง เล่าถึงวงการทูตเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน ไว้ว่า

นักการทูตเป็นอาชีพที่ฟังดูฝัน ๆ อาชีพหนึ่งครับ จึงมีบทบาทโผล่ในนิยายไทยนิยายฝรั่งบ่อย เห็นในละครทีวีไทยก็บ่อย ภาพของนักการทูตในใจคน ผมว่ายังคงเป็นภาพชายหนุ่มรูปหล่อ อาจจะเชื้อพระวงศ์ นักเรียนนอก กิริยามารยาทนุ่มนวล ปากหวานพูดเก่ง  เผลอ ๆ ก็คาบไปป์ และต้องรวยพอที่จะควักสตางค์ส่วนตัวเพื่อหน้าตาของประเทศได้ ดูเหมือนในหนังในนิยายก็ไม่เห็นค่อยต้องทำอะไรนัก ไปงานเลี้ยง ไปเที่ยวเมืองนอก (ยุโรปหรืออเมริกา) พาสาวเที่ยว

ภาพนั้นอาจจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง ในสมัยสักห้าสิบปีมานี้ ฝรั่งเองก็เคยมีภาพนั้น เอ่ยถึง an American diplomat in Paris ล่ะก็ฟังดูหรูหราเชียว แต่สมัยนี้ โดยเฉพาะนักการทูตไทย ภาพนี้จางไปเยอะแล้วครับ อาจจะไม่ถึงกับว่าหายไปหมด แต่มีความเป็นจริงอื่น ๆ เกิดขึ้นคู่กับภาพพวกนี้หลายอย่างหลายประการ

ข้อแรก ไม่จำเป็นเลยที่นักการทูตต้องเป็นพระเอก เป็นนางเอกก็ได้ สมัยนี้ผู้หญิงเป็นนักการทูตออกเยอะไป มาดามอัลไบรต์รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังงี้เป็นต้น ที่เมืองไทย เรามีเอกอัครราชทูตหญิง อธิบดีหญิง หลายคนแล้วครับ มีมานานแล้วด้วย เดี๋ยวนี้ก็ยังมี  ในระดับเจ้าหน้าที่ก็มีนักการทูตสาว ๆ เผลอ ๆ จะครึ่งกระทรวงต่างประเทศเข้าไปแล้ว (กระทรวงผมเล็กครับ มีเจ้าหน้าที่ประมาณ ๑,๕๐๐ คนทั่วโลก) ยังไม่นับ "นักการทูตเฉพาะด้าน"  ที่มาจากกระทรวงอื่นอีกล่ะ เรามีข้าราชการที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ ที่ไม่ได้มาจากกระทรวงต่างประเทศแต่ดั้งเดิม เช่น กระทรวงพาณิชย์เป็นต้น ท่านเหล่านี้ก็ทำงานการทูตเหมือนกัน และในจำนวนนั้นก็เป็นผู้หญิงเยอะด้วย

เท่าที่ผมนึกออก นิยายไทยเก่า ๆ ที่ให้ผู้หญิงทำงานทำการเป็นทูต ไม่มีเลย มีแต่จะเป็นคุณหญิงทูต ใหม่หน่อยก็เรื่อง รัฐมนตรีหญิง ของดวงใจละมั้ง เรื่องนั้น นางเอกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทยสมัยอเมริกันถอนฐานทัพเชียวนะครับ ที่ใหม่ขึ้นมากว่านั้นก็คงจะมี เห็นแว็บ ๆ ว่ามีนักการทูตหญิงในนิยายใหม่ๆ ไทยบางเรื่องบ้างแล้ว

ข้อสอง นักการทูตไม่ได้ทำงานอยู่ใน ยุโรป อเมริกา เสมอไปครับ เรามีสถานทูตสถานกงสุล คณะทูตถาวรไทยอยู่ทั่วโลกประมาณ ๗๐ กว่าแห่ง กว่าเท่าไหร่ผมก็ลืม ในแอฟริกาเราก็มี อเมริกาใต้ก็มี เอเชียก็มี เมืองแขกมี เมืองญวนมี พม่ามี ในยุโรปตะวันออกก็มี  แล้วความเป็นอยู่ในที่เหล่านี้ ก็ไม่ถึงกับสบายมากเสมอไป มีตั้งแต่พอทนอยู่ได้ไปจนถึงทนลำบาก แต่ก็ต้องทนให้ได้ หรือทนอยู่ไม่ไหวต้องเผ่นหนีเหมือนกัน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไซ่ง่อนหรือพนมเปญตอนจะแตก มีสถานทูตไทยนะครับ คูเวตก็มี ตอนนั้นต้องบริหารวิกฤตกันอุตลุด เบลเกรดก็เคยมีตอนอดีตยูโกสลาเวียจะแตก เดี๋ยวนี้ที่แบกแดดในอิรักที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรอยู่ก็ยังมีสถานทูตไทยเปิดทำการอยู่ ผมไม่เคยลำบากเหมือนเพื่อนข้าราชการบางท่าน แต่หนแรกที่ออกประจำการผมไปอยู่เมืองจีน ที่ปักกิ่ง เมื่อหลายปีก่อน ไม่ถึงกับสบายแต่ก็ไม่ถึงกับลำบาก แต่ที่แน่ ๆ ไม่เหมือนยุโรปในนิยายแน่ครับ

ข้อสาม นักการทูตไทยสมัยนี้ ที่เป็นเชื้อพระวงศ์คงมีบ้าง แต่น้อยจะเกือบไม่มีแล้ว ที่ร่ำรวยก็พอจะมี แต่ที่เป็นคนชั้นกลางก็มี และเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ครับ (ผมก็บ้านไม่รวย - แหะ ๆ) อาจารย์ "ดวงใจ" และ คุณประภัสสร เสวิกุล เคยเขียนถึงนักการทูตพวกนี้ไว้ในนิยายไทยเหมือนกัน เช่น ฝันคว้าง หรือ เมเปิ้ลแดง ต่างจากพระเอกนักการทูตรุ่นเก่า (ซึ่งสะท้อนความจริงสมัยนั้น) ที่ต้องมีสมบัติเก่ามากพอที่จะมารับราชการเอาแต่เกียรติ แล้วแถมเผลอ ๆ ก็ควักเงินส่วนตัวจุนเจือหลวงอีก ความจริงสมัยนี้ก็ยังมีครับ บางกรณี ที่เราเห็นว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างเบิกไม่ได้ก็หยวน ๆ ไป ช่วยราชการเท่าที่เราพอจะมีกำลังทำได้ แต่ว่า ไม่ใช่ทุกคนแล้วครับที่จะมีคฤหาสน์บ้านทรายทองอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนชายกลาง

คุณนกข. เล่าไว้อีกหลายประการ หากคุณ atomicno1 สนใจลองเข้าไปอ่านได้ที่กระทู้ นักการทูตในชีวิตจริง กับภาพฝันของนักเขียนในนิยาย

ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะคุณเพ็ญชมพู

เป็นกระทู้ที่น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ เดี๋ยวต้องตามไปอ่านอย่างแน่นอนค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
หนูเองอยากเขียนนักการทูตผู้หญิงมากเลยค่ะ จริงๆ แล้วมีรุ่นน้องที่เคยทำงานร่วมกันอยู่คนหนึ่งเป็นเด็กที่เก่งมากๆๆๆ เลย เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเธอสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการได้ ตื่นเต้นดีใจกันมากเลยค่ะ แต่ว่าเธอยังไม่ได้ออกโพสต์นะคะ ตอนนี้ไปเรียนต่อที่เมืองนอกเพราะว่าเธอเป็นเด็กทุน กพ. ค่ะ เลยไม่ค่อยได้ติดต่อกัน

แต่ความจริงแล้วหนูคงถูกกล่อมเกลาด้วยนิยายทั้งหลายที่นักการทูตจะเป็นผู้ชายจริงๆ นั่นแหละค่ะ อาจจะด้วยตัวนิยายที่ดำเนินเรื่องในยุคสมัยก่อนด้วย ซึ่งหนูไม่รู้ว่าในช่วงนั้นมีนักการทูตผู้หญิงบ้างหรือยัง คงต้องกลับไปทำการบ้านให้หนักกว่านี้แล้วค่ะ เผื่อจะได้เขียนเรื่องต่อไปด้วย  อายจัง

หนูไม่ค่อยเขียนนิยายที่พระเอกรวยเท่าไหร่ค่ะ ส่วนใหญ่ก็อยู่ในระดับที่พอมีพอกิน แต่ไม่ได้รวยมาก และชอบให้มีฉากทำงานอย่างจริงจังอยู่ในนิยายบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ แต่แอบปลื้มนิยายที่พระเอกเป็นนักการทูตเพราะแพ้กิริยามารยาทนี่ล่ะค่ะ 555
บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 16:16

ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน

ขอรอคำตอบด้วยค่ะ

ขอสอบถามเพิ่มเติมด้วยค่ะว่า ปกติเวลากลับจากการประจำการที่ต่างประเทศแล้ว จะสลับประเทศต่อเลยหรือว่ากลับมาที่ไทยก่อนคะ

            ตอนนี้ นึกถึงนิยายเรื่องหนึ่ง คือ รักเร่ ของ โสภาค สุวรรณ
            ความรักของหญิงสาวนักเรียนไทย "วายูน" ที่ได้พบรักกับ "ดร.รามิล" เลขาทูต อนาคตไกล แต่ความรักของเธอมีอุปสรรค
(สถานที่คือ เวียนนา ออสเตรีย)

พอคุณหมอเอ่ยถึงเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงอีกเรื่อง ทิวาหวาม ของเพ็ญแข วงศ์สง่า

หนูเคยได้ยินชื่อนิยายเรื่องรักเร่ แต่ยังไม่เคยได้อ่านเลยค่ะ ส่วนทิวาหวามนี่ไม่เคยได้ยินชื่อเลย คงต้องตามหามาอ่านซะแล้ว


หนูขอบพระคุณทุกๆ ท่านจริงๆ ค่ะที่กรุณามาให้คำตอบกับนักหัดเขียนอย่างหนู โดยปกติแล้วหนูจะเขียนนิยายที่ตัวเองค่อนข้างมีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้ว แต่นิยายที่พระเอกเป็นหม่อมเจ้า หรือแนวนักการทูตหนุ่มนี่เป็นอะไรที่ติดอยู่ในใจ แบบอยากเขียนสักครั้งจริงๆ ค่ะ

ความจริงหนูเคยเห็นนิยายหลายเรื่องที่มีนักเขียนหลายท่านเขียนลงเว็บไซต์บ้าง หรือตีพิมพ์รวมเล่มบ้าง ก็เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระเอกที่เป็นเชื้อพระวงศ์หรือมีตำแหน่งนักการทูตเยอะเหมือนกัน นี่ก็อยากเขียนบ้างแต่ว่าไม่ได้รู้จักกับคนเขียนคนอื่นและไม่มีช่องทางที่จะติดต่อได้เลย เลยต้องมาขอสอบถามในเรือนไทย ถ้าไม่หาข้อมูลเลยมันรู้สึกผิดยังไงก็ไม่รู้ค่ะ เพราะหนูเคยเขียนนิยายแล้วลงให้อ่านในเว็บพันทิปครั้งหนึ่ง จำได้ติดใจเลยว่านิยายหนูมีชื่อของตัวละครหญิงเป็นชื่อดอกไม้แบบดอกไม้ปกติเลย เซ็ตติ้งเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ ปรากฎว่ามีท่านหนึ่งในนั้นทักท้วงว่าชื่อดอกไม้ที่หนูเเขียน ในสมัยรัชกาลที่ 5 น่าจะยังไม่มี ไม่ใช่พืชพื้นถิ่น ตอนนั้นหนูช็อกมากเลยค่ะ  ขยิบตา ตั้งแต่นั้นมาคือถ้าจะเขียนอะไรก็ต้องมีข้อมูลที่อยากจะเขียนอยู่ในมือก่อน แต่ก็เข้าใจความรู้สึกของคนที่รู้มาเจอนิยายที่เขียนโดยผู้เขียนที่ไม่ได้หาข้อมูลมามากพอ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หนูได้อ่านนิยายที่มีบทบรรยายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาลไทย ประเทศไทย เซ็ตติ้งเป็นยุคปัจจุบัน แต่คนเขียนบรรยายว่าทนายลุกขึ้นแถลงว่า "ข้าแต่ท่านผู้พิพากษา และคณะลูกขุน..." นี่ก็ช็อกอีกเหมือนกัน 555

ที่สำคัญ หนูรู้สึกว่าตอนนี้เวลาเขียนนิยาย ยิ่งลงในเว็บไซต์เป็นตอนๆ ก่อน ยิ่งเสี่ยงต่อการถูก "แหก" ง่าย บางครั้งตัวนักอ่านเองไม่มีความเข้าใจมากพอก็เอานิยายของเราไปด่าซะงั้น (กรณีล่าสุดคือ นักอ่านไม่รู้จักคำว่าฝนห่าใหญ่ และเข้าใจว่านักเขียนเขียนคำหยาบคาย เลยเอาไปด่าในทวิตเตอร์) บางคนก็ติดความรู้ความเข้าใจผิดๆ จากนิยายไปเลย ซึ่งมีแบบนั้นจริงๆ ค่ะ หนูเลยอยากรู้ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ

ดังนั้นทุกท่านอย่าเพิ่งรำคาญหนูนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 22:03

เอาใจช่วยให้แต่งสำเร็จและรออ่าน(ฟรี) ครับ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 14:49

เอาใจช่วยให้แต่งสำเร็จและรออ่าน(ฟรี) ครับ แลบลิ้น

หนูจะพยายามค่ะ แต่ขอคุณประกอบเป็นแหล่งข้อมูลนักเรียนนอกด้วยได้ไหมคะ  ยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 19:14

ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน

ขออภัยอาจารย์ครับ เมื่อวานนี้ไปงานศพเพื่อน เลยไม่ได้ให้ความเห็นกับข้อปุจฉาของอาจารย์  ยิงฟันยิ้ม 

เรื่องแรก ผมเป็นเพียงผู้ที่เคยทำงานเฉพาะด้านภายใต้เอกสิทธิ์ทางการทูต (diplomatic immunity) ในตำแหน่งที่ผู้คนมักจะชอบใช้คำว่า"ทูต"นำหน้าชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจนั้นๆ เช่น ทูตพานิชย์ ทูตอุตสาหกรรม ทูตแรงงาน ทูตทหาร ... คำเรียกในอีกลักษณะอื่นๆก็  เช่น ผู้แทนสำนักงาน... ผู้ดูแลนักเรียนไทย      ตำแหน่งเหล่านี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของประเทศใดๆส่วนมาก ดูจะมีตำแหน่งของสถานะทางการทูตตั้งแต่ระดับ Counsellor (ที่ปรึกษา) จนถึงระดับ Minister (อัครราชทูต)  แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นตำแหน่งระดับ Minister Counsellor (อัครราชทูตที่ปรึกษา) ซึ่งอยู่กลางๆระหว่างสองตำแหน่งที่กล่าวมา    อนึ่ง ระดับตำแหน่งสำหรับผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตเหล่านี้ หากเป็นผู้ที่มิได้ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานหลักทางการทูต (กระทรวงการต่างประเทศ) ก็จะมักจะมีวงเล็บท้ายชื่อที่บ่งถึงภารกิจของตน ซึ่งโดยนัยก็คือบ่งชี้ถึงต้นตอของตนที่สังกัดอยู่ ซึ่งคำที่อยู่ในวงเล็บท้ายชื่อนี้มีผลค่อนข้างมากในการปฏิบัติภารกิจต่างๆให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลสัมฤทธิ์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 20:25

สำหรับกรณี ..."มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนานนักการทูตหนุ่ม" นั้น

ที่ขยายความมานั้น อย่างน้อยก็ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ไปประจำการในฐานะหรือสถานะนัการทูตนั้น  ออท.(เอกอัครราชทูต) น่าจะอยู่ในวัยอายุ ประมาณ 50++/-   อท.(อัครราชทูต)ที่เป็นเบอร์สองของ สอท.(สถานทูต)นั้นก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 50+/--   อัครราชทูตที่ปรึกษาที่เป็นเบอร์สามของ สอท. ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 40++/-    ที่ปรึกษาก็น่าจะอยูัในวัยประมาณ 35+/-  เลขานุการเอก โท ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 30 +/-  ส่วนเลขานุการตรี ก็น่าจะอยู่ในวัย 25++   

มีโอกาสใดบ้าง ?  ก็ดูจะมีไม่มากนักครับ  งานที่มีโอกาสจะได้พบเห็นกันก็จะมีเช่น งานที่จัดภายในพื้นที่ของสถานทูต งานที่จัดในพื้นที่สาธารณะประเภทการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และงานเฉพาะกิจ/เฉพาะกรณีต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 23 ต.ค. 23, 18:04

ลืมไปว่า ผู้เดียวที่มีโอกาสพบและใกล้ชิดกับนักเรียนไทยมากที่สุด ก็คือผู้ดูแลนักเรียนไทย

ขอให้ข้อมูลประกอบด้วยว่า แต่ละสถานทูตที่เราอาจจะเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการอยู่เป็นจำนวนมากนั้น  สถานทูตของประเทศใหญ่ๆก็อาจมีถึงหลักร้อยหรือหลายร้อยคน  สถานทูตของประเทศเล็กๆก็อาจมีได้ในระดับหลายสิบคน   ในกลุ่มคนที่ทำงานในสถานทูตเหล่านี้ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองจริงๆนั้นจะมีอยู่ไม่มากนัก  สำหรับสถานทูตของประเทศเล็กๆอาจจะมีอยู่ในระดับ 10-30 คน (รวมทุกหน่วยงาน) ผู้คนนอกจากนี้จะเป็นกลุ่มคนที่เรียกกันว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (local staff) ซึ่งมักจะประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและสัญชาติ เช่น พนักงานขับรถก็นิยมจะเป็นพวกฟิลิปินส์  มีสถานทูตหลายประเทศใช้พ่อครัว/แม่ครัวคนไทย ....

เลยทำให้นึกถึงอีกหนึ่งโอกาสสำหรับการพบปะกันระหว่างนักการทูตกับนักเรียน ก็คือ กรณีการมาฝึกงาน กรณีมาช่วยงานในช่วงปิดภาดเรียน กรณี กรณีเกิดปัญหากระทันหันต้องค้างแรมจากเหตุที่ไม่คาดฝัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 23 ต.ค. 23, 18:55

คุณ atomicno1 ถามว่า "ปกติเวลากลับจากการประจำการที่ต่างประเทศแล้ว จะสลับประเทศต่อเลยหรือว่ากลับมาที่ไทยก่อนคะ" 

ในเชิงของการกระทำที่เป็นจริง ด้วยที่คำสั่งจะออกในรูปของการพ้นจากตำแหน่งเดิม ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ในที่ใหม่ ทำให้ต้องมีเรื่องของการเดินทาง  สำหรับในระดับ ออท.นั้น มีกรณีที่จะต้องกลับมาเพื่อรับมอบอำนาจสำหรับการเป็นผู้มีอำนาจเต็มในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐที่จะไปประจำการ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับมอบโดยตรงจากประมุขของรัฐ   สำหรับนัการทูตในระดับอื่นๆนั้น ก็จะมีทั้งลักษณะการเดินทางต่อไปยังประเทศใหม่โดยตรงเลย และแบบการเดินทางผ่านหรือกลับมาด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ลาพัก มีข้อจำกัดเรื่องของการเดินทางโดยตรง มีข้อจำกัดด้านระเบียบ ความไม่พร้อมที่ปลายทาง ... ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 ต.ค. 23, 02:32

ขอโทษจริงๆ ค่ะที่มาตอบช้ามาก

ก่อนอื่นขอขอบพระคุณคุณ naitang อีกครั้งนะคะที่ได้กรุณามาให้คำตอบอย่างละเอียดเลย ซาบซึ้งใจมากจริงๆ ค่ะ

ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน

ขออภัยอาจารย์ครับ เมื่อวานนี้ไปงานศพเพื่อน เลยไม่ได้ให้ความเห็นกับข้อปุจฉาของอาจารย์  ยิงฟันยิ้ม 

เรื่องแรก ผมเป็นเพียงผู้ที่เคยทำงานเฉพาะด้านภายใต้เอกสิทธิ์ทางการทูต (diplomatic immunity) ในตำแหน่งที่ผู้คนมักจะชอบใช้คำว่า"ทูต"นำหน้าชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจนั้นๆ เช่น ทูตพานิชย์ ทูตอุตสาหกรรม ทูตแรงงาน ทูตทหาร ... คำเรียกในอีกลักษณะอื่นๆก็  เช่น ผู้แทนสำนักงาน... ผู้ดูแลนักเรียนไทย      ตำแหน่งเหล่านี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของประเทศใดๆส่วนมาก ดูจะมีตำแหน่งของสถานะทางการทูตตั้งแต่ระดับ Counsellor (ที่ปรึกษา) จนถึงระดับ Minister (อัครราชทูต)  แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นตำแหน่งระดับ Minister Counsellor (อัครราชทูตที่ปรึกษา) ซึ่งอยู่กลางๆระหว่างสองตำแหน่งที่กล่าวมา    อนึ่ง ระดับตำแหน่งสำหรับผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตเหล่านี้ หากเป็นผู้ที่มิได้ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานหลักทางการทูต (กระทรวงการต่างประเทศ) ก็จะมักจะมีวงเล็บท้ายชื่อที่บ่งถึงภารกิจของตน ซึ่งโดยนัยก็คือบ่งชี้ถึงต้นตอของตนที่สังกัดอยู่ ซึ่งคำที่อยู่ในวงเล็บท้ายชื่อนี้มีผลค่อนข้างมากในการปฏิบัติภารกิจต่างๆให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลสัมฤทธิ์

อย่างนี้หมายความว่าท่านปฏิบัติหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของรัฐในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่ หนูเข้าใจถูกใช่ไหมคะ

สำหรับกรณี ..."มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนานนักการทูตหนุ่ม" นั้น

ที่ขยายความมานั้น อย่างน้อยก็ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ไปประจำการในฐานะหรือสถานะนัการทูตนั้น  ออท.(เอกอัครราชทูต) น่าจะอยู่ในวัยอายุ ประมาณ 50++/-   อท.(อัครราชทูต)ที่เป็นเบอร์สองของ สอท.(สถานทูต)นั้นก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 50+/--   อัครราชทูตที่ปรึกษาที่เป็นเบอร์สามของ สอท. ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 40++/-    ที่ปรึกษาก็น่าจะอยูัในวัยประมาณ 35+/-  เลขานุการเอก โท ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 30 +/-  ส่วนเลขานุการตรี ก็น่าจะอยู่ในวัย 25++   

มีโอกาสใดบ้าง ?  ก็ดูจะมีไม่มากนักครับ  งานที่มีโอกาสจะได้พบเห็นกันก็จะมีเช่น งานที่จัดภายในพื้นที่ของสถานทูต งานที่จัดในพื้นที่สาธารณะประเภทการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และงานเฉพาะกิจ/เฉพาะกรณีต่างๆ 


เลยทำให้นึกถึงอีกหนึ่งโอกาสสำหรับการพบปะกันระหว่างนักการทูตกับนักเรียน ก็คือ กรณีการมาฝึกงาน กรณีมาช่วยงานในช่วงปิดภาดเรียน กรณี กรณีเกิดปัญหากระทันหันต้องค้างแรมจากเหตุที่ไม่คาดฝัน

อา...ตอนแรกตัวเอกของหนูตั้งใจให้เป็นเลขานุการเอก อายุประมาณ 31-32 นี่พอเป็นได้อยู่สินะคะ

พอเข้าใจแล้วล่ะค่ะ ถ้าอย่างนั้นหนูอาจจะต้องลองปรับเปลี่ยนให้เจอกันข้างนอก คือตอนแรกวางเอาไว้ให้เจอกันในสถานทูตเพราะได้ติดตามข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไป แต่หลังจากนั้นก็เหมือนจะไม่มีเรื่องที่จะต้องไปสถานทูตอีก ถ้าอย่างนั้นอาจจะเปลี่ยนสถานการณ์ที่จะต้องพบปะกัน (หลังจากครั้งแรก) ให้อยู่ด้านนอกสถานทูตน่าจะมีโอกาสมากกว่า อย่างเช่น ตัวเอกประสบอุบัติเหตุแล้วอีกคนไปเจอโดยบังเอิญ อาจจะพอเป็นไปได้มากกว่า หรืออย่างที่คุณ naitang ได้แนะนำมาเรื่องการฝึกงาน ก็น่าสนใจมากๆ เช่นกันค่ะ เพียงแต่อาจจะมีคำถามเพิ่มเติมว่าแล้วโดยส่วนใหญ่นักศึกษาจะมาฝึกงานในด้านไหนได้บ้างคะ

อย่างเวลาหนูไปฝึกงานในหน่วยงานที่ตัวเองเรียนมา บางอย่างก็ทำไม่ได้ แต่บางอย่างพี่ๆ ในที่ฝึกงานก็ปล่อยให้ทำเลย  ยิงฟันยิ้ม

คุณ atomicno1 ถามว่า "ปกติเวลากลับจากการประจำการที่ต่างประเทศแล้ว จะสลับประเทศต่อเลยหรือว่ากลับมาที่ไทยก่อนคะ" 

ในเชิงของการกระทำที่เป็นจริง ด้วยที่คำสั่งจะออกในรูปของการพ้นจากตำแหน่งเดิม ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ในที่ใหม่ ทำให้ต้องมีเรื่องของการเดินทาง  สำหรับในระดับ ออท.นั้น มีกรณีที่จะต้องกลับมาเพื่อรับมอบอำนาจสำหรับการเป็นผู้มีอำนาจเต็มในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐที่จะไปประจำการ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับมอบโดยตรงจากประมุขของรัฐ   สำหรับนัการทูตในระดับอื่นๆนั้น ก็จะมีทั้งลักษณะการเดินทางต่อไปยังประเทศใหม่โดยตรงเลย และแบบการเดินทางผ่านหรือกลับมาด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ลาพัก มีข้อจำกัดเรื่องของการเดินทางโดยตรง มีข้อจำกัดด้านระเบียบ ความไม่พร้อมที่ปลายทาง ... ฯลฯ   

ตรงนี้หนูขอสอบถามเพิ่มเติมได้ไหมคะ ว่าหากหนูจะเขียนให้ตัวเอกที่เป็นนักการทูตต้องเดินทางกลับไทยก่อน อาจจะกลับมาเพื่อประจำการที่กระทรวงก่อนที่จะออกโพสต์อีกครั้ง มีความเป็นไปได้ไหมคะ หรือถ้าออกโพสต์แล้วต้องออกตลอดเลยคะ

ขอบคุณคุณ naitang อีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 ต.ค. 23, 18:34

จากข้อสังเกตเห็นในช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ในระบบพหุภาคี การย้ายของนักการทูตระดับต่ำกว่า อท.ลงมาของประเทศต่างๆมักจะเป็นการย้ายกลับประเทศเมื่อได้ปฏิบัติงานครบระยะเวลาประมาณ 4 ปี  เป็นลักษณะของการสลับสับเปลี่ยนเพื่อการเปิดโอกาสให้บุคลากรต่างๆมีโอกาสได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาตนเองในเรื่องของ capacity และ capability ของตน   สำหรับในระดับ อท. นั้น ส่วนมากดูจะเป็นการย้ายเพื่อเตรียมแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง ออท.ที่ประเทศหนึ่งใด

อันที่จริงแล้วก็ยังมีบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่า Ambassador หากแต่เป็นทูตที่มีอำนาจในฐานะตัวแทนของประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรนานาชาตินั้นๆ เช่น UN ที่ New York, UN ที่ Vienna, WTO (การค้าขาย), IAEA (เรื่องปรมาณู) ...   ทูตเหล่านี้มีอำนาจในเรื่องเฉพาะขององค์กรนั้นๆ  ซึ่งในหมู่ของคนทำงานก็จะเรียกกันสั้นๆว่า "ทูต" และให้เกียรติกันที่จะใช้คำนำหน้าชื่อของบุคคลนั้นว่า Ambassador  ภายใต้ความเข้าใจว่ามิใช่ทูตที่เป็นตัวแทนของประเทศ  เรียกเป็นทางการหน่อยก็ใช้คำว่า (ซื่อประเทศ)..Ambassador to..(ชื่อองค์กร)+ชื่อคน (Mr...)   เท่าที่ได้สัมผัสมา ทูตเฉพาะภารกิจนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ๆทำงานให้เป็นการเฉพาะเหมือนกัน แต่ทั้งหมดก็ดูจะเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานทูตนั้นเอง  อย่างไรก็ตามก็มีที่มีทูตเฉพาะภารกิจเหล่านั้นมีสถานที่ทำการ/สำนักงานตั้งแยกออกไป ซึ่งก็มีทั้งบุคลกรที่ได้สถานะทางการทูตและที่ไม่มีทำงานอยู่ด้วยกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 ต.ค. 23, 19:27

ยังมีอีกโครงสร้างหนึ่งที่อาจจะลืมนึกถึงไป คือเรื่องของ'กงสุล' 

งานการกงสุลมีภาระกิจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นอยู่และทุกข์สุขของผู้คนของตนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต่างๆ

งานของสำนักงานกงสุลทำให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสได้พบปะกับผู้คนได้มากที่สุด เพราะจะมีผู้คนมาพบ มาหารือ มาบ่น มาระบาย.. สารพัดเรื่องจริงๆ ไม่ต่างไปมากนักจากที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจภูธร หรือศูนย์ช่วยเหลือใดๆที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 19 คำสั่ง