เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 2863 อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 26 ต.ค. 23, 16:52

ยังมีอีกโครงสร้างหนึ่งที่อาจจะลืมนึกถึงไป คือเรื่องของ'กงสุล' 

งานการกงสุลมีภาระกิจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นอยู่และทุกข์สุขของผู้คนของตนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต่างๆ

งานของสำนักงานกงสุลทำให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสได้พบปะกับผู้คนได้มากที่สุด เพราะจะมีผู้คนมาพบ มาหารือ มาบ่น มาระบาย.. สารพัดเรื่องจริงๆ ไม่ต่างไปมากนักจากที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจภูธร หรือศูนย์ช่วยเหลือใดๆที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย

พอพูดถึงประเด็นนี้แล้วอยากรู้ต่อเลยค่ะ

และถ้าเป็นกงสุล ตำแหน่งของกงสุลคือแยกออกมาจากตำแหน่งทูตเลยมั้ยคะ หรือว่าเป็นนักการทูตตำแหน่งกงสุล ยอมรับว่าค่อนข้างสับสนกับตรงนี้นิดนึงค่ะ ที่หนูเคยทราบคือ กงสุลก็จะคล้ายๆ สถานทูตแต่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่ไม่ใช่เมืองหลวง และมีท่านกงสุลประจำการอยู่ ประมาณนี้ใช่มั้ยคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33590

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 26 ต.ค. 23, 17:21

เพื่อช่วยบรรเทาแรงให้คุณตั้งและท่านอื่นๆที่สละแรงและเวลามาให้ความรู้  อยากขอให้คุณ atomicno1 ช่วยใช้กูเกิ้ลค้นศัพท์ต่างๆที่อ่านเจอในกระทู้นี้มาก่อนจะตั้งคำถาม     อย่างเช่นหาความหมายของคำว่า กงสุล ซึ่งหาไม่ยากเลยในกูเกิ้ล
ไม่เข้าใจตรงไหนค่อยถามคุณตั้ง   ก็จะเบาแรงของท่านลงได้มาก
เป็นนักเขียนต้องค้นคว้าหาข้อมูลหลายทาง ให้คล่องตัว จะประหยัดเวลาในการเขียนหนังสือได้มากค่ะ  อย่ารอคำตอบอย่างเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 ต.ค. 23, 18:41

งานกงสุลเป็นในลักษณะที่เล่าความไป  ส่วนมากจะมีที่ทำการเป็นกิจจะลักษณะอยุ่ในพื้นที่ของสถานทูต ซึ่งดูจะใช้คำเรียกว่า Consulate  แต่ก็มีแบบที่สถานที่ทำการแยกอยู่กันคนละที่กับตัวสถานทูต ซึ่งอันนี้ไม่รู้ว่าจะเรียก Consulate หรือ Consulate General  

ในกรณีที่มีบางพื้นที่เป็นแหล่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางไปมาระหว่างผู้คนของทั้งสองประเทศมาก หรือมีเหตุอื่นใดที่สมควรก็(อาจ)จะมีการตั้งสำนักงานแยกออกไปอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในพื้นที่นั้นๆ มีการจัดให้มีเจ้าหน้าที่มากพอที่จะให้บริการ ก็จะเรียกว่า สถานกงสุล (Consulate) หรือสถานกงสุลใหญ่ (Consulate General)  บรรดาเจ้าหน้าที่ส่งไปประจำการก็ถือเป็นลักษณะของเจ้าหน้าที่ทางการทูต หากแต่จะได้รับเอกสิทธิทางการทูตไม่เท่าเทียมกับผู้ที่ทำงานในกิจการทางการทูต(สถานทูต)   สถานกงสุลใหญ่ก็จะมีตัวบุคคลที่เป็นกงสุลใหญ่ (Consul General) มีรองกงสุล (Vice Consul) และ Consul

สำหรับกงสุลกิตติมศักดิ์นั้น โดยลักษณะง่ายๆก็คือ งานฝากให้ทำ ไม่มีเอกสิทธิทางการทูตใดๆ  มีแต่ความพอใจในเรื่องของเกียรติบศชื่อเสียงของตน ได้รับสิทธิพิเศษบ้าง และการได้รับการอำนวยความสะดวกที่มากกว่าปกติ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 ต.ค. 23, 20:09

ก็มีเรื่องน่าจะหาอ่านเป็นความรู้ประกอบเพิ่มเติม ที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปต้นเหตุของเรื่องราวในเรื่องราวที่จะเขียนต่างๆ    ลองหาอ่านหนังสือที่เขียนเรื่อง phobia หรือหนังสือในมุมที่เรียกว่า cultural shock หรือ do and don't  ที่เกี่ยวกับประทศต่างๆ (ลองค้นดูโดยใช้ชื่อประเทศนำคำว่า phobia หรือ cultural shock หรือ do and don't)  ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 ต.ค. 23, 22:11

โดนท่านอาจารย์ดุเอานิดนึง คุณ atomicno1 หายไปเลย ผมก็กำลังตามอ่านเรื่องการทูตได้ความรู้มากมายจากท่าน naitang อยู่ มีข้อสงสัยเหมือนกันเลยอดเลย   

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 ต.ค. 23, 18:44

คุณประกอบได้กระตุ้นให้ผมได้เห็นว่ามีผู้ตามอ่านกระทู้นี้มากอยู่พอสมควร  คิดว่าเรื่องราวทางปฎิบัติในวงการทูตคงจะเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจกัน ก็เลยจะขอเล่าขยายความไปตามที่เหมาะสมตามประสบการณ์ที่ได้ประสบมา

ก็จะขอบอกเล่าเสียแต่แรกว่าตนเองไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูต (Diplomat) ที่ทำงานโดยตรงด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เป็นแต่เพียงผู้ที่ได้รับสถานะเป็นบุคคลทางการทูตเพื่อประโยชน์ในการทำงานตามภารกิจเฉพาะทาง (เรียก Diplomat เช่นกัน) 

Diplomat ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มครอง(Privilege & Immunity)จากรัฐผู้รับ  ง่ายๆก็คือ เอกสิทธิ์นั้น เป็นเรื่องทางแพ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของภาษีต่างๆ คือไม่ต้องเสีย   ส่วนในด้านความคุ้มครองนั้น เป็นเรื่องทางอาญาและอสังหาริมทรัพย์ คือไม่ถูกจับ ไม่ถูกบุกรุก ยึด

เอกสิทธิ์และความคุ้มครองนี้ เป็นการให้กับบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในเขตอาณาของรัฐผู้รับ และเป็นการพิจารณาให้โดยรัฐผู้รับว่าจะให้กับผู้ใดตามที่รัฐผู้ส่งขอไป   การถือหนังสือเดินทางเล่มสีแดง (Diplomatic Passport) เดินทางไปใหนมาใหนในประเทศใดๆ จึงมิได้หมายความว่าผู้นั้นจะมีเอกสิทธิ์และความคุ้มครองใดๆ  เพียงอาจจะได้รับความสะดวก ความเกรงใจ และความอะลุ่มอล่วยมากกว่าคนทั่วๆมากกว่าปกติไปบ้างเท่านั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 ต.ค. 23, 18:12

เป็นเรื่องปกติที่ผู้ที่ทำงานในสายงานหนึ่งใดย่อมจะต้องมีการทำงานในเรื่องเดียวกัน ทำงานร่วมกัน ติดต่อประสานงานกัน ประสานสัมพันธ์กัน ... ในภาษาไทยดูจะใช้คำว่า "วงการ" ในภาษาอังกฤษดูจะใช้คำว่า Circle  ซึ่งในแต่ละวงการนั้นมันมีได้ทุกขนาด สลับซับซ้อนกันอยู่ สุดแท้แต่จะตั้งชื่อให้หรือจะใช้คำเรียกเช่นใด

ในงานทางด้านการทูตก็มีวงที่เรียกว่า Diplomat Circle ซึ่งการดำเนินการระหว่างกันดูจะเน้นในบริบทของการประสาน/สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ที่มาปฏิบัติงานด้านการทูตอยู่ในประเทศเดียวกัน โดยเฉพาะในระดับ ออท.ลงไปถึงระดับหัวหน้าสายงานของสถานทูต(ที่เขาเห็นควร) งานที่แต่ละสถานทูตนิยมจัดขึ้นและออกบัตรเชิญ จนท.ทางการทูตของประเทศต่างๆนั้น(ที่เขาเห็นควร) หลักๆก็จะเป็นงานวันชาติ งานสำคัญเฉลิมฉลองเรื่องหนึ่งใด และงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์เฉพาะกลุ่มประเทศ ...  ซึ่งงานที่จัดในวงการทูตแบบพหุภาคีกับในวงแบบทวิภาคีก็มีความต่างกันอยู่ไม่น้อย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 ต.ค. 23, 19:17

หลังบ้านของ จนท.ที่ทำงานในระบบ UN ก็มีวงการเหมือนกัน เรียกว่า UN Women's Guild หากแต่ต้องเป็นสมาชิก วงนี้มีทั้งหลังบ้านของบรรดา จนท.ทางการทูตต่างๆและ จนท.ขององค์กรในสังกัดของ UN เช่น UN Women's Guild - Vienna, (- Geneva...)  กิจกรรมพื้นฐานคือการลงแรงช่วยกันหาทุนเพื่อนำไปช่วยพัฒนาสังคม/ชุมชนยากไร้ในประเทศต่างๆ   ดูเผินๆก็คล้ายเป็นวงการแก้เหงาของบรรดาหลังบ้าน แต่หากเชื่อในอิทธิพลของหลังบ้านว่ามีพลังมากน้อยเพียงใดกับหน้าบ้าน ก็น่าจะพอรู้ได้ถึงพลังที่เป็นประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ

สำหรับผู้แทนที่ทำงานในระบบพหุภาคี  หากตั้งใจทำงานในลักษณะเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่สำคัญใดๆ ก็จะเห็นว่าวงที่เรียกว่า ฝ่าย "Secretariat" (ฝ่ายเลขานุการ) จะเป็นวงที่มีความสำคัญมาก  ไม่ว่าจะเป็นวาระงานแบบทวิภาคี พหุภาคี หรือการประชุมระหว่างรัฐใดๆ ...             
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 พ.ย. 23, 19:09

เมื่อมีกลุ่มคนที่ทำงานอยู่ในวงวิชาชีพหรือวงอื่นใดเดียวกัน ก็ย่อมจะต้องมีลักษณะของกระบวนวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นที่ยอมรับในหมู่เดียวกัน ทั้งมวลก็ตั้งอยู่บนฐานของความสุภาพ ซึ่งก็มีในด้านของการปฏิบัติตัว เช่น การแต่งกาย อากัปกริยา มารยาท การพูดจา การกิน ... (ก็คือเรื่องของ Etiquette) และในด้านของการกระทำที่เหมาะสมระหว่างกัน เช่น เรื่องของการให้เกียรติ การติดต่อประสานกัน ขั้นตอนอันพึงทำในเรื่องใดๆ... (ก็คือเรื่องของ Protocol)

แน่นอนว่า กฎ กติกา มารยาทของแต่ละวงการเหล่านี้ก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปในลักษณะสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่มันก็มีกรอบใหญ่ๆของมารยาทและการปฏิบัติที่พึงกระทำที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันของผู้คนทั้งโลก         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 พ.ย. 23, 19:34

เกิดสงสัยขึ้นมากับการใช้คำว่า  วง กับ วงศ์  กับการใช้กับเรื่องของงาน และกับเรื่องของคน ครับ   

วงการ วงวิชาการ วงวิชาชีพ วงงาน วงเจ้าหน้าที่ วงทูต วงเลขานุการ วงข้าราชการ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 พ.ย. 23, 19:07

กฎ กติกา มารยาทในแต่ละสังคม/วงการก็มีการเน้นและให้ความสำคัญในแต่ละเรื่อง ในแต่ละเวลา และในแต่ละสถานะการณ์ในระดับที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งในสังคมวงกว้างทั่วๆไป การกระทำใดๆที่ต่างกันนั้นก็พอเป็นที่ยอมรับกันได้ในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง    แต่ในสังคมที่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น มันมีเรื่องของศักดิ์ศรี อำนาจ และกิ๋น ทั้งของประเทศและของคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็เลยมีข้อกำหนด กฏ กติกาต่างๆที่มากกว่าปกติ แถมมีความหยุมหยิมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีมาช้านานแล้ว และก็มีทั้งแบบรุ่นเก่าและแบบรุ่นใหม่อีกด้วย ทั้งมวลก็เกิดมาจากการยอมรับกระบวนพิธี/วิธีของของแกบ้าง-ของฉันบ้าง สะสมกันมา เอามารวมกันจนเป็นลักษณะกลางๆที่ยอมรับกันเป็นสากล  แบบแผนกลางๆเหล่านี้ใช้กันในทุกประเทศ พร้อมๆไปกับมีการปรับหรือแต่งเติมให้เหมาะสมกลมกลืนไปกับประเพณี สังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์ของประเทศตน

ดูเผินๆแล้วก็คล้ายกับเป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญอะไรมากนัก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปฏิบัติที่พึงมีความสอดคล้องหรือที่มีการออกนอกลู่ในเรื่องใด อาจจะส่งให้เกิดผลในองค์รวมตามมาในทางบวกหรือในทางลบต่างๆมากมาย  เพราะมันเป็นการแสดงออกของตัวเราให้อีกฝ่ายหนึ่งเขาได้รู้จักและประเมินเราในเกือบจะทุกมิติ    ปรัชญาตามตำราพิชัยสงครามซุ่นวู "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง" ยังคงเป็นเรื่องที่ทุกผู้คนใช้อยู่ทั้งในลักษณะที่ตั้งใจหรืออยู่ในจิตสำนึก   
     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 03 พ.ย. 23, 19:18

เขียนมาตั้งนาน กดผิด เลยหายไปเลย ว่ากันใหม่พรุ่งนี้ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 04 พ.ย. 23, 18:15

ขอยกตัวอย่างการกระทำบางอย่างที่พอจะสังเกตและพอจะบอกอะไรๆได้ 

ฝรั่งกินอาหารด้วยส้อมในมือซ้ายและมีดในมือขวา แบบยุโรปจะถือมีดและส้อมตลอดเวลา ใช้มือซ้ายและการคว่ำส้อมเพื่อเทินอาหารเข้าปาก    ส่วนแบบอเมริกันเมื่อหั่นอาหารแล้วจะวางมีดและส้อม สลับส้อมไปใช้มือขวาในการตักอาหารเข้าปาก

การใช้ช้อนและส้อมซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วๆไป หากแต่ มีแต่คนไทยหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ใช้ส้อมช่วยในการกอบอาหารไปไว้บนช้อนให้เรียบร้อยก่อนตักเข้าปาก ก็เป็น etiquette บนโต๊ะอาหารอย่างหนึ่งที่นานาชาติเขายอมรับกัน

ตะเกียบเป็นของที่ใช้กันทั่วไป ก็มีเรื่องของมันเช่นกัน  แบบจีน จะวางตะเกียบจะอยู่ทางขวามือ หันด้านปลายออกไปจากตัวเรา    แบบญี่ปุ่นจะเป็นการวางด้านบนของชุดถ้วยชามที่จะใช้กินอาหาร หันปลายตะเกียบไปทางด้านซ้ายมือ   แบบเกาหลี ใช้ตะเกียบโลหะ วางแบบจีนพร้อมไปกับช้อนที่มีด้ามยาวกว่าปกติ(ช้อนซุป ใช้กินกิมจิน้ำ_Mul Kimchi)

เนกไทของผู้ชายที่เป็นแบบลายแถบ/เส้นทะแยง    แบบของยุโรป(โดยเฉพาะ อังกฤษ)จะทะแยงลงจากซ้ายไปทางขวา แบบอเมริกันจะทะแยงลงจากขวาลงไปทางซ้าย   เนกไทแบบนี้มีที่มาที่ไปของมัน เรียกกันว่า Regiment tie หรือ Rapp tie   เป็นเนกไทที่ไม่ใช้ผูกไปในงานสำคัญๆ สำหรับงานพิธีสำคัญต่างๆจะใช้เนกไทสีพื้นที่สุภาพ

ก็ไม่ต้องไปซีเรียสกับมันมากมายในสิ่งที่พึงทำหรือไม่พึงทำ  เพียงควรจะรู้ไว้และรู้ให้ลึกมากพอที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนและภาระงานต่างๆ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 04 พ.ย. 23, 20:20

ยังติดตามอยู่นะครับ  ในงานเลี้ยงแบบฝรั่งนี้มีโอกาสที่จะใรการใช้ตะเกียบบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 04 พ.ย. 23, 20:44

ที่เล่ามา น่าจะพอทำให้คุณ atomicno1 จินตนาการเรื่องราวต่างๆออกไปในอีกได้อีกมุมหนึ่งได้พอสมควร  

น่าจะลองหาอ่านเพิ่มเติมเรื่องราวของฉากทัศน์ของการเมืองและเรื่องราวระหว่างประเทศช่วงปี พ.ศ.2500 ว่าจะมีอะไรๆบ้าง  ซึ่งทั้งมวลก็ดูจะอยู่ในบริบทของเรื่องเดียว คือเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ภายใต้อุดมการณ์ระหว่าง Capitalism, Communism และ Socialism     ซึ่งก็มีเหตุการณ์ต่างๆในแถบบ้านเรามากมาย เช่น การปฏิวัติในประเทศไทย  การยุติการสู้รบของฝรั่งเศสในเวียดนาม  ความขัดแย้งใน สปป.ลาว  มาเลเซียได้รับเอกราช  สงครามเกาหลี  การตั้งองค์กร SEATO ที่กรุงเทพฯ และที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องก็คือ การกำเนิดพุทธมณฑล ...ฯลฯ ดูคล้ายกับเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่เมื่อเอามาเชื่อมต่อกันในเชิง chronology  พ่วงเข้าไปด้วยเกล็ดเล็กๆน้อยจากประวัติศาสตร์ในวงกว้าง บางทีก็ทำให้ได้ฉุกคิดในบางเรื่องขึ้นมา จะถูกหรือผิดในบริบทของ conspiracy theory ก็ยังได้สนุกใจที่ได้ฝันไป  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง