เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 07 ม.ค. 13, 10:33
|
|
เอามาจาก "พันทิปโฉมใหม่" แหะ แหะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
giggsmay
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 07 ม.ค. 13, 11:55
|
|
>:(นี่หรือที่เรียกว่าผู้ดีอังกฤษ ขี้โขมย จอมหาเรื่อง จะเอาแต่ของที่ไม่ใช่ของตัวเอง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 07 ม.ค. 13, 12:30
|
|
ถ้าจะแฉเรื่องขโมยแบบนี้ สามารถตั้งกระทู้ยาวๆได้อีกกระทู้เลยละค่ะคุณกิ๊ก ก็บรรดาสมบัติในท้องพระคลังและเครื่องราชกกุธภัณฑ์อังกฤษ เพชรนิลจินดางามๆทั้งหลายนั่นขุดได้ที่อังกฤษซะที่ไหนล่ะคะ เอามาจากอาณานิคมกันเยอะแยะไปหมด ไม่ใช่แต่อังกฤษนะคะ ประเทศอื่นอย่างฝรั่งเศสก็เหมือนกัน ก็ได้จากอินเดียมั่งอาณานิคมอื่นมั่ง ไม่งั้นจะเป็นเจ้าอาณานิคมกันไปทำไมให้เหนื่อยแรง มันต้องคุ้มค่าที่ลากปืนใหญ่ไปยึดบ้านเมือง แถมเสี่ยงกับเอาทหารไปตายเพราะเชื้อไข้เมืองร้อนอีกไม่รู้เท่าไหร่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 08 ม.ค. 13, 11:40
|
|
ดูจากรูปการณ์ในตอนแรก ทางการอังกฤษในอินเดียก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับคำเรียกร้องของพระเจ้าสีป่อ เมื่อพระองค์ทรงร้องเรียนมาว่าพระราชทรัพย์สำคัญๆ สูญหายไปเพราะฝีมือนายทหารอังกฤษในพม่า เซอร์ ชารล์ส์ เบอร์นาร์ดที่ผู้บัญชาการกลางของประเทศก็จัดแจงส่งหนังสือลับไปถามผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษที่มัณฑะเลย์ให้ช่วยสอบสวนเรื่องนี้ เขาแนบบัญชีพระราชทรัพย์ที่หายไปให้เห็นกันชัดๆด้วย ตามหนังสือที่พระเจ้าสีป่อแจ้งมา นอกจากนี้ยังสั่งให้นายทหารอังกฤษฝ่ายการเมืองที่มัณฑะเลย์ไล่บี้ตามสอบสวนกับทหารอังกฤษที่นั่น ให้ได้ความออกมาจนได้ว่าทับทิมหงามุกอยู่ที่ไหน
หลังจากไล่บี้กันไปมาเป็นทอดๆ เรื่องนี้ซึ่งคงไม่ใช่ความลับกันนักในหมู่นายทหารก็เปิดโร่ออกมาว่าพระราชทรัพย์ในกำปั่นรวมทั้งทับทิมหงามุกถูกส่งให้พันเอกสเลเดน เซอร์ชาร์ลส์ เบอร์นาร์ดก็ส่งหนังสือลับถึงนายคนนี้ทันที ให้ชี้แจงเรื่องพระราชทรัพย์และทับทิมหงามุกที่แหล่งข่าวแจ้งมาว่าอยู่ในความครอบครองของพันเอกสเลเดน
เมื่อนายระดับสูงทวงถามมา พันเอกสเลเดนก็ตอบจดหมายไป ลงวันที่ 25 มกราคม 1887 คือย่างเข้าปีที่สองนับแต่พระเจ้าสีป่อถูกเนรเทศ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 08 ม.ค. 13, 13:32
|
|
ใจความตอนหนึ่งของหนังสือราชการที่พันเอกสเลเดนตอบมาก็คือ
" กระผมขอกราบเรียนให้ทราบว่าเป็นความจริงที่กระผมได้พบพระเจ้าสีป่อในวันนั้น แต่สำหรับบัญชีรายชื่อพระราชทรัพย์นั้นกระผมจำไม่ได้เลยว่ามี ในวันนั้นไม่มีใครสามารถทำรายการบัญชีพระราชทรัพย์ทั้งหลายได้ พระเจ้าสีป่อและพระนางก็มัวแต่ฟูมฟายที่เสียเมือง ผู้คนต่างก็เข้านอกออกในกันสับสนอลหม่านไปหมด กระผมตระหนักว่าพระราชทรัพย์ของแผ่นดินพม่าย่อมมีมูลค่ามหาศาล จึงได้ไปประตูพระราชฐานแล้วออกคำสั่งให้กองทหารอารักขาสถานที่สองแห่งอย่างเข้มงวดคือท้องพระคลังหลวง และตามถนนหนทางเข้าออกในวัง กระผมไม่สามารถจำชื่อหัวหน้า นายทหารผู้รับคำสั่งในวันนั้นได้ ในวันเดียวกันนั้น กระผมพบนายพลปริน ดา การ์ด และแจ้งให้เขาทราบว่ากระผมได้สั่งกองกำลังคุ้มครองท้องพระคลังหลวงเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เขาก็เลยตั้งคณะกรรมการอารักขาท้องพระคลังหลวงขึ้นเพื่อดูแลเรื่องนี้ ชื่อของกระผมไม่ได้อยู่รวมในกรรมการนี้ด้วย นับว่าสิ้นสุดหน้าที่ของกระผมที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์พม่าเพียงแค่นี้ ”
พันเอกสเลเดนไม่ได้แอะออกมาสักคำเรื่องทับทิมหงามุก ทำเหมือนมันไม่เคยมีตัวตนให้เขาเห็น รายงานฉบับนี้ปฏิเสธการรับรู้หรือเกี่ยวข้องทั้งสิ้นเกี่ยวกับเพชรนิลจินดาพม่ามูลค่าประเมินมิได้ที่สูญหายไปในวันที่พระเจ้าสีป่อถูกเนรเทศ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 08 ม.ค. 13, 13:54
|
|
ขอย้อนกลับไปกล่าวถึงพันเอกสเลเดนอีกนิดหนึ่งค่ะ
หลังจากอังกฤษได้ชัยชนะเรียบร้อยโรงเรียนพม่า บรรดาทหารอังกฤษที่ไปรบพม่าในครั้งนั้นก็ได้รับปูนบำเหน็จกันทั่วหน้ากัน พันเอกสเลเดนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับเกียรติยศ ประกาศเกียรติคุณจากราชการอังกฤษเป็นพิเศษ ในฐานะ "ได้ประกอบวีรกรรมอันอาจหาญและรอบรู้ในกิจการของประชาชนอย่างดียิ่ง จนนำมาสู่การปราชัยของพระเจ้าแผ่นดินพม่า" ด้วยเหตุนี้ พี่แกก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางชั้น "เซอร์" อีกหนึ่งปีต่อมาหลังอังกฤษยึดบัลลังก์พม่าได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 1886 บัดนี้ ท่านพันเอกเซอร์เอ็ดเวิร์ด สเลเดนก็ได้ทั้งเงินทั้งกล่องสมปรารถนา มีบรรดาศักดิ์เชิดหน้าชูตาตระกูล เงินเดือนก็คงจะขึ้นด้วยน่ะแหละ อายุแกก็ปาเข้าไป 56 แล้ว แก่ขนาดนี้ ไม่มีความจำเป็นอะไรจะต้องตรากตรำอยู่ในดินแดนสุดหล้าฟ้าเขียวอีกต่อไป และถ้าจะเดาต่อก็คือ เรื่องราวที่ผู้บังคับบัญชากำลังไล่บี้เรื่องพระราชทรัพย์ของพระเจ้าสีป่อ ทำให้ภัยเข้ามาหวิดๆอยู่ใกล้ตัว ดังนั้น ท่านผู้ติดตามอ่านมาจนถึงตอนนี้ย่อมไม่แปลกใจ ที่หนึ่งเดือนครึ่งหลังจากแกตอบจดหมายเซอร์ชาร์ลส์ แกก็เกษียณ ปลดประจำการ อำลาราชการทหาร เดินทางกลับบ้านเดิมที่อังกฤษ ไปอยู่กับลูกเมียอย่างมีความสุขที่ลอนดอน แต่สเลเดนก็อยู่เป็นสุขได้ไม่นานนัก เพียง 3 ปี แกก็ถึงแก่กรรมในวันที่ 4 มกราคม 1890
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 08 ม.ค. 13, 14:05
|
|
ในเมื่อพันเอกสเลเดนพ้นราชการไปแล้ว ทางกองทัพบกและทางการอังกฤษที่อินเดียก็คงไม่รู้จะทำประการใดต่อไป หรือต่อให้รู้ว่าควรทำประการใดก็เลือกที่จะไม่ทำดีกว่า เรื่องอะไรจะฉีกหน้ากองทัพอังกฤษและเปิดหน้ากากวีรบุรุษสงครามออกมาให้ขายขี้หน้าไปทั่วโลกเปล่าๆ ผลดีตัวเองก็ไม่ได้สักอย่าง ผู้ได้ประโยชน์คือพระราชาพม่าที่ตัวเองก็ขับไล่เสือกไสเนรเทศไปให้พ้นหูพ้นตา แล้วจะช่วยพระเจ้าสีป่อไปหาอะไรกัน ปล่อยให้ลำบากน่ะดีแล้ว ได้ไม่มีปัญญามากู้บัลลังก์กลับคืน
อีกอย่าง อังกฤษก็ใช่ว่าจะทำแบบนี้เป็นครั้งแรก เพราะสงครามที่ทำกันมาแต่โบราณนั้น ผู้ชนะก็กวาดทรัพย์สินเงินทองผู้แพ้มาทั้งนั้น ถือว่าริบทรัพย์เชลยอย่างถูกต้องตามประเพณีสงคราม เพชรนิลจินดาที่อังกฤษกวาดมาจากอินเดียก็เคยได้มาไม่รู้ว่าเท่าไหร่ ในเมื่อดีดลูกคิดแล้ว เซอร์ชาร์ลส์ เบอร์นาร์ดก็เลือกที่จะบรรเลงเพลงคลื่นกระทบฝั่ง ให้ท่านเซอร์สเลเดนกลับไปรักษาหน้าผู้ดีอังกฤษเอาไว้แบบเดิม เหมาะสมที่สุด
เรื่องของทับทิมหงามุกควรจะจบแค่นี้ใช่ไหมคะ ยังค่ะ..ยัง ยังไม่จบ โปรดอดใจรอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 08 ม.ค. 13, 20:07
|
|
พระเจ้าสีป่อมิได้ละลดที่จะติดตามมหาสมบัติล้ำค่าของพม่ากลับคืนมา แม้ว่าพระองค์กับพระนางขนสมบัติกำปั่นอื่นมาเพียบ แต่ที่หายไป 3 กล่องนั้นก็ล้วนแต่เพชรพลอยชิ้นเยี่ยมๆทั้งนั้น ชิ้นเอกที่ทรงเสียดายสุดๆไม่ใช่อื่นใดนอกจากทับทิมหงามุก แม้ว่าทรงคว้าน้ำเหลวในการติดตามพ.อ.สเลเดน ก็ยังไม่ท้อถอย ก็ยังรอโอกาสอยู่เรื่อยมา ย้อนกลับไปพม่า ท่านผู้อ่านที่ตามพม่าไปรบฝรั่งอยู่ในวิกใกล้ๆกันนี้คงจำได้ว่า แม้ว่าพระเจ้าสีป่อแพ้อังกฤษแล้ว แต่บรรดาทหารพม่าจำนวนมากถือว่ามวยแพ้คนไม่แพ้ เมื่อแตกหนีเข้าป่าไปพร้อมกับอาวุธติดมือไปด้วย กองกำลังติดอาวุธพวกนี้ก็กลายเป็นกองโจร ก่อกวนอังกฤษให้เดือดร้อนต่อมาอีกหลายปี หนึ่งในหัวหน้าขบวนการกึ่งๆกู้ชาติกึ่งๆกองโจรคือเจ้าชายหม่อมหม่องทิน พี่ชายของเจ้าหญิงสุสิริ ผู้พยายามมาส่งพระเจ้าสีป่อถึงเรือนั่นเอง หลังจากสู้รบกับกองทหารอังกฤษอยู่หลายปี เจ้าชายกับอังกฤษก็ตกลงประนีประนอมกันได้ วางอาวุธกลับเข้าเมืองกลายเป็นนายทหารฝ่ายบริหารของกองทัพใต้บังคับบัญชาของอังกฤษ เจ้าหญิงสุสิริก็มาหาพี่ชาย พำนักอยู่ด้วยกันในเมืองมัณฑะเลย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 08 ม.ค. 13, 20:14
|
|
ผมอยากเห็นทับทิมตอนนี้อยู่ที่ไหนครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 09 ม.ค. 13, 06:37
|
|
คุณหนุ่มสยามคงมีความรู้สึกเหมือนดูหนังนักสืบชั้นดีอยู่เรื่องหนึ่ง ดูไปๆแค่กลางเรื่องก็อยากรู้ตอนจบเพราะเรื่องมันพลิกไปพลิกมา
ใจเย็นครับใจเย็น อ่านไปเรื่อยๆ ยิ่งอ่านจะยิ่งสนุก ยิ่งอยากรู้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 09 ม.ค. 13, 07:08
|
|
คุณหนุ่มสยามคงมีความรู้สึกเหมือนดูหนังนักสืบชั้นดีอยู่เรื่องหนึ่ง ดูไปๆแค่กลางเรื่องก็อยากรู้ตอนจบเพราะเรื่องมันพลิกไปพลิกมา
ใจเย็นครับใจเย็น อ่านไปเรื่อยๆ ยิ่งอ่านจะยิ่งสนุก ยิ่งอยากรู้
คงจะหนีไม่พ้น Tower of London  นึกถึงทีไรชอบร้องเพลง London Bridge is falling down - falling down, my fair lady....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 09 ม.ค. 13, 07:21
|
|
ฮิ ฮิ อ้อ สมัยนี้เขาต้องเขียนว่า อิ อิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 ม.ค. 13, 10:28
|
|
วันนี้ไม่ว่าง ค่ำๆจะเข้ามาต่อเรื่องค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
XT
อสุรผัด

ตอบ: 12
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 09 ม.ค. 13, 16:09
|
|
กราบสวัสดีอาจารย์ทุกท่านค่ะ..มาขอร่วมชั้นเรียนด้วยอีกคนนะคะ กำลังสนุกเลยค่ะ.. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 09 ม.ค. 13, 20:31
|
|
เวลาผ่านไปเนิ่นช้าสำหรับพระเจ้าสีป่อ จนกระทั่งถึงค.ศ. 1911 พระองค์ก็เกิดความหวังอันริบหรี่ขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อบัลลังก์อังกฤษเปลี่ยนอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เสด็จสวรรคต พระราชโอรสที่ขึ้นครองราชย์ต่อคือพระเจ้าจอร์จที่ 5 เสด็จประพาสอินเดีย พระเจ้าสีป่อก็ได้โอกาสที่จะทำจดหมาย ส่งไปถวายพระเจ้าจอร์จ ขอพระราชทานโอกาสเข้าเฝ้า เพื่อจะร้องเรียนเรื่องทับทิมหงามุกที่หายไป
ในจดหมายราชการ 5 ฉบับที่ทรงระดมส่งไปถึง มีคำตอบกลับมาฉบับเดียวสั้นๆว่า พันเอกเซอร์เอ็ดเวิร์ด สเลเดน ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ตั้งแต่ปี 1890 จากนั้นก็คือความเฉยเมยว่างเปล่า เป็นข้อสรุปให้พระองค์เข้าใจเอาเอง ว่าเงื่อนงำเรื่องทับทิมหงามุกก็พลอยละลายหายสูญไปพร้อมกับชีวิตของนายพันเอกด้วย
ตัดฉากกลับมาที่เจ้าชายหม่องหม่องทิน ซึ่งดวงราชการไปโลด จากตำแหน่งนายทหาร เขาได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด Kyaukse (ใครถอดเสียงได้กรุณาบอกด้วยค่ะ) เมื่อพระเจ้าจอร์จเสด็จมาอินเดีย ก็มีข้าราชการระดับสูงของพม่ารวมทั้งผู้ว่าราชการบางคนมีโอกาสเดินทางจากพม่าไปเฝ้ารับเสด็จถึงอินเดียด้วย ในจำนวนนี้มีคนหนึ่งชื่ออูถั่นมิน ( U Tun Min) เป็นเพื่อนสนิทของเจ้าชาย นายอูถั่นมินกลับจากอินเดียก็มาเยี่ยมเยียนเพื่อนรัก หอบเอาของที่ระลึกจากงานนี้กลับมาอวดเพื่อน เช่นพวกสูจิบัตร หนังสือแจกและโปสการ์ด ให้ดูกันให้ตื่นตาตื่นใจในฐานะของหายาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|