เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 7500 เรื่องของ "ส้วม"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 11:10

ตอนเด็กๆ ทันเห็นสุขภัณฑ์ที่ตัวเครื่องปล่อยน้ำอยู่สูงบนผนัง ไม่ได้อยู่ติดกับโถนั่งอย่างทุกวันนี้   มีสายโซ๋ห้อยลงมาให้ดึงเพื่อน้ำจะได้ไหลลงมา    พอชักโซ่  น้ำก็ไหลแรงลงมา ก่อนจะถูกดูดลงไปในท่อ เสียงดัง "โครก"
ที่มาของคำว่า "ชักโครก" น่าจะอยู่ตรงนี้เอง
จำได้อีกอย่างคือที่รองนั่งเป็นไม้ ดัดโค้งพอสวมลงไปบนโถได้  เกลาเรียบลงน้ำมันด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 13:25

  ขอแวะออกนอกทางจากประเทศไทย เลี้ยวไปต่างแดนหน่อยนะคะ
  เล่าถึงส้วมในโคโลราโดก็แล้วกัน  
  รัฐนี้เป็นรัฐทางตะวันตก  หมายความว่าลุกขึ้นยืนช้ากว่ารัฐทางตะวันออกที่อยู่ใกล้ยุโรปมากกว่า     ผู้คนที่มาตั้งถิ่นฐานอพยพกันมาก็เป็นชาวบ้านธรรมดา มาตายเอาดาบหน้า   เป็นชาวไร่ชาวนามาปลูกกระท่อมอยู่กลางทุ่ง
  ส้วมของพวกเขาทำง่ายๆ  คือขุดหลุมลึกลงไปห่างจากตัวกระท่อมเล็กน้อย   สร้างฝา 4 ด้านล้อมรอบ เป็นห้องเล็กๆ มุงหลังคา   มีประตูทางเข้าด้านหน้าทางเดียว     ไม่มีหน้าต่าง
  ส้วมแบบนี้ยังหลงเหลืออยู่สมัยไปเรียน   แต่อยู่บนภูเขา คือเทือกเขาร็อคกี้ที่พาดผ่านจากเหนือลงไปใต้     ที่นั่นคนไปสร้างบ้านพักสวยๆอยู่   ความที่เทือกเขามันสูงมาก มีเขาลูกเล็กลูกน้อยนับไม่ถ้วน บางแห่งสุขาภิบาลยังตามไม่ถึง   ก็เลยยังมีห้องสุขาแบบเดิมให้เห็น    เขากำจัดกลิ่นด้วยการโรยปูนขาวลงไปในหลุมค่ะ  


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 13:26

ภายในเป็นแบบนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 13:52

ภาพสวยจากปฏิทิน
                         RoomLoo with a View


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 14:21

งามกลมกลืนกับธรรมชาติ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 19:15

ภาพที่นำมาลงข้างล่างนี้เป็นห้องน้ำหรู สมัยใหม่ของปี 1885  ตรงกับรัชกาลที่ 5 ค่ะ
ใครดูออกว่าโถส้วมอยู่ตรงไหน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 20:09

ภาพสวยจากปฏิทิน
ภายในเป็นแบบนี้ค่ะ
งามกลมกลืนกับธรรมชาติ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

เคยไปพักที่บ้านนอกเมืองของเพื่อนร่วมงานในพื้นที่ทางเหนือของรัฐ Quebec แคนาดา หรือในสมัยเรียน ในพื้นที่ Appalachian ก็เป็นเช่นนี้ ครับ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 22:35

ใครดูออกว่าโถส้วมอยู่ตรงไหน

ข้างบนคือ 'ถังเก็บน้ำ' น้ำจะไหลตามท่อมาลง 'โถส้วม' ที่ซ่อนอยู่ในตู้ไม้ข้างล่าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 09:10

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 09:23

ก่อนจะมีกระดาษม้วนขาวๆนุ่มๆใช้อย่างทุกวันนี้  อุปกรณ์เช็ดทำความสะอาดในยุคก่อนโน้น หาได้จากธรรมชาติ เช่นใบไม้ที่เด็ดติดมือไประหว่างทาง  กิ่งไม้   กาบมะพร้าว หรือประณีตหน่อยก็เหลาไม้เล็กๆให้เรียบ หมดเสี้ยน เรียกว่า "ไม้แก้งก้น" ใช้ปาดเช็ดออกไป เสร็จแล้วก็ทิ้งลงหลุม
อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายมาก   สุขอนามัยของคนโบราณจึงไม่ดีนัก  


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 09:30

    นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ ชาวอังกฤษ ได้รับการชักนำจากสมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ถวายการดูแลพระพลานามัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง พระราชมารดา ณ พระราชวังพญาไท และปฏิบัติหน้าที่ในราชสำนักสยามอยู่หลายปี จึงมีความใกล้ชิดกับเจ้านายชั้นสูงของไทยหลายพระองค์
   เขาได้เขียนไว้ในหนังสือ “A Physician at the Court of Siam” ซึ่งกรมศิลปากรนำมาแปลในชื่อ “ราชสำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ” เล่าเรื่องไปเฝ้า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ร์ พระเจ้าน้องนางร่วมพระมารดาของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งยังประทับอยู่ในวังหน้าหลังกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสิ้นพระชนม์ชีพแล้ว มีความตอนหนึ่งว่า

“...เจ้านายผู้ทรงมีพระอารมณ์ดีและช่างตรัส พระชนมายุอยู่ราว ๖๕ พรรษา พระองค์ประทับอยู่ตามลำพังภายในห้องซึ่งมีขนาดใหญ่โตและกว้างขวาง ตามบริเวณผนังห้องมีตู้ทุกขนาดทุกแบบตั้งเรียงรายอยู่ บางตู้ก็ใช้เก็บถ้วยชาม และบางตู้ก็ตกแต่งเล็กๆน้อยๆสำหรับตั้งโชว์เครื่องปั้นดินเผาของจีนประเภทชามและแจกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน-ขาว และล้วนแต่เป็นของมีค่า โดยปกติแล้วเจ้านายพระชันษาสูงๆเหล่านี้มักจะเรียกใช้ข้าพเจ้าโดยมิได้ประทานสิ่งของใดๆเป็นการตอบแทน แต่สำหรับพระองค์จันทร์ซึ่งมักจะทรงมีรับสั่งให้ข้าพเจ้ามาเฝ้าอยู่บ่อยครั้ง พระองค์จึงได้ประทานเครื่องปั้นดินเผาที่ทรงสะสมไว้มาให้ข้าพเจ้าชิ้นหนึ่ง

พระองค์จันทร์ทรงมีรับสั่งกับข้าพเจ้าว่า “ลองเดินดูไปรอบๆสิ ดูซิว่าท่านชอบชิ้นไหน”

วันหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเดินสำรวจไปรอบๆห้อง ข้าพเจ้าได้เปิดลิ้นชักๆหนึ่งออกดู และพบว่ามีกระดาษหนังสือพิมพ์ฉีกเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่าๆกันวางอยู่ ข้าพเจ้าจึงทูลถามว่า “มันคืออะไรขอรับ”

พระองค์จันทร์ได้ตรัสตอบพร้อมกับทรงพระสรวลเสียงดังว่า “มันคือกระดาษชำระ”

ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าที่พระองค์ทรงเรียกเช่นนั้นไม่ใช่เพราะไม่ทรงรู้จัก แต่การพูดอธิบายความเช่นนี้น่าจะเป็นการง่ายต่อความเข้าใจมากกว่า ในสถานการณ์เดียวกันนี้หากเป็นหญิงสาวชาวยุโรปก็คงจะรู้สึกกระดากอาย แต่ความรู้สึกดังกล่าวกลับมิได้เกิดขึ้นกับเจ้านายพระองค์นี้ และการที่พระองค์มิได้ทรงใส่พระทัยในกฎเกณฑ์ และทรงเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องน่าอาย สามารถทำให้พระองค์ตรัสได้อย่างไม่ขัดเขิน และเหมือนว่าจะพอพระทัยเช่นนั้นด้วย

หลังจากที่ข้าพเจ้าอธิบายให้ฟังว่ากระดาษชำระมีลักษณะเช่นไรแล้ว พระองค์จันทร์ทรงให้ความสนพระทัยและตรัสว่า “นำมาให้ฉันสิ แล้วฉันจะให้เครื่องปั้นดินเผาท่านอีกชิ้นหนึ่ง”

ในการเข้าเฝ้าครั้งต่อมา ข้าพเจ้าจึงได้นำกระดาษชำระ ๖ ม้วนใหญ่มาถวาย พระองค์จันทร์ได้ประทานแจกันดินเผาสมัย K’ang Hsu ประมาณปี ค.ศ.๑๗๐๐ อายุไม่ต่ำกว่า ๕๐ รัชกาลมาแล้ว ให้แก่ข้าพเจ้าอีกใบหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าไม่ถือว่าเป็นการขโมย แต่ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกันมากกว่า เพราะพระองค์จันทร์เองก็ทรงพอพระทัยในกระดาษชำระที่ข้าพเจ้านำมาถวาย และข้าพเจ้าเองก็พอใจในแจกันที่พระองค์ประทานเช่นกัน”


สถานที่ที่หมอสมิธกล่าวถึงนี้ ก็คือพระตำหนักหนึ่งในวังหน้า ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครในปัจจุบัน เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสวรรคตในปี ๒๔๒๘ แล้ว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้จัดพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ และพระที่นั่งศิวโมกพิมาน เป็นพิพิธภัณฑ์ ส่วนชั้นในยังมีเจ้านายทั้งราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯและพระราชธิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จมาประทับ รวมทั้งพระองค์เจ้าวงจันทร์ซึ่งเป็นเจ้านายที่พระชนมายุยืนยาวมาถึงรัชกาลที่ ๖ และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.๒๔๕๙ ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้า
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000013171
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 09:31

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 09:34

ทันเห็นกระดาษฟาง เป็นกระดาษแผ่นสี่เหลี่ยมตัดขนาดเท่าฝ่ามือ   แขวนไว้กับลวดทีละหลายๆแผ่นในห้องน้ำ 
เป็นกระดาษเนื้อหยาบกว่ากระดาษทิชชูในปัจจุบันมาก
ยังหาภาพไม่เจอค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 10:35

กระดาษชำระหรือกระดาษทิชชู เริ่มมีมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยนายโจเซฟ กาเย็ตตี้ (Joseph Gayetty) นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผลิตกระดาษชำระออกมาวางจำหน่าย แต่กิจการขาดทุนอย่างรวดเร็ว เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียเงินซื้อกระดาษชำระที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทั้ง ๆ ที่มีกระดาษหนังสือพิมพ์เก่า ๆ ใบปลิวเก่า ๆ ใบโฆษณาและกระดาษห่อของให้ใช้ได้

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๐ พี่น้องตระกูลสก๊อต (Scott) ได้พัฒนากระดาษแบบม้วนและมีรอยปรุขึ้น ซึ่งใช้ได้สะดวกกว่ากระดาษชำระแผ่นโตแบบของกาเย็ตตี้ ในระยะนี้ส้วมชักโครกและห้องน้ำภายในอาคารเริ่มเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในอเมริกาทำให้คนสนใจกระดาษชำระมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก นุ่ม และยังเข้ากับแฟชั่นการตกแต่งห้องส้วมในขณะนั้นอีกด้วย ทำให้มีผู้ผลิตกระดาษชำระตามมาอีกหลายยี่ห้อ ซึ่งในระยะแรกการมีกระดาษชำระคู่กับโถชักโครกไว้ในห้องน้ำเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจของเจ้าของบ้านเลยทีเดียว

สําหรับฝรั่ง กระดาษชำระหรือทิชชูจะเอาไว้เช็ดชำระจากการขับถ่ายอย่างเดียว ไม่ได้เป็นกระดาษอเนกประสงค์แบบคนไทยในปัจจุบัน ที่นอกจากเอาไว้เป็นกระดาษชำระแล้ว ยังใช้เช็ดหน้า เช็ดเครื่องสำอาง ใช้เป็นกระดาษเช็ดปาก และใช้เช็ดสิ่งสกปรก ซึ่งกระดาษทิชชูมาแทนวัฒนธรรมการใช้กิ่งไม้เช็ดก้น กระดาษเช็ดหน้ามาแทนผ้าเช็ดหน้า และกระดาษเช็ดปากมาแทนผ้าเช็ดปาก นอกจากนี้มีการผลิตกระดาษที่ใช้ทำความสะอาดมาแทนผ้าขี้ริ้ว กระดาษพวกนี้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ต่างจากผ้าที่สามารถนำกลับมา

การใช้กระดาษชำระในสังคมไทยในอดีต ผู้ที่มีโอกาสใช้ได้มีแต่ชนชั้นสูงและผู้มีฐานะดีเท่านั้น เพราะเป็นของที่ต้องสั่งเข้าจากเมืองนอก กระดาษชำระเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนโดยเฉพาะในวัฒนธรรมการขับถ่ายและชำระร่างกายของคนในเมือง เรื่องของกระดาษชำระก็เช่นเดียวกันกับเรื่องของอุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ที่มีปริมาณความต้องการใช้ของคนในสังคมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการติดตั้งโรงงานผลิตขึ้นในประเทศไทย

ในช่วงสมัยเร่งรัดพัฒนาเมืองมีการขยายตัว เกิดที่อยู่อาศัยอย่างมากมายในกรุงเทพฯ ในบ้านที่มีห้องน้ำทันสมัย มีการใช้สุขภัณฑ์ชักโครก ซึ่งของที่คู่กับชักโครกอย่างหนึ่งคือกระดาษชำระ ประมาณทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นมา เราไม่ต้องนำเข้ากระดาษชำระที่เป็นม้วนโดยตรง มีผู้ประกอบการในไทยได้สั่งซื้อกระดาษม้วนใหญ่มาจากต่างประเทศ แล้วมาแปรเป็นม้วนเล็ก ๆ  ซึ่งนอกจากจะมีกิจการกระดาษชำระแล้ว มักมีกิจการเกี่ยวกับผ้าอนามัยควบคู่ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวบ้านในอดีต กระดาษชำระได้แก่พวกหนังสือพิมพ์ สมุดเก่า ๆ และกระดาษห่อของ เป็นต้น โดยเอามาตัดเป็นแผ่น ๆ ร้อยด้วยลวดหรือเชือกแขวนไว้ที่ห้องน้ำ การใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ดก็เป็นการใช้แทนกิ่งไม้หรือใบไม้ ซึ่งกว่าที่จะเปลี่ยนมาใช้และเห็นความสำคัญของกระดาษชำระก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และปัจจัยในด้านราคา และความสะดวกในการซื้อหา

ข้อมูลจาก : มนฤทัย ไชยวิเศษ. ประวัติศาสตร์สังคม-ว่าด้วยส้วม และเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย, สำนักพิมพ์มติชน, มิถุนายน ๒๕๔๕.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 มิ.ย. 23, 11:37

กระดาษชำระยุคนี้ ออกแบบสวยเสียจนน่าจะเอามาห่อเป็นกระดาษของขวัญได้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 18 คำสั่ง