เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 7442 เรื่องของ "ส้วม"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 20 มิ.ย. 23, 10:42

เรียนอาจารย์เทาชมพู

ีรู้สึกเสียใจที่ขอแจ้งว่า วันนี้ กระดานเฟสบุ๊คของผมถูก ระบบเอไอของเค้าบล็อกการมองเห็นอีกแล้วครับ....

คงจะเป็นเพราะมีสมาชิกจากเรือนไทยเรียกเข้าไปใช้มากผิดปกติกระมังครับ

ไว้สักหนึ่งเดือนให้หลังจากนี้ เมื่อเฟสบุ๊คผ่อนมาตรการ ปิดกั้น

ขอเรียนเชิญเคาะเข้าไปชมเรื่องห้องน้ำ-ห้องส้วม ในเรือนจีนโบราณ ที่

https://web.facebook.com/plu.danai/posts/pfbid021eQofUCmBFyVGQwUtJbNeRyojEd2NYuTF3mCmNSCZXXkkfPBxEES1bVQ7ckSwpCVl

หรือถ้าท่านใดมีวิธีซิกแซกที่จะเข้าชมกระดานเฟสบุ๊กที่ถูกบล็อก ผมก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
...
ห้องน้ำในชนบทจีน ที่ยังมีภาพหลงเหลือจากมาตรการกวาดล้างบนโลกไซเบอร์ของรัฐบาลกลางครับ

https://img.pic.in.th/0002435d54d7ddd38c36.jpeg

https://img.pic.in.th/00032aa0dd0209d3c3dc.jpeg

ดิฉันเข้าไปอ่านในลิ้งค์ที่ให้มาได้หมดเลยค่ะ ทั้ง 3 ลิ้งค์
FB ของดิฉันไม่เคยถูกบล็อค  ก็เลยไม่เข้าใจว่าถูกบล็อคคืออะไร  แบบไหน  เจ้าของอ่านไม่ได้แต่คนอื่นอ่านได้หรืออย่างไร   เพราะดิฉันเข้าไปอ่านได้หมดค่ะ
ถ้าลิ้งค์ข้างล่างนี้เป็นของคุณนามแปลง   ดิฉันขออนูญาตนำรูปบางรูปมาลงในกระทู้นะคะ

https://web.facebook.com/plu.danai/posts/pfbid021eQofUCmBFyVGQwUtJbNeRyojEd2NYuTF3mCmNSCZXXkkfPBxEES1bVQ7ckSwpCVl



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 20 มิ.ย. 23, 12:02

หลักฐานที่เหลือมาว่าชาวสุโขทัยถ่ายหนักเบากันอย่างไร คือส้วมของพระสงฆ์ เรียกว่า “วัจจกุฎี” หรือ “เร็จกุฎี” หรือ “ถาน”
ประกอบด้วยแผ่นรองรับเท้าในขณะขับถ่าย หรือที่เรียกกันว่า “เขียง” ซึ่งใช้วางไว้เหนือหลุมรับอุจจาระ จำนวน 3 แผ่น
ประกอบไปด้วยเขียงหิน 2 แผ่น และเขียงไม้ 1 แผ่น

ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อธิบายไว้ในหนังสือ “มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม  ว่า  เขียงทั้ง 3 แผ่น มีลักษณะเหมือนกัน
คือ มีรูขนาดใหญ่เจาะทะลุ   คาดว่าใช้สําหรับปล่อยให้อุจจาระผ่านลงไปยังหลุมด้านล่าง ส่วนด้านหน้ามีรางยาวเพื่อระบายปัสสาวะให้
ไหลลงภาชนะที่วางรองรับอยู่ การแยกรางให้ปัสสาวะกับอุจจาระเช่นนี้ คาดว่าเพื่อแยกไม่ให้ปนกันเป็นการป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์

           แผ่นหินนี้ เป็นหนึ่งในปริศนาให้ขบคิดว่า เป็น “ส้วม” หรือ “โยนีโทรณะ” (ฐานศิวลึงค์) กันแน่ มาแต่ พ.ศ.2503 ที่
กรมศิลปากรเคยเปิดเวทีเสวนาด้านโบราณคดี ท่ามกลางซากโบราณสถานกรุงเก่าสุโขทัย
           จน 30 ปีต่อมา “ไมเคิล ไรท์” เป็นผู้เฉลยว่าแผ่นหินที่พบบริเวณอรัญญิกเมืองสุโขทัยนั้นหาใช่ “ฐานโยนี” ไม่ หากแต่
เป็น “ส้วมของภิกษุ” ซึ่งในประเทศศรีลังกาก็มีแผ่นหินหลุมส้วมทำนองเดียวกันนี้อย่างกลาดเกลื่อน

https://www.matichonweekly.com/culture/article_25722


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 20 มิ.ย. 23, 13:35

“ไมเคิล ไรท์” เป็นผู้เฉลยว่าแผ่นหินที่พบบริเวณอรัญญิกเมืองสุโขทัยนั้นหาใช่ “ฐานโยนี” ไม่ หากแต่เป็น “ส้วมของภิกษุ” ซึ่งในประเทศศรีลังกาก็มีแผ่นหินหลุมส้วมทำนองเดียวกันนี้อย่างกลาดเกลื่อน

นาทีที่ ๖.๑๒ - ๘.๒๖

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 มิ.ย. 23, 13:55

                 มิวเซียมสยามเคยจัดนิทรรศการ สืบจากส้วม เมื่อปี ๒๕๕๓

เชิญไปทุ่งท่องได้ที่

https://archives.museumsiam.org/uploads/r/national-discovery-museum-institute-ndmi/d/7/7/d77561f8aa6c132a93e8c4adfb5690cbe35912d71383e8fc15c84b4356176b4a/th-ndmi-exh-tmp-05-01-002.pdf
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 มิ.ย. 23, 14:35

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 มิ.ย. 23, 15:35

ส้วมชาววังสมัยอยุธยา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 มิ.ย. 23, 19:34

เมื่อสยามรับอิทธิพลตะวันตกเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3   มาชัดเจนในรัชกาลที่ 4   พอถึงรัชกาลที่  5  วัฒนธรรมตะวันตกหลายอย่างก็พรั่งพรูเข้ามาในสังคมไทย รวมทั้ง "ส้วม" ด้วย
ส้วมของเจ้านายและคนชั้นสูงในสมัยนั้น เปลี่ยนอิริยาบถของคนไทยในขณะปลดทุกข์ไปจากเดิม    ถ้าดูจากภาพผนังโบสถ์ที่ยกมาในกระทู้นี้   จะเห็นว่าเดิมคนไทยนั่งยองๆ กัน   ท่านี้เป็นท่านั่งยอดนิยมของคนไทย
ที่มาคือคนไทยนั่งบนพื้น  จะเคลื่อนไหวอย่างไหนก็อยู่ติดพื้นตามความเคยชิน   แต่ฝรั่งไม่นั่งยองๆ เขานั่งห้อยขา   ส้วมของฝรั่งจึงเปลี่ยนอิริยาบถคนไทยให้ห้อยขาตามไปด้วย

อย่างส้วมรูปร่างเหมือนหีบมีฝาปิด และมีฝาปิดรูกลมๆนี้  ใส่ภาชนะรองรับไว้ข้างใต้  เปิดด้านข้างให้ดึงโถข้างในออกมาทำความสะอาดแล้วใส่กลับเข้าไปได้    เมื่อเข้ามาในไทยก็ตรงไปที่วังก่อนบ้านชาวบ้าน   เจ้านายไทยได้ใช้ก่อนคนอื่น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 มิ.ย. 23, 19:38

ภาพนี้เห็นลิ้นชักด้านข้างชัดกว่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 มิ.ย. 23, 19:44

เคยถามคุณยายเจ้าของบ้านที่ไปอาศัยอยู่ด้วยตอนเรียนหนังสือว่า สมัยคุณยายเล็กๆก่อนมีห้องน้ำสุขภัณฑ์ทันสมัย   คุณยายไปห้องน้ำยังไงตอนกลางคืน  เพราะตอนเล็กๆคุณยายอยู่ในยุคต้นศตวรรษที่ 20  ดินแดนแถวโคโลราโดยังเป็นแดนเถื่อนของตะวันตกอยู่มาก
คุณยายตอบว่า สมัยนั้นมี chamber pot

กระโถนแบบฝรั่งเข้ามาในสยามในรัชกาลที่ 5   เจ้านายโดยเฉพาะเจ้านายสตรี น่าจะมีใช้กัน


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 03:29

อ้างถึง
ดิฉันเข้าไปอ่านในลิ้งค์ที่ให้มาได้หมดเลยค่ะ ทั้ง 3 ลิ้งค์
FB ของดิฉันไม่เคยถูกบล็อค  ก็เลยไม่เข้าใจว่าถูกบล็อคคืออะไร  แบบไหน  เจ้าของอ่านไม่ได้แต่คนอื่นอ่านได้หรืออย่างไร   เพราะดิฉันเข้าไปอ่านได้หมดค่ะ
ถ้าลิ้งค์ข้างล่างนี้เป็นของคุณนามแปลง   ดิฉันขออนูญาตนำรูปบางรูปมาลงในกระทู้นะคะ

อาจารย์ครับ ผมไม่เข้าใจเกณฑ์ การบล๊อกการมองเห็นของเฟสบุ๊ค ครับ
เพราะเพื่อนของผมหลายคนที่เข้าไปอ่านไม่ได้
บางคน ค้นหาหน้าเฟสของผม จากหน้าเฟสบุ๊คไม่ได้
ผมเคยถูกเพื่อนสนิทเคือง ที่ผมต้องแก้ปัญหาโดยการส่งรหัสหน้าเฟสบุ๊คให้เพื่อนเข้าไปดูว่า ผมไม่ได้บล๊อกเค้า
แต่การบล็อกการมองเห็นจะเป็นช่วงเวลาสั้นบ้าง ยาวบ้าง
ที่ผมไม่เข้าใจอีกเหมือนกันครับว่า ทางเฟสบุ๊คใช้เกณฑ์อะไร.....

ผลเมื่อเช้าครับ จากบัญชีเพื่อนที่จะเข้าไปอ่าน ลิ้งก์

https://web.facebook.com/plu.danai/posts/pfbid021eQofUCmBFyVGQwUtJbNeRyojEd2NYuTF3mCmNSCZXXkkfPBxEES1bVQ7ckSwpCVl

บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 03:36

ขอโทษครับ ผมแก้ลดขนาดภาพที่ลงผิดไม่ได้

ส่วนเรื่องภาพในหน้าเฟสบุ๊คนั้นไม่ใช่ของผมสักภาพครับ ผมนำมาจากหน้าค้นหาของกูเกิลครับ

กราบขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 09:48

ดิฉันเข้าไปอ่านได้ตามปกติค่ะ
คุณเพ็ญชมพู คุณหมอ SILA  และท่านอื่นๆ อ่านได้ไหมคะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 09:53

เข้าไปอ่านได้ ครับ

เมื่อสยามรับอิทธิพลตะวันตกเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3   มาชัดเจนในรัชกาลที่ 4   พอถึงรัชกาลที่  5  วัฒนธรรมตะวันตกหลายอย่างก็พรั่งพรูเข้ามาในสังคมไทย รวมทั้ง "ส้วม" ด้วย
ส้วมของเจ้านายและคนชั้นสูงในสมัยนั้น เปลี่ยนอิริยาบถของคนไทยในขณะปลดทุกข์ไปจากเดิม  
.....มาไทยก็ตรงไปที่วังก่อนบ้านชาวบ้าน   เจ้านายไทยได้ใช้ก่อนคนอื่น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 10:35

ดิฉันเข้าไปอ่านได้ตามปกติค่ะ
คุณเพ็ญชมพู คุณหมอ SILA  และท่านอื่นๆ อ่านได้ไหมคะ

เข้าไปอ่านได้เช่นกัน

ในพระนิพนธ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ เรื่อง เกิดในวังปารุสก์ ทรงเล่าว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้านายพระองค์แรก ๆ ที่มีพระราชนิยมใช้ห้องน้ำแบบตะวันตก โดยโปรดให้สร้างห้องสรงหรือห้องน้ำแบบตะวันตกในพระราชมณเฑียรต่างๆ ที่เสด็จไปประทับ อย่างเช่น พระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชวังบ้านปืน พระราชนิเวศมฤคทายวัน พระราชวังพญาไท พระราชวังสนามจันทร์

แม้กระทั่งพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชมณเฑียรที่พระมหากษัตริย์ต้องเสด็จประทับเมื่อแรกพระบรมราชาภิเษก ก็โปรดให้ต่อเติมห้องสรงโดยจัดแอบไว้อย่างกลมกลืนกับงานสถาปัตยกรรมไทยแบบโบราณ ต่อมาพระราชนิยมในเรื่องห้องน้ำแบบตะวันออกจึงได้แพร่หลายในหมู่ชั้นชนสูง ตลอดจนคหบดีและสามัญชนทั่วไป


ห้องน้ำในพระราชวังพญาไท



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33592

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 11:06

เคยเห็นห้องสรงในพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์  ปูกระเบื้องขาวมีลวดลายประดับด้วย  สุขภัณฑ์และอ่างน้ำ  ดูทันสมัยมากค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง