เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 16212 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 08 ก.ค. 21, 20:34

ก็มาถึงเรื่องของลมยาง  ในปัจจุบันนี้ โดยทั่วๆไปจะสูบลมยางเป็นมาตรฐานกันที่ 32 psi   ก็ OK แม้จะไม่เป็นไปตามคู่มือการใช้รถ  เรื่องลมยางนี้เป็นเรื่องที่ต้องควรระวังและตรวจสอบด้วยตนเองทุกครั้งในกรณีที่ให้เด็กปั้มหรือร้านยางช่วยทำการเติมลมให้ เพราะว่าเขาเหล่านั้นค่อนข้างจะเคยชินกับการตัวเลขของเติมลมสำหรับรถกระบะ(ซึ่งใช้ยางอีกประเภทหนึ่ง)ที่ใช้ลมยางประมาณ 35 - 45 psi  (45 psi เป็นแรงดันลมยางที่สูงมากสำหรับยางรถเก๋งโดยทั่วๆไป)
 
ในการเดินทางไกลและช่วงระยะทางของการขับรถอย่างต่อเนื่องที่ใช้เวลานานหลายชั่วโมง ยางจะร้อน แรงดันของลมยางจะเพิ่มมากขึ้นอีกถึง 2-3 psi ก็เป็นเรื่องปกติ   ในกรณีที่บรรทุกหนักเราอาจจะเติมยางหลังเป็น 35 psi ก็ได้ แต่อย่าลืมลดลมยางลงและตรวจวัดทั้ง 4 ล้อเมื่อกลับมาใช้งานตากปกติ   เช่นกัน ในระหว่างการเดินทางแต่ละวันก็ควรจะต้องหาโอกาสตรวจดูลมยางด้วย โดยเฉพาะเมื่อแวะเติมน้ำมันก่อนออกเดินทางในช่วงต่อไป

ลืมไปเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสภาพของยางที่หมดอายุ   ก็คือ การบวมของแก้มยาง  ยิ่งแก้มป่องจนยางดูกลมสวยงามก็ยิ่งมีอันตรายมากขึ้น เสี่ยงกับการระเบิดในระหว่างการเดินทางไกลเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 18:38

สำหรับผู้รักการขับในถนนทุรกันดารก็จะใช้ยางอีกลักษณะหนึ่งที่มีดอกยางหยาบ ร่องยางค่อนข้างจะลึกและกว้างกว่ายางปกติ  ยางพวกนี้มีให้เลือกทั้งแบบแก้มยางอ่อนและแบบแก้มยางแข็ง ซึ่งหากจะใช้ในพื้นที่ๆสมบุกสมบันจริงๆก็ควรจะต้องเลือกแบบแก้มยางไปทางแข็ง   ขนาดของลมยางที่ใช้กับยางพวกนี้จะแปรผันไปตามลักษณะของภูมิประเทศ พื้นดิน และน้ำหนักบรรทุก  ใช้ได้ตั้งแต่ประมาณ 25 psi ไปจนถึงประมาณ 40 psi     ในประสบการณ์ของผมที่ใช้รถ 4x4 เข้าทำงานในพื้นที่โหดๆหลายพื้นที่ หลักการก็ไม่มีอะไรมาก  ใช้ยางอ่อนเพื่อให้ได้ยางหน้ากว้างในพื้นที่ๆเป็นดินทรายหรือทราย เพื่อจะได้ไม่จมทราย  ใช้ยางแข็งเพื่อให้ได้หน้ายางแคบในพื้นที่ๆมีดินโคลนบนพื้นผิว  และใช้ยางที่หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนเต็มหน้าในพื้นที่เป็นทรวดทรายและลูกรัง    ก็อาจจะเห็นว่าพูดง่ายแต่ทำยาก ว่าแล้วจะไปเอาลมที่ใหนมาใช้สูบยาง   แต่ถ้าเราได้ศึกษาหาข้อมูลของพื้นที่ก่อนพอสมควร เราก็พอจะประเมินความเหมาะสมที่เป็นทางสายกลางได้  ในประสบการณ์ของผมก็ทำเช่นนั้น  หลายๆด้านเราสามารถประเมินได้จากลักษณะภูมิประเทศ จากลักษณะความห่างไกลจากชุมชนเมือง จากสิ่งแวดล้อมทางภูมิอากาศ จากข่าวสาร/สารคดีต่างๆ ...ฯลฯ         

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 19:30

ก็มาถึงยางอะไหลซึ่งในปัจจุบันนี้เราเกือบจะไม่ได้สัมผัสกับมันเลย  ก็มีอยู่สองสามเรื่องที่พึงต้องนึกถึงมันเมื่อจะต้องเดินทางไกล    เรื่องแรกก็คือ ยังเห็นมันอยู่ดีมีสุขอยู่ในที่เก็บ เห็นเช่นนั้นแล้วก็ต้องลองเอามันออกมาวางไว้นอกรถ ก็เป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำ    เพราะการทำนั้นมันจะช่วยเตือนความจำให้เราได้รู้ว่า อุปกรณ์ที่จะใช้ในการเปลี่ยนยางนั้นเก็บอยู่ที่ส่วนใดของรถและมันมีองค์ประกอบครบใหมในกรณีที่เกิดเหตุให้ต้องมีการเปลี่ยนยางในระหว่างการเดินทาง  ซึ่งก็จะต้องมีแม่แรงและเหล็ขันน็อตล้อเป็นสำคัญ   สำหรับการเอายางออกมาวางนอกรถนั้น ก็เพื่อจะได้รู้ถึงความยากง่ายในการเอามันออกมาและใส่กลับคืนไป ซึ่งก็จะไปเกี่ยวกับการจัดของและการรื้อของที่บรรทุกไว้ท้ายรถ และก็จะได้รู้ว่ามันยังมีลม/ยังใช้ได้อยู่หรือไม่  ผมเชื่อว่า ด้วยความอยากรู้บางประการ เมื่อเห็นแม่แรงแล้วก็คงจะอดไม่ได้ที่จะต้องลองหมุนลองทำให้มันยกตัวขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะจับต้องจับเหล็กขันน็อตล้อ แล้วก็เกิความสงสัยว่า แล้วเราจะมีแรงขันน็อตหรือ

ที่สำคัญก็คือ ตรวจสอบและเติมลมยางอะไหล่นั้นให้มีแรงดันมากกว่าที่เราเติมล้อรถที่ใช้อยู่ประมาณ 5+ psi   และก็แนะนำให้ไปหาซื้อบล็อก(และด้ามขัน)ตามขนาดของน็อตล้อ  ซึ่งขนาดของน็อตล้อสำหรับรถทั่วๆไปก็มักจะเป็นขนาด 19 หรือ 21 มม. แต่หากเป็นรถยุโรปก็จะใช้ขนาดที่เป็นสัดส่วนของนิ้ว น่าจะเป็นขนาด 3/4 หรือ 7/8 นิ้ว (ไม่แน่ใจแล้ว)   สมัยก่อนนั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่ากากบาทกัน แต่ผมไม่แนะนำเพราะมันกินที่ในการเก็บ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 20:12

รถยนต์จะมีที่เก็บยางอะไหล่อยู่ภายในรถและภายนอกรถ    สำหรับพวกที่มีที่เก็บอยู่นอกรถนั้น ด้วยที่มักจะมีการระวังว่ายางอะไหล่อาจจะถูกขโมย ก็เลยมีการใส่ชุดล็อดที่ใช้กุญแจ แต่ยิ่งนานวันเข้าและไม่ได้มีการใช้เลย ก็จะมีกรณีลูกกุญแจหาย หาไม่เจอ หรือไม่ก็รูของแม่กุญแจถูกโคลน/ฝุ่นอุดจนใช้การได้ยากหรือไม่ได้ การมุดใต้ท้องรถตรวจดูสภาพและการใช้งานได้เป็นระยะๆจึงมีความสำคัญมาก ผมแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยวิธีง่ายๆด้วยการใช้เทปพันสายไฟพันปิดรูกุญแจนั้นเสีย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 20:26

สมัยที่ยังใช้รถแลนด์ในการเดินทางและทำงานในเส้นทางสุดโหดในพื้นที่ป่าดงต่างๆนั้น จะเติมลมยางหน้า 25 psi ยางหลัง 28 psi เป็นพื้นฐาน ตัวรถหนักประมาณ 2.5 ตัน (?) ใช้ยางหน้ากว้าง ผ้าใบ 8 ชั้น  แต่เมื่อต้องมีการบรรทุกเต็มที่ก็จะใช้ลมยางหน้า 30 psi ยางหลัง 32 หรือ 35 psi  น้ำหนักรวมน่าจะประมาณ 3 ตันกว่า  เป็นความลงตัวที่เหมาะมากสำหรับการใช้ในทุกสภาพเส้นทาง    แล้วค่อยขยายความภายหลัง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 17:36

ก็มีเรื่องเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องของเครื่องมือประจำรถ ซึ่งปกติจะเป็นของที่ได้มาพร้อมกับการซื้อรถ โดยพื้นๆก็จะมีไขควงแบบสลับกลับไปมาได้ระหว่างปลายแบนกับปลายแฉก มีคีม 1 ตัว มีประแจขันน็อตเบอร์ 10, 11, หรือ 12 ซึ่งเป็นประแจตัวเดียวที่ด้านหนึ่งมักจะเป็นเบอร์ 10 แต่อีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นเบอร์ 11 หรือ 12 ก็ได้   เครื่องมือเหล่านี้ใช้งานได้สำหรับงานที่ไม่ต้องลงแรง ใช้เพื่อคลายหรือปรับอะไรๆได้พอได้บ้าง  จะว่าไปแล้วมันเป็นเพียงสิ่งของที่ต้องมีตามข้อบังคับสำหรับฝ่ายผู้ผลิตว่าจะต้องจัดให้มีประจำรถเท่านั้น   ผมมีความเห็นว่าหากเราเป็นนักนิยมขับรถเดินทางท่องเที่ยว เราก็ควรจะต้องมีประแจที่มีคุณภาพพอที่จะใช้งานเชิงช่างติดอยู่ในรถเป็นประจำ ก็คือหาซื้อของที่ดีกว่านั้น   แต่ก็จะต้องพอมีความเข้าใจในเรื่องของเครื่องมือเหล่านั้นด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 18:28

แม้ว่าตัวเราจะไม่มีความสันทัดใดๆในเชิงช่างก็ตาม   เครื่องมือติดรถที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมเหล่าอันพึงมีเหล่านั้นจะช่วยให้ช่างหรือคนที่มาช่วยเหลือเราในกรณีที่รถเสียกลางทางได้ใช้ทำการช่วยแก้ไขปัญหาให้เราสามารถเดินทางต่อไป แล้วจึงค่อยไปเข้าอู่ซ่อมรถในเมือง  การมีเครื่องมือที่ดีพอที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินเหล่านั้นจะช่วยทำให้ไม่เกิดการบุบสลายและความเสียหายต่อเครื่องยนต์กลไกต่างๆ

สำหรับไขควงและประแจที่จำเป็นจะต้องมีติดรถนั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง แต่การไปหาซื้อของใหม่ที่มีคุณภาพดีพอนั้น ก็พึงจะต้องรู้พื้นฐานด้วยว่า ขนาดของน็อตและสกรู(ตะปูควง)ของเครื่องยนต์กลไกของรถในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดจะใช้ระบบเมตริก (มิลลิเมตร) ในขณะที่ของรถอเมริกันและและยุโรป(พันธุ์แท้)จะยังคงมีการใช้ระบบหุน (นิ้ว) รถของบางผู้ผลิตก็ใช้น็อตทั้ง 2 ระบบ  มากไปกว่านั้น สำหรับรถ เครื่องยนต์ หรือเครื่องกลรุ่นเก่า ก็มีการใช้ขนาดตามมาตรฐานของอังกฤษอีกด้วย (BSW)  คือวัดขนาดที่ตัวแกนน็อต มิได้วัดขนาดที่ตัวหัวน็อต   ซึ่งก็มีบางผู้ผลิตใช้ทั้ง 3 ระบบคละกัน เช่น รถแลนด์โรเวอร์รุ่นก่อนๆโน้น   

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 19:14

เครื่องมือประจำรถที่สำคัญก็จะมี แม่แรง   พึงลองเอาออกมาใช้ดูบ้างก็จะดี จะได้รู้จักวิธีใช้ รู้ตำแหน่งที่จะเอาแม่แรงไปไปขึ้น และยังจะได้รู้ว่าก้านหมุนแม่แรงนั้นยังอยู่ครบ ต่อกันอย่างไร หรือวิธีการเอาไปสวมกับแม่แรงเพื่อหมุนแม่แรงเป็นอย่างไร     

แม่แรงนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือแบบไฮดรอลิคใช้วิธีโยกขึ้นลง และแบบเป็นเกลียวหมุน  รถที่เก๋งและรถกระบะที่ใช้บนถนนพื้นเรียบในเมืองทั้งหมดน่าจะได้รับแม่แรงแบบเกลียวหมุนเป็นของประจำรถ   สำหรับรถที่ใช้ในพื้นที่ทุรกันดารนั้น ควรจะใช้แม่แรงแบบไฮดรอลิคจะดีกว่าแบบเกลียวหมุนมากๆ เพราะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของการตั้งใช้ในพื้นที่ๆไม่เรียบ และยังสามารถใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนยางได้อีกมาก  ผมใช้แม่แรงประเภทนี้ช่วยเอาตัวรอดในการเดินทางไปทำงานในพื้นที่ๆที่มีเส้นทางที่โหดๆบ่อยครั้งมาก   ทั้งนี้ก็คงจะต้องดูความเหมาะสมของแม่แรงไฮดรอลิคที่หาซื้อด้วย มันก็จะมีแบบ 2 ตอน กับ 3 ตอน  และก็มีแบบทรงสูงและทรงเตี้ย แล้วก็มีแบบที่มีเกลียวหมุนปรับระดับแป้นที่จะรองรับตัวรถ

จะมี จะเปลี่ยน จะใช้แม่แรงอย่างไร ก็ต้องมีการพิจารณากันเหมือนกัน   อย่างไรก็ตาม ในสภาพและคุณภาพของเส้นทางคมนาคม รวมทั้งคุณภาพของยางรถที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้  ใช้แม่แรงที่เขาให้ติดรถมาก็พอเพียงแล้ว เว้นแต่จะเป็นรถที่ไปแต่งยกสูงหรือโหลดเตี้ย ซึ่งจะทำให้แม่แรงที่ติดรถมานั้นไม่สามารใช้การได้ คือแม่แรงยืดสุดแล้วยังยกล้อไม่ลอย หรือไม่สามารถอาแม่แรงสอดเข้าไปใด้       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 19:31

มาถึงเรื่องของไขควง หากเป็นผู้นิยมขับรถเดินทางท่องเที่ยว  ผมก็มีความเห็นว่าควรจะหาซื้อของใหม่มาแทนของที่ได้มากับรถ   ซื้อแยกเป็นปากแบนตัวหนึ่ง เป็นปากแฉกอีกตัวหนึ่ง  และถ้าจะให้ดีก็ควรจะเป็นชนิดที่สามารถตอกก้น(ด้วยฆ้อน)ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นของชั้นดีราคาสูง เอาแต่เพียงเลือกด้ามจับที่ใหญ่หน่อยและไม่ลื่น มีก้านเป็นเหลี่ยม เผื่อว่าต้องใช้คีมช่วยในการหมุน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 17:31

ไขควงเป็นเครื่องมือที่ส่วนมากจะใช้กับระบบข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะกับข้อรัดที่รัดการต่อระหว่างท่อยางกับท่อโลหะ เช่น ระหว่างหม้อน้ำกับตัวเครื่องยนต์ ท่ออากาศของระบบหม้อกรองต่างๆ (กรองอากาศ กรองน้ำมัน) ... เป็นต้น  และใช้กับในการปรับแต่งระบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของรถต่างๆด้วย เช่น ปรับไฟส่องทางให้สูง-ต่ำ ปรับระบบกลอนล็อคประตู ขันสกรูยึดอุปกรณ์ต่างๆกับตัวรถ ...เป็นต้น   

ในรถรุ่นเก่า สกรูที่ใช้กับระบบข้อต่อและการขันยึดต่างๆจะมีทั้งแบบที่ต้องใช้ไขควงปากแบนหรือที่ต้องใช้ปากแฉกคละกัน แต่ในรถรุ่นใหม่ หัวสกรูที่ต้องใช้ไขควงขันนั้น ส่วนมากจะเป็นลักษณะที่ใช้ไขควงได้ทั้งสองแบบ   แต่...หากรถได้มีการเข้าซ่อมหรือผ่านมือช่างเพื่อการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในรูปแบบที่ต้องมีการถอดออกมา  ก็ดูจะเป็นเรื่องปกติที่หัวสกรูไม่เป็นดังเดิม  จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่แบบแบนก็แบบฉาก  ซึ่งหมายถึงการต้องใช้ไขควงปลายแบนหรือแฉกเป็นการเฉพาะสำหรับหัวสกรูนั้นๆ

หัวน็อตหรือสกรูของสายรัดข้อต่อของรถในปัจจุบันนี้ มีการทำในรูปแบบที่ใช้งานได้ทั้งไขควงและประแจ หากแต่แบบผสมนี้จะใช้ไขควงแบบปลายแฉกได้อย่างเดียว   สำหรับที่เป็นพวกข้อรัดท่องยางต่างๆ หัวน็อตจะมีขนาด 8 มม.(ขนาด 6 มม.ก็มีแต่น้อยมาก) และหากเป็นน็อตที่ใช้เพื่อการยึดอุปกรณ์บางประเภทติดกับตัวถังรถยนต์ ก็มักจะเป็นหัวน็อตขนาด 10 มม. ขนาด 11 มม.ก็มีเช่นกัน แต่มักจะใช้กับอุปกรณ์ที่ยึดติดกับตัวเครื่องยนต์     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 17:54

ไขควงปากแบนที่สามารถตอกได้ และปลายเป็นแม่เหล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างมากทีเดียว จะเรียกว่าเอนกประสงค์ก็น่าจะพอได้  นอกจากใช้ขันสกรูแล้ว เมื่อมีความจำเป็นก็สามารถใช้ในลักษณะของสิ่ว เหล็กสกัด การงัดแงะ เขี่ยของ ดูดเศษ/ผงโลหะ (เหล็ก) เจาะรู เจาะกระป๋อง สมอยึดเชือก แม้กระทั่งใช้เป็นอาวุธ เหล่านี้เป็นต้น   

ในมุมหนึ่ง สภาพของไขควงปากแบนที่มีติดอยู่กับรถของพวกคนที่ต้องใช้รถในพื้นที่ทุรกันดารและอ๊อฟโรดจริงๆนั้น ค่อนข้างจะบ่งบอกถึงประสบการณ์และความสัมบุกสัมบันของรถหรือเจ้าของรถคันนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 18:45

ก็มาถึงเรื่องของประแจ

ประแจเป็นศัพท์บัญญัติ  แต่ในภาษาแบบบ้านๆและตลาดๆจะใช้คำว่ากุญแจ  ก็มี 3 รูปแบบ คือ แบบปากเปิดที่เรียกว่ากุญแจปากตาย ทั้งสองปลายเป็นแบบปลายเปิด   มีแบบที่ปลายเป็นทรงแหวนที่เรียกว่ากุญแจแหวน ทั้งสองปลายเป็นทรงแหวน   และมีแบบผสมกันที่ปลายด้านหนึ่งเป็นปากตาย ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งเป็นแหวน   ทั้ง 3 รูปแบบนี้เป็นประแจในระบบ มม. ซึ่งมีข้อแตกต่างในรายละเอียด คือ เป็นแบบขนาดของประแจ(หัวน็อต)เรียงต่อกันระหว่างปลายด้านหนึ่งกับอีกปลายหนึ่ง (เช่น ขนาด 11 / 12 มม.  เป็นแบบขนาดของประแจ(หัวน็อต)ทั้งสองปลายเป็นชุดเลขคู่หรือเลขคี่ (เช่น 12 /14 มม.)    สำหรับประแจที่เป็นปากตายด้านหนึ่งกับแหวนอีกด้านหนึ่งนั้น ทั้งสองปลายจะเป็นขนาดเดียวกัน     

ส่วนประแจในระบบหุนนั้น เท่าที่มีความคุ้นเคยมา จะเป็นจัดคู่กันเช่น 9/16 กับ 1/2 หรือ 5/8 กับ 7/16 (? จำได้ไม่แม่นแล้ว)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 19:16

ที่เล่ามาก็เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานเพื่อการเลือกซื้อประแจให้เหมาะสมตามประสงค์ เช่น ประจำรถ ประจำบ้าน หรือจักรยาน  หรือเพื่อใช้ฉุกเฉินด้วยตนเองเมื่ออยู่ในพื้นที่ๆยังคงสภาพท้องถิ่นเดิมๆที่ไม่ต่างไปมากนักจากแต่เก่าก่อน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 18:12

ประแจที่ควรมีประจำรถนั้น มีไม่กี่ตัว ที่ใช้มากที่สุดก็จะเป็นขนาด 10 และ 11 มม.   ขนาด 12 มม.มักจะใช้กับเรื่องของการตั้งสายพานใบพัดลมหม้อน้ำและพวกสายดึงต่างๆ เช่น สายเบรคมือ สายคันเร่ง(รถรุ่นเก่า)    ขนาด 14 มม. ใช้น้อยมาก มักจะเรื่องของอุปกรณ์ต้องใช้ความรู้ทางช่างเป็นมากหน่อย เช่นในการปรับความสูงต่ำของก้านเบรคหรือคลัช แต่ก็มีความจำเป็นเพราะในหลายๆเรื่องมีการใช้ร่วมกับขนาด 12 มม.   แล้วก็ขนาด 8 มม. ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว     

ก็จะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องซื้อประแจเป็นชุด   แต่หากว่าต้องการใช้เป็นเครื่องมือซ่อมพวกจักรยานและของใช้ประจำบ้านร่วมไปด้วย จะซื้อทั้งชุดก็ได้   พวกรถจักรยานและเครื่องใช้กลไกในบ้านหลายอย่างมักจะใช้ประแจเบอร์คี่ เช่น 13 และ 15   พวกสายอ่อนน้ำดีเข้าอ่างล้างมือ โถส้วม ก็มักจะเป็นขนาด 21 หรือ 22 มม. ซึ่งก็จะไม่พอดีเสมอไปเพราะผู้ผลิตใช้ระบบหุนก็มี     สำหรับขนาดที่ไม่ได้กล่าวถึงคือขนาด 16, 18 มม.นั้น มักจะเป็นประแจของช่างใช้ในการถอดประกอบเครื่องยนต์   

สำหรับรถแลนด์ที่ใช้ทำงานในป่าดงสมัยที่ยังทำงานอยู่นั้น จำเป็นจะต้องมีประแจขนาดอื่นเพิ่มเข้าไปอีก โดยเฉพาะขนาด 17 มม.เพื่อใช้ในการตั้งผ้าเบรค (รถสมัยก่อนโน้นใช้ระบบเบรคแบบก้ามปูทั้ง 4 ล้อ มิได้ใช้ผสมแบบระบบดิสเบรคที่ล้อคู่หน้าและแบบก้ามปูที่ล้อคู่หลัง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 18:58

ก็มาถึงของอื่นๆที่ควรจะมีไว้ประจำรถ   แรกสุดเลยก็คือสายพ่วงแบตเตอรี่  รถยนต์รุ่นใหม่ในปัจจุบันนี้ใช้ระบบอิเล็คทรอนิกส์ในการจัดการควบคุมกลไกและระบบต่างๆของรถ และเราก็นิยมจะใช้รถเกียร์อัตโนมัติอีกด้วย    ที่เป็นประเด็นสำคัญก็คือ เมื่อแบตเตอรี่หมดหรือมีไฟไม่พอใช้งาน รถพวกนี้ก็เกือบจะอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้เลย ติดเครื่องไม่ได้ จะเข็นแล้วกระชากให้เครื่องหมุนติดด้วยระบบ transmission ก็ไม่ได้  จะลากก็ไม่ได้ เข็นหรือลากในระยะทางสั้นมากๆก็พอใหว แต่หากเป็นการลากในระยะทางที่ยาวก็จะพาลให้เกียร์พัง ซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์กันในราคาหลักแสนบาทบวกลบกันเลยทีเดียว (ว่ากันว่าอย่างนั้น)   แบตเตอรี่ก็เลยกลายเป็นหัวใจของรถ

แบตเตอรี่จำแนกง่ายๆแบบเราๆได้เป็น 2 ชนิด คือชนิดที่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น กับชนิดที่เรียกกันว่า maintenance free     

ชนิดที่ต้องเติมน้ำกลั่นนั้น ควรจะต้องมีการหมั่นตรวจระดับของน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่แบบสม่ำเสมอ  ไม่ควรเติมให้เกินระดับที่กำหนด และก็ไม่ควรจะให้แห้งจนเห็นแผ่นธาตุที่ประกอบกันอยู่ด้านใน   น้ำกลั่นที่ใช้นั้น แท้จริงแล้วมันคือน้ำ deionized water มิใช่น้ำที่ได้มาจากการต้มกลั่น   ประสิทธิภาพในการเก็บไฟและการใช้งานของแบตเตอรี่พวกนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดของของเหลวที่บรรจุอยู่ในแบตเตอรี่นั้นๆ การบำรุงรักษาตามสมควรก็จึงมีความจำเป็น   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 18 คำสั่ง