เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 9430 ชีวิตในสังคมที่เรียบง่าย
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 ส.ค. 23, 18:23

เล่าความมาแบบเดินทางไปตามถนนลูกรัง อาจจะรู้สึกกระโดกกระเดก ไม่ค่อยจะราบเรียบนัก แต่ก็น่าจะพอสื่อความ/สื่อภาพที่ได้พบเห็นมา ซึ่งเป็นภาพรวมๆของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาจนในปัจจุบัน เท่าที่ได้สัมผัสมาด้วยตัวเอง

ที่เล่ามาดูจะเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาสื่อออกไปในทางความไม่สงบและความไม่เรียบง่ายต่างๆ   แล้ว..ชีวิตในสังคมที่เรียบง่ายจะเกิดขึ้นได้เช่นใด ??

ตามประสบการณ์ที่ได้มาจากช่วงเวลาของการทำงานภาคสนามในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงหลายๆพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ผนวกกับที่ได้ประสบมาเมื่อใช้ชีวิตเป็นช่วงๆในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงหลังเกษียณงาน  พบว่า ตัวเราเองต่างหากเป็นผู้สร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดเป็นสังคมที่เรียบง่ายสำหรับตัวเรา และก็จะไปทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราได้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นเช่นกัน               
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 ส.ค. 23, 19:27

ความเห็นของผม

สังคมของชาวบ้านก็มีลักษณะหนึ่ง ของชาวเมืองก็มีลักษณะหนึ่ง แล้วก็ยังมีแยกย่อยๆออกไปอีก เช่น สังคมบนฐานทางอาชีพ สังคมบนฐานของลักษณะงาน สังคมบนฐานด้านการศึกษา ...    สิ่งที่จะทำให้ผู้คนที่อยู่ในวิถีของสังคมที่ต่างกันมาอยู่ร่วมกันในสภาพที่มีความรู้สึกว่าไม่อึดอัด มีแต่ความสงบและเรียบง่าย ก็คือการช่วยกันสร้างให้เกิดความรู้สึกสงบและเรียบง่ายนั้นๆ ซึ่งเกิดได้ด้วยการสร้างสังคมเล็กๆระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกัน จากระดับบุคคลแล้วค่อยๆขยายไปในวงกว้าง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 12 ส.ค. 23, 19:53

ก็มีบางมุมมองและความเห็นที่ได้สัมผัสมาในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจในพื้นที่นอกเมือง   เป็นภาพที่เห็นจากการที่ผมนิยมเดินทางไปต่างจังหวัดด้วยการขับรถเอง เลือกพักตามโรงแรมระดับ 3 ดาวที่ดูดีและมีอาหารเช้าบริการ ที่ใกล้ๆที่พัก(เดินไป)มีร้านข้าวต้มหรือร้านที่เปิดขายอาหารเย็นที่มิใช่แบบเป็นสวนอาหารหรือภัตตาคารชื่อดัง  การเดินทางในลักษณะนี้ทำให้ได้มีโอกาสคุยกับคนพื้นถิ่นค่อนข้างมาก ได้ข้อมูล ความรู้ ปัญหา และพื้นฐานของกระบวนคิดต่างๆของผู้คนในสังคมระดับรากหญ้ามากทีเดียว  หลายๆเรื่องเหล่านั้นดูจะเป็นองค์ประกอบ(มากบ้าง น้อยบ้าง)ที่ส่งผลให้เกิดเป็นลักษณะจำเพาะของอุปนิสัยใจคอของผู้คนพื้นถิ่นนั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 13 ส.ค. 23, 18:50

ที่ว่ากันว่าเศรษฐกิจไม่ดีนั้น เกือบทั้งทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อเดินทางผ่านไปทางใหนก็เห็นมีการปลูกบ้านใหม่กระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ละสองสามหลัง  ที่ดูจะมีลักษณะเป็นการเฉพาะในเรื่องนี้ก็คือ เกือบทั้งหมดจะเป็นการเปลี่ยนจากบ้านไม้ไปเป็นบ้านปูนที่สร้างในพื้นที่เดิม ไม่ค่อยจะเห็นมีการสร้างอาคารพาณิชย์ใหม่ (ซึ่งภาพที่เห็นมักจะเป็นอาคารที่ยังสร้างไม่เสร็จ ทิ้งร้างไว้)    อีกภาพหนึ่งที่เห็นคุ้นตาก็คือ ไม่ค่อยจะเห็นรถกระบะส่วนบุคคลรุ่นเก่า มีแต่รุ่นค่อนข้างใหม่ไม่ไกลจากปีปฏิทิน ซึ่งก็มีการแต่งตามความพอใจของเจ้าของ (ล้อแม็ก ขนาดยาง ช่วงล่าง เครื่องประดับรถ...)    ในด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตรก็เช่นกัน รถอีแต๊ก อีแต๋น ที่แต่เดิมมักจะเห็นวิ่งอยู่ตามถนนในยามเย็น ก็ถูกแทนที่ด้วยรถไถเอนกประสงค์ขนาดเล็กที่ใช้ได้ทั้งไถนา ตัดหญ้า ยกร่องสวน พรวนดิน...   และก็แน่นอนว่าเห็นมอเตอร์ไซด์เป็นจำนวนมากตามถนนต่างๆทั้งภายในตัวเมืองและตามถนนหลวง ในเมืองในช่วงเช้าก็จะมีทั้งแบบที่ผู้คนใช้เดินทางไปทำงานและที่นักเรียนใช้ในการไปเรียนหนังสือ   ในพื้นที่ชานเมืองในรัศมีถึงประมาณ 20 กม. ก็จะเป็นพวกคนที่ไปทำงานในเมือง รวมทั้งชาวบ้านที่ไปสวน ไปไร่ ไปนา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 13 ส.ค. 23, 20:03

ภาพดังกล่าวนี้ ดูจะไม่บ่งชี้ไปในทางว่าเศรษฐกิจไม่ดีในองค์รวม  แต่ดูจะบ่งชี้ไปในทางว่าที่ไม่ดีนั้น มันเป็นเฉพาะกับบางวงจรของเงินหมุนเวียนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่าง(ที่ทำให้เกิดรายได้)  เช่น ช่างไม้ย่อมมีรายได้ลดลงหรือขาดรายได้ ต่างกับช่างปูนที่ย่อมจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากความนิยมในการสร้างบ้านที่เป็นบ้านปูน    หรือเช่น เปลี่ยนจากการซึ้อของสดจากตลาดมาทำกับข้าวกินเอง ไปเป็นการซื้ออาหารสำเร็จรูป เรื่องเช่นนี้กระทบถึงรายได้ของชาวบ้านระดับรากฝอยค่อนข้างมาก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 15 ส.ค. 23, 19:23

ข้อสังเกตที่ผมใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีในพื้นที่ๆไปทำงานที่เรียกว่าต่างจังหวัด อำเภอ หรือตำบลห่างไกลนั้น มีอยู่สองสามเรื่อง โดยใช้การพิจารณาจากภาพที่เห็น   ก็จะมีเช่นเรื่องที่เกี่ยวกับความหลากหลายของนิติบุคคลที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่  เรื่องที่เกี่ยวกับปริมาณการคมนาคมในพื้นที่  เรื่องที่เกี่ยวกับการจับจ่ายในเรื่องอาหารการกิน   และที่เกี่ยวกับการกระทำบนฐานของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage)

เรื่องแรก _ความหลากหลายของนิติบุคคลที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่ เรื่องนี้ดูจะเป็นสิ่งที่สะท้อนภาพออกมาให้เห็นได้ดีที่สุด  ก็คือความหลากหลายของธนาคารพาณิชย์ที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในพื้นที่ ทั้งในเชิงของความหลากหลาย จำนวนที่ตั้งและความหรูหราของสำนักงานที่ปรากฎ  (เงินเป็นปัจจัยสำหรับการอยู่รอดของธนาคารต่างๆ)

เรื่องที่สอง การคมนาคมในพื้นที่นั้นดูได้จากหลายๆภาพ เช่นจากปริมาณการสัญจรของรถบรรทุก(เล็ก ใหญ่)  ขนาดและลักษณะของรถบรรทุก  จำนวนโกดังเก็บ/กระจายสินค้า  รวมทั้งปริมาณรถยต์ส่วนบุคคลที่วิ่งขักไขว่อยู่ในพื้นที่ .....

เรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน  เรื่องนี้ดูได้จากเมนูอาหารนิยมที่ผิดที่ผิดทางในพื้นถิ่น  ก็คงจะไม่ต้องขยายความ  กรณีก็เช่น ปลากะพงแดดเดียว ยำหอยแครง ต้มยำหัวปลาแซลม่อน เนื้อโพนยางคำย่างน้ำตก....
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 16 ส.ค. 23, 19:13

ในด้านของการกระทำที่แสดงถึงการวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage) นั้นมีให้เห็นอยู่มาก เพียงแต่อาจจะไม่ได้นึกถึงในประเด็นนี้กัน หากแต่จะมองไปในภาพของการเลียนแบบในมุมของ copy บ้าง  ในมุมของ imitation บ้าง  ในมุมของ replica บ้าง ....    ภาพของการมีการวิเคราะห์ที่กล่าวถึงนี้จะเห็นได้ค่อนข้างจะเด่นชัดจากผลิตภัณฑ์ต่างๆหลายๆอย่างที่เอามาแสดงและวางขายกันในงานโอทอปที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำในแต่ละปีที่เมืองทองธานีและที่อื่นๆ   

ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอและขายในงานโอทอปนี้ น่าจะจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่ติดตลาดแล้ว  ประเภทขยายตลาด  ประเภทเกิดใหม่ กำลังหาตลาด  และประเภทสินค้าซื้อมา-ขายไป   หากได้เดินเที่ยวดูของในงานที่จัดขึ้นในแต่ละครั้ง ก็จะมีโอกาสได้เห็นภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นถิ่นทั่วไทยว่าน่าจะอยู่ในสภาพของสิ่งแวดล้อมใด ดีหรือเลว มากหรือน้อยเพียงใด   น่าเสียดายที่ผู้คนส่วนมากดูจะมองเห็นแต่เพียงภาพของงานออกบูทขายของ   

ก็อยู่นอกวงทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องทางเศรษฐกิจและทางเศรษฐศาสตร์ แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีการนำเอาประเด็นต่างๆที่สัมผัสได้จากงานโอทอปในแต่ละครั้งเหล่านั้น เอาไปวิเคราะห์ในเชิง holistic เกี่ยวกับต้นทางที่ทำให้เกิดและเหตุที่ทำให้ล้มหายตายจากไปของพวก micro SME ที่ได้มาแสดงตนหรือที่หายไปจากงานโอทอปที่ผ่านๆมา 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 16 ส.ค. 23, 20:03

นึกออกถึงสิ่งบ่งชี้ทางเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่ง  คือเรื่องของการสร้างสรรค์กิจกรรมทางด้านศิลปะ ซึ่งผลงานของศิลปินมักจะแสดงออกมาในลักษณะที่สะท้อนถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวและสภาพของจิตใจของผู้คนในทางที่อาจจะเป็นบวก(ผ่อนคลาย)หรือในทางที่เป็นลบ(เครียด) ซึ่งก็คือการบ่งบอกไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วๆไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 17 ส.ค. 23, 19:00

ตรรกะง่ายๆก็คือ ในสิ่งแวดล้อมของสภาพทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นั้น ลักษณะการดำรงชีพของผู้คนจะอยู่ในภาพของการมีรายได้แบบตึงมือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ไม่มีช่วงเวลาที่จะอยู่ได้แบบเอ้อระเหย มีข้อจำกัดในการนึกฝันไปถึงเรื่องของสิ่งปรุงแต่งเพิ่มเติมให้กับชีวิต อาทิ สิ่งที่จะมาช่วยทำให้เกิดความสดวกสบายเพิ่มมากขึ้น การรังสรรค์ความสวยงามให้กับที่อยู่อาศัย และสิ่งที่ทำให้เกิดความรู่สึกเจริญใจต่างๆ

ศิลปะที่แสดงออกมาที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้ ดูล้วนแต่แสดงภาพที่บ่งชี้ว่า ได้สร้างสรรค์ออกมาภายใต้สิ่งแวด้อมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี   วัดดูจะเป็นสิ่งบ่งชี้ที่ค่อนข้างดี  คนสายวัดน่าจะได้เห็นความสวยงามของสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดจากการได้ไปเที่ยววัดไหว้พระในพื้นที่ต่างๆ  น่าจะได้พบว่าแต่ละวัดล้วนมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งก่อสร้างของวัดให้ดูมีความสวยงามมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเฉพาะกับงานในด้านตบแต่งอย่างมีศิลปะ  งานเช่นนี้เป็นงานที่ใช้เวลา ซึ่งวัดเอง โดยเฉพาะวัดในระดับหมู่บ้าน จะไม่มีเงินมากพอเพื่อใช้ในจ้างช่างและจ้างแรงงาน งาน ก็จึงอยู่ในภาพของการอาสาฯเป็นพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงว่าอาสาสมัครเหล่านั้นจะต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอ ไม่รู้สึกเดือดร้อนที่จะต้องใช้เวลาที่มีทั้งหมดในแต่ละวันไปในการหาของเพื่อยังชีพ คือสามารถเว้นว่างได้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 17 ส.ค. 23, 20:13

ผมเป็นคนที่ฟังเพลงหลากหลายประเภทและหลากหลายลักษณะ ทั้งของไทยและของเทศ ทั้งสมัยเก๋าและสมัยปัจจุบัน   ช่วงที่เริ่มสูงวัยจัดๆนี้ ได้เกิดความสนใจกับพวกเพลงรุ่นเก่าๆที่เอามาร้องใหม่โดยนักร้องใหม่ที่มีเสียงต่างกันออกไป ทั้งที่เป็นเพลงประเภทลูกทุ่งและลูกกรุง แล้วก็ขยายต่อไปถึงพวกเพลงพื้นถิ่นที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นถิ่น โดยเฉพาะของภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และภาคอีสานตอนล่าง   ก็ใช้ยูทูปค้นหาและเปิดฟัง เลยเกิดข้อสังเกตที่น่าสนใจ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 18 ส.ค. 23, 20:08

โดยทั่วๆไปเราจะจำแนกเพลงไทยออกเป็น 4 ประเภท คือเพลงไทยเดิม เพลงพื้นบ้าน เพลงลูกกรุง และเพลงลูกทุ่ง  เพลงต่างๆก็มีพัฒนาการไปตามปกติ จนในปัจจุบันมีความหลากหลายมากพอที่จำแนกเพิ่มได้เป็นอีกหลายๆลักษณะ ซึ่งก็มีชื่อเรียกกันเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มเพลงที่มีลักษณะแบบนั้นๆ   

ในช่วงของทศวรรษที่ผ่านมา เพลงไทยเดิมที่ฟังแล้วน่าเบื่อ ก็กลับมีศิลปินที่แสดงความสามารถจนเกิดเป็นสินค้าทางพาณิชย์ได้  เพลงลูกกรุงและลูกทุ่งก็มีการเอามาร้องใหม่ มีการปรับเพลงใหม่ทั้งด้าน orchestrate โทนและท่วงทำนอง     ที่น่าสนใจก็คือพวกเพลงพื้นบ้าน โดยเฉพาะที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้วนๆและแบบที่ประยุกต์ใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่มาร่วมด้วย  ซึ่งอายุของนักดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีเหล่านั้นล้วนอยู่ในวัยฉกรรจ์เกือบทั้งหมด  อีกทั้งเพลงที่นำมาเล่นแสดงก็มีทั้งลักษณะการเล่นได้ทั้งแบบเเก่า แบบประยุกต์เครื่องดนตรี แบบประยุกต์ style (เรียกว่า'สำเนียง'ในภาษาเหนือ 'ลาย'ในภาษาอีสาน) แบบเอาเพลงรุ่นใหม่มาเล่นด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้าน แบบ Potpourri ....ฯลฯ   

ก็เป็นเรื่องชวนให้คิดว่า งานสร้างสรรค์เหล่านี้คงจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนักหากการดำรงชีวิตยังคงอยู่ในสภาวะที่ฝืดเคือง     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 19 ส.ค. 23, 18:58

สังคมที่เรียบง่ายอาจจะมีได้หลายลักษณะบนพื้นฐานต่างกันที่ใช้ในการพิจารณา  เห็นว่าโดยทั่วๆไปก็จะเป็นการพิจารณาจากภาพของความขวักไขว่ของผู้คนและกิจกรรมต่างๆในพื้นที่นั้นๆ ผนวกกับจินตนาการที่เกิดมาจากการได้สัมผัสกับโสตทัศน์ต่างๆที่กระจายอยู่ในสื่อประเภทต่างๆ แต่เนื้อในของสังคมที่ว่าเหล่านั้น อาจจะมิได้เป็นจริงตามนั้น   ชีวิตในสังคมที่เรียบง่ายบนฐานของเรื่องทางประเพณี/วัฒนธรรม อาจจะเป็นสังคมที่ดูไม่เรียบง่ายในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  เช่นกัน สังคมที่ดูเรียบง่ายในเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก็อาจจะไม่เรียบง่ายในเรื่องทางประเพณี/วัฒนธรรม    เมืองหลักและเมืองรองในภูมิภาคต่างๆของเราให้ภาพเหล่านี้ได้ดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 19 ส.ค. 23, 20:18

เห็นว่า ความอยู่รอดของสภาพสังคมที่เรียบง่ายก็ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการมีและการคงอยู่(รอด)ของวงจรและการหมุนเวียนของเงินในกิจกรรมทางธุรกิจภายในพื้นที่(หมู่บ้าน) และการมีโอกาสในการก้าวข้ามออกไปสู่กิจกรรมในระดับระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และก้าวสู่ระดับระหว่างประเทศ

สังคมที่เรียบง่ายเป็นสังคมที่น่าจะเป็นที่ปราถนาของผู้คนต่างๆ  กำลังคิดว่าจะขยายความออกไปดีใหมในเรื่องของการทำให้มันยืนยงคงอยู่ (sustainability) ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 20 ส.ค. 23, 18:41

จากประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ของจังหวัดต่างๆ ผมได้เห็นภาพของชาวบ้านในมุมหนึ่งว่าแต่ละคนดูล้วนมีผู้ที่มีทักษะฝีมือในการทำงานเรื่องหนึ่งเรื่องใดเด่นเป็นการเฉพาะของแต่ละคน เรื่องหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงทักษะหลากหลายที่มีอยู่ในหมู่ชุมชนหนึ่งๆก็เช่นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โบสถ์ วิหาร ศาลาวัด...  การสร้างสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นล้วนเป็นการสร้างขึ้นมาด้วยความคิด การใช้ทักษะฝีมือและแรงงานของผู้คนในชุมชนนั้นๆ ทั้งในเชิงของการออกแบบ ในเชิงของโครงสร้าง ในเชิงของการก่อสร้าง และในเชิงของศิลปะและการตกแต่งต่างๆ   ก็อาจจะมีการจ้างนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นบ้าง แต่ส่วนมากก็จะเป็นพวกที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง

ในปัจจุบันนี้ การปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) และที่มีความพร้อมก็ผันออกไปเป็นเทศบาลตำบล  งานหลักของ อบต.และเทศบาลตำบลนี้ เกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาและเรื่องของการอยู่ดีมีสุข  ก็เลยมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานการสร้างสรรค์และงานทางโยธาค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นงานที่มีเรื่องของผู้รับเหมาช่วง(subcontractor)และผู้จัดหา(supplier)เข้ามาเกี่ยวข้อง  อีกทั้งก็เป็นงานที่มีระบบราชการเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

ขอหนีฝนสาดก่อนครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 21 ส.ค. 23, 19:08

กำลังจะให้ภาพว่า ชาวบ้านแต่ละคนต่างก็มีทักษะฝีมือในบางเรื่องที่เด่นมากพอที่จะเป็นหัวหน้ากลุ่มรับงานประเภทที่ต้องใช้ทักษะฝีมือในเรี่องนั้นๆ ซึ่งก็คือลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการในเรื่องนั้นๆ หากแต่เป็นผู้ประกอบที่ไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างๆ ธุรกรรมต่างๆก็จึงอยู่ในสภาพที่เป็นเพียงการรับจ้าง   

ก็คงนึกออกถึงข้อจำกัดในเชิงของโอกาสต่างๆของชาวบ้าน เช่น ในการถึงแหล่งงาน แหล่งเงิน แหล่งทุน การสร้างคู่หูทางธุรกิจ องค์ความรู้ ...ฯลฯ  ซึ่งภาพในองค์รวมก็คือการขาดโอกาสในการเข้าถึงในเรื่องต่างๆในเกือบจะทุกเรื่อง  คงจะไม่ต้องขยายความต่อ เพราะมีเรื่องราวอยู่มากมายที่เกี่ยวกับการเข้าไปช่วยชาวบ้าน ทั้งข่าวสาร การศึกษาวิจัย นโยบาย ส่วนราชการ   ซึ่งเกือบทั้งหมดก็ดูจะอยู่แต่ในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับโอกาสต่างๆ  ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง หากแต่มันออกไปทางภาพของอาจารย์ออกมายืนอ่านเลคเชอร์โน๊ตวิชา 101 อยู่หน้าห้องที่ขาด Q&A session  เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปในประเทศต่างๆ แต่ละประเทศก็มีวิธีการทำให้มันครบวงจร ก็มีทั้งการใช้ระบบกลุ่ม ระบบสหกรณ์ ระบบความร่วมมือกับสถานศึกษา ระบบองค์กรของรัฐ ระบบองค์กรผู้มีความรอบรู้  ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่กระทำอยู่ในกรอบของนโยบายด้าน SME ซึ่งก็มีที่หมายรวมถึงระดับ micro entrepreneurship ด้วย     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง