เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 9245 ชีวิตในสังคมที่เรียบง่าย
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 22 ส.ค. 23, 19:59

ท่านที่มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป และโดยเฉพาะในพื้นที่ๆเป็นหมู่บ้านเล็กๆหรือที่อยู่ห่างจากเมืองใหญ่ต่างๆ ก็น่าจะสัมผัสได้ถึงภาพของความสงบและความเรียบง่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งยิ่งหากได้แวะพักค้างคืนและได้ใช้ชีวิต/กิจกรรมเล็กๆน้อยๆ (พักค้าง กินในร้านอาหารพื้นบ้าน เดินชมเมือง ซื้อของเล็กๆน้อยๆ) ก็จะยิ่งได้เห็นภาพของสังคมที่เรียบง่ายซึ่งแสดงออกมาภายใต้ภาพของความสวยงาม ภาพที่ไม่แสดงถึงความวุ่นวาย และภาพของการทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยกิจการขนาดเล็กๆในระดับครัวเรือน ซึ่งทำให้เกิดการจินตนาการต่อไปถึงอีกความรู้สึกของสภาพของการ'กินดีอยู่ดี'  ซึ่งเป็นภาพภาพที่กล่าวมานี้ ในซีกโลกทางตะวันออกก็สามารถสัมผัสกับความรู้สึกเช่นนั้นได้เช่นกัน หากแต่มีพื้นที่ๆแสดงภาพในลักษณะนั้นไม่มากนัก   ในไทยเราก็มีปรากฏอยู่ในหลายๆแห่งและก็มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยเสียด้วย   

ทิ้งท้ายไว้ในเรื่องราวที่ผ่านมาว่า มันมีความช่วยเหลือเพื่อทำให้เกิดวงจรที่สมบูรณ์ (การสร้างให้เกิดขึ้น_ผลิต  การจำหน่าย_ขาย และการนำไปใช้_ตลาด) และก็ต้องมีการะบวนการพัฒนาทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณควบคู่กันไปด้วย   ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจในกระบวนการนี้ เป็นของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เริ่มกระบวนการนี้มาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 23 ส.ค. 23, 19:56

ญี่ปุ่นให้ความสนใจกับผู้ประกอบการระดับรากหญ้ามานานมาก   ในปี ค.ศ.1936 ได้มีการตั้งธนาคาร Shoko Chukin ขึ้นมาโดยมีฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้ประกอบการรายย่อยร่วมกันเป็นเจ้าของ ลงทุนร่วมกัน และร่วมกันบริหาร  (ฝ่ายผู้ประกอบการรายย่อยก็คือสหกรณ์ต่างๆทั่วประเทศญี่ปุ่น) ลักษณะและภารกิจโดยนัยก็ไม่ต่างไม่ต่างไปจาก ธกส.ของบ้านเรา ที่ต่างกันก็ในเรื่องของลักษณะของความเป็นนิติบุคคลที่ให้น้ำหนักกับความเห็นและการตัดสินใจของคณะกรรมการฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบการ คงกล่าวได้ว่าเป็นธนาคารของผู้คนระดับรากหญ้าที่แท้จริง  หลักการสำคัญของธนาคารก็คือ เป็นแหล่งเงินสำหรับผู้คนที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า คือเปิดโอกาสและช่องทางให้ผู้คนระดับรากหญ้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของตน     

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ญี่ปุ่นก็ไม่รอช้าที่จะใช้ช่องทางนี้เพื่อการฟื้นฟูการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจทั้งมวล โดยได้ตั้งองค์กรของรัฐในลักษณะเป็นหน่วยงานทางนโบายขึ้นมาเพื่อดูแลการฟื้นฟูระบบการผลิตเป็นการเฉพาะ ตั้งแต่ธุกิจระดับจิ๋ว (รถเข็นขายของ...)  ครอบคลุมไปจนถึงธุรกิจระดับที่มีผลผลิตขายไปทั่วประเทศ  เรื่องต่างๆก็ดำเนินไปจนเป็นภาพที่เราได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้    ของเราก็มีทั้งหน่วยงานและธนาคารที่มีภารกิจโดยตรง รวมทั้งธนาคารที่ทำธุรกิจใน sector ด้านนี้เช่นกัน   ประเด็นที่น่าสนใจก็คือการใช้ตัวชี้วัดที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จที่อาจจะเน้นในด้านรูปธรรมหรือในด้านนามธรรม (achievement) ก็ได้  องค์กรทางด้านการเงินที่เกี่ยวกับ SME จึงไม่ติดกับอยู่กับเรื่องของกำไรหรือขาดทุน  ระบบ KPI เป็นเครื่องมือเพื่อบอกถึงระดับของความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนต่างๆในการดำเนินนโยบายหรือโครงการระยะยาวหนึ่งใด     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 24 ส.ค. 23, 18:40

หลังสงคราม ในปี ค.ศ.1949 ญี่ปุ่นได้ตั้งหน่วยงานชื่อว่า National Life Finance Corporation (NLFC) เพื่อเป็นแหล่งเงินให้ทุกผู้คนได้เข้าถึงและเป็นแหล่งเงินหมุนเวียน เพื่อการเริ่มต้นกิจการเพื่อหา/สร้างรายได้ เพื่อการสร้างให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าเพื่อจะได้ขยายตัวและเติบโตต่อไป   

ก็แน่นอนว่า ในสภาพของความกะรุ่งกะริ่งในทุกๆเรื่องที่เป็นผลจากการทำสงคราม ย่อมทำให้การทำมาหากินเป็นเรื่องที่ยาก บ้างก็ขาดเงินทุน บ้างก็ขาดหัวหน้าครอบครัว บ้างก็ขาดผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เนื่องจากเสียชีวิตหรือหายไป   โดยสรุปก็คือขาดคนและขาดองค์ความรู้ การแจ้งเกิดใหม่ของกิจการหรือธุรกิจในสภาพของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปก็ย่อมต้องล้มลุกคลุกคลาน ส่งผลให้เกิดเรื่องต่างๆตามมามากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของหนี้สิน (ที่มักจะตามมาด้วยเรื่องของการฮุบทรัพย์สิน ที่ดิน และในเรื่องอื่นๆ)

ที่น่าสนใจก็คือ แนวคิดและการปฏิบัติเพื่อรองรับประเด็นของปัญหาและเรื่องดังกล่าว ซึ่งก็ยังมีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในบริบทเชิงกฎหมาย ในบริบทเชิงสำนึกของภาคการศึกษา/วิชาการ  ในบริบทเชิงสำนึกของผู้ที่ได้มีโอกาสมากกว่าผู้คนโดยทั่วไป และในสำนึกของผู้บริหารระดับท้องถิ่น     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 24 ส.ค. 23, 20:17

แล้วทำกันเช่นใด ??

ในเรื่องของการเงิน  โดยพื้นฐานก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการขอยืมเงิน การกู้เงิน และวิธีการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสำหรับการลงทุน    กรณีไปขอกู้ธนาคารเพื่อเอาไปทำธุรกิจก็คงจะหนีไม่พ้นการให้ข้อมูลและการประเมินในความหมายของคำเช่น business plan, cash flow, irr ฯลฯ  ซึ่งผู้ประกอบการแจ้งเกิด (รายใหม่) คงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่งบุคคลอื่นให้ช่วยทำเอกสารเสนอการวิเคราะห์ขอกู้ให้ดูดีเพื่อที่จะได้รับการอนุมัติให้กู้ แล้วก็ต้องมีการค้ำประกัน ซึ่งทั้งมวลก็คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของการมีความเกินจริง  ซึ่งย่อมอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดที่ทำให้ธุรกรรมไม่เป็นไปตามข้อสัญญา  ยังผลให้เกิดการยึดทรัพย์สิน(ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยก็มักจะเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน) ทำให้หมดโอกาสที่จะสู้ต่อไป  ทั้งๆที่ความล้มเหลวนั้นอาจจะเกิดเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมใดๆที่เป็นเหตุสุดวิสัยที่กระทบกับกิจการ/ธุรกิจนั้นๆ
การ refinance จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรก มิใช่การคำนึงถึงแต่ประเด็นของเรื่อง NPL   ก็อาจจะให้โอกาสได้ 2-3 ครั้งบนพื้นฐานบางอย่าง เช่น ในเรื่องของการริเริ่ม ในเรื่องของศักยภาพ ในเรื่องของเอกลักษณ์ ในเรื่องของการแข่งขัน ...   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 25 ส.ค. 23, 19:22

ในเรื่องของการพัฒนา   ผู้คนในระดับรากหญ้าจะมีโอกาสได้มีความรู้เพิ่มเติมจากสถานศึกษาในพื้นที่ หรือจากแหล่งความรู้เฉพาะทางที่กระจายอยู่ในประเทศ และจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกษียณอายุแล้ว     

วิธีการก็คือ ส่วนราชการในพื้นที่หรือของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการดำเนินวิถีชีวิต จะทำการประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการเปิดชั้นเรียน เปิดอบรม หรือเปิดสัมนาเชิงปฏิบัติการที่ผนวกกับการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ในเรื่องที่เกี่ยวกับอาชีพ การทำมาหากิน การทำธุรกิจบางอย่าง(ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่_วัตถุดิบ คน อาชีพ ...)  เพื่อร่วมกันคิดหาสิ่งที่เหมาะสมในการขจัดปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆ หรือเพื่อหาช่องทางและโอกาสที่จะเจริญเติบโต   ซึ่งโดยนัยก็คือ เรื่องของการแนะแนวที่มีภาคการปฏิบัติจริง ทั้งในเชิงการทดลอง การทดสอบในทางปฏิบัติ การติดตาม ประเมินผล และ Q & A  เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องต่างๆเพื่อการก้าวเดินที่มั่นคงต่อไป   

ได้มีโอกาสไปสัมผัสกับเรื่องเหล่านี้ในพื้นที่ชนบททั้งในพื้นที่ตอนบนและตอนล่างของญี่ปุ่น ก็เลยพอจะขยายความได้     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 26 ส.ค. 23, 19:25

ขอขยายเรื่องราวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย    ก็ได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของญี่ปุ่น ได้ทราบถึงนโยบายบางอย่างที่น่าสนใจ คือ ผลการศึกษาวิจัยที่นักศึกษาได้จากการทำ Thesis หรือ Dissertation นั้น ให้เป็นลิขสิทธ์ร่วมสามฝ่าย_นักศึกษาผู้ทำวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษา และมหาวิทยาลัย  หากมีการเอาไปทำการต่อยอดเพื่อให้ได้เป็นผลผลิตที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือออกมาเป็นสินค้าที่เป็น goods หรือที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ค่าลิขสิทธิ์ที่ได้มานั้นจะแบ่งออกเป็นสามส่วนตามสัดส่วนที่จะตกลงกัน  ซึ่งแนวคิดและนโยบายนี้ ฝ่ายบ้านเมืองหรือกระทั่งสถานศึกษาในพื้นที่ๆมีศักยภาพมากพอทางด้านงบประมาณและการเงิน ก็ดูล้วนจะให้การสนับสนุนกิจกรรมการวิจัย/ทดลองเพิ่มเติมนี้ เพื่อหวังให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ/การค้าในพื้นที่     

ลักษณะของการสนับสนุนก็ง่ายๆไม่มีอะไรสลับซับซ้อนนัก ก็เพียงจัดให้มีสถานที่/อาคารที่มีห้องสำหรับผู้วิจัย(ที่ทำการ) มีอุปกรณ์เครื่องมือพื้นฐานส่วนรวมบางอย่างที่นักพัฒนาต่อยอดจำเป็นต้องใช้ (เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีราคาสูงมากๆ หรือที่ยังไม่จำเป็นต้องแสวงหามาเป็นของตนเอง)  ตัวนักพัฒนาต่อยอดงานวิจัยจะใช้ผลลงานของตัวเองหรือจะไปเอางานวิจัยของผู้อื่นมาหาทางต่อยอดก็ได้    ผู้ที่จะใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการต่อยอดเหล่านี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่ถูกมากๆและมีกำหนดการเช่าใช้ไม่นาน (3-6 เดือน) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 27 ส.ค. 23, 19:02

มีตัวอย่างเล่าให้ฟังสัก 2-3 เรื่อง   

เรื่องแรก ชาวนาญี่ปุ่นปลูกข้าวกันในสองสามลักษณะ คือลักษณะของ contract farming มีผู้รับซื้อผลิตผลทั้งหมดในแต่ละ crop แน่นอน ผู้ซื้อดูจะเป็นพวกโรงงานทำเหล้าสาเกในพื้นที่นั้นๆเท่านั้น     ลักษณะที่เป็นอุตสาหกรรมการทำนาข้าว โดยการรวมพื้นที่ทำนาให้เป็นแปลงใหญ่ (ซื้อ เช่า...) ซึ่งเป็นเรื่องที่มีต้นตอและพัฒนาการมาจากผลของข้อกำหนดทางกฏหมายในเรื่องของทรัพย์สินมรดก    และลักษณะสุดท้าย เป็นลักษณะของอาชีพทำนาปลูกข้าวขาย ซึ่งทำการผลิตและขายในในแนว niche market  ข้าวพวกนี้จะบอกสถานที่ผลิต แหล่งผลิต พร้อมรูปและชื่อผู้ผลิต สถานที่อยู่และการติดต่อ

เรื่องที่สอง  ญี่ปุ่นก็มีการทำนาเกลือในหลายๆพื้นที่ชายฝั่งทะเล เกลือที่ตามปกติแล้วเราอาจจะใช้แต่เพียงคุณสมบัติความเค็ม ซึ่งในปัจจุบันเราบางคนได้พัฒนาไปสู่การเลือกใช้ตามแหล่งผลิต/แหล่งที่มา สีของเกลือ (trace elements) คุณภาพ ...      เกลือที่ขายในญี่ปุ่นได้พัฒนาไปสุูตลาด niche market ด้วยการผูกพื้นที่การผลิตกับคุณภาพ แล้วก็ยังผลิตเป็นสินค้าในรูปของน้ำเกลือที่ใช้ในการพรมข้าวสวยหรือทำกับข้าวสำหรับเมนูอาหารต่างๆ (ซูชิ ...)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 27 ส.ค. 23, 20:05

เรื่องที่สาม  การบำบัดน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนให้ออกมาเป็นน้ำที่มีความเป็นน้ำ EM แล้วปล่อยออกสู่ธรรมชาติ   ก็เคยไปดูเรื่องนี้ในพื้นที่จังหวัด Saga ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพื้นที่ทำนาและการเลี้ยงวัวเนื้อชื่อดัง (เนื้อวากิว) จากเดิมที่ถูกต่อต้านกันมากในการตั้งโรงบำบัดน้ำเสีย แต่ในที่สุดทุกคนก็แย่งกันนำไปใช้ในด้านเกษตรกรรมและปศุสัตว์ บ้างก็กั้นลำรางน้ำที่ปล่อยออกมาเข้าสู่พื้นที่ทำนา บ้างก็เอารถใส่แท้งค์น้ำมาขนเพื่อเอาไปรดแปลงพืชผัก  ทำให้ได้ผลผลิตทางเกษตรกรรมและปศุสัตว์เพิ่มมากขึ้นมาก แถมยังสามารถนำไปทำการผลิตปุ๋ยคอกได้มากกว่าความต้องการใช้อีกด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 28 ส.ค. 23, 18:56

เรื่องที่สี่ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการเปิดช่องทางสำหรับชาวบ้านให้สามารถที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมา ให้ได้มีโอกาสได้ออกมาแสดงตนและทดสอบตลาดว่าจะมีโอกาสในทางการตลาดมากน้อยเพียงใด   ก็เป็นการดำเนินการโดยความร่วมมือขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนา SME กับองค์กรเอกชนที่มีลักษณะคล้ายสภาอุตสาหกรรม แต่เป็นสภาในเรื่องของ SME (และผู้ประกอบการรายย่อยขนาดจิ๋ว)  ทำการเปิดร้านสำหรับวางสินค้าและเพื่อการทดสอบตลาดของสินค้าของชาวบ้านหรือของชุมชนทั่วประเทศ   เท่าที่รู้ มีอยู่ร้านเดียวและตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว บริเวณสถานี Yurakujo ของรถไฟสาย JR Yamanote  ฝั่งย่านกินซ่า  เป็นร้านขนาดเล็ก มีพื้นที่สำหรับวางสินค้าน่าจะไม่เกิน 50 ตารางเมตร

ความน่าสนใจของกิจกรรมทางนโยบายนี้ อยู่ที่เรื่องของกระบวนวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย โดยไม่มีเรื่องของเงินเข้ามาเป็นแก่นสาร  หากแต่เป็นเรื่องของผลสัมฤทธิ์ในเรื่องของความมีประสิทธิภาพและความอยู่รอดในองค์รวมของระบบทางเศรษฐกิจที่มีความเกี่ยวพันกันของผู้เล่น (ผู้ประกอบการ) ตั้งแต่ระดับจิ๋วไปจนถึงระดับใหญ่   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 28 ส.ค. 23, 20:02

เรื่องที่เล่ามานั้นเป็นเรื่องในด้านการบริโภค ซึ่งร้านจะให้ความสนใจกับสินค้าประเภทผลิตผลทางเกษตรกรรมเป็นการเฉพาะ   (สำหรับในเรื่องอุปโภคนั้น มีกระบวนวิธีที่ต่างกันออกไปเกือบจะอย่างสิ้นเชิง  ประกอบกับเป็นเรื่องที่เกือบจะไม่เกี่ยวกับชาวบ้านเลย ก็จะต้องขอเว้นไม่กล่าวถึง)
 
ประโยชน์แรกๆของร้านดังกล่าวนี้ ก็คือ เป็นสถานที่เพื่อการแจ้งว่า ณ เวลานั้น ได้ถึงฤดูหรือวันเวลาที่มีผลิตผลทางการเกษตรของพื้นที่ใดออกและสามารถวางตลาดบ้างแล้ว  วิธีการก็ทำง่ายๆด้วยการนำผลิตผลนั้นๆมาวางขายจำนวนหนึ่ง ไม่มากแต่ก็พอที่จะกระจายข่าวให้แพร่ออกไปได้ อย่างน้อยก็กับผู้คนที่อยู่อาศัยตามเส้นทางรถไฟ ทั้งนี้ ก็มิได้เป็นการให้นำมาวางแสดงและขายได้ตลอดฤดูกาล  ส่วนมากจะให้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 29 ส.ค. 23, 19:26

วิธีการดำเนินการโดยสรุปก็คือ จะมีของอยู่ 4 จำพวกที่วางขายอยู่ในร้าน คือ พวกของที่วางขายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแจ้งเกิดในตลาด หรือเพื่อการประเมินการตอบสนองต่อสินค้าดั้งเดิมที่ได้มีการปรับปรุงความรู้สึกในสัมผัสทั้งห้าเสียใหม่ (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส)     พวกของที่เริ่มเป็นที่รู้จัก เริ่มขายได้ดี มักมีคนถามหา พวกนี้จะถูกแยกไปจัดวางใว้เป็นกลุ่มรวมกันที่บริเวณหนึ่งของร้าน    พวกสินค้าที่ขายได้ดี ติดตลาดแล้ว พวกนี้ทางร้านจะจัดคัดเลือกและซื้อนำมาจำหน่ายเอง เพื่อเป็นรายได้สำหรับการดำเนินกิจการและภารกิจที่รับผิดชอบของร้าน    สุดท้ายก็เป็นพวกสินค้าที่ผู้ประกอบการเอามาทำตลาดเองโดยอาศัยพื้นที่หน้าร้านนี้    เกือบลืมไปว่าทางร้านเองก็มีที่พื้นที่เล็กๆสำหรับวางผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาลจำนวนเล็กน้อยในแต่ละวัน เพื่อบอกกล่าวว่าตอนนี้มีผลิตผลของพื้นที่นั้นพื้นที่นี้ออกแล้วนะ (ก็ไปหาซื้อกันเอาเองนะ)

ก็มีข้อกำหนดและกติกาสำหรับสินค้าทั้งหลายที่นำมาวางขายในร้านและในพื้นที่หน้าร้าน  ข้อกำหนดสำคัญก็คือ สินค้าทุกชนิดจะต้องเป็นการผลิตโดยชาวบ้านหรือผู้ประกอบการรายจิ๋วในพิ้นที่ชนบท โดยที่ทางร้านจะทำการบันทึกเชิงสถิติ รวบรวม ประเมินความเห็นของผู้บริโภค แล้วรายงานให้ผู้ประกอบการทราบเป็นระยะๆหรือเมื่อสิ้นสุดสัญญากันแล้ว  ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการเอาสินค้ามาวางขายในร้านซึ่งจะต่างกันไป สำหรับสินค้าใหม่ก็จะถูกมาก มีระยะเวลา 7 วันสำหรับตะกร้าใส่ของขนาดประมาณ 30x45 ซม.  หากสินค้าเริ่มขายได้ดีในระดับที่สามารถย้ายจากชั้นวางของแรก ก็จะย้ายไปวางอยู่ที่อีกชั้นวางของหนึ่ง ค่าจ่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องเสียก็มีมากขึ้น และสินค้านั้นๆก็จะต้องแสดงถึงความสามารถของผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง ก็คือในเรื่องของมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เรื่องของความสามารถในเชิงของการป้อนตลาด...   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 29 ส.ค. 23, 20:14

ที่เล่ามาก็คงจะเห็นภาพของการปฏิบัติทั้งในเชิง macro และ micro approach ที่ทำกันในเรื่องของการช่วยเหลือและการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้าน (ในกรอบของ Productivity movement ที่เริ่มในปี ค.ศ.1950 ที่ทำกันต่อเนื่องมาจนในปัจจุบัน)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 30 ส.ค. 23, 18:31

ทุกสัปดาห์ที่ปากประตูเข้าร้านจะมีสิ่งพิมพ์วาง แจกให้อ่านฟรี  ผมอ่านไม่ออกแต่ก็เข้าใจจากลักษณะของภาพ คอลัมน์ในสิ่งพิมพ์ รวมทั้งที่ได้จากการสนทนากับผู้บริหารของร้าน สิ่งพิมพ์นี้ทำเป็นเล่มเรียบร้อยในลักษณะของแม็กกาซีน เนื้อหาข้างในก็คงจะเป็นการสาธยาย แนะนำสินค้าต่างๆที่อยู่ในกระบวนการจัดวางจำหน่ายในร้าน  มีการให้ข่าวสารด้วยว่าสินค้าใดจะเปลี่ยนสถานะเป็นเช่นใดในการวางจำหน่าย เช่น กรณีการปลดออกจากชั้นวาง เพราะหาซื้อได้ทั่วไปแล้ว  หรือกรณีสินค้าในตะกร้าจะถูกนำไปจัดวางในพื้นที่ใหม่ (เพื่อดูปริมาณของความต้องการของตลาด และเพื่อประเมินในเรื่องอื่นๆ)  รวมทั้งกรณีจะมีสินค้าใดที่เจ้าของสินค้าจะนำสินค้ามาวางจำหน่ายที่หน้าร้าน ว่าเป็นสินค้าอะไรและเมื่อใด (ซึ่งปกติก็จะมีเพียงเจ้าเดียว แต่ก็เคยเห็นที่มีสองสามเจ้าเช่นกัน)   สำหรับกรณีการเอาสินค้ามาวางหน้าร้านนี้ จะมีระยะเวลาให้หนึ่งสัปดาห์ และจะต้องมีค่าใช้จ่าย(ค่าเช่าพื้นที่)ประมาณสี่เท่าของกรณีการใช้ตะกร้า  ซึ่งเท่าที่ได้สัมผัสมา เรื่องนี้มิได้เป็นกรณีของการเช่าพื้นที่เพื่อการขายของหาเงิน หากแต่เป็นเรื่องของความต้องการๆสัมผัสที่เป็น reality ระหว่างตัวผู้บริโภคกับตัวผู้ประกอบการ (มิใช่ในลักษณะของ virtuality)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 30 ส.ค. 23, 19:59

เรื่องทั้งหมดที่ขยายความมานี้ เป็นกระบวนการช่วยชาวบ้านและผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว เพื่อให้ได้มีโอกาสแสดงตน แสดงผลิตภ้ณฑ์ รวมทั้งได้มีโอกาสได้รับคำติชมจากฝ่ายผู้บริโภคในวงกว้าง ... ก็คือได้มีช่องทางและโอกาสในการแจ้งเกิดในวงจรเศรษฐกิจในระดับกว้างขึ้นไปต่อไป 

ทั้งมวลนี้ ก็เป็นเพียงหนึ่งในกระบวนวิธีการต่างๆเท่านั้น ซึ่งก็ดูจะประสบผลสัมฤทธิ์ดี  ทั้งนี้ก็ดูจะเป็นเพราะเหตุว่า ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหมดมีสำนึกและความเข้าใจกับปัญหาและอุปสรรคที่ประเทศเผชิญอยู่ในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องของสังคมผู้สูงอายุ เรื่องของเศรษฐกิจพื้นภิ่น เรื่องของ SME hollow out ซึ่งโยงไปถึงเรื่องของ subcontract & supply chain และเรื่องของการปฏิบัติมิชอบที่จะนำไปสู่การ monopolize  เกิดการตัดวงจรของการผลิตและระบบเศรษฐกิจเล็กๆของพื้นถิ่น เกิดการฮุบและการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของชาวบ้านและผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว (ที่เห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบันนี้)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 01 ก.ย. 23, 19:08

สังคมที่สงบและเรียบง่ายนั้น เป็นสังคมที่ผู้คนในสังคมมีความสุขในชีวิตประจำวันในระดับที่รู้สึกว่าพอเพียงกับสภาพแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบๆตัว มีความรู้สึกว่ามีโอกาสและช่องทางในการเผชิญ/ต่อสู้กับความท้าทายต่างๆในเส้นทาง/วิถีที่เลือกใช้ในการดำเนินชีวิต

ซึ่งโอกาสต่างๆนั้น ล้วนมีอยู่ในวงวัฏจักรของสรรพเรื่องต่างๆที่มีหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจและสังคมทั้งวงเล็กและวงใหญ่ โอกาสที่จะเกิดมีขึ้นได้นั้นจึงมาจากสองเส้นทางหลัก คือได้มาจากการ รู้เอง ซึ่งหมายถึงคนนั้นๆจะต้องมีรู้และความเข้าใจในเรื่องราวนั้นๆ อาจจะด้วยทาง empirical approach หรือด้วยทาง theoretical approach     กับโอกาสที่ได้มาด้วยการชี้ช่องให้ ซึ่งหมายถึงการมีคนมาให้ความคิด มาบอก มาสอนให้ รวมทั้งการให้การฟูมฟัก (incubation) จนเกิดผลสัมฤทธิ์     ก็คงจะนึกภาพออกนะครับว่าอะไรเป็นอะไรที่ได้เกิดขึ้นในบ้า่นเมืองเรา     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง