เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 31
  พิมพ์  
อ่าน: 21314 รำลึกถึงดาวเสียงต่างชาติต่างภาษาที่ดับแสงไปแล้ว [2]
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 405  เมื่อ 13 ก.พ. 24, 18:33

เพลงในปลายยุค 60s ส่วนใหญ่มีทำนองหนักหน่วง  เพลงพวกนี้ยังออกอากาศมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงยุคผมคือต้น 70s  ความจริงผมโตในยุค 60s  แต่กว่าจะฟังภาษาคนออกพูดภาษาคนได้รวมเรื่อยมาจนถึงรู้ความชอบของตัวเองว่าชอบเพลงฝรั่ง  วันเวลาก็ล่วงข้ามไปต้น 70s แล้ว

วง Spencer Davis Group ก็เป็นอีกวงที่แสดงความอหังการอยู่ในยุคที่ว่า  วิทยุเปิดเพลงของพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ  คือน่าจะไม่ถี่เหมือนตอนซิง ๆ แต่ในยุคผมก็สามารถหาฟังได้เรื่อย ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะชอบ

2 เพลงนี้แหละที่ผมหมายถึง





ส่วนนี่เป็นเพลงดังที่สุดในอเมริกา (เป็นวงจากอังกฤษ) ของพวกเขา  แต่ผมจำไม่ได้ว่าเคยได้ยินทางวิทยุ  แต่ถึงได้ยินก็คงไม่จำ  ไม่เห็นเพราะเล้ย

นักร้องนำของวงคือ Steve Winwood (ที่ผมจำสลับกับ Stevie Wood (ลงเรื่องของเธอไปแล้ว) เป็นประจำ) ต่อมาโด่งดังด้วยฝีมือของตัวเองในยุคต้น 80s

นำเสนอ





บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 406  เมื่อ 14 ก.พ. 24, 18:32

เพลงนี้ของ Eddie Cochran ดังใส่หูนักฟังเพลงฯ พอประมาณ  ถ้าชอบแนว rock ‘n roll จะต้องจำได้



รวมถึงเพลงนี้



จนกระทั่ง Wikiฯ เติบใหญ่ผมก็ได้รู้เพิ่มเติมว่าเพียง 2 ปีหลังจากออก single ดังเพลงนี้เธอก็ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึงแก่ความตาย  ในสมัยก่อนศิลปินที่ตายตอนกำลังรุ่งนี่เป็นตำนานที่น่าจดจำได้นานกว่าศิลปินในยุคนี้ที่ประสบชะตากรรมในทำนองเดียวกันนะผมว่า

Ray Edward Cochran (October 3, 1938 – April 17, 1960) was an American rock and roll musician. Cochran's songs, such as "Twenty Flight Rock", "Summertime Blues", "C'mon Everybody" and "Somethin' Else", captured teenage frustration and desire in the mid-1950s and early 1960s. He experimented with multitrack recording, distortion techniques, and overdubbing even on his earliest singles. Cochran played the guitar, piano, bass, and drums.

His image as a sharply dressed and attractive young man with a rebellious attitude epitomized the stance of the 1950s rocker, and in death he achieved iconic status.
  
นำเสนอ





Cochran was on tour in the United Kingdom from January through April 1960. He and his friend and fellow performing artist, Gene Vincent, had just finished performing at the last of their scheduled concerts at the Bristol Hippodrome on April 16, a Saturday night.

They were traveling along the Bath Road in a taxi (a cream-coloured 1960 model Ford Consul Mark II saloon) from Bristol towards London. In addition to Cochran and Vincent, the other passengers in the vehicle were Sharon Sheeley (a 20-year-old songwriter and Cochran's girlfriend), Patrick Tompkins (the tour manager, 29 years old), and George Martin (the 19-year-old taxi driver).

At about 11:50 p.m. that night, Martin lost control of the vehicle, which crashed into a concrete lamppost at Rowden Hill in Chippenham. At the moment of impact, Cochran (who was seated in the center of the back seat) threw himself over Sheeley to shield her.

The force of the collision caused the left rear passenger door to open, and Cochran was ejected from the vehicle, sustaining a massive traumatic brain injury from blunt force trauma to the skull or a cerebral contusion. The road was dry and the weather was good, but the vehicle was later determined to be travelling at an excessive speed. No other vehicle was involved in the incident.

The occupants of the vehicle were all taken to Chippenham Community Hospital and later transferred to St Martin's Hospital in Bath. Cochran never regained consciousness, and died at 4:10 p.m. the following day – Easter Sunday.

In 1987, Cochran was inducted into the Rock and Roll Hall of Fame.


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 407  เมื่อ 15 ก.พ. 24, 18:40

สืบเนื่องจากตอนที่แล้วกล่าวถึง Eddie Cochran ไปเดินสายออกทัวร์ที่อังกฤษในปี 1960  หนึ่งในเพื่อนศิลปินที่ร่วมเดินทางไปด้วยคือ Gene Vincent   ในคืนที่เกิดอุบัติเหตุ GV ก็อยู่ในรถคันนั้นด้วยเช่นกันแต่โชคดีที่การบาดเจ็บของเธอไม่ถึงกับทำให้ต้องเสียชีวิต

On April 16, 1960, while on tour in the UK, Vincent, Eddie Cochran and the songwriter Sharon Sheeley were involved in a high-speed traffic accident in a private-hire taxi in Chippenham, Wiltshire. Vincent broke his ribs and collarbone and further damaged his weakened leg (ขาซ้ายของเธอพิการมาตั้งแต่ปี 1955 เนื่องจากสาเหตุที่ไม่มีใครรู้ความจริง บ้างว่าเพราะอุบัติเหตุ  บ้างก็ว่าเป็นเพราะสงครามที่เธอสมัครเป็นทหารไปรบที่เกาหลี). Sheeley suffered a broken pelvis. Cochran, who had been thrown from the vehicle, suffered serious brain injuries and died the next day. Vincent returned to the United States after the accident.

GV เป็นศิลปินอีกคนที่ผลงานออกมาไม่เด่นดังมาก  แต่ช่วงเวลาที่เธอกำลังรุ่งอยู่ในยุคของการแสวงหาสิ่งแปลกใหม่  เธอจึงเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ was inducted into the Rock and Roll Hall of Fame ในปี 1998

นี่เป็นเพลงขาประจำของรายการ Golden Oldies



นำเสนอ






บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 408  เมื่อ 16 ก.พ. 24, 18:07

เมื่อวานเอ่ยถึง Gene Vincent  วันนี้จะกล่าวถึงอีกหนึ่ง Gene คือ Gene Pitney  ใครจำ 2 เพลงนี้ได้บ้าง





มันอยู่ในรายการ golden oldies  ในยุคนั้นเธอยังมีเพลงดังอีก  แต่ผมจำไม่ได้ว่าเคยได้ยินในตอนนั้น





พอมาปลายยุค 60s ผมก็ได้ยินเพลงของเธออีกเพลงคือเพลงนี้  แต่ไม่ได้มาจากรายการ GO  มันมาจากรายการเพลงฝรั่งทั่วไป

เป็นอีกหนึ่งเพลงสุดโปรดของผม  ผมว่าน้ำเสียงของเธอมีเอกลักษณ์นะ  ไม่เหมือนใคร

Gene Pitney เป็นชาวอเมริกันแต่เพลงของเธอไปได้รับความนิยมที่อังกฤษมากกว่า เพลงดังของเธอยังมีอีก  เป็นเพลงที่ผมหาฟังเอาเอง







บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 409  เมื่อ 17 ก.พ. 24, 17:41

ในสมัยนั้นผมเคยได้ยินเพลงของ Frankie Laine เพียงเพลงเดียวคือเพลงนี้



เพลงดังสนั่นขนาดบ้านเราเอามาแปลงเป็นเพลงไทย



พอ Wikiฯ เติบโตก็พบรายละเอียดว่าเพลงฝรั่งนี้ไม่ใช่ต้นฉบับ  ต้นฉบับเป็นเพลงจีน




พอมีปูมเพลงของ Joel Whitburn  ผมพบว่า FL ออกเพลงมาเยอะมาก  และมีหลายเพลงที่ดังในอันดับฯ  ไล่ดูแล้ว  ไม่รู้จักสักเพลง ไม่รู้ว่าวิทยุเคยเอาเพลงอื่นของเธอมาเปิดแต่พลาดหูผมไปรึเปล่า

นำเสนอ

เป็นเพลงจากหนังทีวี cowboy ไม่รู้มาฉายในบ้านเรารึเปล่า


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 410  เมื่อ 18 ก.พ. 24, 18:20

ผมเพิ่งรู้ว่าสมาชิกวงคู่พี่น้อง The Everly Brothers ต่างพากันล้มหายตายจากไปกันหมดแล้ว  นึกว่าไปแล้วคนเดียวเมื่อปีที่แล้ว (นับจากวันที่เขียนนี้)  แล้วยังเหลืออีกหนึ่ง  เพลงของวงนี้มาออกอากาศในบ้านเรานับไม่ถ้วน

เริ่มที่เพลงนี้ที่ดังน้อยกว่าเพลงชาตินิดเดียว



ตามมาด้วยเพลงเหล่านี้ร่ายยาวเป็นตับ



















เพลงในยุคหลัง ๆ  ผมเพิ่งเคยได้ยินจากในแผ่นเสียง








พี่น้องคู่นี้หน้าตาเหมือนกันมาก  จนป่านนี้ยังแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร  อากู๋เองก็งง  บอกผิดบอกถูก
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 411  เมื่อ 19 ก.พ. 24, 18:10

โหมโรงก่อน  เพราะต่อจากนี้จะเป็นช่วงเวลาของเพลง folk (เฉพาะวงที่สมาชิกตายจากกันไปบ้างแล้ว)...

นานโพ้นตั้งแต่ youtube เพิ่งปีกกล้าขาแข็ง  ผมท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ จนเจอ clip ตัดต่อมาจากรายการ concert เปิดการแสดงเมื่อปี 1982 ใช้ชื่อว่า Folk music reunion  เจ้าภาพคือวง folk ระดับตำนานชื่อ The Kingston Trio  

ใน concert นี้มีศิลปิน folk ที่ผมคุ้นเคยมาเป็นแขกรับเชิญ ผมได้รายละเอียดมาว่า… This rare 1982 performance, originally broadcast nationally on PBS, brought together for the first time since 1961..

Concert ยาวประมาณ 1 ชม. เศษ  จบรายการด้วยการร้องเพลงร่วมกันประเภท ‘รวมดาว’  เพลงที่ว่าคือ Circle   หนึ่งในเพลงโปรดตลอดกาลของผม  ผมว่าเพลงนี้ไม่ว่าใคร (ที่ร้องเพลงได้) ร้อง  เป็นออกมาเพราะทั้งสิ้น

เจ้าภาพคือ The Kingston Trio สามคนที่อยู่ข้าง ๆ คือ The Limelighters – ผมเคยได้ยินแต่ชื่อมานานนมแต่ไม่เคยได้ยินเพลงของพวกเขา  เนื่องจากวงนี้ไม่มีเพลงดังในอันดับเพลงฯ ดีเจบ้านเราเลยไม่เอามาเปิดให้ฟัง

ศิลปินเรียงตามลำดับที่ออกมา  เริ่มด้วย
 
Mary Travers – คือ Mary ในวง Peter, Paul and Mary

John Sebastian – ชื่อนี้ขอคุยถึงยาวหน่อย  JS (ยังไม่ตาย) เป็นหัวใจของวง rock ชื่อ Lovin’ Spoonful ชื่อเสียงของวงนี้ถึงจุดสูงสุดในครึ่งหลังของยุค 60s  ความดังของวงนี้อยู่ในชั้นแนวหน้า  มีเพลงฮิตในอันดับเพลงฯ เป็นตับ  

เพราะเหตุที่ความดังของวงฯ อยู่ในยุคปลาย 60s  ในขณะที่ผีเพลงเริ่มเข้าสิงผมในช่วงต้น 70s  ผมก็เลยไม่รู้ว่าวงนี้ดังในบ้านเรารึเปล่าหรือดังแค่ไหน  ในตอนต้น 70s วิทยุบ้านเรายังคงเปิดเพลงย้อนหลังอยู่เนือง ๆ  แต่ผมนึกเพลงของพวกเขาที่ได้ยินทางวิทยุไม่ออกสักเพลง  มาตามเก็บเอาในยุค อตน.
 
หลังจากวงฯ ยุบตัวลงแล้ว  JS ผันผายมาเป็นศิลปินเดี่ยว  เคยร้องเพลงติดอันดับ 1 ในปี 1976 ชื่อ Welcome back  เป็นเพลงในหนังชุดทางทีวีชื่อ Welcome back, Kotter  มี John Travolta ที่ตอนนั้นยังไม่ดังเป็นหนึ่งในกลุ่มนักแสดง  หนังทีวีชุดนี้มาฉายในบ้านเราด้วย  ทางช่อง 3

ใน clip นี้ ตอนเห็น JS เดินออกมาจากหลังเวที  ผมงงพอสังเขป  เนื่องจากเธอเป็นศิลปินแขนง rock  มายุ่งอะไรกับแขนง folk หนอ

รายต่อมา...

Tom Paxton - คนนี้เคยได้ยินแต่เพียงชื่อเช่นกัน  ข้อมูลบอกว่าเธอเป็นศิลปิน folk ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง  แต่ไม่มีผลงานยอดนิยม  บ้านเราไม่มีสิทธิได้ยิน

The Brothers Four

Glenn Yarbrough นี่เป็นสมาชิกดั้งเดิมของวง The Limelighters ที่แยกออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว  พอแยกตัว  วงฯ ก็หาตัวแทนซึ่งก็คือคนยืนตรงกลาง

The Firesign Theatre  วงนี้ผมบ้องแบ๊ว  ข้อมูลบอกว่าเป็นศิลปินประเภท comedy act  แถมยิ่งใหญ่ไม่เบาเสียด้วย

คนสุดท้ายคือ Judy Collins  นักฟังเพลงฝรั่งร่วมยุคบ้านเราต้องรู้จักเธอ


หมายเหตุ - เพลง Circle นี้ ต้นฉบับแต่งและร้องโดยศิลปินดังที่ล่วงลับไปแล้วชื่อ Harry Chapin (นำเสนอไปแล้ว) เจ้าของเพลง Cat’s in the cradle ที่ดังไปทุกที่ที่ฟังเพลงฝรั่ง  เธอไม่ได้ตัดเพลงนี้ออกเป็น single  แต่ฉบับของเธอดังในหมู่ศิลปิน  มีคนนำไปร้องใหม่ (แบบสด) มากมาย  สำหรับฉบับที่อัดเป็น single ขายร้องโดยคณะ The New Seekers (นำเสนอไปแล้วเช่นกัน)

ฟังแล้วมันจัง  นี่ถ้าผมอยู่ในเหตุการณ์นี้  เป็นต้องกระโดดขึ้นไปขอร้องด้วยแน่ ๆ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 412  เมื่อ 20 ก.พ. 24, 18:25

ถ้าเอ่ยถึงวง The Kingston Trio ต้องคิดถึงเพลงนี้



จากการ ‘อ่านมา’ บ้านเค้านับถือว่าเป็นวง folk ที่ยิ่งใหญ่ในยุคของมัน  ถึงจะมี single ดังอยู่เพลงเดียว  แต่ album ที่พวกเขาปล่อยออกมาแตะอันดับ 1 ถึง 5 แผ่น  ไม่มีวง folk วงไหนทำได้  ความสำเร็จของวงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดวง folk อื่น ๆ ตามมา

นำเสนอเพลงอื่น ๆ จากแผ่นรวมเพลงเด่น











และเพลงนี้ในฉบับที่ดังในบ้านเรา



บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 413  เมื่อ 21 ก.พ. 24, 18:13

นักฟังเพลงฝรั่งร่วมยุคไม่มีใครไม่รู้จักเพลงนี้



เป็นอีกเพลงที่ดังน้อยกว่าเพลงชาตินิดเดียว  และเป็นเพลงเดียวของ The Brothers Four ที่ดังสนั่นกรุงเทพฯ (ซึ่งก็หมายถึงประเทศไทยในยุคนั้น)  แต่ถ้าเป็นคอเพลงฝรั่งละก็จะตระหนักดีว่า  ยังมีอีกหลายเพลงที่พวกเขานำมาร้องให้ฟังทางวิทยุเช่น...















(ทำนองเพลงนี้คงคุ้นหูนิ)


(เพลงดังเป็นอันดับ 2 รองจาก Greenfields นะผมว่า)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33595

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 414  เมื่อ 21 ก.พ. 24, 20:10

นักฟังเพลงฝรั่งร่วมยุคไม่มีใครไม่รู้จักเพลงนี้

ถ้าเอ่ยถึง Greenfields ก็จะนึกถึงเพลงนี้ค่ะ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 415  เมื่อ 22 ก.พ. 24, 18:25



(ทำนองเพลงนี้คงคุ้นหูนิ)



ส่วนเพลงนี้ก็มีการเอามาแปลงเป็นเพลงนี้ครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 416  เมื่อ 22 ก.พ. 24, 18:33

New Christy Minstrels เป็นวง folk ขนาดใหญ่ ในวงการเพลงวงนี้มีชีวิตอยู่ 2 ช่วง  ช่วงแรกคือช่วง golden oldies ของผม  ช่วงหลังเปลี่ยนนักดนตรีซึ่งผมถือว่า  NCM ของผมจบช่วงไปแล้ว  วงนี้ส่งเพลงเพราะออกมาเนือง ๆ  เพลงแรกนี้นักฟังเพลงฯ ส่วนใหญ่ได้ยินจากเสียงของ John Denver  แต่เป็นวงนี้ที่ตัดเพลงออกเป็น single เมื่อ 1964 และเป็นเพลงเดียวที่ผมได้ยินสมัยเด็ก ๆ














(ในกลุ่มนี้ต้องมีใครตายสักคนแหละ)
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 417  เมื่อ 23 ก.พ. 24, 18:31

อีกวงที่เพลงของพวกเขาเข้าไปอยู่ในความทรงจำของผมตั้งแต่เล็กแต่น้อย  วง folk วงนี้อยู่ในข่าย one hit wonder  คือมีเพลงฮิตเพลงเดียว  ความจริงวง folk ที่มีเพลงดังในอันดับเพลงหลาย ๆ เพลงนั้นนอกจากวง Peter, Paul and Mary แล้ว  นึกไม่ออก



นำเสนอเพลงอื่นที่ต้วมเตี๊ยมอยู่ในอันดับเพลงล่าง ๆ ของ billboard





บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 418  เมื่อ 24 ก.พ. 24, 18:05

ส่วนเพลงนี้ก็เช่นกัน  ได้ยินมาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก  ตอนนั้นผีเพลงยังไม่เข้าสิงเลยไม่รู้ว่าใครร้อง



ข้างบนเป็นฉบับตัดต่อ เอามาลงให้เห็นตัวเป็น ๆ  ส่วน single ดังสนั่นนั้น  ว่าดังนี้



นำเสนอ









สำหรับเพลงนี้เป็นเพลงใหม่ออกในปี 1972  เนื้อเพลงเล่าเกี่ยวกับชะตาชีวิตของวง  ที่เริ่มต้นอย่างสวยหรูจากเพลงดังของพวกเขา คือ Michael ที่ดังมากเพราะขึ้นถึงอันดับ 1 และคว้าแผ่นเสียงทองคำ  ดังขนาดนี้ทำให้นึกว่ามันจะทำให้อนาคตของวงต้องรุ่งเรืองอย่างแน่นอน แต่แล้ว ‘what the hell went wrong?’



บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 419  เมื่อ 25 ก.พ. 24, 18:39

คั่นรายการวันนี้ด้วยสารคดีที่เพิ่งดูจบสด ๆ (ไม่ใช่เวลาปัจจุบัน) ชื่อคือ When Motown came to Britain สารคดีมีขนาดกระทัดรัดคือยาวประมาณ 1 ชม.  เพิ่งออกฉายเมื่อต้นปีนี้ (ไม่ใช่เวลาปัจจุบัน)

ก่อนอื่นอธิบายจิ๊ดว่า Motown คือชื่อ บ. แผ่นเสียง ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 1959 โดย Barry Gordy  บริษัทฯ นี้เป็นแหล่งรวมรวบศิลปินผิวสี (ผิวดำ) ที่ต่อมาต่างโด่งดังกันคับโลกดนตรี  แต่ในยุคนั้นเพลงของพวกเขารู้จักกันในเฉพาะประเทศอเมริกา  นอกประเทศแล้วเช่นที่อังกฤษนั้นหาคนรู้จักพวกเขาน้อยมาก  ต่อให้ดังในอเมริกาปานไหนก็ตาม  นั่นเป็นเพราะผู้กุมบังเหียนกระจายเพลงให้ฟังทางวิทยุคือ BBC ซึ่งจะผูกขาดนำเสนอแต่เพลงของนักร้องผิวขาวเช่น Cliff Richard, Georgie Fame, Frank Ifiel, Petula Clark ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม  ในยุคนั้นยังมีวัยรุ่นชาวอังกฤษที่กระจัดกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศได้มีโอกาสค้นพบเพลง soul เหล่านี้ตามสถานีวิทยุเถื่อนที่ส่วนใหญ่ตั้งสำนักงานอยู่บนเรือที่ลอยเท้งเต้งอยู่กลางน่านน้ำสากล


(ภาพตัดมาจากในสารคดี)

สารคดีนี้นำวัยรุ่นเหล่านี้ (ที่ตอนนี้ก็แก่งั่กกันแล้ว) มาเล่าเรื่องราว  วัยรุ่นที่สารคดีเชิญมานี้ในเวลาต่อมาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ล้วนทำงานเกี่ยวข้องกับเพลง soul ในแง่มุมต่าง ๆ เป็นผู้บริหารบริษัทแผ่นเสียงบ้าง  เป็นนักเขียนบ้าง  เปิดร้านขายแผ่นเสียงแนว soul โดยเฉพาะบ้าง ฯลฯ  ทั้งนี้ทั้งนั้นต่างได้รับอิทธิพลจากเพลง soul ที่พวกเขาคลั่งไคล้มาก่อนนั่นเอง

หนึ่งในนั้นคือ David Godin (1936 – 2004) วัยรุ่นชาวอังกฤษจากลอนดอนที่มีความคลั่งไคล้เพลง soul มากกว่าใคร ๆ



เธอถึงขนาดก่อตั้งชมรม ทำแผ่นพับรายงานข่าวในแง่มุมต่าง ๆ ของเพลง soul จากอเมริกาออกแจกจ่ายสมาชิก  ความก้าวหน้ามีมาเรื่อยจนถึงขั้นสามารถติดต่อกับ BG ผู้ก่อตั้ง บ. Motown  และได้รับเชิญไปเยือนอเมริกา  ได้กระทบไหล่นักร้องที่เขาเคยได้ยินแต่เสียงทางวิทยุ  



ความก้าวหน้าแผ่ต่อไปจนถึงขั้นเสนอความคิดเชิญเหล่านักร้องชั้นนำของ บ. Motown มาเปิดการแสดงที่อังกฤษ  และความคิดก็ประสบผล  ส่วนหนึ่งมาจากหัวการค้าการตลาดของ BG ที่ต้องการขยายฐานของนักฟังเพลง  และนี่คือที่มาของสารคดี When Motown came to Britain ที่เกิดขึ้นในปี 1965  



ผลของการเดินสายของศิลปิน soul ชั้นนำของอเมริกายังต่างแดนในครั้งนี้จบลงด้วยความล้มเหลว  เนื่องจากคนอังกฤษไม่รู้จักนักร้องพวกนี้แถมเป็นคนดำเป็นผิวสีที่ไม่เคยมีอยู่ในวงการเพลงของอังกฤษในขณะนั้น  แต่ละสถานที่ที่จัดการแสดงจึงมีคนโหรงเหรง  บางแห่งมีคนเข้าชมอยู่เพียง 50 กว่าคนซึ่งนับว่ามาก  แต่ศิลปินเหล่านี้ที่ตอนนั้นต่างยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวไฟแรงแต่มีความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มเปี่ยม  ทุกสถานที่ที่เปิดการแสดงต่างวาดลวดลายอย่างเต็มที่ ทัวร์ในครั้งนั้นมีชื่อเรียกกันเล่น ๆ ว่า Ghost Tour

หลังจบทัวร์  ได้เวลาพักผ่อนเหล่าศิลปินก็ออกช็อปปิ้งกันกระจาย  ก่อนปิดรายการก็ได้รับเชิญไปออกรายการดนตรีทางทีวีชื่อ The Ready Steady Go!  แต่กว่าจะได้คิวออกอากาศ (24 เม.ษ.) พวกเขาก็เดินทางกลับประเทศไปกันแล้ว

ใน youtube มีคนนำ clip ของรายการนี้ในวันนั้นมาให้ชม  ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์  รวมถึงผู้บริหารของรายการ ฯลฯ เล่าว่าเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของวงการเพลงอังกฤษในหลายแง่มุม  เช่นเป็นรายการที่รวบรวมศิลปินผิวสีดัง ๆ ของอเมริกามาอยู่ในสถานที่เดียวกัน  แถมร้องเพลงร่วมกันที่ในอเมริกาบ้านของพวกเขายังทำไม่ได้  และยังเป็นรายการที่มีศิลปินผิวสีชั้นนำของอเมริกามาอยู่ร่วมจอเดียวกับศิลปินชั้นนำของอังกฤษคือ Dusty Springfield ที่ได้ชื่อว่า Blue eyed soul ซึ่งทำหน้าที่พิธีกรตลอดรายการ  อ้ะ... มาชมกัน


DS เป็นธรรมชาติมาก  หัวเราะเอิ๊ก ๆ ตลอด












(Marvin Gaye, Dusty Springfield, Diana Ross & the Supremes, David Ruffin & the Temptations, Martha Reeves & the Vandellas, Smokie Robinson & the Miracles, ตั้งแต่ 11.30 เป็นต้นไปเป็นช่วงรวมดาวที่นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของโลกวงการดนตรีสากล ที่เป่าหีบเพลงปากคือ (Little) Stevie Wonder)


สารคดี



นำเสนอ




ลืม Marvin Gaye ไป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง