เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 10326 ถนนสู่ทำเนียบขาวพาดผ่านเพนซิลเวเนีย
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 10:11

ก่อนกดส่งข้อความข้างบนจากไอแพดยังได้รับ system warning อยู่เหมือนเมื่อวานค่ะ  แต่พอกด send anyway แล้วข้อความเต็มๆ ที่แปะก็ไปปรากฏในกระทู้นี้ทั้งหมด  ไม่มีอะไรถูกตัดเหมือนเมื่อวาน
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 10:14

บทความเต็มๆ อยู่ที่นี่นะคะ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02hCXbLxwYWHxXUBfMMC7AzqjyXhg6cPCNTYaqLwS1GyCDVJPFipQcxaubrcMBak8Bl&id=61564539505812
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ต.ค. 24, 06:42

จากที่เคยไล่โดนัลด์ ทรัมป์ให้กลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบๆ  วันนี้อีลอน มัสก์ ว่าที่มหาเศรษฐีล้านล้านคนแรกของโลก ได้กลายมาเป็นเชียร์ลีดเดอร์ตัวพ่อที่ทุ่มเงินมหาศาลเพื่อให้ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง  แถมยังใช้สื่อในมือช่วยกลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัดกระจายข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนไปทั่วเพื่อผลทางการเมืองและเพื่อสนองอีโก้ของตัวเขาเอง

เมื่อนำความมั่งคั่งไปบวกกันอิทธิพลที่เขามีจากการเป็นเจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ซึ่งมีผู้ติดตามสูงสุด   อีลอนจึงกลายเป็นตัวแปรทางการเมืองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของอเมริกา  ทำให้เกิดความกังวลว่าเขาจะมีอำนาจดลบันดาลให้ผลการเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ 2024 เป็นไปอย่างที่ต้องการมากเกินกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่งควรจะมี

เรื่องของคนรวยที่พยายามสร้างอิทฺธิพลทางการเมืองเพื่อปกป้องสถานะของตัวเองอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่  แต่น้อยคนจะมีทั้งทรัพย์สมบัติมหาศาลและอิทธิพลต่อสังคมมากเท่าอีลอน   จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องพูดถึงด้านมืดของอภิมหาเศรษฐีคนนี้  แม้ว่าเขาจะมีอีกหลายด้านที่คนเป็นร้อยๆ ล้านชื่นชมก็ตาม

ในบรรดากิจกรรมต่างๆ ที่อีลอนเข้าไปเกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนทรัมป์นั้น  นักวิเคราะห์มองว่า  การใช้บัญชีทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อให้แก่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัดน่าจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งมากที่สุด   

การเป็นผู้บริจาคกระเป๋าหนักของอีลอนก็ช่วยทรัมป์ได้เยอะ เพราะทรัมป์ยังเสียเปรียบแฮร์ริสอยู่พอสมควรในเรื่องของเงินทุนหาเสียง  นอกจากเงินแล้วอีลอนก็ยังทุ่มทั้งแรงกายแรงใจอย่างไม่อั้น

มรสุมที่เกิดทั้งในชีวิตส่วนตัวและในธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิดนั้นก็มีผลต่อมุมมองทางการเมืองของอีลอนมากเช่นกัน   

ถ้าใครสนใจรายละเอียดว่าอีลอนมีพฤติกรรมอย่างไรในช่วงหลังๆ  และอะไรทำให้เขาเป็นอย่างนั้น  คลิกไปอ่านบทความเต็มๆ ที่นี่ค่ะ 

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0Ce9VeZHkUE6iqcXZAAyPnAn6xzocuJ5EhJZwJqqv8YCSco6g6qPoRh2rDTqZDvWLl&id=61564539505812




บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 ต.ค. 24, 09:27

ส่วนอันนี้เป็นลิงค์สำหรับการรายงานสั้นๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งล่วงหน้าซึ่งเริ่มขึ้นมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  มีอัพเดทตัวเลขจากรัฐที่มีความสำคัญในคอมเม้นท์ค่ะ   ถ้าดูจากตัวเลขที่เข้ามาตอนนี้เดโมแครตอาจจะหนาวๆ ร้อนๆ แต่ยังเหลืออีกสองอาทิตย์กว่าจะปิดหีบ และในบางรัฐก็ไม่มีสถิติด้วยว่าคนที่มาลงคะแนนล่วงหน้านั้นเป็นเดโมแครตหรือรีพับลิกัน   จึงต้องรอดูกันต่อไป https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0KUFcWsMRWEvCdxSDaDqeSUMMuVB8NvBdZW9f6sV217QvKTipZ2n6nRpPkLgMTbwtl&id=61564539505812
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 ต.ค. 24, 12:06

สังหรณ์ใจว่าชาวอเมริกันจะได้ลุงคนเดิมกลับมาอีกค่ะ


บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 ต.ค. 24, 06:50

สังหรณ์ใจว่าชาวอเมริกันจะได้ลุงคนเดิมกลับมาอีกค่ะ

ตอนนี้ The Economist เปลี่ยนคำทำนายจาก toss-up election ให้เป็นทรัมป์มีโอกาสชนะ 56% แล้วค่ะ  ถึงแม้คุณกมลาจะมีโอกาสชนะคะแนนมหาชนสูงถึง 70% ก็ตาม ส่วนคุณเนท ซิลเวอร์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซท์ 538 ซึ่งมีชื่อเรื่องการทำโพลได้ตรงกว่าเจ้าอื่นๆ บอกว่า ถ้าคุณกมลาชนะในเพนซิลเวเนีย โอกาสชนะของเธอจะสูงถึง 98% แต่ถ้าแพ้ในรัฐนี้โอกาสก็จะเหลือแค่ 0.6% ขณะที่ทรัมป์มีโอกาสชนะในรัฐสมรภูมิทุกรัฐมากถึง 24%

ก่อนหน้านี้ช่วงที่คุณกมลายังฮ็อตก็มีความกังวลว่าทรัมป์จะไม่ยอมรับความปราชัยเหมือนคราวที่แล้วและสร้างความวุ่นวายให้แก่บ้านเมืองอีก   หนูเลยไปเขียนสรุปให้อ่านว่าแกจะทำอะไรบ้างเพื่อปลุกเร้าผู้สนับสนุนให้เชื่อว่ามีการโกงเลือกตั้ง      
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0xpsf9mjkdNVrNvNaH9Gtfb9J1mrTokyo2YYfWJcUrE3ZAtnbGvKcJ827TQArfBtxl&id=61564539505812

แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าเราจะไม่ต้องกังวลเรื่องนี้กันแล้ว   ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 ต.ค. 24, 08:54

    เท่าที่จำได้   ก่อนหน้านี้   ประธานาธิบดีสหรัฐฯมักจะมาจากภูมิหลังที่เกริกไกร   อย่างไอเซนฮาวร์ก็เป็นนายพลวีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก่อน   เคนเนดี้ก็คือองค์ชายจากตระกูลใหญ่ที่ปั้นทายาทไว้เป็นประมุขของประเทศเราดีๆนี่เอง   ถ้าเว้นจอห์นสันที่ขึ้นมาจากรองปธน.กับนิกสันที่เสียชื่อเพราะคดีวอเตอร์เกท  นอกนั้นก็ดูว่าเป็นนักการเมืองที่ประวัติทางการเมืองเอาไปอวดได้ในนามบัตรกันทุกคน
    แล้วคนนอกสนามอย่างลุงแกโผล่ขึ้นมาแซงหน้า ลอยลำเข้าทำเนียบขาวได้ยังไงคะ  ทั้งประวัติ การศึกษา ประสบการณ์ทางการเมือง แม้แต่ฮิิลลารี คลินตันก็ยังดูดีกว่าเยอะ 
    ลุงทำเรื่องอื้อฉาวไว้หลายเรื่องสมัยแรก   แต่มีท่าทีว่าจะลอยลำเข้าสมัยที่สองได้อีกแน่ะ
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 ต.ค. 24, 14:20

    เท่าที่จำได้   ก่อนหน้านี้   ประธานาธิบดีสหรัฐฯมักจะมาจากภูมิหลังที่เกริกไกร   อย่างไอเซนฮาวร์ก็เป็นนายพลวีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก่อน   เคนเนดี้ก็คือองค์ชายจากตระกูลใหญ่ที่ปั้นทายาทไว้เป็นประมุขของประเทศเราดีๆนี่เอง   ถ้าเว้นจอห์นสันที่ขึ้นมาจากรองปธน.กับนิกสันที่เสียชื่อเพราะคดีวอเตอร์เกท  นอกนั้นก็ดูว่าเป็นนักการเมืองที่ประวัติทางการเมืองเอาไปอวดได้ในนามบัตรกันทุกคน
    แล้วคนนอกสนามอย่างลุงแกโผล่ขึ้นมาแซงหน้า ลอยลำเข้าทำเนียบขาวได้ยังไงคะ  ทั้งประวัติ การศึกษา ประสบการณ์ทางการเมือง แม้แต่ฮิิลลารี คลินตันก็ยังดูดีกว่าเยอะ 
    ลุงทำเรื่องอื้อฉาวไว้หลายเรื่องสมัยแรก   แต่มีท่าทีว่าจะลอยลำเข้าสมัยที่สองได้อีกแน่ะ

เท่าที่อ่านและฟังมา  การเกิดของทรัมป์นั้นมีมูลเหตุมาจากความไม่พอใจในรัฐที่สั่งสมมานานสามสี่ทศวรรษ  ซึ่งถ้าจะให้เขียนก็คงยาวมากค่ะ  ถ้าพูดสั้นๆ ก็คือว่าตอนนี้คนลืมไปหมดแล้วว่าทรัมป์เคยทำอะไรไว้บ้าง ทั้งเรื่องบริหารโควิดผิดพลาด เรื่องการจลาจลที่อาคารรัฐสภา ฯลฯ  มัวแต่โฟกัสเรื่องปัญหาปากท้อง  พอโฟกัสเรื่องนี้แล้วฟังแต่อะไรที่ทรัมป์พูดกรอกหูอยู่ทุกวันๆ มันก็เชื่อไปโดยปริยายว่ารัฐบาลปัจจุบันล้มเหลว  ทำให้อยากหาอะไรใหม่ๆ มาแทนที่มากกว่าจะโหวตให้คนจากรัฐบาลชุดเดิม  และมองทรัมป์ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองมองหาอยู่   

แต่หนูคิดว่าถ้าแฮร์ริสพ่ายแพ้ในคราวนี้  อาจไม่ใช่เพราะมีคนรักทรัมป์เพิ่มขึ้นก็ได้นะคะ  แต่อาจเป็นเพราะมีคนไม่พอใจพรรคเดโมแครตกันมากขึ้นมากกว่า   ตอนนี้คนในรัฐสมรภูมิจำนวนมากที่เคยสนับสนุนพรรคบอกว่าถ้าไม่ไปโหวตให้ทรัมป์หรือโหวตให้ผู้สมัครอิสระเป็นการประชด  ก็อาจจะไม่ออกไปลงคะแนนให้ใครเลย  ซึ่งอย่างหลังนี่ก็จะเป็นผลเสียกับแฮร์ริสมาก  โดยเฉพาะในรัฐที่ตัดสินกันด้วยคะแนนแค่หมื่นกว่าคะแนน เหมือนที่เขียนในบทความเกี่ยวกับรัฐเพนซิลเวเนียน่ะค่ะ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0dXMwTTb9kRo3VX8Nj6o8PrfE7MXj84pysGN1APtkf9tRK6aozmZ6gNJC3XWsyRrVl&id=61564539505812
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ต.ค. 24, 07:16

    เท่าที่จำได้   ก่อนหน้านี้   ประธานาธิบดีสหรัฐฯมักจะมาจากภูมิหลังที่เกริกไกร   อย่างไอเซนฮาวร์ก็เป็นนายพลวีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก่อน   เคนเนดี้ก็คือองค์ชายจากตระกูลใหญ่ที่ปั้นทายาทไว้เป็นประมุขของประเทศเราดีๆนี่เอง   ถ้าเว้นจอห์นสันที่ขึ้นมาจากรองปธน.กับนิกสันที่เสียชื่อเพราะคดีวอเตอร์เกท  นอกนั้นก็ดูว่าเป็นนักการเมืองที่ประวัติทางการเมืองเอาไปอวดได้ในนามบัตรกันทุกคน
    แล้วคนนอกสนามอย่างลุงแกโผล่ขึ้นมาแซงหน้า ลอยลำเข้าทำเนียบขาวได้ยังไงคะ  ทั้งประวัติ การศึกษา ประสบการณ์ทางการเมือง แม้แต่ฮิิลลารี คลินตันก็ยังดูดีกว่าเยอะ 
    ลุงทำเรื่องอื้อฉาวไว้หลายเรื่องสมัยแรก   แต่มีท่าทีว่าจะลอยลำเข้าสมัยที่สองได้อีกแน่ะ

อีกประเด็นที่น่าสนใจมากและหนูลืมพูดถึงคือเรื่อง realignment of voters ค่ะ   ถึงคุณกมลาจะเป็นคนผิวดำ แต่คะแนนนิยมของเธอในหมู่ผู้ชายผิวดำและลาติโน่นั้นยังตามหลังทรัมป์และต่ำกว่าไบเดนซึ่งเป็นคนผิวขาวมาก   ส่วนคน Gen Z ที่ก่อนหน้านี้จะออกไปทางซ้ายก็หันไปทางขวามากขึ้น  ขณะที่คนผิวขาวตามชานเมืองซึ่งเคยป็นฐานเสียงของพรรครีพับลิกันก็หันไปเป็นซ้ายมากขึ้นและแสดงออกว่าชอบแฮร์ริสมากกว่าทรัมป์   (แต่อันนี้ต้องดูระดับการศึกษาประกอบด้วย เพราะคนผิวขาวที่ไม่จบปริญญาตรีก็อาจจะยังเป็น FC ทรัมป์อยู่)    ตรงนี้เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้คะแนนเสียงของแต่ละคนมันแกว่ง ไม่สามาาถคาดเดาได้ว่าใครจะไปเลือกใคร  และเราจะไม่รู้จนกว่าสนง. Census ของสหรัฐฯ เผยแพร่สถิติของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างเป็นทางการหลังจากการเลือกตั้งผ่านไปแล้วหลายเดือน 
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 29 ต.ค. 24, 09:02

https://youtu.be/857VFYNBGbs?si=gDu8AiiIib6pPh5P

เคยเขียนในเพจอ่านฟังเล่าไปแล้วเรื่องกลยุทธต่างๆ ที่ฝ่ายทรัมป์นำมาใช้เพื่อพลิกผลเลือกตั้งหรือทำให้ชัยชนะของฝ่ายตรงข้ามไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง   วันนี้มีกลยุทธใหม่มาให้เห็นกันอีก  นั่นก็คือการเผากล่องรับบัตรลงคะแนนที่วางไว้ตามจุดต่างๆ  ถึงจะยังบอกไม่ได้ว่าใครเป็นคนลงมือทำ  แต่การสำรวจความคิดเห็นที่ผ่านมาชี้ว่า 2 ใน 3 ของคนรีพับลิกันไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในกระบวนการเลือกตั้ง เพราะเชื่อคำโกหกของทรัมป์และพลพรรค MAGA ว่ามีการโกง  ขณะที่คนฝ่ายเดโมแครตส่วนใหญ่ไม่รู้สึกแบบนั้น  เราก็พอจะคาดเดาได้ว่าฝ่ายไหนสมควรจะตกเป็นผู้ต้องสงสัยมากกว่ากัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 30 ต.ค. 24, 13:07

ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดโดยรอยเตอร์/อิปซอสที่เผยแพร่วานนี้ (29 ต.ค.) พบว่ารองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต มีคะแนนนิยมนำ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันอยู่เพียงแค่ 1 จุด คือ 44% ต่อ 43% ในช่วงหนึ่งสัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย.

ผลสำรวจซึ่งใช้เวลาจัดทำ 3 วัน และเสร็จสิ้นเมื่อวันอาทิตย์ (27) พบว่า การขับเคี่ยวระหว่างผู้สมัครประธานาธิบดีจาก 2 พรรคใหญ่ยังคงดุเดือด และเนื่องจากโพลมีค่าความผิดพลาดบวกลบไม่เกิน 3% จึงยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะตัวจริง

แม้ว่า แฮร์ริส จะมีคะแนนนำ ทรัมป์ ในผลสำรวจรอยเตอร์/อิปซอสทุกฉบับที่ผ่านมานับตั้งแต่เธอประกาศตัวลงสู่ศึกเลือกตั้งในช่วงเดือน ก.ค. ทว่าส่วนต่างของคะแนนนิยมก็เริ่มหดแคบลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. โดยผลสำรวจฉบับก่อนหน้าซึ่งจัดทำเมื่อวันที่ 16-21 ต.ค. พบว่า แฮร์ริส มีคะแนนนิยมนำ ทรัมป์ อยู่เพียง 2 จุดเท่านั้น

สำหรับโพลล่าสุดซึ่งสอบถามความคิดเห็นชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ทั่วประเทศ 1,150 คน รวมถึงผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 975 คน แสดงให้เห็นว่า ทรัมป์ นั้นได้เปรียบ แฮร์ริส อยู่ในหลายประเด็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่

เมื่อถามว่าระหว่างผู้สมัครทั้ง 2 รายใครที่มีแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และตำแหน่งงานดีกว่ากัน? ผู้ตอบแบบสอบถามเลือก ทรัมป์ 47% และเลือก แฮร์ริส เพียง 37%

นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังมีภาษีดีกว่าในแง่ของการชูนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดการหาเสียง โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 26% เห็นเรื่องงานและเศรษฐกิจเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดสำหรับสหรัฐฯ ในตอนนี้ รองมาลงได้แก่เรื่องแนวคิดสุดโต่งทางการเมือง 24% และปัญหาผู้อพยพ 18%

จุดแข็งที่สุดของ ทรัมป์ ในเชิงนโยบายก็คือการรับมือคลื่นผู้อพยพ ซึ่งเขาเสนอให้ใช้มาตรการแข็งกร้าว เช่น การบังคับเนรเทศหมู่ผู้อพยพที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เป็นต้น โดยผลสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 48% มองว่า ทรัมป์ เสนอแนวทางแก้ปัญหาผู้อพยพได้ดีที่สุด ขณะที่ แฮร์ริส มีคะแนนนิยมในส่วนนี้เพียง 33%

ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบว่าจุดแข็งของ แฮร์ริส เรื่องการต่อต้านลัทธิสุดโต่งทางการเมืองเริ่มที่จะอ่อนแรงลง โดยแม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 40% จะยังคงเห็นว่า แฮร์ริส เสนอแนวทางจัดการลัทธิสุดโต่งทางการเมืองและภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตยได้ดีกว่า แต่ก็มีถึง 38% ที่เลือก ทรัมป์ ซึ่งส่วนต่างเพียง 2 จุดนี้ถือว่าหดแคบลงมากเมื่อเทียบกับโพลช่วงวันที่ 16-21 ต.ค. ที่ แฮร์ริส เคยเป็นฝ่ายนำ ทรัมป์ ถึง 7 จุด

แฮร์ริส พยายามตอกย้ำให้คนอเมริกันรำลึกถึงบทบาทของ ทรัมป์ ในเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ปี 2021 ซึ่ง ทรัมป์ ได้กล่าวปราศรัยปลุกเร้าฝูงชนให้พยายามล้มผลเลือกตั้งที่ โจ ไบเดน เป็นฝ่ายชนะ ในขณะที่ ทรัมป์ โต้กลับว่า แฮร์ริส มีมุมมองที่สุดโต่ง และหากเธอชนะการเลือกตั้งก็เท่ากับว่าสถาบันต่างๆ ของสหรัฐฯ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้นำที่มีแนวคิดแบบสังคมนิยม (socialist)

รอยเตอร์ชี้ว่า ส่วนต่างคะแนนนิยมของ แฮร์ริส ในขณะนี้อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เธอชนะศึกเลือกตั้ง ต่อให้ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงวันที่ 5 พ.ย.ก็ตาม

แม้ผลสำรวจระดับชาติ ซึ่งรวมถึงโพลรอยเตอร์/อิปซอส จะช่วยนำเสนอสัญญาณที่สำคัญๆ เกี่ยวกับมุมมองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่สิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินจริงๆ ก็คือจำนวนองค์คณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ของแต่ละรัฐที่ใครจะได้ไปมากกว่ากัน โดยคาดว่าผลเลือกตั้งใน 7 รัฐสมรภูมิจะเป็นตัวชี้ขาด

ทรัมป์ เคยสร้างประวัติศาสตร์เอาชนะ ฮิลลารี คลินตัน จากพรรคเดโมแครตมาแล้วในศึกเลือกตั้งปี 2016 ด้วยจำนวนคณะผู้เลือกตั้งที่มากกว่า แม้ว่า คลินตัน จะเป็นฝ่ายชนะป็อปปูลาร์โหวตถึง 2% ก็ตาม

https://mgronline.com/around/detail/9670000104478
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 พ.ย. 24, 09:00

ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเท่าไหร่ก็ยิ่งหดหู่ค่ะ  ทำใจแล้วว่าต้องทนเห็นทรัมป์ปู้ยี่ปู้ยำประเทศและโลกไปอีกสี่ปี  จะหนีไปไหนก็หนีไม่พ้น  เพราะยังไงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการค้าโลกและความสัมพันธ์ในภูมิภาคมันก็คงมาถึงเราแน่ๆ   ตอนนี้เลยพยายามคิดแต่ว่าเราต้องทำอะไรบ้างถึงจะอยู่กับโลกที่แปรปรวนในสี่ปีข้างหน้าได้   

ที่อยากเห็นมากคือตัวเลขที่จะสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า (1) การเลือกตั้งครั้งนี้มันคือการสู้รบระหว่างอะไรกับอะไรกันแน่  Battle of the Sexes - ความแตกต่างระหว่างชายหญิง หรือ The Diploma Divide - สงครามชนชั้น และ (2) สาเหตุที่ทำให้แฮร์ริสแพ้นั้นเป็นเพราะ The Reversal of Gen Z - คนรุ่นใหม่ย้ายค่าย หรือ The Departure (of Black and Latinos) - แรงประชดของฐานเสียงเก่า ซึ่งบางตัวเลขอาจจะดูจาก exit polls ได้ แต่ถ้าจะเอาสถิติอย่างเป็นทางการทั้งหมดก็ต้องรอนานหลายเดือน

ที่ไม่อยากเห็นคือ (1) สถานการณ์ที่ไม่มีใครได้เสียง electoral votes ถึง 270 แล้วต้องไปโหวตโดยตัวแทนจากรัฐทั้ง 50 ในสภา  หรือ (2) สถานการณ์ที่ศาลสูงต้องเข้ามาตัดสินคดีฟ้องร้องใน battleground states บางรัฐที่จะมีผลต่อชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะมันคงจะ very ugly and very messy และก็อาจทำให้กองเชียร์ของฝ่ายที่แพ้ยิ่งต่อต้านฝ่ายที่ชนะมากขึ้น  ประเทศชาติก็จะยิ่งแตกแยกไปกว่าเดิมเพราะมันจะ move on กันลำบาก  ไม่เหมือนสมัยบุชกับกอร์ในปี 2000 ที่ความเชื่อมั่นใน institutions และในกระบวนการเลือกตั้งมันมีสูงกว่าตอนนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 พ.ย. 24, 09:46

  ถ้าทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาวได้   ก็ไม่รู้ว่าสิ่งต่อไปนี้จะเกิดขึ้นไหมนะคะ
  1   เข้มงวดเรื่องผู้ลี้ภัย/ผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย   อาจจะต้องถึงขั้นส่งตัวกลับกันเป็นหมู่เป็นเหล่า (ไม่รู้ว่าเจ้าชายแฮรี่จะอยู่ในข่ายรึเปล่า  เห็นลุงแกเคยฮึ่มฮั่มอยู่)
  2   เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า  Make money, not war.   เพื่อหาเม็ดเงินเข้าประเทศ ชดเชยกับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่ตอนนี้
  3   การเผชิญหน้ากับจีน  จะไม่เกิดขึ้น  เช่นเดียวกับไต้หวันก็ยังอยู่รอดปลอดภัย
  4   การแทรกแซงกิจการภายในของประเทศในเอเชียอาคเนย์อย่างออกนอกหน้าเหมือนเมื่อก่อน  เพลาลง เพราะมุ่งไปทางการค้าแทน
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 พ.ย. 24, 21:00

ถ้าทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาวได้   ก็ไม่รู้ว่าสิ่งต่อไปนี้จะเกิดขึ้นไหมนะคะ
  1   เข้มงวดเรื่องผู้ลี้ภัย/ผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย   อาจจะต้องถึงขั้นส่งตัวกลับกันเป็นหมู่เป็นเหล่า (ไม่รู้ว่าเจ้าชายแฮรี่จะอยู่ในข่ายรึเปล่า  เห็นลุงแกเคยฮึ่มฮั่มอยู่)

ทรัมป์ประกาศแล้วว่าจะเนรเทศผู้อพยพที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายออกไปให้หมดตั้งแต่วันแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง  และเคยขู่ด้วยว่าจะส่งผู้อพยพจากเฮติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในโอไฮโอกลับประเทศด้วย  ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นส่วนใหญ่มีวีซ่าและ work permit อย่างถูกต้องตามกฎหมาย    เชื่อว่านี่เป็นสัญญาที่ทรัมป์จะทำให้เป็นจริงแน่ๆ  เพราะตอนมาเป็นปธน.สมัยแรกก็สั่งให้ crack down on illegal immigration ตั้งแต่สัปดาห์แรกๆ  ของการเข้ามารับตำแหน่ง  (แถมยังออกคำสั่งมาแบนคนมุสลิมไม่ให้เข้าประเทศอีก  แต่มีคนไปยื่นไปฟ้องกับศาลก็เลยต้องชะลอไปพักหนึ่ง)    เพียงแต่ครั้งนี้จะรุนแรงกว่าเพราะเป็น mass deportation   ตอนนี้สื่ออเมริกันหลายเจ้าก็พูดถึง chaos ที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายนี้และผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอเมริกาแล้ว
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 พ.ย. 24, 21:01

  2   เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า  Make money, not war.   เพื่อหาเม็ดเงินเข้าประเทศ ชดเชยกับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่ตอนนี้

อันนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ค่ะ  เพราะนโยบายเศรษฐกิจที่ทรัมป์ชูว่ามีความสำคัญอันดับหนึ่งคือการใช้ภาษีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องมือกดดันให้บ.ที่ย้ายฐานการผลิตออกนอกอเมริกาต้องรับภาระภาษีแพงจนสู้ไม่ไหว  และกลับมาตั้งโรงงานในประเทศเพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้า  ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในประเทศ   ในช่วงหาเสียง   ทรัมป์ขู่ว่าจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนถึง 60% และจากประเทศอื่นๆ 20%    ถ้าทำจริง (ซึ่งหนูเชื่อว่าจะทำ)  นโยบายนี้จะสร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจและการค้าของทั้งโลกเป็นอย่างมาก    ไทยเราเองก็จะแย่ไปด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง