เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 32578 ไทยเริ่มใช้คำนำหน้าว่า คุณหญิง ท่านผู้หญิง ตั้งแต่เมื่อไรครับ
ROME
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


 เมื่อ 26 พ.ค. 11, 12:37

เอาคำว่า คุณหญิง ท่านผู้หญิง มาจากภาษาอังกฤษว่า Lady หรือเปล่าครับ ถ้าเอามา เอามาเมื่อไรครับ ทำไมสมัย ร.1 จึงเรียก คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก หรือ ร.3 ถึงเรียก คุณหญิงโม แสดงว่ามีมาตั้งแต่ อยุธยาเหรอครับ แล้วคำว่า นาง นางสาว เริ่มเมื่อไร เมื่อก่อนเรียก อำแดง ขอบคุณทุกท่านที่ตอบครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 13:39

คุณหญิง - ท่านผู้หญิง

           ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - ๔ คำว่า ‘คุณหญิง’ (และคุณชาย) นั้น โปรดฯให้ใช้เรียกกันแต่พวกราชินิกุลที่เป็นหลานย่าของเจ้าคุณหญิงนวล หรือ เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปในหมู่ชาววังชาวบ้านขณะนั้นว่า เจ้าคุณโต (พระน้องนางของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) รวมทั้งบรรดาบุตรธิดาอื่นๆ ของเจ้าพระยาอัครมหาเสนา (บุนนาค) ที่เกิดจากภรรยาอื่นด้วย

           และ บุตรธิดาของลูกเธอในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (คือเป็นราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) ก็โปรดฯให้เรียกว่า ‘คุณหญิง’ (และคุณชาย) ด้วย

           ส่วนภรรยาของขุนนางตั้งแต่เจ้าพระยา พระ หลวง ที่มีตำแหน่งอันรับพระราชทานแต่งตั้ง และภรรยาหลวงถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นเรียกว่า ‘ท่าน’

           คำว่า ‘ท่าน’ นี้จึงกลายเป็น ‘ท่านผู้หญิง’ คงเพื่อให้รู้ว่าเป็นท่านผู้ชาย (สามี) หรือท่านผู้หญิง (ภรรยา)

           ดังนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๔ ภรรยาของเจ้าเมือง ไม่ว่าชั้นเจ้าพระยาหรือพระยา หรือพระ จึงเรียกกันว่า ‘ท่าน’ หรือ ‘ท่านผู้หญิง’ ทั้งสิ้น

           เพิ่งจะเริ่มแบ่งชั้นภรรยา (หลวง) ของเจ้าพระยาและพระยา (ตลอดจนพระบางท่าน) เป็นท่านผู้หญิงและคุณหญิงในรัชกาลที่ ๕ โดยถือเอาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็นสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปภรรยา (หลวง) ของพระยา นั้นจะเป็น ‘คุณหญิง’ แต่อาจจะเป็นท่านผู้หญิง ก็ได้หากได้รับพระราชทานตรา ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)

           ดังนั้น ที่มาเรียกกันว่า คุณหญิงโม คุณหญิงจันหรือ ท่านผู้หญิงโม คุณหญิงจัน นั้น ก็มาเรียกกันตามแบบสมัยใหม่ในขณะนั้น (คือสมัยรัชกาลที่ ๕) และต่อ ๆ มา

จากคอลัมน์เวียงวัง โดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์  นิตยสารสกุลไทยฉบับที่ ๒๖๒๗ ปีที่  ๕๑ ประจำวัน  อังคาร ที่  ๒๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๘
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 13:45

ท่านผู้หญิง-คุณหญิง

          แต่โบราณ คำว่า ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของผู้ที่เป็น เจ้าพระยา และสตรีผู้นั้นได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิงด้วย. ปัจจุบัน ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป.

          ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ เช่น เป็นหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง, เมื่อใช้คำนำหน้าว่า ท่านผู้หญิง แล้ว ก็ไม่ต้องใช้คำว่า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง อีก. ใช้แต่คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง เท่านั้น เช่น ม.ร.ว.บุตรี เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง, จะออกนามว่า ท่านผู้หญิงบุตรี ไม่ใช้ท่านผู้หญิง ม.ร.ว.บุตรี.

          คุณหญิง เป็นคำลำลองเรียกราชนิกูล ชั้นหม่อมราชวงศ์หญิง เช่น เรียกขาน หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ว่าคุณหญิงกิติวัฒนา, เรียกขานหม่อมราชวงศ์อรฉัตร ว่า คุณหญิงอรฉัตร. คำว่า คุณหญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไปจนถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าด้วย.

          ถ้าสตรีผู้นั้นเคยมีคำนำหน้าชื่ออย่างอื่นมาก่อน เช่น ยศทหาร ตำแหน่งทางวิชาการ หรือวุฒิการศึกษา ต้องเรียงคำนำหน้าชื่ออื่น ๆ นั้นก่อน และให้คำว่า คุณหญิงอยู่ท้าย เพื่อให้ต่อกับชื่อ เช่น ศาสตราจารย์ พันตรีหญิง คุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ, ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี. คำนำหน้าว่า คุณหญิง ในกรณีนี้ เป็นภาษาทางการ.

จากคลังความรู้ โดย  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  ประเภทวรรณศิลป์  สาขาวิชาภาษาไทย สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 14:00

กฎหมายคำนำหน้าชื่อ รัชกาลที่ ๔ จากบล็อกของคุณกัมม์

ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ

มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า คนในพระราชอาณาจักรมิใช่จีนมิใช่ฝรั่ง แขก ญวน พม่า มอญ ซึ่งมาแต่เมืองจีน เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองญวน เมืองพม่า เมืองมอญ แลมิใช่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชีพ่อพราหมณ์ หลวงญวน หลวงจีน บาดหลวงฝรั่ง โต๊ะแขก รูปชี แพทย์หมอ แลครูอาจารย์สอนหนังสือก็ดี ยกเสียแต่ข้าราชการที่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่หมื่นขึ้นไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาแลเจ้าพระยาก็ดี แลยกเสียแต่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ แลเจ้าประเทศราช แลเจ้าซึ่งเป็นบุตรตหลานพี่น้องของเจ้าประเทศราช ตลอดลงไปจนท้าวเพี้ยในเมืองลาว พระยาพระในเมืองเขมรตองกูตวนเจะในเมืองมลายู จ่ากังในพวกกระเหรี่ยงก็ดีแล้ว

ชายสามัญทั้งปวงมีคำนำหน้าชื่ออยู่แต่สองอย่างคือ นายอย่างหนึ่ง อ้ายอย่างหนึ่ง ตั้งแต่นายยามหุ้มแพรมหาดเล็ก แลนายเวรตำรวจ นายม้าจูง นายท้ายช้าง ลงไปจนตัวเลกหมู่ไพร่หลวงสามัญ มิใช่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แลขาดบรรดาศักดิ์ก็ดี ไพร่สมกำลัง แลลูกหมู่มิใช่ทาสมิใช่เชลยก็ดี มีคำนำชื่อว่า นาย ทั้งหมด

ตัวแลลูกหมู่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แลขาดบรรดาศักดิ์แล้ว แลตัวแลลูกหมู่ ทาส เชลย ทั้งปวงมีคำนำหน้าชื่อว่า อ้าย หญิงเช่นชายที่มีคำนำหน้าชื่อว่าอ้ายทั้งปวงนั้น ย่อมมีคำนำหน้าชื่อว่า อี ทั้งสิ้น

แต่หญิงอื่นจากที่ต้องมีลักษณะจะเรียกว่า อี นั้น ถ้าเป็นพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ก็เรียกว่าพระองค์เจ้า หม่อมเจ้าตามที่ ถ้าต้องโทษถอดจากบรรดาศักดิ์พระองค์เจ้าหม่อมเจ้าก็เรียกว่า หม่อม บุตรชายหญิงของหม่อมเจ้าก็เรียกว่าหม่อมเหมือนกันกับราชนิกูลที่ไม่มีชื่อตำแหน่ง ทั้งชายหญิงก็เรียกว่า หม่อม

แต่ในกาลทุกวันนี้เจ้าราชนิกูล ผู้หญิงเชื้อพระวงศ์ที่สนิทในพระเจ้าอยู่หัว เขาเรียกกันว่าคุณว่าเจ้าคุณบ้าง ข้างในใช้ชิดพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวังแลพระบวรราชวัง มีคำนำหน้าว่าเจ้าจอม ถ้ามีพระองค์เจ้าก็มีคำนำหน้าเพิ่มเข้าว่าเจ้าจอมมารดา จอมเปล่าก็ขาดไป ท่านเจ้าจอมก็เกินไป

เจ้าจอมอยู่งานในแผ่นดินที่ล่วงลับแล้ว ที่สูงอายุแล้วใช้ราชการออกข้างหน้าได้ เรียกว่าเจ้าจอมเถ้าแก่

พนักงานข้างในทั้งปวงที่ไม่ได้เป็นเจ้าแลราชนิกูลเรียกว่า หม่อมพนักงานทั้งสิ้น

หม่อมพนักงานที่สูงอายุแล้วใช้ราชการออกข้าหน้าก็ดี หญิงหม้ายภรรยาข้าราชการที่ผัวถึงอสัญกรรม ถึงแก่กรรมบ้าง ผัวหย่าร้างบ้าง เข้ามารับราชการเช่นนั้นก็ดี บรรดาหญิงสูงอายุที่มิใช่เจ้าจอมเก่า ซึ่งรับราชการเช่นกับเจ้าจอมเฒ่าแก่นั้น เรียกว่าท่านเฒ่าแก่

หญิงมีบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งมีชื่อตามบรรดาศักดิ์ มีคำนำว่าท้าว แต่กาลบัดนี้หญิงที่ไม่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่ว่าราชการแทนท้าวหรือเทียบที่ท้าว ก็มีคำว่า ท้าว หน้าชื่อเดิม ว่าท่านท้าวก็เกินไป

นายโขลนที่เป็นจ่าทนายเรือน ก็มีคำนำหน้าชื่อว่า ทนายเรือน ข้างในใช้ชิดของพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าทั้งปวง ที่มิใช่พระองค์เจ้าหม่อมเจ้าก็เรียกหม่อมทั้งสิ้น

ภรรยาหลวงข้าราชการที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการที่ถือศักดินาตั้งแต่นา ๑๐๐๐๐ ลงมาจนถึง ๔๐๐ ก็ดี ที่ได้พระราชทานเครื่องยศตามบรรดาศักดิ์ ก็มีคำว่าท่านผู้หญิงว่าท่านนำหน้าชื่อ ที่ไม่ได้พระราชทานเครื่องยศบรรดาศักดิ์ก็ดี เป็นอนุภริยามิใช่ทาสภริยาที่มีบุตรด้วยกันก็ดี หญิงบุตรหลานข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ก็ดี หญิงยังไม่มีผัวก็ดี ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อทั้งสิ้น

ภรรยาข้าราชการที่ต่ำนาน ๔๐๐ ลงมา จนถึงไพร่หลวง ไพร่สมทั้งปวง ยกแต่หญิงมหันตโทษทาสเชลยที่ต้องลักษณะ จะเรียกว่าอีแล้วมีคำนำหน้าชื่อว่าอำแดง

เด็กสามัญที่ยังไม่ได้โกนจุกอายุไม่เกินกว่า ๑๓ ปี ทั้งชายหญิงที่นอกจากจะเรียกว่าอ้ายว่าอีแล้ว จะเรียกว่าหนูนำหน้าชื่อก็ควร

ประกาศมา ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ หรือวันที่๓๗๗๓ ในรัชกาลปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 14:13

กฏหมายคำนำหน้าชื่อ รัชกาลที่ ๖

พระราชกฤษฏีกาให้ใช้คำนำหน้าสัตรี พ.ศ. ๒๔๖๐




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 14:18

(ต่อ)



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 14:25

พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยคำนำหน้าเด็ก พ.ศ. ๒๔๖๔



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 14:30

พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคำนำนามเด็ก พ.ศ. ๒๔๖๔




บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 16:54

เรื่องคำนำนามเด็กและสตรี  พบความในเอกสารจดหมายเหคุว่า  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ทอดพระเนตรหนังสือกราบบังคมทูลางฉบับเขียนว่า  นาย ... อายุ ๓ ปี  บางฉบับก็เรียกสตรีว่า นายสาว  จึงมีพระราชกระแสสั่งให้กำหนดคำนำนามเด็กว่า เด็กชาย  เก็หญิง  คำนำนามสตรีเป็น  นาง และนางสาว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 พ.ค. 11, 20:10

เอาคำว่า คุณหญิง ท่านผู้หญิง มาจากภาษาอังกฤษว่า Lady หรือเปล่าครับ
lady ของฝรั่งไม่เหมือนคุณหญิงหรือท่านผู้หญิงของไทย    เพราะว่ามีโดยกำเนิดก็ได้   จากการเป็นลูกสาวขุนนาง  อย่าง Lady Diana Spencer หรือเจ้าหญิงไดอาน่า    หรือเป็น ladyเพราะเป็นภรรยาขุนนางก็ได้ 
คุณหญิงที่ได้รับเครื่องราชฯ ของไทย   จะคล้าย Dame ในอังกฤษมากกว่า   เพราะคำนำหน้า Dame จะได้เพราะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่สามารถใช้คำนำหน้าว่า Dame   หรือว่าเป็นภรรยาขุนนางชั้น Knight   แต่ไม่ได้เป็นโดยกำเนิด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 06:17

คำถามของคุณแอนนา

คำนำหน้าชื่อเด็กชาย เด็กหญิง  เกิดขึ้นเมื่อไหร่คะ ?

สามารถหาคำตอบได้ข้างบน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 12:55

คำถามของคุณแอนนา

๑.
คือว่าพอเห็นชื่อท่านผู้หญิงบุตรี ก็ทำให้นึกถึงที่เคยสงสัยว่าหม่อมราชวงศ์ เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชฯเป็นท่านผู้หญิงแล้วไม่ต้องใช้คำหน้าว่าหม่อมราชวงศ์อีกต่อไปหรือ? ตอนแรกว่าจะเรียนถามอาจารย์ แต่ชักจะเกรงใจว่ารบกวนอาจารย์บ่อยเหลือเกินเลยลองเสิร์ชหาเองก่อนค่ะ  แล้วก็รับคำตอบ

คำตอบอยู่ในความคิดเห็นที่ ๒

ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ เช่น เป็นหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง, เมื่อใช้คำนำหน้าว่า ท่านผู้หญิง แล้ว ก็ไม่ต้องใช้คำว่า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง อีก. ใช้แต่คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง เท่านั้น เช่น ม.ร.ว.บุตรี เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง, จะออกนามว่า ท่านผู้หญิงบุตรี ไม่ใช้ท่านผู้หญิง ม.ร.ว.บุตรี.

๒.
แต่ยังไม่วายมีข้อสงสัยตามมาให้ต้องรบกวนอาจารย์อีกจนได้ ยิงฟันยิ้ม คือสงสัยน่ะค่ะว่าแล้วหม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง ถ้าแต่งงานกับเจ้าระดับหม่อมเจ้าขึ้นไป ยังคงคำนำหน้าชื่อเหมือนเดิม หรือว่าเปลี่ยนเป็นหม่อมเฉยๆคะ

คำตอบอยู่ในความคิดเห็นที่ ๔

กฏหมายคำนำหน้าชื่อ รัชกาลที่ ๖

พระราชกฤษฏีกาให้ใช้คำนำหน้าสัตรี พ.ศ. ๒๔๖๐



บันทึกการเข้า
luckluck
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 พ.ย. 17, 02:01

ท่านผู้หญิง-คุณหญิง

          แต่โบราณ คำว่า ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของผู้ที่เป็น เจ้าพระยา และสตรีผู้นั้นได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิงด้วย. ปัจจุบัน ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป.

          ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ เช่น เป็นหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง, เมื่อใช้คำนำหน้าว่า ท่านผู้หญิง แล้ว ก็ไม่ต้องใช้คำว่า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง อีก. ใช้แต่คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง เท่านั้น เช่น ม.ร.ว.บุตรี เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง, จะออกนามว่า ท่านผู้หญิงบุตรี ไม่ใช้ท่านผู้หญิง ม.ร.ว.บุตรี.

          คุณหญิง เป็นคำลำลองเรียกราชนิกูล ชั้นหม่อมราชวงศ์หญิง เช่น เรียกขาน หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ว่าคุณหญิงกิติวัฒนา, เรียกขานหม่อมราชวงศ์อรฉัตร ว่า คุณหญิงอรฉัตร. คำว่า คุณหญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไปจนถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าด้วย.

          ถ้าสตรีผู้นั้นเคยมีคำนำหน้าชื่ออย่างอื่นมาก่อน เช่น ยศทหาร ตำแหน่งทางวิชาการ หรือวุฒิการศึกษา ต้องเรียงคำนำหน้าชื่ออื่น ๆ นั้นก่อน และให้คำว่า คุณหญิงอยู่ท้าย เพื่อให้ต่อกับชื่อ เช่น ศาสตราจารย์ พันตรีหญิง คุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ, ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี. คำนำหน้าว่า คุณหญิง ในกรณีนี้ เป็นภาษาทางการ.

จากคลังความรู้ โดย  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  ประเภทวรรณศิลป์  สาขาวิชาภาษาไทย สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน


ข้อมูลน่าจะผิดนะครับ

ถ้าหม่อเมจ้าหญิง ที่ไม่ได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เพื่อแต่งงานกับสามีที่ไม่ใช่เจ้า คือ ตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ลงมาจนถึงสามัญชน เมื่อได้รับ พระราชทานเครื่องราชทุติยจุลจอมเกล้ววิเศษขึ้นไป ยังคงใช้คำนำตามฐานันดรศักดิ์เดิม เช่น หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช ราชสกุลเดิม ชุมพล พระชายาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ   เป็นต้น แต่ถ้าลาออกจากฐานันดรศักดิ์แล้ว คำนำหน้าในบัตรประชาชนจะกลายเป็นนางทันที เมื่อได้รับได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นใดก็ตาม จะใช้คำนำหน้าตามนั้น เช่น คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า ราชสกุล ยุคล พระนามเดิม หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล ลาออกเพื่อแต่งงานกับ หม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ และ วิเชียร ตระกูลสิน ตามลำดับ หรือ ท่านผู้หญิง พันธุ์สวลี กิติยากร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ราชสกุล ยุคล  พระนามเดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคลลาออกเพื่อแต่งงานกับ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร เป็นต้น แต่ถ้าฐานันดรศักดิ์เดิมเป็น หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง แต่งงานกับเจ้า คือ ตั้งแต่หม่อมเจ้า ขึ้นไป คำนำหน้าก็จะไม่เปลี่ยนเป็น หม่อม ยังคงใช้ฐานันดรศักดิ์เดิมตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงแม้จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นใดก็ตาม เช่น หม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา รัชนี ราชสกุลเดิม วรวรรณ ชายาใน หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สุดท้าย ถ้าสตรีสามัญชนท่านใดแต่งงานกับเจ้า คือ ตั้งแต่หม่อมเจ้า ขึ้นไป คำนำหน้าจะเป็น หม่อม เสมอ ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นใดก็ตาม เช่น หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา สกุลเดิม สารสาส ชายาใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นต้น ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 พ.ย. 17, 06:11

ไม่ผิดครับ แต่ข้อมูลข้างล่างช่วยขยายความให้ข้อมูลข้างบน ถูกต้องทั้งคู่
บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 12:13

ผมมีความเห็นว่า ความเห็นของอ.กาญจนา น่าจะผิดไปนิดหนึ่ง (อาจจะเพราะอธิบายไม่ครบถ้วน) คือตรง เมื่อหม่อมเจ้าหญิง แม้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นท่านผู้หญิงแต่อย่างใด
เพราะ
1. หากมิได้เสกสมรส ก็ไม่ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น คุณ เพราะจะดูเป็นการลดพระเกียรติยศ เช่น หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล ทรงได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. ก็มิได้ต้องเปลี่ยนเป็น คุณมารยาตรกัญญา แต่อย่างใด
2. หากเสกสมรสกับเจ้านายด้วยกัน ก็คงใช้หม่อมเจ้านำหน้าพระนามแต่อย่างเดิม เช่น หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช พระชายาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ทรงได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. ก็มิได้ต้องเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิงบุญจิราธร
3. หากเสกสมรสกับบุรุษที่มิได้เป็นเจ้านาย ก็ต้องกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เสียก่อน คำนำหน้าจึงเปลี่ยนเป็น นาง หากมิได้รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้าใด ๆ เช่น นางภานุมา พิพิธโภคา (หม่อมเจ้าหญิงภานุมา ยุคล) หรือ คุณหญิงเมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ.ขึ้นไป เช่น คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล ท.จ. (หม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล) หรือ ท่านผู้หญิงเมื่อได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. ขึ้นไป เช่น ท่านผู้หญิง พันธุ์สวลี กิติยากร (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)


และกรณี สตรีที่มิได้เป็นเจ้านาย ที่มีฐานันดร (หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง) ที่เป็นหม่อมในเจ้านาย เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็มิต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามแต่อย่างใด เช่น หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงษ์ ป.จ. หม่อมหลวงบัว กิติยากร ป.จ. หรือแม้หม่อมที่เป็นสามัญชน ก็มิต้องเปลี่ยนคำนำหน้านาม เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเช่นกัน เช่น หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา ป.จ.

และยังมีกรณี สตรีที่มิได้เป็นเจ้านาย ที่มีฐานันดร (หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง) เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
1. มิได้สมรส ก็คงคำนำหน้านั้นไว้ตามฐานันดรเดิม
2. สมรส และได้รับ จ.จ. ขึ้นไป ก็ยังคงใช้คำนำหน้าตามฐานันดรเดิมเช่นกัน เช่น หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี จ.จ. (แต่เรียกว่าคุณหญิงปิยาภัสร์ คุณหญิงต้นได้)
3. สมรส และได้รับ ท.จ.ว. ขึ้นไป ให้เปลี่ยนมาใช้คำนำหน้า ท่านผู้หญิง เช่น ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ท.จ.ว. (หม่อมราชวงศ์บุตรี กฤดากร)

หากขาดตกบกพร่องไปตรงไหน ขอคำแนะนำและขออภัยด้วยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง