เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: lithium ที่ 08 มิ.ย. 12, 20:28



กระทู้: คนกรุงเทพพูดสำเนียงบางกอก
เริ่มกระทู้โดย: lithium ที่ 08 มิ.ย. 12, 20:28
คนกรุงเทพในปัจจุบันเป็นคนพูดสำเนียงบางกอกที่มีชนชาติ จีน เขมร มอญ ต่างจากกับภาคอื่นของประเทศไทยเพราะภาคอื่นของประเทศไทยมีการใช้สำเนียงที่เรียกว่าเหน่อ เเละจะมีการลากหางเสียงยาวกว่าคนกรุงเทพในปัจจุบัน



ที่ผมเขียนมานี้ถูกไหมอะครับ


กระทู้: คนกรุงเทพพูดสำเนียงบางกอก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มิ.ย. 12, 21:40
ไม่ถูกค่ะ
ชนชาติจีน มอญ เขมร ไม่อยู่ในจังหวัดอื่นกันบ้างหรือคะ


กระทู้: คนกรุงเทพพูดสำเนียงบางกอก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มิ.ย. 12, 21:50
เรื่องเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยนั้นเป็นเรื่องน่าแปลกที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่เหมือนกับของจีนแต้จิ๋วไม่มีผิดเพี้ยน แตกต่างจากจีนกลางซึ่งมีเพียง 4 เสียง อิง(อิ๊ง) ย๋าง ส่าง ฉวี้ (นิยมว่า อิง หยาง ส่าง ชวี่ แต่ผมเขียนแบบนี้เพื่อให้เห็นรูปวรรณยุกต์แบบไทย) ซึ่งเสียง อิง นั้นจะก้ำกึ่งระหว่างเสียงสามัญกับเสียงตรี เรื่องนี้อ.ชาญวิทย์ เกษตรสิริ เคยตั้งสมมติฐานว่าด้วยเรื่องคนภาคกลาง(ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ฯลฯ) พูดเหน่อ หรือ คนกรุงเทพพูดเหน่อกันแน่ โดยเสนอสมมติฐานที่ว่าในช่วงกรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีคนจีนอพยพเข้ามาตั้งถินฐานในบางกอกกันมา(ตามหลักฐาน อ.ชาญวิทย์ ว่าถึงกับ dominant คือเป็นคนส่วนมากในกรุงเทพด้วยซ้ำ) และว่ามีอิทธิพลทำให้สำเนียงของคนกรุงเทพเปลี่ยนไปตามแบบแต้จิ๋ว

เรื่องนี้ผมเองไม่เห็นด้วยนัก เพราะว่าคนแต้จิ๋วในกรุงเทพเองก็ยังเข้าข่ายว่า พู่กไหม่ชักเหมืองกัง แต่สิ่งหนึ่งที่พอจะมองจากเรื่องนี้ออกคือ ความกลมกลืนของคนจีนนั้นมีมากจนนักประวัติศาสตร์ไม่อาจมองข้ามความสำคัญได้เลยครับ


 ;D


กระทู้: คนกรุงเทพพูดสำเนียงบางกอก
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 12 มิ.ย. 12, 20:22
ถ้านับเฉพาะยุคอยุธยา สมมติฐานที่ท่านเจ้าของกระทู้ว่ามา ถูกต้องครับ