เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 22845 วัฒนธรรมไทย จีน
สมชาย
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 30 พ.ค. 01, 04:19

ที่จริงผม แปะไว้ในกระทู้คนจีนมียศ แต่ยกขึ้นมาจะได้เห็นกันชัดๆ
ไทย จีน มีความสัมพันธ์กันมานานหลายร้อยปีคนจีนก็เคยรับราชการในแผ่นดินไทย ทำไมวัฒนธรรมจีนจึงไม่ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 00:29

ผมกระทู้เองตอบเอง ตามข้อสันนิษฐาน ( ที่ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ เพียงอาศัยความรู้สึกและ commonsense ) คนจีนเข้ามาติดต่อค้าขาย อาจจะมีตั้งรกรากอยู่บ้างแต่อยู่ในกลุ่มของตัวเอง และการค้าขายก็อาจมีไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ  สมัยที่คนจีนเข้ามามากก็เมื่อไม่นานมานี้ ไม่นานพอที่ผสมผสานวัฒนธรรมจีนให้กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมไทยได้ ประกอบกับคนจีนยุคที่สองก็กำลังเปลี่ยนเป็นคนไทยไปหมด
ต่างกับวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งรับเข้ามาทางชนชั้นสูงและกลายมาเป็นวัฒนธรรมไทยได้ในที่สุด
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 00:35

ประเพณีจีน มีการเผาเงินทองส่งไปให้ญาติผู้ล่วงลับ มีความเชื่อเช่นไร บ้างบอกว่าจะได้เอาไปให้ยมบาล ( ติดสินบนยมบาล ? ) จริงหรือมั่วนิ่ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 09:12

ยังไม่เห็นใครเข้ามาตอบ
ตรงกันข้าม  ดิฉันคิดว่าวัฒนธรรมของจีนมาผสมผสานกับไทยยิ่งกว่าชนชาติไหนๆที่ไทยรู้จักติดต่อด้วย
จีนติดต่อกับไทยมาตั้งแต่สุโขทัยนะคะ   ไม่ใช่ไม่นาน  นานตั้ง ๗๐๐ กว่าปี   หลักฐานคือถ้วยชามสังคโลกยังไงล่ะคะ  เราส่งช่างไปจีนแล้วกลับมาทำขาย
ตลอดสมัยอยุธยา ก็ติดต่อกับจีน ไม่ขาดเลยจนถึงรัตนโกสินทร์ จนปี ๒๐๐๑
พ่อค้าจีนเข้ามาตั้งหลักฐานเป็นขุนนางไทยก็มีมาตั้งแต่อยุธยา

มาแยกดูเรื่องวัฒนธรรมจีนในไทย
วัฒนธรรมด้านความเป็นอยู่- อาคารที่อยู่อาศัยมีมากที่เป็นแบบจีน   ดูในสำเพ็งและแหล่งคนจีน  บ้านเก่าๆแบบจีนยังมีเหลือให้เห็นอีกหลายหลัง    ดิฉันไปเมืองจีนมาเจอบ้านจีนเก่าๆ เหมือนบ้านจีนในไทยที่เคยเห็น
ศิลปวัฒนธรรมจีน- อยู่ตามวัดวาอารามต่างๆนับไม่ถ้วน  โดยเฉพาะวัดสร้างในรัชกาลที่ ๓ เช่นวัดราชโอรสที่บูรณะใหม่แล้วสวยงามมาก  จะเห็นการตกแต่งประดับประดาแบบจีนผสมผสานกับไทยเกือบทั้งวัด  ถ้ายังไม่ได้ไปดูขอแนะนำให้ไปดู  การใช้เศษกระเบื้องตกแต่งถือว่าสวยประณีตจริงๆ
ตัวเสี้ยวกางสองคนตามบานประตูวัดอยู่นั่นก็มาจากอวยชินจงและซินซกโป  ทหารเอกพระเจ้าถังไทจง ไทยเอามาผสมผสานดัดแปลงเป็นเทวดาไทย และจนกระทั่งกลายเป็นทหารฝรั่งก็มี
วัฒนธรรมการกินอยู่- ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ เกี้ยมอี๋ ผัดไทย ผัดหมี่ วุ้นเส้น   และเนื้อหมูประกอบอาหาร  นี่มาจากจีนทั้งนั้น
การแต่งกาย- ผู้ชายไทยที่นุ่งกางเกงแพรจีนกับเสื้อราชปะแตนในสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็รับจากจีน
ผ้าห่มแพรเนื้อเย็นๆที่ห่มนอนหน้าร้อนก็ของจีน    เครื่องประดับอย่างหยกนี่ก็ของจีน ผู้หญิงไทยเอามาใส่กันเป็นเรื่องธรรมดา  
วัฒนธรรมทางภาษา- เรารับเข้ามามาก   ภาษาไทยเมื่อก่อนไม่มีวรรณยุกต์ ตรี และจัตวา  บาลีสันสกฤตไม่มีวรรณยุกต์      คำที่มีเสียงตรีและจัตวา ส่วนใหญ่มาจากภาษาจีน  อย่างก๋วยเตี๋ยว  เจี๊ยะ  เกี้ยมอี๋  ตังฉ่าย  คึ่นไช่  หมวย ตี๋   เป็นคำจีน


ชายจีนมาแต่งงานกับหญิงไทยจนเรียกได้ว่าครึ่งค่อนประเทศเข้าไปแล้ว    ผู้ที่เข้ามาเล่นในเรือนไทยถ้าสืบกันถึงบรรพบุรุษดิฉันเชื่อว่ามีจีนปนอยู่ไม่มากก็น้อย   แต่ไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์คนไทยเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของไทย  จีนเข้ามาเป็นส่วนน้อย จึง"ละลาย" หลายอย่างเข้าเป็นไทย    เช่นมารับราชการเป็นขุนนางไทย  ลูกหลานใช้ชื่อไทยเรียนภาษาไทยหนักเข้าก็เป็นไทย  เหลือร่องรอยจีนไว้ที่ป้ายชื่อหรือธรรมเนียมบางอย่างที่ไม่ขัดต่อความเป็นอยู่ในไทย
แต่คนจีนที่เข้ามาไม่นานนี้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง  อาจจะยังละลายความเป็นจีนเข้าเป็นไทยได้น้อยกว่าพวกที่เข้ามาตอนต้นรัตนโกสินทร์   แต่พวกนี้มักมาจากฮ่องกงหรือไต้หวัน ก็เป็นจีนสมัยใหม่ ไม่ค่อยยึดถือวัฒนธรรมจีนมากเท่าจีนแผ่นดินใหญ่

ส่วนอินเดีย เรารับมาทางด้านพิธีกรรมต่างๆประกอบกับพุทธศาสนา  และเรื่องในวรรณคดี ซึ่งเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นหลัก  และเรื่องในวรรณคดีฮินดูหรือพราหมณ์รองลงไป    วรรณคดีเหล่านี้เรียนรู้ผ่านทางภาษาบาลีเป็นหลัก สันสกฤตเป็นรอง    ก็นำมาใช้ในการตั้งชื่อสถานที่และบุคคลต่างๆเพราะเห็นว่าไพเราะ มีคำให้ใช้มากกว่าคำไทย
แต่วัฒนธรรมทางภาษา  ข้อนี้ผ่านมาจากขอมด้วย ไม่ใช่อินเดียโดยตรงหมดทุกเรื่อง  อย่างชื่อ "ศรีอินทราทิตย์" ก็ผ่านมาทางขอม
เรื่องความเป็นอยู่แบบอินเดีย ไทยรับมาบ้างแต่ไม่มากนัก เช่นธรรมเนียมการกิน ก็อาจจะมีอย่างพวกแกงใส่เครื่องเทศ    ธรรมเนียมผู้หญิงต้องให้สินสอดผู้ชาย  ไทยไม่มี ถือตรงกันข้ามว่าเจ้าบ่าวต้องมาสู่ขอเจ้าสาว
   ส่วนเรื่องวรรณะ ไม่รับมาเลย  

เรื่องเผากระดาษเงินกระดาษทองเป็นความเชื่อ   ชาติไหนๆก็มีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย เช่นอินเดียเชื่อว่าถ้าไม่มีบุตรชายจะตายไปตกนรกขุมหนึ่งซึ่งมีไว้ให้คนที่ไม่มีบุตรชายโดยเฉพาะ หรือคริสตศาสนาก็เชื่อในชีวิตนิรันดรกับพระผู้เป็นเจ้า   สิ่งเหล่านี้เป็นศรัทธา หรือความเชื่อ     ไม่เรียกว่ามั่วนิ่ม

เรื่องเหล่านี้ คุณ linmou คุณ CrazyHOrse คุณนกข. คุณ Peking man ตอบได้ดีกว่าดิฉันมาก   ถ้าแวะเข้ามาอ่านเชิญแจมด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 12:21

ความหมายของคุณสมชายอาจจะหมายความว่า ทำไมวัฒนธรรมจีนถึงไม่ได้ "กลืน" วัฒนธรรมไทยหรือเปล่า? เพราะถ้าในแง่การผสมกลมกลืนนั้น ไทยเองขึ้นชื่อลือชามากในเรื่องการเปิดกว้างในการรับวัฒนธรรมจากภายนอก(ไม่เฉพาะจีน)เข้ามาผสมผสาน ทั้งในด้านภาษา อาหารการกิน การดำเนินชีวิต
คำไทยหลายๆคำรับเอาคำจีนทับศัพท์เข้ามาใช้ซึ่งเห็นได้จากที่คุณเทาชมพูยกตัวอย่างข้างต้น แต่อยากจะชี้ให้สังเกตสักนิดหนึ่งว่า หลายๆคำเราใช้กันโดยที่ไม่ได้มี "กลิ่น" ของความเป็นจีนหลงเหลืออยู่เลย เช่นคำว่า "ห้าง" เป็นต้น สิ่งนี้แสดงว่าวัฒนธรรมจีนนั้นซึมลึกเข้ามาในความเป็นไทยจริงๆ
เรื่องของอาหารการกินคงไม่ต้องพูดกันมากความ คุณเทาชมพู แจงไว้ชัดเจน อาหารที่เรารับของจีนเข้ามาหลายๆอย่างถูกดัดแปลงให้กลายเป็นไทย ในขณะที่หลายๆอย่างยังคงลักษณะแบบจีนต้นฉบับอยู่ แต่ที่ผมอยากจะขอแย้งคุณเทาชมพูไว้นิดหนึ่งตรงนี้คือ เรื่องของการใช้วรรณยุกต์ในคำไทย จริงอยู่ที่ว่าบาลี-สันสกฤต ไม่มีวรรณยุกต์ ในขณะที่ภาษาจีนมีใช้ ผมเองกลับเห็นว่า วรรณยุกต์ในภาษาไทยนั้นเป็นของคนไทยแท้ๆ และมีความแตกต่างกับอย่างของจีน การออกเสียงคำที่มาจากภาษาจีนนั้นคนไทยจะออกเสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปจากต้นฉบับ เช่นคำว่า ก๋วยเตี๋ยว คนจีน(หมายถึงจีนแต้จิ๋วเพราะคำนี้เป็นคำแต้จิ๋ว) จะออกเสียงว่า ก๋วยเตี๊ยว คำว่า เกี้ยมอี๋ คนจีนเรียก เจียมบี๋อี๊ คึ่นช่าย คนจีนว่า ขึ่งไฉ่
เรื่องเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยนั้นเป็นเรื่องน่าแปลกที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่เหมือนกับของจีนแต้จิ๋วไม่มีผิดเพี้ยน แตกต่างจากจีนกลางซึ่งมีเพียง 4 เสียง อิง(อิ๊ง) ย๋าง ส่าง ฉวี้ (นิยมว่า อิง หยาง ส่าง ชวี่ แต่ผมเขียนแบบนี้เพื่อให้เห็นรูปวรรณยุกต์แบบไทย) ซึ่งเสียง อิง นั้นจะก้ำกึ่งระหว่างเสียงสามัญกับเสียงตรี เรื่องนี้อ.ชาญวิทย์ เกษตรสิริ เคยตั้งสมมติฐานว่าด้วยเรื่องคนภาคกลาง(ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ฯลฯ) พูดเหน่อ หรือ คนกรุงเทพพูดเหน่อกันแน่ โดยเสนอสมมติฐานที่ว่าในช่วงกรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีคนจีนอพยพเข้ามาตั้งถินฐานในบางกอกกันมา(ตามหลักฐาน อ.ชาญวิทย์ ว่าถึงกับ dominant คือเป็นคนส่วนมากในกรุงเทพด้วยซ้ำ) และว่ามีอิทธิพลทำให้สำเนียงของคนกรุงเทพเปลี่ยนไปตามแบบแต้จิ๋ว
เรื่องนี้ผมเองไม่เห็นด้วยนัก เพราะว่าคนแต้จิ๋วในกรุงเทพเองก็ยังเข้าข่ายว่า พู่กไหม่ชักเหมืองกัง แต่สิ่งหนึ่งที่พอจะมองจากเรื่องนี้ออกคือ ความกลมกลืนของคนจีนนั้นมีมากจนนักประวัติศาสตร์ไม่อาจมองข้ามความสำคัญได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 14:46

วัฒนธรรมจีนที่ไทยรับมา ( ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง )ผมว่าเป็นผิวเผินแฮะ และเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดได้ง่ายอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องภาษา
คือว่าผมได้อ่านความเห็นของท่านคึกฤทธิ์ เมื่อนานมาแล้ว ตอนที่ท่านได้สนทนากับบุคคลสำคัญอินเดียผู้หนึ่ง ( เนห์รู ? ) และให้ความเห็นว่าวัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ( อาจผ่านทางไหนก็แล้วแต่ ) เป็นส่วนใหญ่ โดยวัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลเพียงเล็กน้อย      ( การเมืองหรือเปล่า ที่ท่านคึกฤทธิ์พูดแบบนั้น)
ตั้งแต่นั้นผมก็พยายามคิดหาหลักฐานเพื่อจะแย้งท่าน ( ในใจ )
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 15:01

ที่ผมลงท้ายในข้อ 2 ว่าจริงหรือมั่วนิ่มนั่นหมายความถึงที่มีคนบอกว่าเอาไปให้ยมบาลนั่น จริงๆแล้วเขาเผาไปให้ทำไม น่ะครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 18:43

อาจจะกลืนกันมากอย่างสานิทจนไม่รู้สึก ครับ
ในทางภาษา นอกจากคำที่พอเราเห็นก็รู้แน่ๆ ว่าเป็นคำที่รับจากจีน เช่น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ก๊ก ซูฮก ฯลฯ แล้ว คำที่เรานึกว่าเป็นคำไทย คือไทยรับมานานมากๆ จนกลืนเป็นภาษาไทยอย่างสนิท จนไม่รู้ตัวว่าเดิมเป็นคำจีน ก็มีมาก อย่างที่คุณ CrazyHorse ว่า เช่น การนับเลข (เอ็ด ยี่ สาม สี่ งั่วหรือห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ) คำว่าอาน (ม้า) ก็ใช่ ลู่ (ทาง) ก็ใช่ ห้าง ก็ใช่ หุ้น ก็ใช่ และอีกหลายๆ คำ แม้แต่คำว่า ก็ ก็น่าจะใช่ ถ้าไม่ใช่ก็นับว่าทั้งเสียงและทั้งแนวคิดใกล้เคียงกันมาก คำว่า ก็ (หรือทางอีสานอาจเรียกว่า กะ) นี่เป็นคำที่ ... ลองแปลเป็นภาษาฝรั่งดูสิครับ แปลไม่ออกครับ ต้องใช้หน้ากระดาษมากทีเดียวที่จะบรรยายว่า - ก็- ใช้ในความข้อไหนบ้าง เพราะฝรั่งไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับคำๆ นี้ แต่จีนมี ใช้ตรงกับเราเลย สำเนียงจีนกลางเรียกว่า จิ้ว แต่ จ. ในภาษาจีนกลาง หลายคำมาเป็น ก. ในจีนสำเนียงอื่นได้

ทางอาหาร ผมอยากจะพูดกว้างๆ ว่า อาหารไทยสมัยนี้แทบจะทุกอย่างที่ต้องใช้กะทะ รากเดิมมาจากจีนทั้งนั้นก็เกือบจะว่าได้ครับ เพราะดั้งเดิมแท้ๆ จริงๆ บรรพชนไทยท่านทำอาหารโดยการปิ้ง ย่าง ต้ม แกง เผา หลาม จี่ เป็นหลัก การผัด การทอดน้ำมัน การผัดไฟแรง นี่ เป็นอิทธิพลจีน กะทะเราก็ได้จากจีน

ทางวรรณกรรม โดยเฉพาะสมัยหลังคือรัตนโกสินทร์ ได้อิทธิพลจากเรื่องจีนแยะ  ทั้งวรรณกรรมจีนแปลตั้งแต่ประเภทสามก๊กซ้องกั๋งลงมาจนถึงนิยายกำลังภายในเดี๋ยวนี้ ทั้งเรื่องที่ได้แนวคิดบางอย่างมาจากจีน เช่น ท่านสุนทรภู่ได้ม้ามังกรจากจีน เพลงปี่พระอภัยจากจีน ยังอีกหลายเรื่อง โกมินทร์กุมารก็นิทานจีน
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 20:14

อายธรรมอินเดียเราก็รับมาแยะเหมือนกัน ข้อนี้เป็นความจริง แต่ตอนนี้ ผมนึกถึงการสนทนาระหว่างท่านคึกฤทธิ์กับท่าน (เนห์รู?) ไม่ออกครับ คุณสมชายมีรายละเอียดเพิ่มไหมครับ ฟังดูน่าสนใจ

ที่ผมจำได้ คือ อีตาเนห์รูมาเยือนประเทศแถวๆ นี้แหละ รู้สึกว่าจะเป็นที่กัมพูชา แล้วความที่แกเป็นอินเดียก็จึงเห็นกลิ่นอายอารยธรรมจากอินเดียเต็มไปหมดทั้งประเทศนั้น ถึงกับรำพึงว่า แม้แต่ใบหญ้าข้างทางทุกใบก็หายใจออกมาเป็นอารยธรรมอินเดีย ... ซึ่งผมว่า อีนี่เว่อร์ไปนี้ดน่ะนาย...
บันทึกการเข้า
Peking man
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 23:46

Hmm..... a nice and interesting kratoo, but one that I think should be taken with particular care.

Concerning Sino-Thai culture its connection and interconnection and its exchange process...... Where should one begin?

First of all if you think about it, if what you and I have studied in Thai school still holds true..that the thai ancestors are a minority that have migrated South from China. Then welll I think that the Thai and the Chineses have a very close and interconnected history.

Second, when we look at the language we speak at present, have you noticed that we now have adopted so many words form Tae Chew or other Chinese dialects. On another aspect we will also see that the boht the Chinese and Thai Grammar are also very similar in structure and this I believe has to do with a greater tie that binds the whole population of the region together not only that of Thailand and China. If the person whom posted the kratoo have not noticed it before I would really suggest him or her to consider this for a while.

Third, as other people have mentioned above we see that the eating habit is also another cultural treasure chest, and as we have seen the food stuff that Thai people eat today is directly linked with that of Chinese food. As for the  examples I think that most people are very clear about, and there is no need to repeat what have already been said.  

Fourth, well I think that the porcelain and ceramics produced during the Sukhotai period is also another great proof of how the Thai and Chinese culture have mixed and combined together and as a result created a piece of art that is still cherished until today.

Fifth, I think that we should also pay attention to the population make up of Thailand nowadays, I myself am a Thai citizen borna nd raised, but at the same time I am a Chinese through my ancestry.  I believef that the success of Sino-Thai relkation  is represented in most everybod y who is like me, a person who is proud of both being Chinese and Thai.

Everyone has a right to his own belief, and I respect that.All  I just want to do is let other people know what is on my mind. If htere are any more discussions, if I have time I will be very glad to join in.
บันทึกการเข้า
Epking man
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 23:59

Concerning the burning of paper money, well I think it has to do with the Chinese belief in the life after death, and a neither world that is a direct reflection of the living world. Where in that world of the dead, they to have exspenses to pay. I think that notonly the Chinese have this type of belief, the Egyptians, the Europeans, even  the Thai also have this sort of beliefs that there exist a world after death. Though this world might differ from cultrue to culture, but all in all I think it offers the living an answer as to where they will go after their death, and at the same time comfort those who are still living that their loved ones are in good hands. Thus I believe that the question about whether does the dead really get the money we burn, is quite relevant, but depends on each person's own belief.
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 พ.ค. 01, 00:36

เรื่องของท่านคึกฤทธิ์ ผมจำได้ว่าเป็นคอลัมน์ของท่านในสยามรัฐ หน้า 5 ที่ผมอ่านเป็นฉบับรวมเล่ม ก็ตั้ง 30 ปีแล้วมั้งครับ คิดว่าในห้องสมุดคงจะมีอยู่ แล้วผมจะหาดูครับ
บันทึกการเข้า
somchai
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 พ.ค. 01, 01:47

Would you please read my words carefully from the beginning, kratoo, number 1,2 and 5 ?  Please.

And please don't skip any words.

Thanks for your kindness.
บันทึกการเข้า
somchai
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 พ.ค. 01, 01:49

sorry. Also number 6
บันทึกการเข้า
Linmou
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 พ.ค. 01, 07:45

กล่าวไปละอายยิ่ง
อันที่จริงแล้ว ความรู้ด้านประเทศไทยของผู้น้อยนั้นต่ำต้อยนัก ไม่สมกับที่คุณเทาชมพูได้ยกย่องไว้ดอก

แต่เท่าที่อ่านคำตอบทั้งของคุณเทาชมพูแลผู้อาวุโสนกข.แล้ว ข้าน้อยก็เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า วัฒนธรรมจีนได้กลมกลืนกับวัฒนธรรมได้อย่างแนบเนียน จนคนไทยโดยทั่วไปไม่รู้สึก  โดยไม่ได้ "กลืน" วัฒนธรรมไทยแต่อย่างใด

เพิ่มอีกตัวอย่างที่มากับการรับประทานก๋วยเตี๋ยว ก็คือการใช้ตะเกียบ และช้อนสำหรับใช้ตักน้ำแกงนั่นไง นั่นเป็นช้อนลักษณะเดียวกับของจีนเปี๊ยบ(ว่าแต่อินเดียใช้ช้อนแบบนี้ด้วยหรือเปล่านี่?) ส่วนตะเกียบ แม้วิธีจับจะไม่เหมือนกัน แต่มันก็ตะเกียบเหมือนกันล่ะนะ

ส่วนการเผากระดาษเงินกระดาษทอง คาดว่าคงเพื่อใช้ติดสินบนท่านท้าวยมบาล หรือไม่ก็ยมทูตที่เป็นคนนำทางผ่านสะพานเป็นตาย(ให้ดูแลดีๆหน่อย?) หรือไม่ก็อีกความเชื่อคือ ไว้ให้เอาไปใช้ในเมืองผี(คนจีนเขามีอีกความเชื่อว่าตายแล้วได้ไปอยู่สวรรค์ หรือเมืองผี ถึงได้เผาบ้านทำจากกระดาษแถมคนใช้ , รถ และอะไรต่อมิอะไรสารพัด รวมทั้งเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวที่ทำจากกระดาษให้ไปด้วย) โดยที่คนจีนดูเหมือนจะมีธรรมเนียมการติดสินบนมานานแล้ว ดูจาก ธรรมเนียมวันตรุษจีน ที่มีการมอมเหล้า หรือเอาขนมเข่งปิดปากเทพเจ้าเตา เพื่อให้ไปรายงานความเป็นไปของครอบครัวตนเองแต่ในเรื่องดี ก็บ่งชัดอยู่แล้ว ความเป็นไปได้ทั้งสามอย่างข้างต้น อาจจะถูกต้องทั้งสิ้น(ตามความเชื่อ) ฉนั้น เผายิ่งมากยิ่งดี เดี๋ยวสินบนไม่จุใจท่านท้าวเมืองผีทั้งหลายละจะยุ่ง
ู^_^
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง