บทละครนà¸à¸à¹€à¸£à¸·à¹ˆà¸à¸‡à¸ªà¸±à¸‡à¸‚์ทà¸à¸‡
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 10:52, 18 พฤศจิกายน 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา
|
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑ กำเนิดพระสังข์
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงท้าวยศวิมลไอศวรรย์ | ||
ไร้บุตรสุดวงศ์พงศ์พันธุ์ | วันหนึ่งนั้นไปเลียบพระนคร | ||
ราษฏรร้องว่าให้หาบุตร | พระทรงภุชร้อนจิตดังพิษศร | ||
มิได้เสวยสรงสาคร | นั่งนอนร้อนใจใช่พอดี | ||
ประชาชนจนจิตไม่คิดหวัง | ยิ่งประดังพลุกพล่านทั้งกรุงศรี | ||
เวทนาเป็นพระยาสมบัติมี | มาไร้ที่โอรสยศไกร | ||
จึงดำรัสตรัสเล่ามเหสี | ถ้วนถี่ชี้แจงแถลงไข | ||
เจ้ามาช่วยพี่คิดนะดวงใจ | ค้นคว้าหาไปดูตามบุญ | ||
บวงสรวงซ่องเซทุกเวลา | รักษาศีลด้วยช่วยอุดหนุน | ||
ถ้วนทุกนางในให้พร้อมมูล | เกลือกบุญของใครได้สร้างมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | มเหสีมิได้คิดอิจฉา | ||
คำนับรับราชบัญชา | พระอย่าระคางหมางใจ | ||
จะพึ่งพ่อขอฝากดวงชีวัน | หาคิดเกียดกันฉันทาไม่ | ||
ตามแต่กุศลของใคร | ให้สิ้นสงสัยพระทัยปอง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ฟังนาฏ | พิศวาสในน้ำคำสนอง | ||
สั่งท้าวนางในดังใจปอง | ให้แต่งของบูชาบรรณาการ | ||
พลบค่ำย่ำแสงสุริยา | ยกมาเตรียมไว้ในสถาน | ||
บอกเหล่าสาวศรีบริวาร | สั่งการให้ทั่วทุกตัวนาง | ||
จัดแจงแต่งเครื่องบูชา | ธูปเทียนชวาลาต่างต่าง | ||
ทุกวันทุกเวรอย่าเว้นว่าง | นอนปรางค์ข้างที่เราทุกคน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ภูวไนยมีพระทัยขวายขวน | ||
เห็นนางในนอนทั่วทุกตัวคน | ตรัสบอกยุบลสนทนา | ||
ดูก่อนเหล่านางทั้งหลาย | เราหมายมุ่งมาดปรารถนา | ||
จำนงจะประสงค์ลูกยา | ไม่เห็นแก่หน้าฉันทาใคร | ||
ชวนกันตั้งจิตพิษฐาน | บนบานตามชอบอัชฌาสัย | ||
ใครเกิดบุตรายาใจ | เวียงชัยจะให้แก่ลูกรัก | ||
ตรัสพลางทางเข้าแท่นที่ | ชวนพระมเหสีมีศักดิ์ | ||
บวงสรวงเทวาสุรารักษ์ | ในห้องทองสุรศักดิ์ตำหนักชัย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เสมอ | |||
สระบุหรง | |||
๏ จึงจุดธูปเทียนประทีปแล้ว | เพริศแพรวพร้อมที่ศรีใส | ||
ทั้งสองพระองค์จำนงใน | ตั้งใจบริสุทธิ์ดุษฎี | ||
นอบน้อมพร้อมจิตพิษฐาน | เดชะสมภารข้าสองศรี | ||
ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชี | โดยดีเป็นธรรม์นิรันดร์มา | ||
ข้าไซร้ไร้บุตรสุดสวาท | จะบำรุงราษฏร์ไปภายหน้า | ||
พระเสื้อเมืองเรืองชับได้เมตตา | ขอให้เกิดบุตรายาใจ | ||
เสร็จแล้วพระแก้วก็ไสยา | ทรงศีลห้าทุกวันหาขาดไม่ | ||
ทศธรรมไม่ลำเอียงใคร | ภูวไนยเข้าที่บรรทมพลัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | สุราลัยในดาวดึงส์สวรรค์ | ||
เมื่อผลจะสิ้นพระชนม์นั้น | อัศจรรย์ร้อนรนเป็นพ้นไป | ||
รัศมีศรีตนก็หม่นหมอง | สิ่งของของตัวก็มัวไหม้ | ||
เทวาตระหนกตกใจ | แจ้งในพระทัยจะวายชนม์ | ||
แล้วจึงตรึกตรองส่องเนตร | แจ้งใจในเหตุเภทผล | ||
พระเจ้าท้าวยศวิมล | ให้พรากจากดาวดึงส์สวรรค์ | ||
อย่าเลยจะจุติพลัน | อย่าให้เทวัญทันนิมนต์ | ||
ลงไปเกิดในมนุสสา | แสวงหาศีลทานการกุศล | ||
คิดแล้วกลั้นใจให้วายชนม์ | ปฏิสนธิ์ยังครรภ์กัลยา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ คุกพากย์ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยศวิมลฝันว่า | ||
วันเมื่อจะได้พระลูกยา | เข้าที่นิทราในราตรี | ||
ฝันเห็นเป็นเทพสังหรณ์ | ทินกรจะใกล้ไขสี | ||
สะดุ้งตื่นฟื้นพลันทันที | จำได้ถ้วนถี่ในนิมิต | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ พอรุ่งสางสว่างสุริยง | สระสรงทรงเครื่องไพจิตร | ||
ออกท้องพระโรงชัยอำไพพิศ | สถิตบัลลังก์กระจังทอง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ เสนาข้าเฝ้าก็กราบกราน | จึงมีโองการสารสนอง | ||
กับโหรผู้ใหญ่ดังใจปอง | ท่านจงตรึกตรองดูในสุบิน | ||
ฝันว่าอาทิตย์ฤทธิรงค์ | ตกลงตรงพักตร์ข้างทักษิณ | ||
ดาวน้อยพลอยค้างอยู่กลางดิน | เราผินพักตร์ฉวยเอาด้วยพลัน | ||
มือซ้ายได้ดวงดารา | มือขวาคว้าได้สุริย์ฉัน | ||
แล้วหายไปแต่พระสุริยัน | ต่อโศกศัลย์ร่ำไรจึงได้คืน | ||
สักสามยามหย่อนค่อนรุ่ง | เราสะดุ้งคว้าหาผวาตื่น | ||
ดีร้ายทายตามอย่ากล้ำกลืน | ตาหมี่นโหราจงว่าไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยอดโหราหามีเสมอไม่ | ||
คิดคูณหารดูรู้แจ้งใจ | ภูวไนยจะเกิดบุตรา | ||
จึงทูลทายทำนายตามสุบิน | ว่าพระปิ่นนางในฝ่ายขวา | ||
จะทรงครรภ์พระราชบุตรา | บุญญาธิการมากมี | ||
แต่จะพลัดพรากไปจากวัง | ภายหลังจึงจะคืนกรุงศรี | ||
ดาราคือพระบุตรี | จะเกิดที่สนมอันควร | ||
ฝันว่าพระทรงโศกา | จะได้ชมลูกยาเกษมสรวล | ||
ทายตามสุบินสิ้นกระบวน | ถี่ถ้วนจงทราบพระบาทา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ฟังทูล | พระไพบูลย์ภิรมย์หรรษา | ||
แย้มโอษฐ์โปรดตรัสแก่โหรา | แม้นเหมือนท่านว่าจะรางวัล | ||
ราษฏร์ฟ้องร้องว่าให้หาบุตร | สุดคิดที่เราจะผ่อนผัน | ||
บัดสีกับใจใครจะทัน | ว่าแล้วผายผันเข้าวังใน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ จึงแจ้งกับองค์มเหสี | ถ้วนถี่ชี้แจงแถลงไข | ||
พระค่อยเป็นสุขสนุกใจ | ทรามวัยงานขึ้นทุกคืนวัน | ||
เปล่งปลั่งมังสาดังทาทอง | พระเต้าคล้ำมัวหมองทั้งสองถัน | ||
เส้นพาดพานทรวงดวงจันทร์ | แจ้งว่าทรงครรภ์มั่นคง | ||
ผิวพรรณผุดผ่องละอองพักตร์ | พระแสนสุดที่รักนวลหง | ||
จัดเลือกแสนสาวที่รูปทรง | มาห้อมล้อมโฉมยงอนงค์นวล | ||
แล้วหยอกถามว่าใครอย่างไรบ้าง | ได้การแล้วหรือยังพระแย้มสรวล | ||
อุตส่าห์ทาแป้งแต่งนวล | สำรวลสรวลวสันต์บันเทิงใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ จึงเห็นจันเทวีพระสนม | เนื้อนมครัดเคร่งเร่งสงสัย | ||
แจ้งว่ามีครรภ์มั่นแม่นใจ | จัดแจงแต่งให้นางเทวี | ||
นางใดที่ไม่มีครรภ์ | แก้ฝันเห็นของก็หมองศรี | ||
ก้มเกล้ากราบลาพระจักรี | จันทาเทวีก็ลีลา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ฝ่ายนางจันทามาถึงห้อง | เศร้าหมองตรองจิตคอยอิจฉา | ||
อาบเอิบกำเริบด้วยโภคา | ผ่านฟ้าว่าใครมีครรภ์ | ||
สมบัติจะยกให้ลูกครอง | มีสองต้องคิดผิดผัน | ||
ท่านมียศศักดิ์จะรักกัน | ลูกเต้าเหล่านั้นจะหมองมัว | ||
ที่ไหนจะได้พระบุรี | สาวศรีจะชวนกันยิ้มหัว | ||
ยิ่งตรึกยิ่งตรองยิ่งหมองมัว | จึงเรียกนางแม่ครัวเข้าห้องใน | ||
สาวศรีเจ้าจงเอ็นดูเรา | เบี้ยข้าวเงินทองจะกองให้ | ||
จงช่วยปิดงำอำไว้ | เอาทองไปให้แก่โหรา | ||
เขียนหนังสือลับกำชับสั่ง | เราหวังไว้ใจเจ้าหนักหนา | ||
ถอดแหวนสั่งให้มิได้ช้า | นี่ข้าถึงใจให้พลาง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สาวใช้ได้กินสินจ้าง | ||
เคารพนบนอบแล้วตอบพลาง | ลูกแล้วอย่าหมางระคางใจ | ||
สู้ตายจะตายด้วยแม่เจ้า | ลูกเล่าหาพีงผู้ใดไม่ | ||
แม่ได้ดีลูกนี้จะดีใจ | ลากห่อทองได้ใส่แหวนมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ มาถึงซึ่งบ้านโหรเฒ่า | จู่เข้าไปได้ในเคหา | ||
ไหว้แล้วแก้ทองของจันทา | คุณแม่ให้มาแต่ในวัง | ||
ว่าคุณตายาใจปรานีด้วย | จงช่วยให้สมอารมณ์หวัง | ||
จงเห็นไมตรีให้จีรัง | แล้วยื่นหนังสือให้มิได้ช้า | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | โหรใหญ่สงสัยเป็นหนักหนา | ||
รับเอาหนังสือที่มือมา | ใส่แว่นตาดูก็รู้ความ | ||
นิ่งนึกตรึกตรองอยู่ในใจ | โลภเห็นแต่จะได้ไม่เกรงขาม | ||
แม้นภูมิรับกลับความ | ทองคำสามชั่งจะคืนไป | ||
ถ้ากูแก้ไขนางจันทา | เงินตราห้าชั่งนั้นจะได้ | ||
จึงว่ากับสาวศรีด้วยดีใจ | พอแก้ไขได้เป็นไรมี | ||
แลเหลียวเปลี่ยวคนที่บนเรือน | อิดเอื้อนจะใคร่ประสมศรี | ||
สาวใช้เจ้าเข้าไปในที่ | วานหยิบบุหรี่ที่ริมเตียง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ สาวใช้อดสูก็รู้เท่า | ไฮ้คุณตาเจ้าช่างกล่าวเกลี้ยง | ||
ใครจะเข้าไปถึงในเตียง | ข้าวของรายเรียงจะหายไป | ||
สะบัดมือได้แล้วไหว้ลา | อย่านะฉันหาอะไรไม่ | ||
จึงวิ่งผลุนหนีพลันทันใด | มายังวังในไปแจ้งความ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เมื่อนั้น | มเหสีโฉมฉินปิ่นห้าม | ||
ค่อยเพียรรักษาพยายาม | พระครรภ์โฉมงามได้สิบเดือน | ||
จวนใกล้ฤกษ์พานาที | นาภีใหญ่น้อยก็คล้อยเคลื่อน | ||
ระดมลมเส้นก็เต้นเตือน | ลูกน้อยคล้อยเคลื่อนเลื่อนลง | ||
เจ็บครรภ์กระสันขึ้นทุกที | พ่างเพียงชีวีจะผุยผง | ||
ร้องเรียกแสนสาวเหล่าอนงค์ | มาพร้อมล้อมองค์นางเทวี | ||
เรียกพลางทางป่วนครวญครรภ์ | ช่วยกันเร็วเร็วนางสาวศรี | ||
องค์สั่นยัยยุดทรุดอินทรีย์ | มเหสีโอดโอยโรยแรง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ฝูงนางผู้รักษากล้าแข็ง | ||
ฝืนท้องต้องนางยังคลางแคลง | เห็นแข็งไปสิ้นไม่ดิ้นรน | ||
กลมกลมกลิ้งกลิ้งยิ่งสงสัย | หลากใจไม่เห็นตัวทั่วค้น | ||
บ้างไปทูลองค์ทรงสกล | ให้ทราบยุบลกิจจา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงกราบทูลพระภูมินทร์ | ว่าพระปิ่นนางในฝ่ายขวา | ||
จะคลอดสมเด็จพระลูกยา | ขอเชิญผ่านฟ้าเสด็จไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยศวิมลเร่งผ่องใส | ||
จะได้เห็นลูกน้อยกลอยใจ | ในวันนี้แล้วแก้วตา | ||
รีบไปด้วยไร้โอรส | พระทรงยศแสนโสมนัสสา | ||
นางในใครรู้ก็ตรูมา | โฉมนางจันทาก็ตามไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ | |||
จึงกล่าวเอาใจมเหสี | เจ้าพี่อย่าพรั่นหวั่นไหว | ||
ลูกของเทวัญท่านให้ไว้ | แข็งใจขบฟันกลั้นทน | ||
นักเทศจงไปสั่งการ | พนักงานของใครให้ขวายขวน | ||
เตรียมไว้ในพระราชมณฑล | ขนมาประโคมพระลูกเรา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | มเหสีป่วนปั่นพระครรภ์เจ้า | ||
มิได้วายว่างบางเบา | เจ็บราวกับเขาผูกคร่าร้า | ||
เป็นกรรมตามทันมเหสี | จะจากที่สมบัติวัตถา | ||
ยามปลอดก็คลอดพระลูกยา | กุมารากำบังเป็นสังข์ทอง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา มโหรี | |||
๏ มเหสีตระหนกอกสั่น | สาวสรรค์หวั่นไหวทั้งในห้อง | ||
ผ่านฟ้าดังเลือดตานอง | แตรสังข์แซ่ซ้องประโคมพลัน | ||
พระทัยวาบสำเนียงเสียงศรี | ภูมีขับเหล่านางสาวสรรค์ | ||
ภูมินทร์เพียงจะสิ้นชีวัน | อับอายสาวสรรค์กำนัลใน | ||
จึงตรัสแก่องค์มเหสี | เจ้าพี่เราจะคิดเป็นไฉน | ||
ไม่พอที่จะเป็นก็เป็นไป | เมื่อหาลูกไม่ก็ทุกข์ทน | ||
อุตส่าห์บนบานศาลกล่าว | ครั้นมีมาเล่าไม่เป็นผล | ||
อับอายไพร่ฟ้าข้าคน | พี่จะใคร่กลั้นชนม์ให้พ้นอาย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ฟังตรัส | ดังใครตัดเศียรเด็ดกระเด็นหาย | ||
สองกรข้อนทรวงเข้าฟูมฟาย | นางถวายบังคมก้มโศกา | ||
พ่อเจ้าพระคุณของเมียเอ๋ย | กรรมสิ่งไรเลยเป็นหนักหนา | ||
เสียแรงอุ้มทองประคองมา | ดีใจหมายว่างามหน้าเมีย | ||
มิรู้ว่ามาได้อัปยศ | พลอยยศพระคุณให้สูญเสีย | ||
พระองค์ทรงพระขรรค์ฟาดฟันเมีย | ตายเสียอยู่ขายบาทบงสุ์ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาได้ช่องต้องประสงค์ | ||
กับโหรดูรู้กันไว้มั่นคง | ครั้นเข้าเฝ้าองค์พระทรงชัย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ ทูลว่าอนาถประหลาดจิต | ข้าคิดพิศวงสงสัย | ||
ลูกคนเป็นหอยน่าน้อยใจ | หาเยี่ยงอย่างไม่แต่ก่อนมา | ||
มีครรภ์เหมือนกันก็พรั่นตัว | ดีชั่วก็ยังกังขา | ||
เดิมว่าโหรทายทำนายมา | แต่แรกชายาจะทรงครรภ์ | ||
ว่าโอรสนั้นจะมีบุญ | ได้เพ็ดทูลไว้ตามทำนายฝัน | ||
เข้าไฟให้หายโรคัน | แล้วทรงธรรม์ตรัสถามเนื้อความดู | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ฟังคำ | ผลกรรมจะพรากจากคู่ | ||
แยบคายภายในมิได้รู้ | จริงอยู่โหรทายทำนายมา | ||
ว่าจะมีท้องทั้งสองนั้น | แม่นมั่นจริงจังดังปากว่า | ||
เคยได้นับถือลือชา | ลูกยามาเป็นเช่นนี้ไป | ||
จริงแล้วจะถามความก่อน | ให้แน่นอนว่าเห็นเป็นไฉน | ||
จึงให้ทรามชมบรรทมไฟ | คลาไคลออกท้องพระโรงพลัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ให้หาโหราเข้ามาเฝ้า | พระเจ้าตรัสถามเนื้อความฝัน | ||
เดิมทายโฉมยงว่าทรงครรภ์ | ก็แม่นมั่นเหมือนคำจำนรรจา | ||
เหตุไรลูกน้อยเป็นหอยสังข์ | พลาดพลั้งบิดเบือนไม่เหมือนว่า | ||
จะเป็นชายทายทูลว่าบุญญา | ถ้อยคำท่านว่านั้นผิดไป | ||
ให้ดูแลหมายว่าจริงจัง | เลือดตากูดังจะย้อยไหล | ||
เป็นเหตุเภทพาลประการใด | โหราว่าไปอย่าอำพราง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | โหรใหญ่ได้กินสินจ้าง | ||
สมจิตคิดไว้จะให้นาง | พลัดพรากจากปรางค์ไปทางไกล | ||
ทำค้นตำรามาดุแล | บิดเบือนเชือนแชแก้ไข | ||
แล้วทูลพระองค์ผู้ทรงชัย | ทายไว้มิใคร่จะคลาดคลา | ||
เพราะบ้านเมืองร้ายต้องกลายกลับ | พระองค์ว่ากับโอรสา | ||
เป็นกรรมตามทันกัลยา | แม้นพระบุตราเป็นมนุษย์ | ||
จะเลิศเรืองเฟื่องฟุ้งงทั้งกรุงไกร | เคราะห์ร้ายกลายไปเสียสิ้นสุด | ||
บ้านเมืองก็จะล่มโทรมทรุด | ม้วยมุดฉิบหายวายปราณ | ||
แม้นขับไล่ไปไกลบุรี | ธานีจะเย็นเกษมศานต์ | ||
อย่าไว้พระทัยให้เนิ่นนาน | เพลิงกาฬจะเผาเอาพารา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ฟังโหรทาย | ดังจะวายชีวังสังขาร์ | ||
กระนั้นจริงเจียวหรือโหรา | อนิจจาหลัดหลัดมาพลัดกัน | ||
ว่าพลางสะท้อนถอนใจ | กลั้นน้ำพระเนตรไว้แล้วผายผัน | ||
คืนเข้าห้องแก้วแพรวพรรณ | หามิ่งเมียขวัญทันใด | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ครั้นถึงจึงทิ้งพระองค์ลง | บอกพลางทางทรงกันแสงไห้ | ||
โอ้กรรมเราทำไว้ปางใด | จะไกลกันไปแล้วนะแก้วตา | ||
มิพอที่จะเป็นก็มาเป็น | เกิดเข็ญเพราะลูกเสน่หา | ||
โหรทายร้ายนักเจ้าพี่อา | ว่าแก้วกัลยาเป็นกาลี | ||
อยู่ไปจะได้แค้นเคือง | บ้านเมืองจะยับต้องขับหนี | ||
พี่จะขาดใจม้วยด้วยเทวี | ไม่มีความผิดสักนิดเลย | ||
แสนสงสารนักด้วยรักใคร่ | จะจากกันฉันใดได้เฉยเฉย | ||
อยู่อยู่ดีดีเจ้าพี่เอย | ไม่รู้ตัวเลยจะจากกัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ฟังเอยฟังสาร | ดังคนผลาญชีวาให้อาสัญ | ||
นางตระหนกตกใจดังไฟกัลป์ | อกสั่นขวัญหนีไม่มีใจ | ||
สวมสอดกอดบาทของผัวแก้ว | ข้อนทรวงเข้าแล้วก็ร้องไห้ | ||
เมียให้ฆ่าฟันให้บรรลัย | รักใคร่เมตตาไม่ฆ่าตี | ||
โหรามันว่าเป็นคำสอง | พ่อตรองให้ควรถ้วนถี่ | ||
ขับไล่ไม่มาฆ่าตี | เหมือนม้วยชีวีไปจากกัน | ||
ร่ำพลางนางเกลือกเสือกกาย | ดังจะวายชีวาด้วยโศกศัลย์ | ||
ซบพักตร์กับตักพระทรงธรรม์ | หวาดหวั่นนิ่งไปไม่พาที | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ เอะเอยเอะน้องแก้ว | ผิดแล้วองค์เย็นดังเป็นผี | ||
ร้องไห้นิ่ไปไม่พาที | อยู่บนตักพี่ไม่หายใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
๏ โอ้จันท์เทวีเจ้าพี่เอ๋ย | ทรามเชยเงยหน้าอย่าร้องไห้ | ||
อกของผัวรักจักหักไป | ลุกขึ้นดูใจปราศรัยกัน | ||
พี่พูดด้วยเป็นไรไม่เจรจา | แน่แล้วแก้วตาพี่อาสัญ | ||
เจ้าอ้อนวอนพี่ให้ฆ่าฟัน | จะทำกันฉันใดไฉนนา | ||
ถึงพลัดพรากลำบากกาย | มิตายได้เห็นกันวันหน้า | ||
ไม่เงยพักตร์ขึ้นบ้างสั่งพี่ยา | แก้วตามาตีตัวตาย | ||
ตัดช่องน้อยไปแต่ตัว | ทิ้งผัวเสียได้น่าใจหาย | ||
ร่ำพลางกอดพลางฟูมฟาย | ระทวยกายกอดซบสลบพลัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาแสนกลคนขยัน | ||
เห็นสองสลบทบทับกัน | ผันผินรินน้ำกุหลาบมา | ||
ชโลมองค์ทรงทาทั้งสองศรี | ค่อยได้สมประดีที่โหยหา | ||
แล้วโลมเล้ากล่าวคำด้วยหยาบช้า | เคราะห์กรรมทำมาจะโทษใคร | ||
โหรเล่าใช่เขาจะชั่วช้า | เคยนับถือมาแต่ไหนไหน | ||
จำไปให้สิ้นเคราะห์ภัย | เกลือกไปเคราะห์นั้นจะบรรเทา | ||
ไม่ม้วยดับชีพสูญหาย | มิใช่ล้มตายอะไรเล่า | ||
แต่พอเคราะห์นั้นค่อยบรรเทา | แล้วเราจึงรับกันกลับมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระฤาสายค่อนคลายที่โหยหา | ||
ได้ฟังถ้อยคำนางจันทา | ตรึกตราสะท้อนถอนใจ | ||
เห็นจริงไม่กริ่งถ้อยคำ | ด้วยเวรากรรมมาทำให้ | ||
จึงมีวาจาว่าไป | เจ้าเอาใจด้วยช่วยจัดแจง | ||
ให้องค์นงเยาว์เจ้าไปกิน | ทรัพย์สินเงินทองของแห้ง | ||
สั่งเสนาในให้จัดแจง | เรือแผงม่านวงให้จงดี | ||
ส่งไปให้พ้นขอบเขต | จะเนรเทศยอดรักมเหสี | ||
ตรัสพลางดูนางแล้วโศกี | ภูมีเมินอายนางจันทา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางจันทาตัวคิดริษยา | ||
ดีใจรับสั่งบังคมลา | ทำเช็ดน้ำตาแล้วคลาไคล | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ มิได้จัดแจงแต่งของ | เงินทองข้าวปลาไม่หาให้ | ||
กระซิบสั่งสาวศรีที่ร่วมใจ | เอาเงินไปให้แก่เสนา | ||
ว่าเอ็นดูด้วยช่วยเรา | พาเอานางไปอย่าไว้หน้า | ||
ไกลคนพ้นแดนพารา | เสนาฆ่าเสียให้วอดวาย | ||
สุดแต่อย่าให้มันครองวัง | ปิดความกำบังให้สูญหาย | ||
จะทดแทนคุณให้มากมาย | เจ้าอย่าแพร่งพรายให้ใครฟัง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เสร็จสรรพกลับเข้าปราสาทศรี | ทูลความตามที่รับสั่ง | ||
เงินทองของกินสิ้นยัง | เตรียมแล้วพร้อมพรั่งทั้งนาวา | ||
บัดนี้ไพร่ฟ้าข้าเมือง | ลือเลื่องฮึกฮักหนักหนา | ||
มันจะกลุ้มรุมกันทั้งพารา | โกรธว่าจะพาให้ยากเย็น | ||
ว่าช้าไปมิใคร่จะจากวัง | มันจะพังบ้านเมืองเคืองเข็ญ | ||
น้ำตาข้าน้อยพลอยกระเด็น | กรรมเวรเป็นไปทุกสิ่งอัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ฟังข่าว | พระร้อนเร่าฤทัยไหวหวั่น | ||
หลงกลด้วยกรรมาตามทัน | สำคัญว่าจริงทุกสิ่งไป | ||
พินิจพิศพักตร์อัคเรศ | คลอเนตรสะท้อนถอนใจใหญ่ | ||
จะออกปากก็คับอับใจ | ด้วยความรักใคร่ชายา | ||
ครั้นจะมิให้เจ้าไปเล่า | ร้อนเร่าด้วยคำจันทาว่า | ||
บ่ายเบื้อนเยื้อนออกวาจา | เจ้าแก้วตาของพี่ผู้มีกรรม | ||
เจ้าเคยพรากสัตว์ให้พลัดคู่ | เวรมาชูชุบอุปถัมภ์ | ||
แม้นมีกรรมไม่ไปใช้กรรม | ไพร่ฟ้ามันจะทำย่ำยี | ||
มิใช่พี่ไม่รักน้อง | ร่วมห้องอกสั่นกันแสงศรี | ||
ไม่ยับดับสูญบุญมี | เคราะห์ดีสิ้นกรรมจะเห็นกัน | ||
ตรัสพลางดูนางมิใคร่ได้ | ชลนัยน์ไหลรินแล้วผินผัน | ||
เดินเข้าห้องแก้วแพรวพรรณ | รูดพันม่านทองเข้าโศกา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เสมอ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | มเหสีตีทรวงไห้โหยหา | ||
พ่างเพียงจะสิ้นชีวา | โศกาไม่เป็นสมประดี | ||
ครั้นจะอ้อนวอนผ่อนผัน | ทรงธรรม์ก็เมินดำเนินหนี | ||
ทุกข์แค้นแสนโศกโศกี | พระพันปีหนีเมียเสียว่าไร | ||
มีกรรมจำจากพระบาทแล้ว | น้องแก้วหาขัดขืนไม่ | ||
จะขอผัดผ่อนต่อนอนไฟ | มิให้ช้านักสักเจ็ดวัน | ||
แต่พอให้แห้งเหือดเลือดลม | จะซุกซมซ่อนไปในไพรสัณฑ์ | ||
พ่อไม่ขึ้งโกรธโทษทัณฑ์ | เหตุไรไม่ทันบัญชา | ||
ว่าพลางนางข้อนทรวงไห้ | เพียงขาดใจม้วยด้วยโหยหา | ||
เหล่ากำนัลไม่กลั้นน้ำตา | ชวนกันโศการิมแท่นทอง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาตัวดีไม่มีสอง | ||
สมจิตคิดไว้ดังใจปอง | ได้ช่องให้หน้าแล้วว่าไป | ||
กับนางสาวศรีที่ร่วมคิด | ว่ารับสั่งทรงฤทธิ์เป็นใหญ่ | ||
ให้พาโฉมยงเจ้าลงไป | มอบองค์ส่งให้แก่เสนี | ||
ช้าไปไพร่ฟ้าจะขึ้งโกรธ | จะคุมโทษโลภแย่งเอากรุงศรี | ||
ตามบุญตามกรรมของเทวี | ช้าไปบูรีจะมีภัย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สาวใช้ผู้ร่วมอัชฌาสัย | ||
รู้กันในกลยลใน | ลอบเข้าไปใกล้นางชายา | ||
ทูลว่าภูมินทร์ปิ่นเกล้า | อาวรณ์ร้อนเร่าหนักหนา | ||
ด้วยกลัวไพรีจะบีฑา | เตือนมาให้พาแม่คลาไคล | ||
จะมีโทษแต่ข้าน้อย | ดับความโศกสร้อยละห้อยไห้ | ||
มีกรรมจำเป็นเข็ญใจ | อย่าให้ข้าไทต้องภัยโพย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ฟังคำ | นางโศกช้ำรัญจวนหวนโหย | ||
อนิจจังทั้งสิ้นมาดิ้นโดย | โพยภัยมิให้แก่ใครมี | ||
คิดว่าพอผัดผ่อนได้ | เมื่อไม่โปรดเกล้าเกศี | ||
ตามแต่เวราของข้านี้ | สาวศรีอย่าได้ทุกข์ทน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ ว่าพลางยกเอาลูกน้อย | น้ำเนตรหยดย้อยดังฝอยฝน | ||
ร้องทูลพระองค์ทรงสกล | น้องคนมีกรรมจะขอลา | ||
ดูรูปจำร่างเสียยังแล้ว | พระแก้วจะไม่ได้เห็นหน้า | ||
จะไม่คืนคงอย่าสงกา | มิได้รองฝ่าพระบาทไป | ||
สิ่งใดเมียได้พลาดพลั้ง | แต่หลังให้ขัดอัชฌาสัย | ||
เมียขอสมาอาภัย | อย่าได้เป็นเวราเลย | ||
ให้พ่ออยู่ยืนได้หมื่นปี | โรคาอย่ามีพ่อคุณเอ๋ย | ||
ไม่เยี่ยมม่านทองดูน้องเลย | ทำเฉยเสียได้ไม่นำพา | ||
นิ่งได้ให้เขามาสั่งเสีย | ตัดเมียเสียได้ไม่ดูหน้า | ||
ว่าแล้วนางแก้วบังคับลา | สาวใช้ซ้ายขวาก็ตามไป | ||
ค่อยอยู่เถิดเจ้านางสาวศรี | บุญน้อยแล้วมิอยู่ด้วยได้ | ||
ข้าได้เรียกขานวานใช้ | อภัยอย่าได้เป็นกรรมกัน | ||
ว่าพลางนางอุ้มลูกยา | จันทาพยักหน้านางสาวสรรค์ | ||
เดินทรงโศกามาพลัน | กำนัลจันทาก็พาไป | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เพลง เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนีที่ร่วมอัชฌาสัย | ||
รับเอาโฉมงามทรามวัย | สาวใช้ขึ้นไปยังในวัง | ||
กินเหล้าเมาโป้งโฉงเฉง | ไม่เกรงไม่ขวยด้วยโอหัง | ||
เชิญแม่มาไปให้พ้นวัง | รับสั่งจะช้าอยู่ว่าไร | ||
ทำให้คนยากลำบากด้วย | คราวรวยหาทักรู้จักไม่ | ||
ที่มีปัญญาก็ว่าไป | นี่พูดอะไรไม่ต้องการ | ||
ว่าพลางเชิญนางลงนาวา | มิช้าบ่ายบากจากสถาน | ||
ทางสิบห้าวันกันดาร | พ้นบ้านไกลที่ไม่มีคน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงส่งนางเทวี | ดูน่าปรานีระเหระหน | ||
เสนีที่ได้กินสินบน | ขัดสนด้วยคนเขามากมาย | ||
จะฆ่าเทวีก็มิได้ | มารยาว่าไปดังใจหมาย | ||
ไหนไหนไม่พ้นเป็นคนตาย | จะลองดาบกรายเล่มนี้ดู | ||
เพื่อนกันช่วยฉุดยุดไว้ | ผิดไปไม่ได้อย่าจู่ลู่ | ||
ตามกรรมตามเวรนางโฉมตรู | จู่ลู่จะพากันวุ่นวาย | ||
ไม่คิดถึงตัวกลัวกรรม | เวรามาทำเองง่ายง่าย | ||
ถึงชั่วดีเล่าเป็นเจ้านาย | จะทำผิดคิดร้ายก็ไม่ดี | ||
กลับไปบ้านเราจะดีกว่า | ว่าพลางทางลานางโฉมศรี | ||
ที่ใจเมตตาปรานี | บ้างข้าวของมีก็ให้ทาน | ||
แล้วออกนาวาคลาไคล | ดูไปใจหายน่าสงสาร | ||
ฝ่ายว่าเสนีที่เป็นพาล | งุ่นง่านไม่ไหว้ไม่ลาใคร | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | มเหสีโศกาอยู่ป่าใหญ่ | ||
ขึ้นมาจากท่าชลาลัย | ไม่รู้ที่จะไปแห่งใดเลย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอ้ ชาตุม | |||
๏ เดินพลางทางอุ้มลูกพลาง | เห็นทุกข์แม่บ้างพ่อสังข์เอ๋ย | ||
บุกป่าฝ่าไพรแม่ไม่เคย | เพราะกรรมทรามเชยเจ้าเกิดมา | ||
เป็นคนหรือจะได้มาเป็นเพื่อน | มีเหมือนไม่มีโอรสา | ||
ทั้งนี้เพราะอีจันทา | กับอ้ายโหรามันรู้กัน | ||
ทั้งอีสาวศรีมันร่วมใจ | มันเร่งรัดให้แม่ผายผัน | ||
ทั้งอ้ายเสนาจะฆ่าฟัน | อัศจรรย์ใจแม่นี้แน่แล้ว | ||
พระร่วมห้องของน้องยังอาลัย | เหตุไรไม่เกรงทูลกระหม่อมแก้ว | ||
พ่อหลงกลมนตร์มันแน่แล้ว | เดินพลางนางแก้วก็โศกี | ||
เสียงเสือแรดช้างกวางทราย | ใจหายอกสั่นขวัญหนี | ||
เล็ดลอดกอดลูกเข้าโศกี | เทวีอุ้มสังข์ดำเนินไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เดินมา | สุริยาร้อนแรงแสงใส | ||
แลเห็นบ้านป่าพนาลัย | โฉมยงดีใจเข้าไปพลัน | ||
พบสองเฒ่าปลูกถั่วงา | นางนั่งวันทาขมีขมัน | ||
ฝ่ายว่าสองราดูหน้ากัน | ยายถามตานั้นทันใด | ||
ตานี่ดีร้ายจะไม่ตรง | มั่นคงกูคิดหาผิดไม่ | ||
นัดแนะกันมาหรือว่าไร | ตาเอาใจออกนอกกัน | ||
น้อยหรือนั่นรูปร่างอย่างกินนร | ยายค้อนตาผัวจนตัวสั่น | ||
ฝ่ายตาโกรธยายเอาไม้รัน | มึงเห็นสำคัญด้วยอันใด | ||
คราวลูกคราวหลานก็ไม่ว่า | มันบ้าอย่าถือแม่ข้าไหว้ | ||
มาแต่ตำบลหนใด | บอกให้แจ้งใจยายตา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ นางเล่าแต่ต้นจนปลาย | ตายายพาไปยังเคหา | ||
จัดเหย้าเรือนให้มิได้ช้า | ด้วยความเมตตาปรานี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมจันท์กัลยามารศรี | ||
อยู่ด้วยยายตาได้ห้าปี | ยากแค้นแสนทวีทุกเวลา | ||
ครั้นค่ำตักน้ำตำข้าว | ครั้นรุ่งเช้าเจ้าเข้าป่า | ||
เก็บผักเที่ยวหักฟืนมา | กัลยาค้าขายได้เลี้ยงตัว | ||
อุ้มเอาลูกน้อยหอยสังข์ | สุดกำลังแม่แล้วพ่อทูลหัว | ||
เลี้ยงไว้ว่าจะได้เป็นเพื่อนตัว | ทูนหัวไม่ช่วยแม่ด้วยเลย | ||
เนื้อเย็นเป็นคนนะลูกแก้ว | ห้าหกขวบแล้วนะลูกเอ๋ย | ||
กำดัดจะภิรมย์ชมเชย | ลูกเอ๋ยจะเบาทุเลาแรง | ||
นางมิได้เอนองค์ลงนิทรา | สุรียารุ่งรางสว่างแสง | ||
วางลูกไว้ไปจัดแจง | ลากแผงออกวางที่กลางดิน | ||
เอาข้าวออกตากแล้วฝากยาย | จับหาบผันผายเข้าไพรสิณฑ์ | ||
เที่ยวเก็บผักหญ้าเป็นอาจิณ | โฉมฉินซอนซนต้นมา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ยานี | |||
มาจะกล่าวบทไป | เทพไทสิงสู่อยู่พฤกษา | ||
สงสารนางจันท์กัลยา | เจ้ามาเหนี่อยยากลำบากกาย | ||
เทพบุตรจุติมาบังเกิด | กำเนิดผิดพ้นคนทั้งหลาย | ||
บุญญาธิการนั้นมากมาย | จะล้ำเลิศเพริศพรายเมื่อปลายมือ | ||
ถึงจะตกน้ำก็ไม่ไหล | ตกในกองกูณฑ์ไม่สูญชื่อ | ||
จะได้ผ่านบ้านเมืองเลื่องลือ | อึงอื้อดินฟ้าบาดาล | ||
คู่สร้างกับนางรจนา | มารดาจะสุขเกษมศานต์ | ||
นิ่งไว้จะยากลำบากนาน | กุมารซ่อนตนจะดลใจ | ||
จึงบันดาลให้เป็นไก่ป่า | กินมารดาหาช้าไม่ | ||
ขันก้องร้องตีกันมี่ไป | คุ้ยเขี่ยข้าวให้กระจายดิน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ คุกพาทย์ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ซ่อนอยู่ก็รู้สิ้น | ||
พระแม่ไปป่าเป็นอาจิณ | ในจิตคิดถวิลทุกเวลา | ||
จะใคร่ออกช่วยพระแม่เจ้า | สงสารผ่านเกล้าเป้นหนักหนา | ||
เหนื่อยยากลำบากกายา | กลับมาจนค่ำแล้วร่ำไร | ||
ไม่ว่าลูกน้อยเป็นหอยปู | อุ้มชูชมชิดพิสมัย | ||
พระคุณล้ำลบภพไตร | จะออกให้เห็นตัวก็กลัวการ | ||
ไก่ป่าพาฝูงมากินข้าว | ของพระแม่เข้าอยู่ฉาวฉาน | ||
คุ้ยเขี่ยเรี่ยรายทั้นดินดาน | พระมารดามาเห็นจะร่ำไร | ||
เยี่ยมลอดสอดดูทั้งซ้ายขวา | จะเห็นใครไปมาก็หาไม่ | ||
ออกจากสังข์พลันทันใด | ฉวยจับไม้ได้ไล่ตี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เพลงฉิ่ง | |||
๏ กอบเก็บข้าวหกที่ตกดิน | ผันผินลอยลับขยับหนี | ||
เหลืยวดูผู้คนชนนี | จะหนีเข้าสังข์กำบังตน | ||
หุงข้าวหาปลาไว้ท่าแม่ | ดูแลจัดแจงทุกแห่งหน | ||
ช่วยขับไก่ป่าประสาจน | สาละวนเล่นพลางไม่ห่างดู | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลงฉิ่ง เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระมารดานึกในพระทัยอยู่ | ||
คิดถึงลูกน้อยหอยปู | เดินไปสักครู่แล้วจู่มา | ||
เก็บได้ฟืนผักเผือกมัน | สารพันกินได้ที่ในป่า | ||
ใส่หาบหาบเดินดำเนินมา | ไม่ช้าครู่หนึ่งก็ถึงเรือน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ จึงเห็นลูกแก้วแววไว | ลูกใครคนนี้ไม่มีเหมือน | ||
มานั่งเล่นอยู่ประตูเรือน | พักตร์ดังดวงเดือนเลื่อนลอย | ||
พระสังข์แลเห็นชนนี | แล่นหนีตกใจเข้าในหอย | ||
ประหวั่นพรั่นใจมิใช่น้อย | เศร้าสร้อยคอยฟังพระมารดา | ||
มารดรวางหาบตามติด | เห็นผิดเปิดห้องมองหา | ||
รีบร้นค้นดูกุมารา | กัลยาไม่เห็นประหลาดใจ | ||
หรือว่าผีเรือนเป็นเพื่อนร้อน | แกล้งหลอกหลอนเล่นเป็นไฉน | ||
จึงสาบสูญกายหายไป | คิดวนเวียนในพระทัยนาง | ||
ข้าวปลาสุกสรรพเก็บปิด | เห็นผิดเร่งคิดอางขนาง | ||
โฉมตรูมาดูข้าวพลาง | แล้วนางมาถามตายาย | ||
ไม่กินข้าวปลาอาหาร | เยาวมาลย์รำพึงคะนึงหมาย | ||
คอยดูให้รู้แยบคาย | อุ้มเอาลูกชายไม่สงกา | ||
พินิจพิศดูแล้วทูนเกศ | น้ำเนตรหลั่งไหลทั้งซ้ายขวา | ||
จวนรุ่งพุ่งแสงพระสุรียา | ทำเป็นไปหาสาแหรกคาน | ||
ลงจากกระท่อมแล้วด้อมมอง | ค่อยย่องแอบไม้ไม่ไกลบ้าน | ||
แอบซ่อนมองดูอยู่ช้านาน | นงคราญกลั้นไว้ไม่พูดจา | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระกุมารเยี่ยมหอยแลหา | ||
ไม่แจ้งว่าองค์พระมารดา | แฝงฝาคอยอยู่ไม่รู้กาย | ||
สงัดเงียบผู้คนไม่พูดจา | เล็ดลอดออกมาแล้วผันผาย | ||
นั่งที่นอกชานสำราญกาย | เก็บกรวดทรายเล่นไม่รู้ตัว | ||
มารดาซ่อนเร้นเห็นพร้อมมูล | อุแม่เอ๋ยพ่อคุณทูนหัว | ||
ซ่อนอยู่ในสังข์กำบังตัว | พ่อทูนหัวของแม่ประหลาดคน | ||
ย่างเข้าในห้องทับจับได้ไม้ | ก็ต่อยสังข์ให้แหลกแตกป่น | ||
พระสังข์ตกใจดังไฟลน | จะหนีเข้าหอยตนก็จนใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง โอ้ | |||
๏ สวมสอดกอดบาทพระมารดา | ซบเกศาพลางทางร้องไห้ | ||
แม่ต่อยสังข์แตกแหลกไป | ร่ำไรเสียดายไม่วายคิด | ||
เหมือนแม่ฆ่าลูกให้ม้วยมรณ์ | มารดรไม่รักแต่สักนิด | ||
พระแม่ต่อยสังข์ดังชีวิต | จะชมชิดลูกนี้สักกี่วัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ฟังเอยฟังลูกว่า | พระมารดาเสียวใจไหวหวั่น | ||
กอดจูบลูบเนตรเกศกรรณ | ร่วมวันขวัญตาพ่อว่าไย | ||
สิ้นเคราะห์สิ้นกรรมทำมา | ลูกยาอย่าว่าแม่เสียวไส้ | ||
ตกทุกข์ได้ยากลำบากใจ | เพราะอ้ายหอยสังข์มันจังฑาล | ||
มันมาหุ้มห่อเอาพ่อไว้ | ทำไมให้โหรามันว่าขาน | ||
บิตุรงค์หลงกลอีคนพาล | ไม่ช้าไม่นานจะคืนวัง | ||
ยากเย็นเห็นหน้ากันแม่ลูก | อย่าพันผูกโศกสร้อยถึงหอยสังข์ | ||
รักใคร่มันไยไม่จีรัง | หอยสังข์เช่นนี้มีถมไป | ||
ว่าพลางนางเรียกยายตา | เล่ากิจจาแจ้งแถลงไข | ||
ตั้งแต่เบื้องต้นจนปลายไป | ทั้งสองสงสัยไม่เชื่อนาง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ตายายให้คิดอางขนาง | ||
พากันเข้าไปในทับนาง | แลเห็นรูปร่างกุมารา | ||
ตะลึงขึงแข็งไปทั้งตัว | ทูนหัวน่ารักเป็นหนักหนา | ||
พ่อคุณเป็นบุญของยายตา | เกิดมายังไม่ได้ยินเลย | ||
พึ่งพบพึ่งเห็นเป็นเที่ยงแท้ | ลูกของเจ้าแน่หรือแม่เอ๋ย | ||
บุญหนักศักดิ์ใหญ่กระไรเลย | พ่อเอ๋ยรูปร่างช่างสร้างมา | ||
ชั่วปู่ชั่วย่าชั่วตายาย | ล้มตายไม่เห็นเป็นหนักหนา | ||
กอดจูบลูบไล้ทั้งยายตา | สองราเกษมเปรมปรีดิ์ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ตอนที่ ๒ ถ่วงพระสังข์
พญาโศก | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยศวิมลหมองศรี | ||
ไสยาสน์เหนืออาสน์รูจี | คิดถึงมเหสีที่จากไป | ||
ยกหัตถ์พาดพักตร์พูนเทวษ | น้ำเนตรอาบหมอนถอนใจใหญ่ | ||
โอ้เจ้างามทรามกอดยอดจิตใจ | เจ้าจะเป็นฉันใดไม่รู้เลย | ||
จะตกระกำลำบากยากเย็น | หรือวอดวายตายเป็นนะน้องเอ๋ย | ||
หลายปีมิได้ข่าวเจ้าเลย | น้องเอ๋ยจะด้นไปหนใด | ||
ลูกเสียเมียช้ำไปจากร่าง | โอ้กรรมตามล้างแต่ปางไหน | ||
ครวญคร่ำกำสรดสลดใจ | มิได้สระสรงคงคา | ||
โอ้จันท์เทวีเจ้าพี่เอ๋ย | ทรามเชยเคยเคียงเรียงหน้า | ||
เช้าเย็นเคยเห็นนกันมา | เคยร่วมนิทราทุกราตรี | ||
เห็นแต่ที่นอนหมอนเปล่า | ขวัญข้าวของผัวเอาตัวหนี | ||
เคยล้อมพร้อมหน้าทุกนารี | แก้วพี่หนีกายไปหายองค์ | ||
กอดเอาหมอนนางพลางพิลาป | ชลนัยน์ไหลอาบดังโสรจสรง | ||
เจ้าจะเป็นฉันใดที่ในดง | กอดหมอนแนบองค์เข้าร่ำไร | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาตัวเข็ญจะเป็นใหญ่ | ||
ยังไม่เหมือนจิตที่คิดไว้ | มุ่งมาดหมายใจอยู่ไปมา | ||
จึงเรียกสาวใช้เข้าในห้อง | ปรองดองตรองตรึกปรึกษา | ||
จะคิดฉันใดไฉนนา | ให้ข้าสมจิตที่คิดปอง | ||
ลอยเมฆเป็นเอกมเหสี | อย่าให้ใครมีเสมอสอง | ||
พระฤาสายไม่วายตรึกตรอง | เศร้าหมองคะนึงคิดถึงเมีย | ||
นางจันท์เทวียังมิตาย | ดีร้ายเสนาไม่ฆ่าเสีย | ||
แม้นว่าพระจะกลับไปรับเมีย | จะเสียการเราเจ้าคิดดู | ||
หรือว่าหอยกลายไปเป็นคน | เหตุผลอย่างนี้ก็มีอยู่ | ||
อย่าได้ไว้ใจแก้ไขดู | ให้สิ้นรู้เราอย่าเบาความ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สาวใช้ใจเพชรไม่เข็ดขาม | ||
จึงทูลแถลงให้แจ้งความ | จะครั่นคร้ามขามใจไปไยมี | ||
แม่เรียกธิดามาสอนสั่ง | ความหลังทั้งมวลให้ถ้วนถี่ | ||
เฝ้าองค์ทรงศักดิ์พระจักรี | ทูลพ่อขอที่มารดร | ||
ด้วยพระสัญญาว่าไว้ | แก้ไขโดยดีกระนี้ก่อน | ||
ซึ่งพระโศกาอาวรณ์ | แม่ผันผ่อนแนมเหน็บให้เจ็บใจ | ||
แม้นมิสมคะเนเล่ห์กล | เอาด้วยเวทมนตร์ให้หลงใหล | ||
คนดีมีถมอย่าตรมใจ | ข้าได้ข่าวอยู่สุเมธา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | สมดังใจจิตอิจฉา | ||
ร้องเรียกบุตรีจันทีมา | เสี้ยมสอนให้ว่าสารพัน | ||
แล้วให้สระสรงทรงเครื่อง | รุ่งเรืองเพราเพริศเฉิดฉัน | ||
พี่เลี้ยงนางนมระดมกัน | ผัดพักตร์ดังจันทร์เมื่อวันเพ็ญ | ||
แต่งลูกแล้วแต่งตัวนาง | ชำระสระสางให้ปลั่นเปล่ง | ||
แสนสาวชาวแม่แช่แข็ง | รีบเร่งอุ้มพาธิดาตาม | ||
มาถึงซึ่งที่พระบรรทม | ชื่นชมในจิตไม่คิดขาม | ||
แหวกม่านเห็นองค์พระทรงนาม | ก้มเกล้ากราบงามสามลา | ||
ทั้งพระบุตรีพี่เลี้ยง | นบนอบหมอบเคียงเรียงหน้า | ||
แล้วจึงสะกิดพระธิดา | พยักหน้าเข้าไปให้ใกล้องค์ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระทรงธรรม์รัญจวนครวญหลง | ||
เห็นลูกโฉมฉายก็อายองค์ | ผันพักตร์สบตรงนางจันทา | ||
ขวยเขินเมินเช็ดชลนัยน์ | เคืองใจมิใคร่จะดูหน้า | ||
บ่ายเบือนเยื้อนทักพระธิดา | รับมาวางตักพระพักตร์เชย | ||
จูบพลางทางคิดถึงหอยสังข์ | กรรมตามแต่หลังนะลูกเอ๋ย | ||
เป็นคนจะได้ไว้ชมเชย | ลูกเอ๋ยพี่น้องจะครองกัน | ||
มิให้พ่อแม่ได้ลำบาก | พลัดพรากวิโยคโศกศัลย์ | ||
จึงถามธิดาวิลาวัณย์ | แม่ขวัญเมืองมาจะว่าไร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางจันทีศรีใส | ||
จำคำมารดาที่สอนไว้ | ถือใจไม่รู้ว่าขุ่นเคือง | ||
ทูลว่าประสาทารก | หยิบยกข้อความตามเรื่อง | ||
บิดาว่าไว้จะให้เมือง | ราวเรื่องระบือลือชา | ||
ลูกเกิดเพริดพลัดเป็นสตรี | ไม่ควรที่สมบัติวัตถา | ||
จะขอที่ประทานให้มารดา | ให้เลื่องชื่อลือชาสถาวร | ||
แทนที่แม่หนีไปจากวัง | แต่งตั้งแทนตนแม่คนก่อน | ||
ยกหน้าข้าบาทประสาทพร | แม่ก่อนบิดาอย่าอาลัย | ||
เมื่อโหรเขาว่าเป็นกาลี | ชั่วดีอื่นพอจะเลี้ยงได้ | ||
เลือดก้อนออกแล้วก็แล้วไป | ร้องไห้ใครรู้จะดูแคลน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ ฟังลูก | เจ็บปวดดังถูกหลาวแหลน | ||
ใครสอนให้ว่าเจรจาแทน | มั่นแม่นตัวกูพอรู้ทัน | ||
ยิ่งกว่าลูกเล็กเด็กน้อย | ตะบอยสาระวอนทุกสิ่งสรรพ์ | ||
เหน็บแนมแกมกลปนกัน | เด็กนั้นว่าได้เมื่อไรมี | ||
ความหลังแต่ยังไม่เกิดมา | มันว่าทั้งมวลเป็นถ้วนถี่ | ||
สอนบ้างหรือไม่เล่าอีเหล่านี้ | กาลีกาลำมารำพัน | ||
หรือหนึ่งแม่แสนงอนเจ้าสอนลูก | เรียนผูกเรียนแก้ช่างแปรผัน | ||
เป็นกรรมจึงจำจากกัน | ทุกวันเหมือนเงาอยู่วาวแวว | ||
เว้นแต่จะจับไม่ถูกต้อง | คนมันคอยปองพระน้องแก้ว | ||
ได้ทีที่ทางว่างอยู่แล้ว | สอนลูกแก้วมาให้พาที | ||
น้อยหรือน้ำใจใหญ่หลวง | โจมจ้วงเอาดวงพระสุริย์ศรี | ||
กูไม่ให้ปันอีจันที | เจ้าของเขามียังมิตาย | ||
สิ้นเคราะห์จะรับเจ้ากลับมา | แม่นางจันทาเจ้าอย่าหมาย | ||
จงพากันไปให้สบาย | ลูกเต้าบ่าวนายบรรดามา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาเสียวไส้อยู่ในหน้า | ||
เสียใจทูลไปด้วยปัญญา | อนิจจาเคราะห์ร้ายให้อายคน | ||
นั่งอยู่ดีดีก็มีโทษ | ได้โปรดซักไซ้ให้เห็นหน | ||
วอนมาเฝ้าองค์ทรงสกล | ให้คนพลอยผิดนางคิดดี | ||
ลูกเต้าน่าแค้นมันแสนงอน | ใครสอนอย่าบอกออกมานี่ | ||
บนบานเจ้าไว้เมื่อไรมี | หยิกตีเท่าไรก็ไม่จำ | ||
เก็บเอาเขาพูดที่ไหนไหน | ทูลให้ติดต่อเป้นข้อขำ | ||
นี่ใครสั่งสอนฉะอ้อนคำ | เที่ยวจำเค้ามูลมาทูลเอง | ||
ไม่จ้วงไม่เจิ้นให้เกินหน้า | มันว่าออเซาะไม่เหมาะเหม็ง | ||
เมื่อพระสัญญาว่าไว้เอง | จึงครื้นเครงไปเขาได้ยิน | ||
ใครมองปองล้างมเหสี | เฆี่ยนตีซักไซ้เอาให้สิ้น | ||
แล่เนื้อเกลือทาให้กากิน | มันเป็นเสี้ยนแผ่นดินจะไว้ไย | ||
ใครได้ชิงชังนางยอดสร้อย | เมื่อไปก็พลอยน้ำตาไหล | ||
อาภัพกลับกลายหายไป | จัดแจงแต่งให้ทุกสิ่งอัน | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ ฟังคำ | ซอกซ้ำหมกมุ่นหุนหัน | ||
เห็นจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน | แดกดันเล่นได้เป็นไรมี | ||
กระนั้นนานไปจะใช้ทุน | เจ้าทำบุญคุณมเหสี | ||
รักใคร่ตกใจไปไยมี | ตัวดีอยู่แล้วก็แล้วไป | ||
อีจันท่ไม่มีใครสอนสั่ง | มันชั่งต่อติดประดิษฐ์ได้ | ||
จริงอยู่สัญญาว่าไว้ | ลูกใครเป็นชายจะให้วัง | ||
นางแม่จะแร่เอายศถา | ใครได้สัญญามาแต่หลัง | ||
ไม่รับกลับเถียงเสียงดัง | แฝงหลังบังเงากูเข้าใจ | ||
ยังไม่ทันได้ยศศักดิ์ | ฮึกฮักลิ้นลมคารมใหญ่ | ||
ดูเหมือนเพื่อนกันหรือฉันใด | ไสหัวลงไปอีใจพาล | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ ฟังตรัส | สะบัดพักตร์ควักค้อนแล้วตอบสาร | ||
ผิดแผกเปล่าเปล่าไม่เข้าการ | แกล้งพาลพาโลโกรธา | ||
เพราะคิดถึงเมียจึงเสียใจ | มิรับมาไยใครเขาว่า | ||
แม้นเกิดกลีมีมา | ยากเย็นเป็นข้าคนอื่นไป | ||
ต้องขับต้องไล่ไสหัว | ไม่รู้ตัวว่าโกรธาข้าโทษใหญ่ | ||
ยั่งยืนว่ากลืนแก้วไว้ | ขับไล่ยิ่งกว่าเป็นกาลี | ||
แค้นด้วยลูกเต้ามาเข้าท้อง | จองหองแอบพักตร์ศักดิ์ศรี | ||
ต่อเป็นผู้ชายจะได้ดี | เสียทีเลี้ยงเปล่าไม่เข้ายา | ||
จะใคร่หักคอใส่หม้อฝัง | แต่ยังแดงแดงไม่แข็งกล้า | ||
ยังชั่วตัวตีนมันมีมา | คิดว่าหอยสังข์สิจังไร | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ ได้ฟัง | มืดกลุ้มคลุ้มคลั่งดังเพลิงไหม้ | ||
เหม่อีจันทาชะล่าใจ | จะเกรงกลัวใครก็ไม่มี | ||
จองหองพองขนเป็นพ้นนัก | เยื้องยักแยบคายใส่สี | ||
เพราะเกิดลูกเต้าด้วยเท่านี้ | พาทีเกินตัวไม่กลัวตาย | ||
เหมือนหนึ่งกิ่งก่าได้ทาทอง | ยกย่องหัวหูดูเฉิดฉาย | ||
มึงประจานใครให้ได้อาย | แยบคายทบเทียบเปรียบมา | ||
หัวจะปลิวไปไม่ทันรู้ | มึงดูถูกเล่นเป็นหนักหนา | ||
ฉวยพระแสงพลันมิทันช้า | จันทาลุกวิ่งเป็นสิงคลี | ||
พระฟาดฟันผิดติดทวาร | บ้างล้มลุกคลุกคลานทะยานหนี | ||
มึงอย่าเข้ามาพันอีจันที | พระบุตรีฉวยฉุดยุดกร | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาหนีองค์พระทรงศร | ||
เข้าห้องโศกาอาวรณ์ | ทุกข์ร้อนอดสูแก่หมู่นาง | ||
จึงเรียกสาวศรีที่สนิท | เจ้าคิดไว้เหมาะช่วยเสาะสาง | ||
คนดีที่เจ้าว่าอย่าพราง | สู้เสียสินจ้างให้ล้างอาย | ||
ไปหาพามาเวลาเย็น | อย่าให้ใครเห็นเงื่อนสาย | ||
หยูกยาเสร็จสรรพสำหรับกาย | เบี่ยงบ่ายเล็ดลอดดอดมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สาวใช้ว่องไวใจกล้า | ||
กำชับรับคำแล้วอำลา | เที่ยวเสาะสืบมาก็พบพาน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ถึงเรือนยายเฒ่าก็เข้าไป | พูดจาปราศรัยด้วยอ่อนหวาน | ||
เที่ยวเสาะสืบมาช้านาน | บุญหลานจึงพบประสบยาย | ||
เอาลาภมาให้ใหญ่หลวง | จะล่อลวงว่านั้นอย่าหมาย | ||
แล้วค่อยงุบงิบกระซิบยาย | แต่ต้นจนปลายทุกสิ่งอัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ฝ่ายว่ายายเฒ่าสุเมธา | ฟังสาวศรีว่าเกษมสันต์ | ||
เต็มใจเห็นจะได้รางวัล | จึงว่าไปพลันทันใด | ||
เจ้าหวังตั้งใจออกมาหา | จะหาญหักผลักหน้ากระไรได้ | ||
ตามรู้ตามเห็นจะเป็นไร | พอแก้ไขได้อย่าปรารมภ์ | ||
ว่าพลางทางผลัดผ้านุ่ง | หยิบถุงย่ามยากับผ้าห่ม | ||
ออกจากประตูแล้วดูลม | เห็นสมดังใจแล้วไคลคลา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงซึ่งราชวังใน | สาวใช้พายายเข้ามาหา | ||
โปร่งปลอดกำนัลกัลยา | ก้มเกล้าวันทาเทวี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางจันทามเหสี | ||
ปราศรัยด้วยยายยินดี | มานั่งถึงนี่อย่าก้มคลาน | ||
ข้าเห็นหน้ายายค่อยหายไข้ | ยินดีมีใจเกษมศานต์ | ||
จงช่วยให้เสร็จสำเร็จการ | ยายเมตตาหลานจะแทนคุณ | ||
เงินทองจะกองให้ยายเฒ่า | ขวัญข้าวค่ายามิให้สูญ | ||
หยูกยาหามาพร้อมมูล | จะพูนราคาค่ายายาย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สุเมธาแย้มยิ้มกระหยิ่มหมาย | ||
เรียนตอบนอบนบอภิปราย | ตกพนักงานยายอย่าปรารมภ์ | ||
จะให้สมดั่งจิตคิดปอง | ให้พระทองมาอยู่สู่สม | ||
ด้วยฤทธิ์วิทยาอาคม | เอาให้หลงงมซมไป | ||
เห็นชั่วดีกันในวันนี้ | แม้นมิลงมาสัญญาได้ | ||
ขวัญข้าวค่ายาจะว่าไป | ทิ้งลูกเสียได้เมื่อไรมี | ||
เวลาก็ควรจวนเย็น | จะทำให้แม่เห็นเป็นถ้วนถี่ | ||
แก้ย่ามยาพลันทันที | หัวผีโหงพรายที่เอามา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
เชิญ | |||
๏ ว่าแล้วจุดเทียนเข้าติดพาน | โหงพรายลนลานหาญกล้า | ||
ปลุกเสกด้วยฤทธิ์วิทยา | มิช้าลุกขึ้นทั้งโหงพราย | ||
ยายเฒ่าจึงลนเอาน้ำมัน | ต่อหน้านางจันท์น่าขวัญหาย | ||
ขี้ผึ้งปิดปากผีพราย | ปั้นเป็นรูปกายพระภูมี | ||
กับนางจันทาให้กอดกัน | แล้วผูกพันไปด้วยด้ายผี | ||
เอาใส่ใต้ที่นอนนางเทวี | น้ำมันผีเสกใส่ในเครื่องทา | ||
ลงชื่อใส่ไส้เทียนตาม | สองยามให้หลงลงมาหา | ||
เสกหมากพลูไว้ให้มิได้ช้า | มิมาอย่านับข้าสืบไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ แล้วบอกมนตรามหาละลวย | เป่าให้งวยงงหลงใหล | ||
เพ็ดทูลเชื่อฟังดังใจ | ว่าไรเห็นจริงทุกสิ่งอัน | ||
เชิญแม่สระสรงทรงทา | ตัวข้าจะลาผายผัน | ||
เก็บหัวโหงพรายใส่ย่ามพลัน | ลานางจอมขวัญไปทันที | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางจันทามารศรี | ||
สุริยนสนธยาราตรี | เข้าที่สระสางสำอางองค์ | ||
ตกแต่งทาแป้งน้ำมันยาย | เฉิดฉายผิวผ่องละอองผง | ||
หอมฟุ้งรุ่งเรืองด้วยเครื่องทรง | ผุดผาดประหลาดองค์แต่ก่อนมา | ||
แล้วจุดเทียนชัยเข้าในที่ | ชุลีกรวอนไหว้ทั้งซ้ายขวา | ||
ทรามวัยมิได้นิทรา | วิญญาณ์ผูกพันมั่นใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ | |||
๏ เมื่อนั้น | ภูวดลหม่นหมองไม่ผ่องใส | ||
คุณยาอาคมระดมใจ | ร้อนรนพระทัยดังไฟลาม | ||
อยู่ในไสยาสน์อาสน์อ่อน | ดังนอนที่ฟากขวากหนาม | ||
ลุกขึ้นนั่งฟังฆ้องได้สองยาม | ลมชวยรวยตามพระบัญชร | ||
หอมแป้งน้ำมันของจันทา | ยิ่งกว่ากลิ่นทิพเกสร | ||
อบอาบซาบใจขจายจร | อาวรณ์ใฝ่ฝันถึงจันทา | ||
ขับไล่ด่าทอไม่พอที่ | กูนี้ได้คิดผิดหนักหนา | ||
เสงี่ยมหงิมจิ้มลิ้มทั้งกายา | จะหาเปรียบแก้วตาไม่มีเลย | ||
อีจันท์เทวีนี้ชั่วชาติ | หลงคิดพิศวาสนะอกเอ๋ย | ||
จันทาหน้านวลเจ้าควรเชย | ควรร่วมเขนยเสวยวัง | ||
ทั้งจริตกิริยามารยาท | สมชาตินางในข้างฝ่ายหลัง | ||
งามปลอดยอดฟ้าสง่าวัง | ควรกูจะตั้งแต่งนาง | ||
พุ่มพวงดวงเนตรจะน้อยใจ | มิไปง้อน้องจะหมองหมาง | ||
เสน่หาประหวัดกำหนัดนาง | เงียบปรางค์ย่างย่องมองมา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงแลเห็นแสงไฟ | แอบแฝงองค์ไว้ไม่กังขา | ||
เกาะเกาะค่อยเคาะทวารา | แก้วตาเปิดรับพี่ฉับไว | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางจันทาอัชฌาสัย | ||
ฟังดูรู้แจ้งไม่แคลงใจ | เชื่อในคุณฤทธิ์วิทยา | ||
ดับเทียนเสียพลันมิทันนาน | ชื่นบานสมมาดปรารถนา | ||
ทำแกล้งแต่งกลมารยา | ย่อมมาค่อยชักสลักกลอน | ||
แล้วกลับเข้าไปในแท่นที่ | ข้างพระบุตรีศรีสมร | ||
ค่อยค่อยวางองค์ลงนอน | นิ่งซ่อนกายอยู่จะดูที | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ น้องเอยน้องแก้ว | หลับแล้วหรือโกรธโทษพี่ | ||
งามพริ้งนิ่งได้ไม่พาที | เมื่อกี้แจ่มแจ้งเห็นแสงไฟ | ||
ว่าพลางทางผลักทวารา | เปิดเปล่าเข้ามาหาช้าไม่ | ||
เยื้องย่องจรลีด้วยดีใจ | ห้องในมืดล้นพ้นประมาณ | ||
ถึงเตียงค่อยนั่งลงข้างองค์ | พบลูกโฉมยงยอดสงสาร | ||
แล้วคว้าคลำซ้ำปะเยาวมาลย์ | สั่นองค์นงคราญไม่ฟื้นกาย | ||
ค่อยค่อยกระซิบเจรจา | ลุกขึ้นเถิดพี่มาหาโฉมฉาย | ||
จงดับความโศกสร้อยค่อยคลาย | นางแกล้งแฝงกายไม่ฟื้นองค์ | ||
ค่อยยกลูกแยกเข้าแทรกกลาง | พระพลางป่วนจิตพิศวง | ||
ไล้ลูบจูบน้องประคององค์ | โฉมยงของพี่อย่าขี้เซา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระบุตรีภูมีโฉมเฉลา | ||
ผวาตื่นฟื้นองค์นงเยาว์ | คว้าเอาบิดาว่ามารดร | ||
คลำหาพระเต้าเจ้าจะกิน | ผิดกลิ่นตกใจร้องไห้อ้อน | ||
ใครนี่แม่ขาเข้ามานอน | แทรกซ้อนซ่อนแม่ข้าไว้ใย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายนางจันทาอายจิต | เปลื้องปลิดกรทิ้งไม่นิ่งได้ | ||
ค่อยลัดหลีกองค์พระทรงชัย | กอดลูกปลอยให้เสวยนม | ||
อดสูสาวสรรค์กัลยา | กล่าวแกล้งแสร้งว่าไม่เห็นสม | ||
ขวัญอ่อนนอนเถิดอย่าเตรียมตรม | เจ้าปรารมภ์ด้วยแม่เมื่อกลางวัน | ||
ท่านจะสังหารผลาญชีวิต | หวาดจิตละเมอเพ้อฝัน | ||
แมวคราวไต่ราวมาเป็นพัน | กลัวมันกินตับจงหลับไป | ||
หลอนพลางทางยกเอาลูกน้อย | ถดถอยออกมาหาช้าไม่ | ||
เรียกสั่งสาวศรีที่ร่วมใจ | เอาไปแกว่งไกวให้หลับนอน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ภูวไนยมีใจสโมสร | ||
ด้วยคุณฤทธิ์วิทยาให้อาวรณ์ | ง้องอนเดินตามนางงามมา | ||
คว้าไปไม่พบประสบน้อง | ร่วมห้องเจ้าแกล้งแฝงฝา | ||
โลมลูบรับขวัญกัลยา | แก้วตาอย่าละห้อยน้อยใจ | ||
ผัวผิดจึงตามมาง้องอน | จะตัดรอนโกรธขึ้นไปถึงไหน | ||
รู้ตัวชั่วแล้วแก้วกลอยใจ | โมโหมืดไปไม่ทันคิด | ||
จึงบุกลงมาสารภาพ | ให้หายบาปหายกรรมที่ทำผิด | ||
มาไปบรรทมชมชิด | จะม้วนมิดซ่อนพี่อยู่นี่ไย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ผ่านเอยผ่านเกล้า | จะมาเฝ้าเย้ายวนหาควรไม่ | ||
ทรพลคนชั่วกลัวภัย | จึงไม่อาจใจอยู่ใกล้องค์ | ||
ศักดิ์ต่ำแล้วซ้ำเป็นคนโทษ | มีโปรดโกรธกริ้วจะผุยผง | ||
หนีทันชีวันจึงคืนคง | หาไม่กลิ้งลงกับกลางดิน | ||
ลูกน้อยจะพลอยเป็นกำพร้า | น้ำตาก็จะไหลเป็นสายสินธุ์ | ||
หากปลอดทอดอยู่จึงภูมินทร์ | ดัดแปลงแต่งลิ้นมาเจรจา | ||
ถึงว่าจะตายก็ไม่คิด | เจ็บช้ำน้ำจิตที่ร่ำด่า | ||
อายคนเป็นพ้นคณนา | เสด็จมาพระเดชพระคุณนัก | ||
จนใจจะให้ไปร่วมเรียง | นั่งเตียงเคียงชมไม่สมศักดิ์ | ||
จะอยู่ตามอำเภอเสมอพักตร์ | พระองค์ทรงศักดิ์จงโปรดปราน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอ้โลม | |||
๏ ดวงเอยดวงสมร | สมนามงามงอนอ่อนหวาน | ||
ตัดพ้อล้อเล่นเป็นประมาณ | เผ็ดร้อนอ่อนหวานระคนกัน | ||
จนจิตด้วยผิดเป็นล้นเหลือ | จะนอนให้เจ้าเถือจนเนื้อสั่น | ||
งามชื่นจะขืนมารำพัน | คุ้มโทษทัณฑ์อยู่ไม่รู้แล้ว | ||
ว่าพลางตะโบมโลมลูบ | จับจูบพุ่มพวงดวงแก้ว | ||
พี่จะให้ประเสริฐเพริศแพร้ว | น้องแก้วแววตาอย่าเกียจกล | ||
กรกอดสอดอุ้มขึ้นแท่นที่ | ฤดีเตือนเต้นไม่เห็นหน | ||
สมสนิทจิตปองทั้งสองคน | ที่ทุกข์ทนโพยภัยก็หายกัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โลม | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาดังได้ไอศวรรย์ | ||
คุณยาอาคมระดมกัน | รุ่งแจ้งแสงฉันทันใด | ||
สระสรงสำเร็จเสร็จแล้ว | นางแก้วหยิบหมากที่ยายให้ | ||
ถวายแก่พระองค์ทรงชัย | ภูวไนยเสวยชมเชยนาง | ||
พระองค์งงงวยด้วยมารยา | จันทาแนบชิดสนิทข้าง | ||
ร่ายมนต์ยายเฒ่าเป่าพลาง | ได้ทางทูลแอบด้วยแยบคาย | ||
ทุกวันนางจันท์เทวี | บัดนี้ลือหลากมามากหลาย | ||
อยู่ป่าผาสุกสนุกสบาย | ฉวยได้ลูกชายที่ไหนมา | ||
พันผูกว่าลูกของภูธร | ราษฎรนับถือระบือว่า | ||
ให้อับอายขายบาทบาทา | หอยที่ชั่วช้าว่าเป็นคน | ||
แม้นมิสังหารผลาญเสีย | นานไปเมียเห็นไม่เป็นผล | ||
มันเสี้ยนพาราจลาจล | นานไปใหญ่ตนจะปล้นเมือง | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ ฟังสาร | ภูบาลผ่านกรุงฟุ้งเฟื่อง | ||
เศร้าหมองต้องคุณจึงขุ่นเคือง | ฟังเรื่องเห็นจริงทุกสิ่งไป | ||
หอยหรือจะรื้อมาเป็นคน | เล่ห์กลมันแกล้งแต่งใส่ | ||
พี่รู้เพราะเจ้าจึงเข้าใจ | เสียแรงรักใคร่อาลัยมัน | ||
ชะรอยได้ลูกชู้สู่หา | ไม่กลัวชีวาจะอาสัญ | ||
เอาแต่ลูกยามาฆ่าฟัน | แต่แม่มันงดไว้ให้ได้ความ | ||
เจ้าจงเป็นเอกมเหสี | แต่นี้สืบไปพี่ไม่ห้าม | ||
ให้แก่โฉมยงนงราม | ว่ากล่าวเอาตามอำเภอใจ | ||
จูบพลางทงลุกไคลคลา | พักตรามัวคล้ำดำไหม้ | ||
ออกนั่งยังท้องพระโรงชัย | พรั่งพร้อมล้อมไปด้วยเสนี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ จึงมีโอกาสประภาษสั่ง | แก่ตำรวจวังทั้งสี่ | ||
จงเร่งไปป่าพนาลี | ที่จันท์เทวีมันอยู่กิน | ||
จับเอาลูกยาไปฆ่าฟัน | ใครอย่าเกียดกันผันผิน | ||
ว่าเป็นลูกกูดูหมิ่น | ผิดเภทแผ่นดินแต่ก่อนมา | ||
หอยกลายเป็นคนฉงนใจ | ที่ไหนมีบ้างมันช่างว่า | ||
แม้นมิย่อยยับอย่ากลับมา | ตามแต่จะฆ่าให้วายปราณ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนาได้ฟังรับสั่งสาร | ||
ลูบอกตกใจลนลาน | บังคมก้มกรานคลานออกมา | ||
ไม่เห็นว่าจะเป็นประการใด | ตกใจชวนชักพยักหน้า | ||
พาบ่าวเข้าในพนาวา | เสาะหามาบ้านนางเทวี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาถึงซึ่งบ้านตายาย | วางรายคนไว้มิให้หนี | ||
ซ่อนเร้นแลเห็นนางเทวี | เสนีรู้จักไม่ทักทาย | ||
ซูบผอมผ้าผ่อนก็ปะปุ | ขาดทะลุปรุโปร่งน่าใจหาย | ||
ชะแง้แลเห็นพระลูกชาย | ก็มาดหมายสำคัญสัญญา | ||
เพ่งพิศพินิจดูรูปทรง | เหมือนองค์ทรงศักดิ์หนักหนา | ||
ลูกท่านมั่นคงไม่สงกา | เราจะออกปากว่าก็จนใจ | ||
หยอกเย้าเคล้าอยู่กับมารดา | วิงวอนเจรจาปราศัย | ||
น่ารักปากคอเป็นพ้นไป | จะคิดอย่างไรไฉนดี | ||
สงสารมารดาจะเกลือกกลิ้ง | เรานิ่งให้ไปเสียไพรศรี | ||
คิดพร้อมยอมกันทันที | เสนีลัดแลงแผงกาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | มเหสีมีกรรมระส่ำระสาย | ||
หาสู่ลูกเต้าทุกเพรางาย | เมื่อวันอันตรายมาถึงตัว | ||
จูบสั่งลูกแก้วแววไว | อยู่ดูกาไก่พ่อทูนหัว | ||
เสือแผ้วแมวคราวจะเอาตัว | นอกรั้วกลัวมันอย่าออกไป | ||
ปั้นวัวควายเล่นแต่ในร่ม | ถูกต้องแดดลมจะล้มไข้ | ||
ลูกเอ๋ยมีกรรมก็จำไป | เงินเฟื้องเบี้ยไพก็ไม่มี | ||
ว่าพลางทางจับสาแหรกคาน | จากบ้านเข้าสู่ไพรศรี | ||
พุพองสองเท้าไม่มีดี | มเหสีเกียกกายชังตายไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
๏ บัดนั้น | เสนีผู้มีอัชฌาสัย | ||
เห็นนางกัลยาเจ้าคลาไคล | ทำเดินเข้าไปแต่ผู้เดียว | ||
ยืนมองร้องเรียกกุมารา | ออกมาหาน้าสักประเดี๋ยว | ||
เจ้านั่งเล่นอยู่แต่ผู้เดียว | ปั้นวัวควายเปลี่ยวไม่แงะงาม | ||
น้าเอามาฝากเป็นหนักหนา | ตุ๊กตาม้าไก่อยู่ในย่าม | ||
แต่ล้วนดีดีงามงาม | ในย่ามดีกว่าของเจ้าทำ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ได้ฟัง | พระสังข์หลงกลคนขำ | ||
ดีใจไว้เนื้อเชื่อคำ | ผลกรรมจะจากพระมารดา | ||
สำคัญว่าจริงไม่กริ่งใจ | หน่อไทไม่รู้ว่าหลอกหลอน | ||
เสนีพยักหน้ากวักกร | บังอรมิได้กลัวเกรง | ||
จริงจริงหรือขาน้าจะให้ | รูปร่างอย่างไรว่าเหมาะเหม็ง | ||
ลุกวิ่งทิ้งของของเอ็ง | เหมาะเหม็งอย่างไรจะใคร่แล | ||
อยู่ไหนจะให้ก็ใส่มือ | น้ารู้จักหรือกับพระแม่ | ||
ต่อเย็นจึงมาหาแก | นี่มาแต่ตำบลหนใด | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เสนาเห็นงงงวยก็ฉวยมือ | วิ่งฮิ่อกันมาหาช้าไป | ||
พระสังข์ตระหนกตกใจ | ร้องไห้เรียกหาตายาย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
๏ ตาร้องด่าพลันมิทันรู้ | ใครทำหลานกูไอ้ฉิบหาย | ||
วิ่งพันกันมาทั้งตายาย | เห็นเขาวุ่นวายก็ตกใจ | ||
ระรัวตัวสั่นดังตีปลา | กลับวิ่งหนีมาหาช้าไม่ | ||
ปากตัวกูชั่งเป็นพ้นไป | ด่าให้หากเขามิได้ยิน | ||
เสนาท่านมาแต่ในเมือง | ราวเรื่องเขารู้อยู่สิ้น | ||
เรามาเลี้ยงดูให้อยู่กิน | สืบสาวเอาสิ้นจะถึงใคร | ||
เข้าในใต้ร้านฟักทอง | ตาลอดลอดมองแล้วร้องไห้ | ||
สงสารหลานน้อยกลอยใจ | ค่อยค่อยร่ำไรมิให้ดัง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์กุมารน้อยหอยสังข์ | ||
จะร้องไห้เท่าไรเขาไม่ฟัง | อีกทั้งตายายก็หายไป | ||
แม่เจ้าประคุณของลูกยา | เมื่อไรจะมาแต่ป่าใหญ่ | ||
พวกเผ่าเหล่าโลนโจรไพร | จับลูกทำไมไม่รู้เลย | ||
ข้ามีแต่ผักฟักแฟง | เอาไปแกงกินบ้างเถิดน้าเอ๋ย | ||
เงินทองของดีไม่มีเลย | ลุงตาน้าเอ๋ยได้เอ็นดู | ||
แม่ข้ายากจนเป็นพ้นนัก | มีแต่ฟืนผักอักโขอยู่ | ||
พลัดบ้านเมืองมาน้าก็รู้ | เอ็นดูบาปกรรมอย่าทำเรา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เสนีเดินหน้าน้ำตาไหล | สุดใจปากคอแล้วพ่อเจ้า | ||
น้าใช่พวกไพรใจเบา | ข้าเฝ้าเจ้านายท่านใช้มา | ||
ให้พาตัวเจ้าเข้าไป | พ่ออย่าร้องไห้ฟังน้าว่า | ||
ปลอบพลางทางอุ้มกุมารา | ขึ้นใส่บนบ่าแล้วพาไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นมาถึงวัดท้ายเมือง | ลือเลื่องบกเรือเหนือใต้ | ||
หยุดพักสำนักที่ต้นไทร | เอาใจปลอบโยนกุมารา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายฝูงหญิงชายประชาชน | เกลื่อนกล่นพรั่งพรูมาดูหน้า | ||
งุบงิบซุบซิบกันเจรจา | ว่าเหมือนผ่านฟ้าเป็นพ้นไป | ||
กำเนิดเกิดเป็นเช่นี้ | มิควรที่พระองค์จะสงสัย | ||
แต่เรารู้แจ้งไม่แคลงใจ | ดูไหนไม่ผิดพระบิดา | ||
สงสารเวทนาน่ารัก | ยังเด็กเล็กนักหนักหนา | ||
บ้างให้กล้วยอ้อยน้อยหน่า | ข้าวปลาขนมนมเนย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ฝ่ายพระกุมารชาญชัย | รับของมาไว้ไม่เสวย | ||
น้ำตาหลั่งไหลไม่เสบย | น้าเอ๋ยข้าคิดถึงมารดร | ||
ขนมท่านให้ยังไม่กิน | กลับบ้านถิ่นของข้าก่อน | ||
จะได้แบ่งปันให้มารดร | อ้อนวอนเสนาให้พาไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เสเอยเสนา | ฟังถ้อยคำว่าน้ำตาไหล | ||
ปลอบว่าพ่ออย่าร่ำไร | เย็นหน่อยค่อยไปพนาวา | ||
หาองค์สมเด็จพระมารดร | หลับนอนเสียงบ้างฟังข้าว่า | ||
หาไม่ก็ไม่ไคลคลา | ถ้าแม้นนิทราจะพาไป | ||
ว่าพลางทางปูผ้าผ่อน | ขับต้อนคนผู้ไม่อยู่ใกล้ | ||
ล่อลวงหลอกหลอนให้นอนไป | หมายใจเสนาจะฆ่าตี | ||
อาเพศด้วยเดชกุมารา | เทวารักษาพระไทรศรี | ||
ออกช่วยป้องกันทันที | เมื่อเสนีมันทุบด้วยท่อนจันทน์ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ พระสังข์ตกใจตื่นฟื้นผวา | กึกก้องร้องจ้าไม่อาสัญ | ||
น้าทำไมนี่มาตีรัน | ขึ้งโกรธโทษทัณฑ์ด้วยอันใด | ||
แม่เจ้าประคุณของลูกยา | จะติดตามลูกมาก็หาไม่ | ||
ลูกรักจักม้วยบรรลัย | โจรไพรไปลวงมาฆ่าตี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาน้ำตาไหลรี่ | ||
เหตุไรไม่ม้วยชีวี | เสนีกลัวราชอาชญา | ||
บอกว่าตัวน้าไม่ชิงชัง | รับสั่งให้ลงโทษา | ||
เป็นผลกรรมพ่อทำมา | อย่าเป็นเวรากับข้าไป | ||
ว่าพลางทางถอดหอกดาบเมียง | เดินเคียงเข้ามาหาช้าไม่ | ||
พระสังข์ตระหนกตกใจ | ร้องไห้เกลือกกลิ้งวิงวอน | ||
เสนาขืนทำด้วยจำเป็น | หอกหักกระเด็นเป็นสองท่อง | ||
ดาบบิ่นสิ้นคมระทมบอน | มิได้ม้วยมรณ์เร่งสงกา | ||
เหตุไรมาเป็นเช่นนี้ | เสนีตริตรึกแล้วปรึกษา | ||
ของดีจะมีในกายา | ฟันฆ่าอย่างไรจึงไม่ตาย | ||
เห็นวิปริตผิดประหลาด | รับสั่งให้พิฆาตมาดหมาย | ||
ตามแต่จะฆ่าให้วอดวาย | มิตายไม่พ้นพระอาญา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เสนีคิดพร้อมยอมกัน | เบิกช้างน้ำมันตัวกล้า | ||
แก้ปลอกกรอกเหล้าแล้วเอามา | มิช้าก็ไสให้ทิ่มแทง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ช้างร้องระรัวตัวสั่น | งาดันปักดินดิ้นแหยง | ||
ควาญไสเท่าไรก็ไม่แทง | ยิ่งคิดยิ่งแหนงแคลงใจ | ||
วิปริตผิดกาลกิณี | ของดีจะมีก็หาไม่ | ||
บุญญาธิการชาญชัย | จึงทำอย่างไรไม่ม้วยมรณ์ | ||
จำเราจะเข้าไปทูลแถลง | ให้แจ้งแห่งน้ำพระทัยก่อน | ||
เอาช้างส่งยังโรงกุญชร | ผันผ่อนเฝ้าองค์พระทรงชัย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาถึงจึงเห็นพระผ่านฟ้า | กับนางจันทาพิสมัย | ||
ออกนั่งยังหน้าบัญชรชัย | เข้าไปบังคมคัลทันที | ||
จึงทูลสมเด็จภูวนาถ | ขอพระบาทจงโปรดเกศี | ||
ซึ่งใช้ให้ไปป่าพนาลี | บัดนี้ก็จับได้ตัวมา | ||
ทำตามรับสั่งให้สังหาร | กุมารชาญชัยไม่สังขาร์ | ||
หลากจิตผิดคนทั้งโลกา | สาตราอาวุธก็หักไป | ||
จึงเอาช้างร้ายเข้าให้แทง | งาปักดินแหยงไม่แทงได้ | ||
บัดนี้ชุมนุมคุมตัวไว้ | ภูวไนยจงทราบบาทบงสุ์ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ฟังเอยฟังเหตุ | บิตุเรศรำพึงตะลึงหลง | ||
หลากจิตผิดใจให้งวยงง | เร่งคิดพิศวงสงกา | ||
อัศจรรย์ต้องกันกับหอยปู | ลูกกูจริงจังกระมังหนา | ||
วิปริตผิดคนในโลกา | เป็นมาแต่ต้นจนปลาย | ||
เสนาเอ็งว่าให้มั่นคง | เราสงสัยอยู่ไม่รู้หาย | ||
เมื่อพบประสบลูกชาย | มีใครใกล้กรายกุมารา | ||
รินเรียงเคียงบ้านมารดร | หลับนอนกินอยู่สู่หา | ||
รูปทรงส่งศรีกิริยา | กุมาราประมาณสักปานใคร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาทูลแจ้งแถลงไข | ||
เมื่อพบโฉมงามทรามวัย | ที่ในบ้านไร่ไพรวัน | ||
มีเรือนตาเฒ่ายายแก่ | แคร่ริมชายคาฝากั้น | ||
กระท่อมของเจ้าสักเท่านั้น | เห็นแต่จอมขวัญกับลูกยา | ||
ไม่มีผู้ใดมาใกล้กราย | อยู่จนโฉมฉายออกไปป่า | ||
จึงเข้าจับกุมกุมารา | ร้องอ้อนวอนว่าน่าปรานี | ||
เรียกหาตาเฒ่าเจ้าเรือน | ต่างคนต่างเชือนเอาตัวหนี | ||
เด็กนักสักห้าหกปี | เหมือนพระภูมีดังพิมพ์เดียว | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ฟังทูล | พระอาดูรในจิตคิดเฉลียว | ||
แน่แล้วลูกแก้วพ่อคนเดียว | จึงเหลียวถามพลันกับจันทา | ||
น้องรักเจ้าจะเห็นเป็นไฉน | พี่จะให้ไปรับโอรสา | ||
กับนางนงเยาว์เจ้าเข้ามา | สิ้นเคราะห์พาราที่กาลี | ||
โหราดูว่าเป็นมนุษย์ | จะสูงสุดเฟื่องฟุ้งทั้งกรุงศรี | ||
ลูกข้าบุญญาบารมี | ล้างผลาญชีวีจึงไม่ตาย | ||
แล้วตรัสสั่งเสนาพฤฒามาตย์ | เอ็งเร่งประกาศบาตรหมาย | ||
รับนางกัลยาที่ตายาย | กับลูกชายของเราให้เข้ามา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาทูลทัดขัดว่า | ||
เป่ามนต์จนสิ้นตำรา | ร้องห้ามเสนาอย่าเพ่อไป | ||
พระองค์หลงรับมันมาเถิด | จะก่อเกิดความเข็ญหาเห็นไม่ | ||
แต่เป็นหอยสังข์ยังจัญไร | กลับเป็นคนไปอย่าชื่นชม | ||
มิใช่มนุษย์แต่ผลุดมา | ว่ามีบุญญาไม่เห็นสม | ||
มันจะให้บ้านเมืองเคืองระทม | ด้วยผิดบูรมบูราณไป | ||
ฆ่าฟันมันจึงไม่ปลดปลง | จะมาล้างพระองค์ให้จงได้ | ||
แม้นทอดทิ้งลงคงคาลัย | มีบุญจริงไซร้คงไม่ตาย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ฟังเอยฟังความ | ครั่นคร้ามขามจิตคิดหมาย | ||
จริงแล้วเมียแก้วเจ้าทักทาย | เสนาทั้งหลายอย่าไปเลย | ||
มันคือตัวการมาผลาญกู | จริงอยู่เขาว่าเสนาเอ๋ย | ||
เราหลงไหลไปกระไรเลย | หากนางทรามเชยเจ้าตักเตือน | ||
เนื้อเย็นควรเป็นมเหสี | ปัญญาพาทีไม่มีเหมือน | ||
เสนาดูแลอย่าแชเชือน | ตักเตือนจองจำให้มั่นคง | ||
พรุ่งนี้แกกูจะดูไป | บุญมันฉันใดไม่ผุยผง | ||
ว่าพลางทางชวนนางโฉมยง | สององค์คืนเข้าปราสาทชัย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางจันท์มารดาอยู่ป่าใหญ่ | ||
เขม่นเนตรเหตุมีไม่แจ้งใจ | เก็บได้ผักฟืนก็คืนมา | ||
หาบเดินดำเนินมาตามทาง | นกกาลางบินลัดสกัดหน้า | ||
เศียรพองสยองโลมา | ตรึกตราหวาดหวั่นพรั่นใจ | ||
หาวนอนอ่านเศียรให้เวียนวัง | ยืนนิ่งพิงหลับกับไม้ใหญ่ | ||
ฝันว่าขุนมารชาญชัย | ตัดเอาเกล้าไปไม่ปรานี | ||
หาบหกตกผลุกสะดุ้งตื่น | นางฝืนองค์สั่นขวัญหนี | ||
จิตผูกลูกแก้วแล้วโศกี | จับหาบตะลีตะลานมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ถึงเรือนเรียกลูกด้วยผูกพัน | ยังมิทันปลงหาบลงจากบ่า | ||
เจ้าไปไหนไม่ขานพระมารดา | ส้มสูกลูกหว้าพ่อมาเอา | ||
ทิ้งหาบวาบใจเข้าในทับ | งามสรรพเปิดห้องมองเปล่า | ||
ดังใครมาแขวะแคะเอา | ล้วงดวงใจเจ้าไปจากองค์ | ||
ทูนหัวของแม่หายไปไหน | หลากใจให้คิดพิศวง | ||
ปั้นวัวควายเล่นอยู่เป็นวง | หรือพ่อลงเรือนไปแห่งไร่นา | ||
ขวายขวนชลนัยน์เจ้าฟูมฟอง | แลเหลียวเที่ยวมองร้องหา | ||
เต้เคร่งเต่งทรวงของมารดา | กินนมแม่ราพ่อยาใจ | ||
ใต้ต้นสะดือลมอื้อเย็น | ลูกเอ๋ยเคยเล่นหาเห็นไม่ | ||
ผีเสื้อเสือสางที่กลางไพร | เอาลูกข้าไปหรือไรนา | ||
วู่วามมาถามตายาย | หลานชายไปไหนไม่เห็นหน้า | ||
หาจบไม่พบพระลูกยา | อยู่ที่ยายตาหรือว่าไร | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สองเฒ่าเล่าพลางร้องไห้ | ||
แม่อย่าค้นคว้าหาไป | สุดใจยายตาจะป้องกัน | ||
เสนาท่านมาแต่ในกรุง | แย่งยุ่งอลหม่านพระหลานขวัญ | ||
ใส่บ่าพาไปแต่กลางวัน | ไม่รู้ว่าโทษทัณฑ์ประการใด | ||
เห็นทีจะมีรับสั่ง | เมียผัวกลัวดังจะตักษัย | ||
มุดนอนซ่อนดูอยู่แต่ไกล | ดังจะขาดใจม้วยด้วยหลานยา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ได้ยิน | ล้มผางกลางดินไม่เงยหน้า | ||
สองกรข้อนทรวงเข้าโศกา | กัลยากลิ้งเกลือกเสือกองค์ | ||
แน่ไปไม่ได้สมประดี | เกศีติดต้องละอองผง | ||
ตายายนวดฟื้นคืนคง | โฉมยงจับมีดกรีดคอ | ||
ตาฉวยยายชิงทิ้งขว้าง | นางง้างเถาวัลย์จะพันศอ | ||
สองเฒ่าเข้าปล้ำน้ำตาคลอ | แก้จากคอนางพลางร่ำไร | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ นางทุ่มทอดกายสยายเกศ | ชลเนตรแถวถั่งหลั่งไหล | ||
พ่อคุณทูนหัวแม่หนักใจ | อัศจรรย์หวั่นไหวแต่ในดง | ||
แม่รีบมาไม่เห็นหน้าเจ้า | ดังใครตัดเกล้าให้ผุยผง | ||
ลูกแก้วไม่แคล้วจะปลดปลง | มั่นคงทั้งนี้อีจันทา | ||
แม่ไม่ขออยู่จะสู้ม้วย | จะตายตามไปด้วยพระลูกข้า | ||
ครวญคร๋ำทางร่ำพรรณนา | โศกาแน่นิ่งไม่ติงกาย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | นางจันท์กัลยาโฉมฉาย | ||
คิดพลางทางผลุนวุ่นวาย | ตายายห้ามไว้ก็ไม่ฟัง | ||
ค่ำมืดดึกดื่นก็ตามที | ตายเป็นเห็นผีพ่อหอยสังข์ | ||
วิ่งหนีตายายเข้าในวัง | คลุ้มคลั่งพระทัยร้องไห้มา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ สิบห้าวันกันดารฝูงคน | เทพย่นหนทางที่กลางป่า | ||
คืนหนึ่งมาถึงพระพารา | แฝงฟังกิจจาพระลูกชาย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยศวิมลฤาสาย | ||
ไสยาสน์เหนืออาสน์พรรณราย | ไม่วายคำนึงถึงลูกยา | ||
หรือจะเป็นหน่อเนื้อเชื้อไข | จึงล้างผลาญอย่างไรไม่สังขาร์ | ||
วิปริตผิดคนในโลกา | บุญญาธิการชาญชัย | ||
จำกูจะดูกุมารา | รูปร่างหน้าตาเป็นไฉน | ||
พระมิได้บรรทมภิรมย์ใน | จนรุ่งแจ้งแสงใสพรายพรรณ | ||
เข้าที่ชำระสระสรง | สำอางค์องค์ทรงเครื่องแล้วผายผัน | ||
เสด็จออกยังท้องพระโรงคัล | จันทรเฉิดฉันก็ตามไป | ||
จึงดำรัสตรัสแก่เสนี | เรานี้ยังพะวงสงสัย | ||
กุมารารูปร่างนั้นอย่างไร | เสรีเร่งไปเอาตัวมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่ามหาเสนี | รับสั่งวางรี่ออกไปหา | ||
เบิกพระกุมารพลันมิทันช้า | แล้วพามาเฝ้าองค์พระทรงชัย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยศวิมลเป็นใหญ่ | ||
ผาดเห็นลูกยาเข้ามาใน | ท้าวไทพิศเพ่งเล็งแล | ||
ทรวดทรงส่งศรีนรลักษณ์ | พิศพักตร์ผ่องช่วงดังดวงแข | ||
แก้มเนตรเกศกรรณผันแปร | ดูละม้ายคล้ายแม่ที่ขับไป | ||
ทั้งจริตกิริยามารยาท | เชื้อชาติผู้ดีไม่มีไพร่ | ||
พระจึงดำรัสตรัสไป | เราไซร้ขอถามกุมารา | ||
เดิมเหตุเภทพาลประการใด | เป็นไฉนจึงได้ไปอยู่ป่า | ||
พ่อแม่ชื่อไรไฉนนา | ชันษาเจ้าได้สักกี่ปี | ||
เราเห็นใช่ทรพลเป็นพ้นนัก | เห็นสมศักดิ์พักตราเป็นราศี | ||
บอกพ่อเถิดราอย่าโศกี | เจ้านี้มีนามกรใด | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ไหว้พลางทางร้องไห้ | ||
แม่ข้าอยู่ป่าพนาลัย | เก็บผักหักไม้ด้วยยากจน | ||
แม่ข้าว่าพ่อเสวยวัง | เกิดมาข้ายังไม่เห็นหน | ||
แม่ข้าคลอดมาประหลาดคน | หอยสังข์บังตนข้าออกมา | ||
คนยุบิดาให้ขับไล่ | แม่ข้าพาไปอยู่ในป่า | ||
อยู่หลังข้าออกจากสังข์มา | มารดาตีแตกให้แหลกไป | ||
แม่ข้าชื่อจันท์เทวี | ข้านี้ชื่อสังข์ตามวิสัย | ||
ด้วยความยากจนเป็นพ้นใจ | ข้านี้เขาไปจับเข้ามา | ||
ลุงหรือเขาลือว่าเป็นเจ้า | ใช้เขาไปจับเอาตัวข้า | ||
กริ้วโกรธโทษภัยไฉนนา | จำจองขื่อคาดังข้าไท | ||
ลุงโปรดปล่อยข้าไปหาแม่ | ป่านนี้ตั้งแต่จะร้องไห้ | ||
ใครจะช่วยหาหม้อก่อไฟ | เฝ้าทับขับไล่ไก่กา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ ได้ฟัง | ชลเนตรไหลหลั่งทั้งซ้ายขวา | ||
แน่แล้วลูกแก้วของพ่ออา | ให้ถอดลูกยาออกทันใด | ||
รับมาใส่ตักแล้วชมเชย | ลูกเอ๋ยมาเป็นเช่นนี้ได้ | ||
สงสารมารดามาแต่ไพร | ไม่เห็นจะไห้โศกี | ||
จูบพักตร์ลูบพลางทางรับขวัญ | ทรงธรรม์ไม่วายกันแสงศรี | ||
ลืมคำจันทาพาที | ภูมีพิศวาสเพียงขาดใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาตัวเข็ญเป็นใหญ่ | ||
เดือดฟุ้งพลุ่งพล่านทะยานใจ | เข้าใกล้แฝงหลังบังองค์ | ||
ว่ายมนต์เป่าพลางทางทูลมา | อนิจจาผ่านฟ้านี้คนหลง | ||
เหตุไรจึงให้งวยงง | หลงเชื่อฟังมันฉันใด | ||
เพลิงกาฬจะมาผลาญพระบุรี | เพราะลูกคนนี้หรือมิใช่ | ||
แม้นมิถ่วงลงคงคาลัย | ภูวไนยจะม้วยมรณา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ฟังเมียแก้ว | จริงแล้วลืมเสียที่เจ้าว่า | ||
เสื่อมสร่างวางองค์พระลูกยา | เหวยเหวยเสนาเอาตัวไป | ||
ผูกมัดรัดถ่วงให้มรณา | จะงดใว้ช้านานไม่ได้ | ||
เพลิงกาฬจะมาผลาญเอาเวียงชัย | เร่งไปบัดนี้อย่าได้ช้า | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนารับสั่งใส่เกศา | ||
เคืองแค้นแสนสันนางจันทา | กระซิบด่าในใจใม่เว้นคน | ||
พระทรงฤทธิ์ผิดกว่าแต่ก่อน | กลับกลอกยอกย้อนไม่เป็นผล | ||
กลัวพระกาฬจะมาผลาญอยู่ลานลน | ต่างคนต่างพาเอาตัวไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าสังข์ทองเจ้าร้องจ้า | น้าขาจะพาข้าไปไหน | ||
ทุบตีฆ่าฟันหรือฉันใด | ข้าไหว้อย่าพาข้าไปเลย | ||
ลุงเจ้าขาจงมาช่วยฉันด้วย | ลูกจะม้วยจริงแล้วพ่อคุณเอ๋ย | ||
แม่ข้าไม่มาตามลูกเลย | ลุงตาน้าเอ๋ยไม่เห็นใคร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าองค์พระบิตุเรศ | สังเวชไม่กลั้นกันแสงได้ | ||
ตรัสสั่งมหาเสนาใน | อย่าพาไปเลยเจ้าเอากลับมา | ||
จันทาทูลพลันทันที | ตรัสเล่นเช่นนี้ดีหนักหนา | ||
แม้นมิถ่วงมันให้มรณา | ข้าจะกินยาตายไม่อยู่เลย | ||
พระดำรัสตรัสสั่งเสนี | เอาไปเถิดสิเสนาเอ๋ย | ||
เอาไว้กูไม่สบายเลย | กรรมเอ๋ยเวรใดได้ทำมา | ||
ล้างผลาญอย่างไรก็ไม่ม้วย | กูจะไปดูด้วยเมื่อเข่นฆ่า | ||
สั่งพลางชวนนางจันทา | เสนานำไปที่หน้าแพ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เสนาจูงมาผูกมัด | ฝูงคนแออัดอยู่เซ็งแซ่ | ||
แล้วใส่นาวาไปหน้าแพ | ด้วยกระแสรับสั่งพระภูวไนย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โล้ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางจันท์ชนนีศรีใส | ||
ได้ข่าวลูกแก้วแววไว | ดังจะขาดใจตายด้วยลูกยา | ||
สองกรข้อนทรวงเข้าผางผาง | ดังนางจะม้วยสังขาร์ | ||
ผุดลุกหันหุนหมุนมา | ตรงไปยังท่าชลาลัย | ||
บาทาแตกคุพุพอง | หนามต้องตามติดหาปลิดไม่ | ||
ล้มลุกคลุกคลานทะยานไป | กลัวจะไม่เห็นองค์พระลูกยา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาถึงเห็นองค์พระลูกแก้ว | ทอดองค์ลงแล้วก็โหยหา | ||
เสือกสนบนฝั่งชลธาร์ | ไม่รู้ว่าจะทำประการใด | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายองค์พระสังข์กุมารน้อย | ตั้งแต่ละห้อยโหยไห้ | ||
แลเห็นมารดามาแต่ไกล | ดีใจร้องเรียกพระมารดา | ||
แม่คุณจงช่วยลูกด้วยที | เขาผูกมัดรัดตีแล้วทุบด่า | ||
แล้วมิหนำซ้ำมัดรัดกรมา | มารดานิ่งได้ไม่ปรานี | ||
เขาจะโยนลูกลงในคงคา | ไม่ช้าจะม้วยไปเป็นผี | ||
แม่วานเขาส่งลงมาที | ชนนีนิ่งได้ไม่เอ็นดู | ||
ลูกอยากขนมนมแม่ | น้าแก้ปล่อยให้ไปสักครู่ | ||
เสนาน้ำตาลงไหลพรู | ที่พาลข่มขู่ด้วยกลัวภัย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ฟังลูกว่า | มารดาข้อนทรวงเข้าร้องไห้ | ||
มิได้คิดชีวิตจะขาดใจ | จะโจนน้ำลงไปมิได้นาน | ||
คนดูที่รู้จักองค์ | ยุดห้ามโฉมยงด้วยสงสาร | ||
นางเสือกเกลือกกลิ้งกับดินดาน | เยาวมาลย์ข้อนทรวงเข้าโศกี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ แล้วแลเห็นองค์ผัวขวัญ | ยอกรอภิวันท์เหนือเกศี | ||
ลูกข้ากระจิริดผิดไม่มี | ขอประทานชีวีพระลูกชาย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยศวิมลฤาสาย | ||
พะว้าพะวงไม่ตั้งกาย | แว่วเสียงโฉมฉายเจ้าเรียกมา | ||
ชะแง้แลเห็นมเหสี | เทวีบังคมเหนือเกศา | ||
จำได้มั่นคงไม่สงกา | พระราชาพยักกวักกร | ||
เร่งเรียกสำเหนียกแก่เสนา | ให้ถอยนาวาเข้ามาก่อน | ||
เสนากลับท้ายพายคอน | จันทาโบกกรไปทันที | ||
ไม่กลัวหัวจะขาดหรือไฉน | โยนมันลงไปให้เป็นผี | ||
ไว้ใยให้นานจนป่านนี้ | อ้ายนี่ขัดรับสั่งหรือฉันใด | ||
เสนาตกใจอยู่ลนลาน | อุ้มพระกุมารมาหาช้าไม่ | ||
ผูกหินโยนพลันทันใด | สองกษัตริย์สลบไปทั้งสองรา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิดฉิ่ง โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | จันทาดีใจเป็นหนักหนา | ||
เห็นพระสลบซบพักตรา | ต้องดูรู้ว่าไม่บรรลัย | ||
เอาน้ำสุคนธามาลูบพักตร์ | ผัวรักค่อยฟื้นคืนมาได้ | ||
ร่ายมนต์เป่าพลางทางทูลไป | จะโศกาอาลัยไปไยมี | ||
เชื่อว่าบุญหนักศักดิ์ใหญ่ | พอโยนลงไปก็เป็นผี | ||
มันเสี้ยนทรชนคนไพรี | แม้นดีลูกชายจะตายไย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระภูวดลยังหม่นไหม้ | ||
แสนสงสารบุตรนั้นสุดใจ | น้ำพระเนตรหลั่งไหลลงนองแนว | ||
ขุ่นข้องต้องมนต์ของจันทา | เสื่อมสร่างวิญญาณ์ถึงน้องแก้ว | ||
เจ้าว่าถูกทุกสิ่งจริงแล้ว | คลาดแคล้วคืนหลังเข้าวังใน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ บัดนั้น | ฝูงคนถ้วนหน้าน้ำตาไหล | ||
แลเห็นโฉมงามทรามวัย | เกลือกกลิ้งนิ่งไปไม่ไหวองค์ | ||
จึงวักตักเอาชลธี | ประพรมโฉมศรีไม่ผุยผง | ||
ครั้นเจ้าค่อยฟื้นคืนคง | ปลอบโยนโฉมยงให้ไคลคลา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมศรีมีจิตคิดโหยหา | ||
ชะแง้แลดูพระลูกยา | นางข้อนอุราเข้าร่ำไร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอ้ร่าย | |||
๏ พ่อคุณทูลกระหม่อมของแม่เอ๋ย | ทรามเชยทิ้งแม่ให้โหยไห้ | ||
เช้าเย็นแม่จะเห็นหน้าใคร | ดังกาเหยี่ยวเฉี่ยวไปก็เหมือนกัน | ||
ลูกเอ๋ยเคยรับพระมารดา | เมื่อมาแต่ป่าพนาสัณฑ์ | ||
พูดพลอดกอดแม่ไม่วายวัน | กินนมชมกันทุกเวลา | ||
ตัวกรรมันตามมาล้างผลาญ | พลัดบ้านเมืองแล้วยังมิสา | ||
ยังมิหน้ำซ้ำพรากจากลูกยา | อนิจจามีกรรมต้องจำไกล | ||
รำพันพลางนางลาคนทั้งปวง | เจ้าเหงาง่วงเดินมาน้ำตาไหล | ||
เปล่าจิตผิดทางชังตายไป | ดั้นด้นพงไพรร้องไห้มา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์โอดโอยโหยหา | ||
จมลงตรงปล่องนาคา | ฟุมฟายน้ำตาจาบัลย์ | ||
แม่เจ้าประคุณทูลกระหม่อมแก้ว | จะกลิ้งเกลือกอยู่แล้วเป็นแม่นมั่น | ||
เพราะแม่ต่อยหอยสังข์ไม่ยั้งทัน | จึงพลัดพรากจากกันกับลูกยา | ||
ที่นี้จะได้ผู้ใดเล่า | อยู่ด้วยช่วยผ่านเกล้าเฝ้าเคหา | ||
อยู่ทับขับไล่ไก่กา | แม่มาเย็นเย็นจะเห็นใคร | ||
ว่าพลางทางซบเกศเกล้า | คิดถึงแม่เจ้าแล้วร้องไห้ | ||
สลบซบซอนอ่อนใจ | อยู่ในใต้น้ำไม่ทำลาย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ตอนที่ ๓ นางพันธุรัตเลี้ยงพระสังข์
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวภุชงค์องค์สหาย | ||
กับดักกระตักโหรคนทาย | ล้ำเลิศเพริศพรายในบาดาล | ||
ปรากฎพระยศศักดิ์ศรี | บรรดานาคีไม่ต่อต้าน | ||
ศาลารักษาศีลทาน | อยู่ใต้บาดาลพิมานชัย | ||
เทพเจ้าเข้าในใจดล | ท่านท้าวกำพลหม่นไหม้ | ||
ด้วยพระสังข์ทองยองใย | ลำบากยากใจในคงคา | ||
จะใคร่ไปตามวิสัยนาค | ออกจาเปลวปล่องช่องผา | ||
ระวังตัวด้วยกลัวครุฑา | ทอดตาเหลียวดูมาแต่ไกล | ||
ฯ ๘ คำ ฯ กลม | |||
๏ เที่ยวเล่นมาเห็นกุมาร | นอนจมดินดานธารไหล | ||
เห็นศิลาผูกมาก็แจ้งใจ | ลูกใครทิ้งถ่วงลงคงคา | ||
โฉมศรีบริสุทธิ์มนุษย์น้อย | กระจ้อยร่อยน่ารักหนักหนา | ||
ภุชงค์สงสารกุมารา | เข้าต้องดูรู้ว่าไม่บรรลัย | ||
จับกรช้อนองค์เห็นกงจักร | น้อยหรือบุญหนักศักดิ์ใหญ่ | ||
จะเกิดเหตุเภทพาลประการใด | ใครช่างทำได้ไม่ปรานี | ||
จะเอาเจ้าไปไว้เป็นลูกยา | เห็นว่าบุญหนักศักดิ์ศรี | ||
แล้วแก้ศิลาพลันทันที | นาคีอุ้มพาไปบาดาล | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงวางบนแท่นแก้ว | ผ่องแผ้วปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | ||
บอกเมียรักพลันมิทันนาน | บริวารแวดล้อมอยู่พร้อมเพรียง | ||
พี่ไปได้มาแต่วารี | จมในชลธีไม่มีเสียง | ||
ช่วยแก้ไขให้คืนจะได้เลี้ยง | กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไว้เอาบุญ | ||
ว่าพลางตั้งสัตย์อธิฐาน | ถ้าบุญเรากับกุมารเคยอุดหนุน | ||
แต่ชาติหลังทั้งสองเคยค้ำจุน | เดชะบุญกุมารไม่วอดวาย | ||
เสี่ยงพลางพลางเอาสุคนธ์ทิพย์ | ลูบหลังดังหยิบให้เหือดหาย | ||
ค่อยฟื้นคืนสมประดีคลาย | โฉมฉายเป่ามนต์ด้วยฤทธี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสุวรรณสังข์เรืองศรี | ||
ฟื้นองค์หลงว่ายวารี | แลเห็นนาคีก็ดีใจ | ||
รูปร่างโสภาเป็นมนุษย์ | ทรงภุชบังคมประนมไหว้ | ||
ผินผันอั้นอ้นฉงนใจ | กล่าวความถามไปกับนาคา | ||
ข้าเจ้าเขาเอามาถ่วงน้ำ | บาปกรรมทำไว้เป็นหนักหนา | ||
ผู้ใดเอาข้าเจ้ามา | โปรดช่วยชีวาให้คืนคง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวนาคีมีจิตพิศวง | ||
ตรัสถามเนื้อความไปโดยจง | เจ้าเชื้อแถวแนววงศ์พระองค์ใด | ||
ใครเล่าถ่วงเจ้าลงวารี | โฉมศรีโทษทัณฑ์นั้นไฉน | ||
เราช่วยจึงไม่ม้วยลรรลัย | จึงพามาไว้ในบ้านเมือง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์เล่าความตามเรื่อง | ||
บิดาข้าไซร้ได้ผ่านเมือง | ราวเรื่องแม่ว่าให้ข้าฟัง | ||
เมียน้อยมันชื่อนางจันทา | มารดาคลอดข้าเป็นหอยสังข์ | ||
เขาขับไล่ให้ไปอยู่ไพรรัง | มันชิงชังทูลว่าข้าจัญไร | ||
อยู่หลังข้าออกมานอกหอย | เขาคอยจับข้าหาช้าไม่ | ||
ทุบตีฆ่าฟันไม่บรรลัย | จึงให้ถ่วงข้าลงสาคร | ||
บอกพลางทงทรงโศกี | คิดถึงชนนีสะอื้นอ้อน | ||
พระองค์ช่วยส่งให้มารดร | วิงวอนร่ำไห้อยู่ไปมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวภุชงค์สงสารเป็นหนักหนา | ||
ได้ฟังทั้งนางนาคา | เสน่หาฟักฟูมอุ้มองค์ | ||
บุญญาธิการก็มากมี | จึงเข่นฆ่าร้าตีไม่ผุยผง | ||
แกล้งเดียดฉันท์กันเป็นมั่นคง | ยุยงชิงชังว่าจังไร | ||
อยู่ด้วยแม่เถิดจะเลี้ยงเจ้า | ร่วมวันขวัญข้าวอย่าโหยไห้ | ||
ชนนีเจ้านั้นมิบรรลัย | นานไปจะพบประสบกัน | ||
จึงให้ชำระสระล้าง | ล้อมข้างดังนางในสวรรค์ | ||
เอมโอชโภชนาสารพัน | นึกสิ่งใรนั้นก็มีมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายท้าวภุชงค์ทรงศักดิ์ | คิดถึงแม่รักยักษา | ||
อย่าเลยจะให้กุมารา | ไปเป็นบุตรายาใจ | ||
ผัวตายเป็นม่ายมาช้านาน | ลูกหลานยักษีหามีไม่ | ||
จึ่งบอกพระสังข์ทองยองใย | พ่อไซค้มิใช่เป็นมนุษย์ | ||
ถึงรักเจ้าเอาไว้ไม่ได้ด้วย | จะชูช่วยบำรุงให้สูงสุด | ||
ไปกว่าบิดาจะม้วยมุด | สิ้นสุดทุกข์ภัยที่ได้มา | ||
เจ้าคิดถึงบิดาจะมาถึง | ครู่หนึ่งบัดใจจะไปหา | ||
ว่าพลางทางสั่งนาคา | ตกแต่งกายาให้อ่าองค์ | ||
ทองกรอ่อนห้อยสร้อยสะอิ้ง | เพริศพริ้งเฟื่องฟูดูระหง | ||
นาคาข้าพร้อมล้อมวง | อุ้มองค์พามาจากบาดาล | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ขึ้นจากฟากฝั่งพระสมุทร | พ้นแดนมนุษย์สุดสถาน | ||
ริมสะดือทะเลคะเนการ | หมายมุ่งกรุงมารไม่ใกล้ไกล | ||
จึงนฤมิตด้วยฤทธา | เป็นมหาสำเภาทองผ่องใส | ||
โภชนาสารพันทันใด | พร้อมไปในลำสำเภาทอง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ ตระ | |||
๏ จึงอุ้มลูกน้อยกลอยสวาท | นาคราชทูนเกล้าเศร้าหมอง | ||
วางไว้ในลำสำเภาทอง | ทั้งสองโศกาด้วยปรานี | ||
แล้วเอาแผ่นสุวรรณบันทึก | จารึกเป็นราชสารศรี | ||
สั่งลูกชายพลันทันที | จงส่งให้ยักษีที่ลงมา | ||
แล้วเธอตั้งสัตย์อธิษฐาน | ขุนมารอันคิดริษยา | ||
จะจับลูกอย่าให้ถูกลำเภตรา | ให้ตรงซึ่งพาราอย่าขัดไป | ||
เสี่ยงพลางทางเลือกสำเภาทอง | ลอยล่องในท้องทะเลใหญ่ | ||
สงสารลูกแก้วแววไว | แล้วกลับหลังวังในสู่ไพชน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสุวรรณสังข์ระเหระหน | ||
คว้างเคว้งมาในกลางทะเลวน | ทุกข์ทนแลเหลียวเปลี่ยวใจ | ||
มีอยู่แต่น้ำกับฟ้า | จะแลเห็นฝั่งฝาก็หาไม่ | ||
ดูเป็นหมอกมัวออกทั่วไป | หวั่นไหวไม่เคยไปมา | ||
เห็นฉนากฉลามตามกัน | ดาษดื่นหมื่นพันล้วนมัจฉา | ||
เงือกงูราหูเหรา | ทั้งกระโห้โลมาปลาวาฬ | ||
มังกรลอยล่องท้องน้ำ | คลื่นซัดซัดน้ำมาฉ่าฉาน | ||
คิดถึงพระแม่อยู่แดดาล | เหมือนม้วยวายปราณไปจากกัน | ||
ลูกรักพลัดไปแห่งใด | แม่อยู่หนไหนไม่ผายผัน | ||
มิตายใหญ่กล้าจะมาพลัน | เสาะหาแม่นั้นให้พบพาน | ||
ร่ำไรอยู่ในเภตรา | เทวาพิศวงน่าสงสาร | ||
ช่วยส่งให้ตรงเมืองมาร | เข้ายังสถานด่านแดน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ บัดนั้น | กุมภัณฑ์ยักษาอยู่กว่าแสน | ||
ลาดตะเวณเกณฑ์กันปันแดน | แว่นแคว้นนางมารชาญชัย | ||
ยืนเยี่ยมหอคอยลอยลิ่ว | เห็นกระโดงธงทิวปลิวไสว | ||
แลลิบลิบพริบตามาไวไว | เข้าใกล้แลเห็นเป็นสำเภา | ||
คิดว่าข้าศึกมาฮึกฮัก | ขุนยักษ์วุ่นวายทั้งนายบ่าว | ||
ออกรับจะจับเอาสำเภา | เร่งป่าวร้องเสร็จระเห็จมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ กราว | |||
๏ ตรูกันลงหาดทรายชายฝั่ง | เห็นสำเภายังไม่กังขา | ||
ทองคำทั้งลำทำมา | คนในเภตราก็ไม่มี | ||
เห็นอยู่แต่กุมารน้อย | แช่มช้อยจรัสรัศมี | ||
แจ้งใจมิใช่ไพรี | ยักษีตรูกันมาทันใด | ||
เผ่นโผนโจนฉวยด้วยความอยาก | อ้าปากแลบลิ้นน้ำลายไหล | ||
เร่งรีบฉวยพลันทันใด | ประหลาดใจไม่ถูกเภตรา | ||
ทะลึ่งโลดโดดคว้าผวาเปล่า | เหมือนหนึ่งจับดาวในเวหา | ||
ลอยเด่นเห็นอยู่แก่ตา | ยักษากริ้วโกรธพิโรธใจ | ||
ดีด้วยกระบองก้องเวหา | จะถูกลำเภตราก็หาไม่ | ||
ล้อมรุมกลุ้มกันเข้าทันใด | เปล่าไปไม่ปะปะทะกัน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวรรณสังข์นรังสรรค์ | ||
เห็นหมู่อสูรกุมภัณฑ์ | คร้ามครั่นพรั่นอกตกใจ | ||
แต่ละตัวหัวพริกหยิกหยอง | ดำกาตาพองท้องใหญ่ | ||
เขี้ยวขาวยาวรีไม่มีใจ | คิดได้ถึงท้าวนาคี | ||
แล้วจึงตั้งสัตย์อธิษฐาน | อย่าให้ขุนมารยักษี | ||
มาทำอันตรายราวี | แก่ตัวข้านี้เลยนา | ||
คิดแล้วเท่านั้นมิทันนาน | จึงโยนแผ่นทองสารให้ยักษา | ||
แผ่นทองลอยละลิ่วปลิวมา | คอยท่ายักษีดังมีใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ ยักษาโลดโผนโจนจับ | กลอกกลับรับราชสารได้ | ||
คืนเข้าฝั่งพลันทันใด | หอบรวนหายใจอยู่ไปมา | ||
จึงรู้สาราที่จารึก | มิใช่ข้าศึกจึงปรึกษา | ||
สารทองของท้าวเจ้านาคา | เภตราเขียนลายระบายทอง | ||
จำเพาะให้โฉมยงลงมารับ | เราจึงจู่จับมิได้ต้อง | ||
ปรึกษาแล้วนำเอาแผ่นทอง | นายรองระเห็จเตร็ดมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงซึ่งราชธานี | จึงนำสารศรีเข้าไปหา | ||
บอกแจ้งแถลงกิจจา | แก่ท่านมหาเสนาใน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เสนารับสารใส่พานแก้ว | คลาดแคล้วพามาหาข้าไม่ | ||
เข้าเฝ้านางมารชาญชัย | ที่ในพระโรงอันรูจี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ มาถึงจึงคลานเข้าไปเฝ้า | ก้มเกล้าบังคมเหนือเกศี | ||
แล้วทูลไปพลันทันที | ท้าวนาคีมีราชสารมา | ||
ให้ราชฑูตมนุษย์น้อย | ล่องลอยสำเภาไม่เข้าหา | ||
ทองคำทั้งลำทำมา | คนในเภตราก็ไม่มี | ||
จับต้องจะถูกก็หาไม่ | โยนให้แต่ราชสารศรี | ||
ผิดอย่างปางก่อนบห่อนมี | เทวีจงทราบพระบาทา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | นางพันธุรัตยักษา | ||
เร่งคิดถวิลจินตนา | ทูตถือสาราประหลาดใจ | ||
จึงสั่งสาวศรีที่หมอบเฝ้า | รับเอาสาราเข้ามาให้ | ||
แล้วอ่านดูพลันทันใด | ที่ในพระราชสารา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เอกบท | |||
๏ สารท้าวภุชงค์ทรงศักดิ์ | คิดถึงแม่รักยักษา | ||
แต่สหายวายปราณนานมา | ชั่วช้ามิได้มาเยี่ยมเยือน | ||
องค์ท้าวกุมภัณฑ์ที่บรรลัย | ความสมัครรักใคร่ใครจะเหมือน | ||
เจ้าน้อยใจที่ไม่เยี่ยมเยือน | รักเจ้าเท่าเทียมเหมือนกัน | ||
เป็นหญิงครองเมืองมณฑล | เสนีรี้พลจะเดียดฉันท์ | ||
เราไซร้ได้บุตรบุญธรรม์ | มนุษย์จ้อยน้อยนั้นถือสารไป | ||
เจ้าจงเลี้ยงไว้เป็นลูกรัก | เราเห็นบุญหนักศักดิ์ใหญ่ | ||
จะได้ครอบครองพระเวียงชัย | เลี้ยงไว้ค้ำชูแทนหูตา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ อ่านจบแจ้งในสารศรี | คิดถวิลยินดีเป็นหนักหนา | ||
เอาสารทูนเกล้าไว้มิได้ช้า | ขอบใจหนักหนาท้าวนาคี | ||
องค์ท้าวกุมภัณฑ์ที่บรรลัย | ยังคิดรักใคร่ไม่หน่ายหนี | ||
ซื่อตรงต่อองค์พระสามี | คุณของนาคียังบิดา | ||
แล้วตรัสแก่มหาเสนาใน | ใครเห็นอย่างไรให้ปรึกษา | ||
มนุษย์น้อยจ้อยในเภตรา | นาคาให้มาให้รับรอง | ||
ให้เลี้ยงต่างลูกดวงใจ | บุญหนักศักดิ์ใหญ่ไม่มีสอง | ||
เรานี้มีจิตคิดปอง | จะใคร่รับรองกุมารา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | กุมภัณฑ์โหรใหญ่ฝ่ายขวา | ||
พินิจคิดคูณแล้วทูลมา | โหราขอโทษได้โปรดปราน | ||
อย่าเพ่อชื่นชมภิรมย์ใจ | มิได้สงสัยที่ในสาร | ||
ตำราทายว่าพระกุมาร | มิใช่ลูกหลานท้าวนาคา | ||
มนุษย์กับยักษ์จะรักกัน | ห้ามปรามกวดขันเป็นหนักหนา | ||
เหมือนหนึ่งดุเหว่าเหล่กา | เลี้ยงรักษาได้เมื่อไรมี | ||
ทำนองเมรีกับพระรถ | ลักหยูกยาหมดแล้วลอบหนี | ||
โฉมยงเหมือนองค์เมรี | รับมาน่าที่จะวายปราณ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | มืดคลุ้มกลุ้มคลั่งดังเพลิงผลาญ | ||
เหม่อ้ายโหรใหญ่ใจพาล | ช่างเปรียบเทียบทัดทานด้วยมารยา | ||
มึงนี้ผูกจิตคิดคด | จะขบถจริงจังกระมังหนา | ||
กูไซร้จะได้ลูกยา | กีดหน้าขวางตาหรือว่าไร | ||
กูไซร้ใช่นางเมรี | หลงด้วยโลกีย์หาดีไม่ | ||
อันท้าวภุชงค์ทรงชัย | ชั่วแล้วที่ไหนจะให้มา | ||
ว่าพลางทางสั่งสาวสวรรค์ | จงช่วยกันขับไล่ไสเกศา | ||
แต่นี้สืบไปอย่าให้มา | มันว่ากูเล่นให้เป็นลาง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ แล้วสั่งกุมภัณฑ์ให้จัดแจง | ตกแต่งเร่งรัดอย่าขัดขวาง | ||
อีกทั้งข้าเฝ้าท้าวนาง | ต่างต่างแผลงฤทธิ์นิมิตกาย | ||
ให้เป็นมนุษย์สุดสิ้น | ตรัสพลางเทพินผันผาย | ||
เข้าที่นฤมิตบิดเบือนกาย | เฉิดฉายโสภาอ่าองค์ | ||
ออกจากวังแก้วแพรวพรรณ | กำนัลพรั่งพรูดูระหง | ||
แห่แหนแน่นอัดจัตุรงค์ | เสนาพาลงไปคงคา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ กลองโยน เชิด | |||
๏ มาถึงหาดทราบชายทะเล | เห็นเภตราลอยคอยท่า | ||
ลดองค์ลงริมชลธาร์ | หัตถาจบน้ำได้สามที | ||
แล้วนางตั้งจิตพิษฐาน | กุมารบุญหนักศักดิ์ศรี | ||
จะมาเป็นลูกข้าในครานี้ | เทวัญจันทรีจงเล็งแล | ||
ขอให้ลอยเข้ามาถึงฝั่ง | เหมือนหนึ่งยังข้าเห็นให้เป็นแน่ | ||
เสี่ยงพลางแล้วนางผันแปร | ลุกยืนชะแง้แลไป | ||
สำเภาลอยเลื่อนเคลื่อนคลา | ไม่ทันพริบตาเข้ามาใกล้ | ||
เกยยังฝั่งพลันทันใด | บัดใจเห็นทั่วทุกตัวมาร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ สาธุการ | |||
๏ แล้วนางย่างลงในเภตรา | มิช้าเห็นองค์น่าสงสาร | ||
พินิจพิศดูพระกุมาร | งามปานรูปทรงดังองค์อินทร์ | ||
ฝ่ายว่าพระสังข์ก็บังคม | ชื่นชมในจิตคิดถวิล | ||
แม่นยำเหมือนคำท้าวนาคิน | เสร็จสิ้นทุกสิ่งไม่กริ่งใจ | ||
นางมารฟักฟูมอุ้มองค์ | โฉมยงยินดีจะมีไหน | ||
ลงจากเภตราคลาไคล | สำเภาหายไปมิได้นาน | ||
สาวศรีรับรองประคองเคียง | พร้อมเพรียงพิศวงสงสาร | ||
เบียดเสียดกันดูพระกุมาร | คืนเข้าสถานสำราญใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาถึงวังพลันทันที | วางยังแท่นมณีศรีใส | ||
จึงดำรัสตรัสถามความใน | พ่อเป็นลูกหลานใครไฉนนา | ||
จึงพระยาภุชงค์ทรงศักดิ์ | ส่งองค์ลูกรักให้แก่ข้า | ||
เหตุผลต้นปลายอย่างไรมา | ลูกยาทรงนามกรใด | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ทูลแจ้งแถลงไข | ||
คิดถึงมารดายิ่งอาลัย | ร่ำไรทูลความแต่หลังมา | ||
อันพระบิตุรงค์ทรงภพ | ประเสริฐเลิศลบจบทิศา | ||
เมียน้อยนั้นชื่อจันทา | เขายุยงบิดาให้ฆ่าตี | ||
จับลูกถ่วงท้องชลาลัย | ตัวแม่ขับไล่อยู่ไพรศรี | ||
บุญช่วยจึงไม่ม้วยชีวี | ท้าวนาคีจึงใส่สำเภามา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ฟังเอยฟังการ | นางมารสงสารเป็นหนักหนา | ||
รับขวัญไม่กลั้นน้ำตา | ลูบหลังลูบหน้าให้ปรานี | ||
แม่จะถนอมกล่อมเกลี้ยง | จะเลี้ยงเจ้าเป็นบุตรนะโฉมศรี | ||
พ่ออย่าได้กังขาราคี | พระบุรีจะให้แก่ลูกยา | ||
จูบพลางนางอุ้มขึ้นใส่ตัก | ความรักแสนสุดเสน่หา | ||
ดังดวงฤทัยนัยนา | แล้วสั่งมหาเสนาใน | ||
ท่านจงเร่งรัดจัดแจง | ตกแต่งพาราอย่าช้าได้ | ||
จะสมโภชลูกแก้วแววไว | บาดหมายกันไปอย่าได้นาน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนารับราชบรรหาร | ||
แล้วถวายบังคมก้มกราน | มาสั่งการตามมีพระบัญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ให้แต่งโรงราชพิธี | เทียนชัยบายศรีทั้งซ้ายขวา | ||
หุ่นละครโขนหนังช่องระทา | เครื่องเล่นนานาบรรดามี | ||
ทั้งระเบ็งระบำปล้ำมวย | พร้อมด้วยสังคีตดีดสี | ||
งิ้วง้าวเสภาชาตรี | มโหรีครึ่งท่อนมอญรำ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ แล้วกลับมาทูลความตามเรื่อง | บ้านเมืองแต่งอร่ามงามขำ | ||
ราชวัติฉัตรธงโยงรำ | พร้อมสำเร็จแล้วพระเทวี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ช้า ร่าย | |||
๏ ฟังเอยฟังสาร | นางมารปรีดิ์เปรมเกษมศรี | ||
ครั้นว่าสนธยาราตรี | ก็เข้าที่บรรทมภิรมย์ใน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ | |||
๏ ครั้นรุ่งแจ้งแต่งองค์ลูกยา | ภูษาอย่างดีศรีใส | ||
ทองกรสังวาลตระการใจ | แล้วมุ่นจุไรใส่ชฎา | ||
สรรพเสร็จเสด็จจรลี | สาวศรีไสวทั้งซ้ายขวา | ||
เชิญเครื่องตามกันเป็นหลั่นมา | ยาตราสถิตยังพิธี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ ร้องเพลงมหาชัย | |||
๏ ร่าย | |||
ได้เอยได้ฤกษ์ | นางมารให้เบิกบายศรี | ||
ลั่นฆ้องกลองชัยเภรี | ดีดสีตีทับฉับพลัน | ||
จุดแว่นเวียนซ้ายย้ายขวา | โห่ขึ้นสามลาขมีขมัน | ||
เซ็งแซ่แตรสังข์ประดังกัน | ฆาตฆ้องกลองลั่นสนั่นไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ มโหรี | |||
๏ เวียนเทียนสำเร็จเสร็จสรรพ | โบกจับจุณเจิมเฉลิมให้ | ||
แล้วนางอำนวนอวยชัย | ทุกข์โศกโรคภัยอย่าให้มี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ ฝ่ายเจ้าพนักงานการเล่น | ทั้งมวยปล้ำรำเต้นถ้วนถี่ | ||
โขนละครไก่ป่าชาตรี | เป่าปี่ตีกลองกึกก้องไป | ||
หกคะเมนไต่ลวดกวดขัน | เจ็ดคืนเจ็ดวันหวั่นไหว | ||
ครั้นราตรีมีดอกไม้ไฟ | หนังจีนหนังไทยดอกไม้กล | ||
อีกทั้งครึ่งท่อนมอญรำ | จับระบำรำท่าโกลาหล | ||
งิ้วง้าวฉาวแฉ่งแต่งตน | เกลื่อนกล่นอื้ออึงคะนึงไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ นางมารสมโภชพระลูกแก้ว | ผ่องแผ้วยินดีจะมีไหน | ||
จึงชวนลูกยาคลาไคล | เข้าในวังพลันทันที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงขึ้นบนแท่นแก้ว | ผ่องแผ้วปรีดิ์เปรมเกษมศรี | ||
แล้วจัดแจงนักเทศน์ขันที | นางนมทั้งสี่พี่เลี้ยง | ||
กำนัลนางมโหรีขับไม้ | สำหรับให้ขับกล่อมพระเนื้อเกลี้ยง | ||
แม่มอบให้พระสังข์ทั้งวังเวียง | ใครทุ่มเถียงจงเฆี่ยนฆ่าตี | ||
นางถนอมกล่อมเกลี้ยงรักษา | มิให้พระลูกยาเจ้าหมองศรี | ||
จนพระชันษาสิบห้าปี | ยังทวีความรักอยู่ทุกวัน | ||
นางค่อยเคลื่อนคลายสบายใจ | จะใคร่ไปเที่ยวป่าพนาสัณฑ์ | ||
เผอิญใจทึกทึนนึกผูกพัน | คิดพรั่นกลัวลูกจะหนีไป | ||
อย่าเลยจะแสร้งแกล้งล่อลวง | อย่าให้ล่วงหมายคำสำคัญได้ | ||
ว่าไปช้าแล้วกลับมาเร็วไว | ถึงจะหนีไปไม่พ้นกร | ||
แม่จะไปป่าเจ็ดราตรี | พันปีจงฟังแม่สั่งสอน | ||
บ่อน้ำซ้ายขวาเจ้าอย่าจร | หอข้างหัวนอนเจ้าอย่าไป | ||
สั่งลูกแล้วพบันมิทันช้า | พรั่งพร้อมทหารหน้าห้องใหญ่ | ||
ออกจากพาราคลาไคล | แปลงไปเป็นยักษ์ฉับพลัน | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ กราว | |||
๏ ครั้นมาถึงป่าพนาลัย | จับได้ช้างเสือเนื้อสมัน | ||
ฟาดฟันล้มตายวายชีวัน | ได้ห้าหกตัวนั้นไม่พอพุง | ||
ครั้นเหลือบเห็นช้างฝูงใหญ่ | ดีใจฟาดด้วยกระบองผลุง | ||
หักคอตายกลาดฟาดดังปุง | ทหารหอบพะรุงพะรังมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ วางกองไว้หน้าศาลาลัย | แล้วนางไปสรงน้ำที่เพิงผา | ||
แล้วขึ้นนั่งบนบัลลังก์ศิลา | เสวยสัตว์นานาทันที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
มาจะกล่าวบทไป | ถึงองค์พระสังข์เรืองศรี | ||
อยู่ในไพชนอสุรี | มีจิตคิดถึงมารดา | ||
เหตุไฉนไปไพรกรุ่นกรุ่น | พระคุณไปไยที่ในป่า | ||
ว่าไปวันเดียวจะกลับมา | ไม่เหมือนวาจาที่ว่าไว้ | ||
เหตุใดถ้อยคำฟั่นเฟื่อน | คลาดเคลื่อนคืนวันหามั่นไม่ | ||
ตรัสว่าจะไปคืนเดียวไซร้ | เจ็ดวันจึ่งได้กลับมา | ||
ครั้นว่าจะไปเจ็ดวัน | กลับพลันวันเดียวไม่เหมือนว่า | ||
ผิดแล้วถ้อยคำพระมารดา | ดีร้ายจะมาต่อเจ็ดวัน | ||
ห้ามไว้มิให้ไปที่ครัวไฟ | อะไรจะมีอยู่ที่นั่น | ||
ลับตาสาวใช้ลอบไปพลัน | ได้เห็นสำคัญในทันที | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เห็นโครงเสือช้างกวางทราย | ทั้งกายมนุษย์กับซากผี | ||
ตกใจไม่เป็นสมประดี | ผิดแล้วชนนีเห็นสำคัญ | ||
พระมารดาว่าบ่อที่ปิดไว้ | จะมีอะไรเป็นแม่นมั่น | ||
ลอบหนีพี่เลี้ยงลงไปพลัน | เปิดบ่อซ้ายนั้นขึ้นทันใด | ||
ค่อยเอานิ้วพระหัตถ์ชี้ | จุ่มจี้บ่อเงินที่ผ่องใส | ||
เปิดบ่อขวาพลันทันใด | แจ่มใสสว่างอยู่เรืองรอง | ||
เอานี้วชี้ที่เป็นเงินนั้น | จิ้มลงดูพลันเป็นทองผ่อง | ||
คิดตกใจเจ้าเฝ้ามอง | เช็ดทองด้วยกลัวพระมารดา | ||
จะเช็ดสีเท่าใดก็ไม่ออก | พระแม่มาจะบอกกระมังหนา | ||
รีบมาคิดได้ด้วยมารยา | ฉีกผ้าพันนิ้วพระหัตถ์ไว้ | ||
แล้วพระจึงซ่องฝูงนาง | มาดูที่ปรางค์ปราสาทใหญ่ | ||
แลเห็นรูปเงาะเหมาะสุดใจ | พระจึงสวมใส่เข้าลองดู | ||
สอดใส่เกือกแก้วทั้งซ้ายขวา | ประดับเพชรพรายตาทั้งคู่ | ||
จับไม้เท้าทองลองฤทธิ์ดู | เหาะวู่ตามช่องบัญชรชัย | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เหาะลองดูเล่นพอเห็นดี | กลัวพระชนนีไม่ช้าได้ | ||
ถอดออกแล้ววางดังเก่าไว้ | ดีใจสอดมองดูมารดา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ทีเอยทีนี้ | ชอบที่จะหนีแม่ยักษา | ||
จะเหาะไปหาพระมารดา | ถึงไร่ยายตาที่เลี้ยงเรา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอ้ร่าย | |||
๏ โอ้อนิจจาพระชนนี | ป่านฉะนี้จะร่ำโศกเศร้า | ||
จะข้อนทรวงสลบซบเซา | พระเกิดเกล้าลูกเอ๋ยจะโศกา | ||
ตัวกูมาอยู่ในเมืองนี้ | พระชนนีเลี้ยงเป็นยักษา | ||
ไว้ใจยากนักถ้าฉวยช้า | ไหนจะหนีมารดาไปได้เลย | ||
เห็นจะวายชีวิตเสียเปล่าเปล่า | โอ้พระเกิดเกล้าของลูกเอ๋ย | ||
จะแทนคุณชนนีมิอยู่เลย | เงยเห็นพี่เลี้ยงซ่อนทันที | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | พี่เลี้ยงวิ่งหาพระโฉมศรี | ||
ตกใจไม่เห็นอยู่ในที่ | วิ่งตีอกหาประหม่าใจ | ||
เมื่อกี้วิ่งเล่นก็เห็นตัว | ทูนหัวเอ๋ยซ่อนอยู่แห่งไหน | ||
มองมาพบพระองค์ก็ดีใจ | พี่เลี้ยงสาวใช้ก็เปรมปรีดิ์ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | นางพันธุรัตยักษี | ||
เล็ดลอดสอดหามฤดี | ได้เจ็ดราตรีอยู่ไพรวัน | ||
สายัณห์ตะวันรอนรอน | ใกล้จะลับสิงขรพนาสัณฑ์ | ||
รำลึกถึงลูกใจผูกพัน | เร่งรีบเร็วพลันระเห็จมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ถึงรับขวัญอุ้มพระลูกรัก | จูบพักตร์เศียรเกล้าเกศา | ||
กอดชมดังดวงนัยนา | นางแสนเสน่หาดังดวงใจ | ||
แลเห็นนิ้วหัตถาพันผ้า | เอ็ววันของแม่เป็นไฉน | ||
ผ้าผูกนิ้วถูกอะไร | เป็นไรหรือพ่อจงบอกมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ได้ฟังคำว่า | ||
ครั้นแม่จับนิ้วทำมารยา | กลัวพระมารดาจะเคืองใจ | ||
ทำผิดลูกกลัววพระแม่ตี | ลูกนี้ไม่มีอัชฌาสัย | ||
จับมีดเข้ามาผ่าไม้ | บาดเลือดซับไหลฝนไพลทา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | ชะนางพี่เลี้ยงช่างให้ไม้ผ่า | ||
จับมือพิศดูพันผ้า | ทูนเหนือเกศารำคาญใจ | ||
จะมากหรือน้อยแม่ขอดู | นิ่งอยู่หาทำให้เจ็บไม่ | ||
กำมิดปิดซ่อนแม่ทำไม | บาดแผลน้อยใหญ่ไฉนนา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
สังข์เอยสังข์ทอง | ทำร้องกุมนิ้วพันผ้า | ||
อุยอุยพระแ ม่อย่าแก้นา | เจ็บปวดหนักหนาเป็นพ้นไป | ||
โลหิตติดกรังผ้าอยู่ | เจ็บปวดพ้นรู้ไม่แก้ได้ | ||
ลูกลวนลามเล่นจึงเป็นไป | พระแม่จงได้ปรานี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | นางมารโกรธพี่เลี้ยงสาวศรี | ||
น้ำตาคลอตาด้วยปรานี | ให้มัดตีพี่เลี้ยงนางใน | ||
นางนมพี่เลี้ยงเรียงหน้า | มึงไม่นำพาเอาใจใส่ | ||
ให้เล่นมีดแล่นพร้าผ่าไม้ | ตีให้บรรลัยประเดี๋ยวนี้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | พระสังข์บังคมขอโทษพี้ | ||
อ้อนวอนกราบไหว้ทั้งโศกี | มิให้ต้องตีชิงไม้ไว้ | ||
ลูกแข็งเขาห้ามแล้วไม่ฟัง | เขารักข้าหาชังลูกน้อยไม่ | ||
ถ้าเขาต้องโทษโพยภัย | ไหนเขาจะรักลูกน้อยนี้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา กล่อม | |||
ตอนที่ ๔ พระสังข์หนีนางพันธุรัต
ช้า | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงนางพันธุรัตยักษี | ||
แต่ว่างเว้นเป็นม่ายมาหลายปี | สามีมอดม้วยด้วยไข้พิษ | ||
ได้ลูกน้อยหอยสังข์มาเลี้ยงไว้ | รักใคร่เป็นบุตรสุจริต | ||
ฟักฟูมอุ้มชูชมชิด | ลืมคิดถึงผัวของตัวตาย | ||
เมื่อเวรามาติดตามทัน | นางนั้นจะสิ้นบุญสูญหาย | ||
ให้ร้อนเนื้อเดือดใจไม่สบาย | ผันผายไปป่าพนาวัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จึงอุ้มองค์พระสังข์นั่งตัก | โลมลูบจูบพักตร์แล้วรับขวัญ | ||
วันนี้แม่จะลาไปอารัญ | สายัณห์เลี้ยวลับจะกลับมา | ||
แล้วกำชับสาวศรีพี่เลี้ยง | จงถนอมกล่อมเกลี้ยงโอรสา | ||
ตามใจอย่าให้โกรธา | เคืองขัดอัธยาสิ่งใด | ||
สั่งพลางย่างเยื้องยุรยาตร | จากปราสาทเรืองรองผ่องใส | ||
มาลับตาลูกน้อยกลอยใจ | อรไทเปลี่ยนแปลงกายา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ | |||
๏ บัดใจรูปร่างเป็นนางยักษ์ | ล่ำสันคึกคักหนักหนา | ||
ถือตระบองป้องพักตร์ทำศักดา | ดั้นดงตรงมาพนาลี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ กราวใน เชิด | |||
๏ ครั้นถึงหิมวาป่าสูง | เห็นฝูงเนื้อเบื้อเสือสีห์ | ||
นางยักษ์อยากกินก็ยินดี | เข้าไล่ตีเลี้ยวลัดสกัดสแกง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ พิฆาตฆ่าโคกระทิงมหิงสา | ด้วยกำลังฤทธากล้าแข็ง | ||
โจนจับฉับเฉียวเรี่ยวแรง | หักแข็งขาไว้ในดงดาน | ||
ตัวไหนพ่วงพีมีมัน | เลือกสรรกินเล่นเป็นอาหาร | ||
กระดูกกระเดี้ยวเคี้ยวป่นไม่ทนทาน | คชสารควายวัวตัวละคำ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ นางกินเหลือล้นจนเรอ | ท้องไส้เอ้อเร้ออิ่มหนำ | ||
ลงล้างปากล้างคอในบ่อน้ำ | พอพลบค่ำย่ำแสงสนธยา | ||
จึงไปยังที่หยุดพัก | เคยสำนักแรมทางกลางป่า | ||
ปัดผงลงนอนในศาลา | นิทรากลิ้งกลับจนหลับไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ ตระ | |||
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระสังข์ทองผ่องใส | ||
ราตรีเข้าที่บรรทมใน | ถอนฤทัยรำลึกตรึกตรา | ||
คิดถึงชนนีที่เกิดเกล้า | จะโศกเศร้าทุกข์ทนบ่นหา | ||
แต่มาอยู่เมืองมารก็นานช้า | ไม่รู้ว่าจะเป็นตายร้ายดี | ||
ซึ่งกูจะหลงอยู่ในเมืองยักษ์ | แม้นมิลักรูปเงาะเหาะหนี | ||
ที่ไหนจะได้เห็นชนนี | นับปีเดือนแล้วจะแคล้วไป | ||
จำจะคิดติดตามสืบหา | ให้พบพานมารดาจงได้ | ||
วันนี้แม่พันธุรัตไปแรมไพร | ได้ช่องคล่องใจจะไคลคลา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นกลางคืนดื่นดึกเดือนเที่ยง | เห็นพี่เลี้ยงหลับสนิทถ้วนหน้า | ||
ค่อยย่องลงจากเตียงเมียงออกมา | จากห้องไสยาทันที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ ลอบลงชุบองค์ในบ่อทอง | ผิวเนื้อนวลละอองผ่องศรี | ||
เป็นทองคำธรรมชาติชาตรี | สมถวิลยินดีดังใจคิด | ||
แล้วขึ้นไปบนปราสาทชัย | ที่ไว้รูปเงาะศักดิ์สิทธิ์ | ||
หยิบขึ้นแลเล็งเพ่งพิศ | ขุกคิดขึ้นมาก็อาลัย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ โอ้อนิจจามารดาเลี้ยง | เคยถนอมกล่อมเกลี้ยงรักใคร่ | ||
แสนสนิทพิศวาสดังดวงใจ | มิให้ลูกยาอนาทร | ||
พระคุณล้ำลบจบดินแดน | ยังมิได้ทดแทนพระคุณก่อน | ||
วันนี้จะพลัดพรากจากจร | มารดรค่อยอยู่จงดี | ||
แม้นลูกไปไม่ม้วยมรณา | จะกลับมากราบบาทบทศรี | ||
ร่ำพลางทางทรงโศกี | อยู่ปราสาทเพียงขาดใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นคลายทุกข์ขุกคิดขึ้นมา | จะอยู่ช้าฉะนี้ก็มิได้ | ||
เกลือกว่ามารดามาแต่ไพร | หนีไปไม่ทันจะเสียการ | ||
เอารูปเงาะสวมองค์ทรงเข้าแล้ว | ใส่เกือกแก้วถือไม้เท้าห้าวหาญ | ||
เหาะขึ้นเวหาเหินทะยาน | ออกจากเมืองมารรีบมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ กลม เชิด | |||
๏ เหาะระเห็จเจ็ดคืนถึงเขาหลวง | สูงกว่าเขาทั้งปวงที่ในป่า | ||
พอสิ้นกำลังวังชา | เหน็ดเหนื่อยเลื่อยล้าเต็มที | ||
จำจะหยุดพักสักหน่อยก่อน | ทินกรร้อนแรงแสงสี | ||
จึงเลื่อนลงยังยอดคีรี | จรลีเข้าใต้ร่มไทร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ บัดนั้น | พวกพี่เลี้ยงนางนมน้อยใหญ่ | ||
ครั้นรุ่งแจ้งแสงสุริโยทัย | นางในต่างฟื้นตื่นตา | ||
ม้วนที่นอนหมอนข้างเก็บงำ | ฉวยขันตักน้ำมาล้างหน้า | ||
แล้วเข้าไปในที่ไสยา | แลหาไม่เห็นพระสังข์ทอง | ||
ตกประหม่าตาขาวคิดฉงน | ฝูงนางต่างตนเร่งหม่นหมอง | ||
ชวนกันลดเลี้ยวเที่ยวมอง | ทุกแห่งห้องตำหนักนอกใน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลงฉิ่ง | |||
๏ ค้นคว้าหาทั่วที่เคยเล่น | จะประสบพบเห็นก็หาไม่ | ||
ต่างตีอกชกหัวร่ำไร | ครั้งนี้ที่ไหนจะรอดตาย | ||
แม้นแม่พันธุรัตมาแต่ป่า | จะตีด่าดุเดือดไม่เหือดหาย | ||
จะปลิ้นปลอกออกตัวยักย้าย | ด้วยแยบคายแก้ไขเห็นไม่ฟัง | ||
ปรับทุกข์กันทุกคนบ้างบนผี | เอ็นดูช่วยสักทีพอรอดหลัง | ||
บ้างว่าเลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง | มักมีภัยสมดังว่ามา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | นางพันธุรัตยักษา | ||
เที่ยวป่าเล่นสบายหลายเวลา | ก็เหาะกลับคืนมายังเมืองมาร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงปราสาทมณีที่สำนัก | ร้องเรียกลูกรักก็ไม่ขาน | ||
แลหาแห่งไรไม่พบพาน | นางมารหวั่นหวาดประหลาดใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | พวกพี่เลี้ยงนางนมน้อยใหญ่ | ||
เห็นนางยักษามาแต่ไพร | กลัวภัยภาวนาละล้าละลัง | ||
แต่เขยื้อนขยับลับล่อ | เข้าไปแล้วให้ท้อถอยหลัง | ||
จึงก้มเกล้าเล่าเหตุให้ฟัง | พระลูกน้อยหอยสังข์นั้นหายไป | ||
ข้าเที่ยวค้นหานักหนาแล้ว | จะพบพระลูกแก้วก็หาไม่ | ||
เล่าพลางต่างคนก็ร่ำไร | ขอชีวิตไว้อย่าฆ่าตี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางพันธุรัตยักษี | ||
ได้ฟังดังจะสิ้นลมประดี | เอออะไรกระนี้อีพี่เลี้ยง | ||
กูไว้ใจให้อยู่กับลูกรัก | คอยพิทักษ์ถนอมกล่อมเกลี้ยง | ||
ช่างละให้หายไปจากวังเวียง | มันน่าเสี่ยงสับซ้ำให้หนำใจ | ||
ว่าพลางนางร่ำโศกา | น้ำตาแถวถั่งหลั่งไหล | ||
ไปเปิดดูบ่อทองเห็นพร่องไป | เร่งพะวงสงสัยไม่รู้แล้ว | ||
มาดูรูปเงาะป่าไม่ปรากฎ | หายหมดทั้งไม้เท้าและเกือกแก้ว | ||
ลูกน้อยกลอยสวาทเจ้าคลาดแคล้ว | หนีแม่ไปแล้วนะอกอา | ||
จะอยู่ช้าฉะนี้ก็มิได้ | จำจะเร็วรีบไปตามหา | ||
จึงขึ้นหอคอยสูงลอยฟ้า | ตีกลองสัญญาเข้าเจ็ดที | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ รัว | |||
๏ บัดนั้น | พวกพลกุมภัณฑ์ภูตผี | ||
ทั้งหมู่อสูรศักดิ์ยักขิณี | ได้ยินเสียงเภรีสัญญา | ||
ไม่แจ้งเหตุเภทผลกลใด | ต่างตระหนกตกใจเป็นหนักหนา | ||
สำแดงเผลงอิทธิฤทธา | ชวนกันเหาะมายังเมืองมาร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นเอยครั้นถึง | จึงคลานเข้ามายังหน้าฉาน | ||
ไหว้พลางทางถามมิทันนาน | เหตุการณ์อะมีจึงตีกลอง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พันธุรัตร้อนเร่าเศร้าหมอง | ||
จึงแถลงเล่าความตามทำนอง | เจ้าสังข์ทองลูกรักของเรานี้ | ||
ลอบลักรูปเงาะและเกือกแก้ว | สวมใส่เข้าแล้วก็เหาะหนี | ||
เร่งไปตามหาอย่าช้าที | วันนี้ให้ได้ตัวมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | จึงหมู่อสูรศักดิ์ยักษา | ||
คำนับรับคำแล้วอำลา | นฤมิตกายากำยำ | ||
เหาะเหินเที่ยวหาในป่ากว้าง | ทุกทิศทุกทางเถื่อนถ้ำ | ||
แยกไปบกบ้างไปข้างน้ำ | ต่างสำแดงเดชเกรียงไกร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ กราว เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์นั่งอยู่บนเขาใหญ่ | ||
เห็นมืดมิดปิดแสงอโณทัย | เสียงสนั่นหวั่นไหวนี่นัน | ||
จึงคิดว่าดีร้ายอสุรา | ติดตามเรามาเป็นแม่นมั่น | ||
จวนตัวเต็มทีหนีไม่ทัน | จำจะผ่อนผันด้วยปัญญา | ||
พระจึงถอดรูปเงาะออกซ่อนไว้ | ขึ้นนั่งบนต้นไทรสาขา | ||
ทำเป็นเช่นรุกขเทวา | พลางนึกภาวนาอยู่ในใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ รัว เชิด (ยักษ์ออก) | |||
๏ บัดนั้น | หมู่มารทหารน้อยใหญ่ | ||
เห็นพระสังข์นั่งอยู่บนต้นไทร | มิได้รู้จักแต่สักตน | ||
เพ่งพิศดูพลางไม่วางตา | คิดว่าเทวาในไพรสนฑ์ | ||
ผิวพรรณผุดผาดประหลาดคน | ให้งวยงงฉงนสนเท่ห์ใจ | ||
จึงถามว่าดูก่อนเทวา | เห็นเจ้าเงาะเหาะมามั่งหรือไม่ | ||
อย่าแกล้งกล่าวคำอำไว้ | จงบอกไปตามจริงบัดนี้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ฟังคำยักษี | ||
บอกพลางทางยกมือชี้ | เห็นเหาะไปทิศนี้นะขุนมาร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยักษาได้ฟังว่าขาน | ||
ดีใจเสือกสนลนลาน | เหาะทะยานติดตามไปพลัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ตริตรึกนึกพรั่น | ||
แต่กูเหาะระเห็จมาเจ็ดวัน | มันยังตามทันด้วยฤทธิไกร | ||
จะอยู่ก็ใช่ไม่ชอบกล | หนีไปจะพ้นมันที่ไหน | ||
ให้คิดขัดสนจนใจ | จะแก้ตัวต่อไปอย่างไรดี | ||
พลางตั้งจิตพิษฐานด้วยสัจจา | คุณพระมารดาปกเกศี | ||
จงค้ำชูช่วยข้าครานี้ | อย่าให้มีอันตรายสิ่งใด | ||
ถึงแม่พันธุรัตจะพบข้า | ขออย่าให้ขึ้นมาบนเขาได้ | ||
ให้ลูกแก้วตัวรอดปลอดภัย | พลางยกมือไหว้ภาวนา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางพันธุรัตยักษา | ||
เรียกเหล่าบ่าวไพร่มิได้ช้า | ออกจากพารารีบตามไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาเอยมาถึง | ซึ่งเนินบรรพตภูเขาใหญ่ | ||
แลไปเห็นคนบนต้นไทร | งามวิไลผิวผ่องดังทองทา | ||
ยืนพินิจพิศเพ่งอยู่เป็นครู่ | ลูกรักของกูแล้วสิหน่า | ||
ตบมือหัวเราะทั้งน้ำตา | ร้องเรียกลูกยาด้วยยินดี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ นั่งอยู่ไยนั่นพ่อขวัญข้าว | ขัดเคืองอะไรเล่าเจ้าจึงหนี | ||
มาเถิดทูนหัวอย่ากลัวตี | ดูเอาเถิดซียังมิมา | ||
นางร้องไห้ร่ำแล้วซ้ำเรียก | ปืนตะกายตะเกียกขึ้นไปหา | ||
ด้วยเดชะอำนาจสัตยา | เผอิญให้เลื่อยล้าสิ้นกำลัง | ||
พลัดตกหกล้มนอนตะแคง | ขาแข้งสีข้างขัดขึ้นดัดหลัง | ||
โศกีตีอกเพียงจะพัง | ทรุดนั่งกระแทกก้นจนใจ | ||
ลูกน้อยกลอยสวาทของมารดา | แม่บำรุงเลี้ยงมาจนใหญ่ | ||
มิให้ระคายเคืองสิ่งใด | เจ้าหนีแม่มาได้ช่างไม่คิด | ||
แม่อุตส่าห์มาตามด้วยความรัก | เจ้าไม่พูดไม่ทักแต่สักหนิด | ||
อกแม่จะแตกตายวายชีวิต | สุดคิดอยู่แล้วนะลูกยา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ แม่เอยแม่เจ้า | เลี้ยงข้ามาแต่เยาว์จนใหญ่ | ||
พระคุณล่ำลบภพไตร | จะเปรียบด้วยสิ่งใดนั้นไม่มี | ||
ใช่ลูกจะเคืองแค้นแสนเข็ญ | ด้วยความจำเป็นดอกจึงหนี | ||
เหตุด้วยมารดาขอข้านี้ | ทุกข์ร้อนไร้ที่พึ่งพา | ||
จะยากเย็นเป็นตายก็ไม่แจ้ง | จะไปสืบเสาะแสวงทุกแห่งหา | ||
ครั้นจะบอกออกอรรถตามสัจจา | ก็คิดกลัวเกลือกว่ามิให้ไป | ||
ลูกจึงลักรูปเงาะเหาะหนี | โทษผิดทั้งนี้เป็นข้อใหญ่ | ||
อย่าพิโรธโกรธขึ้งขัดใจ | ถึงไปไม่ช้าจะมาพลัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ เมื่อนั้น | พันธุรัตฟังว่าเพียงอาสัญ | ||
ฟูมฟายน้ำตาจาบัลย์ | เจ้าไปแล้วไหนนั่นจะกลับมา | ||
คิดอ่านอุบายจะหน่ายหนี | เอาเหตุชนนีนั้นมาว่า | ||
ถึงไปก็ไม่ขัดอัธยา | เชิญลงมาหาแม่แต่สักน้อย | ||
พอแม่ได้ชมโฉมเจ้า | ให้สบายบรรเทาที่เศร้าสร้อย | ||
แต่ร่ำร้องไห้หาเลือดตาย้อย | อุตส่าห์สู้ติดต้อยห้อยตาม | ||
อย่านึกแหนงแคลงเลยว่าเป็นยักษ์ | มาเถิดลูกรักอย่าเกรงขาม | ||
ถึงจะอยู่จะไปก็ให้งาม | เจ้าผู้ทรามรักร่วมชีวา | ||
อันรูปเงาะไม้เท้าเกือกแก้ว | แม่ประสิทธิ์ให้แล้วดังปรารถนา | ||
ยังมนต์บทหนึ่งของมารดา | ชื่อว่ามหาจินดามนต์ | ||
ถึงจะเรียกเต่ปลามัจฉาชาติ | ฝูงสัตว์จัตุบาทในไพรสณฑ์ | ||
ครุฑาเทวัญชั้นบน | อ่านมนต์ขึ้นแล้วก็มาพลัน | ||
เจ้าเรียนไว้สำหรับเมื่ออับจน | จะได้แก้บนตนที่คับขัน | ||
แม่ก็คงจะตายวายชีวัน | จงลงมาให้ทันท่วงที | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ ร่าย | |||
เมื่อนั้น | พระสังข์ฟังคำยักษี | ||
ยิ่งพะวงสงสารแสนทวี | แต่รีรอท้อฤทัยรันทด | ||
จะลงไปก็ให้เกรงกริ่ง | เกลือกว่าไม่จริงจะแกล้งปด | ||
คิดพลางทางกล่าวมธุสร | อย่ากำสรดโศกาอาวรณ์ | ||
ลูกนี้เหนื่อยยากลำบากกาย | จะนั่งเล่นให้สบายบนนี้ก่อน | ||
ตะวันเที่ยงอยู่ยังกำลังร้อน | พอให้แดดอ่อนอ่อนจะลงไป | ||
ซึ่งมนต์ของชนนีว่าดีนัก | ลูกรักก็อยากจะใคร่ได้ | ||
เมตตาลูกแล้วจงเขียนไว้ | ที่ในแผ่นพื้นพสุธา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ เมื่อนั้น | พันธุรัตขัดสนเป็นนักหนา | ||
แหงนดูลูกพลางทางโศกา | ดังหนึ่งว่าชีวันจะบรรลัย | ||
โอ้ลูกน้อยหอยสังข์ของแม่เอ๋ย | กรรมสิ่งใดเลยมาซัดให้ | ||
จะร่ำร้องเรียกเจ้าสักเท่าไร | ก็ช่างเฉยเสียได้ไม่ดูดี | ||
สิ้นวาสนาแม่นี้แน่แล้ว | เผอิญให้ลูกแก้วเอาตัวหนี | ||
จะขอลาอาสัญเสียวันนี้ | เจ้าช่วยเผาผีมารดา | ||
อันพระเวทวิเศษของแม่ไซร้ | ก็จะเขียนลงให้ที่แผ่นผา | ||
จงเรียนร่ำจำไว้เถิดขวัญตา | รู้แล้วอย่าว่าให้ใครฟัง | ||
เขียนพลางทางเรียกลูกน้อย | มาหาแม่สักหน่อยพ่อหอยสังข์ | ||
แต่พอให้ได้ชมเสียสักครั้ง | ขอสั่งสักคำจะอำลา | ||
แม่อ้อนวอนว่านักหนาแล้ว | น้อยหรือลูกแก้วไม่มาหา | ||
ทุ่มทอดตัวลงทรงโศกา | สองตาแดงเดือดดังเลือดนก | ||
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นจิต | ยิ่งคิดเคืองขุ่มมุ่นหมก | ||
กลิ้งกลับสับส่ายเพ้อพก | นางร่ำร้องจนอกแตกตาย | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | พวกยักษาข้าไททั้งหลาย | ||
เห็นนางมารม้วยมอดวอดวาย | ต่างร่ำรักนายไม่สมประดี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ทรงสวัสดิ์รัศมี | ||
เห็นมารดาล้มดิ้นสิ้นชีวี | ตกใจแล่นตะลีตะลานมา | ||
เข้าไปนั่งใกล้ดังใจจง | กราบลงแทบเท้าทั้งซ้ายขวา | ||
ชลเนตรคลอคลองนัยนา | โศการ่ำรักชนนี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ โอ้ปี่ | |||
โอ้ว่ามารดาของลูกเอ๋ย | พระคุณเคยปกเกล้าเกศี | ||
รักลูกผูกพันแสนทวี | เลี้ยงมาไม่มีให้เคืองใจ | ||
จะหาไหนได้เหมือนพระแม่เจ้า | ดังมารดาเกิดเกล้าก็ว่าได้ | ||
สู้ติดตามมาด้วยอาลัย | จนจำตายอยู่ในพนาวัน | ||
โทษลูกนี้ผิดเป้นนักหนา | ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ | ||
ทั้งนี้เพราะกรรมมาตามทัน | จึงสุดสิ้นชีวัตบรรลัย | ||
พระคุณล้ำลบจบดินแดน | ยังไม่ทันทดแทนสนองได้ | ||
ร่ำพลางโศกีพิรี้พิไร | ซบพักตร์สะอื้นไห้ไปมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นคลายวายโศกเศร้าหมอง | พระจึงร้องสั่งเหล่ายักษา | ||
ท่านจงเชิญศพพระมารดา | คืนไปพาราของเรา | ||
แล้วตระเตรียมการไว้ให้เสร็จสรรพ | คอยท่าข้ากลับมาจึงเผา | ||
การพระเมรุใหญ่อยู่อย่าดูเบา | ท่านจงเอาใจใส่ไตรตรา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนีตัวนายซ้ายขวา | ||
จึงเชิญศพใส่วอช่อฟ้า | กลับไปพาราทันที | ||
ฯ ๒ ฯ เชิด | |||
สมิงทอง | |||
๏ เมื่อนั้น | พระโฉมยงทรงสวัสดิ์รัศมี | ||
ครั้นพวกพลยักษาไปธานี | จึงเรียนเอามนต์ที่เขียนไว้ | ||
เวียนเฝ้าสาธยายอยู่หลายตลบ | แต่ต้นจนจบก็จำได้ | ||
ครั้นเสร็จเสด็จขึ้นไป | บนยอดเขาใหญ่มิได้ช้า | ||
เอารูปเงาะสวมองค์ทรงเกือกแก้ว | ถือไม้เท้าเข้าแล้วก็ป้องหน้า | ||
เหาะระวังเห็จเตร็ดทะยานด้วยฤทธา | เลื่อนล่องลอยฟ้ามาไวไว | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
ร่าย | |||
๏ ถึงแดนพาราสามนต์ | อาณาเขตมณฑลกว้างใหญ่ | ||
ให้คิดฉงนสนเท่ห์ใจ | เมืองนี้ชื่อไรจะใคร่รู้ | ||
เห็นภูมิฐานบ้านช่องเยียดยัด | ผู้คนแออัดอื้ออึงอยู่ | ||
หรือจะเป็นพาราบิดากู | จะยับยั้งฟังดูกิจจา | ||
คิดพลางทางค่อยคลาเคลื่อน | ลอยเลื่อนลงจากเวหา | ||
หยุดอยู่เนินทรายปลายทุ่งนา | อาศัยร่มพฤกษาสำราญ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ | |||
๏ บัดนั้น | ฝ่ายพวกเด็กเด็กชาวบ้าน | ||
ล้วนแต่ลูกหลานชายนายโคบาล | อยู่ปลายแดนด่านกรุงสามนต์ | ||
ครั้นกินข้าวเช้าแล้วลงจากเรือน | เที่ยวร้องเรียกพวกเพื่อนสับสน | ||
เปิดคอกไล่โคของตน | ถือปฏักต่างคนต้อนมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา เชิด | |||
๏ ครั้นออกมาถึงที่ทำไร่ | จึงปล่อยโคไว้ให้กินหญ้า | ||
เห็นเงาะยืนอยู่บนคันนา | อ้ายนี่บ้าหรือมิใช่ไยอย่างนี้ | ||
รูปร่างหัวหูก็ดูแปลก | ลางคนว่าแขกกะลาสี | ||
อย่าไว้ใจมันมักควักเอาดี | นึกกลัวเต็มที่วิ่งหนีพลาง | ||
บ้างว่าอ้ายนี่ลิงทะโมนใหญ่ | บ้างเถียงว่าทำไมไม่มีหาง | ||
หน้าตามันขันยิงฟันฟาง | หรือจะเป็นผีสางที่กลางนา | ||
คนหนึ่งไม่กลัวยืนหัวเราะ | นี่เขาเรียกว่าเงาะแล้วสิหนา | ||
มันไม่ทำไม่ใครดอกวา | ชวนกันเมียงเข้ามาเอาดินทิ้ง | ||
บ้างได้ดอกหงอนไก่เสียบไม้ล่อ | ตบมือผัดพ่อล่อให้วิ่ง | ||
ครั้งเงาะแล่นไล่โลดกระโดดชิง | บ้างล้มกลิ้งวิ่งปะทะกันไปมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ พวกเด็กเด็กหยอกเย้าเข้าฉุด | อุตลุดล้อมหลังล้อมหน้า | ||
แล้วชวนเล่นจ้องเตเฮฮา | โห่ร้องฉาวฉ่านี่นัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นถึงเวลากินผอก | แก้ห่อข้าวออกขมีขมัน | ||
เกลอเอ๋ยมากินด้วยกัน | เห็นเงาะนั้นเข้ากินก็ยินดี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นว่าเวลาบ่ายควาย | เด็กเด็กทั้งหลายเข้าล้อมมี่ | ||
ไปบ้านด้วยกันหรือวันนี้ | เงาะเดินเชือนหนีเสียมิไป | ||
ถ้ากระนั้นก็นอนอยู่เฝ้านา | ช่วยขับนกขับกาอย่าไปไหน | ||
พรุ่งนี้จึงจะมาอย่าร้อนใจ | แล้วไล่โคคืนมาทันที | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
ตอนที่ ๕ ท้าวสามนต์ให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงท้าวสามนต์เรืองศรี | ||
เสวยราชสมบัติสวัสดี | ในบุรีสามนต์พระนคร | ||
อันองค์เอกอัครชายา | ชื่อมณฑาเทวีศรีสมร | ||
มีธิดานารีร่วมอุทร | ทั้งเจ็ดนามกรต่างกัน | ||
น้องนุชสุดท้องชื่อรจนา | โสภาเพียงนางในสวรรค์ | ||
พรั่งพร้อมพระสนมกำนัล | เป็นสุขทุกนิรันดร์วันคืน | ||
ท้าวคิดรำพึงถึงเวียงชัย | นานไปจะเป็นของเขาอื่น | ||
เห็นจะไม่จิรังยั่งยืน | ด้วยลูกเต้าแต่พื้นเป็นธิดา | ||
จำจะคิดปลูกฝังเสียยังแล้ว | ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา | ||
ถ้าเขยคนใดดีมีปัญญา | จะยกพารามองให้ครอบครอง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางทางเรียกมเหสี | พามาทีปรึกษาสองต่อสอง | ||
เจ้าจงดำริตริตรอง | แต่เราครองราชฐานมานานช้า | ||
ทุกวันนี้ดูพี่กับตัวเจ้า | ไม่เที่ยงแท้แก่เฒ่าลงนักหนา | ||
เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชรา | ถอยกำลังวังชาลงทุกปี | ||
ยิ่งคิดคิดไปให้ใจสั้น | จะตายวันตายพรุ่งมิรู้ที่ | ||
พี่ปรารมภ์สมบัติของเรานี้ | ถ้าแม้นหากบุญพี่ไม่จีรัง | ||
จงช่วยกันดำริตริตรองดู | จะหาคู่ให้ลูกปลูกฝัง | ||
จะแบ่งปันข้าวของในท้องคลัง | ให้ครอบครองเวียงวันเห็นทันตา | ||
จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เรา | เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า | ||
กลัวเกลือกทั้งเจ็ดธิดา | มันจะไม่เสน่หาก็มิรู้ | ||
ลางเนื้อชอบลางยาไม่ว่าได้ | ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ | ||
คำบุราณท่านว่าไว้เป็นครู | พิเคราะห์ดูให้ต้องทำนองใน | ||
พี่คิดจะประชุมให้พร้อมพรั่ง | กษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดหัวเมืองใหญ่ | ||
ให้บุตรีเราเลือกตามชอบใจ | เจ้าจะเห็นกระไรจงว่ามา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางมณฑาเสนหา | ||
จึงทูลสนองพระบัญชา | ซึ่งตรัสมานี้ต้องประเพณี | ||
จะให้เป็นแก่นสารแก่บ้านเมือง | ได้ลือเลื่องไปทั่วทุกกรุงศรี | ||
ตามแต่ภูวไนยจะเห็นดี | อันน้องนี้ไม่ขัดทัดทาน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | ||
เสด็จจากแท่นที่มิทันนาน | ออกพระโรงชัชวาลทันใด | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
สามไม้ | |||
๏ ลดองค์ลงนั่งเหนือเก้าอี้ | ตรัสสั่งเสนีผู้ใหญ่ | ||
แต่บรรดาเมืองขืนของเราไซร้ | ทั้งร้อยเอ็ดเวียงชัยเคยไปมา | ||
ผู้ใดมีโอรสรูปงาม | แต่ในสามสิบเศษชันษา | ||
ที่ยังไม่มีภริยา | ให้จัดแจงแต่งมาทุกธานี | ||
เราจะให้ธิดาทั้งเจ็ดองค์ | เลือกดูรูปทรงส่งศรี | ||
ถ้าลูกเราชอบใจจะได้ดี | จะเสกกับบุตรีให้ครองกัน | ||
จงแต่งตราว่าตามความใน | ให้คนเร็วรีบไปทุกเขตขัณฑ์ | ||
กำหนดไว้โดยช้าสิบห้าวัน | ให้มาถึงพร้อมกันยังธานี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | อำมาตย์รับสั่งใส่เกศี | ||
ถวายบังคมคัลอัญชลี | มาแต่งตราตามมีพระบัญชา | ||
แล้วจัดเสนากว่าร้อย | เคยใช้สอยคล่องแคล่วแกล้วกล้า | ||
สั่งความตามมีในท้องตรา | จงรีบไปรีบมาอย่านอนใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ขุนหมื่นพันทนายน้อยใหญ่ | ||
ต่างรีบผายผันแยกกันไป | เวียงชัยทั้งร้อยเอ็ดพลัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงเข้าไปวันทา | กราบทูลกษัตราทุกเขตขัณฑ์ | ||
แจ้งตามบัญชาสารพัน | ถวายหนังสือนั้นทันที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายพระยาร้อยเอ็ดบุรีศรี | ||
คลี่สารอ่านดูรู้คดี | เปรมปรีดิ์เป็นพ้นคณนา | ||
ต่างเรียกโอรสมาบอกเล่า | เป็นลาภเราแล้วลุกเสน่หา | ||
จงตรวจตราบ่าวไพร่เร่งไคลคลา | ไปพาราสามนต์ให้ทันการ | ||
บ้างคิดมุยุลูกให้หย่าเมีย | จำจะทิ้งเปรี้ยวเสียไปกินหวาน | ||
ที่บุตรหามีไม่ใจทะยาน | คิดจัดแจงแต่งหลานเปลี่ยนไป | ||
แล้วเลือกของอย่างยิ่งทุกสิ่งสรรพ์ | สำหรับบรรณาการประทานให้ | ||
ต่างองค์อำนวนอวยชัย | เจ้าไปให้ได้ครองพระธิดา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | หน่อกษัตริย์สรวลสันต์หรรษา | ||
นบนิ้วประนมบังคมลา | แล้วมาแต่งองค์อร่ามเรือง | ||
บ้างขึ้นทรงรถคชสาร | ขี่ม้าผ่านขาวเขียวกะเลียวเหลือง | ||
ต่างยกโยธานองเนือง | ออกจากเมืองรีบร้อนสัญจรไพร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงพาราสามนต์ | จึงพักพลไว้นอกกรุงใหญ่ | ||
ชวนกันลีลาคลาไคล | เข้าหาเสนาในทันที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ บัดนั้น | อำมาตย์ผู้ใหญ่ในกรุงศรี | ||
พูดจาปราศรัยโดยไมตรี | เอาบาญชีท้าวพระยาที่มานั้น | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นได้นามทูลหน่อกษัตรา | เสนาสี่นายก็ผายผัน | ||
เข้าไปในท้องพระโรงคัล | อภิวันท์ทูลแถลงให้แจ้งใจ | ||
บันนี้หน่อกษัตริย์ทุกพารา | ทั้งร้อยเอ็ดนั้นมาถึงกรุงใหญ่ | ||
แล้วอ่านรายชื่อเสียงเรียงลงไป | ตามในหางว่าวท้าวพระยา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระผู้ผ่านเขตขัณฑ์หรรษา | ||
จึงสั่งทั้งสี่เสนา | เร่งแต่งที่ข้างหน้าให้พร้อมไว้ | ||
จงนำกษัตราทุกธานี | มาประชุมในที่พระโรงใหญ่ | ||
เราจะให้ทั้งเจ็ดอรไท | มาเลือกตามชอบใจในพรุ่งนี้ | ||
เร่งจัดวังให้เสร็จทั้งเจ็ดแห่ง | จะได้แต่งตั้งการภิเษกศรี | ||
สั่งเสร็จพระเสด็จจรลี | ขึ้นสู่ที่ข้างในมิได้ช้า | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ บัดนั้น | จึงเจ้าพนักงานถ้วนหน้า | ||
เร่งจัดแจงแต่งที่ดังบัญชา | บ้างไปบอกกษัตราให้เตรียมกาย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พวกเหล่าท้าวพระยาทั้งหลาย | ||
ต่างองค์กระหยิ่มพริ้มพราย | ให้กระสันมั่นหมายวุ่นวายใจ | ||
บ้างหยิบผ้ายกทองนุ่งลองดู | ใครใครเห็นไม่สู้รูปกูได้ | ||
พรุ่งนี้มิคนหนึ่งก็คนไร | จะจงจิตพิสมัยเป็นมั่นคง | ||
บ้างนั่งนึกตริกหาอุปเท่ห์ | จะทำด้วยเสน่ห์ให้ลุ่มหลง | ||
เห็นจะรุมรักเราทั้งเจ็ดองค์ | คิดทะนงเปรมปรี่มกระหยิ่มใจ | ||
ลางองค์ถือมั่นโดยปัญญา | วาสนาหลังส่งแล้วคงได้ | ||
สุดแท้แต่กุศลสร้างไว้ | จะเดือดเนื้อร้อนใจไปไยมี | ||
บ้างเรียกหาหมอดูมาจับยาม | ให้ทายตามชะตาราศี | ||
จะสมคะเนหรือไม่ในพรุ่งนี้ | แต่เซ้าซี้ซักไซ้ไม่นิทรา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
โทน | |||
๏ ครั้นรุ่งแสงสุริย์ใสไตรตรัส | ทั้งร้อยเอ็ดกษัตริย์ทรงภูษา | ||
สอดเครื่องประดับระยับตา | แต่งกายาโอ่อวดประกวดกัน | ||
บ้างถือห่อบุหงาทัดยาดม | ผ้าห่มชุบน้ำกุหลาบกลั่น | ||
ต่างองค์กรายกรจรจรัล | พากันเข้าไปในวัง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นถึงท้องพระโรงข้างหน้า | อำมาตย์มาจัดแจงให้ลุกนั่ง | ||
ต่างชิงขึ้นหน้าว่าไม่ฟัง | บ้างถุ้งเถียงเสียงดังอึงไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ยิ้มแย้มเจ่มใส | ||
จึงชวนเมียรักร่วมใจ | ออกไปแย้มแกลแลดู | ||
เห็นหน่อกษัตริย์ที่มานั้น | หน้าตาคมสันขยันอยู่ | ||
คนข้างหลังลาดเลาเป็นเจ้าชู้ | ตาหูชอบกลเจ้ามณฑา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คนโน้นรูปร่างกระจ้อยร่อย | หนุ่มน้อยน่ารักหนักหนา | ||
คนนี้ที่ถัดกันลงมา | หน้าตาเป็นประมาณพานพอดี | ||
โน่นแน่คนนั้นอยู่ชั้นล่าง | รูปร่างจ้ำม่ำดำมิดหมี | ||
เห็นหรือไม่คนนั้นขันสิ้นดี | หน้างอกออกฝีประปราย | ||
ดูพลางทางสั่งเมียรัก | อย่าช้านักเลยเจ้าจะจวนสาย | ||
จงเร่งรัดจัดแจงแต่งกาย | บุตรีโฉมฉายขึ้นมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางมณฑาเสน่หา | ||
จึงพาทั้งเจ็ดธิดา | ไปสระสรงคงคาวารี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
ชมตลาด | |||
๏ แต่งตัวตั้งใจจะให้งาม | ขมิ้นใส่ส้มมะขามขัดสี | ||
แล้วอาบน้ำชำระอินทรีย์ | ทาแป้งสารภีรื่นรวย | ||
กระจกตั้งคันฉ่องส่องเงา | ผิวพรรณผมเผ้างามฉลวย | ||
ใส่น้ำมันกันกวดกระหมวดมวย | ผัดหน้าด้วยแป้งญวนเป็นนวลแดง | ||
นุ่งผ้ายกอย่างต่างกัน | ช่อชั้นเชิงชายลายก้านแย่ง | ||
สไบหน้าเจียระบาดตาดทองแดง | เข็มขัดสายลายแทนประจำยาม | ||
สร้อยนวมสวมสอดสังวาลวรรณ | ตาบกุดั่นเรืองรองทองอร่าม | ||
กำไลสวมเก้าคู่ดูงาม | ใส่แหวนเพชรแวววามครามสอดซับ | ||
ทรงกรอบพักตร์พรรณรายพรายแพรว | กรรเจียกแก้วมณีสีสลับ | ||
ใส่ตุ้มหูห้อยพลอยระยับ | ครั้นเสร็จสรรพขึ้นเฝ้าท้าวไท | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เพลงช้า | |||
มูโล่ง | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ยิ้มย่องผ่องใส | ||
จึงตรัสแก่ธิดายาใจ | พ่อให้ประชุมกษัตรา | ||
นงเยาว์เจ้าจงไปเลือกคู่ | ที่สมควรเป็นคู่เสน่หา | ||
ถ้าแม้นประกอบชอบวิญญาณ์ | จงทิ้งมาลัยไปให้สวมมือ | ||
พ่อจะแต่งตั้งการสยุมพร | ให้บังอรออกหน้าค่าชื่อ | ||
แต่เฝ้าปลอบสองรื้อสามรื้อ | ดูดู๋ดื้อหนักหนาน่าขัดใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งเจ็ดบุตรีศรีใส | ||
ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่คลาไคล | ก้มแกะเสื่อลันไตไปมา | ||
ให้นึกอัปยศอดอาย | จะไปเลือกผู้ชายน่าขายหน้า | ||
ยิ่งคิดยิ่งเขิมเมินพักตรา | กัลยามิได้จรลี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระบิตุเรศเรืองศรี | ||
กล่าวเกลี้ยงเลี่ยงปลอบให้ชอบที | วันดีแล้วแม่อย่าแชเชือน | ||
อุตส่าห์แข็งวิญญาณ์คลาไคล | พ่อจะให้พี่เลี้ยงไปเป็นเพื่อน | ||
อะไรเฝ้าม้วนมิดบิดเบือน | ไม่เขยื้อนจากที่น่าตีรัน | ||
นวลนางมณฑาช่วยว่ากล่าว | ลูบหลังลูกสาวแล้วรับขวัญ | ||
ไปเถิดแม่ไปอย่าใจรั้น | ส่งมาลัยให้พลันทั้งเจ็ดองค์ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระบุตรีแน่งน้อยนวลหง | ||
กลัวจะเคืองจิตบิตุรงค์ | โฉมองค์ขยัยกายแล้วอายใจ | ||
แต่ทำม่อยม้วยกระบวนกระบิด | แก้เก้อสะกิดพี่ผู้ใหญ่ | ||
ต่อบิดรเตือนซ้ำจึงจำไป | กำนัลในพี่เลี้ยงเคียงมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ กินนรรำ | |||
๏ ถึงท้องพระโรงธารม่านกั้น | เจ็ดนางนึกพรั่นเป็นหนักหนา | ||
ให้อดสูผู้ชายอายวิญญาณ์ | หน่วงหนักชักช้าไม่คลาไคล | ||
พี่เลี้ยงทูลเตือนให้จรลี | นางหยิกตีค้อนควักผลักไส | ||
เข้าแอบแฝงม่านกั้นชั้นใน | ขวยเขินสะเทินใจไปมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หน่อกษัตริย์นั่งคอยอยู่ข้างหน้า | ||
บ้างสะกิดเพื่อนกันจำนรรจา | เมื่อไรจะออกมารำคาญใจ | ||
ต่างคนกระหยิ่มยิ้มย่อง | ชะเง้อคอคอยมองหาเมินไม่ | ||
แลตามตีนม่านเห็นไวไว | เอ๊ะแล้วมิใช่ดอกกระมัง | ||
ลางคนคะนองทำร้องบอก | หลอนหลอกเพื่อนอยู่ข้างหลัง | ||
ไม่เคยเห็นรูปร่างนางชาววัง | นิ่งนั่งตั้งสติอย่าเมินไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พี่เลี้ยงกัลยาอัชฌาสัย | ||
จึงปลอบพระธิดายาใจ | เอออะไรมาเป็นเช่นนี้ | ||
พระบิดาสั่งให้ไปเลือกคู่ | จะอดสูใครเล่านะเจ้าพี่ | ||
เราเป็นใจไปเองเมื่อไรมี | ไม่พอที่จะขืนขัดบัญชา | ||
แม้นพระบิตุเรศรู้เหตุผล | เห็นพี่จะไม่พ้นโทษา | ||
ว่าพลางผลักไสให้ไคลคลา | รบเร้าเฝ้าว่าวิงวอน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งเจ็ดพระธิดาดวงสมร | ||
จำเป็นจำใจบทจร | บังอรอดสูดูร้าย | ||
ทำลับลับล่อล่อรอรั้ง | เบียดบังพี่เลี้ยงเมียงม่าย | ||
ผันแปรแลหลบตาชาย | ทั้งอายทั้งสะเทินเดินเลือกไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลงฉิ่ง | |||
๏ เมื่อนั้น | หน่อกษัตริย์นับร้อยน้อยใหญ่ | ||
เห็นเจ็ดพระธิดายาใจ | ให้คิดพิสมัยในรูปทรง | ||
ตั้งใจดูนางไม่วางตา | เสน่หารุมรึงตะลึงหลง | ||
งามโฉมชะอ้อนอ่อนเอวองค์ | งามขนงวงพักตร์โสภา | ||
บ้างพูดกับเพื่อนสนิทไม่คิดอาย | อันน้องนุชสุดท้ายคงตายข้า | ||
เดี๋ยวนี้และมาลัยจะลอยมา | เจ้าคนนั้นกั้นหน้าข้าไว้ไย | ||
บ้างนั่งหยัดดัดทรงดูนรลักษณ์ | เหลือบมาสบพักตร์ยักคิ้วให้ | ||
ครั้นนางสะเทินเมินหน้าไป | แกล้งทำกระแอมไอเป็นแยบคาย | ||
บ้างพลางโกรธขึ้งหึงเพื่อนกัน | นางคนนั้นของข้าใครอย่าหมาย | ||
ต่างทะเลาะเกาะแกะกันวุ่นวาย | ถุ้งเถียงท้าทายมากมายไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งเจ็ดบุตรีศรีใส | ||
แต่เก้อเก้ออายอายวุ่นวายใจ | เลือกกษัตริย์น้อยใหญ่ทุกหน้ามา | ||
อันทั้งหกเทวีพี่นาง | เลือกได้รูปร่างงามหนักหนา | ||
เมียงม่ายหมายทิ้งพวงมาลา | สวมหัตถ์กษัตราทั้งหกองค์ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ ฝ่ายโฉมรจนาทรามวัย | นางไม่ต้องจิตคิดประสงค์ | ||
กลับมาเฝ้าบาทบิตุรงค์ | โฉมยงบังคมก้มพักตรา | ||
จึงทูลว่ากษัตริย์ทั้งนั้นไซร้ | ลูกมิได้มุ่งมาดปรารถนา | ||
จะขออยู่สนองรองบาทา | ไปกว่าชีวันจะบรรลัย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์บ่นออดทอดใจใหญ่ | ||
ลูกเอ๋ยพ่อนี้หวังตั้งใจ | จะจัดแจงแต่งให้เห็นทันตา | ||
จึงประชุมพร้อมพรั่งครั้งนี้ | แต่ล้วนลูกผู้ดีมียศถา | ||
ทั้งรูปทรงส่งศรีโสภา | ยังไม่เสน่หาอาลัย | ||
แม่มณฑาจะคิดกระไรเล่า | ยังคนเดียวดอกเจ้าทำกรรมให้ | ||
มันไม่สิ้นห่วงบ่วงใย | ฉวยชั่วไปก็รำคาญขี้คร้านตี | ||
พี่คิดว่าสุดแท้แต่เราเถิด | ไม่พักประดักประเดิดจู้จี้ | ||
แต่งพร้อมกับพี่สาวเสียคราวนี้ | หรือไม่เห็นด้วยพี่จงท้วงติง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางมณฑาหวั่นจิตคิดกริ่ง | ||
จึงแถลงแจ้งในใจจริง | อันเป็นหญิงพงศ์เผ่าเหล่ากอ | ||
ถ้าใจไม่สมัครรักผัว | มักทำชั่วให้อายขายหน้าพ่อ | ||
พระองค์จงได้รั้งรอ | น้องจะขอให้ป่าวชาวพารา | ||
ครั้งนี้อย่าเลือกว่าแก่หนุ่ม | หามาประชุมจงพร้อมหน้า | ||
ให้เลือกตามใจรักอีกสักครา | สุดแต่วาสนาธิดาเรา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ตอบชอบแล้วเจ้า | ||
ที่ความวิตกนั้นค่อยบรรเทา | น้อยหรือนั่นขวัญข้าวเจ้าช่างคิด | ||
ว่าพลางทางมีบัญชา | ตรัสเรียกเสนาคนสนิท | ||
จงเข้ามาข้างในให้ใกล้ชิด | ประกาศิตสั่งไปมิได้ช้า | ||
อันหน่อกษัตริย์ทั้งหกองค์ | ซึ่งลูกรักเราจงเสน่หา | ||
ให้อยู่วังยั้งท่ารจนา | จะแต่งการวิวาห์ให้พร้อมกัน | ||
แต่พวกเมืองออกนอกนั้นไซร้ | ให้กลับไปนิเวศน์เขตขัณฑ์ | ||
เร่งร้องป่าวชาวเมืองทั้งปวงนั้น | จนชั้นทรพลคนเข็ญใจ | ||
ให้มันแต่งตัวตามทำนอง | มาประชุมหน้าท้องพระโรงใหญ่ | ||
จะให้ลูกรักร่วมฤทัย | เลือกคู่ดูใหม่ในพรุ่งนี้ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เสนารับสั่งใส่เกศี | ||
มาบอกกษัตราทุกธานี | ตามมีพระราชบัญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | หน่อกษัตริย์ทั้งหกเร่งหรรษา | ||
นั่งสบายอารมณ์ดมมาลา | หัวเราะร่าขาแข้งกระดิกเพลา | ||
บ้างพูดจาเปรียบเปรยเย้ยเพื่อนกัน | อย่างไรนั่นลงนั่งกอดเข่า | ||
วาสนาหาไม่แล้วชาวเรา | แต่ได้เข้ามาเห็นก็เป็นดี | ||
หกองค์กระหยิ่มยิ้มย่อง | ผุดผ่องพักตราราศี | ||
ต่างต่างย่างเยื้องจรลี | เสนีนำหน้าพาไปวัง | ||
พวกที่ไม่สมปรารถนา | ดังจะเสียวิญญาณ์เป็นบ้าหลัง | ||
น้อยใจด้วยผู้หญิงชิงชัง | วาสนาหนหลังช่างอาภัพ | ||
ต่างแกล้งทำชื่นฝืนอารมณ์ | บ้างเดินหกล้มบ้างลมจับ | ||
เหงื่อไหลอาบหน้าเอาผ้าซับ | ขึ้นม้าช้างต่างกลับไปเวียงชัย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ บัดนั้น | เสนานายอำเภอน้อยใหญ่ | ||
ทั้งรั้วแขวงตีฆ้องร้องป่าวไป | ทั่วในจังหวัดนัครา | ||
พรุ่งนี้แต่มืดขมุกขมัว | จงจัดแต่งตัวให้โอ่อ่า | ||
เข้าไปหน้าพระลานชานชาลา | พระธิดาจะเลือกเป็นคู่ครอง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ประชาชายรู้ทั่วทุกบ้านช่อง | ||
บ้างเต้นบ้างรำทำคะนอง | กระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ทุกคน | ||
พวกนักเลงเล่นเบี้ยเสียถั่ว | ครอบครัวอัตคัดขัดสน | ||
ไม่มีผ้าเสื้อแสงจะแต่งตน | เที่ยวซุกซนยืมหยิบเพื่อนกัน | ||
เหล่าพวกอุตริริร่าง | ตัดผมยักอย่างให้สอยสั้น | ||
หวีกระจายรายเส้นเป็นแปรงชัน | เช็ดน้ำมันกันหน้าด้วยมีดน้อย | ||
บ้างติดตำรับใหญ่เอาไฟอัง | กระจกตั้งนั่งหย่งก่งคอสอย | ||
แค้นใจไม่ใคร่จะเรียบร้อย | เฝ้าตะบอยหวีหัวมัวเมา | ||
พวกเหล่าเจ้าชู้หัวอะกรม | เผ้าผมตกแสกทำหน้าเศร้า | ||
เชิงจะพูดจะจาคิ้วตามเพรา | นั่งไหนกอดเข่าเฝ้าทำทุกข์ | ||
พวกขุนนางต่างแต่งตัวลอง | นุ่งยกทองเกี้ยวส่านสีหมากสุก | ||
บ้างนุ่งลายพื้นตองลองนั่งลุก | ดูกระปุกกระปุยกรุยกราย | ||
ที่ป่วยไข้ได้ข่าวเขาป่าวร้อง | ลุกขึ้นเดินได้คล่องเหมือนหนึ่งหาย | ||
พาลโกรธภรรยาด่าแม่ยาย | เคืองขุ่นวุ่นวายเพราะรายนึก | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นไก่ขันแซ่เสียงเที่ยงคืน | ต่างคนต่างตื่นขึ้นแต่ดึก | ||
ตกแต่งกายาโอฬารึก | อื้ออึงอึกทึกไปทุกคน | ||
บ้างทาแป้งแต่งตัวฉุยฉาย | นุ่งลายนอกอย่างหางปัดสัน | ||
บ้างนุ่งห่มสมตัวตามจน | สับสนอลหม่านไม่หลับนอน | ||
พอท้องฟ้าขาวเช้าตรู่ | ที่ใครอยู่บ้านใกล้ก็ไปก่อน | ||
เนืองแน่นถนนในนคร | ค่อยผ่อนเข้าไปในวัง | ||
ลางคนแก่เฒ่าเกือบเข้าโลง | ก็เดินหอบหิ้งโครงมาข้างหลัง | ||
ถือไม้เท้าโซเซเก้กัง | เข้ามาด้วยเขามั่งไม่เจียมตน | ||
ที่เป็นง่อยเพลียเสียแข้งขา | ก็นั่งถดถัดมาตามถนน | ||
เจ็บปวดไม่ว่าอุตส่าห์ทน | เสลือกสลนกล่นเกลื่อนกันมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ คับคั่งทั้งท้องพระโรงชัย | ผู้ดีปนเข็ญใจก็ไม่ว่า | ||
อยากจะใคร่ได้องค์พระธิดา | ต่างคิดสมบัติบ้าอยู่ทุกคน | ||
บ้างชิงที่ตีต่อยปะเตะปะตะ | เอะอะอึงคะนึงสับสน | ||
ตำรวจวังถือหวายวิ่งวน | ไล่ขู่ผู้คนอยู่เป็นควัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามานต์ปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
จึงตรัสแก่ธิดาดวงจันทร์ | จอมขวัญของพ่อผู้ยอดรัก | ||
บัดนี้ชาวเมืองมาพร้อมหน้า | จงไปทัศนาให้ประจักษ์ | ||
เลือกคู่ดูให้งามพักตร์ | ตามแต่ใจรักเถิดลูกยา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางรจนาเสน่หา | ||
ก้มเกล้าดุษฎีแล้วลีลา | สองพี่เลี้ยงกัลยาก็ตามไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เดินดูเสนาข้าเฝ้า | ทั้งเหล่าเศรษฐีผู้ดีไพร่ | ||
ให้เคืองคายนัยน์เนตรนางทรามวัย | มิได้ประกอบชอบวิญญาณ์ | ||
นางจึงเสด็จกลับมาฉับพลัน | อภิวันท์บิตุเรศนาถา | ||
ทูลว่าชาวเมืองที่ป่าวมา | ลูกไม่เสน่หาอาลัย | ||
ขออยู่ด้วยชนกชนนี | ที่จะมีภัสดานั้นหาไม่ | ||
เบื้องหน้าถ้าตัวลูกชั่วไป | จงฆ่าเสียอย่าไว้ชีวิต | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ตอนที่ ๖ พระสังข์ได้นางรจนา
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสามนต์จนจิต | ||
กอดเข่าเข้าตะลึงรำพึงคิด | อกกูดูผิดประหลาดใจ | ||
บุรุษในแผ่นดินก็สิ้นแล้ว | ควรหรือลูกแก้วไม่เลือกได้ | ||
คิดพลางทางเสด็จคลาไคล | ออกบัญชรชัยมิได้ช้า | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
เพลงฝรั่ง | |||
๏ จึงตรัสแก่เสนาข้าเฝ้า | คนในเมืองเราถึงแสนกว่า | ||
ที่อยู่บ้านนอกขอกนา | ขับมาหมดสิ้นแล้วหรือยัง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | เสนาทูลไปดังใจหวัง | ||
ไพร่ฟ้ามาประชุมอยู่ในวัง | ทั่วทั้งแผ่นดินสิ้นชาย | ||
เหลือแต่เงาะป่าทรพล | หน้าตาผิดคนทั้งหลาย | ||
หัวพริกหยิกยุ่งหยาบคาย | ตัวลายคล้ายกันกับเสือปลา | ||
ใครจะบอกจะเล่าไม่เข้าใจ | พูดจาไม่ได้เหมือนใบ้บ้า | ||
เล่นอยู่กับเด็กที่กลางนา | จงทราบบาทาภูวไนย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ฟังแจ้งแถลงไข | ||
ด้วยเดชะเทพเจ้าเข้าดลใจ | เผอิญให้กริ้วโกรธบุตรี | ||
จึงตรัสแก่องค์อัครชายา | น้อยหรือรจนาลูกสาวศรี | ||
เลือกคู่ดูใครไม่ไยดี | จนสิ้นชายไม่มีทั้งพารา | ||
เหลือแต่เงาะป่าเป็นบ้าใบ้ | เอามาให้มันเลือกสมน้ำหน้า | ||
ว่าพลางทางสั่งเสนา | จงไปพาอ้ายเงาะมาในวัง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาคำนับรับสั่ง | ||
ต่างวิ่งวางไปมิได้ยั้ง | มายังกลางทุ่งท้องนา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงบอกแก่เจ้าเงาะ | รับสั่งจำเพาะให้หา | ||
เร็วเร็วมาไปอย่าได้ช้า | ต่างคนฉุดคร่าวุ่นวาย | ||
บ้างเปลื้องผ้าคาดพุงผูกมัด | เจ้าเงาะวัดถูกอกหกล้มหงาย | ||
ลางคนวิ่งออกมาบอกนาย | แรงมันมากมายเหมือนควายวัว | ||
บ้างพยักกวักเรียกเจ้าเงาะขา | ไม่พูดจาด้วยกันเฝ้าสั่นหัว | ||
ที่ใจคอขี้ขลาดหวาดกลัว | ระวังตัวยืนดูอยู่แต่ไกล | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บ้างทำเย้ายั่วให้หัวเราะ | ค่อยปะเหลาะลูบหลังเข้านั่งใกล้ | ||
เกลอเอ๋ยอย่าช้ามาจะไป | นี่คนหรือตอไม้ไม่พูดจา | ||
เสนีนายใหญ่ให้ไพร่เลว | เอาพวนผูกบั้นเอวเจ้าเงาะป่า | ||
ต่างเข้าฉุดชักเต็มประดา | สาระพาเฮโลโย้ตามกัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เชือกขาดล้มคว่ำคะมำไป | ลุกขึ้นดัดหลังไหล่กระดูกลั่น | ||
นิ่วหน้าสั่นหัวกลัวแรงมัน | ต่างปรึกษากันเป็นจนใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ฝูงเด็กเลี้ยงโคน้อยใหญ่ | ||
เห็นคนกลุ้มรุมฉุดเงาะไพร | ขัดใจวิ่งพลางทางร้อง | ||
จะเอาเงาะเขาไปข้างไหนนั่น | ข่มเหงกันไม่บอกเราเจ้าของ | ||
มิถูกอิฐหัวผ่าก็อย่าลอง | ไว้ไยไล่ถ่องให้แทบตาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาฮึกฮักชักหวาย | ||
เหม่เจ้าเหล่านี้หลังจะลาย | อย่าวุ่นวายอ้ายหัวเหาเต่าเล็น | ||
รับสั่งให้เอาตัวอ้ายเงาะป่า | จะทอดพระเนตรหน้าตาไม่เคยเห็น | ||
มันเป็นใบ้บ้าว่ายากเย็น | เอ็งรู้ใจได้เล่นกับมันมา | ||
เคยอย่างไรจงบอกอย่าหลอกกัน | ให้ได้มันเข้าไปถวายหน้า | ||
กูจะให้ขนมเข่งของทยา | กินอร่อยหนักหนาประสาจน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ฝูงเด็กดีใจเสลือกสลน | ||
ต่างชิงกันบอกออกลน | แต่เป็นคนแล้วอย่าฉุดให้เหนื่อยแรง | ||
ถ้าขืนหยักเหย้าเซ้าซี้ | มันขัดใจจะหนีไปแอบแฝง | ||
จงให้ไปเก็บดอกไม้แดง | มาผูกปลายไม้แกว่งแต่ไกลไกล | ||
ค่อยวิ่งรอรอล่อเล่น | เงาะเห็นก็จะผลุนหมุนไล่ | ||
จะพาไปถึงวังได้ดังใจ | เอาขนมมาให้ข้าเถิดรา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | อำมาตย์ตบมือหัวเราะร่า | ||
ต่างวิ่งชิงเก็บดอกชบา | ผูกปลายไม้มาล่อเงาะ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ พวกหลังไสส่งให้ตรงไป | ถือดอกไม้นำหน้าพาวิ่งเหยาะ | ||
ลางคนบ้างกลัวบ้างหัวเราะ | ล่อเงาะเข้ามาถึงวังใน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ บัดนั้น | ฝูงสนมกำนัลน้อยใหญ่ | ||
แอบดูอยู่ที่บัญชรชัย | แลไปเห็นเงาะหัวเราะอึง | ||
บ้างว่าน่าชังเป็นหนักหนา | แลดูหูตาตื่นทะลึ่ง | ||
รูปร่างอัปรีย์ขี้ทึ้ง | เหมือนหนึ่งภูตผีที่กลางนา | ||
ลางคนบ่นว่าถ้าเช่นนี้ | ฟ้าผี่เถิดไม่นึกปรารถนา | ||
น่ากลัวตัวดำเหมือนคุลา | ต่างติเงาะป่าว่าวุ่นไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนามาทูลแถลงไข | ||
ข้าออกไปเอาตัวอ้ายเงาะไพร | บัดนี้ได้มาแล้วพระราชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์เห็นเงาะชังน้ำหน้า | ||
เนื้อตัวเป็นลายคล้ายเสือปลา | ไม่กลัวใครใจกล้าดุดัน | ||
ผมหยิกยุ่งเหยิงเหมือนเซิงฟัก | หน้าตาตละยักษ์มักกะสัน | ||
พระเมินเสียมิได้ดูมัน | แล้วมีบัญชาประชดรจนา | ||
จงออกไปเลือกคู่ดูอ้ายเงาะ | มันงามเหมาะเหลือใจเป็นใบ้บ้า | ||
หรือจะชอบอารมณ์สมหน้าตา | หน่อกษัตริย์จัดมาไม่พอใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนานารีศรีใส | ||
เทวดาเดินหนดลฤทัย | อยากจะใคร่ดูเงาะจำเพาะเป็น | ||
จึงตรัสแก่พี่เลี้ยงกัลยา | เงาะป่าอย่างไรไม่เคยเห็น | ||
เขาว่าหน้ามันปั้นยากเย็น | เราออกไปดูเล่นก็เป็นไร | ||
ซึ่งบิดาเคืองขัดตรัสประชด | เผอิญลืมไปหมดไม่สงสัย | ||
จึงเสด็จลีลาคลาไคล | มายังพระโรงชัยฉับพลัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลง | |||
ลีลากระทุ่ม | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะแสนกลคนขยัน | ||
พิศโฉมพระธิดาวิลาวัณย์ | ผุดผาดผิวพรรณดังดวงเดือน | ||
งามละม่อมพร้อมสิ้นทั้งอินทรีย์ | นางในธรณีไม่มีเหมือน | ||
แสร้งทำแลเลี่ยงเบี่ยงเบือน | ให้ฟั่นเฟือนเตือนจิตคิดปอง | ||
พระจึงตั้งสัตย์อธิษฐาน | แม้นบุญญาธิการเคยสมสอง | ||
ขอให้ทรามสงวนนวลน้อง | เห็นรูปพี่เป็นทองต้องใจรัก | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนานารีมีศักดิ์ | ||
เทพไทอุปถัมภ์นำชัก | นงลักษณ์ดูเงาะเจาะจง | ||
นางเห็นรูปสุวรรณอยู่ชั้นใน | รูปเงาะสวมไว้ให้คนหลง | ||
ใครใครไม่เห็นรูปทรง | พระเป็นทองทั้งองค์อร่ามตา | ||
ชะรอยบุญไซร้จึงได้เห็น | ต่อจะเป็นคู่ครองกระมังหนา | ||
คิดพลางนางเสี่ยงมาลา | แม้ว่าเคยสมภิรมย์รัก | ||
ขอให้พวงมาลยนี้ไปต้อง | เจ้าเงาะรูปทองจงประจักษ์ | ||
เสี่ยงแล้วโฉมยงนงลักษณ์ | ผินพักตร์ทิ้งพวงมาลัยไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงหลากจิตคิดสงสัย | ||
อกเอ๋ยนี่เห็นเป็นอย่างไร | มารักใคร่ไอ้เงาะมีเคราะห์กรรม | ||
ทำให้อายขายพักตร์เผ่าพงศ์ | ไม่รักองค์เลยสักนิดผิดส่ำ | ||
ไม่ปรึกษาหารือแต่สักคำ | จะมาทำให้พี่นี้พลอยยับ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์เสียใจจนลมจับ | ||
นางมณฑาเข้าประคองรองรับ | ขยำขยับไปสักหน่อยก็ค่อยคลาย | ||
ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดอึง | อีรจนาดูดู๋มึงช่างมักง่าย | ||
ทรลักษณ์อัปรีย์ไม่มีอาย | หน่อกษัตริย์ทั้งหลายไม่เอื้อเฟื้อ | ||
มารักเงาะทรพลคนอุบาทว์ | ทุดช่างชั่วชาติประหลาดเหลือ | ||
แค้นนักจักใครให้แล่เนื้อ | แล้วเอาเกลือทาซ้ำให้หนำใจ | ||
ว่าพลางฉวยได้ไม้เรียว | โกรธเกรี้ยวตัวสั่นหมั่นไส้ | ||
อีลูกชั่วน่าชังจังไร | เอาไว้ไยดีเสียให้แทบตาย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | นางมณฑาอกสั่นขวัญหาย | ||
เห็นสามีเคืองขุ่นวุ่นวาย | จะพิดทูลเบี่ยงบ่ายก็เกรงกลัว | ||
จึงออกมาว่ากับลูกสาว | ช่างทำความงามฉาวอีคนชั่ว | ||
เสียยศเสียศักดิ์ไม่รักตัว | เลือกผัวได้เงาะเห็นเหมาะใจ | ||
เขาจะเยาะเย้ยเล่นเป็นตำรา | พ่อแม่จะเอาหน้าไปไว้ไหน | ||
จะเชิดชื่อลือลั่นสนั่นไป | ถึงบรรลัยก็ไม่สิ้นเขานินทา | ||
ควรหรือมาเป็นได้เช่นนี้ | เสียทีแม่รักเจ้าหนักหนา | ||
ร่ำพลางนางทรงโศกา | กัลยาเพียงจะสิ้นสมประดี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางรจนามารศรี | ||
กล่าวแกล้งแสร้งทูลชนนี | ทั้งนี้เพราะกรรมได้ทำไว้ | ||
แต่น้ำใสใจจริงของข้า | จะรักใคร่เงาะป่านั้นหาไม่ | ||
ซึ่งหมายมั่นครั้นลูกจะว่าไป | ที่ไหนใครเลยจะเห็นจริง | ||
อันชั่วดีมิใช่จะไม่รู้ | แม่น้ำท่วมปากอยู่จึงสู้นิ่ง | ||
ถึงชนกชนนีจะชังชิง | ลูกจะวิงวอนง้อขอโทษกรณ์ | ||
ทั้งนี้สุดแท้แต่วาสนา | จะก้มหน้าใช้กรรมให้สิ้นก่อน | ||
ยากเย็นอย่างไรไม่ทุกข์ร้อน | มารดรอย่าทรงโศกาลัย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางมณฑาหวั่นจิตคิดสงสัย | ||
เฝ้าปลอบถามลูกรักเฝ้าซักไซ้ | จนอ่อนใจไม่บอกออกความ | ||
กูชังน้ำหน้าลูกว่ายาก | เหนื่อยปากรำคาญขี้คร้านถาม | ||
มึงเห็นอ้ายเงาะว่าเหมาะงาม | จะแร่ตามมันไปช่างไม่อาย | ||
ว่าพลางนางกลับเข้ามาเฝ้า | กระซิบทูลแบ่งเบาเบี่ยงบ่าย | ||
ข้าไปถามอีลูกแสนร้าย | มันพูดเป็นแยบคายไม่เข้าใจ | ||
หลากนักมารักอ้ายเงาะป่า | ชอบลงอาญาอย่าปราศรัย | ||
แต่พระได้ออกโอษฐ์โปรดไว้ | ให้เลือกตามชอบใจทั้งเจ็ดคน | ||
ครั้นจะลงโทษทัณฑ์มันเล่า | จะนินทาว่าเราทุกแห่งหน | ||
โปรดเพียงขับไล่เสียให้พ้น | มันอดอยากยากจนอย่านำพา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ฟังชังน้ำหน้า | ||
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นอุรา | นิ่งนึกตรึกตราอยู่ในใจ | ||
จำจะต้องเงือดงดอดกลั้น | คอยหยิบผิดมันให้จงได้ | ||
คิดพลางทางสั่งเสนาใน | อีรจนากูไม่ขอเห็นมัน | ||
จะใคร่ฆ่าเสียให้ตายก็อายเขา | จะว่าเรากลับคำทำหุนหัน | ||
จะขับไล่ไปเสียด้วยกัน | ปลูกกระท่อมให้มันอยู่ปลายนา | ||
แต่แรกกูตั้งจิตคิดหวัง | จะแต่งทั้งเจ็ดคนให้หนักหนา | ||
อีเจ้ากรรมทำให้ขายหน้าตา | จะแต่งการวิวาห์ก็ขี้คร้าน | ||
ให้อยู่เสียด้วยกันเถิดตามที | ในข้างขึ้นเดือนสี่ปีขาล | ||
ตรัสพลางทางคิดเดือดดาล | ปิดบานพระแกลไม่แลไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนีมี่ฉาวเรียกบ่าวไพร่ | ||
ต่างถือมีดพร้าแล้วคลาไคล | ตรงไปปลายนานอกธานี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด เจรจา | |||
๏ ครั้นถึงจึงเที่ยวเกี่ยวแฝก | ตัดไม้ไผ่แบกมาอึงมี่ | ||
บ้างกล่อมเสามเกลาฟากมากมี | ปลูกกระท่อมลงที่ท้องนา | ||
แล้วปัดปูเสื่อฟูกผูกมุ้งม่าน | หม้อข้าวเชิงกรานตุ่มน้ำท่า | ||
ทั้งปลูกผักฟักแฟงแตงกวา | จอบเสียมมีดพร้าหาพร้อมไว้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งหกบุตรีศรีใส | ||
รู้ว่ารจนาทรามวัย | ได้ไอ้เงาะป่าเป็นสามี | ||
ต่างคนแค้นขัดอัธยา | มันทำให้เขาว่าขายหน้าพี่ | ||
เราจะไปพ้อตัดให้เต็มที | ว่าแล้วจรลีออกมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลงเร็ว | |||
๏ ครั้นถึงจึงหยุดยืนอยู่ | แลดูน้องสาวกับเงาะป่า | ||
เคืองค้อนงอนจริตกิริยา | เปรียบประชดชี้หน้าแล้วว่าไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
เย้ย | |||
๏ ชะนางคนดีไม่มีชั่ว | ช่างเลือกผัวงามนักน่ารักใคร่ | ||
รูปร่างน่าหัวร่อเหมือนตอไม้ | เอออะไรพุงโรสันหลังยาว | ||
มันน่าเชยน่าชมสมประกอบ | พอชอบทำนองหม่อมน้องสาว | ||
หูตาบั้งแบวเหมือนแมวคราว | เขาเล่าลืออื้อฉาวช่างไม่อาย | ||
นอกรีตนอกรอยน้อยหรือนั่น | แร่รันไปรักอีมักง่าย | ||
ให้พี่สาวชาวแส้พลอยวุ่นวาย | อัปยศอดอายขายหน้าตา | ||
ถึงมิดีมิชั่วเช่นผัวกู | จะร่วมเรียงเคียงคู่พอสมหน้า | ||
อันอ้ายเงาะเหมาะเหลือเหมือนเสือปลา | ทุดช่างเสน่หาได้ลงคอ | ||
หรือชะรอยถูกเสน่ห์เล่ห์กล | เวทมนตร์ดลใจไฉนหนอ | ||
ไม่คิดถึงพงศ์เผ่าเหล่ากอ | น้ำใจในคอมึงผิดคน | ||
ยังจะทำแสนงอนค้อนข้าหรือ | คันมือจะใคร่ต่อยสักร้อยหน | ||
กูจะกรวดน้ำคว่ำคะนน | ถึงยากจนขาดจากพี่น้องกัน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาตอบไปขมีขมัน | ||
อุแม่เอ๋ยอื้ออึงขึ้นมึงมัน | เสกแสร้งสารพันโพนทะนา | ||
ท้าคารมสมทบจะตบต่อย | มิใช่ลูกเมียน้อยร้อยภาษา | ||
ถึงได้เงาะเป็นผัวชั่วช้า | ก็สุดแต่วาสนาได้สร้างไว้ | ||
อันผัวพี่ดีเหลือเป็นเนื้อหน่อ | เห็นต่อจะบุญหนักศักดิ์ใหญ่ | ||
รูปร่างน้อยจ้อยอร่อยใจ | จงกอดไว้เถิดคะอย่าละวาง | ||
ถึงพี่จะรุ่งเรืองไปเบื้องหน้า | ก็ไม่พึ่งวาสนาอย่าอวดอ้าง | ||
ดีแต่จะมาพานรานทาง | ไม่อดสูผีสางบ้างเลย | ||
สำคัญว่าพี่น้องท้องเดียวกัน | มิรู้มันเหลือแหล่อุแม่เอย | ||
เป็นผู้ใหญ่ไม่เหมาะมาเยาะเย้ย | ข้าเกินเลยไปมั่งขอสมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกนางเคืองค้อนแล้วค้อนว่า | ||
ชะช่างเลี้ยวลดอีรจนา | กลับพาโลข้าว่าเย้ยเยาะ | ||
เออคะกระนั้นและจริงอยู่ | รูปร่างผัวกูไม่สู้เหมาะ | ||
ที่ไหนจะงามพร้อมเหมือนหม่อมเงาะ | ใครเห็นก็หัวเราะว่ารูปงาม | ||
ยังจะแค่นขึ้นเสียงเถียงเก้อเก้อ | ทำกรุ่งกริ่งหยิ่งเย่อหยาบหยาม | ||
อีกคนชาติชั่วตัวตะกลาม | จะละเมอเร่อตามไอ้เงาะไป | ||
น้อยหรือปากคอมันพอสม | ข้าสู้รบคารมเจ้าไม่ไหว | ||
ขี้คร้านเถียงให้เหนื่อยเมื่อยขาตะไกร | ก็กลับไปห้องหับฉับพลัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลงเร็ว | |||
๏ บัดนั้น | จึงมหาเสนาคนขยัน | ||
เข้าไปทูลรจนาสารพัน | พระบิดาคาดคั้นให้ขับไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาเศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
ครวญคร่ำกำสรดสลดใจ | เข้าไปกราบกรานพระมารดา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ โอ้ว่าพระชนนีเจ้า | พระคุณเคยปกเกล้าเกศา | ||
ถนอมเลี้ยงลูกไว้จนใหญ่มา | เป็นสุขทุกทิวาราตรี | ||
พระองค์จงจิตคิดหวัง | จะปลูกฝังลูกรักเป็นศักดิ์ศรี | ||
มาทำขายบาทาครานี้ | ถึงจะให้ขับหนีไม่น้อยใจ | ||
กรรมของลูกแล้วจะขอลา | พระแม่อย่าทุกข์ทนหม่นไหม้ | ||
แม้นว่าชีวันไม่บรรลัย | คงจะได้แทนคุณการุญรัก | ||
ร่ำพลางกำสรดสลดจิต | ยิ่งคิดเป้นห่วงหน่วงหนัก | ||
ชลเนตรฟูมฟองนองพักตร์ | นงลักษณ์โศกศัลย์พันทวี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางมณฑามเหสี | ||
คิดพะวงสงสารพระบุตรี | เทวีอัดอั้นกลั้นโศกา | ||
ลูกรักเฝ้าชะอ้อนวอนวิง | นางนั่งนิ่งเฉยอยู่ไม่ดูหน้า | ||
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นอุรา | ชลนาคลอเนตรสังเวชใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาทุกข์ทนหม่นไหม้ | ||
เห็นเจ้าเงาะพยักหน้าเป็นนัย | ชี้มือบอกใบ้ไปปลายนา | ||
นางสะทกสะเทินเขินขวย | จะไปด้วยง่ายง่ายก็อายหน้า | ||
ครั้นจะหน่วงหนักชักช้า | ก็กลัวเกรงบิดาจะฆ่าตี | ||
จึงกราบกรานมารดาด้วยอาดูร | ทรามวัยพิไรทูลถ้วนถี่ | ||
ลูกจะขออำลาฝ่าธุลี | ครั้นนี้มีกรรมจะจำไกล | ||
ว่าพลางนางถวายบังคมลา | ชลนาแถวถั่งหลั่งไหล | ||
แล้วดำเนินเดินตามเจ้าเงาะไป | เสนาในนำหน้าจรลี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ทยอย | |||
ทยอย | |||
๏ ครั้นออกมานอกทวารวัง | เหลียวหลังมาดูปราสาทศรี | ||
เคยอยู่สุขเกษมเปรมปรีดิ์ | อนิจจาครานี้จะจำไกล | ||
แสนวิตกอกเอ๋ยไม่เคยยาก | จะลำบากเคืองเข็ญเป็นไฉน | ||
ยิ่งคิดยิ่งทุกข์ฉุกใจ | จะตามไปไม่รู้ว่าร้ายดี | ||
นางสะอื้นยืนเช็ดชลนา | ครั้นเจ้าเงาะเหลียวมาก็เมินหนี | ||
แล้วคิดรักหักใจจรลี | ตรงไปยังที่ปลายนา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลงเร็ว | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นถึงกระท่อมทับที่อยู่ | แลดูสมเพชเป็นหนักหนา | ||
ไม่เคยเห็นเช่นนี้แต่เกิดมา | ก็โศกาทรุดนั่งอยู่นอกชาน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | ||
เข้าไปในห้องมิทันนาน | เที่ยวดูของประทานทั้งปวง | ||
แกล้งหยิบกระโถนมาโยนเล่น | ทำเป็นเหมือนกับรับลูกช่วง | ||
แลเขม้นเห็นหวดกันกลวง | เอามาจ้วงตักน้ำทำจะกิน | ||
รจนาว่าไฮ้ช่างไม่อาย | เบื่อจะตายผมเผ้าเขาเปียกสิ้น | ||
เจ้าเงาะเมินขายหูไม่ได้ยิน | ทำฉวยพัดปัดริ้นปัดยุง | ||
แล้วแกล้งหยิบครุตั้งบนเชิงกราน | ควักข้าวสารมาใส่ก่อไฟหุง | ||
คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง | กางมุ้งเสียให้ดีแต่วี่วัน | ||
แล้วหยิบหมอนมาอิงยิงฟันขาว | กระดิกเท้าทำเล่นให้เห็นขัน | ||
พอโพล้เพล้เพลาสายัณห์ | จึงรำพันพูดเกี้ยวเลี้ยวลด | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ชาตรี | |||
๏ น้องเอยน้องรัก | ผิวพักตร์เพียงจันทร์อันทรงกลด | ||
โฉมนางแน่งน้อยช้อยชด | จะกำสรดเศร้าหมองไม่ต้องการ | ||
บุญพี่กับนางได้สร้างสม | เคยภิรมย์ร่วมรักสมัครสมาน | ||
พี่อยู่ถึงนอกฟ้าหิมพานต์ | เทวัญบันดาลให้เที่ยวมา | ||
เหมือนหนึ่งแกล้งชักนำจำเพาะ | จึงได้เมียงามเหมาะจนเกินหน้า | ||
ไม่ควรเคียงลูกสาวท้าวพระยา | แต่วาสนาของเงาะเคราะห์ดี | ||
พระโปรดปรานประทานทับกระหม่อม | ทั้งเครื่องใช้ได้พร้อมเพราะบุญพี่ | ||
น่าชมสมบัติเรามั่งมี | มารศรีอย่าเศร้าเสียใจ | ||
จะถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงเจ้า | มิให้อายกับเขาเขยใหญ่ | ||
ขอเชิญโฉมงามทรามวัย | มานั่งในห้องหับกับพี่ชาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางรจนาโฉมฉาย | ||
ได้ฟังเจ้าเงาะพูดเราะราย | แยบคายคมสันขันคะนอง | ||
น่าสำรวลสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | อรไทสะเทินเมินยิ้มย่อง | ||
แก้ขวยฉวยมีดมาเจียนตอง | กรีดเล็บเย็บซองจะใส่พลู | ||
เจ้าเงาะรื้อเรียกซ้ำทำกระบวน | เมียงชม้อยม่อยม้วนหน้าอยู่ | ||
อิดเอื้อนเชือนแชไม่แลดู | เป็นครู่มิใคร่จะพาที | ||
คิดถึงรูปทองยังต้องใจ | เสียแรงได้ติดตามมาถึงนี่ | ||
ครั้นจะมิพูดด้วยก็ไม่ดี | เทวีจึงตอบวาจา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่าชัง | ช่างอวดมั่งอวดมีไม่อายหน้า | ||
เหย้าเรือนเหมือนกันกับรังกา | แค่นคิดสมบัติบ้าน่าหัวเราะ | ||
เมื่อกลางวันนั้นทำเป็นบ้าใบ้ | เดี๋ยวนี้เอออะไรพูดออกเหราะ | ||
ฉลาดเฉลี่ยวเจียวจริงเจ้าเงาะ | กลับมาเยาะเย้ยหยันขันจริง | ||
นี่หรือชาวนอกฟ้าหิมพานต์ | ซมซานมาเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง | ||
อุแม่เอ๋ยช่างชะอ้อนวอนวิง | เพราะพริ้งหวานฉ่ำดังน้ำตาล | ||
น้อยหรือนั่นน่ารักอยู่อักโข | หูหนาตาโตเท่าไข่ห่าน | ||
รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร | บ่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม | ||
บิตุรงค์ทรงศักดิ์รักใคร่ | จึงโปรดให้สิงสู่อยู่กระท่อม | ||
จอบเสียมสารพัดจัดให้พร้อม | พอสมที่ทำปลอมแปลงมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ แสนเอยแสนแขนง | น้อยหรือแกล้งตัดพ้อเล่นต่อหน้า | ||
ติเล็กติน้อยคอยนินทา | ค่อนว่าพิไรไค้แคะ | ||
พี่ก็ไม่หลีกเลี่ยงเถียงสักสิ่ง | มันก็จริงกระนั้นนั่นแหละ | ||
เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ | แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง | ||
อย่าประมาทรูปพี่เห็นขี้เหร่ | ไม่ว่าเล่นเป็นเสน่ห์ชอบใจหญิง | ||
ชาวรั้วชาวงังไม่ชังชิง | อุตส่าห์ทิ้งมาลัยมาให้เงาะ | ||
ใช่ว่าจะแสร้งแกล้งอวดตัว | นานไปพี่กลัวจะชมเปาะ | ||
ว่าพลางเย้ายวนชวนหัวเราะ | แกล้งปะเหลาะปะแหละและเลียม | ||
นี่แน่น้องผินหน้ามาข้างนี้ | ไม่พอที่จะระคายอายเหนียม | ||
ดูดู๋ขืนยังนั่งเอื้ยมเฟี้ยม | ใจคอเหี้ยมเกรียมหนักหนานัก | ||
มาเถิดเจ้าเข้าไปเสียในมุ้ง | กลางนากลางทุ่งยุงมันหนัก | ||
อย่าทำบิดตะกูดพูดเยื้องยัก | แสนงอนค้อนควักไปทีเดียว | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ น่าเอยน่าสรวล | เจ้าสำนวนทายาดฉลาดเฉลียว | ||
ล้ำเลิศคนขยันขันจริงเจียว | แก้เกี้ยวเลี้ยวลัดสกัดสแกง | ||
แต่มาลัยให้ทานก็นินทา | ค่อนว่าแคะไค้ไปทุกแห่ง | ||
เห็นเงาะชอบใจดอกไม้แดง | จึงแกล้งทิ้งให้ไปกระนั้น | ||
กลับว่าเขารักตัวน่าหัวเราะ | รูปร่างเจ้าสิเหมาะน้อยหรือนั่น | ||
หนวดเคราครุ่มคร่ามงามครัน | หน้าตาตละปั้นขันสุดใจ | ||
เอออะไรไม่อายขายหน้า | เอารูปเงาะสวมมาทำบ้าใบ้ | ||
แกล้งซ่อนรูปสุวรรณไว้ชั้นใน | ข้าเข้าใจอยู่ดอกอย่าหลอกลวง | ||
พระบิดาขับไล่เพราะใครเล่า | ได้ความทุกขเท่าภูเขาหลวง | ||
อัปยศอดสูเขาทั้งปวง | เพราะไม่หน่วงไม่นักรักรูปทอง | ||
จนตกยากอย่างนี้แล้วมิสา | ยังจะมาเรียกให้ไปในห้อง | ||
ข้ากลัวรูปเงาะป่าตาพอง | จะให้น้องนั่งใกล้จนใจจริง | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ โฉมเอยโฉมเฉลา | เอออะไรรู้เท่าไปทุกสิ่ง | ||
แสนเฉลียวฉลาดล่วงท้วงติง | มันก็จริงกระนั้นนั่นและซิ | ||
ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า | เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ | ||
ผู้หญิงมักต้องจิตประสิทธิ | อย่าเฝ้าติตะบอยไปหน่อยเลย | ||
ถึงหนวดเครารุงรังช่างเป็นไร | เอาแหนบถอนเสียได้ดอกน้องเอ๋ย | ||
หัวพริกหยิกยุ่งอย่าเยาะเย้ย | ถ้าหวีเสยสอยหย่งแล้วคงงาม | ||
ทำไมกับรูปชั่วตัวดำ | จะอาบน้ำขัดสีสัมมะขาม | ||
ละลายดินสอพองสักสองชาม | ทำให้งามตลอดเท้าขาวทั้งตัว | ||
ถึงตาพองท้องพลุ้ยพีพลุ | อย่าดูหมิ่นกินจุมิใช่ชั่ว | ||
จงปรานีเงาะป่าเถิดอย่ากลัว | จะแต่งตัวให้งามตามใจน้อง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ว่าพลางทางถอดเงาะเสีย | เอาซ่อนเมียวางไว้ในห้อง | ||
รูปทรงโสภาดังทาทอง | ค่อยย่องมานั่งข้างหลังนาง | ||
เห็นห่มผ้าสไบไพล่พลิ้ว | ทำยื่นนิ้วจะจี้ที่สีข้าง | ||
กระทั่งไอกระแอมแย้มยิ้มพลาง | สะกิดนางให้รู้ดูนี่แน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาไม่ทะยาทะแยแส | ||
คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก | ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป | ||
โมโหหันหน้ามาหยิกทึ้ง | เห็นรูปงามก็ตะลึงหลงไหล | ||
น้อยหรือถอดเงาะเหมาะสุดใจ | เนื้อหนังช่างกระไรราวกับทอง | ||
หน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มเพรา | นงเยาว์กระหยิ่มยิ้มย่อง | ||
คิดไว้ก็สมอารมณ์ปอง | บริสุทธิ์ผุดผ่องผิวพรรณ | ||
งามจริงยิ่งมนุษย์ในใต้หล้า | ดูดังเทวาบนสวรรค์ | ||
เฝ้าชม้ายชม้อยม่อยเมียงมัน | สะเทินจิตบิดผันไม่พูดจา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์เกษมสันต์หรรษา | ||
เห็นนางอายเอียงเมียงพักตรา | จึงแกล้งว่าสัพยอกหยอกเอิน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าพี่ | ไม่พอที่จะระคางห่างเหิน | ||
เฝ้าผินหน้าผินหลังนั่งเมิน | อย่าสะทกสะเทินเชิญดูเงาะ | ||
นิ่งอยู่ไยสิไม่ติเล่า | นี่แน่เจ้าจะเหมาะหรือมิเหมาะ | ||
ไม่แกล้งอวดทรวดทรงจงพิเคราะห์ | อย่าหัวเราะเยาะเย้าไปเลยคะ | ||
เมื่อกี้ค่อนว่าพี่ตาพอง | เดี๋ยวนี้น้องจงติเถิดสิหนะ | ||
หน้าตาหายเคอะไม่เทอะทะ | มันต่อจะกระนั้นเป็นมั่นคง | ||
หนวดเคราพี่ถอนเสียล่อนเลี่ยน | ไม่ว่าเล่นเห็นเจียนจะลุ่มหลง | ||
ยังพ่วงพีเท่าพ้อมหรือย่อมลง | รูปทรงคงขยันแล้วกัลยา | ||
ถึงเจ้าจะเข้าหอก็พอได้ | เห็นจะไม่อับอายขายหน้า | ||
ตามมีตามเกิดเถิดน้องอา | ตามประสายากเย็นเข็ญใจ | ||
เชิญเจ้าเข้าไปในห้องหับ | นอนหลับเสียมั่งเจ็บหลังไหล่ | ||
แล้วกุมกรกัลยาช้าอยู่ไย | มาไปดีดีอย่าดื้อดึง | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ บัดเอยบัดสี | อะไรนี่น่าพิโรธโกรธขึ้ง | ||
นางค้อนควักผลักไสหยิกทิ้ง | ร้องไห้อึงดอกเจ้าเฝ้ายื้อยุด | ||
ช่างทำได้ไม่เกรงข่มเหงคน | ฉุดกระชากลากจนไหล่จะหลุด | ||
เห็นแล้วว่าประเสริฐเลิศมนุษย์ | ราวกับเทพบุตรสุดปัญญา | ||
งามแล้วคะชะเจ้าอย่าเฝ้าอวด | เพริศพริ้งยิ่งยวดเป็นหนักหนา | ||
ใครใช้ให้แกล้งแปลงปลอมมา | เขาก็ติก็ว่าให้สาใจ | ||
แม้นมิทำยอกย้อนซ่อนรูปทรง | ไหนเลยบิตุรงค์จะขับไล่ | ||
นี่เป็นเหตุเพราะเงาะหรือเพราะใคร | จึงได้อัประมาณรำคาญเคือง | ||
ยังจะมาลดเลี้ยวเกี้ยวพาน | พูดจาน่ารำคาญหูเหือง | ||
ว่าพลางทางทำชำเลือง | ค้อนควักยักเยื้องเป็นแยบคาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ ดวงเอยดวงสมร | เจ้าแสนแง่แสนงอนใจหาย | ||
ไม่ควรจะเคืองขุ่นวุ่นวาย | ตีโพยตีพายพาโลเงาะ | ||
พี่เสี่ยงแสร้งแปลงมาทำบ้าใบ้ | ถ้าแม้นใครเป็นคู่ก็ดูเหมาะ | ||
แม้นไม่เคยอุปถัมภ์จำเพาะ | ก็เย้ยเยาะยิ้มหัวว่าชั่วช้า | ||
ซึ่งสวมรูปเงาะป่ามานี้ไซร้ | หวังจะให้น้องคิดปริศนา | ||
เจ้าก็ปลงถูกแล้วนะแก้วตา | จึงรู้ว่าเงาะงามเป็นรูปทอง | ||
อย่าบิดเบือนเชือนเฉยนะแก้วตา | จูงนางย่างเข้าไปในห้อง | ||
นั่งแอบแนบเนื้อนวลละออง | เลียมลองโลมเล้าเคล้าคลึง | ||
อะไรเฝ้าฮึดฮัดปัดมือ | รำคาญวานอย่าดื้อไปน่อยหนึ่ง | ||
ว่าพลางทางกระหวัดรัดรึง | จะร้องอึงก็ร้องเถิดน้องรัก | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ น้อยเอยน้อยใจ | นี่อะไรรุกรานหาญหัก | ||
ข่มเหงคะเนงร้ายน่าอายนัก | นางค้อนควักชักหน้าแล้วว่าไป | ||
น้องยังเคลือบแคลงไม่แจ้งความ | อย่าวู่วามลามลวนหาควรไม่ | ||
นามวงศ์พงศ์ประยูรอย่างไร | ประหลาดเหลือเชื้อไพร่หรือผู้ดี | ||
ไม่บอกไม่เล่าเฝ้าแอบอิง | แม้นรักจริงนิ่งอยู่อย่าจู้จี้ | ||
จะหยิกให้ขาเขียวประเดี๋ยวนี้ | อะไรนี่ไม่เสงี่ยมเลียมและ | ||
ยิ่งว่าให้นิ่งเหมือนยิ่งยุ | ดูดู๋น่าตีเล่นดีแหละ | ||
จงแถลงแจ้งความให้งามแงะ | อย่าเหลาะแหละลวงหลอกเร่งบอกมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ ยอดเอยยอดมิ่ง | จะแจ้งความตามจริงไม่มุสา | ||
ตัวพี่นี้หน่อกษัตรา | นามกรชื่อว่าพระสังข์ทอง | ||
แถลงเล่าแต่ต้นไปจนปลาย | บรรยายตามเรื่องที่เคืองข้อง | ||
เป็นความในใจพี่เช่นนี้น้อง | นวลละอองอย่าแหนงแคลงใจ | ||
ว่าพลางทางถดเข้าชิด | จะอายเอียงเบี่ยงบิดไปข้างไหน | ||
ยื้อยุดฉุดชักชายสไบ | คว้าไขว่สัพยอกหยอกเย้า | ||
ช่างหยิกข่วนไปได้เหมือนไม่เจ็บ | ข่มเหงนักหักเล็บเสียดอกเจ้า | ||
ดีจริงยิ่งว่ายิ่งหยิกเอา | เบาเบาอุยหน่าไม่ปรานี | ||
พระอุ้มองค์อรไทขึ้นใส่ตัก | อะไรเล่าเฝ้าผลักมือพี่ | ||
ความรักรัญจวนยวนยี | เปรมปรีดิ์ประดิพัทธ์กำหนัดนาง | ||
อัศจรรย์บันดาลในกลางหาว | เดือนดาวส่องแสงเจ้งกระจ่าง | ||
เย็นซาบอาบละอองน้ำค้าง | ค่อยสระสร่างเศร้าหมองทั้งสองรา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ โลมพิณพาทย์ | |||
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาเยาวยอดเสน่หา | ||
นั่งแนบแอบองค์ภัสดา | จำนรรจาพาทีซี้ซิก | ||
ที่ทุกข์ร้อนผ่อนผันบรรเทา | นงเยาว์ยิ้มเหยาะหัวเราะหริก | ||
พระอุ้มขึ้นใส่ตักนางผลักพลิก | ทำกระบวนข่วนหยิกด้วยมารยา | ||
แลสบหลบเนตรภูวไนย | สะเทินใจอายเอียงเมียงหน้า | ||
แย้มสรวลยวนยีปรีดา | กัลยานิยมสมคิด | ||
แสนสมัครรักใคร่ใหลหลง | ด้วยรูปทรงเป็นทองต้องจิต | ||
ถ้อยทีบรรทมชมชิด | แนบสนิทนิทราในราตรี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ปรีดิ์เปรมเกษมศรี | ||
เชยชมสมสวาทด้วยเทวี | ในที่กระท่อมทับลับแลง | ||
ครั้นประจุสมัยไก่ขัน | สุริยันเรืองรองส่องแสง | ||
เอารูปเงาะสวมองค์ทรงแปลง | หวังมิให้ใครแจ้งความใน | ||
แล้วว่าแก่รจนานงลักษณ์ | น้องรักผู้ยอดพิสมัย | ||
เราผัวเมียสองคนจนใจ | มาจะไปหาหุงโภชนา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาโศกศัลย์รำพันว่า | ||
น้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา | จะหุงข้าวหุงปลาก็ไม่เคย | ||
แต่ก่อนร่อนชะไรอยู่ในวัง | วิเสทหามาตั้งให้เสวย | ||
ไม่เข้าเนื้อเข้าใจอย่างไรเลย | อกเอ๋ยมีกรรมก็จำเป็น | ||
ว่าพลางนางทรงโศกี | ครั้งนี้ยากแค้นแสนเข็ญ | ||
ดังหนึ่งเลือดตาจะกระเด็น | จำเป็นจำใจออกไปพลัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะแสนกลคนขยัน | ||
ครั้นโพล้เพล้เพลาสายัณห์ | สองราพากันเข้าในทับ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ จึงถอดเงาะออกเสียให้เมียเห็น | รูปเป็นทองอร่ามงามสรรพ | ||
เอารูปเงาะซ่อนไว้ให้ลับ | แล้วกลับมานั่งสั่งสนทนา | ||
อิงแอบแนบชิดสะกิดเกา | สัพยอกหยอกเย้าขนิษฐา | ||
เชยแก้มแนมปรางปรีดา | สรวลสันต์หรรษาพาที | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาแน่งน้อยนวลศรี | ||
พลางชะอ้อนวอนว่ากับสามี | จงปรานีน้องเถิดอย่าทรงเงาะ | ||
ผู้คนทั้งปวงไม่ล่วงรู้ | ให้เขาดูถูกเล่าช่างเห็นเหมาะ | ||
น้องว่าก็ไม่เชื่อนี่เนื้อเคราะห์ | กลับจะมาหัวเราะน่าขัดใจ | ||
นางนิ่งนึกตรึกแล้วตรึกเล่า | จะลักรูปเงาะเผาเสียให้ได้ | ||
จึงปูปัดฟูกหมอนที่นอนใน | ชวนให้ทรงธรรม์บรรทม | ||
แล้วนั่งนวดฟั้นคั้นบาทา | คลี่ผ้าของตัวให้ผ้าห่ม | ||
ปรนนิบัตรพัดวีโบกลม | นงเยาว์นิยมสมปอง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์เชยชมสมสอง | ||
อิงแอบแนบเนื้อนวลละออง | กรตระกองน้องแก้วแล้วหลับไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางรจนานารีศรีใส | ||
คิดจะลักรูปเงาะภูวไนย | นางมิได้สนิทนิทรา | ||
เห็นพระหลับไหลไม่ไหวองค์ | โฉมยงยินดีเป็นหนักหนา | ||
ค่อยขยายยกหัตถ์ภัสดา | ขยับตัวออกมาเอาหมอนรอง | ||
ฟากลั่นเกรียบเกรียบเหยียบย่าง | มืดไม่เห็นทางถลำล่อง | ||
ลุกขึ้นลดเลี้ยวเที่ยวมอง | หาเงาะในห้องกระท่อมทับ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลงเร็ว | |||
๏ ครั้นเห็นหิ้วหัวมาครัวไฟ | ฉวยพร้าโต้ใหญ่เข้าเสี่ยงสับ | ||
ฟันซ้ำร่ำไปมิได้นับ | รูปเงาะไม่ยับยิ่งขัดใจ | ||
เหน็ดเหนี่อยเมื่อยแขนสิ้นแรงเรี่ยว | ทุดช่างหนังเหนียวน่าหมั่นไส้ | ||
นางโกรธาหาฟืนมาก่อไฟ | เอารูปเงาะเข้าใส่ในอัคคี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ แล้วฉวยเอาพร้ามาสับซ้ำ | นางทำร้อยอย่างร้อยสี | ||
อ้ายเงาะสัปดนทนสิ้นที | เผาจี่เท่าไรไม่ไหม้มัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์หลับไหลใฝ่ฝัน | ||
ละเมอกอดหมอนข้างพลางสำคัญ | คิดว่าเมียขวัญอยู่แนบนอน | ||
ลืมตาคว้าไขว่ไปเป็นครู่ | จึงรู้ตระหนักแน่อุแม่หมอน | ||
แลดูโฉมยงองค์บังอร | ไม่เห็นนอนในมุ้งสะดุ้งใจ | ||
ลุกขึ้นมองหาละล้าละหลัง | ไม่เห็นทั้งเงาะทรงยิ่งสงสัย | ||
เห็นแสงเพลิงสว่างข้างครัวไฟ | ตกใจออกมาเที่ยวหาเมีย | ||
เห็นนงเยาว์เผาเงาะเอาไฟสุม | จึงตักน้ำในตุ่มมาดับเสีย | ||
แล้วว่าน่าชังช่างทำเยีย | ขิงเงาะทะเลาะเมียมี่ไป | ||
ดูดู๋ยังดื้อเข้ายื้อคร่า | ยิ่งว่าแล้วยังหาฟังไม่ | ||
จะเอาเงาะของเขาไปเผาไฟ | ทำได้ไม่เกรงข่มเหงกัน | ||
หรือเจ้าชอบใจจะใส่เล่น | จะได้เป็นนางเงาะเหมาะขัน | ||
นอกรีตน้อยหรือมือคันคัน | จะใคร่รันเข้าสักผางนางคนดี | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ ทรงเอยทรงฤทธิ์ | ชอบผิดจะรับใส่เกศี | ||
แม้นไม่เมตตาจะฆ่าตี | น้องนี้จะสู้ม้วยมุด | ||
พระสวมเงาะร้ายขายหน้าเมีย | จะชิงเอาเผาเสียให้สิ้นสุด | ||
ถึงพระเรี่ยวแรงจะแย่งยุด | ผิดชอบแขนหลุดไม่วางมือ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่าหัวเราะ | เก้อแล้วนี่เงาะของเจ้าหรือ | ||
กลับเถียงเสียงแข็งเข้าแย่งยื้อ | เอออะไรใจดื้อจริงจริงเจียว | ||
ถึงเจ้ามิให้ก็ไม่ฟัง | น่าชังน้อยหรอืนางมือเหนียว | ||
ฮึดฮัดขัดเขมรเป็นเกลียว | แย่งยุดฉุดเหนี่ยวกันไปมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ชิงรูปเงาะได้ใส่สวมองค์ | ทำก้มลงหลอนหลอกกลอกหน้า | ||
ตบมือเย้ยหยันกัลยา | แล้วคืนเข้าเคหาห้องนอน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางรจนาดวงสมร | ||
จึงตามมางอนง้อขอโทษกรณ์ | วิงวอนสามีพิรี้พิไร | ||
น้องได้ผิดพลั้งแต่ครั้งหนึ่ง | จะพิโรธโกรธขึ้งไปถึงไหน | ||
ผัวเมียสองคนจนไร้ | ชั่วดีได้เห็นหน้ากัน | ||
ถ้าทีหลังยังขืนทำเช่นนี้ | จงทำโพยโบยตีให้อาสัญ | ||
ว่าพลางนางเข้าไปนวดฟั้น | หลังไหล่ไหนคันจะช่วยเกา | ||
ยื่นมือมาจี้ที่สีข้าง | จะหย่าร้างกันจริงเจียวหรือเจ้า | ||
เอนอิงพิงทับลงกับเพลา | ถอนหนวดถอนเคราให้เจ้าเงาะ | ||
แล้วหยิบหมากมาป้อนวอนขอชาน | เคี้ยวประทานสักคำทำปะเหลาะ | ||
ยียวนชวนผัวให้หัวเราะ | แสร้งออเซาะสรวลสันต์จำนรรจา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะยิ้มพลางทางว่า | ||
ที่นี้พี่จะอดนางรจนา | แม้นถ้าทีหลังไม่ฟังกัน | ||
นี่หากว่ารักเจ้าอักโข | จึงสู้ดับโมโหไม่หุนหัน | ||
ว่าพลางเชยชิดติดพัน | ถ้อยทีดีกันดังใจจง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ พระสังข์ตั้งแต่วันนั้นมา | ไม่ไว้ใจรจนานวลหง | ||
เอารูปเงาะศักดิ์สิทธิ์ฤทธิรงค์ | สวมองค์ทรงใส่ไว้อัตรา | ||
เช้าค่ำพร่ำสอนสั่งเสีย | ให้เมียปั่นฝ้ายทอผ้า | ||
เจ้าเงาะหัดตีกรับขับเสภา | รจนาปั่นฝ้ายสบายใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
บทเสภาเจ้าเงาะขับ
(บทเสภานี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์)
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | สบายจิตชื่นชมประสมสอง | ||
นั่งอยู่ด้วยกันกับวันทอง | ที่ร่มไทรในห้องอรัญวา | ||
ให้วิเวกอ้างว้างอยู่กลางดง | ตะวันบ่ายชายลงลับเหลี่ยมผา | ||
ลมพัดเรื่อยเรื่อยเฉี่อยเฉี่อยมา | ดอกไม้ป่าหอมหวนชวนชื่นใจ | ||
รวยระรินกลิ่นพุทธิชาดชื่น | รื่นรื่นลำดวนดกดอกไสว | ||
เรไรร้องหริ่งหริ่งที่กิ่งไทร | เสียงลองไนให้เสนาะเพราะสำเนียง | ||
แจ้วแจ้วจักจั่นสนั่นป่า | ดังซอสีปี่ชวาวังเวงเสียง | ||
สกุณาพาคู่เข้ารังเรียง | ขุนแผนเคียงข้างน้องประคองเชย | ||
ตัวพี่กับรจนามาได้แค้น | เหมือนขุนแผนกับวันทองเจียวน้องเอ๋ย | ||
อยู่กระท่อมตรอมใจไม่เสบย | กระไรเลยอนิจจาช่างอาภัพ | ||
เคยนอนเตียงเสียงประโคมด้วยแตรสังข์ | มาตกไร้ได้ฟังแต่เสียงกรับ | ||
พลางอิงแอบแนบน้องในห้องทับ | ถนอมรับขวัญให้เข้าไสยา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ตอนที่ ๗ ท้าวสามนต์ให้ลูกเขยหาปลาหาเนื้อ
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสามนต์เป็นใหญ่ | ||
ตั้งแต่เงาะพาธิดาไป | ให้แค้นขัดฤทัยทุกเวลา | ||
รจนาเจ้ากรรมมันทำชั่ว | มีผัวเงาะร้ายให้ขายหน้า | ||
จำจะคิดอ่านด้วยมารยา | พาลฆ่าเสียให้ได้ไม่ไว้เลย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางทางสั่งเสนาใน | จงรีบไปบอกบรรดาลูกเขย | ||
กูจะให้แต่งตั้งสังเวย | ตามเคยบวงสรวงเทวัญ | ||
พรุ่งนี้หาปลามาคนละร้อย | ใครได้น้อยจะฆ่าให้อาสัญ | ||
ทั้งอ้ายเงาะขี้ครอกจงบอกมัน | มิได้ปลามาทันจะบรรลัย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนารับสั่งบังคมไหว้ | ||
วิ่งวางออกจากวังใน | มายังบ้านเขยใหญ่ทั้งหกองค์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงแถลงแจ้งคดี | บัดนี้รับสั่งต้องประสงค์ | ||
เร่งหาปลามาให้ดังใจจง | เอาไปส่งให้ทันพระบัญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยเกษมสันต์หรรษา | ||
ยิ้มพลางทางตอบเสนา | ผักปลาหน้านี้มีถมไป | ||
อย่าว่าแต่เท่านั้นท่านจะเอา | ถึงจะลงสำเภาก็รับได้ | ||
อาสาพ่อตาแล้วเต็มใจ | จะหาให้สุดฤทธิ์ไม่บิดพลิ้ว | ||
สงสารแต่เงาะป่าประดาเสีย | จะพาเมียสุ่มช้อนจนอ่อนหิว | ||
เต็มทีจะได้มาแค่ปลาซิว | ท้าวจะกริ้วโกรธาให้ฆ่าฟัน | ||
ว่าพลางทางสั่งบ่าวไพร่ | พรุ่งนี้กูจะไปแต่ไก่ขัน | ||
เรือแพแหอวนทุกสิ่งอัน | เร่งรัดจัดกันให้พร้อมไว้ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนาลาหกเขยใหญ่ | ||
ชวนกันรีบออกนอกเวียงชัย | ตรงไปยังบ้านปลายนา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงยืนอยู่นอกรั้ว | ระวังตัวกลัวสุนัขหนักหนา | ||
ร้องเรียกเข้าไปมิได้ช้า | หม่อมแม่รจนาอยู่แห่งใด | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาสาละวนลนควันไต้ | ||
จับกระเหม่าใส่น้ำมันกันไร | ถึงยากเย็นเข็ญใจมิให้รก | ||
ทางแป้งแต่งตัวไม่มัวหมอง | ผัดหน้านั่งมองส่องกระจก | ||
นุ่งผ้าจัดกลีบจีบชายพก | แล้วยกของมาให้ผัวกิน | ||
จีบพลูใส่ซองรองลำดับ | เอามีดพับผ่าหมากจนปากบิ่น | ||
เจ้าเงาะนอนถอนหนวดสวดสุบิน | เล่นลิ้นละลักยักลำนำ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
กาพย์เรื่องสุบิน | |||
๏ จะกล่าวตำนาน | สุบินกุมาร | ||
อันสร้างสมมา | ร่ำเรียนเขียนธรรม | ||
ปรากฏนักหนา | บวชในศาสนา | ||
ลุถึงอรหันต์ | |||
๏ โปรดแม่พ้นทุกข์ | โปรดพ่อเสวยสุข | ||
ไปยังเมืองสวรรค์ | นางฟ้าแห่ห้อม | ||
แวดล้อมนับพัน | เครื่องทิพย์อนันต์ | ||
อเนกนานา | |||
๏ แต่ก่อนยังมี | เมืองสาวัตถี | ||
นครพารา | ท่านท้าวเจ้าเมือง | ||
ฤาเลื่องนักหนา | รี้พลช้างม้า | ||
ข้าคนบริวาร | |||
๏ นอกเมืองออกไป | มิใกล้มิไกล | ||
มีบ้านนายพราน | เป็นส่วยมังสัง | ||
เนื้อหนังตระการ | แต่ล้วนหมู่พราน | ||
ย่อมเอามาถวาย | |||
๏ นายพรานผู้ใหญ่ | ชอบอัชฌาสัย | ||
ตั้งให้เป็นนาย | คุมไพร่พรานป่า | ||
ล่าเนื้อกวางทราย | พรานผู้เป็นนาย | ||
ตักเตือนบ่คลา | |||
๏ รจนานิ่งฟังนั่งหัวเราะ | น้อยหรือเพราะแจ้วเจื่อยเฉื่อยฉ่ำ | ||
ไม่ทันถึงใบสมุดหยุดกินน้ำ | สวดซ้ำอีกสักนิดยังติดใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ พอได้ยินแว่วเสียงเสนี | มาร้องเรียกอยู่ที่ริมไร่ | ||
นางจึงลุกเดินออกไป | ยืนเยี่ยมกระไดมองดู | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาหยุดยั้งนั่งคอยอยู่ | ||
เรียกพลางทางมองที่ช่องประตู | เห็นโฉมตรูเดินออกมานอกชาน | ||
จึงเข้าไปบังคมก้มหน้า | น้ำตาไหลลงด้วยสงสาร | ||
แล้วทูลแถลงเล่าเยาวมาลย์ | ตามบัญชาการพระทรงยศ | ||
บัดนี้มีรับสั่งใช้มา | ให้เจ้าเงาะเสาะหาปลาสด | ||
ทั้งหกเขยใหญ่ก็ไม่ลด | กำหนดให้ทันวันพรุ่งนี้ | ||
ใครได้ไม่ครบร้อยน้อยไป | พระจะให้ฆ่าฟันบั่นเกศี | ||
ทูลแถลงแจ้งความตามคดี | อัญชลีแล้วกลับไปฉับไว | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาอกสั่นหวั่นไหว | ||
เข้าไปในกระท่อมทันใด | กอดตีนผัวไว้แล้วโศกา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ อกเอ๋ยโอ้ว่าครานี้ | น่าที่จะม้วยสังขาร์ | ||
สมเด็จบิตุเรศไม่เวทนา | จะคิดอ่านพาลฆ่าชีวาลัย | ||
ให้หาปลาเป็นร้อยน้อยหรือนั่น | ประกวดกันกับเขาเหล่าเขยใหญ่ | ||
มั่งมีศรีสุขทุกข์อะไร | ประเดี๋ยวเดียวก็จะได้ง่ายดาย | ||
วิตกแต่ส่วนตัวผัวรัก | ยากนักจะซุกซนขวนขวาย | ||
ผัวเมียสองคนจนจะตาย | จะหาปลาไปถวายที่ไหนทัน | ||
ถ้าพระรูปทองน้องงบรรลัย | เมียจะตามเข้าไปมิได้พรั่น | ||
จะให้เขาพิฆาตฟาดฟัน | สู้ตายตามกันไปไม่คิดกลัว | ||
ไม่ขออยู่ดูหน้าคนทั้งหลาย | มิให้ชายอื่นต้องเป็นสองผัว | ||
ว่าพลางนางทุ่มทอดตัว | ตีอกชกหัวเข้าร่ำไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะยิ่งคิดพิสมัย | ||
ปลอบนางพลางเช็ดชลนัยน์ | โลมเล้าเอาใจให้เคลื่อนคลาย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้โลมใน | |||
๏ น้องเอยน้องรัก | งามพักตร์ผ่องเหมือนดังเดือนหงาย | ||
อย่าครวญคร่ำน้ำเนตรฟูมฟาย | แสนเสียดายนวลน้องจะหมองมัว | ||
ทั้งในใต้ฟ้าไม่หาได้ | พี่ขอบใจเจ้านักที่รักผัว | ||
ทำไมกับมัจฉาเจ้าอย่ากลัว | สักแสนตัวก็จะได้ไม่ยากนัก | ||
ไปนอนเสียให้สบายหายเจ็บหลัง | จะมานั่งโศกาด้วยปลาผัก | ||
แย้มสรวลชวนชิดจุมพิตพักตร์ | น้องรักเจ้าอย่าปรารมภ์เลย | ||
ถึงยากจนคนเดียวก็หาได้ | พี่หาพรั่นไม่อ้ายหกเขย | ||
ว่าพลางภิรมย์ชมเชย | หลับนอนตามเคยสบายใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ กล่อม | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นอุทัยไขแสงขึ้นสางสาง | พระโลมนางพลางลูบหลังไหล่ | ||
สั่งเสียรจนาด้วยอาลัย | พี่จะไปสักประเดี๋ยวเที่ยวหาปลา | ||
ว่าพลางทางจับไม้เท้าทรง | ใส่เกือกแก้วแล้วลงจากเคหา | ||
แผลงฤทธิ์เหาะเหินเดินฟ้า | ตรงมายังฝั่งชลธาร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงลงหยุดนั่ง | ที่ร่มไทรใบบังสุริย์ฉาน | ||
ถอดเงาะซ่อนเสียมิทันนาน | แล้วโอมอ่านมหาจินดามนต์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ | |||
ล่องเรือ | |||
๏ เดชะเวทวิเศษของมารดา | ฝูงปลามาสิ้นทุกแห่งหน | ||
เป็นหมู่หมู่มากมายในสายชล | บ้างว่ายวนพ่นน้ำคล่ำไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โล้ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายเจ้าเหล่าหกเขยใหญ่ | ||
ครั้นรุ่งเรียกหาข้าไท | บ่าวไพร่นับร้อยไม่น้อยเลย | ||
แต่งองค์ทรงเสื้อลงเรือญวน | แหวนของใครเอาไปเหวย | ||
ภรรยาหาขนมนมเนย | ตามเคยขนส่งลงมาพลัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นจัดแจงพร้อมมุลไม่ขาดเหลือ | ให้ออกเรือจากที่ขมีขมัน | ||
เรืออวนเรือแหแจจัน | เร่งกันตามนายพายมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โล้ | |||
๏ พ้นด่านบ้านช่องล่องเลย | ถึงท้องคุ้งที่เคยมีมัจฉา | ||
หกองค์ทรงแหทอดปลา | ลอยมาสองฟากลากเบ็ดราว | ||
บ้างเอาลอบลงดักตักสวิง | ริมตลิ่งลากอวนอื้อฉาว | ||
ติดแต่จระเข้อยู่เกรียวกราว | นายบ่าวต่างโกรธโทษกัน | ||
แล้วพายเลียบริมฝั่งมาทั้งพวก | ถือฉมวกยืนคอยแทงหวั่น | ||
บ้างลงเฝือกปิดคลองไว้สองชั้น | แล้วช่วยกันตีน้ำร่ำมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ปลาผักสักตัวก็ไม่ได้ | คิดอัศจรรย์ใจเป็นหนักหนา | ||
รีบพายมาจนถึงบึงปลายนา | พบมัจฉานับแสนแน่นไป | ||
เห็นพระสังข์นั่งอยู่ที่ฝั่งชล | ต่างคนพิศวงสงสัย | ||
จะเป็นเทพารักษ์หรืออะไร | เถียงกันวุ่นไปทั้งไพร่นาย | ||
จึงวาดแวะนาวาเข้ามาพลัน | ทั้งหกอกสั่นขวัญหาย | ||
ต่างก้มกรานหมอบยอบกาย | บ่าวนายนึกคะเนว่าเทวา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์นั่งยิ้มอยู่ในหน้า | ||
เห็นหกเขยเคอะเซอะมา | สมดังจินดาก็ยินดี | ||
จึงเสแสร้งแกล้งทำไม่รู้จัก | ถามทักซักไซ้ไปไหนนี่ | ||
เอะแล้วออเจ้าเหล่านี้ | หน่วยก้านพานจะดีมีฝีมือ | ||
เรือแพแหอวนก็เอามา | จะลอบลักดักปลาของข้าหรือ | ||
เราเป็นเทพเจ้าเล่าลือ | นับถือทุกแห่งแพร่งพราย | ||
แต่หักคอคนตายเสียหลายพัน | อย่าดุดันดูหมิ่นมักง่าย | ||
มาหาเรานี้ดีหรือร้าย | บอกยุบลต้นปลายให้แจ้งใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งหกอกสั่นหวั่นไหว | ||
สำคัญจิตคิดว่าพระไพร | กราบไหว้ท่วมหัวกลัวฤทธา | ||
ใจคอทึกทึกนึกพรั่น | ปากสั่นเสียงสั่นซังตายว่า | ||
ท่านท้าวสามนต์ผู้พ่อตา | ให้หาปลาประกวดกับอ้ายเงาะ | ||
ข้าทอดแหแปรซ้อนแต่เช้าตรู่ | ออกอ่อนหูหิวหอบเที่ยวรอบเกาะ | ||
ไม่ได้ปลาสักหน่อยชะรอยเคราะห์ | ฉวยแพ้อ้ายเงาะสิน่าอาย | ||
กลัวท้าวพ่อตาจะฆ่าเสีย | สงสารแต่เมียจะเป็นม่าย | ||
เทวดาเลี้ยงปลาไว้มากมาย | ข้าขอไปถวายพอรอดตัว | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ได้ฟังก็ยิ้มหัว | ||
จึงว่าหกเจ้านี้เมามัว | ไม่กลัวบาปกรรมทำประมง | ||
แต่ได้มาขอแล้วก็จำให้ | เราไซร้จะขอมั่งดังประสงค์ | ||
จะให้หรือมิให้ทั้งหกองค์ | ท่านจงปรึกษาหารือกัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยรับคำขมีขมัน | ||
พระองค์จะประสงค์สิ่งใดนั้น | สารพันมีแล้วไม่ขัดเลย | ||
สุดแท้แต่ตามจะเลือกเอา | เป็ดไก่เหล้าข้าวของเสวย | ||
ทั้งกล้วยอ้อยขนมนมเนย | จะแต่งตั้งสังเวยเซ่นวัก | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์กล่าวแกล้งแจ้งประจักษ์ | ||
เราเป็นเทวาสุรารักษ์ | จะเซ่นวักสิ่งของไม่ต้องใจ | ||
จะขอปลายจมูกหม่อมลูกเขย | ตามเคยคนละน้อยหามากไม่ | ||
แม้นให้เราเราจะให้ปลาไป | จะให้หรือมิให้ให้ว่ามา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยได้ฟังนั่งปรึกษา | ||
ชิชะเจ้าเล่ห์เทวดา | จะเอาปลาแลกปลายจมูกคน | ||
แม้นเชือดเสียเมียเห็นจมูกด้วน | จะทำกระบวนผินหลังนั่งบ่น | ||
ของสำคัญหนักหนาเข้าตาจน | จะผ่อนปรนแก้ไขอย่างไรดี | ||
บ้างว่าอย่าพักประดักประเดิด | ทนเจ็บเอาเถิดไม่จู้จี้ | ||
หาปลาที่ไหนก็ไม่มี | อ้ายเงาะดีหาได้สิอายมัน | ||
หกเขยรีรอท้อจิต | สุดคิดสุดที่จะผ่อนผัน | ||
นั่งนิ่งก้มหน้าดูตากัน | เชือดเสียเห็นวันจะได้ไป | ||
ต่างยอมพร้อมใจไม่กลัวเจ็บ | ฉวยได้มีดเหน็บของบ่าวไพร่ | ||
ยื่นให้เทวัญทันใด | ทอดถอนใจใหญ่ย่อท้อ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์สรวลสันต์กลั้นหัวร่อ | ||
ยิ้มพลางทางตรัสตัดพ้อ | เอออะไรใจคอเหมือนปลาซิว | ||
แล้วเอามีดกรีดลับกับศิลา | ทั้งหกตกประหม่าหน้านิ่ว | ||
มือบีบหนีบจมูกไว้สองนิ้ว | อย่าบิดพริ้วดุกดิกพลิกแพลง | ||
ทำเงื้อมีดกระหยับจับจ้อง | ที่ใจชั่วกลัวร้องจนเสียงแห้ง | ||
เอาแล้วนะฉะเชือดเลือดแดง | จมูกแหว่งโหว่วิ่นสิ้นทุกคน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ปี่กลอง | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งหกลูบแผลพลางครางร่น | ||
เจ็บแสบแทบตายเต็มทน | ต่างคนต่างแลดูแผลกัน | ||
เขยใหญ่ใจแข็งทำแกล้งว่า | จมูกด้วนดูหน้าเห็นขบขัน | ||
สะกิดเพื่อนเตือนทวงเทวัญ | แลกกันเมื่อไรจะให้ปลา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ล่องเรือ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ได้สมปรารถนา | ||
จึงตั้งสัตย์อธิษฐานด้วยวาจา | มัจฉานัวใดถึงที่ตาย | ||
จงกระโดดโลดขึ้นมาริมฝั่ง | ให้สมหวังดังจิตที่คิดหมาย | ||
พอสิ้นคำประกาศไม่คลาดคลาย | ปลาตายบนตลิ่งกลิ้งเกลื่อนไป | ||
แล้วแกล้งแบ่งมัจฉาที่ชั่วชั่ว | ให้คนละสองตัวหามากไม่ | ||
หกองค์จึงชวนกันคลาไคล | เอาปลาไปให้สมอารมณ์คิด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยค่อยคลายสบายจิต | ||
ต่างองค์อำลาสุราฤทธิ์ | บ่าวตะบิดเชือกน้อยร้อยปลา | ||
หัวท้ายพายวาดนาวาออก | บ้างบอกโยนยาวฉาวฉ่า | ||
รีบเร่งโดยด่วนจวนเวลา | กลับมาจะให้ทันเตือนกันพาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์สมจิตที่คิดหมาย | ||
จึงหยิบรูปเงาะมาสวมกาย | แล้วตัดหวายต่อติดบิดพลิ้ว | ||
ร้อยปลามากมายเหลือประมาณ | เอาไม้เท้าทำคานหาบหิ้ว | ||
แผลงฤทธิ์รูปเงาะพาเหาะปลิว | ลอยลิ่วมาในเมฆา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงริมไร่ใกล้เรือน | ก็คล้อยเคลื่อนเลื่อนลงจากเวหา | ||
เดินด่วนขึ้นกระไดมิได้ช้า | เอาหาบปลาเหวี่ยงวางกลางนอกชาน | ||
ภรรยาพาไปให้ลูบตัว | แล้วเชิญผัวรูปทองกินของหวาน | ||
เจ้าเงาะแถลงเล่าเยาวมาลย์ | วันนี้ขันจ้านไปหาปลา | ||
พี่ถอดรูปเงาะออกซ่อนไว้ | ทำเป็นพระไพรพฤกษา | ||
ร่ายมนต์มหาจินดา | เรียกมัจฉามาสิ้นทุกตำบล | ||
อ้ายหกเขยเซอะกระเจอะกระเจิง | เที่ยวเซอะเซิงหาปลาก็ขัดสน | ||
ไปประสบพบพี่ที่ฝั่งชล | ทั้งหกคนกราบกรานขอทานปลา | ||
พี่แลกเปลี่ยนเจียนปลายจมูกมัน | แหว่งวิ่นสิ้นทั้งนั้นขันนักหนา | ||
ว่าพลางเสสรวลชวนรจนา | ไปดูหน้ามันเล่นก็เป็นไร | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนากลั้นยิ้มมิใคร่ได้ | ||
สรวลพลางทางว่าข้าชอบใจ | เมียมันจะได้ดูหน้ากัน | ||
ช่างแก้แค้นแทนทำพอสาสม | ที่เมียมาค้าคารมเย้ยหยัน | ||
วันนี้น้องจะตามจรจรัล | ไปดูจมูกมันให้เต็มตา | ||
ว่าแล้วทาแป้งแต่งตัว | ตามผัวออกจากเคหา | ||
ปิดประตูเข็นกระไดแล้วไคลคลา | เจ้าเงาะหาบปลานำหน้าไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงพระโรงรัตน์รูจี | อัญชลีสองกษัตริย์เป็นใหญ่ | ||
เจ้าเงาะยืนยิ้มหัวไม่กลัวใคร | ทิ้งปลาลงไว้ให้พ่อตา | ||
รจนาจึงทูลบิตุรงค์ | นี่ปลาส่งส่วนตัวผัวข้า | ||
อุตส่าห์เสาะเพราะเกรงพระอาญา | ได้มาน้อยนักสักสองร้อย | ||
ตามประสายากเย็นเข็ญใจ | ไม่มีบ่าวมีไพร่ใช้สอย | ||
ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย | ไม่เลิศลอยเหมือนลูกสาวของท้าว | ||
หกเขยเขาดีมียศศักดิ์ | ท่านพ่อตาโปรดนักรักใคร่ | ||
ไปหาปลามาแล้วหรืออย่างไร | เห็นจะได้มากมายหลายกระบุง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์เคืองขัดฟัดหมอนผลุ | ||
คันมือคันไม้หมั่นไส้พุง | ไม่สมที่หมายมุ่งจะฆ่าฟัน | ||
อีรจนาพาผัวมาเย้ยได้ | แค้นใจเหลือที่จะอดกลั้น | ||
เพราะอ้ายเขยขี้เค้าเหล่านั้น | พากันเซอะซะไปกระไร | ||
จึงชี้หน้าด่าลูกทั้งหกนาง | มึงช่างหากำชับผัวไม่ | ||
ปานนี้มิมาน่าแค้นใจ | กูจะใคร่ฆ่าเสียให้ม้วยมุด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยร้อนใจดังไฟจุด | ||
เร่งฝีพายเต็มทีตีรุด | ครั้นถึงหยุดจอดเรือเข้าเหนือแพ | ||
หิ้วปลาพากันมาโดยด่วน | บ่าวตามเป็นพราวแบกอวนแห | ||
ตรงมาวังพลันไม่ผันแปร | หญิงชายร้องแซ่ว่าแพ้เงาะ | ||
ทั้งหกอกสั่นขวัญหนี | ครั้งนี้ตายจริงวิ่งออกเหยาะ | ||
คลานเข้าไปเฝ้าเขาหัวเราะ | เห็นปลาอ้ายเงาะยิ่งเสียใจ | ||
คิดอายด้วยปลายจมูกวิ่น | ก้มหน้าดูดินหาเงยไม่ | ||
พรั่นตัวกลัวตายเป็นพ้นไป | ภาวนาหายใจมิใคร่ทัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์เคืองขุ่นหุนหัน | ||
จึงว่าไปแก่หกเขยนั้น | กูจะใคร่ฆ่าฟันบั่นรอน | ||
แต่อ้ายเงาะทรพลคนอัปรีย์ | มันยังดีกว่ามึงมาถึงก่อน | ||
เออนี่มิไปเที่ยวจอดนอน | ไม่รู้เร็วรู้ร้อนเจ้าคนดี | ||
บ่าวไพร่ไปด้วยก็หนักหนา | ได้ปลามาไม่พอจะเซ่นผี | ||
กูคิดนิดเดียวดอกครั้งนี้ | หาไม่ชีวีจะบรรลัย | ||
เออจมูกนั่นถูกอะไรนั่น | เหมือนกันกับเขาเชือดเลือดไหล | ||
จงบอกให้แจ้งกูแคลงใจ | อย่าได้เอาเท็จมาเจรจา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เขยใหญ่ทั้งหกตกประหม่า | ||
แกล้งทูลเลี้ยวลดปดพ่อตา | แต่เช้าข้าก็ไปไม่เชือนแช | ||
ลงตีอวนฉุดลากที่ปากลัด | ปากเป้ากัดจมูกลูกเป็นแผล | ||
ในแม่น้ำลำคลองทั้งสองแคว | ไม่มีปลาเลยแต่สักตัวเดียว | ||
สู้ทนแดดแผนร้อนไปยังค่ำ | จนตัวลอกออกดำเหมือนม่าเหมี่ยว | ||
อุตส่าห์บุกขึ้นบกรกเรี้ยว | ไปได้ปลายหน่อยเดียวที่ในบึง | ||
ไม่เคยพบเคยเห็นเลยเช่นนี้ | ชะรอยผีโขมดมันโกรธขึ้ง | ||
ให้ปวดหัวมัวตาหน้าตึง | แทบจะไม่มาถึงท้าวไท | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งหกบุตรีพี่ผู้ใหญ่ | ||
เห็นผัวแพ้เงาะป่าขัดใจ | ผักปลาหาได้มานิดเดียว | ||
มิหนำซ้ำจมูกแหว่งหวะ | แล้วพระบิดาก็โกรธเกรี้ยว | ||
ขายหน้าทุกสิ่งจริงเจียว | นางเหลียวชำเลืองเคืองค้อน | ||
หกนางต่างคนบ่นบ้า | มันไม่น่าร่วมเรียงเคียงหมอน | ||
บ้างกอดเข่าเจ่าจุกทุกข์ร้อน | มืออ่อนตีนอ่อนเสียน้ำใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | ||
เจ้าเงาะหัวร่ององอไป | ทำบุ้ยปากบอกใบ้ให้เมียดู | ||
เห็นจมูกเขยใหญ่เลือดไหลย้อย | แหว่งวิ่นสิ้นทั้งหมดน่าอดสู | ||
สาแก่ใจมันสิติผัวกู | นางยิ้มอยู่ในหน้าไม่พาที | ||
แล้วแลดูพี่สาวทั้งหกคน | เห็นหน้าหม่นหมองคล้ำดำมิดหมี | ||
ทำแยบคายชายตาดูสามี | เทวียิ้มแย้มกระแอมไอ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกนางเคืองขัดอัชฌาสัย | ||
ต่างคนชื้หน้าแล้วว่าไป | หัวเราะเยาะใครอีรจนา | ||
เหตุว่าผัวมึงมาถึงก่อน | ทำแสนงอนเจ๋อเจ๊อะสะเออะหน้า | ||
ผัวกูไม่รู้จักจับผักปลา | จึงได้มาไม่มากเหมือนหม่อมเงาะ | ||
ดูเยี่ยงผัวเจ้ามันเคล่าคล่อง | ห้วยหนองเหนือใต้เข้าใจเสาะ | ||
นางเมียขึ้นหน้ามาหัวเราะ | เปรียบเปรยเย้ยเยาะไม่เจียมตัว | ||
เขาขับไล่ไปอยู่เสียปลายนา | ยังดื้อด้านเข้ามาว่าแทนผัว | ||
ไม่มีความยำเยงเกรงกลัว | ไสหัวออกไปเสียจากวัง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาตอบไปดังใจหวัง | ||
ชิชะหม่อมพี่ที่ขึ้นซัง | ออกประดังด่าทอเล่นพอแรง | ||
เฝ้ามาขับไล่ไสหัวหู | โกรธหรือว่าดูจมูกแหว่ง | ||
แต่เห็นเขาหัวร่อก็ระแวง | ออกสกัดสแกงแกล้งพาโล | ||
ผัวพี่ไปหาปลากับบ่าวไพร่ | น้อยหรือช่างได้มาอักโข | ||
ผัวข้าหาปลาประสาโซ | แต่จมูกไม่โหว่เหมือนผู้ดี | ||
พอรู้เช่นเห็นอยู่ว่าเท็จจริง | สู้ปิดปากหากนิ่งเสียดอกพี่ | ||
จะให้ว่าหรือจะว่าออกเดี๋ยวนี้ | แล้วเหลียวดูสามีเห็นขึงตา | ||
แค้นใจคิดจะใคร่อยู่ทะเลาะ | แต่เจ้าเงาะชี้ชวนไปเคหา | ||
ถ่มน้ำลายรดให้แล้วไคลคลา | ตามผัวออกมาไม่พรั่นพรึง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกนางต่างพิโรธโกรธขึ้ง | ||
ลุกขึ้นเดินตามมาด่าอึง | ทำไมมึงจึงหัวเราะเยาะกู | ||
เท็จจริงอย่างไรนั่นขันจ้าน | ใครปิดปากไว้วานอย่านิ่งอยู่ | ||
จองหองพองขนเป็นพ้นรู้ | ลบหลู่ดูหมิ่นถิ่นแคลน | ||
ผัวหาปลาผักได้นักหนา | หม่อมเมียได้หน้าขึ้นกว่าแขน | ||
ค้าคารมเปรี้ยงเปรี้ยงออกเถียงแทน | ขีนแค่นเปรียบเปรยเย้ยเย้า | ||
อย่าดูถูกผัวกันกระนั้นนะ | ช่างเถิกคะค่อยยังชั่วกว่าผัวเจ้า | ||
ถึงจมูกโหว่แหว่งก็ทำเนา | แต่หน้าตาของเขายังเพราพริ้ม | ||
ไม่เหมือนเงาะอุบาทว์ชาติชั่ว | น่ากลัวหัวหูกระปุ่มกระปิ่ม | ||
กลับจะมาหัวเราะเยาะยิ้ม | เปรมปริ่มในใจมิใช่น้อย | ||
ชะช่างได้ผัวเงาะเหมาะสม | ปากกล้าค้าคารมดังต่อยหอย | ||
ขึ้นเสียงเถียงคนบ่นตะบอย | มันน่าต่อยให้ยับลงกับมือ | ||
แต่ปากเป้ากัดเขาก็เฝ้าถาก | นี่เป็นเบี้ยพอปากของเจ้าหรือ | ||
ว่าพลางต่างเข้ายุดยื้อ | กล้าปากกลามมืออย่าหนีกัน | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะเห็นวุ่นวางเข้ากางกั้น | ||
ทำบอกใบ้ให้รู้สำคัญ | แกล้งกระชั้นกระโชกโบกมือ | ||
ก้มลงหลอนหลอกกลอกคอ | หกนางด่าทอก็ไม่ถือ | ||
ทำเหมือนบ้าใบ้ได้แต่อือ | ตบมือหัวร่อล้อเลียนาง | ||
เห็นพี่เมียชำเลืองเคืองค้อน | ก็ฉุดเมียมาสอนให้ค้อนบ้าง | ||
ถือไม้เท้าก้าวเดินเป็นท่าทาง | ทีเสือลากหางให้นางกลัว | ||
แล้วเด็ดใบไม้ปิดจมูกเล่น | ทำเป็นปัดแมลงวันสั่นหัว | ||
ชี้มือให้เห็นแล้วเล่นตัว | เย้ายั่วพี่เมียไปมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยขัดใจเป็นหนักหนา | ||
เห็นเงาะเยาะหยอกภรรยา | โกรธาตาเขียวเหลียวดูกัน | ||
โมโหฮึดฮัดขัดเขมร | โจงกระเบนคาดกระเบนเสียให้มั่น | ||
หมายเขม้นกำหมัดกัดฟัน | มุทะลุดุดันไม่พรั่นพรึง | ||
ลางคนบ่นด่าเงาะอุบาทว์ | จะใคร่เอาเท้าคาดเข้าสักผึง | ||
บ้างว่าจะถองสักสองตึง | ทำไมมึงมาหยอกหลอกเมียกู | ||
ดูเถิดเกิดมาไม่เคยพบ | บ้าใบ้บัดซบทำลบหลู่ | ||
จองหองถองเสียให้เมียดู | ด่าพลางทางกรูกันเข้าไป | ||
เห็นเงาะเงื้อไม้ไล่กวัดแกว่ง | ระรันสันหน้าแข็งไม่เข้าใกล้ | ||
บ้างนั่งลงลูบล่อยที่รอยไม้ | น้ำตาไหลครางออดกอดมือ | ||
บ้างหลับตาหน้าเมินซ้อมหมัด | เงาะวัดล้มกลิ้งลุกวิ่งตื๋อ | ||
ทรุดนั่งลงนวดปวดสะดือ | คราวฮือไปทีเดียวไม่เหลียวแล | ||
เขยใหญ่ย่างเท้าก้าวถลำ | เงาะตำต่อยจมูกถูกแผล | ||
ล้มลงกลอกคอทำท้อแท้ | เมียมาช่วยแก้ทุบต้นคอ | ||
ลางคนถอยหลังเข้าบังเสา | ร้องว่าพวกเราอย่ากลัวพ่อ | ||
บ้างกำหมัดขัดเขมรไม่ย่อท้อ | ใจคอเหี้ยมฮึกบึกบึน | ||
เข้าชกเงาะเดาะเอาด้วยเข่าลา | ล้มผวาเจ็บจุกลุกไม่ขึ้น | ||
พูดไม่ออกกลอกหัวมัวมึน | เพื่อนกันวิ่งครืนกระจายไป | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะทำเงื้อศอกบอกใบ้ | ||
เหลียวหลังเหลียวหน้าคว้าไม้ | กวัดแกว่งแกล้งไล่กระชั้นชิด | ||
เห็นเขยทั้งหกตกประหม่า | ก็หวดไปหวดมาให้ผิดผิด | ||
ควงกระบองลองแรงแผลงฤทธิ์ | ไล่ติดตามตีหนีกระจุย | ||
ดูเห็นเต็มกลัวก็หัวเราะ | ยิ้มเยาะยกมือขึ้นกุ๋ยกุ๋ย | ||
ตั้งท่าทีทำเป็นรำซุย | เบี้ยวบุ้ยปากหลอกกลอกหน้าตา | ||
เห็นหกเขยคอยจะถอยหลัง | ก็หยุดยั้งยืนมองป้องหน้า | ||
แล้วย่างเท้าสาวหมัดเข้ามา | ถลึงตาขู่เข็ญเขม้นดู | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยเข็ดขยาดไม่อาจสู้ | ||
เหลียวซ้ายแลขวาหาประตู | เอ๊ะอยู่แล้วกระมังครั้งนี้ | ||
บ้างเข้าแอบหลังภรรยา | รุนเมียออกหน้าเจ้าอย่าหนี | ||
ความกลัวตัวสั่นไม่สมประดี | เต็มทีลงนั่งภาวนา | ||
บ้างกำหมัดขัดเขมรหมายเขม้น | ทำเป็นว่าพี่นี้คนกล้า | ||
ครั้นเห็นเงาะถือไม้ใกล้เข้ามา | ก็วิ่งล้มถลาขาแข้งเพลีย | ||
ลางคนยืนนิ่งไม่วิ่งหนี | อุตส่าห์ทำใจดีแก้เบี้ย | ||
พูดจาอวดฮึกศึกหน้าเมีย | สู้เสียชีวิตไม่คิดกลัว | ||
ทำเหน็บรั้งตั้งมวยอยู่แต่นอก | เห็นเจ้าเงาะเงื้อศอกก็กลอกหัว | ||
ย่อท้อถอยหลังระวังตัว | ต่างกลัวเงาะป่าทุกคนไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งหกบุตรีพี่ผู้ใหญ่ | ||
เห็นผัวกลัวเงาะก็ขัดใจ | จึงว่าเอออะไรช่างไม่อาย | ||
แต่เงาะป่าล้าใบ้บัดสี | ช่างชวนกันวิ่งหนีมันง่ายง่าย | ||
เสียแรงกำเนิดเกิดเป็นชาย | ไม่อดสูดูร้ายเขามั่งเลย | ||
โมโหหันมาด่าน้องสาว | ไม่ว่ากล่าวผัวมั่งทำนั่งเฉย | ||
นิ่งให้ไอ้เงาะมาเยาะเย้ย | ต่อยตีพี่เขยของตัวเอง | ||
ขึ้นเสียงเถียงพี่แล้วมิหนำ | ยังซ้ำให้ผัวตัวข่มเหง | ||
ดูถูกผู้ใหญ่ช่างไม่เกรง | มันเหมาะเหม็งแล้วหรือนางรจนา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนายิ้มพลางทางว่า | ||
เออพี่นี้อะไรช่างพูดจา | กลับมาว่ากระนั้นขันจริง | ||
เดิมใครด่าทอก่อก่อน | ควักค้อนเคืองขัดสะบัดสะบิ้ง | ||
ครั้นเขาว่ามั่งก็ชังชิง | ชวนกันวิ่งมาตามจะต่อยตี | ||
หกเขยเข้ากลุ้มรุมกันชก | ให้เอามือใส่พกเสียหรือพี่ | ||
สาแก่ใจเจ็บปวดอวดกล้าดี | เออเดี๋ยวนี้จะให้ใครห้ามปราม | ||
เมื่อเป็นผู้ใหญ่ไม่ไว้ตัว | ยังจะมาว่าผัวข้าหยาบหยาม | ||
ชะพี่เขยข้าหน้างามงาม | บุ่มบ่ามบ้าเลือดไม่เหือดเลย | ||
นั่นแนแผลเก่าปากเป้ากัด | ซ้ำมาถูกหมัดนิจจาเอ๋ย | ||
ว่าพลางทางหัวเราะเยาะเย้ย | พี่เขยพี่สาวฉาวไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางมณฑาหนวกหูอยู่ไม่ได้ | ||
ลุกเดินออกมาว่าอะไร | ไม่เกรงเนื้อเกรงใจผู้ใหญ่เลย | ||
ล้วนแต่พี่น้องท้องเดียวกัน | จะฆ่าฟันกันได้แล้วหรือเหวย | ||
ลูกเต้าเช่นนี้กูมิเคย | อกเอ๋ยแต่ละคนพ้นกำลัง | ||
รจนาพาผัวออกไปเสีย | เจ้าเหล่านี้ห้ามเมียเสียมั่ง | ||
เอออะไรอื้ออึงตึงตัง | หน้าที่ลุกที่นั่งชั่งไม่เกรง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามานต์ว่าเหม่มันข่มเหง | ||
อ้ายเงาะป่ากล้าทำไม่ยำเยง | กูออกสู้ดูเองลองสักยก | ||
ทำไมบ้าใบ้ตาขาว | อีสาวสาวเหล่านี้อย่าวิตก | ||
ลุกขึ้นขบฟันงันงก | เห็นทั้งหกตาลายหมายว่าเงาะ | ||
กระหยับย่างสามขุมสุ่มตะรัง | ไม่ทันตั้งต่อยตำซ้ำศอกเดาะ | ||
ถองลงตรงจมูกถูกจำเพาะ | เขยใหญ่ใจเสาะร้องออกโอย | ||
มองเขม้นเป็นครู่ก็รู้จัก | ลงนั่งเหนื่อยหอบฮักหิวโหย | ||
แล้วร้องด่าเงาะมี่น่าตีโบย | มานี่โวยเล่นกับกูดูสักครั้ง | ||
เห็นฮึกคึกคักขึ้นหนักหนา | ไล่ล่วงเข้ามาหน้าที่นั่ง | ||
แต่แค้นอ้ายหกคนพ้นกำลัง | มันเฝ้าถอยหลังไปอย่างเดียว | ||
ยังว่าตัวต่อตัวช่างชั่วชาติ | น้อยหรือนี่ขี้ขลาดตาเหมี่ยว | ||
เป็นฝูงเป็นคณาทำหน้าเซียว | แต่อ้ายเงาะคนเดียวก็กลัวมัน | ||
แล้วเรียกนางมณฑามาเสียนี่ | ไม่พอที่พอทางออกกางกั้น | ||
อย่าห้ามปรามเลยปล่อยให้ต่อยกัน | ช่างมันเป็นไรจะได้ดู | ||
น้อยหรือสนุกนักไม่พักหา | ยังว่าจะให้มีมวยหมู่ | ||
ลูกเขยยายแต่ละคนพ้นรู้ | ชะต้าน่าเอ็นดูเหมือนลูกเล็ก | ||
ทุดอ้ายหกเขยใหญ่ช่างใจเสาะ | ราวกับอ้ายเงาะมันกินเหล็ก | ||
ถูกเจ็บเข้าไม่ได้ดังใจเจ๊ก | แต่เด็กเด็กมันก็ดีกว่ามึง | ||
อีเมียก็สุดใจมิใช่ชั่ว | ดูหรือน้องของตัวก็โกรธขึ้ง | ||
อีรจนาด่าพี่มี่อึง | กระทบตีนตึงตึงไม่เกรงกลัว | ||
กูยังแค้นมึงอยู่ไม่รู้หาย | หน้าไม่อายเอาอ้ายเงาะเป็นผัว | ||
นี่หากหาปลาได้จึงรอดตัว | หาไม่ก็หัวจะปลิวไป | ||
ฯ ๒๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาหุนหันหมั่นไส้ | ||
เห็นบิดาเคืองขุ่นฟุนไฟ | เข้าข้างเขยใหญ่ก็เดือดดาล | ||
จึงชวนผัวไปลาพ่อตาเสีย | อย่าอยู่ช้าพาเมียออกไปบ้าน | ||
นางสอนให้นั่งลุกคุกคลาน | กราบกรานท่านเสียหน่อยหนึ่งตามจน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะก้มกราบยิบสักสิบหน | ||
แกล้งเลียนล้อต่อหน้าท้าวสามนต์ | เฝ้าก่นหัวเราะริกกระดิกเท้า | ||
เห็นพ่อตาทำไรก็ทำมั่ง | เหมือนบ้าหลังจริงจริงยิงฟันขาว | ||
ทำโจงกระเบนใหม่ไว้หางยาว | แกล้วปัดหัวผัวพี่สาวของเมียไป | ||
แล้วยืนมองป้องหน้าดูจมูก | เห็นรอยถูกมีดเชือดเลือดยังไหล | ||
ตบมือหัวเราะเยาะไยไพ | บอกใบ้บุ้ยปากให้เมียดู | ||
เห็นทั้งหกตกประหม่าก้มหน้านิ่ง | ไม่ไหวติงเต็มกลัวตัวเป็นหนู | ||
จึงชวนรจนาโฉมตรู | ออกประตูรีบกลับไปฉับพลัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลงเร็ว | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์เคืองขัดอัดอั้น | ||
แกล้งให้หาปลาจะฆ่าฟัน | อ้ายเงาะมันกลับได้มามากมาย | ||
ยิ่งคิดยิ่งแค้นแน่นใจ | แม้นมิฆ่ามันได้ก็ไม่หาย | ||
จึงตรัสแสร้งเสเพทุบาย | จะต้องการเนื้อทรายมาเลี้ยงกัน | ||
ทั้งหกหามาแก้ตัวใหม่ | แม้นมิได้ชีวาจะอาสัญ | ||
เสนาในไปบอกอ้ายเงาะนั้น | หาเนื้อมาให้ทันวันพรุ่งนี้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | อำมาตย์รับสั่งใส่เกศี | ||
ออกจากวังวิ่งเป็นลิงคลี | ตรงไปยังที่บ้านปลายนา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงกระท่อมก็ด้อมดู | เอ๊ะแล้วหลับอยู่กระมังหนา | ||
ประหลาดใจมิได้ยินพูดจา | เสนานั่งมองร้องเรียกอึง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาคลี่ผ้าตาชุนขึง | ||
ที่ไหนหย่อนผ่อนผูกเสียให้ตึง | นั่งปักสะดึงกรึงกรอง | ||
ตั้งเนื้อตั้งใจจะให้ผัว | แต่งตัวไปกฐินเดือนสิบสอง | ||
เจ้าเงาะแสนกลคนคะนอง | หัดร้องนางนาคปากร่ายซอ | ||
เอากระทายตีแทนรำมะนา | ทำให้ภรรยาน่าหัวร่อ | ||
รจนานั่งนิ่งฟังเอียงคอ | เพราะหนักหนาหนอเจียวพ่อคุณ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ พอได้ยินเสนามาร้องเรียก | ตื่นตะเกียกตะกายวายวุ่น | ||
โดนสะดุดสะดึงผ้าตาชุน | กระทายหกตกใต้ถุนลงไป | ||
รจนาเดินออกมานอกชาน | อำมาตย์เห็นหมอบกรานกราบไหว้ | ||
นางจึงถามทักซักไซ้ | ธุระอะไรนะเสนา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาบังคมก้มหน้า | ||
ทูลว่าสมเด็จพระบิดา | ให้ข้ามาบอกนางโฉมยง | ||
บัดนี้มีรับสั่งจำเพาะ | ให้เจ้าเงาะหาเนื้อเข้าไปส่ง | ||
พรุ่งนี้มิได้ดังใจจง | จะให้ลงอาญาฆ่าฟัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | รจนาตระหนกอกสั่น | ||
เข้าไปในทับฉับพลัน | รำพันบอกผัวแล้วโศกา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ โอ้ว่าพระองค์ทรงเดช | บิตุเรศพาลผิดจะคิดฆ่า | ||
เมื่อวันวานท่านใช้ให้หาปลา | ก็นึกว่าไม่รอดจะวอดวาย | ||
นี่หากมีมนต์ดลจึงพ้นภัย | หาปลามาได้เอาไปถวาย | ||
วันนี้มิหนำซ้ำอุบาย | แกล้งย้ายสั่งมาให้หาเนื้อ | ||
เป็นเหตุเพราะเงาะร้ายให้ถอดเสีย | พ่อรูปทองของเมียมิได้เชื่อ | ||
อ้อนวอนเท่าไรไม่เอื้อเฟื้อ | นี่เนื้อแท้ว่าเวรากรรม | ||
ว่าพลางทางทรงโศกา | ชลนาฟูมฟองร้องร่ำ | ||
สองกรข้อนอกจนฟกช้ำ | ครวญคร่ำกำสรดโศกี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
โอ้โลมใน | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะเยาะหยอกนางโฉมศรี | ||
ซึ่งสั่งให้หาเนื้อคราวนี้ | เห็นพี่จะอับจนไม่พ้นตาย | ||
ถึงตัวจะบรรลัยก็ไม่ว่า | วิตกแต่รจนาจะเป็นม่าย | ||
ว่าพลางแย้มยิ้มพริ้มพราย | โอบอุ้มโฉมฉายขึ้นบนเพลา | ||
สวมสอดกอดรัดสัมผัสต้อง | นี่แน่น้องจะให้ตายเสียไยเปล่า | ||
เชยแก้มแนมปรางทางโลมเล้า | พี่ว่าเล่นดอกเจ้าอย่าตกใจ | ||
ทำไมกับเนื้อถึกอย่านึกพรั่น | สักพันหนึ่งสองพันก็หาได้ | ||
ไม่เคยเห็นฝีมือพี่หรือไร | ร้องไห้ไยให้เสียน้ำตา | ||
แต่เพียงนี้มิพอจะยากเย็น | ร้องละครนอนเล่นเสียดีกว่า | ||
เหมือนกันนั่นและกับหาปลา | อะไรกับน้ำหน้าอ้ายหกคน | ||
พรุ่งนี้มิปากก็ใบหู | จะเชือดเสียให้ดูอีกสักหน | ||
เสสรวลชวนนางนฤมล | ขึ้นบนเตียงนอนสำราญใจ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ กล่อม | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นดาวเดือนเลื่อนลับเมฆา | สุริยาแย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล | ||
พระชมโฉมโลมนางทรามวัย | ดวงใจเจ้าค่อยอยู่จงดี | ||
ตะวันชายบ่ายหน่อยจะกลับมา | แก้วตาอย่าหม่นหมองศรี | ||
สั่งเสียเมียแล้วจรลี | มาทรงเกือกแก้วมณีทันใด | ||
จับไม้เท้าก้าวลงจากเคหา | สำแดงอานุภาพแผ่นดินไหว | ||
เหาะทะยานผ่านเมฆมาไรไร | ตรงไปไพรวันอรัญวา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงลงหยุดยั้ง | ที่ร่มรังสูงใหญ่ใบหนา | ||
พระถอดเงาะซ่อนไว้ให้ลับตา | แล้วร่ายมนต์มหาจินดาพลัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ | |||
๏ ฝูงเนื้อไนป่ามามากมาย | ทั้งละมั่งกวางทรายและฉมัน | ||
ดูดาษแดงไปทั้งไพรวัน | เป็นฝูงฝูงวิ่งพันกันมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยคิดวิตกหนักหนา | ||
ครั้นรุ่งรีบแต่งตัวกลัวจะช้า | เรียกหาบ่าวไพร่พร้อมพรัก | ||
บ้างหาแร้วบ่วงหวายหลายอย่าง | ไปถึงกลางพงไพรจะได้ดัก | ||
บ้างเอาผ้าพันพุงจูงสุนัข | คึกคักขนข่ายขึ้นหลังช้าง | ||
แล้วผูกม้าเคยขับสำหรับขา | บังเหียนอานพานหน้าซองหาง | ||
ม้าหลังเปล่าบ้างผูกเบาะบาง | ต่างต่างแต่งอวดประกวดกัน | ||
เกณฑ์กองกระบือบ่าวชาวบ้านนอก | ล้วนถือหอกเสวียนแทงแข็งขัน | ||
พรานปืนพื้นแม่นหมายสำคัญ | โผงไรโผงนั้นไม่ผิดเลย | ||
บ่าวผู้ชายตะพายย่ามถือกล่อง | หิ้วปิ่นโตลายทองของเสวย | ||
บ้างแบกเสบียงหาบหามตามเคย | อย่าช้าเลยจวนสายจะเสียการ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นพร้อมเสร็จทุกสิ่งไม่นิ่งช้า | หกองค์ทรงม้าออกจากบ้าน | ||
รีบขับพาชีตะลีตะลาน | พวกพรานนำหน้าพาไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ลุล่วงมรคามาถึง | ป่าซึ่งมฤคาเคยอาศัย | ||
สั่งให้ขึงข่ายไว้ชายไพร | บ้างดักแร้วแล้วใส่บ่วงราว | ||
ลางคนปักขวากที่ปากทาง | หาช่างสันทัดขัดจั่นห้าว | ||
ขี่กระบือเข้าค้นอยู่เกรียวกราว | โห่ฉาวอึงไปทั้งไพรวัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ พรานปืนซุ่มรกขึ้นนกง่า | สวนมาตามรอยจะคอยลั่น | ||
หมายตรงหลงยิงเพื่อนกัน | ล้มดิ้นยันยันอยู่แทบตาย | ||
เนื้อถึกที่ไหนก็ไม่มี | พบแต่เสือหมีหมูกระต่าย | ||
ลงนั่งนึกปรึกษากับบ่าวนาย | ดีร้ายจะเป็นเช่นหาปลา | ||
ลางคนบ่นว่าข้าได้ทัก | ไม่เซ่นวักพระไพรเจ้าป่า | ||
จึงให้ปลูกศาลขึ้นเพียงตา | สังเวยเทวดาทันใด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ แล้วขึ้นม้าพากันเที่ยวค้น | พบรอยเกลื่อนกล่นมาใหม่ใหม่ | ||
ตาสอดลอดแลเห็นแต่ไกล | โน่นมิใช่เนื้อหรือร้องอื้ออึง | ||
หกเขยยินดีปรีดา | วางม้าขับใหญ่เข้าไปถึง | ||
เห็นพระสังข์นั่งอยู่ดูตะลึง | งามละม้ายคล้ายคลึงเจ้าของปลา | ||
เอ๊ะจะเป็นเช่นนั้นอีกกระมัง | จมูกยังไม่หายขายหน้า | ||
ว่าพลางทางลงจากม้า | เข้าไปวันทาสุรารักษ์ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์แสร้งทำไม่รู้จัก | ||
ลุกขึ้นขู่เข็ญเต้นคึกคัก | ถามทักซักไซ้ไปไหนมา | ||
เที่ยวซุกซี้ซุกซนเจ้าคนเอก | โหยกเหยกยุ่งหยาบบาปหนา | ||
มาลอบลักไล่เนื้อเบื่อปลา | ข่มเหงเราเจ้าป่าพนาลี | ||
ทำจู่ลู่ดูหมิ่นถิ่นแคลน | ล่วงลัดตัดแดนมาถึงนี่ | ||
จะยำเยงเกรงใครก็ไม่มี | เจ้าเหล่านี้คอจะหักสักคราว | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ทั้งหกตกประหม่าตาขาว | ||
แข็งใจแจ้งความตามเรื่องราว | ข้าเป็นลูกเขยท้าวสามนต์ | ||
พ่อตาให้หาเนื้อกับอ้ายเงาะ | ทูลเดาะข้อความมาแต่ต้น | ||
เอ็นดูด้วยช่วยชีวิตทั้งหกคน | พอพ้นโพยภัยบรรลัยลาญ | ||
ข้าหาเนื้อที่ไหนก็ไม่มี | มฤคีหนีมาอยู่หน้าฉาน | ||
เทพเจ้าจงได้โปรดปราน | ขอประทานเนื้อไปให้พ่อตา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ยิ้มพลางทางว่า | ||
อันหมู่มฤคีนี้นา | มันหนีมนุษย์มาพึ่งเรา | ||
ข้างท่านก็ร้อนตัวกลัวภัย | มาขอแล้วมิให้อย่างไรเล่า | ||
เถิดชิบาปกรรมก็ทำเนา | แต่จะให้เปล่าเปล่านั้นไม่เคย | ||
ถ้ารักชีวิตจงคิดดู | เนื้อจะแลกใบหูหกเขย | ||
แม้มิยอมให้ไม่ได้เลย | ผิดวิสัยสังเวยเทวา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยได้ฟังนั่งก้มหน้า | ||
เสียใจทุกคนบ่นนินทา | เทวดาเดนแช่งมันแกล้งจริง | ||
จมูกแล้วหูเล่าเจ้าเล่ห์ | สมคะเนคงยักเอาสักสิ่ง | ||
ขี้คร้านง้องอนวอนวิง | ผิดก็เพียงผู้หญิงมันไม่รัก | ||
ว่าพลางทางหยิบเอาดาบมา | ส่งให้เทวดาทั้งฝัก | ||
แล้วเอียงหูเข้าไปใจทึกทัก | อย่าเชือดให้หนักนักเลยพ่อคุณ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ฉุดหูกระชากลากหลุน | ||
จะเชือดแต่เบาเบาเอาบุญ | แล้วชักดาบญี่ปุ่นออกเงือดเงื้อ | ||
เขยใหญ่ขยั้นพรั่นพรึง | ร้องอึงอุยหน่าน่าเจ็บเหลือ | ||
อย่างนี้ที่ไหนจะได้เนื้อ | ทำทีจะเชือดเถือแล้วรั้งรอ | ||
แกล้งขยับจับจ้องลองใจ | เลือกเอาข้างไหนจะดีหนอ | ||
เหนี่ยวหูขวาลงให้ก่งคอ | แข็งข้อเชือดขาดเลือดสาดไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ปี่กลอง | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยนิ่วหน้าน้ำตาไหล | ||
จมูกแล้วหูเล่าเฝ้าเสียใจ | นี่เนื้อกรรมกระไรของเรา | ||
เจ็บปวดหนักหนาอุตส่าห์ทน | ต่างคนบ่นออดนั่งกอดเข่า | ||
เร่งอารักษ์ตักเตือนรบเร้า | เนื้อจะให้ไหนเล่าอย่านิ่งนาน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์ตั้งสัตย์อธิษฐาน | ||
เนื้อถึงที่ตายก็วายปราณ | มากประมาณสมหวังดังใจ | ||
แล้วว่าอย่าพักประดักประเดิด | เอาไปเถิดคนละตัวตามได้ | ||
ถ้าจะต้องการเนื้ออีกเมื่อไร | อย่างเกรงใจจงออกมาบอกเรา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยละห้อยสร้อยเศร้า | ||
คำนับรับสั่งแต่เบาเบา | แล้วบังคมก้มเกล้าลามา | ||
ทั้งบ่าวไพร่นายมุลวุ่นวาย | ผูกมัดเนื้อทรายขึ้นใส่บ่า | ||
หกองค์ทรงม้าแล้วไคลคลา | ดั้นดัดลัดป่าไปธานี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระสังข์สวมรูปเงาะของยักษี | ||
ใส่เกือกแก้วแล้วมัดมฤคี | ครบยี่สิบถ้วนล้วนมรณา | ||
เอาไม้เท้าทำคานหาบห้อย | ยกลอยขึ้นวางเหนืออังสา | ||
สำแดงแผลงอิทธิฤทธา | เหาะทะยานผ่านฟ้ามาไรไร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงลงหยุดอยู่ | นอกประตูบ้านตัวริมรั้วไร่ | ||
นึกจะชวนรจนาคลาไคล | กลัวจะไปทะเลาะเกาะแกะกัน | ||
ไปแต่กูผู้เดียวดีกว่า | จะได้ล้อพ่อตาเล่นขันขัน | ||
ถึงทั้งหกจะชกต่อยตีรัน | ได้สู้กันแต่ลำพังไม่กังวล | ||
คิดแล้วเดินเดาะเหยาะย่าง | หาบเนื้อมากลางท้องถนน | ||
แกล้งทำเกะกะปะผู้คน | เอาหาบชนล้มคว่ำคะมำไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | หญิงชายชาวเมืองน้อยใหญ่ | ||
ต่างคนร้องว่าช่างกระไร | เรี่ยวแรงสุดใจเจียวเจ้าเงาะ | ||
หาบเนื้อที่ไหนมานักหนาหนอ | ไม่หนักเลยหรือพ่อพาวิ่งเหยาะ | ||
ลางคนบ้างกลัวบ้างหัวเราะ | บ้างร้องเยาะงามเหวยลูกเขยพระยา | ||
เด็กเด็กเซ็งแซ่เข้าแห่ห้อม | พรั่งพร้อมล้อมหลังล้อมหน้า | ||
บ้างร้องว่าเออเกลอกูมา | เฮฮาโห่ฉาวกราวเกรียว | ||
บ้างชวนว่าอย่าเพ่อไปก่อน | อยู่รำละครสักประเดี๋ยว | ||
เจ้าเงาะไม่หยุดฉุดเป็นเกลียว | หน่วงเหนี่ยวห้ามปรามมาตามทาง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะเห็นเด็กพร้อมล้อมรอบข้าง | ||
พอถึงที่ราบราบเอาหาบวาง | เข้ายืนกลางแล้วเล่นเต้นรำไป | ||
ใครตบมือผิดพลั้งจังหวะ | ประเตะปะตะต่อยถองจนร้องไห้ | ||
แกล้งทำฮึดฮัดขัดใจ | ยกหาบขึ้นได้เดินดุ่มมา | ||
ใครจะห้ามอย่างไรไม่ฟังเจ้า | ตรงเข้าท้องพระโรงข้างหน้า | ||
ทิ้งเนื้อลงไว้ให้พ่อตา | แล้วเดินไปเดินมาไม่เกรงกลัว | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์เห็นมันให้คันหัว | ||
เรี่ยวแรงกระไรเหมือนควายวัว | เนื้อยี่สิบตัวช่างหาบมา | ||
ไม่สมหวังดังจิตที่คิดไว้ | หุนหันหมั่นไส้จะใคร่ฆ่า | ||
เห็นมันแล้วหรือเจ้ามณฑา | หยาบช้าทะนงไม่กลัวใคร | ||
แค้นใจไอ้เขยทั้งหกคน | มันไปเที่ยวซุกซนอยู่ข้างไหน | ||
ทำให้อายขายหน้าทุกคราไป | อีเมียก็ไม่กำชับกัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยไม่สบายรีบผายผัน | ||
ครั้นถึงจึ่งขึ้นพระโรงคัล | บ่าวแบกเนื้อรันขึ้นไปตาม | ||
เห็นเนื้อเงาะหนักหนาช่างหาได้ | หลากใจใครช่วยมันหาบหาม | ||
คิดกลัวตัวสั่นครั่นคร้าม | กราบสามทีแล้วลงก้มพักตร์ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ผุดลุกขึ้นกุกกัก | ||
ชะลูกเขยข้ามันน่ารัก | ช่างได้เนื้อขาหักที่ไหนมา | ||
ยิ่งให้แก้ตัวยิ่งชั่วช้า | จะใคร่ทำโทษทัณฑ์ฟันฆ่า | ||
นี่หากคิดนิดเดียวด้วยธิดา | จะเป็นม่ายอาบหน้าประชาชน | ||
บ่าวไพร่ไปด้วยก็พร้อมเพรียง | ชอบแต่สับเสี่ยงเสียให้ป่น | ||
ก้มหน้าอยู่ไยไอ้หกคน | ดีแต่จะบ่นนินทากัน | ||
เออหูถูกอะไรเลือดไหลหยด | ช่างเป็นเหมือนกันหมดอย่างไรนั่น | ||
ไปเรือจมูกวิ่นสิ้นทั้งนั้น | เข้าไพรวันหูแหว่งกูแคลงใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกเขยก้มหน้าน้ำตาไหล | ||
กราบทูลเยื้องยักกระอักกระไอ | ผันแปรแก้ไขตามจน | ||
ข้าไปหาเนื้อวันนี้ | ช่างกระไรไม่มีทุกแห่งหน | ||
ให้บ่าวไพร่ไล่บุกซุกซน | ลดเลี้ยวเที่ยวด้นค้นคว้า | ||
ชะรอยฝีปีศาจประหลาดเหลือ | ซ่อนเนื้อเสียสิ้นทั้งป่า | ||
แล้วดูเหมือนมืดน้อยลอยลงมา | ถูกหูข้าแหว่งวิ่นสิ้นทุกคน | ||
ทั้งนี้ก็เพราะเคราะห์ของลูก | มาซ้ำถูกผีสางที่กลางหน | ||
ต้องปลูกศาลเซ่นสรวงบวงบน | จึงได้เนื้อแต่คนละตัวเดียว | ||
บ่ายคล้อยหน่อยหนึ่งก็กลับมา | ผีพาหลงไปในไพรเขียว | ||
ลำบากบุกชัฎลัดเลี้ยว | จนหน้าเซียวแสบท้องเต็มที | ||
รีบเดินแทบตายถึงชายทุ่ง | ก็ขับม้าหมายมุ่งมากรุงศรี | ||
เป็นความสัตย์ทุกสิ่งจริงอย่างนี้ | ภูมีจงทรงพระเมตตา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์สำรวลสรวลร่า | ||
ตบพระหัตถ์ตรัสแก่นางมณฑา | มันงามหน้าแล้วเหวยลูกเขยยาย | ||
จมูกแหว่งหูวิ่นสิ้นทุกคน | สมประกอบชอบกลใจหาย | ||
ทั้งสองหนก่นแต่เคราะห์ร้าย | ช่างไม่อายอดสูเลยดูเอา | ||
ยังว่าจะหาญฮึกทำศึกเสือ | แต่หาปลาหาเนื้อก็แพ้เขา | ||
คิดจะใคร่ฆ่าตีอ้ายขี้เค้า | มันจะตายเสียเปล่าไม่เข้าขา | ||
แล้วเหลียวมาว่ากับลูกสาวใหญ่ | มึงเห็นผัวหรือไม่น่าขายหน้า | ||
จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา | อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | หกนางต่างพิศดูผัว | ||
สารพัดวิปริตผิดตัว | มันช่างชั่วจริงจริงทุกสิ่งไป | ||
จมูกโหว่แล้วมิหนำซ้ำหูแหว่ง | เหมือนใครแกล้งเอามีดเชือดเลือดไหล | ||
ลางคนบ่นว่าไม่น่าอะไร | จมูกใบหูวิ่นสิ้นงาม | ||
บ้างว่าน่าอายกับอ้ายเงาะ | มันยิงฟันหัวเราะเยาะเย้ยหยาม | ||
ดูดู๋หน้าดำเป็นน้ำคราม | ไม่หมดจดงดงามเหมือนเก่าเลย | ||
ลางคนเคืองค้อนแล้วค่อนว่า | สมเพชเวทนานิจจาเอ๋ย | ||
ไม่น่าสมาคมชมเชย | แต่นี้ไปไม่เลยแล้วพ่อคุณ | ||
บ้างบ่นออดกอดเข่าเกาหัว | โกรธผัวตัวสั่นหันหุน | ||
ทุกข์ทนพ้นกำลังนั่งง่วงงุน | ต่างคนเคืองขุ่นวุ่นวายใจ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะย่างย่องมองมาใกล้ | ||
เห็นพ่อตาอาธรรม์เข้ากันไป | ไม่เอาโทษเขยใหญ่ดังสัญญา | ||
ทำนับเนื้อที่กองลองเล่น | จะให้เห็นว่าใครได้มากกว่า | ||
ชี้ไปตรงพระแสงแกล้งกลอกตา | เงื้อง่าท่าทีเหมือนฟาดฟัน | ||
แล้วชี้เข้าที่คอเขยใหญ่ | บอกใบ้ให้รู้ดูขันขัน | ||
ตบมือหัวร่ออยู่งองัน | เย้ยหยันหยอกล้อท่าพ่อตา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ว่าเหม่อ้ายเงาะป่า | ||
จองหองพองขนพ้นปัญญา | ใบ้บ้าไม่เสงี่ยมเจียมตัวเลย | ||
กลับจะมาชี้มือทำซื้อรู้ | สอนกูให้ฆ่าอ้ายหกเขย | ||
มิหนำซ้ำหัวเราะเยาะเย้ย | เกินเลยนักหนาน่าขัดใจ | ||
รู้แล้วคะชะเจ้ามันดีเหลือ | หาเนื้อได้มากกว่าเขยใหญ่ | ||
ขึ้นหน้ามาอวดข้าหรือไร | กูฝากมึงไว้ด้วยเถิดวะ | ||
คิดคิดขึ้นมาน่าต่อยตบ | บ้าใบ้บัดซบพึ่งพบปะ | ||
เถิดจะงดอดโมโหถวายพระ | ถ้าทีหลังแล้วนะไม่ละมึง | ||
ดูดู๋ยังทะนงองอาจ | หัวจะขาดแม่นมั่นสักวันหนึ่ง | ||
พระกริ้วโกรธโกรธาด่าอึง | แล้วผินหลังนั่งบึ้งอยู่บนเตียง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เขยใหญ่ทูลขยายบ่ายเบี่ยง | ||
อ้ายเงาะนี้หยาบช้าไม่น่าเลี้ยง | คนผู้จะดูเยี่ยงทั้งเวียงชัย | ||
ไม่เกรงไม่ยำทำเกะกะ | จะกลัวพระบิดาก็หาไม่ | ||
ชะรอยเป็นปีศาจประหลาดใจ | ดูตามันมิใคร่จะกะพริบ | ||
วิปริตผิดมนุษย์นักหนา | ข้าเห็นว่าอ้ายนี่เป็นผีดิบ | ||
มีกำลังพลังดังกินทิพย์ | เนื้อยี่สิบหาบมาถึงธานี | ||
สารพัดผักปลาหาได้คล่อง | เพราะมันเป็นพวกพ้องกันกับผี | ||
เงาะเงยไม่เคยเห็นเช่นนี้ | ภูมีอย่าไว้วางพระทัย | ||
ขอให้ไสหัวเสียจากวัง | น่าชังชั่วชาติอุบาทว์ใหญ่ | ||
จะละให้บ้าหลังเข้าวังใน | นานไปจะเคืองเบี้องบทมาลย์ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ร้อนใจดังไฟผลาญ | ||
พิเคราะห์ดูเห็นจริงยิ่งรำคาญ | ให้หนาวสั่นสะท้านไปทั้งตัว | ||
โบกพระหัตถ์ตรัสสั่งเสนา | อ้ายเงาะป่าปิศาจชาติชั่ว | ||
ทั้งหกมันว่ากูน่ากลัว | ไสหัวออกไปเสียจากวัง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาคำนับรับสั่ง | ||
ลุกขึ้นขัดเขมรเหน็บรั้ง | พร้อมพรั่งนายไพร่ไม่ย่อท้อ | ||
บ้างขู่ขับจับไม้เงื้อง่า | เงาะป่าไม่กลัวทำหัวร่อ | ||
ลางคนเข้าไปจะไสคอ | เจ้าเงาะงอหมัดชกก็ตกใจ | ||
บ้างยุคนข้างหน้าว่าอย่ากลัว | ปลิ้นปลอกออกตัวไม่เข้าใกล้ | ||
หกเขยร้องว่าช้าอยู่ไย | เข้าผลักไสเสนาให้คร่ายื้อ | ||
ผู้คนเข้าพร้อมล้อมหน้าหลัง | ลากลู่ถูกังออกอึงอื้อ | ||
เจ้าเงาะเหวี่ยงวัดสะบัดมือ | บ้างล้มกลิ้งวิ่งฮือกระจายไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะทำโกรธาคว้าไขว่ | ||
ปะเตะต่อยทุบถองว่องไว | เลี้ยวไล่ประชิดติดพัน | ||
มือจับอำมาตย์ข้างละคน | เอาหัวชนกันเล่นให้เห็นขัน | ||
ทั้งสองร้องดิ้นอยู่ยันยัน | เจ้าเงาะหัวเราะงันชอบใจ | ||
เห็นเขยทั้งหกทำงกเงิ่น | แกว่งไม้เท้าก้าวเดินเข้ามาใกล้ | ||
ยิ่งถอยยิ่งประชิดติดไป | ยิ่งวิ่งยิ่งไล่กระโชกมา | ||
เห็นท้าวสามนต์อยู่บนเตียง | ก้ยืนเมียงเขม้นมองป้องหน้า | ||
ขู่ตะคอกหลอกล้อพ่อตา | เงื้อง่าทำทีจะตีรัน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสามนต์ตื่นกลัวตัวสั่น | ||
ไม่สู้ไม่รบหลบเป็นควัน | งันงันงกงกพลัดตกเตียง | ||
สำคัญว่าเงาะตีถูกศีรษะ | สิ้นสติมานะร้องเต็มเสียง | ||
นี่แน่ยายดูทีหรือที่เพรียง | หัวข้าแตกกี่เสี่ยงไม่รู้เลย | ||
นางมณฑาว่าไฮ้ที่ไหนนั่น | เมื่อดีอยู่ทั้งนั้นนี่พ่อเอ๋ย | ||
ตื่นเต้นเช่นนี้ข้ามิเคย | ลูกเขยของตัวกลัวมันไย | ||
ท้าวสามนต์ว่ากล้าก็อย่าหนี | เหลือกำลังแล้วพี่ไม่อยู่ได้ | ||
ว่าพลางเหวี่ยงวัดสะบัดไป | เมียยุดฉุดไว้พัลวัน | ||
หกนางต่างชิงกันวิ่งหนี | สิ้นสติสมประดีไม่มีขวัญ | ||
นักสนมกรมในทั้งนั้น | วิ่งปะทะปะกันล้มลุก | ||
หกเจยผลุนโจนโดนพ่อตา | คิดว่าอ้ายเงาะซ้ำปล้ำปลุก | ||
บ้างวิ่งไปซุ่มซ่อนซอนซุก | หมู่มุขมนตรีหนีพล่านไป | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | นางมณฑาเห็นผัวกลัวเงาะใบ้ | ||
วิ่งหนีเหนื่อยบอบหอบหายใจ | จึงว่าไฮ้อะไรนี่น่าชัง | ||
พ่อเจ้าเถิดพ่อคุณอย่าวุ่นวาย | ไม่อดสูดูร้ายเขามั่ง | ||
ว่าแล้วลากลู่ถูกัง | ผลักให้นั่งบนเตียงเสียงตึง | ||
เห็นผัวตัวสั่นขวัญแขวน | คอยจะแล่นลุกยืนตื่นทะลึ่ง | ||
นางฉวยฉุดยุดมืออย่าดื้อดึง | หยิกทึ้งทุบหลังให้นั่งลง | ||
ท้าวสามนต์ได้คิดผิดแล้วแม่ | คนแก่คนเฒ่าเฝ้าลืมหลง | ||
พี่ไม่ขี้ขลาดดอกบอกตรงตรง | ทีนี้คงค่อยยังชั่วไม่กลัวมัน | ||
แต่เหน็ดเหนื่อยนักหนายังว้าวุ่น | แม่คุณเถิดขอน้ำกินสักขัน | ||
หยิบจอกพลัดตกงกงัน | เห็นเงาะยังอยู่นั่นพรั่นพรั่นใจ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าเงาะทำเป็นหาเห็นไม่ | ||
มองมองแล้วเมินเดินถือไม้ | เข้ามาข้างเขยใหญ่ทั้งหกคน | ||
เห็นเหงื่อไหลไคลย้อยอยู่โซมหน้า | ก็หยิบกามาก้มอมน้ำพ่น | ||
หัวหูเปียกปอนหายร้อนรน | ทำปากบ่นเสกน้ำชาซ่ำสาดรด | ||
เห็นหกเขยเสยผมก้มหน้าอยู่ | ก็ฉุดหูออกไปเลือดไหลหยด | ||
แกล้งจูงพาเที่ยวเลี้ยวลด | ถือไม้เท้าแทนตะพดเหมือนวิ่งวัว | ||
เห็นพี่เมียเมียงมองอยู่ช่องฉาก | ก็บุ้ยปากให้ดูใบหูผัว | ||
เอามือคลำทำเจ็บหูตัว | ปัดแมลงวันสั่นหัวยั่วเย้า | ||
เห็นพ่อตาหน้าบึ้งขึ้งโกรธ | ทำขอโทษนั่งลุกคุกเข่า | ||
ก้มกรานคลานหมอบพินอบพิเทา | กราบแล้วกราบเล่าเฝ้าหลอกล้อ | ||
ฉวยได้ฝาชีที่ขันน้ำ | แกล้งทำปะเตะเล่นเช่นตะกร้อ | ||
ท้าวสามนต์โกรธาด่าทอ | เจ้าเงาะหัวร่ององอไป | ||
แล้วคุกเข่าเข้ามาลาแม่ยาย | ทำอุบายชี้มือบอกใบ้ | ||
ลุกขึ้นเดินลอยชายสบายใจ | กลับไปกระท่อมทับฉับพลัน | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงขึ้นบนเคหา | นั่งใกล้รจนาเมียขวัญ | ||
แล้วแถลงแจ้งความทุกสิ่งอัน | สรวลสันต์สำราญทั้งสองรา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
ตอนที่ ๘ พระสังข์ตีคลี
เชิงอรรถ
ที่มา
บทละครนอก สังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๐
[ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน]