เสภาเรื่à¸à¸‡à¸¨à¸£à¸µà¸˜à¸™à¸à¹„ชยเชียงเมี่ยง
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 16:02, 1 กันยายน 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: ไม่ปรากฏ
บทประพันธ์
๏ จะกล่าวเรื่องขุนศรีธนญไชย | บุราณท่านเล่าไว้นานหนักหนา | ||
หวังให้แจ้งคนดีมีปัญญา | กู้ภาราด้วยความคิดบิดวาที | ||
ยังมีราชนิเวศน์เขตรสถาน | ป้อมปราการสูงใหญ่เปนศักดิศรี | ||
บริบูรณ์ภูลสมบัติสวัสดี | นามว่าเมืองทวาลีเลิศนคร | ||
ชนชาวภารากว่าห้าแสน | เนืองแน่นยคั่งคับสลับสลอน | ||
ตั้งเคหารายรอบขอบนคร | ราษฎรแสนศุขสนุกสบาย | ||
ฝ่ายจอมพระนครินทร์ปิ่นประชา | สมญาทวาละเลิศเฉิดฉาย | ||
ข้าศึกศัตรูหมู่คิดร้าย | ไม่กล้ำกรายสยองเกล้าทุกท้าวไท | ||
พระเกียรติยศปรากฎในใต้หล้า | ดังมหาจักรพรรดิกระษัตริย์ใหญ่ | ||
พร้อมจัตุรงค์มหาเสนาใน | ม้ารถคชไกรทหารเดิน | ||
สนมนางพ่วงเพียงอับศรสวรรค์ | หมื่นหกพันหน้านวลควรสรรเสริญ | ||
โฉมสำอางงามจริตต้องจิตรเพลิน | รุ่นจำเริญผิวผ่องดังทองทา | ||
ส่วนพระจอมเทพีศรีสมร | นามกรซื่อสุวรรณบุบผา | ||
ทรงโฉมประโลมใจไนยนา | เปนใหญ่กว่าแสนสุรางค์เหล่านางใน | ||
ได้ว่ากล่าวเถ้าแก่หลวงแม่เจ้า | โขลนจ่าหมอบเฝ้าเรียงไสว | ||
เธอสิทธิขาดราชการงานฝ่ายใน | บำเรอไทธิบดินทร์นรินทร ฯ | ||
๏ ในเมืองมีบ้านพราหมณ์รามราช | เปนครูฉลาดรอบรู้ธนูศร | ||
ทั้งชำนาญไตรเพทวิเศษขจร | อิกตำราพยากรณ์ฝันร้ายดี | ||
เปนทิศาปาโมกข์โฉลกฤกษ์ | เอิกเกริกฦาฟุ้งทั้งกรุงศรี | ||
ทั้งภรรยานงรามพราหมณี | รู้วิธีทายสุบินสิ้นทั้งมวญ ฯ | ||
๏ ยังมีสองสามีภิริยา | ตั้งเคหาอยู่ริมไร่ใกล้เขตรสวน | ||
หมู่ดั้นผู้ภัศดาเคหาซวน | เสาโย้จวนจะพังต้องรั้งโย้ | ||
ภรรยาซื่อยายปลีเมื่อมีครรภ์ | นิมิตรฝันแปลกเพื่อนเชือนโยโส | ||
ว่ากินหยากเยื่อลองจนท้องโต | ดังคนโซกวาดกินสิ้นทั้งเมือง | ||
ครั้นตื่นขึ้นคิดขันฝันเราหนอ | จะเกิดก่อทุกข์ไฉนไม่รู้เรื่อง | ||
ถามหมื่นดั้นจนใจให้ขุ่นเคือง | จึงย่างเยื้องไปหาพฤฒาจารย์ | ||
เมื่อวันนั้นท่านครูหาอยู่ไม่ | จึงวอนไหว้พราหมณีแถลงสาร | ||
เล่าฝันกับภรรยาท่านอาจารย์ | โปรดดีฉานช่วยทายร้ายฤาดี ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านภรรยาพฤฒาเถ้า | ได้ฟังเล่าในฝันนั้นถ้วนถี่ | ||
จึงทำนายทายฝันให้ยายปลี | ว่าจะมีบุตรชายปรีชาคำ | ||
พูดจาแคล่วคล่องว่องไวนัก | รู้หลักลอดคนข้อคำขำ | ||
เปนตลกหลวงดีมีคนยำ | ท่านจงจำไว้เถิดประเสริฐชาย | ||
ส่วนยายปลีได้ฟังทำนายฝัน | ก็อภิวันท์ลามาด้วยสมหมาย | ||
ประดับประคองท้องไว้ ไม่ระคาย | ค่อยสบายหายทุกข์เปนศุขใจ ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านพราหมณ์พฤฒาจารย์ | กลับมายังสถานที่อาไศรย | ||
ฝ่ายภรรยาก็เล่าความตามทายไป | กลัวจะไม่ถูกตำราสามีตน | ||
พฤฒาเถ้าฟังเล่าทำนายฝัน | หุนหันว่าเจ้าทายไม่เปนผล | ||
บุตรเขาดีจะเปนที่เจ้านายคน | ทำนายผิดจะไม่พ้นอันตราย | ||
อิกเจ็ดวันฟ้าจะผ่าศีศะเจ้า | นางฟังเล่าร้อนตัวกลัวใจหาย | ||
ให้อัดอั้นสั่นระรัวทั่วทั้งกาย | ว่าท่านช่วยคิดอุบายให้พ้นไภย | ||
ฝ่ายว่าทิศาปาโมกข์เถ้า | ช่วยแบ่งเบาทำตามคัมภีร์ไสย | ||
ปั้นรูปพราหมณีใส่ชื่อใน | ไปตั้งไว้ห่างบ้านสถานตน | ||
แล้วเอาขันครอบศีศะที่รูปปั้น | พอเจ็ดวันมืดกลุ้มคลุ้มเมฆฝน | ||
ครั่นครื้นเสียงฟ้าคำรามรน | พอเม็ดฝนตกต้องลอองปราย | ||
อสนีฟาดเปรี้ยงเสียงสท้าน | ผ่ากระบานรูปปั้นขนสลาย | ||
พราหมณีก็รอดจากความตาย | ด้วยอุบายภัศดาพฤฒาจารย์ | ||
จึงมิให้ใช้ขันรองน้ำฝน | ทุกตัวคนทั่วประเทศเขตรสถาน | ||
กลัวฟ้าจะผ่าขันด้วยบันดาล | ตลอดกาลจนทุกวันท่านกล่าวมา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบแดนไตรในใต้หล้า | ||
ดำรงเมืองเรืองยศปรากฎมา | แสนสำราญโรคาไม่ยายี | ||
ร่วมภิรมย์สมสวาดินาฎนาเรศ | ซึ่งเปนเกษกำนัลนารีศรี | ||
นางทรงครรภ์สิบเดือนกำหนดมี | จวนจะคลอดเทพีรัญจวนใจ | ||
ให้ป่วนปวดรวดเร้าเศร้าโทมนัศ | พร้อมแพทย์แออัดอยู่ไสว | ||
หมอตำแยอยู่งานนางทรามไวย | เวลาได้ฤกษ์ประสูตรพระกุมาร ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมทวาลีบุรีราช | บรมนารถเห็นโอรสยอดสงสาร | ||
จึงให้โหราพฤฒาจารย์ | ดูลักษณกุมารดวงชตา | ||
คูณหารสอบสวนทบทวนไป | ก็แจ้งใจคืนวันพระชัณษา | ||
จึงกราบทูลว่าองค์กุมารา | มีบุญญาธิการกล้าหาญครัน | ||
มีเดชะอำนาจราชศักดิ | ปรปักษ์ทั่วทิศกลัวฤทธิพรั่น | ||
แต่เลี้ยงเธอยากนักหนักอกครัน | ถ้าได้กุมารร่วมวันทันเวลา | ||
เมื่อประสูตรโอรสยศไกร | หาให้ได้เหมือนกันกับชัณษา | ||
มาเลี้ยงด้วยกันกับราชบุตรา | กุมาราจึงเจริญไม่มีไภย ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงวัง | ได้ทรงฟังโหรแจ้งแถลงไข | ||
จึงเอื้อนอรรถตรัสสั่งเสนาใน | เอาฆ้องไปตีประกาศราษฎร | ||
ว่าผู้ใดคลอดบุตรเมื่อวันวาน | พระโองการต้องประสงค์อย่าเร้นซ่อน | ||
จะทรงเลี้ยงเคียงดไนยไม่อาทร | ทั่วนครใครมีบุตรบุรุษชาย | ||
จงบอกความตามจริงอย่านิ่งช้า | ข้าจะพาบุตรเจ้าเข้าถวาย | ||
อำมาตย์ตีฆ้องพลางทางภิปราย | ถึงบ้านยายปลีที่ฝันขันพิกล | ||
ความว่าเมื่อภรรยาพฤฒาเถ้า | ทำนายฝันตามเล่าซึ่งเหตุผล | ||
ยายปลีมีครรภ์ได้สิบเดือนดล | คลอดบุตรตนเปนชายโฉมโสภา | ||
ฤกษ์ยามเวลาก็พร้อมกัน | กับจอมขวัญประสูตรโอรสา | ||
เมื่ออำมาตย์ตีฆ้องร้องป่าวมา | ตกประหม่าไม่มีขวัญตัวสั่นงก | ||
ครั้นจะนิ่งปิดความว่าไม่มี | พระองค์ทราบคดีว่าโกหก | ||
จะลงโทษกายระบมตรมอกฟก | นึกแล้วอุ้มทารกมาบอกความ ฯ | ||
๏ ครานั้นเสนาข้าราชการ | ฟังว่าขานสอบไล่ซักไซ้ถาม | ||
รู้แน่ว่าเด็กนั้นพร้อมฤกษ์ยาม | กับโอรสจอมสยามทวาลี | ||
จึงรับเอากุมารามาถวาย | ทูลดังยายมารดาว่าถ้วนถี่ | ||
ฝ่ายพระจอมภาราทวาลี | ฟังวาทีเสวกาปรีดาครัน | ||
โปรดให้หานางนมแลพี่เลี้ยง | ประคองเคียงรักษาทารกนั่น | ||
ให้โอรสอย่างไรก็ให้ปัน | แก่กุมารคนนั้นเหมือนกันมา | ||
จนสองกุมารชัณษาสิบห้าปี | โปรดให้เรียนตระบองกระปิติศึกษา | ||
กระบวนรบครบอย่างขี่ช้างม้า | พุ่งสาตรายิงแทงแผลงธนู | ||
อิกให้เรียนไตรเพทเวทมนต์ขลัง | คงจังงังทรหดอดทนสู | ||
แคล้วคลาศสารพัดหัดให้รู้ | ทรงเอนดูสองราเมตตานัก | ||
ครั้นอยู่มาจอมประชาชราร่าง | โรคหลายอย่างก่อกวนประชวรหนัก | ||
ตรัสเรียกสองดไนยผู้ยอดรัก | มอบมไหไตรจักรใครอบครอง | ||
ประทานราโชวาทประสาทให้ | รักใคร่อย่าเดียดฉันกันทั้งสอง | ||
อย่าข่มเหงต่อยตีเหมือนพี่น้อง | เจ้าปรองดองสองรารักษาเมือง | ||
แม้นว่าน้องพ้องผิดโทษถึงฆ่า | ได้เมตตาปัดเป่าให้เบาเปลื้อง | ||
อย่าขุ่นแค้นฆ่าฟันเลยขวัญเมือง | ถ้าขัดเคืองอดออมถนอมกัน | ||
หนึ่งขุนนางข้าเฝ้าเหล่าทั้งหลาย | จงแจกจ่ายเบี้ยหวัดดูจัดสรร | ||
ผู้ใดมีความชอบตอบรางวัล | ให้แบ่งปันสนองคุณการุญรัก | ||
เงินตราผ้าพานทองคำให้ | เครื่องกาไหล่เครื่องถมแลสมปัก | ||
เสลี่ยงแคร่กระบี่สายสพายสพัก | สมยศศักดิความชอบจงตอบแทน | ||
ราษฎรทั่วประเทศในเขตรขัณฑ์ | อย่าเบียนมันให้ทุกข์ร้อนค่อนแค่น | ||
จงเมตตาคนจนขัดสนแกน | ทุกด้าวแดนให้เปนศุขสนุกใจ | ||
สมณะชีพราหมณ์อย่าหยามหยาบ | เกรงกลัวบาปละปลดอดจิตรให้ | ||
ควรบำรุงสงเคราะห์สักเพียงไร | ก็จงให้พองามตามศรัทธา | ||
หนึ่งข้าเฝ้าเหล่าขุนนางต่างตำแหน่ง | แม้นระแวงราชกิจผิดนักหนา | ||
จะลงโทษก็ให้ต้องตามอาชญา | ฤาหนึ่งถ้าทัณฑกรรมทำพอควร | ||
อย่ามากมูลโทษะมนะผิด | ควรคิดโดยระบอบสอบไต่สวน | ||
ควรเฆี่ยนควรขังเชือกหนังทวน | จำโซ่ตรวนขื่อคาอย่าทำเกิน | ||
พ่อจำคำบิดาสั่งตั้งความสัตย์ | แม้นปฏิบัติชื่อตรงคงสรรเสริญ | ||
ราชการภาราพ่อพย่าเมิน | อย่าหลงเพลินนางในไม่ได้การ | ||
พระโอรสฟังโองการประทานสอน | โอนอ่อนเศียรคำนับรับสั่งสาร | ||
ทั้งราชบุตรบุญธรรมก้มกราบกราน | รับโอวาทซึ่งประทานด้วยเศียรตน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์จอมเจิมเฉลิมโลก | ประชวรโรคแรงกล้าดังห่าฝน | ||
สิ้นกำลังลมปราณเหลือทานทน | สวรรคตอยู่บนพระแท่นทอง ฯ | ||
๏ ครานั้นเสวกามหามาตย์ | เกลื่อนกลาดแออัดจัดสิ่งของ | ||
เครื่องสูงแตรสังข์พระโกษฐทอง | จ่าปี่จ่ากลองเรียกร้องมา | ||
กลองชนะเบิงมางวางเตรียมไว้ | ชั้นแว่นฟ้ารีบไปยกคอยท่า | ||
คู่เคียงพระสเลี่ยงเทวดา | โปรยมาลาเข้าตอกบอกมาคอย | ||
พระสงฆ์นำน่าฉานอ่านหนังสือ | สังฆ์การีวิ่งปรื๋อไม่ล้าถอย | ||
เผดียงราชาคณะวัดพระลอย | ไวไวหน่อยเถิดเจ้าคุณวุ่นเต็มที | ||
ฝ่ายว่าราชาคณะพระญาณสิทธิ์ | ซึ่งสถิตย์วัดพระลอยก็เร็วรี่ | ||
รีบครองผ้าเรียกศิษย์ได้ตามมี | สังฆ์การีพามาพักคอยชักนำ ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงพระราชกุมาร | เชิญพระศพสรงสนานจนจวนค่ำ | ||
มาลาภูษาถวายเครื่องทรงประจำ | เครื่องต้นล้วนทองคำลงยาดี | ||
ทรงเครื่องต้นเสร็จสรรพสำหรับกระษัตริย์ | เชิญเข้าโกษฐเนาวรัตน์มณีศรี | ||
ประโคมแตรสังข์สนั่นลั่นดนตรี | กลองชนะพร้อมตีเสียงมี่วัง | ||
ฝ่ายพวกกระบวนแห่เสียงแซ่ซ้อง | ตั้งกระบวนเปนกองคอยรับสั่ง | ||
ได้เวลาพระศพออกจากวัง | ดูสพรั่งกระบวนแห่แลหลามมา | ||
พวกตั้งชั้นแว่นฟ้าเสนาภิมุข | ชาดสีสุกทาซ่อมที่คร่ำคร่า | ||
ช่างรักปิดทองผ่องจับตา | ช่างกระจกประดับประดาที่ชำรุด | ||
เครื่องแก้วตั้งคลังพิมานอากาศจัด | ศุภรัตขนผ้าไตรอุตลุด | ||
รักษาองค์เติมน้ำมันฟันชุด | รายกันจุดอัจกลับสับสนครัน | ||
แห่พระศพถึงที่นั่งมังคลา | เชิญตั้งแท่นแว่นฟ้างามเฉิดฉัน | ||
เรียงรอบเครื่องสูงลายสุวรรณ | จามรทานตวันพัดโบกราย | ||
กลิ้งกลดบดบังพระสุริยนต์ | หักทองขวางห้าชั้นอิกชุมสาย | ||
แว่นทองปักกระเสตขันทองพราย | บุบผาพวงห้อยรายกลิ่นขจร | ||
ข้าราชการกราบราบศิโรตม์ | ถวายบังคมบรมโกษฐสท้อนถอน | ||
ฤไทยโทมนัศาให้อาวรณ์ | พิไรรักภูธรสิ้นทุกคน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระราชโอรสยศไกร | เสด็จมาโศกาไลยพิไรบ่น | ||
พระราชบุตรบุญธรรมก็ทุกข์ทน | น้ำสุชนไหลหลั่งนั่งโศกา | ||
ครั้นจัดแต่งตั้งพระศพครบครัน | สดัปกรณ์นับพันไตรสิบห้า | ||
พระสงฆ์เนื่องแน่นหลามตามชลา | พระราชาคณะได้ไตรทุกองค์ | ||
เสร็จทำกุศลกิจอุทิศไป | ถวายไทชนกนารถราชหงษ์ | ||
จึงสมเด็จโอรสยิ่งยศยง | เสด็จลงจากปราสาทลีลาศมา | ||
พวกร้องไห้นางในก็ส่งเสียง | เสนาะสำเนียงว่าพระพุทธเจ้าข้า | ||
พระร่มโพธิทองล่องสู่ฟ้า | เสด็จไปชั้นใดข้าจะตามไป | ||
โอ้พระร่มโพธิแก้วลับแล้วลิบ | เสวยทิพพิมานสถานไหน | ||
ข้าน้อยพยายามจะตามไป | ไม่ทิ้งไทนฤเบศร์เกษประชา ฯ | ||
๏ ครานั้นหมู่อำมาตย์ข้าราชการ | กับพระราชกุมารโอรสา | ||
พร้อมกันกะเกณฑ์การฌาปนา | ทำมหาเมรุปราค์ตามอย่างยศ | ||
สูงเส้นห้าวาสง่านาม | เมรุทิศงามสามสร้างต้องอย่างหมด | ||
เมรุทองในเครื่องชั้นเปนหลั่นลด | ต้องแบบตามบททุกสิ่งอัน | ||
ราชวัตรฉัตรทองฉัตรเงินนาก | แลหลากตั้งสลับลำดับคั่น | ||
ฉัตรเบญจรงค์รายออกนอกอิกชั้น | ตลอดกั้นราชวัตรขนัดแนว | ||
ราชวัตรฉัตรรายทางข้างถนน | ทางสถลที่จะแห่แลเปนแถว | ||
โรงการเล่นเต้นรำทำเสร็จแล้ว | ท้องสนามกวาดแผ้วสอาดเตียน | ||
โรงรำช่องระทาระดาดาษ | เอาแผงลาดหลังคาทาเครื่องเขียน | ||
กั้นฉากวาดดูงามเรื่องรามเกียรติ์ | ล้วนแนบเนียนนน่าสนุกทุกโรงงาน | ||
หกคเมนลอดบ่วงห่วงน้อยเสา | ติดต่อเข้าสามต่อสูงตะหง่าน | ||
รำแพนเสาไต่ลวดสูงลิ่วทยาน | ตามอย่างงานบรมศพมีครบครัน | ||
เตรียมการเสร็จทุกด้านงานกำหนด | เชิญพระโกษฐขึ้นรถแห่สนั่น | ||
เข้าพระเมรุสมโภชสิบห้าวัน | ถวายพระเพลิงทรงธรรม์กระษัตรา | ||
สมโภชพระอัฐิลอยอังคาร | เสร็จการเชิญอัฐิขั้นรัถา | ||
แห่เข้าสู่พระนครา | เหล่าเสวกาโศกเศร้าเฝ้าพิไร | ||
จึงประชุมมาตยามหาอำมาตย์ | จะยกราชโอรสครองกรุงใหญ่ | ||
เห็นพร้อมกันต่างอำนวยอวยไชย | จึงหมายให้จัดราชาภิเศกการ | ||
เกณฑ์กันทำการทุกด้านทาง | ตามอย่างขัติยามหาศาล | ||
อภิเศกพระราชกุมาร | ให้ขึ้นผานทวาลีบุรีรมย์ | ||
ถวายพระนามเหมือนพระราชบิดา | ว่าทวาลีราชองอาจสม | ||
พระเดชาปรากฎยศอุดม | ครองบรมธานีศรีโสภา | ||
จึงให้กุมารบุญธรรม์นั้นไปบวช | เล่าเรียนสวนพระคัมภีร์มีสิกขา | ||
เปนสามเฌรอู่กับพระครูบา | จันทสุบิงสมญาพระอาจารย์ ฯ | ||
๏ มาวันหนึ่งพระครูผู้ที่บวช | ท่านไปสวดในป่าช้ากลับสถาน | ||
ได้อ้อยมาถึงควั่นให้ขอทาน | สามเณรกุมารบุตรบุญธรรม์ | ||
ตัวท่านฉันกลางที่หว่างข้อ | สามเณรก็ไม่ขอกลางปล้องฉัน | ||
ตั้งแต่กินข้ออ้อยไปวันนั้น | มีปัญญามากครันแปลกกว่าคน | ||
จึงคิดทายปฤษณาพระอาจารย์ | ห้าข้อไม่วิตถารปัญญาต้น | ||
ลองความรู้พระครูอาจารย์ตน | มาทายชนเข้ากับรังดังพูดกัน | ||
ในบทปถมังดังเวหา | ที่สองว่าชาโตเนข้อขัน | ||
คูชลามิคาลำดับกัน | เปนที่สามด้นดั้นปัญหาเณร | ||
จัตวาติตานี้ที่สี่แถลง | แปะๆ ปะๆ มาแจ้งมหาเถร | ||
ถามว่าได้แก่อะไรให้ชัดเจน | พระฟังเณรตรองปัญหาปัญญาตัน | ||
ค้นคัมภีร์มีในตู้ดูไม่เห็น | ก็นิ่งเว้นมาสามทิวาคั่น | ||
นั่งคิดนอนคิดให้มิดตัน | ต่อได้ฉันแกงหมูจึงรู้ความ | ||
บอกแก่สามเณรว่าคิดได้ | ปัญญาที่แคะได้เอามาถาม | ||
ดังเวหาคืองาช้างงอนงาม | ชาโตตามบทมาว่าคางคก | ||
คูชลามิคาคือครุเก่า | ชันที่เขายาไว้ร่วงไหลตก | ||
รั่วร้ำคร่ำคร่ามาหลายยก | ถลอกถลกละลายเหลวเลอะเทอะ | ||
จัตวาตีตาตีรั้วบ้าน | ทั้งข้อตาตีปสานใส่ออกเปรอะ | ||
แปะๆ ปะ ปฤษณาว่าเคอะ | ควายกินหญ้าคี่เลอะหยดย้อยไป | ||
แต่แรกคิดว่าจะฦกลับนักหนา | มิรู้ว่าความตื้นอยู่ใกล้ใกล้ | ||
เจ้าสามเณรฟังทายถูกในใจ | ชมพระครูผู้ใหญ่ว่าดีจริง ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพวกลาวชาวส่วยเมี่ยง | มาแต่เวียงหาบกระบอกกตุ้งกติ้ง | ||
ห้าร้อยบอกหนักบ่าในตาวิง | ถึงตลิ่งจะข้ามฝั่งนั่งหยุดพัก | ||
เมื่อวันนั้นสามเณรมาสรงน้ำ | เห็นพวกลาวพุงดำล้วนลายสัก | ||
กระบอกผูกพวงวางพลางถามทัก | กระบอกรักฤาอะไรไปไหนมา | ||
ฝ่ายว่าลาวชาวเวียงส่วยเมี่ยงหลวง | บอกว่าข้อยทั้งปวงอยู่เมืองป่า | ||
เปนชาวเวียงส่วยเมี่ยงจึงขนมา | พักที่ท่าหมายจะข้ามฝั่งนที | ||
อันแม่น้ำตื้นฤาฦกมาก | ข้อยทั้งปวงนี้อยากข้ามที่นี่ | ||
จะข้ามได้ฤามิได้ ในชลธี | แจ้งคดีมาหน่อยข้อยขอฟัง | ||
ฝ่ายเจ้าเณรฟังพวกส่วยเมี่ยงถาม | จึงบอกความว่าน้ำตื้นพอยืนหยั่ง | ||
แต่จะข้ามนั้นขัดสนพ้นกำลัง | แกจงรั้งรอก่อนผันผ่อนคิด | ||
ลาวเวียงไม่ทันตรองร้องว่าไป | จะข้ามให้ได้ถึงฝั่งสมดังจิตร | ||
ถ้าข้ามได้แล้วจั่วจะกลัวฤทธิ | ฤาพนันกันสักนิดก็เล่นกัน | ||
เณรถามว่าถ้าข้ามไปไม่ได้ | พี่จะเอาอะไรมาให้ฉัน | ||
พวกส่วยเมี่ยงว่าจะให้เมี่ยงทั้งนั้น | แม้นข้ามได้เณรจะปันให้อะไร | ||
สามเณรตอบว่าข้ามถึงฝั่ง | ข้าจะรังวัลสบงอังสะให้ | ||
แต่เมี่ยงหลวงมาให้ปันฉันตกใจ | จะมาไถ่สินพนันนั่นนึกกลัว | ||
ฝ่ายพวกส่วยตอบว่าถึงของหลวง | มิใช่ช่วงชิงแย่งเจ้าอยู่หัว | ||
ถึงมาเสียสินพนันไม่พันพัว | ให้พ่อจั่วแล้วจะใช้ให้อื่นแทน | ||
ครั้นพูดจานัดหมายกันแม่นมั่น | ชาวเวียงก็นุ่งพันผ้าให้แน่น | ||
แล้วหิ้วเมี่ยงท่องน้ำมาตามแกน | ถึงฝั่งแหงนเงยหน้าว่ากับเณร | ||
ข้อยข้ามมาถึงฝั่งดังพนัน | จะให้ปันสบงก็ให้เถิดพี่เถร | ||
อย่าช้าเลยจะไปส่งของส่วยเกณฑ์ | เร็วพ่อเณรข้อยจะลาเข้าธานี | ||
สามเณรตอบว่าข้าไม่ให้ | เดิมว่าไว้จะจะข้ามเล่นท่องหนี | ||
ซึ่งท่องน้ำลุยมาในวารี | ที่ตรงนี้ไม่ว่ากันในสัญญา | ||
แกเหล่านี้ลุยน้ำท่องมาฝั่ง | ไม่เหมือนดังพูดไวัที่ได้ว่า | ||
จะยึดเอาเมี่ยงทั้งหมดที่เอามา | ไม่ข้ามดังสัญญาที่พาที ฯ | ||
๏ ว่าแล้วเณรก็ริบเอาเมี่ยงหมด | พวกส่วยหน้าสลดไม่มีศรี | ||
จึงมาเรียนต่อท่านเสนาบดี | ให้ทูลใต้ฝ่าธุลีพระทรงธรรม์ ฯ | ||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาอธิบดี | ฟังวาทีพวกลาวส่วยว่าแขงขัน | ||
แจ้งข้อความตามเรื่องเณรพนัน | เอาเมี่ยงส่วยกึ่งพันของชาวเวียง | ||
จึงกราบทูลพระองค์ผู้ทรงภพ | ไปจนจบตามเรื่องพนันเมี่ยง | ||
แล้วแต่จะโปรดโทษลาวเชียง | หมอบเมียงคอยฟังพระโองการ ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนรินทร์ปิ่นประชา | ได้ฟังว่าเณรนั้นทำอาจหาญ | ||
เล่นพนันกันกับลาวฉาวสท้าน | อยากฟังคำให้การจะอย่างไร | ||
จึงดำรัสให้หาเณรเข้ามา | ตรัสถามว่าพนันเล่นเปนไฉน | ||
เณรถวายพรองค์พระทรงไชย | ทูลไปตั้งแต่ต้นจนจบปลาย | ||
ได้ทรงฟังก็ดำริห์ตริตรึกตาม | ข้อความโดยทำนองทั้งสองฝ่าย | ||
จึงดำรัสว่าไม่ควรจะวุ่นวาย | อย่าเสียดายคิดเงินให้กับเณร | ||
ตามีสักสี่ซ้าห้าบาท | เจ้ากูฉลาดคำคมคารมเถร | ||
ให้เปนเลิกอ่าเซ้าซี้จะมีเวร | เงินประเคนเจ้ากูอย่าสู้ความ ฯ | ||
๏ ฝ่ายสามเณรได้ฟังรับสั่งโปรด | ไม่มีโทษกลับจะได้เงินหลายย่าม | ||
ก็รีบมากุฎีที่อาราม | ยืมบาตรตามพระสงฆ์ลงบันได | ||
ถือบาตรห้าฝาสี่ขมีขมัน | เข้าวังพลันแล้ววางบาตรลงให | ||
ว่ามีพระโองการมาอย่างไร | ฉันมิได้ล่วงละพระบัญชา | ||
รับสั่งให้ใช้เงินแทนเมี่ยงส่วย | จึงไปฉวยฝามาสี่แต่บาตรห้า | ||
แน่พวกส่วยจงตวงเอาเงินมา | ให้เต็มบาตรเต็มฝาจะลาไป ฯ | ||
๏ พวกส่วยเห็นบาตรห้าฝาถึงสี่ | สุดคิดด้วยไม่มีเงินจะใËé | ||
ปฤกษากันต่างคนต่างจนใจ | เราจะได้เงินตราไหนมาพอ | ||
แม้นขายตัวลงทั้งหมดยังลดหย่อน | เหลือจะผ่อนแบ่งเบาแล้วเราหนอ | ||
สิ้นปัญญานิ่งนังดังหลักตอ | จึงทูลข้อขัดสนพ้นกำลัง ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร | ทรงฟังทูลเรื่องเณรเหมือนบ้าหลัง | ||
จึงดำรัสโปรดให้ไขพระคลัง | ขนเงินใส่บาตรทั้งห้าบาตรพระ | ||
อิกสั่งให้ใส่ฝาครบทั้งสี่ | ใช้หนี้เณรแทนพวกเลี้ยงจะกละ | ||
พวกลาวถวายบังคมก้มคารวะ | ขอเดชะทูลยกพระเกียรติยศ | ||
แล้วทูลลากลับหลังยังบ้านตน | ฝ่ายพระจอมจุมพลให้รวมจด | ||
เปนเงินสี่ร้อยชั่งเศษยังลด | อิกสี่ชั่งคิดปะชดถ้วนห้าร้อย | ||
จึงทรงดำริห์ว่าเณรปัญญามาก | คนเช่นนี้หายากไม่ชั่วถ่อย | ||
ถ้าได้เลี้ยงเป็นมนตรีดีไม่น้อย | จะใช้สอยแคล่วคล่องเห็นว่องไว | ||
จึงโปรดให้เณรสึกทำราชการ | เณรไปลาอาจารย์ท่านผู้ใหญ่ | ||
รีบสึกออกมาข้าจะใช้ | เณรก็ไปลาสิขาสึกมาพลัน ฯ | ||
๏ คนทั้งหลายเรียกนามว่าเชียงเมี่ยง | ได้ชื่อเสียงตามเหตุพนันขัน | ||
เพราะชนะเรื่องเมี่ยงซึ่งเถียงกัน | ได้รางวัลเงินตราเกือบห้าร้อย ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงก็ได้มาเปนข้าเฝ้า | หมั่นเข้าวังให้ทรงใช้อย | ||
ไม่ไกลปาทจอมนราอุส่าห์คอย | ให้ใช้เล็กใช้น้อยข้างน่าใน | ||
ท้าวเธอไม่รังเกียจเดียดฉัน | แพรพรรณปูนบำนาญประทานให | ||
ทั้งเงินตราผ้าเสื้อจนเหลือใช้ | เข้าข้างในออกข้างน่าไม่ว่ากัน | ||
อยู่มาวันหนึ่งเจ้าจอมสถาน | เสวยพระกระยาหารให้อัดอั้น | ||
มิใคร่ได้มาหลายทิวาวัน | พระทรงธรรม์ให้หาเชียงเมี่ยงมา | ||
ดำรัสว่ากูกินเข้าไม่ค่อยได้ | ทำอย่างไรจึงจะค่อยมีรศหวา | ||
เชี่ยงเมี่ยงทูลมูลคดีว่ามียา | ให้เสวยโภชนามามีรศ | ||
ดำรัสว่าเองเอายามาให้กู | จะกินแก้ลองดูให้ปรากฎ | ||
เชียงเมี่ยงรับคารวะน้อมประนต | พระโอสถหม่อมฉันดีมีที่เรือน | ||
ทูลแล้วลีลามาสู่บ้าน | เที่ยวเล่นศุขสำราญกับพวกเพื่อน | ||
ไม่หายาทูลลามาแชเชือน | นอนอยู่เรือนจนสายสบายใจ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ผิดปลาดเชียงเมี่ยงหามาไม | ||
คอยอยู่จนเที่ยงสายก็หายไป | แสบอุทรสั่งให้เชิญเครื่องมา | ||
เสวยเวลานั้นมีรศมาก | เพราะหิวอยากเสวยได้เปนนักหนา | ||
ตวันบ่ายชายแสงพระสุริยา | เชียงเมี่ยงมาเข้าเฝ้าพระภูมี | ||
จึงประภาษตวาดรับสั่งขู่ | อ้ายเชียงเมี่ยงลวงกูไม่พอที่ | ||
ไปเอายาเนิ่นนานจนปานนี้ | ไหนยาดีขอกูดูอยากรู้รศ | ||
แต่คอยอยู่เห็นสายจวนบ่ายแล้ว | ไม่วี่แวดมาจนหิวพ้นกำหนด | ||
แสบอุทรกินเสียก่อนค่อยมีรศ | อาหารหมดชามมากกว่าทุกครั้ง ฯ | ||
๏ เชียงเมี่ยงว่านั่นและยาหม่อมฉันถวาย | เพราะเวลาเที่ยงสายโอสถขลัง | ||
อร่อยเมื่ออยากเสวยมากมีกำลัง | ไม่ต้องตั้งพระโอสถเข้าหมดชาม ฯ | ||
๏ จอมประชาตรัสว่าเจ้าหมอเอก | พูดโหยกเหยกโยกย้ายอ้ายส่ำสาม | ||
มันช่างว่าพลิกไพล่ได้ใจความ | ไม่เข็ดขามพูดเปนลิดไม่ติดเลย | ||
ให้ขุ่นเคืองในพระไทยแต่ไม่ตรัส | พระดำรัสทีหยอกเย้าเฉลย | ||
เกรงขุนนางรู้ความจะหยามเย้ย | ทรงชมเชยพระวาจาทำปรานี ฯ | ||
๏ ครั้งหนึ่งพระองค์ผู้ทรงเดช | สั่งให้เลือกช้างวิเศษมีศักดิศรี | ||
อันควรเปนพระที่นั่งกำลังดี | พ่วงพีกล้าหาญชาญณรงค์ | ||
กรมช้างผูกช้างพระที่นั่ง | ขับมานั่งน่าพระลานโดยประสงค์ | ||
เสด็จออกทอดพระเนตรจะลองทรง | มีพระองการถามเสนาใน | ||
ว่าช้างนี้ครบทุกสิ่งสรรพ์ | ฤาควรติรูปพรรณที่ไหนได้ | ||
อำมาตย์ทูลว่างามควรทรงใช้ | ติไม่ได้แต่สักอย่างจนย่างเดิน | ||
เวลานั้นเชียงเมี่ยงเฝ้าอยู่ด้วย | จึงว่าจะช่วยตีบ้างเห็นขัดเขิน | ||
ส่วนตัวโตไม่สมตาเล็กเกิน | สรรเสริญว่าดีพร้อมไม่ยอมตาม ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงฟังเชียงเมี่ยงว่า | เคืองฤไทยด้วยมาขัดหยาบหยาม | ||
แต่ทรงนิ่งไม่ตรัสให้แจ้งความ | มันลวนลามล้อเล่นเห็นไม่ควร | ||
จึงดำรัสความอื่นกับเสวกา | ทรงชวนไปเล่นสบ้าที่ปลายสวน | ||
พอเล่นแก้ไม่หยาบหายรัญจวน | ตั้งกระบวนแล้วเสด็จยาตราพลัน | ||
ถึงที่ประทับพลับพลาสนามเล่น | ขุนนางตั้งสบ้าเปนลำดับคั่น | ||
ตั้งสบ้าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | เปนลดหลั่นรายเรียงเคียงกันไป | ||
สมเด็จพระเจ้าทวาลีมีอำนาจ | ทรงยิงสบ้าหมายมาดไม่ผิดไพล่ | ||
ทรงยิงก่อนถูกสุอันที่ตั้งไว้ | ขุนนางก็ยิงลำดับไปตามศักดินา | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงตบมือร้องเสียงหลง | ของพระองค์เลยทุกทีอึงมี่ว่า | ||
ครั้นพวกข้าเฝ้าเหล่าเสนา | ยิงสบ้าถูกหมายไม่สายซัด | ||
เชียงเมี่ยงร้องยิงผิดสิ้นทุกคน | พระจุมพลแลขุนนางต่างเคืองขัด | ||
ได้อับอายขายหน้าโทมนัศ | จอมกระษัตริย์ก็เสด็จกลับสู่วัง | ||
ครั้นนานมาพระครูเปนผู้เถ้า | โรคเร้าเกิดซุกทนทุกขัง | ||
จันทสุบิงสมญากาละกะตัง | ถึงมรณังมรณะชีพประไลย ฯ | ||
๏ พระครูนั้นไร้ญาติขาดพงษา | บุตรนัดดาจะมีก็หาไม่ | ||
พี่น้องมิตรสหายล้วนตายไป | เสนาในกราบทูลพระกรุณา | ||
ว่าพระครูผู้เถ้ามรณภาพ | อัประลาภไร้วงษ์เผ่าพงษา | ||
จงทรางทราบใต้ฝ่ามุลิกา | ศพไม่มีใครนำพาทำกิจการ | ||
จึงดำรัสตรัสให้หมู่เสนา | ช่วยกันทำฌาปนาในศพท่าน | ||
แล้วรับสั่งให้สนมบริพาร | ไปร้องไห้แทนหลานแลพี่น้อง ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงรู้ว่ารับสั่งใช้ | พวกนางในพระสนมสิ้นทั้งผอง | ||
ให้ร้องไห้ที่ศพแทนพี่น้อง | เดินตรึกตรองในอารมณ์ด้วยสมคิด | ||
จึงแตัดแหวะผ้านุ่งที่ตรงกั้น | เปนเล่ห์กลนุ่งโจงกระเบนปิด | ||
พานางสนมมาที่ศพสถิตย์ | นางตะบิดตะยอยจะคอยฟัง | ||
แล้วเตือนว่าพระกรุณารับสั่งใช้ | มาร้องไห้เหตุไฉนจึ่งนิ่งนั่ง | ||
สนมตอบว่าพระครูผู้มรณัง | มิได้ชังแต่ใช่ญาติข้าทั้งปวง | ||
จะร้องไห้ก็ไม่มีน้ำตามา | ตัวเปนศิษย์เปนหาของท่านหลวง | ||
เจ้าจงร้องไห้รักอย่าทักท้วง | ข้าทั้งปวงขัดไม่ได้จำใจมา ฯ | ||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงเห็นได้ที | เข้าไปใกล้ศพพระชีแล้วปลดผ้า | ||
เสแสร้งแกล้งทำร่ำโศกา | ชลนาไหลนองสองแก้มคาง | ||
ว่าโอ้โอนิจาพระครูเอ๋ย | สิบปีพระไม่เคยพบเหล้าบ้าง | ||
เก้าปีมิได้พบสีกานาง | มาเริศร้างไม่ได้อุ่นพ่อลุ่นโตง | ||
เกิดมาทั้งชาติตายเสียเปล่า | ไม่พบเต่าหลังขนรำไรโหรง | ||
มานอนตายในกุฎีทีในโลง | พ่อลุ่นโตงของกูเอ๋ยเลยมอดม้วย | ||
ฝ่ายนายในได้ฟังคำร้องไห้ | กลั้นหัวเราไม่ได้ ใจเขินขวย | ||
ก็หัวเราะครึครื้นระรื่นรวย | เชียงเมี่ยงฉวยไม้ได้ ไล่ตีเอา | ||
ว่าครั้งนี้มีรับสั่งประทานมา | ให้โศการักศพพระครูเฒ่า | ||
อย่างไรชวนกันมาร่าเริงเร้า | ทำดูเบาขัดบัญชามาหัวเราะ | ||
ทำอย่างนี้ไม่ต้องอย่างนางฝ่ายใน | ตีไล่เขวียวขวับเสียงปับเปาะ | ||
สนมนางขึ้นเลียงเถียงเทลาะ | ที่ใจเสาะโศกาน้ำตานอง | ||
เข้าไปเฝ้าพระบาทนารถนาถา | ต่างวันทาอาดูรทูลฉลอง | ||
ว่าเชียงเมี่ยงข่มเหงข้าฝ่าลออง | ไล่ตีต้องรอยเรียวเขียวทั้งกาย ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูรย์ | ทรงฟังทูลนางในพระไทยหาย | ||
ร้อนดังต้องพิศม์ไฟไม่สบาย | สั่งให้นายเวรตำรวจไปหาตัว | ||
ฝ่ายตำรวจรับพระราชโองการ | ถอยคลานถวายบังคมกราบก้มหัว | ||
แล้วรีบมาร้องบอกแต่นอกรั้ว | รับสั่งให้มาเอาตัวท่านเข้าไป ฯ | ||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงได้ฟังว่า | เห็นนายชาติวิ่งมาจนเหื่อไหล | |||
แจ้งว่าเหตุเพราะตีสนมใน | พระทรงไชยขัดเคืองเบื้องบาทา | |||
ก็รีบเร้ามาเฝ้านเรนทร์สูร | ทรงบัณฑูรตรัสถามถึงโทษา | |||
ว่าอีกเหล่านี้มีผิดอย่างไรมา | จึงไล่ตีกายาเปนริ้วรอย ฯ | |||
๏ เชียงเมี่ยงได้ฟังรับสั่งถาม | จึ่งทูลตามเหตุไปไม่ท้อถอย | |||
พระอาญาล้นเกษาแห่งข้าน้อย | นางในทำไม่ต้องรอยพระโองการ | |||
มีรับสั่งให้ไปร้องไห้ร่ำ | นั่งหัวเราะแทบค่ำครั้นหม่อมฉาน | |||
ร้องไห้รักพระครูผู้อาจารย์ | กลับชื่นานสรวลเสเสียงเฮฮา | |||
อยู่ที่นั่นหนุ่มหนุ่ม็มีมาก | คะนองปากเปนสนมไม่สมหน้า | |||
หม่อมแนเห็นไม่ดีตีไล่มา | ควรมิควรพระอาญาเปนล้นพ้น ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระองค์ดำรงภพฟังจบเรื่อง | ให้ขัดเคืองนางในได้เหตุผล | |||
จึ่งดำรัสตรัสด่าสิ้นทุกคน | ว่าไปทำลุกลนให้ได้อาย | |||
เชียงเมี่ยงตีแต่เพียงนี้ยังไม่สา | มันฆ่าเสียก็ต้องตามกฎหมาย | |||
ไปหัวเราะเยาะเย้าเจ้าผู้ชาย | โทษมึงถึงตายตามไอยการ ฯ | |||
๏ นางสนมได้ฟังพระกริ้วกราด | ก็ไม่อาจเถียงท้าต่อว่าขาน | |||
แค้นเชียงเมี่ยงมิได้เหือดคิดเดือดดาล | ก้มคลานบังคมลามาทุกคน ฯ | |||
๏ อยู่มาวันหนึ่งพระจอมเวียง | เสวยเมี่ยงองค์หนึ่งเปนคำต้น | |||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงอมเมี่ยงทำพิกล | สี่คำดูล้นแก้มตุ่ยพอง | |||
แล้วเอาน้ำมันทาแก้มไว้ | เลื่อมใสดุขันเปนมันย่อง | |||
พระทรงศักดิตรัสทักว่าแก้มพอง | เองอมเมี่ยงฤาดูป่องผิดในตา | |||
เชี่ยงเมี่ยงทูลว่าแก้มเกล้าหม่อมฉัน | ทาน้ำมันเลื่อมอยู่เองเป่งนักหนา | |||
กรุงกระษัตริย์เคองขัดหัทยา | แต่ไม่ว่านิ่งแค้นในพระไทย ฯ | |||
๏ ล่วงมานานชานพระที่นั่งซุด | พระประสงค์จะให้ขุดซ่อมแปลงใหมè | |||
สั่งให้หาเชียงเมี่ยงรับพระราชโองการ | ถอยคลานออกจากวังแล้วเที่ยวหา | |||
สืบทุกแห่งหาคนปากแหว่งมา | ว่ามีพระบัญชาจะต้องการ | |||
คนทั้งหลายจึ่งว่าเห็นผิดไป | จะทำไมคนปากแหว่งบอกทุกบ้าน | |||
เชียงเมี่ยงว่าเรารับพระโองการ | ต่อพระโอษฐบรรหารให้เลือกค้น | |||
ว่าแล้วจึ่งเที่ยวหาคนปากแหว่ง | หลายแแห่งบอกมาทุกถนน | |||
พอครบถ้วนจำนวนสิบแปดคน | พาเข้าเฝ้าจุมพลจอมประชา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรคนปากแหว่งมานักหนา | |||
ดำรัสถามเชียงเมี่ยงมิได้ช้า | คนปากแหว่งนี้พามาทำไม | |||
เชียงเมี่ยงกราบทูลพระกรุณา | โปรดให้หาปากง่ามก็หาได | |||
๏ ฝ่ายพระจอมนครินทร์ยินเชียงเมี่ยง | กราบทูลเถียบอ้างรับสั่งดูอาจหาญ | |||
ทรงพระสรวลว่ากูจะต้องการ | คนปากไม้ทำชานที่ซุดพัง | |||
คนปากแหว่งเช่นนี้ไม่ประสงค์ | มึงใหลหลงพามาเหมือนบ้าหลัง | |||
แล้วทรงเล่าให้เสนาข้าเฝ้าฟัง | ขุนนางทั้งปวงก็พากันหัวเราะ | |||
พระทรงภพปรารภว่าอ้ายคนนี้ | มันอวดดีว่าปัญญามากมั่นเหมาะ | |||
อย่าเลยนะจะให้แกงแร้งจำเภาะ | ให้มันกินจะได้เย้าะเย้ยประจาน | |||
เพราะแร้งนันมนกินสุนักข์เน่า | ซากศพเก่าศพใหม่เปนอาหาร | |||
อ้ายเชียงเมี่ยงกินเนื้ออันสาธารณ์ | ความคิดอ่านปัญญาคงอับน้อย | |||
ทรงดำริห์แล้วสั่งวิเศษใน | หาแร้งแกงให้ ได้ ให้อร่อย | |||
ใส่พริกเกินตำราอย่าให้น้อย | ให้มันเผ็ดเหื่อย้อยถึงเครื่องร้อน | |||
วิเศษรับพระราชโองการ | ทำตามบรรหารไม่ย่อหย่อน | |||
เสร็จใส่สำรับถวายพระภูธร | เตรียมไว้ก่อนคอยเชียงเมี่ยงจะมา ฯ | |||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงครั้นถึงเวลาเฝ้า | ก็รีบเข้าบังคมบาทนารถนาถา | |||
ครั้นพระองค์อิศเรศเกษประชา | เห็นเชียงเมี่ยงเข้ามาดีพระไทย | |||
จึ่งรับสั่งให้ยกสำรับมา | รับสั่งว่าเองจงกินแกงไก่ใหญ | |||
กินเถิดอย่ากระดากลำบากใจ | กูสั่งให้ทำเลี้ยงเชียงเมี่ยงกิน ฯ | |||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงได้รับสั่ง | ถวายบังคมแล้วไม่ผันผิน | |||
บริโภคแกงเผ็ดให้เข็ดลิ้น | เหม็นกลิ่นคาวมากแทบรากท้น | |||
เนื้อก็เหนียวเคี้ยวไปไม่ใครขาด | เกรงอาญาจอมราชจึ่งไม่บ่น | |||
แขงใจกินได้สามคำกล้าเหลือทน | ก็อิ่มเข้าร้อนรนเผ็ดเต็มท | |||
ฝ่ายพระจอมนคเรศเกษประชา | เห็นเชียงเมี่ยงดูระอาริบอิ่มหนี | |||
จึ่งรับสั่งถามพลันในทันที | อย่างไรนี่จึ่งไม่กินให้สิ้นชาม | |||
ทั้งเหม็นคาวเหม็นสาบหลาบครั่นคร้าม | ทนได้สามคำเท่านั้นให้ตันตอ | |||
พระภูบาลทรงพระสรวลสำรวลร่า | ว่าไก่ชราตัวใหญ่เนื้อเหนียวหนอ | |||
เพราะมันกินสุนักข์เน่าเข้าไว้พอ | เองจึ่งท้อเข็ดขยาดไม่อาจกิน | |||
เชียงเมี่ยงฟังรับสั่งรู้ว่าแร้ง | เอามาแกงลวงเล่นเหม็นไม่สิ้น | |||
แค้นใจโกรธในพระเจ้าแผ่นดิน | จะแก้เผ็ดนึกจินตนาปอง | |||
แล้วถวายบังคมลามาสู่บ้าน | ให้คลื่นเหียนซาบซ่านขนสยอง | |||
เอามาะกรูดส้มป่อยดินสอพอง | ชำระปากตอท้องสอิดสเอียน | |||
ถึงสามวันสี่วันเหม็นไม่หาย | ทั้งกลิ่นอายคาวขื่นให้คลื่นเหียน | |||
ท้องไส้ขย่อนเขย่าเฝ้าอาเจียน | สอิดสเอียนเปนไข้ไปหลายวัน | |||
พอคลายไข้อุส่าห์หาคี่แร้ง | ได้มาผสมแป้งสู้เพียรปั้น | |||
ทำดินสอแท่งงามงามได้สามอัน | เอาไปถวายทรงธรรม์มิได้แคลง ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระจอมนครามหาสถาน | เห็นเชียงเมี่ยงยกพานดินสอแท่ง | |||
มาถวายทรงรับไม่ระแวง | ทรงเขียนลองแห้งแห้งเส้นไม่มี | |||
แล้วทรงจิ้มลิ้มเขฬาเลขาใหม่ | ก็มิได้เห็นเส้นเหมือนเช่นกี้ | |||
ประหลาดฤไทยแต่ไม่ทรงพาที | ชวนเชียงเมี่ยงมาที่ทรงหมากรุก | |||
เล่นกับเชียงเมี่ยงเสียงโกกก้อง | เชียงเมี่ยงร้องพูดเล่นเปนสนุกนี้ | |||
ได้ทีเดินโดดโลดเข้ารุก | บ่ารุกเรือเม็ดเล็ดลอดกิน | |||
ร้องโปกฉาดข้าบาทได้กินตัว | พระอู่หัวเลิศลบภพทั้งสิ้น | |||
เปนปีนแขวงแต่พระแกงคูธริ้น | พระภูมินทร์ทราบเรื่องเคืองพระไทย | |||
ทรงดำริห์ว่าจะฆ่าผ่าอกแล่ | โทษมันแก้เผ็ดล้อเปนข้อใหญ่ | |||
แล้วหวนคิดปิตุรงค์ทรงฝากไว้ | ภูวไนยตรัสว่าอย่าฆ่าฟัน | |||
แต่เคืองขุ่นมุ่นฤไทยมิไใคร่หาย | เพราะพระองค์อับอายให้อัดอั้น | |||
เสด็จเข้าสู่พระแท่นแผ่นสุวรรณ | พระทรงธรรม์จะพาลผิดนิจกาล ฯ | |||
๏ ครั้นล่วงมาวันหนึ่งจอมประชา | ทรงจินตนาขะเสด็จสรงสนาน | |||
ที่หาดทรายชายท่าชลาธาร | ทรงคิดอ่านเห็นจะได้ความผิดมี | |||
จึ่งดำรัสแก่หมู่เสวกา | จงหาฟองไก่ไวอย่าอึงมี่ | |||
ปิดเชียงเมี่ยงอย่าให้รู้หมู่เสนี | ไปฝังไข่ไว้ที่ในหาดทราย | |||
พรุ่งนี้ให้ได้ไปแต่ช้าว | ข่าวคราวซ่อนไว้อย่าได้ขยาย | |||
๏ ครานั้นหมู่อำมาตย์มาตยา | รับพระราชบัญชาออกจากเฝ้า | |||
ให้ค้นหาไข่ไก่ไว้แต่เช้า | สั่งเบ่าให้ไปยังฝั่งชลา | |||
ได้เวลาจอมนรินทร์ปิ่นประเทศ | เสด็จจากพระนิเวศน์ด้วยยศถา | |||
ทรงเรือที่นั่งพร้อมหมู่เสวกา | เชียงเมี่ยงตามเสด็จมาในนัที | |||
ถึงที่เสด็จประทับบนพลับพลา | มีบัญชาให้เล่นน้ำสนั่นมี่ | |||
ดำรัสว่าให้กระตากคนละที | ให้ได้ไข่ทุกเสนีบรรดามา | |||
ถ้าไม่ได้ ไข่ชูให้กูเห็น | จะเอาเปนความผิดมีโทษา | |||
ฝ่ายอำมาตย์รับพระราชบัญชา | ลงสู่ท่าดำน้ำก็ทำตาม | |||
ผุดขึ้นนว่ากระตากมือชูไข่ | ต่างต่างได้คนละฟองร้องอึงสนาม | |||
เชียงเมี่ยงดำแล้วผุดขึ้นมาตาม | ร้องระตูแจ้งความว่าไม่มี | |||
เพราะเปนไก่ผู้หาฟองไม่ | แล้วก็ไล่จับพวกขุนนางขี่ | |||
เที่ยวไล่จับสัตว์ในนัที | หมู่เสนีสำลักน้ำดำหนีไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | หมายมาดจะเอาผิดก็ไม่ได้ | |||
เชียงเมี่ยงแก้คล่องด้วยว่องไว | พระทรงไชยกลับหลังยังนคร | |||
แล้วทรงคิดจะเอาผิดแก่เชียงเมี่ยง | อย่าให้เลี่ยงข้างข้างเหมือนอย่างก่อน | |||
จะให้ไปซื้อผ้าท้าวนคร | ทรงอนุสรแล้วเสด็จออกขุนนาง | |||
ดำรัสใช้ ให้เชียงเมี่ยงไปซื้อผ้า | ลายโสภาตีนแต้มให้ได้อย่าง | |||
เชียงเมี่ยงรับเงินตราออกมาพลาง | ถึงบ้านนอนไขว่ห้างเล่นสบาย | |||
ครบเจ็ดวันจึงเามาเผ้าพระบาท | บรมนารถทักว่าเองไปไหนหาย | |||
มามือเปล่ากูไม่เห็นได้ผ้าลาย | เที่ยวสบายเสียไม่หาฤาว่าไร | |||
เชียงเมี่ยงได้ฟังรับสั่งถาม | จึ่งทูลความว่าหม่อมแนหาไม่ได้ | |||
ผ้าตีนแต้มเช่นตรัสดำรัสใช้ | เกล้ากระหม่อมเที่ยวไปทั่วตำบล | |||
ถามผู้ใดก็ว่าแต้มแต่ด้วยมือ | ไม่อาจซื้อมาถวายเพราะขัดสน | |||
ไม่มีแต้มด้วยเท้าแต่สักคน | ก็เปนคนใจจะวงพระโองการ | |||
ฝ่ายพระจอมนครินทร์บดินทร์สูร | ได้ฟังทูลเชียงเมี่ยงดูอาจหาญ | |||
ทรงตรองไปก็เห็นจริงนิ่งรำคาญ | หมายจะพาลผิดก็ไม่ได้สักครา ฯ | |||
๏ ยังมีเจ้าอธิการสมภารใหญ่ | ปลูกต้นไม้มีผลมากนักหนา | |||
มะม่วงมะปรางมะทรางและพุดทรา | น้อยหน่าลำไยมะไฟมะเฟือง | |||
แต่ผู้ใดใครมาขอไม่อยากให้ | หวงไว้จนผลงอมหล่นเหลือง | |||
ถึงตัวท่านก็ไฉันกลัวจะเปลือง | ชาวบ้านเคืองคิดชังไปทั้งคาม | |||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงเดินมาเห็นมะม่วง | ดกเปนพวงสุกเหลืองเรืองอร่าม | |||
อยากใคร่ได้ไปถือเล่นงามงาม | แต่ครั่นคร้ามไม่ได้ขอนิ่งรอพลาง | |||
แล้วขึ้นไปบนกุฎีพระชีเฒ่า | คุกเข่าร้องขอส้มกินบ้าง | |||
เจ้าอธิการรู้เรื่องเคืองระคาง | เดินเข้ากุฎีกลางปิดประตู | |||
เชียงเมี่ยงเห็นอาการสมภารแก่ | วิ่งแร่หนีตัวซ่อนหัวหู | |||
คิดโกรธว่าขรัวนี้ทำไม่น่าดู | ให้ไม่ให้ก็ไม่รู้ ไม่พูดจา | |||
เปนไรมิดีแล้วได้เห็นกัน | คิดให้ขันถีบขว้ำคะมำหน้า | |||
ให้ได้แผลแก้แค้นด้วยปัญญา | ทำที่หน้าผากให้แตกได้แลกลำ | |||
คิดแล้วกลับไปบ้านสถานตน | หาหมากผลพลูซองลองขรัวคร่ำ | |||
ให้เมียทำไก่พะแนงแกงต้มยำ | แล้วใส่สำรับมาให้พระสมภาร | |||
ขึ้นกุฎีก้มกราบหมาอบราบพื้น | บอกว่าคืนนี้รับสั่งให้ดีฉาน | |||
มาเผดียงเจ้าคุณพระอาจารย์ | นิมนต์ท่านไปตั้งราชาคณะ | |||
ฝ่ายขรัวเฒ่าเขลาปัญญาว่าสาธุ | มาได้ที่เมื่ออายุมากนะจะ | |||
เชียงเมี่ยงตอบว่าเจ้าคุณบุญถึงละ | ดีฉันจะขอดูรู้ลายมือ | |||
ในตำราว่าไว้จะได้ที่ | ฤามั่งมียศศักดิ์คนนับถือ | |||
เปนที่เกรงหมอบเทาชื่อเล่าฦา | มีแจ้งในลายมือแลลายท้าว | |||
สมภารใหญ่ใหลหลงง่วงงงยศ | เชื่อเขาปดเชียงเมี่ยงไม่สืบสาว | |||
แบให้ดูลายมือพูดยืดยาว | ทั้งลายท้าวไม่ระแวงนึกแคลงใจ | |||
เชียงเมี่ยงเห็นท่านขรัวอยากตัวสั่น | ทำพูดกันให้สิ้นความสงไสย | |||
ว่าลายมือลายเท้าที่ทายไว้ | ไม่แน่ใจเหมือนลายก้นต้นตำรา | |||
จะดีชั่วแจ้งชัดเปนสัจจัง | ไม่พลาดพลั้งที่นั่งทับตำหรับว่า | |||
พระอธิการฟังสารเชียงเมี่ยงว่า | ไม่ระอานึกอยากยศไม่หาย | |||
ว่าจะดูก้นเห็นฦกข้านึกอาย | เชียงเมี่ยงว่าไม่แพร่งพรายจะอายใคร | |||
ดูแต่สองคนเท่านี้นี่ | ไปในที่ลับลี้ก็จะได้ | |||
พระสมภารไม่แหนงเคลือบแคลงใจ | ก็พาไปห้องน้ำตามคำชวน | |||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงสมจิตรที่คิดหมาย | จะทำให้ได้อายนึกยิ้มสรวล | |||
พอขรัวเฒ่าเข้าห้องต้องกระบวน | ทำทีด่วนว่าจะดูตามตำรา | |||
ให้ขรัวเฒ่าแก่โก้งโค้งจะดูก้น | ถีบตะโพกหัวชนเข้ากับฝา | |||
สมภารหน้าผากแตกเวทนา | ร้องด่าอ้ายขี้ครอกบอกกล่าวพลาง | |||
เชียงเมี่ยงก็ถีบซ้ำอีกสามที | แล้วจึงหนีลงบันไดไปข้างล่าง | |||
ท่านสมภารล้มกลิ้งก็ยิ่งคราง | โลหิตไหลเปนทางนองกระดาน | |||
กว่าจะนั่งขึ้นได้เปนนานช้า | เชียงเมี่ยงวิ่งหนีมาจนถึงบ้าน | |||
คิดว่าโทษเรามีตีสมภาร | กินยารุให้พิการซูบผอมกาย ฯ | |||
๏ ฝ่ายเจ้าอธิการเฒ่า | ปวดร้าวที่แผลหน้ามิใคร่หา | |||
อุส่าห์ประคบทาไพลค่อยได้สบาย | ครบเจ็ดวันจึงคอยคลายเจ็บกายา | |||
ครั้นความเจ็บบางเบาขรัวเฒ่าเถร | ฉันเพนแล้วห่มดองจึ่งครองผ้า | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรขรัวแก่ตรัสถามก่อน | |||
ว่าคุณประสงค์บาตรเภสัชฤาจีวร | เครื่องนั่งนอนอย่างไรจงไขความ ฯ | |||
พยุงเดินเข้าในวังเซซังมา | ถึงเข้าเฝ้าจอมนราประชากร ฯ | |||
๏ ครานั้นขรัวเฒ่าทูลเล่าเรื่อง | ที่ขัดเคืองมีผู้มาหยาบหยาม | |||
อุบาสกคนหนึ่งพึ่งรุ่นงาม | มาแจ้งความว่าพระองค์ผู้ทรงไชย | |||
ให้นิมนต์รูปมาตั้งราชาคณะ | แล้วทำรูปหน้าหวะโลหิตไหล | |||
ได้ความร้อนรนเปนพ้นไป | เห็นเปนข้าจอมไทนราบาล ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระจอมนิเวศน์เกษประชา | ทรงฟังว่าข้าเฝ้าทำอาจหาญ | ||
นึกฉงนจนพระไทยให้รำคาญ | พระโองการดำรัสว่าผู้ใดไป | ||
ความที่ว่าฉันสั่งให้นิมนต์ | จะได้ใช้ใครสักคนก็หาไม่ | ||
ผู้เปนเจ้าว่าข้าเฝ้าที่เคยใช้ | แม้นว่าจำหน้าได้จงชี้มา | ||
เจ้าอธิการทูลว่าจำหน้าได้ | จึ่งโปรดให้ชี้ขุนนางอยู่พร้อมหน้า | ||
พระเถรพิศดูหมู่เสนา | แต่บรรดาหมอบเฝ้าเจ้าจุมพล | ||
จึ่งทูลว่าเสนาที่อยู่นี่ | มิใช่ที่คนทำรูปปี้ป่น | ||
แต่คนทำนั้นก็ยังรู้จักตน | ได้สั่งสนทนาอยู่เปนครู่นาน | ||
จึ่งดำรัสถามเหล่าเสนามาตย์ | ผู้ใดขาดไม่มาจงว่าขาน | ||
ขุนนางทูลว่าเชียงเมี่ยงไม่พบพาน | ขาดเผ้าพระภูบาลมาหลายวัน | ||
ได้ทรงฟังจึ่งรับสั่งให้หามา | เชียงเมี่ยงกินแต่ยาเพราะความพรั่น | ||
ครั้นมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ผิวพรรณผิดหน้าตาโหลกลวง | ||
ทั้งรูปกายผ่ายผอมดูพิกล | พระจุมพลจึ่งถามขรัวตาหลวง | ||
ว่าคนนี้ฤาที่ไปฬ่อลวง | ขอมะม่วงแล้วข่มแหงเก่งกอแก | ||
เจ้าอธิการทูลว่าคล้ายคนนี้ | แต่ท่วงทีผิดไปดูไม่แน่ | ||
คนที่ไปลวงฬ่ทำตอแย | ล่ำกว่านี้คนนี้แก่กว่าคนนั้น | ||
เชียงเมี่ยงจึงตอบว่าข้าพเจ้า | ขาดเฝ้าเพราะป่วยหลายวันคั่น | ||
ไปไหนไม่ได้มาหลายวัน | พระทรงธรรม์ให้หามาในวัง | ||
จึ่งค่อยแขงใจมาเฝ้าจอมราช | กลัวพระราชอาชญารักษาหลัง | ||
จิตรใจยังโผเผเดินเซซัง | สมภารฟังเห็นไม่แน่ทูลลาไป ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงกระษัตราเมืองธานี | ครองบุรีนคเรศประเทศใหญ่ | ||
พรั่งพร้อมรถอัศดรกุญชรไชย | ทหารเดินเนืองในพระภารา | ||
มหไสูรย์มูลมั่งคั่งสมบัติ | แออัดฝูงชนล้นแน่นหนา | ||
มีเรือเสาสำเภาเหล่านาวา | เรือลูกค้ามาจอดทอดเรียงราย | ||
ราษฎรเปนศุขทุกตัวคน | ไม่ยากจนตั้งห้างวางของขาย | ||
แสนสำราญมั่งคั่งทั้งหญิงชาย | ศุขสบายทั่วนครไม่ร้อนรน | ||
ปรปักษ์ข้าศึกไม่นึกร้าย | ชนทั้งหบายเกรงพระเดชแสยงขน | ||
ขอเปนข้าขอบขัณฑ์พรั่นทุกคน | บุบผาหิรญกาญจนามาคำนับ | ||
พระเจ้ากรุงธานีบุรีราช | มีชายชาติหัวแขงแข่งคู่ปรับ | ||
ศีศะล้านเลื่อมขันเปนมันรยับ | เที่ยวชนสู้มานับว่าหมื่นพัน | ||
ท้าชนใครไม่มีผู้โต้ทาน | มะพร้าวตาลชนต้นก่นสบั้น | ||
ศีศะแขงแรงคล้ายช้างน้ำมัน | เที่ยวพนันทุกเมืองเลื่องฦาชา | ||
ชนมีไชยได้มาขิ้นบุรี | ยิ่งกว่าสี่สิบเมืองมากนักหนา | ||
ทุกนครคลอนหัวกลัวระอา | ออกปากว่าหัวแขงเรี่ยวแรงครัน | ||
วันหนึ่งจอมบุรีธานีราช | สถิตย์อาศน์แท่นทองตรองกระสัน | ||
ว่าจะเอาศีศะล้านไปพนัน | ชนกันกับคนเมืองทวาลี | ||
ด้วยข่าวเล่าฦาชาว่ามั่นคั่ง | เปนเอกราชทั่วทั้งบุรีศรี | ||
มิได้ขึ้นเมืองใดในปัถพี | มั่งมีศฤงฆารโอฬารนัก | ||
จำจะเอาหัวล้านไปพนัน | แข่งขันสู้เล่นให้เห็นประจักษ์ | ||
ถ้าแพ้เราได้บุรีจะดีนัก | เปนศรีศักดิ์ฦาเลื่องกระเดื่องยศ | ||
ดำริห์แล้วจึ่งเสด็จออกข้างน่า | สั่งเสนาให้หมายวันกำหนด | ||
ที่จะไปพนันชนคนมีคต | ให้ปรากฎไว้ชื่อเลื่องฦาขจร | ||
แต่งสำเภาเภตราสักห้าร้อย | เครื่องใช้สอยเงินตราและผ้าผ่อน | ||
ของบรรณาการอย่างต่างนคร | บรรทุกตอนนาวาสารพัน | ||
จงให้คนศีศะแขงตกแต่งกาย | ลงในท้ายบาหลีขมีขมัน | ||
แต่งราชสารแจ้งการจะขอพนัน | ชนกันถ้าชนนะจะเอาเมือง | ||
ถ้าศีศะล้นนบุรีธานีราช | พลั้งพลาดพ่ายแพ้ ในบาทเบื้อง | ||
จะถวายสินพนันมิให้เคือง | อิกทั้งเมืองถวายขึ้นทวาลี | ||
สั่งให้แต่งราชสารโองการเสร็จ | ก็เสด็จคืนเข้าปราสาทศรี | ||
กรมวังหมายบอกสัสดี | จ่ายคนทุกน่าที่ลงสำเภา | ||
กรมท่าจัดล้าต้าต้นหน | ลูกเรือขนเพลาไบมาใส่เสา | ||
กว้านสมอช่อใช้ในสำเภา | เกลือเข้าของลำเลียงเสบียงทาง | ||
พวกคลังขนบรรณาการส่าโหมดตาด | โตกถาดแพรผ้าหักทองขวาง | ||
มอบให้นายใหญ่ใส่ระวาง | ฝ่ายขุนนางที่เปนทูตลงนาวา | ||
ครั้นได้ฤกษ์ให้ออกสำเภาใหญ่ | ทั้งห้าร้อยแล่นไปออกจากท่า | ||
มาในท้องทเลล้วนเภตรา | ตั้งหน้าต่อนครทวาลี | ||
มาได้สองคืนโดยประมาณ | ก็ถึงด่านปกน้ำบุรีศรี | ||
แจ้งความแก่นายด่านตามคดี | ว่าทูเมืองธานีมาคำนับ | ||
ทำใบบอกมาในกรุงหวังต้อนรับ | เสมียนกับกรมการรีบเข้าไป | ||
ถึงศาลาบอกนายเวรให้กราบเรียน | นำใบบอกที่เขียนมาส่งให้ | ||
ว่านายช่วยกราบเรียนโดยเร็วไว | ให้เจ้าคุณผู้ใหญ่ทราบเหตุการ ฯ | ||
๏ ครานั้นนายเวรในกรมท่า | ได้ฟังว่าเสร็จสิ้นในข่าวสาร | ||
รับใบบอกรีบไปมิได้นาน | เรียนต่อท่านอธิบดีให้ทราบความ ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าท่านเจ้าพระยาอธิบดี | ฟังวาทีนายเวรไม่เข็ดขาม | ||
คลี่ใบบอกออกดูรู้ข้อความ | แล้วซักถามกรมการด่านปากน้ำ | ||
ได้ความแน่ว่าทูตเมืองธานี | ถือพระราชสารศรีเปนข้อขำ | ||
กับสำเภาใหญ่น้อยห้าร้อยลำ | แล้วจึ่งนำใบบอกขึ้นกราบทูล | ||
ตามสำเนากรมการด่านเขื่อนขันธ์ | กราบทูลพระทรงธรรม์นเรนทร์สูร | ||
ให้ทราบใต้บงกชบทมูล | จอมประยูรขัติยาเจ้าธานี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ | ทรงฟังจบข่าวทูตมากรุงศรี | ||
ว่าจอมกระษัตริย์ครองสมบัติเมืองธานี | จะมาเจริญไมตรีใช้ทูตมา | ||
ทรงดำริห์ในพระไทยสงไสย | ความ จะลวนลามฤาไฉนให้กังขา | ||
ดีฤาร้ายเปนอย่างไรในสารา | ฤาจะท้ารบตีบุรีเรา | ||
ทรงดำริห์แล้วดำรัสให้นัดวัน | ราชทูตตัวสำคัญให้เข้าเฝ้า | ||
จงจัดการรับทูตนายสำเภา | อย่าให้เขาครหาด้วยมาไกล | ||
ดำรัสสั่งแล้วเสด็จสู่ปรางค์มาศ | พระที่นั่งบัลลังก็อาศน์อันสุกใส | ||
พระแท่นที่สุวรรณพรายข้างฝ่ายใน | สำราญฤไทยด้วยศฤงฆารผ่านบุรี ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าท่านมหาเสนามาตย | รับพระราชโองการคลานจากที่ | ||
สั่งให้หมายเกณฑ์คนสัสดี | เรือกระบี่วายุภักษ์ปักธงไชย | ||
ทั้งเรือเชิญราชสารม่านทองปัก | ที่นั่งฉลักลายประกอบดูสุกใส | ||
ดาดหลังคาลายแย่งแต่งลงไป | พิณพาทย์ให้ลงนาวานำน่ากระบวน | ||
ถึงวันนัดจัดการพร้อมตามหมาย | เรียกฝีพายลงเรือครบเสร็จถ้วน | ||
เรือแห่เตรียมเต็มตามจำนวน | เคลื่อนกระบวนลงไปรับทูตเข้ามา | ||
ฝ่ายว่าทูตานุทูตนั้น | ก็พร้อมกันเข้าเฝ้าจอมนาถา | ||
เชิญพานทองรองราชสารา | ถวายพระปิ่นขัติยาเจ้าธานี ฯ | ||
ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรเห็นราชสารศรี | ||
ทรงรับไว้มอบให้ศรีภูรี | ผู้ว่าที่พระอาลักษณ์มีศักดินา | ||
ฝ่ายพระศรีภูรีศรีสาลักษณ์ | ถวายบังคมจุลจักรนารถนาถา | ||
รับราชสารอ่านถวายตามสารา | ให้ทราบใต้บาทาฝ่าธุลี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ | ทรงจบในราชสารศรี | ||
แล้วตรัสปฏิสันฐารทูตธานี | โดยคดีสามนัดแบบบุราณ | ||
จึงดำรัสผัดว่าอีกเจ็ดวั | น จะเลือกสรรคนดูในราชฐาน | ||
ที่จะพนันชนคนหัวล้าน | พอจัดการเตรียมพนันขันสู้ชน | ||
ราชทูตก็ถวายบรรณาการ | แล้วทูลลาไปสถานให้ฝึกฝน | ||
ศีศะล้านที่มาว่าจะชน | อย่าให้แพ้ล้านคนทวาลี ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนคเรศเจ้าเขตรขัณฑ์ | ทรงนัดวันแล้วเสด็จขึ้นเข้าที่ | ||
ทรงวิตกการกู้พระบุรี | ในเมืองจะมีสู้เขาฤาเปล่าดาย | ||
ทรงปรารมภ์พลางบรรธมบนแท่นรัตน์ | อัจกลับแสงจำรัสรุ่งเรืองฉาย | ||
ระย้าแก้วแพรวพราวดังดาวพราย | พนักงานขับถวายมโหรี | ||
แจ้วเจื้อยเฉื่อยฉ่ำยักลำส่ง | ฆ้องวงรนาดขลุ่ยตุ่ยต๋อยตี๋ | ||
โทนน่าทับรับรำมนาตี | ซอจับปี่ซอยซ้ำเลียนงน้ำนวล | ||
ลำพระทองร้องส่งประสานซอ | ขลุ่ยรับต่อกลมเกลี้ยงเสียงแหบหวน | ||
จะเข้ดีดเตร๋งเตร่งเต๋งเต่งครวญ | กลับทบทวนไล่เดี่ยวเคี่ยวขับกัน | ||
พระบรรธมบนพระแท่นแสนสบาย | น้ำค้างพรายจวนอุไทยเสียงไก่ขัน | ||
นกดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริยัน | แซ่สนั่นสกุณาทิชากร | ||
หอมระรินกลิ่นผกาบุบผาเผย | แมลงภู่บินมาเชยวะหวี่ว่อน | ||
แมลงผึ้งหึ่งหึ่งเปนหมู่จร | เคล้าเกสรเกลือกกลิ่นแล้วบินไป | ||
พระองค์ฟื้นตื่นองค์สรงพระภักตร์ | ทรงเครื่องต้นสมศักดิ์ดูสุกใส | ||
เสด็จออกที่นั่งโถงพระโรงไชย | เสนาในเฝ้าพระบาทดาษดา | ||
จึ่งดำรัสว่ากษัตริย์เมืองธานี | ให้มีราชสารมานั้นขันนักหนา | ||
จะขอพนันคนแลกภารา | ชนคนจนเกษาว่าชอบกล | ||
แน่อำมาตย์ใหญ่น้อยจงเที่ยวหา | ศีศะล้านเอามาทุกถนน | ||
มาประชุมน่าพระลานเลือกคู่ชน | เที่ยวหาค้นตีฆ้องป่าวร้องไป ฯ | ||
๏ ฝ่ายอำมาตย์รับราชบรรหาร | ถวายบังคมก้มคลานหาช้าไม่ | ||
ออกจากเฝ้ามาศาลามหาดไทย | แจกหมายให้หาตัวพวกหัวล้าน | ||
ให้มาพร้อมที่ศาลามหาดไทย | จะถามดูผู้ใดจะอาจหาญ | ||
ชนสู้แขกเมืองเลื่องฦาสท้าน | ตามที่มีราชสารมาท้าพนัน | ||
ฝ่ายว่าพวกผมไร้ได้พึ่งหมาย | ต่างๆ มามากมายขมีขมัน | ||
ประชุมพร้อมที่ศาลามากกว่าพัน | ต่างคนพรั่นหนีตัวกลัวระอา | ||
ออกปากว่ากลัวนักพูดยักเยื้อง | แล้วเกรงเคืองเบื้องบาทนารถนาถา | ||
จึ่งวิงวอนต่อท่านมหาเสนา | บ้างก็ให้เงินตราขอบนบาน ฯ | ||
๏ ครานั้นจึ่งมหาเสนามาตย์ | เห็นเศียรล้านพานขลาดไม่อาจหาญ | ||
สู้ไม่ได้ก็อย่าชนอย่าบนบาน | จะกราบทูลภูบาลผ่านธานี | ||
ว่าหามาทั่วคนไม่ชนสู้ | แต่พอรู้ก็เกรงกลัวออกตัวหนี | ||
ไม่เปนไรดอกกราบทูลแต่โดยดี | ด้วยไม่มีผู้อาสากล้าเข้าชน | ||
ว่าแล้วก็เข้ากราบบังคมทูล | ตามมูลถามไถ่ได้เหตุผล | ||
ว่าศีศะล้านกลัวระอาไม่กล้าชน | จอมจุมพลจงทราบพระบาทา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ฟังอำมาตย์ทูลโทมนัศา | ||
ทรงดำริห์เกรงจะเสียพระภารา | จึ่งให้หาเชียงเมี่ยงมาเฝ้าพลัน | ||
รับสั่งเล่าเรื่องจะชนคนผมน้อย | อมาตย์หากว่าร้อยแต่เลือกสรร | ||
ไม่มีใครรับสู้คู่พนัน | มีแต่พรั่นออกตัวกลัวทุกคน | ||
เองจะรับอาสาได้ฤาไม่ | กูร้อนใจเกรงจะอายขายหน้าป่น | ||
แขกเมืองจะตรีชาว่าอับจน | เองเปนคนมีปัญญาปรีชาไวย | ||
เชียงเมี่ยงได้ฟังรับสั่งถาม | จึงทูลตามปัญญาอาสาได้ | ||
แต่เพียงนี้ไม่สู้ยากลำบากใจ | หม่อมฉันนมิให้ขุ่นข้องลอองธุลี | ||
แม้นแขกเมืองมีกำลังเจ็ดช้างสาร | จะหักหาญด้วยปัญญาไม่ล่าหนี | ||
ฝ่ายพระจอมนคราทวาลี | ฟังวาทีเชียงเมี่ยงทรงโสมนัศ | ||
จึ่งตรัสว่าต้องการสิ่งอันใด | ชาวคลังจงจ่ายให้อย่าได้ขัด | ||
เลือกเอาตามใจให้ทันนัด | พระดำรัสแล้วเสด็จเข้าข้างใน ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงรับพระราชโองการ | ถวายบังคมถอยคลานหาช้าไม่ | ||
มาศาลาเวรหมายรายกันไป | ทุกนายไพร่ให้รู้พระโองการ | ||
แด่บรรดาคนศีศะไร้เกษา | ให้เข้ามาพร้อมในพระราชฐาน | ||
ราษฎรในนครที่หัวล้าน | รู้หมายรีบลนลานมาพร้อมกัน | ||
ทั้งผู้คนชนบทหัวเมืองนอก | มีท้องตราแจ้งบอกทั่วเขตรขัณฑ์ | ||
ทั้งนายไพร่เศียรโล่งโหม่งเปนมัน | ก็พากันมาหาเชียงเมี่ยงพร้อม | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงเห็นคนจนเกษา | ดูนานาหลากถ้วนทั้งอ้วนผอม | ||
บ้างฉอกหลงดงช้งข้ามเปนเขาค้อม | สามหย่อมเปียแหยมแกมปนคละ | ||
ผู้รับสั่งจึ่งประกาศตามโองการ | พระภูบาลให้เลือกคนชนศีศะ | ||
ใครจะอาสาได้ให้ชนะ | พระองค์จะพระราชทานเงินทองยศ | ||
ฝ่ายว่าพวกไร้เผ้าฟังเล่าหมาย | ทั้งไพร่นายอกตัวกลัวไปหมด | ||
บ้างว่าแรงฉันน้อยถอยลด | บ้างว่างดฉันเสียเถิดแต่เกิดมา | ||
ไม่เคยเห็นไม่เคยเล่นพนันชน | บ้างก็บนเงินทองสิ่งของผ้า | ||
ลางคนบนคู่สนิทให้ธิดา | ว่าท่านได้กรุณาอย่าให้ขน | ||
เชียงเมี่ยงพูดโลมเล้าเอาใจไว้ | จะเลือกแต่ได้ราชการอย่าพานบ่น | ||
แล้วออกมาเลือกคนดูในหมู่คน | ดูพิกลต่างๆ หลายอย่างพรรณ | ||
บ้างหัวล้านแต่รอบนอกมีผมกลาง | ตำราอ้างล้านน้ำเต้าเค้าดูขัน | ||
ชนิดนี้แรงน้อยถอยทุกวัน | บ้างฉอกฉินเลี่ยมมันจับแก้วตา | ||
เรียกว่าล้านเดือยไก่ใจคะนอง | พูดเล่นคล่องไม่ขัดจัดนักหนา | ||
ถ้าอายุแก่เข้าเฒ่าชรา | มักเกิดโรคนานามายายี | ||
บางคนล้านโขมนโกร๋นเกรียน | โล่งเลี่ยนแลเลื่อมเปนมันสี | ||
มักใจน้อยเจ้าโทโสโอ่อวดดี | ถ้อยคำมีสำนวนชวนก่อความ | ||
เชียงเมี่ยงเลือกคัดจัดคนใหม่ | อย่างที่ว่าใช้ไม่ได้สิ้นทั้งสาม | ||
เลือกได้คนหนึ่งพีรูปดีงาม | ล่ำสันไม่เข็ดขามควรเปรียบชน | ||
ศีศะพึ่งล้านใหม่ดูใสเศียร | ผมเกรียนเส้นเอียดพึ่งร่วงหล่น | ||
หน้าดุร้ายกายดำขำกว่าคน | เห็นควรชนเชียงเมี่ยงว่าได้การ | ||
จึ่งเบิกกระดาษมาฟันทำพวนหนัง | สำรับรั้งสี่เส้นทาหมึกประสาน | ||
ติดขนควายรายทุกเส้นเห็นได้การ | แม้นใคร ดูก็ปานกับหนังพวน | ||
แล้วจัดคนถือเชือกเส้นละร้อย | ล้วนแต่เกษาน้อยสี่ร้อยถ้วน | ||
บอกกลอุบายให้รู้ขบวน | ครั้นวันจวนก็แต่งตัวพวกหัวล้าน | ||
มีเรื่องแห่แตรสังข์พิณพาทย์ฆ้อง | ธงทองธงมังกรธงไชยฉาน | ||
ให้เตรียมเสร็จคอยฤกษ์เวลากาล | น่าพระลานขบวนแห่แลแน่นยัด | ||
แล้วให้เที่ยวตีฆ้องร้องประกาศ | จะอาบน้ำตัวราชสมบัติ | ||
ใครกลัวไภยให้รักษาตัวระมัด | ระวังบ้านเรือนถ้าพลัดเข้าบ้านใด | ||
เย่าเรือนจะทลายสลายหัก | จะฉุดชักไล่ห้ามปรามไม่ไหว | ||
ด้วยมีแรงแขงกล้าเปนพ้นไป | เข้าบ้านใดยับย่อยไม่น้อยเลย | ||
น่าต่างประตูดูปิดให้แน่นหนา | เมื่อเวลาลงน้ำอย่าเปิดเผย | ||
รู้ทั่วกันอย่าเผลอเลินเล่อเลย | ใครไม่เคยเห็นรู้มาดูตัว | ||
ราษฎรรู้ประกาศในมาดหมาย | ที่กลัวตายนอนซุ่มผ้าคลุมหัว | ||
บ้างหลบลี้หนีนอนซุกซ่อนตัว | ที่เรือกรั้วไม่แน่นหนาผ่าไม้แซม | ||
ชาวสำเภาโดยยินคำประกาศ | นึกขยาดคิดว่าจริงไม่รู้แต้ม | ||
ก็เก็บงำสินค้าที่ราแรม | ขยายแย้มไว้แต่ช่องคอยมองดู ฯ | ||