บทละครนà¸à¸à¹€à¸£à¸·à¹ˆà¸à¸‡à¸„าวี
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 07:52, 24 สิงหาคม 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทประพันธ์
ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
ช้า | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงท้าวสันนุราชจอมกษัตริย์ | ||
เสวยราชย์ธานีบุรีรัตน์ | กรุงพทธวิสัยสวรรยา | ||
ท้าวมีอัคเรศมเหษี | ชื่อคันธมาลีเสนหา | ||
อยู่ด้วยกันแต่หนุ่มคุ้มชรา | ชันษาหกสิบสี่ปีปลาย | ||
หน้าพระทนต์บนล่างห่างหัก | ดวงพระพักต์เหี่ยวเห็นเส้นสาย | ||
เกศาพึ่งจะประปราย | รูปกายชายจะพีมีเนื้อ | ||
พระเสวยมื้อละชามสามเวลา | ทรงกำลังวังชาประหลาดเหลือ | ||
พอใจเกี้ยวผู้หญิงริงเรือ | ผูกพันฟั่นเฝือไม่เบื่อใจ | ||
ราวกับหนุ่มคลุ้มคลั่งนั่งบ่น | จะหางามเล่นสักคนหนึ่งให้ได้ | ||
รำพึงคนึงคิดเปนนิจไป | มิได้ว่างเว้นสักเวลา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อจะมีเหตุเภทภัย | ให้เร่าร้อนฤทัยเปนหนักหนา | ||
จึงชวนกำนัลกัลยา | ลงมายังที่ตำหนักแพ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ท้าวเสด็จนั่งเหนือเรือบัลลังก์ | สาวสนมกรมวังเซงแซ่ | ||
พระเอนอิงพิงพนักผันแปร | เหลียวแลเห็นผะอบลอยมา | ||
หยิบขึ้นเขม้นอยู่เปนครู่ | เปิดดูก็เห็นเส้นเกศา | ||
หอมกลิ่นรวยรื่นชื่นวิญญา | พระนิ่งนึกตรึกตราในอารมณ์ | ||
ผมนี้ดีร้ายนางสาวน้อย | แกล้งลอยหาคู่สู่สม | ||
ชะรอยบุญเราเคยได้เชยชม | จึงพบผะอบผมกัลยา | ||
ฉุนคิดเคลิ้มคลั่งขึ้นทั้งแก่ | กะสันเสียวเหลียวแลชำเลืองหา | ||
เห็นนางพนักงานคลานเข้ามา | ยิ้มแย้มพยักหน้าว่านงลักษณ์ | ||
ค่อยขยดลดองค์ลงนั่งใกล้ | เห็นมิใช่ผุดลุกขึ้นกุกกัก | ||
ดูนางห้ามแหนยิ่งแค้นนัก | ให้ละล่ำละลักลืมองค์ | ||
ท้าวกอดผะอบทองประคองไว้ | มิได้ชำระสระสรง | ||
ขึ้นจากเรือสุวรรณ์บรรจง | เสด็จตรงมายังวังใน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงเข้าไปในห้อง | ขึ้นบนแท่นทองผ่องใส | ||
กอดผะอบประทับกับทรวงไว้ | ถอนฤทัยครวญคร่ำรำพรรณ์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้ช้า | |||
๏ โอ้ว่านวลน้องเจ้าของผม | ถ้าได้ชมจะถนอมเปนจอมขวัญ | ||
เกศาหอมฟุ้งดังปรุงจันทน์ | จะทรงโฉมโนมพรรณ์ฉันใด | ||
ทรวดทรงสูงต่ำดำขาว | ชันษาแก่สาวสักคราวไหน | ||
แม้นรู้ว่าอยู่บุรีใด | พี่จะไปติดตามเจ้าทรามชม | ||
ถึงจะเปนกระไรก็ไม่ว่า | แต่ให้ได้เห็นหน้าเจ้าของผม | ||
คิดละห้อยละเหี่ยเสียอารมณ์ | ร้องไห้ร้องห่มไม่สมประดี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | นางคันธมาลีมเหษี | ||
เห็นพระพร่ำกำสรดโศกี | จึงเข้าไปในที่บรรธม | ||
แล้วนางทูลทัดภัศดา | พระอย่าโศกเศร้าด้วยเผ้าผม | ||
จงคิดรั้งรักหักอารมณ์ | แม้นเคยคู่สู่สมไม่คลาศแคล้ว | ||
หยุดยั้งตั้งสติตริตรอง | ดับความมัวหมองให้ผ่องแผ้ว | ||
ทรงพระชราหนักหนาแล้ว | ทูลกระหม่อมเมียแก้วจงหักใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเคลิ้มองค์หลงไหล | ||
เห็นเมียมาเซ้าซี้พิรี้พิไร | ขัดใจเกรี้ยวกราดตวาดอึง | ||
ดูดู๋ทำราวกับสาวแส้ | ไม่เจียมตัวว่าแก่สักนิดหนึ่ง | ||
แกล้งมานั่งเฝ้าพเน้าพนึง | จะคอยหึงษ์หวงข้าฤๅว่าไร | ||
ฉวยพระขรรค์งันงกกะปลกกะเปลี้ย | พิโรธโกรธเมียดังเพลิงไหม้ | ||
สดุดโดนสาวสรรค์กำนัลใน | แล่นไล่ลุกล้มไม่สมประดี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์อัครชายามารศรี | ||
ความกลัวอาญาพระสามี | วิ่งหนีไปซ่อนซอนซุก | ||
เหล่าพวกสาวสรรค์กำนัลนาง | วิ่งวางวนเวียนจนเจียนจุก | ||
บ้างเข้าแฝงม่านคลานคลุก | บ้างลุกแอบเตียงเมียงมอง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชยิ่งเศร้าหมอง | ||
แสนคนึงถึงเจ้าผะอบทอง | เสด็จตรงออกท้องพระโรงไชย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
ช้า | |||
๏ ลดองค์ลงนั่งเหนืออาศน์ | พรั่งพร้อมอำมาตย์น้อยใหญ่ | ||
จึงตรัสสั่งมหาเสนาใน | เร่งไปร้องป่าวชาวพารา | ||
ผู้ใดใครรู้เห็นบ้าง | ตำแหน่งนางผมหอมเสนหา | ||
ถ้าแม้นนำไปได้นางมา | เงินทองเสื้อผ้าจะรางวัล | ||
ท้าเย่าเรือนไร่นาจะหาให้ | ข้าไทชายหญิงทุกสิ่งสรรพ์ | ||
จงเร่งรีบรัดจัดกัน | ไปป่าวร้องให้ทันวันนี้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | อำมาตย์รับสั่งใส่เกศี | ||
ออกมาเกณฑ์กันทันที | เสนีตีฆ้องร้องป่าวไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ฝ่ายเถ้าทัศประสาทชาติไพร่ | ||
ฟังเสียงร้องป่าวก็เข้าใจ | นึกได้ลูกสาวของเจ้านาย | ||
ผมหอมปรากฏรสเร้า | จะนำเขาไปพามาถวาย | ||
กูจะได้พึ่งบุญเปนคุณยาย | คิดแล้วเดินชายมาถามทัก | ||
ท่านขามานี่จะบอกเล่า | นางผมหอมข้าเจ้านี้รู้จัก | ||
รูปโฉมโนมพรรณ์ขยันนัก | จะอาสาทรงศักดิ์ไปพามา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนีถามซักเปนหนักหนา | ||
เห็นถ้อยยำคำมั่นสัญญา | ก็รีบพายายเถ้าเข้าวังใน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงคลานเข้าไปเฝ้า | ก้มเกล้าทูลแจ้งแถลงไข | ||
ยายเถ้ารับคำจะนำไป | ว่าได้รู้จักนางเทวี | ||
เปนลูกสาวท่านท้าวพรหมจักร | ปิ่นปักจันทราบุริศรี | ||
แต่เมืองนั้นพลไพร่ไม่มี | นกอินทรีย์กินตายเสียก่ายกอง | ||
ที่ในวังยังแต่นางผมหอม | งามพร้อมสารพัดไม่ขัดข้อง | ||
บิดาซ่อนนางไว้ที่ในกลอง | จงทราบลอองพระบาทา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชสำรวลร่า | ||
ชื่นชมสมถวิลจินดา | ดังได้เห็นหน้านางนงเยาว์ | ||
จึงตรัสว่าถ้าสมคะเนนึก | อึกกระทึกใจหายแล้วยายเถ้า | ||
มั่งมีดีกว่าค้าตะเภา | ทุกข์ร้อนอะไรเล่ากับเงินทอง | ||
ยายจะเอาอะไรไปบ้าง | ท่าทางกันดารบ้านช่อง | ||
เร่งรีบคลาไคลดังใจปอง | ให้ได้นางในกลองกลับมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าทูลพลันด้วยหรรษา | ||
จะเอาเรือเอกไชยไคลคลา | ไปรับกัลยามากรุงไกร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเปนใหญ่ | ||
ได้ฟังจึงสั่งเสนาใน | จงจัดเรือเอกไชยฉับพลัน | ||
เกณฑ์ยกสำรับใหญ่ใส่ให้เต็ม | เลือกล้วนแต่เล่มคอนขยัน | ||
เรือนำเรือตามจงครามครัน | ให้ทันแต่ในเวลานี้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนารับสั่งใส่เกศี | ||
ออกจากวังวิ่งเปนสิงคลี | จัดเรือตามมีพระบัญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าทำประหนึ่งกิ้งก่า | ||
ขึ้นขี่แคร่คานหามคนตามมา | ประตูดินตีนท่าหน้าตะพาน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ลงนั่งยังเรือเอกไชย | พลพายนายไพร่อลหม่าน | ||
ออกเรือพร้อมกันมิทันนาน | ร้องขานโยนยาวฉาวมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เห่เรือ เชิด | |||
๏ ผ่อนพักพลพายมาหลายแห่ง | น้ำเชี่ยวเรี่ยวแรงหนักหนา | ||
สิบห้าวันถึงจันทบุรา | ประทับท่าที่ท้ายเวียงไชย | ||
จึงสั่งผู้คนพลพาย | ทั้งไพร่นายอย่าเที่ยวไปข้างไหน | ||
แต่ตัวของเราจะเข้าไป | สมคะเนเมื่อไรจะกลับมา | ||
สั่งแล้วเข้าสู่พระบูรี | พรั่นตัวกลัวผีเปนหนักหนา | ||
เห็นกระดูกเกลื่อนกลาดดาษดา | รีบเดินภาวนาเข้าในวัง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงขึ้นปราสาททอง | เมียงมองลับล่อแล้วถอยหลัง | ||
เสียงคนพูดอยู่เงี่ยหูฟัง | ทรุดนั่งแอบประตูดูท่วงที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมนางจันท์สุดามารศรี | ||
สมสู่อยู่ด้วยพระคาวี | เปรมปรีดิ์ประดิพัทธ์กำหนัดใน | ||
หยอกเย้ายิ้มแย้มแกมกล | จะระคายผู้คนก็หาไม่ | ||
สงัดเงียบเซียบเสียงทั้งเวียงไชย | สำราญใจอยู่ในห้องสองคน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าเพ่งพิศคิดฉงน | ||
ชายนี้ทีท่วงชอบกล | เห็นจะไม่ใช่คนต่ำช้า | ||
ใส่เครื่องประดับองค์ทรงพระขรรค์ | รูปโฉมโนมพรรณ์งามหนักหนา | ||
ต่อจะเปนลูกเต้าท้าวพระยา | จันท์สุดาจึงปลงลงใจ | ||
กูคิดไว้ไม่สมอารมณ์คิด | จะลงล้างชีวิตเสียให้ได้ | ||
แต่องค์กัลยาจะพาไป | ทูลถวายท้าวไทเอารางวัล | ||
คิดพลางทางคลานเข้าไปหา | ทำทีกิริยาโศกศัลย์ | ||
ก้มกราบบาทาสุดาจันท์ | แล้วตีอกงกงันร่ำไร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมตรูดูยายก็จำได้ | ||
เปนข้าเก่าเจ้าเคยช่วงใช้ | จึงพูดจาปราไสด้วยเมตตา | ||
ยายหนีนกอินทรีย์ไปช้านาน | ลูกหลานอยู่ไหนไม่เห็นหน้า | ||
ฤๅนกมันกินสิ้นชีวา | เออตาผัวอยู่ดอกฤๅยาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้ากล่าวเกลี้ยงเบี่ยงบ่าย | ||
ลูกหลานกระจัดพลัดพราย | ท่านตาก็ตายแต่คราวนั้น | ||
ข้าไปอยู่เถื่อนถ้ำลำบาก | จึงพ้นปากปักษาไม่อาสัญ | ||
ได้ยินเหล่าชาวป่าพูดจากัน | ว่าแม่จันท์สุดาได้สามี | ||
ข้าสู้ดั้นด้นมาจนถึง | จะอยู่พึ่งบุญทั้งสองศรี | ||
ยังพรั่นตัวกลัวแต่นกอินทรีย์ | มันมานี่ฤๅไม่เยาวมาลย์ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมจันท์สุดาจึงว่าขาน | ||
ผัวข้ามาล้างมันวายปราณ | หายมาช้านานจนปานนี้ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าทำเปนเกษมศรี | ||
จึงว่าแม่คุณบุญสิ้นที | ได้สามีเรืองอิทธิฤทธา | ||
งามทั้งรูปโฉมโนมพรรณ์ | น่าชมสมกันหนักหนา | ||
สมคิดของยายที่หมายมา | จะอยู่กับกัลยาเปนข้าไท | ||
แล้วทำท่วงทีกะปรี้กะเปร่า | ตักน้ำตำเข้าเอาใจใส่ | ||
ครั้นสองเจ้าเข้าที่บรรธรมใน | ยายไปปฏิบัติพัดวี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ | |||
๏ เห็นพระราชานิทราสนิท | นั่งพินิจพิศดูถ้วนถี่ | ||
ผิดกับกษัตราทุกธานี | ขัดพระขรรค์เข้าที่บรรธมใน | ||
คิดพะวงสงสัยอย่างไรอยู่ | จะล่อลวงถามดูให้จงได้ | ||
ครั้นรุ่งรางส่างแสงอโณทัย | ยายเถ้าเข้าไปอยู่ในครัว | ||
จันท์สุดามาทำเครื่องเสวย | ตามเคยจัดแจงแต่งให้ผัว | ||
ยายเข้าเมียงหมอบยอบตัว | แล้วว่าแม่ทูลหัวอย่าไว้ใจ | ||
อันองค์ภัศดาสามี | เห็นทีหาซื่อต่อแม่ไม่ | ||
เหน็บพระขรรค์บรรธมทุกคืนไป | น่าจะแหนงแคลงฤทัยเทวี | ||
แม่จงถามไถ่ให้ประจักษ์ | ถ้าท้าวรักก็จะแจ้งถ้วนถี่ | ||
แม้นมิบอกออกความลับลี้ | นานไปจะหนีแม่มั่นคง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดาพาซื่อลุ่มหลง | ||
สำคัญมั่นหมายว่ายายตรง | โฉมยงเห็นชอบก็ตอบไป | ||
จริงอยู่ยายว่าข้านึกพรั่น | ขัดพระขรรค์ติดองค์น่าสงสัย | ||
จะทูลถามทรงศักดิ์ซักไซ้ | ให้ได้ความขำสำคัญ | ||
ว่าพลางนางเข้าไปในที่ | ปรนนิบัติพัดวีให้ผัวขวัญ | ||
ทำทีทอดสนิทติดพัน | นวดฟั้นนั่งแนบแอบอิง | ||
สัพยอกหยอกเย้าแย้มสรวล | ชักชวนพูดจามารยาหญิง | ||
ได้ช่องก็ฉะอ้อนวอนวิง | ทูลถามความจริงภูวไนย | ||
น้องนึกกินแหนงแคลงจิตต์ | พระขรรค์ของทรงฤทธิเปนไฉน | ||
มิได้ละวางให้ห่างไกล | ฤๅว่าไม่ไว้ใจน้อง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีแจ้งระหัศขัดข้อง | ||
หวั่นหวาดประหลาดจิตต์ผิดทำนอง | ค่อยประคองเล้าโลมโฉมงาม | ||
รับขวัญกัลยาแล้วพาที | วันนี้หลากใจมาไต่ถาม | ||
ฤๅยายยุเจ้าจะเอาความ | บอกตามจริงเถิดนะเทวี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดากล่าวแกล้งแสร้งใส่สี | ||
บิดเบือนเอื้อนอำทำท่วงที | อะไรนี่มาตรัสสะกัดสะแกง | ||
น้องรักน้องถามตามซื่อ | ควรฤๅมิบอกให้แจ้ง | ||
เพราะพระทรงศักดิ์ไม่รักแรง | ว่าพลางนางกรรแสงโศกา | ||
ผันพักตร์ผลักไสมิให้ต้อง | สบิ้งสบัดปัดป้องหัตถา | ||
พิไรร่ำทำกลมารยา | ประหนึ่งว่าโฉมฉายจะวายวาง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีเห็นน้องหมองหมาย | ||
ค่อยตระโบมโลมลูบปฤษฎางค์ | ประคองนางนฤมลขึ้นบนเพลา | ||
สร้วมสอดกอดรัดแล้วตรัสปลอบ | คิดเช่นนี้มิชอบโฉมเฉลา | ||
พี่รักใคร่ในองค์นงเยาว์ | แม้จะเปรียบเทียบเท่าดวงใจ | ||
อย่าโศกนักพักตร์น้องจะหมองศรี | เจ้าผันหน้ามานี่จะบอกให้ | ||
พระขรรค์นี้พี่ฝังชีวิตต์ไว้ | ใครลักเข้าเผาไฟจะมรณา | ||
ความจริงบอกเจ้าไม่อำพราง | อย่าพูดมากปากสว่างฟังพี่ว่า | ||
เห็นประจักษ์แจ้งแล้วฤๅแก้วตา | พี่รักเจ้ายิ่งกว่าชีวาลัย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดายิ้มย่องสนองไข | ||
ทีนี้น้องเห็นรักประจักษ์ใจ | ภูวไนยโปรดปรานปรานี | ||
คุณของทรงฤทธิดังบิตุเรศ | เหมือนฉัตรแก้วกั้นเกศเกศี | ||
จะขอเป็นเกือกทองรองธุลี | ไปกว่าชีวีจะวายปราณ | ||
ทั้งสองสนิทพิศมัย | ถ้อยทีมีใจเกษมสานต์ | ||
คลึงเคล้าเย้ายวนชวนชื่นบาน | เยาวมาลย์ไม่มีราคีเคือง | ||
ครั้นเวลาตวันบ่ายชายแสง | นางออกมาจัดแจงแต่งเครื่อง | ||
ใส่สุพรรณภาชน์ทองรองเรือง | แลเห็นยายชายชำเลืองเข้ามา | ||
ยิ้มพลางทางว่าอย่าทุกข์เลย | ยายเอ๋ยผัวรักข้าหนักหนา | ||
เล่าความตามคำภัสดา | แล้วกำชับกำชาสารพัน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าฟังคำทำรับขวัญ | ||
จูบบาทซ้ายขวาแล้วว่าพลัน | ลูกไม่เปนเช่นนั้นดอกแม่คุณ | ||
เกลือกสามีมิรักจึงให้ถาม | ใช่จะแกล้งกล่าวความให้เคืองขุ่น | ||
ข้าเปนผู้น้อยพลอยพึ่งบุญ | ไม่โว้เว้เนรคุณอย่าแคลงใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดาพาซื่อไม่สงสัย | ||
คิดว่าข้าหลวงเดิมเคลิ้มไป | หลงใหลนับถือว่าซื่อตรง | ||
ครั้นจัดแจงแต่งเครื่องเสร็จสรรพ | ให้ยายยกสำรับออกไปส่ง | ||
ตั้งถวายภูวไนยด้วยใจจง | โฉมยงหมอบกรานอยู่งานพัด | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีฤทธิรงค์ทรงสวัสดิ์ | ||
แกล้งเสวยเข้าของจนท้องคัด | แล้วตรัสสัพยอกหยอกน้อง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้ากระหยิ่มยิ้มย่อง | ||
สมหวังดังจิตต์คิดปอง | ได้ช่องจะฆ่าพระคาวี | ||
ทำเปนเข้าไปให้ใช้สอย | หมอบคอยถือชุดจุดบุหรี่ | ||
พูดชักนิทานบ้านเมืองดี | ประเพณีกษัตริย์สุริวงศ์ | ||
แม้นได้สมบัติพัศถาน | ย่อมแต่งการมุรธาภิเษกสรง | ||
ไปยังฝั่งน้ำดังจำนง | สระเกศาทุกองค์กษัตรา | ||
นี่พระจะผ่านไอสูรย์ | สืบประยูรสุริย์วงศ์พงศา | ||
เชิญเสด็จไปสรงคงคา | ตามอย่างท้าวพระยามาแต่ไร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีลุ่มหลงไม่สงสัย | ||
จึงตรัสว่าคิดชอบเราขอบใจ | จะทำให้ต้องตามประเพณี | ||
ยายเปนผู้ใหญ่ได้เคยพบ | จงแต่งเครื่องให้ครบตามที่ | ||
แม้นได้ฤกษ์งามยามดี | จะไปสระเกศีให้สำราญ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้ารับสั่งเกษมสานต์ | ||
หยิบโน่นฉวยนี่ตลีตลาน | จัดใส่ในพานแล้วยกมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองกษัตริย์ยินดีเปนหนักหนา | ||
ชวนเถ้าทัศประสาทยาตรา | ลงมาตามฉนวนในวัง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลงช้า | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าเจ้าเล่ห์ทำล้าหลัง | ||
แวะเข้าก่อไฟใส่ประดัง | แล้ววิ่งตึงตังตามมา | ||
ทันสองกษัตริย์ริมนัที | วางพานไว้ที่ร่มพฤกษา | ||
เห็นพระจะลงในคงคา | ยายทำเปนว่าแล้วแย้มยิ้ม | ||
ไฉนเหน็บพระขรรค์ไว้มั่นคง | ลงสรงถูกน้ำจะเป็นถนิม | ||
เสียดายพลอยประดับล้วนทับทิม | จะช่วยเชิญไว้ริมชลธาร | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีฟังคำที่ว่าขาน | ||
ไม่ทันรู้เล่ห์กลคนบุราณ | เพราะกรรมนั้นบันดาลให้งวยงง | ||
ชักพระแสงทรงยื่นให้ยายเถ้า | แล้วชวนโฉมเฉลาลงสรง | ||
ชำระสระสนานสำราญองค์ | เวียนวงแหวกว่ายวารี | ||
พระหยอกนางทางกอบคงคาซัด | บังอรค้อนสบัดเบือนหนี | ||
เลี้ยวไล่ไขว่คว้ากัลยาณี | สรวลระริกซิกซี้สำราญใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลงฉิ่ง | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าแสนร้ายหมายได้ | ||
เห็นสององค์ลงเล่นชลาลัย | ก็วิ่งไปยังกองอัคคี | ||
เอาพระขรรค์นั้นวางกลางเพลิงชุม | ฟืนสุมใส่เข้าเผาจี่ | ||
ก่อพลางเหลียวดูพระภูมี | แล้วเป่าปัดพัดวีวุ่นไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีร้อนรนไม่ทนได้ | ||
เจียนจักพินาศขาดใจ | แลไปดูยายก็หายตัว | ||
เรียกเมียว่าช่วยพี่ด้วยเจ้า | ครั้งนี้อีเถ้ามันฆ่าผัว | ||
เรียกพลางองค์สั่นอยู่รันรัว | ค่อยทรงตัวขึ้นจากคงคาลัย | ||
จะยืนยั้งตั้งกายก็ไม่ตรง | นางโฉมยงเข้าประคองแล้วร้องไห้ | ||
ล้มลงกลางหาดจะขาดใจ | ภูวไนยร่ำสั่งบังอร | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ โอ้ว่าโฉมยงนงลักษณ์ | มิเสียทีที่รักสายสมร | ||
ครั้งนี้ชีวิตต์จะม้วยมรณ์ | เพราะเจ้าวอนไต่ถามความลับ | ||
พี่ก็บอกออกให้ด้วยใจซื่อ | ควรฤๅย้อนยอกกลอกกลับ | ||
มิได้ฟังคำที่กำชับ | ไปบอกกับยายเถ้าเจ้ามารยา | ||
มันคิดร้ายหมายล้างชีวิตต์พี่ | ทีนี้สุดสิ้นวาศนา | ||
เวราเราแล้วนะแก้วตา | จะขอลาโฉมฉายวายปราณ | ||
พระสุดสิ้นกำลังไม่สั่งได้ | ด้วยดวงจิตต์พิษไฟเผาผลาญ | ||
เอนอิงพิงองค์นงคราญ | ภูบาลซอนซบสลบไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดาเห็นผัวตักษัย | ||
กอดศพภัศดาโศกาลัย | ทรามวัยครวญคร่ำรำพรรณ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ โอ้ว่าพระองค์ทรงเดช | เกิดเหตุทั้งนี้เพราะเมียขวัญ | ||
เชื่ออีเถ้าแพศยาอาธรรม์ | จนมันลอบทำให้จำตาย | ||
ครั้งนี้มิชั่วก็เหมือนชั่ว | คิดแค้นใจตัวไม่รู้หาย | ||
อดสูอยู่ไยให้ได้อาย | จะสู้ตายตามองค์พระทรงธรรม์ | ||
ว่าพลางทางกราบกับตีนผัว | ทอดตัวโศกาเพียงอาสัญ | ||
สองกรข้อนทรวงรุมรัน | ทรงกรรแสงซบสลบไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าเผาพระขรรค์จนเหงื่อไหล | ||
เสลือกสลนซนฟืนใส่ไฟ | หายใจกระหมอบหอบเต็มที | ||
แล้ววิ่งมาดูสององค์ | เห็นล้มลงนิ่งแน่อยู่กับที่ | ||
ไม่ไหวกายตายจริงแล้วคราวนี้ | วางวิ่งตาลีตาลานมา | ||
เห็นนางกอดศพสลบไสล | ก็แจ้งใจว่ายังไม่สังขาร์ | ||
จึงอุ้มองค์อรไทยไคลคลา | ไปยังท่าที่ประทับฉับไว | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ วางนางลงเหนือเรือนั่ง | ปิดบังม่านทองผ่องใส | ||
ให้เร่งออกนาวาคลาไคล | สุ่มไล่สามเล่มมาเต็มที่ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมจันท์สุดามารศรี | ||
ครั้นฟื้นคืนได้สมประดี | คว้าหาสามีไม่พบพาน | ||
ผันแปรแลเหลือบมาเห็นยาย | โฉมฉายชี้หน้าแล้วว่าขาน | ||
ทุดอีเถ้าทรชนคนพาล | อัปรีสีกระบานเปนพ้นไป | ||
ลอบฆ่าสามีแล้วมิหนำ | มึงจะซ้ำพากูไปข้างไหน | ||
ชั่วช้าสารพัดน่าขัดใจ | จะตบให้ย่อยยับลงกับมือ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าปลอบว่าอย่าอึงอื้อ | ||
จะพาไปบ้านเมืองให้เลื่องฦๅ | ได้ออกหน้าค่าชื่อยิ่งกว่านี้ | ||
ทรงธรรม์สันนุราชเรืองไชย | จะเษกให้แม่เปนมเหษี | ||
อย่าทรงโศกโศกาถึงสามี | เทวีจะเปนสุขทุกเพรางาน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดาดาลเดือดไม่เหือดหาย | ||
โกรธาด่าทอมากมาย | อย่าพักพูดอุบายให้ตายใจ | ||
ผัวกูวอดวายจะตายด้วย | ที่จะให้เอออวยอย่าสงสัย | ||
ว่าพลางทางทรงโศกาลัย | ครวญคร่ำร่ำไรไปมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ โอ้พระทูลกระหม่อมของเมียเอ๋ย | พระคุณเคยปกเกล้าเกศา | ||
อยู่เย็นเปนสุขทุกเวลา | วันนี้มาจากองค์พระทรงฤทธิ | ||
เพราะเมียชั่วช้าพาซื่อ | เชื่อถืออีเถ้าทุจริต | ||
บอกความลับมันไม่ทันคิด | จนพระสิ้นชีวิตวายวาง | ||
พ่อเจ้าประคุณของน้องเอ๋ย | กรรมสิ่งไรเลยได้เคยสร้าง | ||
จึงมีอีเถ้ามาตามล้าง | เลิศร้างภัศดามาแต่ตัว | ||
น่าสงสารปานนี้ผัวแก้ว | จะตรำแดดอยู่แล้วพระทูลหัว | ||
ยิ่งคิดขุ่นข้องหมองมัว | ทอดตัวเกลือกกลิ้งนิ่งไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | ยายเถ้าวักน้ำมาลูบให้ | ||
เห็นนางสมประดีก็ดีใจ | เร่งฝีพายพายไล่สุ่มมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงประทับตำหนักแพ | พอเห็นท่านเถ้าแก่ก็ไปหา | ||
ยายเถ้าเล่าความตามกิจจา | อย่าช้าช่วยทูลพระทรงธรรม์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เถ้าแก่แร่ไปขมีขมัน | ||
ครั้นถึงจึงทูลว่ายายนั้น | ได้นางจันท์สุดามาแล้ว | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเร่งผ่องแผ้ว | ||
จึงเสด็จจากอาศน์คลาศแคล้ว | ตามแถวท้องฉนวนด่วนไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ครั้นถึงตำหนักแพแลเห็นยาย | พระแย้มยิ้มพริ้มพรายปราไส | ||
ยายทำความชอบข้าขอบใจ | ว่าพลางพยักให้เผยม่านทอง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
ชมโฉม | |||
๏ พระพินิจพิศโฉมจันท์สุดา | นางในใต้ฟ้าไม่มีสอง | ||
ผิวเนื้อเรื่อเหลืองเรืองรอง | พักตร์ผ่องเพียงดวงจันทรา | ||
อรชรอ้อนแอ้นเอวองค์ | เนตรขนงน่ารักหนักหนา | ||
ตลึงแลดูนางไม่วางตา | พระราชาแย้มยิ้มกระหยิ่มใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จึงเรียกวอสุวรรณ์บรรจง | รับองค์เทวีศรีใส | ||
แห่ห้อมพร้อมพรั่งเข้าวังใน | เสด็จตามทรามวัยมาทันที | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงสั่งให้พานาง | ไปอยู่ปรางค์ปราสาทศรี | ||
ตรัสพลางย่างเยื้องจรลี | มาเข้าที่ชำระสระสรงน้ำ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
โทน | |||
๏ ลูบไล้สุคนธ์ปนปรุง | ดมดูกลิ่นฟุ้งหอมฉ่ำ | ||
หยิบภูษามาทรงแล้วลูบคลำ | ยกทองท้องช้ำชอบพระทัย | ||
ห่มสีทับทิมกรองคล้องคอ | ใครดูกูหนุ่มฟ้อขึ้นฤๅไม่ | ||
นั่งมองส่องกระจกยิ้มละไม | ก็ยังไม่แก่กระไรทีเดียวนัก | ||
ผมเผ้าพิศดูไม่สู้หงอก | เสียสิ่งเดียวดอกแต่ฟันหัก | ||
ถึงกระนั้นโฉมยงก็คงรัก | แล้วทรงศักดิ์เสด็จจากแท่นทอง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | |||
ร่าย | |||
๏ เดินเหินรัดกุมเหมือนหนุ่มแน่น | ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง | ||
พิศดูตัวพลางทางเยี่ยมมอง | ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ | ||
เห็นนางซบพักตราโศกาอยู่ | จะเหลียวดูภูมีก็หาไม่ | ||
ค่อยนั่งลงข้างองค์อรไทย | แล้วปราไสเกี้ยวพานหว่านล้อม | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ชาตรี | |||
๏ สาวเอยสาวสวรรค์ | น้อยฤๅนั่นน่าชมนางผมหอม | ||
งามสิ้นทุกสิ่งพริ้งพร้อม | ดูละม่อมหมดอย่างเหมือนนางฟ้า | ||
นี่กุศลหนหลังเราทั้งสอง | เคยเปนคู่ครองเสนหา | ||
เก็บดอกไม้ไหว้พระด้วยกันมา | วาศนาทำไว้จึงได้น้อง | ||
แต่วันพบผะอบผมเจ้าลอยน้ำ | พี่ครวญคร่ำโศกาหาเจ้าของ | ||
ให้เสนาข้าเฝ้าเที่ยวป่าวร้อง | ได้ข่าวน้องเพราะยายค่อยคลายใจ | ||
ทีนี้เสร็จสมอารมณ์นึก | ดังเอาน้ำอำมฤตมารดให้ | ||
ถึงจะได้นางฟ้าสุราลัย | ไม่ดีใจเหมือนเจ้าเยาวมาลย์ | ||
เชิญผินพักตรามาพาที | เสียแรงพี่ว่าวอนด้วยอ่อนหวาน | ||
จะครวญคร่ำร่ำร้องไม่ต้องการ | จงพูดจาว่าขานกันโดยดี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมจันท์สุดามารศรี | ||
ฟังท้าวเจ้าพาราพาที | เทวีกลุ้มกลัดขัดใจ | ||
ถอยองค์ออกไปเสียให้ห่าง | แล้วนางค่อนว่าไม่ปราไส | ||
นี่แน่ออเถ้าเจ้ากรุงไกร | ช่างไม่คิดถึงตัวมัวเมา | ||
จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รุ้ | ยังจะเที่ยวเกี้ยวชู้อยู่อีกเล่า | ||
จนฟันหักผมหงอกเหมือนดอกเลา | ลูกเขาเมียเขาก็ไม่คิด | ||
คบกันกับอีเถ้าเจ้าเล่ห์ | ทำการเกเรทุจริต | ||
ลอบฆ่าสามีกูม้วยมิด | มิหนำซ้ำปลิดเอาเมียมา | ||
อย่าพักว่าวอนให้อ่อนใจ | กูไม่มุ่งมาดปรารถนา | ||
ว่าพลางนางทรงโศกา | กัลยาโศกศัลย์รันทด | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ ทรามเอยทรามสงวน | อย่ารัญจวนครวญคร่ำกำสรด | ||
ถึงเจ้าโกรธโกรธาว่าประชด | จะออมอดไม่ถืออรไทย | ||
อย่าเยาะเย้ยเลยเจ้าว่าเถ้าแก่ | พี่แพ้ฟันดอกจะบอกให้ | ||
อันอายุอานามกับทรามวัย | เห็นจะไม่กะไรกันนัก | ||
อย่าชิงชังรังเกียจที่หนุ่มแก่ | จงชมแต่ยศถาบันดาศักดิ์ | ||
พี่จะเษกโฉมยงนงลักษณ์ | ให้เปนเอกอัครเทวี | ||
ทักวันท่านยายก็แก่เถ้า | ขอเชิญเจ้าร่วมแท่นแทนที่ | ||
สมบัติพัศถานเรามั่งมี | คงดีกว่าผัวเก่าของเจ้าจน | ||
พี่ให้ไปรับน้องมา | หวังว่าจะรักเปนพักผล | ||
จะแขงขัดตัดรอนไม่ผ่อนปรน | ใช่ที่นฤมลจะพ้นมือ | ||
ว่าพลางทางถัดเข้าใกล้ | ลูบไล้เลียมลองจะต้องถือ | ||
ให้เร่าร้อนฤทัยดังไฟฮือ | แล้วหดมือถอยหลังรั้งรอ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดาไม่กลัวทำหัวร่อ | ||
ตบมือชี้หน้าด่าทอ | เคืองขัดตัดพ้อภูวไนย | ||
อย่าอวดโอ้โอหังว่ามั่งมี | หานิยมยินดีของมึงไม่ | ||
พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป | คนอะไรใครบ้างอย่างนี้ | ||
ไม่คิดว่าแก่เถ้าจะเข้าโลง | ยังโอ่โถงทำหนุ่มน่าบัดสี | ||
ไม่ช้านักสักปีหนึ่งสองปี | จะได้เกี้ยวกับผีที่ป่าช้า | ||
น่าหัวร่อทั้งทุกข์สนุกจ้าน | ดื้อด้านซานซมหนักหนมหนักหนา | ||
ดูเหมือนมิใช่ท้าวพระยา | เวทนาเชิญไปเสียให้พ้น | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชคิดขัดสน | ||
จะเล้าโฉมนางนฤมล | เห็นไม่หย่อนผ่อนปรนก็จนใจ | ||
อำนาจนางซื่อสัตย์ต่อภัศดา | พระราชาร้อนรนไม่ทนได้ | ||
จึงเสด็จย่างย่องจากห้องใน | รีบไปสรงชลกระวนกระวาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ตักวารีรดหมดแม่ขัน | แต่กระนั้นร้อนใจมิใคร่หาย | ||
หยิบเครื่องสุคนธามาละลาย | ลูบชะโลมโซมกายค่อยคลายร้อน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ พระนั่งง่วงโงกหงับหลับตา | คิดถึงจันท์สุดาดวงสมร | ||
นิจจาเจ้าช่างสลัดตัดรอน | ไม่ผันผ่อนปรานีพี่บ้างเลย | ||
เสียแรงให้ไปรับน้องมา | หวังว่าจะร่วมเรียงเคียงเขนย | ||
พี่เฝ้าปลอบโฉมงามทรามเชย | น้องเอ๋ยไม่ปลดปลงลงใจ | ||
อันเล่ห์กลสัตรีนี้ฦกล้ำ | จะเชื่อถือถ้อยคำยังไม่ได้ | ||
เห็นจะเปนมารยาพิราใน | จะเกี้ยวแก้มือใหม่อีกสักครั้ง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางแต่งองค์ทรงภูษา | ห่มห่มนอนราคากว่าสองชั่ง | ||
แล้วดำเนินเดินดุ่มสุ่มตะรัง | ขึ้นนั่งบนเตียงเคียงนาง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ น้องเอ๋ยน้องรัก | จงผินพักตร์มาพูดกับพี่บ้าง | ||
เอออะไรไม่พอที่พอทาง | จะทำให้เขินค้างอยู่กลางคัน | ||
แม้นมิได้เชยชมสมหมาย | จะสู้วายชีวาอาสัญ | ||
แต่พี่มีเมียมานับพัน | ไม่เหมือนขวัญเนตรต้องต้องติดใจ | ||
จริงจริงพี่รักเจ้าหนักหนา | ไม่เสแสร้งแกล้งว่าสบถได้ | ||
เจ้าจงเมตตาอาลัย | อย่าให้ไผ่ผอมตรอมใจตาย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | แค้งคั่งเคืองหูไม่รู้หาย | ||
นางโกรธาด่าทอหยาบคาย | ถ่มน้ำลายรดให้ไม่ไยดี | ||
ขี้คร้านพูดจากับบ้าหลัง | น่าชังหนักหนาผินหน้าหนี | ||
ยิ่งคิดยิ่งแค้นแสนทวี | ก็โศกีครวญคร่ำรำพรรณ์ไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
โอ้โลม | |||
๏ แสนเอยแสนงอน | ช่างตัดรอนค่อนว่าไม่ปราไส | ||
เจ้าคารี้สีคารมสุดใจ | เปนไรเปนไปไม่ละกัน | ||
ว่าพลางทางขยับจะยุดยื้อ | เลียมลองต้องถือให้มือสั่น | ||
เดชะความสัตย์ของนางนั้น | ทรงธรรม์ร้อนรนกระวนกระวาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จะช้านักสักครู่ไม่อยู่ได้ | จนใจจึงจำขย่ำขยาย | ||
เหลียวหลังดูนางพลางเสียดาย | ค่อยเดินชายออกไปเสียให้พ้น | ||
นั่งนิ่งพิงหมอนถอนใจใหญ่ | ภูไนยสิ้นคิดขัดสน | ||
ให้รักใคร่ในนางนฤมล | เปนทังวี้ทังวลวุ่นวาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ พระกอดเข่าเจ่าจุกทุกข์ร้อน | นั่งนอนไม่หลับกระสับกระส่าย | ||
คิดถึงนงเยาว์เศร้าเสียดาย | มุ่งหมายจะชมไม่สมคะเน | ||
จำจะคิดแยบคายสายสน | หาหมอรู้มนตร์ทำเสน่ห์ | ||
แก้ไขใช้ทางอุปเทห์ | มิได้ด้วยเล่ห์เอาด้วยกล | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ทีนี้โฉมยงคงรักใคร่ | เห็นจะไม่โกรธาบ้าบ่น | ||
ด้วยเดชะฤทธิเดชเวทมนตร์ | อันจะพ้นมือพี่อย่าสงกา | ||
พระแย้มยิ้มกระหยิ่มอยู่ในใจ | หมายได้นึกกำหนัดสมบัติบ้า | ||
จึงเรียกเหล่าเถ้าแก่เข้ามา | แล้วกำชับกำชาสั่งความ | ||
จงพิทักษ์รักษามารศรี | อย่าพูดจาพาทีให้หยาบหยาม | ||
ช่วยกันเล้าโลมนางโฉมงาม | ถ้าโอนอ่อนผ่อนตามจะรางวัล | ||
แม้นกูมาทีหลังยังดื้อดึง | ชีวิตมึงเหล่านี้จะอาสัญ | ||
สั่งพลางย่างเยื้องจรจรัล | ออกท้องพระโรงคัลทันใด | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ นั่งเหนือแท่นรัตน์ชัชวาลย์ | พร้อมข้าราชการน้อยใหญ่ | ||
จึงเรียกเสนีที่ไว้ใจ | มาใกล้หน้าที่นั่งแล้วสั่งพลัน | ||
จงสืบหาหมอเสน่ห์เล่ห์กล | ที่มนตร์ดลอาคมขลังขยัน | ||
ทำรูปรอยปลุกเสกเลขยันต์ | ตามทำนองของมันเคยใช้ | ||
ถ้าแม้ทำเปนเห็นจริง | ให้ผู้หญิงสมัครักใคร่ | ||
เสื้อผ้าเงินทองจะถึงใจ | ใครรับได้เอาตัวมันเข้ามา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนีดีใจอยากได้หน้า | ||
คำนับรับราชบัญชา | บังคมลามาริมทิมชาววัง | ||
เรียกบ่าวลูกเล็กเจ๊กหัวเปีย | ต่ำเตี้ยกะจิริดติดตามหลัง | ||
ถือห่อผ้าการ่มรุงรัง | ไม่รอรั้งเดินออกนอกประตู | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เที่ยวสืบหาหมอเสน่ห์เล่ห์กล | ทุกถนนในนครจนอ่อนหู | ||
วัดวาอารามเที่ยวถามดู | ไม่มีผู้รู้ทำล้ำฦกซึ้ง | ||
แสบท้องแทบตายสายเต็มที | เข้าซื้อหมี่เจ๊กกินสิ้นสองสลึง | ||
แล้วใส่เอาเหล้าเข้มพอเต็มตึง | หยุดอยู่ครู่หนึ่งจึงจะไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | หมอเถ้าเจ้าความรู้ครูใหญ่ | ||
ไม่มีมุลนายสบายใจ | อยู่โรงริมร่มไม้ในกำแพง | ||
เปนทิศาปาโมกข์พวกโหยกเหยก | ตัวเอกออกชื่อฦๅทุกแห่ง | ||
อวดกำลังหนังเหนียวเรี่ยวแรง | ฟันแทงไม่เข้าเปล่าทั้งนั้น | ||
ทำเสน่ห์เล่ห์กลให้คนเชื่อ | ฉลาดเหลือหลอกหลอนผ่อนผัน | ||
เมียขุนนางวางน้ำไปกำนัล | ขอเลขยันต์หยูกยาอาคม | ||
พวกหนุ่มหนุ่มปรารถนาจะหาเมีย | มาเรียนรู้สู้เสียผ้านุ่งห่ม | ||
เถ้าชราหากินด้วยลิ้นลม | ใครชิดชมฉิบหายเสียหลายคน | ||
เหล่านักเลงเล่นเบี้ยเสียถั่ว | มาฝากตัวตาหมอคิดฉ้อฉน | ||
บ้างเรียนชักไม้กงพัดหัดเล่นกล | คอยลวงคนชาวบ้านนอกขอกนา | ||
พวกหัวไม้ไปหัดอาพัดเหล่า | ฟันไม่เข้าคงสิ้นทั้งหินผา | ||
เงินทองไม่มีบี้สกา | อุตส่าห์มาติดเทียนเรียนรู้ | ||
ล้วนนักเลงเสงพากปากโป้ง | บ้าลำโพงเพื่อนบ้านรำคาญหู | ||
พอถึงวันพฤหัสนัดไหว้ครู | กินหัวหมูกับเหล้าเมาโมเย | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนีเหนื่อยเหน็ดเที่ยวเตร็จเตร่ | ||
ถึงบ้านหมอรอฟังยังลังเล | พอคะเนเพลาสักห้าโมง | ||
ได้ยินเสียงคนผู้อยู่นักหนา | เล่นหมากรุกฤๅสถาพูดจาโผง | ||
จึงข้ามร่องย่องยิ้มมาริมโรง | ฝาโปร่งเปนช่องเมียงมองดู | ||
เห็นหนุ่มหนุ่มนั่งล้อมพร้อมหน้า | ขอคาถาตาหมออวดจ้ออยู่ | ||
ค่อยเคาะเปาะเข้าที่เสาประตู | ถามหาตาครูดูท่วงที | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ตาหมอมองป้องหน้าใครมานี่ | ||
เอออ่อต่อจะจับเจ้าเหล่านี้ | เสนีแล้วสิหว่าดูน่ากลัว | ||
พวกหลบเจ้าหนี้หนีนายบ่อน | ตกใจไปซ่อนนอนคลุมหัว | ||
บรรดามีความผิดติดตัว | อารามกลัวลุกทลึ่งตึงตัง | ||
ที่ใจกล้าว่าเกลออย่าเพ่อหนี | ร้ายดีคงสู้ดูสักตั้ง | ||
ตาหมอทำฮึกฮักทักเสียงดัง | ใครแปลกหน้ามานั่งรั้งรอ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นเข้าใกล้ได้ความตามซื่อ | จูงมือมาพลางทางหัวร่อ | ||
ผูกรักชักชวนชอบพอ | พูดล้อเจรจาฮาเฮ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนีนักเลงเก่าเจ้าเล่ห์ | ||
เข้าคบค้าสมาคมสมคะเน | บอกอุบายถ่ายเทธุระร้อน | ||
เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ | แสนกะสันจันท์สุดาดวงสมร | ||
แต่เกี้ยวพานพูดจาว่าวอน | เปนหลายครั้งบังอรไม่เอออวย | ||
ถ้าทำได้ให้องค์นงลักษณ์ | พบพักตร์ภูมียินดีด้วย | ||
นางนิยมสมประสงค์งงงวย | คงรวยเต็มประดาแล้วตาครู | ||
เงินทองของเข้าจะเอาอะไร | อย่าสงสัยได้หมดไม่ปดปู่ | ||
ทั้งเมียสาวบ่าวไพร่พรั่งพรู | ที่อยู่ตึกกว้านบ้านเรือนรั้ว | ||
ฤๅจะเปนขุนนางข้างกรมท่า | แต่งสำเภาเลากาเป็นเจ๊สัว | ||
จงออกรับอาสาเถิดอย่ากลัว | จะซ่อนตัวอยู่ไยไม่ต้องการ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | หมอเถ้าได้ฟังลูบหลังหลาน | ||
หลงละโมภโลภล้นพ้นประมาณ | อยากจะได้ของประทานพานพูดเพ้อ | ||
จะทำให้สมประสงค์จงได้ | การเสน่ห์แล้วใครไม่เสมอ | ||
คอยดูความรู้เราเอาเถิดเธอ | อวดอ้อหัวร่อเร่อเอออือ | ||
อันอาคมคาถาตำราตำหรับ | มากมายหลายฉะบับเคยนับถือ | ||
คนมาขอเรียนร่ำล่ำฦๅ | เห็นแล้วฤๅศิษย์เราล้วนเจ้าชู้ | ||
ช่วยแนะแหนแต่เสน่ห์ขี้เหร่ขี้ร้าย | ได้สมหมายมนตร์ขลังอยู่มั่งอยู่ | ||
วันนี้เขาเอาของมาไหว้ครู | หัวหมูบายศรีอยู่นี่แน | ||
พอเลี้ยงท้องสองมือไม่ขัดสน | ได้นั่งกินสินบนมาจนแก่ | ||
เมื่อเย็นวานท่านผู้หญิงที่แพ | ให้ผ้าแพรปังสีสี่ห้าพับ | ||
ทั้งนอกในไปมาหาไม่ขาด | แต่ไม่อาจออกตัวกลัวเขาจับ | ||
นี่กันเองไม่เกรงดอกจึงออกรับ | เปนความลับฦกล้ำสำคัญ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนาพาซื่อถือมั่น | ||
เห็นชอบกลมนตร์เวทวิเศษครัน | จะขยันทายาดดูลาดเลา | ||
คิดพลางทางว่ากับตาหมอ | จะรั้งรออยู่ไยทำไมเล่า | ||
มั่งมีดีกว่าค้าสำเภา | กลัวอะไรไปเฝ้าเอารางวัล | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ตาหมอมุ่งหมายจะผายผัน | ||
มาอาบน้ำในครัวแต่งตัวพลัน | แป้งน้ำมันมีพร้อมหอมฟุ้ง | ||
เลือกผ้านุ่งห่มสมรูปร่าง | ลายฉลางอย่างนอกเอาออกนุ่ง | ||
กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง | เอาแพรบางกวางตุ้งคาดพุงพัน | ||
แล้วไขตู้ดูตำราของอาจารย์ | ปิดทองของบุราณลานสั้น | ||
สมุดขาวเขียนหมึกดึกดำบรรพ์ | ล้วนเลขยันต์เสน่ห์เล่ห์กล | ||
ห่อผ้าดำสำรองไปสองฉะบับ | ถึงไล่เดี่ยวเคี่ยวขับไม่ขัดสน | ||
ปากว่าสาธยายเวทมนตร์ | จำได้หัวใจสนธิ์บ่นออกมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนีดีใจเปนนักหนา | ||
จึงพาหมอเถ้าเจ้าตำรา | เดินมาตามทางกลางนคร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงทิมริมที่ทวารวัง | ให้หมอนั่งยั้งอยู่สักครู่ก่อน | ||
เข้าไปกราบบาทมูลทูลภูธร | ธุระร้อนพระองค์คงสมคิด | ||
ข้าไปพบหมอเถ้าเข้าคนหนึ่ง | ถ้าจะเปรียบเทียบถึงปโรหิต | ||
รู้วิชาชำนาญการอิทธิฤทธิ | ศักดิ์สิทธิ์วิทยาอาคม | ||
บัดนี้พำตาหมอมารออยู่ | ที่ทิมริมประตูท้ายสนม | ||
มนตร์ดลดีนักหนาน่านิยม | ไม่ประสมประสานแสร้งแกล้งกราบทูล | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ทรงธรรม์สันนุราชนเรนทร์สูรย์ | ||
ฟังแจ้งแถลงเล่าเค้ามูล | ให้เพิ่มพูนภิรมย์สมนึก | ||
จึงให้หาตาหมอจรดล | มาเฝ้าบนชานพักตำหนักตึก | ||
แล้วเล่าตามความขำล้ำฦก | ตรองตรึกปรึกษากับตาครู | ||
เราได้นางนฤมลมาคนหนึ่ง | ผัวพึ่งวอดวายเปนหม้ายอยู่ | ||
รูปทรงโสภาน่าเอนดู | ควรเปนคู่เคียงเขนยเชยชม | ||
จะเล้าโลมโฉมเฉลาสักเท่าไร | ก็มิได้มีจิตต์สนิทสนม | ||
หมอเถ้าเจ้าเสน่ห์เล่ห์ลม | จงทำให้ได้สมความคิดเรา | ||
แม้นว่าแก้วกัลยาการุญ | บญคุณของครูเท่าภูเขา | ||
ถึงได้ทองสักสองลำสำเภา | ก็ไม่เท่าได้ของที่ต้องใจ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | หมอเถ้าเจ้าตำราอัชฌาสัย | ||
จึงแกล้งทูลถ่อมตัวกลัวโพยภัย | ข้าเข้าใจบ้างอยู่ความรู้บุราณ | ||
เมื่อหนุ่มหนุ่มคนองลองคาถา | ผู้หญิงงามตามมาจนถึงบ้าน | ||
ครั้นแก่ตัวกลัวผิดคิดขี้คร้าน | เขาบนบานบ่อยไปไม่ไยดี | ||
ได้ทราบ่าฝ่าลอองต้องประสงค์ | นางโฉมยงยังระคางขนางหนี | ||
จะอาสาหน้าที่นั่งครั้งนี้ | ให้สิ้นดีโดยอุบายถ่ายเท | ||
ผงดินสอขอถวายให้ผัดพักตร์ | นารีรักรูปทรงหลงเล่ห์ | ||
ขี้ผึ้งสีเสกด้วยฤทธิ์อิทธิเจ | เปนเสน่ห์พูดผู้หญิงให้ยิงยอม | ||
เครื่องสุคนธ์มนตร์เทพรำจวน | ให้เนื้อหนังนุ่มนวลหวนหอม | ||
สรงสนานน้ำทิพย์สิบกละออม | นางผมหอมเห็นพระองค์คงทักทาย | ||
ทูลพลางพลิกหาตำราเสน่ห์ | อุปเทห์ที่ใบลานอ่านถวาย | ||
เคยทำเปนเห็นจริงหญิงรักชาย | บ้าน้ำลายพูดโผงโป้งไป | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชลุ่มหลงไม่สงสัย | ||
น้อยฤๅหมอเถ้าคนเข้าใจ | เรียนร่ำจำไว้ได้มากมาย | ||
ทีนี้นางนฤมลไม่พ้นพี่ | เพราะเวทมนตร์ดลดีใจหาย | ||
ตบเพลาเข้าพลางทางยิ้มพราย | คงได้ชมสมหมายถ่ายเดียว | ||
ชิชะหมอคนนี้ดีทายาด | รู้หลักนักปราชญ์ฉลาดเฉลียว | ||
เนื้อตัวตกกระยังประเปรียว | ไล่เดี่ยวเคี่ยวขับไม่อับจน | ||
ถ้าทำได้สมหวังดังว่า | เสื้อผ้าสารพัดไม่ขัดสน | ||
จะให้เมียรูปงามสักสามคน | เปนสินบนหมอเถ้าเจ้าตำรา | ||
ประทานทั้งเงินตราห้าสิบชั่ง | แล้วจะตั้งเปนขุนนางข้างกรมท่า | ||
ฤๅรักทำโรงเหล้าเตาสุรา | ตามแต่ตัวขรัวตาจะชอบใจ | ||
ว่าพลางทางสำรวลสรวลเส | สมคะเนแม่นมั่นพะนันได้ | ||
แล้วตรัสสั่งขุนนางวางพระทัย | อย่าอื้ออึงคนึงไปให้ใครรู้ | ||
จงจัดแจงแต่งที่สรงสนาน | เครื่องอานต่างต่างหลายอย่างอยู่ | ||
ให้ต้องตามตำราของตาครู | เห็นได้ช่องลองความรู้ดูอีกครั้ง | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนีคำนับรับคำสั่ง | ||
ออกมาที่ทิมริมคลัง | เจ็บหลังนั่งอิงพิงพนัก | ||
บ่าวตะบันหมากสงส่งมาให้ | เคี้ยวไม่ได้ฟันฟางห่างหัก | ||
ฉวยคนโทดื่มน้ำจนสำลัก | เปลื้องสมปักเปียกไปให้ทนาย | ||
หยิบน้ำชามารินกินสองป้าน | สั่งพันภาณให้เสมียนเขียนหมาย | ||
หมอเถ้าจะเสดาะพระเคราะห์ร้าย | บอกอุบายมิให้ใครสงกา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ตำรวจรับหมายบ่ายหนักหนา | ||
ลนลานการด่วนจวนเวลา | วิ่งหานายมุลวุ่นทั้งเวร | ||
บ้างตกแต่งเตียงสรงองค์เก่า | ออกไปเอาช่างมาทาเสน | ||
นายงานพานสันทัดชัดเจน | อึดอัดขัดเขนยกเข้ามา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ยานิ | |||
๏ แต่งตั้งเตียงที่พิธีสนาน | ผูกม่านเพดานดวงพวงบุปผา | ||
ขันสาครใหญ่ใส่คงคา | ครอบสำริดปิดฝาม้ารอง | ||
เครื่องสำอางวางเรียงเคียงกัน | เกณฑ์กำนัลนั่งเฝ้าเปนเจ้าของ | ||
ภูษาผ้าทรงใส่พานทอง | จัดแจงแต่งต้องามธรมเนียม | ||
ตาเถ้าชาวที่สามสี่คน | ตักเติมหม้อน้ำมนตร์จนออกเปี่ยม | ||
เตียงสำหรับตาครูปูพรมเจียม | ตระเตรียมพร้อมเสร็จสำเร็จการ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | หมอเถ้าเจ้าตำราตราสาร | ||
ให้แต่งตั้งกำนนบนบาน | ตามบุราณคำรบครบครัน | ||
เรียกเอาเข้าของคำนับครู | หัวหมูบายศรีขมีขมัน | ||
สารพัดบัดพลีพะลีกรรม์ | กระแจะจันทน์น้ำมันหอมพร้อมเพรียง | ||
ครั้นเสร็จสรรพทุกสิ่งไม่นิ่งช้า | หมอเถ้าเอาผ้าสไบเฉียง | ||
ขึ้นทำการอ่านมนตร์บนเตียง | เสกเสียงพึมพำพร่ำไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ว่าตามความรู้ของครูสอน | พลัดเปนครึ่งท่อนกลอนปรบไก่ | ||
ได้สติตีอกชกใจ | ลงปลายกลายไปเปนเวทมนตร์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ สาธุการ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชมาดหมายมาหลายหน | ||
วันนี้นางทรามวัยเห็นไม่พ้น | พากเพียรเรียนมนตร์บ่นเต็มที่ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ จำได้คาถามหาเสน่ห์ | อุปเทห์ทั้งมวญถ้วนถี่ | ||
ครั้นโพล้เพล้เวลาราตรี | มาเข้าที่สรงน้ำทำการ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
ชมตลาด | |||
๏ ไขสุหร่ายสายชลดังฝนตก | อาบอุทกธารากระยาสนาน | ||
รดน้ำมนตร์ล้นเหลือเชื่ออาจารย์ | จนงกงันสั่นสท้านทั้งกายา | ||
บรรจงทรงสุคนธ์มนตร์หมอเสก | นางตัวเอกไม่แคล้วพี่แล้วหนา | ||
ผงดินสอใส่พระหัตถ์ผัดพักตรา | ลูบไล้ไปมาทั้งสารพางค์ | ||
หยิบยกกระจกใหญ่ใส่คันฉ่อง | เทียนตั้งนั่งมองส่องสว่าง | ||
ดูเปนหนุ่มน่าชมสมกับนาง | อวดหมอหัวร่อพลางทางแย้มยิ้ม | ||
เสวยพระศรีสงทรงเคี้ยว | สักประเดี๋ยวทันใจเอาไม้จิ้ม | ||
นุ่งนอกอย่างวางชายกรายกรีดริม | สีทับทิมคล้องคอพอพระทัย | ||
เพ็ชรฑูริย์ธำมรงค์ทรงก้อย | ตำราพลอยว่าผู้หญิงมักรักใคร่ | ||
คาดเข็มขัดประจำยามงามสุดใจ | พวงมาลัยใส่ข้อมือถือยาดม | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นเสร็จเสด็จมาไม่ยั้งหยุด | ดำเนินเดินสดุดนักสนม | ||
ขึ้นบนมณเฑียรเจียนจะล้ม | เข้าในห้องประธมเทวี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ยืนแฝงฝากั้นขยั้นอยู่ | แอบประตูดูสุดามารศรี | ||
ปากบ่นบริกรรมทำท่วงที | สูบบุหรี่ร่ายมนตร์พ่นควันไป | ||
นางเหลียวดูภูบาลก็อ่านเวท | ประสมเนตรนึกรักยักคิ้วให้ | ||
เห็นชอบกลกัลยาไม่ว่าไร | หมายได้สมคิดด้วยวิทยา | ||
จึงค่อยย่องย่างมาข้างหลัง | ขึ้นนั่งบนเตียงเมียงเมินหน้า | ||
ยิ้มแย้มกระแอมไอไปมา | พูดจาปลอบนางพลางแลเลง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ชาตรี | |||
๏ น้องเอยน้องรัก | กำลังสาวราวสักปีมะเส็ง | ||
พักตร์ผ่องเพียงจันทร์เมื่อวันเพ็ง | ครัดเคร่งเปล่งปลั่งอยู่ทั้งตัว | ||
น้อยฤๅพี่รักนักหนา | กระนี้แล้วแก้วตายังว่าชั่ว | ||
นี่เนื้อเคราะห์เพราะชราหูตามัว | ไม่เหมือนผัวของเจ้าเฝ้าเคียดคุม | ||
อย่าเลี้ยวลดทดลองให้ถ่องแท้ | กลัวแต่แก่จะชนะหนุ่ม | ||
ว่าพลางทางขยับจับกุม | ให้ร้อนรุมราวกับไฟไหม้มือ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ นึกพรั่นขยั้นขยดถดถอย | เหงื่อไหลไคย้อยลงน้องฤๅ | ||
แก้ขวยฉวยพัดปัดกระพือ | ยังร้อนรื้อเรียกน้ำมากล้ำกลืน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ หยุดพักสักประเดี๋ยวเกี้ยวใหม่ | แขงใจพูดจาทำหน้าชื่น | ||
จะเษกน้องครองวังให้ยั่งยืน | วันรุ่งพรุ่งมะรืนได้ฤกษ์ดี | ||
เอออายุนงเยาว์สักเท่าไร | จงขับไล่ดูลองกับของพี่ | ||
อย่าย้อนยอกบอกเบือนเดือนปี | ตำรามีรู้มากนาคกะเฌอ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดานึกในช่างไม่เก้อ | ||
ชังน้ำหน้าบ้าเคอะกระเซอะกระเซอ | เป้อเย้อเย่อหยิ่งจริงจริงเจียว | ||
จะหุนหันโมโหโต้ตอบเล่า | เหมือนทำให้ไอ้เถ้ามันเฝ้าเกี้ยว | ||
ให้พูดจาบ้าบ่นอยู่คนเดียว | นางขัดใจไม่เหลียวไม่แลดู | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชแย้มยิ้มกระหยิ่มอยู่ | ||
หมายได้ด้วยคาถาของตาครู | อุตส่าห์สู้บ่นตะบอยค่อยกระซิบ | ||
ดูทำนองต้องจิตต์ผิดประหลาด | ไม่ร้ายกาจก้มหนาตาปริบปริบ | ||
น้อยหรือนางแสนคมคารมริบ | นิ่งกริบไปทีเดียวไม่เหลียวเลย | ||
ท่วงทีถูกเสน่ห์คะเนแน่ | เห็นประจักษ์ทักแท้แล้วแม่เอ๋ย | ||
กระดิกเข่าท้าวแขนแหงนเงย | เอาเขนยหนุนหลังนั่งทำทรง | ||
กินหมากดิบหยิบขี้ผึ้งเสกสี | สูบบุหรี่ใส่จันทน์ควันโขมง | ||
แล้วไกล่เกลี่ยเกลี้ยกล่อมล้อมวง | ใหลลงพูดละเม้อเพ้อพก | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
โอ้โลม | |||
๏ ปลื้มเอยปลื้มจิตต์ | ทีนี้คงปลงปริศนาตก | ||
เหมือนทุกข์พี่มีผู้มาหยิบยก | ให้เบาอกออกแล้วนะแก้วตา | ||
จะนิ่งอยู่ไยน้องไม่ต้องการ | นั่งนานเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหนักหนา | ||
ขอเชิญเจ้าเข้าที่กับพี่ยา | ให้เปนผาสุกสบายหายหาวนอน | ||
วันนี้ทีทำเห็นอ้ำอึ้ง | ไม่โกรธขึ้งตึงตังเหมือนครั้งก่อน | ||
ดีจริงเจียวแม่ไม่แง่งอน | จงโอนอ่อนผ่อนตามให้งามงด | ||
แล้วร่ายมนตร์หมอเถ้าเป่าซ้ำ | บริกรรมทำปากบดมด | ||
เอ๊ะอ่อต่อจะอ่อนหย่อนพยศ | ค่อยขยดลดไถลเข้าไปชิด | ||
นางขยับกลับตัวกลัวจะเห็น | ทำเปนผินหลังนั่งเกาหิด | ||
มองเขม้นเห็นสไบไม่สู้มิด | จึงยื่นมือมานิดสกิดกาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | จันท์สุดาร้องกรีดหวีดว้าย | ||
ชั่วชาติประหลาดเหลือเบื่อจะตาย | ช่างไม่อายขายหน้าบ้าจริงจริง | ||
ยังจะขืนยื่นมือมายื้อหยอก | เดี๋ยวนี้อกจะได้ชมคารมหญิง | ||
เหลือแค้นแน่นอกยกหมอนอิง | กระแทกทิ้งลงตรงหน้าแล้วด่าทอ | ||
ช่างกะไรไอ้หมอนไม่นอนหลับ | จนเขาขับขืนเกี้ยวไปเจียวหนอ | ||
แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ | ใจคอไม่ลื้นเหมือนหมื่นทน | ||
เนื้อตัวหัวหูไปอยู่ไหน | จึงทนได้ให้เขาด่าดังห่าฝน | ||
ฤๅฟังเล่นเย็นฉ่ำเหมือนน้ำมนตร์ | ช่างผิดคนทนทานด้านดึง | ||
ไม่ว่าเล่นเห็นลึกอย่านึกหมาย | ตายร้ายตายดีก็ทีหนึ่ง | ||
ลุกขึ้นกระทืบเตียงเสียงตึงตึง | ดื้อดึงดุดะไม่ละลด | ||
พานหมากพานพลูที่อยู่ใกล้ | ก็ปัดไปเปรื่องปร่างขว้างเสียหมด | ||
ฉวยน้ำซ้ำสาดราดรด | ทำประชดชิงชังรังแก | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชแปลกจิตต์ผิดแล้วแหล | ||
เสียน้ำใจในคอท้อแท้ | จนเปนลมล้มแน่นิ่งไป | ||
ให้เวียนหัวมัวตาหน้ามืด | ครางอืดบ่นออดทอดใจใหญ่ | ||
ดูดู๋เดิมเห็นดีมีน้ำใจ | หมายได้ไม่แคล้วแล้วทีเดียว | ||
มิรู้กลับแกล้วกล้าบ้าเลือด | ดุเดือดเต็มประดาตาเขียว | ||
ไม่รอติดผิดผู้หญิงจริงเจียว | ขี้เกียจเกี้ยวรับแพ้แล้วแม่คุณ | ||
ยังเจ็บช้ำระยำอยู่ไม่รู้หาย | ราวกับถูกลูกปลายหลายกะสุน | ||
ทำหน้าเซียวเคี้ยวเอื้องเงื่องงุน | สิ้นทุนสิ้นรอนจะผ่อนปรน | ||
แต่ยักย้ายหลายทำนองตรองตริ | สิ้นสติตายด้านอั้นอ้น | ||
สู้อุตส่าห์หน้าด้านทานทน | ถึงสองหนแล้วเห็นไม่เอ็นดู | ||
เอออะไรใจคอดังดินประสิว | ฉุนฉิวยิ่งกว่าชุดจุดดินหู | ||
เห็นไม่เปนเช่นตำราของตาครู | ถ้าขืนอยู่จะหยาบคายร้ายแรง | ||
ขยับลุกแล้วลงนั่งรั้งรอ | ปากบ่นมนตร์หมอจนคอแห้ง | ||
ไม่เห็นคุณเห็นค่าตาขี้แร้ง | เหมือนหนึ่งแกล้งให้มาถูกด่าทอ | ||
คิดเคืองขุ่นหมุนออกนอกปราสาท | เกรี้ยวกราดกริ้วร้องให้ถองหมอ | ||
เฆี่ยนให้หลังลายจนต้นคอ | ด่าทอถีบเถ้าเจ้าตำรา | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | หมอเถ้าซานซมล้มถลา | ||
ถูกถองต้องพระราชอาญา | ตกประหม่าตัวสั่นงันงก | ||
วิ่งออกนอกวังไม่ยั้งหยุด | จนสมุดทั้งมัดพลัดตก | ||
เสนาในใหญ่น้อยตามต่อยชก | วิ่งวกเข้าวัดลัดหนีไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชมาดหมายหาหายไม่ | ||
ไปเกี้ยวพานพูดจาเพลาไร | ก็ไม่ได้สู่สมชมชิด | ||
ประหลาดหนอหมอมดมาปดเล่น | ทำอะไรไม่เห็นเปนสักหนิด | ||
สาแก่ใจเจ็บปวดอวดอิทธิฤทธิ์ | โทษผิดคิดจะใคร่เอาใส่คุก | ||
พอเข็ดหลาบบาปกรรมทำเปล่าเปล่า | บ่นออดกอดเข่าเจ่าจุก | ||
นั่งโยกโงกหงับปรับทุกข์ | กับหมู่มุขมนตรีเสนีใน | ||
แต่เล่นชู้สู่สาวมาราวร้อย | หางามงดชดช้อยเช่นนี้ไม่ | ||
น่าชมสมสวาทระวาดระไว | เอวไหล่ลมุนลม่อมพร้อมพริ้ง | ||
เสียแต่ร้ายราวกับเสือเหลือแล้วพ่อ | คารมรอไม่ติดผิดผู้หญิง | ||
อุตส่าหืสู้อยู่อ้อนวอนวิง | ไม่ยอมยิงยิ่งรื้อดื้อดึง | ||
อันอดเหนียวเกี้ยวชู้รู้ท่วงที | มิใช่ชั่วตัวดีไม่มีถึง | ||
จะหักโหมโลมเล้าเคล้าคลึง | ให้รุมรึงร้อนรนสกลกาย | ||
มิขัดขวางอย่างนี้แล้วที่ไหน | ประเดี๋ยวใจก็จะสมอารมณ์หมาย | ||
ตรองตรึกปรึกษาหาอุบาย | ไม่เหือดหายวายเว้นสักเวลา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
ท้าวสันนุราชชุบตัว
ช้าปี่ | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงพระหลวิไชยเชษฐา | ||
เมื่อพระคาวีสิ้นชีวา | ในอุราร้อนรุมดังสุมไฟ | ||
จึงดูดอกประทุมที่เสี่ยงทาย | ก็กลับกลายมัวหมองไม่ผ่องใส | ||
พระเร่งตระหนกตกใจ | เหตุไฉนฉะนี้เจ้าพี่อา | ||
ทุกข์ร้อนอย่างไรก็ไม่รู้ | จำกูจะไปเที่ยวตามหา | ||
แม้นมิพบน้องแก้วแววตา | พี่ยาไม่กลับเข้ากรุงไกร | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางทางสั่งมเหษี | สร้อยสุดานารีศรีไส | ||
พี่ขอลาโฉมงามทรามวัย | รีบไปตามหาพระคาวี | ||
แม้นพระบิดาบัญชาถาม | จงทูลความให้ทราบบทศรี | ||
สั่งพลางทางเสด็จจรลี | มาเข้าที่สระสรงคงคา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ทรงเครื่องประดับการพรายพรรณ | จับพระขรรค์เยื้องย่างออกข้างหน้า | ||
ยกพระหัตถ์นมัสการเทวา | ทุกเหวผาท่าทางกลางดง | ||
แม้นน้องของข้าอยู่แห่งใด | ช่วยนำไปให้พบสบประสงค์ | ||
แล้วรีบออกนอกวังดังจำนง | เสด็จตรงมาตามมรคา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เดชะความสัตย์ซื่อถือมั่น | เทวัญช่วยพิทักษ์รักษา | ||
บันดาลดลใจให้ไคลคลา | ย่อย่นมรคาพนาลี | ||
ทางไกลเดือนหนึ่งมาครึ่งวัน | ถึงจันทราบุรีศรี | ||
ไม่พบคนไปมาทั้งธานี | ภูมีลดเลี้ยวเที่ยวดู | ||
แลเห็นพระขรรค์ทันใด | หยิบได้เขม้นอยู่เปนครู่ | ||
แม่นมั่นพระขรรค์ของน้องกู | เหตุใดมาอยู่กลางอัคคี | ||
ชะรอยน้องรักเจ้าตักษัย | ทำไฉนจะพบทรากผี | ||
ยิ่งวิโยคโศกศัลย์พันทวี | ภูมีลดเลี้ยวเที่ยวมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
โอ้ลาว | |||
๏ เดินพลางทางคนึงถึงน้อง | ครวญคร่ำร่ำร้องเรียกหา | ||
โอ้เจ้าคาวีของพี่ยา | แก้วตาจะเปนประการใด | ||
พระขรรค์นี้ชีวิตต์ก็ย่อมรู้ | มาทิ้งอยู่ไกลองค์น่าสงสัย | ||
ชะรอยคนฆ่าฟันเจ้าบรรลัย | พี่จึงไม่ประสบพบพาน | ||
ใครหนอสามารถอาจอง | แกล้งมาจำนงจงผลาญ | ||
ล้างชีพน้องชายกูวายปราณ | ไม่นานจะได้เห็นกัน | ||
กูจะทำทดแทนให้แสนสา | แล่เนื้อเกลือทาจนอาสัญ | ||
ร่ำพลางทางเสด็จจรจัล | ทรงธรรม์เที่ยวแสวงทุกแห่งไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลงเร็ว | |||
ร่าย | |||
๏ ถึงหาดทรายชายฝั่งชลธี | เห็นคาวีน้องรักตักษัย | ||
วิ่งเข้าสร้วมสอดกอดไว้ | พระร่ำไรโศกาจาบัลย์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ โอ้ว่าอนิจจาพระน้องแก้ว | ทิ้งพี่เสียแล้วไปสู่สวรรค์ | ||
เราไร้สุริย์วงศพงศ์พันธุ์ | ได้เห็นกันพี่น้องสองชาย | ||
เคยร่วมโศกร่วมสุขทุกข์ยาก | มาตายจากพี่ไปน่าใจหาย | ||
ไม่รู้เหตุผลต้นปลาย | เจ้าม้วยมอดวอดวายด้วยอันใด | ||
กรรมแล้วแก้วตาของพี่เอ๋ย | ใครเลยจะช่วยแก้ไข | ||
ร่ำพลางทางทรงโศกาลัย | สะอื้นไห้ไม่เปนสมประดี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นค่อยคลายวายความโศกศัลย์ | จึงพิศดูพระขรรค์ไชยศรี | ||
เปนแต่มัวหมองต้องอัคคี | เห็นทีจะไม่ม้วยมรณา | ||
จึงตั้งความสัตยอธิฐาน | เดชะคุณอาจารย์ฌาณกล้า | ||
ขอให้องค์พระอนุชา | รอดชีพชีวาคืนคง | ||
แล้วเป่าปัดขัดสีพระขรรค์แก้ว | ผ่องแผ้วสิ้นเท่าธุลีผง | ||
จึงเอาน้ำชำระลดลง | ก็กลับฟื้นคืนองค์เปนมา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ รัว | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีลืมเนตรเห็นเชษฐา | ||
ชื่นชมก้มกราบกับบาทา | แล้วมีวาจาว่าไป | ||
คุณของพระองค์ทรงธรรม์ | พ้นที่จะพรรณาได้ | ||
น้องนี้โฉดเฉาเบาใจ | หลงใหลเล่ห์กลสัตรี | ||
จึ่งเล่าความแต่ต้นจนปลาย | บรรยายให้ฟังถ้วนถี่ | ||
ครั้งนี้น้องแค้นแสนทวี | จะตามตัดเกศีมันเสียบไว้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระเชษฐายิ้มแย้มแจ่มใส | ||
จึงว่าเจ้าพลั้งพลาดประมาทใจ | พระฤๅษีสอนไว้ไม่ยั้งคิด | ||
อันเชื้อชาติช้างสารแลงูเห่า | ข้าเก่าเมียรักอย่าวางจิตต์ | ||
ทั้งสี่อย่างมักล้างเอาชีวิต | เจ้าไม่จำทำผิดจึงบรรลัย | ||
น้อยหรืออีเถ้าเจ้าเล่ห์ | โว้เว้พานางไปข้างไหน | ||
จะแก้แค้นแทนทำให้หนำใจ | ตามไปฆ่าเสียให้วอดวาย | ||
ตรัสพลางทางชวนอนุชา | สองราจรจัลผันผาย | ||
เห็นรอยเกลื่อนกลาดที่หาดทราย | สำคัญมั่นหมายตามมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ร่องรอยสูญหายที่ท้ายเมือง | ลดเลี้ยวเที่ยวชำเลืองแลหา | ||
เห็นแต่ทางลงในคงคา | จึงตรองตรึกปรึกษาพระคาวี | ||
ดีร้ายยายเถ้าทรชน | พานางนฤมลลงเรือหนี | ||
น้ำเชี่ยวหนักหนาหน้านี้ | เห็นทีจะล่องลงไป | ||
บ้านเมืองทิศนี้จะมีอยู่ | จะตามดูให้สิ้นสงสัย | ||
ว่าพลางทางพากันคลาไคล | เลียบไปริมแนวนที | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ หลายวันดั้นเดินป่าชัฏ | มาถึงพัทธวิสัยกรุงศรี | ||
จึงหยุดยั้งอยู่นอกธานี | แล้วพูดจาพาทีกับน้องชาย | ||
ครั้งนี้ตัวเราจะเข้าไป | กลัวเกลือกจะไม่เหมือนหมาย | ||
ถ้าอีเถ้าทรชนคนร้าย | รู้จักทักทายจะเสียที | ||
จะต้องทำโดยหนักหักหาญ | รบราญต้านต่อไม่พอที่ | ||
จะป้องปิดกิตติศัพท์ให้ลับลี้ | ให้ได้โดยดีด้วยปรีชา | ||
พี่คิดจะจำแลงแปลงองค์ | เปนดาบศธุดงค์มาแต่ป่า | ||
จะแปลงตัวเจ้าเท่าตุ๊กกะตา | อยู่ในย่ามพี่ยาจะพาไป | ||
ว่าแล้วหลับตาตั้งสติ | ตามลัทธิอาจารย์สอนให้ | ||
โอมอ่านพระเวทเรืองไชย | จำแลงแปลงได้ดังจินดา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ ตระ | |||
๏ พี่ชายแปลงเพศเปนดาบศ | ทรงพรตงดงามหนักหนา | ||
พระคาวีลงซ่อนกายา | อยู่ในย่ามเชษฐาทันใด | ||
ครั้นเสร็จสมคิดนิมิตรกาย | ถือไม้เท้าตะพายย่ามใหญ่ | ||
พัดขนนกป้องหน้าคลาไคล | เดินไปตามตรอกนอกพารา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เที่ยวสืบแสวงหวังจะฟังข่าว | ประชาชาวเรือกสวนถ้วนหน้า | ||
ไม่รู้เหตุผลคนพูดจา | จึงหยุดอยู่ยังศาลาหน้าเวียงไชย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเปนใหญ่ | ||
ตั้งแต่ได้จันท์สุดายาใจ | มาไว้ในที่มณเฑียรทอง | ||
สุดแสนรักใคร่ใหลหลง | นางไม่ปลงประดิพัทธิ์ให้ขัดข้อง | ||
พระครวญคร่ำดำริตริตรอง | ไฉนหนอนวลลอองจะเอ็นดู | ||
ทำเสน่ห์เล่ห์กลก็หลายสิ่ง | นางยิ่งด่าว่าน่าอดสู | ||
สิ้นตำหรับตำราวิชาครู | เพราะกายกูแก่เกินขนาดไป | ||
จำจะหามุนีฤๅษีสิทธิ์ | ที่เรืองฤทธิ์ชุบรูปเราเสียใหม่ | ||
ให้หนุ่มน้อยโสภายาใจ | เห็นจะได้เชยชมสมคิด | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ดำริพลางทางมีบัญชา | ตรัสสั่งเสนาคนสนิท | ||
จงตีฆ้องร้องป่าวไปทั่วทิศ | หาผู้รู้วิทยาคุณ | ||
จะให้ชุบรูปกูแก่ชรา | เปนหนุ่มน้อยโสภาพึ่งแรกรุ่น | ||
ถ้าสมคิดกัลยาการุญ | จะแทนคุณแบ่งเมืองให้กึ่งกัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เสนารับสั่งขมีขมัน | ||
ถวายบังคมลาออกมาพลัน | แยกกันป่าวร้องรอบบุรี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
สามเสร้า | |||
๏ เมื่อนั้น | พระหลวิไชยฤๅษี | ||
นั่งอยู่ในศาลาริมธานี | ชักประคำทำทีเคร่งครัด | ||
เห็นเขาป่าวร้องมาตามถนน | ประหลาดอยู่ผู้คนแออัด | ||
เงี่ยหูนิ่งฟังนั่งมัธยัสถ์ | มิได้ตรัสว่าขานประการใด | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | เสนีตีฆ้องร้องมาใกล้ | ||
เห็นพระผู้เปนเจ้าก็เข้าไป | หยุดยั้งนั่งไหว้วันทา | ||
แล้วปราไสไต่ถามดาบศ | ทรงพรตงดงามเปนหนักหนา | ||
ได้เรียนร่ำบำเพ็ญภาวนา | รู้วิชชาชุปตัวมั่งฤๅไร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระฤๅษีได้ฟังยังสงสัย | ||
แกล้งทำสำรวมจิตต์ใจ | มิใคร่จะพูดจาพาที | ||
กะทั่งไอกะแอมแย้มเยื้อนถาม | เหตุผลต้นความอย่างไรนี่ | ||
จะชุบตัวใครเปนไรมี | ความรู้สิ่งนี้เราเรียนไว้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | อำมาตย์ผู้มีอัชฌาสัย | ||
ฟังพระมุนีก็ดีใจ | กราบไหว้เคารพนบน้อม | ||
จึงบอกว่าท่านท้าวเจ้าพารา | ได้นางจันท์สุดาผมหอม | ||
เกี้ยวพานพูดจาไม่ยินยอม | ด้วยท้าวเธอแก่หง่อมไม่งดงาม | ||
จึงตรัสใช้ให้พวกข้าพเจ้า | เที่ยวตีฆ้องร้องป่าวไต่ถาม | ||
จะหาพระมุนีชีพราหมณ์ | ชุบรูปให้งามพึงใจ | ||
แม้นนางโฉมยงปลงรัก | ทรงศักดิ์จะแบ่งสมบัติให้ | ||
พระองค์ทรงญาณชาญชัย | ชุบได้ช่วยเอนดูภูมี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระหลวิไชยฤๅษี | ||
รู้ว่าจันท์สุดานารี | ไม่ยินดีด้วยท้าวเจ้าพารา | ||
นึกชมน้องสะใภ้อยู่ในจิตต์ | สุจริตรักผัวเปนนักหนา | ||
จำกูจะแก้เผ็ดพระยา | ลวงฆ่าเสียให้มันบรรลัย | ||
คิดพลางจึงว่ากับเสนี | เปนไรมีรูปพอจะรับได้ | ||
ถึงอายุแก่เถ้าสักเท่าไร | จะชุบให้หนุ่มน้อยน่าเอนดู | ||
รูปไม่พอใจดอกออกตัวตน | แต่ได้มานิมนตร์ก็จนอยู่ | ||
เมตตาตั้งมั่นกตัญญู | จะอุปถัมภ์ค้ำชูภูมี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาเชื่อถือพระฤๅษี | ||
จึงพาผู้เปนเจ้าเข้าบุรี | ยินดีเดินด่วนรีบมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงวังให้ยั้งหยุดอยู่ | ที่ทิมริมประตูข้างหน้า | ||
เสนีนายใหญ่ก็ไคลคลา | เข้ามาเฝ้าองค์พระทรงยศ | ||
บังคมทูลแถลงแจ้งเหตุผล | ตามกระแสแต่ต้นไปจนหมด | ||
จะสมหวังดังหนึ่งมโนรถ | เพราะพระดาบศองค์นี้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเกษมศรี | ||
มาต้อนรับขับสู้พระมุนี | ให้ขึ้นนั่งที่แท่นรัตน์ | ||
พระเคารพนบนอบนมัสการ | ประเคนพานหมากพลูเภสัช | ||
ร้องเรียกเสนาเข้ามาพัด | ปฏิบัติวัดถากพระอาจารย์ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ แล้วตรัสปราไสสนทนา | ด้วยวาจาสุนทรอ่อนหวาน | ||
ทุกวันนี้มีธุระรำคาญ | เกี้ยวพานผู้หญิงเขาชิงชัง | ||
เพราะแก่หง่อมผอมซูบรูปร่าง | แก้มคางไม่ครัดเคร่งเปล่งปลั่ง | ||
ฟันฟางห่างหักระยำมัง | ถอยกำลังพลังลงมากมาย | ||
ถ้าพระองค์ช่วยชุบให้หนุ่มได้ | โภไคยไอสวรรย์จะปันถวาย | ||
ทรัพย์สินสิ่งใดไม่เสียดาย | แต่สมหมายหนุ่มงามก็ตามที | ||
นวลนางจันท์สุดาจะการุญ | ก็เพราะได้พึ่งบุญพระฤๅษี | ||
ซึ่งจะชุบรูปโฉมโยมนี้ | ต้องตั้งกิจพิธีประการใด | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระฤๅษีเสแสร้งแถลงไข | ||
รูปเปนมุนีชีไพร | โภไคยไอสูรย์ไม่ปูนปอง | ||
แต่รู้ข่าวว่ามหาบพิตร | มีกิจกังวลหม่นหมอง | ||
จึงมาช่วยธุระรับรอง | หวังสนองพระคุณภูวไนย | ||
อันจะตั้งการกิจพิธี | ตามคัมภีร์พรหมเมศเพศไสย | ||
ฉะเพาะแต่ตัวรูปกับท้าวไท | ใครใครมิให้เข้าเล้าลุม | ||
จงเอาม่านมาบังไว้เจ็ดชั้น | ที่ในนั้นขุดลงให้เปนหลุม | ||
แล้วเอาฟืนใส่ไฟประชุม | จะอ่านเวทชุมนุมเทวา | ||
เชิญท้าวเข้านั่งในกองไฟ | สำรวมใจหลับเนตรทั้งซ้ายขวา | ||
จึงจะชุบบพิตรด้วยวิทยา | ให้โสภาหนุ่มน้อยนงเยาว์ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชคนโหดโฉดเฉา | ||
งวยงงหลงไหลด้วยใจเบา | ไม่รู้เท่าเล่ห์กลพระมุนี | ||
จึงตรัสสั่งเสนีขมีขมัน | จงเกณฑ์กันปันปักหน้าที่ | ||
ขุดหลุมสุมใส่อัคคี | เราจะตั้งพิธีชุบตัว | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนารับสั่งพระอยู่หัว | ||
รีบเร่งออกมาด้วยความกลัว | บอกกันทุกทั่วพนักงาน | ||
บ้างขุดหลุมสุมฟืนใส่ไฟ | แล้วปักไม้หลักมั่นกั้นม่าน | ||
บ้างปัดปูเสื่อสาดดาดเพดาน | ทำตามภูบาลบัญชา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเร่งหรรษา | ||
จึงชำระสระสรงคงคา | แล้วทรงผ้าพื้นขาวเขียนทอง | ||
ทรงสพักปักตะนาวขาวสอาด | เข็มขัดคาดถักสายลายสอง | ||
ครั้นเสร็จสมคิดดังจิตต์ปอง | ก็เยื้องย่องเข้าไปในม่านบัง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระฤๅษีชื่นชมสมหวัง | ||
จึงจูงท้าวก้าวขึ้นบนบัลลังก์ | สอนให้นั่งผินหน้าเข้าหาไฟ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชร้อนเหลือจนเหงื่อไหล | ||
ลุกทลึ่งตึงตังตกใจ | แล้วว่าทนไม่ได้พระมุนี | ||
เอออะไรให้นั่งริมกองเพลิง | เนื้อหนังจะปอกเปิงเสียแล้วนี่ | ||
มันจะงามมิงามก็ตามที | เช่นนี้แล้วเห็นไม่เปนการ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระดาบศยิ้มพลางทางว่าขาน | ||
ใจคอท้อแท้ไม่ทนทาน | จะทำให้เสียการเสียทั้งคราว | ||
แต่ถูกร้อนนิดหนึ่งก็ถอยหนี | นี่ฤๅยังจะมีเมียสาว | ||
รู้กระนี้ขี้คร้านชุบท้าว | เอออะไรใจราวกับปลาซิว | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชฟังว่าทำหน้านิ่ว | ||
สุดที่จะคิดบิดพลิ้ว | จึงนบนิ้ววอนว่าพระมุนี | ||
ข้าดูไฟในหลุมเหลือกำลัง | ทั้งที่นั่งหมิ่นนักพระฤาษี | ||
ถ้าแม้นพลัดผลุงลงตรงอัคคี | ราวกะตกอวิจีเปนจุณไป | ||
อย่าเพ่อโกรธโปรดเถิดพระอาจารย์ | ช่วยคิดอ่านยักหาตำราใหม่ | ||
อย่าให้ต้องกองฟืนใส่ไฟ | จะไม่ได้เจียวฤๅพระสิทธา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระฤๅษีเสแสร้งแกล้งว่า | ||
ฤๅท้าวไทไม่เชื่อวิทยา | จะให้เห็นแก่ตาเสียด้วยกัน | ||
ว่าพลางทางหยิบขี้ผึ้ง | มาเคล้าคลึงต่อติดประดิษฐ์ปั้น | ||
เปนรูปคนเสร็จสรรพฉับพลัน | ให้ท้าวสันนุราชทัศนา | ||
เราจะชุบรูปนี้ด้วยเวทมนตร์ | ให้เปนคนน่ารักหนักหนา | ||
ท้าวจงผินหลังนั่งหลับตา | อย่าผันแปรแลมาข้างนี้ | ||
ว่าพลางทางทำเล่ห์กล | ปากบ่นบริกรรมทำอู้อี้ | ||
แล้วผลักรูปปั้นนั้นทันที | ตกกลางอัคคีละลายไป | ||
จึงเอาพระคาวีออกจากย่าม | จะให้เห็นสมความว่าชุบได้ | ||
นั่งแทนรูปปั้นไว้ทันใด | สกิดให้พระยาลืมตาดู | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสันนุราชเขม้นอยู่เปนครู่ | ||
หมายว่ารูปปั้นไม่ทันรู้ | พิศดูงามประกอบชอบอารมณ์ | ||
จึงผินมาว่ากับพระมุนี | แต่อย่างนี้ก็งามเสียมิถม | ||
จงโปรดช่วยชุบข้าด้วยอาคม | ให้โสภาน่าชมเหมือนรูปนี้ | ||
โยมจะไปนั่งอยู่อย่างเก่า | ถึงร้อนเร่าเท่าไรไม่ถอยหนี | ||
แล้วลุกเข้าไปใกล้อัคคี | ภูมีนั่งนิ่งพนมมือ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระดาบศเห็นท้าวเธอเชื่อถือ | ||
แกล้งหยิบเอาพัดปัดกระพือ | ให้เพลิงฮือสมหวังดังใจ | ||
แล้วเดินเวียนวนบ่นบริกรรม | งึมงำพึมพำเข้ามาใกล้ | ||
ได้ทีผลักท้าวเจ้ากรุงไกร | คะมำม้วนลงไปในอัคคี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิดฉิ่ง โอด | |||
๏ เห็นม้วยมุดคุดคู้อยู่ในหลุม | เอาฟืนสุมใส่เข้าเหมือนเผาผี | ||
ทรากศพโทรมสิ้นก็ยินดี | ท่อยทีสรวลสันต์สำราญใจ | ||
จึงให้น้องแต่งองค์ทรงเครื่อง | แทนท้าวเจ้าเมืองที่ม้วยไหม้ | ||
แล้วสั่งคนข้างนอกออกไป | เร่งให้ประโคมขึ้นบัดนี้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พนักงานสังคีตดีดสี | ||
แตรสังข์กังสดาลดนตรี | ประโคมขึ้นอึงมี่นี่นัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ มโหรี | |||
๏ เมื่อนั้น | พระฤๅษีปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
จึงดำเนินเดินตามพระน้องนั้น | ออกจากม่านกั้นมิทันช้า | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ขึ้นยังพระโรงรัตน์รูจี | นั่งเหนือแท่นมณีที่ข้างหน้า | ||
พร้อมหมู่อำมาตย์มาตยา | เข้ามาเฝ้าแหนแน่นไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาข้าเฝ้าน้อยใหญ่ | ||
เห็นพระองค์ทรงโฉมประโลมใจ | ตลึงตไลแลดูไม่พริบตา | ||
พิศไหนไม่เสียแต่สักสิ่ง | งามจริงยิ่งมนุษย์ในใต้หล้า | ||
ต่างบังคมชมโฉมพระราชา | สำคัญว่าท่านท้าวเจ้ากรุงไกร | ||
บ้างชมวิทยาพระอาจารย์ | เชี่ยวชาญชุบแก่เปนหนุ่มได้ | ||
แซ่ซ้องร้องอำนวยอวยชัย | อื้ออึงคนึงไปทุกตัวคน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระคาวีนิ่งคิดขัดสน | ||
จะทักทายเสนาสามนต์ | ไม่รู้จักสักคนก็จนใจ | ||
จำจะพูดย้อนยอกหลอกลวง | มิให้คนทั้งปวงสงสัย | ||
คิดพลางทางตรัสประภาษไป | เราชุบตัวใหม่ยังไม่สบาย | ||
ใจจิตต์คิดเฟือนไม่เหมือนเก่า | ลืมบรรดาข้าเฝ้าทั้งหลาย | ||
ใครเปนที่หมื่นขุนมุลนาย | จดหมายรายชื่อมาให้เรา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ แล้วเสแสร้งแกล้งว่าดาบศ | นิมนตร์งดอยู่ก่อนผู้เปนเจ้า | ||
สักสองวันสามวันพอบันเทา | ให้ใจคอคงเก่าจึงค่อยไป | ||
ว่าพลางทางชวนพระฤๅษี | ลงจากที่แท่นทองผ่องใส | ||
ยุรยาตรเยื้องย่างเข้าข้างใน | ใส่ไคล้ให้เหมือนเจ้าธานี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
๏ | |||
พระคาวีรบกับไวยทัต
๏ | |||
เพลงยาวชมพระราชนิพนธ์
๏ | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
บทละครนอกเรื่อง คาวี สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๐
( ขอขอบคุณ คุณโอม สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน )