จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ
พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทประพันธ์
เห่ชมกระบวนเรือ
|
โคลง
|
๏ ปางสมเด็จประเวศห้วง | | ชลธี
|
ทรงมหาจักรี | | เกียรติก้อง
|
พรั่งพร้อมยุทธนาวี | | แหนแห่
|
เสียงอธึกทั่วก้อง | | ถิ่นด้าวอ่าวสยาม ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ พระเสด็จโดยแดนชล | | ทรงเรือต้นงามสดศรี
|
มหาจักรีมี | | เกียรติก้องท้องสาคร
|
๏ นาวาวรายุทธ์ | | อุตลุดแลสลอน
|
แห่ห้อมจอมนคร | | ราวจะรอนริปูเปลือง
|
๏ ธงทิวปลิวระยับ | | สีสลับขับแดงเหลือง
|
อันธงพระทรงเมือง | | เหลืองอร่ามดูงามตา
|
๏ ธงตรามหาราช | | ผ่องผุดผาดในเวหา
|
รูปครุฑะราชา | | อ้าปีกกว้างท่าทางบิน
|
๏ ธงแดงดังแสงชาด | | ลายช้างกาจก่องกายิน
|
บอกตรงธงแผ่นดิน | | ถิ่นสยามอันงามงอน
|
๏ จักรีนารีราช | | ทิพอาสน์องค์ภูธร
|
สง่าราวอาภรณ์ | | เพื่อประดับทัพเรือไทย
|
๏ ใหญ่กว่านาวาสรรพ | | ในกองทัพพหลไกร
|
บรรดานาวาไทย | | ในบัดนี้ไม่มีทัน
|
๏ ปืนไฟใหญ่ประเภท | | สี่นิ้วเศษสุดแข็งขัน
|
สามารถอาจเหียนหัน | | ผันหน้าสู้ศัตรูแรง
|
๏ อีกศรหกปอนด์หนัก | | ก็พร้อมพรักศักดิ์กำแหง
|
เตรียมอยู่สู้ศึกแข็ง | | แย้งยื้อยุทธ์สุดกำลัง
|
๏ พาลีรั้งทวีป | | รีบแล่นตามงามเงื่อนขลัง
|
เรือปืนยืนยุทธ์ยัง | | ดังกระบี่พาลีหาญ
|
๏ เรือแรงกำแหงยุทธ | | มกุฏราชะกุมาร
|
คอยสู้ศัตรูพาล | | ผู้ยื้อยุดมกุฏไทย
|
๏ สุครีพครองเมืองศรี | | สุรนาวีมุ่งชิงชัย
|
เรือปืนยืนยุทธไกร | | เหมือนพญาพานะเรนทร์
|
๏ สุริยมณฑลกล้า | | นาวากลาดลาดตระเวน
|
หาญต่อบ่รอเกณฑ์ | | สะอึกสู้ริปูรอน
|
๏ เรือเสือทยานชล | | พิฆาตพลริปูสยอน
|
กั่นกล้าในสาคร | | บ่ย่อหย่อนยุทธนา
|
๏ เรือเสือคำรนสินธุ์ | | พิฆาตภินอริผลา
|
จู่โจมและโถมถา | | กล้าประยุทธ์จนสุดแรง
|
๏ อีกเรือตอร์ปิโด | | วิ่งโร่รี่ฝีเท้าแข็ง
|
ว่องไวไล่ย้อนแย้ง | | ยักย้ายลอดดอดเอาชัย
|
๏ กระบวนล้วนแล่นล่อง | | ไปแทบท้องชลาลัย
|
อธึกดูคึกใจ | | จิตจักสู้ศัตรูพาล ฯ
|
| | |
|
เห่ชมพระนคร
|
โคลง
|
๏ ล่องลอยในน่านน้ำ | | เจ้าพระยา
|
จากเทพนครคลา | | คลาดเต้า
|
ชมวังสะพรั่งปรา- | | สาทรัตน์
|
ชมนครเขตเค้า | | เงื่อนแม้นเมืองราม ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ ล่องลอยในน่านน้ำ | | วิเศษลำเจ้าพระยา
|
จากกรุงเทพมหา | | นครราชะธานี
|
๏ ค่อยเลื่อนเคลื่อนนาวา | | จาหหน้าท่าวาสุกรี
|
ใช้จักรล่องนที | | นาวีเรื่อยเฉื่อยตามลม
|
๏ เหลือบแลชะแง้พิศ | | ดูดุสิตวนารมย์
|
เคยเที่ยวลดเลี้ยวชม | | ดมบุปผาสารพัน
|
๏ ชมวัดดังวิมาน | | ถิ่นสถานมัฆวัน
|
เพลินพิศไพจิตรสรร | | พะงามเนตรวิเศษชม
|
๏ สล้างปรางค์มหันต์ | | อนันตสมาคม
|
อัมพรสถานสม | | เป็นสถานพิมานอินทร์
|
๏ สถานวิมานเมฆ | | เอกอาสน์โอ่ท้าวโกสินทร์
|
อภิเษกดุสิตภิญ- | | โญยศยงองค์ภูบาล
|
๏ ตำหนักสำนักตา | | จิตรลดารโหฐาน
|
ที่พระอวตาร | | สำราญรมย์ภิรมยา
|
๏ สะพรั่งวังอนุช | | ผู้ทรงสุดเสน่หา
|
ปารุสก์สุดเพลินตา | | สวนกุหลาบปลาบปลื้มใจ
|
๏ ตำหนักพระชนนี | | มีนามว่าพญาไท
|
อยู่ทางบ่ห่างไกล | | ใกล้ดุสิตวนาภา
|
๏ นาวาผ่านนิเวศน์ | | พระทรงเดชจอมประชา
|
พินิจพิศเพลินตา | | ตระการตรูดูเลิศดี
|
๏ สล้างปรางค์ปราสาท | | ประกอบมาศมณีศรี
|
รยับจับรพี | | สีสว่างกลางอัมพร
|
๏ ปราสาทราชฐาน | | อวตารสโมสร
|
ยงยอดสอดสลอน | | ยอนยั่วฟ้าน่านิยม
|
๏ จักรีพระที่นั่ง | | สามยอดตั้งตรูตาชม
|
สำราญสถานสม | | สถิตถิ่นปิ่นนรา
|
๏ ดุสิตปราสาทตั้ง | | พระมนังคะศิลา
|
พิมานรัถยา | | อุดมอาสน์ราชฐาน
|
๏ มณเฑียรเสถียรศักดิ์ | | จักรพรรดิ์พิมาน
|
เคียงใกล้คือไพศาล | | ทักษิณที่สุขาลัย
|
๏ ฝ่ายหน้าสง่าสิ้น | | อมรินทร์วินิจฉัย
|
พระโรงภูวนัย | | ธ ประศาสน์ราชการ
|
๏ อารามวัดพระศรี | | รัตนศาสดาคาร
|
มงคลมหาสถาน | | ปูชนีย์ที่นิยม
|
๏ อันกรุงรุ่งเรืองกิตติ์ | | ที่สถิตพิโรดม
|
เลิศล้วนชวนจิตต์ชม | | สมเกียรติ์เลื่องเมืองสยาม
|
๏ ถนนสถลมารค | | อีกคลองหลากล้วนแลงาม
|
รุ่งเรืองดังเมืองราม | | จักรพรรดิฉัตรสากล ฯ
|
| | |
|
เห่ชมทางไปปากน้ำ
|
โคลง
|
๏ แล่นเรือมาแช่มช้า | | ตามกระแส
|
แลเหลือบเหลียวหลังแล | | ไฝ่บ้าน
|
ใจโยนประหนึ่งแพ | | โดนคลื่น
|
ลมเฉื่อยระเรื่อยสร้าน | | จิตเศร้าหาศรี ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ เรื่อย ๆ เรือลอยลำ | | ตามสายน้ำถูกกระแส
|
แลเหลือบเหลียวหลังแล | | ไฝ่ถึงบ้านสร้านโศกใจ
|
๏ เรือนแพแลสพรั่ง | | คลื่นโดนฝั่งก็กวัดไกว
|
แพโยน ๆ เหมือนใจ | | เรียมผู้ไฝ่ถึงเคหา
|
๏ ผ่านหน้าวัดอรุณ | | เคยทำบุญญะบูชา
|
ขอบุญการุญพา | | ให้ฃ้าสมอารมณ์หวัง
|
๏ ขออย่าให้ฃ้าศึก | | ผู้พิลึกกาจกำลัง
|
สามารถอาจภินพัง | | พระปรางค์ศรีธานีไทย
|
๏ ผ่านทางบางคอแหลม | | ชื่อบางแนมเหน็บดวงใจ
|
แหลมหลักจักหาไหน | | เหมือนแหลมคำเจ้าร่ำวอน
|
๏ ปากลัดตัดวิถี | | ทางนทีสู่สาคร
|
วานลัดตัดทางจร | | ดลสู่เจ้าตัดเศร้าใจ
|
๏ ยามมองช่องนนทรี | | เห็นธานีอยู่ไกล ๆ
|
หลังคาเคหาใน | | นครยวนชวนจิตผัน
|
๏ เห็นเสาวิทยุเด่น | | เปนของเลิศประเสริฐครัน
|
ถนัดอัศจรรย์ | | พูดกันได้ไม่มีสาย
|
๏ ดูราวกับสองจิต | | มิตร์ต่อมิตร์คิดเหมือนหมาย
|
เหมือนตารักตาชาย | | ตาเห็นรักประจักษ์ใจ
|
๏ ผ่านป้อมเสือซ่อนเล็บ | | นึกน่าเจ็บดวงหทัย
|
โบราณท่านตั้งไว้ | | ให้เล็งเหมาะจำเภาะดี
|
๏ ยิงเป้งเผงกลางน้ำ | | ไม่ผิดลำถูกนาวี
|
อนิจจามาบัดนี้ | | ป้อมปรักแลหักพัง
|
๏ ผีเสื้อสมุทป้อม | | หนึ่งนั้นย่อมดูแขงขลัง
|
ยิงปืนครั่นครืนดัง | | คำนับองค์พระทรงศร
|
๏ สมุททะเจดีย์ | | บูชะนีย์ประนมกร
|
เอี่ยมโอ่สโมสร | | กลางวิมลชลธาร
|
๏ นาวามายั้งหยุด | | ยังสมุททะปราการ
|
ดูเมืองรุ่งเรืองร้าน | | ตลาดของที่ต้องใจ
|
๏ เรือรอพอเวลา | | น้ำขึ้นมามากพอไป
|
ก็เลื่อนเคลื่อนคลาไคล | | ไปสู่ท้องทเลลม
|
๏ ลมเฉื่อยเรื่อย ๆ พา | | กลิ่นบุบผามารวยรมย์
|
รื่นรวยราวมวยผม | | ที่เคยดมชมชื่นใจ
|
๏ ลมพัดไม่จัดจ้าน | | พอประมาณไม่แรงไป
|
เหมือนยามเจ้าทรามไวย | | พัดรำเพยเชยฤดี
|
๏ อากาศสอาดโปร่ง | | สบายโล่งกลางวารี
|
แต่จิตคิดถึงศรี | | จิตจึ่งเหงาเศร้าอาดูร ฯ
|
| | |
|
เห่ชมปลา
|
โคลง
|
๏ ฝูงปลาดาดาษท้อง | | ทะเลหลวง
|
ดูชาติมัศยาปวง | | คู่เคล้า
|
ยิ่งดูยิ่งโทรมทรวง | | แสนโศก
|
โอ้คะนึงถึงเจ้า | | จิตว้าเหว่ถวิล ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ ฝูงปลาดูดาดาษ | | ว่ายเกลื่อนกลาดทะเลหลวง
|
ดูชาติมัศยาปวง | | เคียงคู่เคล้าเย้ายวนเชย
|
๏ ยิ่งแลชะแง้พิศ | | ยิ่งเศร้าจิตนิจจาเอ๋ย
|
ราวปลามาแสร้งเย้ย | | ให้เรียมเศร้าเหงาวิญญา
|
๏ ปลาทูชื่อดูชวน | | หวนคะนึงถึงเคหา
|
คำนึงถึงแก้วตา | | พธูน้อยผู้กลอยใจ
|
๏ กุเราเย้ายวนจิต | | คิดถึงมิตรชิดหทัย
|
เราอยู่คู่พิสมัย | | เราทั้งสองครองคู่กัน
|
๏ เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ | | ฤๅเปรียบเนื้อนางสวรรค์
|
นวลจันทร์ชื่อนวลจันทร์ | | ไม่นวลเท่าเจ้านวลแข
|
๏ กะพงเปรียบพงชัฏ | | อันแออัดในดวงแด
|
ห่างเจ้าเฝ้าท้อแท้ | | เหมือนบุงพงดงหน่ายหนาม
|
๏ โลมามาว่ายล่อ | | พอเห็นได้ใต้น้ำงาม
|
วานมาหานงราม | | ทรามสงวนชวนนางมา
|
๏ ตาเดียวลดเลี้ยวลี้ | | ก็ยังดีกว่าพี่ยา
|
เริศร้างห่างแก้วตา | | สองตาแลแพ้ตาเดียว
|
๏ ฉลาดตะกลามเหลือ | | ว่ายตามเรือรวดเร็วเจียว
|
ดูคล้ายชายช่างเกี้ยว | | เที่ยวคอยมองหาช่องเชย
|
๏ ฉลามอันหยามหยาบ | | เสียทีราบละเจ้าเอ๋ย
|
น้องเราเจ้าคงเฉย | | มิให้ชู้ชิงคู่ครอง
|
๏ นางนวลนกทะเล | | บินร่อนเร่เหหันมอง
|
นางนวลเปรียบนวลน้อง | | นกฤๅเท่าเจ้านวลใย
|
๏ ดูนกแสนฉลาด | | เหมือนอากาศยานไคล
|
ร่อนเร่เหหันไป | | เที่ยวตรวจดูหมู่อรี
|
๏ เปรียบปลาเหมือนเรือดำ | | เดินใต้น้ำสาครศรี
|
แล่นลอดดอดมาตี | | เรือลำใหญ่ได้บางครา
|
๏ นางนวลบินลอยล่อง | | มองถนัดมัศยา
|
ไวเจียวเฉี่ยวโฉบปลา | | ไปกินเล่นเป็นอาหาร
|
๏ ดูนกฉกโฉบปลา | | ก็เหมือนอากาศยาน
|
สามารถอาจสังหาร | | เรือใต้น้ำระยำไป
|
๏ อ้านกวิหคหาญ | | เราขอวานบ้างเป็นไร
|
ช่วยถือหนังสือไป | | ถึงเรือนเจ้าเยาวพา
|
๏ พิราบเขาเลี้ยงไว้ | | เขาก็ใช้ถือสารา
|
นางนวลชวนเชิญมา | | เป็นทูตาถึงนวลเชย
|
๏ กะไรช่างใจดำ | | ไม่ฟังคำเราบ้างเลย
|
แดดจ้านิจจาเอ๋ย | | เหมือนเพลิงรุมสุมอกกรม
|
๏ คำนึงถึงเจ้าพี่ | | ราวไฟจี้จ่ออารมณ์
|
เริศร้างห่างเหินชม | | ว้าเหว่จิตคิดถวิล ฯ
|
| | |
|
เห่ชมชายทะเล
|
โคลง
|
๏ สีชังชังชื่อแล้ว | | อย่าชัง
|
อย่าโกรธพี่จริงจัง | | จิตต์ข้อง
|
ตัวไกลจิตต์ก็ยัง | | เนาแนบ
|
เสน่ห์สนิทน้อง | | นิจโอ้อาดูร ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ สีชังชังแต่ชื่อ | | เกาะนั้นฤๅจะชังใคร
|
ขอแต่แม่ดวงใจ | | อย่าชังชิงพี่จริงจัง
|
๏ ตัวไกลใจพี่อยู่ | | เป็นคู่น้องครองยืนยัง
|
ห่างเจ้าเฝ้าแลหลัง | | ตั้งใจติดมิตร์สมาน
|
๏ บางพระนึกถึงพระ | | บูชนีย์ที่สักการ
|
แต่งตั้งยังสถาน | | แทบหัวนอนขอพรครอง
|
๏ ผ่านทางบางปลาสร้อย | | จิตต์ละห้อยละเหี่ยหมอง
|
นึกสร้อยสายเพ็ชรทอง | | คล้องคอเจ้าเย้ากระมล
|
๏ บางนี้บุรีงาม | | อันออกนามว่าเมืองชล
|
แลท้องทะเลวน | | ชลนัยน์ไหลลงธาร
|
๏ อ่างหินนึกอ่างหิน | | ที่ยุพินเคยสนาน
|
โอ้ว่ายุพาพาล | | จะอ้างว้างริมอ่างหิน
|
๏ เรือผ่านเกาะกระดาษ | | แม้สามารถจะพังภิน
|
จะเขียนสาราจิน- | | ตนาส่งถึงนงเยาว์
|
๏ ถึงอ่าวพุดซาวัน | | ริกริกสั่นสิอกเรา
|
คิดถึงพุดซาเจ้า | | เคยเก็บไว้ให้พี่ยา
|
๏ คลุกพริกกับเกลือดี | | ไว้ให้พี่จิ้มพุดซา
|
เสร็จงานกลับบ้านมา | | พอได้ลิ้มชิมชอบใจ
|
๏ ครั้นถึงทุ่งไก่เตี้ย | | ยิ่งละเหี่ยละห้อยใจ
|
นึกยามเจ้าทรายวัย | | ปรุงแกงไก่ให้พี่กิน
|
๏ เดินผ่านร้านดอกไม้ | | ก็ยิ่งใฝ่ใจถวิล
|
เคยชวนโฉมยุพิน | | ชมดอกไม้ที่ในสวน
|
๏ เกาะยอเหมือนยอเจ้า | | ยุพเยาว์อนงค์นวล
|
แสร้งยอ บ่ มิควร | | เพราะนิ่มเนื้อเหลือเลิศชม
|
๏ เข้าถึงสัตหีบ | | รีบหลบลี้หนีคลื่นลม
|
นึกยามเจ้าทรามชม | | จัดผ้าจีบลงหีบน้อย
|
๏ ขบวนเรือประพาส | | ดูดาดาษกลาดเกลื่อนลอย
|
ชิงชังดังหนึ่งคอย | | จะต่อสู้ศัตรูผลา
|
๏ จอดห้อมล้อมเป็นวง | | รอบเรื่ององค์พระราชา
|
ดูเหมือนเดือนสง่า | | อยู่ท่ามกลางหว่างหมู่ดาว
|
๏ ดูพลางทางรำพึง | | นิ่งคำนึงถึงเนื้อขาว
|
นึกนึกรู้สึกราว | | ไปงานศึกพิลึกใจ
|
๏ แม้มีศึกสงคราม | | ถึงสยามในวันใด
|
จำพรากจากทรามวัย | | ไปต่อสู้ศัตรูพาล
|
๏ เกิดมาเป็นชาวไทย | | ต้องทำใจเป็นทหาร
|
รักเจ้าเยาวมาลย์ | | ก็จำหักรักรีบไป
|
๏ จะยอมให้ไพรี | | เหยียบย่ำยีแผ่นดินไทย
|
เช่นนั้นสิจัญไร | | ไม่รักชาติศาสนา
|
๏ เพราะรักประจักษ์จริง | | จึงต้องทิ้งเจ้าแก้วตา
|
จงรักภักดีมา | | อาสาต้านราญริปู ฯ
|
| | |
|
เห่ครวญ
|
โคลง
|
๏ รอนรอนอ่อนอกโอ้ | | อัสดง
|
สุริยพระมืดลง | | หมดแล้ว
|
ยามมืดชืดเย็นองค์ | | วายุพัด
|
ยิ่งตรึกนึกน้องแก้ว | | พี่เศร้าทรวงศัลย์ ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ รอนรอนอ่อนอัสดง | | ตะวันลงลับเหลี่ยมผา
|
มืดมนสนธยา | | พามืดมัวทั่วดวงใจ
|
๏ ชะแง้แลเทือกเขา | | เป็นเงาเงาอยู่รำไร
|
รำพึงคะนึงไป | | ชวนให้นึกถึงตึกราม
|
๏ ตึกแถวเป็นแนวข้าง | | ถนนทางนครงาม
|
สว่างกระจ่างวาม | | ด้วยไฟฟ้าอ่าเอี่ยมแสง
|
๏ อีกตามถนนหลวง | | ไฟฟ้าดวงรุ่งเรืองแรง
|
สว่างกระจ่างแจ้ง | | แสงสว่างราวกลางวัน
|
๏ ยามเย็นเคยเห็นคน | | ขึ้นรถยนต์ขับอวดกัน
|
นารีที่คมสัน | | ต่างขันแข่งแต่งยวนชาย
|
๏ ผ้าม่วงสีช่วงโชติ | | เหลืองแดงโรจน์สีหลากหลาย
|
เสื้อแพรแลดอกลาย | | ผ้าแพรห่มล้วนสมสวย
|
๏ หน้านวลนวลแต่น้อย | | แช่มช้อยสมกับผมมวย
|
อาภรณ์ซ้อนแซมด้วย | | แวววับวับพอจับตา
|
๏ ดูใครไม่ชื่นจิต | | เท่ามิ่งมิตรวนิดา
|
ดูพลางทางจับตา | | ชายตารักชักตาชม
|
๏ ตาดำขำแก้วพี่ | | พอสมดีกับสีผม
|
ฟันขาวดูราวชม | | แก้วมุกดาน่ายินดี
|
๏ หนังสือฤๅเจ้ารู้ | | พอควรอยู่แก่สตรี
|
ประเสริฐเลิศนารี | | เจ้าไม่ทิ้งสิ่งที่ควร
|
๏ กิจการในบ้านช่อง | | เจ้าช่ำชองสิ้นทั้งมวล
|
ทุกสิ่งยอดหญิงล้วน | | จะขยันหมั่นการงาน
|
๏ ไม่เหมือนหญิงบางคน | | สาละวนไม่เข้าการ
|
มัวมุ่งยุ่งแต่งสาร | | จนลืมงานการบ้านเรือน
|
๏ สำแดงแต่วิชา | | หนังสือบ้าจนแชเชือน
|
ยุ่งกันชักฟั่นเฟือน | | ฟุ้งซ่านไปจนไร้ผัว
|
๏ น้องพี่สิฉลาด | | แสนสามารถในการครัว
|
ช่างชวนและยวนยั่ว | | ให้พี่ชิมลิ้มอาหาร ฯ
|
| | |
|
เห่ชมเครื่องว่าง
|
โคลง
|
๏ ข้าวต้มอมรสเปรี้ยว | | เค็มปน
|
เนื้อนกนุ่มระคน | | ผักเคล้า
|
ร้อนร้อนตักหลายหน | | ห่อนเบื่อ
|
รสหลากหลากรสเร้า | | เร่งให้ใฝ่กิน ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ ข้าวต้มอมรสเปรี้ยว | | ดีจริงเจียวเปรี้ยวเค็มปน
|
เนื้อนกนุ่มระคน | | ปนผักเคล้ารสเข้าที
|
๏ ข้าวต้มเนื้อโคกลั้ว | | ปนถั่วเขียวกลมเกลียวดี
|
มันเทศวิเศษมี | | รสโอชาแสนน่ากิน
|
๏ สาคูเม็ดใหญ่กลม | | แทนข้าวต้มสมถวิล
|
รสยวนชวนให้กิน | | สิ้นทั้งหมดรสเหลือแหลม
|
๏ ขนมจีบเจ้าช่างทำ | | ทั้งน้ำพริกมะมาดแกม
|
มะเฟืองเป็นเครื่องแกล้ม | | รสเหน็บแนมแช่มชูกัน
|
๏ ขนมเบื้องญวนใหม่ | | ประกอบไว้วิเศษสรร
|
ทอดกรอบชอบกินมัน | | เคี้ยวกรอบกรอบชวนชอบใจ
|
๏ หมูแนมแกมเครื่องเรี่ยม | | หอมกระเทียมผักชีใหม่
|
พริกแดงแซงสอดไว้ | | ใบทองหลางวางชิ้นหมู
|
๏ เมื่ยงคำน้ำลายสอ | | เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู
|
ข้าวคลุกคลุกไก่หมู | | น้ำพริกกลั้วทั่วโอชา
|
๏ ข้าวตังกรอบถนัด | | น้ำพริกผัดละเลงทา
|
ข้าวตังปิ้งใหม่มา | | จิ้มหน้าตั้งทั้งเค็มมัน
|
๏ อีกทั้งขนมเบื้อง | | เครื่องช่างเคล้าเข้าเหมาะกัน
|
ละเลงเก่งเหลือสรร | | ชูโอชาไม่ลาลด
|
๏ แกงไก่ใส่เครื่องถม | | คลุกขนมจีนแป้งสด
|
ข้าวมันมันแกมรส | | ส้มตำเปรี้ยวชวนเคี้ยวกิน
|
๏ ลูกไม้ใส่โถแก้ว | | ล้วนเลิศแล้วสมใจจินต์
|
สารพัดจัดให้กิน | | เสมอได้ไม่ขัดขวาง
|
๏ ทั้งหมดรสอาหาร | | เปรี้ยวเค็มหวานไม่จืดจาง
|
รสเหมาะเพราะมือนาง | | แก้วพี่เคล้าเย้ายวนใจ ฯ
|
| | |
|
เห่ครวญถึงหนังสือ
|
โคลง
|
๏ เงียบเหงาเปล่าอกโอ้ | | อกครวญ
|
หยิบสมุดชุดชวน | | อ่านบ้าง
|
นอนอ่าน ๆ ยิ่งหวล | | ใจโศก
|
น้องพี่เคยเคียงฃ้าง | | ช่วยชี้ชวนหัว ฯ
|
| | |
|
|
กาพย์
|
๏ เงียบเหงาเปล่าอกหมอง | | คิดถึงน้องหมองวิญญา
|
จึ่งหยิบหนังสือมา | | แก้รำคาญอ่านเรื่อยไป
|
๏ อ่าน ๆ รำคาญฮือ | | แบบหนังสือสมัยใหม่
|
อย่างเราไม่เฃ้าใจ | | ภาษาไทยเฃาไม่เขียน
|
๏ ภาษาสมัยใหม่ | | ของถูกใจพวกนักเรียน
|
อ่านนักชักวิงเวียน | | เขาช่างพียรเสียจริงจัง
|
๏ แบบเก๋เขวภาษา | | สมมตว่าแบบฝรั่ง
|
อ่านเบื่อเหลือกำลัง | | ฟังไม่ได้คลื่นไส้เหลือ
|
๏ อ่านไปไม่ได้เรื่อง | | ชักชวนเคืองเครื่องให้เบื่อ
|
แต่งกันแสนฟั่นเฝือ | | อย่างภาษาบ้าน้ำลาย
|
๏ โอ้ว่าภาษาไทย | | ช่างกระไรจวนฉิบหาย
|
คนไทยไพล่กลับกลาย | | เปนโซ็ดบ้าน่าบัดสี
|
๏ หนังสือฤาหวังอ่าน | | แก้รำคาญได้สักที
|
ยิ่งอ่านดาลฤดี | | เลยต้องขว้างกลางสาคร
|
๏ ลองหามาอ่านใหม่ | | พะเอินได้เปนบทกลอน
|
สมมตบทลคร | | ขึ้นชื่อเสียงเฉวียงไว
|
๏ พุทโธ่โอ้ใจหาย | | เราเคราะห์ร้ายนี่กระไร
|
จบหมดบทกลอนไทย | | ไม่เปนส่ำระยำมัง
|
๏ ทั้งมวลล้วนเหลวแหลก | | ทุกแพนกอนิจจัง
|
เรื่องเปื่อยเลื้อยรุงรัง | | ทั้งถ้อยคำซ้ำหยาบคาย
|
๏ กลับหันหาเรื่องดี | | ที่เอาไว้ใกล้ ๆ กาย
|
อ่านให้ใจสบาย | | หายง่วงเหงาเศร้ากระมล ฯ
|
| | |
|
เห่เรื่องนางสีดา
|
โคลง
|
๏ แถลงปางนางแน่งน้อย | | สีดา
|
ถูกยักษ์อัปลักษณ์พา | | ห่างห้อง
|
พระรามพระโกรธา | | ยักษ์โหด
|
พระจึ่งยกพลก้อง | | กึกเข้าไปรอน ฯ
|
| | |
|
|
โคลง
|
๏ กล่าวปางนางสีดา | | ถูกพญาทศศีรษ์
|
ลักพาไปธานี | | จึงเกิดศึกพิลึกหาญ
|
๏ เหตุสุรปนขา | | บ้ากามาแสนสามานย์
|
มุ่งพระอวตาร | | ให้เป็นผัวเพื่อตัวครอง
|
๏ เสแสร้งจำแลงกาย | | ให้เฉิดฉายนวลละออง
|
ไปเกี้ยวเลี้ยวลดลอง | | พรากพธูผู้เคียงกัน
|
๏ พระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | | ไม่จงรักด้วยกับมัน
|
หญิงชั่วมั่วโมหัน | | มันจะพาเสียราศี
|
๏ นางยักษ์เข้าหักหาญ | | ราญสีดายอดนารี
|
น้องรักพระจักรี | | จึ่งบำราบปราบนางมาร
|
๏ พระตัดจมูกมัน | | อีกทั้งฟันหูแหลกลาญ
|
ทาสาแสนสามานย์ | | ก็รีบรี่หลีกหนีไป
|
๏ ไปชวนทั้งทูษณ์ขร | | มาราญรอนภูวไนย
|
ยักษาปราชัย | | ไม่ทนพระบารมี
|
๏ เดือดดาลนางมารบ้า | | วิ่งไปหาทศศีรษ์
|
กลอกกลับแสนอัปรีย์ | | สาระแนยุแหย่ไป
|
๏ ท้าวยักษ์ได้ฟังความ | | เหมือนไฟกามจ่อจี้ใจ
|
ให้คิดพิสมัย | | ใฝ่อนงค์องค์สีดา
|
๏ ใช้มารีจจำแลง | | แปลงเป็นกวางร่างโสภา
|
พอพบประสบตา | | สีดาเจ้าเฝ้าถวิล
|
๏ ทูลวอนชะอ้อนง้อ | | ต่อสมเด็จพระจักริน
|
จนองค์พงศ์นรินทร์ | | พระเกรงน้องจะหมองหมาง
|
๏ จับศรสุรพล | | เสด็จด้นไปตามกวาง
|
ให้ลักษมณ์พักอยู่พลาง | | เป็นผู้เฝ้าเจ้าสีดา
|
๏ มารีจครั้นถูกศร | | ทำเสียงอ่อนด้วยมารยา
|
เรียกลักษมณ์อนุชา | | มาช่วยพี่ที่ในพง
|
๏ ยุพินยินเสียงมัน | | ให้สำคัญเคลือบแคลงหลง
|
ใช้ลักษมณ์รีบสู่ดง | | ช่วงองค์พระอวตาร
|
๏ ครานั้นทศศีรษ์ | | จึ่งได้ทีเหมือนใจพาล
|
เข้ามาหานงคราญ | | จำแลงร่างอย่างโยคี
|
๏ กล่าวคำร่ำเกลี้ยกล่อม | | นางไม่ยอมฟังวาที
|
พูดไปไม่ไยดี | | พิษเพลงิงกามยิ่งลามลน
|
๏ ยิ่งขัดยิ่งกลัดกลุ้ม | | เข้าโอบอุ้มนฤมล
|
พาล่องฟ่องเวหน | | สู่ลงกาธานีมาร
|
๏ พระรามกลับศาลา | | ไม่เห็นหน้ายอดสงสาร
|
องค์พระอวตาร | | ก็แสนโศกวิโยคนาง
|
๏ ชวนพระอนุชา | | รีบลีลาในเถื่อนทาง
|
เดินพลางแลครวญพลาง | | จนประสบพบวานร
|
๏ ช่วยลูกพระอาทิตย์ | | รณชิตชิงนคร
|
กำแหงพระแผลงศร | | ต้องพาลีชีวีลาญ
|
๏ สุครีพจึ่งจัดพล | | พร้อมพหลพลทวยหาญ
|
เพื่อพระอวตาร | | ผลาญขุนราพณ์ปราบลงกา
|
๏ เกิดศึกพิลึกเดช | | ก็เพราะเหตุด้วยสีดา
|
ชิงรักชักชวนพา | | ให้พระยุทธ์สุดเริงรณ
|
๏ ยุทธ์แย้งแย่งสีดา | | ยังอุตส่าห์ยอมเสียชนม์
|
แย่งดินถิ่นถกล | | ฤๅจะห่วงหวงชีวัน ฯ
|
| | |
|
เห่เรื่องพระร่วง
เห่เรื่องซ้อมกระบวนเรือ
เห่ชวนเข้าราชนาวีสมาคม
เชิงอรรถ
อ้างอิง