จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)
บทประพันธ์
พระจันทร์ทรงกรด
|
๏ ลำบากก่อน ก่อนทำ เห็นลำบาก | | หวนเหียนคิด คิดหาก จักหวนเหียน
|
ผ่อนเพียรทำ ทำไปก่อน ค่อยผ่อนเพียร | | ปลงใจนึก นึกอย่าเวียน เปลี่ยนปลงใจ
|
ประกอบการ การอย่าละ ที่ประกอบ | | นิสัยผล ผลก็ตอบ ตามนิสัย
|
เป็นไปตาม ตามเช่น ที่เป็นไป | | สำเนากล่าว กล่าวไว้ ฟังสำเนา
|
จักกลิ้งคก คกหนัก หากจักกลิ้ง | | ภูเขาสูง สูงก็จริง แต่ภูเขา
|
ใจเราเพียร เพียรให้เข้า แน่ใจเรา | | ตรึกตรองใจ อย่าใจเบา พึงตรึกตรอง
|
| | |
|
อักษรสังวาส
|
๏ อย่าฝ่าฝ่าย หมายเกิน กำเริบเอิบ | | อ้างข้างเติบ มิได้ตรึก ตริสนอง
|
เห็นเช่นได้ ใฝ่ด้วยข้าง ลำพองปอง | | ไม่ไตร่ตรอง ดูให้สิ้น นุสนธ์ยล
|
จักหักโหม โจมเข้าจับ ด้ามพร้าง่า | | ตั้งจังก้า หักด้วยเข่า จงยลผล
|
ควรครวญใคร่ อย่าให้ป่วย สกนธ์ตน | | ชอบสอบค้น เสียให้แจ้ง แห่งการงาน
|
แม้แน่ใจ ใครฟัง พินิจกิจ | | ถ้าว่าผิด แล้วอย่าเพ่อ บรรหารขาน
|
เหมือนเยื้อนแถม แย้มโทษ ประจานปาน | | จงปลงจิต คิดอย่าหาญ แต่เดียวเจียว
|
| | |
|
ธงนำริ้ว
|
๏ ช้าช้านึก ตรึกไตร่ตรอง ให้ต้องกิจ | | ค่อยค่อยคิด คาดควร คำนวณเฉลียว
|
ดูดูก่อน ผ่อนให้สม ที่กลมเกลียว | | จริงจริงแท้ แน่เจียว อย่าวางใจ
|
หมั่นหมั่นคิด ที่ในกิจ ประกอบก่อ | | ตรองตรองข้อ เสียให้ควร ที่ขานใข
|
รอรอรั้ง สังเกตผล เลศกลใน | | อ่อนอ่อนไว้ ดีกว่ากล้า อย่าแรงรัน
|
คล้ายคล้ายคำ ร่ำว่า เหมือนฆ่าช้าง | | แท้แท้ทาง หวังเอางา เท่านั้นนั่น
|
เหมือนเหมือนกิจ น้อยจ่าย ใช้ทุนอัน | | มากมากครัน คิดไม่คุ้ม ที่ขาดไป
|
| | |
|
วิสูตรสองไข
|
๏ ผเดิมผดุง มุ่งมาด ขนาดขนบ | | ให้แจ้งให้จบ ครบพิศ นิสิทธิ์นิสัย
|
อย่าเพลิดอย่าเพลิน เมินพลั้ง ละลังละไล | | วิจารณ์วิจัย ในเหตุ สังเกตสังกา
|
ระบิลระบอบ กอบการ สมานสมัคร | | ประจงประจักษ์ แจ้งที่ ประสีประสา
|
ใช่กมใช่การ พานผิด ประดิษฐ์ประดา | | ใช่ทางใช่ท่า อย่ายล กระวนกระวาย
|
ใช่เรื่องใช่ราว กล่าวโทษ ประโยชน์ประหยัด | | พิบากพิบัด ทัดทำ ระส่ำระสาย
|
เสมอเสมือน เตือนตน ทุรนทุราย | | ระคนระคาย สิ่งซึ่ง ไม่พึงไม่พอ
|
| | |
|
เสือซ่อนเล็บ
|
๏ รู้ว่ายาก หากเห็น เช่นว่าทุกข์ | | ทางนี้สุข ปลุกปลื้ม ลืมนี้หนอ
|
รำพึงเพียร เวียนวน ทนพึงพอ | | เพียรรวนล่อ ต่อตั้ง กังวลใจ
|
ยลแต่อย่าง ต่างรู้ อยู่แต่ยาก | | เหลือนิหาก จากล้น พ้นนิสัย
|
เหมือนขว้างงู ชูเชิด เปิดกว้างไป | | ก็กลับใกล้ ไคล้ยุค ฉุดกลับมา
|
สิ่งที่เบื่อ เหลือเบือน เหมือนที่รัก | | ต่างร่ำผลัก มักเป็น เช่นร่ำว่า
|
รำคาญไหน ใฝ่เฝ้า เข้าคานตา | | เช่นคอยท่า หาสุข ทุกข์คอยรึง
|
| | |
|
นาคบริพันธ์
|
๏ กุมภาพาล ชาญชลา สาคเรศ | | สาครินทร์ ถิ่นประเทศ สำนึงถึง
|
สำนักสู่ อยู่ประจำ อย่ารำพึง | | อย่ารำพรรณ อันซึ่ง จะวายชล
|
จะวายชาญ หาญกล้า ดีกว่าสอน | | ดีกว่าสั่ง ฟังดูก่อน ใช่เหตุผล
|
ใช่เหตุเผื่อ เจือจาน ป่วยการกล | | ป่วยประกอบ ชอบแต่ยล ดูท่าทาง
|
ดูท่าที่ ที่จะสั่ง จะสอนศิษย์ | | จะสอนสู่ ดูชนิด อย่าอางขนาง
|
อย่าอ้างขนาด คาดคะเน คะนึงพลาง | | คะนึงพลอย คล้อยเป็นกลาง อย่างเอียงเอง
|
| | |
|
เบญจพรรณห้าสี
|
๏ อย่าหยิ่งเย่อยกย่อง ลำพองพิษ | | อาจโอ้อิทธิ์อวดอ้าง อย่างข่มเหง
|
ขอดข้อนแข้นขู่ข่ม ให้เขาเกรง | | โฉดโฉงเฉงเฉาฉ่า ชะล่าใจ
|
ทำท่วงทีท่าทาง วางจังหวะ | | โกงเกะกะก้าวก่อ ข้อคำไข
|
ล้วนเล่ห์ลิ้นลวงลอด สอดกลไก | | เหน็บแนมในนึกน่า ระอาคำ
|
ถ้าถึงถ้อยถอยถด สลดหลบ | | จับจริงจบเจิ่นเจน ก็เอนถลำ
|
เหมือนไม้เมามูลมอด ทอดทิ้งทำ | | กลับกลอกกล้ำเกลื่อนกลาย คลายกำลัง
|
| | |
|
ครอบจักรวาล
|
๏ รู้สิ่งไร ร้ายแรงยาก อย่าอยากรู้ | | หวังแว่วหู ปากจะนิ่ง อย่ากริ่งหวัง
|
ดังหนึ่งฆ้อง ก้องเสียง สำเนียงดัง | | ตีหยุดยั้ง ยังกังวาล นานกว่าตี
|
ผิดคำกล่าว ราวกับพา ให้หาผิด | | ที่จะมิด อย่าพึงหมาย มิใช่ที่
|
ดีแลชั่ว ตัวของใคร นิ่งไว้ดี | | ควรต้องทำ จะต้องชี้ แต่ที่ควร
|
ช้างตายเน่า เอาใบบัว ปิดตัวช้าง | | สงวนบ้าง มิใช่ข้อ อย่าพอสงวน
|
ชวนเสียกิจ ผิดระบอบ อย่าชอบชวน | | เดาอย่าด่วน ใจหวัง ลำพังเดา
|
| | |
|
หงส์คาบแก้ว
|
๏ มีการทำ ทำไม่ถูก ถูกที่ผิด | | มีความคิด คิดไม่ต้อง ต้องโฉดเฉา
|
จักโทษใคร ใครจะทำ ทำให้เรา | | นั่งนึกเศร้า เศร้าโศกซ้ำ ซ้ำจนใจ
|
เหมือนตาบอด บอดแล้วมา มาได้แว่น | | ดูยากแสน แสนสุดสิ้น สิ้นนิสัย
|
จับขึ้นลูบ ลูบคลำแล้ว แล้ววางไป | | ตั้งแต่ใคร่ ใคร่ครวญนึก นึกตื้นตัน
|
จะตรึกตรอง ตรองให้รอบ รอบรู้กิจ | | กอบการผิด ผิดแล้วยาก ยากผ่อนผัน
|
อย่าหุนหวน หวนใจดู ดูสำคัญ | | ให้เหมาะมั่น มั่นแม้นมุ่ง มุ่งระวัง
|
| | |
|
ฟักพันร้าน
|
๏ จากเพียร เจียนเพื่อน เจื่อนพวกจาก | | ฝังให้ ใฝ่หาก ฝากห่วงฝัง
|
บังกิจ บิดเกียด เบียดกลบัง | | ใยทน ยลทั้ง ยั้งทุกข์ใย
|
ตรึกสม ตรมซร้อง ต้องสิ่งตรึก | | ไหนแล้ว แนวลึก นึกเล่ห์ไหน
|
ใดชื่น ดื่นชวน ด่วนเช่นใด | | ยลขำ ย้ำไข ไย้ข่าวยล
|
ผ่อนขัด ผัดขัน ผันข้อผ่อน | | หนไร ให้ร้อน ห่อนรู้หน
|
จนค้าง จางคิด จิตค่อยจน | | กายหวัง กังวล กลว่างกาย
|
| | |
|
นาคเกี่ยวกระหวัด
|
๏ ผู้ใหญ่สอน ผ่อนตาม ให้งามเงื่อน | | เงื่อนงาม ความท่านเตือน เหมือนมุ่งหมาย
|
หมายมุ่งตรอง มองให้เห็น อย่าเว้นวาย | | วายเว้นเช่น เชิงหมาย ให้ควรการ
|
การควร อย่าเพ่อหวน โกรธตอบต่อ | | ต่อตอบเห็น ชอบข้อ จึงไขขาน
|
ขานไขคำ ถามทัด ให้ชัดชาญ | | ชาญชัด จัดวิจารณ์ ให้แจ้งใจ
|
ใจแจ้ง อย่าระแวง แคลงคิดผิด | | ผิดคิดคัด ดัดจริต อย่าหลงไหล
|
ไหลหลงตาม ความเชือน กลับเกลื่อนไกล | | ไกลเกลื่อนกลับ นับให้ ใจดาลดวง
|
| | |
|
นาคราชแผลงฤทธิ์
|
๏ คำคารม ลมลิ้นเล่ห์ อุบายบอก | | ออกบทเบื้อง เยื้องยอก ใจห่วงหวง
|
จ้วงเหตุหา ท่าช่องชี้ นี่ไยยวง | | หน่วงยุดอย่าง ต่างดวง เมตตาใจ
|
ไม่ต่างจิต คิดว่าจริง ทุกสิ่งล้วน | | ถ้วนแสนหลาก ยากประมวล หมดสงสัย
|
ไม่สอดส่อง ดูให้ต้อง ตามเลศนัย | | ไต่เล่ห์นึก ตรึกไตร ดูท่วงที
|
ดีทุกท่า ทางมายา มีหลายหลาก | | มากเหลือล้ำ ตามยาก แต้มสอดสี
|
ตีส่วนสอง ให้เห็นช่อง ชอบเชิงที | | ชี้ชวนทาง อย่างแต่มี ล้วนอาการ
|
| | |
|
บัวบานกลีบขยาย
|
๏ ไม่ควรคิด ก็อย่าคิด เข้าต่อล้อ | | ไม่ควรข้อ ขอดเขา ด้วยโวหาร
|
ไม่ควรเป็น ก็อย่าเป็น เหมือนเช่นพาล | | ไม่ควรสมาน อย่าสมัคร สมาคม
|
ไม่ควรรอ ก็อย่าต่อ เข้าต้านตัด | | ไม่ควรทัด ทานถ้อย อย่าทับถม
|
ไม่ควรชิด อย่าสนิท สนมชม | | ไม่ควรข่ม ก็อย่าข้อน ให้เคืองคำ
|
ไม่ควรหาญ อย่าราน ให้ร้อนร้าว | | ไม่ควรกล่าว พึงระวัง อย่างพลั้งถลำ
|
ไม่ควรเปิด ก็อย่าเชิด ชูเงื่อนงำ | | ไม่ควรทำ ตรองท่า พยุงจูง
|
| | |
|
อักษรสลับล้วน
|
๏ การก่อนกอบ ชอบช่องเช่น เห็นเหนห่าง | | จำจากจาง หมางเมินม่าย ฝ่ายฝ่าฝูง
|
ยลเยี่ยงอย่าง พ่างพื้นเพื่อ เจือจานจูง | | สิ่งส่วนสูง มุ่งเมียงมาด คาดเคียงควร
|
เอื้อนออกอ้าง อย่างยิ่งยาก บากเบือนเบี่ยง | | พูดพอเพียง เอียงอ่อนโอษฐ์ โหดหวงหวน
|
เพราะพริ้งพร้อม กล่อมกล่าวกลืน ชื่นชอบชวน | | โลมเล่ห์ล้วน ยวนแย้มยั่ว ทั่วถ้วนทาง
|
แถวถิ่นเถิน เนินน่านน้ำ ข้ามเขตโขด | | ห้วงหาดโหด โฉดเชื้อชัก ขวักไขว่ขวาง
|
แม้ไม่มี ที่ทัดทัน กั้นกีดกาง | | แบ่งเบาบ้าง ข้างข้อคำ ร่ำรีรอ
|
| | |
|
มยุราฟ้อนหาง
|
๏ ดูดูท่า อย่าเลินเล่อ เผลอบ่อยบ่อย | | คุมคุมใจ ไว้อย่าปล่อย ไปปร๋อปร๋อ
|
เหมือนเหมือนอย่าง ทางที่เป็น เช่นพอพอ | | ตรองตรองใจ ที่ในข้อ ให้ควรควร
|
เปรียบเปรียบว่า บุตรภรรยา คนใช้ใช้ | | ปล่อยปล่อยปละ ละให้ ฮึกหวนหวน
|
เฉยเฉยเสีย ไม่สั่งสอน ข้อนชวนชวน | | กล้ากล้านัก มักก่อกวน จะแรงแรง
|
มีมีแต่ ต่างจะดื้อ ถือปึ่งปึ่ง | | ข้อนข้อนข้าง วางข้อขึง ขึ้นแข็งแข็ง
|
คล้ายคล้ายช้าง ห่างขอ มักแคลงแคลง | | ชวนชวนชัก มักระแวง จงจำจำ
|
| | |
|
ยัติภังค์
|
๏ ครูสอน สอนก็ได้ แต่ใจภัก | | ภักดีต่อ ต่อที่รัก ทุกคำสำ
|
สำเหนียกกล่าว กล่าวคิด พินิจดำ | | ดำริห์ชอบรู้ รู้จำ สุนทรภา
|
ภาษิตเปรียบ เปรียบแม้น เหมือนหนึ่งสัง | | สังคีตดัด ดัดประดัง ทุกสิ่งสา
|
สามารถพร้อม พร้อมเพราะ เสนาะอา | | อาลัยชวน ชวนกระบือร่า ให้ฟังบรร
|
บรรเลงขับ ขับก็ป่วย เวลาปรา | | ปรารภเรื่อง เรื่องจะหา หรือรู้ฉัน
|
ฉันใดเพราะ เพราะจะเพียร ก็ยากพรร | | พรรณาสอน สอนพาลนั้น ย่อมยากแสดง
|
| | |
|
ละเวงวางกรวด
|
๏ ผู้พ่ายแพ้ ผ่อนหลบ หลีกลับเลี่ยง | | พึงพอเพียง อย่าควร ข่มขัดแข็ง
|
จวบเจียนจวน จนท่า รุกเร้าแรง | | พล้ำพลาดแพลง พลั้งตน จักจนใจ
|
เหี้ยมฮึกเหิม หาญนัก มักมึนม่อย | | น้ำหนองน้อย แหนงเพลิง สิ้นสงสัย
|
หมิ่นเมินมาก หากกลับ กลัวเกลื่อนไกล | | เห็นเหตุให้ หวนแปร แท้ทางที
|
ดูใดโดย ให้ต้อง ชันเชิงชอบ | | รู้เรื่องรอบ อย่าระแวง หน่ายแหนงหนี
|
พึงเพ่งพิศ คิดหา ท่าท่วงที | | โอบอ่อนเอื้อ อารี การเกื้อกูล
|
| | |
|
กินนรรำ
|
๏ ขจัดจิต ชนิดหน่าย ระคายข้อง | | ระเบียบเบื้อง ตระเตื้องต้อง สนองหนุน
|
คดีดู จะชูช่อง ประคองคุณ | | จะลึกลับ จะพับพูน ประมูลมี
|
คะนึงนึก ตริตรึกตรอง ละบองแบ่ง | | ระบิลเบื้อง ยุเยื้องแย้ง แขนงหนี
|
คะเนนับ สดับดู กระทู้ที | | จะต้านต่อ หรือรอรี คดีดู
|
พินิจแหนง ระแวงวน ฉงนเงื่อง | | จะค้านคัด ประหยัดเยื้อง ณเรื่องรู้
|
จะหมองหมาง ระคางคิด จะชิดชู | | กระแสศัพท์ สดับดู จะรู้รา
|
| | |
|
เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด
|
๏ สุดจะค้น สนข้อ ส่อคำสอน | | เห็นข้อน ห่อนควร หวนคิดหา
|
เรื่องต้อง ร้องต่าง ร้างตำรา | | ยิ่งท่า ยากทาง อย่างที่ยล
|
สอนพาล สารเพียง เสียงภาษิต | | สนคิด สุดแค้น แสนขัดสน
|
ยากพ้อ ยอพา อย่าพึ่งยล | | เกียจปน กลปอง กองป่วยการ
|
แก้วเพชร เก็จผ่อง ก่องผิวก่ำ | | หากล้ำ ให้เหล่า แห่งลิงหาญ
|
นึกไว้ ในว่า น่าหวังนาน | | แรงค้าน รานคำ ร่ำคนเรา
|
| | |
|
นารายณ์ประลองศิลป
|
๏ สำเนาเขา สำนวนควร สำเหนียกคิด | | ประกิตชิด ประกอบชอบ ประกันเฉา
|
คนึงดึง ขนัดดัด คะเนเดา | | มิเศร้าเหงา มิส้อนงอน มิสิ้นงาม
|
ระบิลสิ้น ระบายสาย ระเบียบเลศ | | นิเทศเหตุ นิทัศน์หัด นิทานห้าม
|
ประจบนบ ประจักษ์นัก ประจงนาม | | จะซามตาม จะเสริมเติม จะเสื่อมตน
|
ฉลาดปราชญ์ เฉลียวเปรียว เฉลยเปรียบ | | ประเทียบเพียบ ประทับพับ ประเทืองผล
|
ขนานการ ขนอบกอบ ขนบกล | | จะยลบน จะเยื้องเบื้อง จะยากบัง
|
| | |
|
ฉัตรสามชั้น
|
๏ กล่าวคำคิด จิตจำ คิดคำกล่าว | | หวังว่าควร สวนสาวหา ควรว่าหวัง
|
ฟังความใน ให้แน่ตาม ในความฟัง | | ควรให้ตรอง ต้องตั้งใจ ตรองให้ควร
|
เหตุผลเป็น เช่นใดยล เป็นผลเหตุ | | หวนหักใจ ให้สังเกต ใจหักหวน
|
ควรใคร่ความ งามใจ ความใคร่ครวญ | | กลเล่ห์ล้วน รวนเร ล้วนเล่ห์กล
|
หน้าหลังคิด จิตยั้ง คิดหลังหน้า | | ผลเห็นทาง อย่างท่าเช่น ทางเห็นผล
|
ตนหลบหลีก ปลีกซบ หลีกหลบตน | | การแบ่งพอ ให้พ้นแหนง พอแบ่งการ
|
| | |
|
กบเต้นต่อยหอย
|
๏ ใจหวนคิด จิตห่วงข้อง คือขุมทุกข์ | | ไม่จืดจาง หมางจากสุข ในสงสาร
|
ปางเมื่อเห็น เป็นมาให้ ใจรำคาญ | | ชวนต่อกอบ ชอบแต่การ ลำบากกาย
|
เพื่อตัณหา พาเตือนให้ เป็นห่วงยุค | | เปลื้องไม่ลง ปลงไม่หลุด สุดสิ่งหมาย
|
ลูกที่รัก ลักที่รู้ อยู่ทุกราย | | เป็นเช่นบ่วง ปวงชนบ่าย ไม่พ้นคอ
|
เหตุโลภมาก หากลาภมุ่ง บำรุงจิต | | เหลือทางปลด ลดทิ้งปิด จริงเจียวหนอ
|
ที่สันดาน ท่านสันโดษ ประโยชน์พอ | | มาตรไม่เตือน เหมือนไม่ต่อ ส่อเค้ามูล
|
| | |
|
สร้อยสน
|
๏ จะเผื่อแผ่ แผ่ผล พิศพื้นพืช | | พืชที่ ที่นั้นจืด ป่วยปุ๋ยหนุน
|
หนุนเปล่า เปล่าเปลืองเชื้อ ที่เกื้อกูล | | กูลกิจ กิจจะพูน พอภูมิยล
|
ผลสิ่ง สิ่งไรเกิน กว่าแรงมาก | | มากเพียร เพียรพาก แต่เพียงผล
|
ผลได้ ได้โดยที่ ลำพังตน | | ตนคิด คิดผ่อนปรน ปรองดองใจ
|
ใจจะเอื้อ เอื้อเฟื้อ อย่าเหลือส่วน | | ส่วนแบ่ง แบ่งที่ควร จึงค่อยให้
|
ให้มาก มากพ้น ประมาณไป | | ไปเนิ่น เนิ่นอย่าเกิน ในความอารี
|
| | |
|
สิงโตเล่นหาง
|
๏ อย่าจงเจียด เบียดเบียนทรัพย์ กับผู้ยาก | | ถึงน้อยมาก หากคิดไป ไม่ถูกที่
|
ดูเหลือแค่น แสนลำบาก ยากจะมี | | ใช่วิถี ที่จะเดิน เขินใจตน
|
เหมือนหาเลือด เชือดตีนปู ดูเป็นขัด | | จะคิดลัด ตัดต่อยหัก สักพันหน
|
ก็เห็นเหนื่อย เมื่อยมือเปล่า เศร้าใจจน | | ยากจะค้น พ้นแห่งหา น่าอายใจ
|
กอบการกิจ คิดผันผ่อน อ่อนโอบเอื้อ | | ตรองจิตเจือ เชื้อเชิงชัด อัชฌาศัย
|
อารีรอบ กอบเมตตา ปรานีใน | | สิ่งชอบให้ ใจแช่มชื่น รื่นรมย์ยล
|
| | |
|
ละลอกแก้วกระทบฝั่ง
|
๏ การไรทำ กิจร่ำถึง อย่าพึงทิ้ง | | คดโดยใจ คาดได้จริง เป็นสิ่งผล
|
ท่าเกิดชอบ ทางกอบช่วย อำนวยตน | | หวังสิ้นทุกข์ ไว้สุขทน ผ่อนปรนปรือ
|
แม้แจ้งทำ ไม่จำทอด ธุระร้าง | | หากแผกคิด เห็นผิดข้าง ไม่ควรถือ
|
ใจตรองนึก จิตตรึกหน่วง ให้แน่มือ | | เพลี่ยงที่ค้าง พลาดทางคือ คิดใคร่ครวญ
|
สิ่งไรทำ ลอบร่ำท่อง ให้ต้องที่ | | อย่าเบือนหน่าย อย่าบ่ายหนี ไปโดยด่วน
|
หวังผู้อื่น เว้นพื้นเอง เกรงไม่ควร | | เช่นทางเลี้ยว ชักเที่ยวล้วน ป่วนใจงง
|
| | |
|
มักกรคาบแก้ว
|
๏ กอบกิจใด ให้พินิจ ดูกิจกอบ | | หลงอย่าลืม ปลื้มแต่ชอบ ที่อย่าหลง
|
พงศ์พื้นเผ่า เหล่ามิตร พิศพื้นพงศ์ | | ไกลใก้ลเรียง เคียงคง วงศ์ใกล้ไกล
|
แผ่เผื่อจิต คิดโอบเอื้อ จักเผื่อแผ่ | | ไหนที่ควร ครวญให้แน่ แท้ที่ไหน
|
ใจที่รัก จักอารี ดูที่ใจ | | ควรจะผ่อน หย่อนให้ อย่างไรจะควร
|
ที่ควรให้ หรือไม่ให้ ให้ควรที่ | | หวนหักจิต คิดให้ดี อย่าหักหวน
|
ครวญใคร่ความ ตามทำนอง ตรองใคร่ครวญ | | พรายแพร่งมี แต่ที่ควร จะแพร่งพราย
|
| | |
|
กบเต้นสามตอน
|
๏ ใช่การ ชาญกอบ ชอบกิจ | | เพ่งมอง ผองมิตร พิศหมาย
|
ข้อกล่าว ข่าวกล้ำ คำกลาย | | เหมือนแทน แม่นทาย หมายที
|
ตริจง ตรงจอง ตรองแจ้ง | | เยื้องหน่าย ย้ายแหนง แย้งหนี
|
หลีกเดา เลาด่วน ล้วนดี | | ท่าหมาง ทางมี ที่มา
|
คำร้อน ข้อนแรง แข่งรู้ | | เพื่อนหู ผู้หาญ พาลหา
|
เช่นเพื่อ เชื่อพัก ชักพา | | น้อยอับ นับอ้า น่าอาย
|
| | |
|
กินนรเก็บบัว
|
๏ อย่าพึงด่วน พึงดู ให้รอบคอบ | | จะควรชอบ ควรชัง ฟังเงื่อนสาย
|
จงตรองหน้า ตรองหลัง สังเกตกาย | | อย่าคิดหมาย คิดมุ่ง แต่ใจตน
|
หากจะโกรธ จะแค้น แสนสาหัส | | พึงประหยัด ประโยชน์เพ่ง ให้พอผล
|
แม้ควรหยุด ควรยั้ง ชั่งกระมล | | อย่าทุรน ทุรายหวัง ลำพังใจ
|
สิ่งที่ร้าว ที่ราน ประหารหัก | | แล้วจะชัก จะชอบ อย่าสงสัย
|
ฟังคำนวณ คำนึง คะเนใน | | ที่สิ่งไร สิ่งร้อน ผ่อนให้ครวญ
|
| | |
|
ตรีพิธพรรณ
|
๏ สกุลรักษ์ ลักษณ์ส่อ นรลักษณ์ | | พิศผิวพักตร์ ภูมิพักตร จะพักตรสงวน
|
ทั้งถ้อยคำ คมคำ ทุกคำควร | | ฟังสำนวน น้ำนวน ชะนวนใน
|
เมื่อต่อหน้า ดูหน้า ก็น่าคบ | | ลับหลังหลบ เหลือหลบ หลบไม่ไหว
|
ดูแสนกล ซ่อนกล ซ้อนกลไก | | ล้วนเลศใน แนมใน อยู่ในที
|
พอเห็นท่า พลั้งท่า เป็นท่าได้ | | ก็ตรองใจ กริ่มใจ เอาใจหนี
|
ใครหลงลม เชื่อลม ลิ้นลมมี | | ก็แต่ที่ ถึงที่ ที่อัประมาณ
|
| | |
|
เชิงอรรถ
ที่มา
[1]