à¸à¸²à¸žà¸¢à¹Œà¸ªà¸¸à¸ าษิตพระร่วงฉบับวัดเà¸à¸²à¸°
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 11:39, 13 สิงหาคม 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: ไม่ปรากฎนาม
บทประพันธ์
๏ ศรีสวัสดิ์แช่มช้อย | รู้ถี่ถ้อยทุกประการ | ||
เรียบร้อยเป็นสังวาล | บรรเจิดใจในกามา | ||
คำปราชญ์ประเสริฐสอน | ดังอาภรณ์สุพรรณา | ||
ประดับกับกายา | เร่งศึกษาอย่าเมินเสีย | ||
เหล็กอยู่เรือนท่านว่าพร้า | ข้าอยู่เรือนท่านว่าเมีย | ||
โดยจารีตบห่อนเสีย | เป็นบรรทัดท่านกล่าวไว้ | ||
เสือยังรู้ตกถึง | ขุนนางยังรู้ตกไร้ | ||
ริบราชบาตร์ไป | เบียนผู้ไร้ทั่วทั้งผอง | ||
จับปลาให้กุมหัว | เปลี้องใบบัวอย่าให้หมอง | ||
ปลากินสิ้นทั้งหนอง | บัวมิให้ช้ำน้ำบ่เป็นตม | ||
ยั้งหยุดอยู่ลีลา | หยุดอยู่ท่าฟังลิ้นลม | ||
แล่นนักมักจักล้ม | สมความคิดจึงวางใจ | ||
คนดีมักค้าใกล้ | คนบ้าใบ้มักค้าไกล | ||
ป่วยทุนเสียกำไร | ทั้งต้นทุนก็อัปรีย์ | ||
ตีงูให้แก่กา | กากินแล้วก็บินหนี | ||
เป็นบาปแก่ผู้ดี | ทั่วทั้งนี้บ่เป็นคุณ | ||
ดอกไม้กลิ่นอาบอบ | ฟุ้งตลบอยู่เฉียวฉุน | ||
ผู้ใดได้ชมบุญ | ครั้นได้แล้วก็ดูดาย | ||
จารีตเสือก็พึ่งป่า | ลูกกำพร้าพึ่งตายาย | ||
ผู้ซื้อพึ่งผู้ขาย | คนเข็ญใจพึ่งขุนนาง | ||
รู้หลบก็เป็นปีก | ครั้นรู้หลีกก็เป็นหาง | ||
โจกเจกชิงนอนกลาง | ครั้นมิได้ก็ดูดาย | ||
รู้กินก็เป็นเนื้อ | มิรู้กินก็เสื่อมหาย | ||
ขุนนางใช่ตายาย | อย่าอวดอ้างทะนงศักดิ์ | ||
ช้างสารแลงูเห่า | ทั้งข้าเก่าแลเมียรัก | ||
อย่าได้ไว้ใจนัก | มักนอนหลับประลัยไป | ||
ไม้ลำหนึ่งยังต่างปล้อง | พี่แลน้องยังต่างใจ | ||
เมื่อระนั้นจะโทษใคร | อย่าได้รักอย่าควรชัง | ||
ครูบาสอนให้เร่งคิด | พึ่งพินิจทั้งหน้าหลัง | ||
ท่านสอนเอาหูฟัง | เกลือกพลาดพลั้งอย่าไยไพ | ||
อย่าไว้ใจเมื่อเพื่อนนั่ง | นั่งด้วยเพื่อนอย่าวางใจ | ||
เข้านอนอย่าหลับไหล | อย่าไว้ใจเมื่อการศึก | ||
เร่งว่าก็เร่งร้าย | ครั้นวายคำก็รำลึก | ||
หนีเสือมาปะศึก | ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน | ||
หนีไฟมาพึ่งน้ำ | น้ำก็ร้อนคือสุริย์แสง | ||
อยากข้าวมาพึ่งแกง | แกงก็เบื่อถึงประลัย | ||
จะพึ่งตาตาก็ตาย | จะพึ่งยายยายก็ไกล | ||
บายหน้าไปพึ่งใคร | พึ่งบ่ได้ดังใจตน | ||
จะพึ่งตอตอก็หัก | จะพึ่งหลักหลักก็โค่น | ||
ครั้นใครจะช่วยตน | ซัดคว้างอยู่กลางทะเล | ||
จะพึ่งเพื่อนเพื่อนก็หาย | จะพึ่งนายนายก็เห | ||
จะพึ่งเสาเสาก็เซ | เสี้ยนหนามยอกบ่หายรอย | ||
ทั้งผีเรือนก็เร่งร้าย | ทั้งผีน้ำก็เร่งพลอย | ||
ช่วยแล้วก็ราถอย | ครั้นถอยแล้วก็ผูกภัย | ||
จะพึ่งตอตอก็หัก | จะพึ่งหลักหลักก็ไกล | ||
จะพึ่งลมลมพาไป | ซัดคว้างอยู่กลางตระลิว | ||
สู้ให้จระเข้ขบ | สู้อดตายกระหายหิว | ||
ปลาซ่าแลปลาซิว | มิได้ตอดสู้ตายตัว | ||
มีนกจึงมีแร้ว | มีชู้แล้วจึงมีผัว | ||
มีสระจึงมีบัว | มีจระเข้จึงมีวัง | ||
เท็จเอาตัวไม่รอด | อย่าได้พลอดให้เขาฟัง | ||
ความจริงสิ่งสัจจัง | เป็นรสเลิศกว่าทั้งหลาย | ||
พูดผิดพาโทษให้ | แก่ตนไซร้ดุจใจหมาย | ||
ทั้งผลนั้นก็ทำลาย | ทั้งข้าวของก็เสียโสด | ||
เสียพร้ามาถอดมีด | ผิดจารีตระคนโหด | ||
เสียสองประการโสต | ให้ท่านติท่าเตียนตน | ||
เสียทองพันกระษาณ์ | อย่าเอาบาปเที่ยวสอนคน | ||
รู้แล้วทำทุรชน | มันย่อมร้ายเมื่อภายหลัง | ||
ทำนาอย่าเสียไร่ | ถ้าเลี้ยงไก่อย่าเสียรัง | ||
ท่านรักอย่าชวนชัง | รักตอบท่านให้เต็มใจ | ||
ท่านรักให้รักตอบ | แม้นท่านชอบอย่าไยไพ | ||
ท่านสอนเก็บใส่ใจ | เห็นผู้ใหญ่ให้ยำเกรง | ||
ให้ดีมีติดตัว | อย่าชอบชั่วเป็นนักเลง | ||
เพื่อนบ้านอย่าข่มเหง | อย่าทำตนเป็นทองแดง | ||
อย่าเห็นกำดีกว่ากอบ | อย่ายินชอบซื้อของแพง | ||
อย่าเห็นศักดิ์ดีกว่าแสง | เห็นหิ่งห้อยว่ารุ่งเรือง | ||
ฝนตกใต้หล้าฟ้า | ทั้งข้าวกล้าก็ตายเปลือง | ||
เมืองจะเสียเพราะไพร่เมือง | ส่งเสบียงให้แก่ศึก | ||
อยากรู้ให้เร่งตรึก | ศึกษาครูโดยถวิล | ||
มักหมั่นอย่าเสียดายหอก | จะใคร่รู้ให้เรียนศิลป์ | ||
ความรู้หากได้กิน | เสียชีวิตได้ถึงตาย | ||
มักกิจอย่าขี้คร้าน | จะใคร่มีอย่านอนสาย | ||
ค่ำเช้าแลเพรางาย | เร่งรำพึงถึงการงาน | ||
อย่าไว้ใจเมื่อเพื่อนนั่ง | นั่งด้วยเพื่อนอย่าอวดหาญ | ||
อย่าอวดรู้แก่คนพาล | อาจารย์ท่านจะติฉิน | ||
เจ็บช้ำด้วยน้ำใจ | แม้เจรจาบ่ได้ยิน | ||
ตกเบ็ดปลาบ่กิน | ทั้งสิงห์สัตว์ก็ดูดาย | ||
ทำให้แก่เขาเจ็บ | เจ็บเท่านี้หรือจะตาย | ||
บาปอันนั้นก็จะหาย | บาปใจชายยากบ่มี | ||
เสือจะพึ่งเพราะป่ารก | ไม้ประปรกเพราะเสือมี | ||
ไม้ไล่งอกงามดี | ป่าพึ่งเสือเสือพึ่งดง | ||
เสือเอ๋ยคิดดูบ้าง | อย่าอวดอ้างว่าเสือยง | ||
ไม้ไล่งอกเป็นพง | เสือจึงอยู่ได้อาศัย | ||
เสือว่าแก่พงกว้าง | อย่าอวดอ้างว่าพงใหญ่ | ||
หากเสือมาอยู่ใน | ป่าไม้ไล่จึงงามดี | ||
ตุมกาบ่มีลูก | กาบ่กรายเท่าธุลี | ||
ครั้นลูกตุมกามี | กาแลเห็นก็ดีใจ | ||
ตุมกามีลูกดก | กาแลนกมาอาศัย | ||
กินแล้วก็บินไป | ได้ลูกไม้กินเป็นแรง | ||
หนีไฟไปพึ่งน้ำ | น้ำก็ร้อนคือสุริย์แสง | ||
อยากข้าวมาพึ่งแกง | แกงก็จืดบ่จานเจือ | ||
ย่าตายมาพึ่งปู่ | สู้เอาเนื้อมาสู้เสือ | ||
หนีจืดมาพึ่งเกลือ | เกลือบ่ให้ตนอาศัย | ||
บ่ายหน้าไปพึ่งใคร | บ่พึ่งได้เท่าเกศี | ||
เมื่อยามของตนมี | เขาพึ่งได้ไม่มีเกรง | ||
เห็นผู้เฒ่าให้นบนอบ | ได้ความชอบแก่ตัวเอง | ||
คนร้ายหมู่นักเลง | อย่าได้คบให้ป่วยการ | ||
เช็ญใจว่าท่านบ๋พวก | คนหูหนวกท่านบ่ขาน | ||
เห็นว่าดีมีรำคาญ | ครั้งรู้น้อยท่านบ่แคลน | ||
เมื่อมีท่านพึ่งได้ | เราตกไร้ท่านบ่แทน | ||
ใจคนร้ายขี้หวงแหน | บ่ห่อนให้คนได้ดี | ||
สุภาษิตสั่งสอนสัตย์ | จบรรถคัณฐี | ||
ผูกไว้ในคัมภีร์ | จงจำไว้ไม่ผิดเลย ฯ | ||
เชิงอรรถ
ที่มา
ประชุมสุภาษิตพระร่วง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๒
(ขอขอบคุณ คุณโอม สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)