โคลงประดิษà¸à¹Œà¸žà¸£à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸‡
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 11:33, 13 สิงหาคม 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
บทประพันธ์
๏ พระองค์พงศ์เผ่าสร้อย | สรรเพชญ์ | ||
ภาคญาณสารแสวงเสร็จ | สิ่งสิ้น | ||
กล่าวกลอนสอนแสดง | ผดุงโลกย์ | ||
ไพเราะเสนาะสนิทสิ้น | เลิศล้นสกลไกร | ||
๏ เมื่อเยาว์เสาวภาคย์ส้อง | แสวงคุณ | ||
ครั้นวัยไพบูลย์ทูน | เทียบไว้ | ||
อย่าใฝ่ในทรัพย์สุน- | ทรท่าน | ||
อย่าราญการกิจให้ | ราษฎร์ร้อนระส่ำระสาย | ||
๏ ถ้อยถามความถี่ถ้วน | ระบอบระบิล | ||
เอาชอบประกอบการถวิล | หวังไว้ | ||
เสียผิดนิศผลทิน | ทุกเมื่อ | ||
อย่าคบประสบพาลให้ | โทษร้ายเรือนแสลง | ||
๏ อย่างอวดยวดยิ่งพ้อง | พงศ์พันธุ์ | ||
เข้าดงประสงค์แสวงสรรพ์ | เพื่อนพร้า | ||
ข้าศึกคึกคันถลัน | ถลนแล่น | ||
อย่าคะนึงทรอึงใจช้า | ชอบเลี้ยวลแลงหนี | ||
๏ ไปเรือนเพื่อนนั้นนั่ง | อย่านาน | ||
กิจตนรนแสวงการ | แต่เช้า | ||
อย่าชิดสถิตสถานปาน | เทียมท่าน | ||
อย่าพ้นสกลศักดิ์เข้า | เรื่องร้ายสลายคุณ | ||
๏ ที่ชิดสนิทเสน่ห์นั้น | อย่าแคลน | ||
แสวงใฝ่ไมตรีแสน | อย่าร้าง | ||
ผดุงผลกุศลแดน | ผดุงชีพ | ||
อย่าโรยโกยทรัพย์สร้าง | สืบเท่ากัลปา | ||
๏ อย่ายลคนพลอยพร้อง | พลอยแสวง | ||
เข็นเรือเผื่อสนนแสดง | แต่งตั้ง | ||
อย่าใหญ่ใฝ่แสลงแหนง | ระกำราษฎร์ | ||
คนข้าอุตส่าห์สะกดยั้ง | อย่าขรุ้นฟูนไฟ | ||
๏ คัลขุนปุนถ้อยแท้ | อย่าปอง | ||
ตนผิคิดคะนึงสนอง | เร่งรู้ | ||
อย่างจำนงจอง | โทษท่าน | ||
พืชหว่านผสานผสมกู้ | ก่อไว้แสวงผล | ||
๏ เลี้ยงคนผลเผื่อไว้ | ประสงค์แรง | ||
ผู้ใหญ่อย่าใฝ่แสวง | ขัดข้อน | ||
อยาให้ไพร่พลแซง | ชังชอบ | ||
เดินหนสถลยักย้อน | เปลี่ยวเปลืองอย่าไป | ||
๏ ชลเชี่ยวเหนี่ยวน้ำอย่า | ขวางเรือ | ||
เดินป่าระวังเพื่อเสือ | ซ่อนเร้น | ||
ระมัดจัดสรรพเหลือ | แท้สิ้น | ||
อย่าลาบล้วงจ้วงเหล้น | ทาษไท้ไฉนควร | ||
๏ อย่าประมาทอาจเอื้อม | ท่านผู้ดี | ||
ทรัพย์ตนสนับสนุนทวี | อย่าอ้าง | ||
พฤฒิสั่งฟังพจนมี | คุณเลิศ | ||
ว่าท่านไซร้เกลือกมล้าง | ยอกย้อนฤจะไหว | ||
๏ สถิตไหนให้เรียบรั้ว | เรียงขนัน | ||
อย่าวางจิตกิจอัน | เสน่ห์นี้ | ||
ไพรินทร์ผินผันถลัน | ทะลวงแล่น | ||
ปีกไปไกลลับลี้ | ลอดเลี้ยวเสลือกสลน | ||
๏ ได้สรวญควรแต่น้อย | นำสนอง | ||
ตั้งจิตนึกคำประคอง | คั่งไว้ | ||
รักษ์ตนประดนทรัพย์รอง | ควรคิด | ||
สิ่งของขำอย่าได้ | รับร้ายสลายคุณ | ||
๏ เห็นแจ้งแสลงปากป้อง | เมียงเมิน | ||
อย่ารับทรัพย์ทำสะเทิน | บิดบั้น | ||
ที่ทับสรับแสวงเชิญ | กุณฑ์ก่อ | ||
เดินหนสกลทิศนั้น | เพื่อนพ้องสนับสนุน | ||
๏ อย่าระอาฝ่าเฝื่อนฝั้น | ไฉนควร | ||
ครูสอนอ่อนโอนสรวน | อย่าขึ้ง | ||
ตนผิดกิจรู้ประมวล | ประมาณโทษ | ||
สู้เสียเยียทรัพย์ทึ้ง | ศักดิ์ไสร้ควรสงวน | ||
๏ ภักดิ์อย่าเกียดเกี้ยว | กลแสวง | ||
อย่าผิดมิศเสน่ห์แสดง | เคียดแค้น | ||
แม้นพลั้งหวังผจงแจ้ง | เตือนตอบ | ||
ผิชอบประกอบคุรแม้น | มาดน้อยพลอยทวี | ||
๏ อย่าปองของรักษ์พ้อง | พานขอ | ||
เงื่อนหายสดายสดุงยอ | ยากได้ | ||
ศัตรูสู่เสมอตอ | ตามยอก | ||
นอกสนิทประดิษฐ์ประโลมไล้ | จิตช้ำระกำทรวง | ||
๏ อาวุธยุทธแย้งอย่า | ไกลสกนธ์ | ||
เมรัยอย่าใฝ่มนท์ | เนืองเนื้อ | ||
คิดตายจะวายชลม | ทุกท่มุ | ||
อย่าเบื่อเฉลือทำเชื้อ | ชอบชี้นิจการ | ||
๏ มักมันสรรพยาร้าย | รังแสลง | ||
รู้ที่ขลาดอาจแสวง | ที่แกล้ว | ||
คนพาลอย่ารานแรง | ผดุงโทษ | ||
อย่าสนิทชิดเชื้อแคล้ว | คลาดให้ไกลสกล | ||
๏ กล่าวจริงสิ่งสัตย์รู้ | เรียงไข | ||
แต่งตอบประกอบกลใน | แต่น้อย | ||
อย่าคบประสบศักดิ์ไพ- | บูลย์เลิศ | ||
ช้างไล่ไคลคลาดคล้อย | เตลิดเลี้ยวลแลงหนี | ||
๏ สว่านกัดสะบัดสะบิ้งอย่า | ทำแทน | ||
อย่าทรอึงขนึงหวงแหน | ท่านไสร้ | ||
โอมอ่านสารสิทธิแสน | คุณเลิศ | ||
อย่าปลุกปิศาจอาจไว้ | น่านน้ำแนวคลอง | ||
๏ อัดถันพลันมอดม้วย | อย่าเรียน | ||
ไม่ไป่สถิตเสถียรเบียน | ส่วนสั้น | ||
เสมอจานฉานฉาดเนียร | ฤจะรอด | ||
สัมฤทธิ์บิดทะลุชั้น | เชื่อมใช้สนิทสนม | ||
๏ เมียมิ่งสิ่งร้ายอย่า | เชลยใจ | ||
ไฟนอกบอกอรรถไข | อย่าเข้า | ||
ไฟในอย่าแสวงไป | แนมนอก | ||
ภูวนัยไตรภพเกล้า | มุ่งม้วยอาสา | ||
๏ นายมุนถลุนแล่นแม้น | อาสา | ||
ตามแรงแห่งอาตมปรา | โมชนั้น | ||
ของแพงอย่าแสวงหา | ประมวลมาก | ||
คนโลภโอบทรัพย์กลั้น | กล่าวเกลี้ยงอย่ายิน | ||
๏ เพื่อนสนิทชิดเชื้อโอบ | เอาใจ | ||
อย่าเฝื่อเมลือนมลายใคร | เบียดบ้าย | ||
อย่ายลกลใกล้ไภ | ผันยาก | ||
อย่าแสวงแกว่งประทุษร้าย | โทษไท้ธิบดินทร์ | ||
๏ คนเขลาเผ่าโหดให้ | กรุณา | ||
อย่ายอครูอยู่พักตรา | ชอบชี้ | ||
ยอทาษอาจกิจมา | เสร็จก่อน | ||
ยอมิตรสนิทเสน่ห์นี้ | ลอบเลี้ยวลับหลัง | ||
๏ เมียยังฟังอย่าเยื้อน | สรรเสริญ | ||
เยียวผิดกิจการเสทิน | เพื่อนพ้อง | ||
อย่าชังทั้งครูเมิน | มิตรมิ่ง | ||
นักสิทธิ์ผิดพจน์พร้อง | อย่าขึ้งดาเดา | ||
๏ โหรเชี่ยวเยียวทักท้วง | ประการใด | ||
ถักพจน์บทเฉลยไข | ถี่ถ้วน | ||
แพทยาคุณาไนย | ประสิทธิ์เลิศ | ||
สรรเสริญเจริญคุณล้วน | เลี่ยงลิ้นสนำเสนอ | ||
๏ เมียเตือนเงื่อนถูกถ้อย | ควรแสวง | ||
เอาชอบระบอบกิจแคลง | เกียดกั้น | ||
ผู้เฒ่าเข้ารบแสดง | คุณโทษ | ||
เข้าออกนอกในนั้น | ชอบให้ระไวระวัง | ||
๏ หน้าหลังระวังระเรียดให้ | ไตรตรอง | ||
ผู้ชังหวังแสวงสนอง | โทษท้อง | ||
โกรธังรังแสลงประคอง | ควรผ่อน | ||
แม้ผิดปลิดไปล่แปล้ | ปลดร้ายขจายเสีย | ||
๏ แสนสาตรอาจอวดเอื้อม | อย่าพาน | ||
ไม้มิตรจิตมารหวาน | ต่อตั้ง | ||
ผลชอบประกอบกลผลาญ | ทุษโทษ | ||
ภาหลังหวังแสวงทั้ง | โชคชี้จะมีมา | ||
๏ วังเวียนเล่นแล้วอย่า | ยินสนุก | ||
คิดปลงสงสารทุกข์ | ค่ำเช้า | ||
อย่าหาญการกิจทุกข์ | ปดุงโทษ | ||
แสวงชอบประกอบประดนเข้า | ช่วยชี้ประคองคุณ | ||
๏ ได้กอบมอบมวลควร | แสวงกำ | ||
อย่าเกียจกลคนขำ | เสน่ห์เน้น | ||
ดูไก่ใส่แสวงนำ | ในลูก | ||
เขี่ยคุ้ยขจุยขจายเหล้น | ลุ่มล้อมกรูกิน | ||
๏ ความผิดมิตรโทร่ห์เที้ยร | อย่าทำ | ||
อย่ารับสัพของขำ | เกลียดใกล้ | ||
บังบทคดคำสนำ | เสนอโทษ | ||
ยามยากฝากทรัพย์ให้ | ตอบต้องสนองคุณ | ||
๏ ที่สนิทชิดเชื้อให้ | พึงใจ | ||
อย่าทระนงองค์ภูวนัย | เสน่ห์นั้น | ||
จงภักดีหนักเสมอไศล | เมรุมาศ | ||
เจ้าเคียดอย่าเกียดกั้น | กราบก้มประนมสนอง | ||
๏ อย่าคุดทุสโทษด้วย | วาจา | ||
อย่าถากไถนัยนา | เคียดค้อน | ||
หูหุนอย่าถลนมา | พาลเพื่อน | ||
สามสถานการนี้ร้อน | เรื่องร้ายสลายใน | ||
๏ อย่าเตียนเจียนจ้วงด่า | ครูบา | ||
รู้ว่าอย่าเสนออย่า | หย่อนไว้ | ||
ที่แหลมแรมพจนา | อย่าด่วน | ||
น้ำป่วนประมวลตมใต้ | คอยคุ้ยสุเมรุเอน | ||
๏ ลมหนักมักแพ้พฤกษา | สูงสลาย | ||
แม้นให้ใส่ศักดิหมาย อย่างนั้น | |||
แม้นทักหักบุษปปราย | ชูเชิด | ||
ให้ชอบระบอบระบับชั้น | โลกล้วนสรรเสริญ | ||
๏ ผ่ายในใจเกียดแกล้ง | เพียนผัน | ||
ภายนอกบอกเสนอัน | ย่องแย้ม | ||
สรรเสริญเมินใจหัน | เหียนอยู่ | ||
กลผิดประดิดประดนแต้ม | นอกไว้ในปลง | ||
๏ แม้นจิตคิดมุ่งแม้น | จรงจรึง | ||
อย่าใฝ่ในคนทรอึง | เพรียกพร้อง | ||
ความผิดกิจอย่าคะนึง | พึงเผื่อ | ||
อย่าผวนสวนตอบต้อง | โทษร้ายหลายสถาน | ||
๏ แสวงชอบประกอบเร่งรู้ | เจริญใจ | ||
อรรถบรรหารสารไข | ถี่ถ้อย | ||
พิเคราะห์เสนาะสนิทใน | ไตรเพท | ||
คิดแก้กรแสกรสายร้อย | เล่ห์ชั้นพรรณนา | ||
๏ อย่าฉินยินเรื่องร้าย | สกลไกร | ||
อย่ายกองค์ผจงไป | เชิดชี้ | ||
เห็นท่านอย่าภารใจ | ประมาณหมิ่น | ||
พึงไฝ่ไม้ตรีนี้ | ชอบเชื้อทุกสถาน | ||
๏ เร่งรู้ผู้นับเนื้อ | ในผล | ||
เคล็ดแคลงอย่าแสวงกล | เกี่ยงเกี้ยว | ||
ใครสนิทวิศสวาทติ(ตน) | เติมเสน่ห์ | ||
ใครนอบตอบอาตมเลี้ยว | นบน้อมประนอมแทน | ||
๏ ความแหนงแคลงไคล้เร่ง | เร็วระมัด | ||
งูไฟในกษัตริย์จัด | เรื่องร้อน | ||
อย่าหมิ่นยินเลกสลัด | สลายชีพ | ||
หิ่งห้อยอย่าชลอยช้อน | แข่งสู้แสงสุรีย์ | ||
๏ อย่าปองจองโทษท้าว | ทรงธรรม | ||
อย่าห้าวร้าวสลายพลัน | แตกต้อง | ||
แบกงาอย่าถลุนถลัน | ทะลวงแล่น | ||
ขุนนางอ้างอวดฟ้อง | เฟื่องฟุ้งสน่ำเสนอ | ||
๏ ปางชอบประกอบช่วยชี้ | แสวงผล | ||
ปางผิดกิจชังคน | ชั่วใช้ | ||
ผิจะบังหวังลับสกล | นัยน์เนตร | ||
เร่เร้นกระเส็นกระสายให้ | ลอดเลี้ยวเหรหาย | ||
๏ ผิกุมรุมนีดเน้น | ขันขึง | ||
ผิคั้นกระสันตึงรึง | รอบไว้ | ||
ผิหมายกระสายพึงตะบึง | ตะเบงรวด | ||
ผิจะแก้กแสกสายให้ | หลุดหลุ่ยขจุยขจาย | ||
๏ ผิวางทางลึกล้ำ | เหลือสกล | ||
เกลือกรู้สู่ในมนท์ | เรื่องร้อน | ||
วิชาปรากฏผล | เลยโลกย์ | ||
แหลมหลักศักดิ์คุณย้อน | อย่าให้ใครเสมอ | ||
๏ ติสวานการห้ามเห่า | อย่าแสวง | ||
ทาสเดิมบ่เริ่มผิดแฝง | ฝากไว้ | ||
ตีงูสู่กาแสดง | ผดุงโทษ | ||
อย่าเสน่ห์เล่ห์เหาให้ | ยิ่งพื้นผมสงวน | ||
๏ รักลมชมเฟื่องฟ้า | อย่าปอง | ||
กว่าฝนชลนูนนอง | น่านน้ำ | ||
คูหาอย่าเสน่ห์สนอง | เสมอถิ่น | ||
กว่าเรือนเงื่อนคุณล้ำ | เลิศล้วนสุขเสม | ||
๏ อย่ารักเดือนเลื่อนเมรุ | คีรี | ||
กว่าสุริยมูลรัศมี | เฟื่องฟ้า | ||
เสนอคุณประมูลมีตรี | ภพโลกย์ | ||
แสนเกษมเปรมจิตหล้า | เลิศล้วนเสวยรมย์ | ||
๏ แต่งไว้ให้โลกล้วน | สอนสัตว์ | ||
จงจำเริญเจริญสวัสดิ์ | ค่ำเช้า | ||
เป็นเฉลิมเจิมภูวมัธ- | ยมโลกย์ | ||
บรมครูชูภพเท้า | สุขชั้นอนันตคุณ | ||
๏ พระร่วงล่วงโลกย์ล้ำ | คำสอน | ||
สัตว์นรากรนร | กราบเกล้า | ||
จำบทพจน์รสกลอนพร | พจนเลิศ | ||
เสวยสวรรค์สรรพสุขเท้า | โมกขม้วนควรแสวง | ||
๏ มฤธุรรสพจนารถไว้ | เป็นเฉลิม | ||
ตรีภพจบสกลเจิม | แจ่มหล้า | ||
ธรรมศาสตร์อาทิคุณเผดิม | ผดุงโลกย์ | ||
ศุพผลดลแด่นฟ้า | เฟื่องฟุ้งคุ้งสวรรค์ | ||
เชิงอรรถ
ที่มา
ประชุมสุภาษิตพระร่วง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๒
(ขอขอบคุณ คุณโอม สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)