โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระà¸à¸¸à¹‚บสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
ข้อมูลเบื้องต้น
อธิบาย
โคลงสุภาษิตไทยที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้จารึกแผ่นศิลาติดไว้ใต้รูปภาพซึ่งโปรดฯ ให้พระอาจารย์อินโข่ง วัดราชบูรณะเขียนไว้ที่ผนังกรอบประตูและหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สุภาษิตที่เอามาเขียนภาพและแต่งโคลงเหล่านี้ เป็นสุภาษิตไทยมีมาแต่โบราณ มักชอบอ้างและกล่าวเป็นอุปมากันในพื้นเมือง รู้กันมากบ้างน้อยบ้างแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้รวมสุภาษิตไทยเหล่านี้มาเขียนรูปภาพไว้ที่ท้องฉนวนที่ทรงบาตรในบริเวณพระอภิเนาวนิเวศน์แห่ง ๑ ก่อน ครั้นทรงปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงโปรดฯ ให้อาจารย์อินโข่งเขียนที่ผนังกรอบประตูหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่โคลงนั้นจะโปรดฯ ให้ใครแต่งหาทราบไม่.
ดำรง
คำอุทิศ
ขออำนาจคุณพระรัตนตรัย และผลอันเกิดแต่เชฏฐาปจายนกรรม จงประสิทธิมนุญผลแด่ท่านทั้งหลายทุกเมื่อเทอญ
สมรรัตน
วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๒
.......... .......... ..........
โคลงสุภาษิตประจำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศสดาราม
๑ หน้าเนื้อใจเสือ | |||
หน้า เนตรสมชื่อแม้ | มฤดี | ||
เนื้อ นุ่มนวลดูดี | แต่หน้า | ||
ใจ พาลเก่งโกงมี | จิตต์ดั่ง | ||
เสือ ดุดันกลั่นกล้า | โกรธร้ายอย่าสมาน ฯ | ||
๒ หน้าไหว้หลังหลอก | |||
น่า กลัวหัวหยิบย้อน | ยอกกล | ||
ไหว้ นบสบเศียนซน | ซ่อนเค้า | ||
หลัง ลับกลับยกตน | โตป่อง ปึ่งแฮ | ||
หลอก เล่ห์ลิงหลอกเจ้า | เลิดล้ำหลายขบวน ฯ | ||
๓ น้ำกลอกใบบัว | |||
คนกลมดั่งน้ำกลอก | ใบบัว | ||
ชำนิชำนาญตัว | กลั่นกลิ้ง | ||
ใครเสวนะพัว | พันผูก | ||
มันจักเพโททิ้ง | โทษร้ายถึงเรา ฯ | ||
๔ มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก | |||
พบพาลพูดพล่ำลิ้น | ลมไหว | ||
เพ้อพจน์สบไถล | หลอกล้น | ||
มะกอกสามตะกร้าไป | ปาเปล่า | ||
ปลูกสักผลพ้น | เล่ห์ลิ้นลมพาล ฯ | ||
๕ กะลาครอบหัว | |||
เสือกเศียรสัญจรเข้า | เคียงคน | ||
หัวร่อริกพลิกตน | พูดจ้อ | ||
กะลาครอบหัวซน | เสอกแทรก กลางเฮย | ||
โหลเลื่อมแลบลิ้นล้อ | เลิดล้ำลิงถุง ฯ | ||
๖ ไม้หลักปักมูลควาย | |||
จำคนใดไพล่พล้ำ | พลาดหลาย | ||
ไม้หลักปักมูลควาย | เปรียบอ้าง | ||
ผู้ใหญ่พูดกลับกลาย | โอนอ่อน เอนเอ | ||
คนมักฉินชังบ้าง | เกลียดสิ้นทวยซน ฯ | ||
๗ แปดเลี่ยมแปดคม | |||
ชี้ช่อหมอถ้อยต่อ | แหลหลือ | ||
ลักฉกชาวบกเรือ | ซุ่มส้อง | ||
แปดคมแปดเหลี่ยมเถือ | เอาทุก ด้านเฮย | ||
ชนชนิดเช่นนี้ต้อง | เก็บเข้าคุกขัง ฯ | ||
๘ เหยียบเรือสองแคม | |||
เหยียบเรือสองกราบเค้า | คนคด | ||
จุนโจทก์จำเลยลด | ต่ำแต้ม | ||
บอกกลอุบายปด | ปองแต่ ทรัพย์เฮย | ||
สองฝ่ายหลงแยบแย้ม | อย่างนี้บาปเหลือ ฯ | ||
๙ เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน | |||
แสนชั่วยั่วแหย่เย้า | ยุคน | ||
สอนนี้เสี้ยมโน่นชน | แส่ให้ | ||
สองฝ่ายไม่ทรบขวน | ขวายทเลาะ กันแฮ | ||
เฉกเสี้ยมเขาควายให้ | ขวิดไส้พุงพัง ฯ | ||
๑๐ ไม้คดดัดได้ | |||
ไม้คดควรดัดได้ | โดยปอง | ||
เหล็กนากชินเงินทอง | ทุบได้ | ||
เดียรฉานชาติลำพอง | เพียรดัด ซื่อเฮย | ||
คนคดขืนดัดได้ | ซื่อสิ้นสุดเพียร ฯ | ||
เชิงอรรถ
ที่มา
ต้นฉบับ - หนังสือโคลงสุภาษิตประจำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ โปรดให้พิมพ์เป็นมิตรพลีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๒
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร