เสภาเรื่à¸à¸‡à¸žà¸£à¸°à¸£à¸²à¸Šà¸žà¸‡à¸¨à¸²à¸§à¸”าร
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตอนที่ ๑ เรื่องตีเมืองขอม
๏ กราบบังคมสมเด็จบดินทร์สูร | |||
พระยศอย่างปางนารายณ์วายุกูล | มาเพิ่มภูลภิญโญในโลกา | ||
ทุกประเทศเขตรขอบมานอบน้อม | สพรั่งพร้อมเปนศุขทุกภาษา | ||
ขอเดชะพระคุณกรุณา | ด้วยเสภาถวายนิยายความ | ||
๏ จะกล่าวพงศาวดารกาลแต่หลัง | เมื่อแรกตั้งอยุธยาภาษาสยาม | ||
ท้าวอู่ทองท่านอุส่าห์พยายาม | ชีพ่อพราหมร์ปโรหิตคิดพร้อมกัน | ||
มีจดหมายลายลักษณ์ศักราช | เจ็ดร้อยสิบสองคาดเปนข้อขัน | ||
ปีขาลโทศกตกสำคัญ | เดือนห้าวันศุกร์ขึ้นหกค่ำควร | ||
เพลาสามนาฬิกากับเก้าบาท | ตั้งพิธีไสยสาตรพระอิศวร | ||
ได้สังขทักษิณาวัฏมงคลควร | ใต้ต้นหมันตามกระบวนแต่บุราณ | ||
เปนมหามงคลเลิศประเสริฐศักดิ์ | สร้างปราสาทสำนักไพฑูรย์สถาน | ||
สำเร็จแล้วจึงให้สร้างปรางปราการ | ชื่อไพชยนต์ทิพพิมานอลงการ์ | ||
แล้วสร้างพระที่นั่งใหญ่ไอสวรรย์ | สามปราสาทเสร็จพลันด้วยหรรษา | ||
ท้าวอู่ทองครองเสวยสวรรยา | พระชัณษาสามสิบเจ็ดเสร็จสมปอง | ||
ชีพ่อพราหมณ์ถวายนามตามที่ | พระรามาธิบดีไม่มีสอง | ||
นามบุรีศรีอยุธยาครอง | ให้ถูกต้องตามนามพระรามา ฯ | ||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | จุลจักรจอมทศทิศา | ||
บำรุงเมืองเรืองฤทธิ์อิศรา | ฝูงประชาชมชื่นทุกคืนวัน | ||
มีเมืองขึ้นสิบหกพระบุรี | คือเมืองตะนาวศรี นครสวรรค์ | ||
เมืองชวา มละกา พิจิตรนั้น | เมืองสวรรคโลก ศุโขทัย | ||
เมาะลำเลิงบุรี ศรีธรรมราช | ทั้งสงขลามาภิวาทไม่ขาดได้ | ||
พิษณุโลก กำแพงเพ็ชร เมืองพิชัย | ทวายใหญ่ เมาะตมะ จันทบูร | ||
แสนอุดมสมพงษ์วงศ์กระษัตริย์ | เจ้าจังหวัดราเชนทร์นเรนทร์สูร | ||
โภชนาสาลีบริบูรณ์ | ยิ่งเพิ่มพูนผาศุกทุกนิรันดร์ | ||
ทรงรำพึงถึงองค์พระเชษฐา | ร่วมครรภาอัคเรศนรังสรรค์ | ||
จำจะให้ไปบำรุงกรุงสุพรรณ | ด้วยท่านนั้นสิร่วมสุริวงศ์ | ||
อนึ่งราชกุมารชาญศักดา | องค์พระราเมศวรควรประสงค์ | ||
จำเริญไวยใหญ่ยิ่งประยูรวงศ์ | ควรดำรงเมืองลพบุรี | ||
ดำริห์พลางทางออกพระโรงรัตน์ | ตั้งกษัตริย์ขนานนามต้องตามที่ | ||
เฉลิมเดชเชษฐาธิบดี | ให้เปนที่พระบรมราชา ฯ | ||
๏ ครานั้น พระเจ้ากรุงสุพรรณ | พระราเมศวรนั้นก็หรรษา | ||
ต่างองค์ทรงคำนับรับบัญชา | แล้วลีลาไปสู่พระบูรี ฯ | ||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงเดช | มิ่งมงกุฎอยุธเยศจำเริญศรี | ||
สถิตย์แท่นแสนสำราญดาลฤดี | ด้วยบุรีขอมคดประทษร้าย | ||
จำจะให้ราชบุตรสุดสงสาร | ไปรอนราญไล่ริบให้ฉิบหาย | ||
เสด็จออกพระโรงคัลพรรณราย | แล้วเผยผายสิงหนาทประภาษมา | ||
เฮ้ย เสนีย์รีบร้อนจรโดยด่วน | บอกพระราเมศวรมาหน่อยหวา | ||
ตำรวจรับพระโองการคลานออกมา | ลงนาวารีบไปดังใจจง | ||
วันหนึ่งก็ถึงลพบุรี | อัญชลีทูลความตามประสงค์ | ||
ว่าพระทรงฤทธิ์บิตุรงค์ | เชิญเสด็จเสร็จลงไปกรุงไกร ฯ | ||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | ฟังอำมาตย์ทูลแจ้งแถลงไข | ||
ให้จัดเรือเร็วพลันในทันใด | รีบครรไลคืนหนึ่งถึงบุรี | ||
ประทับจอดทอดท่าน่าตำหนัก | ขึ้นเฝ้าองค์หริรักษรังษี | ||
น้อมประนมบังคมคัลอัญชลี | สถิตย์ที่พระโรงรัตน์ชัชวาลย์ ฯ | ||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรแลมาตรงน่าฉาน | ||
เห็นลูกยามาประนตบทมาลย์ | มีโองการทักทายภิปรายเปรย | ||
นี่แน่ เจ้าเยาวยอดปิโยรส | อ้ายขอมคดดูถูกนะลูกเอ๋ย | ||
พ่อสุดแสนแค้นใจไม่เสบย | แม้นละเลยจะกระเจิงละเลิงใจ | ||
เจ้าแก้วตายาจิตรของปิตุเรศ | ไปเหยียบเขตรดับเข็ญให้เย็นใส | ||
จักประหารผลาญชีวันให้บรรไลย | จะได้ฤๅฤๅมิได้ให้ว่ามา ฯ | ||
๏ ครานั้น พระโอรสยศยง | ศิโรราบกราบลงแล้วทูลว่า | ||
ซึ่งข้อขอมคบคิดจิตรพาลา | จะอาสามิให้เคืองเบื้องบทมาลย์ ฯ | ||
๏ ครานั้น พระภูเบนทร์นิเรนทร์สูร | ได้ฟังทูลตบพระหัตถ์อยู่ฉัดฉาน | ||
จึงเอื้อนอรรถตรัสมาไม่ช้านาน | จงจัดการรีบร้อนอย่านอนใจ | ||
พลของเราห้าวหาญชำนาญยุทธ | เจียนจะขุดกัมพุชาก็ว่าได้ | ||
อย่าถอยหลังรั้งรอไปพ่อไป | แม้นมีไชยพ่อจะภูลรางวัลครัน ฯ | ||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | เคารพรับอภิวาทขมีขมัน | ||
มาเกณฑ์พวกโยธาได้ห้าพัน | ล้วนฉกรรจ์แข็งข้อจะต่อตี | ||
ทั้งอาจองคงทนด้วยมนต์เวท | แสนวิเศษฤทธิไกรชาญไชยศรี | ||
ถืออาวุธครบมือล้วนฦๅดี | โพกแพรสีแสดเสียดประเจียดรัด | ||
บ้างก็ผูกลูกสะกดตะกรุดคาด | ล้วนองอาจโล่ห์เขนก็เจนจัด | ||
มาพร้อมพรั่งนั่งเบียดเยียดยัด | สารวัดตรวจตราพลากร ฯ | ||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงยศ | เอกโอรสชาญไชยดังไกรสร | ||
เสด็จเข้าที่สรงอลงกรณ์ | แล้วสอดซ้อนเครื่องทรงณรงค์ครบ | ||
ครั้นสำเร็จเสร็จสรรพจับพระแสง | โดยตำแหน่งสงครามตามขนบ | ||
มาทูลลาบิตุรงค์ทรงพิภพ | ประนมนบคอยสดับรับโองการ ฯ | ||
๏ ครานั้น พระองค์ดำรงราชย์ | สถิตย์อาศน์รจนามุกดาหาร | ||
เห็นพระปิยะบุตรสุดสำราญ | จึงมีรศพจมานประภาษมา | ||
เจ้าดวงใจพ่อจะไปกัมพุชประเทศ | ระวังเหตุกลศึกฤกหนักหนา | ||
จะหยุดยั้งจงระวังพระกายา | ไม่ได้ท่าแล้วอย่าหาญเข้าราญรอน | ||
ชื่อว่าศึกแล้วอย่านึกประมาทหมิ่น | คอยประคิ่นจดจำเอาคำสอน | ||
อย่าให้อายขายหน้าประชากร | จงถาวรสวัสดีอย่ามีไภย | ||
รีบปรามปราบราบเตียนที่เสี้ยนหนาม | ดังองค์รามดับเข็ญให้เย็นใส | ||
จงมีโชคไชยะชนะไภย | ให้สมในมโนรถหมดทุกอัน | ||
ยื่นพระแสงสาตราอาญาสิทธิ์ | ใครคดคิดเข่นฆ่าให้อาสัญ | ||
จงอุดมสมศุขทุกนิรันดร์ | ซึ่งไภยันตร์สิ่งใดอย่าใกล้กราย ฯ | ||
๏ ครานั้น พระโอรสยศยง | กราบลงแทบบาทพระฤาสาย | ||
เคารพรับพรพลางแล้วย่างกราย | ผันผายมาทรงคชาธาร | ||
ได้มหาพิชัยฤกษ์ให้เลิกทัพ | โห่รับแซ่เสียงสำเนียงขาน | ||
ลั่นฆ้องหึ่งอึงออกนอกทวาร | เสียงสะท้านลั่นเลื่อนสเทื้อนสทึก | ||
ทหารธงโบกธงตรงไปน่า | เสียงช้างม้าเริงร้องอยู่กองกึก | ||
ทวยหาญขานโห่โอฬารฦก | อึกกะทึกข้ามทุ่งพ้นกรุงไกร | ||
ประทับร้อนนอนค้างกลางอารัญ | หลายวันตั้งพลับพลาหยุดอาไศรย | ||
เลี้ยวลัดตัดทุ่งเดินมุ่งไป | ถึงเวียงไชยกัมพูชาพอราตรี | ||
มิทันตั้งค่ายคูอยู่สำนัก | สั่งให้พักพลทหารชายไชยศรี | ||
ขึ้นประทับพลับพลาพนาลี | ให้โยธีล้อมรอบเปนขอบคัน ฯ | ||
๏ ครานั้น พระองค์ทรงนัครา | กัมพูชาธิราชรังสรรค์ | ||
รู้เรื่องราวข่าวศึกฮึกฉกรรจ์ | มาบุกบันตั้งประชิดติดภารา | ||
แสนพิโรธโกรธกริ้วกระทืบบาท | ดำรัสเรียกอุปราชโอรสา | ||
กับข้าเฝ้าเจ้าพระยาและพระยา | มาปฤกษาสงครามตามทำนอง | ||
จะผ่อนผันฉันใดไฉนเล่า | ภาราเราเกิดวุ่นจะขุ่นหมอง | ||
จะคิดอ่านการศึกเร่งตรึกตรอง | ใครเห็นช่องฉันใดให้ว่ามา ฯ | ||
๏ ครานั้น เจ้าพระยาอุปราช | เคารพรับอภิวาทแล้วทูลว่า | ||
ซึ่งทัพไทยเดินบกยกกันมา | ขออาสามิให้เคืองเบื้องบทมาลย์ | ||
จะหักโหมโจมจับสัปรยุทธ | ให้ม้วยมุดยับแยกถึงแตกฉาน | ||
ซึ่งทัพมาล้าเมื่อยเดินเหนื่อยนาน | ถึงสถานมิทันยั้งตั้งกระบวน | ||
จะหักหาญรานทำค่ำวันนี้ | เห็นจะมีไชยาสักห้าส่วน | ||
ไม่มีค่ายถ่ายเทคงเรรวน | ใคร่ครวญเห็นจะได้ดังใจปอง ฯ | ||
๏ ครานั้น พระเจ้ากรุงกัมพูชา | ได้ฟังว่าเปรมปริ่มค่อยยิ้มย่อง | ||
จึงเอื้อนอรรถตรัสความตามทำนอง | ดีแล้วลูกถูกต้องคลองฤไทย | ||
แล้วผินภักตร์ถามบรรดาพวกข้าเฝ้า | ซึ่งลูกเราว่าเห็นเป็นไฉน | ||
จะได้ช่องคล่องจิตรเหมือนคิดไว้ | ฤๅเห็นเป็นอย่างไรให้ว่ามา ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าข้าเฝ้าเหล่าพวกขอม | ต่างเห็นพร้อมเพรียงกันยิ่งหรรษา | ||
จึงกราบทูลตามมูลกิจจา | ซึ่งตรัสมาต้องที่เห็นดีนัก | ||
ด้วยทัพไทยไพร่นายยังไรเรี่ย | ทำลายเสียจู่โจมรีบโหมหัก | ||
อย่าให้ตั้งค่ายมั่นขยันนัก | แม้นหน่วงหนักนิ่งไว้ไม่สู้ดี ฯ | ||
๏ ครานั้น พระเจ้ากรุงกัมพุชประเทศ | สดับเหตุปรีดี์เปรมเกษมศรี | ||
ทรงสำรวลสรวญร่าแล้วพาที | เหวยเสนีตรวจตราพลากร | ||
แล้วตรัสสั่งอุปราชรชโอรส | จงคุมทศทวยหาญชาญสมร | ||
ไปโจมทัพจับไทยไพรีรอน | จงถาวรกูลสวัสดิ์กำจัดไภย ฯ | ||
๏ ครานั้น พระอุปราชราชบุตร์ | เกษมสุดยินดีจะมีไหน | ||
บังคมลามาเตรียมพลไกร | จำนวนไพร่โยธาหมื่นห้าพัน | ||
ถึงยามสองกองทัพไม่สับสน | ดำเนินพลออกทวารปราการกั้น | ||
ห้ามมิให้เฮฮาพูดจากัน | ถึงกองทัพฉับพลันในทันที | ||
ให้ยิงปืนครื้นครึกเสียงกึกก้อง | โห่ร้องเลื่อนลั่นสนั่นมี่ | ||
ดาบดั้งพรั่งพร้อมล้อมวารี | ต้อนตีทัพมาไม่รารอ ฯ | ||
๏ ครานั้น แม่กองสองทหาร | อลหม่านตกใจเอ๊ะใครหนอ | ||
ฉวยดาบโดดโลดไล่ไม่ย่อท้อ | ร้องรับพ่อพวกเราเอาให้ตาย | ||
หมู่ทหารราญรัญรับสัปรยุทธ | ปรายอาวุธหอกดาบกำซายสาย | ||
พวกขอมแขงแทงกระทั่งพุงทลาย | ไทยตาแตกตื่นเสียงครื้นครึก | ||
เขมรโดดโลดไล่พวกไทยล่า | มัวหลับตาเสียกระบวนเมื่อจวนดึก | ||
ขอมกระทำซ้ำเติมโห่เหิมฮึก | อึกกะทึกรบรับจนทัพไชย ฯ | ||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | ทรงไสยาศน์ในพลับพลาที่อาไศรย | ||
เสียงครั่นครื้นตื่นพลันในทันใด | ตกพระไทยผลันผลุนหมุนออกมา | ||
เห็นพลเมืองเนืองหนุนขนาบไร่ | กองทัพไทยย่อหย่อนอ่อนหนักหนา | ||
แสนพิโรธโดดกลับเข้าพลับพลา | ทรงสาตราวิ่งวางออกกลางทัพ | ||
ขับพหลพลไกรไล่ตระหลบ | ใครไม่รบหลกเลี่ยงจะเสียงสับ | ||
ทหารกลัวตัวตายเข้ารายรับ | ทั้งสองทัพแขงขันประจัญบาน | ||
ต่างกำแหงแรงเริงในเชิงยุทธ | ฤทธิรุทฟันฟาดกันฉาดฉาน | ||
พวกขอมอ่อนหย่อนยืนไม่ทนทาน | ไทยทหารฮึกโห่เปนโกลา ฯ | ||
๏ ครานั้น มหาอุปราช | กริ้วตวาดพลนิกายทั้งซ้ายขวา | ||
ต้อนกระตุ้นหนุนซ้ำกระหน่ำมา | พวกโยธาร้อนตัวกลัวความตาย | ||
ฟันแทงแย้งยุทธอาวุธสั้น | แขงขันต่อตีไม่หนีหาย | ||
ทั้งสองข้างต่างระทมบ้างล้มตาย | ไพร่นายกลิ้งกลาดอนาถใจ ฯ | ||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | องอาจมิได้พรั่นประหวั่นไหว | ||
ทรงม้าร่ารับด้วยฉับไว | ต้อนไพรพลทหารเข้าราญรบ | ||
ทั้งสองข้างต่างแขงกำแหงฮึก | อึกกะทึกกรูเกรียวเลี้ยวตระหลบ | ||
ข้างทัพไทยไพร่น้อยต้องถอยทบ | พวกขอมรบบุกบันประจัญบาน | ||
จนเพลาฟ้าขาวเช้าตรู่ตรู่ | ยังเกรียวกรูฮึกโห่ด้วยโมหานธ์ | ||
ไพร่ยิ่งตายนายต้อนเข้ารอนราญ | อลหม่านจนสว่างขึ้นรางรอง ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าพระราเมศวรราช | องอจมิได้หลบสยบสยอง | ||
แต่ห็นพลน้อยกว่าท่าเปนรอง | จำจะต้องผ่อนพักไว้สักที | ||
ดำริห์พลางทางให้โบกธงทัพ | รอรับรบไปแต่ไม่หนี | ||
เขมรโห่โกลาตามราวี | พวกไทยตีถอยทนร่นมาพราง ฯ | ||
๏ ครานั้น อุปราชราชบุตร | เห็นสิ้นสุดแดนเมืองเครื่องขัดขวาง | ||
จะติดตามข้ามเขตรประเทศทาง | ก็เหินห่างเวียงชัยไม่ชอบกล | ||
ไม่มีกองลำเลียงเลี้ยงทหาร | ทางกันดารสารพัดจะขัดสน | ||
ก็เลิกทัพกลับจรไม่ร้อนรน | ประมาทตนมิได้คิดจะติดตาม ฯ | ||
ตอนที่ ๒ เรื่องศึกหงสาวดี
<poem>
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ มหาจักรพรรดิราชานาถนาถ
เฉลิมวงศ์มงกุฎอยุธยา บำรุงราษฎร์สาสนาให้ถาวร พระปกเกล้าชาวบุรีเปนที่ชื่น สำราษรื่นร่มโพธิ์สโมสร มีคชาพาหนะนรินทร ห้ากุญชรเผือกผู้คู่บารมี กับเผือกพังทั้งสองล้วนผ่องแผ้ว ชาติช้างแก้วเกิดสำหรับกับกรุงศรี เปนเจ็ดช้างต่างนามล้วนงามดี อยู่โรงที่ริมปราสาทในราชวัง ตั้งพานทองรองหญ้าผลาผล ผ้ารดกัมพลนั้นปกหลัง พเนกฟูกผูกม่านเพดานบัง หมอควานทั้งพราหมณ์กล่อมอยู่พร้อมเพรียง บ่ายสามโมงลงน้ำนำกลองชนะ ปิ๋งเปิงปะเปิงครื่มกระหึ่มเสียง เครื่องสูงสำหรับช้างสองข้างเคียง พร้อมเพรียงเพราะพระบารมี อุดมทั้งโภไคยไอสูรย์ เพิ่มภูลภิญโญดังโกสีย์ ทั้งเหนือใต้ไพร่ฟ้าประชาชี ล้วนมั่งคั่งมั่งมีต่างปรีดา อาณาจักรนัคเรศประเทศราช พึ่งพระบาทบุญฤทธิ์ทุกทิศา ทุกถิ่นฐานบ้านเมืองเลื่องฦๅชา พระเจ้าช้างเผือกมหาจักรพรรดิ ฝ่ายเสนาข้าเฝ้าเหล่าทหาร ต่างเริงร่านการศึกพร้อมฝึกหัด ยิงปืนทั้งช้างม้าฝึกสารพัด สนามน่าจักรวรรดิหัดทุกวัน ฯ
๏ จะกลับกล่าวถึงพระเจ้าเมืองหงษา เปนปิ่นรามัญประเทศทุกเขตรขัณฑ์
พม่าทวายฝ่ายลาวเมื่อคราวนั้น อภิวันท์หงษาพึ่งบารมี เธอทราบเรื่องเมืองไทยที่ใหญ่กว้าง มีเจ็ดช้างเผือกอยู่บุรีศรี คิดจะใคร่ได้มาไว้ธานี ให้มนตรีคิดอ่านแต่งสารตรา ฯ
๏ ครั้นเสร็จสรรพพับผนิดปิดตราแล้ว ใส่กล่องแก้วมรกฎตามยศถา
ให้สมิงโยคราชมาตยา คุมไพร่ห้าสิบตรงเข้าดงตาล ยี่สิบวันดั้นเดินตามแผนที่ ถึงเจดีย์สามองค์ลงทางบ้านด่าน พบขุนพลพามาในป่าลาน เข้าแจ้งเรื่องเมืองกาญจนบุรี ฯ
๏ ฝ่ายผู้รั้งปลัดยกรบัตรแจ้ง ให้ขุนแพ่งรีบพามากรุงศรี
นำเข้าหาเจ้าพระยาจักรี พร้อมอยู่ที่ศาลาว่าราชการ ให้มอญล่ามถามซักตระหนักแน่ อ่านเขียนเปลี่ยนแปลพระราชสาร เปนคำไทยได้ระเบียบแล้วเทียบทาน พนักงานนำเข้าคอยเฝ้าพลัน ฯ
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช ปิ่นปักนัคเรศรังสรรค์
สถิตย์แท่นแม้นมหาเวชายันต์ เสมอชั้นบัณฑุกัมพล์อัมรินทร์ สาวสุรางค์นางบำเรอเสนอบาท บำรุงราชรู้เชิงบรรเทิงถวิล บ้างร้องรับขับขานประสานพิณ บำเรอปิ่นปัถพีให้ปรีดา ครั้นสายแสงสุริกาญจน์พระผ่านเกล้า เสด็จเข้าที่สรงทรงภูษา ประดับเครื่องเรืององค์อลงการ์ ออกข้างน่าพนักงานไขม่านทอง เสด็จเหนือพระที่นั่งบัลลังก์อาศน์ พร้อมมหาดเล็กฟังรับสั่งสนอง ประโคมดังสังข์แตรเสียงแซ่ซ้อง มโหรทึกกึกก้องท้องพระโรง ฝ่ายข้าเฝ้าเหล่าขุนนางต่างตำแหน่ง ก็ตกแต่งกายาล้วนอ่าโถง นุ่งสมปักชักกลีบจับจีบโจง เข้าพระโรงบังคมก้มกราบกราน ฯ
๏ เจ้าพระยาจักรีศรีสมุหะ ขอเดชะทูลความตามราชสาร
เบิกทูตรเข้าเฝ้าประนตบทมาลย์ อาลักษณ์พนักงานอ่านสารตรา ฯ
๏ ในลักษณพระราชสารสวัสดิ์ จอมกระษัตริย์ซึ่งดำรงเมืองหงษา
ทรงพระยศทศธรรม์กรุณา ให้เย็นใจไพร่ฟ้าประชาชี มีเมืองน้อยร้อยเอ็ดเปนเขตรขอบ มานบนอบน้อมประนตบทศรี กับกรุงเพทวาราวดี เปนทางราชไมตรีได้มีมา ทราบว่าองค์ทรงยศมีคชเรศ ล้วนเผือกผู้คู่พระเดชพระเชษฐา เสมอบุญจุลจักรทรงศักดา จนฦๅชาปรากฎบทมาลย์ เมืองหงษาวดีที่ใหญ่กว้าง ไม่มีช้างเผือกผู้คู่ถิ่นฐาน ขอพระองค์ทรงมหาปรีชาชาญ โปรดประทานให้น้องสักสองช้าง จะฦๅนามงามภักตร์สูงศักดิ์แสง สมประเทศเขตรแขวงที่กว้างขวาง ให้ร่วมแดนแผ่นดินร่วมถิ่นทาง ขอพระองค์จงสร้างทางไมตรี แม้นทรงศักดิ์รักข้างช้างเผือกผู้ ไม่ช่วยชูภักตร์น้องจะหมองศรี กรุงอยุธยากับหงษาวดี จะขาดราชไมตรีซึ่งมีมา ฯ
๏ พอจบสารกรานกราบพระทราบเรื่อง ให้ขุ่นเคืองในพระไทยแต่ไม่ว่า
ให้จ่ายเสบียงเลี้ยงดูพวกทูตา แล้วตรองตรึกปฤกษาเสนาใน ซึ่งหงษามาขอช้างเผือกผู้ จงคิดดูใครจะเห็นเปนไฉน จะแขงอ่อนผ่อนผันทำฉันใด เร่งตรึกไตรใคร่ครวญให้ควรการ ฯ
๏ ฝ่ายเสนาข้ารองลอองบาท อยู่พร้อมพรั่งทั้งมหาดไทยทหาร
ต่งปฤกษาว่าแต่ก่อนเคยรอนราญ กับผู้ผ่านหงษาเจ้ารามัญ จับลูกเธอทั้งสองพี่น้องได้ ก็คุมไว้ไม่ฆ่าให้อาสัญ เมื่อโปรดให้ไปขอพระหน่อนั้น เจ้ารามัญคืนให้เปนไมตรี เดี๋ยวนี้เล่าเขาขอคชสาร ควรประทานหงษาเปนราษี แม้นไม่ให้เห็นจะมารบราวี ในธานีก็คงเกิดสงคราม ฯ
๏ ฝ่ายพระราเมศวรพระยาจักรี พระสุนทรอยู่ที่เฝ้าทั้งสาม
ต่างปฤกษาว่จะให้เห็นไม่งาม จะลวนลามล่วงประมาทบาทยุคล จึงทูลว่าข้าพเจ้าทั้งสามนี้ เห็นไม่สมควรที่ให้ช้างต้น ที่ไมตรีมีแต่ก่อนได้ผ่อนปรน ให้ช้างดีศรีมงคลทวีปไป ถึงสองช้างข้างมอญพม่านั้น จะขี่ขับสับฟันไม่หวั่นไหว จึงคืนให้ไว้กับเราก็เอาไว้ เราได้ให้ได้มีไมตรีกัน ช้างเผือกผู้คู่บุญทูลกระหม่อม มิควรยอมให้ไปจากไอสวรรย์ เหมือกลัวดีฝีมือพวกรามัญ จะเสียชั้นเชิงมอญเพราะอ่อนตาม แม้นหงษามาตีบุรีเรา ข้าพเจ้าพร้อมพรั่งกันทั้งสาม ขออาสาพระองค์ออกสงคราม มิให้ลามล่วงมาถึงธานี ฯ
๏ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินปิ่นพิภพ หมายจะรบรับศึกไม่นึกหนี
จึงตรัสสั่งทั้งสามว่าตามที ให้เสนีที่ชำนาญแต่สารตรา เปนความตอบมอบสมิงโยคราช บังคมลาฝ่าพระบาทนาถนาถา กับไพร่ห้าสิบถ้วนด่วนเดินมา ถึงหงษาเข้าฝ้าเจ้าธานี กราบทูลความตามราชสารตอบ แล้วนอบน้อมประนตบทศรี ฝ่ายเสนารามัญอัญชลี แล้วก็คลี่ราชสารออกอ่านพลัน ฯ ... 11
</poem>
เชิงอรรถ
อ้างอิง
หนังสือเรื่อง สามวัง โดย ประยุทธ สิทธิพันธ์ ไม่ระบุปีทีพิมพ์