สมบัติà¸à¸¡à¸£à¸´à¸™à¸—ร์คำà¸à¸¥à¸à¸™
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 15:04, 25 สิงหาคม 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
บทประพันธ์
๏ ปางองค์อัมเรศร์อดิศร | |||
ผ่านสมบัติในสุทัสนนคร | สถาวรไปด้วยทิพศวรรยา | ||
เอาสูงพื้นหมื่นแสนพระเมรุมาศ | เป็นอาสน์ทองรองดาวดึงสา | ||
กว้างยาวหมื่นโยชน์คณนา | ประดับปราการแก้วแกมกัน | ||
สี่ทิศมีมหาทวาเรศ | ระหว่างเขตหมื่นโยชน์ระยะคั่น | ||
ประตูรายหมายยอดสำคัญพัน | มีสระสวนทุกหลั่นทวาไรฯ | ||
๏ เจ็ดชั้นวิชยันตปราสาท | สี่มุขมาศดาดแก้วจำรัสไข | ||
สูงพันโยชน์งามทีที่ใกล้ไกล | มีธงชัยเฉลิมยอดพิมานทอง | ||
ดังเบื้องพระกรพระบรมพรหเมศร์ | กวักประเวศเทวัญบัญชาสนอง | ||
ระยับคั่นแก้วกั้นกระหนกกรอง | ประลองแสงล้ำแสงพระสุริยา | ||
ที่เชิงปรางค์ในระหว่างจังหวัดนั้น | รูปเทวัญถือทิพบุปผา | ||
บ้างทรงปัญจาวุธบนอาชา | เอามุกดาเป็นสร้อยวลัยกร | ||
งามคณานางชูสุหร่ายสรง | รูปอนงค์แก้วประพาฬประภัสสร | ||
สลับไพฑูรย์องค์วิชาธร | ทรงอาภรณ์ล้วนสีมณีนิล | ||
หนึ่งแถวไม้กำมพฤกษ์ที่นึกทิพ | จงนับแสนแทนสิบก็เกินถวิล | ||
มีทรายทองรองรับกับพื้นดิน | ประพรมสินธุ์เสาวรสจรุงใจ | ||
กำแพงแก้วล้วนแก้วทั้งเจ็ดชั้น | ตาลสุวรรณรุ่นรื่นเรียงไสว | ||
เมื่อลมพัดก็สะบัดสำเนียงใบ | เฉลิมโสตหฤทัยดังดนตรีฯ | ||
๏ หนึ่งโรงเทวสภาอันเนืองนิจ | ควรพิศพื้นแก้วทั้งเจ็ดสี | ||
สูงห้าร้อยโยชน์สุดบราลี | ท่วงทีเทิ่งท้องทิฆัมพร | ||
ฉลุบันก้านเกี้ยวเลี้ยวลด | ช้อยชดเศียรสีหไกรสร | ||
ช่อฟ้าชวนฟ้าให้ชมงอน | แก้วทอนท่อนซ้อนลำยองเรียง | ||
บุษปขดารด้านฝาผนังเพชร | มุมเม็ดเก็จกั้นเชิงเฉลียง | ||
ชำไขแข่งสีวิเชียรเคียง | ยลเยี่ยงหยาดสายสุธานอง | ||
จระนำเจียระไนไพฑูรย์แท่ง | ดวงแดงสุริยาว่ายังหมอง | ||
บังอวจพิงอิงพาดพนักรอง | เขนยทองขนัดแท่งมณีนิลฯ | ||
๏ ชานชาลาหน้าหลังพระลานมาศ | ศิลาลาดแลคว้างเล่ห์ทางสินธุ์ | ||
อ่อนละไมใยทิพโกมิน | มลทินมิได้สุ่มอยู่รุมราย | ||
มีลมหนึ่งหอบหวนประมวลพัด | ระบัดดวงปทุมามากรองถวาย | ||
เป็นสีหราชผาดเผ่นผยองกาย | คชาส่ายงารำสำเริงเริง | ||
บ้างร้อยรุมโกสุมเป็นสิงห์ขนัด | ดูเอี้ยวอัดซัดเท้าจะโลดเถลิง | ||
งามบุปผาอาชาประลองเชิง | ที่ละเลิงเลี้ยวไล่ลำพองคะนอง | ||
มะลุลีสารภีพิกุลแก้ว | เป็นถ่องแถวมฤคีที่เยื้องย่อง | ||
บ้างพัดดวงมณฑามากรายกรอง | บนตั่งทองหอมฟุ้งจรุงใจ | ||
ยังมีลมหนึ่งรับเอาบุปผา | ที่โรยรสพัดพาไปเนินไศล | ||
เอาสินธุใสสิ้นมลทินไคล | มาพรมในรัถยาศิลาลายฯ | ||
๏ หนึ่งเจดีย์พระจุฬามณีสถิต | อันไพจิตรด้วยฤทธิ์สุเรนทร์ถวาย | ||
สูงร้อยโยชน์โชติช่วงประกายพราย | ยิ่งแสงสายอสุนีในอัมพร | ||
เชิญเขี้ยวขวาเบื้องบนพระทนต์ธาตุ | ทรงวิลาศไปด้วยสีประภัสสร | ||
แทนสมเด็จพระสรรเพชญ์ชิเนนทร | สถาวรไว้ในห้องพระเจดีย์ | ||
ประดิษฐ์บนพระมหาจุฬารัตน์ | เป็นที่แสนโสมนัสแห่งโกสีย์ | ||
กับสุราสุรเทพนารี | ดั่งจะชี้ศิวโมกข์ให้เทวัญ | ||
ประดับด้วยราชวัติฉัตรแก้ว | พรายแพร้วลายทรงบรรจงสรรค์ | ||
ระบายห้อยพลอยนิลสุวรรณพรรณ | เจ็ดชั้นเรียวรัดสันทัดงาม | ||
ดั่งฉัตรเศวตพรหเมศร์ครรไลหงส์ | เมื่อกั้นทรงพุทธาภิเษกสนาม | ||
ยิ่งดวงจันทร์พันแสงสมัยยาม | อร่ามทองแกมแก้วอลงกรณ์ | ||
ครั้นถ้วนถึงวันครบอุโบสถ | กำหนดพร้อมด้วยสุราสุรางค์สมร | ||
บูชาเครื่องเสาวรสสุคนธร | ข้าวตอกแก้วแกมซ้อนสุมามาลย์ | ||
บ้างเริงรื่นชื่นชมประนมหัตถ์ | กระทำทักษิณาวัฏบรรณสถาน | ||
ประนอมจบเคารพไตรทวาร | แล้วลีลาศยังสถานพิมานจันทร์ฯ | ||
๏ มีพระยาไม้ปาริกชาติ | ประจำเชิงเมรุมาศมไหศวรรย์ | ||
สูงร้อยโยชน์ยิ่งไม้ในหิมวันต์ | ทรงสุคันธ์ทิพรสขจายจร | ||
กลิ่นบุปผาฟุ้งฟ้าไปร้อยโยชน์ | อบเอารสสาโรชเกสร | ||
ทั่วสถานพิมานเทวนิกร | เบิกบัญชรพิศงามเมื่อยามบาน | ||
เพื่อองค์วาสวรินทร์เทวราช | ประเวศน์อาสน์ร่มไม้มณฑลสถาน | ||
ประยูรหมู่สุรเทพเยาวมาลย์ | สำราญรมย์ชมช่อมณีผกา | ||
บัณฑุกัมพลอาสน์ศิลาทิพ | กำหนดสิบห้าโยชน์โดยหนา | ||
กว้างสองหมื่นโยชน์เจษฎา | เป็นมหาบัลลังก์แก้วอำไพ | ||
ยาวหกหมื่นโยชน์แดงก่ำ | ดังน้ำปัทมราชอันสุกใส | ||
เจริญสวัสดิโสมนัสแก่หัสนัย | ชุ่มฤทัยไปด้วยรสสุมาลีฯ | ||
๏ อันภายนอกพระนครทั้งสี่ทิศ | ย่อมโสภิตสระสวนเกษมศรี | ||
แต่นามนันทวันโบกขรณี | เป็นพื้นที่สนามสนุกแห่งเทวัญ | ||
ระเบียบสระทั้งสี่วารีทิพ | เหมือนจะหยิบเสาวรสให้ทรงสรรค์ | ||
มีโกสุมปทุมซ้อนสลับกัน | ทั้งชั้นสัตวาจงกลบาน | ||
กว้างยาวร้อยโยชน์จตุรัส | ให้โสมนัสในท่าสินธุสนาน | ||
แม้นจิตถวิลว่าจะลงไปสรงธาร | ก็บันดาลพุ่งฟุ้งมายังองค์ | ||
มีขนานนาวาเป็นคู่คู่ | ลอยชูกิ่งแก้วอันระหง | ||
พระที่นั่งบุษบกบัลลังก์ทรง | อลงกตด้วยโฉมสุรางค์นาง | ||
งามระหงทรงพู่มรกต | ช้อยชดช่อห้อยกระหนกหาง | ||
ทรงซึ่งมุขสี่ด้านพิมานปรางค์ | ไว้หว่างท่วงทีละอย่างกัน | ||
หนึ่งเรือชัยฉากพายทองท่อง | นางประจำลำร้องเพลงสวรรค์ | ||
หวนสำเนียงครวญเสียงโอดพัน | เกษมสันต์ด้วยเทวนิกรฯ | ||
๏ ในอุทยานนันทวันที่ประพาส | รุกขชาติร่มรื่นเกษมสลอน | ||
มณฑาไม้ทิพรสขจายจร | แก้วซ้อนเกดแซมผกากาญจน์ | ||
รกฟ้ารังฟุ้งหวนหอม | ประยงค์เปรียงพยอมกลิ่นหอมหวาน | ||
เสาวรสรุ่งรสสุมามาลย์ | ลมพานเลื่อนพวงลงร่วงราย | ||
อุทยานมีมิ่งไม้สูงระหง | จันทน์แดงเดื่อดงขล้อขลาย | ||
กุหลาบกาหลงแลยางทราย | กุ่มงอกแกมหงายสลับกัน | ||
พุดจีบพวงจาบพิมเสนสน | จำปาจวงปนนมสวรรค์ | ||
แคฝอยเด็ดฝิ่นโมกมัน | กลำพอกลำพันคนทา | ||
ควรพิศจิตลดาวันสถาน | มะลิพันเลื้อยพานพฤกษา | ||
ช้องนางช้างนาวมะลิลา | มลุลีลอยฟ้าดอกสะพรั่งไพร | ||
ยมโดยแย้มดอกออกสลอน | อัญชันอ่อนช้อยยอดไสว | ||
สายหยุดส่งเสาวรสไกล | กล้วยไม้เกลื่อนหมู่เถาวัลย์ | ||
๏ อันปารุสกวันซึ่งทรงผล | ปรางปนปริงปานดังรังสรรค์ | ||
พลวงหว้าพลับหวานม่วงมัน | เกดจันทน์กำจัดไฟเฟือง | ||
แลยอลำไยเรียงขนัด | ขวิดสละขว้าวสลัดใบเหลือง | ||
สวายสอไสวสีเรื่อเรือง | ชิดเนื่องชั้นเนินกัทลีฯ | ||
พระอินทร์ตามนางสุชาดา | |||
ปิ่นบูรินทรราชอดิศร | ขจรเกียรติเกริ่นฟ้าทุกราศี | ||
กับสามองค์อัคเรศเทวี | มีพระนามเนืองนับสุธรรมา | ||
สุจิตราสุนันทาวิไลลักษณ์ | เจริญพักตร์ในเทวนาถา | ||
สุรางนาฏซึ่งเป็นบาทบริจา | ดั่งดาราในหมื่นจักรวาล | ||
พระลดองค์ลงเหนือบัลลังก์รัตน์ | เกษมสวัสดิ์ด้วยบำรุงบำเรอสถาน | ||
พลางพิศโฉมวธุรสยุพาพาล | ซึ่งโดยเสด็จมาสำราญพิมานทอง | ||
คำนึงถึงสุชาดายุพาพักตร์ | เคยร่วมรักฤๅมาร้างดังหมางหมอง | ||
นิจจาเอ๋ยเหมือนพี่เมินสะเทิ้นครอง | ไฉนน้องเจ้ามาได้อาดูร | ||
จึงส่องดวงเนตรทิพลงหยิบเหตุ | เห็นประเวศอยู่ในภพอสูร | ||
จะสำราญยังพิมานไพฑูรย์ | ฤๅจะพูนสวัสดิ์ในวิไชยันต์ | ||
โอ้ปางนี้ควรพี่จะพาสมร | เดินอัมพรมาพิมานแมนสวรรค์ | ||
จะไว้ยศปรากฏให้พร้อมกัน | เป็นจอมจรรโลงเทพนารี | ||
ครั้นเสร็จถวิลปิ่นภพอัมเรศร์ | ไม่สั่งองค์อัคเรศมเหสี | ||
พระทรงวชิราวุธแล้วจรลี | ยังมหาธานีอสุราฯ | ||
บัดองค์สารถีผู้ชาญฤทธิ์ | กำหนดคิดดำเนินเทวนาถา | ||
ก็แจ้งในฤทัยทิพอัชฌา | จึ่งแต่งรัถาตามเสด็จจร | ||
มหาเวชยันต์ราชรถ | อลงกตด้วยแก้วประภัสสร | ||
หกหมื่นเส้นสุดท้ายธงเงื้อมงอน | เทวบุตรอัสดรกำหนดพัน | ||
นิรมิตเป็นสินธพชัก | จักรดุมเลื่อนเหียนดั่งกังหัน | ||
งามดั่งดวงเทพสุริยัน | เมื่อพุ่งแสงสัตพันไปอัสดง | ||
บัลลังก์แก้วแลคันเศวตฉัตร | กำหนดยาวโยชน์ทัดงามระหง | ||
เครื่องสูงจูงจิตให้พิศทรง | ก็ขับลงยังพิภพพอสุรีฯ | ||
ฝ่ายองค์เนวาสิกาสูร | สมบูรณ์ด้วยสมบัติดังโกสีย์ | ||
ตั้งพิมานสถานราชธานี | ในหว่างตรีกูฏใต้พระเมรุธร | ||
ประดับด้วยเสนางค์สุรางค์นาฏ | ท้าวมีราชธิดาดวงสมร | ||
ไม่ประสงค์ที่จะทรงสยุมพร | ก็อาวรณ์ที่จะครองพระวงศ์ไป | ||
ให้ประชุมมารหมู่อสูรภพ | ในมณฑปไพชยนต์พินิจฉัย | ||
เสด็จนำพระธิดายาใจ | ให้นั่งในอาสน์แก้วอันพรรณรายฯ | ||
ฝ่ายองค์วาสวรินทร์ผู้ทรงจักร | ประเวศยังกรุงยักษ์ก็สมหมาย | ||
จึ่งอ่านเวทบังเนตรจำแลงกาย | ก็กลายเป็นพฤฒาอสุรี | ||
ยุรยาตรเข้าในอาสน์ประชุมพร้อม | นั่งปลอมองค์อยู่ด้วยวงศ์ยักษี | ||
พินิจพิศโฉมราชเทวี | พลางระวังมารที่จะราญรอนฯ | ||
ส่วนเนวาสิกาสูรราช | ถนอมสวาทพระธิดาดวงสมร | ||
อ้าแม่มีพักตร์อันสุนทร | จงผ่อนจิตคิดคำของบิดา | ||
อสูรใดที่จะครองประคองสม | เป็นคู่ชมชูชื่นเสน่หา | ||
จงสวมพวงทองทิพมาลา | ที่หัตถาให้ประจักษ์อสุรีฯ | ||
บัดองค์สุชาดาวิไลลักษณ์ | เฟี้ยมพักตร์คิดคำท้าวยักษี | ||
ความอายฤๅจะวายแก่สตรี | มิรู้ที่จะประกอบให้ชอบการ | ||
จำจิตเกรงฤทธิ์พระปิตุราช | เยื้องวิลาสจากอาสน์พิมานสถาน | ||
ชม้ายชายนัยนายุพาพาล | ที่ประชุมมารหมู่พลากร | ||
เห็นโฉมเทพสุราพฤฒาสูร | ให้พูนสวัสดิ์โสมนัสฤทัยสมร | ||
สลัดพวงเสาวรสสุคนธร | ไปสวมกรอสุราชหัสนัยน์ | ||
โฉมสุรางค์อสุรีอันมีศักดิ์ | เหล่ายักษ์ที่ประชุมก็สงสัย | ||
องค์ธิดามิได้คิดอาลัยใจ | เสน่ห์ในอสุราทิพาพงศ์ | ||
กระสันแสนเสน่หาพฤฒายักษ์ | ไปรักกาพาสูญประยูรหงส์ | ||
ก็ซร้องเสียงพร้อมทูลพระบิตุรงค์ | ให้เชิญองค์นางคืนพิมานจันทร์ฯ | ||
ปิ่นบุรินทร์ทรราชอันเรืองฤทธิ์ | ประกาศิตในสองชั้นสวรรค์ | ||
แสดงกายให้ประจักษ์แก่กุมภัณฑ์ | ผันพักตร์เข้าประคองพนิดา | ||
อุ้มนางทางเทวสิงหนาท | ร้องประกาศเหวยมารยักษา | ||
กูเรืองฤทธิ์อิศเรศในเทวา | ผ่านมหาสุทัสนธานี | ||
หวังว่าจะพาดวงสวาท | นิราศจากอสูรภพแห่งยักษี | ||
แล้วผาดแผลงแกว่งจักรด้วยฤทธี | จรลีขึ้นยังทิฆัมพรฯ | ||
เนวาสิกาสูรฤทธิรงค์ | เห็นองค์วัชรินทร์พาสมร | ||
ในท่ามกลางแสนยาพลากร | ให้อาวรณ์ร้อนเร่าซึ่งอัประมาณ | ||
ดั่งไฟฟ้าผ่าดวงมาโนช | อสูรโกรธคือเพลิงเถลิงผลาญ | ||
แล้วเผ่นโผนเหาะไล่ไปรอนราญ | กำลังหาญจะให้ทันซึ่งไพรี | ||
เหลียวสั่งหมู่มารอันชาญฤทธิ์ | เร่งประชิดติดตามท้าวโกสีย์ | ||
ไม่ต่อรับจับเป็นไปธานี | แม้นตอบตีโยธีจึงเอาตาย | ||
เสนารับรสพจนารถ | ประกาศหมู่อสูรทั้งหลาย | ||
เห็นได้ทีไพรีแต่เดียวดาย | ก็รีบหมายไล่ชิงซึ่งกัลยาฯ | ||
  |   | ||
พระจอมมิ่งมงกุฎทิพเทเวศ | หัตถ์ซ้ายอุ้มอัคเรศเสน่หา | ||
กรขวาทรงจักรอันศักดา | เหาะมาพบรถวิไชยันต์ | ||
สมประสงค์ดั่งองค์สุเรนทร์คิด | เทวฤทธิ์ปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
ประคองโฉมสุชาดาวิลาวัณย์ | จรจรัลขึ้นราชรถชัย | ||
วางองค์ลงเหนือบัลลังก์รัตน์ | พระกล่าวอรรถโอภาปราศรัย | ||
เจ้าดวงสมรแม่อย่าอาวรณ์ใจ | อันภัยมารมิได้ระคายกาย | ||
สุชาดาน้อมองค์ลงทูลสนอง | ไม่ปองจิตคิดจงจำนงหมาย | ||
คืนไปกรุงอสุรีให้มีลาย | จะสู้วายชีพใต้บทมาลย์ ฯ | ||
พอเหลือบเห็นอสุราเข้ามาชิด | ประกาศิตซึ่งเทวบรรหาร | ||
ให้รีบเร่งรถแก้วสุรกานต์ | ผยองผ่านสิมพลีสกุณา | ||
สารถีให้ทีสินธพชัก | จักรกงกำก้องพระเวหา | ||
สนั่นเสียงเท้าเทวอาชา | เริงร่าลำพองด้วยฤทธี | ||
ส่วนสุบรรณโปดกปักษิน | ได้ยินกงรถแห่งโกสีย์ | ||
ก้องสะเทือนเลื่อนลั่นถึงสิมพลี | ดั่งอสุนีผ่าพื้นพิมานทอง | ||
ต่างตระหนกตกใจไม่มีขวัญ | สร้อยเศียรชูชันเสียวสยอง | ||
กระหยับหางกางปีกกระพือลอง | ก็บรรสานเสียงร้องขึ้นทุกตน | ||
พระตรัสถามสารถีที่ขับรถ | สำเนียงใดปรากฏในกลางหน | ||
น้อมภิวาททูลบาทยุคล | ว่ามาใกล้ไพชยนต์สิมพลี | ||
ลูกสุบรรณตกใจวิไชยันต์ | กงสนั่นลั่นก้องถึงปักษี | ||
ประหวั่นพรั่นเสียงรถและพาชี | สกุณีจึ่งร้องด้วยกลัวภัยฯ | ||
ฝ่ายองค์วัชรินทร์เทวราช | ได้เสาวนารถมาตุลีก็หม่นไหม้ | ||
ให้อาวรณ์เร่าร้อนในฤทัย | จะรีบไยไปให้พ้นอสุรา | ||
เหมือนไม่มีอาลัยแก่ปักษิน | แม้นม้วยด้วยไพรินยักษา | ||
ไม่สูญเสียทางธรรม์อันศักดา | จะตั้งเมตตาไว้ให้ถาวร | ||
จึงสั่งให้กลับราชรถทรง | ดุรงค์รู้บรรหารด้วยชาญสมร | ||
ประทับไว้ในวิถีทิฆัมพร | เฉลิมงอนต่อพาลไพรีฯ | ||
ฝ่ายเนวาสิกาสุรราช | ผาดเห็นธงรถทรงท้าวโกสีย์ | ||
สะบัดโบกหน้ามายังโยธี | หมายว่าหนีฤๅจะพ้นซึ่งมือมาร | ||
แล้วประหวั่นพรั่นในฤทัยคิด | ด้วยบุญฤทธิ์อัมราศักดาหาญ | ||
ดั่งเทวัญพันหมื่นจักรวาล | มาตั้งราญรอนทัพอสุรา | ||
ให้สลดระทดระทวยองค์ | เหมือนจะท่าวทบลงในเวหา | ||
ไม่อาจรอต่อเทวศักดา | เลิกแสนยากรกลับไปธานีฯ | ||
วัชรินทรราชฤทธิรงค์ | เห็นองค์เนวาสิกาสูรยักษี | ||
แสยงเดชอิศเรศไม่ต่อตี | ยกโยธีหนีกลับไปเมืองมาร | ||
สั่งให้เดินโยธาวิชัยรถ | บทจรคืนไพชยนต์สถาน | ||
สารถีรับเทวโองการ | ก็ขับผ่านสิมพลีพิมานไปฯ | ||
พระอินทร์คืนนคร | |||
ดำเนินโดยอากาศวิถี | ตามราศีจักรวาลหว่างไศล | ||
พระชี้ชวนสุชาดายาใจ | ให้ชมน้ำในสีทันดร | ||
แปดหมื่นสี่พันโยชน์ลึกกว้าง | อยู่หว่างมหาสิงขร | ||
กำหนดเขาสัตภัณฑ์ชโลธร | ชะง่อนสูงกว้างลึกละกึ่งกัน | ||
ใสสะอาดมาตรแม้นมยุรหงส์ | จะวางแววหางลงไม่หวนหัน | ||
จนกระทั่งทรายแก้วอันแพรวพรรณ | เจ็ดชั้นล้อมรอบพระเมรุทอง | ||
ฝูงพระยาวาสุกรีลงสรงเล่น | โลดเต้นฝ่าหลังชลาล่อง | ||
ฉวัดเฉวียนเวียนพ่นบังหวนฟอง | ละอองน้ำดังสายสุหร่ายริน | ||
จึ่งเบือนพักตร์ไปพิศสาคเรศ | นอกเขตเขาอัสกรรณกระแสสินธุ์ | ||
ดั่งคงคาในท่ามจลินท์ | สิ่งมลทินมิได้ปนระคนพาน | ||
ชนองคลื่นสูงแต่พื้นสมุทร | หกสิบโยชน์โดยสุดประมาณสถาน | ||
ชมมหามัจฉาเจ็ดประการ | บ้างว่ายแหวกแถกธารในวังวน | ||
เหล่ามหิรมิงศโรหา | มินคลาไล่คู่อยู่สับสน | ||
ติมิงคล์ชิงติมิงเชยชล | อานนท์ลอยเศียรหางขึ้นขวางกาย | ||
ยาวพันโยชน์เยิ่นดั่งเนินผา | กลอกตาดูดวงพระสุริย์ฉาย | ||
ไม่ย้ายเยื้องเพลงพลิกกระดิกกาย | ก็ถอยหลังยังสายชโลธรฯ | ||
พลางชวนชมอัสกรรณวิเชียรรัตน์ | ดั่งวงฉัตรประเทศสิงขร | ||
วารีพุพุ่งฟุ้งลงสาคร | หมู่ทวยเทพทินกรมาเชยชม | ||
วินันตกงามกลมประสมศรี | ด้วยไพรทีแก้วลายระบายถม | ||
มีวุ้งเวิ้งแท่นทองที่ต้องลม | เตือนอารมณ์ให้เกษมในไสยา | ||
เนมินพิศทรงเหมืองกงรถ | จอมบรรพตเลิศล้วนมณีผา | ||
กระลอกรุ่งพุ่งพรายถึงเมฆา | เล่ห์วลาหกทิพอันพรอยพรำ | ||
โน่นสุทัสน์ควรทัศนาสถาน | แก้วประพาฬย่อมแท่งดูแดงขำ | ||
ชะง่อนเงื้อมง้ำแหว่งดั่งแกล้งทำ | มีคูหาท่าน้ำทุกแนวเนิน | ||
นั่นเชิงชั้นการวิกบรรพต | ง้ำกำหนดชั้นการเวกเหิน | ||
เป็นหุบเหวตรวจตรงลงโตรกเตริน | สว่างเพลินไปด้วยแก้วสุรกานต์ฯ | ||
สิขรินอิสินธรรัตน์ | แจ่มจำรัสไขสีมุกดาหาร | ||
เมื่อน้อมยอดรองบาทพิชิตมาร | ประสานเคียงคู่ขุนยุคุนธร | ||
คิรีนี้ล้วนแก้วมณีโชติ | จึงแผลงแสงรุ่งโรจน์ประภัสสร | ||
สูงเสมอปรางค์จันทร์ทินกร | เดินอัมพรไปทั้งสองเทวัญ | ||
ธตรฐเนาในบูรพทิศ | ไพจิตรไปด้วยทิพรังสรรค์ | ||
บริวารล้วนเทพคนธรรพ์ | งามมไหศวรรยาและธานี | ||
เวสสุวรรณอันทรงมเหศร | สถิตที่อุดรราศี | ||
แสนเกษมสมบัติสวัสดี | เป็นจรรโลงโมลีอสุรา | ||
นั่นองค์วิรุฬปักษ์เทเวศ | อยู่ประเทศปราจิมทิศา | ||
เป็นปิ่นมงกุฎแห่งนาคา | ทรงศักดาฤทธิราญรอน | ||
วิรุฬหกเป็นใหญ่ในกุมภัณฑ์ | พิมานเมศเจ็ดชั้นประภัสสร | ||
ประจำทิศทักษิณยุคุนธร | ดำรงทิพนครละกลกัน ฯ | ||
พลางชมชวนยวนเย้าเสน่หา | หวังให้ดวงวนิดาเกษมสันต์ | ||
แล้วรีบเร่งรถาวิไลวรรณ | ก็บรรลุยังสุทัสนธานี | ||
ประทับรถเข้าเคียงกับเกยมาศ | จึ่งจูงกรเยาวราชมเหสี | ||
โดยเสด็จวรบาทจรลี | เข้าสู่ที่แท่นแก้วอลงกรณ์ ฯ | ||
ลดองค์ลงแนบกนิษฐา | พระจึ่งกล่าววาจาประโลมสมร | ||
เจ้าพวงทิพเสาสรสสุคนธร | แต่เรียมจรจากน้องก็นมนาน | ||
สุดแสนอาดูรพูนเทวษ | เพราะทุเรศแรมรสฤดีสมาน | ||
เมื่อสามองค์นงลักษณ์ยุพาพาล | ได้สำราญในพิมานวิไชยันต์ | ||
ไม่เห็นดวงพักตร์มิ่งสมรมิตร | ปิ้มชีวิตพี่จะม้วยด้วยโศกศัลย์ | ||
แต่เคร่าครองปองโฉมวิไลวรรณ | เพิ่งได้ขวัญเนตรมายังธานี | ||
เชิญร่วมสุขเศวตฉัตรสมบัติทิพ | อันลอยลิบเลิศจักรราศี | ||
เป็นจอมจรรโลงเทพนารี | มิให้สายสวาทพี่อนาทรฯ | ||
บัดองค์อัปสรสมรนาฏ | บังคมทูลเทวราชมเหศร | ||
คุณพระล้ำดินฟ้าแลสาคร | ซึ่งอาวรณ์ด้วยทรงพระเมตตา | ||
หากว่าน้องมิได้แจ้งในใจทิพ | ซึ่งเลือกหยิบเอาแต่ข้อเสน่หา | ||
จะเชื่อขานคำหวานพระพรรณนา | แต่ชาวฟ้าท่านที่เคยภักดี | ||
แม้นรักจริงฤๅจะทิ้งให้ทนเทวษ | ไปเนาวในนัคเรศแห่งยักษี | ||
นี่จงชมสมบัติในธานี | จึ่งลีลาศไปประพาสถึงเมืองมาร | ||
พอสบคล้องก็ได้น้องมารองบาท | ดั่งโสกแสนพิศวาสพระบรรหาร | ||
ยังไม่ควรรับเทวโองการ | อันประทานที่ปิ่นสนมในฯ | ||
เจ้าดวงสมรอดิศรอัคเรศ | แม่ขวัญเนตรผู้ยอดพิสมัย | ||
อย่านึกแหนงแคลงคำให้ช้ำใจ | ว่าเรียมไม่อาลัยพนิดา | ||
เมื่อเริ่มพรากจากไปเป็นเป็นปักษิน | อยู่ระหว่างวารินที่เนินผา | ||
ประพฤติเพศโดยพรรณสกุณา | แสวงหามัสยาในสายชล | ||
พี่เอารักหักยศสุราฤทธิ์ | ไปตามติดแจ้งความที่แหนงฉงน | ||
แล้วอุ้มนาฏปักษามาไพชยนต์ | ให้ชมสระโกมลลดาวัลย์ | ||
แต่หากน้องข้องขัดไม่อยู่ได้ | ก็วอนให้พาคืนวนาสัณฑ์ | ||
เพราะเวรหลังกำจัดจึงพลัดกัน | จะผูกพันเคียดแค้นด้วยข้อใด | ||
เแสนเสน่หาน้องถึงเพียงนี้ | คิดดูเถิดว่าจะดีหรือหาไม่ | ||
พลางสัมผัสให้ปรากฏซึ่งรสใจ | แล้วคว้าไขว่ในเชิงภิรมยา ฯ | ||
สุชาดาป้องปัดสลัดกร | คมค้อนผลักทิพหัตถา | ||
เลื่อนองค์ลงจากอาสน์ที่นิทรา | ชายตาต่อตาสุเรนทร | ||
นิลเนตรต่อนิลเนตรนาฏ | ดั่งพรหมาสตร์แผลงซ้ำกระหน่ำศร | ||
ไปทอแทงแสงรัชนีกร | สะท้อนถึงท้องน้ำสุรกานต์ | ||
เลี่ยงพักตร์เบี่ยงบงกชรัตน์ | วัชรินทรพร้องสนองสาร | ||
เจ้างามงอนยุพเรศสุมามาลย์ | จะรอนราญรสรักพี่กลใด | ||
นิจจาเอ๋ยกระไรเลยไม่คิดบ้าง | ให้เจ็บจากพรากร้างไปถึงไหน | ||
จะเมินม้วนหวนเหินสะเทิ้นใจ | เคืองพี่ไยใช่ที่พนิดา | ||
มาเถิดมามิ่งสมรมิตร | จะครองไมตรีจิตกนิษฐา | ||
เฉวียนกรอุ้มแก้วกัลยา | มายังแท่นรัตนอันรูจี ฯ | ||
โฉมอนงค์องค์เทพอัปสร | ประจงกรเปลื้องกรท้าวโกสีย์ | ||
ให้ปรากฏยศเทวสตรี | แสร้งวาทีแยบเยื้องรำพัน | ||
พระเป็นใหญ่ในสองชั้นฟ้า | ซึ่งพามาให้ครองมไหศวรรย์ | ||
ดั่งดอกไม้รังพื้นพนาวัน | ฤๅจะทันมณฑาที่เคยทรง ฯ | ||
เจริญศรีสวัสดีดวงสมร | งอนดำน้ำเพชรสุหร่ายสรง | ||
อย่าหมองข้องเคืองระคายองค์ | ที่จงรักฤๅมาชักให้ช้าที | ||
พลางจุมพิตพักตร์อัคเรศ | เสพสมรมเยศเกษมศรี | ||
กระแหม่วแนวนวลทิพนาภี | ดวงฤดีดัดฤดีประลองคะนอง | ||
กรลอดสอดเลี้ยวเกี้ยวกระหวัด | สะพัดแอบแนบชิดสนิทสอง | ||
ดั่งแท่งแก้วอันทำเป็นลำยอง | สะดุ้งหลังแท่นทองที่ไพชยนต์ | ||
วลาหกเทวบุตรเมื่อคิมหันต์ | ก็อัดอั้นดั่งจะปรายซึ่งสายฝน | ||
พายุพัดกลัดเมฆที่มัวมน | มิให้หล่นลั่นฟ้าลงมาดิน | ||
นันทโบกขรณีสี่สถาน | บันดาลแล้งแห้งทางระหว่างสินธุ์ | ||
ส่วนพระยาคชเรศเทวินทร์ | กระหายวารีดิ้นพิมานทอง | ||
หนึ่งดอกดวงพวงพุ่มผกามาศ | ครั้นอากาศมืดคลุ้มชอุ่มหมอง | ||
ก็คลี่คลายขจายกลีบเรณูรอง | ละอองสร้อยเสาวรสรำเพยพาน | ||
แล้วเชยดวงพวงทิพสังวาส | ปรามาสมณฑาทองสองสมาน | ||
ค่อยชื่นเริงเชิงเล่ห์ระเริงลาน | เป็นสุขสุดสำราญในเทวัญ | ||
พระลืมชมอุทยานสนานสินธุ์ | โฉมยุพินลืมสิ่งเกษมสันต์ | ||
สุเรนทร์ลืมออกมุขวิไชยันต์ | นางลืมพงศ์กุมภัณฑ์และธานีฯ | ||
ครั้นเว้นว่างทางเทวสัมผัส | นางแย้มวัจนาทูลท้าวโกสีย์ | ||
น้องไกลองค์ปิตุเรศอสุรี | ด้วยภักดีโดยบาทบดินทร | ||
แม้นพระจากไพชยนต์วิมลมาศ | ขอลีลาศโดยเสด็จอดิศร | ||
จำเริญสวัสดิ์โสมนัสถาวร | ด้วยพรปิ่นเทวราชบัญชาฯ | ||
เจ้างามล้ำอัปสรสมรมิตร | สมดั่งคิดเรียมแสนเสน่หา | ||
จงประสิทธิ์ดั่งจิตเจตนา | กนิษฐาอย่าร้อนอาวรณ์ใจ | ||
แล้วปลุกปลื้มอารมณ์ให้ชมซ้ำ | พระรื้อร่ำเรืองรสพิสมัย | ||
สองสมานสำราญทิพฤทัย | อยู่ในปรางค์แก้วเจ็ดประการฯ | ||
(ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป บางท่านว่าเติมเข้ามาภายหลัง)
ฝ่ายเนวาสิกาสูรราช | ลีลาศถึงนครบวรสถาน | ||
สถิตยังบัลลังก์รัตน์ชัชวาล | ให้ดาลเดือดฤทัยแก่ไพรี | ||
แค้นอายดังจะวายชีวิตม้วย | ด้วยโกมินทร์หมิ่นศักดิ์ยักษี | ||
กำจัดพรากจากเทวธานี | แล้วมิหนำซ้ำพาธิดาไป | ||
เจ้าดวงเนตรของบิตุเรศเอ๋ย | จะชื่นเชยชมชิดพิสมัย | ||
อสุรินสุริยวงศ์พระองค์ใด | ไม่เห็นใครที่จะสืบศฤงคาร | ||
สงวนไว้จะบำรุงเป็นสูงภพ | เจ้างามลบโฉมโลกทุกสถาน | ||
แม่เจริญสวัสดิ์อยู่ในรัตนพิมาน | พ่อสำราญฤทัยไม่เว้นวาย | ||
อสูรเอ๋ยอัปยศในครั้งนี้ | ไม่รู้ที่จะล้างครหาหาย | ||
ถึงจะคืนบุตรีก็มีลาย | จะเอาอายนั้นไปแฝงที่แห่งไรฯ | ||
ครั้นระงับดับอาดูรสวาท | ลีลาศออกพิมานพินิจฉัย | ||
เถลิงบัลลังก์อาสน์อำไพ | ในภายใต้ฉัตรแก้วสุรกานต์ | ||
หมู่เสนางค์ต่างเฝ้าประจำองค์ | ทรงดำริด้วยราชบรรหาร | ||
พอแคฝอยคลี่สร้อยสุมามาลย์ | เบ่งบานเสาวรสรำเพยขจร | ||
คิดคำนึงถึงปาริกชาติ | เคยประพาสเชยทิพเกสร | ||
จำจะทำสงครามวัชรินทร | คืนสุทัศน์พระนครสวรรยาฯ | ||
จึ่งสั่งสามอสุรีที่ชาญฤทธิ์ | จิตราสูรอุปราชเป็นทัพหน้า | ||
ทัพสองกาลสุทอสุรา | เอาเสนากาลสูรเป็นตรีทัพ | ||
จะขึ้นไปรณรงค์ด้วยโกสีย์ | เหวยอสูรหัตถีเครื่องประดับ | ||
โยธาเราคณานับ | มาคอยรับเสด็จหน้าพระลานชัยฯ | ||
พอล่วงราชบัญชาประกาศิต | ก็แจ้งจิตไปด้วยทิพนิสัย | ||
ตลอดจนอสุรภพทั้งใกล้ไกล | มาพร้อมในที่ประชุมพลากรฯ | ||
ฝ่ายองค์จอมอสุเรศอันเรืองยศ | อลงกตทิพยรัตน์ประภัสสร | ||
ทรงวิเชียรเสโลแล้วบทจร | มาขึ้นยานกุญชรอันนฤมิตฯ | ||
มหิสูรแปลงกายเป็นหัตถี | มีสีดังเงินยวงท้าวสถิต | ||
สูงร้อยห้าสิบโยชน์กำลังฤทธิ์ | เหมือนจะปิดสุริยาลงมาดิน | ||
เครื่องประดับสรรพทั่วสารพางค์ | แต่ละอย่างช้างทรงองค์โกสินทร์ | ||
หมายประจญเอราวัณอินทร์ | จะเพิกพังปฐพินพระเมรุทอง | ||
ส่ายหน้าร่างากระหึมมัน | กระชันหูชูงวงเยื้องย่อง | ||
ดุเดือดเงือดเงื้อจะแทงลอง | คะนองเสียงเพียงสังข์พิชัยยุทธ์ | ||
พวกพลโยธากว่าแสน | เนืองแน่นโกลาอุตลุด | ||
พลมารห้าวหาญชาญยุทธ์ | มาหยุดยั้งเชิงเมรุคีรีฯ | ||
สั่งให้เข้าหักด่านตาล | จับนาคพลทหารของโกสีย์ | ||
ครั้นได้ฟังสารสั่งอสุรี | แผลงฤทธีหมายจับซึ่งภุชงค์ ฯ | ||
คณานาคพันโกฏิอันรักษา | เชิงมหาศิขเรศก็พิศวง | ||
เห็นอสูรสงครามรณรงค์ | ไม่องอาจที่จะรอต่อมือมาร | ||
ดังกุญชรกาสรมฤคเพศ | แสยงฤทธิ์สิงหเรศประหารผลาญ | ||
ภุชงค์หนีไพรีไม่ต่อพาล | ไปชั้นบาดาลปฐพีฯ | ||
จอมภพสุรพงศ์ผู้ทรงสวัสดิ์ | ให้รีบรัดโดยเมรุวิถี | ||
ถึงสุบรรณอันประดับด้วยโยธี | ยกเข้าตีปักษินไพชยนต์ฯ | ||
ส่วนพระยาทิชาชาติก็หวาดจิต | เห็นฤทธิ์อสุรีตะลึงฉงน | ||
เล็งด้วยทิพย์สิบทั่วไม่สิ้นพล | ดังสายฝนซ่านไปในจักรวาล | ||
หมู่สุบรรณพันโกฏิในสิมพลี | ทฤษฎีแล้วทุเรศจากสถาน | ||
ก็เหาะหนีอสุรีไม่รอนราญ | ไปพิมานชั้นประชุมซึ่งกุมกัณฑ์ฯ | ||
ปิ่นมกุฎอสุรีสวัสดิราช | หมายคืนกรุงเมรุมาศมไหศวรรย์ | ||
ครั้นมีชัยในราชสุบรรณ | ให้ยกตีชั้นสามไม่คร้ามคิดฯ | ||
ทัพพระยากุมภัณฑ์อันรักษา | ชั้นมหาบรรพตอันไพจิตร | ||
เห็นสงครามลามล่วงกระชั้นชิด | กำลังฤทธิ์เพียงเพชรปาณี | ||
ครั้นจะสู้ดูหนึ่งไม่มีสัตย์ | ดำรัสแล้วพาพวกโยธาหนี | ||
ก็แตกร่นย่นฤทธิ์อสุรี | ถึงชั้นสี่ที่ประชุมไพชยนต์ยักษ์ ฯ | ||
องค์อสูรอันสมบูรณ์อิสริยยศ | ก็ปรากฏอดิศรขจรศักดิ์ | ||
ดังได้สมบัติในจตุรพักตร์ | ให้เร่งยกหักด่านบุรินทร | ||
ส่วนสาตาคิริผู้เป็นใหญ่ | นภาลัยมณฑลสิงขร | ||
ทั้งเสนามาตยากรพลากร | ก็ราญรอนฤๅไพรี | ||
เห็นสามชั้นมิได้กั้นประจามิตร | ให้ติดตามมาสงครามถึงยักษี | ||
ไม่สามารถตั้งมั่นประจัญตี | พาโยธีหนีไปกุนทรินฯ | ||
ฝ่ายองค์เนวาสิกาสูร | ยิ่งเพิ่มพูนสุรฤทธิ์ดังจิตถวิล | ||
ให้ทัพหน้าเร่งเร้าพลพฤนท์ | เหาะข้ามสินธุไปยังขุนยุคนธร ฯ | ||
ฝ่ายจาตุมหาราชิการาช | ทรงซึ่งทิพอาสน์มเหศร | ||
เป็นอิสระอยู่ในสันดร | ขจรยศปรากฏทั้งจักรวาล | ||
ครั้นแจ้งว่าสุราอสุภพ | จะรบชั้นเทวัญวิมานสถาน | ||
ดำรัสเรียกดุรงค์บวรยาน | หมู่เทเวศบริวารในธานีฯ | ||
เหล่าสุราภพพลมาตย์ | ได้ฟังราชบัญชาทุกราศี | ||
มาชุมพร้อมกันที่จอมโยธี | โดยวิถีเทวราชบทจรฯ | ||
ตระบัดท้าวฟังศรีผู้มีสวัสดิ์ | ประจงโจงทิพรัตน์ประภัสสร | ||
ดูเปล่งปลาบอาบศรีฉวีวร | แล้วทรงขรรค์กรายกรขึ้นม้ามาฯ | ||
สินธพเทเวศนฤมิต | เป็นสีทองชวลิตทั่วมังสา | ||
สูงระหงทรงทิพโอภา | รจนาเครื่องประดับสำหรับยศ | ||
เหาะรอบขอบจักรวาลไม่ทันช้า | สี่เท้าเร็วยิ่งกว่าลมกรด | ||
ให้คลายคลี่โยธีเป็นหลั่นลด | บทจรไปต่อด้วยไพรีฯ | ||
เหลือบเห็นพลอสุราเสนาทัพ | ให้หวาดหวั่นพรั่นกลับอาชาหนี | ||
พาซึ่งเทพเจ้าและโยธี | ก็จรลีไปสุทัสนนครฯ | ||
เข้าทูลองค์วาสวรินทร์เทวราช | ตามแต่บาทยุคลอดิศร | ||
อสุรีกรีทัพแสนยากร | มารุกรอนชั้นยอดยุคลธรินทร์ | ||
หมู่สงครามลามล่วงกำเริบนัก | พระปิ่นปักหลักโลกจงทรงถวิล | ||
จะหมิ่นยศเทวาชั่วฟ้าดิน | องค์ศักรินทร์ได้เมตตา | ||
(จบฉบับเพียงนี้) | |||