จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
ข้อมูลเบื้องต้น
พระนิพนธ์: สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
บทประพันธ์
โคลงดั้นสุภาสิตวชิรญาณ
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
|
๏ คราวเข็ญจะเฝ้าแต่ | | โศกศัลย์
|
โศกจะดับขุ่นเข็ญ | | ห่อนได้
|
ยิ่งโศกยิ่งจักพลัน | | รอญชีพ
|
ควรปลดควรเปลื้องให้ | | โศกคลาย ฯ
|
๏ ละโศกเร่งตริรู้ | | สึกเข็ญ ตนนา
|
รู้เข็ดเข็ญคงวาย | | ว่างบ้าง
|
ทิ้งชั่วยึดที่เปน | | ทางชอบ
|
จึงจักเริศร้างพ้น | | เหตุภัย ฯ
|
| | |
|
โคลงสุภาสิต
เริ่มทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
คำอธิบาย
โคลงสุภาษิตนี้ทรงแต่งตามเค้าโครงสุภาสิตใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์กับเจ้านายที่บางปอิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ (ฉบับพิมพ์เรียกว่า “โคลงสุภาษิตใหม่” ) สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ ทรงพระนิพนธ์โคลงสุภาสิตนี้ทรงกับเจ้านายผู้หญิงอีกหลายพระองค์ด้วยกัน คัดเอามาพิมพ์ในสมุดนี้แต่โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ฯ
ความรัก
|
๏ รักเรียนต้องกอปด้วย | | วิริยะ
|
รักยศควรอุสาหะ | | กิจไท้
|
รักทรัพย์อย่าพึงสละ | | ทรัพย์จ่าย เฝือนา
|
รักชอบกอบกิจให้ | | ถ่องแท้ยุติธรรม ฯ
|
|
๏ รักตนประพฤติล้วน | | สุจริต
|
รักลูกเพียรดัดจิต | | ลูกไว้
|
รักมิตรมากที่มิตร | | รักตอบ
|
รักบ่าวเมื่อคราวใช้ | | ไป่ลี้หนีงาร ฯ
|
| | |
|
ความชัง
|
๏ ชังพูดเปนเล่ห์เลี้ยว | | หลอกหลอน
|
ชังชาตินิรคุณบอน | | บ่อนไส้
|
ชังโจรเที่ยวซอกซอน | | ลักทรัพย์ ท่านนา
|
ชังมากบอยากใกล้ | | เผ่าพ้องอสัทธรรม ฯ
|
| | |
|
ความกล้า
|
๏ กล้าคิดเพราะเหตุด้วย | | ใจมาน
|
กล้าเชื่อเพื่อปฏิญาณ | | สัตย์ไว้
|
กล้าพูดเพราะเชื่อชาญ | | เชาวน์ว่อง
|
กล้ารักชักกล้าให้ | | สู่สู้ริปูแทน ฯ
|
| | |
|
ความกลัว
|
๏ อาญาไทธิราชเผ้า | | แผ่นสยาม
|
เกรงไป่มีโมงยาม | | ว่างน้อ
|
ภัยพิบัติมัจจุราชตาม | | ฉกชีพ
|
กลัวบ่เว้นทุ่มท้อ | | จิตลี้หนีไฉน ฯ | |
|
|
๏ กลัวบาปบส่อให้ | | โทษถึง ท่านนา
|
กลัวท่านผูกเวรตรึง | | ติดติ้ว
|
กลัวกรรมจักตามดึง | | ตนสู้ อบายพ่อ
|
กลัวชอบบุญหอบหิ้ว | | อาตม์ขึ้นสุขภูมิ์ ฯ
|
| | |
|
ความเพียร
|
๏ เพียรประพฤติสุจริตอ้าง | | อวยผล
|
เพียรประพฤติยุติธรรมดล | | ดับไร้
|
เพียรประพฤติกอปกุศล | | บุญส่ง สุขนา
|
เพียรประพฤติเมตตจิตได้ | | ห่างพ้นคนชัง ฯ
|
|
๏ เพียรประพฤติทุจริตร้อน | | แรงไฟ นรกพ่อ
|
เพียรประพฤติฉ้อฉกภัย | | จักพ้อง
|
เพียรประพฤติบาปบไกล | | ทุกข์ถับ ถึงนา
|
เพียรประพฤติเหี้ยมโหดต้อง | | ตกข้างคนฉิน ฯ
|
|
๏ หมั่นเขียนหมั่นอ่านอ้าง | | อักษร
|
เพียรแต่งโคลงลิลิตกลอน | | ดอกสร้อย
|
กลบทอีกบทละคอน | | ฉันท์กาพย์
|
เพียรดั่งนี้ฤาคล้อย | | คลาดผู้ชาญกวี ฯ
|
| | |
|
ความเกียจคร้าน
|
๏ โกสัชชัดเชิดอ้าง | | โทษา
|
ฉัพพรรคอรรถกถา | | กล่าวแจ้ง
|
นรชาติปราศวิริยา | | นฤสุข
|
จักสฤษดิกิจใดแสร้ง | | ผัดเพี้ยนผ่อนตน ฯ
|
|
๏ หนาวหนักจักกอปเกื้อ | | การใด ได้พ่อ
|
บางผ่อนร้อนจัดใจ | | จักหวิ้น
|
บางคาบก็ขานไข | | ยลย่ำ แล้วนา
|
กอปกิจบควรสิ้น | | รติแผ้วควรทำ ฯ
|
|
๏ ยามพรุกพร่ำผัดเพี้ยน | | ทำงน มากนา
|
งายหน่อยจึงจักขวน | | กิจไซร้
|
บางผ่อนอุทรรน | | ร้อนภักษ์ ภุญช์พ่อ
|
บางผัดอิ่มหนักให้ | | หย่อนน้อยค่อยทำ ฯ
|
|
๏ สันดานประกอบด้วย | | โกสัช
|
ผิสฤษดิ์กิจใดผัด | | พรุ่งเพล้
|
เพี้ยนหนาวผัดร้อนจัด | | อิ่มพร่อง อุทรนา
|
กว่าจะเสร็จประสงค์เอ้ | | อูดพ้นพันทวี ฯ
|
| | |
|
ความซื่อ
|
๏ พุทธรัตน์ธรรมรัตน์ทั้ง | | สงฆ์สรรพ์ พิสุทธิ์แฮ
|
อีกชนกชนนีอัน | | เกิดเกล้า
|
สยามรัฐดิลกธรร | | มิกแห่ง ตนฤา
|
ควรซื่อสุจริตเช้า | | ค่ำน้อมนมัสการ ฯ
|
| | |
|
ความโกง
|
๏ โกงคิดทรยศผู้ | | บำรุง ตนแฮ
|
หมายลาภเปิดลับจุง | | โทษให้
|
ความชั่วติดตัวนุง | | เหนียวเหนอะ
|
สบลาภก็พลันไร้ | | เพื่อร้อนแรงกรรม ฯ
|
| | |
|
ความอาลัย
|
๏ อาลัยลูกจักเมื้อ | | ยุรเปียน ทวีปแฮ
|
ใจคิดเปนนิจเวียน | | วาบว้ำ
|
อาลัยเพื่อเคยเสถียร | | สถิตสุข เสมอนา
|
ใจห่วงเหลือจักปล้ำ | | ปลิดให้อาลัยสูญ ฯ
|
| | |
|
ความเบื่อ
|
๏ เบื่อโลกเห็นโลกล้วน | | อนิจจัง
|
เบื่อทุกข์ทุกวันประดัง | | รุกเร้า
|
เบื่อเคราะห์เบื่อกรรมฝัง | | รกราก
|
เบื่อหน่ายตายเกิดเฝ้า | | รับท้นทุกข์ทวี ฯ
|
| | |
|
ความโสมนัส
|
๏ ราชภัยพิบัติแม้ | | หลีกหนี
|
อัคนิภัยพิบัติลี | | ลาศแคล้ว
|
โจรภัยพิบัติมี | | หลบรอด โจรนา
|
สามสิ่งโสมนัสแผ้ว | | ผ่องชื้นกมลเปรม ฯ
|
|
๏ ยินดีได้ลาภล้น | | มูลมอง
|
ยินลาภยศศักดิ์ปอง | | ศักดิ์ได้
|
ยินดีอนี้ตรอง | | ตรึกรงับ บ้างพ่อ
|
ยินลาภนักมักให้ | | ช่องให้ชนหยัน ฯ
|
| | |
|
ความโทมนัส
|
๏ กลางประชุมแม้ว่าต้อง | | ถูกทัก
|
โดยเท็จหรือจริงประจักษ์ | | สุดพื้น
|
เก่าเหลือที่จะหัก | | ใจกลับ ใหม่แม่
|
โทมนัสขัดจิตตื้น | | อกน้ำตาคลอ(๑) ฯ
|
|
๏ คิดเห็นประโยชน์แล้ว | | จึ่งทำ
|
กลายกลับเปนผิดนำ | | โทษพ้อง
|
เสียใจที่ใจสำ | | คัญผิด
|
โทษอื่นบได้ต้อง | | โทษแท้ตนเอง ฯ
|
| | |
|
ความริษยา
|
๏ ริษยาเกิดขึ้นเพราะด้วย | | เสียจิต ก่อนนา
|
เสียจิตเพาะริษยา | | กอปสร้าง
|
สองอย่างต่างประชันปิด | | ประชันส่อ กันแฮ
|
ปวงปราชญ์อาจมละล้าง | | คู่ข้อมลายสูญ ฯ
|
| | |
|
(๑) ในโคลงบทนี้ทรงใช้ศัพท์แผลง ซึ่งชอบพูดกันในสมัยนั้นหลายศัพท์ คือ “ทัก” หมายความ ว่าปราสัยเปนคำทารุณ “พื้น” หมายความว่าสำผัสใจ “เก่า” หมายความว่าเกิดโทษะ “ใหม่” หมายความว่าสิ้นโทษะ
ความพยาบาท
|
๏ พยาบาทนี่นี้ขาด | | ทางธรรม นะพ่อ
|
ผิเกิดไป่คนึงรำ | | งับแล้ว
|
ดังฤาจักดลสำ | | ราญสุข พ่อเอย
|
ไปปรโลกฤาจักแคล้ว | | คลาดพ้นเวรจอง ฯ
|
|
๏ ปราชญ์มองเห็นโทษแท้ | | จึ่งประหาร ขาดนา
|
เวรรงับดับเวรผลาญ | | หมดเชื้อ
|
อาฆาฏขาดจิตสราญ | | รมย์ยิ่ง ยงแฮ
|
เขษมสุขประจวบเมื้อ | | สู่ยั้งนฤพาน ฯ
|
| | |
|
ความปรารถนา
|
๏ ประสงค์ศิลปศาสตรต้อง | | เติมเพียร
|
ประสงค์มั่งมีทรัพย์เรียน | | เรื่องค้า
|
ประสงค์ยศจุ่งหมั่นเวียน | | เฝ้าบพิตร เสมอนา
|
ประสงค์สุขหน่วงจิตคว้า | | สัตย์ไว้นิจกาล ฯ
|
|
| | |
|
ความหยิ่ง
|
๏ หยิ่งยศถือยศก้ำ | | เกินคน
|
หยิ่งศักดิ์หวังศักดิ์ตน | | ใหญ่กว้าง
|
หยิ่งทรัพย์ส่ายทรัพย์กล | | ดั่งทรัพย์ จักรฤา
|
สามหยิ่งจักพาค้าง | | ขาดสิ้นนิจผล ฯ
|
| | |
|
โคลงทรงตอบพระราชนิพนธ์ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงประชวร
ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๖ กับ พ.ศ. ๒๔๓๗
'
โคลงพระราชนิพนธ์
|
๏ เจ็บนานหนักอกผู้ | | บริรักษ์ ปวงแฮ
|
คิดใคร่ลาลาญทัก | | ปลดเปลื้อง
|
ความเหนื่อยแห่งสูจัก | | พลันเสื่อม
|
ตูจะสู่ภพเบื้อง | | น่านั้นพลันเขษม
|
| | |
|
โคลงตอบ
|
๏ สรวมชีพข้าบาท | | ภักดี
|
พระราชเทวีทรง | | สฤษดิ์ให้
|
สุขุมาลมารศรี | | เสนอยศ นี้นา
|
ขอกราบทูลท่านไท้ | | ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯ
|
๏ ประชวรนานหนักอกข้า | | ทั้งหลาย ยิ่งแล
|
ทุกทิวาวันบวาย | | คิดแก้
|
สิ่งใดซึ่งจักมลาย | | พระโรค เร็วแฮ
|
สุดยากเท่าใดแม้ | | มาทม้วยควรแสวง ฯ
|
|
๏ หนักแรงกายเจ็บเพี้ยง | | เท่าใด ก็ดี
|
ยังบหย่อนหฤทัย | | สักน้อย
|
แม้พระจะด่วนไกล | | ข้าบาท ปวงแฮ
|
อกจะพองหนองย้อย | | ทั่วหน้าสนมนาง ฯ
|
| | |
|
โคลงสุภาสิตเบ็ดเตล็ด
ความลอาย
|
๏ มีอายอาจสกัดกั้น | | กันทาง ชั่วแฮ
|
จักประพฤติชั่วอายขวาง | | ขัดไว้
|
ผู้มีหฤทัยจาง | | จืดต่อ หิรินา
|
จึงประพฤติความชั่วได้ | | แน่แท้เทียวเธอ ฯ
|
|
๏ อุด(๑)นานแรกออกนั้น | | แสนอาย
|
ลมล่อยพลอยจับกาย | | รริกเริ้ม
|
หน้ามือจักษุลาย | | แลพร่าง
|
เหงื่อหยดขาสั่นเทิ้ม | | อุทัจด้วยคนดู ฯ
|
| | |
|
ความงาม
|
๏ เพ็ญบูรณ์เกียรติยศทั้ง | | บริวาร
|
งามเลิศใดบปาน | | เปรียบได้
|
เพ็ญทรัพย์อีกคำขาน | | สัตย์ทุก เมื่อนา
|
งามยิ่งงามแท้ให้ | | ทั่วผู้สรรเสริญ ฯ
|
| | |
|
ความสรรเสริญ
|
๏ ผู้หาญราญเศิกสู้ | | ไป่หนี
|
หนึ่งเหล่าคณะเมธี | | ทั่วหน้า
|
อีกสงฆ์พิสุทธิ์ศี | | ลวัตยิ่ง ยงเฮย
|
หญิงซื่อสุจริตกล้า | | สี่นี้ควรชม ฯ
|
| | |
|
(๑) อุด เปนคำแผลง หมายความว่าอยู่แต่ในที่อันเดียว
โคลงสุภาสิต ทรงถอดความจากวชิรญาณสุภาสิต
|
๏ บุญมากหากกอปเกื้อ | | ปัญญา มากนา
|
โดยป่วยก็พลันหาย | | ห่างไข้
|
มากคนรักไปมา | | เช้าค่ำ
|
เคยเกลียดกลับรักได้ | | เพราะบุญ ฯ
|
|
๏ บุญต่ำนำชักให้ | | หมดความ คิดนา
|
กำเริบไข้แรงรุน | | โรคร้าย
|
มิตรญาติขาดรักยาม | | บุญอับ
|
พบปะก็คล้ายคล้าย | | แขกเมิน ฯ
|
|
๏ ความรู้มีมากล้น | | เพียงใด ก็ดี
|
แต่ขาดความเพียรใจ | | เกียจคร้าน
|
เฉกผู้มากทรัพย์ใน | | เรือนฟุ่ม เฟือยนา
|
ตระหนี่เก็บไว้แต่บ้าน | | ห่างใช้ไฉนเติม ฯ
|
|
๏ วิชาเดิมมีน้อยแต่ | | มีเพียร มากฮา
|
ยังบ่ทราบใดเรียน | | มากไว้
|
ผู้น้อยทรัพย์ค่อยเบียน | | ทรัพย์จ่าย เสมอนอ
|
ทรัพย์จะเสริมเติมได้ | | มากด้วยแรงเพียร ฯ | |
|
| | |
|
โคลงสุภาสิตทรงแต่งเล่นกับเจ้านายผู้หญิง
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓
ความเพลิน
|
๏ ความเพลินมีทั่วทั้ง | | ฝ่ายดี ทรามเฮย
|
สุดแต่ผู้เพลินมี | | สติค้น
|
เพลินชอบก็พลันทวี | | ลาภยศ ปวงแฮ
|
เพลินผิดก็ไป่พ้น | | ภาคร้ายเร็วถึง ฯ
|
| | |
|
ความรำคาญ
|
๏ รูปต่ำซ้ำศิระงุ้ม | | ปานปม เปรอะนา
|
รสพลับแช่ฝาดขุย | | เกาะลิ้น
|
กลิ่นสาบมนุษย์ระดม | | กลิ่นอุต พิษแฮ
|
เสียงพูดปลอกปลิ้นปลี้ | | เปล่าความ ฯ
|
|
๏ งามโฉมแต่หยุดอ้า | | อาตม์โฉม
|
ฤาแต่งเกินพองาม | | เงื่อนหน้า
|
มารยาทลุกลนโครม | | ครามเตะ ต่อยเฮย
|
ปวงกล่าวทั้งนี้ข้า | | สุดรำคาญ ฯ
|
| | |
|
ความปรารถนา
|
๏ ปรารถนาของมนุษย์นั้น | | หมดไฉน ท่านเฮย
|
แม้จักพรรณาไป | | ไป่สิ้น
|
แต่ผู้ว่องวุฒิไวย | | รู้เลือก สรรแฮ
|
ควรดับฤาควรดิ้น | | โดดยั้งตามควร ฯ
|
| | |
|
ร่ายประทานพระพรกรมพระดำรงในวันประสูติ
ทรงนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
|
๏ ขษณพระพุทธศก | | ตกสองพันสี่ร้อย
|
ห้อยเศษหกสิบสองปี | | วีสะดิถีมิถุนายน
|
ดลอภิลักขิตสมัย | | ในพระเจ้าบรมวงศ์
|
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | | คาบพระชนม์คำณวน
|
ประมวลกึ่งสตพรรษ | | อีกเศษอัฐฉนำกาล
|
มานพระหฤทัยจำนง | | ประสงค์กอปกุศลอุทิศ
|
เปนนิรามิสราชพลี | | แด่ภูวบดีปิยมหาราช
|
ทั้งพระบาทบรมอัยกา | | ราชปิตุลาบวรอิศเรศ
|
เหตุสมภาคมายุสม์ | | ลุอำนวยทานสงฆ์
|
ปลงธนสารบำรุง | | ผดุงสภากาชาดสยาม
|
พยาบาลพระนามบัญญัติ | | ข้อยมีมนัสปราโมทย์
|
มาโนชในพระกุศล | | จึงนิพนธ์ถวายชัย
|
ด้วยน้ำใจสุทธิ์สอาด | | สรวมอำนาจพระรัตนตรัย
|
อีกไทยเทพทรงมหิทธิศักดิ์ | | ซึ่งพิทักษ์สยามณาเขต
|
สรวมพระเดชนฤบดินทร์ | | เจ้าสยามินทร์ห้าพระองค์
|
ทรงแผ่พระเดชานุภาพ | | ปราบปวงอุปัทวภัย
|
ไกลอุปสัคไกลโศก | | นิราสโรคนิราสทุกข์
|
เนืองนิตย์ยุกต์สุขารมณ์ | | อุดมพระปรีชาเชาวน์
|
เนาประมุขโบราณคดี | | ทวีพระยศฦาเลื่อง
|
เฟื่องกิตติคุณฦาเลวง | | ล้ำยิ่งเพรงบันดาล
|
พระชนมานยืนยง | | ธำรงวังวรดิศ
|
พิพิธสุขพิศาล | | กอปศฤงคารไพบูลย์
|
วงศ์ประยูรพรั่งพร้อม | | น้อมมนัธยาศัย
|
ในพระเมตตาคุณ | | การุญรักษ์ดิเรก
|
เฉกโพธิพฤกษ์ฉายา | | ร่มบริจาร์แลดนัย
|
เหล่าข้าไทยทั้งผอง | | ใดธปองจงประสบ
|
ใดธปรารภจงสัมฤทธิ์ | | สิทธิดังมโนหวัง
|
ดังข้อยผู้ภคินี | | อื้นวจีพจน์สุนทร
|
อำนวยพระพรถวายฉนี้ | | สรวมเทพช่วยชี้
|
ช่องให้คงเขษม | | โสตถิ เทอญ ฯ
|
| | |
|
โคลงตอบกรมพระดำรงฯ ถวายพระพรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ในวันประสูติ
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
กาพย์ตอบกรมพระดำรงฯ ถวายพระพรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ในวันประสูติ
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓
โคลงแลกลอนสำหรับสอดในชักเปี๊ยะพร้อมกับแหวน
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔
โคลงสุภาสิต
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ และ ๒๔๖๘
เพลงยาวกลบท
พระโอวาทประทานทูลกระหม่อมพระองค์ชาย เมื่อจะเสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗
พระนิพนธ์ที่สุด ลายพระหัตถ์ประทานพระพรในวันประสูติกรมพระยาดำราชานุภาพ
เชิงอรรถ
ที่มา
สุขุมาลนิพนธ์ พระนิพนธ์กาพย์กลอนแลร้อยแก้วของ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้พิมพ์เนื่องในการทรงบำเพ็ญพระกุศลสนองพระคุณสมเด็จพระชนนี เมื่อพระศพครบปัญญาสมวาร ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๐ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
(ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)