à¸à¸¥à¸à¸™à¹„ดเà¸à¸£à¸µà¸‹à¸¶à¸¡à¸—ราบà¸à¸±à¸šà¸•ามเสด็จไทรโยค
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำนำ
พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง จะทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ นี้ สมเด็จพระศรีสวินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า มีพระประสงค์จะพิมพ์หนังสือประทานช่วยสำหรับจะได้ถวายแลจ่ายแจกเปนมิตรพลี มีรับสั่งมายังราชบัณฑิตยาสภาให้เลือกเรื่องหนังสือแลจัดการพิมพ์ถวาย ก็เรื่องหนังสือซึ่งเคยพิมพ์แจกในงานมงคลฉลองพระชันษาเช่นนี้ มักเคยพิมพ์พระราชนิพนธ์มาเปนพื้น ข้าพเจ้าเลือกดูหนังสือพระราชนิพนธ์พระยามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะหาเรื่องซึ่งยังไม่เคยพิมพ์ทีเดียวในเวลานี้ขาดมือยังไม่มี จึงได้เลือกพระราชนิพนธ์กลอนเรื่องไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค ซึ่งเคยพิมพ์ครั้งหนึ่งแต่นานช้ากว่าสิบปีมาแล้ว เปนหนังสือหายาก ผู้ซึ่งยังไม่เคยอ่านก็เห็นจะมีมาก เห็นว่าถ้าพิมพ์ขึ้นอิกครั้งหนึ่ง ผู้ที่จะได้รับไปก็เห็นจะยินดีไม่เลือกหน้า
อธิบาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันทัดแต่งบทกลอนมาแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อเสด็จประทับอยู่ณพระตำหนักเดิมสวนกุหลาบ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทระบำแลบทละคอน ระบำนั้นได้มาเล่นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วครั้งหนึ่ง เดี๋ยวนี้หาบทไม่ได้ น่ากลัวจะสูญ สักรวา เพลงยาว โคลง ฉันท์ แลกลอนเบ็ดเตล็ดที่ได้ทรงไว้นั้นมีมาก กอพระสมุด ฯ ได้รวบรวมพิมพ์แล้วแทบทั้งนั้น พระราชนิพนธ์บทกลอนที่ทรงไว้เปนเรื่องใหญ่ คือ
- โคลงพระราชพิธีถือน้ำแลคเชนทรัศวสนาน เรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
- โคลงดั้นพระราชพิธีโสกันต์ เรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
- ลิลิตนิทราชาคริช เรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
- บทละคอนเรื่องเงาะป่า เรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
- โคลงพระนามพระเจ้าลูกเธอรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
- บทละคอนเรื่องวงศ์เทวราชเรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
บทละคอนพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอีกประเภท ๑ ซึ่งเปนจำพวกแกล้งทรงแต่งโดยมีมูลเหตุต่างกัน บางเรื่องทรงพระราชดำริห์เห็นว่าแต่งเปนเรื่องของผู้อื่นทางโวหารจะเหมาะกับเรื่องดีกว่าแต่งเปนพระราชนิพนธ์ของพระราชา จึงทรงพระราชนิพนธ์เปนเหมือนผู้อื่นแต่ง แต่ก็มิได้ปกปิด ในจำพวกนี้มี ๒ เรื่อง คือ
- โคลงนิราสท้าวสุภัติการภักดี (นาก) เรื่อง ๑ พิมพ์แล้ว
- กลอนตามเสด็จไทรโยค ทรงพระราชนิพนธ์เปนอย่างข้าราชการฝ่ายในแต่งเรื่อง ๑ ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ นอกนี้ที่ทรงพระราชนิพนธ์แทรกอยู่ในเรื่องอื่นเช่นกลอนนิราสรัตนในหนังสือไกลบ้านเปนต้นก็มี
มูลเหตุอีกอย่าง ๑ เกิดทรงเบื่อหน่ายหนังสือชนิด ๑ ซึ่งเจ้านายเรียกกันว่าอย่าง "ซึมทราบ" คือผู้แต่งไม่รู้จักถ้อยจักคำไม่รู้จักอักษรรู้แต่กลอนก็แต่งไป แต่ก็ยังมีคนพอใจอ่าน จึงทรงแต่งบทกลอนอย่างซึมทราบล้อเล่นบ้าง ในจำนวนนี้มีกลอนไดเอรีซึมทราบ ทรงพระราชนิพนธ์ให้เปนของข้าราชการฝ่ายในแต่งเรื่อง ๑ ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้
ไดเอรีซึมทราบนี้ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เปนอย่างหนังสือของข้าราชการฝ่ายในแต่ง แกล้งทรงพระราชนิพนธ์ ทั้งวิธีใช้ถ้อยคำแลสัมผัสเช่นหนังสือกลอนอย่างซึมทราบ เพราะฉะนั้นต้องใช้อักษรวิธีอย่างซึมทราบ จึงเปนกลอนได้
นายกราชบัณฑิตยสภา
วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐
บทประพันธ์
ไดอรีซึมทราบ
๏ ข้อคำรบนบหัดอัดทิถาน | อํงพระทุดทะรัดกำจัดมาน | ||
โปรดประทานพระสะทันอันอุดํม | หนึ่งคำนับในพระทัมอันล้ำเลิศ | ||
แสนประเสิดส่องทางข้างสยํม | อีกไหว้อ่ริยสํงวํงบ่อ่รํม | ||
ด้วยชื่นชํมโสมนัดมัดส่กาน | ข่อ่บังคมพระไม้ตรีสีอานเจ้า | ||
อันยังเนาในดุสิตส่ทิดสถาน | อีกไหว้ครูอุปัดชาอํงอาจาน | ||
อีกกราบกรานทั้งช่นกชนละนี | อีกอีนพรมยมเรดวิเสดสัก | ||
ฝูงอารักเทวาทุกราสึ | เดชะข้าอภิวันอันชุลี | ||
ข่ออย่ามีโครไพอันใดพาน | จะจะจำทำใดอ่รีใหม่ | ||
แต่ล้วนใช้กาบกลอนอักสอนสาน | สำหรับฝูงนารีที่ชำนาน | ||
จะได้อ่านซึมทราบอาบอุรา | ข่อ่เริ่มบดพจ่นังตั้งกำหนด | ||
จะจำจดเรื่องรายลายเลขา | แต่ต้นนเดือนสิบสองไปไม่เคลื่อนคลา | ||
เริ่มทิวาอาทิดสิดทิไชย | อันนามปีนี้ชวดสำริดทิสก | ||
ไม่ปิดปกสัก่ราดประกาดไข | พันสองร้อยห้สิบแสดงไว้ | ||
ได้นับไปเปนต้นยุบํนกลอน | |||
วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑ ค่ำ | |||
ในวันนี้มีการพยุหยาด | ชล่มาดนาวามาสลอน | ||
เรือกระบวนรูปสัตอัดสาคอน | ทั้งเรือมอนเรือยวนท่วนทุกกรํม | ||
อันเรือหํงทรํงไกรพระกระถิน | ดูดังบินโยนยาวฉาวข่รํม | ||
กลองช่นะแกรสังดังร่งํม | น่าชื่นชมเรือที่นั่บันลังทรํง | ||
ชื่ออนันนาคราชผงาดเงื้อม | แลละเลื่อมบุดส่บํกกระนกร่หง | ||
ที่ประทับลอยเด่นเหนพระอํง | ล้วนฉัดทำรายไสววิไลยตา | ||
ที่นั่งรองเรือพลับพลาหลังคาสี | พายตามที่ระยะย่านข่นานหน้า | ||
เรือตำหรวดเรือเจ้านายพายต่อมา | ทั้งเรือข้าราช่กิตติดกระบวน | ||
ประทับท่าวัดอรุนสุนท่เรด | เสรจประเวดขึ้นทางหว่างฉ่นวน | ||
ขุนนางพร้อมน้อมเกล้าเฝ้าตามควร | เสรจ่ด่วนขึ้นเกยเลยทรํงยาน | ||
ตำหรวดนำสองข้างย่างขยับ | เสียงกุบกับเข้าไปในวิหาร | ||
ประทานกระถินสังคาสาทุกาน | แล้วสวดกรานตามอย่างทางวิไน | ||
ครั้นสำเหรกเสรจจากวัดแจ้งนั้น | ล่องผายผันตามหาช่ลาไหล | ||
มาเข้าคลองบางหลวงล่วงเข้าไป | ถึงวัดในท้ายต่ลาดส่อาดงาม | ||
ประทานกระถินวัดนี้เปนที่สอง | แลถัดรองไปวัดหํงทรํงที่สาม | ||
แต่วัดพลับนับเปนที่สี่อาราม | ตกอยู่ยามสุริยันตวันชาย | ||
ประทานไกรให้กรมภูธ่เรศ | เสรจประเวดคันไลไปถ่วาย | ||
ตั้งกระบวนเสดจกลับจับริ้วราย | ให้เรือพายถ่วายลำนำดำเนิน | ||
สิ้นนาวายาตตราเรือที่นั่ง | ต้นบดตั้งเห่โคลงส่งเสียงเหิ่น | ||
แล้วโหยหวนทวนรับส่ดับเพลิน | เรือพายเดินน่าฉนวนทวนราวี | ||
พอจวนแสงสุริยํงจะลํงลับ | เรือประทับตำหนักแพเซงแส้มี่ | ||
เรือตำหรวดรีบทุกลำจ้ำเต็มที่ | มาจอดที่ท่าขุนนางย่างขึ้นไป | ||
ตั้งริ้วเรียบร้อยคอยพร้อมเสรจ | เสดจขนราช่กิดวินิดไฉ | ||
ทรงพระราดทะยายผ่องอำไพ | คืนเข้าในพระนิเวศสิ้นเขตวัน | ||
วันจันทร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ | |||
เวลาบ่ายโมงหนึ่งถึงกำหนด | ได้จำจํดกระถินเรือเหลือข่ยัน | ||
ที่นั่งทรงเทวาสง่าครัน | ที่หนึ่งนั้นวัดระฆังตั้งขึ้นบํน | ||
แล้วล่องกลับโดยลำดับวิถีท่า | วัดกัลยานิมิตอย่าคิดฉง่น | ||
วัดรั้วเหลกที่สามตามตำบํน | แล้วข้ามชํลตรงตัดวัดตีนเลน | ||
พระยารักโขนหักเอาเชือกรัด | สามเปลาะมัดน่าเบื่อดูเหลือเถน | ||
ฝีพายใหม่ไม่ถนัดตัดวาดเบน | จนโขนเขนหักยับได้อับอาย | ||
กลับถึงวังยังไม่ทันค่ำสนิท | คืนส่ทิดพระที่นั่งดังมั่นหมาย | ||
ฝีพายหิวนิ่วน่าบันดาตาย | อันเรื่องรายวันจํดก็หมดกลอน | ||
วันอังคาร เดือน ๑๒ ขึ้น ๓ ค่ำ | |||
ในวันนี้นาวีพระที่นั่ง | ชื่อทวยเทพพาบประนังนั่งส่ลอน | ||
เสดจดนบางลำพูคูน่คอน | ด้านอุดอนโดยระยะมะระคา | ||
ที่หนึ่งวัดบางลำพูสู่ประทับ | กระถินสรับเสรจกรํงมาลํงท่า | ||
เคลื่อนกระบวนด่วนโดยทางช่ลา | มาถึงน่าวัดบนคนประดัง | ||
ชื่อบ่อ่รํมมะนิเวดวิเสดสุด | โดยสมมุตเลื่องลือเปนชื่อตั้ง | ||
ของถ่วายรายเรียบเพียบประนัง | กรํมวังทูลถ่วายรายบาญชี | ||
ของพระยากระเสบพะรักษา | กรํมนาวังน่าเรืองราสี | ||
บ้านอยู่น่าอารามความภักดี | กับบุดกรีคิดพร้อมน้อมนำมา | ||
วัดที่สองครองกระถินสิ้นเสรจกิจ | เสรจส่ทิดเรือที่นั่งแห่หลังน่า | ||
ไปเข้าคลองมหานากบากนาวา | เรือตั้งมาประทะคั่งอยู่ทั้งกอง | ||
ด้วยน้ำตื้นพื้นคลองล้วนกองเสา | เรือเกยเข้าติดประดังอยู่ทั้งผอง | ||
เรือที่นั่งตั้งวางกรํงกลางคลอง | ก็ลอยล่องเข้าไปทอดจอดตะพาน | ||
วัดสะเกดวิเสดดีเปนที่สาม | ขุนนางหลามคนผู้หมู่ทหาน | ||
เสดจกรํงขึ้นทรํงราดทะยาน | เข้าวิหานตามอย่างแต่ปางมา | ||
ครั้นสำเหรดโมทะนารถาถ่วาย | ก็คลี่คลายเคลื่อนพหํพนหลังน่า | ||
ไปตามแถวแนวคลองล่องลิ้นลา | ริมทานท่านคนผู้มาดูครั้น | ||
วัดบูรํมมะวิวาดส่อาดเอี่ยม | ดูใหม่เรี่ยมดิบดีทาสีสัน | ||
ส่นนลาดดาดสินลาน่าจ่อ่ร่จัน | เสรจผายผันด้วยพระบาดลี้ลาดไป | ||
ครั้นประทานพระกระถินสิ้นเสรจแล้ว | เสรจคลาดแคล้วสู่ที่เจดีใหญ่ | ||
มัดส่การตามเคยเลยคันไล | ทอดพระเนตกุดใหม่ในอาราม | ||
แล้วกลับกรํงลํงเรือพระที่นั่ง | ต่างคับคั่งเรือแห่แลออกหลาม | ||
กลับทางเก่าเข้ารากรีอักคีตาม | สว่างวามลอยล่องท้องนัดที | ||
เกือบทุ่มถึงตำหนักแพเสียงแส้ซ้อง | สนั่นกลองแขกแปลงกระแสงปี่ | ||
พ่อ่เสดจขึ้นลับกลับนาวี | ในวันนี้พ่อ่หมดที่จดจำ | ||
วันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ | |||
พ่อสายแสงสุริยาเวลาบ่าย | เรือดั้งรายเรียงมาออกคลาคล่ำ | ||
คู่ชักเรือรูปสัดจัดให้นำ | ถัดถึงลำพระที่นั่งอ่ลังกา | ||
เรืออะเนกกลายนากหลากแต่ก่อน | ชมพูอ่อนพื้นอะแหร่มแกมทองจ้า | ||
ฝีพายกรายพายมาสเพียงบาดตา | ทั้งนาวาติดตามหลามเปนทิว | ||
เข้าปากคลองขุดใหม่ข้างใต้น้ำ | ต่างพายร่ำรี่เรื่อยแล่นเฉี่อยฉิว | ||
พระพายพัดผ้าพู่ฟ่องฟูปลิว | ตามข้างริ้วเรือดูอยู่เรียงราย | ||
ประทับที่วัดพระเทบเปนที่หนึ่ง | เสรจแล้วจึ่งลอยเลื่อนเคลื่อนข่ยาย | ||
ไปวัดโสม่นัดนั้นตวันชาย | ที่สุดท้ายวัดพระนามสามตำบล | ||
ออกปากคลองข้างเหนือเรือล่องกลับ | ดูคั่งคับเฮฮาโกลาหน | ||
พ่อ่พลบค่ำถึงตำหนักริมสาชล | เสรจนิพลในวันนี้ที่มีการ | ||
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำ | |||
ตามใบป้ายหมายทางวางวิถี | ในวันนี้คลองบางหลวงกระทรวงสถาน | ||
พ่อ่เวลาแสงสายบ่ายโมงนาน | ก้องส่ท้านเสียงเส้าเร้าระงํม | ||
เรือน่รายทรงสุบันยืนยันเหยียบ | ฝีพายเพียงปืนประจำน่าลำสํม | ||
เรือครุดเปนคู่ชักกสักบ่อ่รํม | ดูอุมํมที่นั่งรองทองเหรา | ||
ที่หนึ่งนั้นวัดจันทารามราช | คนเกลื่อนกลาดคั่งคับส่ลับหน้า | ||
ไม่ช้าทีมีพระราชชงคา | เรียกไกรมาทรงกะพระราช่ทาน | ||
แก่สมเดจพระราช่โอรํฏ | ให้พร้อมหมดทั้งอัดถะบ่อ่ริขาน | ||
ไปทอดพระกระถินมั่งหวังนิพาน | ที่ส่ถานวัดหนังลำพังอํง | ||
ที่นั่งรองสนองเปนเรือที่นั่ง | ให้แต่งตั้งเครื่องอานพานร่หํง | ||
ทูลหม่อมเล๊กเลิกลักจักรพํง | โปรใดให้ทรงทอดบ้างวัดนางนอง | ||
เรือที่นั่งกรมพระกะการเสรจ | ยืมเสดจทรงวันนี้เปนที่สอง | ||
ตามติดไปในกระบวนควนละบอง | ไปแยกกองเมื่อถึงวัดที่จัดปัน | ||
กระบวนหลวงล่วงลงวัดที่สอง | ชื่อจอมทองงามเทียบเปรียบส่วัน | ||
เรียกวัดราชโอรํฏปรากํดครัน | เปนนามอันประทานไว้แต่ไรมา | ||
กระถินเสรจเสดจกลับไม่ทันค่ำ | พ่อ่ฟ้าคล้ำน่อยหนึ่งถึงน่าท่า | ||
เปนวันเลิกเรือกระบวนควนเวลา | สิ้นสาราส่วนวันนี้มีนิยํม | ||
วันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ | |||
วันนี้งดกระถินไว้ไม่ลิ้นลาด | ด้วยพระราช่ปรสงอํงอิส่ยํม | ||
ให้ตั้งสวดตามอย่างตั้งต่างกรํม | ในพระบรํมราชวังแต่หลังมา | ||
พระอํงทองน้องเธอเผ่ยอยด | นามปรากดสัมป่สิดส้อยติดว่า | ||
สามปะสาดสืบส่นองต้องวินยา | ในเวลาค่ำเสรจเสดจวัง | ||
อีกเจ้านายขุนนางข้างในด้วย | ต่างไปช่วยนั่งล้อมอยู่พร้อมพรั่ง | ||
เสียงปี่พาดระนาดค้องก้องประดัง | พระสํงตั้งสวดสับกลับไปวัด | ||
ให้เลื้ยงดูผู้บันดาที่มานั้น | ต่างพร้อมกันกินโต๊ะตามส่นัด | ||
ของฝาหรั่งจีนไทยได้สาร่พัด | ที่ชาจัดถาดสล้างวางรายเลี้ยง | ||
จุดโคมไฟไว้ทุกแห่งแสงส่อาด | น้ำมันก๊าดเรียงรันชั้นเฉลียง | ||
ตามรอบรั้วรายทางวางโคมเคียง | ไฟฟ้าเพียงแสงจันเมื่อวันเพง | ||
ที่พื้นวังตั้งกระถางวางต้นไม้ | ส่นามย่ากว้างใหญ่อยู่น่าเก๋ง | ||
ตำหนักใหม่วิไลยตาน่าแลเลง | ดูเหมาะเหมงงดงามตามทำนอง | ||
เวลาสองทุ่มเสดเสดจกลับ | รถที่นั่งควบขับพาชีสอง | ||
ทหานม้าแห่หลามตามเปนกอง | ผันผยองเข้ายังพระวังใน | ||
อนึ่งคืนวันนี้นั้นมีเหตุ | แปดทุ่มเสดตามข่าวที่กล่าวไข | ||
พระยาธรรมน่าวัดเลียบล่วงลับไป | ไม่ป่วยไข้อยู่ดีดีมีอันเปน | ||
แน่นน่าอกขึ้นมาสิบห้าพินิด | สิ้นชีวิตอนิจจังควรยังเหน | ||
อย่าประมาทสังขาราว่าอยู่เยน | ไม่ว่างเว้นเวลาชีวาวาง | ||
ได้ประทานโกดไปใส่สบท่าน | ด้วยความชอบราชการมีหลายอย่าง | ||
ท่านทั้งเปนกอมมิตตี้มีที่ทาง | ได้ว่าข้างกรมเมืองสืบเนื่องมา | ||
วันเสาร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๗ ค่ำ | |||
เริกตั้งกรํมวันนี้สี่โมงเสด | กำหนดเขตห้าสิบเก้าตามเขาว่า | ||
เสดจโดยราดทะยานกระหง่านตา | ได้เวลาประทานน้ำตามทำนอง | ||
แล้วเจ้านายฝ่ายในทั้งฝ่ายน่า | อีกท่านเสนาบ่อ่ดีที่ไปสอง | ||
พระอาลักนุ่งถํมปักเสื้อครุยกรอง | ก็เพรียกพร้องคำประกาดราดโองการ | ||
สิ้นเสรจสานแล้วประทานน้ำพระสัง | ตีปงปังเป่าแกรแช่ประสาน | ||
ปีพาดค้องก้องดังกังสะดาน | พระสํงท่านพร้อมกันสวดยันโต | ||
ประทานสูวันณะบัดพระแสงถํม | ประคำทองกากลํมเครื่องยะโส | ||
สตาส้อยสายส่พักกราจักโกร | ทั้งมาโลเส้าสะเทินจำเรินเรือง | ||
เสรจแล้วท่านกรํมหมื่นพระอํงใหม่ | ยํกทูบเทียนแพใหญ่เล่มเติบเตื้อง | ||
ไม้เงินทองสองคู่ดูประเทือง | ตลับเพชเมดเขื่องขึ้นโต๊ะราย | ||
แล้วคำนับอับพิวาดพระบาดเบื้อง | เปนเครื่องราช่พลีตั้งที่ถวาย | ||
อีกทูบเทียนทั้งชำล่วยด้วยมากมาย | แจกเจ้านายแลขุนนางอย่างตั้งกรํม | ||
แล้วจัดโต๊ะอย่างฝาหรั่งตั้งเครื่องเส่วย | พร้อมนมเนยเนื้อหนังทั้งขนํม | ||
ไอสะติมไดลี่มีอุดํม | ตะหนุ่นส้มผลไม้ก็ก่ายกอง | ||
เลี้ยงสำเหรดเสรจพลันตวันบ่าย | สองโมงปลายตั้งริ้วเปนทิวท่อง | ||
เสดจกลับแห่หลามตามทำนอง | การทั้งผองเสรจสันที่บันระบาย | ||
อันพระหน่อในพระโกดที่โปรดตั้ง | เปนกรํมครั้งแผ่นดินนี้มีมากหลาย | ||
กรํมพระทั้งสองพระน้องชาย | อํงใหญ่หมายกรํมพระจักรพัด | ||
พระอํงน้อยนั้นกรํมพานุ | ส้อยคระครุจำไม่ได้สนัด | ||
กรํมหลวงสองอํงนามกรํงชัด | ที่วังหลังวัดสทัดเทวาวํง | ||
วังประตูส่สสใหม่นั้นไม่ผิด | พระนามกรํมนุชิดอย่าพิดส่วํง | ||
กรํมขุนวังล่างยังอีกอํง | พระนามกรํงเรียกนริดผิดบูราน | ||
กรํมหมื่นมีสิบสองลองสังเกต | กรํมนาเรศกรํมภูคุ่หนึ่งขาน | ||
อดิดสอนว่อ่ระจักกระหนักการ | อีกซียานทรํงพระหนวดวัดพระนาม | ||
กรํมมะพรมอีกกรํมมะราชสัก | จํงประจักเจดอํงไม่หลงข้าม | ||
กรํมมะศ่ริแลตำรํงกรํงข้อความ | ยังอีกสามคือกรํมมะสํมมด | ||
กับกรํมมะสับพ่สินสัมปะสิด | ตั้งวันนี้นับติดเปนที่สุด | ||
ยังจะตั้งอีกที่วังสานเจ้าครุด | ข่อ่ยั้งอยุดกล่าวต่อข้ออื่นไป | ||
ละคอนฝาหรั่งครั้งสะวิเชนนั้น | เดี๋ยวนมันเข้ามาหากินใหม่ | ||
เล่นที่โอเตนล่างหนทางไกล | เดี๋ยวนี้ไพล่มาประชุมที่มุมวัง | ||
มีเสือหมีโคลาทั้งม้าช้าง | อีกลิงข้างนํกขี้ราบปราบคุมขัง | ||
ถึงดุร้ายสักเท่าใดว่าไรฟัง | ด้วยมํนดํนของเขาขลังกำบังตา | ||
คิดจะไปดูมั่งยังข่ยาด | เสียหลายบาดครู่เดียวเจียวไม่น่า | ||
ยังจะมีถ้อยความตามต่อมา | ลายเลขาข่อ่ส่งํบจํบไว้ที | ||
วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ | |||
เสรจการจอนย้อนเปนกระถินใหม่ | กระบวนเรือกลไฟใช้ตามที่ | ||
เพราะวัดไกรไปถึงนนบุรี | แต่ก่อนนี้เรือพายหลายชั่วโมง | ||
จึ่งเปลี่ยนใหม่ใช้กระบวนเรือไฟหมด | ถึงกำหนดกลางวันควันโขมง | ||
สองโมงเสดเสดจออกท้องพระโรง | ฤาที่โถงตามสำเหนียกเขาเรียกกัน | ||
เรือที่นั่งตั้งชื่ออาตีกํง | เจ้าขุนนางต่างลํงเปนหลายหลั่น | ||
แล่นขึ้นเหนือเรือตามไปครามครัน | วัดแรกนั้นส่มอรายชายคํงคา | ||
กระถินเสรจเสดจสู่หมู่เสนาด | ดูสอาดอะหร่ามเรืองทั้งเฝืองฝา | ||
ทรํงปุนนะขึ้นใหม่วิไลยตา | วัดเสมาเปนที่สองรองต่อไป | ||
อันที่สามนามวัดเฉลิมพระเกียด | ต่วันเฉียดลับเขาจะเข้าไต้ | ||
โต๊ะจีนจุดเทียนกระจ่างสว่างไฟ | ราบเรียงไว้ริมข้างทางจ่อระลี | ||
เสดจกลับประทับท่าเหนกว่าทุ่ม | ไม่มืดคลุ้มตามทางหว่างวิถี | ||
ด้วยเดือนเด่นเห็นสว่างกลางนัดที | สิ้นเท่านี้จดหมายในรายวัน | ||
วันจันทร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ | |||
กระถินเรือเหมือนเมื่อวานที่ขานไข | เปลี่ยนลงไต้จนตลอดเมืองเขื่อนขัน | ||
นาวาล่องมาถึงคลองวัดทองพลัน | อยุดที่นั่นทอดส่มอร่อ่บันลัง | ||
เรือทองที่นั่งทรํงกรํงมาเทียบ | สีพายเพียบนาวาทั้งน่าหลัง | ||
เรือนำตามหลามช่ลาดาประดัง | มากระทั่งน่าท่าก็ราพาย | ||
ลานอารามน้ำท่วมถึงคืบกว่า | บัดาข้าทูลอองต้องขํนขวาย | ||
หาทางดอนผ่อนผันกันวุ่นวาย | บ้างสิ้นอายถอดถุงเท้าลํงก้าวลุย | ||
แต่ตำหรวดกับทหานพานขัดข้อง | ด้วยว่าต้องแห่นำท่องน้ำฉุย | ||
มหาดเล๊กมหาดลอยพลอยตะกุย | ดู่รุกรุยเต็มประดาน่ารำคาน | ||
คุณสาหร่ายนายอะไรได้เปนที่ | เชิญพระพันนะสีตามที่ถาม | ||
เดินชิดติดท้ายพระราดทะยาน | ปาติหานลงในหลุมชุ่มทั้งตัว | ||
น้ำพระสีพระสร้อยพลอยเปื้อนหน้า | ลุกขึ้นมามึนเหมยแล้วเสยหัว | ||
พระราดทะยานย่องมาดูน่ากลัว | น้ำเปนตมขุ่นมัวไม่เห็นทาง | ||
กระถินเสรจเสดจจากวัดทองนั้น | ไปประทับเรือกำปั่นวัดทองล่าง | ||
ส่นํนเลี่ยนลาดสิลาผ่าไปกลาง | ทั้งสองข้างน้ำเหลิงจํนเรือลอย | ||
กระถินสรับเสดจกลับเรือที่นั่ง | แล่นจากฝั่งเฝือมาไม่ราถอย | ||
ถึงปากลัดตัดเข้าคลองไม่ต้องคอย | ไปอีกหน่อยถึงอารามที่สามพลัน | ||
ชื่อโปรดเกษเชดฐาเปรื่องปรากด | เจ้าคุณคํชมุนีอยู่ที่นั่น | ||
ประทานเงินสิบชั่งเปนรางวัล | ในเชิงชั้นแพทยาวิชาดี | ||
ออกจากท่าเวลาจะใกล้ค่ำ | รีบแล่นร่ำตามคลองท้องวิถี | ||
ออกลัดล่างสว่างช่วงดวงอัคคี | เขาตั้งที่บูชาตามน่าเรือน | ||
ต้องทวนน้ำไปตามลำนัดทีใหญ่ | ช้ากระไรก๊ระนี้ไม่มีเหมือน | ||
หากส่ว่างกระจ่างแจ้งด้วยแสงเดือน | ไม่ฟั่นเฟื่อนเรือแพออกแจจัน | ||
จอดประทับที่ตะพานปราการใหญ่ | ให้เรียกไกรวัดทรํงทำนำผายผัน | ||
ด้วยมืดค่ำเกินเวลากว่าทุกวัน | ขึ้นบํกนั้นหํนทางอยู่ข้างไกล | ||
เจ้าพระยาพลเทพเรือท่านเล่า | ต้องคอยกว่ายี่สิบมินูดได้ | ||
ครั้นมาเฝ้าที่ต่พานประทานไกร | ให้ท่านไปทอดกระถินสิ้นเวลา | ||
ประทานเสรจเสดจกลับโดยทางเก่า | ล่วงมาเข้าคลองลัดตัดบากน่า | ||
ทวนกระแสนัดทีรี่เร็วมา | แสงจันกราส่องสว่างดังกลางวัน | ||
เหนตึกกว้านบ้านช่องทั้งสองฟาก | ทำหลากหลากดูเล่นก็เหนขัน | ||
เย่าเรือนมันไม่เหมือนเมื่อกระนั้น | ทำสองชั้นสามชั้นน่ากลัวพัง | ||
แม้นตัวเราแล้วไม่เอาละเช่นนี้ | ต่อให้จ้างอีกสักสี่ห้าสิบชั่ง | ||
พ่อ่ยามเสดนาวามาถึงวัง | ข่อ่อยุดยั้งแรรี่วันนี้ไว้ | ||
วันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ | |||
สามทิวาล่วงมาไม่มีกิด | จึงไม่คิดจํดแจ้งแถ่ลงไข | ||
ถึงวันนี้มีการฉลองไกร | สวดมํนใหญ่พระมากว่าห้าร้อย | ||
เสียงกึก้องท้องพระโรงที่ในสวน | ตามกระบวนพร้องเพราะเสนาะถ้อย | ||
ห้าทุ่มเสดเสดจขึ้นกลับคืนคล้อย | การเล็กน้อยยังมีที่ควรแส่ดง | ||
สิบสองค่ำกำหนดยํกโคมไชย | แลไส่วสว่างงามอร่ามแสง | ||
เมื่อยักจ้องมองหนดวงเด่นแดง | ไม่อาดแผลงฤทธามากราวเกรียว | ||
หนงมีข่าวกล่าวว่าเจ้าฝาหรั่ง | มาจอดยั้งอยุดนาวีที่น้ำเขียว | ||
ข้ามหลังเต่าเข้าไม่ได้จนใจเจียว | ต้องมาเลี้ยวข่อ่ให้เรารับเข้ามา | ||
ซออาชะลิวสุวะโปนโพนประพาศ | เปนเชื้อชาดอ๊อดเกรียนเพียนหนักหนา | ||
ลํงกำปั่นลำใหญ่เที่ยวไคลคลา | เรียนวิชาชาดฝาหรั่งข้างเรือรํบ | ||
เรืออุบลสกลไฟลํงไปรับ | ผู้กำกับเลือกผู้รู้เจนจบ | ||
พระอํงเจ้าปรีดามาสํมทํบ | กับกรํมวังทั้งงํบพนักงาน | ||
คอยอยู่นอกหลังเต่าเข้าไม่ถึง | เฝ้าคะนึงนึกในให้สงสาน | ||
กลางชะเลพระเวหํนทํนกันดาน | จะส่ท้านส่ทํกพรั่นหวั่นวินยา | ||
ถึงแต่วานแล้วยังพานพูดเพี้ยนผัด | เลื่อนหลีกนัดมาวันนี้เปนทีถ้า | ||
พ่อ่ต่วันตกบ่ายได้เวลา | เขาขึ้นมาถึงปากน้ำในลำทรํง | ||
ป้อมผีเสื้อสมุดสลุดรับ | จำนวนนับยี่สิบเบดเสรจประสรํง | ||
อย่างฝาหรั่งเปนคำนับรับพระวํง | เรือแล่นกรํงมาตามทางกลางคงคา | ||
ถึงทน่าวังกรํมอุดมเก่า | เรือพายเข้าไปรับมาขึ้นท่า | ||
พระอํงจรกับพระยาเพชดา | รับขึ้นมาอยู่วังสำรานรํม | ||
กรํมหมื่นวรจักคอยทักถาม | เชิญอยู่ห้องต้องตามที่ใครสํม | ||
อับพี่เซ่ออีกสิบสี่มีนิยํม | มาเที่ยวชํมกรุงสยามตามเจ้านาย | ||
ให้อยู่วังทั้งหมดไม่อํดอยาก | เลี้ยงดูมากฟั่นเฝือจํนเหลือหลาย | ||
สาร่พัดจัดไว้ให้ส่บาย | บันระยายมาก็หมดจํดรายวัน | ||
วันเสาร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๔ ค่ำ | |||
เวลาเช้าเลี้ยงพระตามกะแบ่ง | เป็นสองแห่งคือที่สุดไทสู่วัน | ||
กับที่ตัดสมาคํมรด่มกัน | รวมเปนวันละร้อยเสดสังเกตตา | ||
แต่มิได้เสดจออกบอกกำหนด | หมายแขกเมือเตมยํศให้พร้อมน่า | ||
ทหานก๊าดเข้าแถวแนวสันลา | ถัดเข้ามามีอีกหมู่อยู่ชั้นใน | ||
ตามน่าห่อ่พระสมุดสุดสง่า | ล้วนรักษาพระอํงตื่นยืนไสว | ||
พร้อมแกรวํงทํงคู่ดูเกรียงไกร | ที่แถวในน่าปราสาทก๊าดเรียงราย | ||
ล้วนทหานมหาดเลกราดวันลํบ | แต่งตัวครํบเครื่องครึ่งดูผึ่งผาย | ||
เสนาในใหญ่น้อยทั้งเจ้านาย | ต่างแต่งกายเตมยํศหมดด้วยกัน | ||
ที่ผู้ใหญ่เฝ้าในห้องเสดจออก | ผู้น้อยอยู่ห้องนอกผนังคั่น | ||
ยืนเรียงรายสองข้างทางจรัน | ตามอย่างอันจัดใหม่เคยใช้มา | ||
เวลาสี่โมงเสดเสดจออก | พระโรงนอกต่างคำนับสลับหน้า | ||
สมเดจก็เสดจตามลีลา | ทั้งพระราชโอรํฏสามาพร้อมเพรียง | ||
พ่อ่รถเจ้าเข้าท่วานทหานคำนับ | สนั่นสับแกรวํงส่งแซ่เสียง | ||
บันเลงเพลงสั่งกระเสินเพลินสำเนียง | รดขับเรียงเลี้ยววํงตรงอัศจัน | ||
กรมหมื่นวรจักพระอํงจอน | คอยรับกอนกู๋ดบ๋ายชวนผายผัน | ||
ปางพระอํงผู้ดำรงทศทัน | เสรจจ่อ่ร่จันออกมารับประคับประคอง | ||
ถึงท่วานเจ้าคำนับจับหัตถา | แล้วทรํงพาเข้าไปถึงในห้อง | ||
กรัดปราไสไถ่ถามตามทำนอง | ควรแก่คลองไมกรีมีต่อกัน | ||
แล้วตำหรัดกรัดนำให้ได้เฝ้า | สมเดจพระนางเจ้าจอมสาวสัน | ||
เจ้าถวายคำนับอับพิวัน | แล้วจุ๊บหัดเปนสำคันความนอบนํบ | ||
อันเยี่ยงอย่างข้างฝาหรั่งนางกระสัต | ประทานหัดแล้วต้องจุ๊บตามฉบํบ | ||
เปนนับถือยิ่งอย่างทางคำรับ | ต่อยํศใหญ่จึ่งได้พํบพระราช่ทาน | ||
แล้วประทานดวงตราอร่แชน | กับผ้าแกรนกร๊อดต่พายสายประส | ||
ท้องน้ำเงินขอบขจีมีประมาน | ตราบำนานชั้นที่หนึ่งพึ่งนิยม | ||
แล้วทรํงนำแนะบันดาที่มาเฝ้า | ให้รู้จักกับเจ้าสนิทสนม | ||
เจ้าก็นำแต่บันดาข้าในกรํม | เข้ามาก้มคำนับน้อมพร้อมทุกนาย | ||
ครั้นเสรจกรัดสนทนาโปรดปราไส | เสดจไปส่งพลันให้ผันผาย | ||
เจ้าทูลลาพาขุนนางย่างเยื้องกราย | ขึ้นรดรายเรียงร่ดับขับตามกัน | ||
พ่อ่เคลื่อนรดทหานรับคำนับถวาย | ดังบันร่ยายมาแต่แรกไม่แปลกผัน | ||
สิ้นแขกเมืองเรื่องความตามรายวัน | ตอนค่ำนั้นไว้ข้างน่าจะว่ากลอน | ||
วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ | |||
เช้าวันนี้มิได้เสรจออกเลี้ยงพระ | ด้วยพระราช่ธุระไม่อยุดหย่อน | ||
บ่ายสี่โมงเปนกำหนดนรินทอร | บทจอรเยี่ยมฝาหรั่งวังสำราน | ||
ทหานแห่แลหลามตามเปนหมู่ | ถึงประตูวังแกรแซ่ประสาน | ||
เจ้าฝาหรั่นทั้งบันดาข้าราช่การ | คอยรับอยู่ที่ท่วานจะเข้าวัง | ||
เสดจจากรํดทรํงกรํงจับหัด | ขุนนางยืนเยียดยัดอยู่สพรั่ง | ||
ตามเสดจยาตกราดาประดัง | ถึงพระที่นั่งอยุดประทับรับห้องใน | ||
พวกฝาหรั่งที่ได้กราติดมาดื่น | ต่างมายืนเฝ้าอยู่ดูไส่ว | ||
ตำหรัดถามศุขทุกขตามฤไท | ทางปราไสสนท่นาไม่ราคี | ||
พ่อ่สมควรเสดจคืนรํดที่นั่ง | ขับผาดผังมาตามทางหว่งวิถี | ||
ถึงประทับกลับขึ้นพระมนทรี | ยามรากรียกไว้ว่าวันน่าไป | ||
วันจันทร์ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ | |||
เลี้ยงพระสํงทรงบาดทั้งปวงเสรจ | สมเดจเสดจตามอํงกานสั่งขานไข | ||
พอสิ้นแสงสุริโยอ่โนทัย | เสรจคันไลห่อ่สมุดวัดชียาน | ||
ชุมนุมคิดกิดการงานเปิดหอ | กานอื่นอิกต่อไปหลายสถาน | ||
เสดจขึ้นข้างในได้ยามนาน | กระเกรียมการลอยกระทงเสรจลงแพ | ||
สองยามเสดเสดจจากพระที่นั่ง | ลงสู่เรือบันลังริมกระแส | ||
เรือล้อมวํงจอดอยู่คอยดูแล | เสียงเซงแซ่ปี่พาดระนาดค้อง | ||
กลองแขกอื้ออึงเสียงตึงทั่ง | แกรฝาหรั่งโครมครึกกลองกึกก้อง | ||
ทุ่นหยวกรายต้ายสว่างอย่างท่ำมอง | เรือคอนพายขึ้นล่องปักโคมบัว | ||
เรืออ่นันสีสะนากมากสนัด | มีทํงฉัดเทียมประจำในลำทั่ว | ||
โคมกระจกสีกระจ่างไม่พร่างมัว | ประดับหัวประดับท้ายคล้ายดารา | ||
บุดส่บํกพระที่นั่งตั้งพระไชย | เครื่องมัดส่การวางไว้ที่ตรงน่า | ||
ทรงช่นวนคัดจามงามกรูตา | จุดเทียนในนาวาที่รายไว้ | ||
ทั้งเจ้านายฝ่ายในได้ทรํงจุด | จนสิ้นสุดแสนกระจ่างสว่างไสว | ||
ที่น่าท้ายสองข้างห่างออกไป | ฝ่ายน่าได้จุดต่อพ่อ่ทั่วลำ | ||
พ่อ่เรือมาทอดที่มีบันหาร | ให้ขับขานเห่เอื่อยเสียงเฉื่อยฉ่ำ | ||
เพดฉลูต้นบดชดช้อยคำ | ถึงแก่คร่ำตาหยียังดีครัน | ||
ส่วนขุนรามที่สองรองค่อ่เล่า | ถึงแก่เถ้าเสียงดังยังขยัน | ||
ไม่ใส่หมวกใส่ม่อยปล่อยอย่างนั้น | กระจ่างแจ้งแสงจันประชันไฟ | ||
แกกลอกหน้าเข้าท้ากันทั้งคู่ | สีพายรับอู้อู้เสียงหวั่นไหว | ||
ขุนรามมักลืมปลายละลายไป | กระล่อมกระแล่มฮ้าไฮ้ได้ทั้งเพ | ||
จุดเทียนหมดร้องบดช้าแล้วะเรือ | สีพายจ้ำสามเตื้อร้องเห่เห่ | ||
เห่โหโอละวะเห้เฮ | แล้วโอ๋เห้มารานาวาจอน | ||
สุวันละหํงกรํงมาน่าบันลัง | พานพุ่มตั้งบุดสะบํกไม่ยํกถอน | ||
พร้อมฉัดทํงเทียนอร่ามงามบ่อ่วอน | จุดแล้วผ่อนลอยลำตามกันไป | ||
เรือกระทํงน้อยลอยถวาย | ปักเทียนรายตลอดลำงามไส่ว | ||
ทั้งเรือสีเรือกราบเอกไชย | สิ้นเรือหลวงแล้วจึงให้ปล่อยสำเภา | ||
มีทํงเที่ยวเขียวแดงปลิวแพลงพลิ้ว | ใบม้วนติ้วรีบรัดมัดกับเสา | ||
ร่ยางแขวนโคมกระจ่างสว่างเงา | เทียนรายปากมากไม่เบาสว่างวาว | ||
ทรงดอกไม้สันยาย่าบันลัง | เขาประดังจุดพุ่มควันกลุ้มขาว | ||
ประเดี๋ยวใจไฟสว่างเหมือนอย่างดาว | ประกายพราวหยดพร่างอย่างพิรุน | ||
จุดกระถางประทัดลั่นสนั่นก้อง | รัดทาร้องอื้อออดตอดออกวุ่น | ||
พุ่มตะไลไปเปนหมู่ดูชุลมุน | จุดที่ทุ่นสายกลางดูพล่างพราว | ||
เพนียงลอยกลางชลาน่าพิดส่วํง | ด้วยว่าส่งลูกถี่เปนสีขาว | ||
บ้องหนึ่งคงส่งลูกถึงสามคราว | เหมือนดวงดาวสุกสว่างกระจ่างตา | ||
ทั้งพลุน้ำก็สำคัญมิใช่หยอก | ตะละดอกลอยทลึ่งถึงเวหา | ||
เหมือนปืนใหญ่ยิงก้องท้องคงคา | ตึงทีไรไนยนาพริบทุกที | ||
เสียงกรวดก้องร้องแปร๋ดวงแตหวาด | เหมือนเสียงสายฟ้าฟาดมิ่งขวันหนี | ||
หวั่นอุรากลัวจะผ่ามาข้างนี้ | นึกเสดจอยู่นี่ไม่ต้องกลัว | ||
ที่ทุ่นไฟทหานในจุดดอกไม้ | ล้วนเปดไซ้แหนจ้อยจ้อยค่อยยังชั่ว | ||
ตะเข้ใหญ่บางทีมีสี่ห้าตัว | บ้างคาบลูกดูออกพัวตัวน้อยน้อย | ||
ที่ทรํงจุดน่าบันลังยังมีอีก | นกบินปีกดีดีมีบ่อยบ่อย | ||
หมุนติ้วติ้วลิ่วขึ้นอากาศลอย | บ้างย้อนรอยเข้าบันลังร้องดังอึง | ||
ที่ใจดีมีสติก็หยิบทิ้ง | ที่ขี้ขลาดหวาดวิ่งลุกทลึ่ง | ||
บ้างผ้าไหม้ไล่ขยี้ตีฟาดทึ้ง | จุดดอกใหม่ใจปึงปึงคอยมุ่งมอง | ||
เรือเจ้านายรายถวายให้ทรํงจุด | ก็สิ้นสุดตามกำหนดหมดทั้งผอง | ||
เรือกระบวนมากมายนับก่ายกอง | จุดเทียนล่องลอยวางกลางคํงคา | ||
แปดทุ่มเสดเสดจขึ้นคืนนิเวศ | เปนสิ้นเขตรในวันนี้ที่จะว่า | ||
สองรากรีที่มิได้เรียบเรียงมา | เหมือนวันนี้ทุกเวลาไม่แปลกกัน | ||
วันอังคาร เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ | |||
เช้าวันนี้มีการส่ดับพระกอน | ตามเยี่ยงย่างปางก่อนไม่ผิดผัน | ||
เรียกว่ากาลานุกาลนั้น | สมเดจเสรจผายผันมาทรํงแทน | ||
เยนวันนี้มีประชุมที่สวนหลวง | คนทั้งปวงต่างมาออกหนาแน่น | ||
ในการรับเจ้าฝาหรั่งมาต่างแดน | ตั้งแห่แหนช้างไปให้เขาดู | ||
สมเดจพระราชโอรํฏบํทจอน | ไปสู่ที่สโมสอนเข้าในหมู่ | ||
ขุนนางไทยแลฝาหรั่งมาพรั่งพรู | สิ้นเรื่องรู้จํดระรี่วันนี้ไว้ | ||
วันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำ | |||
เช้าทำบุนทูลหม่อมกลางข้างในสวน | นับจำนวนครบเวลาพรรษาไส่ม | ||
คิดแต่วันทั่นสิ้นพระชนไป | ที่สุดไทส่วันอันอุดํม | ||
พระหัวเมืองมีนามสามสิบถ้วน | แต่ล้วนขึ้นคะนะไต้ไม่ประสํม | ||
ส่ดับพระกอนไกรย่ามตามนิยํม | ว่าชื่นชํมส่วนเจ้าภาบลาบของพระ | ||
ทั่นถ่วายปัดใจมิใช่เล่น | อํงหนึ่งเปนห้าตำลึงทีเดียวหนะ | ||
รายร้อยอีกอํละบาทไม่ขาดละ | สาทุสะโมทะนาสัดทาครัน | ||
ของหลวงสองร้อยไม่น้อยกว่า | ร้อยหนึ่งผ้าขาวพับดูขับขัน | ||
แต่ร้อยหนึ่งเงินเฟื้องตามเบื้องบัน | พ่อ่อสิ้นแสงสุริยันก็ทิ้งทาน | ||
กระละพรึกสี่ต้นคนกลุ้มแน่น | บ้างยื่นแขนชูมืออื้อน่าฉาน | ||
ทรงโปรยมะนาวแผ่ฉลากมากประมาณ | ของกระการต่างต่างล้วนอย่างดี | ||
สวดมํนค่ำแล้วมีทัมเทศนา | กันหนึ่งเงินถึงสิบห้าเปนเสดฐี | ||
ของเครื่องกันหลากหลากก็มากมี | ตกรากรีจุดดอกไม้ไฟทั้งปวง | ||
หนึ่งกานเล่นเยนเช้าไม้สูงต่ำ | ที่ตามตำหรับโบรานในงานหลวง | ||
เวลาค่ำรำโคมอัคคีดวง | ก็มีหมดทุกกระทรวงไม่ลดลา | ||
แต่โขนหนังเจ้าฝาหรั่งเขามาอยู่ | จะหนวกหูรุงรังทั้งไขหน้า | ||
จึงเปลี่ยนมียี่เกที่ช่ลา | เล่นกรํงน่าประสาดใหม่ที่ในวัง | ||
เขาออกแขกแปลกท่ามาใหม่บ้าง | แต่อยู่ข้างจืดเหนื่อยนั่งเมื่อยหลัง | ||
ห้าทุ่มเสดเสดจคืนเข้าในวัง | เปนหยุดยั้งข้อคดีที่มีกาน | ||
เจ้าคุนกรํมนาใหม่ได้ว่าที่ | ท่านมีกานโกนจุกบุดที่บ้าน | ||
ชื่อนายพาดหมายมาดได้ราช่การ | สืบสันดานเชื้อวํงจํงฤไทย | ||
ทูลหม่อมโตคันไลเสรจไปช่วย | ด้วยว่าท่านมีจิตรพิดไส่ม | ||
พรุ่งนี้เล่าเจ้าฝาหรั่งเขาจะไป | ท่านเชินให้รํดน้ำตามทำนอง | ||
มีละคอนสองโรงโอโถงแท้ | คุนท้าวแพวันนี้ที่เจ้าของ | ||
พรุ่งนี้พระอํงสีนากสำรอง | งามทั้งสองโรงเทียบเปรียบหม่อมนาง | ||
จะพันระนาไปอีกก็ไม่ไหว | ด้วยไม่ได้เหนส่นัดพานขัดขวาง | ||
จะงดกลอนตอนวันนี้ไว้ทีพลาง | พรุ่งนี้ว่างจึงจะว่าข้างน่าไป | ||
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ | |||
สุดไทยส่วันสันนี้ก็มีกาน | เหมือนเมื่อวานทุกอย่างหาต่างไม่ | ||
เปลี่ยนแต่พระเปนคนะฝ่ายเหนือใน | หัวเมืองใกล้แขวงจังหวัดเลือกคัดมา | ||
หนึ่งทิ้งทานทั้งเมื่อวานแลวันนี้ | เจ้าฝาหรั่งทั้งผู้ที่ตามรักษา | ||
กับปิตันอับพิเซ่อในนาวา | มาเฝ้าที่พลับพลาคอยรับทาน | ||
ส่วนตัวเจ้าเขานั่งบนพลับพลา | นอกนั้นนั่งที่เบงจาน่าส่ถาน | ||
ทรํงแจกจ่ายหลายหลากมากประมาณ | ซ้ำจัดการอย่าง “ผ้าม่วง” ตามท่วงที | ||
ค่ำวันนี้มีการละเล่นใหม่ | ละคอนใช้ตลํกเล่นเหนต้องที่ | ||
จับเมื่อแต่งงานพระไวในทานี | เจ้าขุนช้างเสดถีมาช่วยงาน | ||
เจ้าขุนแผนแต่งอย่างใหม่ใช้เชดหนัง | ดินสีพองเขียนหลังลายเปนย่าน | ||
พระหมี่นสีแต่งตัวใส่หัวล้าน | กรํงน่าบ้านแต่งเช่นเปนขุนนาง | ||
ในระกาขนํมปังทั้งส้อยแขวน | ทาขาแทนถุงเท้ารองเท้าเที่ยวก้าวย่าง | ||
พระพิจิตใส่เสื้อยืดดูจืดจาง | ส่วนขุนช้างนุ่งยกโจงกระเบน | ||
ใส่หนังค่างผมยางอย่างเตมยศ | แต่หน้าลีบไม่รับบดออกเถนเถน | ||
ใส่เสื้อขาวยาวอย่างเสื้อปะเตน | คาดเพลาะเขียวดูเห็นไม่เข้ากัน | ||
เล่นตลํกเกินไปจนไม่ส่นุก | บ่าวมันลุกลี้ลุกลํนจํนเกินขัน | ||
เลยกร่อยกร่อยกันไปไม่ได้รังวัน | ห้าทุ่มพลันเสดจขึ้นคืนข้างใน | ||
เยนวันนี้มีกานแข่งนาวา | ที่กรํงน่าตำหนักแพแม่น้ำใหญ่ | ||
เรือที่นั่งกราบสีเอก่ไชย | มาพายให้เจ้าฝาหรั่งเขานั่งดู | ||
เวลาค่ำซ้ำไปบ้านเจ้าคุนพาด | เลยรำท้าวตามชาตเขาเข้าคู่ | ||
หันเหียนเวียนกันไปคล้ายพะบู๊ | น่าเวียนหัวเวียนหูเล่นสับประดํน | ||
ปะเปนไทยเราเอาไปเล่นเช่นนี้ | ได้หัวแตกหัวลั่นกันปี้ป่น | ||
จะเปนลํมล้มพับถึงอับจน | สิ้นนุสนตามวันนี้มีเรื่องราว | ||
วันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๕ ค่ำ | |||
สุดไทส่วันเหมือนกันกับวันก่อน | เปลี่ยนแต่เปนพระมอนเสียงเหง่อหง่าว | ||
ฝาหรั่งไม่ได้มารับลูกมะนาว | เขาบอกข่าวว่าขึ้นไปบางปอิน | ||
ในวันนี้มีละคอนต่ลกใหม่ | ค่อยใช้ได้ดูไม่จืดไปทั้งสิ้น | ||
จับเมื่อสุริยํงมาเล่นวาริน | กับเงือกน้ำตามถิ่นชายคงคา | ||
อักส่ดอนกับกุมพํนเทยวค้นทั่ว | มาพบตัวโฉมศรีที่ตินท่า | ||
พานางไปในเมืองพระพัดส่ดา | ซ่อนไว้ในยุท่ยากับม้าทรํง | ||
ฝ่ายกุมพนคนดีมีความรู้ | เข้าไปสู่ที่เฝ้าสุวันะหํง | ||
ยักคินียวนยีอยู่ข้างอํง | เทอไหลหลงขันขันมันชั่งทำ | ||
เมื่อวานนี้นายต่ายเปนขุนช้าง | ดูแก้มคางลดไปไม่ไหล่ล่ำ | ||
จนแปลกน่าท่าถ้อยพลอยงึมงำ | แกแก่คร่ำเตมทนจนแปลกตา | ||
ครั้นวันนี้ว่าเปนทีสุวันละหํง | ดูซวดทรํงผิดไปเปนหนักหนา | ||
เห็นหนุ่มน้อยน่ารักดวงภักกรา | สองแก้มพวงดวงน่านวนเปนใย | ||
คุนท้าวนากท่านก็เหนเหมือนเช่นฉัน | เหนพร้อมกันว่าคนนี้นั้นหมีใช่ | ||
เหมือนเมื่อวานคํนที่เล่นเปนหมื่นไว | ก็ว่าไนเนดเปนเหนไม่จริง | ||
นี่รูปร่างเกลี้ยงเกลาเหนเพราพริ้ง | หนุ่มอย่างยิ่งอายุเพียงสิบเจดปี | ||
จำได้แท้แต่ท่าร่พระพิจิด | รูปาริดท่าเล่นเหนเตมที่ | ||
คือนายนวนลูกเจ้ากรับแล้วคํนนี้ | ยังนายสีที่เปนนางอสุรา | ||
คุนท้าวไยท่านว่าไล่มันไม่จน | เล่นสนุกกว่าทุกคนไม่แกล้งว่า | ||
แต่ขำแกรหายไปไม่เหนมา | หฤาจะแก่ช่ราตาซมซาน | ||
เหนแต่ไอ้เจ้าหวาดลูกของไก | อายุสักสิบสี่ได้น่าสํงสาน | ||
เจ้าแม่นามาอํดนอนได้ทนทาน | ตลํกใหญ่ได้การเหมือนบิดา | ||
เจ้าเมกนั้นมันก็เล่นดีทายาด | แต่เปนรองไอ้เจ้าหวาดสี่เอาห้า | ||
มันภูใหญ่ได้เคยเล่นออกเจนมา | เกลียดน้ำหน้าภูหยิงมักรักใคร่มัน | ||
ได้รังวันกันคํนละโขโข | เจ้าสีแหละกองโตเพราะเขาขัน | ||
สงสานหวาดคลาดไปไม่ได้รังวัน | ภูใหญ่อิดฉามันคอยกันไว้ | ||
เด็กที่เปนพระหมื่นไวก็ไม่เหน | หฤาที่เปนสุริยํงยังสงไสย | ||
แต่มีหนวดแก้มก้อยก็น้อยไป | เจดทุ่มได้เสดจขึ้นคืนกลับมา | ||
วันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ | |||
เวลาค่ำวันนี้มีรับสั่ง | ให้เล่นละคอนฝาหรั่งเหมือนดังว่า | ||
ประทานมันพันเหลียนเปนราคา | มากนักหนาจะระนีก็ดีใจ | ||
ให้เป่าร้องหาเจ้านายข้างฝ่ายหน้า | ทั้งข้าราช่การภูน้อยภูใหญ่ | ||
พระอํงเจ้าท้าวนางพวกข้างใน | ปลูกแต๊นใหญ่ทุ่งพระเมนเหนพี่ลึก | ||
ดูใหญ่โตระโหถานเหมือนบ้านช่อง | ยังอีกสองหลังกระไรใหญ่เท่าตึก | ||
หลังน่าที่ไว้สัดดูอัดคึก | เดินเข้าไปใจทึกทึกนึกกลัวตาย | ||
หมู่ลิงเทาลิงดำทำโครกคราก | บ้างอ้าปากเหลือกตาน่าใจหาย | ||
ทั้งเสือดำเสือดาวต่างพราวพราย | ทั้งเสือลายตลับมีรวมสี่ตัว | ||
กรํงถัดไปในนั้นเขาใส่หมี | โตเตมทีสูงเยี่ยมเทียมค่าหัว | ||
เลกลงไปในนั้นอีกสองตัว | หลุดมาแล้วไม่ชั่วหนังหัวเปิง | ||
ถัดเข้าไปในกรํงมีเสือสาม | ล้วนเสือโคร่งคำรามแหงนน่าเบิ่ง | ||
ไม่ไว้ใจเข้าไปใกล้กลัวเสียเชิง | แล้วเดินเหลืงเหลียวน่ามาขวามือ | ||
มีกรํงเสือฝาหรั่งตั้งอยู่ต้น | บางคนว่าสิงโตเขานับถือ | ||
ผมเปนเชิงชอบกํนคำรํนฮือ | น่าดุดื้อดังจะโผนโจนจับคน | ||
ถัดไปในคอกเขาขังม้า | เลกหนักเลกหนาน่าฉงํน | ||
แลไปใจหมายว่าม้ากํน | เขาติดยํนไยไว้ให้คนดู | ||
เหนไม่ดุเดินเข้าไปใกล้คอกขัง | ต้องยืนตั้งตามเขม้นอยู่เปนครู่ | ||
เหนมันก้มกินย่าน่าเอนดู | อ้วนเปนหมูไม่เคยเหนเลยเช่นนี้ | ||
อีกตัวหนึ่งเขาว่าลาดูน่าเคอะ | เหมซึมเซอะยืนอยู่ทำหูลี่ | ||
ต่อออกไปไว้นางกิรินี | ล่ามแหล่งมีสองตัวน่ากลัวจริง | ||
ไปใจหายแทนงัวตัวหนึ่งนั้น | เขาล่ามแหล่งไว้ด้วยกันลงนอนนิ่ง | ||
สีเทาเทาไม่เข้าท่าน่าประวิง | กลัวช้างจะเต๊ะกลิ้งไม่อาดลุก | ||
พอฝาหรั่งตีระคังเสียงหง่างโหง่ง | เข้าไปนั่งดูในโรงค่อยเปนศุก | ||
เขาขี่ม้าพากันออกมาพลุกพลุก | น่าสนุกหันเหียนวิ่งเวียนวํง | ||
ทั้งหยิงชายหลายคู่ดูไม่ถ้วน | ใส่เสื้อแพรกกระบวนงามระหํง | ||
ขี่ม้าเทดเผ่นผ่งาดดูอาดอํง | จับคู่เคียงเรียงอนํงอยู่กรํงกลาง | ||
ตัวนายใหญ่ขี่ม้ามาผ่ายหลัง | มีคํนยืนแถวตั้งทั้งสองข้าง | ||
ถึงกลางวํงกรํงเข้าหม่ดูท่าทาง | จะเปนอย่างหัดท่หานคานชิงไชย | ||
เข้าตับกันทีละสามแล้วย้ายสี่ | วิ่งออกจี๋ส่บัดย่างแล้ววางใหญ่ | ||
บางทีขับเสมาน่าดากันไป | วิ่งอยู่ในสังเวียนเรียนชำนาน | ||
พ่อ่สิ้นท่าขับม้าเข้าโรงหมํด | ไปเขนรํดเสือมากรํงน่าฉาน | ||
แต่เปนเสือฝาหรั่งที่สีน้ำตาน | ยืนกระหง่ายอยู่ในกรํงจํนวํงกลาง | ||
พวกนั่งดูกรํงประตูอํกเต้นโหยง | ถ้าโดดโผลมาหละยับดับฉวาง | ||
ใช่แต่ฉันแต่ชั้นคุนท้าวนาง | ต้องถอยห่างออกมาดูอยู่แต่ไกล | ||
คุนท้าวอินท่านหนีไปลี้ลับ | จนเลยหลับหลังพลับพลาหาดูไม่ | ||
พ่อ่กรํงเสือไปพ้นรํนเข้าไป | น่าเสียวไซ่ดูฝาหรั่งนั่งขํนพอง | ||
มันเข้าไปในกรํงแสนอํงอาด | เสือขู่ฟู่เอาแซ่ฟาดจํนกลัวหยอง | ||
ให้นั่งหิ้งห้อยได้เหมือนใจปอง | เอาหัวลองเข้าในปากไม่หยากกลัว | ||
เสือก็ไม่ทำไมเขาหมดสิ้น | เราคํนดูเกือบจะดิ้นกลัวขํบหัว | ||
ยิ่งนึกไปใจพรั่นสั่นรัวรัว | นึกพั้วพั้วขอให้เลิกไปพลันพลัน | ||
หมํดชุดนี้มีเดกมาขี่ม้า | แล้วทำท่าต่างต่างอย่างขันขัน | ||
ตีนมันเหนียวเกินไปสงไสยครัน | ฤาหนึ่งมันจะใช้อะไรทา | ||
แต่ก็ขันมันกระโดดได้เหยงเหยง | เหนเก่งเองชาดฝาหรั่งพวกมังข้า | ||
นั่งดุม้าวิ่งวํนจํนลายตา | ต้องเมินน่าเวียนสีสะเหลือจะทํน | ||
ชุดที่สี่ยี่ปุ่นออกเล่นร่ม | เคยมีถมยังได้ไม่ฉงํน | ||
ฉากฉ้อยถีบลอยลอยอย่างเล่นกํน | แต่น่ายํนกว่าเสือเหลือรำคาน | ||
ที่ห้าหัดม้าสีเหลืองเหลือง | ให้ย่างเยื้องเข้าจังหวะแกรทะหาน | ||
ยืนสองเท้าก้าวจังหวะกะประมาณ | คือตัวท่านจะระนีขี่ม้าเอง | ||
ต่อชุดนี้สามีกับพันระยา | ขึ้นขี่ม้าค่เล่นเต้นออกเหยง | ||
นางเมียปืนบ่าผัวไม่กลัวเกรง | มันเหลือเก่งกว่าภูหยิงจิงจิงเจียว | ||
เจ้าผัวจับเอวได้ตะพายหิ้ว | นางเมียลอยราวกับปลิวใจเสียวเสียว | ||
ม้าฮ่อใหญ่ไม่ได้ยั้งสักครั้งเดียว | เล่นขับเขี้ยวให้คนดูอยู่นานครัน | ||
ภูชายมักตบมือออกอื้อฉาว | นั่นเรื่องราวว่ากระไรไฉ่นนั่น | ||
อย่างช้างไทยใช้ผัดพ่อเขาล้อกัน | ฝาหรั่งมันว่ากระไรก็ไม่รู้ | ||
ชุดที่เจดคราวนี้ลิงขี่ม้า | เขาเอาเชือกมัดขาทำน่าจู๋ | ||
วิ่งหัวคลอนย่อนย่อนน่าเอ็นดู | แต่ไม่สู้เมื่อกระนั้นขันกว่านี้ | ||
แล้วคนถือป้ายหนังสือตัวฝาหรั่ง | ว่าไรมั่งจนอยู่ไม่รู้ที่ | ||
ที่อ่านออกเขาบอกว่าข่อ่อยุดที | กำหนดมีเวลาสิบห้าพินิต | ||
ได้เวลาตีระคังเสียงกั่งโก่ง | ตัวละคอนออกทั้งโรงยืนติดติด | ||
จับกันเปนท่าทางอย่างแผลงริด | ไม่ใคร่ผิดกับพะบู๊ดูคล้ายคลึง | ||
ชุดที่เก้าเอาช้างออกมาเล่น | ไม่เหนมีหม่อ่ม่อยปล่อยจํนถึง | ||
ถ้าไล่คํนจะชอบกํนคํงแตกอึง | ฉันต้องถอยมาหน่อยหนึ่งเพราะออกคร้าม | ||
เขาเอาถังมาตั้งไว้ให้ขึ้นยืน | ไม่ขัดขืนปีนช้าช้าน่างุ่มง่าม | ||
ให้ยกตีนยกขาว่าไรตาม | หกขะเมนแลดูงามกว่าทั้งนั้น | ||
ทั้งเป่าปูดเป่าไรไรได้ทุกสิ่ง | แล้วให้กลิ้งถึงเวียนเดินเหียนหัน | ||
แล้วคายหัวคนเลี้ยงถึงเพียงกัน | เขาชั่งหมั่นฝึกฝนเอาจนดี | ||
ทิ่สิบนั้นนางแหม่มเขาขี่ม้า | มีต่ลํกออกมาพูดอู้อี้ | ||
หํกขะเมนลอดบ่วงทำท่วงที | ล้อนารีบํนหลังม้าว่าทำเปน | ||
แล้วนางแหม่มควบม้าท่าดังเหาะ | ตามสังเวียนจำเพาะก็โดดเผ่น | ||
ลอดบ่วงถึงสามระยะน่ากระเดน | ไม่ยักตํกกลับเต้นส่บายใจ | ||
ต่อนี้ไปในกระบวนซ้อนเต้าอี้ | จนถึงมีม้าตั้งยังซ้อนได้ | ||
จนสูงลิ่วแลหวิวหวาดฤไทย | แล้วซ้ำไปหํกขะเมนเล่นบํนนั้น | ||
ชุดต่อนี้มีนกขี้ราบขาว | กับหยิงสาวออกมาเล่นไม่เหนขัน | ||
ม้าตัวเล็กดอกเอนดูมันรู้ครัน | วิ่งสังเวียนเหียนหันได้เรียบร้อย | ||
อีกทั้งยืนสองเท้าก้าวจังหวะ | เอาไม้วางวิ่งปะทะก็กลับถอย | ||
เดินหลังได้ดิบดีทีละน้อย | แล้ววิ่งร่อยเลยลับกลับเข้าเตน | ||
ต่อตอนนี้ยี่ปุ่นเลี้ยงกระได | มีเดกปีนขึ้นไปเช่นเคยเล่น | ||
ม้าสามตัวต่อไปก็ไม่เว้น | เล่นเหมือนเช่นเคยเล่นมาทุกครั้ง | ||
ต่อนี้มีคนหนึ่งออกมา | แต่งอย่างคนแข่งม้าข้างฝาหรั่ง | ||
มายืนขับพาชีมีกำลัง | หนังเต้าอี้ที่บนหลังไม่พลาดแพลง | ||
ดูหมิ่นหมิ่นท้ายม้าน่าจะตก | มันไม่ยักหํกค่เมนเหนเหลือแขง | ||
ด้วยใจมั่นสันทัดไม่พลัดแพลง | แล้วเปลี่ยนแปลงออกเล่นเปนตอนตอน | ||
คราวนี้เสือบั้งก้าหล่าว่าดุนัก | ต้องหลบพักเลี่ยงไถ่ลไปเสียก่อน | ||
คนลากคํดเขากลับดับอาวอน | จึงค่อยผ่อนออกไปนั่งเหมือนยังเดิม | ||
พอเปิดกรํงเสียงโฮกกระโชกลั่น | ให้หวั่นหวั่นไยมันคึกทำฮึกเหิม | ||
ยิ่งแลไปใจพรั่นตัวสั่นเทิ้ม | รู้เช่นนี้หนีไปเคลิ้มเสียจะดี | ||
ถ้ามันผลุดหลุดออกมาจะว่ากระไร | คว้าเอาไคเข้าแล้วเหนต้องเปนผี | ||
ถึงเสือกัดจะไม่มอดรอดชีวี | ท่หานที่ถือปืนยืนประจำ | ||
เขาจะยิงคํงจะกลิ้งลํงเปนแน่ | มิใครก็ใครคํงจะแผ่เพราะปืนร่ำ | ||
ออกเสียใจเราไปดูคือสู่กำ | ต้องกลืนกล้ำฝืนอารมอยู่นมนาน | ||
เขาเข้าไปในให้มันทำเหมือนคราวก่อน | เคื่ยนร่ำไปไม่หยุดหย่อนเสือก็หาน | ||
ขึ้นยืนเกาะกรํงเผ่นเหนท่ยาน | กลัวละลานแล้วเขาให้ลอดบ่วงไฟ | ||
เอากระดานชุบกอฮอห่อบ่วงจุด | เสือลุกผลุดไปมาหาขัดไม่ | ||
ถ้าฝาหรั่งผินหลังมาเมื่อไร | ก็ขู่โฮกเหมือนจะใคร่เข้าคายเคี้ยว | ||
ต้องฟาดแซ่ร่ำไปใส่ขวับขวับ | จนเลิกกลับออกมาน่าหวาดเสียว | ||
เวดมํนเขาคํงชงัดชัดจิงเจียว | คํนคํนเดียวเสือสามตัวจึงกลัวลาน | ||
แล้วเอาชิ้นเนื้อโคโตส่นัด | เสียบส้อมยัดเข้าไปให้เปนอาหาน | ||
เสือตะครุบปากงับรับประทาน | ดูเดือดดานมิใคร่หายวายโกรธา | ||
กว่าจะเสดเกือบเจดทุ่มไปได้ | เสดจขึ้นคืนข้างในไปทั่วน่า | ||
สิ้นเนื้อความตามกำหนดจำจดมา | ต่อพรุ่งนี้จึ่งจะว่าความต่อไป | ||
วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ | |||
วันนี้มีสมโพดขึ้นพระอู่ | ต่างคนรู้ทั่วหน้าหาขาดไม่ | ||
ไปตำหนักท่านอํงเล็กที่ข้างใน | แต่พ่อ่ได้เวลาเสดจลง | ||
คุนว่อ่ร่จันทั่นเชินเสดจมา | สู่ขันถํมทาราให้โสดสง | ||
พระเต้าน้ำบั้งการหรีคราวนี้ทรํง | ด้วยพระอํงสายเสดจไปลันดอน | ||
พรามพระครูชูสังหลั่งถ่วาย | แล้วเชินย้ายลํงสู่ยี่พู่อ่อน | ||
ทรงขมิ้นดินสีพองประคองกอน | แล้วค่อยช้อนผ้าหุ้มคลุมพระกาย | ||
เชินเสดจมานั่งยังเต้าอี้ | กรํงใบสีเงินทองแก้วแพร้วพรายฉาย | ||
พรามสามคํนจุดเทียนแว่นเวียนราย | แล้วเจ้านายภูหยิงทรํงส่งรับกัน | ||
ครบห้ารอบตามร่บอบแบบฉ่บับ | เข้าแว่นดับเทียนสำเนียกเรียกพระขวัน | ||
เสกกะถาว่าโส่ลกแล้วโบกควัน | แป้งน้ำมันเจิมบาทราชโอรํฏ | ||
อีกคํนหนึ่งจึงเข้าไปฟาดด้าย | ผูกบาทซ้ายขวาทำตามกำหนด | ||
ช้อนทองตักน้ำมนาฬีที่มีรํด | ถ่วายให้ทรํงซํดถึงสามครา | ||
แล้วประทานน้ำพระสังแลเจิมจัน | ผูกด้ายขวันที่พระกอนทั้งซ้ายขวา | ||
ใบไม้วางข้างยี่พู่อู่นิดกรา | ทั้งพระหัดะเลขาตั้งพระนาม | ||
ว่าพระอํงอิดสีริยาภอน | ให้ถาวอนสักสีเปนที่ขาม | ||
เหล่าสัตกรูหมู่พาลาอย่าลวนลาม | ให้มีความจำเรินเนิ่นนานเนา | ||
ของสมโพดโปรดประทานเงินหกแท่ง | กับทองคำกำลังแพงอีกลิ่มเล่า | ||
ขันลงยากาทองคำงามไม่เบา | เงินสิบชั่งตั้งริมเสาพระอู่ทอง | ||
ทองพระบาทส้อยทองก้อนร่อนได้ใหม่ | ทรํงวางไว้ในพระอู่ดูไม่หมอง | ||
สายสินโยงเสาไว้ให้คุ้มครอง | พรามประคองพระกุมารพลางอ่านมํล | ||
แล้ววางอํงลํงกลางพระอู่น้อย | ชักสายส้อยเห่ขับไม่สับสํน | ||
ว่ากล่อมหํงลํงทำนองทั้งสองคํน | จํบบํดต้นเป่าสังตั้งต่อไป | ||
บํดสองสามลำดับจนสับสิ้น | ประโคมพินพาดสนั่นเสียงหวั่นไหว | ||
สมโพดเสดเสดจนขึ้คืนคันไล | ต่างคํนไปจากตำหนักไม่พักนาน | ||
ค่ำวันนี้มีเลี้ยงโต๊ะเจ้าฝาหรั่ง | บํนพระที่นั่งปัดกวาดสอาดสอ้าน | ||
ฉันขึ้นไปชมเล่นเหนกระกาน | เหลือประมาณที่จะร่ำเปนคำกลอน | ||
ท้องพระโรงสีจัมพูดูสดใส | จัดไว้เปนที่พักข้างน่าก่อน | ||
พรํมลวดลาดทางย่างเยื้องจอร | ท่วานตอนต่วันออกบอกม่อ่ร่คา | ||
ห้องเลี้ยงโต๊ะโต๊ะวางอยู่กลางห้อง | เต้าอี้สองข้างรายเปนซ้ายขวา | ||
กลางโต๊ะตั้งเครื่องดอกไม้วิไลตา | ที่กรํงน่าเต้าอี้มีซ่อมช้อน | ||
ทั้งจานกราผ้าเชดมือมีดน้อยใหญ่ | ถ้วยแก้วไว้วางจังหวะเรียงสะหลอน | ||
จานสุบใส่ขนมปังนั้นตั้งช้อน | มีก๊าดบอกนามกอนกำกับจาน | ||
พวกบ๋อยมาคอยอยู่พร้อมพรั่ง | แกรฝาหรั่งมโหรีมีขับขาน | ||
ยังที่บํนห้องเหลืองมโหลาน | ล้วนที่ชาถ้วยปั้นตั้งตู้ราย | ||
ที่ห้องเขียวเลี้ยวขวาน่าชมยิ่ง | มีทุกสิ่งสุดร่ำคำข่ยาย | ||
ตู้ผนังตู้ตั้งยังมากมาย | ท่วงทีคล้ายห่อ่เจียมเอื่ยมอำไพ | ||
ห้องน้ำเงินนั้นยิ่งงามไปกว่านี้ | ตั้งเต้าอี้นอนนั่งทั้งน้อยใหญ่ | ||
ตามตู้เกลียวเหลียวน่าตาแลไป | เหมือนอย่างได้ขึ้นวิมานกระกานตา | ||
ตู้เครื่องนากก็ล้วนนากรูบมากหลาย | ดูมากมายล้วนจะร่ำรำพันว่า | ||
ตู้เครื่องทองทองล้วนชวนทัดส่นา | ตู้สํงยาล้วนลํงยาราชาวดี | ||
ตู้กระไหล่ของกระไหล่ใส่ทุกชั้น | ตู้ถํมสันถํมตะทองให้ต้องที่ | ||
ตู้เครื่องเล่นตุกตาน่าเปรมปรี | สาร่พัดที่จะมีล้วนน้อยน้อย | ||
ตู้เครื่องเพดแลผาดหวาดส่ดุ้ง | เหมือนแสงรุ้งฤาว่าพรายคล้ายฮิงห้อย | ||
ทุกวันนี้มีมากหนอเพดพลอย | หาใส่ก้อยเมื่อกระนั้นแทบบันไล | ||
เพดเดียวนี้มีมาก็จริงแหล่ | แต่น้ำแพ้สู้แต่ก่อนเขาไม่ได้ | ||
ตะกั่วตัดยักกราหายน่าไป | มีแต่เพดบ่อใหม่น้ำหลัวนัก | ||
แขกบอกมาว่าฝาหรั่งทำด้วยถ่าน | เกยไว้นานดำไปได้เหนประจัก | ||
อีกตำราว่าถ้าแซ่สานส้มนัก | ครู่หนึ่งจักเปนสานส้มสิ้นเหลี่ยมเงา | ||
อันเรื่องนี้ที่พระองค์ ป.ร. | ท่านเคยเหนมาก่อนรับสั่งเล่า | ||
ฝาหรั่งชั่งหลอกขายได้ไม่เบา | นี่หมีเอาเงินไปเปนหลายพัน | ||
กรํงพระท่วานทั่นร้อยดอกไม้แขวน | เปนแผ่นแผ่นเอออะไรที่ไหนนั่น | ||
บ้างเปนอย่างข้างฝาหรั่งรงรังครัน | เมื่อกระนั้นแล้วเปนยอดเพียงระย้า | ||
เดี๋ยวนี้แผลงแผลงไปให้วิถาน | อย่างโบรานเหนจะสูนเสียแล้วหนา | ||
เลี้ยงโต๊ะเสดจวนเสดจจะขึ้นมา | ต้องหนีไปแอบฝาแฝงตาดู | ||
ตั้งใจจะใคร่เหนเจ้าฝาหรั่ง | รูปร่างจะขึงขังอย่างไรอยู่ | ||
เขาตามเสรจเยื้องย่างทางพรมปู | พ่อ่โผล่เข้าในประตูก็เหนตัว | ||
ไม่มีหนวดมีเคราเค้ายังเด็ก | แต่ไม่เล็กสูงใหญ่มิใช่ชั่ว | ||
ดูยิ้มแย้มน่าตาไม่น่ากลัว | อยากให้ตัวกวินเขาเข้ามาเอง | ||
อยู่แต่เมืองวิลาดไม่คลาดบ้าน | ให้แต่ลูกแต่หลานที่เก่งเก่ง | ||
มาท่องเที่วทุกน่คอรจอนแลเลง | เดี๋ยวนี้เร่งเรียกให้กลับไปเมือง | ||
วันนี้เจ้าเขาจึงเข้ามาทูนลา | ว่าจะลงนาวาแต่ฟ้าเหลือง | ||
ห้าทุ่มเสดกลับไปไม่ขุ่นเคือง | ก็สิ้นเรื่องหมดเท่านั้นในวันนี้ | ||
วันอังคาร เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ | |||
แรมแปดค่ำวันพระระยะว่าง | วันนี้วางแขกเมืองไว้ให้ต้องที่ | ||
เสดจออกพระโรงนอกนามจักรกรี | พร้อมหมู่มุขมนตรีเนืองประนัง | ||
ด้วยเมืองมุกดาหานบอกขานไข | ส่งต้นไม้เงินทองของเครื่องตั้ง | ||
อีกส่วยสายบรรณาการเหมือนทุกครั้ง | เสียงเซงแส้แกรฝาหรั่งม่ห่อ่ร่ทึก | ||
ท่หานก๊าดดาดส่ดามาเข้าแถว | แกรวํงส่งเสียงแจ้วดูก้องกึก | ||
เปนแขกเมืองสามันไม่พันลึก | สุดสิ้นความตามที่นึกได้เท่านี้ | ||
วันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ | |||
ใจปั๋งปั๋งฟังข่าวหนาวส่ท้าน | เหนมีงานมิได้ห่างว่างดิถี | ||
คุนท้าวคลังฤาก็ยังเจบเตมที | กลัวเบี้ยหวัดปีนี้จะเลื่อนไป | ||
ยังมีลืออื้อมาว่ารับสั่ง | คุนท้าวคลังยังไม่หายหาแจกไม่ | ||
เวียนปฤกษากันว่าถ้าท่านบันไล | เหนไม่ได้เบี้ยหวัดกินคํงสิ้นทุน | ||
พ่อ่ได้ข่าวเช้าเมื่อวานปานจะโลด | นั่งที่ไหนเวียนแต่โจดกันออกวุ่น | ||
บ้างแคลงใจไปเที่ยวสืบออกชุนละมุน | ย้ายที่ใหม่ทำให้ขุ่นขึ้นอีกพัก | ||
มาดูพระที่นั่งใหม่ไม่มีคํน | ต้องเสือกสํนไปใหม่ได้ประจัก | ||
ว่าย้ายไปไพสานสำรานนัก | ไปคอยอยู่พร้อมพรักพระโรงใน | ||
เสดจออกข้างน่าเวลาบ่าย | สมโพดเงินตามหมายหาผิดไม่ | ||
แจกเบี้ยหวัดเจ้าพระแล้วระไป | ถึงงบใหญ่โหนพรามตามทำนอง | ||
เสดจขึ้นข้างน่ากว่าสามโมง | ประทับน่าท้องพระโรงที่กรํงช่อง | ||
แจกข้างในรายน่ามาเปนกอง | แม่โป๊ยร้องขานบานชีปีนี้ดัง | ||
ถึงท้าวนางยังไม่ทันจะเสรจสับ | เสดจกลับขึ้นบํนพระที่นั่ง | ||
กลัวอยุดไว้ใจเต้นอยู่ปังปัง | พ่อ่รับสั่งให้แจกไปมิให้งํด | ||
ได้เบี้ยหวัดแล้วลัดกลับมาที่อยู่ | เก็บเงินเข้าตู้เรียบร้อยหมํด | ||
ลั่นประแจตีตราไม่ลาลํด | ใจกระจ่างสว่างหมํดไม่ราคี | ||
ถึงขวบปีที่เสวยราชสมบัต | จะสมโพดเสวกรฉัตเฉลิมศรี | ||
อีกบังคํมบุรํมรูปประจำปี | สวดมํนที่พระมหาปราสาดนั้น | ||
ตั้งพระไชยไว้ทั้งห้าแผ่นดิน | โยงสายสินจัดการทุกสิ่งสัน | ||
บํนบันลังตั้งราชกุกุพัน | พระแสงพานสองชั้นประจํงรอง | ||
พระสํงนั้นคะนะเหนือสามสิบถ้วน | ล้วนท่านเจ้าท่านพระครูสิ้นทั้งผอง | ||
พวกเจ้านายเสนามาเปนกอง | พ่อ่สักสองทุ่มเสดเสดจลํง | ||
ทรํงจุดเครื่องสะการะมัดส่กาน | อาลักอ่านคำประกาดไม่คลาดหลง | ||
แล้วพระท่านสวดมํนไม่วํนวํง | พ่อ่จํบลํงเสดจขึ้นก็คืนมา | ||
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ | |||
เลี้ยงพระสํงทรงประเคนเพนไปได้ | แล้วถ่วายของพระท่านยะถา | ||
สวดยานีมีสับพ่พุดทา | แล้วไคลคลากลับอารามตามส่บาย | ||
ทรํงจุดเทียนสังเวยเทวะราช | โหนประกาดชํงกานขานพอนถ่วาย | ||
พรามอ่านคำฉันบันระยาย | แล้วออกแว่นเวียนรายตามโบราน | ||
สํมโภคสับเสดจกลับพระที่นั่ง | เวลาค่ำเช้าตั้งที่ไพสาน | ||
สวดมํนเยนเช่นที่ว่าแต่วันวาน | แต่พระเปลี่ยนตามกานที่กะไว้ | ||
คือวันนี้มีแต่ทำมะยุด | บ่อ่ริสุดสิกขาอัดชาไสย | ||
สวดมํนจํบเสดสับพระกลับไป | ข่อ่จํบแดรีไว้เพียงนี้ที | ||
วันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ | |||
สดุ้งตื่นลุกขึ้นนั่งได้ฟังเสียง | ปืนใหญ่เปรี้ยงตัวสั่นมิ่งขวันหนี | ||
นี่ทั่นยิงกันทำไมมาหลายปี | อันเรื่องนี้แปรไม่ออกบอกกรํงกรํง | ||
ยิงอัตต่นาในเวลาสวดพันยัก | เพราะทั่นจักไล่ผีให้หนีส่ง | ||
ดูเปนคุนคุ้มไภยไม่ปลํดปลํง | ทำเนียนมคํงยืนอยู่แต่บูราน | ||
ยิ่งอย่างใหม่ไม่ได้ตั้งพระอัตต่นา | ทั้งเวลาก็กลางวันขันอีกส่ถาน | ||
เปนเยี่ยงอย่างข้างอังกฤษพิสดาน | ดูเกินกานสลุดได้เคยใช้มา | ||
จะไปไหนไปยากลำบากยิ่ง | กลัวจะถูกปืนกลิ้งดับสังขา | ||
เลี้ยงพระสํงทรํงประเคนตามเพลา | เจ้าข้างในถวายผ้าแลไชยทาน | ||
ยีมํนพระทีละอํงกรํงมารับ | ตามลำดับที่ชานพักบํนไพสาน | ||
แล้วโมทนาเหมือนตำราเมื่อวันวาน | อีกทั้งการสังเวยท้าวเทวัน | ||
สมโภคเสดเสดจกลับพระที่นั่ง | พ่อ่ปืนดังตอบบ่ายรีบผายผัน | ||
ไปคอยรับเสดจอยู่ในสวนพลัน | พวกนอกวังทั้งนั้นมามากมาย | ||
ที่ได้หีบรีบมาตามประกาศ | ไม่ใคร่ขาดเหมือนทุกปีมีเหลือหลาย | ||
พ่อ่เสดจถึงสักครู่ฝนพรูพราย | ตํกกระจายไปไม่จํบจํนพลํบเยน | ||
เสดจออกที่นั่งตัดสมาคํม | ทางท่วานพระบ่อ่รํมฉันไม่เหน | ||
หลังปรางมาดฝนสาดไหลกระเซน | แต่จำเปนนั่งอยู่คอยบูชา | ||
เสียงประโคมห่อ่ระทึกออกกึกก้อง | ทีหลังกลองชะนะดังไม่กังขา | ||
ทราบว่าเสรจสู่ปราสาดยาดกรามา | ทรํงวันทาพระบ่อ่รมรูปแล้ว | ||
เสดจขึ้นมุกหลังทางข้างใน | กรัดปราไสยทั้งผองดัวยผ่องแผ้ว | ||
เล้วบทจอนจากปราสาดเสรจคลาดแคล้ว | ไปตามแถวท้องฉนวนด่วนดำเนิน | ||
อันแต่งตัวกันเดี๋ยวนี้วิเสศนัก | ใช่ว่าจักกล่าวแกล้งแส้งสั่งกระเสิน | ||
แต่ราคาแลมันแรงแพงเหลือเกิน | ดูน่ากลัวยับเยินถึงยากจํน | ||
เต่งกระจุกกระจิกหยุกหยิกมาก | เหนเตมยากฉันนี้ยอมเปนขัดสํน | ||
ถึงสาวแส้จะยอมแพ้ไม่ต่อชํน | ห่มห่มนอนแลพ่อ่ทํนงามถํมไป | ||
ประทานกราที่ข้างน่าวันนี้นั้น | เขาบอกฉันว่าทูลหม่อมโตท่านได้ | ||
สายส้อยทองลํงยาน่าปลื้มใจ | เจ้าคุนกรํมนาใหม่สายทองชัด | ||
พระอ่มอต่อเติมเพิ่มยศถา | เปนพระยาเดชโชโตขึ้นส่นัด | ||
พระยารักษากรุงพวยพุ่งชงัด | ได้ที่สองรองถัดทั้งสองคํน | ||
ยังที่สามตามสกุนอีกหลายนาย | จะบันระยายชื่อเสียงก็ขัดสํน | ||
ว่าไม่ได้เปนใหม่ให้เวียนวํน | ข่อ่ยอมจํนเปนคํนตื้นว่าอื่นแทน | ||
สวดมํนวันนี้ที่พระที่นั่งใหม่ | เครื่องกุกุพันตั้งไว้บํนพระแท่น | ||
เรียงพระตั้งน่าอีกทีไม่มีแม้น | ผิดแบบแผนที่อื่นหมดจึ่งจํดไว้ | ||
พระที่มาสวดมํนแลจะฉัน | เปนเวนวันฝ่ายพระคะนะได้ | ||
สวดมํนเสรจเสดจคืนเข้าข้างใน | จํบเรื่องไรแรรี่วันนี้ลํง | ||
วันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๓ ค่ำ | |||
พ่อ่สายแสงสุริยาเวลาเพน | ก็ประเคนสำรับเลี้ยงพระสํง | ||
ของพระราช่วํษานุวํง | จัดบันจงอย่างดีที่โตโต | ||
เมื่อวันกลางข้างในสิ้นทั้งนั้น | วันแรกแจกปันพระวังโส | ||
ทั้งฝ่ายน่าข้าราช่กาโร | มีไชยทาโนตามกำลัง | ||
ทรํงพระเต้าเสนอทุกพระยะถา | สวดยัดส่มิงตำราพระคาถัง | ||
อีกยานีทะพูตาออกวาจัง | แล้วสับพะพุดทังจํนตุเต | ||
แล้วท่านอติเรกะพวะตุสับ | ถ่วายพระพอนลากกลับอาวาเส | ||
ทรํงจุดเทียนสังเวยอํงทเว | ขุนโหเรยืนร่ำคำบูชา | ||
แล้วพรามอ่านดุษดีเปนคำฉัน | อันเชินฝูงเทวันนัดส่มา | ||
อีกทั้งจตุโลกปาลา | แผ้วไพยาอย่าให้ข้องมาพ้องพาน | ||
แก่พระอํงผู้ดำรงพํบพัดสะ | จำเรินพระชันสาสักดาหาน | ||
ทั้งเจ้านาเยนะข้าราช่การ | ให้สำรานทั่วน่าประชาชน | ||
ทั้งฝูงสัตตัมหานานาชาต | ให้แคล้วคลาดไพเยศเหดขัดสํน | ||
แล้วออกแว่นจุดเทียนให้เวียนวน | ประโคมดํนกรีลั่นสนั่นดัง | ||
ทั้งข้างในข้างน่าโกลาหํน | มะโหรีตีบนพระที่นั่ง | ||
ทั้งขับไม้ซ่อ่รับกับปํงปัง | พรามเป่าสังเมื่อบันจํบครํบรอบวํง | ||
ลั่นค้องไซไล่ตามกันสามคาบ | ขุนนางกราบรับแว่นโยกควันส่ง | ||
ข้างในท้าวนางรับจับประจํง | เจ้านายทุกพระอํงส่งต่อไป | ||
ส่วนเจ้านายฝ่ายน่าบันดาเฝ้า | จุดทูบเทียนน้อมเกล้าบังคํมไหว้ | ||
บูชาพระเสวกรฉัดไชย | ตามแบบอย่างวางไว้แต่ไรมา | ||
เวียนเทียนสับดับโบกควันเฉลิม | เสรจทรํงเจิมพระที่นั่งอยู่ข้างน่า | ||
เจิมทั้งเครื่องกุกุพันอันวรา | ทั้งมหาเสวกรฉัดสวัสดี | ||
อีกพระแสงน้อยใหญ่ที่ไปตั้ง | แล้วคืนยังปรางมาดปราสาดศรี | ||
ฝ่ายพระครูชูสังหลั่งชํนละที | แล้วเจิมที่เครื่องต้นบํนบันลัง | ||
พระโหราถือผ้าชํมพูจัด | ห้อยคันเสวกรฉัดข้างเบื้องหลัง | ||
ทั้งพระแท่นพุดตานด้านกำบัง | ตามแบบอย่างปางหลังที่เคยมา | ||
อันใดรีที่จะจํดต่อไปนั้น | อีกสองวันแรมสิบสี่แลสิบห้า | ||
เปนวันว่างห่างานกานพารา | ครั้นจะว่าต่อไปก็ไม่ควร | ||
จะของํดเพียงพิธีสีสวัด | กานฉลองเสวกรฉัดกระสัดส่งวน | ||
ก็สิ้นข้อพ่อ่จํดหมํดกระบวน | จะต่อไปให้รันจวนชวนระอา | ||
ทุกวันนี้เจ้านายแลขุนนาง | ท่านพูดกันต่างต่างหลายประสา | ||
ไม่เข้าอํกเข้าใจไปไหนมา | ที่เจรจาสังเกดไว้ได้หลายคำ | ||
อัน”โคมลอย”นั้นว่าเหลวเปนแน่หละ | ยังคำ”บ๊ะ”อีกก็เหนเปนความขำ | ||
ทีจะคล้ายกับบ่อ่พ่อ่นึกคลำ | ยัง”สับพี”มีซ้ำแปลกออกมา | ||
ออกชื่อ “ นุ่ง “ ละส่ดุ้งได้ทุกครั้ง | มันจะยังไรอยู่ไม่รู้ท่า | ||
ยัง “ กู๋กู “ คู่กันหวั่นวินยา | ดูน่าตานั้นจะไปข้างไม่ดี | ||
คำ “ สวิต “ ติดฝาหรั่งเสียงอังกฤษ | เคยคิดคิดลองเดาเหนเข้าที่ | ||
คนเหลวเหลวแล้วประใจใช้อย่างนี้ | เหนท่วงทีจะละม้ายคล้ายโคมลอย | ||
“มะหลึกดึก” นึกดูอยู่ข้างหยาบ | ทีขนาบว่าทลึ่งไม่ลํดถอย | ||
แต่คำ “ เย “ นั้นอิดฉาท่าร่องรอย | เคยได้ยินมาบ่อยบ่อยจึงเข้าใจ | ||
“เว้นไม่ได้” คล้ายกันกับว่า “หนัก” | ดูไม่สู้ลึกนักแต่สงไสย | ||
“เม๊ก” อีกคำดูอยู่ข้างจะกระไร | เหนจะไม่สู้ดีทีทำนอง | ||
ยัง “โก๋” นี้มีพูดแต่เก่าแก่ | เกือบจะเหมือนกันกับแย่เข้าใจคล่อง | ||
ยังคำไก๋, ใช้ติดต่อได้คิดกรอง | เห็นจะต้องกับไถลใช้เพี้ยนตัว | ||
อันคำ โอ, คำ กลํม, มีถํมเถ | ทั้งคำ เอ้, ก็เคยใช้มิใช่ชั่ว | ||
บางทีมี อูด, เข้าพันพัว | อีกรัวรัว, ใช้บ่อยไม่น้อยเลย | ||
ทั้งลูกตุ้ม, แลบุหรี่, มีคำกล่าว | อัน, แลอิม, ริมอํกร้าวเจียวอกเอ๋ย | ||
ท่านจะว่ากระไรให้ไม่รู้เลย | คำว่า ป๊อด, นั้นก็เคยใช้เนืองเนือง | ||
แถมโลกย, ฤาแถม, เปล่าเขาก็ใช้ | ลางทีโลกย, เปล่าก็ได้ ไม่รู้เรื่อง | ||
ลางทีเหลือแต่ โล โก, โอ๊น่าเคือง | อีกอย่างเยื้อง ไปเปน หยอด, ก็ยังมี | ||
บางครั้งว่า หยอดตาลงขลุ้กขลุ้ก | จะเล่นกันมุก ใดไฉนนี่ | ||
หฤาว่าเราสูบกันชาเปนราคี | ก็ใช่ที่ไม่มีเค้าเราไม่รับ | ||
คำว่า พัด, จัดเอาเปนไทแท้ | แต่จะแปลกรํง ไป ไม่เข้าสับ | ||
กางร่ม, หฤาร่ม, เปล่าเข้าสำทับ | ใช้ระคนปนกับว่า คันดาน, | ||
ยังลอยแพ, ลอย, เปล่าเข้าประสา | เปนตำราเกิดใหม่ใหม่ ใช้ว่าขาน | ||
แต่ใยเขื่อง, หฤาว่า โคม, พโยมยาน | ค่เนการคํงสํงเคราะ ใน โคมลอย | ||
ยังคำ ลัก, คำ เลข, หฤา ลักขู, | ดูหนาหูร่ำ ไป ใช้บ่อยบ่อย | ||
ยังพื้นเก่า, พื้นใหม่, มิใช่น้อย | จํน โคลงคล่อยท่านก็ ใส่ ได้ ดิบดี | ||
ยังคำ ตุ๋ง, คำ ทึ่ง, นี้ถึงเอก | อีกคำ เต๊ก, คำ ตั้น, ขันสิ้นที่ | ||
หัวร่อ, แง้ม, แย้ม, แล กีดีกรี | ทั้งว่า มี, อิง, บึ, ก็เทือกบ๊ะ, | ||
ยังคำ ห้อ, แต๊กแต๊ก, แล กีตัน, | ทั่นประใจรับสั่งกันอยู่เอะอะ | ||
อีกคำหนึ่งนั้นทั่นว่า ทัก, ละ | ไม่รู้จะแก้กะถาว่ากะไร | ||
ส่วนคำ หึ, คำ มัน, นั้นค่อยง่าย | พ่อ่จะทายว่าเปนกานไม่ชอบได้ | ||
ยัง รวมรวม, แล หลวม, ละลายไป | ทั้งคำใหม่ นอร่อหร่อ่, หฤา นอ, ชุม | ||
เหนจะมาแต่พระยาน่อ่ร่รัด | แต่เรื่องอะไรไม่ชัดใช้เกลื่อนกลุ้ม | ||
ยังคำ ดีด, นี้ใหม่ใหม่ให้มืดคลุ้ม | เหลือจะสุ่มสืบไปให้ได้ความ | ||
อันคำ โก้งโค้ง, หฤา โค้งแฮ้, | เปนคำข้างจีนแท้ไม่พักถาม | ||
คำเตี้ยเตี้ย, ก็ใช้เลอะเปรอะเปื้อนลาม | ดูเค้าความมิใช่คำต่ำกรํงกรํง | ||
คำว่าปัน, ฟัน, ยูดี, มีมานาน | สังเกตกานก็ยิ่งคิดพิดส่วํง | ||
เค้าคล้ายกันแต่ดูมันไม่แน่ลํง | อีกปาส่ง, ทุ่มส่ง, ลงเหวลึก, | ||
คำนี้ทีจะไปข้างว่าย่อ่ | ใครมาล้อก็คํงพ่อ่จะรู้สึก | ||
ถึงคำว่าทับฮ่อ, ก็พ่อ่นึก | แต่คำขลึก, นั้นแลเหนเปนเหลือแปร | ||
อันคำอี่, โขลกเน่า, แลนางนอง | เหลือจะกรองกรึกกราหากระแส | ||
ทั้งพาวพาว, เพาเพา, สุดเดาแท้ | แต่กระหายแหนจะแน่ในเชิงตะกลาม | ||
กรึ่, ครึ่, กึ, เคาะ, ดูเพราะมาก | ยังหาฟ, ยาก, หอย, เหนเปนหลายง่าม | ||
อีกยัว, มอง, กะระหม่า, ทั้งอาราม | วุฒิ, อา, ถ้าความคล้ายคลึงกัน | ||
คำชั่งเถอะ, แลจะโปรด, หนาโสดส้า | ล่าก้อนบ้า, กุลู, อีกกุหลัน, | ||
กระโหลก, กระลา, เจ้าก้า, ว่าพัวพัน | ดูเชิงชั้นจะว่าเสือกตาเหลือกตาลาน | ||
หัวเหดย้ำ, แลย้ำ, เปล่าก็เอามั่ง | เบเรียน, ครั้ง, ขาก, แจก, แปลกโวหาร | ||
คำโรม, เหลี่ยม, เหี้ย, นี้มีมานาน | ยังวิถานไปอีกชิ้นอินเทเว, | ||
หนึ่งอัคคี, โคลน, ไฟ, จดไม่ติด | นิ่งคิดคิดหฤาจะคล้ายกับรายเหว, | ||
ถึงลึกลับจำปั๊บปั้บ, กับปัจเจ | ตื้น, เสเพลจํน พรุ่งนี้, ก็มีใช้ | ||
ลํมจับ, กับ อินเดียรับเบอ, | จะคล้ายกับอำปะเรอ, หฤามิใช่ | ||
พูดฝรั่งมังค่าน่ากลุ้มใจ | รับว่าได้, เน้นหนักเหนก็มี | ||
ควง, เปล่า ควงหนวด, อีกหนุงหนิง | หยอกภูหยิงหฤายังไรไม่รู้ที่ | ||
ขนํดหาง, กาหล, จํนแวง, วี, | ยะโส, ยะ, คู่นี้ที่ว่ายศ | ||
รัศมี, วิธีใช้มีหลายอย่าง | ถอน, กระชาก, ร่วง, บ้างใช้ได้หมํด | ||
ทั้งปักหลัก, ปักคา, ว่าไม่งํด | อีกออกรศ, แจ้กแจ้ก, แปลกสำนวน | ||
คำจัปบรือ, ซึบจื้อ, บื่อ, เปล่าเปล่า | ดูเปนเค้าเหนบแนมแกมเสสวน | ||
กร้าว, หฤาคร่าว, โฮ้ โฮ้, โก๊ เกากวน | เปนกระบวนเลียนล้อทางตอแย | ||
ยังกัมกึ, ก้ะก้ำ, ซ้ำ อํมก๋อ | เกิ๊ก, เกิ๋ม, ฮ้อฮ้อ, เห็นจีนแน่ | ||
เอาไหม, ให้เถอะ, เนื่องกันแท้ | เปนคำแก้คำไขกันในเชิง | ||
เกรี้ยวกร่าว, กริ้ว, กุสํน, โกนหฤาถอน | กุลีไท่, ใช้แต่ก่อนวางกันเหลิง | ||
ยังก้นแป้ว, ปวดหูดูละเลิง | เลยกระเจิงจํน ครูจ๋า, อาเจระ, | ||
ยังคลุกคลัก, จับเคละ, แลจับเคลอะ | อีกซับเฟอะ, ยับเคลอะ, เปรอะเปะปะ | ||
ไปข้างทางโสโครกโปกถูกละ | ปลาแห้ง, แคลงว่าจะไม่ชุ่มมัน | ||
คำว่าทอย, ว่าสลูด, พูดกันถี่ | ข้างท้ายมีคำเอายับ, จับได้มั่น | ||
คงเหมือนขับ, ที่เราใช้เมื่อกระนั้น | แต่ขอช้าง, พึ่งใช้กันเรวเรวนี้ | ||
ทั้งพอง, เปล่าพองแก้ม, แถมมาใหม่ | แต่ สวิทธิไชย, เคยใช้ ถี่ | ||
เปนคำเดียกับสวิด, คิดดูที | เช่นกับ วี, วีโวหาร ถานวาจา | ||
อันคำหื้อ, คือว่าขู่ส่พัด | สั่น, ซีด, ซัด, คึ้ก, อือหฤาจะว่า | ||
ตมูกคัดอัดอืดครืดขึ้นมา | ยังคำโบราณนานมาว่า มะกลาม, | ||
เปนชั้นเก่าเกือบจะเท่าโคมเข้าแขก, | แต่คำ เทวครอกแครก, แลอีกสาม | ||
คือจุก, บู, ม่วง, ควงกับความ | ว่าห่อ่พราม, งึมงำ, คำเจรจา | ||
ตักกระแตน, ตักกระเต๋, ตักกระไต๋ | ตักกะเตยโย, ก็ใช้เปนคำว่า | ||
กระเรยฉัน, โกร้, เข็ม, เก็บเลมมา | พูดเฮฮาหนวกหูผู้นั่งเคียง | ||
เขลียะ, คริ้ม, ครึม, อีกคำ ควิ้ว, | คล้ายกับผิวปากซ้ำทำสุ้มเสียง | ||
อีกกร๊อกกร๊อก, แลกว้า, ค้าสำเนียง | บิ๊บ, เบ๊ะ, เบี่ยง, เหวี่ยงรับกับจับคาง, | ||
อันตะโป, เหรา, พูดมาเก่า | วันยังค่ำ, นับเข้าได้ อีกอย่าง | ||
ติ๋ติ๋, เตียวล่อ, ต่อตามทาง | เตียว, เปล่าบ้างอีก ทั้งตั้ง, คำดั้งเดิม | ||
ฟิปฟอบแฟบ, แบบว่าทางอาพาด | ลอองบาด, แลรางวับ, ปั้นเป้อ, เบิ้ม | ||
สวิง, เพลีย, เสียแต้ม กันดานเทิ้ม | จับกล๊อก, เติม ตุ๊กะฉิ้ก, หลีกคำไทย | ||
อนึ่งคำบิดพระส่อ่, ข่อ่พระเสียน | คำไพร่เปลี่ยน บิดคอ, ขอหัว, ได้ | ||
อีกเรียกตัวตุ๊กกะตุ่น วุ่นกระไร | ทั้งคำใช้ ปลิ๊ด, ควัช, ชัดวิที | ||
หง่อยหง่อย, กร่อยกร่อย, ฟังค่อยกระจ่าง | เหมนนุหน่าย, หลายอย่างไม่เลือกที่ | ||
วิมารพรํม, กับไพร่ว่าอเวจี | เปนท่วงทีข้างอย่างทางประชํด | ||
คำกา, คำค้างคาว, คราวปีวอก | คำจะบอก, นี้พึ่งมีทีหลังหมํด | ||
ซิ้ว, คำจีนหฤาอย่างไรใช้ไม่งํด | เก, ปี, อา, ปรากํดฝรั่งลึก | ||
ยังมี ตี, ปี, แลบีเลียด | กับเอ็มปี, ฉันชั่งเกลียดเกือบส่อึก | ||
ที่ข้างในใช้อีกคำล้ำเหลือนึก | ทั่นอึกกระทึกกันว่า กรุด, สุดปัญญา | ||
ทั้งคำย่อ, คำปรึอ, หฤาคำยิง, | เปนคำเจ้านายภูหยิงรับสั่งหนา | ||
ทั้งเกเก, แลกับ, สดับมา | เปนประสาที่ข้างในใช้เนืองเนือง | ||
เม้ย, เหมย, แมว, มืด, อีกเม็ดถั่ว, | มวย, เบะโบ้ย, บี้ด, มัวไม่แจ้งเรื่อง | ||
ทั้วบวม, แบ, เป๊ะ, ปอน, ค่อนทั้งเมือง | อีกเละ, เป๊ะ, ป่ายเยื้องไปปูมปาม, | ||
ป๋อป่อง, เปิดเปิง, เปนเชิงขูด | ทั้งปรี๊ด, ปรูด, ปรวด, ปราด, คํนขลาดขาม | ||
อีกอิ้ง, อื่ด, อื้ด, เอียน, เหลือเลียนตาม | ยังห่าง, ห่าม, หุบ, แจ๊บ, แยบคายคำ | ||
ตู้, เต่า, ตั้บตั้บ, สำหรับติ | ทั่นช่างริห์เอามากรัดคัดขำขำ | ||
ตลุยตลาย, ตรังตัง, ตั้งใจทำ | ก๋อมก้อ, ก่ำ, เก๋, กลั้น, สันเอามา | ||
แง้ก, งัก, เงียบ, เงี่ยง, อีกทั้งหง่าว, | ก๊วย, แก๊บ, กล๊อก, กล่าวกันหนาหนา | ||
เชี้ยบ, สนิท, หนุน, น้ำ, ทั้งเหน็บชา, | อีกคำว่าเผ่น, ผ่อย, ทั้งพุ่งเพรียว, | ||
ทั้งคำฉูด, ขุด, แข็บ, ขอ, เข้าอู่, | ยิ้บยิ้บเหยเริ่ย, ดูน่าเฉลียว | ||
อันฉีก, เต้น, เผยอ, สั้บ ลับจริงเจียว | อีกว่าเขียว, ทับถม, ทั้งถอน, แทง | ||
ยังตืบ, เตี้อง, ติ้ว, ต๊อก, ออกกันใหม่ | กุ้ง, กั้ง, เก๋ง, กิ๋ม, ใช้ไม่เลือกแห่ง | ||
อีกหยุกหยุย, ยุ่มย่าม, ความแสดง | ไม่สู้แรงหนักหนาดูท่าทาง | ||
เป่ง, ปั่น, ปักปำ, ปาว, โปะ, ปิ้ก, | เปนคำลึกเหลือรู้ดูขัดขวาง | ||
แต่ปาก้อน, ปั้นก้อน, ค่อนรางราง | จะไปข้างปั้นน้ำขึ้นเปนตัว | ||
ตักกระแต, ห่วงตึก, อีกตักหมอน | หฤาคล้ายถอนตัก, อะไรใช้ได้ทั่ว | ||
เต๊ก, กระดาน, เดาะ, กระเต เล่นลิ้นนัว | ถวย, ถับเถะเถิม, ถัว, กับถาก, โทน | ||
ทั้งปวดท้อง, ตีค้อง, กระชากไส้, | ดูรุนแรงอยู่กระไรเหนผาดโผน | ||
แต่แกะแดะ, คิดเค้าเดาคงโดน | ไม่แปลกโจนจากเก่าเขาไปนัก | ||
อ่านประกาศ, ยับกราน, ละลานลึก, | จะกรองกรึกสันเท่าใดไม่ประจัก | ||
หีบ, เหี้ยน, หิ้ด, ได้แจก, อีกเจาะควัก, | ระมัด, มัด, ก็มักจะพูดกัน | ||
ตีพิม, เพิ่ม, เผละ, แลพราม, นี้ | ดูอยู่ข้างพูดถี่ชินหูฉัน | ||
เสงี่ยม, เพี้ยม, รุ่งโรด, หนาโสดครัน | ซุดโซม, ส้อบ, สอง, นั้นพอเข้าใจ | ||
ยังประจง, สาด, หรี่, มีอีกแน่ | อุกอุ๋ย, แอ๋, แว่น, วาว, กล่าวกันใหม่ | ||
บิด, กับปลื้ม, อีกสองคำฉันจำไว้ | ทั้นจันโท, ท่านก็ใช้ มีตำรา | ||
ขึ้น, แขก, ขิก,ขยี้, เขย่า, หยอง, | ทั้งออมครอม, ย้อม, พร้องนานหนักหนา | ||
นวด, รีด, เอ้อเร้อ, เพ้อกันมา | กับคำว่าโท่งเท่ง, ทั้งกว่าง, แงว | ||
โป๊ก, เปล่าโป๊กเป๊ก, แลจับปรี๊ด, | คำจืดจืด, ผุ, เปื่อย, เรื่อยเปนแถว | ||
ยังกรี๊ด, กรอบ, โกร๊ด, ใช้ไปจนแกว | ตุกขลัก, ปัก, แล้วเจื่อง, ตะเปน | ||
คำโต้, วิ่ง, หวาน, ทั้งว่าแน็บ, | แสนเจบแสบคำกว้าน, กว้างเกินเหน | ||
อีกแจกกรา, แลกุมาน, พานยากเยน | อยู่อีกเปนคำผวนชวนเสียดแทง | ||
คำข้างในไม่เหมือนกับข้างน่า | ท่านใช้เกยกิริยาทั่วทุกแห่ง | ||
คงคอยแต่ค่อนว่าน่าคิดแคลง | ฉันสู้แกล้งทำให้เหนเปนไม่เคือง | ||
ฝ่ายข้างน่านั้นประสาทั่นเรียนยาก | ยังมีอยู่อีกมากไม่รู้เรื่อง | ||
จะจํดไปไม่สิ้นสุดสมุดเปลือง | เฝ้ายักเยื้องเหลือจะร่ำทำเปนกลอน | ||
ยังประสาฝาหรั่งไปทั้งนั้น | ทั่นกรัดกันเลียนไม่ไหวไม่ได้สอน | ||
ดํงซิ้วซิ้วเซ้าเซ้าชาวลันดอน | ไม่เหมือนอย่างเมื่อแต่ก่อนเคยพูดกัน | ||
คำเหลวไหลไม่มีคำอื่นผลัด | เพราะคำขัดจึงต้องใช้หมีใช่ขัน | ||
ยังหาปี้, หาแปะ, แลเพ้ย, นั้น | คํนชั้นฉันพูดบ้างอย่างคนอง | ||
คำฝาหรั่งตั้งแต่ก่อนก็เคยใช้ | เหมือนคำไขไอสติม, ก็แคล่วคล่อง | ||
ทั้งเต็มเปา, เขาก็พากันพูดพร้อง | ถ้ากรองกรองไปคํงได้อีกหลายคำ | ||
ถึงพูดแผลงแปลงคำก็จำเพาะ | ที่เหมาะเหมาะเปนต่ลํกหฤาขำขำ | ||
แต่เดี๋ยวนี้ใช้เฝื่อพดเพรื่องพรำ | จํนเหลือจำไม่รู้ถ้าว่ากระไร | ||
ครั้นจะถามก็มีความละอายจิตร | จํนร่อ่ทั่นไม่ใคร่ติดพูดไม่ได้ | ||
เช่นนี้และจึ่งขัดสํนเปนจํนใจ | จะจํดแรรี่ไปก็ออกคร้าม | ||
ความคิดเหนหฤาก็เปนอย่างบุราน | ท่านภูอ่านก็จะว่าฉันงุ่มง่าม | ||
จึ่งข่อ่หยุดสุดบดจํดเนื้อความ | แม้นไม่งามข้อใดในกายกลอน | ||
หฤาคดีที่จํดหมดทั้งนั้น | เอกโทชั้นตลอดชั่วตัวอักสอน | ||
ข่อ่จงช่วยแก้ไขในสุนทอน | อย่าขอดข้อนร่ำว่านินทากัน | ||
ถ้านารีมีปันยาอันสามาด | ฉลาดรู้อักสอนสีดีกว่าฉัน | ||
ช่วยแก้ให้ถูกได้หมดทั้งนั้น | ฉันจะใหรังวันช่างหนึ่ง เอย ๚ะ | ||
เรื่องตามเสด็จไทรโยค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสทางแม่น้ำน้อยแขวงเมืองกาญจนบุรี ๓ ครั้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือระยะทางทุกคราว ครั้งแรกเมื่อปีระกาเบญจศก พระพุทธศักราช ๒๔๑๖ เสด็จทรงเรืองมุรธาวสิทธสวัสดีเปนเรือพระที่นั่ง เสด็จจากกรุงเทพฯ ออกทางทะเล ไปเข้าปากน้ำแม่กลอง ทรงเรือปิกนิกเรือไฟโยงไปประทับเมืองราชบุรี เสด็จทางสถลมารคจากเมืองราชบุรี ประทับแรมที่หนองบัวค่ายด่านทับตะโกแลท่าสะคร้อ เสด็จลงเรือพระที่นั่งกระบวนเรือแจว ล่องกลับกรุงเทพฯ ทางเมืองกาญจนบุรี ราชบุรี เสด็จคราวนั้นทรงพระราชนิพนธ์โคลงนิราส ให้เปน ของท้าวสุภัติการภักดี (นาก) แต่ง เรื่อง ๑
ครั้งที่ ๒ เมื่อปีฉลูนพศก พระพุทธศักราช ๒๔๒๐ เสด็จทรงเรือปิกนิกเปนเรือพระที่นั่ง เรือกลไฟโยงจากกรุงเทพฯ ไปทางคลองบางกอกน้อย เข้าคลองมหาสวัสดีออกลำน้ำนครไชยศรี เข้าคลองเจดีย์บูชา ขึ้นประทับพระนครปฐม แล้วเสด็จกระบวนสถลมารคจากพระนครปฐม ไปประทับพระแท่นดงรัง ค่ายหลวงเมืองกาญจนบุรี แล้วเสด็จจากค่ายหลวงโดยทางชลมารคขึ้นตามลำน้ำ ไปประทับที่กลอนโด วังหมึก สองพี่น้อง บ้านเหนือค่าย หาดตาเล็ก หาดหน้าเมือง ไทรโยค
เสด็จกลับโดยกระบวนเรือล่องจากไทรโยค มาประทับหาดกระแจะ สองพี่น้อง กลอนโด สำรอง โพธาราม ราชบุรี ทรงพระราชนิพนธ์เปนระยะทางความเรียง ซึ่งได้พิมพ์ในงานศพเจ้าจอมมารดาชุ่มใน พ.ศ. ๒๔๕๕
ครั้งที่ ๓ เมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พระพุทธศักรา ๒๔๓๑ เสด็จโดยทางเดียวกับเมื่อเสด็จครั้งที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์กลอนระยะทางให้เหมือนข้าราชการฝ่ายในแต่ง ซึ่งพิมพ์ต่อไปนี้ เปนหนังสือ ๑๒ เล่ม สมุดไทย เนื้อความต่อกับเรื่องไดอรี่ซึมทราบ จึงได้พิมพ์ไว้ต่อกันตามที่ทรงพระราชนิพนธ์
ตามเสด็จไทรโยค
หนังสือนี้เปนของมารดาแต่งให้แก่ลูก
อันเปนที่รักที่ปลื้มใจเปนนิตย
คำนำ
๏ ขอแสดงความคิดประดิษฐสาร | |||
ซึ่งเปลี่ยนแปลงแยกอย่างต่างอาการ | ที่เคยอ่านเคยเห็นเปนแบบมา | ||
ก็เพราะความขัดข้องจึงต้องเยื้อง | แต่งเปนเรื่องเยอนับผันพลิกท่า | ||
ด้วยนิราสเบื้องโบราณท่านรจนา | สอดส่องหาศัพท์เสนาะล้วนเพราะพริ้ง | ||
ทั้งโอดครวญหวนไห้พิไรร่ำ | เลือกถ้อยคำคมสันขยันยิ่ง | ||
ทั้งชดช้อยทางชอ้อนเชิงวอนวิง | ไม่ละทิ้งทอดไว้ให้ล้อเลียน | ||
ครั้นจะทำเทียบบ้างเหมือนอย่างนั้น | ตัวของฉันพึ่งจะริดริแต่งเขียน | ||
คำลึกล้ำเหลือลำบากสุดพากเพียร | ว่าให้เพี้ยนผิดความตามที่มี | ||
ครั้นจะลงคงตำราไม่ว่าย้าย | ก็นึกอายออกอุทัจแสนบัดสี | ||
โดยทำไปไหนจะถึงเทียบกวี | อย่างสัตรีนี้สำนวนควรตรงตรง | ||
อนึ่งฉันไม่ชำนาญการกลอนกาพย์ | ทั้งเลวหยาบยุ่งใหญ่มักใหลหลง | ||
กลัวศัพท์ผิดติดกลอนในว่าไม่ลง | ด้วยพะวงอยู่ไม่วายเสียดายความ | ||
รักทั้งเรื่องรักทั้งกลอนไม่รอนตัด | จนสำผัสขาดเขินต้องเกินข้าม | ||
เพราะฉนี้จึงอุส่าห์พยายาม | ทำใหม่ตามที่จะกละให้สะใจ | ||
อนึ่งเห็นเปนประโยชน์อยู่อย่างหนึ่ง | เมื่อไปถึงแห่งหนตำบลไหน | ||
ไม่มีผู้รู้ตำแหน่งแคลงฤไทย | เผื่อจะได้เค้าบ้างตามทางจร | ||
ก็น่าเถียงว่าถ้าเรียงเปนร้อยแก้ว | จะมิแล้วเร็วกะจัดชัดอักษร | ||
คงจะดีกว่าทำเปนคำกลอน | ให้ค้นอ่อนกล้ำอัดขัดถ้อยคำ | ||
ก็จริงอยู่แต่ผู้หญิงอย่างเช่นฉัน | ร้อยแก้วนั้นให้ขี้คร้านจะอ่านร่ำ | ||
ผูกเปนกลอนขึ้นไว้ใช้ท่องจำ | ดูค่อยสำเหนียกง่ายสบายดี | ||
จึงจำเปนเขนไปไม่หยุดยั้ง | จนกระทั่งจบบทหมดวิถี | ||
ขาดที่เพราะเหมาะหมดทางไม่มี | ด้วยวิธีเรื่องสำหรับจะจับใจ | ||
คือถ้อยคำวิงวอนกลอนสังวาส | ยวนสวาทหวั่นมนสประวัติไหว | ||
ทั้งพลัดพรากจากจรนอนพงไพร | ฟังพิไรบ่นร่ำครางคร่ำครวญ | ||
ถูกข่มเหงคเนงร้ายหมายสังหาร | ได้สงสารโศกสร้อยพลอยกำสรวญ | ||
ช่วยคิดแค้นขุ่นในใจรัญจวน | จนปั่นป่วนเคืองขัดอัดอุรา | ||
แล้วยุทธยิงชิงไชยใช้คำแขง | ได้ผาดแผลงฤทธิเดชเวทคาถา | ||
สังหารหักศัตรูหมู่พาลา | ให้ปราไชยชนะสะอารมณ์ | ||
ได้เข้าด้วยช่วยชังทั้งรักแค้น | ทำทดแทนทันจิตต์คิดเสร็จสม | ||
เลือกเรื่องใช้ให้เสนาะเพราะเกลียวกลม | ไม่ต้องข่มขืนทำด้วยจำใจ | ||
เรื่องเช่นนี้จึงจะมีที่ไพเราะ | มาฉะเพาะตันติดคิดไม่ได้ | ||
ด้วยเริ่มเค้าคนละทางขวางกันไป | คงอยู่ในพรรณาว่าด้วยเมือง | ||
ถึงแต่งดีสักเท่าใดเขาไม่อ่าน | ชวนพลิกผ่านข้ามไปใคร่รู้เรื่อง | ||
ทั้งชมดงแดนเขาลำเนาเนือง | ก็มักเปลืองสมุดเปล่าเขาข้ามกัน | ||
เหลือฉะเพาะเหมาะช่องสองอย่างนี้ | ไหนจะมีใครว่าเพราะเคราะห์ของฉัน | ||
ทำเหมือนอย่างตำรายาว่าพัวพัน | พอจำมั่นนึกคล่องได้ท่องเจน | ||
ทั้งทำนองท้องความตามที่ว่า | เหมือนกับบ้าหอบฟางอย่างเถนเถน | ||
ไม่เลือกว่าอะไรหมดจดประเคน | จนชั้นเดนท่านแต่ก่อนเก็บผ่อนปรน | ||
ทั้งความเห็นถ้อยคำที่ร่ำว่า | คงจะพาผู้อ่านพานฉงน | ||
เปนสำนวนพูดใช้ในมณฑล | ของพวกคนชั้นใหม่ในเดี๋ยวนี้ | ||
ไม่เข้าใจก็จะไปกวนโทโส | ว่าใช้โวหารแผลงแสร้งใส่สี | ||
เผยอหยิ่งยิ่งยวดอยากอวดดี | เพราะเช่นนี้จึงต้องง้อขออไภย | ||
เรียงเรื่องไว้ให้เปนที่สำราญจิตต์ | หาได้คิดจะประชันขันต่อไม่ | ||
จึงเลี่ยงทางไม่ทำอย่างท่านผู้ใด | ดั้นด้นไปตามวิญญาประสาตน | ||
อนึ่งนักปราชญ์แต่ก่อนแต่งกลอนกาพย์ | ย่อมสุภาพบรรยายท้ายฤาต้น | ||
ว่าตัวมีปัญญาน้อยถ่อยทรพล | แม้นใครยลขวางขัดเชิญตัดรอน | ||
ไม่ไพเราะแห่งไรให้ตกแต้ม | ช่วยแซกแซมต่อทั่วตัวอักษร | ||
ยอมให้ติตัดแก้ไม่แง่งอน | เปนสุนทรภาษิตติดทุกราย | ||
ท่านจะเห็นเปนไฉนในดวงจิตต์ | ฉันนี้คิดสงไสยยังไม่หาย | ||
จะไม่ว่าก็เปนท่าเคืองระคาย | จะขยายออกไปบ้างยังคลางแคลง | ||
ด้วยบางท่านว่าวานไว้เช่นนี้ | ถูกคนที่น้ำใจไม่ย่อแหยง | ||
เขาติเตียนก็พิโรธโกรธรุนแรง | เห็นเปนแกล้งกล่าวความตามโบรณ | ||
มิใช่ยิ่งใช่ยากลำบากจิตต์ | ที่จะคิดเรียนตำราอย่างว่าขาน | ||
แต่จะใช้ก็หาใช่สมัยกาล | หนังสืออ่านแต่ก่อนนี้นั้นมีน้อย | ||
ใครทักท้วงถูกแท้แก้ไขง่าย | เอาน้ำลายลบเปลี่ยนเขียนคำถ้อย | ||
เดี๋ยวนี้ตีพิมพ์ฉบับมีนับร้อย | จะลบรอยแก้ไขไม่ทั่วกัน | ||
จึงงดไว้มิได้ว่าเหมือนอย่างว่า | กลัวเข้าเค้าข้างแสดงแกล้งกล่าวกลั่น | ||
ที่จะทึ้งหนังสือด่าอย่าสำคัญ | ไม่ว่านั้นใช่จะคร้ามความติเตียน | ||
ท่านผู้ใดไม่ประกอบฟังชอบโสต | จงได้โปรดถึอว่าเปนพาเหียร | ||
ใช่ตำราสำหรับดูได้รู้เรียน | เปนแต่เขียนอ่านเล่นเช่นเพลงยาว | ||
เสร็จแสดงแจ้งความตามเหตุผล | ที่เปนต้นความดำริห์ตริเรื่องกล่าว | ||
ขอแจ้งต่อข้อความตามเรื่องราว | อันข่าวคราวข้อคดีที่ได้มา | ||
เปนสถานที่ได้ไปเห็นบ้าง | ก็จดอย่างนั้นไปไม่มุสา | ||
เขาถวายรายระยะพนาวา | เปนตำราที่ฉันได้มาใช้เลียน | ||
รับสั่งบ้างบางทีคนอื่นเล่า | พอเปนเค้าข้ออ้างเริ่มร่างเขียน | ||
ค้นหนังสือก่อนเก่าที่เล่าเรียน | คิดพากเพียรประกอบเรื่องให้เนื่องกัน | ||
ได้พึ่งพระบารมีเปนที่หนึ่ง | หนังสือจึ่งสำเร็จได้สมใจฉัน | ||
ทั้งชอบจิตต์มิตรผูรู้สำคัญ | ที่คอยหมั่นบอกกล่าวข่าวทั้งนี้ | ||
อีกขอบใจพวกพ้องที่ตรองตริ | ช่วยตัดติเติมกลอนอักษรศรี | ||
ถึงเนิ่นไปก็คงไม่ลืมไมตรี | ที่ได้มีพระคุณการุญเอย ๚ | ||
ผู้แต่ง
พระบรมมหาราชวังกรุงเทพ ฯ
วันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก๒๑ ๑๒๕๐
เชิงอรรถ
ที่มา
กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงให้พิมพ์ประทานช่วย พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐
(ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)