บทเสภาเรื่à¸à¸‡à¸‚ุนช้างขุนà¹à¸œà¸™à¸„วามเà¸à¹ˆà¸² ตà¸à¸™à¸‚ุนà¹à¸œà¸™à¸‚ึ้นเรืà¸à¸™à¸‚ุนช้าง
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 03:38, 11 กันยายน 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: ไม่ปรากฏ
บทประพันธ์
สำนวนที่ ๑
๏ | คณายางจับต้นยางใหญ่ | ||
นกคล้าจับคล้าตะเวนไพร | กระในจับในรกราย | ||
ไม้รังดอกร่วงเกสร | ใยสลอนยังแสงพระสุริย์ฉาย | ||
ตระแบกบานก้านเบียดลมรบาย | นางกรายกิ่งกรายเมื่อต้องลม | ||
นิจจาเอ๋ยแม้ได้นุชนาฏ | ไม่นิราสแรมร้างภิรมย์สม | ||
จะดิ้นโดยมาด้วยในไพรพรม | จะชวนชมเก็บช่อผกาการ | ||
เก็บประดู่ลำดวนยมโดย | ลมโชยกลิ่นชื่นหอมหวาน | ||
เหมือนกลิ่นวนิดายุพาพาล | ขุนแผนแสนโศกซ่านกระสัลทรวง | ||
สาวหยุดนางแย้มกาหลง | พยอมพยงค์ก็โรยร่วง | ||
เกดแก้วพิกุลเปนพุ่มพวง | ดอกดวงหล่อนกลาดดาษดิน | ||
เห็นดอกรักเหมือนจะรักไม่ร้างพี่ | ครั้งนี้หรือมาหน่ายเสียได้สิ้น | ||
ไปอยู่ด้วยขุนช้างเถื่อนเปนเพื่อนกิน | ไม่ถวิลกังวลถึงพี่ยา | ||
โอ้ไฉนใครหนอจะไปแจ้งเหตุ | ว่าพี่ร้างนคเรศมาเดิรป่า | ||
แสนคนึงถึงนางทุกเวลา | ............................ | ||
(ฉบับขาด) | |||
ครั้นออกจากป่าพนาวัน | พอสุริยันเย็นลงย่ำสนธยา | ||
ขุนแผนผู้ชาญทหารกล้า | จึงโอมอ่านคาถาถามหาสดมภ์พลาง | ||
เสดาะใบดาลบานประตู | เที่ยวค้นดูทั่วบนหอรีที่หอขวาง | ||
ฝูงทาสหลับกลาดนอกหอกลาง | บ้างนอนคราววิปริตผิดกิริยา | ||
ผ้านุ่งยุ่งปนกับผ้าห่ม | เนื้อนมผมดกปกประหน้า | ||
ดูเห็นสมเพชเวทนา | ถึงห้องนารีหนึ่งดูพึงชม | ||
นอนอยู่บนเตียงกระจ้อยร่อย | เอวบางร่างน้อยดูสวยสม | ||
น้อยแน่งผิวเนื้อนวลนม | ไรผมขำคมอยู่ในที | ||
ดวงหน้าละม้ายคล้ายหน้าเทศ | นวลแก้มการเกดลออศรี | ||
หน้าเจ้าคล้ายวันทองน้องรักพี่ | หลากนักนางนี้จะเปนใคร | ||
วงศวารว่านเครืออ้ายขุนช้าง | หรือญาติข้างวันทองเปนไฉน | ||
จะว่าเมียขุนช้างก็ผิดไป | นวลเจ้ายังไม่ต้องมือชาย | ||
จำจะปลุกให้เจ้าลุกขึ้นไต่ถาม | จึงจะแจ้งเนื้อความดังใจหมาย | ||
สั่งพรายพรายก็วางให้นางคลาย | พลางร่ายมนต์เป่าเคล้าคลึงชม | ||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | นิทรา............................ | ||
(ฉบับขาด) | |||
พี่ลอบชมตามอารมณ์ประสารัก | ลักจูบลูบน้องต้องติดใจ | ||
เจ้าต้องมนต์นอนหลับสนิธอยู่ | แก้วตาหารู้สึกตัวไม่ | ||
โทษพี่ผิดแล้วขออไภย | จงบอกให้พี่ประจักษ์สักสองคำ | ||
เจ้าเปนอะไรกับขุนช้าง | พี่ขอพูดด้วยนางทองร้อยน้ำ | ||
หรือว่าเมียชู้คู่อุปถัมภ์ | เจ้าอย่าอำบอกพี่ไปแต่ตามจริง ฯ | ||
๏ เจ้าแก้วกิริยาได้ฟังถาม | นางนิ่งนึกตรึกความแล้วนั่งนิ่ง | ||
มั่นแม่นขุนแผนแล้วจริงจริง | จะมาตามช่วงชิงเจ้าวันทอง | ||
วิทยาอาคมก็หนักหนา | อาจใจมาเที่ยวบุกเล่นทุกห้อง | ||
สิธุระประสงค์ข้างวันทอง | นี่ลัดแลงหลงห้องเข้ามาไย | ||
ครั้นจะมีโอนอ่อนผ่อนคำ | ถ้าขัดแค้นก็ทำเหตุใหญ่ | ||
ให้ครั่นคร้ามขะขามใจ | แล้วบอกว่าข้ามิใช่เจ้าวันทอง | ||
อนิจจาคิดมาเปนน่าหัว | หลงตัวแล้วมิหนำซ้ำหลงห้อง | ||
แล้วยอข้าว่าเหมือนเจ้าวันทอง | แสร้งซร้องสรรเสริญให้เกินดี | ||
อันปัดนี้หรือจะเอาไปเทียมแก้ว | ฉันรู้แล้วว่าน้องน้อยศักดิ์ศรี | ||
ข้าเจ้ามิใช่เปนผู้ดี | ฉันนี้เปนทาสเจ้าวันทอง | ||
ตัวข้าเปนลูกท่านโศกโขไทย | ต้องเร่งพินัยเงินสิบสอง | ||
บิดาต้องโทษโปรดให้จำจอง | จึงพาน้องมาขายฝากไว้ | ||
เปนต้นเงินตราสิบห้าตำลึง | ครึ่งปีหนึ่งแล้วยังหาไถ่ไม่ | ||
ชื่อแก้วกิริยาข้าตกไร้ | รู้แล้วเชิญท่านไปอย่าฆ่าตี ฯ | ||
๏ อนิจจาเห็นหน้าเจ้าพี่สงสาร | มาตกยากช้านานไม่พอที่ | ||
แต่เงินสิบห้าเท่านี้ | ตกนักงารพี่จะช่วยน้อง | ||
เปนบุพเพนิวาสพาสนา | ชักพามาพบเข้าในห้อง | ||
ขอฝากรักพี่ไว้ในน้อง | พี่จะครองแก้วตามิให้ราคี | ||
ว่าพลางถอยถดเข้ามาใกล้ | อย่าสูญใจเหมือนเจ้าได้เอนดูพี่ | ||
ลูบหลังสั่งรักด้วยไมตรี | ฤดีปั่นป่วนอยู่รวนเร ฯ | ||
๏ นางแก้วค้อนควักแล้วผลักเสีย | ใครเปนชู้เมียอย่ามาเลียมเล่ห์ | ||
ว่ารักน้องประยุทธเห็นสุดคะเน | อย่าแต่งเล่ห์ล่อลวงผิดท่วงที | ||
ท่านเปนไทยหรือจะมาประทาส | ไม่สอาดไอ่เอี่ยมเทียมศักดิ์ศรี | ||
จะแก้แค้นแทนกันนั้นตามที | ท่านผู้ดีต่อดีเขาจะทำกัน | ||
ข้างข้าเจ้านี้ต้องการอะไร | จะมาพลอยใครผายผัน | ||
ธุระท่านมีอยู่เปนสิ่งอัน | จะมาพลอยพัวพันข้าไย ฯ | ||
๏ ขุนแผนจึงว่าอนิจจานะน้อง | พี่จะรักวันทองนั้นเปนข้อใหญ่ | ||
ชั่วดีเจ้าก็รู้อยู่เต็มใจ | ขุนช้างเจ้ากรรมทำให้มาทดแทน | ||
บุญแล้วพบแก้วกิริยา | เจ้าแก้วตาพี่รักเจ้าเหลือแสน | ||
พี่ดีใจยิ่งกว่าได้วิมานแมน | แสนสุดสวาทพี่ไม่แรมวัน | ||
อิบแอบแนบน้องประคองพุ่ม | อุ้มขึ้นบนตักแล้วรับขวัญ | ||
เจ้าเหมือนหนึ่งยาทิพย์อันเย็นครัน | ช่วยร้อนที่กระลัลในน้ำใจ | ||
นางแก้วผลักไสไฮ้ฉนี้ | อย่าพาทีน้องยังหาเชื่อไม่ | ||
เลือกว่าเอาแค่เพราะเสนาะใน | แต่พอได้ก็โผไปลอยลิบ | ||
ทีนั้นนางแก้วกิริยาตั้งตาคอย | ข้างท่านก็ลอยไปหายฉิบ | ||
ชแง้เปล่าเฝ้าท่าตาไม่พริบ | เพื่อนเขาจะกระซิบกันนินทา | ||
แต่เปนกรรมแล้วนิหนำซ้ำให้เหม็นสายเล่า | ใจเบาเชื่อลมสมน้ำหน้า | ||
จะขายฝ่าเท้าท่านบิดา | ทั้งมูลนายเขาจะว่าให้ซ้ำใจ ฯ | ||
๏ ขุนแผนว่าน้อยหรือถ้อยคำ | หวานฉ่ำน้ำฟ้าไม่เปรียบได้ | ||
มาหวานวัยจับจิตต์ติดน้ำใจ | ชายใดได้ฟังเห็นจะหลงลม | ||
แล้วแก้เงินสิบห้าออกยื่นให้ | สิ่งหนึ่งสิ่งไรจงเสร็จสม | ||
ไม่ลวงล่อข้อนั้นอย่าปรารมภ์ | เชยชมแก้เครื่องเปลื้องจากกาย | ||
ห้อยไว้ข้างฝาแล้วคว้ากอด | สวมสอดด้วยความรักไม่เหือดหาย | ||
จะหยิกข่วนผลักไสไม่ห่างคลาย | พลางชิดติดกายแนบนวลนาง | ||
พอพระพายชายโชยโรยริน | ฟุ้งกลิ่นมาลาที่หน้าต่าง | ||
ริ้วริ้วปลิวชายสไบนาง | จันทร์แจ่มกระจ่างอยู่พรายพราย | ||
เรื่อเรื่อไรไรอยู่ในเมฆ | ดาวช่วงดาวเอกรับเดือนหงาย | ||
ดาวฤกษ์เบิกเมฆอยู่คล้ายคล้าย | พระพายเยือกเย็นเปนลมลาง | ||
หอมระรินกลิ่นแก้มแกมกลิ่นดอกไม้ | กอดจูบลูบไล้ไม่ไกลข้าง | ||
รสรักแล่นทั่วสรรพางค์ | ต่างคนต่างมีผาสุกใจ ฯ | ||
๏ ขุนแผนยืนอยู่ดูหอขวาง | ของขุนช้างสร้างขึ้นไว้ใหม่ใหม่ | ||
หอนั่งตั้งฉากตลอดไป | กระจกใสใส่อย่างยี่ปุ่นกลาง | ||
รูปฝรั่งนั่งไพล่ในกระจก | แล้วแขวนนกโนรีที่หน้าต่าง | ||
ดูฝรั่งตั้งตาชำเลืองนาง | เหมือนอย่างคมค้อนงอนตละเปน | ||
ใครหนอช่างฉลาดมาวาดเขียน | ฝูงหญิงนอนเปนอันดับมา | ||
แล้วเสดาะใบบานดังดาลไข | ย่างเท้าเข้าไปในเคหา | ||
อรรจกลับวับแวมแจ่มตา | เห็นม่านปักลักขนาคนึงใจ | ||
ผืนนี้ฝีมือเจ้าวันทอง | นี่ก็ฝีมือน้องพี่จำได้ | ||
ปักชั้นช่องหิมวาไลย | เปนเขาใหญ่ไกลาสดังเงินยวง | ||
ปักเปนฝูงนางกินรา | ลอยล่องฟ่องฟ้าชมเขาพลาง | ||
ต้นไม้รายช่อช้อยห้อยดอกดวง | บานตูมพุ่มพวงร่วงกลีบโรย | ||
น่ารักชนีที่ร่ายไม้ | ลิงโล่ลูกน้อยห้อยตัวโหย | ||
ลมพัดตระบัดโบกโบย | ค่างโปรยใบยางเหมือนอย่างเปน | ||
น่ารักปักเปนไม้นารีผล | นวลหน้านฤมลน่าชมเล่น | ||
วิทยามาชมทุกเช้าเย็น | เนื้อนมชมเล่นเหมือนเปนจริง | ||
งามฝูงยูงทองป้องปีกรำ | กิเลสเล่นน้ำนำนรสิงห์ | ||
ดูไหนก็ลไมลม่อมจริง | ยิ่งพิศยิ่งเพลินจำเริญใจ | ||
จะชมม่านช้านักก็จักช้า | พลางเดิรเข้ามาหาช้าไม่ | ||
ตัดสายม่านน้องลงกองไว้ | ด้วยอาไลยน้องวันทองนัก | ||
มาถึงม่านกั้นชั้นสอง | นี่ก็ฝีมือน้องวันทองปัก | ||
เจ้าพี่เอ๋ยน่าชมนัก | เจ้าช่างปักเปนรูปพระยาครุฑ | ||
กางกรโอบอุ้มแก้วกากี | สู่ต้นไม้ฉิมพลีอันสูงสุด | ||
เข้าสู่สถานพิมารครุฑ | แสนสุดสวาทนาฎกากี | ||
ปักเปนวารีสีทันดร | เงือกงูมังการสลอนมี | ||
นำคู่ลอยล่องท่องวารี | กุมภีล์มัจฉาปลาหน้าน | ||
ฝูงนาคฉลากฉลามตามโลด | ช้างน้ำโดดขึ้นชลพ่น | ||
อรหันต์กางปีกกระพือชล | ............................ | ||
(หมดฉบับเท่านี้) | |||
สำนวนที่ ๒
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | อันรุ่งฤทธิ์รังสีไม่มีสอง | ||
บำราสร้างห่างโฉมเจ้าลาวทอง | ใหตริตรองตรึกตรมอารณ์รอน | ||
ยามนอนก่ายกรเกยนลาต | เสียวสวาทลาวทองฤทัยถอน | ||
โอ้ทำไฉนจึงจะได้มาแนบนอน | แต่อาวรณ์วิเวกวังเวงทรวง | ||
นอนเดียวเปลี่ยวใจอยู่ในห้อง | น้ำเนตรนองนิ่งนึกคนึงห่วง | ||
โอ้น้องแม่มาหมองมามัวทรวง | ที่ไหนดวงสุดาพี่จะมีสเบย | ||
ป่านฉนี้แก้วพี่จะโศกแสน | จะนอนแน่นแนบนิ่งเหนือเขนย | ||
ถ้าเจ้าอยู่จะได้ชูชมสเบย | มาละเลยแล้วโอ้อนิจจัง | ||
อนิจจาช่างกะไรอ้ายขุนช้าง | ฉะใจจางเมามืดแต่โมหัง | ||
ให้ขุ่นแค้นเคืองจิตต์คิดพวัง | จนคลุ่มคลั่งลุกออกมานอกชาน | ||
ชมเดือนพอให้เชือนอารมณ์ชื่น | รวยรื่นลืมมิ่งวิมลสมาน | ||
พระจันทรจรแจ่มจักรพาฬ | ดาวตระการเด่นดูระดะดวง | ||
ดูเดือนเสียดายกระต่ายแต้ม | เดือนแรมดาวรายระรุยร่วง | ||
เหมือนขุนช้างอิจฉาสุดาดวง | ดาราร่วมเหมือนเรานิราสร้าง | ||
คิดถึงเรื่องแล้วให้เคืองอารมณ์แค้น | หนักแน่นอัดอั้นอางขนาง | ||
มึงทำกูหมายว่ากูจะละวาง | จะตามล้างให้ระยำจนหนำใจ | ||
แต่วันทองน้องรักดังแก้วตา | เมื่อมึงปรารถนาก็ยอมให้ | ||
นี่ลาวทองของกูได้มาไว้ | ยังส่อให้ต้องติดอยู่ในวัง | ||
ดีแล้วเปนไรอ้ายขุนช้าง | คิดพลางทางแค้นถึงความหลัง | ||
ไม่ควรชังวันทองไปหมองชัง | แค้นคั่งคลั่งคลุ้มกลับกลุ้มรัก | ||
โอ้โอ๋วันทองของพี่เอ๋ย | ไม่ควรเลยอนิจจามาตกปลัก | ||
โมโหหึงส์ดึงดันจนเด็ดรัก | เพราะหาญหักหุนหวลจึงชวนเชง | ||
ห้ามเจ้าเจ้าก็ตามทรามถวิล | ประมาทหมิ่นอาคมคารมเหลิง | ||
คิดถึงวันจากให้อาไลยละเลิง | เพราะกระเกริงจึงต้องกรากอยู่กรุงกรัง | ||
น่าเอนดูแต่เจ้ารู้ปรนนิบัติ | เมื่อกำดัดยังไม่หน่ายสวาทหวัง | ||
ทั้งชั้นเชิงชิดชมไม่ชิงชัง | อุตส่าห์นั่งนวนฟั้นเจ้าหมั่นจริง | ||
อันการแต่งแล้วก็ดีไม่มีลบ | ขยันครบล้ำเลิศประเสริฐหญิง | ||
น้ำใจเจ้าเล่าก็รักพี่หนักจริง | นี่ประวิงเพราะแม่มันแปรเอง | ||
ทั้งอีเถ้าหัวดกอ้ายอกขน | มันเห็นว่ากูจนจึงข่มเหง | ||
กล้าทำก็กรรมของมึงเอง | นี่หากเกรงพระองค์ผู้ทรงเมือง | ||
กูจะพาแต่น้องวันทองหนี | ให้คดีนั้นลือระบือเลื่อง | ||
แม้ยิ่งตามออกไปพอไกลเมือง | จะกลับเยื้องย้อนชัฎสกัดฟัน | ||
เคืองแค้นคลายคิดถึงลาวทอง | ตรึกตรองจนย่ำพระสุริย์ฉัน | ||
จึงเรียกทนายมาสั่งพลัน | พร้อมกันถ้วนหน้าทั้งข้าไทย | ||
ให้ไปพึ่งพระหมื่นศรีเสาวราช | กับหมื่นไวยวรนาถนั้นจงได้ | ||
อันตัวของข้าจะลาไป | จงช่วยเอาใจใส่ท่านมารดา | ||
สั่งพลางไปเรือนท่านมารดร | ยอกรทั้งสองเหนือเกศา | ||
ก้มกราบกับเท้าท่านมารดา | แล้วแจ้งกิจจาแต่จริงไป | ||
อันลูกกับอ้ายขุนช้างล้าน | จะล้างผลาญกันลงให้จงได้ | ||
บัดนี้ลูกมาจะลาไป | ตระเตรียมการไว้ทุกสิ่งแล้ว | ||
แม่จงพาข้าไทยไปจากบ้าน | อยู่นี่จะรำคาญด้วยลูกแก้ว | ||
สู้ตายลูกไม่ไว้มันแล้ว | ช่วยอวยพรลูกแก้วให้จงงาม ฯ | ||
๏ ครานั้นทองประศรีผู้มารดา | ได้ฟังลูกว่ารำพรรณห้าม | ||
พ่อยอดรักของแม่อย่าหมิ่นความ | เมื่อวันทองสิเขาตามชุนช้างไป | ||
จะต้องการอะไรกับวันทอง | มันเปนสองใจแล้วไม่เลี้ยงได้ | ||
คนสองน้องแขกตามมันใย | สองใจชั่วอัปมงคล | ||
อันหญิงงามเหมือนจามรีพราย | สู้ตามมิให้ซึ่งขนหล่น | ||
ชายอื่นมิให้ชื่นสวาทปน | ประกอบกลว่าเปนแก่กสัตรี | ||
ตัวเจ้าดังเผ่าสิงหราช | มันชาติอุลามกเร่งหกหนี | ||
พระทรงภพโปรดเลี้ยงถึงเพียงนี้ | ชาวบุรีเลื่องฟุ้งในกรุงไกร ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | นิ่งคิดคำแม่แล้วแก้ไข | ||
ที่จริงนั้นวันทองไม่สองใจ | ซึ่งชั่วไปทั้งนี้เพราะมารดา | ||
อีเถ้าศรีประจันมันเปนเอง | แนะนำทำเพลงให้เข้าหา | ||
ขุนช้างจึงหากอหังกา | เข้าไขว่คว้านางถีบจนตกเตียง | ||
อีเถ้าแม่แร่เข้าไปตีลูก | ว่าดูถูกทำผัวจนหัวเสี่ยง | ||
วันทองน้อยขยับจับมีดเมียง | อียายแม่เข้าเคียงยุดมีดไว้ | ||
ลูกรู้เพราะหนังสือของสายทอง | สอดบอกข่าวน้องหาเว้นไม่ | ||
ถึงกระนั้นก็ลูกไม่จงใจ | เดี๋ยวนี้ไปจะแก้เผ็ดอ้ายคนคด | ||
ซึ่งมันทำให้พลัดกับลาวทอง | ลูกจะขอตอยต้องให้ตามบท | ||
จนห้ามเฝ้ามิได้เฝ้าพระทรงยศ | ก็เพราะอ้ายคนคดมันคิดความ | ||
เจ็บอกลูกหนักแล้วนะมารดา | โปรดเกศาเถิดแม่อย่าหักห้าม | ||
ลูกไม่ย่อท้อต่อสงคราม | อ้ายขุนช้างติดามก็ไม่เกรง | ||
ลูกได้ยิ่งยอดปรอทเพ๊ชร | ย่อห่อนเจ็ดขามใครจะข่มเหง | ||
เช่นชาติมันพันหนึ่งลูกไม่เกรง | แต่เพียงต่อยคนละเป้งจะวิ่งไป | ||
หน้าอ้ายตุ่นขุนช้างนี่นะแม่ | มันจะแร่อาจตามไปถึงไหน | ||
มีแต่จะกอดหมดนนอนร้องไป | ตีอกร่ำไห้กว่าจะตาย ฯ | ||
๏ ทองประศรีได้ฟังซึ่งน้ำถ้อย | จะจากลูกน้อยแม่ใจหาย | ||
ร้องไห้น้ำหมากขากฟูมฟาย | อวยพรลูกชายทั้งน้ำตา | ||
จะว่ากระไรไม่ออกสอื้นฮึก | ตามที่พ่อจะตึกเอาเถิดหวา | ||
แข็งใจเอามือเช็ดน้ำตา | แล้วแช่งว่าขุนช้างให้ตายไป | ||
แต่ลูกกูอายุให้ยืนนาน | ประเสริฐดังพระอวตารประสิทธิ์ให้ | ||
ทั้งพระเวทเรื่องเดชเดโชไชย | ให้อ้ายขุนช้างพ่ายแพ้ฤทธิ์ | ||
พรแม่ตั้งใจให้จริงจริง | จะนึกสิ่งใดให้สำเร็จกิจ | ||
ให้มีชัยแก่หมู่ปัจจามิตร | พรแม่ประสิทธิ์ให้ลูกยา ฯ | ||
๏ ขุนแผนรับพรแล้วก้มเกล้า | ยกเท้าแม่ทูลเหนือเกศา | ||
ประทักษิณมัสการซึ่งมารดา | แล้วลีลามาหอพระสี่กร | ||
จึงจุดเทียนประทีปขึ้นบูชา | บุปผาผกาเกสร | ||
เอาหนังราชสีห์อันบวร | ปูซ้อนเชื้อเชิญซึ่งเทวา | ||
นุ่งขาวห่มขาวสมาธิ | ตั้งสติร่ายถูกพระคาถา | ||
ครบร้อยแปดคาบด้วยศาสตรา | ปฏิมารูปปลุกก็ลุกครัน | ||
เป่าสังข์บูชาพระหริวงศ์ | น้ำกุหลายอาบสรงเกษมสันต์ | ||
จึงเอาขันสำริดน้ำสรงนั้น | มาลงยันต์เจิมกระหม่อมด้วยยินดี | ||
ล้างหน้าแล้วว่าอธิษฐาน | กรายกรานขอพรประเสริฐศรี | ||
จึงสั่งให้บ่าวผูกพาชี | ฤกษ์ดีแต่งตัวด้วยเร็วพลัน | ||
นุ่งยกดวงแย่งระยับเยี่ยง | เข็มขัดเพียงดังแกล้งประสมสัน | ||
ชั้นในย้อมว่านประทับยันต์ | ชั้นนอกนั้นอัตลัดสพักทอง | ||
คาดเจียรบาดเทศแล้วเหน็บกฤช | ดังชวากล้าฤทธิ์เรืองสยอง | ||
สังวาลกุดั่นสุวรรณกรอง | ประคำทองตุ้มปี่อาจารย์ลง | ||
แล้วจับเครื่องบวงสรวงสังเวย | ตามเคยเครื่องต้นต้องประสงค์ | ||
สายสิญจน์ธูปเทียนเจียนประจง | ฉัตรธงเพดานเอาส่านทำ | ||
ใส่แหวนต่างต่างกระจ่างวาม | สง่างามดูประดิษฐ์พิจิตรขำ | ||
โพกประเจียดประจุเครื่องประจำ | ภควำใส่ยอดมงคลดี | ||
ก้มจับฟ้าฟื้นยืนอ่านเวท | สังเกตคอยฤกษ์ประเสริฐศรี | ||
พอได้ศุภฤกษ์จรลี | ขึ้นพาชีเป่ามนต์เรียกพูตพราย | ||
ปลอดทั้งทักทินยมขัน | ห่วงเฉียงโชคชั้นตวันฉาย | ||
เหลวเหล็กผีหลวงพ้นห่วงร้าย | เร่งพายหน้าหลังกำบังมา | ||
มีดฝานว่านยาทาฝีปาก | ออกจากบ้านตรงเข้าดงป่า | ||
ตั้งจิตต์บริกรรมภาวนา | ตัดมาดงห้วยหนองตะพาน | ||
ถึงหนองจรเข้เพลาค่ำ | ให้ม้ากินหญ้าน้ำเกษมสานต์ | ||
แล้วมาถึงบ้านพลับมิทันนาน | ใกล้บ้านขุนช้างเข้าฉับพลัน ฯ | ||
๏ จึงตัดไม้ทำศาลเพดานดัด | พลีบัตรนั้นทำมาสรรพสรรพ์ | ||
ตีเหล็กไฟจุดธูปเทียนพลัน | เอาเครื่องพลีนั้นออกบูชา | ||
วงด้ายสายสิญนจ์โขลนทวาร | แปดด้านแขวนยันต์ทุกทิศา | ||
เอาผ้าผืนเครื่องทั้งนั้นมา | โอมอ่านฤทธาอาคมมนต์ | ||
ปลุกเษกชุมนุมเทวดา | ให้ชอุ่มมืดฟ้ามัวฝน | ||
อาราธนาเทวดาทุกตำบล | จอมสกลอิศเรศรแลนารายณ์ | ||
อินทราเทวดาศศิธร | ทินกรเวสสุกรรมวรุณฉาย | ||
รามสูรอรชุนแลพระพาย | ขอถวายกรน้อมประนมเชิญ | ||
ทั่วทั้งสินหกห้องสวรรค์ชั้นฟ้า | อิกรุกขาคีรีเขาเขิน | ||
ลำเนาหนองคลองห้วยกรวยโกรกเกริน | เถื่อนเถินปิศาจพระทรงเมือง | ||
ปู่เจ้าจอมภูผาป่าอ้อแดง | เจตคุกเรืองแรงฤทธิ์ลือเลื่อง | ||
ทั้งพระกาลองครักษ์หลักเมือง | ขอเชิญมารับเครื่องพลีกรรม์ | ||
แล้วตั้งความสัตย์อธิษฐาน | จงเปนทิพย์พยานประเสริญสรรพ | ||
ขุนช้างมิได้อยู่ในทางธรรม์ | สหายกันมันคิดประทุษร้าย | ||
เอาภรรยาของข้าไปชมขวัญ | ซึ่งข้อนั้นข้าก็ดับโมโหหาย | ||
มีเมียใหม่ได้มาไว้แนบกาย | ยังปองร้ายคิดทำให้จำไกล | ||
เสียดส่อต่อเติมเอาความทูล | นเรนทรศูรพิโรธไม่เฝ้าได้ | ||
แล้วมิหนำซ้ำให้เอาเมียไป | ปักสดึงอยู่ในนิเวศน์วัง | ||
วันนี้ข้ามาจะตอบแทน | ความแค้นแก้เผ็ดขุนช้างมั่ง | ||
แม้ข้าไม่อยู่ในสัจจัง | เชิญสังหารชีพอย่าได้ไว้ | ||
ถ้าข้างขุนช้างกระทำผิด | ขอให้สำเร็จกิจข้าจงได้ | ||
เทวาอารักษ์อย่าเข้าใคร | ใครชั่วก็ให้ประจักษ์ตา ฯ | ||
๏ ครานั้นเทพาอารักษ์ | สิทธิศักดิ์ปิศาจแกล้วกล้า | ||
ผีภูตโขมดมารยา | ซึ่งมารับสังเวยพลีกรรม์ | ||
ปรึกษากันครั้นเห็นว่าขุนช้าง | โหดร้ายใจจางโมหันธ์ | ||
ทำลายสหายคิดร้ายกัน | เอาเมียเกลอนั้นมาเคล้าคลึง | ||
มั่งมีเงินทองเสียเปล่าเปล่า | ไม่ตอบแทนคุณเราสักนิดหนึ่ง | ||
ดีแต่จะกินเหล้าแล้วเมาอึง | เข้าของหน่อยหนึ่งไม่ถึงเรา | ||
แต่คุ้มเกรงรักษามาไม่น้อย | คราวนี้จะต้องปล่อยตามทีเขา | ||
ให้สมอ้ายขี้ตืดที่มืดเมา | จะคว้าหาเมียเปล่าไม่รู้ตน ฯ | ||
๏ ขุนแผนแสนเลิศประเสริฐฤทธิ์ | ดังอาทิตย์แจ่มแจ้งกระจ่างหน | ||
ปลุกฤทธิ์สิทธิเดชด้วยเวทมนต์ | เอิกเริกฤกษ์บนได้ท่วงที | ||
จึงดูนิมิตเมฆฉาย | ดูกายผิวผ่องลอองศรี | ||
ขาวช่วงดังดวงจินดาดี | เปรมปรีดิ์สำอางกระจ่างใจ | ||
จบจับฟ้าฟื้นขึ้นขี่ม้า | พลายกุมารนำหน้ามาไสว | ||
ถึงขอบเขื่อนเขตเรือนเข้าทันใด | ขุนแผนตั้งใจภาวนา | ||
สกดพวกบ่าวเฝ้าประตู | คุดคู้บ่นเพ้อเลมอด่า | ||
ทั้งตัวพันอินท์พัทธยา | เลมอชักตุ้งก่าคว้าเหล็กไฟ ฯ | ||
๏ ครานั้นนางพรายของขุนช้าง | ทั้งห้านางระวังวิ่งไสว | ||
เล็ดลอดสอดมองระมัดไภย | แลไปเห็นคนขี่ม้ามา | ||
บอกกันว่านั่นแน่ขุนแผน | แล้วล่วงแล่นเล็ดลอดละเลิงร่า | ||
ทำจริตบิดเบือนซึ่งกายา | ให้หน้าตาพิลึกสพึงกลัว | ||
สูงดำทมนยืนกั้นม้า | บ้างขึ้นบนต้นหว้าแล้วห้อยหัว | ||
คว่างทิ้งวิ่งเรี่ยบนปลายรั้ว | จับตัวให้ได้อ้ายคนคม | ||
อีคนหนึ่งถลิ้งห้อยหัวเดิร | สูงเกินปลายไม้สยายผม | ||
คึกคึกดังจะแผดแผ่นดินจม | อ้าปากพ่นลมดังไฟกัลป์ ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสท้าน | ปรีชาชาญพริ้งเพริศประเสริฐสรรพ์ | ||
เห็นนางพรายรบรุกบุกบัน | กีดกันวงวิ่งเปนสิงคลี | ||
จึงแก้เข้าหอมที่ย้อมว่าน | โอมอ่านพระเวทประเสริฐศรี | ||
ซํดพรายขุนช้างในทันที | ดังอสนีฟอนฟาดจะขาดใจ ฯ | ||
๏ นางพรายขุนช้างสิ้นทั้งห้า | ดังต้องสายฟ้าไม่ทนได้ | ||
ต่างล้มลุกจนซุกซนไป | ปีนขึ้นต้นไม้หักใบบัง | ||
เห็นหนุ่มน้อยหน้านวลชวนชม | ศาสตราอาคมของเขาขลัง | ||
จึงแปลงกายให้เหมือนนางชาววัง | เดิรแอบแยบยังกะทั่งไอ | ||
แฝงคนแล้วถามด้วยความดี | ค่ำมืดป่านนี้จะไปไหน | ||
ประทานโทษเถิดหม่อมนี้ชื่อไร | มาประสงค์สิ่งใดทนงนัก | ||
ชั่งไม่กลัวกองตระเวณที่เกณฑ์เที่ยว | ฉันเปนเสียวใจกลัวแทนหม่อมหนัก | ||
แล้วอย่าแค่นว่าฉันข้อนแสนงอนทัก | เพราะว่ารักดอกจึงห้ามด้วยความกลัว ฯ | ||
๏ ขุนแผนได้ฟังซึ่งแยบยล | น้อยหรือกลดตรึกพลางทางยิ้มหัว | ||
แต่น้องเปนนางในยังไม่กลัว | ตัวพี่นี้เปนชายจะเกรงไย | ||
พี่ขอถามเจ้าบ้างอย่าอางขนาง | ทั้งห้านางนี้น้องอยู่กรมไหน | ||
แม้ประทานจะสนองให้ต้องพระไทย | ไม่อาไลยจานทองสักนิดเลย ฯ | ||
๏ น้อยหรือกลแยบยลมาลวงหญิง | ชั่งจัดจริงจบเจียวแม่เจ้าเอ๋ย | ||
ใครหลงลิ้นก็จะลอยเปนลมเลย | ถ้าเชื่อเชยชมแล้วก็ชวนเชิง | ||
แต่อย่างฉันนี้หรือสมเปนข้าหลวง | อย่าติล่วงเล่นลิ้นให้ลานเหลิง | ||
ไม่รักเปนชาววังกลัวหลังเปิง | จะอยู่ละเลิงเล่นข้างนอกตามสบาย | ||
ถึงต้องติดเปนข้าท่านขุนช้าง | ก็เหมือนอย่างตัวเปล่าอยู่แหล่หลาย | ||
แม้ว่ายอมตามหม่อมกลัววุ่นวาย | เหมือนทำกรรมใส่กายไม่ต้องการ | ||
มาประสงค์สิ่งใดจะใคร่รู้ | จึงมายั้งหยุดอยู่ประตูบ้าน | ||
ถ้าขุนช้างมาเห็นมิเปนการ | เชิญท่านกลับไปอย่าได้ช้า ฯ | ||
๏ พี่ขอบคุณแล้วที่ข้อรำพรรณแถลง | เจ้าไม่แจ้งจิตต์จงจำนงข้า | ||
พี่จะเล่าให้เจ้าฟังแต่หลังมา | ขุนช้างกับข้าเปนมิตรกัน | ||
บัดนี้เขาพาเจ้าวันทอง | เมียของพี่ไปไว้ชมขวัญ | ||
เสียน้ำสบถคิดคดกัน | มาวันนี้พี่หวังจะแทนทด | ||
จงหลีกให้พี่เข้าไปหน่อยเถิดนาง | อย่ากีดขวางเลยน้องมิต้องขบถ | ||
เกรงอะไรกับอ้ายทรยศ | นี่พี่งดเพราะเจ้าทั้งห้านาง | ||
สามิภักดิ์ต่อนายได้ยากเย็น | ใช้เช่นนี้พี่เห็นเปนผิดอย่าง | ||
อดนอนเดิรนั่งระวังทาง | ใช้นางอย่างนี้มิสมควร | ||
นี่จนใจด้วยเปนข้าเขาข้างนั้น | ถ้าผูกพันกับพี่นี้จะสงวน | ||
จะให้แต่นั่งผัดพักตร์ยักหน้านวล | เชยชวนเจรจาสำราญใจ | ||
แป้งน้ำมันมิให้หมองกระเหม่าม่อย | อีกไม้สอยส้นงาจะหาให้ | ||
กระจกแหนบก็จะแอบให้กันไร | จะถึงใจทั้งกระแจะน้ำมันจันทน์ ฯ | ||
๏ ครานั้นนางพรายได้ฟังคำ | ชั่งคมขำแซมสอดทุกสิ่งสรรพ์ | ||
นั่งไหว้ทำชม้ายเมียงมัน | เชิงหม่อมว่านั้นเห็นสุดคิด | ||
ด้วยน้องสิอยู่กับท่านขุนช้าง | จะวิ่งวางหนีตัวกลัวความผิด | ||
ซึ่งเมตตาว่าจะพาไปเชยชิด | ก็ควรคิดขอบข้อประคองคุณ | ||
แต่ท่านขุนช้างได้เลี้ยงมา | ไม่ควรเลยที่ข้าจะหันหุน | ||
เห็นเปนตัวน้องนี้เนรคุณ | ต่อท่านขุนช้างที่เลี้ยงมา | ||
อันซึ่งขุนช้างทุจริต | ชอบผิดนั้นไม่รู้ที่จะว่า | ||
จะให้ซ้ำพร่ำโทษท่านเลี้ยงมา | ตัวข้าไปไม่ทำเปนกรรมไป ฯ | ||
๏ ขุนแผนเห็นว่าจะช้าที | ก็คลายคลี่เข้าซัดไปไม่ปราไสย | ||
เจ้าจะยับนะขยับเสียให้ไกล | กลังอกไปพ้นทางอย่าขวางกัน | ||
ว่าแล้วขุนแผนแสนประเสริฐ | เสดาะเปิดกลอนถอนประตูสั่น | ||
เท้าถีบเปิดทวารทั้งสามชั้น | สั่งให้พรายนั้นเร่งเข้าไป | ||
เที่ยวดูผู้คนทุกตำแหน่ง | แอบแฝงหลับตื่นเปนไฉน | ||
คนมีมากน้อยสักเท่าไร | ดูให้สิ้นสุดแล้วกลับมา ฯ | ||
๏ พรายกุมารรับคำขุนแผนสั่ง | ไม่รอรั้งวิ่งแข่งกันขึ้นหน้า | ||
ประเดี๋ยวหนึ่งถึงเรือนศรพญา | เคหาใหญ่อยู่ประตูกลาง | ||
นอนหลับด้วยกันกับภรรยา | กลับหัวลงมาอยู่ข้างล่าง | ||
เอาก้นเมียต่างหมอนแล้วนอนคราง | ดูกับขุนช้างก็คล้ายกัน | ||
พรายกุมารเล็ดลอดเที่ยวสอดดู | เห็นพวกเฝ้าประตูจับหัวสั่น | ||
อีกเหล่านงยามทั้งสามชั้น | ชวนกันนับคนแล้ววิ่งมา | ||
ถงจึงไหว้บอกกับขุนแผน | บ่าวเข้าเฝ้าแหนอยู่แน่นหนา | ||
ทั้งสามชั้นพร้อมกันคอยตรวจตรา | ชั้นละสิบห้ากำลังนั่งกองไฟ | ||
เรือนทาสรายกลาดรอบรั้วทึบ | พร้อมสพรึบล้อมเรียงรอยเรือนใหญ่ | ||
บ้างเล่นหมากรุกสนุกไป | มันตรวจตรากันไม่ให้หลับนอน ฯ | ||
๏ ขุนแผนแสนเลิศประเสริฐฤทธิ์ | ไม่วางจิตต์พร่ำสั่งกระซิบสอน | |||
จงกลับเข้าไปชักสลักกลอน | สกดให้นอนหลับใหบไปทุกคน | |||
แต่บันดาผู้คนของขุนช้าง | อย่าได้ว่างเว้นเลยสักแห่งหน | |||
ขนให้สิ้นอย่างทั้งล่างบน | จนสุนัขก็อย่าให้ลืมตา ฯ | |||
๏ ครานั้นนางพรายกุมารทอง | ต่างคนองกราบไหว้แล้วบ่ายหน้า | |||
วิ่งดังลมพัดสบัดพา | มาทำดังว่าสิ้นทั้งปวง | |||
บ่าวไพร่ชายหญิงที่ทำการ | บ้างโก้งโค้งคลานเหงาหลับง่วง | |||
เลมอไลมไปว่าโขมยล้วง | ยุดหน่วงไม้พลัดซัดโบยเมีย | |||
มะเปิงเลมอขึ้นโก้งโค้ง | คลำล้วงกระโปรงว่าโพรงเหี้ย | |||
โรงเจ๊กลูกเล็กไว้หางเปีย | เลมอร้องหาเตี่ยอยู่รอบเรือน | |||
บ้างโดดเลมอว่าปักกร่ำ | ลุยบุกน้ำครำถลำเปื้อน | |||
วิปริตผิดเพ้อไปทุกเรือน | ฟั่นเฟื่อนงวยงงด้วยภูตพราย ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | แค้นคิดเกรี้ยวกราดด้วยมาดหมาย | |||
ครั้นสั่งกุมารภูตพราย | ทำคนทั้งหลายให้นิทรา | |||
บ้านขุนช้างเงียบเชียบสงัดเสียง | หลับกายรายเมียงไม่เงยหน้า | |||
ขึ้นม้าผันแปรแลมา | ชมเขตเคหาของขุนช้าง | |||
ขอบนอกนั้นเรือนศรพญา | สอาดตาภูมิฐานกว้างขวาง | |||
ผู้คนนอนกรนเลมอคราง | ดูพลางทางนึกอยู่ในใจ | |||
รุ่งพรุ่งนี้แล้วอ้ายขุนช้าง | จะกอดหมอนนอนครางน้ำตาไหล | |||
วันทองตามันมาเปรมใจ | วันนี้จะได้เห็นหน้ากัน | |||
ขี่ม้าเที่ยวดูมาถ้วนที่ | บมีใครทักเธอเพ้อฝัน | |||
มาถึงเรือนใหญ่ขุนช้างพลัน | ผินผันหน้าตรงเข้าหัวนอน | |||
ลงยันต์ปิดม้ายังตาคน | เป่ามนต์ลูบหลังแล้วสั่งสอน | |||
ให้สีหมอกเข้าซอกอยู่เร้นซ่อน | อดนอนแอบบังระวังตัว | |||
สั่งพรายให้ประจำเจ้าขุนช้าง | ทั้งอีนางวันทองคนองผัว | |||
เราปลุกจึงลุกออกจากตัว | อย่าให้เงยหัวทั้งข้าไทย | |||
จึงจุดเทียนสกดเข้าติดเสา | ผีเย่าเฝ้าเรือนไม่อยู่ได้ | |||
ขุนแผนกำราบปราบไป | ขับไล่ปรายว่านเข้าสารซ้ำ | |||
ซัดข้ามหลังคาได้สามหน | ผู้คนที่หลับกลับตื่นคล่ำ | |||
แล้วกลับลัมกรนบ่นพึมพำ | เษกมนาวซัดซ้ำกระหน่ำไป | |||
ทิ้งข้ามหลังคาได้สามหน | ขุนช้างหลับกรนไม่ทนได้ | |||
กอดวันทองหลับระงับใจ | นางพรายน้อยใหญ่ไม่ละวาง | |||
บ้างช่วยกลิ้งครกเข้าหนุนตีน | ปีนร้านดอกไม้ที่หน้าต่าง | |||
พิศชมต้นไม้นายขุนช้าง | เกลื่อนกระถางเคลือบวางเปนสามชั้น | |||
ต้นส้มมะสังแซมยี่สุ่น | ดอกแก้วหอกกรุ่นพิกุลกลั่น | |||
สมอรัดตัดพุ่มสินเอ็ดชั้น | มขามป่อยขยันเปนฝักงาม | |||
สนสร้อยหางโตตะโกนา | ตะขบข่อยระย้าบ้างสุกห่าม | |||
ยมโดยดอกกลุ่มชอุ่มงาม | ประยงคุ์แย้มแซมซามรบัดใบ | |||
รำดวนดกเด่นช่ออรชร | สารภึเกสรเสียดไสว | |||
สาวหยุดพยอมหอมยวลใจ | กุหลาบกลิ่นไกลปนจำปา | |||
งามกระดังงาจีนกลิ่นหอมเย็น | ดอกดกดูเด่นฟุ้งกลิ่นกล้า | |||
หยุดยืนชมเล่นเห็นจะช้า | เชือนมาชมกระถางอ่างปลาทอง | |||
ว่ายแหวกแถกถาในสาชล | ดำพ่นผุดน้ำแสงเดือนส่อง | |||
ดูกลมเกลี้ยงเกลากลึงประหนึ่งกลอง | ปลาทองผุดดำลำบากคลัน | |||
บ้างก็โปเปาปุ่มเปนยุ่มยอ | ว่ายป๋อหลอเคียงคู่กันดูขัน | |||
กระโดงเข็มกระโดงขามก็ครามครัน | จากนั้นเดิรตรงมาหอกลาง | |||
จึงเสดาะประตูทันที | เที่ยวทุกหอรีแลหอขวาง | |||
ฝูงทาสหลับกลาดนอกหอกลาง | บ้างนอนวิปริตผิดกิริยา | |||
ผ้านุ่งยุ่งปนกับผ้าห่ม | เปิดนมผมปรกลงประบ่า | |||
ดูเปนสมเพชเวทนา | แล้วเดิรมาเห็นห้องหนึ่งชอบกล ฯ | |||
๏ ขุนแผนจึงแวะเข้าไปดู | เห็นม่านน้อยห้อยอยู่ประตูต้น | |||
แล้วมีฉากพับสลับบน | จงกลอรรจกลับวะวับวาม | |||
เปิดม่านเอามือถือค้างไว้ | ทนงใจอาจจิตต์ไม่คิดขาม | |||
พิศดูเครื่องห้องลอองงาม | ขันน้ำตั้งพานกระบวยลอย | |||
หีบนากเครื่องคู่กระโถนเคียง | บนม้าเรียงแหนบครบทั้งไม้สรอย | |||
กระจกใหญ่ฉายเฉิดคันฉ่องลอย | พานน้อยเครื่องแป้งนั้นปริกทอง | |||
ราวเช็ดหน้าหีบผ้าเข้าวางแอบ | ด้วยที่แคบรู้การไม่กีดห้อง | |||
หมอนข้างวางเคียงบนเตียงรอง | ก็เปิดมุ้งเห็นน้องขึ้นนั่งชม | |||
เจ้านอนอยู่บนเตียงกจ้อยร่อย | แบบบางร่างน้อยหน้าสวยสม | |||
งามคิ้วผิวเนื้อแลนวลนม | ไรช้ำขำคมอยู่ในที | |||
ดวงหน้าลม้ายคล้ายหน้าเทศ | ดูแก้มดังการเกดยังอ่อนสี | |||
ปากนางอย่างจะยิ้มเยื้อนพาที | คอดังกินรีเมื่อร่อนรา | |||
นิ้วมือลำแขนเหมือนอย่างเขียน | ประจงเจียนดังวิจิตรเลขา | |||
เอวบางอย่างวาดสอาดตา | ทั้งอุรานั้นก็ผายลม้ายที | |||
นุ่งลายห่มผ้าสีนวลน้อย | ดึงนางลอยลิ่งสถานพิมานศรี | |||
หลับสนิธแต่จริตนั้นติดดี | หลากนักนางนี้จะเปนใคร | |||
วงศ์วานว่านเครือของขุนช้าง | หรือญาติข้างวันทองเปนไฉน | |||
จะว่าเมียขุนช้างผิดอย่างไป | นวลเจ้าดูยังไม่ต้องมือชาย | |||
จำจะปลุกให้ลุกขึ้นไต่ถาม | จึงจะแจ้งเนื้อความสิ้นทั้งหลาย | |||
สั่งพรายพรายวางให้นางคลาย | ซ้ำร่ายมนต์แล้วเข้าเคล้าคลึงชม ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | นิทราหลับจิตต์สนิธสนม | |||
ฟื้นกายเห็นชายมาลอบชม | จะร้องต้องอาคมมาข่มใจ | |||
ลุกจากเตียงเมียงชม้าย | เอ๊ะชายผู้นี้มาแต่ไหน | |||
อ้อนแอ้นรูปทรงองอาจใจ | จำจะถามไต่ให้แจ้งการ | |||
แฝงม่านแล้วถามเนื้อความไป | ท่านนี้คือใครจึงอาจหาญ | |||
รูปทรงก็ไม่เห็นจะเปนพาล | นี่คิดการอย่างไรจึงเข้ามา ฯ | |||
๏ ขุนแผนฟังวับจับทรวงกระสัล | ชั่งรำพรรณสอดเสียงบ่ายเบี่ยงว่า | |||
พี่มิใช่ชายพาลหาญหยาบช้า | พี่มาติดตามเจ้าวันทอง | |||
ด้วยขุนช้างพานางมาร่วมรัก | พี่ยังไม่รู้จักซึ่งแห่งห้อง | |||
บุญพี่ดลใจได้พบน้อง | สำคัญว่าวันทองมิ่งเมียรัก | |||
ช่างเหมือนสิ้นเหมือนสุดทั้งคิ้วตา | กิริยาหลับนอนก็สมศักดิ์ | |||
พี่มานั่งหลงเลยเชยชมพักตร์ | ลักลูบจูบน้องคนองใจ | |||
เจ้าต้องมนต์หลับสนิธอยู่ | แก้วตาหารู้สึกตัวไม่ | |||
อย่าถือโทษโกรธพี่ขออไภย | ช่วยบอกให้ประจักษ์สักสองคำ | |||
นี่เจ้าเปนอะไรกับขุนช้าง | เจ้าอย่าพรางพี่เลยที่ข้อขำ | |||
ขอถามถึงวันทองสักสองคำ | แม่อย่าอำนะช่วยบอกแต่ความจริง ฯ | |||
๏ นางแก้วกิริยาได้ฟังถาม | สดุ้งคร้ามไหวจิตต์ให้คิดกริ่ง | |||
นี่จะเปนขุนแปนแม่นมั่นจริง | ที่จะตามมาชิงท่านวันทอง | |||
วิทยาอาคมเขาหนักหนา | อาจใจเที่ยวมาถึงในห้อง | |||
ให้กลัวขนลุกหนังหัวพอง | เห็นจะเสียวันทองแล้วแน่ใจ | |||
ครั้นจะมิโอนอ่อนรับวอนคำ | เคืองแค้นก็จะทำเหตุใหญ่ | |||
เร่งคิคครั่นคร้ามขามไภย | มานี่เจ็บใจด้วยวันทอง | |||
คิดแล้วตอบว่าช่างน่าหัว | มาหลงตัวแล้วมิหนำซ้ำหลงห้อง | |||
ไม่น่าขันเลยว่าฉันเหมือนวันทอง | อย่าซ้องสรรเสริญให้เกินดี | |||
จะชักปัดนี้หรือไปเทียมแก้ว | ก็รู้แล้วว่าแสร้งแกล้งใส่สี | |||
ตัวฉันนั้นมิใช่เปนผู้ดี | ฉันเปนแต่ทาสีแม่วันทอง | |||
บิดาเปนพระยาสุโขไทย | ท่านตกยากเข็ญใจเศร้าหมอง | |||
ขัดเงินไถ่โทษที่จำจอง | จึงเอาน้องมามาขายฝากไว้ | |||
เปนเงินตราสิบห้าตำลืง | ถึงปีแล้วก็ยังหาส่งไม่ | |||
ชื่อแก้วกิริยามาตกไร้ | ฉันบอกแล้วเชิญไปเสียโดยดี | |||
เปนไทยอย่าได้มาคบทาส | ถ้าประมาทก็จะเสื่อมซึ่งศักดิ์ศรี | |||
จะตอบแค้นแทนกันในวันนี้ | ตามแต่ท่านผู้ดีจะทำกัน ฯ | |||
๏ ฟังคำร่ำว่าช่างน่ารัก | จะใคร่ลูบจูบพักตรเฉลิมขวัญ | |||
รู้เสงี่ยมเจียมตัวทุกสิ่งอัน | พิไรร่ำรำพรรณน่าเอ็นดู | |||
สมเปนลูกสาวสุโขไทย | น่าสงสารสายใจด้วยไร้คู่ | |||
ชายใดได้ร่วมภิรมย์รู้ | จะชื่นชูอาลัยทุกเวลา | |||
เจ้ายากก็ไม่มากสักเท่าไร | พี่จะช่วยด้วยใจสเนหา | |||
อย่าว่าแต่ยากเพียงสิบห้า | ถึงห้าชั่งก็จะมาช่วยทุกข์น้อง | |||
ว่าพลางทางแก้ห่อเงินให้ | เหลียวจูบลูบไล้อยู่ในห้อง | |||
แม่ช่วยชี้ที่ห้องเจ้าวันทอง | พี่ไม่ลืมคุณน้องคุ้มวันตาย ฯ | |||
๏ นางแก้วกิริยาครั้นได้ฟัง | ชุดนั่งแอบเตียงแล้วเมียงม่าย | |||
ค้อนควักผลักมือด้วยแสนอาย | หม่อมมาทำหยาบคายดีฉันไย | |||
ช่วยทุกข์ช่วยอยากจะเอาบุญ | ทำคุณแล้วจะซ้ำทำโทษให้ | |||
ฉันไม่คู่ควรอย่ากวนใจ | ด้วยบิดาสั่งไว้ให้สงวนตัว | |||
ถึงจะยากเย็นแสนเข็ญใจ | ว่ามิให้คบชู้ทำสู่ผัว | |||
มิให้ทำแต่อำเภอใจตัว | ขืนคบชู้ซึ่งผัวไม่เลี้ยงไว้ | |||
ให้บิดามารดาข้ารู้ก่อน | ก็จะประสิทธิ์พรอำนวยให้ | |||
ได้รับคำสั่งบิดาไว้ | ฉันไม่ยอมด้วยได้อย่าพาที | |||
จะเห็นอะไรแก่แก้วกิริยา | เปนคนอนาถาไม่พอที่ | |||
เมื่อคู่จิตต์ชิดสมานของท่านมี | ไม่ควรที่เลยจะทำให้จำใจ | |||
พอได้แล้วก็จะสลัดลิ่ว | ไม่รู้ว่าปลิวไปทิศไหน | |||
ข้างฝ่ายฉันก็จะซ้ำระกำใจ | เหมือนติดใบบอยพอให้หลงลม | |||
พอรู้รสก็จะร้างแรมประเวศ | กุสุเมศหมางธารประสานสม | |||
ภุมเรศก็จะเร่เรณูชม | ดวงสุกรมก็จะช้ำระกำกาย | |||
อกฉันก็จะกินกำสรดโศก | แสนวิโยคเหมือนมณีสีสลาย | |||
มิควรข้องก็จะต้องเคืองระคาย | ไม่ควรที่จะอายก็อัปมาน | |||
ไหนเพื่อนข้าเขาจะว่าให้เจ็บจิตต์ | ต่อติดเย้ยหยันประจัญจ้าน | |||
ทั้งเจ้าเงินก็จะข้อนแคะประจาน | ให้อัปมานฝูงข้าไปตาปี | |||
ฝ่ายพ่อแม่รู้เรื่องจะเคืองโกรธ | ทำโทษเฆี่ยนขับดังสับสี | |||
หม่อมใช้ก็จะได้แต่เปรมปรีดิ์ | ดังขึ้นวิมานตระการทิพย์ | |||
ข้างแก้วกิริยาตั้งตาคอย | จะแลลอยคลับคล้ายไปหายฉิบ | |||
แม้นใครรู้ก็จะจู่กันกระซิบ | ตากระหยิบปากด่าใส่หน้าเอา | |||
ว่าเปนข้าแล้วให้ผ้าเหม็นสายสิ้น | ฉันจะผิดหน้าเถียงอย่างไรเล่า | |||
สมน้ำหน้าจัญไรอีใจเบา | จะต้องเอาหนังหุ้มอยู่ตาปี ฯ | |||
๏ ขุนแผนได้ฟังซึ่งน้ำคำ | เฉี่อยฉ่ำแสนสุดสวาทพี่ | |||
ซึ่งบิดาน้องสั่งไว้ทั้งนี้ | ก็ชอบประเพณีบุราณมา | |||
พี่ไม่ลวงน้องให้หมองสัตย์ | จะปรนนิบัติไปตามคำที่ว่า | |||
เพราะใจพี่รักมิตรคิดเวทนา | พี่จึงมาแก้เผ็ดอ้ายขุนช้าง | |||
พี่สกดหลับหมดทั้งเรือนแล้ว | เจ้าแก้วกิริยาปรานีบ้าง | |||
พี่ก็ได้อิงแอบแนบทรวงนาง | จะให้ร้างเลิกกันไม่ทันแล้ว | |||
พี่ขอฝากรักไว้ที่ในน้อง | แล้วจึงจะสนองพระคุณแก้ว | |||
จะไปไหว้เกิดเกล้าของเจ้าแล้ว | นางแก้วกิริยาอย่ากริ่งใจ | |||
ถ้าพี่ลวงน้องให้หมองสัตย์ | วิทยาอย่าชงัดสักสิ่งได้ | |||
จะทำตามให้งามสมสั่งไว้ | พี่ให้สัตย์น้องจงครองรัก | |||
ว่าพลางเปลื้องเครื่องขึ้นแขวนฝา | อุ้มแก้วกิริยาขึ้นวางตัก | |||
พลางตระโบมโลมลูบจูบพักตร | จะผลักเท่าไรไม่ฟังนาง | |||
พระพายชายชวยมารวยริน | ฟุ้งกลิ่นบุปผชาติสอาดกระจ่าง | |||
ฉิวฉิวปลิวชายสไบนาง | พระจันทร์จรแจ่มกระจ่างอยู่พราวพราย | |||
เรื่อเรืองเหลืองใสอยู่ในเมฆ | ดาวช่วงดวงเอกรับเดือนฉาย | |||
ดาวฤกษ์เบิกเมฆอยู่คลับคล้าย | พระพายพัดยิ่งเย็นเปนลมลาง ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | ในอุรานึกพรั่นอางขนาง | |||
เกรงใจกลัวไภยท่านขุนช้าง | อิงแอบแนบข้างรำคาญใจ | |||
มาคุมเหงฉันเล่นถึงเช่นนี้ | จะพาวันทองหนีจากเรือนใหญ่ | |||
ท่านหากจะไปสบายใจ | ฝ่ายฉันจะได้แต่เดือดร้อน | |||
ท่านขุนช้างจะง่านทยานใจ | จะพาลด่าข้าไทยไม่หยุดหย่อน | |||
ไม่เข้าการจะพาลให้พลอยร้อน | คิดรักควักค้อนด้วยงอนใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนจึงว่าแก้วตาเอ๋ย | ไม่หายแคลงบ้างเลยข้อสงไสย | |||
พี่ไม่ล่อลวงเจ้าดวงใจ | ไปแล้วก็จะกลับมารับน้อง | |||
นี่หากมาแก้เผ็ดอ้ายพาลา | ใช่ว่าจะพาไปสมสอง | |||
จะทดแทนแก้แค้นทั้งวันทอง | ดูไปเถิดน้องจะเห็นใจ | |||
ถึงเทวดาเหาะลงมาห้าม | อันจะอดงดความอย่าสงไสย | |||
เจ้าอย่าด่วนแหนงคลางแคลงใจ | พลางกอดจูบลูบไล้อยู่ในที ฯ | |||
๏ ไอ้มีแต่แนมแก้มฉันอย่างเชลย | หม่อมเสบยใจน้องช้ำคล้ำเปนฝี | |||
จงเมตตาเถิดอย่าให้เกินดี | ไม่ปรานีคนยากปิดปากทำ ฯ | |||
๏ ขุนแผนจึงว่าแก้วตาพี่ | ชั่งพาทีงอนเหลือแม่เนื้อขำ | |||
พี่แสนรักเจ้าอย่าหักให้ใจจำ | ถึงจะร่ำพิไรคงไม่ฟัง | |||
ว่าพลางกอดกระหวัดรัดรึง | เคล้าคลึงคว้าไขว่ดังใจหวัง | |||
เหมือนนาคารึงรัดกระหวัดวัง | อกทั้งทับสอดมือกอดกลม | |||
กาเมเรรวนปั่นป่วนจิตต์ | สองสนิธแนมแนบเกษมสม | |||
ถ้อยทีกอดเกี่ยวกันเกลียวกลม | ต่างภิรมย์ต่างชื่นด้วยแรกชม | |||
พระพายพาคันธรสมารวยรื่น | เหมือนชวนชื่นเชยชิดในเชิงสม | |||
ภุมเรศร่อนประเวศวงเวียนชม | ก็เชยฉมบุษบงประจงชวน | |||
ฟุ้มหอมกล่อมกลั้วกับกลิ่นแก้ม | แกมกลีบเกสรตระหลบหวล | |||
ถนอมชมกอดชิดสนิธนวล | อุ่นอุ่นเหมือนจะชวนให้หลงชม ฯ | |||
๏ นางแก้วกิริยาแรกรู้รส | หลงชดเชยชิดสนิธสนม | |||
ต่างคนต่างสอดกอดกันกลม | สองภิรมย์สำราญเบิกบานใจ | |||
จะสู่สมชมนักจะชักช้า | ไม่สมควรจวนเวลาปัจจุสไสมย | |||
ข่มรักสนิธคิดอาไลย | กอดจูบลูบไล้แล้วบอกความ | |||
ตามสิ่งซึ่งจิตต์ประสงค์มา | นางแก้วกิริยารำพรรณห้าม | |||
พ่ออย่าได้หมายมาดประมาทความ | น้องคิดครั่นคร้ามไปทั้งตัว | |||
แม้นเขาจับได้จะวอดวาย | น้องจะยอมพลอยตายด้วยทูลหัว | |||
ตรอมใจไหนน้องจะเปนตัว | ว่าพลางกอดผัวเข้าร่ำไร ฯ | |||
๏ ขุนแผนถอดแหวนออกจากก้อย | เพ็ชรประดับวงน้อยออกส่งให้ | |||
ราคาสิบตำลึงอันพึงใจ | เจ้าเอาไว้ต่างหน้ากว่าจะมา | |||
จับเครื่องที่ถอดนั้นสอดใส่ | แล้วควักเงินออกให้อีกสิบห้า | |||
นี่เอาไว้จะได้กินกว่าจะมา | จูบสั่งสอนว่าแล้วคลาไคล | |||
๏ นางแก้วกิริยาสลดจิตต์ | นั่งคิดแลตามน้ำตาไหล | |||
ดังใครแคะแขวะล้วนเอาดวงใจ | กลับวิ่งไปยึดผัวด้วยความรัก | |||
หม่อมเอ๋ยกระไรเลยสลัดสละ | เอาดาบฉะเสียเถิดให้คอหัก | |||
น้องจะได้เหือดหายคลายความรัก | สอื้นฮักข้อนอกเข้ารุมรัน ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | นิ่งพินิจดูนางพลางรับขวัญ | |||
ใช่พี่แกล้งเริศร้างห่างจรัล | อย่าโศกศัลย์เลยแม่จงวางมือ | |||
แม้หม่อมยอมกระนี้ไม่ดีแล้ว | ไม่รักจริงทิ้งแก้วเสียแล้วหรือ | |||
ไม่ฟังฉันดึงดันแกะไม้มือ | ฟ้าผ่าเถิดร้องให้อื้อขึ้นสาใจ | |||
โอ้กรรมแล้วเจ้าแก้วกิริยา | อนิจจาเหมือนจะแกล้งแต่งความให้ | |||
พี่มิได้ล่อลวงเจ้าดวงใจ | ก็ได้แจ้งจริงไว้แรกมา ฯ | |||
๏ นางแก้วกิริยาได้ฟังคำ | ดังหนึ่งดาบซ้ำเอาเกศา | |||
ไม่รู้ที่จะออกบอกวาจา | ด้วยแจ้งธุระมาแต่เดิมที | |||
นางก้มกราบลงกับฝ่าเท้า | เปลี่ยวเปล่าจิตต์ใจให้หมองศรี | |||
ครั้นจะห้ามปรามนักก็ผิดที่ | เมื่อสาระทุกข์ท่านมีก็จนใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนพานางมาสู่ห้อง | โลมลอยปลอบน้องอย่าร้องไห้ | ||
พี่ไม่ทิ้งขวัญเมืองอย่าเคืองใจ | จากไปไม่ช้าจะกลับมา | ||
ว่าพลางทางลุกออกจากห้อง | เหลียวหลังดูน้องนั่งก้มหน้า | ||
ให้คิดสงสารใจมิใคร่กลา | รื้อคิดแค้นขึ้นมาก็หักใจ | ||
ฉวยถอดฟ้าฟื้นขึ้นหอกลาง | ของขุนช้างสร้างขนไว้ใหม่ใหม่ | ||
ที่หอนั่งตั้งฉากพับไว้ | กระจกใสใส่อย่างยี่ปุ่นกลาง | ||
รูปฝรั่งนั่งไพล่ในกระจก | นกโนรีแขวนไว้ที่หน้าต่าง | ||
ดูฝรั่งนั้นใคร่ดูตานาง | เหมือนอย่างข้องค้อนงอนดังเปน | ||
นี่ใครหนอฉลาดชั่งวาดเขียน | เวียนดูอยู่พลางทางลูบเล่น | ||
เปิดหน้าต่างเผยรำเพยเย็น | เห็นฝูงหญิงนอนเปนขนัดมา | ||
แล้วเสดาะกลอนเข้าในเรือนใหญ่ | ม่านบางกางไว้ทั้งซ้ายขวา | ||
อรรจกลับวับแวมแจ่มแจ้งตา | เห็นลวดลายรจนาคนึงใน | ||
ม่านนี้ฝีมือเจ้าวันทอง | นั่นก็ฝีมือน้องพี่จำได้ | ||
ปักเปนรูปเขาพระเมรุไกร | โตใหญ่สูงเยี่ยมมหึมา | ||
มีรูปรามสูรอสุรี | ไล่ชิงมณีเมขลา | ||
ปักเปนองค์พระสุริยา | เสด็จคลาส่องโลกชโลธร | ||
ทรงรถโอภาสประหลาทเลิศ | แสนประเสริฐเทียมเทพไกรสร | ||
แล้วปักเปนองค์พระศศิธร | เสด็จจรแจ่มแจ้งจักรพาฬ | ||
รถทิพย์เทียมม้าพลาหก | บุษบกลอยล่องส่องแสงฉาน | ||
แล้วปักพระอินทรจรจักรวาฬ | สำราญทรงช้างเอราวัณ | ||
มีพระมเหษีทั้งสี่นาง | งามสำอางดังหนึ่งแสร้งประสงค์สรรค์ | ||
มีเขาวินัตกนั้นเรียงรัน | อัสสกรรณอิสินธรยุคนธร | ||
แล้วปักเปนไกลาสประหลาทผา | พระอุมากับองค์มหิศร | ||
มีสระอโนดาตอันบวร | พระสี่กรทรงอนันตนาคา | ||
นางลักษณวดีลักษมี | มเหษีบำเรออยู่ซ้ายขวา | ||
มีคนธรรพเทพกินรา | ถัดมาสถานพิมานครุฑ | ||
ทั้งวิทยาธรนารีผล | ติดต้นไม้ใหญ่ลม้ายสุด | ||
รูปร่างแลกับอย่างมนุษย์ | มีสมุทรวารีสีทันดร | ||
ฝูงนาคามัจฉาชล่าโลด | ช้างน้ำดำโตดแลสลอน | ||
ชมพลางทางคิดจิตต์อาวรณ์ | เอาดาบชอนรานสายกระจายลง | ||
ชมพลางเยื้องย่างไม่อยู่ช้า | ด้วยตรึกตราถึงน้องปองประสงค์ | ||
คิดเสียดายมิได้วายสวาทปลง | เดิรตรงหมายมาดพิฆาฏแค้น | ||
เข้ามาถึงม่านที่ชั้นสอง | นี่ก็ตรองปักเลิศประเสริฐแสน | ||
๏ (ฉบับขาด) | |||
ชมพลางทางคิดถึงวันทอง | ให้ขุ่นข้องเคืองแค้นระคายหนัก | ||
ไม่ควรเลยน้องเอ๋ยมาหน่ายรัก | เกรงจะชักช้ามุ่งมาหัวนอน | ||
เห็นขุนช้างสอดกอดนางหลับ | ถอดดาบจะสับสักสิบท่อน | ||
พรายห้ามตัวสั่งใคร่ฟันฟอน | จิตต์ใจค่อนค่อนจะใคร่ฟัน | ||
พรายยึดยิ่งเหี้ยมเตรียมตรมใจ | กูจะฟันมันให้ขาดสะบั้น | ||
ถีบพรายกุมารที่วิ่งกัน | ไว้มันทำไมอ้ายงูพิษ | ||
ฝ่ายพรายกุมารจึงว่า | จะฆ่าเขาทำไมจะได้ผิด | ||
เขาก็เปนข้าเฝ้าเจ้าชีวิต | พระทรงฤทธิ์จะว่าเราไม่ยำเยง | ||
ขุนแผนว่าจะผิดให้ผิดไป | ให้สาสมแก่ใจมันคุมเหง | ||
อาจทำกูได้มันไม่เกรง | ใช่การของเองกูแค้นนัก | ||
ถีบขุนช้างที่หว่างอก | พลัดตกจากเตียงเสียงดังอัก | ||
ทุดทำแก่กูดูหมิ่นนัก | เมียกูมึงลักมาแนบนอน | ||
ขุนแผนพิศดูเจ้าวันทอง | เห็นน้องแล้วทอดคฤไทยถอน | ||
ไม่ควรเลยน้องเอ๋ยให้แนบนอน | น่าใคร่ช้อนหยิกขาให้สาแค้น | ||
วันทองเนื้อนิดหนึ่งเท่านี้ | จะแบบบี้ลงด้วยมันเปนมั่นแม่น | ||
เนื้อนวลเจ้าไม่ควรจะบี้แบน | พี่คิดแค้นด้วยมันนั้นเปนแรง | ||
แก้มเปล่งเพ่งพิศไปจนทรวง | ทั้งนมพวงสักนิดไม่มีแขง | ||
พอสมใจน้องน้อยเมื่อพลอยแล้ง | ไม่แอบแฝงชื่นชมด้วยคนใด | ||
ไม่เข้าหอรอท่าจนทัพกลับ | พี่ก็นับว่าเจ้าดีคนหนึ่งได้ | ||
ชมว่าดีกลับซ้ำระยำไป | น่าใคร่แหวะอกใจออกเพ่งพิศ | ||
เมื่อคราวอยู่กับพี่ถนอมนัก | แต่ต้องหนักเกรงน้องจะหมองจิตต์ | ||
นิ่งให้มันกอดปล้ำทำโดยฤทธิ์ | จะมีดีที่จะติดเอาตัวใย | ||
ทั้งอีเถ้าศรีประจันแม่มันเปนเอง | ไม่เกรงดายกูดูหมิ่นได้ | ||
ชอบทำอีแม่แล่อกใจ | สับสับออกให้แร้งกากิน | ||
เอาดาบเคาะเยาะหัวขุนช้าง | อ้ายยาจกมัวครางมุดหัวดิ้น | ||
ทั้งอีเถ้าเทพทองคนองลิ้น | ดูหมิ่นกูยิ่งกว่าเด็กน้อย | ||
นี่แม่ยายพี่ชายไปอยู่ไหน | จึงไม่มาดูดแต่สักหน่อย | ||
อีนางแม่ดีแต่นั่งตะบอย | เอาดาบต่อยหัวเคาะดังหัวปลา | ||
หัวลูกขุนช้างจะเปนแผล | สมน้ำหน้าแม่จะเอาหน้า | ||
ทุดซึ่งอ้ายพันศรพญา | ถ้ามีเกรงพระพันวสาไม่ไว้มึง | ||
ทุดช่างทุดมุดหัวนอนดังขอนไม้ | พุงพองท้องใสอลึ่งฉึ่ง | ||
ดาบกูจะโบยซึ่งหัวมึง | อ้ายอิ่งอ่างนอนหลับไม่รู้ตัว | ||
โกนหัวสมาแถวตลอดขวัญ | เอามินหม้อน้ำมันขึ้นเขียนหัว | ||
เปนนกตะกรุมสุ่มปลามาห้าตัว | เอาปลาสดลุกหัวให้แมวเลีย | ||
แล้วขอดขนอกเอาชาดหมาย | ทำเหมือนเปื้อนป้ายออกรายเรี่ย | ||
ให้สมอ้ายติดปลักลักชมเมีย | ก็ทำเล่นส่ำเสียอ้ายชาติงัว | ||
นี่หากกุมารเขาห้ามไว้ | หาไม่ไอ้รูปงามจะขาดหัว | ||
สั่งพรายคลางวางนางฟื้นตัว | เจ้าลุกขึ้นดูผัวเถิดขันครัน ฯ | ||
๏ ครานั้นวันทองผ่องโสภา | นิทราหลับเพ้อเลมอฝัน | ||
สดุ้งตกใจตื่นฟื้นตัวพลัน | ผวากอดสำคัญว่าขุนช้าง | ||
ยังเพ้อเลมอมัวตน | ด้วยต้องมนต์ดลยังไม่ส่าง | ||
กอดขุนแผนไว้ไม่ละวาง | หวั่นไหวใจนางยังมึนตึง | ||
ว่าเจ้าคุณเอ๋ยน้องอัศจรรย์ | ช่วยทำนายทายฝันให้หน่อยหนึ่ง | ||
ในฝันว่าเจ้าสุมเท่ารึง | ประเดี๋ยวหนึ่งไหม้มุ้งข้างหัวนอน | ||
วูบวาบปลาบเปลวถึงหลังคา | แล้วตกมาไหม้ฟูกตลอดหมอน | ||
ถูกเนื้อตัวลวกพองรนร้อน | ลามไหม้ฟากกลอนลงย่อยยับ | ||
ตกถูกเร่าร้อนทั้งกายา | ก็ไม่มีใครมาช่วยดับ | ||
แสงเพลิงลุกลามวาบวามวับ | ตัวน้องราวกับจะสิ้นใจ | ||
เชิญช่วยทำนายให้จงดี | เช่นนี้หาเคยจะฝันไม่ | ||
ในฝันว่าน้องนี้ร่ำไร | ตกใจจนตื่นขึ้นมาพลัน ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | แค้นคิดชังนางพลางแก้ฝัน | ||
ลูบอกแล้วว่าอย่าจาบัลย์ | ความฝันดีดอกมิเปนไร | ||
ซึ่งฝันว่าไฟนั้นไหม้มุ้ง | พลุ่งขึ้นติดกลอนฟูกหมอนไหม้ | ||
นั้นว่าจะได้อยู่เรอนใหม่ | มีผู้จะให้ฟูกหมอนเรา | ||
ซึ่งตกถูกเนื้อตัวหัวรนร้อน | จะต้องไกลเตียงนอนฟูกหมอนเก่า | ||
ซึ่งฝันว่าร่ำไรใจร้อนเร่า | นั้นมิ่งมิตรเก่าจะมาชม | ||
เจ้าจะได้เกลียดไกลอ้ายคนชั่ว | ผัวเก่าน้องนั้นจะสู่สม | ||
ทุกข์สุขเจ้าอย่าปรารมภ์ | กอดจูบลูกบชมให้ชื่นใจ ฯ | ||
๏ วันทองนอนฟังซึ่งสำเนียง | ผิดเสียงขุนช้างยิ่งสงไสย | ||
แคลงคลำเนื้อตัวทั่วอกใจ | เอ๊ะใครนี่ผิดเจ้าขุนช้าง | ||
เมื่อพ่วงพีมีขนอกดกคางเครา | นี่ใครเล่าจึงซูบผิดรูปร่าง | ||
ฟุ้งกลิ่นกระแจะจันทน์ทั่วสรรพางค์ | ไม่เหมือนอย่างเคยกลิ่นกินสุรา | ||
ข้อมือน้อยนิดหนึ่งสักครึ่งกำ | ไม่มีล่ำโตใหญ่ใจชล่า | ||
ขึ้นมาถึงบนเตียงเคียงนิทรา | นางผวาพลิกกลับด้วยตกใจ | ||
พิศดูเปนครู่รู้จักหน้า | ยิ่งประหม่าตัวสั่นอยู่หวั่นไหว | ||
แลหาผัวตนลุกลนไป | เห็นขุนช้างหลับใหลอยู่ใต้เตียง | ||
หัวหูยับย่อยเปนรอยมีด | นางตกใจร้องกรีดขึ้นสุดเสียง | ||
วิ่งเข้ากอดขุนช้างที่ข้างเตียง | ร้องเรียกสุดเสียงไม่ตื่นเลย ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าขุนแผน | คิดแค้นจึงว่าวันทองเอ๋ย | ||
อย่าเฝ้าสั่นปลุกให้มันลุกเลย | เจ้าเงยหน้าทักพี่บ้างเปนไร | ||
หรือเห็นว่าข้าคนอนาถา | ไม่ผินผันหันหน้ามาปราไสย | ||
เพราะเจ้ามีเงินทองกองสัดสนัดใจ | ไม่อาไลยเพื่อนยากที่จากเลย | ||
เราพูดกันที่ใต้กระทุ่มเตี้ย | นั้นลืมเสียสิ้นแล้วหรือน้องเอ๋ย | ||
ชั่งไม่จำให้แม่นยำบ้างเลย | ลืมเกยกะเฌอนอนต่างหมอนรอง | ||
ลืมสิ้นกินน้ำด้วยใบบอน | ลืมนอนใบไม้มากั้นห้อง | ||
อาภัพหลับไปใบไผ่รอง | หมากซีกผ่าสองออกสู่กัน | ||
อนิจจาคราวรวยพี่มาหา | แต่จะแลดูหน้ามิอยากผัน | ||
แล้วมิหน่ำซ้ำช่างปลุกสั่นกัน | จะให้ตื่นขึ้นฟันด้วยดาบเพ็ชร | ||
ชิจิตต์ชะใจเจ้าวันทอง | นิจจาน้องชั่งตัดพี่ขาดเด็ด | ||
รักขุนกินโคนจนหมดเม็ด | ตัดเด็ดยวกปลีไม่มีใย | ||
ถึงคราวบินเจ้าไม่ผินมาดูหลัง | จะคิดถึงเรามั่งหามีไม่ | ||
สงสารแขนซ้ายบ้างเปนไร | จะคอดขาดเสียเพราะให้เจ้าหนุนนอน ฯ | ||
๏ วันทองฟังคำเจ้าขุนแผน | แสนแค้นโศกาไม่หยุดหย่อน | ||
นางประเทียบเปรียบผัวชั่งมัวนอน | หยิกผลักควักค้อนแล้วว่าไป | ||
นี่มาทำไมเล่าเจ้าขุนช้าง | สิอวดอ้างว่าหารักเลี้ยงข้าไม่ | ||
แล้วกลับมาหลับนิ่งอยู่ทำไม | แกล้งทำหลับกระไรไม่รู้ตัว | ||
คิดมาอนึ่งก็น่าแค้น | คิดหายหึงส์แค่นน่าใคร่หัว | ||
ให้น่าอายเปนชายอยู่ทั้งตัว | ชั่งไม่กลัวที่เขาจะไยไพ | ||
คราวโมโหโวหารทยานอีก | อีวันทองมึงอย่านึกหารักใคร่ | ||
ไม่ขออ้อนวอนมึงอีกต่อไป | ก็นี่ใครเล่าไปเชิญให้เจ้ามา | ||
ชะมีเสียทีที่พ่อนี้เปนชาย | ไม่เสียดายความสัตย์ที่ตัวว่า | ||
แต่เราเปนผู้หญิงจะดีกว่า | ที่จะเสียวาจาอย่าพึ่งนึก ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสท้าน | ปรีชาชาญหาญครบทั้งรบศึก | ||
ฟังคำแค้นคั่งนั่งนิ่งนึก | กลับระลึกขึ้นได้ก็ว่าไป | ||
นี่แน่ว่ากันออกให้ชัด | ว่าข้าเสียความสัตย์ที่ตรงไหน | ||
เปนธรรมดาว่ากันด้วยขัดใจ | เดี๋ยวนี้ที่ใครเปนทองแดง | ||
นึกว่าหงส์ก็จะจงแต่ศีขเรศ | ตามเพศวิไสยเคยแสวง | ||
มิรู้กาพาหงส์มาหลงแปลง | ตามแหล่งแลเล่นไม่เห็นรอย | ||
เพียงรู้เรื่องความเคืองขึ้นคับอก | น้ำตาพี่นี้ตกลงผอยผอย | ||
ยิ่งขุนช้างทูลข้าได้หน้าลอย | เจ้าก็พลอยห่างเหินสเทินที | ||
ก็แจ้งจิตต์แล้วว่ามิตรห่างสวาท | พอพบพักตรเจ้าก็ผาดผินหน้าหนี | ||
เออกระนั้นดอกหรือใจกะสัตรี | เปนราคีมัวมืดไม่ยืดยาว | ||
เหมือนจุฬาคว้าตกติดดักเดี้ย | พอสบเสียคราวสั้นไม่ทันสาว | ||
ท่านก็วิ่งรอกรันไปจนราว | นางปักเป้าพันน้อยก็ลอยปลิว | ||
พี่หวังจิตต์ว่าจะคิดถึงความหลัง | พี่เฝ้าตั้งหน้าคอยละห้อยหิว | ||
จนด้านหน้ามาเรือนกลับเชือนพลิ้ว | ชักหน้านิ่วพานโกรธพิโรธเรียม | ||
ดูตาก็ไม่ตอบให้เต็มตา | อนิจจาทำได้ไม่อายเหนียม | ||
จะว่านักเปนจักระดี้เดียม | เหมือนธรรมเนียมข่มเขาให้โคยอม | ||
เพราะมีที่หวังจึงนั่งหยัด | ชมสมบัติหม่อมผัวจนตัวผอม | ||
รูปพี่พานชั่วเห็นตัวมอม | ไม่เหมือนหม่อนขุนช้างที่ใจจง | ||
ได้ผัวดีมีทรัพย์เขานับถือ | กระนั้นหรือหม่อมแม่มิแร่หลง | ||
ล้มลุกเจ้าก็คอยทำลอยทรง | พิศวงหวังสวาทไม่ขาดแล | ||
เพียงเดี๋ยวนี้ยังเห็นว่าเอนเซ | สมคเนแล้วกระนั้นสิหม่อมแม่ | ||
ดูผ่องฟ้าหน้าผากเปนปากแตร | พักตราแม่เหมือนเพ็งไม่เปล่งทัน | ||
พี่ยังจำคำสัตย์ที่ไร่ฝ้าย | สู้ตายมิได้ร้างภิรมย์ขวัญ | ||
คงจะอยู่เคียงให้เที่ยงธรรม์ | อันตัวนั้นไม่คิดเปนสองใจ | ||
ถึงชายอื่นลอยฟ้าลงมาแล้ว | ถ้านอกจากหม่อมแก้วหารักไม่ | ||
นี่นิ่งให้มันก่ายด้วยอันใด | หากไม่ลุกได้ในทันที | ||
ถ้ามันเห็นพี่เมื่อจูบเจ้า | ตายเปล่าขาดเด็ดแล้วคอพี่ | ||
ไม่เห็นเลยว่าจะเปนถึงเช่นนี้ | ชั่งเสียทีหลงชมอารมณ์รัก ฯ | ||
๏ คะกระนั้นแลฉันมันชาติชั่ว | มืดมัวลามกตกปลัก | ||
ก็เพราะใครหักหาญราญร้างรัก | ฮึกฮักชักดาบจะฆ่าฟัน | ||
แม่น้อยใจจึงให้เขาข้างนี้ | ละอายไยไม่ดีกระไรนั่น | ||
เมื่อต่างคนต่างไม่อาไลยกัน | ร่ำไปนั้นจะมาค่อนพรรณา | ||
ถึงใครดีประกอบก็ชั่งเจ้า | ข้าเล่าอยู่ตามประสาข้า | ||
ถึงใครไปย่ำยีบีฑา | หักหน้าคุมเหงเจ้าอย่างไร | ||
เปนความสัตย์เถิดเจ้าอันจิตต์ข้า | ถึงจะว่าก็หาเห็นจริงด้วยไม่ | ||
ทุกวันฉันวันทองเปนสองใจ | ยังอาไลยคิดถึงคนึงครวญ | ||
แต่ข้างเจ้าอีกได้นางลาวทอง | ไม่มีคิดถึงน้องเลยสักส่วน | ||
เปนด้วยผลกรรมมาจำกวน | จะรีรวนลำเลิกกันทำไม | ||
ที่ไร่ฝ้ายนั้นข้าให้สัตย์เจ้า | ก็ใครเล่าว่าหาทิ้งขว้างข้าไม่ | ||
จึงเก็บของวันทองลอยให้ไป | ไม่นึกได้หรือที่ได้ทำสินสอด | ||
ไม่หลงลิ้นเล่ห์ลมที่ไร่ฝ้าย | ฝ่ายชายหรือจะได้วันทองกอด | ||
เอาเงินตัวให้ผัวทำสินสอด | คราวพี่ทีกอดสิจึงกัดสนัดใจ ฯ | ||
๏ เออนี่แน่คะท่านผู้หญิง | ข้าหาเถียงว่าจริงไปได้ไม่ | ||
ก็ใครอ้อนวอนข้าให้ขอใคร | พลอยเอาเงินให้มาทำทุน | ||
วันเจ้ากับข้าวิวาทกัน | หุนหันมาอยู่กับหม่อมขุน | ||
นั้นข้าเก็บเอาไปได้กี่ดุล | หรือยังไม่คุ้มทุนที่ให้ไป | ||
รู้แล้วว่าเจ้านั้นรักข้า | ถึงทุกวันยังหาสิ้นรักไม่ | ||
รักจนเลมอเพ้อพึมไป | กอดแก้ฝันให้หม่อมขุนฟัง | ||
แต่มาง้อจะขอคืนสนิธ | ยังเบือนบิดชักหน้าตะแคงหลัง | ||
นั่นหรือรักหากแกล้งเปนเชิงชัง | แต่จะนั่งพูดด้วยก็ไม่มี | ||
เพราะใจเจ้ารักขุนช้างเถื่อน | เห็นข้าเข้าจึงเชือนสบัดหนี | ||
เจ้าอย่าพักแต่งพูดเอาแต่ดี | ผืนม่านยังมีเปนสำคัญ | ||
เพราะมาสาพิภักดิ์ต่อขุนช้าง | จึงนั่งปักม่ายบางทุกสิ่งสรรพ์ | ||
ลอยนวลแต่ล้วนเรื่องสำคัญ | หาไม่ม่านสามชั้นฝีมือใคร ฯ | ||
๏ ทำไมจะมาค่อนพิไรว่า | ก็เมื่อก่อนนั้นข้าหาทำไม่ | ||
ปักเล่นตามไม่สบายใจ | หรือพลอยพาเอาไหมของใครเปลือง | ||
ข้าโง่ปักตามประสาโง่ | ไม่โอ่โยอ้างอวดประกวดเรื่อง | ||
ด้วยไม่ช่างเหมือนอย่างแม่ศรีเมือง | ยักเยื้องเอาตามอารมณ์รัก | ||
เมียหม่อมก็เปนช่างสดึง | เปนไรมิขึงม่านให้กันปัก | ||
ช่วยกันคิดเรื่องทำเยื้องยัก | ปักปักแล้วก็ชวนกันมองดู | ||
นั่งปักนอนปักสักสามปี | หรือใครว่าจู้จี้ให้เคืองหู | ||
เมื่อแรกมาตัวข้าไม่ทันดู | คิดว่าจะจู่กระโจมฟัน | ||
เมื่อคราวเลิกทัพกลับเชียงทอง | จนทุกวันนี้น้องยังนอนฝัน | ||
แม้หม่อมมาหาเพลากลางวัน | เปนไรนั่นจะไม่ทักกันโดยดี ฯ | ||
๏ ชิชะถ้อยคำเจ้าวันทอง | เจ้าชั่งกรองสอยแซมเส้นเกศี | ||
เพราะว่าบ่าวไพร่ข้าไม่มี | จะได้ขี่คานหามมากลางวัน | ||
คุณชายนายเจ้าจะได้ทัก | ไม่พักผลักชักหน้าสบัดผัน | ||
แล้วทั้งนายประตูอยู่หลายชั้น | จะไม่ผันผ่อนให้พี่เข้ามา | ||
นี่สุดรักรวยรัดมาหาน้อง | จะต้องลุกระโทษซึ่งโทสา | ||
ใช่จะทำหุนหันด้วยฉันทา | แก้วตาอย่าได้คิดระแวงเลย | ||
เปนกรรมเราดอกนะเจ้าเมื่อวันนั้น | วิวาทกันไม่ควรดอกน้องเอ๋ย | ||
ไม่ต้องร้างแรมนิวาสสวาทเชย | พี่นอนเกยนลาตนิ่งตลึง | ||
โดยแค้นสุดแสนถึงอยู่บ้าน | ไม่สำราญมีจิตต์นั้นคิดถึง | ||
แสนเสียดายมิได้วายคลายคนึง | พอมาถึงทอดถอนฤไทยครวญ | ||
จึงด้านหน้าหวังว่าจะงอนง้อ | โลมชลอร่วมรักภิรมย์สงวน | ||
เจ้าอย่าได้ร้างรักให้รักรวน | จงคิดทวนบ้างเถิดเจ้าวันทอง ฯ | ||
นี่อย่าว่าเลยคะหม่อมมิตรจิตต์ | ฉันก็คิดว่าหม่อมตรอมมัวหมอง | ||
สู้ครองตัวท่าผัวอยู่ในห้อง | จนเลิกทัพเชียงทองกลับลงมา | ||
ก็ดีใจว่าจะไกลเจ้าขุนช้าง | อุส่าห์สร่างกลั้นโศกลงไปหา | ||
ควรหรือพ่อทูลหัวไม่กรุณา | ให้เมียลาวนั้นว่าสารพัน | ||
แล้วมิหนำหม่อมซ้ำชักดาบไล่ | จะฆ่าให้วันทองชีวาสัญ | ||
หากพี่สายทองลงไปทัน | พ่อหั้มหั่นบั้นรอญไม่มีไย | ||
ถึงกระนั้นเล่าน้องยังครองสัตย์ | หาสลัดเอาใจออกหากไม่ | ||
เพราะเขาร่ายมนต์ทับน้องหลับไป | จึงได้เสียตัวด้วยขุนช้าง | ||
เมื่อบัดนี้สิตัวได้ชั่วแล้ว | จะกลับรกพี่แก้วก็ผิดอย่าง | ||
โปรดเถิดเจ้าประคุณอย่าระคาง | เปนกุศลเราสร้างเท่านั้นไว้ | ||
จงเด็ดรักเสียให้ขาดสวาทเถิด | อันหญิงอื่นงามเลิศมีไหนไหน | ||
น้องจะกราบฝ่าเท้าทุกวันไป | คำนับไหว้ว่าพี่ร่วมอุทร ฯ | ||
๏ อนิจจานิจจาเจ้าวันทอง | ใจน้องมิเหมือนมาแต่ก่อน | ||
พี่แสนสวาทมิรู้วายถวิลวอน | ควรหรือตัดรอนไม่นำพา | ||
รูปร่างขุนช้างก็อัปลักษณ์ | อย่างไรเจ้าจึงรักมันหนักหนา | ||
ไม่คิดถึงเพื่อนยากที่จากมา | เอาเถิดพี่จะฆ่าอ้ายขุนช้าง | ||
ให้สิ้นห่วงบ่วงใยของสายสวาท | จะหั้มหั่นให้ขาดเปนสองข้าง | ||
จะได้สิ้นอาไลยในใจนาง | คว้าดาบยืนคว้างจะฆ่าฟัน ฯ | ||
๏ วันทองร้องกรีดหวีดกลัว | ทอดตัวทับขุนช้างกางกั้น | ||
ร้องขอโทษพลางทางตัวสั่น | ว่าฆ่าฟันทำไมให้เปนกรรม | ||
คนพันนี้นี่หรือจะต่อสู้ | จนคุดคู้พินาสคาดคอคว่ำ | ||
ตัวฉันแนะจะยอมให้หม่อมทำ | เชิญห้ำหั่นฉันเถิดที่ขัดใจ | ||
พ่อฆ่าน้องเสียเถิดน้องไม่ว่า | เมื่อชาติหน้าน้องขอพบพ่อแก้วใหม่ | ||
อันในชาตินี้น้องจนใจ | ซึ่งจะกลับคืนไปสมานรัก | ||
เหมือนถ้วยจานรานร้าวเอากาวติด | ถึงสนิธก็ยังเห็นรอยประจักษ์ | ||
แลดูหน้าก็จะว่าทรลักษณ์ | ไม่เลือกพักตรครองชายเปนสองคน | ||
ถ้ารักฉันวันทองเช่นน้องเถิด | จะประเสริฐเปนสุขสุภผล | ||
หรือจะเอาเมียงามสักสามคน | น้องจะค้นหาให้ดังใจปอง ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าขุนแผน | คลายแค้นจึงตอบคำสนอง | ||
เจ้าปลื้มใจพี่ก็ได้ภิรมย์ครอง | จะนับเปนพี่น้องได้ฉันใด | ||
นี่ถ้าเราจะมีลูกด้วยกัน | สักสองสามคนนั้นก็พอได้ | ||
เมื่อมิสมัครรักพี่ก็แล้วไป | จะหาคนอื่นให้ทำไมมี | ||
ถึงได้นางต่างอื่นสักหมื่นพักตร | นรลักษณ์เลิศโฉมประโลกศรี | ||
มาแลกกับวันทองคนเดียวนี้ | เปนความสัตย์เถิดพี่ไม่แลกเลย | ||
คำบุราณท่านว่ามิตรจิตต์ | จะมิผิดเสียหรือน้องวันทองเอ๋ย | ||
เมื่อสูญสิ้นเยื่อใยอาไลยเลย | ค่อยอยู่เถิดทรามเชยพี่ขอลา | ||
บุญน้อยมิได้แนบสเน่ห์น้อง | พี่ขอลาวันทองไปสู่ป่า | ||
เหมือนอิเหนาเที่ยวตามบุษบา | มิให้คนเห็นหน้าพี่สืบไป | ||
ว่าพลางทางร่ายพระคาถา | ผูกจิตต์วิญญาหาช้าไม่ | ||
ลูบหลังวันทองยองใย | ซ้ำเป่าไปด้วยมนต์มหาลลวย | ||
ทำลุกเชือนเสมือนจะไปจริง | วันทองวิ่งร้องว่าฉันจะไปด้วย | ||
คอยท่าน้องจะเอาของแต่งตัวรวย | เปนเพื่อนม้วยหม่อมแก้วที่กลางไพร ฯ | ||
๏ ขุนแผนยืนหยุดคอยท่า | วันทองรีบมาในห้องใหญ่ | ||
จึงหยิบเอาเทียนไปจุดไฟ | จับกุญแจไขกำปั่นยนต์ | ||
เลือกแหวนพลุกพล่านลนลานจิตต์ | แต่ปิดปิดเปิดเปิดอยู่หลายหน | ||
ไม่เอาเล่าก็คิดเสียดายพ้น | ครั้นจะขนเอาให้หมดก็มากนัก | ||
ทั้งสอิ้งสังวาลย์ตุ้มหูเพ็ชร | นางแกะเกล็ดเอาแต่ยอดไม่สู้หนัก | ||
เงินทองของอื่นก็หนักนัก | เลือกที่เต็มรักจึงเอาไป | ||
แล้วรีบเร่งไขกำปั่นกลาง | ดูผ้าหลายอย่างหาเอาไม่ | ||
จะไม่พ้นแก้จนที่กลางไพร | เลือกแต่ล้วนผ้าไหมยกทอง | ||
นาคเกี่ยวกระวัดหางของนางทอ | อิเหนาขอบุษบาประจำช่อง | ||
ปักเปนรูปชุนรัตน์ขี่กวางทอง | แนบน้องนุชนางกินรี | ||
กลางผืนเปนรูปพระยาครุฑ | สมนุชในห้องปราสาทศรี | ||
แล้วสุบรรณลักพาแก้วกากี | ไปพิมานฉิมพลีสำราญรมย์ | ||
ลางผืนเปนรูปอุณรุท | แนบนุชอุดสาเกษมสม | ||
เปนรูปสัตว์โสภาดูน่าชม | แล้วมาเลือกผ้าห่มที่หีบใน | ||
แพรชมภูทับทิมม่วงเขียวขาว | เปนระนาววันทองหาต้องไม่ | ||
เลือกเอาแต่ตาดเข้มขายไป | พอจะได้ห่มนอนที่กลางทาง | ||
เลือกผ้าเที่ยวช้าอยู่ในห้อง | จนมนต์ต้องตัวนั้นค่อยเสื่อมส่าง | ||
กลับคืนคำนึงถึงขุนช้าง | วางของเสียนางทอดตัวครวญ | ||
อนิจจาเวทนาเจ้าช้างเอ๋ย | จะชวดเชยภิรมย์ชมสงวน | ||
เรียกเมียแต่ล้วนแม่ทุกคำควร | ไม่ลามลวนให้น้องหมองใจเลย | ||
สารพัดจัดหาให้ทุกสิ่ง | พ่อรักเมียจริงจริงเจ้าขุนเอ๋ย | ||
เมียจะเอาอะไรไม่ขัดเลย | พ่อทูลหัวเมียเอ๋ยเมียจนใจ | ||
ทั้งคุณผีคุณคนแล้วยลซ้ำ | พ่อรักจักจำเปนไฉน | ||
ช้อนทรวงกลิ้งเกลือกเสือกไป | ร้องไห้ไม่เปนสมประดี | ||
แล้วนางตริตรึกนึกขึ้นได้ | จึงร่ำบลเป็ดไก่แก่ฝูงผี | ||
ผีพรายช่วยพลันให้ทันที | ให้ผัวน้องนี้ได้ตื่นตน | ||
น้องจะให้พี่กินเป็ดปากทอง | ไก่ของพแนงแกงทั้งขน | ||
แม้นมิได้กินของซึ่งสินบล | จงผลาญให้สิ้นชนม์เถิดอย่าไว้ ฯ | ||
๏ ครานั้นพรายของกุมารทอง | ยิ้มย่องยินดีทั้งน้อยใหญ่ | ||
บอกชื่อเป็ดไก่น้ำลายไหล | อยากไก่พแนงก็รับเอา | ||
ฟื้นขึ้นกูจะกินให้อิ่มหนำ | แล้วจะทำให้หลับเสียดังเก่า | ||
จะลวกกินเหล้าเข้มให้เต็มเมา | พลางทุเลาให้ตื่นฟื้นตัวพลัน ฯ | ||
๏ ขุนช้างครั้นตื่นฟื้นกาย | วุ่นวายหลงเพ้อเลมอฝัน | ||
มือลูบกลับหัวตัวสั่นยัน | เจ้าวันทองเอ๋ยกอดพี่เข้าไว้ | ||
หลงกอดหมอนข้างว่านางน้อง | นี่แก้มวันทองหรือมิใช่ | ||
ครั่นเนื้อครั่นตัวผัวพ้นใจ | นอนนิ่งเสียได้ไม่เยียดมา | ||
คิดจะใคร่ได้สมชมน้อง | ให้หนักดังทับต้องแผ่นผา | ||
กอดหมอนนอนกระซิบเจรจา | ขุนแผนมันจะมาพาแม่ไป | ||
แม้กล้าเข้ามาถึงในห้อง | จะแทงให้ไส้กองออกให้ได้ | ||
พูดเพ้อเลมอบ่นพึมไป | ไม่ลืมตาขึ้นได้มัวหาวนอน ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | แค้นคิดใคร่สับสักพันท่อน | ||
เหม่ดูดู๋พรายอีเพื่อนร้อน | มึงไม่กลัวโทษกรณ์สักนิดเลย | ||
อย่าได้ให้พ่อมึงฟื้นตัว | ระวังหัวจะฉิบหายอีพรายเอ๋ย | ||
อยากไก่ไม่คิดชีวิตเลย | ทำเล่นเฉยเฉยเชลยใจ | ||
มัดตีด้วยไม้หวายแซ่ | ชาติชั่วเห็นแต่จะกินไก่ | ||
แต่มิให้อดอยากลำบากใจ | ยังควรทำกูได้ไม่เกรงกลัว | ||
พรายกรีดหวีดร้องขอโทษ | ได้โปรดเถิดเจ้าประคุณพ่อทูลหัว | ||
ทำเล่นดอกพ่อพอฟื้นตัว | แล้วจะกดหัวทับลงไว้ | ||
ทีนี้ลูกหลาบจำไม่ทำแล้ว | ถึงไก่แก้วก็หารับสินบลไม่ | ||
แม้นไม่หลาบจำทำสืบไป | อย่าไว้ชีวิตเลยในคราวนี้ | ||
ขุนแผนได้ฟังพรายขอโทษ | หายโกรธแก้มัดเสียทั้งสี่ | ||
ชิกวนใจวันทองมิเสียที | บลผีให้ผัวตื่นชื่นบานใจ | ||
ผัวแทงไส้ข้าออกรายเรี่ย | เฉยเสียวานช่วยมายัดไส้ | ||
นี่เขาชวนหรือด่วนมาทำไม | ไปกอดกันไว้ให้อิ่มใจน้อง | ||
เราคิดว่าจะมาเอาของดี | มิรู้นั่งบลผีไม่หาของ | ||
พิรากลแล้วเจ้าวันทอง | พระสุริยาจวนจะส่องอย่าเนิ่นนาน | ||
แล้วร่ายมนต์เทพรัญจวน | ทำกระบวรเดิรมาจาสถาน | ||
พี่ไม่ข่มขืนใจให้รำคาญ | เมื่อรักบ้านอยู่แล้วก็อย่าไป | ||
วันทองต้องมนต์มาดลจิตต์ | คั่งคิดครวญคร่ำน้ำตาไหล | ||
โปรดเถิดไม่ช้าจะคลาไคล | น้องจะไปมิให้หม่อมโกรธา | ||
เลือกเอาอัตลัดเผื่อขัดสน | จะลำบากยากจนไปภายหน้า | ||
จำหาของติดตัวไปนานา | ถึงขาดเข้าขาดปลาไม่ยากนัก | ||
ว่าพลางจุดเทียนเวียนไป | ขวักไขว่ไขของอยู่ขลุกขลัก | ||
แล้วรื้อคิดกรมใจอาไลยนัก | เปนห่วงหน่วงหนักถึงมารดา | ||
โอ้แม่ทูลกระหม่อมของลูกแก้ว | จะลับแล้วไหนเลยจะเห็นหน้า | ||
เสียแรงอุ้มท้องวันทองมา | แต่ซากศพมารดาไม่เห็นใจ | ||
ขุนแผนฟังคำนางร่ำร้อง | สงสารวันทองไม่นิ่งได้ | ||
เษกน้ำชะโลมลูบไล้ | ชื่นใจได้สมประดีมา | ||
อย่าโศกนักเลยน้องวันทองเอ๋ย | มาชื่นเชยกับพี่จะดีกว่า | ||
อย่าหนักหน่วงนานเนิ่นเกินเวลา | พระสุริยาจวนรุ่งจะรีบไป | ||
วันทองน้องฟังขุนแผนว่า | สอื้นร่ำน้ำตาลงหลั่งไหล | ||
จำจิตต์จำจากจะจำไกล | ไหว้สั่งให้หาน้องลาแล้ว | ||
ผีเหย้าท้าวเรือนจงค่อยอยู่ | พิศดูหน้าตาเปนถ่องแถว | ||
มีกรรมตามมาขอลาแล้ว | แก้วแหวนเงินทองจะให้ใคร | ||
เทพาอารักษ์ช่วยตักเตือน | ผีเหย้าท้าวเรือนเอาใจใส่ | ||
มีกรรมทำมาจะลาไป | ที่ไหนจะได้กลับคืนมา | ||
เชิญช่วยบอกข่าวเจ้าขุนช้าง | อย่าพรางคำเลยตามคำข้า | ||
อย่าตามไปเลยไม่เข้ายา | เขาจะฆ่าเสียเปล่าไม่เข้าการ | ||
สั่งห้องเสร็จน้องมาผลัดผ้า | เอาหลังเปนหน้าน่าสงสาร | ||
ห่มสีบัวโรยโดยควรการ | กระทายมารดาให้ใส่ของดี | ||
ห่อผ้าใส่ในกระทายน้อย | น้ำตาไหลย้อยลงเรี่ยรี่ | ||
สอื้นสั่งขุนช้างด้วยปรานี | ร่ำตีทรวงซ้ำระกำใจ | ||
ขุนแผนว่าน้องหมองมัวนัก | ร่ำรักห่วงใยไม่ไปได้ | ||
ฉวยชักฉุดมือออกมาทันใด | ออกจากเรือนใหญ่ของขุนช้าง ฯ | ||
๏ ครานั้นวันทองหมองใจ | อาวรณ์มิใคร่จะเยื้องย่าง | ||
เหลียวหลังแลสั่งเจ้าขุนช้าง | อักอ่วนนวลนางสลดใจ | ||
วอนว่าขุนแผนให้หยุดอยู่ | หมากพลูหาได้หาไปกินไม่ | ||
ทั้งซองบุหรี่ก็ลืมไว้ | หม่อมคอยประเดี๋ยวใจจะกลับมา | ||
รีบมาเจียนหมากจีบพลูพลาง | ทางเขียนหนังสือไว้ข้างฝา | ||
สั่นปลุกลุกเร็วให้ลืมตา | หยิกผลักหนักหนาไม่ตื่นเลย | ||
ขุนแผนจะพาเอาน้องไป | ลุกขึ้นชิงน้องไว้อย่าได้เฉย | ||
ผีพรายก็ไม่ช่วยน้องด้วยเลย | พ่อมานอนนิ่งเฉยหลับตากรน | ||
นิจจาเอ๋ยน้องไปเห็นไม่รอด | จะม้วยมอดบรรไลยในไพรสนฑ์ | ||
ด้วยเขาเคือนแค้นแสนสากล | พอลับคนแล้วจะล้าวให้วางวาย | ||
โอ้เจ้าประคุณของเมียแก้ว | จะกินน้ำตาแล้วไม่ขาดสาย | ||
ว่าพลางนางทอดสกนธ์กาย | เพียงจะวายวางชีพลงทันใด ฯ | ||
๏ ขุนแผนคอยเห็นว่าผิดเวลา | ล่วงมาป่านนี้นี่ไปไหน | ||
กลับมาหานางด้วยขัดใจ | แลเห็นร้องไห้รักขุนช้าง | ||
นี่มาหาหมากพลูละหรือเจ้า | เอามือตีวันทองลงตั้มผาง | ||
ถีบพรายกุมารทับขุนช้าง | ถอดฟ้าฟื้นพลางด้วยขัดใจ | ||
วันทองโมโหโผจะลุก | กำลังจุกหาคิดชีวิตไม่ | ||
ค่อนแค้นขุนแผนด้วยขัดใจ | จะเปนไรก็ให้เปนเถิดตามกรรม | ||
ถึงจะไปมิไปคงจะตาย | ไม่รักกายจงฟาดให้คาดคว่ำ | ||
ถึงพาไปที่ไหนจะระยำ | มันจะทำร้ายเล่นเช่นลำพอง | ||
ขุนแผนคว้าได้แขนกระชากมา | วันทองท้าให้ฟันเสียในห้อง | ||
ขุนแผนเข้าใจในทำนอง | เป่ามนต์มาต้องให้อ่อนใจ | ||
วันทองต้องมนต์ดลใจรัก | จะเฝ้าฉุดชักฉันไปถึงไหน | ||
อย่าฉุดแขนฉันจะหักหลุดออกไป | ไม่มีใจแกล้งทำว่าปรานี | ||
กะทายหกหายสิ้นทั้งไม้สอย | หีบหมากพลอยหล่นตกกระจกหวี | ||
ขุนแผนว่ามิน่าไม่เสียที | ดีเอาเถิดแล้วพี่จะหาใช้ ฯ | ||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | แฝงดูน้ำตานางหลั่งไหล | ||
แอบแฝงเงาเสาให้เข้าใกล้ | กลัวจะทิ้งไว้ ไม่กลับมา | ||
ได้วันทองไปไหนจะกลับ | แล้วจะไม่มารับเหมือนคำว่า | ||
คิดจะใคร่ออกไปเจรจา | กลัววันทองจะว่านัดแนะกัน | ||
แต่เลียบเลียบชายชายอยู่ในหน้า | ค่อนอกร่ำน้ำตาดังเษกสรรค์ | ||
พอวันทองเห็นเงาเข้าฉับพลัน | คิดกลัวตัวสั่นว่านางพราย | ||
จะนำความยอกออกตัวไป | เห็นเงาไวไวแล้วกลับหาย | ||
อยู่อยู่ก็จู่มากล้ำกราย | กลัวนางพรายกอดขุนแผนไว้ ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | รุ่งฤทธิ์ไตรภพจบไสมย | ||
กลัวแก้วกิริยาจะน้อยใจ | ทำกล่าวปราไสยว่านางพราย | ||
คอยอยู่เถิดแล้วพี่จะมารับ | มิได้กลับถ้อยคำระส่ำระส่าย | ||
แหวนให้ไว้ชมต่างพี่ชาย | ค่อยอยู่นางพรายอย่าใส่ใจ | ||
แม้ยังมิจวนรุ่งสางสว่างฟ้า | จะอยู่เพื่อนแก้วตาในห้องใหญ่ | ||
ว่าพลางทางพาวันทองไป | ชื่นชมสมใจไม่ช้าการ | ||
พานางออกทางประตูใหญ่ | วันทองร้องไห้น่าสงสาร | ||
โอ้เคยอยู่เปนสุขสำราญ | เคยนั่งปักม่านประกวดกัน | ||
ค่อยอยู่เถิดเจ้าแก้วกิริยา | อย่าเหมือนตัวข้าได้ โศกศัลย์ | ||
ทั้งผีเหย้าท้าวเรือนสิ้นด้วยกัน | ข้าขออภิวันท์ประนมลา ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | อันประสิทธิ์สดมภ์อาคมกล้า | ||
เห็นน้องหมองเศร้าเจ้าโศกา | เหลียวมาหยอกเย้าแล้วเป่ามนต์ | ||
ให้ระรวยไปด้วยเทพรัญจวน | ชี้ชวนจะแจ้งทุกแห่งหน | ||
ครั้นว่าวันทองเจ้าต้องมนต์ | ก็ค่อยสร่างทุกข์ทนที่ใจน้อง | ||
ครั้นเดิรมาถึงม้าสีหมอก | ม้าวิ่งออกมารับค่อยจับจ่อง | ||
ลูบหลังบอกม้าว่าวันทอง | นางน้องเกรงใจพี่อาชา | ||
เกลือกพี่จะขัดอัชฌาไสย | จะสลัดซัดไว้เสียในป่า | ||
จะขอให้น้องขี่พี่อาชา | บอกม้าม้าเลียนางตกใจ | ||
วันทองว่าน้องเปนสัตรี | จะขึ้นขี่หลังพี่กระไรได้ | ||
น้องนี้จะอุส่าห์เดิรตามไป | เกลือกจะหันหุนใจพี่อาชา | ||
สีหมอกเลียมือเจ้าวันทอง | ขุนแผนยิ้มย่องแล้วบอกว่า | ||
ที่เลียไม้มือเจ้าด้วยเมตตา | ขอษมาแล้วขี่ไม่เปนไร | ||
วันทองกราบเท้าพี่พาชี | ว่าอย่ามีบาปเลยน้องกราบไหว้ | ||
แม้ชีวิตน้องนี้ไม่บรรไลย | คงจะได้แทนคุณพี่อาชา | ||
เสร็จแล้วอุ้มนางขึ้นวางหลัง | ขุนแผนขึ้นนั่งอยู่ข้างหน้า | ||
ตั้งสติบริกรรมภาวนา | ชักม้าพรายตามมาพร้อมกัน ฯ | ||
๏ วันทองเหลียวดูซึ่งเคหา | ปิ้มจะวายชีวาด้วยโศกศัลย์ | ||
โอ้แต่นี้ไปจะไกลกัน | สารพันจะพรากแล้ววันนี้ | ||
ใครเลยจะเล่าให้เข้าใจ | ว่าเขาพาน้องไปทางไหนนี่ | ||
( ตรงนี้ฉบับเดิมขาด ) | |||
( เรื่องที่ขาดตรงนี้ คือ ขุนแผนพานางวันทองขี่ม้าออกจากเมืองสุพรรณไปถึงลำน้ำบ้านพลับ น้ำลึกจะขี่ม้าข้ามไม่ได้ จึงไปที่ท่าเรือจ้าง ร้องเรียกคนเรือจ้างให้เอาเรือมารับ โดยอ้างว่ารับสั่งสมเด็จพระพันวสาให้ไปสืบข่าวช้างสำคัญ ฝ่ายมะถ่อทะบมมอญเจ้าของเรือสำคัญว่าจริง ก็เอาเรือจ้างมารับ )
ข่มขี่งันงกด้วยตกใจ | |||
จับกระทงเรือลากกระชากเข็ญ | อ้ายเรือมันติดเลนไม่เข็นไหว | ||
กลับมาข้างท้ายย้ายโยกไป | ตอกไยอย่างไรจึงแน่นนัก | ||
เอาหัวไหล่เข้าดันตะบันเข็น | อ้ายเรือปรูดฉูดเลนเต็มสบัก | ||
เข็นเรือออกได้ดีใจนัก | หอบคักคางสั่นรันรีบมา | ||
ครั้นเข้ามาใกล้เห็นหญิงงาม | คิดขามหวาดหนีไม่เข้าหา | ||
เกลอกล้อยอะไรที่ไหนมา | หลอกเล่นเจรจามาลวงกัน | ||
นี่ลักนางในวังมาแน่แล้ว | แค่นมาลวงให้แจวอยู่ตัวสั่น | ||
หน้าตาเจ้าชู้ดูเมียงมัน | จนกูไม่ทันล้างขี้ตา | ||
ขัดใจเรียกให้กูเข็นเรือ | วิ่งเงื้อพายแร่ทั้งแก้ผ้า | ||
วันทองอดสูไม่ดูมา | หม่อมขาดูแน่ช่างนอกทาง | ||
ขุนแผนร้องเยื่อมันเหลือเถน | โจงกระเบนเสียเปนไรนายเรือจ้าง | ||
เอาของดีออกละเลิงวิ่งเกริงกราง | นุ่งผ้าพายพลางก็เปนไร | ||
มะถ่อตกใจมือปิดพุง | ว่าใครเอาผ้านุ่งกูไปไหน | ||
กูจะบอกให้เขาเอาตัวไป | จำไว้ในคุกนครบาล ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิธ | พรั่นจิตต์เกรงความจะฟุ้งสร้าน | ||
อ้ายมอญเจ้ากรรมทำรำคาญ | โจนม้าทยานวิ่งรี่ไป | ||
โลมเล้าเป่ามนต์ไปตรงหน้า | ชวนพูดเจรจาปราไสย | ||
ช่วยข้ามส่งเราให้รอดไป | เราจะให้ค่าจ้างที่เหนื่อยแรง | ||
ว่าพลางทางถอดแหวนก้อย | ไข่มุกสุกพร้อยวะวับแสง | ||
ยื่นส่งไปให้อย่าได้แคลง | จวนแจ้งข้ามส่งจงเร็วรา | ||
อ้ายมะถ่อหัวร่อแล้วรับแหวน | ชะเง้อแหงนหัวคากจนปากอ้า | ||
เห็นแหวนสุกงามอร่ามตา | กูจะขายช่วยข้าไว้กอดนอน | ||
รักแต่อีคล้ายที่ท้ายบ้าน | กับอีพรมนมยานเมียพันศร | ||
พ่อคตุณเหมือนเอาฟูกมาให้นอน | การร้อนเชิญท่านลงเรือพลัน | ||
ขุนแผนลงเรือช่วยรีบพาย | คอนท้ายกโดกจนตัวสั่น | ||
สีหมอกว่ายเรียงเคียงเรือทัน | เชือกพันข้อมือเจ้าวันทอง | ||
วันทองเจ้าต้องคุณพระเวท | ให้อาเภทเปรมปรีดิ์ไม่มีสอง | ||
ถึงท่าพาขึ้นจากคลอง | อุ้มน้องขึ้นนั่งหลังอาชา | ||
บ่ายหน้ามาตามทิศอิสาณ | ดั้นดัดดงดานชำนาญป่า | ||
ตรงไปบ้านไม้ไผ่ลว้า | ยังโกรธาจึงถากฉลากไว้ | ||
เขียนบอกตลอดตามริมทาง | ขุนช้างรีบตามมาจงได้ | ||
รบกันเล่นให้สบายใจ | ใครดีก็จะได้เห็นมือกัน | ||
แล้วกล่าวสัพยอกหยอกวันทอง | ถ้าขุนช้างรักน้องจนใฝ่ฝัน | ||
เห็นจะยกพลตามมาครามครัน | จะจัดสรรค์กันมากกว่าสามล้าน | ||
พี่จะบอกเขาว่าวันทอง | เจ้าร้องไห้ตามมาน่าสงสาร | ||
เก็บแหวนเงินทองของตระการ | ลอบหนีจากบ้านวิ่งตามมา | ||
ว่าเพราะขุนช้างนั้นเลวโลน | หัวโกร๋นสี่แถวเหมือนแมวป่า | ||
กอดเอาเราไว้มิให้มา | ยึดผ้าแกะยื้อก็ไม่วาง | ||
ร้องไห้ตีอกจนฟกช้ำ | เนื้อนมเจ้าคล้ำทั้งสองข้าง | ||
เดิรเช็ดน้ำตามากลางทาง | ยึดหางม้าวิ่งวิงวอนมา ฯ | ||
๏ วันทองฟังน้ำคำเฉลย | ฟ้าผี่เอ๋ยข้อนคิดประดิษฐ์ว่า | ||
ปากคอพอสมกับวาจา | มุสาว่าจะประจานไว้ | ||
ชั่งไม่อายผีสางที่กลางป่า | ไม่อดสูปูปลาชั่งว่าได้ | ||
ทำหน้าตานิ่งเฉยด้วยเคยใจ | ชั่งไม่เกรงผีไพรจะยิ้มเยาะ | ||
นี่หรือทหารผลาญทัพลาว | ว่ากล่าวคมสันเปนมั่นเหมาะ | ||
คิดมาก็น่าใคร่หัวเราะ | ฟังเพราะเสนะสนัดใจ ฯ | ||
๏ ขุนแผนฟังน้องวันทองว่า | เมินหน้าเหมือนหาได้ยินไม่ | ||
ชักม้าเลี้ยวลัดตัดทางไป | พลางชี้ชมนกไม้ในไพรพน | ||
โน่นแน่นกอีลุ้มตระกรุมใหญ่ | หัวงามนี่กระไรร่ำไซ้ขน | ||
วันทองน้องรักอย่าทุกข์ทน | ชมเถิดที่ต้นอบเชย | ||
แล้วนึกว่าผัวเจ้ามารับ | ช่างงามสรรพรูปร่างขุนช้างเอ๋ย | ||
อนิจจารักใคร่กระไรเลย | วันทองเอ๋ยมารับจงกลับไป | ||
วันทองร้องไฮ้อะไรนั่น | มันไม่ขันดอกคะทำไถล | ||
รู้ว่าฉันชั่วช้าพามาไย | ว่าได้เพราะอยู่ในเงื้อมมือ | ||
หม่อมเห็นแนกอีลุ้มตะกรุมใหญ่ | ถัดไปนั้นไม่เห็นดอกหรือ | ||
นกสร้อยทองจับมองต้นสตือ | มิลาวทองแล้วหรือเขาตามมา | ||
ไหนได้ยินว่าเขาไปอยู่ในวัง | มิโปรดเสียแล้วกระมังมาตามหา | ||
เอ๊ะแล้วเห็นฉันจะโกรธา | จะโจนม้าลงเสียแล้วไม่ไปเลย ฯ | ||
๏ ขุนแผนฟังน้องว่าต้องใจ | ยิ้มละไมในหน้าคนึงเฉย | ||
หายกันเท่านั้นอย่าว่าเลย | ชวนเชยชมไม้ในไพรมา | ||
ปักษาพาฝูงยูงรำแพน | นกอีแอ่นเร่าร้องกึกก้องป่า | ||
เสียงดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริยา | ไก่ป่าขันเตือนพระอาทิตย์ | ||
จักรจั่นเรไรไพเราะร้อง | เสียงลองไนเรื่อยเจื้อยจับจิตต์ | ||
ตรู่ตรู่ขาวเคลือนเดือนดับมิด | พระอาทิตย์เยี่ยมเมฆกระจ่างคง | ||
โคถึกมฤคาออกจากซุ้ม | ฝูงลิงวิ่งกลุ้มในไพรระหง | ||
ชนีต่ายร่ายไม้อยู่เวียนวง | ห้อยหัวตัวลงแล้วโจนมา | ||
เห็นผ้าแดงแดงตะแคงดู | ร้องโหวยโหวยโหยคู่กู่เรียกหา | ||
สมจรกับลิงวิ่งไปมา | บนต้นพฤกษาสบายใจ | ||
ขุนแผนชี้บอกให้นางดู | วันทองอดสูไม่ดูได้ | ||
หยิกข่วนค้อนให้แล้วเมินไป | ชะกระนั้นชอบใจท่านคนดี | ||
ขุนแผนว่าเห็นน้องไม่เคยเห็น | บอกให้ชมเล่นกลับโกรธพี่ | ||
วันทองว่าเบื่อชั่งเหลือดี | ขุนแผนว่าเราหนีมาด้วยกัน | ||
เหลียวมาโลมจูบลูบไล้ | วันทองผลักไสแล้วผินผัน | ||
สัพยอกหยอกไปในไพรวัน | บันเทิงเริงกระสัลทั้งสองรา ฯ | ||
๏ ครานั้นจะกล่าวบทไป | ถึงขุนช้างหลับใหลในเคหา | ||
ครั้นรุ่งสดุ้งด้วยเสียงกา | ลุกขึ้นคว้าหาที่เตียงนอน | ||
กอดหมอนลูบคลำขยำนุ่น | หยุ่นหยุ่นไล่คลำขยำหมอน | ||
คิดว่านิ่มน้องประคองนอน | จูบหมอนวอนว่าให้จุดเกา | ||
พิฝันว่าเหยียบกระดานหก | ตกใจว่าหนีพี่ไปเล่า | ||
ผมพี่เปนไรจึงบางเบา | ลูบเลี่ยนเตียนเปล่าใครเอาไป | ||
ตรงนี้ผมพี่อยู่หนักหนา | นี่ใครมาลักถอนไปเสียไหน | ||
เผยอตาคว้าหาให้ตกใจ | เอ๊ะนี่มิใช่ที่เตียงนอน | ||
เปนไรจึงเปนไปเช่นนี้ | ผิดแล้วเอ๊ะนี่ก็เปนหมอน | ||
ตีอกชกใจดังไฟฟอน | แม่เจ้าเอ๋ยนี่ก็หมอนทั้งสองใบ | ||
เมียข้าไปไหนไม่เห็นเลย | แม่วันทองเอ๋ยไปอยู่ไหน | ||
วิ่งเหยียบพานหกงกงันไป | ผ้าลุ่ยหลุดไม่รู้สึกตัว | ||
จะลุกไปไหนไม่มาบอกเลย | แม่วันทองเอ๋ยแกล้งหนีผัว | ||
กูจะอยู่ไปไยให้เปนตัว | จะต่อยหัวแตกตายเสียบัดนี้ | ||
รักเมียชายใดในปัฐพิน | ก็ไม่สิ้นสุดรักเหมือนใจพี่ | ||
รักใครในท้องพระธรณี | ไม่เหมือนพี่ที่รักวันทองเลย | ||
แต่รักนุชสุดรักถึงเพียงนี้ | ควรหรือยังหนีพี่เฉยเฉย | ||
รักใคร่ไม่วายสวาทเลย | พี่เฝ้าเชยชมเจ้าไม่คลาดคลาย | ||
เมื่อตะกี้สิยังจูบเจ้า | ลุกขึ้นคว้าเปล่ามาสูญหาย | ||
เอาสไบเปลี่ยนไว้ให้พี่ชาย | ตัวหายไปไหนจึงไม่พบ | ||
กลิ่นเจ้ายังติดสไบห่ม | กลิ่นเนื้อกลิ่นนมยังอวนอบ | ||
แม่เอ๋ยไปไหนจึงไม่พบ | หรือลองใจไพล่หลบไปแห่งไร | ||
ลดเลี้ยวเหลียวหาทุกแห่งแหงน | เห็นหนังสือแขวนน้ำตาไหล | ||
จูบชมลายมือเจ้าทรามไวย | อ่านหนังสือดูไปทั้งน้ำตา | ||
ในหนังสือนั้นว่าขุนแผน | เขาแสนเคืองแค้นเจ้าหนักหนา | ||
สกดคนขึ้นเรือนทำหยาบช้า | แล้วฉุดคร่าพามาด้วยขัดใจ | ||
ด่าข้าหนักหนาข้าท้าทาย | ว่าสู้ตายหาไปด้วยเขาไม่ | ||
เขาว่าเพราะข้ายังอาไลย | ชักดาบออกได้จะฆ่าดี | ||
ข้าโถมเข้ากั้นกางขวางไว้ | รับว่าจะไปไม่หลีกหนี | ||
เจ้าจึงไม่ม้วยชีวี | ข้าร่ำตีทุบปลุกจนสุดฤทธิ์ | ||
แหวนทองทั้งนี้ที่ข้าเก็บไป | พอจะได้ดูต่างไม่วางจิตต์ | ||
เจ้าอย่าอยู่ช้าจงเร่งคิด | ทูลแล้วจงติดตามไป | ||
อ่านหนังสือแล้วรู้สึกตัว | เอาหนังสือทูลหัวแล้วร้องไห้ | ||
ผัวชั่วเองแล้วแม่ดวงใจ | พี่ไม่โกรธน้องวันทองเลย | ||
ผลกรรมกระไรไม่รู้ตัว | จนมันลักโกนหัวนี่น้องเอ๋ย | ||
อีพรายไปไหนไม่บอกเลย | นิ่งเฉยเสียได้ให้มันทำ | ||
เสียแรงกูเลี้ยงรักเล่า | เส้นเหล้าเข้าเต่าปลาทุกเช้าค่ำ | ||
ไก่พแนงแกงพล่าปลายำ | เสียแรงกูทำให้มึงกิน | ||
นี่หายไปไหนอีชาติชั่ว | จับได้ตัดหัวเสียให้สิ้น | ||
พาโลตีเคหาเปนอาจิณ | ศัตรูมาหนีสิ้นไม่นำพา | ||
เที่ยวเรียกบ่าวรันหลังดังขวับขวับ | บ้างโดดขึ้นทั้งหลับยืนแก้ผ้า | ||
บ้างพลัดตกนอกชานซานลงมา | บ้างเลมอด่าว่าอ้ายจัญไร | ||
อ้ายหมามาตีกูเปล่าเปล่า | กูได้เอาขวดเหล้ามึงไปไหน | ||
ขุนช้างฮึดฮัดยิ่งขัดใจ | ชั่งนอนหลับกะไรดังหมาน้อย | ||
ปล่อยให้อ้ายขุนแผนเข้ามาจับ | ทำไมไม่สับมันสักหน่อย | ||
ผู้คนคณนาก็กว่าร้อย | ไม่คอยศัตรูให้จู่มา | ||
จักแม่วันทองของกูไป | ชาติชั่วจัญไรอ้ายใจหมา | ||
ร้องไห้พลางทางเรียกศรพญา | จงเร่งตามบ่าวข้ามาบัดนี้ ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงพันศรพญา | ยังมัวนอนหลับตาบ่นอู้อี้ | ||
เมียหายในมุ้งมาด่าตี | ไยมิใส่ลั่นกุญแจไว้ | ||
กอดกันยังรุ่งไม่ลืมตา | เมียหายมาด่าเอาข้าได้ | ||
ลุกขึ้นเรียกบ่าวมี่ฉาวไป | บอกให้แจ้งใจกันทุกคน | ||
บ้างวิ่งหาหอกดาบเครื่องศัสตรา | ผูกช้างผูกม้าโกลาหล | ||
จัดกันได้กว่าห้าร้อยคน | ทั้งพากไพร่พลส่วยหน่องา | ||
อีกทั้งลาวลื้อพวกทวาย | เคยซื้อขายเนื้อไม้กฤษณา | ||
มีอาวุธถือครบมือมา | ศรพญาบอกหมายนายฉับพลัน | ||
ข้าไทข้าเตรียมไว้หนักหนา | ไปอาบน้ำนุ่งผ้าขมีขมัน | ||
รีบตามยามนี้คงจะทัน | มันจะดั้นเหาะไปที่ไหนพ้น ฯ | ||
๏ ขุนช้างเห็นพร้อมไพร่ไม่รอรั้ง | น้ำตาหลั่งหลั่งวิ่งสับสน | ||
อาบน้ำนุ่งผ้ามาลุกลน | เลี้ยงพลด้วยเหล้าเมามัวอึง | ||
ได้ฤกษ์โห่ยกออกจากบ้าน | เสียงปืนสท้านอยู่ผางผึง | ||
เร่งไพร่รีบไปใจรำพึง | ขุนช้างคนึงตลึงมา | ||
ครั้นถึงกึ่งทางระหว่างไพร | อ้ายพวกพลไพร่ที่ไปหน้า | ||
เห็นฉลากบากไม้ในมรรคา | ชวนกันก้มหน้าลงดู | ||
ในหนังสือนั้นว่าอ้ายเต่าตบ | อ้ายขี้เซาบัดซบนอนเหมือนหนู | ||
มึงอวดข่มเหงไม่เกรงกู | ดูหมิ่นพ่อยิ่งกว่าเด็กน้อย | ||
มึงทำกรุ้งกริ่งหยิ่งนัก | ให้ประจักษ์ฝีมือกูสักหน่อย | ||
จะให้น้ำตามึงหยดย้อย | ลูกตามึงจะห้อยกระเด็นลง | ||
เร่งตามกูมาทางนี้เถิด | อย่าเตลิดตเลิงกระเจิงหลง | ||
แม่วันทองของเองมาชมดง | เฮ้ยทางนี้ตรงกูคอยรับ | ||
มาแล้วหรือยังอ้ายขุนช้าง | อ้ายอึ่งอ่างแช่เกลือกูเบื่อสับ | ||
อ้ายชำสามลามปามเหมือนแมวทับ | แล้วอย่าหลับรีบตามวันทองมา | ||
อ่านหนังสือแล้วปฤกษากัน | จะให้ไปทางนั้นผิดหนักหนา | ||
ให้นายดูรู้เข้าจะตีด่า | ด้วยหนังสือหยาบช้าจะโกรธเรา | ||
พูดพลางทางสั่งซึ่งกองแล่น | เอ๊ะขุนแผนอยู่ที่นี่หรือเปล่า | ||
เห็นไม้ไหวไหวเปนเงาเงา | ไม่มีใครอาจเข้าด้วยเกรงฤทธิ์ | ||
อ้ายพวกไพร่กองหน้าพากันวิ่ง | บ้างก็ทิ้งผ้าผ่อนล่อนไม่ติด | ||
อ้ายบ้างเมาอู้อี้ไม่มีฤทธิ์ | บ้างเห็นผิดร้องว่ามาโน่นแล้ว | ||
ขุนช้างเกี่ยวช้างจนขอหัก | กระชากชักก้นกระแทกลงแตกแต้ว | ||
ควาญท้ายศรพญาตามแบ้งแบ๊ว | ตกช้างต่ำแผลวลงในพง | ||
ศรพญาจึงว่าแก่ขุนช้าง | คนอื่นตื่นบ้างอย่าพลอยหลง | ||
เมื่อเห็นแน่ด้วยกันมั่นคง | ยกพลด้นพงเข้าดงแดง | ||
ตวันเที่ยงถึงหนองออกทุ่ง | เดิรฟุ้งผลคลีออกที่แจ้ง | ||
พบเด็กเลี้ยงวัวมันเล่นแปลง | จะใคร่แจ้งเนื้องความก็ถามไป | ||
ว่าพวกเองเลี้ยงโคอยู่ปลายนา | ยังเห็นใครมาบ้างหรือไม่ | ||
ชายหญิงขี่ม้ามาในไพร | เห็นบ้างหรือไม่เจ้าเหล่านี้ | ||
เด็กเด็กพวกลว้าพากันไหว้ | ชวนกันบอกไปอยู่ถ้วนถี่ | ||
เห็นหญิงชายพากันมาวันนี้ | ท่านขี่ม้าหยอกกันตามทางมา | ||
ข้างหม่อมผู้หญิงนั้นขี่ท้าย | ท่านหม่อมผู้ชายนั้นขี่หน้า | ||
เอาศอกแขยะและเล็มมา | เหลียวหน้าจูบกันแล้วแอบทับ | ||
ข้าหม่อมผู้หญิงชบหน้าแนบ | ข้างผู้ชายลักแวบเอาตั้มหนับ | ||
แล้วเข้าในพุ่มไม้ใบลับ | ตรงต้นมะพลับที่ชี้ไป ฯ | ||
๏ ขุนช้างได้ฟังเด็กเด็กว่า | ดังจักเปนบ้าเหงื่อไคลไหล | ||
ชิชะถ้าปะไม่ละไว้ | เปนไรเปนไปในวันนี้ | ||
จะฟาดให้ล้มด้วยคมคาบ | ให้สาแก่ใจมันหยามอ้ายบัดสี | ||
กูจะฟันด้วยดาบกูเล่มนี้ | หวดเอาอกพี่เข้าตั้มอัก | ||
พันศรพญาแทบพลัดตก | อะไรนี่นายป่ายอกข้าแทบหัก | ||
นี่แน่นายอย่าวุ่นวายนัก | เราหยุดพักพลก่อนเอากำลัง | ||
ขุนช้างหยุดช้างเข้าอาไศรย | หนองน้ำร่มไม้ไพร่หยุดนั่ง | ||
เลี้ยงเหล้าเมามายอยู่เก้กัง | ชวนกันไปนั่งระวังคน ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนกล้า | พาวันทองมาในไพรสนฑ์ | ||
หยุดพักเย็นเย็นเห็นชอบกล | ถึงต้นพระไทรใบกำบัง | ||
พาเจ้าวันทองลงจากม้า | เข้าอาไศรยร่มพระไทรนั่ง | ||
หักใบไม้ลาดลงเอนหลัง | วันทองน้องนั่งแล้วโบกพัด | ||
จูบแก้มแอบอิงพิงน้อง | อายใจวันทองป้องปัด | ||
เวทมนต์ดลใจให้ประดิพัทธ | ปรนนิบัติดังเก่าเกษมมา ฯ | ||
๏ พระพายชายชวยมารวยริน | ฟุ้งกลิ่นบุปผชาติที่ในป่า | ||
หอมหวลยวลยั่วเย้าแย้มผกา | ตระหลบรวยมาลากระจายดง | ||
โกกิลาไก่แก้วสนั่นเสียง | ฟังสำเนียงมยุเรศทั้งเหมหงส์ | ||
จักรจั่นสนั่นเสนาะดง | เรไรส่งเสียงวังเวงดังเพลงพิณ | ||
เพราะพร้องต้องใจในกลางป่า | คณายุงร่อนร้องแล้วโผผิน | ||
แจ้วแจ้วเสียงแก้วโกกิล | ดังพิณพาทย์ฆ้องกล่อมใจ | ||
ไพเราะเพราะด้วยประโคมดัง | เจ้าวันทองฟังเจียนหลับไหล | ||
ขุนแผนอักอ่วนรัญจวนใจ | ปลอบให้วันทองขอษมา | ||
เรามาอาไศรยพระไทรนี้ | เกลือกจะมีฝูงเทพรุกขา | ||
จอมเจ้าจะว่าเราหยาบช้า | ขอษมาเจ้าเสียเถิดนะน้อง | ||
วันทองว่าไฮ้อะไรนี่ | น่าบัดสีกลางแปลงไม่แฝงห้อง | ||
หม่อมเหมือนจะแกล้งประจานน้อง | นี่บ้านช่องแล้วหรือนี่ไม่มีอาย | ||
ถ้าค่ำมืดยังกระไรน้องไม่ว่า | จะยอมให้เสนหาเสียโดยง่าย | ||
จะไปไหนพ้นมือของหม่อมพลาย | นี่สุดอายแล้วหม่อมอย่าทำเลย | ||
เรามาด้วยกันแต่สองคน | ใครจะด้นมามองเล่าน้องเอ๋ย | ||
ว่าพลางทางแอบแนบชมเชย | อย่าผัดเพี้ยนไปเลยให้ยืดยาว | ||
อกแนบอกน้องประคองทับ | เมฆพยับมืดคลุ้มกลุ้มกลางหาว | ||
เมขลาล่อแก้วอยู่แวววาว | รามสูรหน่วงน้าวสนับกร | ||
ประชิดไล่ใกล้นางขว้างขวานเปรี่อง | ฟ้าประเทืองฝนปรอยเปนฝอยว่อน | ||
( หมดฉบับเพียงเท่านี้ ) | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนความเก่า ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงศพ จางวางโท พระยามนตรีสุริยวงศ์ ดำรงราชบุรมณฑล กมลภักดีพิริยพาหะ (ฉี่ บุนนาค) ปม. ทจว. ตช. รัตน วปร ๓. รจพ. ฯลฯ องคมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๔๖๘ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
(ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)