บทเสภาเรื่à¸à¸‡à¸‚ุนช้างขุนà¹à¸œà¸™
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 15:01, 7 กันยายน 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง:
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑
๏ | |||
ตอนที่ ๒
๏ | |||
ตอนที่ ๓
๏ | |||
ตอนที่ ๔
๏ | |||
ตอนที่ ๕
๏ | |||
ตอนที่ ๖
๏ | |||
ตอนที่ ๗
๏ | |||
ตอนที่ ๘
๏ | |||
ตอนที่ ๙
๏ | |||
ตอนที่ ๑๐
๏ | |||
ตอนที่ ๑๑
๏ | |||
ตอนที่ ๑๒
๏ | |||
ตอนที่ ๑๓
๏ | |||
ตอนที่ ๑๔
๏ | |||
ตอนที่ ๑๕
๏ | |||
ตอนที่ ๑๖
๏ | |||
ตอนที่ ๑๗
๏ | |||
ตอนที่ ๑๘
๏ | |||
ตอนที่ ๑๙
๏ | |||
ตอนที่ ๒๐
๏ | |||
ตอนที่ ๒๑
๏ | |||
ตอนที่ ๒๒
๏ | |||
ตอนที่ ๒๓
๏ | |||
ตอนที่ ๒๔ กำเนิดพลายงาม
๏ ครานั้นวันทองผ่องโสภา | อยู่เคหากับขุนช้างให้หมางหมอง | |||
ไม่มีสุขทุกเวลาน้ำตานอง | ด้วยว่าท้องสิบเดือนไม่เคลื่อนคลา | |||
จะคลอดบุตรสุดปวดให้รวดร้าว | ตึงหัวเหน่าเหน็ดเหนื่อยเมื่อยต้นขา | |||
แสงห่องห้อยพรอยพรายพร่างสายตา | จะเรียกหาขุนช้างให้หมางใจ | |||
แต่นวดนวดปวดมวนให้ป่วนปั่น | สุดจะกลั้นกลอกหน้าน้ำตาไหล | |||
พยุงท้องร้องเรียกพวกข้าไท | จะขาดใจแล้วช่วยด้วยแม่คุณ | |||
ขุนช้างตื่นฟื้นตัวหัวผงก | เห็นเมียตกใจผวาออกว้าวุ่น | |||
ประคองนางพลางบนเอาต้นทุน | อย่าท้อแท้แม่คุณจงแข็งใจ | |||
พลางดูท้องร้องว่าเออออกแล้วซิ | ตั้งสติอารมณ์จะข่มให้ | |||
นางวันทองร้องเสือกกลิ้งเกลือกไป | ขุนช้างได้หมอนรองประคองคอ | |||
เรียกหาข้าคนอลหม่าน | บนนอกชานพวกผู้หญิงออกวิ่งสอ | |||
ให้ไปรับยายสายกับยายยอ | แต่ล้วนหมอตำแยเซ็งแซ่มา | |||
เข้าถือท้องต้องถูกว่าลูกต่ำ | เอาหน้าคว่ำไขว่ขวางไปข้างขวา | |||
ช่วยผันแปรแก้ไขใกล้เวลา | บ้างตำยาขยำส้มต้มน้ำร้อน | |||
นางวันทองร้องไห้ใจจะขาด | พอกรรมชวาตวาตะประทะถอน | |||
อรุณฤกษ์เบิกสุรินทร์ทินกร | อุทรคลอนเคลื่อนคลอดไม่วอดวาย | |||
พอพ้นท้องร้องแว้นางแม่หวีด | หน้าซีดอกสั่นมิ่งขวัญหาย | |||
ขุนช้างมองร้องอ้ายหนูเป็นผู้ชาย | ทั้งย่ายายเยี่ยมลูกให้หยูกยา | |||
แล้วทอดเตาเข้าไฟไม่ไข้เจ็บ | ครั้นจะเก็บความกล่าวยาวหนักหนา | |||
ค่อยกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไว้จนใหญ่มา | กระทั่งอายุเจ้าได้เก้าปี | |||
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนแม้นขุนแผนพ่อ | เหลืองลอออวบอ้วนเป็นนวลศรี | |||
ทั้งจุกผมกลมกล่อมกระหม่อมดี | ช่างพาทีฉอเลาะพูดเพราะพราย | |||
นางวันทองน้องคะนึงถึงขุนแผน | ด้วยลูกแม้นเหมือนเหลือเป็นเชื้อสาย | |||
บอกบ่าวไพร่ให้สำเหนียกเรียกลูกชาย | ชื่อว่าพลายงามน้อยแก้วกลอยใจ ฯ | |||
๏ ฝ่ายขุนช้างหมางจิตให้คิดแค้น | ลูกขุนแผนมั่นคงไม่สงสัย | |||
เมื่อกระนั้นเหมือนกูครั้นดูไป | ก็กลับไพร่เหมือนพ่ออ้ายทรพี | |||
อีแม่มันวันทองก็สองจิต | ช่างประดิษฐ์ชื่อลูกให้ถูกที่ | |||
เรียกพ่อพลายคล้ายผัวอีตัวดี | ทุกราตรีตรึกตราจะฆ่าฟัน | |||
พอวันทองน้องป่วยลงด้วยเคราะห์ | มาจำเพาะจะวิโยคให้โศกศัลย์ | |||
ฟังเสียงเงียบระงับหลับกลางวัน | พลายงามนั้นนั่งกับพ่อที่หอกลาง | |||
ขุนช้างเห็นเป็นทีไม่มีเพื่อน | แกล้งชี้เชือนชักพาลงมาล่าง | |||
ให้ขี่หลังนั่งบ่าแล้วว่าพลาง | ไปชมช้างกวางทรายมีหลายพรรณ | |||
ทั้งนกยูงฝูงหงส์มันลงเกลื่อน | จับไก่เถือนมาเลี้ยงฟังเสียงขัน | |||
พูดให้เพลินเดินพลางกลางอรัญ | แกล้งให้หมั่นดูแลฝูงแกกา | |||
โพระดกนกงั่นกระตั้วเต้น | กระแตเล่นไม้โจนโผนผวา | |||
เจ้าพลายงามถามพ่อพูดจ้อมา | ขุนช้างพาเลี้ยวไปปะไม้ซุง | |||
เห็นลับลี้ที่สงัดขัดเเขมร | สะบัดเบนเบือนเหวี่ยงลงเสียงผลุง | |||
ปะเตะซ้ำต้ำผางเข้ากลางพพุง | ถีบกระทุ้งถองทุบเสียงอุบโอย | |||
พลายงามร้องสองมือมันอุดปาก | ดิ้นกระดากถลากไถลร้องไห้โหย | |||
พอหลุดมือรื้อร้องวันทองโวย | หม่อมพ่อโบยตีฉันแทบบรรลัย | |||
ไม่เห็นแม่แลหาน้ำตาตก | ขุนช้างชกฉุดคร่าไม่ปราศรัย | |||
จนเหงื่อตกกระปรกประปรอมขึ้นคร่อมไว้ | หอบหายใจฮักฮักเข้าหักคอ | |||
พลายงามดิ้นสิ้นเสียงสำเนียงร้อง | ยกแต่สองมือไหว้หายใจฝ่อ | |||
มันห้ามว่าอย่าร้องก็ต้องรอ | เรียกหม่อมพ่อเจ้าขาอย่าฆ่าเลย | |||
จงเห็นแก่แม่วันทองของลูกบ้าง | พ่อขุนช้างใจบุญพ่อคุณเอ๋ย | |||
ช่วยฝังปลูกลูกไว้ใช้เช่นเคย | ผงกเงยมันก้ทุบหงุบลงไป | |||
บีบจมูกจุกปากลากกระแทก | เสียงแอ้กแอ้กอ่อนซบสลบไสล | |||
พอผีพรายนายขุนแผนผู้แว่นไว | เข้ากอดไว้มิให้ถูกลูกของนาย | |||
ขุนช้างเห็นว่าทับจนตับแตก | เอาคาแฝกฝุ่นกลบให้ศพหาย | |||
แล้วกลิ้งขอนซ้อนทับให้ลับกาย | ทำลอยชายชมป่ากลับมาเรือนฯ | |||
๏ ฝ่ายผีพรายนายขุนแผนแค้นขุนช้าง | อุตส่าห์ง้างขอนใหญ่ให้เขยื้อน | |||
แล้วเป่าแผลแก้หายละลายเลือน | เจ้าพลายเคลื่อนคลายฟื้นเหมือนตื่นนอน | |||
นางพรายบอกว่าเราบ่าวขุนแผน | มาทำแทนเมื่อมันทับช่วยรับขอน | |||
ไม่ม้วยแล้วแก้วตาอย่าอาวรณ์ | อยู่นี่ก่อนเถิดนะเจ้าอย่าเศร้าใจ | |||
แม่ของเจ้าเราจะบอกออกมารับ | แล้วหายวับวู่วามตามนิสัย | |||
เจ้าพลายงามยามเย็นไม่เห็นใคร | เที่ยวร้องไห้หาแม่ชะแง้คอย | |||
จะไปเรือนเพื่อนทางที่กลางป่า | นึกน้ำตาหยดเหยาะลงเผาะผ็อย | |||
เจ้าแหงนดูสุริย์ฉายก็บ่ายคล้อย | ให้นึกน้อยใจพ่อพูดล่อลวง | |||
เสียแรงลูกผูกใจจะได้พึ่ง | พ่อโกรธขึ้งสิ่งใดเป็นใหญ่หลวง | |||
โอ้มีพ่อก็ไม่เหมือนเพื่อทั้งปวง | มีแต่ลวงลูกรักไปหักคอ | |||
รู้กระนี้มิอยากเรียกพ่อดอก | จะไปบอกแม่วันทองให้ฟ้องพ่อ | |||
เที่ยวผันแปรแลหาน้ำตาคลอ | นึกระย่อเยือกเย้นไม่เห็นใคร | |||
ดูครึ้มครึกฟฤกษาป่าสงัด | ไม่แกว่งกวัดก้านกิ่งประวิงไหว | |||
จังหรีดร้องก้องเสียงเคียงเรไร | ทั้งลองไนเรื่อยแร่แวแววับ | |||
ดุเหว่าร้องมองเมียงเสียงว่าแม่ | ยืนชะแง้แลดูเงี่ยหูตรับ | |||
อยู่นี่แน่แม่จ๋าจงมารับ | วิ่งกระสับกระสนวนเวียนไป ฯ | |||
๏ ฝ่ายพวกพรายกายสิทธิ์ฤทธิรุทร | เหมือนลมวุดวู่หนึ่งถึงไหนไหน | |||
ไปเข้าฝันวันทองถึงห้องใน | เหมือนจะให้เห็นลูกคิดผูกพัน ฯ | |||
๏ ครานั้นวันทองผ่องโสภา | เมื่อลูกแก้วแววตาจะอาสัญ | |||
คิ้วกระเหม่นเป็นลางแต่กลางวัน | ให้หวั่นหวั่นหวิวหวิวหิวหาวนอน | |||
พอม่อยหลับคลับคล้ายเห็นพลายน้อย | ขุนช้างถ่อยทับไว้ด้วยไม้ขอน | |||
ผวาฟื้นตื่นตาด้วยอาวรณ์ | สะอื้นอ่อนในอกตกตะลึง | |||
พอแมงมุมอุ้มไข่ไต่ตีตก | นางผงกเงี่ยฟังดังผึงผึง | |||
ประหลาดลางหมางจิตคิดคะนึง | รำลึกถึงลูกชายเจ้าพลายงาม | |||
ลุกออกมาหาจบไม่พบเห็น | ที่เคยเล่นอยู่กับใครเที่ยวไต่ถาม | |||
แต่อีดูกลูกครอกมันบอกความ | ว่าเห็นตามพ่อขุนช้างไปกลางไพร | |||
นางแคลงผัวกลัวจะพาไปฆ่าเสีย | น้ำตาเรี่ยเรี่ยตกซกซกไหล | |||
ออกนอกรั้วตัวคนเดียวเที่ยวเดินไป | โอ้อาลัยเหลียวแลชะแง้เงย | |||
เห็นคุ่มคุ่มพุ่มไม้ใจจะขาด | พ่อพลายงามทรามสวาทของแม่เอ๋ย | |||
เจ้าไปไหนไม่มาหาแม่เลย | ที่โคกเคยวิ่งเล่นไม่เห็นตัว | |||
หรือล้มตายควายขวิดงูพิษขบ | ไฉนศพสาบสูญพ่อทูนหัว | |||
ยิ่งเย็นย่ำค่ำคลุ้มชอุ่มมัว | ยิ่งเริ่มรัวเรียกร่ำระกำใจ | |||
เสียงซ้อแซ้แกกาผวาว่อน | จิ้งจอกหอนโหยหาที่อาศัย | |||
จักจั่นเจื้อยร้องริมลองไน | เสียงเรไรหริ่งหริ่งที่กิ่งรัง | |||
ทั้งเป็ดผีปี่แก้วแว่วแว่วหวีด | เสียงจังหรีดกรีดแซ่ดังแตรสังข์ | |||
นางวันทองมองหาละล้าละลัง | หรือผีบังซ่อนเร้นไม่เห็นเลย | |||
จะบนหมูสุรารำว่าครบ | ขอให้พบลูกตัวทูนหัวเอ๋ย | |||
แล้วลดเลี้ยวเที่ยวแลชะแง้เงย | โอ้ทรามเชยหลากแล้วพ่อแก้วตา | |||
ตะโกนเรียกพลายงามทรามสวาท | ใจจะขาดคนเดียวเที่ยวตามหา | |||
สะอื้นโอ้โพล้เพล้เดินเอกา | สกุณานอนรังสะพรั่งไพร | |||
เห็นฝูงนกกกบุตรยิ่งสุดเศร้า | โอ้ลูกเราไม่รู้ว่าอยู่ไหน | |||
ชะนีโหวยโหยหวนรัญจวนใจ | ยิ่งอาลัยแลหาน้ำตานอง | |||
พอแจ้วแจ้วแว่วเสียงสำเนียงเรียก | นึกสำเหนียกหลายหนขนสยอง | |||
ตรงเซิงซุ้มคุ่มเคียงนางเมียงมอง | เห็นลูกร้องไห้สะอื้นยืนเหลียวแล | |||
ความดีใจไปกอดเอาลูกแก้ว | แม่มาแล้วอย่ากลัวทูนหัวแม่ | |||
เป็นไรไม่ไปเรือนเที่ยวเชือนแช | แม่ตามแต่ตะวันบ่ายเห็นหายไป ฯ | |||
๏ เจ้าพลายน้อยสร้อยเศร้าแล้วเล่าว่า | หม่อมพ่อพาเวียนวงให้หลงใหล | |||
แล้วทุบถีบบีบจมูกของลูกไว้ | เอาขอนไม้ทับคอแทบมรณา | |||
พอพวกพ้องของขุนแผนแล่นมาช่วย | จึงไม่ม้วยแม่คุณบุญหนักหนา | |||
ยังช้ำชอกยอกเหน็บเจ็บกายา | พูดน้ำตาผ็อยผ็อยด้วยน้อยใจฯ | |||
๏ นางวันทองร้องไห้ใจจะขาด | โอ้ชาตินี่มีกรรมจะทำไฉน | |||
แล้วเล่าความตามจริงทุกสิ่งไป | เจ้ามิใช่ลูกเต้าเขาจึงชัง | |||
พ่อของเจ้านั้นหรือชื่อขุนแผน | เป็นคนแค้นกับขุนช้างแต่ปางหลัง | |||
เอาทุกข์ร้อนก่อนเก่าเล่าให้ฟัง | เดี๋ยวนี้ยังอยู่ในคุกเป็นทุกข์ทน | |||
จึงจนใจไม่มีที่จะพึ่ง | มันทำถึงสาหัสก็ขัดสน | |||
ครั้นจะฟ้องร้องเล่าเราก็จน | แม้นไม่พ้นมือมันจะอันตราย | |||
แต่รู้อยู่ว่าย่าทองประศรี | อยู่บ้านกาญจน์บุรีวัดเชิงหวาย | |||
แม้นไปถึงพึ่งพาย่าพ่อพลาย | จะสบายบุญปลอดตลอดไป | |||
แต่ทางนั้นวันครึ่งจึงถึงบ้าน | ทางกันดารเดินดงจะหลงใหล | |||
โอ้ใครเล่าเขาจะพาเจ้าคลาไคล | นางร้องไห้สะอื้นกลืนน้ำตา ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามถามซักตระหนักแน่ | พลางบอกแม่ลูกแสนแค้นหนักหนา | |||
อ้ายคนนี้มิใช่พ่อจะขอลา | ไปหาย่าอยู่บ้านกาญจน์บุรี | |||
สงสารแต่แม่คุณของลูกแก้ว | จะลับแล้วตายเป็นไม่เห็นผี | |||
เพราะพ่อเลี้ยงเดียงสาไม่ปรานี | อยู่ที่นี่ชีวันจะบรรลัย | |||
ไปสู้ตายวายวางเสียข้างหน้า | ด้วยเกิดมามีกรรมจะทำไฉน | |||
ขอลาแม่แต่นี้นับปีไป | แล้วร้องไห้หวลคิดถึงบิดา | |||
โอ้พ่อคุณขุนแผนของลูกเอ๋ย | เมื่อไรเลยลูกจะได้ไปเห็นหน้า | |||
ต้องติดคุกทุกข์ทุเรศเวทนา | เจ้าครวญคร่ำร่ำว่าด้วยอาลัย ฯ | |||
๏ นางวันทองร้องไห้จิตใจหาย | กอดเจ้าพลายงามน้อยละห้อยไห้ | |||
โอ้ลูกแก้วแววตาจะลาไป | หนทางป่าค่าไม้พ่อไม่เคย | |||
จะเลี้ยวหลงวงวกระหกระเหิน | เจ้าจะเดินไปถูกหรือลูกเอ๋ย | |||
โอ้ยากเย็นเข็ญใจกระไรเลย | เพราะกรรมเคยพรากสัตว์ให้พลัดพราย | |||
เดี๋ยวนี้เล่าเจ้าจะพรากไปจากแม่ | แม่จะแลเห็นใครน่าใจหาย | |||
พลางสวมสอดกอดแอบไว้แนบกาย | สะอื้นไห้ไม่วายฟายน้ำตา ฯ | |||
๏ จนจวนค่ำน้ำค้างลงพร่างพราย | ปลอบลูกชายพลายน้อยเสน่หา | |||
อ้ายศัตรูรู้ความจะตามมา | แม่จะพาเจ้าไปฝากขรัวนากไว้ | |||
แล้วพากันดั้นดัดไปวัดเขา | เห็นสมภารคลานเข้าไปกราบไหว้ | |||
แล้วเล่าความตามจริงทุกสิ่งไป | เจ้าคุณได้โปรดด้วยช่วยธุระ | |||
เอาลูกอ่อนซ่อนไว้เสียในห้อง | เผื่อพวกพ้องเขามาหาอย่าให้ปะ | |||
ท่านขรัวครูผู้เฒ่าว่าเอาวะ | ไว้ธุระเถิดอย่ากลัวที่ผัวเลย | |||
ถ้าหากว่ามาค้นจนถึงห้อง | กูมิถองก็จงว่าสีกาเอ๋ย | |||
ฆ่าลูกเลี้ยงเอี้ยงดูกูไม่เคย | อย่าทุกข์เลยลุงจะช่วยลูกอ่อนไว้ ฯ | |||
๏ นางวันทองหมองหมางไม่สร่างทุกข์ | กระหมวดจุกลูกยาน้ำตาไหล | |||
เห็นจวนค่ำจำลาทั้งอาลัย | ลงบันไดเดินด่วนด้วยจวนเย็น | |||
พอเข้าไปในรั้วด่าผัวโผง | อ้ายตายโหงหักคอไม่ขอเห็น | |||
แต่ชาตินี้กีกรรมจึงจำเป็น | ได้ชายเช่นนี้มาเป็นสามี | |||
ขึ้นบนเรือนเหมือนใจจะจากร่าง | เห็นขุนช้างชิงชังผินหลังหนี | |||
เข้าในห้องหมองอารมณ์ไม่สมประดี | เห็นแต่ที่นอนเปล่ายิ่งเศร้าใจ | |||
คิดถึงลูกผูกพันให้หวั่นอก | น้ำตาตกผ็อยผ็อยละห้อยไห้ | |||
โอ้ลูกเอ๋ยเคยนอนแต่ก่อนไร | จนเจ้าได้สิบปีเข้านี่แล้ว | |||
อยู่หลัดหลัดพลัดพรากไปจากแม่ | แม่ยังแลเห็นแต่ฟูกของลูกแก้ว | |||
โอ้พลายงามทรามสวาทจะคลาดแคล้ว | เสียงแจ้วแจ้วเจ้าวันทองนองน้ำตาฯ | |||
๏ ฝ่ายขุนช้างคางเคราอ้ายเจ้าเล่ห์ | เมาโมเมยิ้มกริ่มอยู่ริมฝา | |||
เสียงวันทองร้องไห้จุดไฟมา | ส่องดูหน้านั่งเคียงบนเตียงนอน | |||
ทำไถลไถ่ถามเป็นความหยอก | หรือหนามยอกเจ็บป่วยจะช่วยถอน | |||
พลางรับขวัญวันทองร้องละคร | เจ้าทุกข์ร้อนรำคาญประการใด ฯ | |||
นางวันทองข้องขัดสะบัดหน้า | ขุนช้างรำทำท่าเข้าคว้าไขว่ | |||
นางผลักพลิกหยิกข่วนว่ากวนใจ | ไฮ้อะไรนี่เล่าเฝ้าเซ้าซี้ | |||
ลูกข้าหายตายเป็นไม่เห็นศพ | อย่ามากลบรอยเสือเบื่อบัดสี | |||
เจ้าพาไปในป่าพนาลี | แล้วก็มิพามาว่ากระไร ฯ | |||
๏ ขุนช้างฟังช่างแก้อีแม่เจ้า | ข้าเมาเหล้าหลับซบสลบไสล | |||
ใครบอกเจ้าเล่าว่าข้าพาไป | หล่อนไม่ได้ตามข้าผ่าเถิดซิ | |||
เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง | กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีปิ | |||
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมิ | ว่าแล้วซิอย่าให้ลงไปดิน | |||
ลูกปะหล่ำกำไลใส่ออกกลบ | ฉวยว่าพบคนร้ายอ้ายคอฝิ่น | |||
มันจะทุบยุบยับเหมือนกับริ้น | ง้างกำไลไปกินเสียแล้วกรรม | |||
แล้วแก้เก้อเร่อออกไปนอกห้อง | ตะโกนร้องเรียกข้ามาด่าพร่ำ | |||
ไปเที่ยวตามถามหาถึงท่าน้ำ | ไม่พบทำถอนใจกลับไปเรือน | |||
รินสุรามาดื่มลืมสติ | อุตริร้องไห้ใครจะเหมือน | |||
ขึ้นหอขวางกลางแจ้งเห็นแสงเดือน | โอ้พ่อเพื่อนชีวิตของบิตุรงค์ | |||
แกล้งร้องร่ำคร่ำครวญทำหวนโหย | สะโอดโอยเอกทุ้มจนลุ่มหลง | |||
ถึงท่อนปลายกรายเกริ่นเป็นเดินดง | ปีกเจ้าอ่อนร่อนลงในดงเตย | |||
แล้วรู้ตัวกลัวเมียร้องเสียใหม่ | เจ้าจำไกลพ่อแล้วลูกแก้วเอ๋ย | |||
เสียงอ้อแอ้แผ่กายนอนหงายเลย | จนลืมเลยซบเซาด้วยเมามาย ฯ | |||
๏ นวลนางวันทองค่อยย่องย่าง | เห็นขุนช้างหลับสมอารมณ์หมาย | |||
สะอื้นอั้นพันผูกถึงลูกชาย | จนพลัดพรายเพราะผัวเป็นตัวมาร | |||
จึงเย็บไถ้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม | ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน | |||
แหวนราคาห้าช่างทองบางตะพาน | ล้วนต้องการเก็บใส่ในไถ้น้อย | |||
ไปอยู่บ้านท่านย่าจะหายาก | เมื่ออดอยากอย่างไรได้ใช้สอย | |||
แล้วนั่งนึกตรึกตราน้ำตาย้อย | รำคาญคอยสุริยาจะคลาไคล ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพลายงามทรามสงสาร | พึ่งสมภารอยู่ในห้องนั่งร้องไห้ | |||
พวกศิษย์เณรเถรชีต้นช่วยฝนไพล | มาลูบไล้แผลที่มันตีรัน | |||
แล้วสมภารท่านก็หลับระงับเงียบ | ยิ่งเย็นเยียบเยือกใจเมื่อไก่ขัน | |||
เพราะแม่ลูกผูกจิตคิดถึงกัน | เฝ้าใฝ่ฝันเฟือนแลเห็นแม่มา | |||
ดุเหว่าร้องซ้องเสียงสำเนียงแจ้ว | ให้แว่วว่าวันทองร้องเรียกหา | |||
สะดุ้งใจไหววับทั้งหลับตา | ร้องขานขาสุดเสียงแต่เที่ยงคืน | |||
ครั้นรู้สึกนึกได้ให้ละห้อย | เจ้าพลายน้อยนิ่งนอนถอนสะอื้น | |||
จนเคาะระฆังหงั่งเหง่งเสียงเครงครื้น | สมภารตื่นเตือนชีต้นสวดมนตร์เกณฑ์ฯ | |||
๏ นางวันทองร้องไห้เมื่อใกล้รุ่ง | น้ำค้างฟุ้งฟ้าแดงเป็นแสงเสน | |||
ด้วยวัดเขาเข้าใจเคยไปเจน | โจงกระเบงมั่นเหมาะห่มเพลาะดำ | |||
แล้วถือไถ้ใส่ขนมผ้าห่มหุ้ม | ออกย่างดุ่มเดินเหย่าก้าวถลำ | |||
ลงจากเรือนเชือนมาข้างท่าน้ำ | แล้วรีบร่ำเดินตรงเข้าดงตาล | |||
ถึงวัดเขาเช้าตรู่ดูลูกน้อย | เห็นมาคอยนั่งท่าน่าสงสาร | |||
จะนั่งหยุดพูดจาจะช้าการ | ลาสมภารพามาป่าสะแก | |||
ให้ขนมส้มสูกแก่ลูกรัก | สงสารนักจะร้างไปห่างแม่ | |||
หนทางบ้านกาญจน์บุรีตรงนี้แล | จำให้แน่นะอย่าหลงเที่ยววงเวียน | |||
อุตส่าห์ไปให้ถึงเหมือนหนึ่งว่า | ให้คุณย่าเป็นอาจารย์สอนอ่านเขียน | |||
จงหมายมุ่งทุ่งกว้างตามทางเกวียน | ที่โล่งเลี่ยนลัดไปในไพรวัน | |||
แล้วเกล้าจุกผูกไถ้ที่ใส่ของ | ให้แหวนทองทุกสิ่งทำมิ่งขวัญ | |||
แล้วกอดลูกผูกใจจะไกลกัน | สะอื้นอั้นออกปากฝากเทวา | |||
ขอเดชะพระไพรข้าไหว้กราบ | ช่วยกำราบเสือสิงห์มหิงสา | |||
ทั้งปู่เจ้าเขาเขินขอเชิญพา | ไปถึงย่าอย่าให้หลงเที่ยววงวน | |||
ทั้งพ่อคุณขุนแผนแสนวิเศษ | บังเกิดเกศแก้วตาสถาผล | |||
ช่วยลูกชายพลายงามเมื่อยามจน | ให้รอดพ้นภัยพาลถึงกาญจน์บุรี | |||
นางคร่ำครวญร่ำว่าน้ำตาตก | เหมือนหนึ่งอกพุพองเป็นหนองฝี | |||
แม่อุ้มท้องครองเลี้ยงถึงเพียงนี้ | ได้สิบปีเศษแล้วจะแคล้วกัน | |||
เคยกินนอนวอนแม่ไม่แหห่าง | จะอ้างว้างเปล่าใจในไพรสัณฑ์ | |||
ทั้งจุกไรใครเล่าจะเกล้าพัน | จะนับวันนับเดือนไปเลือนลับ | |||
นับปีมิได้มาเห็นหน้าแม่ | จะห่างแหหายเหมือนเมื่อเดือนดับ | |||
โอ้เสียชาติวาสนาแม่อาภัพ | ให้ย่อยยับยากแค้นแสนระอา | |||
จะมีผัวผัวก็พลัดกำจัดจาก | จนแสนยากอย่างนี้แล้วมิหนำ | |||
มามีลูกลูกก็จากวิบากกรม | สะอื้นร่ำรันทดสลดใจ ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่ | ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล | ||
แล้วกราบกรานมารดาด้วยอาลัย | ลูกเติบใหญ่คงจะมาหาแม่คุณ | ||
แต่ครั้งนี้มีกรรมจะจำจาก | ต้องพลัดพรากแม่ไปเพราะอ้ายขุน | ||
เที่ยวหาพ่อขอให้ปะเดชะบุญ | ไม่ลืมคุณมารดาจะมาเยือน | ||
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก | คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน | ||
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน | จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว | ||
แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน | เขาจะพาลว้าวุ่นแม่ทูนหัว | ||
จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัว | แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ ฯ | ||
๏ นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอน | อำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้ | ||
พ่อไปดีศรีสวัสดิ์กำจัดภัย | จนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน | ||
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ | เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน | ||
แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน | จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ | ||
ลูกก็และดูแม่แม่ดูลูก | ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล | ||
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย | แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา | ||
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น | แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา | ||
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์ | โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง ฯ | ||
๏ นางวันทองหมองมัวกลัวขุนช้าง | ไม่เหมือนอย่างคนทั้งปวงมันหวงหึง | ||
ออกชายทุ่งมุ่งเมินเดินตะบึง | กลับมาถึงเรือนร่ำระกำตรอม | ||
ทุกเช้าเย็นเศร้าหมองเฝ้าร้องไห้ | ด้วยอาลัยพลายงามทรามถนอม | ||
ถึงยามกินสิ้นรสสู้อดออม | จนซูบผอมผิวพรรณทุกวันคืน ฯ | ||
๏ เจ้าพลายงามตามทางไปกลางทุ่ง | เขม้นมุ่งเขาเขินเดินสะอื้น | ||
ออกหลังบ้านตาลตะคุ่มเป็นพุ่มพื้น | ร่มรื่นรังเรียงเคียงตะเคียน | ||
ต้นแคคางกร่างกระทุ่มชอุ่มออก | ทั้งช่อดอกดูไสวเหมือนไม้เขียน | ||
เจ้าพลายเพลินเดินพลางตามทางเกวียน | ตลอดเลี่ยนลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยมา | ||
ถงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง | เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา | ||
พริกมะเขือเหลืออร่ามงามตา | สาลิกาแก้วกินแล้วบินฮือ | ||
เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่ | กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ | ||
พบนกยูงฝูงใหญ่ไล่กระพือ | มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ | ||
จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยข้อให้ท้อแท้ | คิดถึงแม่วันทองแล้วร้องไห้ | ||
พระสุริยาสายัณห์ลงเรไร | เหมือนจิตใจเจ้าจะขาดลงรอนรอน | ||
พอจวนพลบพบฝูงจิ้งจอกน้อย | วิ่งร่อยร่อยตามเขาแล้วเห่าหอน | ||
แสยงเส้นโลมาให้อาวรณ์ | ถึงดงดอนแดนบ้านกาญจน์บุรี | ||
เห็นวัดร้างข้างเขาดูเก่าแก่ | ยังมีแต่รูปพระชินสีห์ | ||
โบสถ์โบราณบานประตูยังดูดี | พอราตรีกราบไหว้อาศัยนอน | ||
ครั้นรุ่งเช้าเอาขนมทั้งส้มลิ้ม | พอกินอิ่มแล้วออกเดินเนินสิงขร | ||
ถึงบ้านกร่างทางคนเขาหาบคอน | เห็นเด็กต้อนควายอึงคะนึงไป | ||
ไม่รู้ความถามเหล่าพวกชาวบ้าน | ว่าเรือนท่านทองประศรีอยู่ที่ไหน | ||
เด็กบ้านนอกบอกเล่าให้เข้าใจ | แกอยู่ไร่โน่นแน่ะยังแลลับ | ||
มะยมใหญ่ในบ้านกินหวานนัก | กูไปลักบ่อยบ่อยแกคอยจับ | ||
พอฉวยได้อ้ายขิกหยิกเสียยับ | ร้ายเหมือนกับผีเสื้อแกเหลือตัว | ||
ถ้าลูกใครไปเล่นแกเห็นเข้า | แกจับเอานมยานฟัดกบาลหัว | ||
มาถามหาว่าไรช่างไม่กลัว | แกจับตัวตีตายยายนมยาน ฯ | ||
๏ เจ้าพลายงามถามแจ้งแล้วแกล้งว่า | เอ็งช่วยพาเราไปชมมะยมหวาน | ||
จะขึ้นลักหักห่อให้พอการ | มาสู่ท่านทั้งสิ้นกินด้วยกัน | ||
พวกเด็กเด็กดีใจไปสิหวา | ซ่อนข้าวปลาปล่อยควายแล้วผายผัน | ||
บ้างเหน็บหน้าผ้านุ่งเกี้ยวพุงพัน | หัวเราะกันกูจะห่อให้พอแรง | ||
พอถึงบ้านท่านยายทองประศรี | พวกเด็กชี้เรือนให้แล้วแอบแฝง | ||
เจ้าพลายงามขามจิตยังคิดแคลง | ค่อยลัดแลงเล็งแลมาแต่ไกล | ||
ดูเงียบเชียบเลียบรอบริมขอบรั้ว | ไม่เห็นตัวท่านย่าน่าสงสัย | ||
ประตูหับยับยั้งยืนฟังไป | เสียงแต่ในออดแอดแรดแรแร | ||
รู้ว่าคนบนนั้นนั่งปั่นฝ้าย | จะอุบายบอกความตามกระแส | ||
ขึ้นมะยมห่มล้อทำตอแย | ให้ท่านแลเห็นเรามาเอาตัว | ||
จึงจะบอกออกตามเนื้อความลับ | ได้อยู่กับย่าบังเกิดกำเนิดหัว | ||
แล้วเมียงมองย่องดอดเข้าลอดรั้ว | ค่อยแฝงตัวขึ้นบนต้นมะยม | ||
แล้วพยักกวักเรียกอ้ายเด็กเด็ก | ลูกเล็กหลบลอบค่อยหมอบก้ม | ||
ระวังตัวกลัวยายเฒ่าเจ้าคารม | เก็บมะยมซุบซิบกระหยิบตา ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านยายทองประศรี | กับยายปลียายเปลอยู่เคหา | ||
ให้พวกเหล่าบ่าวไพร่ไปไร่นา | ตามประสาเพศบ้านกาญจน์บุรี | ||
แต่ขุนแผนแสนสนิทต้องติดคุก | ไม่มีสุขเศร้าหมองทองประศรี | ||
จนซูบผอมตรอมใจมาหลายปี | อยู่แต่ที่ในห้องนองน้ำตา | ||
แต่หูไวได้ยินมะยมหล่น | เป็นทำวลแหวกมองตามช่องฝา | ||
เห็นเด็กเด็กเล็ดดลอดดอเข้ามา | แกฉวยคว้าไม้ตระบองค่อยมองเมียง | ||
ลงบันไดอ้ายเด็กเล็กกเล็กวิ่ง | แกไล่ทิ้งด่าทอมันล้อเถียง | ||
ชกโคตรเหง้าเหล่ากอเอาพอเพียง | พอแว่วเสียงอยู่บนต้นมะยม | ||
มองเขม้นเห็นลูกหัวจุกน้อย | เหม่อ้ายจ้อยโจรป่าด่าขรม | ||
อย่าแอบอิงนิ่งนั่งตั้งเทพนม | ลงมาก้มหลังลองตระบองกู ฯ | ||
๏ เจ้าพลายงามคร้ามพรั่นขยั้นหยุด | ความกลัวสุดแสนกลัวตัวเป็นหนู | ||
จึงว่าฉานหลานดอกบอกให้รู้ | อันอยู่ที่เมืองสุพรรณบ้านวันทอง | ||
ทองประศรีชี้หน้าว่าอุเหม่ | อ้ายเจ้าเล่ห์หลานข้ามันน่าถอง | ||
มาเถิดมาย่าจะให้ไม้ตระบอง | แกคอยจ้องจะทำให้หนำใจ | ||
เจ้าพลายงามความกลัวจนตัวสั่น | หยุดขยั้นอยู่ไม่กล้าลงมาได้ | ||
แล้วนึกว่าย่าตัวกลัวอะไร | โจนลงไปกราบย่าที่ฝ่าตีน ฯ | ||
๏ ทองประศรีตีหลังเสียงดังผึง | จะมัดมึงกูไม่ปรับเอาทรัพย์สิน | ||
มาแต่ไหนลูกไทยหรือลูกจีน | เฝ้าลักปีนมะยมห่มหักราน | ||
เจ้าพลายน้อยคอยหลบแล้วนบนอบ | ฉันเจ็บบอบแล้วย่าเมตตาหลาน | ||
ข้าเป็นลูกพ่อขุนแผนแสนสะท้าน | ข้างฝ่ายมารดาชื่อแม่วันทอง | ||
จะมาหาย่าชื่อทองประศรี | อย่าเพ่อตีฉันจะเล่าความเศร้าหมอง | ||
ย่าเขม้นเห็นจริงทิ้งตระบอง | กอดประคองรับขวัญกลั้นน้ำตา | ||
แล้วด่าตัวชั่วเหลือไม่เชื่อเจ้า | ขืนตีเอาหลานรักเป็นหนักหนา | ||
จนหัวห้อยพลอยนอพ่อนี่นา | แล้วพามาขึ้นเรือนเตือนยายปลี | ||
ช่วยฝนไพลให้เหลวเร็วเร็วเข้า | อีเปลเอาขันล้างหน้าออกมานี่ | ||
แกตักน้ำร่ำรดหมดราคี | ช่วยขัดสีโซมขมิ้นสิ้นเป็นชาม | ||
แล้วทาไพลให้หลานสงสารเลหือ | มานั่งเสื่อลันไตปราศรัยถาม | ||
เจ้าชื่อไรใครบอกออกเนื้อความ | จึงได้ตามขึ้นมาถึงย่ายาย ฯ | ||
๏ เจ้าพลายน้อยสร้อยเศร้าแล้วเล่าเรื่อง | แต่อยู่เมืองสุพรรณเหมือนมั่นหมาย | ||
แม่วันทองครองเลี้ยงไว้เคียงกาย | ให้ชื่อพลายงามน้อยแก้วกลอยใจ | ||
ให้ไหว้บุญขุนช้างเหมือนอย่างพ่อ | มันลวงล่อหลานหลงไม่สงสัย | ||
พาหลานเที่ยวเลี้ยวทางไปกลางไพร | เอาขอนไม้ทับคอแทบมรณา | ||
แม่จึงบอกออกว่าพ่อชื่อขุนแผน | ขุนช้างแค้นเคืองคิดริษยา | ||
อยู่ไม่ได้ในสุพรรณจึงดั้นมา | ขอพึ่งบุญคุณย่าประสาจน ฯ | ||
๏ ทองประศรีตีอกชกผางผาง | ทุดอ้ายช้างชาติข้าอ้ายหน้าขน | ||
ลูกอีเฒ่าเทพทองคลองน้ำชน | จะฆ่าคนเสียทั้งเป็นไม่เอ็นดู | ||
ทำราวเจ้าชีวิตกูคิดฟ้อง | ให้มันต้องโทษกรณ์จนอ่อนหู | ||
แกบ่นว่าด่าร่ำออกพร่ำพรู | พ่อมาอยู่บ้านย่าแล้วอย่ากลัว | ||
แม้นอ้ายขุนวุ่นมาว่าเป็นลูก | มันมิถูกนมยานฟัดกบาลหัว | ||
พลางเรียกอีไหมที่ในครัว | เอาแกงคั่วข้าวปลามาให้กิน | ||
พอบ่ายเบี่ยงเสียงละว้าพวกข้าบ่าว | ทั้งมอญลาวเลิกนาเข้ามาสิ้น | ||
บ้างสุมไฟใส่ควันกันยุงริ้น | ตามถิ่นบ้านนอกอยู่คอกนา ฯ | ||
๏ ครั้นพลบค่ำย่ำฆ้องทองประศรี | เรียกยายปลียายเปลเข้าเคหา | ||
เย็บบายศรีนมแมวจอกแก้วมา | ใส่ข้าวปลาเปรี้ยวหวานเอาจานรอง | ||
เทียนดอกไม้ไข่ข้าวมะพร้าวพร้อม | น้ำมันหอมแป้งปรุงฟุ้งทั้งห้อง | ||
ลูกปะหล่ำกำไลไขออกกอง | บอกว่าของพ่อเจ้าแต่เยาว์มา | ||
เอาสอดใส่ให้หลานสงสารเหลือ | ด้วยหน่อเนื้อนึกรักเป็นหนักหนา | ||
เหมือนพ่อแผนแสนเหมือนไม่เคลื่อนคลา | ทั้งหูตาคมสันเป็นมันยับ | ||
พลางเรียกหาข้าคนมาบนหอ | ให้นั่งต่อต่อกันเป็นอันดับ | ||
บายศรีตั้งพรั่งพร้อมน้อมคำนับ | เจริญรับมิ่งขวัญรำพันไป ฯ | ||
๏ ขวัญพ่อพลายงามทรามสวาท | มาชมภาชนะทองอันผ่องใส | ||
ล้วนของขวัญจันทร์จวงพวงมาลัย | ขวัญอย่าไปป่าเขาลำเนาเนิน | ||
เห็นแต่เนื้อเสือสิงห์ฝูงลิงค่าง | จะอ้างว้างเวียนวกระหกระเหิน | ||
ขวัญมาหาย่าเถิดอย่าเพลิดเพลิน | จงเจริญร้อยปีอย่ามีภัย | ||
แล้วจุดเทียนเวียนวงส่งให้บ่าว | มันโห่กราวเกรียวลั่นสนั่นไหว | ||
คอยรับเทียนเเวียนส่งเป็นวงไป | แล้วดับไฟโบกควันให้ทันที | ||
มะพร้าวอ่อนป้อนเจ้าทั้งข้าวขวัญ | กระแจะจันทน์เจิมหน้าเป็นราศี | ||
ให้สาวสาวลาวเวียงที่เสียงดี | มาซอปี่อ้อซั้นทำขวัญนาย ฯ | ||
๏ พ่อเมื้อเมืองดง | เอาพงเป็นเหย้า | อึดปลาอึดข้าว | ขวัญเจ้าตกหาย | |||
ขวัญอ่อนร่อแร่ | ว้าเหว่สู่กาย | อยู่ปลายยางยูง | ท้องทุ่งท้องนา | |||
ขวัญเผือเมื้อเมิน | ขอเชิญขวัญพ่อ | ฟังซอเสียงอ้อ | ขวัญพ่อเจ้าจ๋า | |||
ข้าวเหนียวเต็มพ้อม | ข้าวป้อมเต็มป่า | ขวัญเจ้าจงมา | สู่กายพลายเอยฯ | |||
๏ แล้วพวกมอญซ้อนซอเสียงอ้อแอ้ | ร้องทะแยย่องกระเหนาะย่ายเตาะเหย | |||
ออระน่ายพลายงามพ่อทรามเชย | ขวัญเอ๋ยกกกะเนียงเกรียงเกลิง | |||
ให้อยู่ดีกินดีมีเมียสาว | เนียงกะราวกนตะละเลิงเคลิ่ง | |||
มวยบามาขวัญจงบันเทิง | จะเปิงยี่อิกะปิปอน | |||
ทองประศรีดีใจให้เงินบาท | เห็นแต่ทาสพรั่งพร้อมล้อมสลอน | |||
ถึงเวลาพาเจ้าเข้าที่นอน | มีฟูกหมอนมุ้งม่านสำราญใจ ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามถามย่าว่าพ่อแผน | ต้องคับแค้นเคืองเข็ญเป็นไฉน | |||
ไม่เคยคุ้นคุณย่าช่วยพาไป | พอหลานได้เห็นหน้าบิดาตัว | |||
ได้ฟังหลานท่านย่าน้ำตาตก | สะอื้นอกอาดูรว่าทูนหัว | |||
พ่อเอ็งย่าว่าไรเขาไม่กลัว | เพราะเมามัวเมียลาวนางชาววัง | |||
ไปทูลขอพระองค์ทรงพระโกรธ | ให้ลงโทษทนทุกข์ใส่คุกขัง | |||
แต่ไม่ต้องจองจำอยู่ลำพัง | ถึงสิบปีแล้วยังไม่พ้นเลย | |||
รุ่งพรุ่งนี้สิย่าจะพาเจ้า | ไปหาเขาอยู่ที่ทับริมหับเผย | |||
ให้พ่อเห็นเย็นอารมณ์ได้ชมเชย | พูดจนเลยลืมหลับระงับไป ฯ | |||
๏ เห็นแสงทองหมองจิตคิดถึงลูก | สั่งบ่าวผูกช้างสัปคับใหญ่ | |||
ใส่ข้าวปลาผ้าผ่อนท่อนสไบ | กับไต้ไฟฟักแฟงแตงน้ำตาล | |||
ทั้งปูนยาสาคูแลพลูหมาก | จะไปฝากขุนแผนแสนสงสาร | |||
อ้ายกุลาตาหลอเป็นหมอควาญ | แล้วพาหลานขึ้นช้างตามทางมา | |||
ลงบางขามข้ามบ้านสะพานโขลง | ออกทุ่งโล่งเลี้ยวทางไปข้างขวา | |||
สองวันครึ่งถึงกรุงอยุธยา | ลงเดินพาพลายงามไปตามทาง ฯ | |||
๏ จะกล่าวฝ่ายนายขุนแผนที่แสนทุกข์ | แต่ติดคุกขัดข้องให้หมองหมาง | |||
อยู่หับเผยเคยสะอาดขาดสำอาง | จนผอมซูบรูปร่างดูรุงรัง | |||
ผมยาวเกล้ากระหวัดตัดไม่เข้า | เหตุด้วยเขาคงทนทั้งมนตร์ขลัง | |||
อยู่เปล่าเปล่าเล่าก็จนพ้นกำลัง | อุตส่าห์นั่งทำการสานกระทาย | |||
ให้นางแก้วกิริยาช่วยทารัก | ขุนแผนถักขอบรัดกระหวัดหวาย | |||
ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย | แขวนไว้ขายทั้งเรือนออกเกลื่อนไป | |||
พอมารดามาถึงทับรับเข้าห้อง | ทั้งข้าวของผู้คนขนมาให้ | |||
เห็นลูกชายพลายงามถามทันใด | นี่ลูกใครหน้าตาน่าเอ็นดู ฯ | |||
๏ ทองประศรีชี้แจงแถลงเล่า | นี่ลูกเจ้าแล้วเป็นไรไหว้เสียหนู | |||
แล้วบอกความตามที่มีศัตรู | ขุนแผนรู้รับขวัญกลั้นน้ำตา | |||
เข้าสวมสอดกอดจูบแล้วลูบหลัง | น้ำตาพรั่งพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา | |||
แค้นขุนช้างดังจะดิ้นสิ้นชีวา | มันชะล่าชะเลยจนเคยตัว | |||
ฉุดคร่าพาวันทองไปครองคู่ | เห็นว่ากูถือสัตย์ไม่ตัดหัว | |||
ทั้งลูกเต้าเอาไปฆ่าเหมือนม้าวัว | หมายว่ากลัวแล้วกระมังอ้ายจังไร | |||
วันนี้ค่ำจำจะไปให้ถึงบ้าน | สับกบาลหัวเชือดให้เลือดไหล | |||
ลูกผู้ชายตายไหนก็ตายไป | ขัดใจฮึดฮัดกัดฟันฟาง ฯ | |||
๏ ท่านย่าทองประศรีว่าอีพ่อ | แม่จะขอทัดทานเหมือนขัดขวาง | |||
ไปฆ่าผีดีกว่าฆ่าขุนช้าง | จะสืบสร้างบาปกรรมไปทำไม | |||
ลูกของเจ้าเล่าก็มาหาเจ้าแล้ว | ใช่เชื้อแถวเจ้ายังมีอยู่ที่ไหน | |||
จงฟังแม่แต่เท่านั้นแล้วกันไป | พ่อจะได้ภาวนารักษากาย | |||
ลูกของเจ้าเล่าแม่จะรับเลี้ยง | ช่วยกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไว้ได้ถวาย | |||
ที่กริ้วโกรธโทษกรณ์จะผ่อนคลาย | คราวเคราะห์ร้ายเจ้าจงเจียมเสงี่ยมตน | |||
โบราณท่านสมมุติมนุษย์นี้ | ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน | |||
ที่ทุกข์โศกโรคร้อนค่อยผ่อนปรน | คงจะพ้นโทษทัณฑ์ไม่บรรลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสุภาพ | ก้มกราบมารดาน้ำตาไหล | |||
ลูกเห็นแต่แม่คุณค่อยอุ่นใจ | ช่วยสอนให้พลายงามเรียนความรู้ | |||
อันตำรับตำราสารพัด | ลูกเก็บจัดแจงไว้ที่ในตู้ | |||
ถ้าลืมหลงตรงไหนไขออกดู | ทั้งของครูของพ่อต่อกันมา | |||
แล้วลูบหลังสั่งความพลายงามน้อย | เจ้าจงค่อยร่ำเรียนเขียนคาถา | |||
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา | ไปเบื้องหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ | |||
เรายากแล้วแก้วตาอย่าประมาท | ทั้งสิ้นญาติสิ้นเชื้อจะเกื้อหนุน | |||
ทุกวันนี้มีแต่ย่ายังการุญ | พ่อพึ่งบุญเถิดลูกได้ปลูกเลี้ยง | |||
จงนึกว่าย่าเหมือนกับแม่พ่อ | ถึงด่าทอเท่าไรอย่าได้เถียง | |||
อันพ่อนี้มิได้อยู่ใกล้เคียง | ไม่ได้เลี้ยงลูกแล้วนาแก้วตา | |||
พลางกอดพลายงามแอบไว้แนบอก | น้ำตาตกพร่างพรายทั้งซ้ายขวา | |||
โอ้มีกรรมทำไว้แต่ไรมา | พอเห็นหน้าลูกแล้วจะแคล้วกัน | |||
มาหาพ่อพ่อไม่มีสิ่งไรผูก | ยังแต่ลูกประคำจะทำขวัญ | |||
อยู่หอกปืนยืนยงคงกระพัน | ได้ป้องกันกายาข้างหน้าไป ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามความแสนสงสารพ่อ | น้ำตาคลอคลอตกซกซกไหล | |||
รับประคำร่ำว่าประสาใจ | ฉันจะใคร่อยู่ด้วยช่วยบิดา | |||
ได้ตักน้ำตำข้าวทุกเช้าค่ำ | ที่พอทำฟืนผักจะหักหา | |||
ให้พ่อพ้นทนทุกข์แล้วลูกยา | จะอุตส่าห์เล่าเรียนค่อยเพียรไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนแสนสวาทจะขาดจิต | กะจิริดรู้ว่าจะหาไหน | |||
น่าสงสารท่านย่าพลอยอาลัย | น้ำตาไหลพรากพรากเพราะยากเย็น | |||
ขุนแผนว่าจะอยู่ดูไม่ได้ | ในคุกใหญ่มันยากแค้นถึงแสนเข็ญ | |||
เหมือนกับนรกตกทั้งเป็น | มิได้เว้นโทษทัณฑ์สักวันเลย | |||
แต่พ่อนี้ท่านเจ้ากรมยมราช | อนุญาตให้อยู่ทับในหับเผย | |||
คนทั้งหลายนายมุลก็คุ้นเคย | เขาละเลยพ่อไม่ต้องถูกจองจำ | |||
ทั้งข้าวปลาสารพันทุกวันนี้ | พระหมื่นศรีเธอช่วยชุบอุปถัมภ์ | |||
ค่อยเบาใจไม่พักต้องตักตำ | คุณท่านล้ำล้นฟ้าด้วยปรานี | |||
ถ้าแม้นเจ้าเล่าเรียนความรู้ได้ | จะพาไปพึ่งพระจมื่นศรี | |||
ถวายตัวพระองค์ทรงธรณี | จะได้มีเกียรติยศปรากฏไป ฯ | |||
๏ พลายงามน้อยสร้อยเศร้ารับเจ้าคะ | ดีฉันจะพากเพียรเรียนให้ได้ | |||
ต่างพูดจาพาทีค่อยดีใจ | จนจวนใกล้โพล้เพล้ถึงเวลา | |||
ทองประศรีสั่งความว่ายามค่ำ | แม่จะจำจากพ่อแก้วไปแล้วหนา | |||
ขุนแผนแสนสะท้านไหว้มารดา | พลายงามลาพ่อลูกผูกอาลัย | |||
ตามย่ามาพ้นทับที่หับเผย | ไม่ลืมเลยเหลียวหน้าน้ำตาไหล | |||
ทั้งขุนแผนแสนสวาทเพียงขาดใจ | ต่างอาลัยแลลับวับวิญญาณ์ | |||
ไปขึ้นช้างข้างวัดท่าการ้อง | พอเดือนส่องแสงสว่างกลางเวหา | |||
ออกข้ามทุ่งกรุงศรีอยุธยา | รีบกลับมาถึงบ้านกาญจน์บุรีฯ | |||
๏ อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย | ค่อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี | |||
ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี | เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์ | |||
ปัถมังตั้งตัวนะปัดตลอด | แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน | |||
หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล | แล้วเล่ามนตร์เสกขมิ้นกินน้ำมัน | |||
เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก | แทงจนเหล็กแหลมลู่ยู่ขยั้น | |||
มหาทะมื่นยืนยงคงกระพัน | ทั้งเลขยันตร์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย | |||
แล้วทำตัวหัวใจปิติโส | สะเดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย | |||
สะกดคนมนตร์จังงังกำบังกาย | เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี | |||
ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร | ร้องเรียกภูตพรายปราบกำราบผี | |||
ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี | ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา | |||
จนอายุพลายงามสิบสามขวบ | ดูขาวอวบอ้วนท้วนเป็นนวลหน้า | |||
ด้วยเนื้อแตกแรกรุ่นละมุนตา | กิริยาแย้มยิ้มหงิมหงิมงาม | |||
นัยน์ตากลมคมขำดูดำขลับ | ใครแลลับรักใคร่ปราศรัยถาม | |||
ทองประศรีดีใจได้ฤกษ์ยาม | ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้วกู | |||
จะโกนจุกสุกดิบขึ้นสิบค่ำ | แกทำน้ำยาจีนต้มตีนหมู | |||
พวกเพื่อนบ้านวานมาผ่าหมากพลู | บ้างปัดปูเสื่อสาดลาดพรมเจียม | |||
ทั้งหม้อเงินหม้อทองสำรองตั้ง | มีทั้งสังข์ใส่น้ำมนตร์ไว้จนเปี่ยม | |||
อัฒจันทร์ชั้นพระก็ตระเตรียม | ตามธรรมเนียมห้องกลองฉลองทาน | |||
ถึงวันดีนิมนต์ขรัวเกิดเฒ่า | อยู่วัดเขาชนไก่ใกล้กับบ้าน | |||
พอพิณพาทย์คาดตระสาธุการ | ท่านสมภารพาพระสงฆ์สิบองค์มา | |||
นั่งสวดมนตร์จนจบพอพลบค่ำ | ก็ซัดน้ำมนตร์สาดเสียงฉาดฉ่า | |||
ผู้ชายเสียดเบียดสาวชาวละว้า | เสียงเฮฮาฮึดฮัดเมื่อซัดน้ำ | |||
ผู้หญิงหยิกตะกายผู้ชายทับ | เสียงหนุบหนับเหนาะแหนะแขยะขยำ | |||
จนอีหังคลั่งใจถีบอ้ายดำ | ลุกขึ้นปล้ำกันออกอึงเสียงตึงตัง | |||
ทองประศรีดีใจว่าใครแพ้ | สนุกแน่แล้วอ้ายดำปล้ำอีหัง | |||
แล้วให้หลานผลัดผ้ามาเก้กัง | เข้าไปนั่งกราบกรานสมภารครู | |||
ขรัวเกิดแลมองเห็นทองประศรี | ถามว่านี่ลูกใครเล่าไอ้หนู | |||
เจ้าขรัวย่าอ้าปากน้ำหมากพรู | เล่าให้รู้แต่ต้นมาจนปลาย | |||
เดี๋ยวนี้เล่าเจ้าขุนแผนยังติดคุก | นี่โกนจุกแล้วจะได้ไปถวาย | |||
ท่านขรัวครูดูพ่อของออพลาย | เคราะห์จะคลายเคลื่อนบ้างหรืออย่างไร ฯ | |||
๏ ท่านขรัวครูรู้เรื่องให้เคืองแค้น | ทุดอ้ายแผนถ่อยแท้ไม่แก้ไข | |||
เมื่อความรู้กูสอนเจ้าหล่อนไว้ | ยังวิ่งไปเข้าคุกสนุกจริง | |||
อ้ายเจ้าชู้กูได้ว่ามาแต่ก่อน | จะทุกข์ร้อนอ่อนหูเพราะผู้หญิง | |||
หัวเราะพลางทางเอกเขนกอิง | พินิจนิ่งดูกายเจ้าพลายงาม | |||
เห็นน่ารักลักษณะก็ฉลาด | จะมีวาสนาดีขี่คานหาม | |||
ถ้าถึงวันชั้นโชคโฉลกยาม | ก็ต้องตามลักษณะว่าจะรวย | |||
แต่ที่เมียเสียถนัดปัตนิ | ตัวตำหนิรูปขาวเป็นสาวสวย | |||
แต่อ้ายนี่ขี้หลงจะงงงวย | ต้องถูกด้วยละโมบโลภโลกีย์ | |||
แล้วท่านขรัวหัวร่อว่าออหนู | มันเจ้าชู้เกินการหลานอีศรี | |||
ก็แต่ว่าอายุสิบแปดปี | จะได้ที่หมื่นขุนเป็นมุลนาย | |||
ทั้งเมียสาวชาวเหนือเป็นเชื้อแถว | อีนั่นแล้วมันจะมาพาฉิบหาย | |||
อันอ้ายขุนแผนพ่อของออพลาย | จะพ้นปลายเดือนยี่ในปีกุน | |||
นับแต่นี้มีสุขไม่ทุกข์ร้อน | ได้เตียงนอนนั่งเก้าอี้เป็นที่ขุน | |||
ทองประศรีดีใจไหว้เจ้าคุณ | ช่วยแบ่งบุญให้ได้ฟื้นคืนสักที | |||
สมภารรับกลับมายังอาวาส | เสียงพิณพาทย์พวกพ้องทองประศรี | |||
หาเสภามาทั่วที่ตัวดี | ท่านตามีช่างประทัดถนัดรบ | |||
ดูทำนองพองคอเสีบงอ้อแอ้ | พวกคนแก่ชอบหูว่ารู้จบ | |||
ตารองศรีดีแต่ขันรู้ครันครบ | กรับกระทบทำหลอกแล้วกลอกตา | |||
แล้วนายทั่งดังโด่งเสียงโว่งโวก | ว่ากระโชกกระชั้นขันหนักหนา | |||
ฝ่ายนายเพรชเม็ดมากลากช้าช้า | ตั้งสามวาสองศอกเหมือนบอกยาว | |||
ส่วนนายมาพระยานนท์คนตลก | ว่าหยกหยกหยาบช้าคนฮาฉาว | |||
ตาทองอยู่รู้ว่าภาษาลาว | แล้วส่งกราวเชิดเพลงโหน่งเหน่งไป | |||
ครั้นรุ่งเช้าเจ้าพลายก็โกนจุก | เป็นพ้นทุกข์พ้นร้อนนอนหลับใหล | |||
จนผมยาวเจ้าได้ตัดมหัดไทย | คิดจะใคร่ไปเป็นข้าฝ่าธุลี | |||
เดชะบุญทูลขอพ่อพ้นโทษ | เหมือนได้โปรดบิดาเป็นราศี | |||
แต่นิ่งนึกตรึกตราจนราตรี | เข้าข้างที่นอนย่าน้ำตาคลอ | |||
ทำคลึงเคล้าเว้าวอนด้วยอ่อนหวาน | พรุ่งนี้หลานจะลาไปหาพ่อ | |||
จะได้เฝ้าเจ้าชีวิตชิดชอบพอ | ทูลขอเผื่อจะโปรดที่โทษทัณฑ์ ฯ | |||
๏ ทองประศรีดีใจให้อนุญาต | เจ้าเชื้อชาติพงศ์พลายจงผายผัน | |||
จะได้ช่วยพ่อแม่คิดแก้กัน | ตามกตัญญูเถิดประเสริฐดี | |||
ย่าจะให้ไปส่งจนถึงพ่อ | จึงพาต่อไปหาพระหมื่นศรี | |||
ตามแต่บุญวาสนาบารมี | อันย่านี้นับวันจะบรรลัย | |||
มีลูกเต้าเล่าก็ทำให้ซ้ำทุกข์ | ไม่มีสุขสักเวลาน้ำตาไหล | |||
โรคก็ซ้ำช้ำบอบทั้งหอบไอ | ใครจะได้เผาผีก็มิรู้ | |||
เจ้าจงจำตำราที่ย่าสอน | จะถาวรเพิ่มยศไม่อดสู | |||
ย่าจะให้ไอ้พลัดไอ้ปัดไอ้ปู | เข้าไปอยู่ติดตามทั้งสามคน | |||
พอถือร่มสมปักตักน้ำท่า | หุงข้าวปลาสารพัดไม่ขัดสน | |||
พูดจนดึกตรึกการกับหลานตน | แล้วหลับจนแจ่มแจ้งแสงตะวัน ฯ | |||
๏ รู้สึกกายยายทองประศรีย่า | เอาเงินผ้าเสื้อใส่ในกำปั่น | |||
ทั้งหวานคาวข้าวปลาสารพัน | ขนขึ้นบรรทุกสัปคับช้าง | |||
พลายงามลาย่าช่วยอวยสวัสดิ์ | ได้ฤกษ์พาสารพัดไม่ขัดขวาง | |||
ขึ้นขี่หลังพังสะเทินเดินตามทาง | ไม่แรมค้างข้ามทุ่งถึงกรุงไกร | |||
ไปหาพ่อพอพบนั่งนบนอบ | ขุนแผนสอบไต่ถามความสงสัย | |||
เจ้าพลายน้อยค่อยเล่าให้เข้าใจ | ลูกจะใคร่ให้พระนายถวายตัว ฯ | |||
๏ ขุนแผนแสนสวาทอนุญาตว่า | จงอุตส่าห์สืบตะรกูลเถิดทูนหัว | |||
พ่อพงศ์พลายหมายศึกอย่านึกกลัว | จะพาตัวเจ้าไปให้พระนาย | |||
แล้วซักไซ้ไต่ถามถึงความรู้ | ให้ท่องดูได้สมอารมณ์หมาย | |||
ที่เข้าออกบอกความตามอุบาย | สอนลูกชายอยู่จนสนธยา | |||
พอเสียงฆ้องกลองย่ำเข้าค่ำพลบ | ถึงเดินพบผู้ใดไม่เห็นหน้า | |||
ชวนลูกชายพลายงามตามกันมา | ไปเคหาพระหมื่นศรีที่ริมคลอง | |||
ขึ้นบันไดไฟอร่ามถามพวกบ่าว | พอรู้ข่าวว่าสบายค่อยคลายหมอง | |||
ตรงมาหอรอรั้งยั้งหยุดมอง | หมื่นศรีร้องเรียกว่ามาซิเกลอ | |||
ด้วยรักใคร่ใจซื่อถือว่าเพื่อน | ไม่บากเบือนหน้าหนีดีเสมอ | |||
ขุนแผนพาลูกไปนั่งไหว้เธอ | ถามว่าเออนั่นใครที่ไหนมา ฯ | |||
๏ ขุนแผนบอกออกว่าลูกเจ้าวันทอง | ที่มีท้องเกือบแก่มาแต่ป่า | |||
เอาความหลังทั้งนั้นพรรณนา | จะพามามอบไว้ให้เจ้าคุณ | |||
ด้วยไม่มีที่เห็นแต่เป็นโทษ | พระนายโปรดช่วยเหลือทั้งเกื้อหนุน | |||
เป็นที่พึ่งจึงมาจงการุญ | เอาแต่บุญเถิดพ่อเจ้าเมื่อคราวจน | |||
อันวิชาย่าสอนลูกอ่อนแล้ว | เห็นคล่องแคล่วการศึกพอฝึกฝน | |||
ถ้ากระไรได้ช่องเห็นชอบกล | ช่วยผ่อนปรนโปรดถวายเจ้าพลายงาม ฯ | |||
๏ พระหมื่นศรีดีใจปราศรัยทัก | ดูแหลมหลักลูกทหารชาญสนาม | |||
เป็นข้าเฝ้าเจ้าชีวิตอย่าคิดคร้าม | มีสงครามเมื่อไรคงได้ดี | |||
ไว้ธุระจะถวายช่วยบ่ายเบี่ยง | ให้ชุบเลี้ยงลูกรักเป็นศักดิ์ศรี | |||
ที่กินอยู่ผู้คนของเรามี | อยู่เรือนนี่นั่งนอนไม่ร้อนรน | |||
ขุนแผนเล่าเจ้าก็รู้อยู่ว่ารัก | จนเจียนจักแหล่นตายด้วยหลายหน | |||
ก็เอ็นดูอยู่ว่าเกลอถึงเธอจน | ที่ขัดสนสารพัดไม่ขัดกัน | |||
แต่สุดช่วยด้วยว่าอาญาหลวง | ต่อได้ท่วงทีก่อนจะผ่อนผัน | |||
จริงนะเจ้าเราก็คิดทุกคืนวัน | คงช่วยกันไปกว่ากายจะวายวาง ฯ | |||
๏ นายขุนแผนแสนชื่นให้ตื้นอก | อุตส่าห์ยกมือไหว้มิได้หมาง | |||
สู้กลืนกล้ำน้ำตาแล้วว่าพลาง | พ่อเหมือนอย่างพ่อแม่ช่วยแก้ทุกข์ | |||
จนยากเย็นเป็นโทษเห็นโหดไร้ | ยังส่งให้ข้าวปลาเป็นผาสุก | |||
ก็หมายมั่นกตัญญูถึงอยู่คุก | กราบพ่อทุกทุกคืนได้ชื่นใจ | |||
อันลูกชายพลายงามตามแต่พ่อ | ลูกจะขอกราบลาช้าไม่ได้ | |||
พลางลูบหลังสั่งลูกผูกอาลัย | พ่อจะไปก่อนแล้วนะแก้วตา | |||
อยู่พึ่งบุญคุณพ่อต่อไปเถิด | จะประเสริฐสมหวังเป็นฝั่งฝา | |||
แล้วลงเรือนเดือนสว่างกระจ่างตา | ก็กลับมาหับเผยที่เคยนอน ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นศรีเสาวรักษ์ราช | เรียกพลายงามทรามสวาทมาสั่งสอน | |||
จะเป็นข้าจอมนรินทร์ปิ่นนคร | อย่านั่งนอนเปล่าเปล่าไม่เข้าการ | |||
พระกำหนดกฎหมายมีหลายเล่ม | เก็บไว้เต็มตู้ใหญ่ไขออกอ่าน | |||
กรมศักดิ์หลักชัยพระอัยการ | มนเทียรบาลพระบัญญัติตัดสำนวน | |||
แล้วให้รู้สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง | ตามกระทรวงผิดชอบคิดสอบสวน | |||
ราชาศัพท์รับสั่งให้บังควร | รู้จงถ้วนถี่ไว้จึงได้การ | |||
ที่ไม่สู้รู้อะไรผู้ใหญ่เด็ก | มหาดเล็กสามต่อพ่อลูกหลาน | |||
เสียตระกูลสูญลับอัประมาณ | เพราะเกียจคร้านคร่ำคร่าเหมือนพร้ามอญ | |||
นี่ตัวเจ้าเหล่ากอทั้งพ่อแม่ | อย่าเชือนแชอุตส่าห์จำเอาคำสอน | |||
แล้วจัดแจงห้องหับให้หลับนอน | ไม่อาวรณ์เธอช่วยเลี้ยงเป็นเที่ยงธรรม์ ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามสวาท | แหลมฉลาดเลขผาปัญญาขยัน | |||
อยู่บ้านพระหมื่นศรียินดีครัน | ทุกคืนวันตามหลังเข้าวังใน | |||
เธอเข้าเฝ้าเจ้าก็นั่งบังไม้ดัด | คอยฟังตรัสตรึกตราอัชฌาสัย | |||
ค่อยรู้กิจผิดชอบรอบคอบไป | ด้วยมิได้คบเพื่อนเที่ยวเชือนแช | |||
ครั้นอยู่บ้านอ่านคำพระธรรมศาสตร์ | ตำรับราชสงครามตามกระแส | |||
ค่อยชื่นชุ่มหนุ่ตะกอดูฟ้อแฟ้ | นางสาวแส้ใส่ใจจะใคร่พบ | |||
เข้าไปหามาสู่ไม่รู้เกี้ยว | แต่พอเหลียวเห็นผู้หญิงก็วิ่งหลบ | |||
อุตส่าห์เพียรเรียนรู้ดูจนครบ | รู้ขนบธรรมเนียมก็เจียมใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านพระจมื่นศรี | ถึงวันดีได้ช่องก็ผ่องใส | |||
จึงจัดแจงแต่งธูปเทียนดอกไม้ | จะเข้าไปทูลถวายเจ้าพลายงาม | |||
นุ่งสมปักชักกลีบจีบสลับ | ครั้นเสร็จสรรพสำราญขึ้นคานหาม | |||
พวกข้าคนอลหม่านถือพานตาม | เจ้าพลายงามตามหลังเข้าวังใน | |||
ถึงพระลานวานเขาพวกชาวที่ | ที่ค่อยมีกิริยาอัชฌาสัย | |||
ถือพานทองรองธูปเทียนดอกไม้ | ยกเข้าไปเตรียมตั้งพอบังควร | |||
ให้พลายงามตามไปนั่งตรงตั้งของ | ตามทำนองพระหมื่นศรีสั่งถี่ถ้วน | |||
ฝ่ายข้าเฝ้าเจ้าพระยาเวลาจวน | ต่างก็ชวนกันเข้ามาหน้าพระโรง | |||
นุ่งสมปักชักชายกรายกรีดเล็บ | ผ้ากราบเหน็บแนบหน้าดูอ่าโถง | |||
พอเวลานาทีถ้วนสี่โมง | เข้าพระโรงพร้อมหน้าข้าราชการ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | มงกุฎเกศอยุธยามหาสถาน | |||
สถถิตแท่นแว่นฟ้าโอฬาฬาร | ดังวิมานเมืองฟ้าสุราลัย | |||
ห้ามแหนแน่นหนุนละมุนหมอบ | งามประกอบกิริยาอัชฌาสัย | |||
ระเรื่อยรับขับร้องทำนองใน | สำราญราชหฤทัยทุกเวลา | |||
ยามกลางวันนั้นก็ออกพระโรงรัตน์ | มีแต่ตรัสสรวลสันต์ทรงหรรษา | |||
ทั้งเหนือใต้ไพรีไม่มีมา | สำราญใจไพร่ฟ้าประชาชี | |||
ด้วยเดชะบุญญาอานุภาพ | มีแต่ลาภมาประมูลพูนภาษี | |||
แต่บรรดาข้าเฝ้าเหล่าเสนี | ใครทำดีได้ประทานถึงพานทอง ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระจมื่นศรีเสาวรักษ์ราช | อภิวาทบาทมูลทูลฉลอง | |||
ขอเดชะพระกรุณาฝ่าละออง | ดอกไม้ธูปเทียนทองของพลายงาม | |||
บุตรขุนแผนแสนสะท้านหลานทองประศรี | ความรู้มีเรียบราบไม่หยาบหยาม | |||
จะขอรองมุลิกาพยายาม | พลางกราบสามทีสดับตรับโองการ ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | เหลือบเห็นหน้าพลายงามความสงสาร | |||
จะออกโอษฐ์โปรดขขุนแผนแสนสะท้าน | แต่กรรมนั้นบันดาลดลพระทัย | |||
ให้เคลิ้มองค์ทรงกลอนละครนอก | นึกไม่ออกเวียนวงให้หลงใหล | |||
ลืมประภาษราชกิจที่คิดไว้ | กลับเข้าในแท่นที่ศรีไสยา ฯ | |||
๏ อันเรื่องกล่าวความพลายงามสวาท | เป็นมหาดเล็กแล้วค่อยแกล้วกล้า | |||
อยู่ด้วยพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | เฝ้าเวลาเช้าเย็นไม่เว้นวัน | |||
มุลนายถ้วนหน้าก็ปรานี | มิได้มีใครรังเกียจเดียดฉันท์ | |||
ถึงว่าท่านจางวางทั้งสองนั้น | ก็ฝากตัวกลัวทั่นทุกคนไป ฯ | |||
ตอนที่ ๒๕
๏ | |||
ตอนที่ ๒๖
๏ | |||
ตอนที่ ๒๗ พลายงามอาสา
๏ จะกล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่ | แต่ได้นางมาไว้ในกรุงศรี | ||
ไม่วายเว้นนึกคะนึงถึงไพรี | เห็นจะมีศึกมาไม่ช้านัก | ||
ด้วยล้านช้างข้างหนึ่งก็โกรธา | ฝ่ายข้างอยุธยาก็โกรธหนัก | ||
ถ้าสองข้างต่างยกมาพร้อมพรัก | จะหาญหักต่อสู้ดูยากครัน | ||
จำจะคิดชิงชัยข้างไทยก่อน | ต้องรีบรัดตัดรอนผ่อนผัน | ||
ถ้าเสร็จสิ้นศึกไทยข้างใต้นั้น | ล้านช้างก็คงพรั่นไม่อาจมา | ||
แต่นิ่งนึกตรึกไตรอยู่ในที่ | จนสุริย์ศรีเรืองแรงแสงกล้า | ||
เสด็จออกท้องพระโรงรจนา | ท้าวพระยานอบน้อมอยู่พร้อมกัน | ||
จึงปรึกษาเสนาข้าเฝ้า | ชาวเราจะเห็นเป็นไฉนนั่น | ||
เดิมเจ้าอยุธยาทำอาธรรม์ | มาชิงเมียมิ่งขวัญของกูไป | ||
ฝ่ายเราไปสั่งดักกักทาง | รับนางจับพวกมันมาได้ | ||
ถ้ารู้ข่าวราวเรื่องถึงเมืองไทย | เห็นจะยกทัพใหญ่มาราญรอน | ||
เราจะเตรียมกำลังตั้งต่อสู้ | หรือจะจู่ลงไปทำไทยก่อน | ||
จงปรึกษาว่ากันให้แน่นอน | จะตัดรอนคิดอ่านประการใด ฯ | ||
๏ ครานั้นเสนาพระยาลาว | พระยาท้าวแสนหลวงผู้เป็นใหญ่ | ||
ปรึกษากันพร้อมมูลแล้วทูลไป | อันศึกไทยไพรีมีกำลัง | ||
เห็นจะจู่ลงไปไม่ชนะ | แต่ถ้าละช้าไว้ให้พร้อมพรั่ง | ||
จะเป็นศึกใหญ่มาดาประดัง | ที่จะหวังต่อสู้ดูยากนัก | ||
ขอให้คิดอ่านการอุบาย | ท้าทายยั่วไทยให้โกรธหนัก | ||
ให้รีบมาอย่าทันจะพร้อมพรัก | จึงจะหักศึกไทยได้ง่ายดาย ฯ | ||
๏ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ฟังทูล | เค้ามูลเห็นสมอารมณ์หมาย | ||
จึงได้แต่งสาราว่าท้าทาย | ให้หยาบคายหมายยั่วให้โกรธา | ||
เสร็จสรรพพับใส่ลงในกล่อง | มอบให้แสนกำกองตรีเพชรกล้า | ||
คุมไพร่ร้อยถ้วนล้วนขี่ม้า | ไปส่งด่านอยุธยาธานี ฯ | ||
๏ ครานั้นตรีเพชรแสนกำกอง | ทั้งสองรับราชสารศรี | ||
เรียกไพรได้ครบตามบาญชี | แล้วขึ้นขี่ม้าตามกันหลามมา | ||
ได้ข้าวตากใส่ไถ้ตะพายแล่ง | เครื่องม้าเครื่องแสงแดงดาดป่า | ||
ทวนดูพู่ระยับจับนัยน์ตา | ข้ามท่าน้ำได้ไปลำพูน | ||
ข้ามห้วยแม่ทามาเมืองนคร | ไม่หยุดหย่อนขับควบเข้าไพรสูญ | ||
ค่ำเข้าเขตเถินเดินพร้อมมูล | แสงจันทร์จำรูญจำรัสฟ้า | ||
ม้าคนหิวหอบอยู่บอบแบบ | ขึ้นเขาช่องแคบแล้วลงป่า | ||
แดดร้อนผ่อนพักเป็นเพลา | หยุดให้ม้ากินหญ้าหากำลัง | ||
พอหายเหนื่อยขึ้นมาพากันไป | สะบัดย่างวางใหญ่ไม่เหลียวหลัง | ||
สามวันดั้นมาไม่รอรั้ง | จนกระทั่งถึงด่านบ้านท่าเกวียน ฯ | ||
๏ ครานั้นนายบุญเป็นขุนไกร | เห็นลาวสงสัยว่าศึกเสี้ยน | ||
จึงเรียกพวกไพร่เวรเกณฑ์จำเนียร | ออกยืนขวางทางเตียนตรงประตู | ||
ถือสาตราอาวุธอยู่พร้อมหน้า | โน่นแน่ลาวขี่ม้ามาเป็นหมู่ | ||
แต่งตัวโพกหัวพันชมพู | แลดูแดงเถือกมะเหลือกมา | ||
บ้างปิดประตูด่านงุ่นง่านไป | ยัดปืนใหญ่หับชุดจุดไว้ท่า | ||
ไปไหนเหวยเฮ้ยสูอย่าได้ช้า | ดีร้ายเร่งว่าให้รู้พลัน | ||
ถ้าดีมานี่แต่สองม้า | ร้ายแล้วยกมากูไม่พรั่น | ||
บ้างแกว่งดาบถือปืนออกยืนยัน | ต่างพากันเตรียมตัวออกทั่วไป ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าพวกลาวเห็นชาวด่าน | อาจหาญยืนขวางหนทางใหญ่ | ||
จึงพากันหยุดยั้งรั้งม้าไว้ | บอกให้แจ้งใจมิได้ช้า | ||
เราเป็นแต่ผู้น้อยที่นำสาร | จะมาเว้าชาวด่านแจ้งการหวา | ||
เพชรกล้ากำกองแต่สองม้า | เข้าไปส่งสาราแล้วว่าไป | ||
เรื่องราวกล่าวด้วยพระท้ายน้ำ | กับไพร่ต้องจองจำอยู่เชียงใหม่ | ||
เจ้าเราให้สารมากรุงไทย | สูจงรีบส่งไปให้กราบทูล ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าขุนด่านรับสารมา | ไปตามดูหมู่ม้าเข้าป่าสูญ | ||
เห็นมิใช่กองทัพกลับพร้อมมูล | ให้นายมูลนายหมวดอยู่ตรวจตรา | ||
ขุนไกรได้สารขึ้นมาใช้ | สะบัดย่างวางใหญ่เข้าในป่า | ||
ข้ามทุ่งชะเรียงเร่งตะเบ็งมา | บ่ายหน้ามาตรงลงธานี | ||
ถึงสังคโลกพลันทันใด | ลงม้าจูงคลาไคลไปเร็วรี่ | ||
ขุนนางกรมการนั่งศาลมี | ปรึกษาคดีอีเม้ยทอง | ||
จีนแสไม่แก้ยอมให้ปรับ | ว่าไสบวยพวยรับแต่คล่องคล่อง | ||
พอเห็นขุนด่านกรมการร้อง | เยี่ยมมองอยู่ไยไม่เข้ามา | ||
ขุนไกรตรงมาศาลากลาง | แหวกทางหมอบคลานเข้าไปหา | ||
ส่งกล่องใส่ลานสารตรา | แล้วเล่าแจ้งกิจจาทุกสิ่งอัน ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงท่านเจ้าพระยา | ทั้งเวียงวังคลังนาอยู่ที่นั่น | ||
กรมการถ้วนหน้าปรึกษากัน | เกิดเหตุสำคัญหนักหนานัก | ||
ชิงนางมิหนำซ้ำจับทหาร | ทำการอาจองทะนงศักดิ์ | ||
แล้วยังมีสารามาอึกฮัก | ไม่รู้จักเหมือนริ้นบินเข้าไฟ | ||
แต่ทว่าหญ้าแพรกจะแหลกก่อน | ต้องยกทัพขับต้อนจะร้อนไพร่ | ||
อย่าดูเบาเราต้องรีบส่งไป | ถ้านิ่งไว้เข้าร้ายตายทีเดียว | ||
อ้ายลาวเจ้ากรรมทำแล้วหวา | เขียนบอกปิดตราสักประเดี๋ยว | ||
เสร็จสรรพใส่กลักถักเป็นเกลียว | เคี่ยวคั่งติดประจำซ้ำตีตรา | ||
แต่งให้พันมโนเป็นนายใหญ่ | ถือไปบอกกับไพร่ยี่สิบห้า | ||
หาบโพล่แฟ้มยุ่งกรุ่งกริ่งมา | ลงเรือเก้าวากัญญายาว | ||
ให้แก้หน้าจากท่าตะเบ็งพาย | เดือนหงายน้ำฟุ้งเป็นฟองขาว | ||
ตะละเล่มเต็มเหนี่ยวเสียงเกรียวกราว | โห่ฉ่าวฉ่าลั่นสนั่นไป | ||
พอเช้าตรู่ลงมาถึงท่าเกษม | หุงต้มกินเปรมทั้งนายไพร่ | ||
อิ่มแล้วรีบร้อนไม่นอนใจ | พันมโนนายใหญ่นั่งโยกมา | ||
ครั้นพ้นวัดใหม่ไปบ้านตรุ | ลุถึงท่ากงลงพิงหวา | ||
เเข้าพิจิตรวังวังจันทร์นน้ำดันซ่า | รับวาเฮ้ยโขนโดนเรือเจ๊ก | ||
เออเรือขายเหล้าชาวเราหวย | พะซี้ไบใส่บวยฉวยเหวยเด็ก | ||
ยกขึ้นเรือได้ไหไม่เล็ก | ถีบเรือเจ๊กเจ้าของร้องโล่ไป | ||
มึงบึกกูบึกสะอึกคว้า | เรือกัญญษหน้าโขนเข้าโนไผ่ | ||
จะร่ำพรรณนาให้ช้าไย | เจ็ดวันมาได้ถึงท่าคัน ฯ | ||
๏ พอเรือจอดทอดถึงที่หน้าท่า | พันมโนรีบมาขมีขมัน | ||
ทั้งบ่าวไพร่ตามไปอยู่พร้อมกัน | เห็นสาวชาววังนั้นก็ชอบเชิง | ||
จุปากเจาะเจาะกระเดาะลิ้น | หอมกลิ่นแหงนหงายเหมือนควายเบิ่ง | ||
ทำกรีดกรายชายตาร่าเริง | หลงละเลิงลดเลี้ยวเกี้ยวพานมา | ||
งุ่มง่ามข้ามฉนวนประตูดิน | ตาถินนายประตูครู่เอาผ้า | ||
ชายพกหลุดลุ่ยหุยหม่อมตา | ยั่นอ้ายบ้าลอยชายคาดใต้พก | ||
พ่อเอ๋ยชาวบ้านนอกถือบอกมา | มึงซ่อนอะไรหวาเอาผ้าปก | ||
ดูเป็นตะะกร้าใส่ไข่นก | สกปรกชาวเหนือมันเหลือใจ | ||
เสียเงินให้สลึงเขาจึงปล่อย | หน้าจ๋อยกลับมาทั้งนายไพร่ | ||
เที่ยวถามหาศาลาลูกขุนใน | เขาชี้บอกให้ก็ตรงมา | ||
เห็นหัวพันนายเวรเกณฑ์เมืองรั้ง | พันมโนก็นั่งลงตรงหน้า | ||
พอนายควรสวนออกนอกศาลา | กราบไหว้วางตราอยู่ลนลาน | ||
นายเวรต่อยกลักกับพนักผาง | ชักบอกออกวางกับราชการ | ||
อ่านดูรู้ข้อราชการ | ก็รีบมาเรียนท่านลูกขุนใน | ||
ฝ่ายท่านเจ้าพระยาจักรี | เอกอัครอธิบดีเป็นใหญ่ | ||
ทราบเรื่องราชสารรำคาญใจ | สั่งให้รีบคัดจะกราบทูล ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบโภไคยมไหศูรย์ | ||
สถิตในห้องแก้วแพรวไพฑูรย์ | ไพบูลย์พูนสุขทุกเวลา | ||
แต่เหตุการณ์ราชการหาทราบไม่ | ให้รุ่มร้อนฤทัยเป็นหนักหนา | ||
ด้วยเทพเจ้าสิงสู่อยู่อัตรา | รักษาพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ||
ประทับอยู่ข้างในได้เวลา | สามโมงนาฬิกาตีฆ้องลั่น | ||
จะเสด็จออกท้องพระโรงคัล | จรจรัลไปสรงพระคงคา | ||
น้ำกุหลาบอาบอบตลบกลิ่น | หอมประทิ่นพระสุคนธ์ปนบุปผา | ||
ฝ่ายนางพนักงานก็คลานมา | ถวายภูษาทรงอลงการ | ||
ทรงเครื่องเสร็จสรรพจับพระขรรค์ | เพชรกุดั่นพรรณรายฉายฉาน | ||
นางในใจภักดิ์พนักงาน | ถวายพานพระศรีแล้วกราบลง | ||
เสวยเสร็จพระเสด็จลีลาศ | ผุดผาดดั่งพระยาราชหงศ์ | ||
นางในตามชิดติดพระองค์ | ตรงขึ้นบรรยงค์รัตนาศน์ | ||
พระสูตรรูดกร่างขุนนางเฝ้า | คู้เข่าคึกคักแทบถมปักขาด | ||
กราบถวายบังคมบรมราช | ทั้งอำมาตย์เสนาพระยาครู | ||
แตรสังข์กระทั่งถวายเสียง | ขุนนางหมอบเรียงเคียงเป็นหมู่ | ||
ตำรวจในไล่คนพ้นประตู | คอยดูเข้าออกบอกไปมา ฯ | ||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาจักรี | ได้ทีก็ประนมก้มเกศา | ||
กราบทูลขึ้นพลันมิทันช้า | อันชีวาอยู่ใต้บาทบงสุ์ | ||
บัดนี้เชียงใหม่มีราชสาร | มอบให้นายด่านท่าเกวียนส่ง | ||
พระยาเกษตรสงครามรามณรงค์ | ให้พันมโนจำนงนั้นถือมา | ||
เรื่องราวกล่าวด้วยพระท้ายน้ำ | เชียงใหม่จับจำยังไม่ฆ่า | ||
ให้ทรงฟังยังมิทันอ่านสารา | ก็โกรธากลุ้มกลัดขัดพระทัย | ||
กระทืบบาทผาดพระสุรเสียงก้อง | พระแท่านทองสนั่นหวั่นไหว | ||
เหม่อ้ายลาวจองหองคะนองใจ | มันพูดจาว่ากระไรให้บอกพลัน ฯ | ||
๏ ขอเดชะในสารว่าทรงเดช | ครองนิเวศสน์เชียงใหม่มไหสวรรย์ | ||
ตั้งอยู่ในสัตย์สุตจริตธรรม์ | เป็นมหันต์อิศโรอันโอฬาร | ||
ลือเดชทุกเขตอาณาจักร | ปรปักษ์ย่อท้อไม่ต่อต้าน | ||
ในตำรับข้างที่มีมานาน | จารจารึกกไว้ในแผ่นทอง | ||
ว่าพระเจ้ากษัตริย์ศึกองค์นี้ | เป็นมโหฬีเลื่องโลกไม่มีสอง | ||
ดังอวตารมาผลาญศึกคะนอง | มิให้ข้องเคืองขุ่นราะคายมี | ||
เดิมให้ราชทูตจำทูลสาร | ไปขอองค์เยาวมาลย์โฉมศรี | ||
ตามโบราณราชประเพณี | บุตรีล้านช้างนางสร้อยทอง | ||
หวังพระทัยจะได้ซึ่งองค์เอก | มาอภิเษกสู่สมภิรมย์สอง | ||
ยังเยาว์อยู่มิควรภิรมย์ครอง | จึงยังไม่รับรองมาแนบองค์ | ||
แต่เดิมมากรุงไทยอยู่ในสัตย์ | มาวิบัติถือจริตด้วยฤทธิ์หลง | ||
ให้พระท้ายน้ำนำจตุรงค์ | ดั้นดงล่วงแดนของเรามา | ||
ไม่เกรงเราผู้เป็นเจ้านคเรศ | โอหังบังเหตุแล้วมิสา | ||
ยังซ้ำกลับรับองค์พระธิดา | สร้อยทองเสนหาของเราไป | ||
จึงได้เกณฑ์กองทัพออกรับรบ | ตีตลบชิงนางนั้นไว้ได้ | ||
พระท้ายน้ำนายทัพกับพวกไทย | เราจับจำคุกไว้ไม่ฆ่าตี | ||
ครั้นจะไม่บอกมาว่าให้แจ้ง | จะเคลือบแคลงเราว่าพานางหนี | ||
อันโฉมยงค์องค์ราชบุตรี | รับมาไว้ในที่ตำหนักจันทน์ | ||
ถ้าประสงค์ซึ่งองค์อัคเรศ | ละนิเวศน์ยกมาอย่าได้พรั่น | ||
ขอเชิญเจ้าอยุธยามาประจัญ | ตัวต่อตัวสู้กันบนหลังช้าง | ||
มีชัยก็จะได้นางสร้อยทอง | ไปสมสองสัมผัสไม่ขัดขวาง | ||
พระท้ายน้ำเราจำเอาไว้พลาง | เป็นจำนำฝ่ายข้างอยุธยา | ||
ครบสามเดือนจะฆ่าทั้งห้าร้อย | เราคอยฟังอย่างไรให้เร่งว่า | ||
จะไว้ยศให้ปรากฏกัลป์ปา | หรือเกรงภัยไม่มาก็ว่าไป | ||
จะกำหนดสงครามตามแบบอย่าง | อันองค์นางยังหาร่วมภิรมย์ไม่ | ||
กว่าจะได้รบพุ่งเจ้ากรุงไทย | ให้ประจักษ์ฤทธิไกรใครรุ่งเรือง | ||
แล้วจึงจะอภิเษกให้ปรากฏ | เกียรติยศระบือลือเลื่อง | ||
ว่าชนช้างได้นางเป็นศรีเมือง | อ่านสารสิ้นเรื่องบังคมคัล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | แค้นคั่งเคืองขัดจนอัดอั้น | ||
ให้ร้อนรุ่มกลุ้มพระทัยดังไฟกัลป์ | จะเผาผลาญชีวันให้บรรลัย | ||
เป็นครู่หนึ่งจึงเปล่งสิงหนาท | กระทืบบาทสนั่นหวั่นไหว | ||
ฉวยชักพระแสงออกแกว่งไกว | ข้าเฝ้าน้อยใหญ่ก็ถอยทรุด | ||
หน้าซีดตัวสั่นอยู่งันงก | บ้างล่วมหมากพลัดตกพกไม่หยุด | ||
บ้างแอบเสาท้องพระดรงหมอบโค้งคุด | อุตลุดหวั่นไหวไปทั้งวัง | ||
ความกลัวดังจะแทรกแผ่นดินด้น | บางคนลนลานคลานถอยหลัง | ||
เปล่งพระสุรเสียงประเปรี้ยงดัง | นักสนมแน่นนั่งก็ตกใจ | ||
เหม่เหม่อ้ายเชียงใหม่ใจพาล | จับพวกพลทหารของกูได้ | ||
หยาบช้าท้าให้ไปชิงชัย | กำเริบนี่กระไรใช่พอดี | ||
อ้ายบ้านเล็กเมืองน้อยร้อยประเทศ | บังเหตุจะสู้กับกูนี่ | ||
มันเหมือนหนึ่งลูกมฤคี | จะมาสู้ราชสีห์ให้วายปราณ | ||
ตัวกูผู้เป็นหลักนัคเรศ | ทุกประเทศมิได้รอต่อต้าน | ||
อ้ายนี่โมหันธ์อันธการ | กรรมของมันบันดาลให้หลงคิด | ||
เชียงใหม่ใหญ่เท่าสักหยิบมือ | ไม่พอครือทัพไทยจะไปติด | ||
จะพลอยพาโตตรวงศ์ปลงชีวิต | อวดฤทธิ์ประจญชนช้างกู | ||
เคลือบแฝงแกล้งว่าขอนางไว้ | ดังว่าเขายกให้ไม่อดสู | ||
เมื่อตัวนางล้านช้างเขาให้กู | ทูตมาก็รู้อยู่ทั่วไป | ||
ถ้ามันมีอำนาจดังราชสาร | เขากลัวโพธิสมภารไม่ขัดได้ | ||
นี่เพราะรู้เช่นเห็นจัญไร | เขาจึงยกลูกให้เสียเมืองนี้ | ||
ชิงนางกลางคันแล้วมิหนำ | จับพระท้ายน้ำทำป่นปี้ | ||
เอาไว้ไยให้หนักพระธรณี | เหวยพระยาจักรีเร่งเตรียมทัพ | ||
อีกสามวันกูจะยกไปเชียงใหม่ | ถ้าตีเมืองไม่ได้กูไม่กลับ | ||
เกณฑ์เมืองขึ้นน้อยใหญ่อย่าได้นับ | เร่งขับตามไปให้สิ้นพล | ||
อ้ายพวกเชียงใหม่อย่าไว้มัน | พบที่ไหนไล่ฟันเสียให้ป่น | ||
จนให้เมืองมันร้างว่างผู้คน | รื้อจนกำแพงล้อมป้อมปราการ ฯ | ||
๏ ครานั้นจตุสดมภ์กรมทั้งสี่ | ฟังคดีรับสั่งดั่งศรผลาญ | ||
สะกิดกันตัวสั่นหวั่นสะท้าน | ให้ท่านอธิบดีจักรีทูล | ||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนัคเรศมไหศูรย์ | ||
บารมีทรงบำเพ็ญเห็นไพบูลย์ | จะเพิ่มพูนปรโยชน์โพธิสมภาร | ||
ซึ่งพระองค์จะทรงกิจสงคราม | ก็เห็นว่าเสี้ยนหนามไม่ต่อต้าน | ||
ขอพระราชทานโทษจงโปรดปราน | จะหนักหน่วงโพธิญาณให้นานไป | ||
กับข้อราชการแต่เพียงนี้ | หาควรที่จะถึงเสด็จไม่ | ||
กับรบพุ่งพวกลาวชาวพงไพร | ใช่เสนาข้าใช้จะไม่มี | ||
เห็นพระเกียรติยศจะถดถอย | เชียงใหม่กลับจะพลอยได้ราศี | ||
ว่าเป็นคู่สู้พระองค์ทรงธรณี | ไม่ควรที่แผ่นฟ้าลงมาดิน | ||
ครั้นเมื่อสมเด็จพระรามา | หนุมานอาสาก็เสร็จสิ้น | ||
จนได้นางสีดาคืนธานินทร์ | อสุรินทร์ย่นย่อท้อทด | ||
ครั้งนี้ถ้าเสด็จไปเชียงใหม่ | ตกทหารกรุงไกรนี้สิ้นหมด | ||
ขอพระองค์ทรงชัยจงไว้ยศ | ให้ปรากฏเหมือนครั้งพระรามา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักหลักโลกนาถา | ||
ได้ฟังคำทูลเป็นมูลมา | พระตรึกตรานิ่งนึกในพระทัย | ||
จึงตรัสถามเสนาข้าเฝ้า | นี่ออเจ้าคิดเห็นเป็นไฉน | ||
เมื่อมาทานทัดขัดกูไว้ | ใครจะอาสาไปก็ว่ามา ฯ | ||
๏ ครานั้นบรรดาท่านผู้ใหญ่ | จนใจด้วยไม่มีผู้อาสา | ||
มิรู้ที่จะสนองพระบัญชา | ก็หมอบนิ่งก้มหน้าไปตามกัน | ||
พระองค์ทรงพิโรธกระทืบบาท | สุรเสียงสิงหนาทดังฟ้าลั่น | ||
อย่างไรเล่าเอาจริงก็นิ่งงัน | เปล่าทั้งนั้นพูดเล่นไม่เป็นงาน | ||
ดีแต่ฉ้อไพร่ไพล่เงินกิน | ปลอบปลิ้นสิ้นลมประสมประสาน | ||
เลี้ยงเสียเบี้ยหวัดไม่ต้องการ | มีศฤงคารยศศักดิ์หนักแผ่นดิน | ||
กริ้วพลางทางเสด็จเข้าวังใน | ขุนนางน้อยใหญ่กลับไปสิ้น | ||
พรั่นตัวทุกคนเป็นมลทิน | ด้วยได้ยินประภาษคาดโทษทัณฑ์ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพลายงามทรามสวาท | เฉลียวฉลาดแกล้วกล้าวิชาขยัน | ||
เรืองฤทธิ์ประสิทธิ์ทุกสิ่งอัน | หมายประจัญสงครามไม่ขามใคร | ||
อยู่กับพระหมื่นศรีมาปีกว่า | เจ้าอุตส่าห์ฝากตัวให้รักใคร่ | ||
จนเธอเลี้ยงเป็นลูกด้วยถูกใจ | สารพัดจัดให้ได้สุขสบาย | ||
วันนั้นรู้คดีว่ามีศึก | คะเนนึกเห็นจะสมอารมณ์หมาย | ||
จะอ้อนวอนพึ่งบุญคุณพระนาย | เบี่ยงบ่ายให้ได้รับอาสาไป | ||
ถ้ากระไรจะได้ทูลขอพ่อ | คิดมาน้ำตาคลอสะอื้นไห้ | ||
โอ้กรรมพ่อทำมาอย่างไร | จึงต้องไปทนทุกข์ทรมาน | ||
ติดคุกมาแต่ลูกอยู่ในท้อง | แม่วันทองช่างกระไรไม่สงสาร | ||
เสียแรงร่วมยากมาเป็นช้านาน | ครั้นถึงบ้านแล้วแม่ก็แชไป | ||
เป็นหลายปีดีดักไม่อินัง | หาคิดถึงความหลังของพ่อไม่ | ||
แต่ตัวลูกจักแหล่นจะบรรลัย | เพราะเหตุอ้ายขุนช้างเป็นตัวมาร | ||
สะอื้นพลางทางคิดถึงคุณพพระ | เดชะความสัตย์อธิษฐาน | ||
ข้าพเจ้าจะดำริตริการ | คิดอ่านขอโทษให้บิดา | ||
ขอให้ได้สมอารมณ์คิด | อย่าให้ผิดมุ่งมาดปรารถนา | ||
อธิษฐานเสร็จพลันแล้ววันทา | พอเพลาพลบค่ำเข้าไต้ไฟ | ||
เห็นพระหมื่อนศรีอยู่หอกลาง | แสงเทียนสว่างกระจ่างไข | ||
ลูกเมียหมอบนั่งสะพรั่งไป | พระหมื่นศรีทีใจไม่สบาย | ||
เล่าความถึงเรื่องกริ้วด้วยเรื่องทัพ | รับสั่งเสร็จสรรพให้บัตรหมาย | ||
เตรียมทัพหลวงไว้ทั้งไพร่นาย | วุ่นวายอึกทึกทั้งพารา | ||
พลายงามแอบฟังพระหมื่นศรี | พอได้ทีก็คลานเข้าไปหา | ||
พลางร่ายพระเวทให้เมตตา | วันทาแล้วถามไปทันที | ||
ดูคุณพ่อเป็นไรไม่สบาย | ได้ยินว่าวุ่นวายทั้งกรุงศรี | ||
เกณฑ์ทัพจับกันเป็นโกลี | ลูกนี้อยากรู้เป็นอย่างไร ฯ | ||
๏ พระหมื่นศรีว่าเออพลายงามเอ๋ย | รบพุ่งเราจะเคยก็หาไม่ | |||
วันนี้พระองค์ผู้ทรงชัย | ตรัสไถ่ถามทั่วทุกตัวคน | |||
นิ่งหมดไม่มีใครอาสา | กริ้วดังฟ้าผ่าโกลาหล | |||
เสด็จออกพรุ่งนี้เข้าที่จน | เอากุศลเสี่ยงสุดแต่บุญกรรม | |||
ถ้าไม่มีผู้ใดใครอาสา | พ่อนี้เห็นว่าไม่เป็นส่ำ | |||
จะพากันวุ่นวายตายระยำ | หน้าดำอยู่ทั่วทุกตัวคน ฯ | |||
๏ พลายงามฟังความก็สมคิด | หมอบชิดแล้วตอบอนุสนธิ์ | |||
คุณพ่ออย่าได้เป็นทำวล | จงผ่อนปรนเพ็ดทูลให้ชอบที | |||
ลูกนี้จะรับอาสาไป | ทำเมืองเชียงใหม่ให้ป่นปี้ | |||
จะจับเจ้าเชียงใหม่ไอ้ตัวดี | มิให้มีลำบากแก่ไพร่พล | |||
เสียแรงลูกเรียนรู้แต่ครูมา | จะอาสาทำศึกเสียสักหน | |||
ให้มีชื่อลือทั่วทั้งสากล | ว่าเป็นคนชาติทหารอันชาญชัย ฯ | |||
๏ ครานั้นพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | ฟังพลายงามว่ายังสงสัย | |||
ซึ่งเจ้าจะกล้าอาสาไป | พ่อนี้ยังไม่ไว้อารมณ์ | |||
ด้วยตัวเจ้ายังเล็กเด็กหนักหนา | จะทูลความอาสาเห็นไม่สม | |||
ไม่เคยเห็นวิชาอาคม | เจ้าสะสมร่ำเรียนไว้อย่างไร | |||
ลูกเอ๋ยการศึกนี้ลึกนัก | เอาแต่หาญหักนั้นไม่ได้ | |||
ถ้าเหมือนพ่อก็พอจะไว้ใจ | หรือพ่อเจ้าเขาให้ตำรับเรียน | |||
ไปเพ็ดทูลถ้าดีก็มีหน้า | เคลื่อนคลาดก็จะพากันถูกเฆี่ยน | |||
จะเสียทีที่ลำบากพากเพียร | ไปพลั้งพลาดแล้วเจียนพากันตาย | |||
ตรองดูให้ดีนะลูกรัก | จะหาญหักเพ็ดทูลมิใช่ง่าย | |||
เอ็นดูอยู่ว่าเจ้าเป็นลูกชาย | พ่อหมายจะปลูกฝังให้เป็นตัว | |||
มิใช่แกล้งเกียดกันฉันทา | เกรงแต่ว่าจะไปไม่รอดชั่ว | |||
อย่าประมาทคาดได้ด้วยไม่กลัว | จงถ่ายเทดูให้ทั่วถึงทางความ ฯ | |||
๏ เจ้าพลายนบนอบตอบวาจา | คุณพ่อว่าเพราะรักจึงหักห้าม | |||
ด้วยยังไม่เห็นดีของพลายงาม | มิใช่ลูกว่าตามใจคะนอง | |||
เป็นลูกศิษย์มีครูรู้เที่ยงแท้ | ท่านทำนายไว้แน่ไม่เป็นสอง | |||
ถ้าจะให้ปรากฎจะทดลอง | ให้ถ่องแท้ได้เห็นเป็นแก่ตา | |||
ว่าแล้วยกมือขึ้นไหว้ครู | ให้สิงสู่แล้วอ่านพระคาถา | |||
หายตัวไปพลันมิทันช้า | ต่อหน้าคนผู้อยู่ทั้งนั้น | |||
พระหมื่นศรีค่อยมีน้ำใจมา | หัวเราะร่าเออเช่นนี้ดีขยัน | |||
พอจะเอาการได้ไม่เสียพันธุ์ | คลายเวทย์พูดกันเถิดลูกยา | |||
เจ้าพลายก็คลายให้คนเห็น | กลับเป็นเสือโคร่งตัวคร่ำคร่า | |||
โตทะมื่นยืนหยัดดัดกายา | ทำท่าเหมือนโดดโลดไล่คน | |||
แต่บรรดาลูกเมียพระหมื่นศรี | ตกใจวิ่งหนีอยู่สับสน | |||
แต่พระหมื่นศรีรู้ทีกล | ไม่ร้อนรนหัวร่ององันไป | |||
พลายงามก็คลายฤทธิมนตร์ | กลับกลายเป็นคนลงนั่งไหว้ | |||
พระหมื่นศรีเปรมปริ่มยิ้มละไม | ลูบหลังลูบไหล่เจ้าพลายงาม | |||
เอาการแน่แล้วลูกแก้วพ่อ | เจ้าเป็นต่อนักเลงอย่าเกรงขาม | |||
เมื่อแรกพ่อแคลงใจจึงไม่ตาม | พึ่งเห็นความรู้ดีฉะนี้เจียว | |||
อย่างนี้พระองค์ก็คงโปรด | ไม่พักทรงพิโรธเป็นสองเที่ยว | |||
ทั้งพระหลวงเจ้าพระยาได้หน้ากรียว | เพราะเจ้าคนเดียวได้รอดดอน | |||
พูดกันสองคนจนสว่าง | สุริยาเยื้องย่างเยี่ยมสิงขร | |||
ก็เลยเตรียมไปเฝ้าไม่เข้านอน | ได้เวลาพาจรจากบ้านพลัน ฯ | |||
๏ พระหมื่นศรีขึ้นขี่คลานหาม | เจ้าพลายเดินตามขมีขมัน | |||
เข้าไปในศาลาลูกขุนนั้น | ท่านผู้ใหญ่พร้อมกันอยู่ศาลา | |||
กำลังท่านกลาโหมจักรี | จตุสดมภ์ทั้งสี่นั่งปรึกษา | |||
จึงพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | ก็พาตัวพลายงามตามเข้าไป | |||
กราบเรียนความพลันในทันที | ว่าคนดีจะเข้ามาอาสาได้ | |||
ลูกขุนแผนแสนสะท้านหลานขุนไกร | ชื่อพลายงามว่องไวใจคอดี | |||
วิชากล้าแกล้วแคล่วคล่อง | ล่องหนหายตัวได้ถ้วนถี่ | |||
ท่านผู้ใหญ่ได้ฟังก็เปรมปรีดิ์ | เจ้าพระยาจักรีว่าชอบกล | |||
หน่วยก้านหาญเหี้ยมดูเจียวเจ้า | ลาดเลาก็เห็นจะเป็นผล | |||
เป็นลูกหลานทหารถึงสองคน | ฤทธิ์เดชเวทมนตร์คงได้การ | |||
ดูคมคายคล้ายกับขุนแผนพ่อ | ทั้งน้ำใจในคอก็อาจหาญ | |||
นี่แน่เจ้าจะเข้ารับราชการ | ถ้าเชี่ยวชาญเหมือนว่าแล้วอย่ากลัว | |||
เราจะช่วยยกย่องให้มียศ | ปรากฏเลื่องลือระบือทั่ว | |||
ถ้าตีได้เชียงใหม่ไหนครอบครัว | ทั้งควายวัวเหลือหลายสบายใจ | |||
พูดจาหารือกันเสร็จสรรพ | เป็นลำดับแต่ล้วนท่านผู้ใหญ่ | |||
จวนเสด็จออกท้องพระโรงชัย | ก็เตรียมเฝ้าเข้าไปได้เวลา ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ทรงสวัสดิ์ | เนาในปรางค์รัตน์จำรัสหล้า | |||
ครั้นรุ่งแจ้งแสงสีสุริยา | พระผ่านฟ้าสระสรงทรงเครื่องครัน | |||
ให้เร่าร้อนพระทัยด้วยไพรี | พระเสด็จออกที่สุทธาสวรรย์ | |||
ขุนนางหมอบราบกราบพร้อมกัน | เสียงแตรแซ่สั่นเสนาะวัง | |||
ทอดพระเนตรเห็นข้าราชการ | พระพักตร์เผือดเดือดดาลดังจะคลั่ง | |||
เป็นอย่างไรนิ่งอยู่กูรอฟัง | ใครจะอาสามั่งหรือไม่มี | |||
อ้ายเลกทาสเลกสมกรมนอกใน | มันจะอาสาได้กระมังนี่ | |||
จะได้แต่งตั้งมันให้ทันที | ถอดออเจ้าเหล่านี้ลงแทนมัน ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นศรีเสาวรักษ์ | อภิวาททูลไปมิได้พรั่น | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | อันชีวันอยู่ใต้พระบาทา | |||
กระหม่อมฉันออกไปไต่ถาม | ได้นายพลายงามจะอาสา | |||
เป็นบุตรขุนแผนแสนศักดา | ได้ร่ำเรียนวิชามาเชี่ยวชาญ | |||
กระหม่อมฉันสงสัยได้ทดลอง | ก็แคล่วคล่องสามารถอาจหาญ | |||
เป็นคนดีมีวิชาอาการ | แล้วเหล่าปราณก็เคยสงครามมา ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงฟังพระหมื่นศรี | เปรมปรีดิ์ดำรัสตรัสให้หา | |||
ตัวมันอยู่ไหนอย่าได้ช้า | เรียกให้กูดูหน้าให้เต็มใจ | |||
พระหมื่นศรีเหลียวหลังสั่งให้เรียก | เจ้าพลายงามสำเหนียกหาช้าไม่ | |||
ค่อยคลานผ่านหมู่หุ้มแพรไป | นายเวรแหวกช่องให้เป็นทางมา | |||
ถึงหน้าพระที่นั่งก็บังคม | ปลงอารมณ์ร่ายเวทพระคาถา | |||
ผูกพระทัยให้ทรงพระเมตตา | หมอบนิ่งภาวนาอยู่ในใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรพอเห็นให้รักใคร่ | |||
จึงมีสีหนาทประภาษไป | เฮ้ยไอ้พลายงามทรามคะนอง | |||
โคตรเหง้าเหล่ามึงเป็นทหาร | อุตส่าห์ทำราชการให้แคล่วคล่อง | |||
แม้นมึงทำลาวได้ดังใจปอง | เงินทองยศอย่างจะรางวัล | |||
จะได้หรือมิได้ให้ว่ามา | กูดูหน้าตาก็คมสัน | |||
น้ำใจในคอก็พ่อมัน | นิ่งอั้นอยู่ไยไม่ว่ามา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | ฟังความรับสั่งใส่เกศา | |||
ขอเดชะพระองค์ทรงศักดา | อันชีวาอยู่ใต้ฝ่าละออง | |||
กระหม่อมฉันจะขอรับอาสา | เอาพระเดชามาปกป้อง | |||
จะจับเจ้าเชียงใหม่ใจคะนอง | มิให้ต้องร้อนใจแก่ไพร่พล | |||
ขอพระราชทานโทษโปรดบิดา | ไปเป็นคู่ปรึกษากันกลางหน | |||
ทั้งจะได้ช่วยเหลือเผื่ออับจน | แก้กลศึกสู้ศัตรูนั้น | |||
แม้นว่าได้ร่วมคิดกับบิดา | จะขอรับอาสาจนอาสัญ | |||
ถ้าพ่ายแพ้แก่พวกเชียงใหม่มัน | ขอถวายชีวันทั้งโคตรปราณ ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร | ฟังทูลตบพระหัตถ์อยู่ฉาดฉาน | |||
ทรงพระสรวลร่วนรื่นชื่นบาน | เออเอ็งเอาการมิเสียที | |||
อนิจจาอ้ายขุนแผนแสอาภัพ | ตกอับเสียคนแทบป่นปี้ | |||
ติดคุกทุกข์ยากมาหลายปี | กูนี้ก็ชั่วมัวลืมไป | |||
ให้บังอกบังใจกระไรหนอ | อ้ายพลายงามมาขอจึงนึกได้ | |||
ครั้งขออีลาวทองกูหมองใจ | จำไว้ช้านานถึงปานนี้ | |||
ดูดู๋ขุนนางทั้งน้อยใหญ่ | พากันนิ่งเสียได้ไม่พอที่ | |||
ทาระกรรมมันมาสิบห้าปี | ช่างไม่มีผู้ใดใครชอบพอ | |||
เหตุด้วยอ้ายนี่ไม่มีทรัพย์ | เนื้อความมันจึงลับไปเจียวหนอ | |||
ถ้ามั่งมีไม่จนคนก็ปรอ | มึงขอกูขอไม่เว้นวัน | |||
นับประสาหาคนไปสู้ศึก | ก็ไม่มีใครนึกถึงมันนั่น | |||
ด้วยอิจฉาว่าวิชาไม่เท่ามัน | มันไล่ฟันเอาเมื่อตามขุนช้างไป | |||
ความกลัววิ่งหัวเป็นดอกล่อ | รู้จักฝีมือพ่อหรือหาไม่ | |||
พระยายมฟังว่าช้าอยู่ไย | จงสั่งให้ไปถอดอ้ายแผนมา ฯ | |||
๏ ท่านเจ้ากรมยมราชได้รับสั่ง | ถวายบังคมคัลด้วยหรรษา | |||
รีบออกนอกพระโรงรัตนา | ให้หานรบาลแล้วสั่งพลัน | |||
ไปถอดขุนแผนเป็นการด่วน | เวลาจวนพามาขมีขมัน | |||
ให้ทันเฝ้าองค์พระทรงธรรม์ | นรบาลงกงันรีบออกไป | |||
ถึงคุกเร่งรัดพัสดี | ถอดกันทันทีไม่ช้าได้ | |||
แล้วพาขุนแผนผู้แว่นไว | เข้าในวังนั่งไหว้ท่านเจ้าคุณ | |||
ท่านพระยายมราชก็ทักถาม | บอกความขุนแผนว่าแสนวุ่น | |||
พลายงามทูลขอพ่อเป็นบุญ | ทรงการรุญยกโทษโปรดประทาน | |||
อนิจจาผมเผ้ายาวเลื้อยดิน | ผิดหน้าตาสิ้นน่าสงสาร | |||
เข้าไปเฝ้าเถิดเจ้าจะช้าการ | ว่าแล้วก็คลานพาเข้าไป ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงศักดิ์กวักพระหัตถ์ | ตรัสเรียกขุนแผนเข้ามาใกล้ | |||
หมอบหน้าพลายงามทรามวัย | บังคมไหว้กราบงามลงสามที | |||
พระองค์ทรงตรัสประภาษไป | เออไอ้ขุนแผนไม่พอที่ | |||
มึงจำเพาะเคราะห์ร้ายมาหลายปี | วันนี้สิ้นเคราะห์เพราะลูกชาย | |||
บัดนี้มีศึกข้างเชียงใหม่ | อ้ายลูกมันจะไปตีถวาย | |||
มันจะขอพ่อไปเป็นเพื่อนตาย | ปรึกษากับลูกชายก็เป็นไร | |||
ตัวมึงกูเคยได้เชื่อถือ | ไม้มือไม่มีใครหักได้ | |||
กูนี้ชั่วมัวเอามึงจำไว้ | ลืมไปใช่ว่าจะแค้นเคือง | |||
มึงจะเอาผู้คนสักกี่หมื่น | ให้เร่งกะวันคืนอย่าร่ำเรื่อง | |||
จะเอาไพร่ในกรุงหรือหัวเมือง | วัวต่างช้างเครื่องให้หมายไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสุภาพ | ก้มกราบแล้วทูลเฉลยไข | |||
มิต้องให้ไพร่ยากไปมากมาย | ครั้นกะเกณฑ์วุ่นวายจะช้าการ | |||
ขอพระราชทานแต่ไพร่ราบ | พอหามหาบหาเสบียงเลี้ยงอาหาร | |||
อันพวกพลจะประจญประจัญบาน | ขอประทานคนโทษที่ในคุก | |||
มีสามสิบห้าคนล้วนทนคง | ยืนยงสามารถอาจอุก | |||
ได้ร่ำเรียนรู้ครบเชิงรบรุก | เห็นมีทุกความรู้ครูต่างกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังขุนแผนพูดจบเห็นขบขัน | |||
เออเขตแขวงเชียงใหม่สิใหญ่ครัน | คนมันมากมายเป็นหลายเมือง | |||
ผู้คนเอ็งจะเอาไปเท่านี้ | ถึงว่าได้คนดีที่ปราดเปรื่อง | |||
จะรบราฆ่าฟันมันไม่เปลือง | กูเห็นเครื่องจะยับกลับลงมา | |||
มันดีดีอย่างไรว่าไวว่อง | มะรืนนี้เอามาลองกันต่อหน้า | |||
พระยายมว่าอย่างไรอย่าได้ช้า | ไปถอดทั้งสามสิบห้าให้แก่มัน | |||
สั่งเสร็จพระเสด็จเข้าในที่ | ภูมีแสนสุขเกษมสันต์ | |||
พวกขุนนางออกมาพร้อมหน้ากัน | ขุนแผนนั้นไหว้ทั่วตัวขุนนาง | |||
บ้างทักทายปราศรัยเป็นไมตรี | ล้วนยินดีเชยชมกันต่างต่าง | |||
ให้ศีลให้พรสั่งสอนพลาง | เคราะห์โศกสิ้นสร่างแล้วคราวนี้ | |||
ท่านเจ้ากรมยมราชก็เรียกหา | ทั้งพ่อลูกตามมากับจมื่นศรี | |||
ให้จดหมายรายชื่อลงบาญชี | ครบคนโทษที่พระราชทาน | |||
แล้วสั่งให้ประแดงไปถอดมา | ตรวจตัวทั่วหน้าให้นับอ่าน | |||
ต่อหน้าขุนแผนแสนสะท้าน | สอบคำให้การให้ขานมา ฯ | |||
๏ ข้าพเจ้าอ้ายพุกอยู่ลุกแก | เมียชื่ออีแตพระเจ้าข้า | |||
โทษปล้นให้รำระบำป่า | ให้อีมารำรื้อไปมือเดียว | |||
ถัดไปอ้ายมีบ้านยี่ล้น | เมียชื่ออีผลปล้นตาเขียว | |||
แทงถูกอีชังกำลังเยี่ยว | ปากเบี้ยวล้มหงายน้ำลายฟด | |||
ถัดไปอ้ายปานบ้านชีหน | เมียชื่ออีสนปล้นบางปลากด | |||
ผูกคอตาจ่ายกับยายรด | เอาไฟจดจุดขนหล่นร่วงไป | |||
ถัดนั้นอ้ายจันสามพันตึง | เมียชื่ออีอึ่งบ้านเหมืองใหม่ | |||
พวกปล้นขุนศรีวิชัย | เอาไม้เสียบก้นจนแกตาย | |||
ถัดมาข้าชื่ออ้ายคงเครา | เมียชื่ออีเต่าบ้านหนองหวาย | |||
ปล้นบ้านบางภาษีเมื่อปีกลาย | ได้ทรัพย์จับควายผูกต่างมา | |||
ต่อมาข้านี้อ้ายสีอาด | เมียชื่ออีกงราดพระเจ้าข้า | |||
คบไทยไล่ปล้นบ้านละว้า | แล้วเข่นฆ่าตาปานบ้านตาลเอน | |||
ถัดไปอ้ายทองอยู่ช่องขวาก | ผัวอีมากฆ่าลาวชื่อท้าวเสน | |||
ขึ้นย่องเบาเอาบาตรผ้าพาดเณร | ทุบตาเถรแล้วซ้ำปล้ำหลวงชี | |||
ที่นั่งถัดไปอ้ายช้างดำ | อยู่บ้านถ้ำย่องเบาเจ้าภาษี | |||
เก็บเงินทองของข้าวบรรดามี | ของดีดีไม่น้อยทั้งพลอยเพชร | |||
ถัดมาอ้ายบัวหัวกะโหลก | โทษปล้นชีโคกที่บ้านเกร็ด | |||
แล้วตีอ้ายดูกจมูกเฟ็ด | ฟันตาสายขายเป็ดบ้านตึกแดง | |||
ถัดมาข้าชื่ออ้ายแตงโม | เมียชื่อออีโตบ้านชุมสาย | |||
ปล้นชีดักขนนขนพอแรง | ฆ่าขุนทิพย์แสงเจ้าทรัพย์ตาย | |||
อ้ายอินเสือเหลืองเมืองชัยนาท | เมียชื่ออีปาดบ้านขนาย | |||
เที่ยวปล้นฆ่าคนสักร้อยราย | ลักควายแทงกินสิ้นเป็นเบือ | |||
อ้ายมอญมือด่างบางโฉลง | เมียชื่ออีโค่งเป็นชาวเหนือ | |||
ลักถ้วนลักถี่ทั้งตีเรือ | ครกกระบากสากกะเบือไล่เก็บครบ | |||
ถัดไปอ้ายทองอยู่หนองฟูก | เมียชื่ออีดูกลูกตาจบ | |||
กลางวันปีนเรือนเหมือนชะมบ | แต่พอพลบคนเดียวเที่ยวย่องเมา | |||
อ้ายมากสากเหล็กปล้นเจ๊กกือ | เมียมันตาปรือชื่ออีเสา | |||
ถัดไปอ้ายกุ้งคุ้งตะเภา | ฟันผัวแย่งอีเม้าเอาเป็นเมีย | |||
อ้ายสงผัวอีคงอยู่กงคอน | ตีชิงผ้าผ่อนฆ่ามอญเสีย | |||
ถัดไปอ้ายกร่างอยู่บางเหี้ย | หาเมียมิได้ไล่ตีเรือ | |||
อ้ายกลิ้งผัวอีกลักดักขนน | ลักควายขายคนปล้นเรือเหนือ | |||
อ้ายพานผัวอีพาบ้านนาเกกลือ | เอายาเบื่อหลวงโชฎึกเก็บตึกเตียน | |||
อ้ายจั่วผัวอีปรางบางน้ำชน | ขึ้นย่องเบาหมื่นชนขนเอาเลี่ยน | |||
อ้ายแมวผัวอีมาอยู่ท่าเกวียน | เข้าบ้านทิดเพียนปล้นปลอมริบ | |||
พิจารณาเป็นสัตย์ซัดทอดฟ้อง | เก็บเอาข้าวของนางทองกระหมิบ | |||
ถัดไปอ้ายมั่นผัวอีจันทิพ | อยู่น้ำดิบปล้นตีหลวงชีเภา | |||
หาได้แทงแกไม่ดังให้การ | นครบาลสอบแก้เป็นแผลเก่า | |||
อ้ายจันผัวอีจานบ้านกระเพรา | โทษปล้นจีนเก๊าเผาโรงเจ๊ก | |||
ยิงปืนปึงปังประดังโห่ | แล้วเอาสันพร้าโต้ต่อยหัวเด็ก | |||
ถัดมาอ้ายสานกเล็ก | อยู่คุ้งถลุงเหล็กผัวอีดี | |||
สกัดตีโคต่างทางโคราช | แทงอ้ายขั้วผัวอีปาดล้มกลิ้งคี่ | |||
อ้ายมากหนวดผัวอีขวดอยู่บางพลี | โทษตีเดิมบางเอากลางวัน | |||
อ้ายเกิดกระดูกดำผัวอีคำด่าง | โทษสะดมกรมช้างกับหมอมั่น | |||
ปล้นละว้าป่าดงคงกระพัน | กระหำไขว้ไข่ดันเป็นทองแดง | |||
สิริคนโทษซึ่งโปรดมา | ครบสามสิบห้าล้วนกล้าแข็ง | |||
อยู่ยงคงกระพันทั้งฟันแทง | เรี่ยวแรงทรหดอดทน | |||
ทำกรรมต้องจำมาช้านาน | สิ้นกรรมบันดาลจึงให้ผล | |||
พลายงามทูลขอพ่อออกพ้น | จึงปล่อยโปรดโทษคนทั้งนี้มา ฯ | |||
๏ ครั้นตรวจตราสำเร็จเสร็จทั่ว | จึงมอบตัวไพร่ทั้งสามสิบห้า | |||
ให้แก่ขุนแผนแสนศักดา | ท่านพระยายมราชก็อวยชัย | |||
ให้พ่อชนะมารผลาญศัตรู | เชิดชูพระยศปรากฏกระฉ่อน | |||
ทั้งลูกชายพลายงามไปราญรอน | ตีนครเชียงใหม่ให้สมนึก | |||
แล้วหันหน้ามาสั่งพวกทนาย | จงเลือกหาผ้าลายที่ในตึก | |||
ทั้งส้มสูกลูกไม้ให้ครันครึก | แจกพวกอาสาศึกให้ทั่วกัน | |||
พวกทนายขนของมากองเกลื่อน | พระยายมตัดเตือนให้เลือกสรร | |||
ขุนแผนจึงจัดแจงแล้วแบ่งปัน | แจกให้ไพร่นั้นทุกตัวคน | |||
ต่างผลัดผ้าเก่าเอาโยนเสีย | ทุดกูขายหน้าเมียไม่ปิดก้น | |||
บางคนเปลื้องกระสอบดูชอบกล | มันช่างจนเหลือจนได้พ้นทุกข์ | |||
ชวนกันกินของร้องโมทนา | ตั้งแต่วันหน้าจะเป็นสุข | |||
ถ้าหากพ่อไม่ขออกจากคุก | ก็สิ้นคิดติดกรุกจนตายไป | |||
จะเป็นข้าของนายจนตายจาก | ใช้สอยน้อยมากจะทำให้ | |||
ฝ่ายว่าขุนแผนผู้แว่นไว | กราบกรานท่านผู้ใหญ่แล้วอำลา | |||
พระหมื่นศรีขี่ม้านำมาบ้าน | ผู้คนอลหม่านเป็นหนักหนา | |||
พลายงามเดินตามขุนแผนมา | พวกไพร่สามสิบห้าก็มาพลัน | |||
พระหมื่นศรีจัดที่ให้พักอยู่ | แต่งสำรับเลี้ยงดูเกษมสันต์ | |||
พวกไพร่สามสิบห้าเฮฮากัน | พลุกพล่านจนตะวันลงรอนรอน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงนางแก้วกิริยา | เจ้าติดตามผัวมาอยู่แต่ก่อน | |||
อาศัยทับหับเผยเคยหลับนอน | ตั้งอุทรเติบใหญ่ได้สิบเดือน | |||
ครั้นผัวพ้นทุกข์จากคุกได้ | หม้อกระออมโอ่งไหกองไว้เกลื่อน | |||
ผ้าขี้ริ้วผ่อนขาดกลาดทั้งเรือน | เคยเป็นเพื่อนเมื่อยากจะจากกัน | |||
พิษฐานให้ทานคนโทษแล้ว | ผ่องแผ้วตามมาหาผัวขวัญ | |||
พระหมื่นศรีดีใจบอกไปพลัน | อยู่ด้วยกันอย่ากลัวผัวไปทัพ | |||
แล้วชวนขุนแผนกับเจ้าพลาย | ทั้งสามนายนั่งพร้อมล้อมลำดับ | |||
เรียกให้เมียน้อยยกสำรับ | กินเสร็จสรรพระหมื่นศรีก็ชี้แจง | |||
เกลอเอ๋ยน่าอดสูดูเผ้าผม | ทำรุงรังช่างสมอ้ายใจแข็ง | |||
จะเป็นเจ๊กก็ใช่ไทยก็แคลง | มันระแวงคล้ายละว้าน่าขันครัน | |||
ขุนแผนหัวร่อคุณพ่อช่างว่า | แล้วลุกมาเสกน้ำที่ในขัน | |||
ชุบตัดมหาดไทยใส่น้ำมัน | เสร็จพลันอาบน้ำชำระกาย | |||
ทาแป้งแต่งตัวเอี่ยมสะอาด | นุ่งลายผ้าคาดดูเฉิดฉาย | |||
แล้วกลับมาหน้าหอของพระนาย | ทั้งเจ้าพลายสามคนสนทนา | |||
ขุนแผนวอนไหว้พระหมื่นศรี | ว่าลูกนี้ตั้งใจจะอาสา | |||
ยังเป็นห่วงบ่วงใยด้วยมารดา | คร่อแคร่แก่ชราลงทุกวัน | |||
อยู่บ้านกาญจน์บุรีไม่มีสุข | จะเฝ้าทุกข์ถึงลูกกับหลานขวัญ | |||
ถ้ารับมาเลี้ยงดูอยู่ด้วยกัน | ถึงลูกไปทัพนั้นจะนอนใจ | |||
พระหมื่นศรีฟังคำขุนแผนว่า | โมทนาข้าจะเป็นธุระให้ | |||
รับมาจะลำบากยากอะไร | พรุ่งนี้ข้าจะให้ไปรับมา | |||
แล้วพูดกันสามคนจนดึกดื่น | ครั้นเที่ยงคืนก็เข้าในเคหา | |||
ต่างระงับหลับใหลไสยา | จนเวลารุ่งแจ้งแสงตะวัน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงสมเด็จพระพันวษา | ตรัสเรียกลาวทองมาขมีขมัน | |||
อ้ายพลายงามอาสามันกล้าครัน | แล้วทูลขอพ่อมันพ้นจากคุก | |||
มึงทรมานมากว่าสิบปี | กูเห็นมึงนี้ไม่มีสุข | |||
จะโปรดยกโทษให้พ้นทุกข์ | อย่าปักสะดึงกรึงกรุกเร่งออกไป | |||
ลาวทองได้ฟังรับสั่งโปรด | ปราโมทย์ยินดีจะมีไหน | |||
ถวายบังคมลามาทันใด | ออกไปกราบลาหม่อมป้าโต | |||
เพื่อนฝูงร้องไปจะได้ลาภ | ค่อยกระซิบกระซาบนางมีโหว่ | |||
นางสีนางพรมแม่ส้มโอ | เพื่อนฝูงอักโขจะลาไป | |||
แล้วลาเจ้าขรัวนายกรายเข้าห้อง | หวีหัวกระจกส่องน้ำมันใส่ | |||
ทั้งกระแจะจันทน์ปรุงจรุงใจ | หวังจะให้ชื่นอารมณ์ชมชิด | |||
นุ่งยกดอกกลมห่มม่วงอ่อน | เทพนมห่มซ้อนดูวิจิตร | |||
ก้มแลดูกายไม่วายคิด | ใส่จริตเยื้องย่างสำอางงาม | |||
จัดแจงหีบหมากเครื่องนากทอง | ถาดรองขันน้ำทำอย่างห้าม | |||
ใส่เครื่องประดับวับแวววาม | ออกประตูข้างข้ามประตูดิน | |||
อีถึงถือหีบรีบตามนาย | อีกห้าคนขวนขวายเก็บของสิ้น | |||
เพื่อนทักถามไถ่ไม่ได้ยิน | มาถึงถิ่นบ้านขึ้นบนบันได ฯ | |||
๏ ขุนแผนครั้นเห็นนางลาวทอง | เจียนจะแปลกเจียวน้องนึกขึ้นได้ | |||
ร้องเรียกทันทีด้วยดีใจ | แปลกพี่ไปหรือเจ้าไม่เข้ามา | |||
ลาวทองฟังคำจำเสียงได้ | เข้าใกล้ผัวรักรู้จักหน้า | |||
กอดตีนร่ำไห้ฟายน้ำตา | ท่านโปรดโทษข้าข้าจึงรู้ | |||
ครั้นติดตามมาหาผัวรัก | แปลกไปไม่รู้จักจึงยืนอยู่ | |||
ไม่กล้าเข้าไปในประตู | แลดูพ่อซูบผิดรูปไป | |||
โอ้โอ๋เจ้าประคุณของเมียแก้ว | เหมือนตายแล้วเกิดมาหากันใหม่ | |||
ตั้งแต่เมียถูกขังอยู่วังใน | เฝ้าแต่ร่ำร้องไห้ไม่วายวัน | |||
ยามกินกินข้าวไม่เป็นคำ | ต้องฝืนกลืนกับน้ำร่ำโศกศัลย์ | |||
ยามนอนนอนคิดจิตผูกพัน | แทบจะกลั้นใจตายไม่วายเว้น | |||
ปักสะดึงกรึงไหมมิได้หยุด | จะสิ้นสุดเมื่อไรไม่แลเห็น | |||
ได้แต่โศกเศร้าทั้งเช้าเย็น | ตั้งแต่เป็นทุกข์มาช้านานครัน | |||
พูดพลางทางแลแล้วถามผัว | ทูนหัวใครนั่งข้างหลังนั่น | |||
ขุนแผนจึงบอกออกมาพลัน | นางนั้นชื่อแก้วกิริยา | |||
เมียข้าเมื่อพาวันทองหนี | ครั้นติดคุกนางนี้อยู่รักษา | |||
นั่นลูกพี่ที่เขาทูลขอมา | ชื่อพลายงามมารดาคือวันทอง | |||
ว่าแล้วก็พากันเข้าเรือน | ข้าวของกองเกลื่อนอยู่ในห้อง | |||
ต่างปรึกษาหารือตามทำนอง | ปรองดองมิได้คิดจิตฉันทาฯ | |||
๏ ขุนแผนออกมาหน้าหอนั่ง | พลันสั่งทหารสามสิบห้า | |||
ให้แต่งตัวตัดผมสมหน้าตา | เตรียมผ้านุ่งห่มให้คมคาย | |||
ขาดเหลือพึ่งพระจมื่นศรี | พรุ่งนี้จะได้ไปลองถวาย | |||
พระหมื่นศรีขุนแผนกับลูกชาย | ทั้งสามนายสนทนาจนราตรี ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งเช้าข้าวปลาหากินเสร็จ | จวนเสด็จออกต่างก็เร็วรี่ | |||
เข้าวังพร้อมกันในทันที | วันนี้ชาวเมืองนั้นเลื่องลือ | |||
ว่าจะลองความรู้พวกอาสา | ต่างแตกตื่นกันมาออกอึงอื้อ | |||
ไทยจีนมอญพม่าข่าลาวลื้อ | จูงมือลูกหลานซานเข้าไป | |||
ยัดเยียดเสียดแทรกเข้าประตู | นมจู้เบียดบีบกันเหลวไหล | |||
เจ้าหนุ่มหนุ่มที่ลำพองคะนองใจ | เข้าคว้าไขว่สาวสาวออกกราวเกรียว | |||
บ้างกระชากผ้าห่อมฉวยนมหมับ | พวกตำรวจหวดขวับเอาเต็มเหนี่ยว | |||
จับตัวได้ใส่คาทำหน้าเซียว | ที่เลี่ยงเลี้ยวหลบได้ไพล่เข้าวัง | |||
ยัดเยียดเบียดกันอยู่ชั้นนอก | พอเวลาเสด็จออกก็พร้อมพรั่ง | |||
สังข์แตรแซ่เสียงสนั่นดัง | ถวายบังคมกราบลงพร้อมกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | เสด็จสถิตพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ | |||
พระสูตรรูดกร่างกระจ่างพลัน | ดังองค์พระสุริยันเหมื่อเยี่ยมรถ | |||
ตรัสเรียกขุนแผนพลายงาม | ทหารสามสิบห้าเข้ามาหมด | |||
ต่างคลานเข้าเฝ้าองค์พระทรงยศ | น้อมประณตดาษดาหน้าพระลาน | |||
ทนายเลือกตีวงตรงพระที่นั่ง | เอาเชือกหนังขึงขอบรอบหน้าฉาน | |||
ข้างในล้วนบรรดาข้าราชการ | วงนอกไพร่บ้านพลเมือง | |||
เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ทั้งแก่หนุ่ม | มามั่วสุมคับคั่งนั่งเนื่อง | |||
บ้างยงโย่แยงแย่แลชำเลือง | บ้างยักเยื้องหยุกหยิกคะยิกกัน | |||
พวกตำรวจเรียงรายถือหวายห้าม | รอบทั้งท้องสนามเป็นกวดขัน | |||
ฝ่ายว่าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | สั่งขุนแผนให้สรรกันเข้ามาฯ | |||
๏ นายบัวหัวกะโหลกบ้านโคกขาม | ถวายบังคมงามแล้วออกหน้า | |||
นอนหงายร่ายมนตร์ภาวนา | ให้เอาขวานผ่าเป็นหลายซ้ำ | |||
โปกโปกขวานกระดอนนอนพยัก | ไม่แตกหักลุกมาหน้าแดงก่ำ | |||
นายคงเคราเข้านั่งบริกรรม | ให้เอาหอกตำเข้าจำเพาะ | |||
ถูกตรงยอดอกไม่ฟกช้ำ | แทงซ้ำหลายทีที่เหมาะเหมาะ | |||
เสียงอักอักพยักหน้านั่งหัวเราะ | จนด้ามหอกหักเดาะไม่ทานทน | |||
นายมอญนอนเปลือยเอาเลื่อยชัก | เลื่อยหักฟันเยินพระเนินย่น | |||
ให้เปลี่ยนหน้ามาเลื่อยก็หลายคน | เป็นหลายหนไม่เข้าเปล่าทั้งนั้น | |||
นายช้างดำกำลังดังช้างสาร | ถวายบังคมคลานมาไม่พรั่น | |||
กระโดสูงสามวาตาเป็นมัน | แข็งขันข้อลำดำทมิฬ | |||
นายสีอาดคลาดแคล้วแล้วไม่แตก | หอกซัดเจ็ดแบกพุ่งจนสิ้น | |||
ไม่ถูกเพื่อนเชือนไถลไปปักดิน | นายอินอึดใจแล้วหายตัว | |||
นายทองลองให้เอาปืนยิง | ยืนนิ่งคอยรับจับลูกตะกั่ว | |||
นายจันนั้นแปลกเข้าแบกวัว | นายบัวทำคล้ายเป็นหลายคน | |||
นายแตงโมทำโตได้เหมือนยักษ์ | คึกคักกรอกตาดูหน้าย่น | |||
นายจั่งหัวหูดูพิกล | เอาไฟลนทนได้ไฟวับวับ | |||
ลองถวายสิ้นทั้งสามสิบห้า | ต่างสำแดงวิชาเป็นลำดับ | |||
แล้วมาหมอบเรียงเคียงคำนับ | รับสั่งให้ประทานรางวัลพลัน | |||
คนหนึ่งเงินตราห้าตำลึง | กับผ้าสำรับหนึ่งให้จัดสรร | |||
ทั้งเพิ่มนอกออกไปให้ต่างกัน | ตามไม้มือมันใครเอกโท | |||
ยังอ้ายพลายงามจะอาสา | ดีจริงหรือว่ามันโยโส | |||
ดูตัวก็ไม่ใหญ่ใจมันโต | เฮ้ยอ้ายแผนลองโต้กับลูกดู ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนพลายงาม | ถวายบังคมตามกันทั้งคู่ | |||
ที่คนดูลุกยืนตื่นกันกรู | คอยดูพ่อลูกจะลองกัน | |||
เจ้าพลายงามขออภัยพ่อขุนแผน | แล้วจับทวนทอดแขนดูขบขัน | |||
ขุนแผนดาบสองมือถือยืนยัน | ชักท่าทางวางหันเข้าสู้ทวน | |||
กลองแขกติงทั่งตั้งเพลงรำ | ไม่เพลี่ยงพล้ำถ้อยทีถี่ถ้วน | |||
ชั้นเชิงกรีดกรายหลายกระบวน | สับสวนท่าทางสันทัดกัน | |||
ดูข้างพลายงามก็ไวว่อง | ดูทำนองขุนแผนก็แข็งขัน | |||
ได้ทีหนีไล่พัลวัน | กลับแทงแย้งฟันกันคนละที | |||
ถูกฉับไม่เข้าเปล่าทั้งนั้น | เจ้าพลายหันเยื้องย่องทำนองหนี | |||
แต่พอห่างวางทวนกับปัถพี | อัญชลีร่ายเวทเป็นไฟกัลป์ | |||
ลุกโพลงโผงผางกลางสนาม | เปลวฟู่วู่วามเสียงสนั่น | |||
ลามไหม่ไล่คนทั้งหลายนั้น | คนผู้อยู่นั่นก็หนีกรู | |||
ตกใจหน้าซีดทุกตัวคน | ขุนแผนอ่านมนตร์ฝนตกซู่ | |||
เป็นน้ำไหลไฟดับอยู่วับวู | เสียงคนดูฮาลั่นสนั่นอึง | |||
ชมปรอพ่อลูกนี้เอาจริง | วิชาเขายวดยิ่งไม่มีถึง | |||
ฝ่ายขุนแผนเสกซ้ำพร่ำตะบึง | ประเดี๋ยวหนึ่งเป็นงูชูโพนเพน | |||
อ้ายตัวใหญ่มีหงอนเท่าท่อนซุง | เลื้อยพุ่งตาแดงดังแสงเสน | |||
บริวารมากมายมาก่ายเกน | แผ่พังพานเพ่นเพ่นสักสองพัน | |||
เที่ยวเลี้ยวไล่ไชชอนไปทุกแห่ง | พวกคนดูแอบแฝงเป็นจ้าละหวั่น | |||
เหล่าผู้หญิงวิ่งหนีพัลวัน | ตัวสั่นหน้าซีดกรีดกราดไป | |||
ผ้าผ่อนล่อนหลุดสะดุดล้ม | เหยียบทับกันจมออกเหลวไหล | |||
พลายงามขว้างตะกรุดไปทันใด | เป็นนกกดตัวใหญ่ไล่ตามงู | |||
ตีนหยิกปากจิกปีกป้องรับ | งูขยับเลี้ยวฉกนกจิกสู้ | |||
ฝูงคนกล่นเกลื่อนกันมาดู | นกกดคาบงูชูร่อนบิน | |||
บรรดางูบริวารสิ้นทั้งหลาย | ก็พลอยหายสาบสูญไปหมดสิ้น | |||
พลายงามตัวเอกเสกก้อนดิน | นกหายกลายปลิ้นไปเป็นช้าง | |||
ซับมันชันหูชูงวง | งายาวขาวช่วงทั้งสองข้าง | |||
เงยแหงนแปร๋มาคว้างคว้าง | ขุนแผนยืนขวางรำขอรับ | |||
เหยียบขึ้นปลายงาขาคร่อมคอ | ช้างร้ายแรงหล่อเอาขอสับ | |||
ฟันกระชากหน้าผาก.....ยับ | จนตาหลับแหงนหงายท้ายติดดิน | |||
ช้างหายพลายงามทรามคะนอง | มีวิชาสำรองไม่รู้สิ้น | |||
บริกรรมสำแดงแปลงกายิน | เปลี่ยนปลิ้นกลับกลายเป็นควายรับ | |||
ขุนแผนหายกลายกลับเป็นเสือโคร่ง | เขี้ยวโง้งโดดหลอกกลอกกลับ | |||
ล่อควายบ่ายหน้ามาที่ประทับ | ตบขวับขวิดผึงทะลึ่งลอย | |||
ชุลมุนผลุนผลันถลันโดด | เสือโดดควายขวิดชิดไม่ถอย | |||
สู้กันฟั่นเฝือจนเหงื่อย้อย | ต่างปละปล่อยกลายกลับไปฉับพลัน | |||
พ่อเป็นนกแก้วแจ้วส่งเสียง | ลูกเลี่ยงเป็นสาลิกานั่น | |||
บินไปจับต้นไม้อยู่ใกล้กัน | รู้พูดสารพันภาษาคน | |||
แต่บรรดาคนผู้ดูจนเพลิน | สรรเสริญสองนายทุกแห่งหน | |||
เออช่างศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์เวทมนตร์ | ข้าศึกไหนจะทนฤทธาเธอ | |||
พระองค์ตบพระหัตถ์อยู่ฉัดฉาน | เบิกบานทรงพระสรวลสำรวลเร่อ | |||
อ้ายคู่นี้ใช้ได้ไม่อมเออ | ฤทธิ์เดชมันเสมอสมานกัน | |||
ทีนี้จะได้ดูอ้ายเชียงใหม่ | มันอวดอิทธิ์ฤทธิไกรอย่างไรนั่น | |||
จะสู้กับลูกกูอยากดูมัน | ไม่ถึงวันก็จะวิ่งเข้าป่าไป | |||
สิ้นพุงมึงเท่านี้แล้วหรือหวา | นกแก้วสาลิกาก็ทูลไข | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงชัย | ยังไม่สิ้นตำราของอาจารย์ | |||
ทูลแล้วพ่อลูกก็คลายมนตร์ | กลับเป็นคนมาหมอบอยู่หน้าฉาน | |||
พระพันวษาปราโมทย์โปรดปราน | ให้เลื่อนเครื่องประทานแล้วตรัสมา | |||
ฮ้าเฮ้ยอ้ายขุนแผนพลายงาม | มึงลูกพ่อต่อตามกันหนักหนา | |||
ดูหน้านิ่วหิวเหนื่อยจะเลื่อยล้า | กินข้าวปลาเสียทีให้มีแรง | |||
แล้วจึงตรัสสั่งคลังวิเศษ | ให้จัดเสื้อโหมดเทศอย่างก้านแย่ง | |||
แพรจีนดวงพุดตานส่านสีแดง | ทั้งสมปักตามตำแหน่งขุนนางใน | |||
ให้คลังหาสมบัติจัดเงินตรา | ห้าชั่งเอามาประทานให้ | |||
มึงทั้งสองใช้ของเหล่านี้ไป | กว่าจะได้บำเหน็จเสร็จสงคราม | |||
ขุนแผนพลายงามความยินดี | ถวายบังคมอยู่ที่กลางสนาม | |||
ด้วยทรงพระกรุณาสง่างาม | คนผู้ดูหลามไปทั้งวัง ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | ตรัสเรียกโหราเข้ามาสั่ง | |||
ให้คูณหารฤกษ์ยามตามกำลัง | วันไรจะตั้งให้ยาตรา | |||
พระโหราหาฤกษ์แล้วทูลพลัน | ขึ้นเจ็ดค่ำนั้นเป็นเศษห้า | |||
ได้ฤกษ์เบิกพยุหเสนา | เวลาสี่โมงเช้าเก้านาที | |||
ปลอดทั้งผีหลวงห่วงวัน | ยามนั้นได้เมื่อพระฤาษี | |||
แค้นขัดมัดมือลิงกาลี | จะไปตีบ้านเมืองย่อมมีชัย | |||
พระองค์ทรงฟังก็สั่งพลัน | ไปให้ทันฤกษ์พาอย่าช้าได้ | |||
มันขอแต่ไพร่ราบหาบของไป | ก็เกณฑ์ไพร่ให้มันเจ็ดสิบคน | |||
สั่งเสร็จพระเสด็จเข้าในวัง | ขุนนางลุกสะพรั่งอยู่สับสน | |||
ออกบอบแบบแสบท้องจนเต็มทน | อลวนกลับบ้านสำราญใจ | |||
พวกคนดูโจษกันสนั่นมา | ไม่เลือกหน้าไทยเจ๊กเด็กผู้ใหญ่ | |||
เขาดีจริงยิ่งยวดในกรุงไกร | แปลงตัวไปได้ดังเทวดา | |||
ชั่วพ่อชั่วแม่ไม่เคยเห็น | แต่รำเต้นนั้นก็ดูมาหนักหนา | |||
สันนี้ได้เห็นเป็นบุญตา | เรากำเนิดเกิดมาไม่เสียทีฯ | |||
ฝ่ายว่าขุนแผนแสนสะท้าน | กลับมาอยู่บ้านพระหมื่นศรี | |||
ครั้นรุ่งเช้าเข้าไปอัญชลี | บอกคดีได้ข่าวบ่าวมันมา | |||
ว่าบัดนี้คุณแม่ทองประศรี | มาแต่กาญจน์บุรีอยู่เคหา | |||
เพราะฝ่าเท้าเจ้าคุณกรุณา | ลูกกับบุตรภรรยาจะลาไป | |||
พระหมื่นศรีเมตตาสั่งข้าคน | ให้ช่วยขนข้าวของไปส่งให้ | |||
พ่อลูกกราบลาแล้วคลาไคล | ภรรยาข้าไทก็ไปตาม | |||
พวกทหารสามสิบห้ามาติดก้น | เดินดาเต็มถนนจนล้นหลาม | |||
ชาวตลาดแลดูไม่รู้ความ | กระซิบถามเพื่อนกันว่านั่นใคร | |||
บ้างบอกพวกนี้ที่พ้นโทษ | โปรดให้ไปทัพจับเชียงใหม่ | |||
ขุนแผนมาถึงบ้านวัดตระไกร | ก็เข้าไปไหว้กราบท่านมารดา ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางทองประศรี | เห็นลูกยินดีเป็นหนักหนา | |||
ลูบหน้าลูบหลังถั่งน้ำตา | เออเหมือนมาเกิดใหม่ได้พบกัน | |||
กูขอบใจออแก้วกิริยา | มันอุตส่าห์ติดตัวตามผัวขวัญ | |||
เอ็งจงเป็นพี่น้องลาวทองนั้น | อย่าขึ้งเคียดเดียดฉันท์กันวุ่นไป | |||
อนิจจาน่ารักออพลายงาม | เพียรติดตามทูลขอพ่อจนได้ | |||
นี่แลบุราณท่านกล่าวไว้ | ว่าเป็นชายมิให้ดูหมิ่นชาย | |||
แล้วหันมาหาขุนแผนแสนสะท้าน | ยิ่งสงสารดูไปใจคอหาย | |||
ช่างผอมซูปวิปริตรผิดทั้งกาย | นี่หากว่าไม่ตายเสียในคุก | |||
สิ้นเคราะห์โศกโรคภัยเถิดแก้วแม่ | ตั้งแต่นี้มีแต่ให้เป็นสุข | |||
ร้อยปีพันปีอย่ามีทุกข์ | จงเป็นสุขตราบเท่าเข้านิพพาน ฯ | |||
๏ ขุนแผนรับพรของมารดา | แล้วออกมาเร่งรัดให้จัดบ้าน | |||
ขนของขึ้นเรือนเกลื่อนนอกชาน | ให้ปลูกร้านพวกไพร่จะได้นอน | |||
เรือนเหย้าเก่าเกจะเซคว่ำ | เอาไม้ค้ำจุนดูพออยู่ก่อน | |||
ทำกันจนตะวันลงรอนรอน | ต่างพักผ่อนลืมทุกข์สุขสำราญ ฯ | |||
๏ ฝ่ายเจ้ากรมสัสดีก็มีหมาย | ทุกตัวนายหมวดหมู่อยู่อลหม่าน | |||
เป็นการจวนด่วนวิ่งไม่นิ่งนาน | เอาที่บ้านใกล้ใกล้จะได้ทัน | |||
บ้างเร่งรัดมัดผูกลูกเมียมา | อุตลุดฉุดคร่าจ้าละหวั่น | |||
ผัดดผ่อนไม่ได้ไม่ฟังกัย | ครบครันเบ็ดเสร็จเจ็ดสิบคน | |||
จึงสั่งให้นายสมุห์บาญชี | ไปส่งที่ขุนแผนออกสับสน | |||
ลูกเมียหาข้าวสารอยูลานลน | อลวนจัดแจงประจุบัน | |||
หาได้ตามยากตามมี | ให้ทันทีตามส่งกันตัวสั่น | |||
ที่ในบ้านขุนแผนออกแน่นนันต์ | พร้อมเพรียงสามวันจะครรไล ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | คิดกับลูกยาหาช้าไม่ | |||
จะปลุกเครื่องให้เรืองฤทธิไกร | จึงชวนกันออกไปที่ป่าช้า | |||
ให้ทหารปลูกศาลขึ้นฉับพลัน | ตั้งบายศรีสามชั้นทั้งซ้ายขวา | |||
หัวหมูเป็ดไก่ทั้งเหล้ายา | เครื่องเซ่นจัดหามาเรียงราย | |||
เอาผ้าขาวปูลาดดาดเพดาน | นมัสการจุดธูปเทียนถวาย | |||
ในมณฑลนั้นให้อยู่แต่ผู้ชาย | วงสายสิญจน์สิณจน์รอบเป็นขอบคัน | |||
ทั้งพ่อลูกเข้านั่งกลางมณฑล | อ่านมนตร์โองการอันกวดขัน | |||
ชุมนุมเทวดามาพร้อมกัน | ทุกช่องชั้นอินทร์พรหมยมยักษ์ | |||
ทั้งพระเพลิงพระพายกรุงพาลี | พระภูมิเจ้าที่อันมีศักดิ์ | |||
อีกพระไพรเจ้าป่าพนารักษ์ | พระนารายณ์ทรงจักรศิวาทิตย์ | |||
พระคเณศร์พินายทั้งซ้ายขวา | ขอเชิญลงมาให้ศักดิ์สิทธิ์ | |||
ทั้งคุณแก้วสามประการอันชาญชิต | บิดามารดาสถาวร | |||
คุณครูอุปัชฌาอาจารย์ | พระโองการบพิตรอดิศร | |||
ขออับเชิญช่วยมาอวยพร | ให้เรืองฤทธิ์ขจรทุกสิ่งอัน | |||
แล้วร่ายคาถามหาเวท | ปลุกเครื่องวิเศษทุกสิ่งสรรพ์ | |||
ว่านยาผ้าประเจียดมงคลนั้น | ตะกรุดโทนน้ำมันอันเรืองฤทธิ์ | |||
เดชะพระเวทอันเชี่ยวชาญ | เครื่องอานกลิ้งไปดังใครบิด | |||
แล้วตั้งกองอัคคีทั้งสี่ทิศ | เอาเครื่องวางกลางมิดในกองไฟ | |||
เปลวไฟคึกคึกไม่ขาดสาย | ชั้นแต่เส้นด้ายหาไหม้ไม่ | |||
จึงเอาพระควำที่ทำไว้ | ใส่ขันสำริดประสิทธิ์มนตร์ | |||
ในขันนั้นใส่น้ำมันหอม | เสกพร้อมเป่าลงไปสามหน | |||
พระนั่งขึ้นได้ในบัดดล | น้ำมันทาทนทั้งทุบตี | |||
ล่องหนกำบังจังงังครบ | อุปเท่ห์เล่ห์จบเป็นถ้วนถี่ | |||
ปลุกเครื่องเสร็จพลันอัญชลี | อ่านมนตร์เรียกผีพวกภูตพราย | |||
ผีตายฟ้าผ่าทั้งห่าโหง | อยู่ในหลุมในโลงสิ้นทั้งหลาย | |||
ผีตายคลอดลูกผูกคอตาย | ผีนายผีไพร่ให้รีบมา | |||
ฝูงผีมิอาจจะซุ่มซ่อน | ด้วยเร่าร้อนฤทธิ์เวทพระคาถา | |||
พากันเหลื่อนกลาดดาษดา | พร้อมหน้ามาที่พิธีการ | |||
บรรดาผู้นั่งอยู่ในมณฑล | เห็นผีทุกคนออกพลุกพล่าน | |||
พลายงามขุนแผนแสนสำราญ | เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก | |||
เนื้อพล่าปลายำทำตามมี | ฝูงผีเข้ามากินหนักกว่าหนัก | |||
ข้างนอกยังนั่งล้อมอยู่พร้อมพรัก | ชักชวนกันกินสิ้นทั้งปวง | |||
ที่อดหยากปากไหม้ไส้ขม | ต่างชื่นชมรับเอาเครื่องบวงสรวง | |||
ล้อมกินปลิ้นตาอ้าปากกลวง | ตวงเหล้าเติบบ่อยอร่อยครัน | |||
เสร็จแล้วพ่อลูกก็สั่งผี | ว่าพวกท่านวันนี้จงจัดสรร | |||
มาอาสาศึกใหญ่ไปด้วยกัน | ให้ทันฤกษ์พาเวลาเพล | |||
พวกผีดีใจไปสิพ่อ | ลูกจะขอเป็นบ่าวให้กราวเขน | |||
อันทัพผีมิให้ต้องกะเกณฑ์ | จะเข้านอนออกเวรให้ทันการ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนกับพลายงาม | เสร็จพิธีมีความเกษมศานต์ | |||
จึงจัดแจงจงแบ่งปันซึ่งเครื่องอาน | แจกทหารกับไพร่ให้ผูกพัน | |||
พวกพลทั้งสิ้นก็ยินดี | เห็นอย่างนี้ละคุณพ่อใจคอมั่น | |||
ถึงจะให้ไปไหนก็ไปกัน | จะสู้คนร้อยพันไม่พรั่นใจ | |||
ครั้นเสร็จสรรพกลับพากันมาบ้าน | ขุนแผนเรียกทหารเข้ามาใกล้ | |||
สาตราอาวุธจงเลือกใช้ | ใครถนัดอย่างไหนเอาไปพลัน | |||
บางคนฉวยดาบชักวาบวับ | ที่บางคนก็จับเอากั้นหยั่น | |||
บ้างเข้ามาคว้าปืนถือยืนยัน | บางคนนั้นร้องบอกขอหอกยาว | |||
อ้ายเฉยว่าฉันเคยแต่ไม้พลอง | อ้ายมาว่าฉันคล่องก็เพลงหลาว | |||
อ้ายเพชรว่าพร้าก็พอกับคอลาว | อ้ายทิดสาคว้าง้าวออกลองรำ | |||
ต่างคนต่างเลือกหาเครื่องอาวุธ | อุตลุดสับสนอยู่จนค่ำ | |||
แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้ายาประจำ | กระบอกน้ำถุงไถ้ใส่ข้าวปลา | |||
ที่พวกหาบหาไม้มาทำคาน | จักสานโพล่แฟ้มแซมตะกร้า | |||
ที่ได้เป็นนายหมวดคอยตรวจตรา | เสียงเฮฮาครึกครื้นรื่นเริงกัน ฯ | |||
๏ ฝ่ายนางทองประศรีกระปรี้กระเปร่า | ตั้งแต่เช้าจัดเสบียงเสียงสนั่น | |||
พริกเกลือข้าวปลาสารพัน | ใครเชือนช้าด่าลั่นไม่เลือกตัว | |||
นางแก้วกิริยากับลาวทอง | จัดของเครื่องใช้ให้แก่ผัว | |||
ปรึกษากันปรองดองไม่หมองมัว | ด้วยความกลัวผัวรักจักทุกข์ร้อน | |||
หีบหมากเครื่องนากอยู่ในกลี่ | ซองบุหรี่ย่ามใหญ่ใส่ผ้าผ่อน | |||
เสื้อผ้าจัดพับที่หลับนอน | มุ้งหมอนพร้อมสิ้นทุกสิ่งอัน | |||
ข้าวของขนมาไว้หน้าเรือน | กองเกลื่อนบ่าวข้าจ้าละหวั่น | |||
ส่วนว่าของนายพลายงามนั้น | พระหมื่นศรีจัดสรรทุกสิ่งไป ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งเช้าจะเข้าไปทูลลา | ขุนแผนลูกยาไม่ช้าได้ | |||
จัดพานธูปเทียนแลดอกไม้ | ไปหาท่านผู้ใหญ่ที่ในวัง | |||
เวลาสี่โมงเสด็จออก | พระโรงนอกเสียงแตรแซ่กระทั่ง | |||
เสด็จประทับเหนืออาสน์ราชบังลังก์ | มีรับสั่งไต่ถามความนานา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาจักรี | ได้ทีก็ประนมก้มเกศา | |||
กราบทูลเบิกไปมิได้ช้า | ขอเดชะพระบาทามาปกครอง | |||
ดอกไม้ธูปเทียนทองของถวาย | ของขุนแผนนายพลายงามทั้งสอง | |||
กราบถวายบังคมลาฝ่าละออง | ไปราชการศึกสนองพระเดชา ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร | ฟังทูลทรงพระสรวลสำรวลร่า | |||
เฮ้ยขุนแผนพลายงามทั้งสองรา | ซึ่งอาสาทำชอบกูขอบใจ | |||
จงไปดีมาดีศรีสวัสดิ์ | พ้นวิบัติเสี้ยนหนามความเจ็บไข | |||
ให้ศัตรูพ่ายแพ้แก่ฤทธิไกร | มีชัยได้เวียงเชียงใหม่มา | |||
ตรัสพลางทางสั่งพนักงาน | พระราชทานเครื่องยศกับเสื้อผ้า | |||
ทั้งกระบี่ทั้งทองของนานา | เงินตราเตรียมไปใช้ในทัพ | |||
อีกทั้งม้าต้นคนละม้า | เครื่องอานพานหน้าให้พร้อมสรรพ | |||
พวกไพร่ให้ผ้าคนละสำรับ | สั่งเสร็จเสด็จกลับเข้าวังใน ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนกับลูกยา | เสด็จขึ้นกลับมาหาช้าไม่ | |||
หาธูปเทียนใส่พานคลานเข้าไป | กราบไหว้ทองประศรีผู้มารดา | |||
ลูกหลายจะมาลาคุณแม่ | จงอยู่ดูแลซึ่งเคหา | |||
อันลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา | คุณแม่ได้เมตตาช่วยดูแล | |||
ถัาทุกข์ร้อนก่อนลูกกลับมาถึง | จะหมายพึ่งผู้ใดให้เป็นแน่ | |||
พระหมื่นศรีแลเธอเป็นเกลอแท้ | คุณแม่เจ็บไข้จงไหว้วาน | |||
เหย้าเรือนรุงรังจะพังคว่ำ | พอจะทำเงินมีอยู่ที่บ้าน | |||
ขอแต่ให้คุณแม่อยู่สำราญ | ถึงลูกไปช้านานไม่ร้อนใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นทองประศรีผู้มารดา | ฟังลูกหลานลาน้ำตาไหล | |||
ลูบหลังลูบหน้าแล้วว่าไป | อย่าเป็นห่วงบ่วงใยเลยทางนี้ | |||
เมียเจ้านั้นไซร้ไว้ธุระแม่ | จะดูแลสารพัดให้ถ้วนถี่ | |||
ทั้งเรือนเหย้าข้าวของบรรดามี | ได้พึ่งพระหมื่นศรีก็ดีแล้ว | |||
แม่ขัดขวางอย่างไรจะไปหา | เจ้าตั้งหน้าไปเถิดนะลูกแก้ว | |||
ทุกข์โศกโรคภัยให้คลาดแคล้ว | จงผ่องแผ้วพูนสุขทุกเวลา | |||
ให้เจ้าชนะมารผลาญศัตรู | ใครอย่ารอต่อสู้ได้สักหน้า | |||
อองามเจ้าอย่าห่างข้างบิดา | ยังเด็กนักเด็กหนาย่าห่วงนัก | |||
อย่าประมาททอาจหาญการรบสู้ | ขุนไกรปู่นั้นแต่หนุ่มคุ้มฟันหัก | |||
แกมิได้หมิ่นศึกทำฮึกฮัก | เบาหนักตรองดูให้รู้ความ | |||
อนึ่งพวกพลไพร่ที่ไปด้วย | ใครเดือดร้อนผ่อนช่วยอย่าหยาบหยาม | |||
อุตส่าห์เอาอกใจให้งดงาม | ไปรบพุ่งเหมือนตามกันไปตาย | |||
ถ้าใจเดียวเกลียวกลมกันหนึ่งแน่ | ถึงน้อยก็ไม่แพ้ที่มากหลาย | |||
ท่านว่าป่าพึ่งเสือเรือพึ่งพาย | เราเป็นายก็ต้องพึ่งซึ่งไพร่พล | |||
อนึ่งความกตัญญูรู้คุณเจ้า | ทุกค่ำเช้านึกไว้จะให้ผล | |||
ให้รุ่งเรืองฤทธิเดชทั้งเวทมนตร์ | เจ้าจงสนใจจำคำย่าไว้ ฯ | |||
๏ ขุนแผนพลายงามความยินดี | รับพรทองประศรีแล้วก้มไหว้ | |||
ขุนแผนกลับมาสั่งข้าไท | แล้วเข้าไปในห้องทั้งสองนาง | |||
เจ้าลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา | จงอุตส่าห์ปรองดองอย่าหมองหมาง | |||
ไปทัพถ้าข้างบ้านเกิดรานทาง | มักเป็นลางให้ร้ายฝ่ายผู้ไป | |||
การกินอยู่ดูแลแม่ทองประศรี | อย่าให้มีทุกข์ยากลำบากได้ | |||
เจ้าแก้วก็อลักเอลื่ออยู่เหลือใจ | ท้องไส้จงระวังจะนั่งนอน | |||
เมื่อคลอดลูกลาวทองน้องช่วยดู | ทั้งฟืนไฟให้อยู่แลผ้าผ่อน | |||
ให้บ่าวมันคั้นส้มต้มน้ำร้อน | เอาผ้าซ้อนเปลลูกผูกเห่ช้า | |||
อันที่จะทำมิ่งสิ่งขวัญ | เรื่องนั้นมอบไว้ให้คุณย่า | |||
ด้วยท่านเป็นผู้ใหญ่ได้เคยมา | ถึงหยูกยาสารพัดทั่นเข้าใจ | |||
อนึ่งพี่นึกได้ไปคราวนี้ | ท่วงทีจะได้พบท่านผู้ใหญ่ | |||
ด้วยเดินทางไม่ห่างสุโขทัย | ไปเชียงใหม่ก็จะผ่านบ้านจอมทอง | |||
จะสั่งเสียอย่างไรไปถึงบ้าง | หรือสองนางเจ้าอยากฝากข้าวของ | |||
พี่จะรับไปให้ดังใจปอง | ถ้าได้ช่องคงพบประสบกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นลาวทองแก้วกิริยา | ฟังว่าอกใจให้ไหวหวั่น | |||
จะร้องไห้กลัวลางในกลางคัน | อุตส่าห์กลั้นโศกาแล้วว่าไป | |||
พ่ออย่าได้รำพึงถึงตัวน้อง | จะปรองดองผูกสมัครรักใคร่ | |||
รับการงานให้ท่านคุณแม่ใช้ | จะตั้งใจปฏิบัติเป็นอัตรา | |||
ถ้าขึ้นไปได้พบกับพ่อแม่ | จงบอกแต่ว่าลูกเป็นสุขา | |||
แล้วผัวเมียต่างคนสนทนา | ด้วยสนิทเสนหาต่างอาลัย ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าขุนแผนแสนศักดา | ตื่นขึ้นเวลาปัจจุบันสมัย | |||
บ้วนปากล้างหน้าแล้วคลาไคล | ชวนลูกออกไปตระเตรียมทัพ | |||
ที่ตำบลวัดใหม่ชัยชุมพล | เป็นมงคลเคยตั้งตามตำรับ | |||
ผู้คนพร้อมพรั่งอยู่คั่งคับ | ขุนแผนกับลูกยาตรวจตราการ | |||
ทองประศรีลาวทองแก้วกิริยา | ก็ตามมาจัดเสบียงเลี้ยงอาหาร | |||
ทั้งบ่าวไพร่พวกพงศ์วงศ์วาร | ตามไปส่งพลุกพล่านทั้งลานวัด | |||
พระหมื่นศรีดีจริงไม่นิ่งได้ | พาลูกเมียบ่าวไพร่ไปเป็นขนัด | |||
ขาดเหลือเจอจานสารพัด | แล้วช่วยจัดข้าวของจะเอาไป | |||
ของใหญ่ให้เอาขึ้นหลังช้าง | วัวต่างนั้นบรรทุกเสบียงใส่ | |||
ที่เบาเบาเหล่าของต้องการใช้ | ให้พวกไพร่หาบหามตามติดนาย | |||
ครั้นจัดเสร็จเรียบร้อยคอยเวลา | โหราเหยียบเงาเอาชั้นฉาย | |||
พอถ้วนนาทีสี่โมงปลาย | ถึงฤกษ์จะขยายกระบวนพล ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | แต่เช้ามาหาสำรับอยู่สับสน | |||
ท้องแก่อลักเอลื่อก็เหลือทน | เจ็บท้องร้องทุรนจะขาดใจ | |||
ทองประศรีว้าวุ่นเรียกขุนแผน | แล้วลุกแล่นมาประคองทั้งสองไหล่ | |||
ขุนแผนทำน้ำสะเดาะให้ทันใด | กลืนเข้าไปพอตลอดคลอดลูกชาย | |||
ประจวบฤกษ์ดิถีกรีธาทัพ | ต้องตำรับว่าประเสริฐเลิศหลาย | |||
ทองประศรีอุ้มแอบไว้แนบกาย | ให้ชื่อพลายชุมพลรณรงค์ | |||
แล้วเรียกเรือมารับกลับเข้าบ้าน | ด้วยห่วงหลานลูกสะใภ้ไม่อยู่ส่ง | |||
พระหมื่นศรีรับว่าอย่าพะวง | จงวางใจให้ฉันไว้ทางนี้ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | ดูท้องฟ้าเห็นจำรัสรัศมี | |||
สบยามตามตำราว่าฤกษ์ดี | สั่งให้ตีฆ้องชัยไว้เดโช | |||
ยกจากวัดใหม่ชัยชุมพล | พวกพหลพร้อมพรั่งตั้งโห่ | |||
พระสงฆ์ส่งสวดชยันโต | ออกทุ่งโพธิ์สามต้นขับพลมา | |||
โห่ร้องฆ้องลั่นมาหึ่งหึ่ง | นายจันสามพันตึงเป็นกองหน้า | |||
กองหลังสีอาดราชอาญา | พวกทหารสามสิบห้าต่างคลาไคล | |||
บ้างคอนกระสอบหอบกัญชา | ตุ้งก่าใส่ย่ามตามเหงื่อไหล | |||
บ้างเหล้าใส่กระบอกหอกคอนไป | ล้าเมื่อไรใส่อึกไม่อื้ออึง | |||
บ้างห่อใบหระท่อมตะพายแล่ง | เงี่ยนยาหน้าแห้งตะแคงขึง | |||
ถุนกระท่อมใส่ห่อพอตึงตึง | ค่อยมีแรงเดินดึ่งถึงเพื่อนกัน ฯ | |||
๏ ขุนแผนพลายงามตามกันมา | ชักม้าข้ามทุ่งมุ่งไพรสัณฑ์ | |||
พอพ้นถิ่นก็สิ้นแสงตะวัน | ผ่อนผันหยุดพักพิตเพียน | |||
นายกำนันก็ชวนลูกบ้านช่อง | แบกสำรับเนืองนองไม่ต้องเฆี่ยน | |||
ไฟฟืนดื่นไปทั้งไต้เตียน | เยี่ยมเยียนกองทัพสับสนกัน | |||
พวกกองทัพทั้งสิ้นกินข้าวปลา | ชาวบ้านเอามาเลี้ยงที่นั่น | |||
แล้วกำนันไปจัดที่วัดพลัน | ให้พวกกองทัพนั้นอาศัยนอน | |||
รุ่งเช้าข้าวปลาหากินสรรพ | ขับกันรีบไปไม่หยุดหย่อน | |||
พ้นทุ่งเข้าป่ามาทางดอน | พอแดดกล้าหน้าร้อนอ่อนระทม | |||
มาถึงบ้านดาบก่งธนู | พักร้อนเข้าอยู่อาศัยร่ม | |||
พ่อลูกนั่งเล่นเย็นเย็นลม | เชยชมลูกชายสบายใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนจึงเรียกเจ้าพลายงาม | เดินตามไปที่ต้นไทรใหญ่ | |||
หมากพลูธูปเทียนเอาถือไป | ถึงต้นพระไทรก็กราบลง | |||
บอกว่าฟ้าฟื้นของพ่อฝัง | ไว้แต่ครั้งพระพิจิตรเขาบอกส่ง | |||
ดาบนี้มีฟทธิ์ปราบณรงค์ | ฝังไว้ตรงกิ่งทิศบูรพา | |||
พลายงามก็ขุดดินลงไป | พบดาบดีใจเป็นหนักหนา | |||
ส่งให้พ่อชักวาบปลาบนัยน์ตา | ขุนแผนทูนเกศาด้วยสุดรัก | |||
ดาบนี้ต่อไปจะให้เจ้า | รบพุ่งจะได้เอาไปเป็นหลัก | |||
อันฟ้าฟื้นเล่มนี้ดียิ่งนัก | ดาบอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเลย | |||
ถึงพระแสงทรงองค์กษัตริย์ | ไม่เทียมทัดของเราดอกเจ้าเอ๋ย | |||
จะฝึกเจ้าให้ใช้เสียให้เคย | ชมเชยดาบพลางทางเดินมา ฯ | |||
๏ กลับถึงที่สำนักแล้วพักผ่อน | ตะวันรอนแดดบ่ายลงชายป่า | |||
เตือนกันทั้งสิ้นกินข้าวปลา | พอเพลาลมตกยกต่อไป | |||
ค่ำลงหยุดนอนลพบุรี | เช้ายกจากที่อีกพักใหญ่ | |||
ตัดบางขามข้ามบ้านด่านโพธิ์ชัย | ล่องเข้าแขวงใกล้อู่ตะเภา | |||
ตรงมาหัวแดนภูเขาทอง | หนองบัวห้วยเฉียงเลี่ยงชายเขา | |||
ตัดลงชายดอนร้อนไม่เบา | พอย่างเข้าทุ่งหลวงเพลาพลบ | |||
ขุนแผนก็สั่งให้หยุดพัก | ที่ล้าเมื่อยเหนื่อยหนักนอนสลบ | |||
บรรดาพวกพหลพลรบ | จุดคบกองไฟไว้เป็นวง | |||
ลางคนหาเขียงหั่นกัญชา | นั่งชักตุ้งก่าจนคอก่ง | |||
บ้างมีแต่กัญชามานั่งลง | ผลัดกันหั่นส่งใส่ไฟโพลง | |||
ที่ไม่มีขอซื้อสามมื้อสลึง | พอส่งถึงรับหั่นชักควันโขมง | |||
อยากหวานเมางวงล้วงกระโปรง | บ้างโก้งโค้งค้นหาพุทรากวน | |||
พวกขี้ยาขึงผ้าขึ้นบังมิด | ลงนอนขิดกองไฟใส่กล้องง่วน | |||
สิ้นเนื้อเหลือขี้ลงรีรวน | จวนหมดอตส่าห์สงวนไว้ | |||
เพื่อนกันขอปันหุนละบาท | คราวขาดกลัวตายหาขายไม่ | |||
อ้ายที่เงี่ยนเต็มอ่อนวอนร่ำไร | ได้แต่ขี้สองชั้นพอกันตาย | |||
เอาดาบหอกออกแลกกับขี้ยา | จนชั้นขันล้างหน้าก็ยื่นขาย | |||
พอแก้เงี่ยนเหียนห้อยค่อยสบาย | กินอยู่พูวายแล้วหลับนอน ฯ | |||
ตอนที่ ๒๘ พลายงามได้นางศรีมาลา
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม | เพลายามสามหลับอยู่กับหมอน | ||
กำนัดหนุ่มกลุ้มใจให้อาวรณ์ | เทพเจ้าจึงสังหรณ์ให้เห็นตัว | ||
ฝันว่านารีเพิ่งรุ่นสาว | ผิวขาวคมคายมิใช่ชั่ว | ||
สองเต้าเต่งตั้งดังดอกบัว | มายืนยิ้มยั่วแล้วเยื้องกราย | ||
พอภปรายทายทักชักสนิท | นางเบือนบิดทำทีจะหนีหน่าย | ||
ก็ลุกรีบตามติดเข้าชิดกาย | คว้าเข้าเจ้าก็หายไปกับมือ | ||
เคลิ้มผวาคว้ากอดขุนแผนพ่อ | พูดจ้อนี่เจ้าไม่เมตตาหรือ | ||
ขุนแผนตื่นฟื้นตัวก็ผลักมือ | ร้องฮื้อพลายงามทำอะไร | ||
เจ้าพลายกลัวพ่อใจคอหวั่น | บอกว่าฝันเห็นผู้หญิงลูกวิ่งไล่ | ||
รุ่นสาวขาวอร่ามงามสุดใจ | จึงเผลอไปขอโทษได้โปรดปราน ฯ | ||
๏ ขุนแผนฟังความพลายงามเล่า | เอ๊ะออเจ้าช่างฝันดูขันจ้าน | ||
ฝันเช่นนี้มีตำรับแต่บุราณ | ใครฝันมักบันดาลได้เมียดี | ||
หรือจะถูกลูกเจ้าบ้านผ่านเมือง | ทำนายพลางย่างเยื้องออกจากที่ | ||
บอกกันทั่วหน้าบรรดามี | วันนี้ถึงพิจิตรไม่ทันเย็น | ||
ว่าแล้วเตือนกันกินข้าวปลา | รีบยกยาตราขะมักเขม้น | ||
ไม่หยุดหย่อนร้อนเหลือเหงื่อกรเด็น | พอแลเห็นเมืองแวะเข้าวัดจันทร์ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่านวลนางศรีมาลา | คืนวันนั้นนิทราก็ใฝ่ฝัน | ||
ว่าลงสระเล่นน้ำสำราญครัน | เห็นบุษบันดอกหนึ่งดูพึงตา | ||
ผุดขึ้นพ้นน้ำงามสะอาด | นางโผดผาดออกไปด้วยหรรษา | ||
เด็ดได้ดีใจว่ายกลับมา | กอดแนบแอบอุราประคองดม | ||
ลืมตาคว้าดูดอกบัวหาย | เสียดายนี่กระไรไม่ได้สม | ||
ปลุกอีเม้ยแก้ฝันหวั่นอารมณ์ | อีเม้ยชมว่าฝันของนายดี | ||
ดอกบัวคือผัวมิใช่อื่น | มิพรุ่งนี้ก็มะรืนคงถึงนี่ | ||
ไม่เหมือนอีเม้ยทายให้นายดี | ฝันอย่างนี้ได้ทายมาหลายคน | ||
ศรีมาลาว่าไฮ้อีมอญถ่อย | เอาผัวผ้อยมาพูดไม่เป็นผล | ||
อุตริทำนายทายสัปดน | ถึงใครใครให้จนเทวดา | ||
ถ้ามีหน้ามาเกี้ยวก็คงเก้อ | อย่าเพ้อเลยไม่อยากปรารถนา | ||
อยู่คนเดียวไม่สบายเอาชายมา | เขาย่อมว่ามันเป็นเจ้าหัวใจ | ||
อีเม้ยมอญคะนองร้องอุยย่าย | อย่าพักพูดเลยนายหาเชื่อไม่ | ||
ยังไม่พบปะก็พูดไป | ถึงตัวเข้าเมื่อไรได้ดูกัน | ||
บ่าวนายสัพยอกหยอกเย้า | รุ่งเช้าศรีมาลาก็ผายผัน | ||
ไปดูการบ้านเรือนเหมือนทุกวัน | นึกถึงฝันพรั่นใจไม่รู้วาย ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | พักอยู่อารามจนตกบ่าย | ||
จะเข้าไปในจวนชวนลูกชาย | แล้วย่างกรายบ่าวตามออกหลามไป | ||
ถือถาดหมากคนโทเป็นยศอย่าง | เดินมาตามทางกับบ่าวไพร่ | ||
พลายงามคิดถึงฝันปั่นป่วนใจ | เข้าในย่านตลาดก็แลชม | ||
ที่เหล่าร้านขายผ้ามีหน้าถัง | ลายสุหรัดมัดตั้งทั้งผ้าห่ม | ||
ร้านถ้วยชามรามไหมีอุดม | สะสมสินค้าสารพัด | ||
สิ่งของทองเหลืองทั้งเครื่องแก้ว | เป็นถ่องแถวคนผู้ดูแออัด | ||
พวกลูกสาวชาวร้านพานสันทัด | ทำเหยาะหยัดกิริยาท่าชาวกรุง | ||
พวกขมิ้นเหลืองจ้อยสอยไรจุก | มีแทบทุกหน้าถังบ้างเย็บถุง | ||
แต่ละหน้าหน้านวลชวนบำรุง | ใส่กลิ่นหอมฟุ้งสองฟากทาง | ||
นุ่งลายห่มสีไม่มีเศร้า | ผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวล่าง | ||
คนหนึ่งรูปขาวสาวสำอาง | ดูคล้ายนางคืนนี้เป็นนวลจันทร์ | ||
ครั้นเข้าใกล้แลเขม้นเป็นแต่แม้น | ไม่อ้อนแอ้นเหมือนนางที่ในฝัน | ||
ทั้งนมคล้อยหน่อยนึงจึงผิดกัน | นอกจากนั้นตะละอย่างต่างต่างไป | ||
นางนิมิตติดใจมิได้ลืม | ยิ่งป่วนปลื้มถึงฝันให้หวั่นไหว | ||
สู้เดินเมินหน้าไม่อาลัย | ล่วงตลาดเข้าไปในจวนพลัน ฯ | ||
๏ พระพิจิตรนั่งเล่นอยู่หอขวาง | เห็นคนเดินมาสล้างก็นึกหวั่น | ||
เอ๊ะข้าหลวงมาทำไมหลายคนครัน | ที่เดินหน้ามานั่นดังพระยา | ||
ครั้นดูไปจำได้ว่าขุนแผน | ดีใจลุกแล่นลงมาหา | ||
จูงมือขึ้นจวนชวนพูดจา | ขุนแผนวันทากับลูกชาย | ||
พระพิจิตรเรียกศรีบุษบา | ขุนแผนเขามาไปไหนหาย | ||
บุษบาเยี่ยมหน้าเห็นสองนาย | ยิ้มพรายออกมาด้วยดีใจ | ||
นั่งลงไต่ถามความทุกข์ยาก | แต่ไปจากแม่ได้แต่ร้องไห้ | ||
มิรู้ที่จะถามข่าวคราวใคร | ด้วยทางไกลเหลือไกลมิได้รู้ | ||
จะเป็นตายหายลับไปหลายปี | วันนี้แลหวังว่ายังอยู่ | ||
เห็นเจ้าเหมือนใครให้แก้วชู | ด้วยเอ็นดูเหมือนลูกจึงผูกใจ | ||
วันทองท้องแก่ไปแต่นี่ | คลอดง่ายดายดีหรือเจ็บไข้ | ||
ลูกเป็นชายหญิงอย่างกระไร | เดี๋ยวนี้อยู่ไหนไม่พามา ฯ | ||
๏ ขุนแผนเล่าความไปตามเรื่อง | เมื่อส่งไปจากเมืองก็สุขา | ||
เขาผ่อนปรนจนถึงอยุธยา | โปรดประทานโทษาไม่ฆ่าตี | ||
เป็นความกับขุนช้างก็ชนะ | ลูกไปอยู่บ้านพระจมื่นศรี | ||
เผอิญกรรมตามซัดวิบัติมี | ไปเห็นชั่วเป็นดีไม่ควรการ | ||
ให้ทูลขอลาวทองต้องติดคุก | ทนทุกข์โทษแทบถึงประหาร | ||
วันทองท้องแก่เหลือกันดาร | ทรมานว้าเหว่อยู่เอกา | ||
อ้ายขุนช้างบังอาจฉุดเอาไป | ไม่มีผู้ใดจะตามว่า | ||
จนคลอดลูกชายคนนี้มา | ชันษาเจ้าได้ถึงสิบปี | ||
มันจะเอาไปฆ่าในป่ใหญ่ | พลายช่วยไว้ได้ไม่เป็นผี | ||
หนีไปอยู่บ้านกาญจน์บุรี | แม่ทองประศรีเลี้ยงไว้ให้เรียนรู้ | ||
พอมีศึกเจ้าสะอึกเข้าอาสา | แต่ตัวข้ายังติดคุกอยู่ | ||
จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงเอ็นดู | ได้ช่องคูทูลขอพ่ออกมา | ||
ก็โปรดให้พลายงามด้วยความชอบ | รับสั่งมอบการศึกให้รักษา | ||
ประทานคนโทษที่มีวิชา | สามสิบห้าลูกหาบเจ็ดสิบคน | ||
ที่มานี่จะยกไปเชียงใหม่ | ไปจับอ้ายลาวตีให้ปี้ป่น | ||
นึกถึงคุณปกเกล้าเมื่อคราวจน | จึงแวะวนเข้ามนมัสการ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | ฟังขุนแผนว่าน่าสงสาร | ||
อนิจจาเคราะห์ร้ายแทบวายปราณ | นมนานน้อยหรือแต่ทนทุกข์ | ||
นี่หากลูกยากล้าทูลขอ | หวังจะแทนคุณพ่อสู้บั่นบุก | ||
หาไม่ก็จะตายอยู่ในคุก | เจ้าให้พ่อเป็นสุขมิเสียแรง | ||
ผัวเมียชอบอารมณ์ชมเปาะ | หน้าตาเหมาะเจาะใจกล้าแข็ง | ||
ชาติทหารเหมือนพ่อไม่ย่อแยง | ดูกล้องแกล้งนึกรักเฝ้าทักทาย | ||
แค้นใจแต่ท้องบุษบา | เป็นผู้หญิงเสียข้าขันใจหาย | ||
คิดคิดขึ้นมาน่าเสียดาย | ถ้าแม้นชายจะให้ไปด้วยพลัน | ||
ว่าพลางทางร้องเรียกลูกสาวมา | ศรีมาลาเอ๋ยนั่งทำไมนั่น | ||
ออกมาหาพี่ชายอย่าอายกัน | ศรีมาลาหวั่นหวั่นแล้วแอบมอง | ||
พี่เชื้อมาแต่ไหนไม่รู้จัก | ค่อยค่อยผลักบานประตูดูตามช่อง | ||
เห็นหนุ่มน้อยหน้านวลชวนคะนอง | สองคนพ่อลูกประหลาดตา | ||
อีเม้ยรับขยับเข้ายืนชิด | มือสะกิดเย้าเยาะหัวเราะว่า | ||
นั่นเป็นไรใครบนเทวดา | อีเม้ยทายแล้วว่าอย่าไม่ผิดคำ | ||
ศรีมาลาว่าชิอีขี้เค้า | ว่าได้ว่าเอาไม่เป็นส่ำ | ||
ขืนว่าแล้วจะด่าให้ระยำ | ค้อนควักหน้าคว่ำแล้วยิ้มเมิน | ||
พอพระพิจิตรเรียกซ้ำมา | ขานเจ้าขาค่อยเยี่ยมเฟี้ยมแฝงเขิน | ||
นางอุทัจอัดใจมิใคร่เดิน | ก้มสะเทินทรุดนั่งบังมารดา | ||
ยกมือไหว้ขุนแผนกับพลายงาม | ให้วาบหวามอารมณ์แล้วก้มหน้า | ||
พลายงามรับไหว้ชายแลมา | พอสบตาก็ตะลึงตะลานใจ | ||
คนนี้แลแน่แล้วที่เราฝัน | รูปโฉมโนมพรรณหาผิดไม่ | ||
น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร | ถึงนางในกรุงศรีไม่มีเทียม | ||
ดังพระจันทร์วันเพ็ญเมื่อผ่องผุด | บริสุทธิ์โอภาสสะอาดเอี่ยม | ||
สองแก้มแย้มเหมือนจะยั่วเรียม | งามเงี่ยมราศีผู้ดีจริง | ||
ทั้งจริตกิริรยามารยาท | ดูฉลาดไว้วางอย่างผู้หญิง | ||
อ่อนชะอ้อนเหมือนจะวอนให้ประวิง | จะยิ้มพรายก็พริ้งยิ่งเพราตา | ||
ดูไหนไม่ขัดแต่สักอย่าง | นี่คู่สร้างของเรากระมังหนา | ||
พอแลลอดสอดรับจับนัยน์ตา | ดังว่าเจ้าจะตัดเอาหัททัย | ||
หญิงอื่นหมื่นแสนที่เคยเห็น | ก็หาจับใจเป็นเช่นนี้ไม่ | ||
ถ้าแม้นได้ร่วมรักสักอึดใจ | จะตายไปก็ไม่คิดสักนิดเดียว | ||
นึกพลางเจ้าพลายร่ายพระเวท | ประสบเนตรเป่าไปให้ซ่านเสียว | ||
ศรีมาลาต้องมนตร์ขนลุกเกรียว | ชำเลืองเหลียวแลมาประหม่าใจ | ||
พอสบเนตรให้สะท้านละลานจิต | ยิ่งต่อตายิ่งคิดพิสมัย | ||
อกอ่อนร้อนรุ่มดังสุมไฟ | ไม่อยู่ได้นางก็ลาเข้ามาเรือน | ||
แอบช่องมองดูอยู่ข้างใน | ยิ่งเพ่งพิศพาใจอาลัยเลื่อน | ||
ความรักมีแต่ชักกระตุ้นเตือน | ฟั่นเฟือนดังจะคลั่งตั้งตามอง | ||
ชะชายคนนี้มิเสียแรง | ดังหนึ่งแกล้งหล่อเหลาไม่เศร้าหมอง | ||
ดูเนื้อตัวหน้าตาดังทาทอง | ไม่ขัดข้องสวยสมช่างคมคาย | ||
รู้สึกตัวนึกอายระคายเขิน | ไถลเดินเลยเข้าในห้องหาย | ||
อีเม้ยยิ้มกริ่มตามไปถามนาย | วันนี้ดูไม่สบายเป็นอย่างไร | ||
ออกไปไหว้พี่มาแต่กรุง | แล้ววิ่งกลับเข้ามุ้งเหมือนเป็นไข้ | ||
หรือผีสางทักทายนายตกใจ | ฉันจะบนบวงให้กบาลกิน | ||
ผีมาแต่กรุงหรือบ้านนอก | อย่าหลอนหลอกจงคลายให้หายสิ้น | ||
ขอผัดหน่อยคอยตะวันให้ตกดิน | ปัดยุงริ้นแล้วจะเซ่นในมุ้งนี้ | ||
ศรีมาลาต่อยหัวลงต้ำเหงาะ | เฝ้าค่อนเคาะร่ำไปไม่บัดสี | ||
นี่แลสัญชาติไพร่ที่ไหนมี | เซ่นผีในมุ้งมอญจัญไร | ||
เย้ากันจนตะวันนั้นเย็นลง | ศรีมาลายิ่งพะวงหลงใหล | ||
บุษบาเห็นช้าจึงเกริ่นไป | เป็นอย่างไรสำรับไม่จัดแจง | ||
ศรีมาลาฟังว่าก็ลุกไป | ช่วยดูแลข้าไทให้ตกแต่ง | ||
จัดสำรับอุดมทั้งต้มแกง | ฝาชีแดงปิดปกแล้วยกมา | ||
นางยกชามข้าวบ่าวยกสำรับ | ใจวับวับมิค่อยออกไปนอกฝา | ||
ครั้นถึงจัดวางข้างบิดา | ไม่อาจเงยดูหน้าเจ้าพลายงาม | ||
พระพิจิตรก็ชวนกันกินข้าว | เจ้าพลายร้อนเร่าประหวั่นหวาม | ||
ตะลึงแลศรีมาลาคว้าแต่ชาม | กลืนข้าวเหมือนหนามอยู่ในคอ | ||
กลัวเนื้อความจะฟุ้งสะดุ้งคิด | เหลือบดูพระพิจิตรแล้วดูพ่อ | ||
พระพิจิตรรู้ทีทำตัดพ้อ | อย่างไรหนอกินอยู่ดูระคาง | ||
กินอะไรไม่อร่อยหรือพ่อหรือ | ชาวเหนือฝีมือไม่เหมือนล่าง | ||
รสชาตปิ้งจี่มันจืดจาง | หัวเราะพลางหยอกเย้าเจ้าพลายงาม | ||
แล้วจึงชักชวนทั้งสองนาย | ค้างที่นี่เถิดสบายอย่าเกรงขาม | ||
บ้านมีอยู่ไยในอาราม | มาอยู่ตามชอบใจในหอนั้น | ||
อิ่มเสร็จแล้วสั่งศรีมาลา | ให้จัดแจงฟูกผ้าทุกสิ่งสรรพ์ | ||
ที่นอนน้อยกำมะหยี่นุ่นสองอัน | เสื่ออ่อนสองชั้นจัดออกมา ฯ | ||
๏ ขุนแผนถามพระพิจิตรพลัน | สีหมอกนั้นอยู่ดีหรือเจ้าขา | ||
พระพิจิตรบอกว่าสีหมอกม้า | อยู่ดีแต่ชราถนัดใจ | ||
เนื้อหนังพาลติดจะเหี่ยวคร่ำ | อันหญ้าน้ำค่ำเช้าหาขาดไม่ | ||
ข้าก็ช่วยเยี่ยมเยียนเวียนมาไป | เกณฑ์ให้อ้ายจันมันเลี้ยงดู | ||
ขุนแผนจึงชวนลูกชายพลัน | ไปเยี่ยมม้าด้วยกันเสียสักครู่ | ||
ว่าพลางทางออกนอกประตู | ตรงไปที่อยู่สีหมอกม้า | ||
อ้ายจันครั้นเห็นยกมือไหว้ | ฉันเลี้ยงไว้อ้วนพีดีหนักหนา | ||
พ่อลูกเข้าไปใกล้อาชา | ขุนแผนเสกหญ้าให้ม้ากิน ฯ | ||
๏ สีหมอกม้าหญ้ามนตร์เข้าดลใจ | จำได้รู้ภาษาพูดจาสิ้น | ||
ลงตีนโปกโปกโขกแผ่นดิน | เพียงจะดิ้นหลุดแหล่งด้วยดีใจ | ||
เลียชมดมทั่วทั้งกายา | ขุนแผนกอดม้าน้ำตาไหล | ||
ลูบหลังสีหมอกแล้วบอกไป | ข้านี้ต้องราชภัยเพิ่งพ้นมา | ||
ไปติดคุกจนลูกทูนขอโทษ | ท่านปล่อยโปรดจึงได้มาเห็นหน้า | ||
เจ้าพลายนี้ลูกวันทองน้องยา | ที่ท่านรับบุกป่ามากับเรา | ||
สีหมอกฟังเหลียวหน้าหาวันทอง | ไม่เห็นน้องอยู่ไหนให้สร้อยเศร้า | ||
มิรู้ที่จะถามความหนักเบา | เฝ้าแต่ดูลูกพ่อคลอน้ำตา ฯ | ||
๏ ขุนแผนบอกว่าข้าจะไปทัพ | หมายจะรับไปด้วยช่วยอาสา | ||
เพราะได้เคยเห็นใจแต่ไรมา | จะไปได้หรือว่าท่านหย่อนแรง | ||
สีหมอกดีใจจะไปทัพ | เต้นหรับร้องร่าดัดขาแข้ง | ||
ดังบอกว่าข้าจะไปอย่าได้แคลง | ขุนแผนแจ้งท่วงทีก็ดีใจ | ||
จึงเลือกเด็ดยอดหญ้ามาเต็มมือ | ถือเสกด้วยพระเวทมุขใหญ่ | ||
ป้อนม้ากินหญ้าในทันใด | ระงับโศกโรคภัยให้บรรเทา | ||
เดชะพระเวทวิเศษขลัง | สีหมอกมีกำลังขึ้นดังเก่า | ||
ผูกเครื่องเรืองอร่ามงามเพริศเพรา | ขุนแผนขี่เหยาะเหย่าออกมาพลัน | ||
ลองขับน้อยใหญ่ทั้งไล่หนี | ท่วงทีไวว่องคล่องขยัน | ||
ถึงม้าหนุ่มจะเปรียบไม่เทียบทัน | สารพันถูกทำนองด้วยว่องไง | ||
ขุนแผนดีใจลงจากหลัง | เรียกอ้ายจันมาสั่งหาช้าไม่ | ||
เอ็งดูให้อิ่มหนำสำราญใจ | จะขี่ไปในรุ่งพรุ่งนี้เช้าฯ | ||
๏ ครั้นสั่งแล้วขุนแผนแสนศักดา | เรียกลูกชายมาแถลงเล่า | ||
พ่อเกรงว่าช้าอยู่เหมือนดูเบา | เราจะยกในรุ่งขึ้นพรุ่งนี้ | ||
ด้วยปลอดสิ้นทักทอนยมขัน | เป็นฤกษ์เสาร์เก้าชั้นวิเศษศรี | ||
มีตบะจะชนะแก่ไพรี | เจ้านี้จะเห็นเป็นอย่างไร | ||
พลายงามความอาลัยศรีมาลา | ไม่รับมาว่าจะจากพิจิตรได้ | ||
จะแจ้งข้อกลัวพ่อไม่ตามใจ | จึงแก้ไขเบือนบิดคิดเจรจา | ||
ว่าไพร่พลบอบช้ำระกำอก | จะด่วนยกไปไหนนี่เจ้าขา | ||
ขอให้ไพร่พักสักเวลา | พอหายเหนื่อยเมื่อยล้าจึงคลาไคล | ||
ขุนแผนว่าดูเอาเถิดเจ้าพลาย | จะหยุดหาความสบายก็เป็นได้ | ||
การรับสั่งว่ายากลำบากไย | ที่ไหนจะเหมือนบ้านเรือนตน | ||
เจ้าพลายงามตอบว่าหามิได้ | ลูกจะใคร่ปลุกเครื่องอีกสักหน | ||
ด้วยยังหย่อนฤทธิ์เดชทั้งเวทมนตร์ | ขอพักพลปลุกเครื่องเสียสักนิด | ||
ขุนแผนว่าถ้าไปเสียให้ทัน | พรุ่งนี้เป็นวันมหาสิทธิ์ | ||
จะปลุกเครื่องก็เรืองอิทธิฤทธิ์ | ประกอบกิจกับฤกษ์ที่เบิกไพร | ||
อันพิธีในเรื่องปลุกเครื่องอาน | ทำในบ้านไม่เหมือนในป่าใหญ่ | ||
ด้วยบ้านเมืองผู้คนเกลื่อนกล่นไป | จะระงับดับใจไม่สู้ดี | ||
เจ้าพลายว่าป่าไม้จะปลุกฤทธิ์ | ไม่ประสิทธิ์เหมือนหนึ่งป่าช้าผี | ||
อยู่ในพาราป่าช้ามี | ก็เป็นที่สงัดเงียบปากคอ | ||
ขุนแผนรู้ว่าบิดก็คิดเคือง | เอ็งห่วงเมืองอยู่ทำไมไฉนหนอ | ||
ธุระสิ่งไรมีจะรีรอ | พ่อพูดมิฟังช่างกระไร | ||
พลายงามคร้ามพ่อไม่ต่อเถียง | พูดเลี่ยงว่าธุระหามีไม่ | ||
แล้วพ่อลูกก็พากันคลาไคล | ขึ้นจวนใหญ่พลายน้อยคะนึงนาง | ||
ขุนแผนพลายงามพระพิจิตร | ชอบชิดพูดจากันต่างต่าง | ||
ถึงเรื่องรบพุ่งแลทุ่งทาง | พูดพลางต่างหัวร่อกันเรื่อยไป ฯ | ||
๏ ครั้นสิ้นแสงสุริยนสนธยา | พระจันทราแย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล | ||
เคลื่อนคล้อนลอยฟ้านภาลัย | หมดเมฆปัถไหมไม่หมองมอม | ||
พระพายพามาลาละอองกลิ่น | รวยรินรสร่อนขจรหอม | ||
ศรีมาลาอาวรณ์นอนใจตรอม | ถนอมแนบหมอนข้างเคียงคะนึง | ||
โอ้พ่อพลายงามของน้องเอ๋ย | ใครเลยจะเอ็นดูให้รู้ถึง | ||
ว่าน้องนี้มีจิตคิดรำพึง | ดังศรตรึงทรวงโศกวิโยคคิด | ||
พ่อชายตามาสบเมื่อน้องแล | จะรู้แน่หรือจะแหนงแคลในจิต | ||
ดูลาดเลาเจ้าก็ใคร่จะเป็นมิตร | หรือวิปริตคิดว่าไม่ปรานี | ||
อกน้องยากนักด้วยเป็นหญิง | ต้องซ่อนรักหนักนิ่งอยู่กับที่ | ||
แม้นเป็นชายพ่อพลายเป็นสตรี | ค่ำวันนี้เป็นตายจะหมายไป | ||
นึกพลางนางนอนสะท้อนท้อ | น้ำตาคลอมิใคร่จะเคลิ้มได้ | ||
ให้เฟื่องฟุ้งพลุ่งพล่านรำคาญใจ | นึกอาลัยไปจนหลับกับที่นอน ฯ | ||
๏ พระพิจิตรขุนแผนพลายงาม | พูดกันจนยามไม่หยุดหย่อน | ||
พระพิจิตรว่าเช้าเจ้าจะจร | จงพักผ่อนเสียเถิดทั้งสองรา | ||
ว่าแล้วก็ลุกไปเข้าเรือน | พลายงามฟั่นเฟือนเป็นหนักหนา | ||
ชวนพ่อเข้านอนวอนพูดจา | คุณพ่อขานี่ดึกแล้วกระมัง | ||
ฉันวันนี้อย่างไรไม่สบาย | ระส่ำระสายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยสันหลัง | ||
จะนอนเสียแต่หัวค่ำเอากำลัง | จะได้ตั้งหน้ายกแต่เช้าไป ฯ | ||
ขุนแผนนึกในใจไอ้เจ้าชู้ | มันสำคัญว่ากูหารู้ไม่ | ||
กรรมกรรมเจียวจะทำเป็นอย่างไร | มันจะแกล้งให้ผู้ใหญ่ผิดใจกัน | ||
คิดแล้วก็ทำเป็นมารยา | หลับตานอนนิ่งไม่พลิกผัน | ||
คอยจับแยบคายลูกชายนั้น | ไม่วางใจให้หวั่นในอารมณ์ ฯ | ||
๏ เจ้าพลายก่ายหมอนทำนอนนิ่ง | สุดประวิงอกไหม้ไส้พุงขม | |||
กำเริบรักหนักแน่นแสนระทม | โอ้เจ้านมพวงพี่ศรีมาลา | |||
ป่านนี้เนื้ออ่อนจะนอนสนิท | หรือดวงจิตจะนึกเสนหา | |||
ดูทีเหมือนจะมีซึ่งเมตตา | แต่ทว่าเป็นหญิงก็นิ่งไว้ | |||
อันความรักหนักแน่นในอกพี่ | ข้อนี้เจ้ารู้หรือหาไม่ | |||
แม้นรู้เค้าเจ้าก็เห็นจะอาลัย | คงมิให้เสียทีพี่หมายชิด | |||
เขาย่อมว่าถ้ามีมิตรใจ | แล้วคงไม่สาบสูญมิตรจิต | |||
พี่รักเจ้าเทียมเท่าดวงชีวิต | นี่จะคิดฉันใดให้เป็นการ | |||
จะวนเวียนเพียรพูดให้ถึงปาก | ก็สุดยากเชิงชักสมัครสมาน | |||
ด้วยพรุ่งนี้ก็จะไปไม่อยู่นาน | จะพึ่งพานผู้ใดก็ไม่มี | |||
ถ้าจะไว้สู่ขอต่อขากลับ | เห็นตัวพี่นี้จะยับลงเป็นผี | |||
ด้วยความรักหนักใจเสียเต็มที | จะทวีขึ้นทุกวันจนบรรลัย | |||
จำจะคิดเข้าสนิทให่สมนึก | จึงจะคิดทำศึกต่อไปได้ | |||
แม้นมิได้ศรีมาลายาใจ | ซึ่งจะไปเชียงใหม่อย่าสงกา | |||
ตามแต่บุญกรรมเถิดน้องแก้ว | คนหลับแล้วจะลอบเข้าไปหา | |||
ถ้าแม้นแก้วพี่มิเมตตา | ก็ตามแต่เวราจะเป็นไป | |||
ยิ่งนึกยิ่งตรมอารมณ์หมอง | แสงเดือนเด่นส่องสว่างไสว | |||
น้ำค้างพร่างพร้อยละห้อยใจ | เสียงไก่แก้วขันกระชั้นยาม | |||
ฟังพ่อรอหูดูจนใกล้ | ไม่ไว้ใจแคลงคลำแล้วทำถาม | |||
ขุนแผนรู้แยบคายเจ้าพลายงาม | ไม่ตอบความนิ่งอยู่จะดูที | |||
เจ้าพลายสำคัญว่าพ่อหลับ | ค่อยขยับลุกย่องมาจากที่ | |||
พอออกนอกห้องได้ก็ยินดี | หมายว่าหนีพ้นพ่อรอบังเงา ฯ | |||
๏ ขุนแผนลุกมองแล้วย่องตาม | พอทันถามออกมาทำไมเจ้า | |||
พลายงามแก้เก้อละเมอเดา | ฉันจะออกไปเบาที่นอกชาน | |||
วันนี้มันให้ปวดแต่ท้องเยี่ยว | หลายเที่ยวแล้วด้วยกล่อนมันสังหาร | |||
จะปลุกพ่อขอยารับประทาน | ขุนแผนว่าไม่ได้การแล้วเจ้าพลาย | |||
อ้ายโรคกล่อนเช่นนี้มันขี้ถ่อย | หมอสักร้อยรักษาก็ไม่หาย | |||
ว่าพลางทางจูงมือลูกชาย | ย่างกรายเข้าห้องต้องระวัง ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามขัดใจไม่เป็นสุข | ล้มนอนแล้วลุกทะลึ่งนั่ง | |||
แค้นพ่อเหมือนหัวอกจะฟกพัง | กระไรช่างแกล้งได้ไม่เมตตา | |||
เป็นไรมีดีแล้วว่าไม่หลับ | จะคอยจับให้ได้ก็ไม่ว่า | |||
พลางร่ายมนตร์ขลังสั่งนิทรา | ตั้งสมาธิปลงตรงภวังค์ | |||
เป่าต้องขุนแผนแสนสนิท | ก็เคลิ้มจิตด้วยพระเวทวิเศษขลัง | |||
หลับสนิทแน่วนิ่งลงจริงจัง | พลายงามสมหวังสิ้นอาวรณ์ | |||
ขยับเท้าก้าวย่างออกจากห้อง | พระจันทร์ส่องแสงจำรัสประภัสสร | |||
พระพายพัดบุปผาพาขจร | รวยรินรสอ่อนระรื่นไป ฯ | |||
๏ มาถึงเรือนที่ศรีมาลาอยู่ | แอบบังเงาดูด้วยสงสัย | |||
หลังนี้ดอกกระมังยืนชั่งใจ | แสงไฟวับวามตามตะเกียง | |||
คิดพลางทางร่ายมนตร์สะกด | หลับหมดเงียบดีไม่มีเสียง | |||
สะเดาะกลอนถอนหลุดแล้วมองเมียง | เลี่ยงเข้าในห้องย่องเดินมา | |||
อัจกลับตามวางกระจ่างแสง | เจ้าตกแต่งเครื่องเรือนไว้หนักหนา | |||
เครื่องแป้งจัดตั้งไว้หลังม้า | ขันล้างหน้าพานรองของผู้ดี | |||
เครื่องนากเครื่องทองสองสำรับ | เรียงลำดับวางไว้เป็นที่ที่ | |||
โถขี้ผึ้งแป้งร่ำน้ำมันตานี | โต๊ะหวีตั้งเรียงไว้เคียงกัน | |||
โตกพานหีบปัดจัดตั้งซ้อน | ทั้งผ้าผ่อนพับเรียบทุกสิ่งสรรพ์ | |||
เครื่องไหว้พระนั้นจัดอัฒจันทร์ | คันฉ่องแกะงาเป็นหน้าพรหม | |||
กระจกใหญ่ใส่ตั้งทั้งไม้สอย | อุบะห้อยรื่นรวยดูสวยสม | |||
สะอาดสะอ้านลานตาน่านิยม | พลางชมม่านกางข้างที่นอน | |||
พื้นไหมใส่ทองเป็นลายปัก | น่ารักรูปร่างบางชะอ้อน | |||
ปักระเด่นเป็นไข้ใจอาวรณ์ | ทุรนร้อนรักนุชบุษบา | |||
เอาไฟเผาเข้าลักพระน้องนาฎ | โอบอุ้มใส่ราชรถา | |||
ระเด่นแกล้งแปลงเป็นจรกา | ปักเป็นบุษบาเจ้าจาบัลย์ | |||
๏ พระรีบเร่งชักรถถึงคีรี | เข้าสู่ถ้ำมณีภิรมย์ขวัญ | |||
สองกษัตริย์เชยชมสมสู่กัน | พอรุ่งแสงสุริยันก็จากนาง | |||
เข้ามาเมืองจะเปลื้องความสงสัย | สั่งพี่เลี้ยงไว้มิให้ห่าง | |||
ผลกรรมจำจากจะพรากร้าง | เผอิญข้างนางนึกนิยมไป | |||
ออกทรงรถชมพรรณบุปผา | ปักปะการะตาหลาอันเป็นใหญ่ | |||
ให้ลมเพชรหึงลั่นสนั่นไพร | พัดพาอรไทไปทั้งรถ | |||
ครั้นไกลไปตกกลงกลางป่า | บุษบายิ่งแสนโศกกำสรด | |||
คิดถึงพระองค์ผู้ทรงยศ | นางระทดระทวยแทบทำลายชนม์ | |||
ปักเป็นระเด่นเที่ยวตามหา | ค้นคว้าจบแหล่งทุกแห่งหน | |||
พระวงศาแยกย้ายหลายตำบล | แปลงตนเป็นปันจุเหร็จไพร | |||
ฉลาดนักปักงามนี้น้อยหรือ | ช่างฟัดครือเรื่องพี่หาผิดไม่ | |||
อันองค์บุษบายาใจ | พิเคราะห์ไปเหมือนเจ้าศรีมาลา | |||
อันอกของระเด่นมนตรี | เหมือนอกพี่นี่ที่โหยหา | |||
คล้ายระเด่นกับพระนุชบุษบา | แต่ไม่มีจรกาจึงผิดกัน | |||
ถ้าใครเป็จรกาเข้ามาแกล้ง | พี่ไม่แปลงอย่างเช่นระเด่นนั่น | |||
จะจิกหัวจรกาเอามาฟัน | แล้วสรวลสันต์ผันแปรแลชำเลือง | |||
เตียงจีนตีนตั้งบนตัวสิงห์ | ฉลุลายพรายพริ้งพร้อมทั้งเครื่อง | |||
แลวิจิตรปิดทองดูรองเรือง | มุ้งเหลืองแพรดอกกกระเด็นลอย | |||
หน้าระบายลายทับสลับสี | มุ้งผู้ดีมีแส้หางม้าห้อย | |||
เปิดมุ้งเมียงมองเห็นน้องน้อย | เจ้าหลับผ็อยเพ่งพิศจิตทะยาน | |||
พักตร์พริ้มเหมือนยิ้มอยู่ทั้งหลับ | ประทีปจับหน้านวลชวนสมาน | |||
เจ้านิทรามารยาทไม่มีปาน | ยิ่งคิดก็ยิ่งซ่านสวาทเตือน | |||
ค่อยประคองลองจูบเจ้าทั้งหลับ | หอมกระไรใจวับขยับเขยื้อน | |||
พอต้องเต้าตัวสั่นให้ฟั่นเฟือน | ค่อยลูบเลื่อนโลมเล้าละลานใจ | |||
จับแล้ววางเล่าเฝ้ากลัดกลุ้ม | ด้วยรุ่นหนุ่มชู้สาวหาเคยไม่ | |||
จะปลุกนางกลัวร้องย่องห่างไป | คลายเวทแล้วก็ไอให้สำเนียง ฯ | |||
๏ ครานั้นศรีมาลานารี | รู้สึกสมประดีได้ยินเสียง | |||
ลืมตาเห็นชายอยู่ปลายเตียง | เจ้ามองเมียงจำได้ว่าพลายงาม | |||
นึกสำคัญในจิตคิดว่าฝัน | ไม่หวาดหวั่นยิ้มแล้วก็ทักถาม | |||
นึกอย่างไรใจกล้าเข้ามาตาม | จะเกิดความงามหน้าพากันอาย | |||
เจ้าพลายได้ฟังเข้านั่งอิง | นางรู้ว่าคนจริงมิ่งขวัญหาย | |||
ตกใจเพียงจะดิ้นสิ้นใจตาย | ร้องว้ายแล้วก็ซบสลบไป ฯ | |||
๏ อีเม้ยรับหลับอยู่ที่เฉลียง | ได้ยินเสียงนายร้องก็จำได้ | |||
ลุกขึ้นด้วยตระหนกตกใจ | เข้าในห้องมองเมียงถึงเตียงพลัน | |||
เห็นเจ้าหนุ่มอุ้มนางวางบนตัก | รู้จักว่าเจ้าพลายที่หมายมั่น | |||
ก็แจ้งใจในเหตุปัจจุบัน | มาฉวยขันน้ำส่งให้เจ้าพลาย | |||
พ่อเอาผ้าชุบน้ำนี้ลูบหน้า | ลูบไล้ไปมากว่าจะหาย | |||
แล้วปลอบโยนตามใจให้สบาย | ถ้าขืนใจแล้วจะตายในพริบตา | |||
ว่าแล้วปิดห้องย่องกลับไป | อีเม้ยยิ้มละไมอยู่ในหน้า | |||
คอยดูผู้คนจะไปมา | ด้วยสงสารศรีมาลากับพลายงาม ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงท่านพระพิจิตร | หลับสนิทเสียงลูกตกใจหวาม | |||
จะเกิดเหตุอะไรไม่รู้ความ | จึงร้องถามอีเม้ยเฮ้ยเป็นไร | |||
กูแว่วเหมือนเสียงศรีมาลา | มึงลืมตาขึ้นฟังมั่งหรือไม่ | |||
อีเม้ยเอ่ยตอบไปทันใด | นายท่านเรียกฉันไปให้ปัดยุง | |||
ปัดไปปัดมาไม่ทันดู | จิ้งจกมันอยู่ที่ในอุ้ง | |||
ฉันปัดมันพลัดลงจากมุ้ง | ถูกพุงเธอจึงร้องออกก้องเรือน | |||
พระพิจิตรว่าดูอีมอญถ่อย | สักหน่อยอ่อนจะเลยเป็นกลากเกลื้อน | |||
บุษบาว่าฉันก็ได้เตือน | มันไม่เชือนดูแลแต่กลางวัน ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าขุนแผนอยู่หอนั่ง | สะดุ้งฟื้นตื่นฟังใจหวั่นหวั่น | |||
ออพลายหายแล้วไม่แคล้วกัน | อ้ายขี้เค้าคงถลันไปเข้ามุ้ง | |||
อ้ายลูกเจ้ากรรมมาทำเข็ญ | พรุ่งนี้ทีเห็นจะเกิดยุ่ง | |||
แต่ตริตรองแก้ไขสิ้นไส้พุง | คืนยังรุ่งไม่ระงับหลับนอน ฯ | |||
๏ ครานั้นนารีศรีมาลา | ค่อยฟื้นตื่นมายังเหนื่อยอ่อน | |||
ได้สติลืมตาด้วยอาวรณ์ | เห็นเจ้าพลายกอดช้อนไว้ทั้งตัว | |||
มือหนึ่งลูบน้ำชดลมหน้า | นางประหม่าขนพองสยองหัว | |||
ใจเต้นหวามหวามด้วยความกลัว | ยังมึนมัวมิรู้ที่จะหนีไป | |||
จึงค่อยเคลื่อนเลื่อนตัวลงจากตัก | ละอายนักนิ่งนอนถอนใจใหญ่ | |||
ค่อยกระดิกพลิกตัวเข้าข้างใน | เจ้าแกล้งหันหลังให้ไม่แลดู ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามสวาท | ยังไม่อาจถามทักเป็นสักครู่ | |||
ด้วยอาการอย่างไรยังไม่รู้ | เห็นนอนอยู่ดิบดีค่อยมีใจ | |||
จึงหยิบพัดหางปลามารำเพย | น้องเอ๋ยนอนเถิดจะพัดให้ | |||
เมื่อตะกี้พี่วิตกนี่กระไร | ถ้าบรรลัยพี่ชายจะตายตาม | |||
พี่บนบวงเทวดาคงมาช่วย | จึงรอดด้วยเทพไทมิได้ห้าม | |||
ท่านเอ็นดูโฉมฉายกับพลายงาม | เพราะเห็นความรักพี่มีต่อน้อง | |||
แต่แลพบสบตาเมื่อมาถึง | พี่เหมือนหนึ่งกับปลามาติดข้อง | |||
ทุรนร้อนรักรึงคะนึงปอง | ถ้าเจ้าไม่ปรองดองก็ถึงตาย | |||
เหลือที่พี่จะโศกโรครักร้าง | ช่วยรักษาพี่บ้างพอห่างหาย | |||
เชิญเจ้าผินหน้ามาหาพี่ชาย | พูดภิปรายพอให้พี่มีน้ำใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | ได้ฟังวาจายิ่งรักใคร่ | |||
แต่หากมารยาแกล้งว่าไป | นี่อยากรู้ว่าใครให้เข้ามา | |||
เป็นผู้ดีช่างไม่มีอัชฌาสัย | ไม่เกรงใจพ่อแม่แต่สักหน้า | |||
รู้จักกันไม่ทันล่วงเวลา | จะมาฆ่าแท้แท้แก้ว่ารัก | |||
รักจริงนิ่งไยมิไปขอ | บอกแม่พ่อเป็นผู้ใหญ่ให้ประจักษ์ | |||
ล่วงเกินแล้วมาเชิญให้ทายทัก | นี่จะให้ใครสมัครไปทักทาย ฯ | |||
๏ อนิจจาแก้วตาช่างว่าได้ | ไม่เห็นใจหรือว่ารักสมัครหมาย | |||
พี่กล้ามาถึงตัวไม่กลัวตาย | ก็เพราะรักโฉมฉายกว่าชีวิต | |||
ถ้าสามารถอาจขอต่อพ่อแม่ | แน่แล้วพี่จะขอต่อพระพิจิตร | |||
ท่วงทีก็จะสมอารมณ์คิด | ท่านเป็นมิตรกับบิดามาช้านาน | |||
เมื่อนั่งกินข้าวเย็นเห็นหรือเปล่า | ท่านหยอกเย้าพี่อย่างว่าลูกหลาน | |||
แต่สุดคิดเพราะติดราชการ | จะต้องคุมพวกทหารไปพรุ่งนี้ | |||
ถ้าร้างรักหักใจไปจากเจ้า | ทุกค่ำเช้าจะระทมดังตรมฝี | |||
คงบรรลัยไม่ทันเป็นไมตรี | ใช่ว่าพี่จงจิตจะคิดร้าย | |||
เพราะขัดขวางอย่างอื่นไม่คิดเห็น | จำเป็นจึงเข้ามาหาโฉมฉาย | |||
ถ้าเจ้าไม่ปรานีพี่ยอมตาย | ขอฝากกายไว้ในห้องของน้องรัก ฯ | |||
๏ ศรีมาลาฟังความพลายงามว่า | นางตรึกตราทุกสิ่งจริงประจักษ์ | |||
นึกถึงตัวกลัวอายยิ่งร้ายนัก | เหมือนชวนชักชายไว้ที่ในเรือน | |||
ถึงเพียงนี้แล้วที่ไหนจะไปจาก | ยากที่จะผลัดวันประกันเลื่อน | |||
ทั้งใจนางความรักก็ตักเตือน | จึงลุกเบือนหน้าค้อนเข้าพลายงาม | |||
อ้อชาวกรุงศรีเช่นนี้เจียว | ฉลาดเฉลียวลิ้นลมเป็นคมหนาม | |||
จะว่าไรแก้ไขได้ทุกความ | มิน่าหญิงวิ่งตามกันปรอปรอ | |||
ขึ้นมาถึงพิจิตรติดผู้หญิง | ครั้นติดทัพกลับนิ่งไม่สูขอ | |||
ไปทัพก็ไม่ไปไถลรอ | จนแม่พ่อหลับใหลเข้าในเรือน | |||
ไม่คบค้าก็ว่าจะบรรลัย | ชาวบ้านนอกที่ไหนใครจะเหมือน | |||
ถ้าหญิงใดใจเบาให้เจ้าเชือน | ไม่ถึงเดือนก็จะทิ้งวิ่งไปทัพ | |||
ปล่อยนางร้างเปล่าอยู่ข้างนี้ | ต้องให้คอยร้อยปีไม่มีกลับ | |||
ให้เสียตัวชั่วช้ำระกำยับ | เพราะสับปลับหลงเสน่ห์เล่ห์ชาวกรุง | |||
ฉันขอบคุณที่อุตส่าห์รักษาไข้ | ไปเสียเถิดพ่อไปจะใกล้รุ่ง | |||
ถ้าพ่อแม่รู้ความจะลามนุง | จะโกรธยุ่งไม่ได้ดังใจปอง ฯ | |||
๏ น้องเอ๋ยที่จะไปอย่าได้คิด | สิ้นชีวิตก็จะตายอยู่ในห้อง | |||
พี่ไม่ลวงหลอกดอกนะน้อง | จะครอบครองเป็นคู่อยู่จนตาย | |||
ปรานีพี่เถิดอย่าเฝ้าดื้อ | ได้ถูกถือแล้วเช่นนี้ไม่มีหน่าย | |||
ว่าพลางอิงแอบเข้าแนบกาย | เจ้าพลายจับต้องจะลองใจ ฯ | |||
๏ ศรีมาลาป้องปัดสะบัดเบี่ยง | เขาว่าแล้วยังเมียงเข้ามาใกล้ | |||
สัญญาว่าแต่ปากยากอะไร | อย่าด่วนได้นะจงยั้งตั้งใจคิด | |||
ถ้าจริงใจก็ให้ความสัตย์ก่อน | ให้แน่นอนภายหน้าว่าสุจริต | |||
เชื่อได้จึงจะปลงลงเป็นมิตร | ถ้าเบือนบิดอย่าสำรวยให้ป่วยการ ฯ | |||
๏ จริงจริงกระนั้นหรือน้องแก้ว | มันก็แล้วมิให้น้องต้องว่าขาน | |||
พี่จะให้ความสัตย์ปฏิญาณ | ขอบันดาลเทพยดาจงมาฟัง | |||
ถ้าพี่นี้ทิ้งขว้างร้างหย่า | ไม่เลี้ยงเจ้าศรีมาลาไปวันหลัง | |||
ขอให้มีอันเป็นเห็นจริงจัง | ลงนรกตกกระทั่งถึงโลกันต์ | |||
พี่ให้สัตย์ปฏิญญาณอย่างนี้แล้ว | น้องแก้วยังสงสัยหรือไรนั่น | |||
เชิญเจ้าช่วยรับรักพี่หนักครัน | จะหวาดหวั่นต่อไปไม่ต้องการ ฯ | |||
๏ เห็นแล้วหม่อมพี่ที่รักน้อง | คงปรองดองร่วมรักสมัครสมาน | |||
แต่ฉันยังเป็นไข้ให้สะท้าน | ขอผัดพอนานนานจะตามใจ | |||
เจ้าพลายรู้ใจไข้มารยา | ไม่รอช้ากอดรัดกระหวัดไขว่ | |||
ประจงจูบลูบลอดในสไบ | นางผลักไสอยู่จนพับกับที่นอน | |||
ทั้งหนุ่มสาวคราวแรกภิรมย์รัก | ไม่ประจักษ์เสนหามาแต่ก่อน | |||
กำเริบรักเหลือทนทุรนร้อน | พอร่วมหมอนก็เห็นเป็นอัศจรรย์ | |||
เหมือนเกิดพายุกล้ามาเป็นคลื่น | ครืนครืนฟ้าร้องก้องสนั่น | |||
พอฟ้าแลบแปลบเปรี้ยงลงทันควัน | สะเทือนลั่นดินฟ้าจลาจล | |||
นทีตีฟองนองฝั่งฝา | ท้องฟ้าโปรยปรายด้วยสายฝน | |||
โลกธาตุหวาดไหวในกมล | ทั้งสองคนรสรักประจักษ์ใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | เสนหาพะวงหลงใหล | |||
แอบผัวเคียงข้างไม่ห่างไกล | เอาสไบซับเนื้อที่เหื่อนอง | |||
พัดพลางถามผัวกลัวอิดโรย | หิวโหยหรือข้าจะหาของ | |||
เจ้าพลายสวมสอดกอดประคอง | ได้แนบน้องเนื้อนิ่มพี่อิ่มทิพย์ | |||
กินอยู่ไม่ต้องกล่าวทั้งคาวหวาน | ขึ้นสวรรค์เห็นวิมานอยู่หวิบหวิบ | |||
ต่าคะนึงคลึงเคล้าเฝ้ากระซิบ | งุบงิบกันจนม่อยผ็อยหลับไป ฯ | |||
๏ จวนอรุณเรื่อฟ้านภาแผ้ว | ไก่แก้วขันเร่งปัจจุสมัย | |||
ศรีมาลาตื่นนอนถอนฤทัย | ด้วยจำใจจะต้องพรากจากผัวนั้น | |||
นางล้างหน้าทาแป้งแล้วหวีหัว | ค่อยขยับจับตัวผัวปลุกสั่น | |||
ตื่นเถิดจวนจะแจ้งแสงตะวัน | อยู่ด้วยกันช้าไปจะได้อาย | |||
เจ้าพลายตื่นฟื้นตัวมัวแต่จูบ | โลมลูบอยู่ใม่ใคร่จะผันผาย | |||
จะเหินห่างนางไปให้เสียดาย | ซังตายลุกมาล้างหน้าพลัน | |||
ศรีมาลามพาไปที่เครื่องแป้ง | ตกแต่งแป้งร่ำน้ำดอกไม้กลั่น | |||
เจือกระแจะปรุงประทิ่นกลิ่นจวงจันทน์ | นางจัดสรรให้ผัวแต่งตัวไป | |||
เจ้าพลายประแป้งแต่งตัวแล้ว | จะคลาดแคล้วสะท้อนถอนใจใหญ่ | |||
นั่งลงอุ้มนางวางตักไว้ | ยิ่งอาลัยยิ่งอนาถไม่อาจจร ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | เจ้าโศกาสะอึกสอื้นอ้อน | |||
นึกได้เหลียวหน้ามาว่าวอน | คิดก่อนนะจะไปไกลจากน้อง | |||
เรื่องของเราผู้ใหญ่ไม่รู้ความ | ต้องคิดอ่านลากหนามไว้จุกช่อง | |||
พ่อไปเผื่อใครจะขอร้อง | อย่าให้ต้องขืนขัดคำบิดา | |||
ถึงน้องจะยากเข็ญเป็นอย่างไร | ก็คงจะเอาใจไว้รอท่า | |||
เสร็จราชการทัพจงกลับมา | อย่าเชือนช้าให้ม้วยด้วยตรอมใจ | |||
พลายงามความอาลัยใจละเหี่ย | ฟังเมียไม่กลั้นน้ำตาได้ | |||
พี่นี้เหลือที่จะห่วงใย | พี่จะไปบอกพ่อให้ขอน้อง | |||
ถึงกระไรให้ขอพอได้หมั้น | ป้องกันมิให้ใครเกี่ยวข้อง | |||
ถ้าหากว่าบิดาไม่ปรองดอง | ถึงจะต้องฟันคอมิขอไป | |||
อย่าวิตกหมกไหม้เลยน้องแก้ว | ไปแล้วพี่หาลืมปลื้มจิตไม่ | |||
เจ้าจงจำคำสัตย์ของพี่ไว้ | เสร็จศึกเมื่อไรจะรีบมา | |||
อย่าร้องไห้ไปนักจงฟังพี่ | พรุ่งนี้ใครเห็นจะผิดหน้า | |||
ว่าพลางทางช่วยเช็ดน้ำตา | แล้วจูบซ้ายย้ายขวาจะลาจร | |||
ศรีมาลาอาลัยใจจะขาด | นางมิอาจดูหน้าดังแต่ก่อน | |||
ผละผัวตัวเจ้าเข้าที่นอน | ลงแอบหมอนซ่อนหน้าโศกาลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | แลตามเมียขวัญให้หวั่นไหว | |||
รามรามจะใคร่ตามกลับเข้าไป | แต่จนใจจะกระจ่างสว่างฟ้า | |||
หักใจเดินออกมานอกห้อง | ค่อยค่อยย่องบังเงาเข้าริมฝา | |||
ถึงหอนั่งตั้งใจจะไสยา | เห็นบิดาตื่นอยู่ก็ตกใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | เห็นพลายงามถามว่ามาแต่ไหน | |||
เจ้าพลายทำเฉยเอ่ยตอบไป | ฉันปวดท้องลงบันไดไปที่เว็จ | |||
ขุนแผนว่าเว็จไหนในเมืองนี้ | ถึงกับมีเครื่องแป้งแต่งตัวเสร็จ | |||
หน้าตาทาแป้งเป็นเม็ดเม็ด | กูรู้เช่นเห็นเท็จอย่าหลอกลวง | |||
มาอยู่บ้านพระพิจิตรผู้บิดา | พระคุณท่านมีมาเป็นใหญ่หลวง | |||
เอ็งนี้จ้วงจาบละลาบละล้วง | บังอาจล่วงลูกท่านผู้มีคุณ | |||
หากว่าติดนิดหนึ่งด้วยการทัพ | หาไม่กูจะขับลงใต้ถุน | |||
ไม่ถูกหวายลายพร้อยก็เป็นบุญ | ทำวุ่นแล้วจะว่าประการใด ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามสวาท | ฟังพ่อบริภาษหาเถียงไม่ | |||
คิดไปได้ทีก็ดีใจ | กราบไหว้ว่าลูกนี้ผิดจริง | |||
ด้วยความรักอักอ่วนเหลือกำลัง | ราวจะคลั่งจะใคล้ไปทุกสิ่ง | |||
มิรู้ที่จะสลัดตัดทิ้ง | ถ้าขืนนิ่งไปศึกนึกว่าตาย | |||
จะพึ่งบุญคุณพ่อช่วยขอสู่ | ก็ว่าจะไม่อยู่ตอนบ่าย | |||
คิดไปไม่ตลอดจะวอดวาย | จึงปีนป่ายเข้าห้องน้องศรีมาลา | |||
อ่อนก็เป็นมิตรจิตไม่แหนง | คุณพ่อก็เห็นแป้งที่ประหน้า | |||
ลูกได้ให้คำมั่นเป็นสัญญา | ว่าจะบอกบิดาให้ขอร้อง | |||
ถึงกระไรได้หมั้นพอกันเท็จ | การเบ็ดเสร็จไว้ว่าเมื่อขาล่อง | |||
คุณพ่อโปรดด้วยช่วยปรองดอง | จะได้คล่องอกใจไปราวี ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | นิ่งคิดใคร่ครวญดูถ้วนถี่ | |||
การทั้งปวงล่วงเลยถึงเเพียงนี้ | จะทิ้งไปไม่ดีเป็นเนรคุณ | |||
อองามก็หลงจนงงงวย | ไม่ช่วยไปข้างหน้าจะว้าวุ่น | |||
ตกกระไดพลอยโผนโจนตามบุญ | ทำเป็นหุนหันโกรธเจ้าพลายงาม | |||
อ้ายลูกนอกพ่อก่อความร้อน | เมื่อแต่ก่อนทำไมไม่ไต่ถาม | |||
เอาแต่ใจหนุ่มตะกรุมตะกราม | เกิดความแล้วมาง้อพ่อทำไม | |||
ถ้าไม่รักพระพิจิตรผู้บิดา | กูหาพักพูดจาให้มึงไม่ | |||
ลูกของท่านท่านรักดังดวงใจ | มึงทำให้เสียตัวเหมือนชั่วช้า | |||
ก็จะต้องแก้ไขเสียให้หาย | อย่าให้ท่านอับอายขายหน้า | |||
ถ้าวันหน้าทิ้งขว้างนางศรีมาลา | กูมิฆ่าอย่านับว่าเป็นชาย | |||
เจ้าพลายดีใจกราบไหว้พ่อ | ข้อนั้นมิให้มีที่เสียหาย | |||
ว่าพลางล้างหน้าทั้งสองนาย | แล้วเยื้องกรายออกมาอยู่หน้าเรือน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงนวลนางศรีมาลา | โศกาอาลัยใครจะเหมือน | |||
กอดหมอนถอนใจให้ฟั่นเฟือน | นอนแชเชือนจนเช้าเจ้าไม่ลุก | |||
อีเม้ยเห็นนายยังหายเงียบ | ค่อยย่องเกรียบไถลเข้าไปปลุก | |||
เห็นนายเฉยเลยทำเหมือนเป็นทุกข์ | ลงนั่งปุกแกล้งสะท้อนแล้วถอนใจ | |||
อนิจจาขัดสนช่างจนยาก | แต่จะหาใส่ปากมิใคร่ได้ | |||
ยังมาซ้ำฝันเห็นให้เป็นไป | ว่าเทพไทเธอมาเมื่อคืนนี้ | |||
กลับไปเมื่อใกล้จะสว่าง | ไปกลางทางเธออยากหมากบุหรี่ | |||
เบี้ยหอยแต่สักร้อยก็ไม่มี | จะเอาที่ไหนไปให้เทวดา | |||
นายตื่นจะต้องขึ้นค่าตัวใช้ | ด้วยสงสารเทพไทเป็นหนักหนา | |||
น่าเอ็นดูเธอสู้เหาะลงมา | ถ้านายไม่เมตตาจะเสียใจ ฯ | |||
๏ ศรีมาลาไม่อินังกำลังเฉย | ฟังอีเม้ยแก้ฝันไม่กลั้นได้ | |||
ลุกขึ้นมาต่อยหัวตัวจัญไร | ไม่มีเลือกเสือกไปเที่ยวล่วงรู้ | |||
มึงอย่าพูดมากปากสำรวย | มานั่งช่วยกันทำเสียสักครู่ | |||
ว่าพลางเจียนหมกแล้วจีบพลู | บุหรี่มีในตู้เอาแก้มัด | |||
เย็บกระทงประจงเจียนฝาชี | ใส่หมากพลูบุหรี่ที่นางจัด | |||
ทั้งของกินระหว่างทางอัตคัด | ใส่ขวดอัดผูกผ้าตราประทับ | |||
จัดเสร็จซ่อนใส่ในตะกร้า | แล้วเอาผ้าซ้อนซ้ำเป็นลำดับ | |||
เอ็งเอาไปให้ดีอีเม้ยรับ | ของคำนับเทวดาที่หามึง ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | สั่งผู้คนจนเวลาสักโมงครึ่ง | |||
เบิกเสบียงเลี้ยงกันอึงคะนึง | ครั้นเสร็จจึงออกมาหาสองนาย | |||
พอนั่งลงบุษบาก็เรียกไป | ศรีมาลาเป็นไรไปไหนหาย | |||
พ่อแผนจะไปแต่ในงาย | สายแล้วสำรับไม่ยกมา | |||
อีเม้ยบอกไปใจคอหาย | ผงเข้าตานายเมื่อล้างหน้า | |||
ยังปวดแสบเต็มที่เห็นยี่ตา | บุษบาว่ามึงเป็นแต่เล่นลิ้น | |||
ทิ้งนายมานั่งตั้งสำออย | สักหน่อยตาอ่อนจะบวมปลิ้น | |||
ชาติอีมอญหน้าเป็นเห็นแก่กิน | น้ำขมิ้นไม่เอาไปหยอดตา ฯ | |||
๏ เจ้าพลายได้ฟังนั่งนึกขัน | อีคนนี้สำคัญมันหนักหนา | |||
คงรู้เห็นเป็นใจกับศรีมาลา | นึกหน้าได้แล้วเมื่อคืนนี้ | |||
ที่เข้าไปช่วยเหลือเมื่อนางแน่ | แล้วช่วยปดพ่อแม่เป็นถ้วนถี่ | |||
นิ่งนึกตรึกตรองเห็นช่องดี | ได้ทีบอกบุษบาพลัน | |||
คุณแม่แก้ผงเข้าตาช้ำ | ถ้าลืมตาในน้ำดีขยัน | |||
กระตุกหนังตาช่วยไปด้วยกัน | ทำอย่างนั้นก็จะหายระคายตา ฯ | |||
๏ บุษบาได้ฟังนั่งหัวร่อ | พ่อคุณอารีดีหนักหนา | |||
อีเม้ยมึงจำเอาตำรา | ไปบอกศรีมาลาเหมือนพ่อพลาย | |||
แล้วหันหน้ามาพูดกับขุนแผน | แม่นี้แค้นตัวเองมิรู้หาย | |||
มีลูกก็ไม่เห็นเป็นผู้ชาย | ยังเสียดายอยากได้ไว้สักคน ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | เห็นสบท่าตอบต่ออนุสนธิ์ | |||
ลูกได้พึ่งฝ่าเท้าเมื่อคราวจน | มีพระคุณเป็นพ้นคณนา | |||
แต่ตริตรองจะสนองพระคุณตอบ | คิดดูรอบคอบเป็นหนักหนา | |||
ยังไม่เห็นสิ่งใดในปัญญา | จนขึ้นมาถึงพิจิตรบุรี | |||
มาถึงก็รำพึงแต่เย็นวาน | เห็นการสมควรเป็นถ้วนถี่ | |||
คุณพ่อแม่ลูกชายนั้นไม่มี | อองามนี้ลูกจะยกให้ช่วงใช้ | |||
ให้แทนคุณต่างตัวทั้งแม่พ่อ | ตามแต่จะตีด่าหาว่าไม่ | |||
คุณพ่อจะเห็นเป็นอย่างไร | ใจเด็กก็สมัครรักฝ่าเท้า ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบิดา | ฟังว่าเต็มใจให้ลูกสาว | |||
ยิ้มแล้วตอบความตามเรื่องราว | อย่าต้องกล่าวอุปไมยไปเป็นเพลง | |||
เจ้าว่าข้าก็เห็นว่าเป็นมิตร | ที่จริงจิตคิดดูก็เหมาะเหม็ง | |||
แต่เป็นชาวบ้านนอกยังออกเกรง | ลูกข้าเองมันไม่สู้รู้อะไร | |||
เป็นแต่คนซื่อซื่อไม่ดื้อดึง | จะเอาถึงชาวกรุงนั้นไม่ได้ | |||
ฉวยวันหน้าถ้าลูกไม่ถูกใจ | เจ้าจะทำฉันใดอย่าให้อาย ฯ | |||
๏ ขุนแผนนบนอบตอบพระพิจิตร | ข้อนั้นลูกก็คิดเป็นเหลือหลาย | |||
เอาทานบาดคาดทานบนจนออพลาย | หายวิตกแล้วลูกจึงพูดจา | |||
อันเช่นศรีมาลานารี | ถึงในที่กรุงศรีก็สุดหา | |||
ทั้งรูปร่างท่วงทีกิริยา | พอลูกมาเห็นลูกก็ถูกใจ | |||
ถึงอองามจะเป็นเจ้าพระยา | แขกไปใครมาก็รับได้ | |||
ทั้งตัวลูกก็จะอยู่ดูไป | คงมิให้อับอายขายฝ่าเท้า ฯ | |||
๏ พระพิจิตรจึงว่าถ้ากระนั้น | พอเชื่อกันวางใจที่ในเจ้า | |||
แต่บุษบาจะว่าข้าใจเบา | ลูกของเจ้าเจ้าถามบ้างเป็นไร ฯ | |||
๏ บุษบาได้ฟังนั่งอมยิ้ม | ใจสมัครรักปิ้มจะบอกให้ | |||
แต่คิดคิดก็ตะขิดตะขวงใจ | เป็นผู้ใหญ่จู่ลู่จะดูแคลน | |||
จึงว่าลูกข้าก็คนเดียว | ขับเคี่ยวมาแต่น้อยคอยหวงแหน | |||
ขอไปแม่จะได้ที่ไหนแทน | พ่อแผนก็จำเพาะมาเจาะจง | |||
เพราะรักเจ้าล้นเหลือเหมือนเนื้อไข | ไม่ขัดได้จำตามความประสงค์ | |||
แต่ทว่าข้าจะบอกออกตรงตรง | ยังนึกสงสัยบ้างทางเจ้าพลาย | |||
มีธุระทางไกลไปเมืองลาว | สาวสาวทางนั้นมันมากหลาย | |||
ถ้ากระไรไปถูกลูกเจ้านาย | ที่พูดกันมันจะกลายเป็นเหลวเลอะ | |||
จะทำให้เสียหายฝ่ายผู้ใหญ่ | เกิดระกำช้ำใจกันไปเถอะ | |||
เขาจะว่าข้านี้เป็นคนเคอะ | ช่างซมเซอะไม่รู้จะดูชาย | |||
ที่ว่านี้มิใช่จะตัดรอน | รักเจ้ามาแต่ก่อนนั้นเหลือหลาย | |||
จะควักแก้วตาไปให้เจ้าพลาย | ก็เบี่ยงบ่ายอย่างไรให้มั่นคง ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | คิดแล้วกล่าวความตามประสงค์ | |||
ถ้าหากท่านผู้ใหญ่ได้ตกลง | ที่ตรงดีฉันนั้นอย่าแคลง | |||
ถึงจะไปนอกฟ้าป่าหิมพานต์ | อันที่การนอกใจอย่าได้แหนง | |||
แม้จะให้สัญญาปิดตราแดง | จะขีดแกงไดให้ในสัญญา | |||
ถึงเด็กอยู่รู้พระคุณแต่หนหลัง | พ่อแม่เล่าให้ฟังเป็นหนักหนา | |||
จะขอเป็นเกือกทองรองบาทา | คุณแม่พ่อขออย่าได้ปรารมภ์ | |||
ขุนแผนพ่อพูดต่อเจ้าพลายงาม | ความที่มันสัญญาน่าจะสม | |||
เห็นจะไม่โกหกพกลม | แต่นานนมหนักไปก็ไม่ดี | |||
ลูกคิดว่าถ้าหมั้นต่อกันไว้ | ถึงห่างไกลก็พะวงตรงที่นี่ | |||
เหมือนตัวไปใจอยู่ด้วยคู่มี | อย่างนี้เป็นทำนองที่ป้องกัน | |||
วันนี้ก็ประเสริฐเลิศดิถี | จงปรานีรับรองซึ่งของหมั้น | |||
แล้วจึงทำเหย้าเรือนหาเดือนวัน | การเหล่านั้นฝากไว้ในเจ้าคุณ | |||
ด้วยจะต้องไปทัพรับอาสา | การของลูกข้างหน้ายังว้าวุ่น | |||
คุณพ่อแม่เมตตาได้การุญ | ให้อุ่นอกเช่นครั้งแต่หลังมา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงท่านพระพิจิตร | ทั้งบุษบาสมคิดก็หรรษา | |||
รับทองหมั้นไว้มิได้ช้า | พระพิจิตรจึงว่าเป็นไรมี | |||
เจ้าคิดอ่านการศึกเอาเชียงใหม่ | ถ้าคล่องใจคงสำเร็จราวเดือนยี่ | |||
ยังจะต้องคุมทัพกลับธานี | ก็เดือนสี่แลประมาณการวิวาห์ | |||
ครั้นตกลงปลงใจให้กันแล้ว | ต่างคนผ่องแผ้วเป็นหนักหนา | |||
สำรับพร้อมล้อมนั่งกินข้าวปลา | สนทนาเบิกบานสำราญใจ | |||
เลี้ยงดูกันสำเร็จเสร็จสรรพ | พ่อลูกลากลับหาช้าไม่ | |||
พระพิจิตรมาส่งลงบันได้ | ออกจากจวนไปยังวัดจันทร์ ฯ | |||
๏ ฝ่ายอีเม้ยดักทางอยู่ข้างบ้าน | พอขุนแผนเดินผ่านพ้นที่นั่น | |||
กระแอมไอให้เสียงเป็นสำคัญ | เจ้าพลายหันมาดูก็รู้ที | |||
จึงหลีกเข้าข้างทางหว่างต้นไม้ | ถามว่ามาทำไมจนถึงนี่ | |||
อีเม้ยบอกว่าตะกร้านี้ | มีของดีจะขายพ่อพลายงาม | |||
เจ้าพลายยิ้มแล้วว่าข้าอยากได้ | จะถูกแพงเท่าไรไม่ต้องถาม | |||
รับตะกร้ามาให้ไพร่แบกตาม | เอาเงินสามตำลึงส่งให้อีเม้ย | |||
แล้วค่อยงุบงิบกระซิบสั่ง | กลับหลังเข้าเรือนอย่าเชือนเฉย | |||
ถ้านายยังร้องไห้ไม่เสบย | เจ้าคนเคยปฏิบัติอยู่อัตรา | |||
ปลอยโยนนางไว้อย่าให้เศร้า | ตัวเจ้าจงพิทักษ์รักษา | |||
ให้เป็นสุขค่ำเช้าจนเรามา | เงินตราข้าจะเติมเพิ่มรางวัล | |||
ว่าแล้วเท่านั้นก็ผันผาย | เจ้าพลายปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | |||
รีบตามบิดามาวัดจันทร์ | แล้วช่วยกันจัดพหลพลโยธี ฯ | |||
๏ ครั้นเรียกคนสำรวจตรวจถ้วน | จัดกระบวนหน้าหลังตั้งตามที่ | |||
พระพิจิตรมาช่วยอวยสวัสดี | แล้วคลายคลี่พหลพลโยธา | |||
กองหน้านายจันสามพันตึง | พอฆ้องหึ่งโห่กระหน่ำออกนำหน้า | |||
กองหลวงกองเสบียงเรียงกันมา | ราชอาญากองหลังนั้นรั้งพล | |||
พวกชาวบ้านร้านตลาดดาษดื่น | แตกตื่นมาดูอยู่สับสน | |||
ที่ตามวัดก็พระประน้ำมนตร์ | ขุนด่านนำส่งจนพ้นพรมแดน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม | ขี่ม้ามาตามพ่อขุนแผน | |||
ยังง่วงเหงาหาวนอนนั่งคลอนแคลน | ทรวงแสนกระสันโศกวิโยคครวญ | |||
โอ้ว่าศรีมาลาแก้วตาพี่ | ป่านฉะนี้จะเศร้าเฝ้าโหยหวน | |||
เหมือนใจพี่ที่นึกคะนึงนวล | ใครจะชวนโฉมฉายให้คลายใจ | |||
ที่พูดกันเมื่อเช้าถ้าเจ้ารู้ | ว่าขอสู่แม่พ่อก็ยกให้ | |||
เห็นจะวายหวาดหวั่นพรั่นฤทัย | นั่งนับวันไปจนถึงงาน | |||
ค่ำเช้าเจ้าคะนึงถึงตัวพี่ | พอมีที่แก้ไขได้คิดอ่าน | |||
ตระเตรียมจัดแจงแต่งเรือนชาน | แก้รำคาญเบ่งบานที่เศร้าใจ | |||
๏ เออเมื่อคิดขึ้นมาก็น่ารู้ | ว่าเนื้อคู่คิดเห็นเป็นไฉน | |||
จะตกแต่หอห้องทำนองใด | ใครจะเป็นที่ปรึกษาหารือนาง | |||
คู่คิดเจ้าก็มีแต่อีเม้ย | มันเป็นไพร่ไม่เคยคงพานขวาง | |||
จะชวนซื้อหาใหม่ไปทุกทาง | ของเก่ามีดีบ้างไม่นำพา | |||
เครื่องเรือนในห้องของน้องแก้ว | ล้วนดีดีมีแล้วก็หนักหนา | |||
พี่ยังได้ชมเล่นเห็นแก่ตา | จะต้องหาใหม่นั้นมีเพียงไร | |||
๏ เตียงนอนค่อนจะแคบอยู่สักนิด | แต่ก็ดีที่ชิดพิสมัย | |||
ถึงหนาวร้อนก็ไม่นอนห่างกันไป | อย่าต้องหาเตียงใหม่เลยน้องรัก | |||
ม่านกรองทองทับสลับสี | เรื่องระเด่นมนตรีที่เจ้าปัก | |||
มันถูกเรื่องของเราเข้าทีนัก | จะเยื้องยักปักใหม่ไม่ต้องการ | |||
ถ้ากระไรปักต่อก็จะดี | เติมเมื่อตรงศึกชีอีกสักม่าน | |||
ยังเครื่องแป้งแต่งไว้ไม่มีปาน | ขันพานขวดน้อยน้อยน่าเอ็นดู | |||
เมื่อคืนนี้ตอนดึกยังนึกได้ | เจ้าพาไปนั่งเรียงเคียงคู่ | |||
เครื่องเชี่ยนหมากนากทองของโฉมตรู | ยังติดตาพี่อยู่ทุกสิ่งอัน | |||
พี่จะปลูกหอใหม่ให้ใหญ่กว้าง | ทั้งของนางของพี่จะจัดสรร | |||
ของของพี่มีมากหลากหลากกัน | เครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ก็ดีดี | |||
๏ ยังเครื่องรางปลุกเสกด้วยเลขยันต์ | หรือขวัญข้าวเจ้ารังเกียจด้วยเกลียดผี | |||
ก็ไว้ที่อื่นได้เป็นไรมี | พี่จะสร้างหอน้อยเป็นหอพระ | |||
ที่ในห้องของเราเอาพรมปู | วางหมอนคู่เคียงไว้ไม่เกะกะ | |||
ไว้นอนเล่นเย็นเช้านะเจ้านะ | พี่จะเฝ้าถนอมกล่อมน้องยา | |||
ถึงจะนั่งกินข้าวทั้งเช้าเย็น | เราอย่าให้ใครเห็นจะดีกว่า | |||
ได้หยอกเอินพูดเล่นเจรจา | กินข้าวปลาเอิบอิ่มกระหยิ่มใจ | |||
ทำไมกับเรื่องเครื่องเรือนชาน | จะเบิกบานก็ที่ชิดพิสมัย | |||
ชั้นชั่วเสื่ออ่อนกับหมอนใบ | ก็คงได้ความสุขทุกคืนวัน | |||
๏ กำลังง่วงดวงจิตคิดเลื่อนเปื้อน | เจ้าพลายฟั่นเฟือนเหมือนกับฝัน | |||
สำคัญว่าเนื้อคู่อยู่ด้วยกัน | ยิ่งยั่วยวนสรวลสันต์จำนรรจา | |||
พี่ยังทุกข์อยู่นิดคิดไม่ถูก | เผื่อเจ้าจะมีลูกในวันหน้า | |||
พี่เห็นเขาเจ็บท้องร้องเต็มประดา | แก้วตาจะอย่างไรก็ไม่รู้ | |||
เขาว่ามดถ่อหมอตำแย | มักเชือนแชข่มขยำทำจู่ลู่ | |||
ถ้าหากไม่คอยนั่งระวังดู | เคยลากถูจนตายมาหลายคน | |||
พี่จะคอยถือตระบองมองกำกับ | ถ้าสัปปลับเอาอย่างนี้ตีให้ป่าน | |||
เคลิ้มฟาดแส้ม้ามาประดน | ถูกก้นม้าพ่อเข้าพอแรง ฯ | |||
๏ ม้าผลุนขุนแผนเจียนจะตก | หากแอบอกอยู่ที่ด้วยขี่แข็ง | |||
พอรั้งอยู่เหลียวมาโกรธหน้าแดง | นี่มึงแกล้งหรือไรให้ว่ามา | |||
เจ้าพลายตกใจไม่มีขวัญ | บอกความพ่อพลันไม่มุสา | |||
ลูกหลับใหลฝันไปว่าศรีมาลา | เจ้าจะคลอดลูกยาเจ็บครวญคราง | |||
เห็นยายหมอตำแยแกมักง่าย | ทำจู่ลู่ดูดายเมื่อลูกขวาง | |||
เกรงจะเป็นอันตรายวายวาง | ลูกตีแกดังผางพอถูกม้า | |||
เพราะเคลิ้มเขลาเมามัวด้วยความฝัน | ใช่จะแกล้งตีรันไม่มุสา | |||
สีหมอกก็ได้มีพระคุณมา | คุณพ่อได้เมตตาที่โทษกรณ์ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | ฟังลูกคิดคิดก็ใจอ่อน | |||
นี่แลรักชักพาให้อาวรณ์ | ร้อนทั้งหลับตื่นทุกคืนวัน | |||
ว่าแล้วนิ่งนึกตรึกตรา | อองามหลงศรีมาลาจนใฝ่ฝัน | |||
ด้วยพึ่งแรกรู้จักความรักนั้น | ที่สำคัญทุกอย่างแต่ข้างดี | |||
ลูกเอ๋ยยังไม่เคยรู้รสร้าย | ที่ความรักกลับกลายแล้วหน่ายหนี | |||
อันเจ็บปวดยวดยิ่งทุกสิ่งมี | ไม่เท่าที่เจ็บช้ำระกำรัก | |||
จะว่าเขาอื่นไกลไปไยเล่า | ถึงแม่เจ้าพ่อก็ช้ำระกำหนัก | |||
ต้องทนทุกข์มากมายมาหลายพัก | จักแหล่นเลือดตาจะกระเด็น | |||
เมื่อหนุ่มสาวคราวอยู่เป็นชู้ชื่น | ดังจะกลืนไว้ได้มิใช่เล่น | |||
จะร่วมหอคลึงเคล้าทุกเช้าเย็น | ไม่คิดเห็นว่าจะพรากไปจากกัน | |||
พอไปทัพกลับมาเห็นหน้านิด | มันปลดปลิดผลาญรักหักสะบั้น | |||
ต้องคับแค้นเพียงจะดิ้นสิ้นชีวัน | แต่โศกศัลย์โหยหาอยู่กว่าปี | |||
สู้พากเพียรพยายามตามมาได้ | เที่ยวบุกป่าฝ่าไพรพากันหนี | |||
ทนลำบากยากไร้ในพงพี | ไม่อาลัยชีวีเพราะความรัก | |||
พอพ้นภัยหมายใจว่าพ้นทุกข์ | จะร่วมสุขอยู่เย็นเป็นแหล่งหลัก | |||
เกิดวิบากผลกรรมมานำชัก | ให้ไอ้มารผลาญรัก***ไป | |||
ความแค้นแสนที่จะชอกช้ำ | ก็มิรู้ว่าจะทำอย่างไรได้ | |||
เพราะตัวต้องทนทุกข์อยู่คุกใน | ต้องเจ็บใจตรมมากว่าสิบปี | |||
โอ้ว่าเจ้าวันทองน้องแก้ว | จะลืมพี่เสียแล้วกระมังนี่ | |||
ด้วยเริดร้างห่างนานเสียเต็มที | ป่านนี้จะหลงบุญอ้ายขุนช้าง | |||
หรือว่ายังมีจิตคิดคะนึง | นึกถึงเพื่อนยากที่จากบ้าง | |||
พี่คิดถึงเช้าเย็นไม่เว้นวาง | รำพึงพลางถอนใจอยู่ไปมา ฯ | |||
๏ กองทัพยกออกนอกพิจิตร | ต้องเลียบชิดบึงบางที่ขวางหน้า | |||
บางแห่งใหญ่โตมโหฬาร์ | เป็นที่ปลาอาศัยทั้งใหญ่น้อย | |||
ดูจากหลังม้าเห็นคลาคล่ำ | บ้างโดดดำโผล่ผุดแล้วมุดถอย | |||
ชะโดดุกอ้ายด้องขึ้นล่องลอย | ฝูงปลาสร้อยเป็นหมู่ดูคลับคล้าย | |||
เทโพเทพาทั้งปลาช่อน | เนื้ออ่นนวลจันทร์พรรณสวาย | |||
สลิดสลาดปลาตะเพียนเวียนกราย | หลากหลายว่ายแหวกอยู่ในบึง | |||
ที่บางแห่งปลาชุมเหล่ากุมภา | ไล่ปลาฟาดหางดังผางผึง | |||
พอได้ยินเสียงคนข้างบนอึง | ก็จมดึ่งหลีกหลบลงกบดาน | |||
ยังเหล่าปักษาทิชาชาติ | เกลื่อนกลาดหาปลาเป็นอาหาร | |||
กระทุงทองล่องลอยนทีธาร | เหนียงยานปากอ้าเอาราน้ำ | |||
อ้ายงั่วดำด้นลงค้นปลา | ทั้งเหล่านกกระสาก็คลาค่ำ | |||
นกยางยืนมองจ้องประจำ | พอพลบค่ำนกแขวกแกรกแกรกร้อง | |||
ฝูงเหยี่ยวเที่ยวว่อนทั้งร่อนบิน | โฉบเฉี่ยวปลากินที่ในหนอง | |||
ตะกรุมหัวเหม่เที่ยเร่มอง | ขามันยาวก้าวท่องย่องสุ่มปลา | |||
นกฝักบัวช้อนหอยแลปากห่าง | หลายอย่างต่างพรรณกันหนักหนา | |||
ฝูงนกเกลื่อนกลาดดาษดา | ดูมาไม่สิ้นในถิ่นทาง | |||
ยังพืชพรรณบุปผาลดาชาติ | ก็ประหลาดมากมายเป็นหลายอย่าง | |||
ล้วนผลิดอกออกใบในบึงบาง | ต่างต่างน่าชมภิรมย์ใจ | |||
ที่บางแห่งโกมุทบุษบัน | เป็นพืชพรรณติดต่อกอไสว | |||
บ้างชูดอกออกฝักแล้วชักใบ | แลไปล้วนโกมุทจนสุดตา | |||
เหล่าบัวสายรายกอกันห่างห่าง | พอสางสางก็ตระการบานบุปผา | |||
ทั้งกระจับตับเต่าเถาสันตะวา | ในคงคาหลายอย่างต่างต่างพรรณ | |||
พอเช้าตรู่หมู่ภมรร่อนมาถึง | หึ่งหึ่งฟังจำเรียงเสียงสนั่น | |||
เที่ยวซอกซอนเกสรบุษบัน | เลาะสรรรสหวานตระการใจ | |||
ลมพัดเฉื่อยฉ่ำน้ำกระเพื่อม | แลละเลื่อมริ้วริ้วปลิวไสว | |||
ถึงแดดร้อนลมรื่นชื่นฤทัย | ทั้งนายไพร่เพลิดเพลินเดินชมมา ฯ | |||
๏ พอพ้นแนวหนองคลองบึงบาง | ก็เลี้ยวลัดตัดทางมากลางป่า | |||
เป็นพงแซมแกมอ้อกอหญ้าคา | ทั้งซ้ายขวาสูงปรกดูรกชัฏ | |||
เห็นแต่นกกระจาบคาบทำรัง | ไม่มีทั้งสิงสาราสัตว์ | |||
ทางกันดารน้ำท่าสารพัด | ก็เร่งรัดรี้พลด้นเดินมา | |||
พ้นป่าพงลงทางข้างตลิ่ง | ถึงปากพิงเลี้ยวข้ามไปข้างขวา | |||
เข้าทางป่าไม้ไพรพนา | ถึงพาราพิษณุโลกโอฆบุรี | |||
ทั้งนายไพร่ไปวัดมหาธาตุ | ไหว้พระชินราชชินสีห์ | |||
ขอให้มีชัยสวัสดี | แล้วมาที่ศาลากลางวางท้องตรา | |||
เจ้าพระยาพิษณุโลกกรมการ | อลหม่านเลี้ยงดูกันทั่วหน้า | |||
พอพักไพร่หายเหนื่อยเลื่อยล้า | ก็ยกพลต่อมาเมืองพิชัย | |||
ผู้รั้งกรมการด้านทาง | ต่างเมืองต้อนรับไม่นิ่งได้ | |||
ยกฟากข้ามจากเมืองพิชัยไป | ถึงบ้านไกรป่าแฝกแล้วแยกมา | |||
วันหนึ่งถึงเมืองสัชนาลัย | กรมการผู้ใหญ่ก็พร้อมหน้า | |||
เลี้ยงดูรับรองตามท้องตรา | พักอยู่สามเวลาในธานี ฯ | |||
๏ ยกออกนอกเมืองสวรรคโลก | ข้ามโคกเข้าป่าพนาศรี | |||
เจ้าพลายกระสันพันทวี | รำลึกถึงนารีศรีมาลา | |||
ถ้าแม้นแก้วตามาด้วยพี่ | จะชวนชี้ชมไม้ไพรพฤกษา | |||
คิดพลางเดินพลางตามทางมา | ข้ามท่าเขินเขาลำเนาธาร | |||
แลเห็นเขาเงาเงื้อมชะง่อนชะโงก | เป็นกรวยโกรกน้ำสาดกระเซ็นซ่าน | |||
โครมครึกกึกก้องท้องพนานต์ | พลุ่งพล่านมาแต่ยอดศิขรินทร์ | |||
เป็นชะวากวุ้งเวิ้งตะเพิงพัก | แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน | |||
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล | บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย | |||
ตรงตระพักเพิงผาศิลาเผิน | ชะงักเงิ่นเงื้อมงอกชะแง้หงาย | |||
ที่หุบห้วยเหวหินบิ่นทะลาย | เป็นวุ้งโว้งโพรงพรายดูลายพร้อย | |||
บ้างเป็นยอดกอดก่ายระเกะระกะ | ตะขรุตะขระเหี้ยนหักเป็นหินห้อย | |||
ขยุกขยิกหยดหยอดเป็นยอดย้อย | บ้างแหลมลอยเลื่อมสลับระยับยิบ | |||
บ้างงอกเง้าเป็นเงี่ยงบ้างเกลี้ยงกลม | บ้างโปปมเป็นปุ่มกระปุบกระปิบ | |||
บ้างปอดแป้วเป็นพูดูลิบลิบ | โล่งตลิบแลตลอดยอดศิขรินทร์ | |||
เหล่ามิ่งไม้ไทรโศกอยู่ริมห้วย | ลมชวยหล่นตามกระแสสินธิ์ | |||
น้ำใสแลซึ้งถึงพื้นดิน | ฟุ้งกลิ่นสุมามาลย์บานระย้า | |||
สัตตบุษย์บัวแดงเข้าแฝงฝัก | พันผักพาดผ่านก้านบุปผา | |||
แพงพวยพุ่งพาดพันสันตะวา | ลอยคงคาทอดยอดไปตามธาร | |||
สาหร่ายเรียงเคียงทับกระจับจอก | ผักบุ้งงอกยอดชูดูสะอ้าน | |||
ภุมรินบินเคล้าสุมามาลย์ | ในธาราปลาพล่านตระการตา | |||
ชมพลางทางเดินเนิพนม | รื่นร่มพรรณไม้ใบหนา | |||
แลดูหมู่วิหคนกนานา | สาลิกาพูดจ้ออยู่จอแจ | |||
คุ่มขาบเขาขันสนั่นป่า | กระสาจับกระสังส่งเสียงแซ่ | |||
กระลิงจับกิ่งประโลงแล | คับแคไต่คางริมทางจร | |||
ค้อนทองจับบนต้นกระถิน | แก้วจับแก้วกินแล้วบินร่อน | |||
นกยูงจับยางแผ่หางฟ้อน | กระทุงทองจับกระท้อนทำอ่อนคอ | |||
กระจาบจ้อยดจนจับกระเจาเจ่า | แซงแซวเซาจับสนดูซอมซ่อ | |||
นกกระไนไก่ฟ้าพระยาลอ | นกกรอดพรอดจ้ออยู่กิ่งจันทน์ | |||
นกเขาจับเงื่อมเขาแล้วเคล้าคู่ | จู้หุกกูจู้ฮุกกูเฝ้าคูขัน | |||
อัญชันจับกิ่งต้นชิงชัน | เบญจวรรณจับเจ่าเถาวัลย์เปรียง | |||
ไก่ป่าวิ่งกรากกระต๊ากลั่น | ตัวผู้ขันเอกอี๊เอ๊กวิเวกเสียง | |||
เข้ากินขุยคุ้ยเขี่ยยตัวเมียเมียง | เห็นคนเลี่ยงลัดแลงเข้าแฝงกอ | |||
นกกระทาราแต้แผ่ปีกปัก | ขันชักปักกะจาดกะจ้าจ้อ | |||
เห็นตัวเมียเขี่ยจังหวีดเข้ากรีดรอ | ปักก้อป่องร่าดูน่าชม | |||
เดินพลางชมพลางมากลางชัฎ | ชักม้าหลีดลัดเข้าร่มร่ม | |||
ตะวันชายบ่ายรังบังพนม | เพลาลมตกตัดออกทางเตียน | |||
ไฟป่าครอกหญ้าเพิ่งแตกอ่อน | แผ่นดินร่อนแลโล่งตลิบเลี่ยน | |||
หมู่สัตว์จตุบาทออกวาดเวียน | บ้างหยอกกันหันเหียนหาคู่เคียง | |||
พยัคฆีมีกำลังทะลวงโลด | ทะลึ่งโดดเท้าถีบปีบปะเปรี้ยง | |||
มฤคกลัวตัวลอบลงหมอบเมียง | บ้างหลีกเลี่ยงหลบเพริดเตลิดไป | |||
ริมทางกวางทองดูผ่องผุด | ยั้งหยุดหย่งกีบบีบเสียงใส | |||
กระทิงถึกโทนเที่ยวอยู่ในไพร | กระบือเบิ่งเถลิงไล่กันดาดดง | |||
อีเห็นเม่นหมีหมู่ชะมด | กระจงจดจ้องกีบดูหยิบหย่ง | |||
ละมั่งละมาดผาดเผ่นออกจากพง | กระสู้ส่งซัดกระทิงออกวิ่งโทง | |||
เสือดาวเดาะเราะรายหมายละมั่ง | ช้างพังชักผากกระชากโผง | |||
สมันเมินเดินดุ่มจากพุ่มโพรง | ออกเลียดินกินโป่งอร่อยไป | |||
ตัดข้ามเขตระแหงแขวงเถิน | เดินเลยหาเยื้องเข้าเมืองไม่ | |||
สิบสี่วันดั้นเดินตามเนินไพร | เกือบจะถึงเชียงใหม่อีกสองวัน | |||
หยุดหนองโคกเต่าไม่เข้าบ้าน | พักทหารตั้งกองริมหนองนั่น | |||
ชักหนามวงรอบเป็นขอบคัน | กำชับกันมิให้ใครเที่ยวไปมา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | เรียกลูกชายพลายงามมาปรึกษา | |||
เราเกือบถึงเชียงใหม่ใกล้พารา | จะด่วนเข้ายุทธนาไม่สู้ดี | |||
มันจับพระท้ายน้ำจำเอาไว้ | เราตรงไปคงหั่นบั่นเกศี | |||
จะคิดลอบเข้าไปในบุรี | ดูท่วงทีแก้ไขเอาไทยมา | |||
แล้วจึงเข้าประชิดติดนคร | เราผันผ่อนเช่นนี้จะดีกว่า | |||
พ่อกับเจ้าเข้าไปแต่สองรา | ไปเที่ยวหาพวกไทยให้พบพาน | |||
ต้องปลอมตัวเป็นลาวพวกชาวเมือง | เราหาเครื่องแต่งตัวเอาตามบ้าน | |||
จำจะรีบเข้าไปอย่าได้นาน | หรือเจ้าจะคิดอ่านประการใด ฯ | |||
๏ เจ้าพลายเห็นชอบตอบบิดา | คุณพ่อว่าต้องจิตหาผิดไม่ | |||
ถ้าเรายกโยธาผ่าเข้าไป | มันเห็นไทยพวกลาวจะร้าวราน | |||
จะระมือลือเลื่องทั้งเมืองใหญ่ | มิทันได้คนโทษจะฉาวฉาน | |||
อ้ายคนต้องจองจำจะรำคาญ | มันประหารตายสิ้นสิเสียที | |||
ถ้าเราลอบเข้าไปให้พบก่อน | จะได้ผ่อนผู้คนให้พ้นที่ | |||
เป็นกำลังรบลาวชาวบุรี | ทั้งไทยยลาวราวสักสี่ห้าร้อยคน | |||
ปรึกษากันทั้งสองเห็นต้องใจ | แล้วเหลียวไปข้างหลังสั่งพหล | |||
จงซุ่มซ่อนนอนั่งระวังตน | คอยดูผู้คนจะไปมา | |||
ครั้นกำชับสั่งพลทุกคนทั่ว | พ่อลูกแต่งตัวงามสง่า | |||
ประจงคาดเครื่องอานทาว่านยา | แล้วโพกผ้าประเจียดประจุฤทธิ์ | |||
พลายงามจับดาบขยับยืน | ขุนแผนจับฟ้าฟื้นอันศักดิ์สิทธิ์ | |||
บ่ายหน้ามาสู่บูรพาทิศ | ตั้งจิตหมายหมาดพิฆาตลาว | |||
ขยับยืนภาวนานัยน์ตาหลับ | ตามตำรับบุราณอาจารย์กล่าว | |||
นิมิตดูลมกลาออกขวายาว | ก็ยกก้าวตีนขวาแล้วคลาไคล | |||
พ่อลูกลัดเลาะละเมาะเมือง | แยกเยื้องเสียหาเข้าหนทางไม่ | |||
พอแลเห็นไร่แตงเข้าแฝงไม้ | ริมทางลาวชาวไร่เดินไปมา ฯ | |||
๏ จะยกกลับจับกล่าวลาวพ่อลูก | ออกไปปลูกห้างไร่อยู่ชายป่า | |||
ปลูกผักฟักแฟงทั้งแตงกวา | ถั่วงากล้วยกล้ายเป็นหลายพรรณ | |||
เมื่อจะถึงที่ตายวายชีวิต | ให้หงุดหงิดง่านใจอยู่ไหวหวั่น | |||
คิดจะคืนกลับหลังแต่ยังวัน | ก็ชวนกันออกเดินดำเนินมา | |||
ตาพ่อถือดาบงามย่ามตะพาย | ลูกชายถือทวนขึ้นพาดบ่า | |||
เอาน้ำเต้าสอดด้ามซ้ำห้อยมา | โพกชมพูดูสง่าพากันเดิน | |||
ตาพ่อเฒ่าออกหน้ามาดุ่มดุ่ม | เจ้าลูกหนุ่มตามไปไม่ห่างเหิน | |||
เมื่อถึงวันจะบรรลัยให้บังเอิญ | เจ้าลูกเพลินรับซอพ่อรับแคน | |||
โอหนออ่อเจ้าสาวคำเอ๋ย | ข้อยอยากเซ้ยสาวเวียงที่เชียงแสน | |||
ขอให้ข้อยเบิ่งนางที่ต่างแดน | ข้อยแค่นใจตายแล้วแก้วพี่อา | |||
เพี้ยงเอ๋ยปู่เจ้าในเขาเขิน | ช่วยชักเชิญสาวเวียงมาเคียงข้า | |||
เหล้าเข้มไก่หมูจะบูชา | จะเซ่นส้าบวงสรวงเข้าแทรกใจ ฯ | |||
๏ พ่อลูกร้องขับรับกันมา | ใกล้พฤกษาที่ขุนแผนเข้าอาศัย | |||
ขุนแผนเห็นลาวซ้องร้องแต่ไกล | กระซิบบอกลูกให้ระวังตัว | |||
เห็นหรือไม่เเล่านะเจ้าพ่อ | อ้ายลาวซอแลไปไม่มีหัว | |||
มันถึงที่มรณาแล้วอย่ากลัว | จิกหัวฟันเสียให้พร้อมกัน | |||
ต่างถอดดาบจากฝักยืนหยักรั้ง | พอลาวเดินมากระทั่งถึงที่นั่น | |||
ดังองคตหนุมานชาญฉกกรจ์ | ทะลึ่งถลันด้วยกำลังไม่รั้งรอ | |||
ขุนแผนฟันป่ายพลายงามฟาด | ฉะฉาดหัวเด็ดกระเด็นปร๋อ | |||
เลือดพุ่งโชนเชี่ยวสองเกลียวคอ | ลาวลูกพ่อล้มดิ้นลงสิ้นใจ | |||
เหลือกตาหน้าเผือดเลือดไหลนอง | ทั้งสองยินดีจะมีไหน | |||
หยิบเอาหัวมาต่อคอเข้าไว้ | สนิทนั่งตั้งใจภาวนา | |||
ขุนแผนซัดข้าวสารอ่านมนตร์ปลุก | ผีลาวผุดลุกขึ้นต่อหน้า | |||
เคารพราบกราบเท้าทั้งสองรา | ขุนแผนว่าสองผีมีนามใด | |||
สองผีหมอบราบแล้วกราบกราน | กระผมชื่อขนานมโนใหญ่ | |||
นั่นลูกข้อยชื่อน้อยศรีวิชัย | เจ้าประสงค์สิ่งไรจึงขึ้นมา | |||
ขุนแผนว่าขนานมโนใหญ่ | เราตั้งใจมุ่งมาดปรารถนา | |||
จะขึ้นไปประจญปล้นพารา | เจ้าช่วยพาตัวเราเข้าบุรี | |||
ผีคำนับนรับแล้วก็ล้มลง | พ่อลูกตรงเข้าเปลื้องเอาผ้าผี | |||
เอาดาบตัดผมพลันด้วยทันที | สีชมพูโพกเกล้าก็เอามา | |||
พ่อลูกนุ่งห่มใส่ผมช้อง | โพกสะพองเหมือนลาวพวกชาวป่า | |||
ขุนแผนหยิบย่ามใหญ่ใส่ไหล่มา | พลายงามคว้าทวนถือติดมือพลัน | |||
ทั้งลูกทั้งพ่อหัวร่อร่า | ก็พากันเดินขมีขมัน | |||
ถึงโคกเต่าเข้าเพลาจะสายัณห์ | พวกอาสาทั้งนั้นก็ตกใจ | |||
บ้างก็เข้าซ่อนซุ่มในพุ่มชิด | สำคัญคิดว่าเป็นลาวพวกชาวไร่ | |||
ขุนแผนไม่แวะวงตรงเข้าไป | พวกอาสาสงสัยว่าลาวจริง | |||
พากันมองดูไม่รู้จัก | ไม่มีใครถามทักต่างแอบนิ่ง | |||
ขุนแผนว่าอย่างไรไม่ไหวติง | ทหารรู้กรูวิ่งมาวันทา | |||
เจ้าประคุณนุ่งห่มใส่ผมยาว | ช่างเหมือนลาวจริงจังไม่กังขา | |||
ลูกได้แอบพินิจพิจารณา | ช่างแปลกหน้าแปลกกายคล้ายพุงดำ | |||
พ่อลูกปลดผมแล้วเปลื้องผ้า | แล้วสั่งว่าเราจะไปเสียในค่ำ | |||
ถ้าช้าอยู่มันจะรู้ซึ่งเงื่อนงำ | ลาวจะร่ำลือดังไปทั้งกรุงฯ | |||
ทหารรับจับจัดผูกช้างม้า | แล้วก็ยกโยธามากลางทุ่ง | |||
อย่าอื้อฉาวชาวเมืองจะเฟื่องฟุ้ง | พอจวนรุ่งเข้าดงปลงม้าช้าง | |||
ให้แฝพุ่มซุ่มซ่อนนอนจนค่ำ | กลางคืนร่ำรุดไปจนใกล้สว่าง | |||
สองคืนสองวันดั้นเดินทาง | กระทั่งถึงบึงกว้างเข้าทันใด | |||
ก็หยุดทัพจับจัดตัดไม้ปัก | ชักหนามวงรอบขอบบึงใหญ่ | |||
สงบทัพยับยั้งตั้งมั่นไว้ | ด้วยทางใกล้จวนถึงสักครึ่งวัน | |||
ช้างม้าหญ้าน้ำก็สำราญ | พวกทหารพักผ่อนนอนที่นั่น | |||
เอากูบอานเรีบเรียงเข้าเคียงกัน | ให้สองท่านแม่ทัพนั้นยับยั้ง ฯ | |||
ตอนที่ ๒๙
๏ | |||
ตอนที่ ๓๐
๏ | |||
ตอนที่ ๓๑
๏ | |||
ตอนที่ ๓๒
๏ | |||
ตอนที่ ๓๓
๏ | |||
ตอนที่ ๓๔
๏ | |||
ตอนที่ ๓๕
๏ | |||
ตอนที่ ๓๖
๏ | |||
ตอนที่ ๓๗
๏ | |||
ตอนที่ ๓๘
๏ | |||
ตอนที่ ๓๙
๏ | |||
ตอนที่ ๔๐
๏ | |||
ตอนที่ ๔๑
๏ | |||
ตอนที่ ๔๒
๏ | |||
ตอนที่ ๔๓
๏ | |||