บทละครเรื่à¸à¸‡à¸à¸´à¹€à¸«à¸™à¸² พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 08:54, 7 กันยายน 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทประพันธ์
ช้าปี่ | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงสี่องค์ทรงธรรม์นาถา | ||
เป็นหน่อเนื้อเชื้อวงศ์เทวา | บิตุเรศมารดาเดียวกัน | ||
รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช | ได้ดำรงนคเรศเขตขัณฑ์ | ||
พระเชษฐาครองกรุงกุเรปัน | ถัดนั้นครองดาหาธานี | ||
องค์หนึ่งครองกาหลังบุรีรัตน์ | องค์หนึ่งครองสิงหัดส่าหรี | ||
เฉลิมโลกโลกาธาตรี | ไม่มีผู้รอต่อฤทธิ์ | ||
ระบือลือทั่วทุกประเทศ | ย่อมเกรงเดชเดชาอาญาสิทธิ์ | ||
บำรุงราษฎร์ดับเข็ญอยู่เป็นนิจ | โดยทางทศพิศราชธรรม์ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ชมตลาด | |||
๏ มีพระมเหษีห้าองค์ | ดั่งอนงค์นางฟ้ากระยาหงัน | ||
เลือกล้วนสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ | กษัตริย์ครองเขตขัณฑ์สวรรยา | ||
ตั้งแต่งตามตำแหน่งครบที่ | คือประไหมสุหรีเสน่หา | ||
มะเดหวีที่สองรองลงมา | แล้วมะโตโสภานารี | ||
ที่สี่ลิกูนงเยาว์ | ที่ห้านั้นเหมาหลาหงี | ||
อันอัครชายาทั้งห้านี้ | ตั้งได้แต่สี่พารา | ||
ประดับด้วยสุรางค์นางสนม | ล้วนอุดมรูปทรงวงศา | ||
ถ้วนหมื่นหกพันกัลยา | วิลาศเลิศลักขณาทุกนางใน | ||
สำหรับขับรำบำเรอราช | พิณพาทย์จำเรียงเสียงใส | ||
ผลัดกันปั่นโมงมาคอยใช้ | พนักงานของใครระไวระวัง | ||
มีเหล่าเถ้าแก่ท้าวนาง | งานเครื่องงานกลางผู้รับสั่ง | ||
โขลนจ่าหลวงแม่เจ้าชาวคลัง | จัดแจงแต่งตั้งครบครัน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ มีหมู่มาตยาสามนต์ | โยธีรี้พลแข็งขัน | ||
นับหมื่นพื้นหาญชาญฉกรรจ์ | เคยณรงค์โรมรันไม่ครั่นคร้าม | ||
ม้ารถคชไกรไม่ใช่ชั่ว | แต่ละตัวแกล้วกล้ากลางสนาม | ||
ทนปืนยืนยงในสงคราม | ฦานามขามฤทธิทุกทิศไป | ||
นานานัคเรศประเทศราช | เข็ดขยาดย่อท้อไม่ต่อได้ | ||
ต่างถวายสุวรรณมาลัย | โอรสยศไกรและธิดา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ยานี | |||
๏ อันสี่ธานีราชฐาน | กว้างใหญ่ไพศาลหนักหนา | ||
เทเวศร์นฤมิตด้วยฤทธา | สนุกดั่งเมืองฟ้าสุราลัย | ||
มีปราสาททั้งสามตามฤดู | เสด็จอยู่โดยจินดาอัชฌาสัย | ||
หลังคาฝาผนังนอกใน | แล้วไปด้วยโมราศิลาทอง | ||
ภูเขาเงินรองฐานมีมารแบก | ยอดแทรกยอดใหญ่ไม้สิบสอง | ||
แก้วไพฑูรย์ทำเป็นลำยอง | บัญชรช่องชัชวาลบานบัง | ||
พระปรัศว์ซ้ายขวาอ่าโถง | ท้องพระโรงรจนาหน้าหลัง | ||
พระแท่นแก้วกุดั่นบัลลังก์ | กางกั้นเศวตฉัตรอยู่อัตรา | ||
บรรจถรณ์ที่ไสยาสน์อาสน์สุวรรณ | มีฉากแก้วแพรวพรรณคั่นฝา | ||
ที่เสวยที่สรงคงคา | ที่นั่งเย็นอยู่หน้ามนเทียรทอง | ||
พรรณไม้ดอกลูกปลกกระถาง | ไว้หว่างอ่างแก้วเป็นแถวถ้อง | ||
ราบรื่นพื้นชาลาดังหน้ากอง | อิฐทองปูลาดสะอาดตา | ||
ที่ทิมที่ล้อมวงองครักษ์ | นอกกองเกณฑ์พิทักษ์รักษา | ||
โรงแสงโรงภูษามาลา | เรียงเรียบรัถยาหน้าพระลาน | ||
เครื่องเนืองกันเป็นหลั่นลด | โรงม้าโรงรถคชสาร | ||
ติกาหลังสำหรับพระกุมาร | อยู่นอกปราการกำแพงวัง ฯ | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ประตูลักลงท่าชลาลัย | มีโรงเรือเรียงไปริมฝั่ง | ||
เรือศรีสุวรรณบัลลังก์ | เรือแข่งเรือที่นั่งตั้งบนม้า | ||
เรือกิ่งเอกชัยใส่บุษบก | งามกระหนกลวดลายท้ายหน้า | ||
พนักงานตำรวจใหญ่ไตรตรา | เกณฑ์ไพร่ให้รักษานาวี | ||
ตำหนักแพแลล้ำอำไพ | มุขดลพาไลหลังคาสี | ||
ช่อฟ้าหน้าบันปราลี | ล้วนมณีเนาวรัตน์ชัชวาล | ||
ข้างหน้าตำหนักน้ำนั้นทำเกรง | สำหรับราชสุริย์วงศ์สรงสนาน | ||
เบื้องบนบังสาดดาดเพดาน | ผูกม่านมู่ลี่ลายทอง | ||
ฤดูสิบเอ็ดเสด็จลง | ลอยกระทงทรงประทีปเป็นแถวถ้อง | ||
ทอดทุ่นท้ายน้ำประจำซอง | ตั้งกองล้อมวงพระทรงธรรม์ | ||
อันถนนหนทางท้องฉนวน | ศิลาลายลาดล้วนเลือกสรร | ||
มีตึกแถวทิมรอบขอบคัน | เรือนสนมกำนัลเป็นหลั่นมา ฯ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
สมิงทอง | |||
๏ ท้องสนามแกล้งปราบราบรื่น | พ่างพื้นปถพีไม่มีหญ้า | ||
กว้างใหญ่ไพศาลสุดตา | เตียนสะอาดดาษดาด้วยทรายทอง | ||
มีสุวรรณพลับพลาบนปราการ | สูงตระหง่านเอื้อมฟ้าสิบห้าห้อง | ||
ช่อฟ้าปราลีลำยอง | ฉลักฉลุบุทองอร่ามไป | ||
สำหรับที่ทอดพระเนตรสระสนาน | ล่อแพนผัดพานเป็นการใหญ่ | ||
ประลองเหล่าทหารชาญชัย | ยิงธนูศรใส่ยาพิษ | ||
ตั้งป้อมหัดปืนยิงหุ่น | แม่นยำซ้ำกระสุนไม่มีผิด | ||
โล่ดั้งดาบฟันกระชั้นชิด | เพลงกริชสันทัดทั่วทุกตัวตน | ||
บ้างรำทวนเปลี่ยนท่าบนพาชี | ขับขี่เคยศึกฝึกฝน | ||
ประลองคชสารสู้บำรูชน | ใช้ชำนาญในกลการยุทธ์ ฯ | ||
ฯ ๑๐ คำฯ | |||
ร่าย | |||
๏ รอบราชนิเวศน์เขตขัณฑ์ | มีปราการแก้วกั้นสูงสุด | ||
ซุ้มทวารบานสุวรรณชมพูนุท | ประตูลักช่องกุฎิ์สลับกัน | ||
มีทิวแถวโรงช้างระวางค่าย | เชิงเรียงรายเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์ | ||
หอรบแลสล้างนางจรัล | ป้อมสูงสามชั้นเป็นหลั่นลด | ||
รายปืนจินดาจังกาส่อง | วางประจำทุกช่องเสมาหมด | ||
เชิงเทินดังเนินบรรพต | บันไดลดเลี่ยนลาดสะอาดตา ฯ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ชมตลาด | |||
๏ ท่ามกลางทางท้องสถลมาศ | ลำดับดาดอิฐแผ่นแน่นหนา | ||
บ้านช่องสองข้างมรรคา | ล้วนเคหาหน้าถังนั่งร้าน | ||
เหล่าพวกกรมท่าเจ้าภาษี | มั่งมีสมบัติพัสถาน | ||
เรือนริมรัถยาฝากระดาน | ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง | ||
สุเหร่าเรียงเคียงคั่นปั้นหยา | ก่อผนังหลังคามุงกระเบื้อง | ||
ศาลเทพารักษ์หลักเมือง | นับถือลือเลื่องทั้งกรุงไกร | ||
เสาชิงช้าอาวาสวัดพราหมณ์ | ทำตามประเพณีพิธีไสย | ||
หอกลองอยู่กลางเวียงชัย | แม้เกิดไฟไพรีตีสัญญา | ||
สะพานข้างทางข้ามคชสาร | ก่ออิฐปูกระดานไม้หนา | ||
คลองหลอดแลลิ่วสุดตา | น้ำลงคงคาไม่ขอดเคือง | ||
นาวาค้าขายพายขึ้นล่อง | ตามแม่น้ำลำคลองแน่นเนื่อง | ||
แพจอดตลอดท่าหน้าเมือง | นองเนืองเป็นขนัดในนัที | ||
ข้าวของต่างต่างเอาวางขาย | แพรม้วนมากมายหลายสี | ||
ยกทองล่องจวนเจ็ดตะคลี | พลอยมณีเพชรนิลจินดา | ||
บริบูรณ์พูนสุขด้วยสมบัติ | แก้วเก้าเนาวรัตน์วัตถา | ||
ทุกสิ่งสรรพ์เอมโอชโภชนา | ย่อมเยาราคาสารพัน ฯ | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ | |||
เบ้าหลุด | |||
๏ ลูกค้าวานิชทุกนิเวศน์ | มาแต่ต่างประเทศเขตขัณฑ์ | ||
สำเภาจอดทอดท่าเรียงรัน | สลุบแขกกำปั่นวิลันดา | ||
จีนจามอะแจแซ่ซ้อง | คับคั่งทั้งสิบสองภาษา | ||
แสนสนุกสุขเกษมเปรมปรา | ถ้วนหน้าประชาชนมนตรี | ||
บ้างฝึกสอนคนรำทำบทบาท | พิณพาทย์ระนาดฆ้องอึงมี่ | ||
ลูกค้าวาณิชทุกนิเวศน์ | มาแต่ต่างประเทศเขตขัณฑ์ | ||
พวกขุนนางต่างหัดมโหรี | ลาวสาวเสียงดีมีหลายคน | ||
บ้างลงท่าโกนจุกสนุกสนาน | มีงานการกึกก้องทุกแห่งหน | ||
บ้างตั้งบ่อนปลากัดงัดไก่ชน | ทรหดอดทนเป็นเดิมพัน | ||
บ้างเล่นวิ่งวัวคนโคระแทะ | ชนแพะแกะกระบือคูขัน | ||
บ้างเล่นว่าวคุลาคว้าพนัน | ปากเป้าสั้นโห่ฉาววิ่งราวมา | ||
ราตรีมีหนังประชันเชิด | ฉลุฉลักลายเลิศเลขา | ||
บ้างเล่นเพลงครึ่งท้อนกลอนสักวา | ทั้งสุดใจไก่ป่าสารพัน ฯ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ชมตลาด | |||
๏ ฝ่ายฝูงสาวสาวชาวกรุง | ก็บำรุงรูปโฉมเฉิดฉัน | ||
ขัดขมิ้นหนุนเนื้อเจือจันทน์ | หวีผมคมสันกันไร | ||
ที่ลูกเหล่าพงศ์เผ่าพวกผู้ดี | รูปทรงส่งศรีผ่องใส | ||
ซ่อนตัวกลัวจะเก็บเป็นางใน | ถึงมีงานการใหญ่ไม่ไปดู | ||
ลางพวกเพิ่งดรุณีแรกสาว | เจ้าบ่าวไปปลูกหอขอสู่ | ||
บ้างลอบลักรักเร้นเป็นชู้ | หมากพลูพวงมาลัยให้กัน | ||
พวกหนุ่มหนุ่มพากเพียรเวียนแวดขาย | มุ่งหมายรักใคร่ใฝ่ฝัน | ||
..............................วรรคนี้หายไป | ไม่มีในต้นฉบับ........................ | ||
บ้างดีดนิ้วผิวปากทำเพลง | ล้วนนักเลงเจ้าชู้ฉุยฉาย | ||
ลดเลี้ยวเที่ยวเล่นตามสบาย | หญิงชายเป็นสุขทุกคืนวัน ฯ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ปลิ่ม | |||
๏ ทิศใต้ภายนอกธานี | มีสระสวนศรีสะตาหมัน | ||
มิ่งไม้หลายอย่างต่างพรรณ | ล้วนแกล้งกลั่นสรรสาปลูกไว้ | ||
บ้างเผล็ดผลผการะย้าย้อย | ช่อช้อยชูก้านบานไสว | ||
พ่างพื้นรื่นร่มสำราญใจ | มีตำหนักน้อยในวารี | ||
อันโบกขรณีสี่เหลี่ยม | น้ำเปี่ยมเทียบปากสระศรรี | ||
ใสสะอาดปราศจากราคี | ดังแสงแก้วมณีรจนา | ||
มีสุพรรณโกสุมปทุมมาลย์ | ตูมบานแย้มกลีบกลิ่นเกล้า | ||
เกสรร่วงลงคงคา | พระพายพาหอมฟุ้งจรุงใจ ฯ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
สระบุหร่ง | |||
๏ นอกกเมืองมีสระตำยลหนึ่ง | วารีลึกซึ้งเย็นใส | ||
ริมรอบขอบคันล้วนพรรณไม้ | ระบัดใบบังแสงสุริยง | ||
เป็นที่ภูธรแต่ก่อนมา | แม้นปราบข้าศึกเสร็จเสด็จสรง | ||
ประดับด้วยโกมุทบุษบง | ลินจงอุบลบัวบาน | ||
มีพลับพลาที่ประทับยับยั้ง | อยู่ริมฝั่งสระใหญ่ไพศาล | ||
สำหรับเมืองเนื่องมาแต่บุราณ | ทั้งสี่ราชฐานพารา ฯ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
พระทอง | |||
๏ แต่กรุงดาหาธานี | มีคิรีวิลิศมาหรา | ||
อยู่นอกเมืองข้างเบื้องบูรพา | มรรคาวันหนึ่งถึงบรรพต | ||
อารักษ์เรืองฤทธิ์สถิตสถาน | เชี่ยวชาญเดชาปรากฏ | ||
ย่อมเป็นที่นับถือลือยศ | แห่งชาวชนบทพระบุรี | ||
แม้นมีเหตุเภทพานประการใด | ก็บวงบนเทพไทเรืองศรี | ||
ทำตามบุราณราชประเพณี | ถึงปีไปเคารพอภิวันท์ | ||
ทั้งที่พระองค์วงศ์เทเวศร์ | ดำรงนคเรศเกษมสันต์ | ||
ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินสิ้นทั้งนั้น | เป็นสุขทุกวันทุกเวลา ฯ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงพิชัยเขตขัณฑ์หมันหยา | ||
แสนสนุกสุขเกษมเปรมปรา | บรรดากรุงชวาไม่เทียมทัด | ||
เป็นใหญ่ยิ่งกว่าทุกธานี | แต่ก่อนทั้งบุรีสี่กษัตริย์ | ||
ประกอบด้วยแก้วเก้าเนาวรัตน์ | ไอศูรย์สมบัติศฤงคาร | ||
มีหมู่มาตยาข้าเฝ้า | สองเหล่าพลเรือนแลทหาร | ||
โยธีนับหมื่นพื้นเชี่ยวชาญ | แต่ละคนเคยชำนาญในการรบ | ||
อยู่ยงคงกระพันสาตรา | วิชาโล่เขนเจนจบ | ||
ราชรถคชสารสินธพ | เลิศลบเลือนกว่าทุกธานี ฯ | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ปางก่อนพระนครหมันหยา | ประชาราษฎร์มาตยาเกษมศรี | ||
ตั้งแต่ระตูภูมี | สุดสิ้นชีวีทิวงคต | ||
ก็เย็นเยียบเงียบเหงาเปล่าใจ | ทั่วนิเใศน์เวียงชัยชยนบท | ||
ตั้งแต่ประไหมสุหรีมียศ | โศกศัลย์รันทดทุกเวลา | ||
มีราชธิดาสามองค์ | งามทรงวงพักตร์เพียงเลขา | ||
พี่นางทรงนามสมญา | ชื่อนิหลาอระตาเทวี | ||
พระผู้ผ่านพิภพกุเรปัน | ตุนาหงันเป็นประไหมสุหรี | ||
อันระเด่นดาหลาวาตี | บุตรีที่สองรองลงมา | ||
ท้าวดาหาตุนาหงันไป | เป็นประไหมสุหรีในดาหา | ||
ยังแต่น้องนุชสุดโสภา | กัลยาแรกรุ่นจำเริญวัย | ||
ชื่อระเด่นจินดาส่าหรี | พระชนนีถนอมนักรักใคร่ | ||
กษัตริย์ใดมาขออรทัย | ไม่ยินยอมยกให้ไปไกลองค์ | ||
หวังจะให้เป็นเอกในเศวตฉัตร | สืบตระกูลกษัตริย์สูงส่ง | ||
อันท้าวมังกันฤทธิ์วงศ์ | ก็เนื่องในสุริย์วงศ์กันมา | ||
ได้ครอบครองสวรรยาธานี | ทรงธรรม์นั้นมีโอรสา | ||
พระคิดถึงระตูผู้มรณา | จะบำรุงพาราให้เรืองไป | ||
จึงตกแต่ของมาตุนาหงัน | ชนนีนางนั้นก็อวยให้ | ||
อภิเษกเอกองค์โอรสไว้ | ในพิชัยหมันหยาธานี ฯ | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายท้าวกุเรปันเรืองศรี | ||
เสวยราชสมบัติสวัสดี | สุขเกษมเปรมปรีดิ์มาช้านาน | ||
จึงมีพระโอรสา | ด้วยลิกูกัลยายอดสงสาร | ||
ชื่อกระหรัดตะปาตีกุมาร | รูปทรงสัณฐานโสภา | ||
พระบิตุเรศมารดาทั้งห้าองค์ | พิศวงจงรักหนักหนา | ||
เย็นเช้าเฝ้าชมทุกเวลา | แสนสนิทเสน่หาดังดวงใจ ฯ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ จึ่งจัดกิดาหยันน้องน้อย | ถ้วนร้อยโปรดปรานประทานให้ | ||
ทั้งนางนมพี่เลี้ยงแลสาวใช้ | เจ้าขรัวยายผู้ใหญ่ได้บังคับ | ||
ประทานทั้งเงินทองของขวัญ | ตามขนมครบครันเครื่องประดับ | ||
สร้อยสุวรรณสังวาลบานพับ | เกี้ยวแก้วแวววับสำหรับยศ | ||
ให้ตั้งกรรมทำกิจวิทยา | พร้อมคณะพรามหาดาบส | ||
ชุบกริชประสิทธิ์ให้โอรส | เลื่องหล้าปรากฎฤทธิไกร | ||
ครั้นท้าวกาหลังมีบุตรี | ด้วยลิกูนารีศรีใส | ||
ชื่อบุษบารากายาใจ | ตุนาหงันกล่าวไว้แก่ลูกยา ฯ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ คิดจะให้ประไหมสุหรีนั้น | ทรงครรภ์พระโอรสา | ||
จะได้สืบสุริวงศ์พงศ์เทวา | ดำรงขัณฑเสมาธานี ฯ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ คิดพลางทางถวายเครื่องบวงสรวง | บำบวงเทวราชเรืองศรี | ||
ขออารักษ์หลักเมืองเรืองฤทธี | ได้ปรานีเชิญช่วยจงสคิด | ||
ให้ประไหมสุหรีนั้นมีบุตร | เป็นบุรุษรูปโฉมประโลมจิต | ||
ได้ครอบครองพระนครขจรฤทธิ์ | ลือสะท้านทั่วทิศทั้งปวง | ||
แม้นสมปรารถนาดังว่าขาน | จะแต่งแก้บนบานบวงสรวง | ||
เทียนทองชวาลาบุปผาพวง | พรรณรายรุ้งร่วงด้วยเนาวรัตน์ | ||
จะแผ่ทองเนื้อเก้าหุ้มเสาศาล | เอาตาดคำทำม่านเพดานดัด | ||
อีกทั้งทิวธงราชวัติ | ชุมสายเศวตฉัตรชัชวาล | ||
ทั้งแพะแกะโคกระทิงสิ่งละร้อย | จะปล่อยไว้ในเทวสถาน | ||
จะสมโภชเจ็ดทิวาราตรีกาล | มีงานมหรสรพครบครัน ฯ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์ปะไหมสุหรีเฉิดฉัน | ||
ร่วมภิรมย์สมสุขด้วยทรงธรรม์ | เมื่อจวนจะมีครรภ์พระลูกรัก | ||
ราตรีเข้าที่พระบรรทม | ด้วยบรมนรินทร์ปิ่นปักษ์ | ||
บังเกิดนิมิตฝันอัศจรรยบ์นัก | ว่านงลักษณ์นั่งเล่นที่ชาลา | ||
มีพระสุริยงทรงกลด | ชักรถมาในเวหา | ||
แจ่มแจ้งแสงสว่างทั้งโลกา | ตกลงตรงหน้านางรับไว้ | ||
ครั้นนิทราตื่นฟื้นองค์ | ให้หลากจิตพิศวงสงสัย | ||
จึงทูลพระภัสดาพลันทันใด | โดยนัยนิมิตเยาวมาลย์ ฯ | ||
ฯ ๘ คำฯ | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
- คุณพรพรรณ วัฑฒนายน ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน
- [1]