บทละครนà¸à¸à¹€à¸£à¸·à¹ˆà¸à¸‡à¹„à¸à¸£à¸—à¸à¸‡
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
การปรับปรุง เมื่อ 10:05, 1 กันยายน 2552 โดย CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑ นางวิมาลาตามไกรทองมาจากถ้ำ
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองพงศา | ||
สมสู่อยู่ด้วยวิมาลา | สุขาสำราญบานใจ | ||
ลืมสังเกตเวทมนตร์ที่ร่ำเรียน | แต่เวียนนอนนั่งเจ็บหลังไหล่ | ||
ลืมสองภรรยาแลข้าไท | อิ่มไปด้วยทิพโอชา | ||
ร่วมภิรมย์ชมรสสาวศรี | กุมภีล์ผิดอย่างต่างภาษา | ||
อยู่เย็นเป็นสุขทุกเวลา | ถึงได้เป็นเจ้าพระยาก็ไม่ปาน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ วันเอยวันหนึ่ง | ให้คิดคำนึงถึงบ้าน | ||
แต่กูมาอยู่ก็ช้านาน | สักกี่วันสารไม่แจ้งใจ | ||
ด้วยคุหาสว่างอยู่อย่างนั้น | จะสำคัญวันคืนก็ไม่ได้ | ||
แต่คิดคะเนตึกตรึกไตร | เห็นจะได้สักเจ็ดวันมา | ||
ป่านนี้น้องสองคนจะบ่นถึง | วันนี้จึงสำลักเป้นหนักหนา | ||
ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา | จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้ | ||
อย่าเลยจะขวนนางขึ้นไป | เลี้ยงเป็นเมียไว้จะดีอยู่ | ||
ให้คืนลือชื่อเราว่าเจ้าชู้ | จะมีผู้สรรเสริญสืบไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางทางเรียกวิมาลา | เข้ามาแล้วแจ้งเถลงไข | ||
พี่รักนางพ่างเพียงจะกลืนไว้ | หมายจะไม่จากกันคุ้งวันตาย | ||
แต่จนใจที่จะอยู่ในคูหา | เวทมนตร์เรียนมาจะเสื่อมหาย | ||
จำเป็นจำไปใจเสียดาย | ไม่เคยขาดคลาดคลายสักเวลา | ||
ขอเชิญดวงใจไปด้วยพี่ | เป็นที่สนิทเสน่หา | ||
พี่จะเลี้ยงเจ้าเป็นภรรยา | แก้วตาอย่าละห้อยน้อยใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลานารีศรีใส | ||
ได้ฟังคั่งแค้นขัดใจ | จึงตอบคำไปด้วยโกรธา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ แต่เอยแต่เดิม | ช่างแต้มเติมต่อติดประดิษฐ์ว่า | ||
ล้วนจะรักจะใคร่ให้สัญญา | มีสับปลับกับข้าหรือหม่อมไกร | ||
สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องน้ำ | จะมีจริงสักคำก็หาไม่ | ||
ลืมแล้วหรือขาที่ว่าไว้ | จะอยู่ด้วยน้องได้ในถ้ำทอง | ||
ถ้อยยำคำมั่นเจ้าพาที | มิให้อายกุมภีล์สิ้นทั้งผอง | ||
ครั้นสมใจได้ชิมลิ้มลอง | จะทิ้งน้องเสียได้ไม่เอ็นดู | ||
มิหนำซ้ำจะพาเอาขึ้นไป | จะให้อัปยศอดสู | ||
จะมาล่อลวงเล่นเหมือนเช่นชู้ | สุดรู้ที่น้องจะตามไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าพี่ | ไม่พอที่จะพะวงสงสัย | ||
ใช่จะกล่าวแกล้งแสร้งใส่ไคล้ | สิ่งไรมิจริงไม่เจรจา | ||
พี่เป็นมนุษย์สุดวิสัย | จะอยู่ในนทีคูหา | ||
นี่มาได้ด้วยฤทธิ์วิทยา | แม้นประมาทไม่ช้าจะบรรลัย | ||
ถ้าอยู่ได้ไม่ร้างห่างห้อง | จริงจริงนะน้องอย่าสงสัย | ||
จะลดเลี้ยวเบี้ยวบิดตะกูดไป | เหมือนเจ้าไม่เมตตาปรานี | ||
น้อยหรือรักเจ้าสักเท่าพ้อม | ยังไม่ยอมพร้อมใจไปด้วยพี่ | ||
จะเฝ้าวอนงอนง้อไปไยมี | ค่อยอยู่จงดีพี่ขอลา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ สุดเอยสุดใจ | น้องไม่เบี่ยงบิดประดิษฐ์ว่า | ||
เจ้าอย่าพะวงสงการ | ตัวข้าได้บอกแต่เดิมที | ||
ว่าฝูงกุมภาสิ้นทั้งผอง | อยู่ในถ้ำทองเกษมศรี | ||
เดชะด้วยฤทธิ์แก้วมณี | กุมภีล์จีงเป็นมนุษย์ไป | ||
มีธุระจะออกไปนอกถ้ำ | ถึงน้ำกลับเพศตามวิสัย | ||
นี่แหละเป็นความจนใจ | ไปได้หรือจะไม่ไปตาม | ||
ข้าก็ได้บอกแล้วแต่หนหลัง | เจ้าก็ไม่หยุดยั้งฟังห้าม | ||
ก่นแต่เฝ้าเย้ายวนลวนลาม | มันเป็นความงามหน้าแล้วครานี้ | ||
เมื่อผิดอย่างต่างชาติต่างวิสัย | จะอยู่ด้วยกันได้ก็ใช่ที่ | ||
ไม่ช้าไม่พลันกี่วันมี | จะมาหนีน้องไปให้ได้อาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
โอ้โลมนอก | |||
๏ น้องเอยน้องรัก | เจ้าอย่าพักก้าวเฉียงเบี่ยงบ่าย | ||
เห็นแล้วว่าสมัครรักพี่ชาย | จึงอุบายบิดเบือนเชือนแช | ||
น้อยหรือนั่นชั้นเชิงมิดชิด | ป้องปิดมิดเม้นไม่เห็นแผล | ||
แสนงอนอ่อนคอทำท้อแท้ | เรรวนปรวนแปรไม่ปรองดอง | ||
ถ้าเจ้าจะเอออวยไปด้วยพี่ | จะเสียทีไม่ถนัดขัดข้อง | ||
เสมือนหนึ่งรักพี่เสียดายน้อง | ถ้ำทองเป็นสุขสนุกสบาย | ||
ด้วยกุมภีล์หนุ่มหนุ่มประชุมพร้อม | บริวารแวดล้อมเหลือหลาย | ||
แต่ล้วนรูปนิมิตบิดเบือนกาย | จึงเสียดายเต็มทีอยู่มิไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ น้ำเอยน้ำคำ | เจ็บอกปิ้มป้ำน้ำตาไหล | ||
แม้นมิว่าบ้างเลยจะเคยใจ | นางจึงตอบคำไปด้วยโกรธา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าไกรทอง | ขอโทษเถิดใช่นอ้งจะแกล้งว่า | ||
เจ้าอุตส่าห์ประดาน้ำดำลงมา | ค้นคว้าหาน้องที่ห้องใน | ||
เจ้าก็จุดธูปเทียนเวียนส่องทั่ว | หม่อมผัวจะงมมาก็หาไม่ | ||
ก็ย่อมเห็นย่อมรู้อยู่แก่ใจ | ที่ในชั่วดีวิมาลา | ||
ไม่เห็นหรือหนุ่มหนุ่มในห้องน้อง | มันออกซ้องเสียนักอย่าพักว่า | ||
ชั่วจริงเจ้าเอ๋ยชาติกุมภา | ใครเข้ามาก็พลอยพุดสะรุด | ||
ถึงเจ้าก็เป็นคนไม่พ้นชั่ว | มาเกลือกกลั้วสตรีไม่บริสุทธิ์ | ||
เสียชาติญาติวงศ์พงศ์มนุษย์ | เป็นบุรุษโหดไร้น้ำใจพาล | ||
มางงงวยด้วยหญิงแพศยา | จนหน้าตาหมองคล้ำดำด้าน | ||
เจ้าเป็นคนมนตร์เวทเชี่ยวชาญ | วิชาการมิเสื่อมก็จำคลาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าคารม | ปากคอพอสมกับเป็นม่าย | ||
แสนรู้ร้อยอย่างช่างอุบาย | ยักย้ายหลายทำนองว่องไว | ||
มิเสียทีที่เป็นเมียชาลวัน | น้อยหรือนั่นบุญหนักศักดิ์ใหญ่ | ||
น่าหัวผัวตายประเดี๋ยวใจ | ไม่ทันไรหรือมาเป็นเช่นนี้ | ||
หญิงร้ายแพศยาสามานย์ | เขาขี้คร้านคบหาให้เสียศรี | ||
เจ้าเอ๋ยแพศยากุมภามี | อย่างนี้เจียวสิหว่าจะตราไว้ | ||
ถ้ารู้เหตุผลแต่ต้นมา | ที่จะไว้ชีวาอย่าสงสัย | ||
อันน้ำใจสตรีนี้ไซร้ | ยากที่จะหยั่งได้ดังจินดา | ||
พระมหาสมุทรสุดลึกซึ้ง | ถ้าจะหยั่งให้ถึงก็ง่ายกว่า | ||
หญิงสามร้อยกลมารยา | สุดที่จะศึกษาให้แจ้งใจ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ น่าเอยน่าหัว | จริงแล้วคะข้าชั่วหาเถียงไม่ | ||
อายแก่ผีสางบ้างเป็นไร | นี่ใครใช้ให้เจ้ามาคบค้า | ||
ข้าเจียมตัวกลัวความหนามเสี้ยน | มุดเมื้ยนอยู่หานี่ประสีประสา | ||
เมื่อเจ้าซานซนงมงายมา | มิลืมตาขึ้นดูเสียก่อนเลย | ||
คิดมาก็น่าสมเพชผัว | มาพลอยชั่วด้วยข้านิจจาเอ๋ย | ||
เหมือนพระยาราชหงส์เข้าดงเตย | จะก้มเงยหนามเหนี่ยวเกี่ยวยับ | ||
ขนข้างหางปีกไม่เหลือหลอ | เขาคั้นคอสิ้นเสียงใส่เขียงสับ | ||
ไม่พอที่จะกล้าเข้ามารับ | เอาอาภัพอัปรีย์ใส่ตัว | ||
เท่านั้นเถิดเป็นไรเจ้าไกรทอง | ได้หม่นหมองแปดปนกับคนชั่ว | ||
เสียเดชเวทมนตร์จนมืดมัว | เชิญไปชำระตัวเสียเป็นไร | ||
ถึงมิอยู่จะไปก็ให้งาม | อย่าเอาความอัปรีย์มาใส่ให้ | ||
รู้ว่าเจ้าอย่าว่าให้หนักไป | อัชฌาอาศัยแต่พอควร | ||
อย่าเพ่อสาวไส้ให้กาทิ้ง | อื้ออึงลือเลื่องเครื่องคนสรวล | ||
เหนื่อยปากขี้คร้านต้านสำนวน | อันกระบวนของเจ้าข้าเข้าใจ | ||
ซึ่งกว่าสามร้อยกลสตรี | มากมีเสียเปล่าไม่เอาได้ | ||
ไม่เหมือนบุรุษนี้สุดใจ | ว่าไว้สามสินสองกล | ||
ทำโกหกพกลมล่อลวง | หึงหวงด่าว่าเหมือนบ้าบ่น | ||
สารพัดตัดพ้อล่อชน | เถิดข้าเสียกลเจ้าคนคต | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ น้อยเอยน้อยหรือ | นางคนซื่อสารพันขยันหมด | ||
ก่นแต่ติเตียนเวียนประชด | จริงแล้วคะข้าคดไม่งดงาม | ||
มันจะเหมือนผัวเก่าของเจ้าหรือ | สุดซื่อแล้วเจ้าเอ๋ยอย่าเย้ยหยาม | ||
แต่ออกชื่อชาลวันก็ครั่นคร้าม | สุดคิดจะติดตามให้ต้องใจ | ||
ไหนนั่นความชั่วตัวอัปรีย์ | ว่าพี่มาปรำซ้ำใส่ให้ | ||
เมื่ออื้ออึงไปเองไม่อายใจ | กลับว่าสาวไส้ให้กาทึ้ง | ||
เจ้าสินสนักสำบัดสำนวน | ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง | ||
ดังหนองน้ำลำธารอันเซาะซึ้ง | เป็นที่พึ่งสารพัดไม่ขัดใคร | ||
เลื่องลืออื้ออึงพี่จึงมา | หวังจะพาไปชมคารมใหญ่ | ||
ให้ฟุ้งเฟื่องทั้งเมืองพิจิตรไว้ | เขาจะได้ชมรสวาจา | ||
จะชมทั้งกิริยามารยาท | เชื้อชาติโฉมนางต่างภาษา | ||
เจ้าจะได้เห็นหัวผัวกุมภา | อยู่ที่ศาลเทวาอารักษ์บน | ||
รำลึกถึงเมื่อไรจะไปเยือน | ก็พอเคลื่อนคลายได้ไม่ขัดสน | ||
ล้วนหนุ่มหนุ่มประชุมชอบกล | เขาเคยไปบวงบนบูชา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เจ็บเอยเจ็บใจ | ช่างพิไรเสกสรรรำพันว่า | ||
สารพัดจัดให้วิมาลา | สมน้ำหน้าแล้วสิสนัดใจ | ||
อันศาลเจ้าที่หัวผัวเก่าอยู่ | ข้าไม่รู้แห่งหนตำบลไหน | ||
ทำตีอกยกมือขออภัย | เห็นแต่หัวผัวใหม่ที่งมมา | ||
อะไรไม่หยุดหย่อนเฝ้าค่อนแคะ | นั่นแหละพอสมกับแพศยา | ||
แต่กุมภีล์เท่านั้นไม่คัณนา | ยังซ้ำมนุสสาจึงสมใจ | ||
เขาจะได้เชิดชื่อลือทั่ว | ว่าหญิงชั่วตัวเจ้ามารักใคร่ | ||
จะปรากฏยศศักดิ์ของหม่อมไกร | สืบไปชั่ววงศ์พงศ์พันธุ์ | ||
ถ้าเห็นงามตามแต่จะเมตตา | ฝ่ายข้าไม่รังเกียจเดียดฉันท์ | ||
จะชูราศีหม่อมขึ้นทุกวัน | เหมือนเอาจันทน์เฉลิมเจิมจุณ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ ลมเอยลมเติบ | อย่ากำเริบนักนะมักจะวุ่น | ||
สัญชาติจระเข้เนรคุณ | ทำบุญไม่ขอพบสบใจ | ||
ชะนางตัวขยนกลั่นกล้า | ราคาสองสลึงหาถึงไม่ | ||
ถึงจะเสียมีดหมอก็เสียไป | หาด้ามทำใหม่ประเดี๋ยวเดียว | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่ากลัว | หม่อมผัวโกรธาจนตาเขียว | ||
ส่วนว่าเขานั้นขยันเจียว | เขาว่าบ้างเข่นเขี้ยวจะฆ่าตี | ||
เหตุว่าเจ้าดีมีฝีมือ | เอาเถิดให้เขาลืออึงมี่ | ||
เขาจะได้ว่าเจ้าห้าวหาญดี | ฆ่าฟันสตรีให้บรรลัย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เหลือเอยเหลืออด | ยังประชดประชันน่าหมั่นไส้ | ||
อย่าพักท้าทายมากมายไป | เขาจะเกรงอะไรกับนินทา | ||
หญิงร้ายปากกล้าไม่น่าเลี้ยง | คนผู้จะดูเยี่ยงไปภายหน้า | ||
ฉวยชักมีดหมอที่เหน็บมา | ทำเป็นโกรธาจะฆ่าตี | ||
จะไปไหนเล่าเจ้าคนคม | เอาคารมตั้งหน้าแล้วอย่าหนี | ||
น้ำตาคลอตาน่าปรานี | ชะช่างทำทีให้อ่อนใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | ยิ่งคั่งแค้นอกหมกไหม้ | ||
กระทีบเท้าเกาหัวแล้วว่าไป | ช่างกระไรไม่คิดเวทนา | ||
เห็นตัวน้องเป็นชาติกุมภีล์ | ล้วนมีแต่ขู่เข็ญจะเข่นฆ่า | ||
เหน็บแนมเต้มเติมเต็มประดา | หยาบช้าลิ้นลมไม่สมตัว | ||
เป็นเคราะห์เพราะหลงด้วยถ้อยคำ | จึงกระหน่ำซ้ำว่าจนหน้าชั่ว | ||
เจ้าได้ร่วมรักก็เพรากลัว | ข้าจึงได้มีผัวถึงสองคน | ||
รู้แล้วว่าหม่อมไม่เมตตา | จะทิ้งขว้างร้างหย่าไว้กลางหน | ||
เจ้าอย่าพักเคลือบไคล้ใส่กล | เห็นว่าจนอยู่ที่จะตามไป | ||
ถึงน้องจะรักใคร่ให้ใจขาด | ไนจะอาจเอออวยไปด้วยได้ | ||
จะเอาทีว่าชวนแล้วมิไป | แจ้งใจอยู่แล้วอย่าเจรจา | ||
ว่าพลางนางร่ำร้องไห้ | น้ำตาไหลโซมซาบอาบหน้า | ||
โอ้แต่นี้ไปนะอกอา | จะบ่ายหน้าไปพึ่งผู้ใด | ||
ทั้งนี้เป็นต้นเพราะผลกรรม | ชักนำทำชั่วมีผัวใหม่ | ||
คิดแค้นขึ้นมาไม่ว่ากระไร | เข้าหยิกข่วนเจ้าไกรแล้วโศกา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด | |||
ชาตรี | |||
๏ ยอดเอยยอดมิ่ง | ความจริงพี่ก็รักเจ้าหนักหนา | ||
พี่ขู่หยอกดอกเจ้าอย่าโกรธา | ไม่ทิ้งขว้างร้างหย่าจะพาไป | ||
ซึ่งกลัวว่าจะกลายเป็นกุมภีล์ | ไม่อาจออกจากที่ถ้ำได้ | ||
พี่จะลงเลขยันต์กันไว้ | มิให้รูปกลับเป็นกุมภีล์ | ||
อย่านิ่งนั่งไถลทำไขหู | จะไปหรือจะอยู่ให้รู้ที่ | ||
รำคาญขี้คร้านเซ้าซี้ | เมื่อมิไปแล้วก็แล้วไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ได้เอยได้แจ้ง | มิรู้แห่งจะทำกระไรได้ | ||
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นใจ | แค้นใครไม่เท่าเจ้าไกรทอง | ||
คิดถึงความรักก็ชักแช | จะใคร่แร่รวยตามไปคล่องคล่อง | ||
แล้วถอยหลังดำริตริตรอง | เกลือกพวกพ้องลูกเมียของเขามี | ||
คิดพลางทางว่าแก่เจ้าไกร | ไฮ้อะไรรำคาญหูจู้จี้ | ||
เจ้าจะพาน้องไปด้วยนี้ | ก็ตามทีมิขัดจะไปตาม | ||
แต่เกรงเกลือกเจ้าจอมหม่อมเมียหลวง | จะหึงหวงจ้วงจาบหยาบหยาม | ||
จะว่าน้องโฉดเขลาเบาความ | ไม่ไต่ถามตามผัวเขาขึ้นไป | ||
น้องจะได้อัปยศอดสู | จะแลดูหน้าคนกระไรได้ | ||
จะซ้ำร้ายอายยิ่งกว่าทิ้งไว้ | เจ้าจงตรึกไตรดูให้ดี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ แสนเอยแสนแขนง | ช่างกล่าวแกล้งบิดเบือนเชือนหนี | ||
ประเดี๋ยวใจไพล่ยักไปอย่างนี้ | ร้อยสี่ร้อยอย่างช่างว่าไป | ||
เดิมทีทำกระบวนรวนเร | กลัจะเป็นจระเข้ไม่ไปได้ | ||
พี่รับจะลงยันต์กันไว้ | มิให้กลับเพศเป็นกุมภา | ||
ก็ขัดสนจนอยู่ที่ข้อนั้น | กลับหันว่าลูกเมียจะด่าว่า | ||
นี่หรือว่ารักแกล้งชักช้า | แต่แย้มมาก็เห็นว่าล่อลวง | ||
ลูกเมียของพี่ก็มีอยู่ | แต่เขาไม่รู้หึงหวง | ||
พี่จะปราบปรามความทั้งปวง | มิให้จาบจ้วงล่วงเกินน้อง | ||
อย่าสงสัยว่าจะได้เคืองระคาย | อับอายเพื่อนบ้านร้านช่อง | ||
ถ้าสมัครรักจริงจงปรองดอง | เร่งแต่งตัวเถิดน้องจะด่วนไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลานารีศรีใส | ||
ความรักกลัดกลุ้มคลุ้มใจ | กลัวเจ้าไกรทองจะหมองมัว | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้ร่าย | |||
๏ จึงลุกเข้าไปในห้อง | จัดแจงสิ่งของจะตามผัว | ||
ผ้าผ่อนเงินทองของแต่งตัว | แหวนหัวแหวนมณฑปครบครัน | ||
แล้วเลือกของรักใคร่ใส่กระทาย | มากมายสารพัดจัดสรร | ||
พลางพิศดูห้องแก้วแพรวพรรณ | เตียงสุวรรณเคยนอนแต่ก่อนมา | ||
เสียดายของต่างต่างอย่างดี | เสียดายดวงมณีในคูหา | ||
มีคุณแก่ฝูงกุมภา | จะปรารถนาสิ่งใดก็สมคิด | ||
ให้อิ่มไปด้วยทิพอาหาร | ไม่มีความรำคาญแต่สักหนิด | ||
โอ้แต่นี้ไปจะมืดมิด | เร่งคิดสร้อยเศร้าโศกา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
สามเส้า | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองพงศา | ||
ค่อยย่องตามนางวิมาลา | เข้ามายังที่ห้องใน | ||
เห็นนางโศกศัลย์เศร้าหมอง | เป็นห่วงด้วยข้างของไม่ไปได้ | ||
จึงร่ายเทพรำจวนป่วนใจ | เป่าไปให้ต้องนางกุมภีล์ | ||
แล้วแกล้งแสร้งว่านี่แน่น้อง | เจ้าสิยังขัดข้องหมองศรี | ||
เป็นห่วงบ่วงใยอยู่เต็มที | จะมิไปด้วยพี่ก็ตามใจ | ||
เจ้าค่อยอยู่จงดีพี่ขอลา | จะคอยท่าช้านักนั้นไม่ได้ | ||
ว่าพลางทางเดินออกไป | ทำนองลองใจวิมาลา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาโศกศัลย์หนักหนา | ||
ต้องเทพรำจวนป่วนวิญญาณ์ | ให้แสนเสน่หาเป็นสุดคิด | ||
ซึ่งอาลัยในของทั้งหลาย | ไม่มีความเสียดายแต่สักหนิด | ||
นึกแต่จะภิรมย์ชมชิด | นางจึงลุกติดตามไป | ||
ฉวยฉุดชายผ้าเจ้าไกรทอง | จะทิ้งน้องเสียแล้วหรือไฉน | ||
น้องได้ว่าหรือจะมิไป | จึงมาตัดอาลัยไคลคลา | ||
พ่อเจ้าไปไหนจะไปด้วย | ถึงชีวิตจะม้วยก็ไม่ว่า | ||
ว่าพลางนางจูงมือมา | คืนเข้าคูหาห้องทอง | ||
เมียจัดไว้สำเร็จเสร็จสรรพ | สินทรัพย์สารพันข้าวของ | ||
อีกทั้งแก้วแหวนเงินทอง | เจ้าจงท่าน้องบัดเดี๋ยวใจ | ||
จะอาบน้ำทาแป้งแต่งตัว | หวีหัวผัดหน้านุ่งผ้าใหม่ | ||
ว่าแล้วกลับคืนเข้าห้องใน | ลูบไล้กระแจะแป้งแต่งกายา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองพงศา | ||
เปรมปริ่มยิ้มย่องต้องวิญญาณ์ | ด้วยนางวิมาลาจะคลาไคล | ||
ครั้นเห็นนางแต่งตัวสรรพเสร็จ | จึงถอดแหวนเพชรที่นิ้วใส่ | ||
เสกด้วยวิทยาเรืองชัย | เอาใส่ในมวยผมกัลยา | ||
แล้วลงยันต์เลขเสกซ้ำ | ปิดประจำท่ามกลางเกศา | ||
มิให้นวลนางวิมาลา | กลับคืนกายาเป็นกุมภีล์ | ||
แล้วจุดเทียนระเบิดเลิศล้ำ | ออกจากถ้ำนำนางสาวศรี | ||
มาตามเปลวปล่องช่องนที | วารีแหวกกว้างเป็นทางไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ขึ้นจากฟากฝั่งมหาสมุทร | จะยั้งหยุดอยู่ช้าก็หาไม่ | ||
พานางย่างเยื้องคลาไคล | เข้าในเมืองพิจิตรพารา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
บทละครนอกเรื่องไกรทอง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๐