จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ)
พระราชนิพนธ์คำนำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หนังสืออิลราชคำฉันท์นี้ จะว่าได้เกิดมีขึ้นเพราะข้าพเจ้ายุยงก็ได้ ที่ว่ายุยงนั้น เพราะข้าพเจ้าได้ทราบอยู่ว่าหลวงสารประเสริฐ (พระยาศรีสุนทรโวหาร [ผัน สาลักษณ]) เป็นผู้มีฝีปากแต่งหนังสือเห็นกาพย์กลอนได้อยู่ ดังมีพยานปรากฎอยู่ทีเรื่อง ปัญจสิงขรคำกลอน กับฉันท์และกลอนเบ็ดเตล็ดต่างๆ ข้าพเจ้าได้อ่านแล้วก็เห็นว่า มีจินตกวีเกิดขึ้นในหมู่คนไทยชั้นหนุ่มอีกแล้ว แต่ข้าพเจ้าวิตกอยู่ว่า ถ้าไม่คอยระวัง กลัวหลวงสารประเสริฐจะใช้ความสามารถของตนนั้น เพื่อแต่งหนังสืออันไม่เป็นแก่นสาร
ในสมัยตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ มา ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่ได้สังเกตเห็นว่า ฝีปากผู้แต่งกาพย์กลอนเลวลงกว่าในต้นรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นอันมาก เพราะพอใจแต่งแผลงอวดดีไปว่าใช้โวหารอย่างใหม่ ซึ่งมีคนบางจำพวกนิยม โดยสำคัญว่าเป็นโวหารอย่างฝรั่งและนิยมว่า การแต่งหนังสือโดยใช้โวหารแผลง และคำซึ่งเข้าใจว่าเป็นคำฝรั่งปนเปอยู่นั้น เป็นเครื่องแสดงความรุ่งเรืองของตน ในชั้นเมื่อเกิดมีละครชนิดที่เรียกว่า ละครร้อง ชุกชุมขึ้น นักเลงแต่งบทละครร้องก็มีมากขึ้น และเป็นที่เข้าใจกันว่า กลอนที่จะใช้ในบทละครร้องเช่นนี้ต้องใช้เป็นอย่าง "สมัยใหม่" ใช้ถ้อยคำอย่างใหม่ เลี่ยงถ้อยคำ ซึ่งเรียกว่า "ภูมิเก่า" ให้มากที่สุดที่จะหลีกไปได้ เช่นต่างว่าจะแต่งบทโลม ถ้าแต่งอย่างแบบแผนแห่งจินตกวีนิพนธ์ไทยเก่า คงแต่งว่า
|
"โฉมงามทรามสุดสวาทพี่ | | ดาลฤดีจ่อจิตพิศวง
|
ขอแต่เพียงได้พิงอิงองค์ | | แนบอนงค์ขวัญฟ้ายาใจ" ดังนี้
|
| | |
|
แต่ถ้าใครแต่งเช่นนี้ก็มันถูกหาว่าเป็นภูมิเก่า ไม่ทันสมัย ฝ่ายผู้แต่งถึงแม้จะพอมีความรู้แต่งได้ก็ไม่กล้าแต่งออกมา เพราะกลัวจะถูกติว่าเป็นคนผิดสมัย ฝ่ายผู้อ่านถึงแม้ว่าแท้จริงเมื่ออ่านบทกลอนเช่นข้างบนนี้แล้วจะ รู้สึกในใจจริงว่าเพราะ ปากก็ต้องกล่าวติว่า "ครึ" หรือ "งุ่มง่าม" เพราะถ้าแสดงออกมาว่าชอบบทกลอนเช่นนี้แล้ว ก็เกรงจะเป็นเหมือนสารภาพว่าตนเป็นคนที่เดินไม่ทันสมัย ด้วยเหตุนี้จินตกวีสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ เมื่อปรารถนาจะแต่บทโลมให้ได้ใจความเช่นเดียวกับบทข้างบนนี้จึงต้องแต่งว่า
|
"โอ้งามโฉมประโลมหรูคู่ชีวิต | | ช่างถูกจิตนี่กระไรแม่ใจหวาน
|
ขอจูบเจ้าคลึงเคล้าเยาวมาลย์ | | กระสันซ่านกอดศอพอชื่นใจ" ดังนี้
|
| | |
|
ตัวผู้ที่แต่งบทกลอนเช่นนี้ ถ้าเป็นผู้ที่มีนิสัยเป็นจินตกวีแม้แต่เล็กน้อย ก็คงจะต้องรู้สึกว่าเป็นถ้อยคำอันมีภูิมิต่ำ ซึ่งถ้าจะเปรียบกับคำกลอนบทข้างบนนี้ ก็ต้องรู้สึกว่าเหมือนขันทองเหลืองเทียบขันทองคำ แต่จะทำอย่างไรได้ตนเป็นผู้ขาย เมื่อคนซื้อชอบขันทองเหลืองมากกว่าขันทองคำ ก็จำเป็นต้องทำขันทองเหลืองขาย เมื่อเจ้าของโรงละครเขาชอบบทละครโสกโดกก็ต้องแต่งเช่นนั้น
ข้าพเจ้าได้เคยรู้สึกรำคาญมานานแล้ว แต่ไม่แลเห็นหนทางที่จะแก้ไขอย่างใด นอกจากที่จะมีผู้เป็นจินตกวีมาปรึกษาหารือแล้ว ข้าพเจ้าจึงจะสามารถแสดงความเห็นพูดจาเกลี้ยกล่อม ให้ช่วยกันรักษาวิชากวีไทยอย่าให้สูญเสียหรือเลวทรามไป ก็นับว่าได้มีผลสำเร็จไปบ้างแล้วบางรายแต่งยังเป็นส่วนน้อยนัก
ในส่วนตัวหลวงสารประเสริฐนี้ ข้าพเจ้าได้ถือโอกาสตักเตือนได้เต็มที่ เพราะพระยาศรีสุนทรโวหาร (พระยาศรีภูริปรีชา[กมล สาลักษณ]) ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าคุ้นเคยมาช้านาน ได้เคยพูดจาปรารภมีความเห็นพ้องกันอยู่ ทั้งตัวหลวงสารประเสริฐก็ได้รู้จักต่อเนื่องจากความคุ้นเคยกับบิดาเขานั้น ข้าพเจ้าจึงถือเอาโอกาสเพื่อแนะนำหลวงสารประเสริฐให้แต่งหนังสืออะไร อัน ๑ ซึ่งจะได้มีชื่อเสียงสืบไปว่าเป็นจินตกวีผู้หนึ่ง ซึ่งมิได้เป็นผู้ช่วยทำให้ภาษาไทยเสื่อมทราม ข้าพเจ้าของให้พยายมแต่งหนังสือขึ้น เพื่อให้ปรากฎแต่ไปในพงศาวดารว่าในรััชกาลพระมงกุฎเกล้าก็ยังมีจินตกวีอยู่ หลวงสารปะรเสริฐก็รับปากไว้ แต่ยังหาเรื่องที่ประพันธ์ขึ้นนั้นไม่เหมาะได้ จนข้าพเจ้าได้แต่งหนังสือ "บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์" นั้นขึ้น หลวงสารประเสริฐจึงได้พบนิทานเรื่องอิลราช ซึ่งมีอยุ่ในอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณะ เห็นว่าพอจะประพันธ์เป็นคำฉันท์ได้ หลวงสารประเสริฐจึงได้แต่งขึ้นด้วยความอุตสาหะ แล้วนนำมาให้ข้าพเจ้าช่วยตรวจ ข้าพเจ้าก็ได้ช่วยตรวจแก้ไขและแสดงความเห็นให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมขึ้น และบางตอนที่เขาแต่งไม่ได้โดยพิสดารเพราะขาดความรู้ในกิจการนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่นเรื่องพิธีอัศวเมธเป็นต้น ข้าพเจ้าก็ได้ช่วยชี้แจงให้ฟังโดยพิสดาร ตามที่ข้าพเจ้าได้อ่านมาในตำรับไสยศาสตร์ หลวงสารประเสริฐได้กำหนดจดจำเอาไปประพันธ์ขึ้นได้อย่างดี นับว่าเป็นที่ควรสรรเสริญ
ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้เห็นว่า ในรัชกาลของข้าพเจ้าได้มีจินตกวี ซึ่งสามารถจะแต่งฉันท์ภาษาไทยได้หลายคนแล้ว และหลวงสารประเสริฐผู้แต่งเรื่องอิลราชคำฉันท์นี้เป็นคน ๑ ในหมู่นั้น ข้าพเจ้ามีความยินดีเขียนคำนำนี้ให้หลวงสารประเสริฐเพื่อแสดงความพอใจแห่ง ข้าพเจ้า ณ บัดนี้
อนึ่งข้าพเจ้าขอถือเอาโอกาสอันนี้เพื่อแสดงว่า ถ้าแม้ผู้ใดซึ่งริเริ่มจะนิพนธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีความปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าตรวจและแนะบ้าง อย่า่งที่ข้าพเจ้าได้ช่วยหลวงสารประเสริฐมาแล้วนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่คุ้นเคยกัยข้าพเจ้าแล้วแต่ก่อนก็ตาม ข้าพเจ้าก็จะยินดีช่วยตรวจ และแสดงความเห็นเท่าที่ข้าพเจ้าสามารถจะทำได้ เพื่อช่วยอนุเคราะห์ผู้ที่มีความพอใจในทางจินตกวีนิพนธ์และเพื่อ ประโยชน์แก่วิชากวีของไทยเรานั้นด้วย
..........................(รัชกาลที่ ๖)
สนามจันทร์
วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
บทประพันธ์
๑
|
ศุภมัสดุ
|
|
สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
|
๏ ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี
|
สรรเพชญพระผู้มี | | พระภาค
|
|
๏ อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์
|
ทรงคุณคะนึงมาก | | ประมาณ
|
|
๏ นบสงฆ์สาวกพุทธ์พิสุทธิ์อริยญาณ
|
นาบุญญบุญบาน | | บโรย
|
|
๏ อีกองค์อาทิกวีพิรียุตมโดย
|
ดำรงดำรับโปรย | | ประพันธ์
|
|
๏ ผู้เริ่มรังพจมานตระการกมลกรรณ
|
ก้มกราบพระคุณขันธ์ | | คเณศ
|
|
๏ สรวมชีพอัญชลินาถพระบาทนฤเบศ
|
มงกุฎกษัตริย์เกษตร | | สยาม
|
|
๏ ที่หกรัชสมัยก็ไกรกิตติพระนาม
|
ทรงคุณคามภี- | | รภาพ
|
|
๏ เพียงนารายณ์อวตารบำราญอริบำราบ
|
เถลิงรัชทวีลาภ | | วิไล
|
|
๏ เปรื่องปรีชาวิทยุตมาภรณ์ไท
|
ธารสัตย์กระพัดใน | | กมล
|
|
๏ บำรุงรัฐสุขวัฒนานิกรชน
|
ทั่วรัฐมณฑล | | บำเทิง
|
|
๏ สรวมเดชไตรรตนาวรากรเถกิง
|
เกินโกฏิประกายเพลิง | | พิโรจน์
|
|
๏ รังรักษ์ไทอธิราชพระบาทนฤโทษ
|
เสพสิ่งประเสริฐโสต- | | ถิผล
|
|
๏ จุ่งเจริญด้วยสุขนันท์พระพรรณก็ถกล
|
ทีฆายุเพิ่มพล | | พิบูล
|
|
๏ ข้าบาทรังรจนานิทานอิลทูล
|
แทบบาทบดินทร์สูร | | สราญฯ
|
| | |
|
๒
|
ฉบัง ๑๖
|
๏ แถลงปางรามจันทราวตาร | | เสร็จมล้างเหล่าพาล
|
พินาศด้วยพระบารมี
|
|
๏ มลายเข็ญเย็นทั่วธาตรี | | ถวัลยรัชรมย์ชัยศรี
|
อยุูธเยศเกศกรุง
|
|
๏ สมภาร พระเอื้ออำรุง | | สมโภชผดุง
|
พระเดชกระเดื่องแดนไตร
|
|
๏ ปาง ราชปรารภกิจใน | | พลีกรรม์อันไกร
|
คือราชสูโยดม
|
|
๏ โดยเบื้องบรมราชนิยม | | ขัตติยสมาคม
|
ร้อยเอ็ดมาเอื้อเอาภาร
|
|
๏ แผ่พระกฤษฎาภินิหาร | | ใดราชฤาปาน
|
ฤาปูนพระเดชนฤบดี
|
|
๏ พระน้องสองเฝ้าบทศรี | | หิรักษ์จักรี
|
พระตรัสพระตรึกปรึกษา
|
|
๏ พระภรตผู้พระอนุชา | | เชิงไฉนเชษฐา
|
ทะนุพิธีพลีกรรม
|
|
๏ พระพร้องสนองถ้อยแถลงทำ- | | นูลทัดทานคำ
|
มิควรประกอบมหการ
|
|
๏ พระองค์ผู้ทรงอวตาร | | ตราบจบจักรพาล
|
โผอนมกุฎเกรงรณ
|
|
๏ ฤาควรกวนราชกังวล | | มละด้าวมาดล
|
ดำแหน่งทุเรศรัถยา | |
|
|
๏ บัดพระลักษมณ์ราชอนุชา | | นบเบื้องพระบาทา
|
บัณฑูรแถลงพจมาน
|
|
๏ ผิวไท้ใคร่กอบพลีการ | | อัศวเมธมหุฬาร
|
ก็เลิศพิธีพลีกรรม
|
|
๏ เผยเผชิญพิชิตเชษฐ์ชักนำ | | น้อมเกล้ากล่าวคำ
|
คดีดำนานในบูรพ์
|
|
๏ อินทรรอนพฤตาสูร | | เอิบอิศร์อันพูน
|
บำเพ็ญตบะบารมี
|
|
๏ มาผลาญมารมอดชีวี | | เกลื่อนบาปบ่มบำ-
|
รุงบุญระบอบบำบวง
|
|
๏ เป็นที่นิยมแก่ปวง | | เทพทั่วแมนสรวง
|
สรรเสริญประเสริฐสาธร
|
|
๏ แถลงเรื่องสมราชอนุสร | | พระศรีสังขกร
|
ก็โปรดก็เปรมปรารมภ์
|
|
๏ เยื้อนอรรถตรัสชอบเชยชม | | โดยราชนิยม
|
ยุบลคดีมีมา
|
|
๏ จึงแถลงอิลราชอิลา | | อวยองค์อนุชา
|
ฉบับอันพร้องพิสดาร ฯ
|
| | |
|
๓
|
วสันตติลกฉันท์ ๑๔
|
๏ ยังมีบรมนฤปนาถ | | อิลราชสมัญขาน
|
ทรงพลหิรัฐสุรฐาน | | สุประเทศสถาพร
|
|
๏ โอรสพระกรรทมประชา | | ปติพรหมบุตรขจร
|
เจิดคุณธรรมมิกบวร | | ทศพิธเพียบเพ็ญ
|
|
๏ เมตตาประชากรสโม- | | สรสุขสลายเข็ญ
|
ทั่วรัฐมณฑลก็เย็น | | สิรราษฎร์สเริงรมย์
|
|
๏ รักษ์ราษฎร์ก็เล่หปิยบุตร | | นรสุดประสาทสม
|
ซ้องศัพท์เกริกกิติอุดม | | วรเดชกระเดื่องแดน
|
|
๏ ปราบได้ณไกวลประเทศ | | ทศทิศก็เกรงแกลน
|
กลอกเกล้าและหนาวภยมิแคลน | | วรฤทธิเรืองรณ
|
|
๏ เรืองรองพระมนทิรพิจิตร | | กลพิศพิมานบน
|
ก่องแก้วและกาญจนระคน | | รุจิเรขอลงกรณ์
|
|
๏ ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด | | ดลฟากทิฆัมพร
|
บราลีพิไลพิศบวร | | นภศูลสล้างลอย
|
|
๏ เชิงบัทม์พระบัญชรเขบ็จ | | มุขเด็จก็พราวพลอย
|
เพดานก็ดารกพะพรอย | | พิศเพียงนภาพลาม
|
|
๏ สิงหาสน์จรูญจตุรมุข | | บมิแผกพิมานงาม
|
พื้นภาพอำพนพิพิธตาม | | ตะละเนื่องพนังนอง
|
|
๏ ภาพครุฑก็ยุดอุรคแผ่ | | กรเพียงจะผาดผยอง
|
เทพนมขนัดกษณะมอง | | มรุเทพทิพาลัย
|
|
๏ เบื้องบรรจถรณทิพอาส- | | นก็เอี่ยมอุไรไพ-
|
จิตรลายจำหลักฉลุพิไล- | | ยพิลาสลดามาลย์
|
|
๏ ชั้นฉัตรสกาวทุกุลพัสตร์ | | รุจิรัตน์อลังการ
|
เขนยขนนระคนบุษปปาน | | รสทิพย์ประเทืองใจ
|
|
๏ เนืองแน่นอนงค์นิกรนาฏ | | ทะนุบาทบำเรอไท
|
เฉิดโฉมประโลมกมลใคร | | ยลพิศก็พิศวง
|
|
๏ แน่งนางประหนึ่งวรสุราง- | | คสะอางสะอาดองค์
|
ร่ายเรียงบำเรออมรทรง | | สุรภาพพิมานเมือง
|
|
๏ ราชูประโภคปริโภ- | | คพิพัฒนนองเนือง
|
สมบัติสมบุรณเรือง | | วรราชภิรมย์ชม
|
|
๏ ปราการก็ปรากฎสุเม- | | รุสิเนรุเปรียบสม
|
นางจรัลและโดรณสดม- | | ภอธึกทะงันเงย
|
|
๏ ป้อมค่ายระรายธุชประฎาก | | สุประดิษฐ์ดำกลเกย
|
ในบานทวารวิมลเผย | | ผิวหับสนิทเนียน
|
|
๏ หอยุทธ์ก็เย้ยริปุประยุทธ์ | | อริยลณพาเหียร
|
เหือดเหี้ยมกำแหงหิริระเมียร | | มลฮึกอหังการ
|
|
๏ มากมวลอมาตย์นิกรเส- | | วกราชกำลังหาญ
|
พฤนทาพลากรแสะสาร | | สุรฤทธิเริงรณ
|
|
๏ ผาสุกสนุกนครขัณ- | | ฑสิมาสุมณฑล
|
บำเทิงระเริงหทยชน | | ทิชชาติประชุมชี
|
|
๏ แซ่ศัพท์ผสานดุริยสัง- | | คิตพาทยเภรี
|
สรบสิ่งประดาประดุจศรี | | สุรโลกชะลอลง
|
|
๏ ปางดลวสันตอุตุแสน | | จะเกษมณแดนดง
|
ดาษรุกข์ระดื่นดฤณบง | | ระบุบัตรขจีงาม
|
|
๏ แถวธารละหานศิขรหลาก | | ชลหลั่งละลุ่มหลาม
|
มั่วมวลละมั่งมฤคตาม | | วนสณฑ์สะเริงไพร
|
|
๏ ราชาพระปรารภประพาส | | พิศเพื่อภิรมย์ใน
|
แห่งห้องพระหาวนพิไล | | มิคล่าประลองกร
|
|
๏ โองการประกาศนิกรเส- | | วกโดยเสด็จดอน
|
มวลหมู่อมาตยสลอน | | พลถ้วนทหารหาญ
|
|
๏ ตรวจเตรียมพลากรพหล | | ตะละตนก็เชี่ยวชาญ
|
ม้ารถและคชวรยาน | | ระแทะเทียบสะเทื้อนดิน
|
|
๏ พลคชก็คือสุรคเชน- | | ทรไอยราอินทร์
|
ชำนนชำนาญชำนะอริน- | | ทรล้วนชโลมมัน
|
|
๏ พลม้าพลาหกผยอง | | ดุจล่องจะลอยสวรรค์
|
พลรถก็ล้วนรถสุพรรณ | | ระแทะธุชปลิวปลาย
|
|
๏ พลราบก็รุ่นทหระว่อง | | วยคล่องตะกอกาย
|
ล้วนโล่หโตมรก็ทาย | | ธนุแล่นกำแหงรณ
|
|
๏ สรรพศาสตรอาวุธทิพา | | วุธเทิดประเทืองมนตร์
|
สำหรับพเนจรผจญ | | ก็สะพราดสะพรึงเพรียง
|
|
๏ เริงร้องคะนองนิกรพล | | ผิวเพิกไผทเอียง
|
เอิกอึงอุฆษสุรก็เพียง | | ปฐพีถล่มลาญ
|
|
๏ ครั้งถึงสมัยมหุดิฤกษ์ | | อดิเรกอุดมวาร
|
จอมราชก็ยาตรวนสถาน | | ทุรรัถยาดล
|
|
๏ แดนไพรพิศาลศิขรเขิน | | ทุมเนินพนาสนฑ์
|
ปักษาคณามฤคยล | | ก็ยะยั่วยะยวนชม ฯ
|
|
| | |
|
๔
|
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
|
๏ ภาคพื้นพนารัญ | | จรแสนสราญรมย์
|
เนินราบสลับสม | | พิศเพลินเจริญใจ
|
|
๏ โขดเขินศิรขรเขา | | ณ ลำเนาพนาลัย
|
สูงลิ่วละลานนั- | | ยนพ้นประมาณหมาย
|
|
๏ ยอดมัวสลัวเมฆ | | รุจิเรขเรียงราย
|
เลื่อมเลื่อมศิลาลาย | | ก็สลับระยับสี
|
|
๏ ขาบแสงประภัสสร | | นิลก้อนตระการดี
|
ขาวแม้นมณีมี | | รตรุ้งรำไพพรรณ
|
|
๏ ทอแสงผสานสาย | | สุริย์ฉายก็ฉายฉัน
|
เหลืองเรื่ออุไรวรร- | | ณวิจิตรจำรูญ
|
|
๏ แง่งเงื้อมชะง่อนงาม | | ก็วะวามวิไลปูน
|
ปนรัตนไพฑูร- | | ยพิพิธประภากร
|
|
๏ ปานก้อนพระไกรลาส | | วรนาถมเหศร
|
ส้องเสพสถาพร | | สิริสุนทรารมณ์
|
|
๏ อวยพรพิพัฒน์พ้น | | ภยเวทวราคม
|
นอกนี้่ฤเปรียบสม | | ศิขรินทรงามงอน
|
|
๏ วุ้งเวิ้งชะวากผา | | ฆนแผ่นศิลาสลอน
|
ช่องชานชโลทร | | ชลเผ่นกระเซ็นสาย
|
|
๏ ปรอยปรอยประเล่ห์เห- | | มอุทกพะพร่างพราย
|
ซาบซ่านสราญกาย | | กระอุร้อนก็ผ่อนซา
|
|
๏ ท่อธารละหานห้วย | | ก็ระรวยระรินวา-
|
รีหลั่งถะถั่งมา | | บมิขาดผะผาดผัง
|
|
๏ ไม้ไล่สล้างชม | | ขณะลมกระพือวัง-
|
เวงเสียงก็เสียดดัง | | ดุจซอผสานสาย
|
|
๏ แสนสาธรารมณ์ | | จรชมก็ชวนสบาย
|
ใจหงอยก็ค่อยหาย | | หฤหรรษเหิมหาญ
|
|
๏ เซิงสนสล้างพฤษ- | | ษพิลึกลดามาลย์
|
บงบุษบาบาน | | ระบุดอกระดาษไพร
|
|
๏ ฉุนฉมระงมฆาน | | สุวมาลย์จรูงใจ
|
ส่งก้านตระการใบ | | พิศล้วนพิไลพรรณ
|
|
๏ ริ้วริ้วพระพายพา | | สุรภีละเวงวัน
|
ผึ้งภุมรีสัญ- | | จรสูบสุเกสร
|
|
๏ ร้องร่อนวะว่อนเชย | | รสเรณุกำจร
|
เกลือกบุษบากร | | ระกะกลีบกระหึ่มเสียง
|
|
๏ พรรณพฤกษทรงผล | | ตะละต้นจะอ่อนเอียง
|
พวงย้อยระย้าเพียง | | จะเผด็จสะดวกดาย
|
|
๏ สุกเหลืองอร่ามลิ้ม | | รสเลิศอร่อยหลาย
|
หลากหลากและมากมาย | | บมิรู้จะรำพัน
|
|
๏ ไม้ใบตระกาลบัตร | | ดุจจัดประจงสรร
|
สอดสีสลับกัน | | ระดะรุกขรายเรียง
|
|
๏ ชมทวยทิชาชาติ | | ก็ลิลาศประอรเอียง
|
แมกไม้จำเรียงเสียง | | เสนาะโสตสนั่นไพร
|
|
๏ แซ่ซ้องผสานสุน- | | ทรศัพทจับใจ
|
เพียงพาทยพิณไพ- | | เราะประโลมฤดีดี
|
|
๏ หลายเผ่าพนาเกียรณ์ | | พิศเพี้ยนผสานสี
|
เคลียคู่ประจำปี | | มนรู้ภิรมย์ลาน
|
|
๏ แม่นกก็ปกโป- | | ดกป้อนผลาหาร
|
ปีกป้องประคองปาน | | จะประเล้าประโลมเป็น
|
|
๏ ลิงค่างชะนีมี | | จลนีและนางเห็น
|
สายัณหย่ำเย็น | | ก็ยะยั้วยะเยี้ยผล
|
|
๏ ยองย่องผยองเผ่น | | อิลเห็นกระหายมน
|
ไล่หมู่มฤคจน | | จะกระทั่งรโหฐาน
|
|
๏ ล่วงถิ่นกำเนิดองค์ | | วรขันท์กุมารชาญ
|
หลงเชิงละเลิงพา- | | ฬมฤคเขม้นหมาย ฯ
|
|
| | |
|
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
เชิงอรรถ
ที่มา
[1]
[2]
[3]
[4]
[5]
[6]