นิราศเขาลูà¸à¸Šà¹‰à¸²à¸‡
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|นิราศขเาลูกชาง}} [[หม…')
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|นิราศขเาลูกชาง}} [[หม…')
รุ่นปัจจุบันของ 03:09, 3 พฤศจิกายน 2553
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: นายต่วน
แต่งขึ้นในคราวเดินทางไปเตรียมการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เขาลูกช้าง ต.ท่าไม้รวก เมืองเพชนบุรี พ.ศ.๒๔๒๙
บทประพันธ์
นิราศเรื่องลูกช้าง | ขนานนาม | ||
ต่วนผู้ประดิษฐ์ตาม | ที่รู้ | ||
ใช่จะคิดเลิงลาม | อ้างอวด ตนนา | ||
หวังกุศลที่ผู้ | สดับแล้วโมทนา ฯ | ||
รอยพุทธิบาทเจ้า | สุคต | ||
สถิตยอดบรรพต | ลูกช้าง | ||
ลักขณะเห็นปรากฏ | จักษุ ชนนา | ||
สู้สละนิราศร้าง | นุชน้องวันทนา ฯ | ||
โอ้เวราทำไว้อย่างใดหนอ | |||
ทุกราตรีมีแต่ว่าน้ำตาคลอ | เข้าปีจออัฐศกตกฤดู | ||
ถึงเดือนสามเข้าวสันต์เหมันตะ | ต้องจำจะไกลนุชไปสุดกู่ | ||
ธุระอื่นไหนจะร้างห่างพธู | ครั้นจะอยู่ดูท่าเป็นราคี | ||
ด้วยท่านพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ | จะไปจัดแจงทางกลางวิถี | ||
ต้องไปตั้งพลับพลาท่ากบชี | แต่ฉันนี้มีบัญชาต้องคลาไคล | ||
ด้วยนายท่านอาสามหากษัตริย์ | มีมนัสตั้งมั่นไม่หวั่นไหว | ||
เราเป็นข้าต้องอาสาเจ้านายไป | เป็นคนใช้สำหรับกำกับการ | ||
ครั้นจะนิ่งเสียไม่ไปกระไรอยู่ | พิเคราะห์ดูใช่เช่นเป็นทหาร | ||
นายมีกิจควรคิดทำราชการ | จะเกียจคร้านนึกอดสูดูไม่ดี | ||
จำใจร้างห่างนุชสุดวิตก | จะระหกระเหินเดินวิถี | ||
เขาลูกช้างทางจะไปไกลเต็มที | โอ้คราวนี้จำจะลาสุดาจร | ||
พี่จนจิตดอกนะน้องต้องจำพราก | ลาแต่ปากใจเป็นห่วงดวงสมร | ||
ใช่ว่าเรียมจะอยากไปจากจร | นี่กรรมก่อนทำไว้ต้องไกลกัน | ||
ถึงยามดีสี่ศูนย์พูนสวัสดิ์ | ฉันจึงจัดแจงกายจะผายผัน | ||
แล้วใส่เสื้อเนื้อนุ่งกวางตุ้งพลัน | ผ้านุ่งนั้นพื้นดีเป็นสีไพล | ||
จึงหยิบดาบตะพายบ่าลาพี่น้อง | ทั้งพวกพ้องชิดเชื้อข้างเหนือใต้ | ||
แล้วรีบจรจรัลจากบันได | แสนอาลัยด้วยจะร้างไปห่างเรือน ฯ | ||
ออกจากบ้านจวนเก่าให้เศร้าสร้อย | แสนละห้อยโหนไห้ใครจะเหมือน | ||
ไปคราวนี้ดูท่าเห็นกว่าเดือน | คิดถึงเพื่อนเหล่านี้เหมือนพี่น้อง | ||
ตั้งแต่ฉันมาอยู่นี่หลายปีเศษ | ไม่มีเหตุสิ่งไรจะได้หมอง | ||
จะไปมาได้สะดวกตามพวกพ้อง | ยิ่งตรองตรองคิดมิใคร่จะไคลคลา | ||
นี่จนใจด้วยจะไปราชการ | ถ้าแม้นจ้างหรือวานไม่ปรารถนา | ||
คอยอยู่ก่อนเถิดหนอฉันขอลา | จงสุขาอยู่สุขนั้นทุกคน ฯ | ||
แล้วก็เร่งรีบออกตรอกวัดธ่อ | เลี้ยวหัวรองุ่มง่ามไปตามถนน | ||
ยังไม่แจ้งแสงศรีสุริยน | พโยมบนมืดมัวไปทั่วทิศ ฯ | ||
จะประมาณไม่ช้านักถึงหลักเมือง | ดูรุ่งเรืองน่าสนุกท่านอุกฤษฎ์ | ||
มีทั้งศาลเทวาวราฤทธิ์ | สิงสถิตดูสง่าแก่ตาคน | ||
ฉันหยุดยั้งนั่งประณมก้มเกศี | อัญชุลีกราบงามลงสามหน | ||
หนึ่งอีกเทศสถานวิมานมน | ขอฝากมิ่งนิรมลจนกลับมา | ||
แม้นใครคิดหาญหักพูดยักเยื้อง | พ่อหลักเมืองผลาญชีวังให้สังขาร์ | ||
ขอให้เห็นตระหนักประจักษ์ตา | จะบูชาข้าวของที่ต้องใจ | ||
เทียนเงินเทียนทองของอย่างดี | เหล้าอาหนีเบ็ดเสร็จหมูเป็ดไก่ | ||
ทั้งจันอับทับทิมลูกลำใย | ให้สมใจเจ้าพระคุณกรุณา | ||
แล้วลาพ่อหลักเมืองค่อยเยื้องย่าง | พอสว่างหายมัวทั่วเวหา | ||
แซ่สำเนียงสกุไณทั้งไก่กา | พื้นนภาแจ่มกระจ่างกลางอัมพร | ||
ทั้งหญิงชายก็ฟื้นตื่นนิทรา | เปิดหน้าต่างล้างหน้าออกสลอน | ||
ทั้งสองฟากถนนหนทางจร | ล้วนสมรน่ารักลักขณา | ||
ไทยแท้แท้นั้นน้อยไม่ค่อยมาก | ทั้งสองฟากล้วนแต่ข้างต่างภาษา | ||
แม่เป็นไทยจีนไพล่เป็นบิดา | นั่งเยี่ยมหน้าขาวขาวลูกสาวเจ๊ก | ||
บ้านนั่งร้านขายของดูผ่องผิว | รูปหิวหิวร่างราวเป็นสาวเด็ก | ||
ทำไฉนจะได้เชยเป็นเขยเจ๊ก | ได้กินเล็กกินน้อยอร่อยคอ | ||
ถึงจะต้องมีเตี่ยไว้เปียด้วย | ถ้าแม้นสวยฉันไม่ว่าดอกหนาหนอ | ||
เมื่อพบพักตร์เหมือนหล่อนทักให้เดินรอ | ทั้งเศียรศอรูปราวสาวสุรางค์ | ||
งามกระไรนี่หนอมาล่อโลก | ฉันพลอยโศกเสียเพราะน้องยิ่งหมองหมาง | ||
ชมลูกสาวเจ๊กเพลินแล้วเดินพลาง | ไปตามทางมรรคารีบคลาไคล ฯ | ||
ประเดี๋ยวหนึ่งถึงบ้านยกกระบัตร | ฉันยกหัตถ์วันทาหาช้าไม่ | ||
ด้วยท่านมีเมตตามาแต่ไร | ฉันเคยไปเที่ยวเล่นอยู่เป็นนิจ | ||
ทั้งเหย้าเรือนเรียงรายนั้นหลายหลัง | มีหอนั่งตั้งขวางหน้าต่างปิด | ||
ทั้งบันไดขึ้นลงลูกกรงมิด | เป็นที่สถิตนั่งเล่นไม่เว้นวัน | ||
ทั้งทาสีทาสาหน้าเหมือนเหม | ดูปรีเปรมเยื้องกรายเดินผายผัน | ||
ในย่านนี้ท่านเป็นที่นามวัน | เมื่อก่อนนั้นสนุกนักเล่นสักวา | ||
ฉันหลงรักหนักใจอาลัยเหลือ | รักไม่เบื่อแทบจะเลยเป็นเขยข้า | ||
เกรงอยู่นิดกิจจะรู้ถึงสุดา | ฉันอุตส่าห์สู้อดเหมือนมดแดง | ||
ด้วยฉันหรือซื่อตรงต่อนงนุช | ได้ถือพุทธทางข้างไสยไม่แสวง | ||
กลัวน้องจะจืดจางทำคลางแคลง | หล่อนระแวงกลัวว่ารักจะชักช้า | ||
สู้อดใจเหมือนพระชนะยักษ์ | ก็เพราะรักโฉมเอกเมขลา | ||
สตรีอื่นนอกจากน้องเอาทองทา | ไม่ปรารถนาที่จะอยู่เป็นคู่เคล้า ฯ | ||
รีบตะบึงถึงตำบลถนนวัดลาด | นึกอนาถแสนวิโยคให้โศกเศร้า | ||
ฉันเหลียวไปไม่พบพักตร์ยอดรักเรา | เห็นแต่เขาคนอื่นไม่ชื่นตา | ||
ทั้งเรือนโรงสองข้างทางถนน | ทั้งผู้คนหญิงชายหลายภาษา | ||
ฝรั่งแขกแปลกกันวิลันดา | มอญพม่าลาวพวนญวนทวาย | ||
ยังอีกพวกกะเหรี่ยงเสียงขรม | เขาไว้ผมใส่เสื้อหาบเนื้อขาย | ||
ตามถนนวิถีมีมากมาย | แล้วผันผายรีบไปไม่รอรั้ง ฯ | ||
สักโมงหนึ่งพอถึงบ้านนารายณ์ | เป็นนิยายบุราณอ้างแต่ปางหลัง | ||
ว่าพระรามตามสีดามาประดัง | จึงยับยั้งตั้งพลับพลาที่ท่านี้ | ||
จะเท็จจริงฉันใดยังไม่รู้ | พิเคราะห์ดูเห็นจะจริงทุกสิ่งศรี | ||
เมื่อสมเด็จหริรักษ์จอมจักรี | ทศศีรลักโฉมยงไปลงกา | ||
พระจักรกฤษณ์ติดตามข้ามสมุทร | วายุบุตรเข้าคำนับรับอาสา | ||
คุมพวกลิงจองถนนขนศิลา | มาถมกลางมหาชลาลัย | ||
แต่องค์นางสีดายุพาพักตร์ | อยู่เมืองยักษ์หม่นหมองไม่ผ่องใส | ||
ทศกัณฐ์เกี้ยวพานประการใด | นางมิได้ยินดีมีเมตตา | ||
ด้วยซื่อตรงต่อองค์พระราเมศ | ยุพเรศไม่คิดรักท้าวยักษา | ||
ถ้ามิตรเราได้เหมือนอย่างนางสีดา | เกินลงกาคงจะไปมิได้กลัว | ||
คนเดี๋ยวนี้เห็นไม่มีแล้วอย่างนั้น | พอจากกันสองราตรีต้องมีผัว | ||
เฝ้าผัดหน้าทาแต่แป้งแต่งแต่ตัว | ฉันนึกกลัวหล่อนจะเป็นเช่นนั้น ฯ | ||
แล้วรีบร้นพ้นระยะบ้านนารายณ์ | พบหญิงชายที่รู้จักเขาทักฉัน | ||
ก็หยุดยืนสนทนาพูดจากัน | แล้วผายผันถึงท่าช่องเข้าทันที | ||
ท่าช่องเอ๋ยทำไฉนจะได้ช่อง | ถ้าพบน้องนึกจะพาสุดาหนี | ||
พระสมุทรยังอุ้มบุษมาลี | เขาจะดีกว่าเราสักเท่าไร | ||
ที่ท่าช่องมีช่องลงท่องท่า | ชาวบ้านนอกคอกนาลงอาศัย | ||
แล้วเดินจรจรัลจากนั้นไป | ด่วนครรไลมิได้รอรีบจรดล ฯ | ||
ถึงโรงเหล้าเตาสุรานายอากร | โรงอยู่ริมสาครเคียงถนน | ||
ล้วนแต่จีนไม่มีไทยเข้าไปปน | บ้างหาบขนข้างของที่ต้องการ | ||
มีหลงจู๊ผู้กำกับสำหรับกิจ | เป็นคนชิดใช้ต่างตาได้ว่าขาน | ||
พวกนักเลงกินเหล้าเมาออกซ่าน | บ้างเดินกรานพูดโวเที่ยวโซเซ | ||
ถึงเมาเหล้าเมาฝิ่นยังสิ้นสร่าง | แต่เมารักที่ฉันร้างมาห่างเห | ||
ดูยิ่งกว่ากินเหล้าสักเก้าเท | เหลือคะเนที่ฉันจะพรรณนา | ||
โอ้พุ่มพวงดวงจิตชีวิตพี่ | ป่านฉะนี้สาวน้อยจะคอยหา | ||
จะโศกเศร้าว้าเหว่อยู่เอกา | อนิจจาแสนสังเวชน้ำเนตรพราว | ||
โอ้อาลัยใจหายไม่วายโศก | มาเกิดโรคร้างงามเมื่อยามหนาว | ||
อันความรักหนักจิตเหมือนติดกาว | ไม่มีคราวลืมมิตรยลติดตา | ||
ยิ่งหวนหวนห่วงไห้ฤทัยโหย | อุระโรยร่วงหรุบเหมือนบุปผา | ||
เมื่อต้องแสงสุริยงส่องลงมา | เกสรสาโรชร่วงเหมือนทรวงเรา | ||
หวนคะนึงถึงมิตรพิศวาท | ใจจะขาดเสียเพราะทรวงงงง่วงเหงา | ||
แสนวิปโยคโศกศัลย์ไม่บรรเทา | ไม่บางเบาเสื่อมสร่างลงบ้างเลย | ||
ยิ่งคิดไปใจคอให้ห่อหู่ | ป่านนี้หนูจะคอยหานิจจาเอ๋ย | ||
ต้องร้างรักหักใจครรไลเลย | นิจจาเอ๋ยอกแทบหักหนักอุรา ฯ | ||
ถึงท่าสงมีศาลาชื่อท่าสง | ใครบรรจงสร้างไว้ในศาสนา | ||
ด้วยจิตหมายจะธุระพระนิพพาน์ | เพราะศรัทธาจึงได้สร้างไว้อย่างนี้ | ||
ทั้งหญิงชายมากมายที่ท่าสง | บ้างขึ้นลงอาบแช่กระแสศรี | ||
น่าพินิจพิศดูหมู่นารี | บ้างขัดสีเหงื่อไคลในกายา | ||
บ้างผลัดกันถูหลังนั่งแช่น้ำ | ลางคนดำทนจัดเหมือนมัจฉา | ||
นางคนหนึ่งพึ่งเดินดำเนินมา | พอผลัดผ้านมออกเหมือนดอกบัว | ||
ดูน่าจูบรูปร่างเหมือนอย่างหุ่น | พึ่งแรกรุ่นเหมือนลูกสาวเจ๊กเจ้าสัว | ||
ชั้นเนื้อหนังมิได้มีราคีมัว | หล่อนมีผัวแล้วหรือยังเป็นอย่างไร ฯ | ||
เดินไปถึงโรงแม่ส่านร้านขายยา | เขาลือว่าเขียวหวานสะท้านไหว | ||
อยากจะซื้อสูบลองสักสองไพ | แวะเข้าไปมีเนื้อความถามราคา | ||
ยาของแม่อย่างนี้กี่มวนร้อย | เขาตอบถ้อยว่าเคยขายนะนายขา | ||
สามมวนอัฐขายเขาไปแต่ไรมา | ฉันตอบว่าพานแพงแรงเต็มที | ||
ฉันเป็นชาวบ้านนอกดอกหนาขา | ขอเพียงห้ามวนมิได้ให้เพียงสี่ | ||
เอ็นดูเถิดแม่หนอฉันต่อดี | แม้นปรานีจะซื้อน้องสักสองไพ | ||
ฝ่ายแม่ส่านนั้นฉลาดว่าขาดทุน | นี้การุณดอกฉันจะปันให้ | ||
ฉันจึงมีคำตอบว่าขอบใจ | จึงหยอบอัฐส่งให้มิได้ช้า | ||
ฝ่ายแม่ส่านโฉมยงส่งบุหรี่ | ข้างฉันนี้ก็รับกับหัตถา | ||
นึกกระสันรัญจวนป่วนวิญญาณ์ | พอสบตามองดูรู้ว่ารัก ฯ | ||
เดินไปถึงมีถนนมีต้นไทร | ขวามือไปตลอดแถบเสาแคบปัก | ||
หนทางนั้นทางมีเป็นสี่กั๊ก | ทางหนึ่งยักลงท่าสงวารี | ||
ทางหนึ่งนั้นครรไลไปวัดป้อม | ทางหนึ่งอ้อมวกมาป่าช้าผี | ||
หนทางหนึ่งนั้นเล่าเข้าบุรี | รวมเป็นสี่หนทางอย่างรำพัน ฯ | ||
ก็พอพ้นโรงร้านย่านถนน | จรดลมุ่งหมายรีบผายผัน | ||
จะชมอะไรไม่เห็นงามตามเลานั้น | เห็นเถาวัลย์เบียดเสียดดูเยียดยัด | ||
บ้างก็ขึ้นพ้นรั้วออกยั้วเยี้ย | อ้ายเถาเหี้ยคนเขาเห็นกลายเป็นสัตว์ | ||
ฉันก็เร่งรีบมาถึงหน้าวัด | รู้นามชัดชื่อวัดเกาะดูเหมาะครัน | ||
พระอารามงามเลิศประเสริฐแสน | ดูแม้นแม้นราวกะเมืองสวรรค์ | ||
โบสถ์วิหารมีอยู่เป็นคู่กัน | กำแพงนั้นล้อมรอบขอบอาราม | ||
มีเสาหงส์สูงเยี่ยมเทียมเวหา | ดูสง่าแลวิไลในสยาม | ||
นอกกำแพงมีศาลาสง่างาม | ประมาณสามสี่หลังน่านั่งนอน | ||
ตามริมที่ศาลาป่าช้ามี | พระธรณีสูงยิ่งเกือบสิงขร | ||
ทั้งหญิงชายตายกลาดดาษดินดอน | อกสะท้อนถึงความตายที่วายชนม์ | ||
แล้วจึงปลงอนิจจังสังขารา | เราเกิดมาตายแล้วเห็นไม่เป็นผล | ||
ตายเป็นชัดไม่ว่าสัตว์ว่าบุคคล | ไม่ทานทนอยู่ได้ว่าใครดี | ||
ถึงเหาะเหินเดินได้ในเวหา | มีเพชรนิลจินดาเป็นเศรษฐี | ||
ถึงมียศมีศักดิ์เป็นจักรี | ต้องเป็นผีถ้วนหน้าไม่ว่าใคร | ||
แต่องค์พระชินศรียังนิพพาน | นี่เราท่านอย่าพะวงคิดสงสัย | ||
เร่งจำศีลภาวนาตั้งหน้าไป | เมื่อบรรลัยได้พ้นห่วงซึ่งบ่วงมาร | ||
แต่ตัวฉันทุกวันนี้มีแต่โศก | แสนวิโยคเห็นไม่พ้นวนสงสาร | ||
อกจะแตกแบกแต่รักแทบดักดาน | ทรมานกายมาหลายราตรี | ||
ถึงไม่ได้ขึ้นสวรรค์ฉันไม่ว่า | ได้แก้วตามาชมประสมศรี | ||
ช่างกระไรใจฉันเป็นพรรค์นี้ | ใครจะมีเหมือนมั่งทั่วทั้งเพชร ฯ | ||
แล้วก็เดินบุ่มบ่ามข้ามสะพาน | ยังมีร้านขายของนั้นเบ็ดเสร็จ | ||
โน่นข้าวหมากนั่นเมี่ยงนี่เรียงเล็ด | มีอยู่เสร็จหมากยาสารพัด | ||
ขนมถ้วยกล้วยทอดยอดสินค้า | ขนมครกหกฝาราคาอัฐ | ||
เขาตั้งร้านคอยท่าอยู่หน้าวัด | สารพัดแม้นต้องการทั้งหวานคาว | ||
แต่เจ้าของนั้นชแรแก่ชรา | ถ้าแม้นว่าหนุ่มยังกำลังสาว | ||
ถึงแพงถูกผูกรักเล่นสักคราว | นี่ดูราวพ่อแม่เห็นแก่เกิน ฯ | ||
ถึงวัดจันทร์หันหน้าวันทาพระ | ขอเดชะซึ่งความทุกข์อย่าฉุกเฉิน | ||
เขาลูกช้างจะไปไกลเหลือเกิน | ด้วยจะเดินไปคนเดียวนึกเปลี่ยวใจ | ||
ทั้งเสือสีห์ผีสางแรดช้างร้าย | อย่ามุ่งหมายขบกัดให้ตัดษัย | ||
โจรภัยอย่าได้มีอัคคีภัย | ขอให้ไปแคว้นคลาดทั้งศาสตรา | ||
แล้วก็เร่งรีบร้นพ้นวัดจันทร์ | ตามเหล่านั้นสับสนต้นพฤกษา | ||
มีกอไผ่ใบร่มรื่นพื้นพสุธา | ถึงแสงแดดแผดมาไม่ต้องกาย ฯ | ||
ไม่ถึงทางสองแพรกต้องแยกขวา | หวนคะนึงถึงสุดาไม่เหือดหาย | ||
แม้นใจน้องเป็นสองแพรกอกแตกตาย | ถ้ารักชายอื่นแอบมาแนบน้อง | ||
ขอเดชะเทวารักษาสัตย์ | ช่วยป้องปัดอย่าให้ใจเป็นสอง | ||
ฉันกลับมาเมื่อไรให้ได้ครอง | ขอให้น้องกรุณังเหมือนยังเคย ฯ | ||
ถึงวัดเลาเศร้าอุราวัดวาร้าง | อยู่เคียงทางเวทนานิจจาเอ๋ย | ||
เห็นวัดร้างเหมือนเราร้างมาห่างเชย | เมื่อไรเลยจะได้มาเห็นหน้ามิตร ฯ | ||
ถึงกะฎีที่เขาสร้างชื่อนางป้อม | ประณมน้อมเทพารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ | ||
บุราณว่าเจ้าหญิงสิงสถิต | ฉันตั้งจิตสวดพระกรณี | ||
จึงตั้งความปรารถนาต่อหน้าศาล | ซึ่งภัยพาลตามทางหว่างวิถี | ||
อันความชั่วขออย่าใกล้กายี | จนถึงที่เขาลูกช้างในกลางไพร | ||
หนึ่งให้สบพบนายข้าหมายมาด | อย่าแคล้วคลาดกับคุณพระเพชรพิไสย | ||
ด้วยคราวนี้สมจิตที่คิดไว้ | ข้าตั้งใจคอยมานั้นช้านาน | ||
ยังมิได้ใช้สอยสักหน่อยหนึ่ง | แม้นไปถึงจงมีจิตคิดสงสาร | ||
ฉันรักนายเหมือนบิดาครูอาจารย์ | ถึงว่าทางกันดารก็ต้องเดิน | ||
เพราะซื่อสัตย์สุจริตไม่คิดคด | แม้นทรยศเชิญปู่เจ้าทุกเขาเขิน | ||
ให้บรรลัยเสียที่ในพนมเนิน | ถ้าแม้นเดินให้เป็นเหยื่อแก่เสือร้าย | ||
แล้วยกหัตถ์อำลาเทพารักษ์ | ไม่หยุดพักเดินเรื่อยเหนื่อยใจหาย | ||
ทั้งสองฟากมรรคาล้วนป่าราย | พระสุริย์ฉายแดงเด่นเผ่นอัมพร ฯ | ||
ถึงวัดหนึ่งเขาเรียกว่าวัดท่าขวิด | สะดุ้งจิตคิดไปถึงใจสมร | ||
แม้นขวิดที่เหมือนชื่อท่าริมสาคร | จะต้องมรณ์เสียเพราะรักภัคินี | ||
พิศดูพระอาวาสอนาถเนตร | น่าทุเรศดังว่าป่าช้าผี | ||
นี่พระสงฆ์ไปไหนหรือไม่มี | ทั้งกะฎีศาลาฝาเกือบพัง | ||
วัดริมท่าดูไม่น่าจะโรยร้าง | อยู่ริมทางไม่น่าโซพุทโธพุทถัง | ||
พวกชาวบ้านช่างไม่คิดอนิจจัง | จะต้องพังป่นปี้คราวนี้แล้ว | ||
หรือชาวบ้านวัดท่าขวิดติดจะน้อย | ศรัทธาถอยไม่ปกป้องให้ผ่องแผ้ว | ||
เป็นชตาอารามไม่งามแล้ว | ไม่เพริศแพร้วสโมสรเหมือนก่อนมา | ||
เหมือนตัวพี่ที่คร่ำครวญไม่ควรร้าง | มาเหินห่างหวนเหเสน่หา | ||
ไม่ควรร้างไปในกลางพนาวา | ร้างเคหาแล้วยังร้างไปห่างน้อง ฯ | ||
แล้วเร่งรีบไปพ้นตำบลวัด | โทมนัสง่วงเหงาทรวงเศร้าหมอง | ||
ถึงเหน็ดเหนื่อยเมื่อนกายไม่วายตรอง | แสนคะนึงถึงน้องนองน้ำตา | ||
ทั้งสองฟากถนนล้วนต้นไม้ | ดูคว้าไขว่สับสนต้นพฤกษา | ||
ต้นตะโกโพไทรไม้พุทรา | กระดังงาหว้ากุ่มมะรุมมะระ | ||
ทั้งแคข่อยกุ่มน้ำประคำไก่ | ต้นขุดไทรไม้สมอตอตะกะ | ||
ทั้งเถาวัลย์พันต้นเข้าปนคละ | สกุณะอาศัยอยู่ในนั้น | ||
เห็นนกเขาเคล้าเคลียตัวเมียแอบ | นกผู้แนบคลึงคู่บ้างคูขัน | ||
โอ้ปักษายังรู้จักร่วมรักกัน | บ้างโผผันตามเล่ห์ประเพณี | ||
ซึ่งเรื่องราวตัณหานี้กล้าแข็ง | เรี่ยวแรงมากนักหนากว่ายักษี | ||
ไม่ว่ามนุษย์ครุฑาวาสุกรี | ก็ย่อมมีตัณหาไม่ว่าใคร | ||
เหมือนกำปั่นที่รับจ้างกลางกระแส | ทั้งเรือแพฉุดกระชากลากมาได้ | ||
ทั้งเรือใหญ่เรือน้อยผูกห้อยไป | ทนไม่ไหวลอยตามมาหลามคลอง | ||
ฉันใดอุปไมยเหมือนตัณหา | แรงหนักหนาโลกนี้ไม่มีสอง | ||
ท่านที่มีสติจงตริตรอง | ด้วยเป็นของลึกลับคับอุรา | ||
สมเด็จพระชินศรีโมลีโลก | เห็นทุกข์โศกแท้เที่ยงไม่เดียงสา | ||
จึงทรงสร้างข้างธุระพระนิพพาน์ | ปรารถนาสร้างกุศลให้พ้นภัย ฯ | ||
ถึงท่ายางมียางอยู่ข้างตลิ่ง | ทั้งรากกิ่งดูเกะกะออกไสว | ||
ล้มไปขวางกลางกระแสเห็นแต่ไกล | เขาว่าไม้ใกล้ฝั่งเป็นดังนี้ | ||
เปรียบเหมือนคนที่ชแรแก่ชรา | เกือบถึงความมรณาไปเมืองผี | ||
ก็เห็นจริงแล้วหนอซึ่งข้อนี้ | จรลีเห็นศาลาที่ท่าโพ ฯ | ||
ถึงสถานบ้านนายจูเป็นผู้คุม | ดูพากภูมิน่าสนุกเป็นสุโข | ||
อันเคหาเหมือนพระยาที่โตโต | ดูเอี่ยมโอ่เป็นสง่าฝากระดาน | ||
เมียก็สาวรูปก็สวยรวยทั้งทรัพย์ | ดูคั่งคับมากมายหลายสถาน | ||
ทั้งม้าลาข้าคนก็อลหม่าน | แสนสำราญบุญนำท่านทำมา | ||
ทั้งเมียน้อยเมียหลวงไม่หวงหึง | ไม่โกรธขึ้งดีแท้เจียวแม่จ๋า | ||
เหมือนพี่น้องท้องเดียวกันไม่ฉันทา | แม้นเราหาได้อย่างนี้จะดีครัน | ||
จะได้ปกได้ครองเป็นสองฝ่าย | ไม่หนีหน่ายแก้วตาจนอาสัญ | ||
แต่นายจูเมียใจดีไม่ดุดัน | แต่เมียฉันยอดหญิงจริงจริงเจียว | ||
ฉันตามนายไปได้นางต่างประเทศ | พอรู้เหตุโกรธาจนตาเขียว | ||
อยากให้พี่มีเมียเสียคนเดียว | เฝ้ากราดเกรี้ยวกลัวหาไว้มาเชย | ||
หล่อนสั่งแล้วสั่งเล่าเฝ้าแต่สั่ง | ว่าทีหลังแล้วอย่ามีเลยพี่เอ๋ย | ||
ซึ่งเมียใหม่แล้วอย่าหานั้นมาเลย | หล่อนภิเปรยวอนว่าสารพัน | ||
แล้วแวะเข้าหยุดนั่งยังศาลา | พอหายเหนื่อยเมื่อยล้าเกษมสันต์ | ||
ทั้งหญิงชายมากหนักหนาที่ท่านั้น | ดูผิวพรรณโสภณเหมือนคนใน | ||
ที่รุ่นรุ่นชันษาสิบห้าสิบหก | พอเต็มอกเดินเขยื้อนสะเทือนไหว | ||
พอสบตาดูเหมือนมาเตือนใจ | บ้างเดินไปเดินมาหลายนารี | ||
บ้างก็ดำขำขาวสาวสวยสวย | ถ้าแม้นฉวยได้สุดาจะพาหนี | ||
ไปให้ถึงพลับพลาท่ากบชี | นายเรามีแม้นตามพบได้รบกัน | ||
นั่งบ่นบ้าตามภาษาที่รักเขา | สันดานเมาใครจะเป็นดังเช่นฉัน | ||
แต่รักเดียวเจียวหายใจจะไม่ทัน | ถ้าแม้นดันเข้าเป็นสองจะต้องโซ ฯ | ||
บนศาลามีธรรมาสน์อาสนะ | มีรูปพระพุทธพงศ์หลายองค์โข | ||
พระทรงญาณยอดมงกุฏสัมพุทโธ | เป็นยอดโมลีจบภพไตร | ||
เขาเขียนเมื่อพระองค์ทรงประชวร | ให้ปวดป่วนหม่นหมองไม่ผ่องใส | ||
พระอานนท์แนบข้างไม่ห่างไกล | ถัดลงไปล้วนพระสงฆ์ทรงศีลา | ||
จนถึงพระชินศรีเข้านิพพาน | น่าสงสารเด็ดเดี่ยวไปเจียวหนา | ||
พระสาวกฟูมฟายฟายน้ำตา | ทั้งพระอานนท์น้องของพระองค์ | ||
พระมหากัสสปอภิวาทน์ | ฝ่ายพระบาททั้งสองที่ต้องประสงค์ | ||
บันดาลออกมาได้ดังใจจง | โอ้พระองค์สู่พารานิพพานัง | ||
เมื่อไรเล่าข้าพเจ้าสัตว์ผู้ยาก | จะพ้นจากติดคุกคือทุกขัง | ||
ก็หรือว่าพระองค์ทรงเกลียดชัง | ไม่โปรดสัตว์ข้างหลังให้พ้นภัย | ||
พระยอดญาณเข้านิพพานไปเสียก่อน | ฝูงสัตว์ร้อนหม่นหมองไม่ผ่องใส | ||
ถ้าแม้นว่าพระองค์อยู่ค่อยชูใจ | คงจะได้พ้นเขตกิเลสมาร | ||
ถ้าเกิดทันฉันจะทูลพระทศพล | ให้อยู่จนครบห้าพันเหมือนบรรหาร | ||
ได้โปรดสัตว์หญิงชายสบายบาน | แล้วจะเข้านิพพานตามพระทัย ฯ | ||
ฉันยกหัตถ์วันทาพระนาโถ | จากศาลาท่าโพหาช้าไม่ | ||
ถึงตะพานข้ามกระแสแลวิไล | แม้นจะไปวัดไม้รวกสะดวกดาย | ||
มีเรือนบ้านร้านเจ๊กขายเล็กน้อย | ทั้งกล้วยอ้อยของหวานตั้งร้านขาย | ||
ทั้งลูกเมียพร้อมหน้าท่าสบาย | แล้วผันผายเข้าตรอกจึงออกทาง ฯ | ||
พอถึงวัดท่าไชยอยู่ในป่า | อันวัดวานั้นไซร้ก็ใหญ่กว้าง | ||
ดูน่ากลัวร้อยแปดทั้งแรดช้าง | ทั้งเสือสางข้างอารามงามจะมี | ||
ถึงนามวัดน่าอัศจรรย์ใจ | ชื่อท่าไชยได้มีไชยเมื่อไรนี่ | ||
หรือว่าใครรบรอต่อตี | รบกันมาถึงนี่จึงมีไชย | ||
อยากจะถามใครดูให้รู้ชัด | ว่านามวัดนี้ตั้งแต่ครั้งไหน | ||
คนนับถือลือชามาแต่ไร | ทำไฉนจะได้รู้แต่บูราณ | ||
สมเด็จพระปรมินทร์บดินทร์เดช | ซึ่งโปรดเกศร่มเกล้าเจ้าสถาน | ||
ยังเสวยตามจริตกิจโบราณ | ชลธารที่หน้าวัดท่าไชย ฯ | ||
แล้วก็รีบจรดลพ้นอาวาส | ล่วงลินลาศมรรคาหาช้าไม่ | ||
ถึงสมอพลือพลันในทันใด | แลวิไลสองข้างหนทางจร | ||
ทั้งเหย้าเรือนเกลื่อนกล่นคนไม่น้อย | ดูหลายร้อยเซ็งแซ่แลสลอน | ||
บ้างปลูกฝังตั้งเคหาเคียงสาคร | ถึงหน้าร้อนลงท่าน่าสบาย | ||
พวกชาวบ้านสมอพลือเขาลือว่า | หล่อนทอผ้าว่องไวดีใจหาย | ||
คิดละห้อยละเหี่ยนึกเสียดาย | แม้นโฉมฉายหล่อนมาจะพาจร | ||
จะแวะเข้าซื้อหาสักห้าผืน | ให้งามชื่นนุ่งสมอารมณ์สมร | ||
เก็บไว้ให้แม่หนูนุ่งดูละคร | นี่งามงอนมิได้มายิ่งอาลัย | ||
เห็นสาวสาวชาวบ้านประมาณมาก | ฉันไม่อยากที่จะคิดพิศมัย | ||
ถึงจะสวยน่าสงสารสักปานใด | มายกให้เปล่าเปล่าไม่เอาเลย | ||
จะขออยู่สู้ตายกับสายสวาท | ไม่นิราศแรมร้างห่างเขนย | ||
ในชาตินี้แล้วไม่อยากไปจากเชย | ถึงใครงามก็ไม่เงยดูหน้าตา | ||
เดินพลางครวญพลางตามทางหลวง | ใจเป็นห่วงถึงมิตรกนิษฐา | ||
วันนี้มาจากกันกับขวัญตา | ไม่ทันลานิ่มนุชสุดอาลัย | ||
ด้วยว่าอยู่ต่างบ้านนานนานปะ | ไม่ทันจะเล่าแจ้งแถลงไข | ||
จงคอยอยู่จงดีอย่ามีภัย | จงตั้งใจไว้ท่าอย่าราคี ฯ | ||
ถึงมะขามสาแหรกขาดให้หวาดหวาม | ใครหาบหามของอะไรที่ไหนนี่ | ||
สาแหรกจึงขาดลงที่ตรงนี้ | เหตุคงมีเราไม่รู้แต่บูราณ | ||
มีมะขามสามต้นคนอาศัย | ดูโตใหญ่สาขาพฤกษาสาร | ||
คนแต่ก่อนเห็นมานั้นช้านาน | จะประมาณมิใช่น้อยหลายร้อยปี ฯ | ||
ออกจากมะขามสาแหรกขาดคลาดแคล้ว | ไปตามแนวแถวทางกลางวิถี | ||
สารพัดพฤกษาบรรดามี | ทั้งนนทรีต้นมะตูมพุ่งพุงดอ | ||
ทั้งมะกรูดมีอุดมลูกส้มส้า | ดูก็น่าเสียดายน้ำลายสอ | ||
ยิ่งคิดถึงต้นมะดูกและลูกยอ | ทั้งสมอสมีลูกขี้กา | ||
ทั้งมะดันต้นมะดูกมีลูกดก | ฝูงวิหคโผผินบินถลา | ||
ที่ลางสัตว์พลัดคู่อยู่เอกา | เหมือนเรามาคนเดียวเปลี่ยวใจ | ||
บ้างเฉี่ยวฉาบคาบเหยื่อไปเผื่อบุตร | บินรีบรุดจับพฤกษาที่อาศัย | ||
นกกระสากาเหว่าและเขาไฟ | นกยางใหญ่ไซ้ขนบนต้นยาง | ||
นกแก้วจับแก้วแล้วพูดตลอด | เสียงฉอดฉอดไต่ไม้แล้วไซ้หาง | ||
ชมฝูงนกออกเพลินแล้วเดินพลาง | ไปตามทางอรัญด่วนครรไล ฯ | ||
แวะเข้าบ้านวัดหาดทรายหานายเนตร | ด้วยจิตเจตน์หิวแหบให้แสบไส้ | ||
แล้วก็ด่วนจรจรัลขึ้นบันได | จึงขึ้นไปหาเพื่อนไม่เชือนแช | ||
นายเนตรจึงถามว่ามาวันนี้ | ธุระมีจะไปข้างไหนแน่ | ||
ตะพายดาบใส่เสื้อเนื้อเหมือนแพร | นี่มาแต่ผู้เดียวหรือกี่คน | ||
ฉันจึงตอบคำแถลงแจ้งกระจ่าง | จะไปเขาลูกช้างกลางไพรสณฑ์ | ||
ทางไกลไม่รู้จักใครสักคน | เป็นความจนจำใจต้องไคลคลา | ||
แต่เมียเพื่อนใจดีเป็นที่สุด | จึงรีบรุดรู้ว่าแสบท้องมองดูหน้า | ||
จึงหยิบชามคดข้าวแล้วเผาปลา | ทั้งผักหญ้าใส่ชามของตามมี | ||
แล้วจึงยกสำรับเครื่องกับข้าว | ไปซื้อเหล้ามาพอไวหนอจี๋ | ||
กลับมาเชิญให้รับทานก้มกรานดี | ดูท่วงทีเขาชำนาญการนักเลง | ||
ต่างคนต่างก็รินกินสุรา | ทั้งข้าวปลาใส่กันนุงจนพุงเขลง | ||
ข้างนายเนตรนั้นคนองนั่งร้องเพลง | ดูครื้นเครงเหมือนพวกพลคนสักพัน | ||
กำลังหิวรับประทานอาหารจุ | เหมือนเขาว่ายัดพลุยัดจังหัน | ||
พออิ่มหนำสำเร็จสรรพเสร็จพลัน | แต่ฝ่ายฉันลสเพื่อนลงเรือนไป ฯ | ||
ข้ามสะพานย่านวัดลัดออกทาง | พอถึงกลางทางหลวงก็จำได้ | ||
ด้วยแต่เดิมที่นี่มีต้นไทร | ฉันเคยไปเที่ยวเล่นเป็นเจ้าชู้ | ||
เมื่อคราวนั้นขวัญใจอ่อนไปหึง | โกรธขึ้งด่าว่าน่าอดสู | ||
หล่อนทำหน้าตาขึงขึ้นมึงกู | ฉันอดสูที่จะห้ามต้องตามใจ | ||
ไปปดข้างหนึ่งว่าข้าตัวเปล่า | ให้สร้อยเศร้าด้วยไม่มีที่อาศัย | ||
มาวันหนึ่งแจ่มจันทร์ดันขึ้นไป | เขาจับได้ว่าเราปดสดสดร้อนร้อน | ||
ตั้งแต่นั้นฉันไซร้ไม่ไปอีก | สู้หลบหลีกมิให้พบสบสมร | ||
น่าเสียดายสุดาพังงางอน | ด้วยว่านอนกอดกันได้วันเดียว | ||
ถึงว่าชาวบ้านนอกก็ออกรส | ฉันลองซดอ่อนเค็มแต่เต็มเปรี้ยว | ||
แต่ท่าทางข้างจะชมไม่กลมเกลียว | ไม่ลดเลี้ยวซื่อราวกับลาวตาย ฯ | ||
เดินครรไลไปพ้นตำบลนั้น | พระสุรนิยันส่องโอฆโลกทั้งหลาย | ||
แสงสว่างสอดส่องมาต้องกาย | แล้วผันผายถึงท่าเสนพอเพลพลัน | ||
เสียงระเบ็งเส็งแซ่พวกแม่ค้า | เสียงจ๊ะจ๋าฟังคารมดูคมสัน | ||
บ้างก็ซื้อบ้างก็ขายแจกจ่ายกัน | เสียงสนั่นล้วนสาวสาวพวกชาวดอน | ||
ร้านขายของสองแถวข้างแนวท่า | ล้วนแม่ค้าชาวบ้านนออกออกสลอน | ||
นางคนหนึ่งขายดอกแคดูแลงอน | ทั้งกะท้อนลูกใหญ่สองใบฬส | ||
ทั้งแตงกวาแตงไทยใบโตโต | แต่แตงโมถามราคาไม่น่าจด | ||
ถึงเจ้าของมองดูท่าไม่น่าซด | สัปรดนั้นค่อยถูกลูกละไพ | ||
ยังร้อนหนึ่งเจ้าของสวยขายกล้วยทอด | เจ้าของหยอดไม่ค่อยทันซื้อกันไขว่ | ||
ซื้อก็ง่ายขายก็ดีมีกำไร | หล่อนมีไฝอยู่แก้มขาวนัยน์ตาคม | ||
ทำไฉนจึงจะได้แม่ดวงแข | ฉันกลัวแต่คิดไปจะไม่สม | ||
นางคนหนึ่งกิริยาก็น่าชม | ขายมะยมลำใยมะไฟมะเฟือง | ||
ทั้งมะกรูดมะนาวมะพร้าวสวน | มะม่วงพรวนมะซางมะปรางเหลือง | ||
ฝ่ายแม่ค้าเรือใหญ่ที่ในเมือง | ขนกันเนื่องรีบรี่ไม่รีรอ | ||
ทั้งโรงบ่อนโรงสุราโรงอาเพี่ยน | แม้นใครเงี่ยนแล้วคงหายน้ำลายสอ | ||
พวกนักเลงเล่นเบี้ยเสียกันพอ | ถึงจะอ๋อจะเหม็งต้องเจ๊งมัน | ||
ที่นักเลงกินเหล้าเมาออกเก | เที่ยวเดินเซมองดูเล่นก็เห็นขัน | ||
แสนสนุกหนักหนาที่ท่านั้น | ทั้งผู้คนนับพันเหมือนสัญญา | ||
เจ๊กหมื่นพัฒน์นัดไก่ไว้ในบ่อน | มีละครเรื่องขุนแผนที่แสนกล้า | ||
เมื่อขุนช้างทูลฉลองร้องฎีกา | จนถึงฆ่าวันทองคนสองใจ | ||
ฉันดูดูละครให้ร้อนจิต | ถ้าแม้นมิตรเหมือนวันทองที่ผ่องใส | ||
จะอยู่เขาลูกช้างในกลางไพร | ไม่กลับไปพิศวาทแล้วชาตินี้ | ||
ครั้นจะร่ำรำพันนั้นให้หมด | ขี้เกียจจดกล่าวกล่อนอักษรศรี | ||
ใช่มาเที่ยวเป็นเจ้าชู้เชื้อผู้ดี | ธุระมีมุ่งมาดไปราชการ ฯ | ||
ออกจากท่าเสนพลันรีบผันผาย | ไม่เหือดหายถึงอนงค์แสนสงสาร | ||
แกล้งทำเฉยเลยตรงเข้าดงตาล | สูงเกินการคนขึ้นได้เด็ดใจจริง | ||
ที่ลางคนนักเลงร้องเพลงเหนือ | เขาว่าเมื่อไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง | ||
ฟังสำเนียงร้องเพลงวังเวงจริง | เสียงหริ่งหริ่งหยุดฟังเหลียวหลังแล | ||
แล้วเอ่ยเมื่อพระจันทโครบ | เปิดผอบเห็นโมราหน้าเหมือนแข | ||
ก็พอเกิดอัศจรรย์กันจอแจ | กระต่ายแตตกใจกันใหญ่โต | ||
จนพระจันทโครบไปพบโจร | มันเผ่นโผนเห็นโมราท่าจะโผ | ||
ล้วนแต่พวกโจราใจพาโล | ในมะโนมัวเมาเป็นเค้ามูล | ||
ฝ่ายโมราตาโปนรักโจรป่า | แพศยาใจร้ายไม่หายสูญ | ||
ใจเอ๋ยใจสตรีไม่มีตระกูล | ไม่เพิ่มพูนอุปมาเช่นกากี | ||
ผัวเขารักหนักหนาถึงสาหัส | ควรหรือตัดรักได้คนใจผี | ||
เลือดในกายยังให้นางต่างวารี | ไม่ควรที่กลับกลอกมานอกใจ | ||
ผัวก็ตายนายโจรนั้นก็จาก | ระยำยากเอกาอยู่ป่าใหญ่ | ||
แล้วร้อนถึงแท่นอาสน์สหัสนัยน์ | จึงสาปให้รูปร่างเป็นนางชะนี | ||
เพราะหญิงร้ายรักชายไม่เลือกหน้า | ใครได้มาเป็นเมียเสียราศี | ||
จะพาตัวชั่วช้าเป็นราคี | สิ้นชีวีกองกรรมจะนำตน | ||
ขึ้นต้นงิ้วยมบาลท่านไม่หยอก | แทงด้วยหอกทองแดงแสยงขน | ||
เพราะทำชั่วจึงตัวไปทุกข์ทน | กว่าจะพ้นทรมาน์นั้นช้านาน | ||
ถ้าหญิงดีมีชื่อซื้อต่อผัว | จะพาตัวไปพ้นวนสงสาร | ||
พอดับจิตดวงใจไปนิพพาน | แสนสำราญพ้นภัยในอนา ฯ | ||
แล้วด่วนเดินไปพ้นคนขึ้นตาล | ตำบลบ้านเหล่านี้มีหนักหนา | ||
ข้างซ้ายมือมองมุ่งเห็นทุ่งนา | ซีกข้างขวาแม้นจะแลเห็นแม่น้ำ | ||
ฟากกระโน้นชื่อว่าศาลาหมูสี | ฟากข้างนี้มีสาวสาวขาวขาวขำ | ||
ทั้งรูปร่างน่ารักลงตักน้ำ | ห่มแพรดำดอกเด่นมองเป็นมัน ฯ | ||
ถึงท่ามะพูดโบราณว่าชื่อหมาพูด | ชันสูตรก็ได้จริงทุกสิ่งสรรพ์ | ||
เดิมยังมีเศรษฐีคนหนึ่งนั้น | มีทรัพย์นับพันทั้งวัวควาย | ||
แต่ตัวของเศรษฐีตระหนี่เหนียว | แห้งเหี่ยวเกินการประมาณหมาย | ||
ชั้นจะกินเข้าไปที่ในกาย | คิดเสียดายกลัวจะเปลืองชั้นเฟื้องไพ | ||
มาวันหนึ่งไปซื้อปลาจาระเม็ด | ชั้นก้างเกล็ดหาลงมาถึงหมาไม่ | ||
ฝ่ายสุนัขคอยอยู่นานรำคาญใจ | หมายจะได้ก้างปลาหาไม่มี | ||
แต่คอยแล้วคอยเล่าจนเขาเสร็จ | สุนัขเด็ดออกจากบ้านท่านเศรษฐี | ||
มาหยุดพูดนินทาที่ท่านี้ | ว่าเศรษฐีขี้เหนียวเจียวใจคอ | ||
จะเท็จจริงนั้นก็อยู่กับผู้เล่า | ข้าพเจ้ามิได้หลอกใครดอกหนอ | ||
แล้วเร่งรีบจรลีไม่รีรอ | เหมือนม้าห้อเร็วรัดเทียมทัดลม | ||
ครั้นจะร่ำระยะทางชมบางบ้าน | ก็ขี้คร้านหลีกลัดตัดประสม | ||
ด้วยนิราศอื่นมีดีอุดม | ล้วนคารมวิเวกหวานเคยอ่านฟัง ฯ | ||
พอถึงท่าศาลามีท่ากระแส | ฉันแลแลพระอารามงามขึงขัง | ||
น่าสนุกตามภาษาวัดป่ารัง | เต็มไปทั้งทั่ววัดดูอัดแอ | ||
ทั้งพระสงฆ์สามเณรและเถนเฒ่า | ฟังเสียงเล่าสวดมนตร์บ่นกันแซ่ | ||
ทั้งลูกศิษย์หนุ่มตะกอออกจอแจ | เสียงเซ็งแซ่เคียงข้างหนทางจร | ||
เข้าในวัดทัศนาพระอาวาส | รุกขชาติสับสนต้นสลอน | ||
สารภีพิกุลยี่สุ่นซ้อน | ต้นกระท้อนละมุดทั้งพุทรา | ||
ต้นพะยอมหอมกรุ่นดอกบุนนาก | ของหายากเห็นไม่มีที่จะหา | ||
ดอกลำดวนต้นกระสังกระดังงา | มะลิลามะลิวัลย์อัญชันซ้อน | ||
ทั้งสาวหยุดพุดลาการเกด | หอมวิเศษดูที่มีเกสร | ||
ทั้งไทรสนต้นกระถินกลิ่นขจร | ทั้งพุดซ้อนถันวิฬาร์นขานาง | ||
ต้นกาหลงชงโคโยทะกา | หงอนไก่ฟ้ามีดอกออกสล้าง | ||
ทั้งเกดแก้วกรรณิการ์สารพางค์ | มีต่างต่างน่าพินิจพิศดู | ||
ของดีดีมีถ้วนล้วนบุปผา | ดกหนักหนาน่าชมดมทัดหู | ||
วายุพัดหอมระเหยน่าเชยชู | แมลงผึ้งคลึงวู่แมงภู่ทอง | ||
เข้าคลึงเคล้าเอาชาติสาโรช | เสียงอุโฆษหึ่งหึ่งเอ็ดอึงก้อง | ||
บ้างร่วงโรยโปรยปรายลงก่ายกอง | ใครไม่ต้องปรารถนาบุปผาโรย | ||
ฉันใดอุปไมยเหมือนนารี | แม้นเสียศรีซีดรูปทรงซูบโหย | ||
ถึงจะเหมาะจะงามเมื่อยามโรย | นึกจะเชยแล้วก็โชยไม่แวะชาย | ||
เสาวคนธ์มณฑาผกาเมศ | แม้นวิเศษแล้วคงจะปลงหมาย | ||
อุปไมยใจมนุษย์บุรุษชาย | ก็มาดหมายแต่ที่งามอร่ามตา | ||
เข้าไปเที่ยวเลี้ยวออกมานอกวัด | ตั้งรีบรัดทางจะไปไกลนักหนา | ||
ทั้งร้อนแสงสุริยงส่องลงมา | พื้นสุธาเหยียบไม่ลงเป็นผงคลี | ||
ทั้งร้อนล่างร้อนบนทนไม่ไหว | เหมือนเหยียบไฟในเตามาเผาจี่ | ||
เดชะบุญจำเพาะคราวเคราะห์ดี | เพื่อนมีร่มกางพอบางเบา ฯ | ||
ถึงคลองยอมีพลับพลาคอยท่าเสด็จ | ยังไม่เสร็จดูกำลังพึ่งตั้งเสา | ||
ที่ติดกลอนไปพลางบ้างก็เกลา | บ้างก็เข้าพงไพรหาไม้มา | ||
บ้างก็ปราบปัถพีที่โกกเกก | ล้วนพวกเลกคึกคักมากนักหนา | ||
คนที่เป็นนายหมวดเที่ยวตรวจตรา | หมายจะหาความชอบบอบระบม ฯ | ||
แล้วออกจากคลองยอไม่รอรา | คิดขึ้นมาถึงความรักยังหมักหมม | ||
นั้งอยู่หลังพี่ตั้งแต่ทุกข์ระทม | กลัวถูกลมลูกยอเขาปร๋อไป | ||
แต่เสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก | ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว | ||
ถ้อยบุรำคำบุราณ์ท่านว่าไว้ | เหมือนใบไม้ลมต้องจ้องจะปลิว | ||
ซึ่งว่านี้เห็นมีแต่หญิงอื่น | อันงามชื่นของฉันไม่แล่นไปฉิว | ||
แต่จอมขวัญฉันมิใช่ใจปลาซิว | ไม่บิดพลิ้วใจของน้องไม่สองใจ | ||
เมื่อเดือนยี่ปีระกาเขามาขอ | ชั้นแม่พ่อพรั่งพร้อมยอมยกให้ | ||
เว้นเสียแต่โฉมยงไม่ปลงใจ | เพราะรักใคร่ในพี่ไมตรีตรง | ||
เป็นความจริงกระบวนใจใช่จะอวด | ดียิ่งยวดอุปไมยเหมือนใจสงฆ์ | ||
พูดคำไหนคำนั้นดูมั่นคง | ใครยุยงหล่อนไม่เชื่อยังเยื่อใย | ||
เพราะเท่านั้นฉันจึงรักนั้นหนักหนา | ไม่ทิ้งขว้างร้างอย่าจนตกษัย | ||
มิได้คิดนอกน้องเป็นสองใจ | ถึงมีใหม่ก็ไม่เหมือนแม่เพื่อนเชย | ||
แต่มีเมียหลายคนเกือบจนแก่ | ไม่เหลือแม่รูปทองเลยน้องเอ๋ย | ||
ทั้งนี้ก็เพราะบุญได้คุ้นเคย | ขอให้เกยกอดกันจนวันตาย ฯ | ||
เดินไปตามมรรคาถึงท่ามะเกลือ | คนข้างเหนือเขาเอาของมากองขาย | ||
เป็นลาวแท้แต่ไม่นุ่งผ้าถุงลาย | เขาเฉิดฉายลักขณาไม่ราคิน | ||
จะพิศไหนดูวิไลดังอัปสร | ช่างงามงอนล้ำเลิศโฉมเฉิดฉิน | ||
ในใต้หล้าจะหาเปรียบเทียบยุพิน | ถึงเมืองอินทร์ก็ไม่เทียบเปรียบสุดา | ||
ท่ามะเกลือมะเกลือมีที่นี้หรือ | ฉันขอซื้อให้เนื้อหอมหล่อนย้อมผ้า | ||
ไม่เห็นผลต้นมะเกลือเหลือปัญญา | เห็นพฤกษาอื่นอื่นดาษดื่นไป ฯ | ||
ถึงท่ากระเทียมมีหนทางกว้างนักหนา | เป็นทางตรงลงชลาคนอาศัย | ||
ข้างพวกเกวียนเข็นส่งเดินตรงไป | จนถึงในท้องท่าริมวารี | ||
ทั้งเกวียนวัวเกวียนควายหลายสถาน | เขาทำการหากินตามถิ่นที่ | ||
พวกสาวสาวชาวป่ามาก็มี | ดูกายีม่ต้อเหมือนตอตะโก | ||
ชั้นท่วงทีกิริยาไม่น่าเกี่ยว | เนื้อหนังเขียวขี้ไคลพอกออกเหม็นโฉ่ | ||
ของอื่นอื่นไม่น่าชมแต่นมโต | สักเท่าโถขนาดใหญ่ที่ใส่แกง | ||
ฉันผลัดผ้าอาบน้ำดำศีรษะ | ใครอุระเร่าร้อนดังศรแผลง | ||
พอถูกน้ำเข้าหน่อยค่อยมีแรง | หายร้อนแสงพระอาทิตย์ฤทธิรงค์ | ||
กระแสใสไหลเชี่ยวเหมือนเกลียวคลื่น | ตามภาคพื้นน่าพินิจพิศวง | ||
ฉันลองยืนดูหน่อยไม่ค่อยตรง | น้ำนั้นวงเวียนรอบขอบหาดทราย | ||
ดูหมดเพราะเปรียบเหมือนเกาะกลางสมุทร | มัจฉาผุดตามวลชลสาย | ||
มองเห็นหมดกดกาแลปลากราย | ปลาเวียนว่ายเล่นชลตามวนวัง | ||
ฝูงปักษากาเหยี่ยวคอยเฉี่ยวฉาบ | บ้างก็คาบได้สมอารมณ์หวัง | ||
ครั้นได้เหยื่อยังไม่กินบินไปรัง | ลางตัวยังเที่ยวหามัจฉากิน | ||
ฉันขึ้นมาจากท่าผลัดผ้านุ่ง | แล้วหมายมุ่งรีบไปในไพรสิณฑ์ | ||
คนึงนึกถึงสุดายุพาพิน | ไม่เสื่อมสิ้นความวิตกในอกเลย | ||
ถึงตัวไปใจอยู่เป็นคู่เคล้า | แต่ใจเจ้าพี่ไม่แจ้งหรือแกล้งเฉย | ||
พี่ทุกข์ร้อนดังว่านอนบนหนามเตย | มาจากเชยไม่มีชื่นทุกคืนวัน ฯ | ||
ประเดี๋ยวใจไปปะเลกพระพล | ทำถนนถางทางกลางไพรสัณฑ์ | ||
บ้างก็ขุดบ้างก็เข้าทึ้งเถาวัลย์ | บ้างก็ฟันไม้ตายออกรายเรียง | ||
ท่านหลวงรามงามสง่าปัญญายง | เหมือนหวังตงเรื่องสามก๊กตีลกเอี๋ยง | ||
ท่านหลวงยงบ้านอาสาปัญญาเพียง | เสมอเกียงอุยอาจฉลาดการ | ||
เป็นที่สองรองพระพลกุมพลมาก | ต้องเหนื่อยยากก็หน่อเนื้อเชื้อทหาร | ||
ครั้นแผ่นดินในพระโกศย่อมโปรดปราน | เคยชำนาญการป่าพนาลี | ||
ต้องเป่าร้องให้เจ้าของที่ช่วยถาง | ให้กว้างขวางเรียบราบปราบหน้าที่ | ||
แม้นมิทันเสด็จเฆี่ยนเจ็ดที | เจ้าของที่รีบร้อนไม่นอนใจ | ||
พ้นจากนั่นผันผายเดินหมายมุ่ง | ถึงท่าพุ่งร้อนเหลือจนเหงื่อไหล | ||
ร้อนข้างนอกยังมิหนำซ้ำร้อนใน | ร้อนทั้งใจร้อนจิตระอิดระอา | ||
อันร้อนอื่นแล้วเห็นพอเย็นได้ | อันร้อนใจฉันไม่เย็นเลยหนา | ||
ฉันร้อนใจด้วยว่าไกลสุดามา | ไม่เห็นหน้าวันหนึ่งเหมือนครึ่งปี | ||
พระอภัยสุริวงศ์เมื่อหลงรูป | ไม่โศกซูบหมองมัวเหมือนตัวพี่ | ||
หลงของใครที่ไหนมั่งเหมือนดังนี้ | ไม่เหมือนพี่เจาะจงเฝ้าหลงน้อง | ||
ทำไฉนขวัญใจจะทราบเหตุ | ขอเทเวศนำยุบลที่หม่นหมอง | ||
ให้เนื้อเย็นเห็นจริงอย่ากริ่งกรอง | ช่วยบอกน้องให้แจ้งอย่าแคลงใจ ฯ | ||
ถึงท่าคอยน้องหล่อนคอยพี่ | คอยอยู่นี่หรือคอยอยู่ไหนไหน | ||
ออกมาหาฉันหน่อยเถิดกลอยใจ | เชิญมาไปเพื่อนพี่ทีเถิดนาง | ||
แต่เฝ้าเรียกสักเท่าไรก็ไม่พบ | ไม่ประสบพักตร์น้องยิ่งหมองหมาง | ||
แล้วก็เร่งรีบร้นตามหนทาง | ไห้ครวญครางไปในป่าพนาลี ฯ | ||
ถึงท่าข้ามไม่รู้ว่าชื่อท่าข้าม | พบคนถามเขาดอกจึงบอกพี่ | ||
ว่าตำแหน่งแห่งตำบลนี้ | บ้านนั้นมีหลายเรือนกลาดเกลื่อนไป | ||
ฉันจึงถามหนทางไปข้างหน้า | เขาบอกว่าไม่มีบ้านเป็นย่านใหญ่ | ||
ได้ยินบอกมรรคาข้างหน้าไป | ให้ตันใจอัดอ้นด้วยคนเดียว | ||
ด้วยทางใหม่ทำไปเพียงท่าข้าม | ต้องเดินตามทางเก่าให้เปล่าเปลี่ยว | ||
ด้วยหนทางนั้นก็คดหลายลดเลี้ยว | ให้เสียวเสียวด้วยกลัวเสือฉีกเนื้อกิน | ||
ไหนจะกลัวหลงหนทางในกลางป่า | จะผินหน้าถามใครในไพรสิณฑ์ | ||
มีแต่สัตว์กับป่าฟ้าและดิน | ให้วิ่นวิ่นหวาดหวั่นพรั่นวิญญาณ์ | ||
เหมือนมีผู้เตือนใจกลับได้ยิน | ว่าติฉินใจเอ๋ยใจกระไรหนา | ||
ช่างกลัวตายใช่ชายที่ปรีชา | เราจะอยู่ค้ำฟ้าหรือว่าไร | ||
จะตายร้ายตายดีก็ทีหนึ่ง | เวลาถึงเข้าแล้วหาแคล้วไม่ | ||
เอาคุณพระเป็นที่พึ่งตะบึงไป | ถึงบรรลัยคงสบายเมื่อปลายมือ | ||
แล้วกล้ำกลืนฝืนอารมณ์ชมฝูงสัตว์ | บ้างหลีกลัดกลัวจะยิงเที่ยววิ่งตื๋อ | ||
ฉันก็พลอยเพิดประจบไล่ตบมือ | เสียงฮือฮือไม่รอหน้าเข้าป่าไป | ||
มีหลายอย่างกวางทรายกระต่ายตุ่น | ทั้งลิงจุ่นรอกกระแตตุ๊กแกไก่ | ||
ฝูงหมีเม่นหมูป่าแลหมาไน | จิ้งจอกไล่กัดอ้ายเก้งครืนเครงครัน | ||
โคกระทิงวิ่งปรื๋อถือว่าเสือ | น่ากลัวเหลือตกใจไม่มีขวัญ | ||
ไหนชีวิตจะรอดตลอดวัน | จะด้นดั้นไปแห่งใดด้วยไม่เคย | ||
จึงเดินเข้าไปใกล้มิใช่เสือ | เห็นฝูงเนื้อยืนเป็นกองเจียวน้องเอ๋ย | ||
ตัวของพี่ดีใจกระไรเลย | เหมือนได้เชยชมนางเมื่อกลางคืน | ||
แสนวิตกอกจะครากด้วยอยากน้ำ | จนหน้าดำเหลือปัญญาจะฝ่าฝืน | ||
แทบจะวายชีวังลงทั้งยืน | สะอึกสะอื้นอาวรณ์ด้วยอ่อนแรง | ||
เที่ยวดั้นด้นค้นหากระแสศรี | ไม่เห็นมีน้ำสักหน่อยคอหอยแห้ง | ||
ด้วยเดือนสี่เดือนห้าเป็นหน้าแล้ง | น้ำจึงแห้งหายากลำบากครัน | ||
ได้ยินคนงุมงุมในพุ่มรก | ยากวิตกค่อยคลายหายโศกศัลย์ | ||
แวะเข้าไปถามทางกลางอรัญ | เห็นคนนั้นตักน้ำในลำธาร | ||
กำลังอยากดีใจดังได้แก้ว | พออิ่มแล้วปรีเปรมเกษมศานต์ | ||
แล้วจึงมีวาจาไม่ช้านาน | รับประทานได้การุณเถิดคุณตา | ||
ตำบลนี้มีชื่อหรือหาไม่ | เขาเรียกบ้านอะไรไฉนหนา | ||
ฝ่ายตาเฒ่าเล่าแถลงแจ้งกิจจา | เขาเรียก(ว่า)บ้านกระจับตั้งกัปกัลป์ | ||
คนเดินทางไปมาหยุดอาศัย | ดูยาวใหญ่เหมือนตะโลโตมหันต์ | ||
เป็นเซิงซุ้มพุ่มพฤกษาลดาวัลย์ | แสงตะวันมิได้ส่องมาต้องชล | ||
ในวารีเห็นจะมีจระเข้ | คาดคะเนเห็นไม่ผิดคิดฉงน | ||
ชาติตะเข้ใจเสือฉันเหลือทน | ไม่ว่าคนว่าสัตว์มันกัดยับ | ||
ครั้นจะชมให้ทั่วกลัวจระเข้ | ฉันเดินเร่ออกจากย่านบ้านกระจับ | ||
เดินไปตามทางหลวงค่อยล่วงลับ | ถ้าจะนับมรรคาทางกว่าร้อย ฯ | ||
พอถึงท่าไม้รวกพบพวกแพ | ออกเซ็งแซ่อยากหยุดพักเสียสักหน่อย | ||
หลัวจะช้าอย่าเลยนะหยุดตะบอย | ตะวันคล้อยกลัวจะค่ำหยุดร่ำไร ฯ | ||
ถึงบ่อตะกั่วดีใจอยากได้ตะกั่ว | เที่ยวหาทั่วไม่เห็นมีอยู่ที่ไหน | ||
เป็นแต่นามชื่อหรือว่าไร | ก็เรียกไปตามกันทุกวันมา | ||
ทั้งโรงเรือนมีรายรายอยู่ท้ายทุ่ง | เป็นเวิ้งวุ้งอยู่กลางป่า | ||
คนบ้านนั้นเขาชำนาญในการนา | เขาขุดดินกินหญ้าประสาจน | ||
บ้างก็ทำไร่ยากัญชาด้วย | สาวสวยสวยน่ารักเป็นพักผล | ||
อยากมีเมียชาวไร่ไว้สักคน | ถึงยากจนเอาไว้เพื่อไปมา | ||
ของดีดีมีขายอยู่หลายสิ่ง | เป็นความจริงฉันไซร้ไม่มุสา | ||
ฉันจะรำพันนั้นนักก็ชักช้า | แล้วตั้งหน้าถอนถีบรีบตะบึง ฯ | ||
ฉันก็เดินไปพ้นตำบลนั้น | ยังไกลครันเดินเท่าไรไม่ใคร่ถึง | ||
อันหนทางไกลกรึกยังลึกซึ้ง | ประเดี๋ยวถึงทุกแฝกละแวกดง | ||
มีพลับพลาที่สำหรับประทับเย็น | น่านั่งเล่นควรพินิจพิศวง | ||
มี่ค่ายรอบขอบคันดูมั่นคง | ทั้งห้องสรงนั้นก็มีมู่ลี่บัง | ||
เครื่องสำหรับกษัตริย์จัดไว้เสร็จ | คอยเสด็จรับองค์พระทรงสังข์ | ||
แลวิไลในมนุษย์อุตมัง | อนันตังดูอเนกวิเวกตา | ||
ก็เพื่อเพราะบุญญามหากษัตริย์ | มีผู้จัดเรียบร้อยไว้คอยท่า | ||
คุณหลวงวิชิตภักดีท่าปรีชา | ทำพลับพลาวางแผนที่ดีสุดใจ | ||
แม้นสำเร็จเสด็จมาก็น่าโปรด | คงสูงโสดสมศักดิ์พักตร์ผ่องใส | ||
ขอให้มียศศักดิ์หนักขึ้นไป | ทั้งน้ำใจก็ดีมีปัญญา | ||
คนอยากเข้าเป็นข้าสามิภักดิ์ | ท่านก็รับชุบเลี้ยงไม่เดียงสา | ||
ทั้งนอกเมืองในเมืองเลื่องลือชา | ขอชันษาท่านอย่างน้อยสักร้อยปี ฯ | ||
แล้วออกจากทุ่งแฝกทางแยกย้าย | ต้องเลี้ยวซ้ายไปตามทางกลางวิถี | ||
พอถึงท่าซิกพลันเข้าทันที | ด่วนรีบรี่ถึงระยะภุชะคราม | ||
มีศาลเทพารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ | ในดวงจิตเต้นตึกยิ่งนึกขาม | ||
มีรูปเจว็ดตั้งท่าสง่างาม | ราวกับรูปพระรามเมื่อตามกวาง ฯ | ||
ยังมิทันหายกลัวถึงหัวตะเข้ | ฉันเดินเร่รีบไปเสียให้ห่าง | ||
ตำบลนี้มีน้ำเป็นลำราง | สองข้างทางไม่เห็นมีกุมภีล์ไพร ฯ | ||
ถึงดงพะยอมตรอมอุราเข้าป่าชัฏ | เงียบสงัดไปคนเดียวนึกเสียวไส้ | ||
จักจั่นร่ำร้องลำลองไน | เสียงเรไรเย็นฉ่ำดังน้ำค้าง | ||
จะเหลียวซ้ายแลขวาฟ้าขมัว | ให้นึกกลัวเสือสีห์ทั้งผีสาง | ||
ไม่มีเลยสักคนตามหนทาง | ให้อ้างว้างว้าเหว่ดูเอกา | ||
เป็นป่าสูงยูงยางสล้างเสลา | ดูเหมือนเกลาลิดตลอดยอดพฤกษา | ||
รักสำโรงประปรกต้นรกฟ้า | เคี่ยมมะค่าข่อยมะขามแคเถาคัน | ||
ทั้งไกรกร่างกรรเกราสะเดามะเดื่อ | ต้นมะเกลือผลดกวิหคหัน | ||
มวงมองโมงมีลูกและมูกมัน | จิกแจงจันทร์จิงจ้อสมอไทย | ||
ทั้งสักสนต้นฝางมะซางซาก | ประมาณมากจะรำพันนั้นไม่ไหว | ||
ต้นประดูหูกวางยางลำใย | มะเฟืองไฟสูงระหงในดงดอน | ||
จะเหลียวซ้ายแลขวาล้วนป่าชัฏ | ใบระบัดแต่ละต้นผลสลอน | ||
บ้างงอกงามตามถิ่นแผ่นดินดอน | หอมเกสรสารภภีมะลิวัลย์ | ||
ต้นมะรุมกุ่มน้ำประคำไก่ | อินทผาลำลำใยและไม้หมัน | ||
ต้นพุทราฝรั่งแลอังชัน | ส้มมะดันต้นมะดูกลูกกะดอม | ||
ทั้งเถาคันวัลย์เปรียงพุมเรียงป่า | ต้นสมีขี้กาสันพร้าหอม | ||
เถานมวัวบัวบกโคกกระออม | ต้นพะยอมยูงยางกลางอรัญ | ||
ทั้งไม้ดอกไม้ผลหล่นออกกลาด | ปักษาชาติจิกกินบินถลัน | ||
ดูก็น่าอดิเรกอเนกอนันต์ | ในดงนั้นพระอาทิตย์มืดมิดเม้น | ||
ด้วยความกลัวตัวจะค้างค่ำกลางป่า | สิ้นชีวากลางไพรใครจะเห็น | ||
ไปคนเดียวไม่มีเพื่อนดูเหมือนเย็น | ถ่อกายเกนกัดฟันด่วนครรไล | ||
แล้วออกจากป่าระหงชื่อดงแฝก | อกแทบแตกหิวเกินเดินไม่ไหว | ||
ทั้งบาทาพุพองเป็นหนองใน | สู้แข็งใจงุ่มง่ามไปตามที ฯ | ||
พอถึงบ้านเขาเรียกนายายผล | มีเรือนคนอยู่ข้างทางวิถี | ||
จึงแวะเข้าไปพลันในทันที | เห็นคนมีดีเรียกไปพลัน | ||
ว่าคุณแม่เจ้าขาทั้งตายาย | เชิญผันผายลงมาเมตตาฉัน | ||
จงชูช่วยอย่าให้ม้วยซึ่งชีวัน | จะขอปันอาหารรัปทานมื้อ | ||
แม่จะเอาเท่าไรฉันไม่ว่า | จะเมตตาหรือไฉนอย่างไรหือ | ||
ฉันไม่หลอกดอกหนอจงอออือ | ว่ากันมื้อหนึ่งจะเอาสักเท่าไร | ||
เจ้าของบ้านตอบว่าด้วยปรานี | เชิญมานี่ข้าวปลาจะหาให้ | ||
นึกว่าคนกันเองอย่าเกรงใจ | จะซื้อหาว่ากระไรไม่ต้องการ | ||
ฉันก็เดินจรดลขึ้นบนเรือน | ดูก็เหมือนญาติกาทำหน้าด้าน | ||
เขาก็ยกข้าวปลามาให้ทาน | ฉันก็กินอาหารด้วยจานแบน | ||
เครื่องกับข้าวเต่ายำและน้ำพริก | ของจุกจิกปลามะเขือดีเหลือแสน | ||
ทั้งของจืดของเค็มไม่เต็มแกน | ดูแม้นแม้นกับเราข้างชาวใน | ||
พออิ่มหนำสำเร็จเสร็จธุระ | ในอุระหม่นหมองค่อยผ่องใส | ||
ครั้นแล้วจึงลาตายายไป | จากบันไดเดินออกนอกประตู | ||
พระสุริยนรีบรถเกือบหมดแสง | ท้องฟ้าแดงแวววูบสีรุบหรู่ | ||
เป็นเมฆหมอกออกกลุ้มทั่วชุมพู | ประมาณครู่หนึ่งมาถึงท่าลาว | ||
จะชมให้ถี่ถ้วนจวนจะค่ำ | ข้างแนวน้ำคนออกกลุ้มทั้งหนุ่มสาว | ||
มิใช่ว่าไทยเราเขาเป็นลาว | เป็นเชื้อชาวบ้านป่าริมวารี ฯ | ||
ฉันก็เร่งรีบเดินเกินท่าลาว | เห็นสาวสาวยืนอยู่ไม่สูสี | |||
ถึงตำบลเขาเรียกว่าท่ากบชี | นึกยินดีดังได้ไปนิพพาน | |||
เห็นนายนั่งอยู่ที่เก้าอี้ผ้า | ดูสง่าอำนาจก็อาจหาญ | |||
ทั้งไทยลาวเกลื่อนกลาดข้าราชการ | จะประมาณมิใช่น้อยสักร้อยคน | |||
ครั้นถึงจะประณมก้มเกศี | อัญชลีแล้วก็นั่งฟังนุสนธ์ | |||
นายจึงเผยพจนามาบัดดล | มากี่คนหรือว่ามาคนเดียว | |||
จึงกราบเรียนไปพลันมิทันช้า | รับประทานผมมาในป่าเขียว | |||
ออกจากบ้านเช้าตรูแต่ผู้เดียว | ให้เปล่าเปลี่ยวอ้างว้างอยู่กลางไพร | |||
เอาบารมีใต้เท้าเป็นที่พึ่ง | จนมาถึงหามีเหตุสิ่งไรไม่ | |||
นายจึงมีคำตอบเออขอบใจ | พูดกันได้สองสามคำพอค่ำลง | |||
ต่างคนต่างก็หาซึ่งอาหาร | รับประทานสำเร็จเสร็จประสงค์ | |||
มีบัญชาจำเพาะมาเจาะจง | บัญชีส่งมาให้ทั้งไทยลาว | |||
คนที่ในบรรดาศักดิ์สักสี่สิบ | ดูพอดิบพอดีเหมือนมี่ฉาว | |||
ฉันลานายบ่ายหน้ากรวดกรากราว | ทั้งไทยลาวมืดค่ำต้องทำการ | |||
แต่ที่เป็นตัวนายมีรายชื่อ | ที่หนึ่งคือหลวงบรรเทาผู้อาจหาญ | |||
ด้วยว่าเป็นผู้ใหญ่เข้าใจการ | ท่านโปรดปรานได้ว่าที่เพราะปรีชา | |||
แต่นายจูอยู่ที่สองรองที่หนึ่ง | กระบวนซึ่งท่วงทีดีนักหนา | |||
ได้ว่าที่ผู้คุมแต่หนุ่มมา | เป็นคนซื่อลอชาในแผ่นดิน | |||
ท่ามเหล่านี้ภาคภูมิไม่งู่มง่าม | แต่ที่สามสามนั้นชื่อนายผิน | |||
พอสมควรจัดเข้าเป็นเคาซิล | ใจทมิฬดุด่าไม่ปรานี | |||
พวกเลกกลัวทั่วไปว่าไรเป็นนั่น | แม้นไม่ทันถูกกระบองร้องอี๋อี๋ | |||
ถ้าทำการไม่ทันใจจับไม้ตี | แต่ที่สี่ชื่อนายทับกำกับกอง | |||
ด้วยเขาเป็นข้าหลวงเดิมแต่เริ่มแรก | เขาเคยแบกท่านมาบ่าทั้งสอง | |||
ได้ว่าที่พี่เลี้ยงเคียงประคอง | เป็นนายกองนายหมวดเที่ยวตรวจการ | |||
แต่ตัวของฉันนี้เป็นที่ห้า | ไม่แกล้วกล้าเชิงอำนาจไม่ฉาดฉาน | |||
ยังไม่มีความชอบประกอบการ | เป็นนายงานคุมคนตัดต้นไม้ | |||
ท่านที่เป็นตัวนายต้องจ่ายเลก | เสียงโหวกเหวกเรียกกันสนั่นไหว | |||
พวกเลกออกจากชุมนุมใต้พุ่มไม้ | ทั้งลาวไทยพร้อมหน้าออกมาพลัน ฯ | |||
ไปถึงที่จะทำวังที่ตั้งเต๊นท์ | มีลายเซ็นต่อหัตถามาถึงฉัน | |||
ให้ทำทางกลางป่าพนาวัน | หนทางนั้นตรงลำเนาเขาลูกช้าง | |||
จงเร่งรัดรีบร้อนอย่านอนใจ | ชั้นต้นไม้อย่าให้มีที่กีดขวาง | |||
ทำให้เป็นถนนตามหนทาง | ให้กว้างขวางม้ารถบทจร | |||
แม้นพลาดพลั้งหลังมึงถึงต้นคอ | อย่าย่อท้อรีบรุดอย่าหยุดหย่อน | |||
ฉันก็รับว่าที่ชุลีกร | มิได้นอนน้ำใจต้องไคลคลา | |||
ทั้งมีดขวานจอบเสียมเตรียมไว้เสร็จ | พอสำเร็จรีบไปที่ในป่า | |||
ทั้งนายไพร่พร้อมกันตามบัญชา | ก็ตั้งหน้าตัดดงตรงคะเน | |||
เขาลูกช้างนั้นอยู่ข้างบูรพ์ทิศ | ถ้าจะคิดตรงกันไม่หันเห | |||
ท่ากบชีนี้อยู่ริมประจิมเม | คิดถ่ายเทตัดลงอยู่ตรงกัน | |||
แต่ถางทางกลางคืนจนดื่นดึก | อึกทึกถึงเพลาไก่ป่าขัน | |||
พระจันทร์แจ่มกระจ่างดังกลางวัน | แล้วชวนกันกลับมาท่ากบชี | |||
คนทำการอยู่ที่ท่าก็ว้าวุ่น | ทั้งหมื่นขุนพร้อมกันขมันขมี | |||
บ้างก็แบกต้นไม้ใส่อัคคี | การนั้นมีถ้วนทั่วทุกตัวคน | |||
บ้างก็หาบบ้างก็หามตามวิสัย | บ้างก็ไขว้สาแหรกมาแบกขน | |||
มิได้นั่งนิ่งเฉยเลยสักคน | สู้อดทนทำการงานของนาย | |||
จนประมาณนาฬิกาได้ห้าทุ่ม | กลับมายังที่ชุมนุมดังใจหมาย | |||
บ้างหาวนอนอ่อนเนนเที่ยวเอนกาย | พอได้หายเหน็ดเหนื่อยที่เมื่อยล้า | |||
แต่ตัวฉันอาวรณ์นอนไม่หลับ | พอระงับพลิกฟื้นตื่นผวา | |||
เที่ยวเดินไปพอให้เพลินแล้วเดินมา | หนาวน้ำฟ้าเย็นทั่วถึงหัวใจ | |||
ฟังเสียงหยัดหยดเหยาะเผาะเผาะผอย | ดูเหมือนฝอยน้ำฝนทนไม่ไหว | |||
มันช่างหนาวลึกลับถึงตับไต | เฝ้าเวียนไปเวียนมาอยู่หน้าเต๊นท์ | |||
ผ้าห่มนอนฉันมิได้เอาไปด้วย | ได้แต่ฉวยผ้ายี่โปโอ้ยามเข็ญ | |||
หนาวอุราแทบน้ำตาจะกระเด็น | ให้เยือกเย็นกายินทั่วอินทรีย์ | |||
ลุกขึ้นนั่งผิงไฟเมื่อใกล้สว่าง | พอได้สร่างเสื่อมทุกข์เป็นสุขี | |||
เสียงสัตว์ร้องก้องป่าพนาลี | พยัคฆีส่งเสียงสำเนียงดัง | |||
นึกน่ากลัวหัวพองสยองขน | แต่มีคนนอนข้างนอกออกสะพรั่ง | |||
ล้วนนั่งยามตามไฟระไวระวัง | ทั้งหน้าหลังมากมายพร้อมนายกอง | |||
แซ่สำเนียงเสียงสัตว์จัตุบาท | ปักษาชาติแซ่เสียงสำเนียงก้อง | |||
บ้างโหยหวนครวญคร่ำบ้างร่ำร้อง | นกค้อนทองมีทั้งระวังไพร | |||
เขาเป็นนกแล้วยังระวังป่า | โอ้ตัวข้ากรรมเอ๋ยกรรมทำไหน | |||
มิได้อยู่นอนนั่งระวังระไว | มาทิ้งให้แม่หนูอยู่คนเดียว | |||
เสียงเรไรร้องหริ่งหริ่งกิ่งพฤกษา | พี่แลหานึกว่าแม่ชะแง้เหลียว | |||
ถ้าแม้นว่ายอดหญิงมาจริงเจียว | จะพาเที่ยวชมเขาเช้าพรุ่งนี้ | |||
แต่ฟังไปใช่เสียงสำเนียงน้อง | เรไรร้องแจ้วเจื้อยระเรื่อยรี่ | |||
เมื่อแรกฟังยังชัดว่าสตรี | มาเดี๋ยวนี้รู้ชัดว่าสัตว์ร้อง | |||
เป็นทั้งนี้เพราะว่ารักนั้นหนักจิต | ยิ่งคิดคิดสารพัดจะขัดข้อง | |||
ด้วยว่าเรียมแรมร้างมาห่างน้อง | เคยประคองรับขวัญทุกวันคืน | |||
เพลานี้แก้วพี่เคยปลุกตัว | ด้วยความกลัวพงษ์เผ่าเขาจะตื่น | |||
คิดขึ้นมาน่าสงสารเมื่อวานซืน | น้องยังขืนว่าพี่นี้ไม่รัก | |||
จะบอกเจ้าเท่าไรยังไม่เชื่อ | ฉันก็เหลือรำคาญพูดหาญหัก | |||
เป็นความจริงใช่จะจางในทางรัก | นี่เหลือจักควักล้วงดวงฤทัย | |||
ตามประสาสาวสาวคราวกับน้อง | ดูเป็นรองเนื้อเย็นเป็นไหนไหน | |||
ฉันตั้งสัตย์ปฏิญญาณสาบานไว้ | แม้นมิได้ผูกคอให้มรณา | |||
ได้สมหวังยังจิตคิดอนาถ | ไม่สิทธิ์ขาดคลุ้มคลั่งดังเป็นบ้า | |||
ให้กระวนกระวายซังตายมา | พอนิทราหลับลงทรงสุบิน | |||
ในความฝันนั้นว่าได้มากอด | สองกรสอดต้องถันน้องผันผิน | |||
เหมือนวานรเมื่อเข้าหาวานริน | ดัดจริตดีดดิ้นกระสัตรี | |||
อัศจรรย์อัศจอยน้อยน้อยนิด | วิปริตนักหนาฟ้ามัวศรี | |||
น้ำค้างหยัดลงมาต้องกายี | พอตัวพี่พลิกฟื้นชื่นอารมณ์ | |||
ครั้นรู้สึกนึกดูรู้ว่าฝัน | แสนกระสันไม่มีสุขทุกข์มาถม | |||
เที่ยวแลหามิได้เห็นแทบเป็นลม | ฉันได้ชมแต่เมื่อฝันเท่านั้นเอง | |||
พอตื่นตาตั้งหน้าคอยรับโศก | แสนวิโยคแต่เดือนยี่ปีมะเส็ง | |||
ตั้งแต่แรกรักกันเมื่อวันเพ็ง | น้องเหลือบเล็งแลมาสบตากัน | |||
ตั้งแต่เวลานั้นจนวันนี้ | ใจของพี่มุ่งหมายเฝ้าใฝ่ฝัน | |||
แต่คร่ำครวญจวนจะแจ้งแสงตะวัน | ตัวของฉันต้องลุกขึ้นปลุกคน | |||
จะต้องตื่นแต่เช้าหุงข้าวปลา | อันการงานข้างหน้ายังสับสน | |||
เที่ยวปลุกกันนั้นทั่วทุกตัวคน | ต้องรีบร้นเรียกกันสนั่นไป | |||
เลกลุกขึ้นพร้อมหน้าหุงอาหาร | รับประทานข้าวปลาหาช้าไม่ | |||
ทั้งมีดพร้อจอบเสียมหาเตรียมไป | ทั้งขวานใหญ่ขวานเล็กเหล็กชะแลง | |||
ของสำหรับที่จะได้ไปใช้สอย | พอเรียบร้อยจรจรัลตะวันแจ้ง | |||
คนที่เคยทำทางในกลางแปลง | ก็จัดแจงกันไปทั้งไทยลาว ฯ | |||
ไปถึงที่ทำทางข้างอยู่นั้น | แล้วชวนกันกรูกรีเสียงมี่ฉาว | |||
บ้างก็รั้งบ้างก็เหนี่ยวออกเกรียวกราว | บ้างก็สาวเถาวัลย์พันตะบึง | |||
ฉันก็เที่ยวตรวจคนอยู่จนเที่ยง | ไม่หลีกเลี่ยงลดเลี้ยวประเดี๋ยวถึง | |||
พิศดูเขาลูกช้างเหมือนอย่างกลึง | งามประหนึ่งวิษณุกรรม์มาสรรค์ไว้ | |||
เขาลือว่าเขาลูกช้างอ๋ออย่างนี้ | เป็นคีรีหลายหมู่ไม่สู้ใหญ่ | |||
เป็นก้อนก้อนกลาดกลุ้มคุ่มคุ่มไป | มองแต่ไกลห่างห่างเหมือนช้างนอน | |||
มิได้อยู่แห่งเดียวเที่ยวเกะกะ | ดูระดะซ้อนซับสลับสลอน | |||
แต่สีนั้นไม่เหมือนหินในดินดอน | ดำทุกก้อนโตถนัดน่าอัศจรรย์ | |||
เป็นเหวห้วยกรวยโกรกชะโงกเงื้อม | ศิลาเลื่อมแลวิไลในไพรสัณฑ์ | |||
ที่ลางเขาดูสิงขรขึ้นซ้อนกัน | เป็นเชิงชั้นบรรพตรจนา | |||
ยิงก้อนหนึ่งรูปรีรีกลางมีรู | ฉันยืนดูหินนั้นนักหนา | |||
แล้วยังมีน้ำพุดุออกมา | มีต้นหญ้ารายรอบขอบลำราง | |||
ชรอยจะมีสัตว์ป่าเข้าอาศัย | ที่ปากถ้ำนั้นไซร้จึงใหญ่กว้าง | |||
พิเคราะห์ดูป่านี้จะมีช้าง | ที่ตรงกลางคีรินหินก็มี | |||
อีกเขาหนึ่งชอบกลมีคนตั้ง | เป็นหินเพิงแทบจะพังลงยังที่ | |||
บ้างซ้อนกันหมิ่นหมิ่นหินรีรี | ลางคีรีขึ้นไปซ้อนบนก้อนเล็ก | |||
กูไม่น่าจะธำรงทรงอยู่ได้ | ก้อนหนึ่งใหญ่เท่าลำกำปั่นเหล็ก | |||
ยิ่งก้อนหนึ่งโตเท่าสำเภาเจ๊ก | ก้อนหนึ่งเล็กเล็กเหลือเหมือนเรือกุและ | |||
อีกก้อนหนึ่งเปรียบยังเหมือนหลังเต่า | ก้อนหนึ่งเล่าอยู่ข้างบนเหมือนคนแกะ | |||
ดูรูปเหมือนฝาชีมีออกแยะ | บ้างก็แบะบิดเบี้ยวเป็นเลี้ยวลด | |||
พิศดูภูผาก็น่าเพลิน | ฉันเที่ยวเดินเที่ยวไปมิได้หมด | |||
ดูตั้งร้อยตั้งพันล้วนบรรพต | เหลือที่จดจำทำเป็นกลอน | |||
ยังเขาหนึ่งสูงกว่าเขาตามเหล่านั้น | งามเฉิดฉันยอดยิ่งกว่าสิงขร | |||
ถ้ามองทั่วมีหัวซึ่งกุญชร | สง่างอนดูเหมือนหน้าเอราวัณ | |||
บนคีรีเขาว่ามีรอยพระบาท | ของพระศาสดานราสรรค์ | |||
ประดิษฐานไว้ในไพรวัน | แต่เดิมนั้นเมื่อจะแจ้งแห่งคดี | |||
ได้รู้เพราะยายชราบ้านศาลาเห็ด | ทำการเสร็จนอนหลับอยู่กับที่ | |||
จึงดลใจให้ฝันไปทันที | ว่ายังมีตาปะขาวหูยาวยาน | |||
มาบอกว่ารอยฝ่าพระบาทพระ | อยู่เหนือยอดสิงขรคชสาร | |||
อย่านอนใจจงไปนมัสการ | ประดิษฐานไว้บนมอมีกอข้าวนก | |||
แม้นเห็นหญ้าคงพบพระบาทแล้ว | ไม่คลาดแคล้วคงปะอย่ากระหนก | |||
จงสืบเสาะแสวงหาหญ้าข้าวนก | ยายแก่ตกใจตื่นฟื้นกายา | |||
แกสอบสวนจำได้ที่ในฝัน | เกษมสันต์เปิดหน้าต่างล้างหน้า | |||
จึงชักชวนลูกผัวของตัวมา | มิทันช้าครู่หนึ่งถึงคีรี | |||
แกขึ้นไปบนเขาเห็นข้าวนก | ใบไม้ปกรอยบาทพระชินศรี | |||
จึงเปลื้องผ้านั้นลงปัดผงคลี | จึงเห็นมีลายลักษณ์ประจักษ์ตา | |||
คำบุราณท่านอ้างไว้อย่างนี้ | รอยจะมีจริงจังเหมือนดังว่า | |||
ก็ควรเราท่านจะวันทา | มิทันช้าจรจรัลขึ้นบรรพต | |||
ครั้นถึงจึงเห็นรอยบาทา | อยู่เหนือยอดบรรพตามีปรากฏ | |||
ความดีใจเหมือนพบองค์พระทรงพรต | น้อมประณตตั้งสัตย์ปฏิญาณ | |||
สาธุสะขอเดชะพระจอมโลก | ซึ่งโปรดสัตว์ข้ามโอฆวนสงสาร | |||
นะโมตั้งมนัสนมัสการ | หัตถ์ประสานจำนงเนียนต่างเทียนทอง | |||
เป็นกุศลล้นลบพบพระบาท | สักแสนชาติใคร่จะพบประสบสอง | |||
ฉันกรานกราบแล้วก็ตรึกระลึกตรอง | เดชะกองกุศลผลทาน | |||
แม้นเวียนว่ายอยู่ในสายกระแสเชี่ยว | ยังท่องเที่ยวอยู่ตราบใดในสงสาร | |||
เกิดมาเหมือนชาตินี้นี่ป่วยการ | แสนกันดารยุบยับแทบอับจน | |||
ทั้งบิดรมารดาข้างขวาซ้าย | ก็วอดวายเกิดวิบัติจะขัดสน | |||
เป็นกำพร้ายังมิหนำกลับซ้ำจน | อยู่สองคนด้วยคุณยายนั้นหลายปี | |||
จนประมาณชันษาได้ห้าขวบ | เคราะห์ประจวบพอคุณยายตายเป็นผี | |||
แล้วอยู่กับแม่น้าหลายราตรี | ท่านปรานีเลี้ยงไว้จนใหญ่มา | |||
ครั้นอายุได้สิบสามรู้ความชัด | ไปอยู่วัดตื้นลึกได้ศึกษา | |||
ด้วยอาจารย์เป็นเชื้อสายฝ่ายมารดา | ท่านเมตตาชุบเลี้ยงด้วยเที่ยงธรรม | |||
ความลำบากมากมายนั้นหลายท่า | เกิดชาติหน้าบุญช่วยชุบอุปถัมภ์ | |||
ฉันเกิดมาชาตินี้นี่มีกรรม | ช่วยชักนำอย่าให้เป็นคนเข็ญใจ | |||
สตรีหนึ่งหึงผัวมัวละโมภ | คนหลงโลภไม่อยากคิดพิศมัย | |||
ถ้าแม้นจะมีคู่ที่ชูใจ | ขอให้ได้ดังจิตเจตนา | |||
รูปให้สวยรวยทั้งทรัพย์นั้นนับแสน | นั่งเท้าแขนบนเก้าอี้หับสี่ขา | |||
ทั้งเมียน้อยเกลื่อนกลาดดาษดา | ให้พักตราโฉมแฉล้มนั้นแช่มช้อย | |||
อธิษฐานแล้วก็ลาฝ่าพระบาท | ให้หวั่นหวาดคิดไปให้ละห้อย | |||
ด้วยมีความอาลัยที่ในรอย | อะไรสักหน่อยไม่เห็นมีเป็นที่บัง | |||
ต้องตากแดดตากลมน่าสมเพช | ถ้าเรืองเดชจะนิมิตด้วยจิตหวัง | |||
จะก่อสร้างปราสาทราชวัง | มณฑปตั้งครอบรอยพระบาทา | |||
ฉันจนจิตฤทธีหามีไม่ | มาจนใจด้วยว่าตนคนคาถา | |||
ทั้งต่ำต้อยน้อยทรัพย์อับปัญญา | ถึงศรัทธาชาติไหนจะได้ทำ | |||
บุราณว่ามีเงินทองพูดจาได้ | มิไม้ไหล้เหย้าเรือนก็งามขำ | |||
อันข้อนี้ฟังสำนวนเราควรจำ | เป็นของคำอุปไมยแต่ได้จริง ฯ | |||
ฉันกราบกรานแล้วก็ลาคงมาพลัน | ด้วยการนั้นของนายยังหลายสิ่ง | |||
จะต้องปลูกปะรำทำที่อิง | เป็นตำหนักพักพิงผ่อนสบาย | |||
ไว้สำหรับเสด็จมาวันทาพระ | ที่ตั้งเต๊นท์เป็นระยะตามจดหมาย | |||
ทั้งสองข้างทางวิถีคีรีราย | ทั้งดินทรายขุดถมระดมกัน | |||
จะประมาณได้เวลากลับมาที่ | ต่างเปรมปรีดิ์ชักชวนกันสรวลสันต์ | |||
ก็พอจวนพระสุริยาเข้าสายัณห์ | ก็ชวนกันหลับนอนเพราะอ่อนใจ | |||
พอรุ่งแจ้งแสงทองขึ้นส่องหล้า | พื้นนภาเหลืองแอร่มอยู่แจ่มใส | |||
ทั้งลิงค่างร่ำร้องกึกก้องไพร | สกุไณชูคอเสียงจอแจ | |||
ต่างคนต่างฟื้นตื่นนิทรา | บ้างพูดจากันออจ้อประจ๋อประแจ๋ | |||
บ้างก็ร้องละครมอญทะแย | ร้องทแวต่างนักเลงเพลงทวาย | |||
พอสนุกแก้ทุกข์บรรเทาถอย | ที่เศร้าสร้อยความอาดูรค่อยสูญหาย | |||
แล้วก็มาทำงานการของนาย | ประมาณหลายราตรีอยู่ที่นั้น ฯ | |||
ถึงเดือนสี่ปีจอพอสำเร็จ | อันการงานก็เสร็จทุกสิ่งสรรพ์ | |||
ได้กำหนดจดจำเป็นสำคัญ | พอถึงวันสามค่ำหยุดทำการ | * (๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๙) | ||
พอรุ่งขึ้นราตรีวันสี่ค่ำ | ทรวงระกำหายทุกข์สนุกสนาน | |||
ทั้งผู้คนเกลื่อนกลาดข้าราชการ | นามขนานฉายามหานิกร | |||
ไปด้วยกันสองคนพระชลยุทธ | ฤทธิรุทรนายทหารชาญสมร | |||
แต่นามเมืองของเขานั้นชื่อลันดอน | ตัวต้องจรมาอยู่เขตประเทศไทย ฯ | |||
ส่วนพระองค์เจ้าสายพอบ่ายอ่อน | ทรงกุญชรกูบทองอันผ่องใส | |||
มีรับสั่งให้ตั้งเต๊นท์ไวไว | พระชลยุทธวุฒิไกรรับบัญชา | |||
แล้วตั้งร่างวางเต๊นท์เป็นจังหวะ | ไม่เกะกะท่วงทีดีนักหนา | |||
คล้ายคล้ายเหมือนเวียงวังอลังการ์ | ดูสง่างามแม้นแดนวิมาน | |||
แต่ก่อนไกลใครได้เห็นเต๊นท์อย่างนี้ | พึ่งเกิดมีเมื่อข้าวถูกชั้นลูกหลาน | |||
ดูเลิศแล้วเหมือนแก้วเจ็ดประการ | แลละลานดูราวดาวดารา | |||
ในมณเฑียรยิ่งกว่าเวียนเขาวงกต | กว่าจะหมดเดินเหนื่อยแทบเมื่อยขา | |||
ยิ่งชมแล้วยิ่งเพลินเจริญตา | เหลือปัญญาที่จะเล่าให้เข้าใจ ฯ | |||
พอตั้งเต๊นท์นั้นเสร็จเสด็จถึง | เสียงอื้ออึงอลหม่านสะท้านไหว | |||
ทั้งรถรัตน์อัศดรกุญชรชัย | พลไกรเกลื่อนกลาดดาษดา | |||
แต่องค์พระปรมินทร์ปิ่นจังหวัด | เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีนั้นที่ห้า | |||
เสด็จนั่งอยู่บนหลังอาชา | ดูสง่ารูปทรงดังองค์อินทร์ | |||
พร้อมไปด้วยข้าเฝ้าเหล่าเสนา | เร่งรีบมาตามองค์พระทรงศิลป์ | |||
ทั้งไพร่นายพร้อมหน้าข้าแผ่นดิน | พอถึงถิ่นหิมวาท่ากบชี ฯ | |||
พระจักรพงศ์ลงจากม้าพระที่นั่ง | เสด็จยังเต๊นท์ผ้าพลับพลาศรี | |||
แต่ตัวฉันดีใจใช่พอดี | ครั้นได้ที่น้อมกายถวายบังคม | |||
ด้วยพระองค์ทรงสมมุติเทวา | เป็นวาสนาเราได้พบประสบสม | |||
ก็ควรที่หญิงชายถวายบังคม | จะอุดมไชโยเดโชชัย | |||
เราอยู่เย็นเป็นสุขไม่ทุกข์ร้อน | ครั้งก่อนก่อนศึกเสือทั้งเหนือใต้ | |||
มาเดี๋ยวนี้ราษฎรไม่ร้อนใจ | ทั้งโพยภัยมิได้มีมาบีฑา | |||
ถึงว่าพวกข้าศึกนึกขยาด | ใครไม่อาจเกรงฤทธิ์ทั่วทิศา | |||
ยอมถวายเครื่องหิรัญสุวรรณา | ทุกภาษาจีนจามทั้งพราหมณ์ชี | |||
ทั้งหัวเมืองเนืองไปทั้งใหญ่น้อย | ดูกว่าร้อยขึ้นผดุงแก่กรุงศรี | |||
ถึงบาทมูลทูลกระหม่อยจอมโมลี | เอกโทตรีจัตวาบรรดาเมือง | |||
บำรุงราษฎร์ศาสนาก็ผาสุก | พระสงห์ทุกอาวาสก็ปราดเปรื่อง | |||
ทรงประทานเครื่องยศหมดทุกเมือง | ดูรุ่งเรืองรจนาสถาพร | |||
ขอพระองค์ยงยืนหมื่นพรรษา | พระเดชาชาญชัยดังไกรสร | |||
ให้เหมือนองค์จักรีพระสี่กร | ครองนครกรุงศรีอยุธยา | |||
ทั้งผู้คนถึงเต๊นท์พอเย็นย่ำ | ตีฆ้องค่ำสิ้นแสงทุกแหล่งหล้า | |||
จุดโคมแก้วแวววามอร่ามตา | พระจันทราทรงกลดหมดราคี | |||
ทั้งผู้คนกลาดกลุ้มทั้งหนุ่มแก่ | เสียงเซ็งแซ่สวยสมบ้างห่มสี | |||
ทั้งรูปร่างใครไม่รู้ว่าผู้ดี | ชั้นท่วงทีพูดจาหล่อนน่าฟัง | |||
นึกจะเกี้ยวเลี้ยวเล่นเช่นเจ้าชู้ | นึกอดสูกลัวหวายเสียดายหลัง | |||
เขาไม่หยอกดอกสาวสาวพวกชาววัง | แม้นพลากพลั้งตากลวงถึงพวงคอ | |||
ที่เขาเคยเชยโชมประโลมประเล้า | ที่อยู่เดียวเปลี่ยวเปล่าเหมือนเราหนอ | |||
มิได้พาเมียมาน้ำตาคลอ | นั่งจอนจ๋ออยู่คนเดียวนึกเปลี่ยวใจ | |||
ที่เพื่อนกันกลาดกลุ้มหนุ่มตะกอ | เขาโดนอ๋อดีกว่าฉันนั้นไหนไหน | |||
สู้หักจิตให้เนื้อเย็นหล่อนเห็นใจ | ถึงนางในชั้นอินทร์ไม่ยินดี ฯ | |||
เห็นสาวสาวชาวในใจยิ่งโศก | แสนวิโยคถึงน้องยิ่งหมองศรี | ||
รักคนอื่นไม่เท่ารักภัคินี | ถึงห่มสีฉันเห็นก็เป็นรอง | ||
รักคนอื่นไม่ถึงพักรักก็หาย | ไม่มุ่งหมายที่จะอยู่เป็นคู่สอง | ||
จิตจำเพาะเจาะจงที่ตรงน้อง | ถึงเงินทองจะให้ฉันเท่าบรรพต | ||
ไม่ดีใจเหมือนได้ดวงสมร | ตั้งแต่จรจากมาถ้าจะจด | ||
อันความรักแม้นจะใส่ลงในรถ | เห็นไม่หมดบรรทุกเรือก็เหลือลำ ฯ | ||
พอดึกดื่นเดือนดับพยับพโยม | เสียงประโคมแตรสังข์ฝรั่งร่ำ | ||
พวกหนุ่มหนุ่มนั้นคะนองนั่งร้องลำ | เอาปากทำปี่พาทย์ระนาดฆ้อง | ||
ที่บางคนดูชำนาญในการรัก | ร้องลำสักวาดีไม่มีสอง | ||
ช่างเรียงร้อยถ้อยคำแลทำนอง | ดูเพราะพร้องแทบจะหลับฟังจับใจ | ||
แล้วมานั่งฟังตาเฒ่าเล่านิทาน | แก้รำคาญทุกข์ทนที่หม่นไหม้ | ||
ฟังสำเนียงไก่แก้วแจ้วจับใจ | เสียงเรไรร่ำร้องก้องพนา | ||
ต่างคนต่างก็เอนระเนนนอน | ศศินทรลับไม้ไพรพฤกษา | ||
ดูมืดมัวทั่วกระทั่งยังสุธา | จวนเวลาจะสว่างน้ำค้างเชย | ||
สุมาลีคลี่คลายขยายกลีบ | ดูเร่งรีบบานขยายพระพายเชย | ||
หอมดอกแก้วแนวพนมลมรำเพย | หอยระเหยกลิ่นเจือเหมือนเนื้อน้อง | ||
เพลาใดได้กลับไปรับขวัญ | นั่นแหละฉันจะค่อยคลายหายหม่นหมอง | ||
แม้นอยู่ดงฉันคงไม่วายตรอง | ถ้าปะน้องพี่จะเล่าให้เจ้าฟัง | ||
ตั้งแต่จากน้องไปอยู่ในป่า | ผู้หญิงมาพูดเกี้ยวไม่เหลียวหลัง | ||
ชั้นแต่เรียมหนอไม่ขอฟัง | ให้นึกชังน้ำหน้าไม่ว่าใคร | ||
แต่คร่ำครวญจวนสว่างกระจ่างจบ | ทั่วพิภพเสียงปักษาทั้งกาไก่ | ||
กำลังโศกเศร้าสร้อยนอนม่อยไป | ตื่นตกใจลุกขึ้นมาล้างหน้าพลัน | ||
ต่างคนต่างก็ตื่นฟื้นกาย | ทั้งไพร่นายรีบรี่ขมีขมัน | ||
บ้างผูกม้าผูกรถหมดทั้งนั้น | ช้างสำคัญหลายเชือกเลือกเอามา | ||
ทหารดาบทหารปืนยืนขยาย | มีตัวนายถือกระบี่เป็นทีท่า | ||
หมู่ทหารหมาดเล็กและเด็กชา | ตำรวจหน้าถือหวายนายทั้งนั้น ฯ | ||
ฝ่ายพระองค์พงศ์กษัตริย์ขัติเยศ | ทอดพระเนตรเห็นพหลพลขันธ์ | ||
ทั้งข้าเจ้าท้าวพระยาพร้อมหน้ากัน | ถวายอัญชลีดีพระทัย | ||
พระจักรพงศ์ทรงพระยาอาชาชาญ | หมู่ทหารสังข์แตรแซ่ไสว | ||
ฟังเสียงเมริกันสนั่นไพร | บัดเดี๋ยวใจถึงพลับพลาหน้าคีรี | ||
พระจักรพงศ์ลงจากม้าที่นั่ง | ประทับยังบนยอดคีรีศรี | ||
จุดธูปเทียนบุปผาไม่ช้าที | อัญชุลีรอยบาทพระศาสดา | ||
ฝ่ายพระองค์พงศ์กษัตริย์ตรัสประภาษ | ว่าพระบาทรอยนี้ดีนักหนา | ||
ก็ควรที่กราบไหว้ได้บูชา | เป็นสง่ารุ่งเรืองกับเมืองเพชร | ||
แล้วจึงตรัสเจาะจงกับองค์เจ้าสาย | จงยักย้ายคิดทำให้สำเร็จ | ||
มณฑปครอบบาทาพระสารเพชญ์ | แล้วเสด็จทรงพระยาอาชาใน | ||
เที่ยวลอดลัดทัศนาภูผาเผิน | พระทรงเพลินเสร็จรอบขอบไศล | ||
พวกข้าหลวงน้อยน้อยสอยลูกไม้ | บ้างเด็ดได้ดอกดวงพวงพะยอม | ||
บ้างก็วิ่งชิงกันสนั่นป่า | บ้างเที่ยวหาดอกกระถินมีกลิ่นหอม | ||
ที่รูปร่างเฉิดฉายผู้ชายตอม | บ้างเที่ยวก้อมดุ่มดุ่มตามพุ่มไม้ | ||
บ้างก็ขึ้นคีรีเป็นที่ลับ | บ้างจูบจับพูดจาต่างปราศรัย | ||
ทั้งชายหญิงหลายคนปนกันไป | ที่ผู้ใดมีเมียเดินเคลียคลอ | ||
แสนสนุกหนักหนาเวลานั้น | แต่ตัวฉันเศร้าใจมิได้ปร๋อ | ||
เข้าอาศัยอยู่ใต้ต้นตะคร้อ | นั่งจอนจ๋อเพื่อนถามเป็นความใน | ||
บิดตะกูดพูดประสมว่าลมจับ | อันความลับไม่ต้องการจะขานไข | ||
นอกจากน้องมิให้รู้ถึงหูใคร | ถ้าแม้นไม่เหมือนหมายตายเสียดี ฯ | ||
จอมนรินทร์ปิ่นอาณาประชาราษฎร์ | เที่ยวประพาสปรีดิ์เปรมเกษมศรี | ||
แล้วเสด็จลงมาท่าพาชี | สถิตที่เต๊นท์สุวรรณพรรณราย | ||
จักรพงศ์ทรงประทับอยู่พลับพลา | สามเพลาราตรีแล้วมีหลาย | ||
ให้รู้ตัวทั่วไปทั้งไพร่นาย | ต้องเตรียมกายตามกำหนดที่กตชา | ||
วันพรุ่งนี้ที่สิบเจ็ดเสด็จกลับ | ตรวจกำชับทุกกระบวนนั้นถ้วนหน้า | ||
พอสิ้นแสงสุริยนสนธยา | บ้างหุงหาอาหารสำราญใจ | ||
เวลานั้นฉันนั่งฟังกระแส | ก็รู้แน่มั่นคงไม่สงสัย | ||
นึกกระหยิ่มอิ่มเอิบกำเริบใจ | เหมือนหนึ่งได้เพชรนิลดวงจินดา | ||
แต่จากนางห่างเรือนมาเดือนเศษ | ไม่ทราบเหตุมิ่งมิตรขนิษฐา | ||
น้องอยู่ดีหรือว่ามีซึ่งโรคา | ไม่รู้ว่าข้างหลังเป็นอย่างไร | ||
วันพรุ่งนี้พี่จะกลับไปรับขวัญ | จะโศกศัลย์เคืองเข็ญเป็นไฉน | ||
แม้นใครกวนเล่นกันให้บรรลัย | ถ้าเจ็บใจแล้วไม่คิดชีวิตเลย | ||
แต่คร่ำครวญจวนสว่างน้ำค้างหยัด | พระพายพัดกลิ่นลำดวนหวนระเหย | ||
ในดวงจิตคิดจะกลับไม่หลับเลย | แล้วแหงนเงยชมจันทร์พรรณราย | ||
โอ้พระจันทร์แจ่มกระจ่างสว่างโฉม | ลอยพโยมแล้วก็กลับไปลับหาย | ||
มาล้อโลกให้ระทมตรมไม่วาย | อกกระต่ายเห็นจะแห้งด้วยแสงจันทร์ | ||
เหมือนตัวพี่แรกสมัครรักสมร | ให้อาวรณ์คลั่งไคล้เฝ้าใฝ่ฝัน | ||
ดูยิ่งกว่าอกกระต่ายที่หมายจันทร์ | แสนกระสันสู้อุตส่าห์พยายาม | ||
ต้องไปหาแม่สื่อเขาถือสาร | จะว่าขานน้องเองก็เกรงขาม | ||
กลัวสมรหล่อนจะว่าพี่บ้ากาม | เพราะรักงามอกกระต่ายก็คล้ายกัน ฯ | ||
พอนาทีตีสว่างกระจ่างฟ้า | โกกิลาเจื้อยแจ้วไก่แก้วขัน | ||
ต่างก็ตื่นนิทราพร้อมหน้ากัน | บ้างจัดสรรคอยองค์พงศ์นารายณ์ | ||
พอพร้อมเสร็จก็เสด็จยุรยาตร | ทั้งข้าบาทประณมบังคมถวาย | ||
แล้วก็เร่งรีบไปทั้งไพร่นาย | แต่พี่ชายยังค้างอยู่กลางดง | ||
ด้วยธุระของนายนั้นหลายสิ่ง | ยังยุ่งยิ่งไม่สำเร็จเสร็จประสงค์ | ||
พอเพลาสายัณห์ตะวันตรง | เอาของลงเกวียนเสร็จสำเร็จการ | ||
ฉันผินพักตร์ตรงคีรีที่พระบาท | อิภวาทด้วยศรัทธานั้นกล้าหาญ | ||
ขอกราบลาบาทบงสุ์พระทรงญาณ | มาอยู่นานจะต้องลาฝ่าธุลี | ||
แล้วเลยลาป่าไม้ในไพรชัฏ | ใบระบัดร่มรุกข์เคยสุขี | ||
จึงเหลียวหลังอำลาท่ากบชี | โอ้วันนี้แล้วหนอฉันขอลา | ||
จงอยู่เย็นเป็นสุขอย่าทุกข์ร้อน | ทั้งสาครฝูงสัตว์หมู่มัจฉา | ||
แล้วน้อมเศียรลงคำนับที่พลับพลา | ทั้งเมวาเจ้าไพรที่ในดง | ||
นิจจาเอ๋ยเคยได้อาศัยพัก | อยู่สำนักเย็นใจในไพรระหง | ||
จงสุขีเป็นสุขนั้นทุกองค์ | เทพจงเมตตาได้ปรานี | ||
แล้วขึ้นเกวียนพลันในทันใด | ดังว่าได้ผ่านพิภพท้าวโกสีย์ | ||
ตัวยังค้างกลางป่าพนาลี | ใจของพี่รีบตะบึงไปถึงน้อง | ||
ที่เคยโศกนั้นก็หายกลายเป็นสุข | อันความทุกข์ค่อยบรรเทาหายเศร้าหมอง | ||
ด้วยจิตหวังตั้งหน้าไปหาน้อง | ดังได้ทองธรรมชาติสะอาดตา | ||
เจ้าของเกวียนขับเกวียนไม่เวียนวน | จรดลมาในไพรพฤกษา | ||
โคทั้งสองย่องย่างเหมือนอย่างม้า | เสียงร้องท่าโคก็มาทางขวามือ | ||
พอเจ้าของร้องทือมาทางซ้าย | รู้กำหนดจดหมายกันเจียวหือ | ||
เจ้าของช่างเจนจัดเขาหัดปรือ | ลงปะฏักหนักมือวิ่งตื๋อไป | ||
ฟังเสียงแอกนั้นเบียดออดเดียดอาด | โคนั้นพลาดย่างเท้าก้าวไถล | ||
ล้วนพวกเกวียนมาด้วยกันสนั่นไพร | ด้วยตั้งใจหมายจะมาเคหาตน | ||
บ้างก็รีบขึ้นหน้าอยากมาก่อน | แต่ตัวฉันนั้นอยากจรขึ้นเวหน | ||
แม้นมีฤทธิ์คงจะคิดขึ้นเดินบน | จะได้ยลจอมขวัญให้ทันใจ | ||
พี่เรืองเดชเหมือนพระยาวายุบุตร | จะให้นุชชมเปาะว่าเหาะได้ | ||
จะโลมเล้าเข้าประคองถึงห้องใน | นี้จนใจเป็นมนุษย์สุดปัญญา ฯ | ||
แล้วรีบร้นพ้นระยะหลายสถาน | ตำบลบ้านบึงบางในกลางป่า | ||
จรดลย่นย่อมรรคา | พอถึงท่าคอยค่ำหยุดสำนัก | ||
ครั้นรุ่งแจ้งแสงตะวันหิรัญเรื่อ | ฝูงนกเนื้อบินบนจับต้นสัก | ||
ฉันขึ้นเดิมรีบรุดไม่หยุดพัก | คิดถึงรักเร่าร้อนไม่นอนใจ ฯ | ||
พอบ่ายแสงสุริยาถึงท่าโพ | หยุดให้โคกินหญ้าชลาไหล | ||
แล้วออกจากท่านั้นด่วนครรไล | เจ้าของไล่ขับโควิ่งโร่มา ฯ | ||
ถึงกะฎีที่เขาสร้างชื่อนางป้อม | คนเขาย่อมเกรงฤทธิ์ทั่วทิศา | ||
ให้พรแล้วลินลาศคลาศคลา | มิทันช้าถึงสถานสำราญใจ | ||
พอสิ้นโหยหวนรัญจวนหา | ในอุราหม่นหมองค่อยผ่องใส | ||
พอสิ้นทุกข์สิ้นโศกสิ้นโรคภัย | ตั้งแต่ไปถ้าจะนับจนกลับมา | ||
ไปเดือนหนึ่งพอดีไม่มีเศษ | จดหมายเหตุระยะทางในกลางป่า | ||
อย่าสงสัยใช่นิราศคลาศคลา | ท่านเมธาจงแจ้งแห่งคดี | ||
ธรรมดาด้วยเป็นข้าราชการ | ต้องคิดอ่านกล่าวกลอนอักษรศรี | ||
แม้นใครถามไม่ต้องบอกออกวาที | หนังสือมีอ่านดูพอรู้ความ | ||
ทำไว้เพื่อผู้ที่มีศรัทธา | ด้วยหวังว่าไปคล่องคล่องไม่ต้องถาม | ||
รอยพระบาทปรากฏมีงดงาม | ไม่เชื่อถามคนที่ไปคงได้รู้ | ||
ไม่ไกลนักคืนหนึ่งก็ถึงที่ | มิใช่มีเกินมนุษย์ไปสุดกู่ | ||
อย่ามัวแต่ท้าวแขนใส่แหวนงู | เชิญไปดูไปแลเห็นแก่ตา | ||
ถึงผู้ชายอย่าเที่ยวกรายอยู่ตามบ้าน | ไปมัสการเสียสักทีเถิดพี่ขา | ||
แต่เขาอยู่ถึงบางกอกยังออกมา | พระมหากษัตริย์เสด็จไป | ||
แก้วมาเกิดขึ้นในเมืองออกเลื่องลือ | เราจะดื้อนิ่งอยู่หาดูไม่ | ||
เปรียบเหมือนคนตามืดจืดทั้งใจ | เชิญท่านไปดูเล่นให้เห็นจริง | ||
ใช่จะแต่งกลอนมาค่อนว่า | ขอสมาท่านทั้งหลายทั้งชายหญิง | ||
ฉันช่วยเตือนใจดอกบอกจริงจริง | อย่าค้านติงข้อคำที่รำพัน ฯ | ||
ข้าพเจ้าผู้แสดงแต่งนิราศ | มิใช่ปราชญ์ปรีชาปัญญาขยัน | ||
ด้วยจากเรือนไปกับนายนั้นหลายวัน | แสนกระสันอยู่ในป่าพนาลี | ||
ฉันแต่งเล่นพอหายคลายวิโยค | เพราะแสนโศกคิดถึงบ้านสถานที่ | ||
ฉันมิใช้ตัวเอ้ผู้เมธี | ข้าเจ้านี้ยังเยาว์เบาปัญญา | ||
พอสนุกแก้ทุกข์บรรเทาถอย | ยังรู้น้อยไม่สู้เปรื่องเรื่องเลขา | ||
เป็นแต่เรียนรู้งูปลาปลา | ใช่ปรีชาเปรื่องปราดฉลาดกลอน | ||
มิได้เรียนมุตโตคิดโวหาร | ฉันท์กรองกานท์พอใช้ได้อักษร | ||
ไม่เผ่นโผนเหมือนโจนชโลทร | ถึงแง่งอนก็ไม่งามเหมือนความใน | ||
เชิญนักปราชญ์ผู้บัณฑิตคิดสงสาร | ถ้าเห็นการสูงต่ำที่คำไหน | ||
ช่วยติเตียนเสมือนช่วยเตือนใจ | ขออย่าได้รังเกียจพูดเบียดแทง | ||
ไว้อ่านเล่นแก้รำคาญดอกท่านเอ๋ย | อย่าเยาะเย้ยพูดแยบให้แอบแฝง | ||
อันถ้อยคำจุกจิกไม่พลิกแพลง | อย่านึกแหนงโปรดให้อภัยเอย ฯ | ||
ฯ นายต่วน ๘๙๐ คำ ฯ | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
ประชุมนิราศเมืองเพชรบุรี พ.ศ.๒๕๒๕