เพลงยาวพยาà¸à¸£à¸“์à¸à¸£à¸¸à¸‡à¸¨à¸£à¸µà¸à¸¢à¸¸à¸˜à¸¢à¸²à¹à¸¥à¸°à¸„ำวิจารณ์
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ล |
ล |
||
แถว 1: | แถว 1: | ||
==ข้อมูลเบื้องต้น== | ==ข้อมูลเบื้องต้น== | ||
[[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]] | [[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]] | ||
- | [[หมวดหมู่: | + | [[หมวดหมู่:วรรณคดีรัตนโกสินทร์]] |
[[หมวดหมู่:ร้อยแก้ว]] | [[หมวดหมู่:ร้อยแก้ว]] | ||
[[หมวดหมู่:คำกลอน]] | [[หมวดหมู่:คำกลอน]] |
การปรับปรุง เมื่อ 11:18, 11 ตุลาคม 2553
ข้อมูลเบื้องต้น
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
๑จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุทยา | |||
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสดา | มหาดิเรกอันเลิศล้น | ||
เป็นที่ปรากฏิ์รจนา | สรรเสริญอยุทยาทุกแห่งหน | ||
ทุกบุรีสีมามณฑล | จบสกลลูกค้าวานิจ | ||
ทุกประเทศสิบสองภาษา | ย่อมมาพึ่งกรุงสรีอยุทยาเป็นอัคะนิด | ||
ประชาราษฏร์ปราศจากไภยพิศม์ | ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์ | ||
ฝ่ายองค์พระบรมราชา | ครองขันทสีมาเป็นศุข | ||
ด้วยพระกฤษฎกาทำนุก | จึ่งอยู่เย็นเป็นศุขสวัสดี | ||
เป็นที่อาไศรยแก่มนุษย์ในใต้หล้า | เป็นที่อาไศรยแก่เทวาทุกราศรี | ||
ทุกนิกรนรชนมนตรี | คะหะบดีชีพราหมณพฤฒา | ||
ประดุจดั่งศาลาอาไศรย | ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันษาขา | ||
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา | เป็นที่สิเนหาเมื่อกันดาน | ||
ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ | อาจปราบไภรีทุกทิศาน | ||
ทุกประเทศเขตขันฑ์บันดาน | แต่งเครื่องบัณาการมานอบนบ | ||
กรุงศรีอยุทยานั้นสมบูรณ์ | เพิ่มพูลด้วยพระเกรียศคะจรจบ | ||
อุดมบรมศุขทั้งแผ่นภิภพ | จนคำรบศักราชได้สองพัน | ||
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย | จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น | ||
ด้วยพระมหากระษัตรมิได้ทรงทศมิตราธรรม์ | จึ่งเกิดเข็ญเป็นมหัศจรร์สิบหกประการ | ||
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพด | อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทีศาน | ||
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลีงกาล | เกิดนิมิตพิศดานทุกบ้านเมือง | ||
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก | อกแผ่นฟ้าเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง | ||
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง | ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร | ||
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี | พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้ | ||
พระธรณีจะตีอกไห้ | อกพระกาลจะไหม้อยู่เกรียมกลม | ||
ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด | เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม | ||
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม | มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด | ||
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น | มิใช่เทสกาลฝนฝนก็อุบัติ | ||
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด | เกิดวิบัตินานาทั่วสากล | ||
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา | จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล | ||
สัปรุษย์จะแพ้ก่ทระชน | มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก | ||
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว | คนชั่วจะมล้างผู้มีศักด์ | ||
ลูกสิทธิ์จะสู้ครูพัก | จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย | ||
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ | นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย | ||
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย | น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม | ||
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า | เพราะจันทานมันเข้าาเสพสม | ||
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ | เพราะสมัคสมาคมด้วยมารยา | ||
พระมหากระษัตรจะเสื่อมสิงหนาท | ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา | ||
อาสัจจะเลื่องฦๅชา | พระธรรมาจะตกฦกลับ | ||
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ | จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ | ||
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ | สัปรุษย์จะอับซึ่งน้ำใจ | ||
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี | ประเวณีจะแปรปรวนตามวิไส | ||
ทั้งพืชแผ่นดีนจะผ่อนไป | ผลหมากรากไม้จะถอยรศ | ||
ทั้งแพศพรรว่านยาก็อาเพด | เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด | ||
จวงจันทร์พรรณไม้อันหอมรศ | จะถอยถดไปตามประเพณี | ||
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง | สารพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่ | ||
จะบังเกีดทรพิศม์มิคสัญญี | ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน | ||
กรุงประเทศราชธานี | จะเกีดการกุลีทุกแห่งหน | ||
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพรพล | จะสาละวนทั่วโลกทั้งหญิงชาย | ||
จะร้อนอกสมณาประชาราช | จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย | ||
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย | ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ | ||
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก | เวียงวังก็จะรกเป็นป่าเสือ | ||
แต่สิงห์สารสัตว์เนื้อเบื้อ | นั้นจะหลงหลอเหลือในแผ่นดิน | ||
ทั้งผู้คนสาระพัดสัตว์ทั้งหลาย | จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น | ||
ด้วยพระกาลจะมาผลานแผ่นดิน | จะสูญสิ้นการณรงสงคราม | ||
กรุงศรีอยุทยาจะสูญแล้ว | จะกลับรัดสมีแก้วเจ้าทั้งสาม | ||
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม | จนสิ้นนามศักราชห้าพัน | ||
กรุงศรีอยุทยาเขษมสุข | แสนสนุกนี้ยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ | ||
จะเป็นเมืองแพศยาอาทัน | นับวันจะเสื่อมสูญเอย ฯ | ||
จบเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนายกรุงแต่เท่านี้
......... .......... ..........
วิจารณ์เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์
พิจารณาเนื้อความตามที่กล่าวในเพลงยาวบทนี้ มีคำพยากรณ์มาแต่ก่อนว่ากรุงศรีอยุธยาจะสมบูรณ์พูลสุขเป็นอย่างเลิศล้นจนศักราชได้ ๒,๐๐๐ ปี พ้นนั้นไปจะ "เกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์ ๑๖ ประการ" เหตุด้วยพระมหากษัตริย์ไม่ทรงทศพิศราชธรรม" บ้านเมืองก็จะมีเภทภัยต่างๆ ที่สุดถึงฆ่าฟันกันตาย จนกรุงศรีอยุธยาสูญไปตลอดอายุพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ว่ามีคำพยากรณ์อยูแล้วดังกล่าวมานี้ มาในสมัยหนึ่งเมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่นั้น ผู้แต่งเพลงยาวบทนี้สังเกตเห็นเกิดวิปริตต่างๆ ตาม "ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด เมื่อวินิจพิศดูก็เห็นสม" เกรงว่าจะเข้ายุคเข็ญตามคำพยากรณ์ จึงแต่งเพลงยาวบทนี้ด้วยความอาลัยกรุงศรีอยุธยา ลงท้ายว่า | |||
"กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข | แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ | ||
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ | นับวันแต่จะเสื่อมสูญเอย" | ||
ตามความในเพลงยาวพึงเห็นได้ว่าผู้แต่งเพลงยาวบทนี้เป็นแต่อ้างตามคำพยากรณ์ที่มีอยู่แล้ว หาได้เป็นผู้พยากรณ์ไม่ จึงเกิดปัญหาเป็นข้อต้นว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ วิสัชนาข้อนี้มีเค้าเงื่อนอยู่ในหนังสือเก่าเรียกว่า "มหาสุบินชาดก" (ซึ่งหอพระสมุดพิมพ์ไว้ในหนังสือนิบาตชาดก เล่ม ๒ หน้า ๑๗๒) เนื้อความในชาดกนั้นว่าคืนหนึ่งพระเจ้าปะเสนทิซึ่งครองประเทศโกศลอยู่ ณ เมืองสาวัตถีเป็นราชธานี ทรงพระสุบินนิมิตอย่างแปลกปลาด ๑๖ ข้อ (จำนวนตรงกันกับในเพลงยาว) เกิดหวาดหวั่นพระราชหฤทัย ตรัสให้พวกพราหมณ์พยากรณ์ พวกพราหมณ์ว่าพระสุบินนั้นร้ายนัก เป็นนิมิตที่จะเกิดภัยอันตรายใหญ่หลวง ทูลแนะนำให้ทำพิธีบูชายัญป้องกันอันตราย แต่นางมัลลิกา มเหสีเห็นว่าพิธีบูชายัญนั้นต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจะกลับเป็นบาปกรรม ทูลขอให้พระเจ้าปะเสนทิไปทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงพยากรณ์เสียก่อน เมื่อพระเจ้าปะเสนทิไปทูลถามพระพุทธองค์ ตรัสตอบว่าพระสุบิน ๑๖ ข้อนั้นสังหรณ์เหตุร้ายจริง แต่เหตุร้ายเหล่านั้นจะยังไม่เกิดในรัชกาลของพระเจ้าปะเสนทิและในพุทธกาล จะเกิดต่อเบื้องหน้าเมื่อพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในราชธรรมและมนุษย์ทั้งหลายทิ้งกุศลสุจริตจึงจะถึงยุคเข็ญ นิมิตร้ายในพระสุบินหามีภัยอันตรายแก่พระองค์อย่างไรไม่ พระเจ้าปเสนทิได้ทรงฟังพระพุทธฎีกาก็สิ้นพระวิตก ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์นิมิต ๑๖ ข้อนั้นต่อไป พระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ทีละข้อ แต่จะคัดพุทธพยากรณ์มาแสดงโดนพิศดารจะยืดยาวนัก จะกล่าวแต่ ๒ ข้อซึ่งใกล้อย่างยิ่งกับทีกล่าวในเพลงยาวว่า | |||
"กระเบื้อจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันจะลอยจะถอยจม" | |||
ในพระสุบินข้อ ๑๒ ว่าพระเจ้าปะเสนทิทอดพระเนตรเห็น "น้ำเต้าเปล่า" (คือที่รวงเอาเยื่อข้างในออกเหลือแต่เปลือกสำหรับใช้ตักน้ำ) อันลอยน้ำเป็นธรมดากลับจมลงไปอยู่กับพื้นที่ข้างใต้น้ำ ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า เมื่อถึงยุคเข็ญนั้นพระมหากษัตริย์จะชุบเลี้ยงคนแต่เสเพล เปรียบเหมือนลูกน้ำเต้าเปล่าอันได้แต่ลอยตามสายน้ำ ตั้งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในราชการ เปรียบดังน้ำเต้าเปล่าจมลงไปเป็นภาคพื้นใต้น้ำ | |||
ในพระสุบินข้อ ๑๓ ว่าพระเจ้าปะเสนทิได้ทอดพระเนตรเห็นหินก้อนใหญ่สักเท่าเรือน (ในเพลงยาวว่ากระเบื้อง) ลอยขึ้นมาอยู่บนหลังน้ำ พุทธพยากรณ์ข้อนี้ก็อย่างเดียวกับข้อก่อนแต่กลับกัน ว่าผู้ทรงคุณเป็นหลักฐานมั่นคง เปรียบเหมือนหินดานที่เป็นพื้นของลำน้ำ เมื่อถึงยุคสิ้นเข็ญจะสิ้นวาสนาต้องเที่ยวซัดเซเร่ร่อน เปรียบเหมือนกับหินกลับลอยตามกระแสน้ำ | |||
นอกจาก ๒ ข้อนี้ เหตุร้ายต่างๆ ที่ในพุทธพยากรณ์ว่าจะเกิดในยุคเข็ญก็เป็นเค้าเดียวกับที่กล่าวในเพลงยาว เห็นได้ชัดว่าผู้แต่งคำพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาเอาความในมหาสุบินชาดกมาแต่ง แต่มีผิดกันเป็นข้อสำคัญอยู่ ๒ แห่ง แห่ง ๑ ใมหาสุบินชาดก พระพุทธเจ้ามิได้ทรงพยากรณ์ว่ายุคเข็ญนั้นจะเกิดในประเทศใด เป็นแต่ว่าจะเกิดเพราะพระราชาไม่อยู่ในราชธรรม แต่ในคำพยากรณ์เจาะจงว่าจะเกิด ณ กรุงศรีอยุธยาอีกแห่ง ๑ ในพระพุทธพยากรณ์มิได้กล่าวว่ายุคเข็ญจะเกิดเมื่อใด เป็นแต่ว่ายังอีกช้านานในภายหน้า แต่ในคำพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาอ้างว่าจะเกิดยุคเข็ญเมื่อศักราชได้ ๒,๐๐๐ ปี จึงเป็นปัญหาเกิดขึ้นอีกข้อ ๑ ว่า "ศักราชอันใด" ถ้าหมายว่าพุทธศักราช กรุงศรีอยุธาสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ครบ ๒,๐๐๐ ปีในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยาก็จะสมบูรณ์พูนสุขอยู่เพียง ๑๐๗ ปี แล้วก็เข้ายุคเข็ญมาก่อนแต่งเพลงยาวบทนี้ตั้ง ๑๐๐ ปีแล้ว ที่ผู้แต่งเพลงยาวเพิ่งหวั่นหวาดว่าจะถึงยุคเข็ญ ก็ส่อให้เห็นว่ามิใช่พุทธศักราชหรือจะหมายว่ามหาศักราชซึ่งตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี ถ้าเช่นนั้นเมื่อคำนวณดูใน พ.ศ. ๒๔๗๙(ปีที่เขียนคำวิจารณ์) นี้มหาศักราชได้ ๑,๘๕๘ ปี ยังอีก ๑๔๒ ปีจึงจะครบ ๒,๐๐๐ เข้าเขตยุคเข็ญที่พยากรณ์ ถ้าหมายความว่าจุลศักราชยังยิ่งช้าออกไปอีกมาก เพราะจุลศักราชตั้งภายหลังพุทธศักราชถึง ๑,๑๘๑ ปี ต่ออีก ๗๐๒ ปี (พ.ศ. ๓๑๘๑) จุลศักราชจึงจะครบ ๒,๐๐๐ ศักราช ๒,๐๐๐ ที่บอกไว้ดูไม่เข้ากับเรื่องที่กล่าวในเพลงยาวทีเดียว ชวนให้สงสัยต่อไปถึงข้อที่อ้างว่ามีคำพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาอยู่แต่ก่อน ที่จริงน่าจะเป็นด้วยชอบเอาพุทธพยากรณ์ในมหาสุบินชาดกมาเปรียบในเวลาเมื่อเห็นอะไรวิปริตผิดนิยม เกิดเป็นภาษิตก่อนแล้วจึงเลยเลือนไปเข้าใจกันว่าเป็นคำพยากรณ์สำหรับพระนครศรีอยุธยา ผู้แต่งเพลงยาวนี้จะเป็นพระเจ้าแผนดินก็ตาม หรือมิใช่พระเจ้าแผ่นดินก็ตาม น่าจะปรารภความวิปริตอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยนั้น จึงแต่งเพลงยาวนี้ด้วยกลุ้มใจ บางทีจะเอาศักราช ๒,๐๐๐ อันตั้งใจว่าจุลศักราชเขียนลงเพื่อจะมิให้คนทั้งหลายตกใจว่าถึงยุคเข็ญแล้ว เมื่อเวลาแต่งเพลงยาวนั้นเห็นจะมิใคร่มีใครถือว่าสลักสำคัญมาจนเมื่อเสียพระนครศรีอยุธยาจึงเกิดเห็นสมดังพยากรณ์ เพลงยาวบทนี้ก็เลยศักดิ์สิทธิ์ขึ้น พวกไทยที่ตกไปเมืองพมาก็เห็นเช่นนั้น จึงเอาไปอ้างอวดพม่าว่าพระเจ้าเสือทรงสามารถเห็นการในอนาคตห่างไกล ฝ่ายพวกไทยที่อยู่ในประเทศสยามเมื่อเห็นพระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองร้าง ก็เห็นว่าสมคำพยากรณ์เช่นเดียวกันโดยมาก ที่เรียกเพลงยาวบทนี้ว่า "เพลงยาวพุทธทำนาย" ก็มีจำกันได้แพร่หลายแต่คนละเล็กละน้อย ดูเหมือนจำได้โดยมากแต่ตรงว่า "กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยจะถอยจม" ครั้นเมื่อถามข้าราชการครั้งกรุงศรีอยุธยาที่ยังมีตัวตนอยู่ (เข้าใจว่าเมื่อแรกสร้างพระนครอมรรัตนโกสินทร) ในรัชกาลที่ ๑ ถึงแผนที่พระนครศรีอยุธยา มีผู้จำเพลงยาวพยากรณ์นี้ได้ตลอดบท (อย่างกระพ่องกระแพร่ง) จึงได้จดลงไว้ข้างต้นสมุดเรื่องกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเรื่องตำนานของเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาจะเป็นดังกล่าวมา. | |||
เชิงอรรถ
(๑) ในคำให้การชาวกรุงเก่าว่าเป็นคำพยากรณ์ของสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (พระพุทธเจ้าเสือ)แต่เป็นคำร้อยแก้วและเนื้อความสั้นกว่า ทีพะม่าจะแปลจากภาษาไทยไม่ได้ตลอด