เพลงยาวพยาà¸à¸£à¸“์à¸à¸£à¸¸à¸‡à¸¨à¸£à¸µà¸à¸¢à¸¸à¸˜à¸¢à¸²à¹à¸¥à¸°à¸„ำวิจารณ์
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(บันทึกครั้งที่ ๑) |
(บันทึกครั้งที่ ๒ และแก้ไขรูปแบบการแสดง) |
||
แถว 4: | แถว 4: | ||
[[หมวดหมู่:ร้อยแก้ว]] | [[หมวดหมู่:ร้อยแก้ว]] | ||
[[หมวดหมู่:คำกลอน]] | [[หมวดหมู่:คำกลอน]] | ||
+ | [[หมวดหมู่:เพลงยาว]] | ||
[[หมวดหมู่:ยังไม่สมบูรณ์]] | [[หมวดหมู่:ยังไม่สมบูรณ์]] | ||
แถว 75: | แถว 76: | ||
''สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์'' | ''สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์'' | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | พิจารณาเนื้อความตามที่กล่าวในเพลงยาวบทนี้ มีคำพยากรณ์มาแต่ก่อนว่ากรุงศรีอยุธยาจะสมบูรณ์พูลสุขเป็นอย่างเลิศล้นจนศักราชได้ ๒,๐๐๐ ปี พ้นนั้นไปจะ "เกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์ ๑๖ ประการ" เหตุด้วยพระมหากษัตริย์ไม่ทรงทศพิศราชธรรม" บ้านเมืองก็จะมีเภทภัยต่างๆ ที่สุดถึงฆ่าฟันกันตาย จนกรุงศรีอยุธยาสูญไปตลอดอายุพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ว่ามีคำพยากรณ์อยูแล้วดังกล่าวมานี้ มาในสมัยหนึ่งเมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่นั้น ผู้แต่งเพลงยาวบทนี้สังเกตเห็นเกิดวิปริตต่างๆ ตาม "ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด เมื่อวินิจพิศดูก็เห็นสม" เกรงว่าจะเข้ายุคเข็ญตามคำพยากรณ์ จึงแต่งเพลงยาวบทนี้ด้วยความอาลัยกรุงศรีอยุธยา ลงท้ายว่า | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | "กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ | ||
+ | จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ นับวันแต่จะเสื่อมสูญเอย" | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ตามความในเพลงยาวพึงเห็นได้ว่าผู้แต่เพลงยาวบทนี้เป็นแต่อ้างตามคำพยากรณ์ที่มีอยู่แล้ว หาได้เป็นผู้พยากรณ์ไม่ จึงเกิดปัญหาเป็นข้อต้นว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ วิสัชนาข้อนี้มีเค้าเงื่อนอยู่ในหนังสือเก่าเรียกว่า "มหาสุบินชาดก" (ซึ่งหอพระสมุดพิมพ์ไว้ในหนังสือนิบาตชาดก เล่ม ๒ หน้า ๑๗๒) เนื้อความในชาดกนั้นว่า | ||
+ | </tpoem> | ||
==เชิงอรรถ== | ==เชิงอรรถ== |
การปรับปรุง เมื่อ 13:23, 9 ตุลาคม 2553
ข้อมูลเบื้องต้น
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
๑จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุทยา | |||
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสดา | มหาดิเรกอันเลิศล้น | ||
เป็นที่ปรากฏิ์รจนา | สรรเสริญอยุทยาทุกแห่งหน | ||
ทุกบุรีสีมามณฑล | จบสกลลูกค้าวานิจ | ||
ทุกประเทศสิบสองภาษา | ย่อมมาพึ่งกรุงสรีอยุทยาเป็นอัคะนิด | ||
ประชาราษฏร์ปราศจากไภยพิศม์ | ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์ | ||
ฝ่ายองค์พระบรมราชา | ครองขันทสีมาเป็นศุข | ||
ด้วยพระกฤษฎกาทำนุก | จึ่งอยู่เย็นเป็นศุขสวัสดี | ||
เป็นที่อาไศรยแก่มนุษย์ในใต้หล้า | เป็นที่อาไศรยแก่เทวาทุกราศรี | ||
ทุกนิกรนรชนมนตรี | คะหะบดีชีพราหมณพฤฒา | ||
ประดุจดั่งศาลาอาไศรย | ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันษาขา | ||
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา | เป็นที่สิเนหาเมื่อกันดาน | ||
ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ | อาจปราบไภรีทุกทิศาน | ||
ทุกประเทศเขตขันฑ์บันดาน | แต่งเครื่องบัณาการมานอบนบ | ||
กรุงศรีอยุทยานั้นสมบูรณ์ | เพิ่มพูลด้วยพระเกรียศคะจรจบ | ||
อุดมบรมศุขทั้งแผ่นภิภพ | จนคำรบศักราชได้สองพัน | ||
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย | จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น | ||
ด้วยพระมหากระษัตรมิได้ทรงทศมิตราธรรม์ | จึ่งเกิดเข็ญเป็นมหัศจรร์สิบหกประการ | ||
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพด | อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทีศาน | ||
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลีงกาล | เกิดนิมิตพิศดานทุกบ้านเมือง | ||
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก | อกแผ่นฟ้าเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง | ||
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง | ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร | ||
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี | พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้ | ||
พระธรณีจะตีอกไห้ | อกพระกาลจะไหม้อยู่เกรียมกลม | ||
ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด | เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม | ||
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม | มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด | ||
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น | มิใช่เทสกาลฝนฝนก็อุบัติ | ||
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด | เกิดวิบัตินานาทั่วสากล | ||
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา | จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล | ||
สัปรุษย์จะแพ้ก่ทระชน | มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก | ||
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว | คนชั่วจะมล้างผู้มีศักด์ | ||
ลูกสิทธิ์จะสู้ครูพัก | จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย | ||
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ | นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย | ||
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย | น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม | ||
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า | เพราะจันทานมันเข้าาเสพสม | ||
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ | เพราะสมัคสมาคมด้วยมารยา | ||
พระมหากระษัตรจะเสื่อมสิงหนาท | ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา | ||
อาสัจจะเลื่องฦๅชา | พระธรรมาจะตกฦกลับ | ||
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ | จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ | ||
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ | สัปรุษย์จะอับซึ่งน้ำใจ | ||
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี | ประเวณีจะแปรปรวนตามวิไส | ||
ทั้งพืชแผ่นดีนจะผ่อนไป | ผลหมากรากไม้จะถอยรศ | ||
ทั้งแพศพรรว่านยาก็อาเพด | เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด | ||
จวงจันทร์พรรณไม้อันหอมรศ | จะถอยถดไปตามประเพณี | ||
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง | สารพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่ | ||
จะบังเกีดทรพิศม์มิคสัญญี | ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน | ||
กรุงประเทศราชธานี | จะเกีดการกุลีทุกแห่งหน | ||
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพรพล | จะสาละวนทั่วโลกทั้งหญิงชาย | ||
จะร้อนอกสมณาประชาราช | จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย | ||
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย | ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ | ||
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก | เวียงวังก็จะรกเป็นป่าเสือ | ||
แต่สิงห์สารสัตว์เนื้อเบื้อ | นั้นจะหลงหลอเหลือในแผ่นดิน | ||
ทั้งผู้คนสาระพัดสัตว์ทั้งหลาย | จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น | ||
ด้วยพระกาลจะมาผลานแผ่นดิน | จะสูญสิ้นการณรงสงคราม | ||
กรุงศรีอยุทยาจะสูญแล้ว | จะกลับรัดสมีแก้วเจ้าทั้งสาม | ||
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม | จนสิ้นนามศักราชห้าพัน | ||
กรุงศรีอยุทยาเขษมสุข | แสนสนุกนี้ยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ | ||
จะเป็นเมืองแพศยาอาทัน | นับวันจะเสื่อมสูญเอย ฯ | ||
จบเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนายกรุงแต่เท่านี้
......... .......... ..........
วิจารณ์เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์
พิจารณาเนื้อความตามที่กล่าวในเพลงยาวบทนี้ มีคำพยากรณ์มาแต่ก่อนว่ากรุงศรีอยุธยาจะสมบูรณ์พูลสุขเป็นอย่างเลิศล้นจนศักราชได้ ๒,๐๐๐ ปี พ้นนั้นไปจะ "เกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์ ๑๖ ประการ" เหตุด้วยพระมหากษัตริย์ไม่ทรงทศพิศราชธรรม" บ้านเมืองก็จะมีเภทภัยต่างๆ ที่สุดถึงฆ่าฟันกันตาย จนกรุงศรีอยุธยาสูญไปตลอดอายุพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ว่ามีคำพยากรณ์อยูแล้วดังกล่าวมานี้ มาในสมัยหนึ่งเมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่นั้น ผู้แต่งเพลงยาวบทนี้สังเกตเห็นเกิดวิปริตต่างๆ ตาม "ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด เมื่อวินิจพิศดูก็เห็นสม" เกรงว่าจะเข้ายุคเข็ญตามคำพยากรณ์ จึงแต่งเพลงยาวบทนี้ด้วยความอาลัยกรุงศรีอยุธยา ลงท้ายว่า | |||
"กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข | แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ | ||
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ | นับวันแต่จะเสื่อมสูญเอย" | ||
ตามความในเพลงยาวพึงเห็นได้ว่าผู้แต่เพลงยาวบทนี้เป็นแต่อ้างตามคำพยากรณ์ที่มีอยู่แล้ว หาได้เป็นผู้พยากรณ์ไม่ จึงเกิดปัญหาเป็นข้อต้นว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ วิสัชนาข้อนี้มีเค้าเงื่อนอยู่ในหนังสือเก่าเรียกว่า "มหาสุบินชาดก" (ซึ่งหอพระสมุดพิมพ์ไว้ในหนังสือนิบาตชาดก เล่ม ๒ หน้า ๑๗๒) เนื้อความในชาดกนั้นว่า | |||
เชิงอรรถ
(๑) ในคำให้การชาวกรุงเก่าว่าเป็นคำพยากรณ์ของสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (พระพุทธเจ้าเสือ)แต่เป็นคำร้อยแก้วและเนื้อความสั้นกว่า ทีพะม่าจะแปลจากภาษาไทยไม่ได้ตลอด