โคบุตร
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(→ตอนที่ ๖ โคบุตรได้นกขุนทองแล้วเข้าเมืองกาหลง) |
(→ตอนที่ ๗ นกขุนทองถือหนังสือถวายนางอำพันมาลา ธิดาท้าววิหลราช) |
||
แถว 1,204: | แถว 1,204: | ||
===ตอนที่ ๗ นกขุนทองถือหนังสือถวายนางอำพันมาลา ธิดาท้าววิหลราช=== | ===ตอนที่ ๗ นกขุนทองถือหนังสือถวายนางอำพันมาลา ธิดาท้าววิหลราช=== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
- | ๏ | + | ๏ ขุนทองรับอภิวันท์รำพันพลอด ลูกจะสอดสืบความตามประสงค์ |
+ | ลูกอาสากว่าจะได้ดังใจจง คุณพ่อคงไ้ด้ชมสมคะเน | ||
+ | จะพูดพลอดสอดคล้องให้ต้องจิต ดูจริตนางในให้หลายเล่ห์ | ||
+ | ปะเลาะเลียบเลียมชวนให้รวนเร สมคะเนแล้วจะทูลประโลมนาง ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ พระกอดจูบลูบสาลิกาแก้ว ดีจริงแล้วคิดเหมือนใจไม่ขัดขวาง | ||
+ | ระงับภัยที่จะไปในกลางทาง อย่านอนค้างกลางดงจงกลับมา | ||
+ | นกขุนทองป้องปีกเคารพรับ ยืนขยับโผผันด้วยหรรษา | ||
+ | ขึ้นลอยลมไปในหว่างกลางนภา เข้าพาราร่อนลงตรงวังใน | ||
+ | โสตสดับตรับเหตุสังเกตจิต ว่ามิ่งมิตรอยู่ปรางค์มุขอันสุกใส | ||
+ | มีตนกร่างข้างแกลปราสาทชัย สำราญใจลงจับขยับมอง | ||
+ | นัยน์ตาสอดลอดแลเห็นแกลแย้ม ไอกระแอมส่งเสียงสำเนียงก้อง | ||
+ | หัวเราะร่าอยู่หน้าพระแกลทอง นัยน์ตามองโฉมเฉลาดูเยาวมาลย์ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ โฉมอำพันมาลาไสยาหลับ ให้วาบวับแว่วเสียงสำเนียงหวาน | ||
+ | นางลงจากแท่นรัตน์ชัชวาล แล้วเผยบานพระแกลเหลียวแลมา | ||
+ | พอเสียงอาดนกฉลาดเข้าแอบลับ นัยน์ตาจับเพ่งพิศขนิษฐา | ||
+ | สะอาดเอี่ยมเทียมเทพธิดา สาลิกาพิศวงด้วยองค์นาง | ||
+ | ทำเลียบเมินเดินมาตรงหน้ามุข ยืนหัวซุกไซ้ขนบนกิ่งกร่าง | ||
+ | นางเนื้อเย็นเห็นสาลิกาพลาง งามสำอางเลิศล้ำสกุณี | ||
+ | ปากเหลืองดังทองคำธรรมชาติ ขนสะอาดผาดขำดูดำสี | ||
+ | คะนึงในน้ำพระทัยนางเทวี เมื่อตะกี้ชะรอยเสียงสาลิกา | ||
+ | ดำริพลางนางเรียกขุนทองเอ๋ย เป็นไรเลยเสียไม่พูดเล่าปักษา | ||
+ | หัวเราะหยอกหลอกแม่ให้แลมา แล้วเมินหน้าเสียไม่พูดให้แม่ฟัง ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นกขุนทองหัวร่อแล้วขอโทษ อย่าถือโกรธลูกไม่มีนัยน์ตาหลัง | ||
+ | เมื่อแรกมาเห็นหน้าพระแกลบัง แต่พูดพลั้งออกไปนิดยังคิดกลัว | ||
+ | มิชอบใจจะว่าใครมาพูดแจ้ว ถ้ากริ้วแล้วว่าขุนทองนี้ชาติืชั่ว | ||
+ | จะให้สาวชาววังมาจับตัว ลูกก็กลัวที่จะไปไม่ใคร่ทัีน ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ฟังเสนาะเพราะเสียงสำเนียงนก นางลูบอกแล้วก็ทรงพระสรวลสันต์ | ||
+ | แม่เจ้าเอ๋ยรู้จริงทุกสิ่งอัน แล้วรับขวัญเรียกสาลิกาทอง | ||
+ | มานี่เถิดเจ้าสาลิกาเอ๋ย ให้แม่เชยแต่พอชื่นอารมณ์หมอง | ||
+ | ข้าวกับไข่แม่จะใส่จานทองรอง เจ้าขุนทองเข้ามาชิมให้อิ่มใจ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ สกุณีตีปีกหัวร่อร่า เจ้าแม่จ๋ามาลวงให้หลงใหล | ||
+ | ครั้นเข้าชิดแล้วจะปิดพระแกลไว้ แม่คงจับลูกได้ไว้ใส่กรง ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ อนิจจาว่าเปล่าดอกเจ้าเอ๋ย แม่ไม่เคยลวงใครให้ใหลหลง | ||
+ | จะจับเจ้าไว้ทำไมที่ในกรง แม่ชมเชยแล้วจะส่งไปรวงรัง | ||
+ | จริงกระนั้นหรือฉันจะไปหา สาลิกาทำขยับแล้วกลับหลัง | ||
+ | หัวเราะร่าว่าเจ้าแม่กรุณัง ลูกฝรั่งหรืออะไรจะให้ทาน | ||
+ | จะให้จริงทิ้งมาเถิดเจ้าแม่ แต่พอแก้แสบท้องเป็นของหวาน | ||
+ | พอค่ำไปเช้ากลับมารับประทาน อ้างพยานกิ่งกร่างกับปรางค์ทอง | ||
+ | ดูดู๋เจ้าใจแข็งเสียแรงปลอบ คิดเห็นชอบหรือไฉนให้ทิ้งของ | ||
+ | บุญแม่น้อยมิได้อุ้มเจ้าขุนทอง นุชน้องเจ้างับพระแกลบัง | ||
+ | นกขุนทองป้องปีกเคารพรับ น้อมคำนับขยับบินแล้วผินหลัง | ||
+ | อนิจจาผิดล้นพ้นกำลัง นี่หรือยังจะรักไปให้ยืดยาว | ||
+ | ก็สาสมที่อารมณ์เราทำชั่ว ท่านรักตัวแล้วยังดื้อทำอื้อฉาว | ||
+ | โอ้เคราะห์ร้ายเรื้อรังมาทั้งคราว ฉันลาเจ้าแม่แล้วอย่าโกรธเลย | ||
+ | ทำยกปีกเหมือนจะถาไปอากาศ สุดสวาทผลักบานบัญชรเผย | ||
+ | มาเถิดมาสาลิกาอย่าโกรธเลย แม่เจ้าเอ๋ยใจน้อยนี่้สุดใจ | ||
+ | นกขุนทองว่าฉันลองใจเจ้าแม่ คิดอยู่แต่จะไม่เผยบัญชรให้ | ||
+ | คอยรับลูกเถิดจะโผนโจนลงไป ลูกอ่อนใจแสบท้องมาสองวัน | ||
+ | แล้วย่างเหยียบเลียบโจนจากกิ่งกร่าง พอถึงนางเหมือนจะตกทำหกหัน | ||
+ | นางผวาคว้ารับขุนทองพลัน แล้วรับขวัญจูบกอดเจ้าสาลิกา | ||
+ | เอาจานทองมารองข้าวกับไข่คลุก กล้วยน้ำสุกปอกส่งให้ปักษา | ||
+ | ลูกฝรั่งมังคุดอันโอชา สาลิกากินพลอดเฉาะฉอดไป | ||
+ | เจ้าแม่จ๋าถ้าลูกกินอิ่มแล้ว จะปล่อยแก้วสาลิกาหรือหาไม่ | ||
+ | นางยิ้มหลอกหยอกนกให้ตกใจ ถึงมือแล้วจะไปจากเห็นยากครัน | ||
+ | เออนี่แน่แม่จะถามเนื้อความหน่อย เขาเลี้ยงปล่อยหรืออยู่ป่าพนาสัณฑ์ | ||
+ | มาท่องเที่ยวอดอยากลำบากครัน อยู่ด้วยกันเถิดเป็นไรอย่าไปเลย | ||
+ | สาลิกาแสนกลเห็นคนว่าง ได้ท่าทางก็ตอบสารเฉลย | ||
+ | ไม่ทุกข์ร้อนก็จะนอนให้แม่เชย นี่ใครเลยจะแจ้งที่ใจจง | ||
+ | แม้นแม่รู้ความหลังจะสังเวช ซึ่งทุเรศมรรคาในป่าระหง | ||
+ | ด้วยเจ้าพ่อพี่น้องทั้งสององค์ เป็นเชื้อวงศ์จักรพรรดิสวัสดี | ||
+ | พึ่งแรกรุ่นรูปราวกับเจ้าแม่ เขาลือแซ่เฟื่องฟุ้งทั้งกรุงศรี | ||
+ | ว่าโฉมยงองค์หนึ่งในธรณี เป็นบุตรีจักรพรรดิกษัตรา | ||
+ | ว่าทรงโฉมงามประโลมวิไลโลก เธอแสนโศกมาเสาะแสวงหา | ||
+ | แต่พี่น้องสององค์กับสาลิกา ถึงพาราเจ้าแม่ได้สามวัน | ||
+ | มาพบเหยี่ยวเฉี่ยวโฉบลูกบินหนี มันตามตีสาลิกาแทบอาสัญ | ||
+ | ครั้นพ้นเหยี่ยวเที่ยวหาไม่พบกัน จึงโศกศัลย์ตกยากลำบากมา | ||
+ | ได้กินข้าวคลุกไข่ของเจ้าแม่ สงสารแต่เจ้าพ่อของปักษา | ||
+ | พระพักตร์งามยามโศกจะโรยรา ทำมารยายืนเหงาไม่จิกกิน ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางฟังคำนกสาลิกาเล่า โอ้แม่เจ้าช่างจำได้เสร็จสิ้น | ||
+ | ให้ปั่นป่วนครวญคิดถึงภูมินทร์ แต่ได้ยินกล่าวโฉมให้ชื่นครัน | ||
+ | นางเสแสร้งแกล้งซักเจ้าปักษา สาลิกาปดดอกกระมังนั่น | ||
+ | ถ้าคุณพ่อเป็นเจ้าเหมือนเล่ากัน จะด้นดั้นหาคู่ไม่ควรเลย | ||
+ | จริงจริงหรือชื่อไรเล่าเจ้าพ่อ มิรูปหล่อหรือเจ้าสาลิกาเอ๋ย | ||
+ | นกขุนทองต้องใจกระไรเลย จะชมเชยชวนคบเฝ้ารบไป ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ตามแต่เยาะเถิดเป็นเคราะห์ของลูกร้าย พระโฉมฉายเธอไม่มาก็ว่าได้ | ||
+ | ถึงมิหล่อก็แต่พอประโลมใจ บุรุษในธรณีไม่มีปาน | ||
+ | หญิงที่เห็นเว้นไว้แต่เจ้าแม่ จะงามแก้กันได้ไม่หักหาญ | ||
+ | ไม่เชื่อแล้วถึงจะเล่าไม่เข้าการ มาอยู่นานแล้วจะลาไปหากัน ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางฟังนกยกยอชะลอโฉม ยิ่งประโลมลานจิตคิดกระสัน | ||
+ | ฟังปักษาว่าประหลาดพูดพาดพัน หรือทรงธรรม์ใช้สาลิกามา | ||
+ | ดำริพลางนางแกล้งกระซิบสั่ง แม้นกลับหลังพบคุณพ่อของปักษา | ||
+ | อย่าบอกเล่าว่าเข้ามาปรางค์ปรา คุณพ่อเจ้าเธอจะว่าไม่เกรงใจ | ||
+ | เมื่อแรกคิดว่าเจ้ามาแต่ป่า ไม่แจ้งว่าคุณพ่อเจ้ารักใคร่ | ||
+ | ได้จับผิดนิดหน่อยก็แล้วไป รำคาญใจเขาจะว่าดูน่าชัง ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นกขุนทองรู้ทำนองว่านางแกล้ง ทำเสแสร้งตอบไปเหมือนใจหวัง | ||
+ | แม่ให้ทานข้าวกับไข่มิใช่ชัง ถึงมิสั่งลูกจะบอกทำไมมี | ||
+ | เป็นการด่วนจวนจะจรไปหาคู่ เจ้าแม่อยู่จะมาบ้างในปรางค์ศรี | ||
+ | ฉันจะลาเจ้าแม่อยู่จงดี แล้วทำทีจะบินออกนอกบัญชร ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางขยับจับสาลิกากอด ระทวยทอดฤทัยสะท้อนถอน | ||
+ | กลัวปักษาจะมิทูลพระำภูธร เธอจะจรไปเสียจากพารา | ||
+ | จะสั่งไปให้บอกก็อายจิต แต่นึกคิดป่วนปั่นกระสันหา | ||
+ | เล้าโลมลูบจูบกอดสกุณา สาลิกาเอ๋ยแม่เชยไม่สิ้นรัก | ||
+ | แม้นเจ้าพ่อพบสาลิกาเข้า จะพาเจ้าจรไปจากไตรจักร | ||
+ | พ่อหนีมาให้แม่ชมพอสมรัก อย่าเพ่อหักหวนไปเสียไกลตา | ||
+ | รำพันพลางทางหยิบสุคนธ์รื่น อันหอมชื่นมาชโลมเจ้าปักษา | ||
+ | ให้รู้ถึงทรงธรรม์ด้วยปัญญา สาลิกาแจ้งความก็ตามใจ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ขุนทองเคารพจบปีกขึ้นเหนือเกล้า จะลาเจ้าแม่แล้วอย่าโหยไห้ | ||
+ | พอพบพ่อลูกจะมาอย่าอาลัย สำราญใจโผผินบินทะยาน ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางเยี่ยมแกลแลดูจนลับเนตร พูนเทวษพิศวงด้วยสงสาร | ||
+ | ไม่เล่นด้วยสาวสนมพนักงาน อาลัยลานถึงคุณพ่อสา่ลิกา ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายขุนทองบินถลามาถึงสวน พลางสำรวลพูดจ้อคุณพ่อจ๋า | ||
+ | จูบขุนทองลองรสสุคนธา สาลิกาเจ้าก็เต้นขึ้นเพลาพลัน ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ พระโคบุตรสุดสวาทด้วยนกพลอด พระกรกอดสาลิกาแล้วรับขวัญ | ||
+ | หอมระรื่นชื่นใจกระแจะจันทน์ เกษมสันต์แจ้งความว่าทรามเชย | ||
+ | จึงยิ้มเยื้อนเอื้อนถามไปตามเล่ห์ สมคะเนแล้วหรือเจ้าสาลิกาเอ๋ย | ||
+ | ใครทาแป้งแต่งตัวให้ทรามเชย เจ้าข้าเอ๋ยหอมหวนรัญจวนใจ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ขุนทองฟังเจ้าพ่อหัวร่อร่า ลูกอาสาพระองค์ก็คงได้ | ||
+ | แล้วเล่าเรื่องกล่าวโฉมประโลมใจ งามวิไลล้ำนางสำอางตา | ||
+ | ถึงนางในไกรลาสว่างามล้ำ ไม่งามขำเหมือนเจ้าแม่ของปักษา | ||
+ | จะเปรียบกรอ่อนดังงวงไอยรา จะดูสองนัยนาดังนิลแนม | ||
+ | เปรียบขนงเหมือนหนึ่งวงธนูน้าว ทั้งสองเต้าตั้งเต่งเปล่งแฉล้ม | ||
+ | ดังสัตตบุษย์ผุดปริ่มคงคาแวม ทั้งสองแก้มเปรียบอย่างมะปรางทอง | ||
+ | เหมือนเจ้าพ่อพอสมเป็นคู่ชื่น อันชายอื่นแล้วไม่มีเสมอสอง | ||
+ | ทั้งสมบัติพัสถานก็เนืองนอง ดุจทองแกมแก้วประกอบกัน ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ พระฟังนกยกโฉมให้ปั่นป่วน ทรงพระสรวลสาลิกาแล้วรับขวัญ | ||
+ | พระฟังพลอดเพลิดเพลินเจริญครัน ถ้าแม่นมั่นเหมือนเล่าเจ้าขุนทอง | ||
+ | เอานกแอบแนบชมอารมณ์ชื่น หอมระรื่นพระยิ่งให้อาลัยหมอง | ||
+ | เย็นพยับอับฟ้าน้ำตานอง พระตรึกตรองถึงแก้วตายิ่งอาวรณ์ | ||
+ | ชวนอรุณขุนทองขึ้นแท่นรัตน์ สองกษัตริย์บรรทมเหนือบรรจถรณ์ | ||
+ | พระโคบุตรสุริยาพะงางอน อนาถนอนนิ่งนึกถึงเทวี | ||
+ | โอ้อำพันขวัญใจวิไลลักษณ์ จะประจักษ์หรือว่าเรียมอยู่สวนศรี | ||
+ | นกมาเล่าเหมือนหนึ่งเจ้าจะปรานี รุ่งพรุ่งนี้จะให้อ่านสารแสดง | ||
+ | ให้ขวัญเมืองรู้เรื่องว่าเรียมรัก แจ้งประจักษ์ตื้นลึกไม่นึกแหนง | ||
+ | ยิ่งกลัดกลุ้มรุ่มร้อนดังเพลิงแรง แต่พลิกแพลงปลาบปลื้มไม่ลืมคิด | ||
+ | จะใกล้หลับคลับคล้ายเหมือนสายสวาท มาร่วมอาสน์อิงแอบแนบสนิท | ||
+ | พระหัตถ์สอดกอดน้องประคองคิด แล้วจุมพิตเชยปรางทางสุนทร | ||
+ | นิจจาเจ้าเยาวลักษณ์วิไลโฉม งามประโลมล้ำเทพอักษร | ||
+ | อรุณฟื้นตื่นปลุกพระภูธร ละเมอนอนเล้าโลมประหลาดครัน | ||
+ | พระรู้สึกนึกเขินเมินหน้านิ่ง ยิ่งคิดยิ่งสร้อยเศร้าถึงสาวสวรรค์ | ||
+ | ไม่หลับไหลด้วยพระทัยนั้นผูกพันธ์ จนไก่ขันจวนรุ่งน้ำค้างโปรย | ||
+ | หอมจำปาดอกลำดวนในสวนหลวง เรณูร่วงหอมหวนรัญจวนโหย | ||
+ | รื่นรื่นชื่นอารมณ์เมื่อลมโชย พระพายโรยพัดเฉื่อยระเรื่อยมา | ||
+ | สุริยงทรงราชรถเร่ง ขึ้นปลั่งเปล่งหมดเมฆในเวหา | ||
+ | พระตื่นขึ้นสรงพักตร์แลกายา แล้วจารึกสาราเป็นความใน | ||
+ | ด้วยยอดตองรองเขียนประดิษฐ์คิด ตามจริตแรกเริ่มจะรักใคร่ | ||
+ | สลักหลังสั่งซ้ำประจำไป พระมอบให้สาลิกาแล้วพาที | ||
+ | พระสั่งนอกบอกว่าโศกานัก แล้วลูกรักอยู่บรรทมกับโฉมศรี | ||
+ | อย่าปิดแกลนิทราเมื่อราตรี พอเขาตีฆ้องยามจะตามไป | ||
+ | ขุนทองกราบคาบตองจำลองสาร บินทะยานจากสวนพฤกษาไสว | ||
+ | ลงจับกร่างข้างแกลปราสาทชัย หนังสือพิงกิ่งไม้ไว้ดิบดี | ||
+ | แล้วขุนทองร้องเรียกคุณแม่จ๋า เจ้าแม่มามารับเจ้าปักษี | ||
+ | นางฟังแจ้วแว่วเสียงสกุณี นางเทวีวิ่งผวามาหน้าแกล | ||
+ | ขุนทองเห็นยกปีกเคารพรับ ขุนทองกลับมาแล้วจ๊ะพระเจ้าแม่ | ||
+ | สาลิกาถาทะยานจับบานแกล ไหนเจ้าแม่จะให้ข้าวกับไข่กิน | ||
+ | นางกอดแก้วสาลิกาแล้วกล่าวถ้อย ให้กล้วยหน่อยข้าวกับไข่เหมือนใจถวิล | ||
+ | เอาใส่จานทองคลุกน้ำผึ้งริน ขุนทองกินทางพลอดฉะฉอดไป | ||
+ | ลูกประสบพบสองเจ้าพ่อแล้ว เธอจูบแก้วสาลิกาเป็นไหนไหน | ||
+ | ว่าหอมกลิ่นบุปผาสุมาลัย ถามว่าใครให้แป้งมาแต่งทา | ||
+ | ฉันไม่บอกออกความว่าเจ้าแม่ ลูกปดแก้ว่าไปเกลือกกลีบบุปผา | ||
+ | ทั้งสององค์หลงเชื่อลูกเจรจา เฝ้าจูบกอดสาลิกาไม่อิ่มใจ | ||
+ | ประเดี๋ยวพี่เอาไปจูบแล้วน้องจูบ เฝ้าโลมลูบลูกรักจนเหงื่อไหล | ||
+ | ลูกหนีมาเสียให้สาแก่น้ำใจ ไม่กลับไปแล้วจะอยู่เสียในวัง ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางฟังเล่าเศร้าจิตคิดถวิล กลัวภูมินทร์จะไม่แจ้งเหมือนใจหวัง | ||
+ | ทำแกล้งโกรธสาลิกาด้วยวาจัง ข้าเบื่อฟังแล้วเจ้าลิ้นทะเลวน | ||
+ | เขาทาแป้งแต่งตัวให้หอมกรุ่น เอาบุญคุณนั้นไปล้างเสียกลางหน | ||
+ | ขี้ปดพ่อว่าไปเกลือกกลีบอุบล ราวกับคนไม่เคยพบกระแจะจันทน์ | ||
+ | อันคุณพ่อเจ้าหรือกระสือแป้ง ไม่เคยแต่งอยู่แต่ป่าพนาสัณฑ์ | ||
+ | นี่หรือรูปจะมิงามอร่ามครัน เห็นไรฟันเสียสิ้นทุกสิ่งไป ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นกขุนทองพูดแก้ว่าแม่สั่ง ไปลับหลังว่าอย่าแจ้งแถลงไข | ||
+ | หรือเจ้าแม่อยากให้บอกจะออกไป ลูกดีใจอยากจะอยู่ในพารา ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางฟังคำทำโกรธเป็นทีหยอก ไยมิบอกจะทำอะไรข้า | ||
+ | ขุนทองตอบไปให้ชอบด้วยปรีชา พระบิดาเธอจะทำอะไรมี | ||
+ | ลูกคิดดูเธอยิ่งรู้ก็ยิ่งรัก ไม่รู้จักก็ได้จูบแต่ปักษี | ||
+ | แล้วหัวร่อขอโทษนางเทวี เมื่อวานนี้ลูกทูลพระบิดา | ||
+ | ว่าแม่เจ้าให้กินข้าวกับไข่คลุก ทั้งส้มสูกให้ลูกรักนั้นหนักหนา | ||
+ | แป้งอำพันจันทน์จวงกระแจะทา พระบิดาดีใจแล้วให้พร | ||
+ | ว่าแม่เจ้ามีคุณการุญด้วย จึ่งให้กล้วยกินอิ่มสโมสร | ||
+ | เหมือนเจ้าแม่มีคุณกับบิดร ไม่ม้วยมรณ์ก็ไม่ลืมปลื้มอาลัย | ||
+ | แต่แสนยากจากเมืองได้เคืองยิ่ง ไม่มีสิ่งจะแทนพระคุณให้ | ||
+ | จะมาเฝ้าเจ้าแม่ในปรางค์ชัย ก็เกรงใจสองกษัตริย์จะขัดเคือง ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ชะปดแล้วปดเล่าเฝ้าแต่ปด ช่างเลี้ยวลดยืนยาวเป็นราวเรื่อง | ||
+ | ยิ่งให้หลอกแล้วก็หลอกอยู่เนืองเนือง ราวกับเรื่องรามเกียรติ์เจียวสาลิกา | ||
+ | แต่แรกบอกว่าออกไปหลอกพ่อ ประดิษฐ์ต่อข้อกลอนมาย้อนว่า | ||
+ | พ่อร้อยลิ้นกินหวานน้ำตาลทา กินข้าวปลาเสียเถิดเจ้าข้าเข้าใจ | ||
+ | อนิจจาไม่ว่าเปล่าหนาเจ้าแม่ แม้นไม่แน่แล้วจงฟัดให้ตัดษัย | ||
+ | พยานลูกเอามาพิงไว้กิ่งไทร ไม่เชื่อใจฉันจะอ้างต้นกร่างทอง | ||
+ | พูดพลางทางบินไปต้นไทรใหญ่ จับกิ่งไทรไพรศรีไม่มีสอง | ||
+ | ก็สมใจไม่วิตกนกขุนทอง มาคาบตองไปถวายนางเทวี | ||
+ | เจ้างามพริ้มยิ้มหยิบใบตองอ่อน เห็นอักษรเรื่องราชสารศรี | ||
+ | เป็นความขำตามคำสกุณี พระหัตถ์คลี่นิ่งอ่านสำราญใจ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ในสารว่าอิศเรศเกศมงกุฎ พระโคบุตรเลิศล้ำในต่ำใต้ | ||
+ | นิราศร้างแรมวังตั้งพระทัย มาอยู่ในสวนขวัญอันบรรจง | ||
+ | พี่มุ่งหมายมาถวายชีวาวาตม์ พระจอมนาฏกัลยาเมืองกาหลง | ||
+ | ใบตองแทนแผ่นสุวรรณอันบรรจง จิตจำนงต่างเครื่องบรรณาการ | ||
+ | ด้วยไกลวังครั้งนี้จนเหลือแสน ขุนทองแทนอุปทูตที่ถือสาร | ||
+ | มาถึงองค์พระธิดายุพาพาล ให้แจ้งการเรื่องรักประจักษ์ใจ | ||
+ | แม้นมิพบสบสมสวาทนุช จนสิ้นสุดชนมชีพให้ตักษัย | ||
+ | เป็นกุศลดลจิตสาลิกาไป เรียมจึงได้ชมกลิ่นสุคนธา | ||
+ | ค่ำวันนี้พี่จะมาสู่หาน้อง ขอชมห้องพระตำหนักขนิษฐา | ||
+ | พอจบสารพจมานที่มีมา พระธิดาปั่นป่วนรัญจวนครัน | ||
+ | แกล้งทรงฉีกยอดตองที่รองเรื่อง ทำทีเคืองสกุณินแล้วผินผัน | ||
+ | เจ้าปักษีดีแล้วได้เห็นกัน เที่ยวกล่าวขวัญให้รู้ทุกผู้คน | ||
+ | จะพาเจ้าขึ้นไปเฝ้าพระบิตุเรศ ให้ทรงเดชรู้ความตามเหตุผล | ||
+ | ยังพวกพ้องเจ้าจะมีสักกี่คน ทำเล่ห์กลลามเลียมไม่เจียมใจ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ สกุณีรู้ทีไม่ทุกข์ร้อน พูดอ้อนวอนไปให้ชอบอัชฌาสัย | ||
+ | นี่ยอดตองฟ้องลูกประการใด ไม่ถามไถ่บ้างเลยแม่ให้แน่ความ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ นางยิ้มพลางทางตอบเจ้าปักษิน พ่อร้อยลิ้นสิ้นอาลัยไถลถาม | ||
+ | จะยอกย้อนซ่อนเงื่อนให้เลื่อนความ เจ้าทำงามแล้วจะเป็นอะไรมี ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ โอ้ตายจริงแล้วเจ้าสาลิกาเอ๋ย ไม่รู้เลยเป็นอย่างไรไฉนนี่ | ||
+ | จะฟ้องร้องให้ลูกต้องถูกตี มิปรานีแล้วกรรมของสาลิกา | ||
+ | พลางชะอ้อนวอนทูลว่าร้อยชั่ง ขอโทษครั้งหนึ่งเถิดเจ้าแม่จ๋า | ||
+ | นางแกล้งเมินเดินไปที่ไสยา สาลิกาเต้นตามนางทรามวัย | ||
+ | พลอดประโลมโฉมฉายให้คลายจิต แสงอาทิตย์ล่วงดับลับไศล | ||
+ | โฉมอำพันปั่นป่วนรัญจวนใจ ตั้งพระทัยคอยดูพระภูมินทร์ ฯ | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | |||
===ตอนที่ ๘ โคบุตรได้นางอำพันมาลาเป็นชายา=== | ===ตอนที่ ๘ โคบุตรได้นางอำพันมาลาเป็นชายา=== | ||
<tpoem> | <tpoem> |
การปรับปรุง เมื่อ 09:14, 25 มิถุนายน 2553
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: สุนทรภู่
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑ กำเนิดโคบุตร
๏ แต่ปางหลังครั้งว่างพระศาสนา | ||||
เป็นปฐมสมมตินิทานมา | ด้วยปัญญายังประวิงทั้งหญิงชาย | |||
ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษ์แจ้ง | จึงแสดงคำคิดประดิษฐ์ถวาย | |||
ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย | ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะกลอนฯ | |||
๏ จะร่ำปางนางสวรรค์เสวยสุข | อยู่ปรางค์มุขพิมานสโมสร | |||
เผยพระแกลแลดูแผ่นดินดอน | เห็นไกรสรคลอดลูกในหิมวา | |||
ผลกรรมนำจิตให้พิศวาส | นุชนาฏจะใคร่มีโอรสา | |||
เห็นพระสุริโยทัยเธอไคลคลา | กัลยานึกไปดังใจปอง | |||
แม้นสามีมิได้เหมือนพระอาทิตย์ | ไม่ขอคิดสมสู่เป็นคู่สอง | |||
ผลกรรมจำจากวิมานทอง | นางก็ต้องจุติด้วยใจตน | |||
เห็นสระศรีมีบัวระดาดาษ | สุดสวาทจิตประหวัดเข้าปฏิสนธิ์ | |||
เกิดเป็นรูปนารีนิรมล | กลีบอุบลหุ้มไว้ในสาคร | |||
อยู่ประมาณนานมาในบัวหลวง | สุดาดวงกำดัดชมสมสมร | |||
จะกล่าวถึงสุริยาทิพากร | เสด็จจรเลี้ยวเหลี่ยมพระเมรุมา | |||
อรุณโรจน์โชติช่วงดวงจรัส | ส่องจังหวัดภาคพื้นพระเวหา | |||
พิศเพ่งเล็งแลในโลกา | เห็นนางฟ้าอยู่ในพุ่มปทุมมาลย์ | |||
เพราะรักเราเจ้าต้องมาสิ้นชีพ | เกิดในกลีบบุษบงน่าสงสาร | |||
จำจะช่วยให้อนงค์คงวิมาน | พระสุริยกาลโสมนัสสวัสดี | |||
จึ่งแบ่งภาคจากรถระเห็จเหาะ | ลงเฉพาะสระใหญ่ในไพรศรี | |||
พระหัตถ์หักปทุมาจากวารี | มานั่งที่ร่มไทรในไพรวัน | |||
คลี่ปทุมอุ้มนางขึ้นวางตัก | แม่ยอดรักปิ่นสุรางค์นางสวรรค์ | |||
กุศลเราเคยสมภิรมย์กัน | บุญจึ่งบันดาลใจให้เจาะจง | |||
พี่พึ่งรู้ว่าเจ้าอยู่ในโกเมศ | จึ่งประเวศติดตามด้วยความประสงค์ | |||
จะช่วยเจ้าเยาวลักษณ์วิไลทรง | ให้คืนคงเมืองฟ้าสุราลัยฯ | |||
๏ ปางยุพินปิ่นเทพอัปสร | ฟังสุนทรสุริยงคิดสงสัย | |||
นางผลักพลางทางแลชำเลืองไป | งามวิไลพูนสวัสดิ์ชัชวาล | |||
ถึงเทพบุตรสุดสิ้นในอากาศ | ไม่ผุดผาดผิวพรรณเทียมสัณฐาน | |||
นางค้อนคมก้มพักตร์แล้วพจมาน | ไม่ควรการช่างไม่เกรงข่มเหงกัน | |||
เทพบุตรภุชงค์หรือวงศ์ยักษ์ | มาหาญหักปทุมมาศขาดสะบั้น | |||
เขาอาศัยได้สบายในบุษบัน | ทำเช่นนั้นช่างไม่คิดอนิจจังฯ | |||
๏ โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท | นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง | |||
หรือชอบใจอยู่ที่ในอุบลบัง | สมบัติทั้งเมืองฟ้าไม่อาวรณ์ | |||
พี่หรือคือสุริยงดำรงทวีป | ทุเรศรีบมาด้วยการสงสารสมร | |||
จะชูช่วยนางฟ้าสถาวร | พะงางอนนุชน้องอย่าหมองนวล | |||
มานั่งนี่เถิดพี่จะเล่าเรื่อง | แม่เนื้อเหลืองนพรัตน์กำดัดสงวน | |||
พลางประโลมโฉมนางไม่ห่างนวล | หอมรัญจวนเกสรขจรจายฯ | |||
๏ สาวสวรรค์ครั้นสดับอภิวาท | สุดสวาทแสนรักพระสุริย์ฉาย | |||
แต่มารยาทกษัตรีทำทีอาย | ค้อนชม้ายตอบสนองทำนองใน | |||
ถึงดินฟ้าสาครภูเขาขุน | เมื่อสิ้นบุญถึงกรรมทำไฉน | |||
แต่ชาติก่อนใครห่อนประจักษ์ใจ | ระลึกได้หรือจะรู้ในเรื่องราว | |||
ซึ่งโปรดน้องจะให้ครองวิมานสวรรค์ | พระคุณนั้นล้ำฟ้าเวหาหาว | |||
มิได้สนองครองคุณให้สิ้นคราว | ด้วยเปลี่ยวเปล่าเอ้องค์ในดงแดนฯ | |||
๏ แสนเสนาะเพราะล้ำหนอน้ำเสียง | ช่างกล่าวเกลี้ยงเชิงฉลาดนั้นเหลือแสน | |||
พี่เมตตาจะช่วยพาไปเมืองแมน | ถึงมิแทนคุณได้เป็นไรมี | |||
เหมือนมัจฉาสาครเป็นที่พึ่ง | บุญแล้วจึ่งได้พบประสบศรี | |||
ต้องประสงค์อยู่ตรงไมตรีดี | ถึงแม้นมีสิ่งของไม่ต้องการ | |||
นี่แน่เจ้าเยาวลักษณ์วิไลศรี | เสียแรงพี่จงรักสมัครสมาน | |||
อย่าพูดนักชักเยิ่นให้เนิ่นนาน | จะเสียการไมตรีที่เรียมวอน | |||
จงแย้มเยื้อนเบือนพักตร์รับรักบ้าง | ประโลมนางแนบกายสายสมร | |||
แสนสำราญอยู่ในร่มนิโครธร | พระกางกรประดิพัทธ์วัจนา | |||
อัศจรรย์บรรดาสาคเรศ | อรัญเวศหวั่นไหวไพรพฤกษา | |||
เทพทั้งตั้งโห่เป็นโกลา | สนั่นป่าลั่นเสียงสำเนียงดัง | |||
บรรดาฝูงเทพาวลาหก | ก็ตื่นตกใจวิ่งไม่เหลียวหลัง | |||
อึกทึกกึกก้องฆ้องระฆัง | ด้วยกำลังพระอาทิตย์ฤทธิรงค์ | |||
สมสนิทพิศวาสนางสวรรค์ | เกษมสันต์สบเชิงละเลิงหลง | |||
แบ่งกำลังตั้งครรภ์ให้โฉมยง | แล้วเอื้อนโองการตรัสกับกัลยา | |||
อีกเจ็ดวันขวัญเข้าเจ้าคลอดบุตร | เจ้าจะจุติไปสวรรค์ด้วยหรรษา | |||
พี่อยู่ด้วยเจ้าไม่ได้ต้องไคลคลา | ถึงเวลาเลี้ยวเหลี่ยมพระเมรุทอง | |||
จะเร่งรีบไปทวีปข้างโน้นแล้ว | แม่ดวงแก้วนพเก้าอย่าเศร้าหมอง | |||
กลับชมพูจะมาอยู่ด้วยนวลละออง | แม่อย่าหมองอารมณ์อยู่ร่มไทร | |||
ประโลมลูบจูบสั่งสายสวาท | จะนิราศแรมมิตรพิสมัย | |||
ด้วยร้างรักหักจิตไปจำไกล | คืนเวไชยันต์ถาวรเหมือนก่อนมา | |||
เลี้ยวพระเมรุเผ่นเยี่ยมอุดรทวีป | ดังประทีปส่องทั่วทุกทิศา | |||
สาวสวรรค์สร้อยเศร้าเปล่าอุรา | พระสุริยาเลี้ยวเหลี่ยมพระเมรุธร | |||
สันโดษเดียวเปลี่ยวร่างอยู่กลางเถื่อน | ไม่มีเพื่อนสาวสุรางค์นางอัปสร | |||
ยินสำเนียงปักษาทิชากร | ดวงสมรวังเวงวิเวกใจฯ | |||
๏ ฝ่ายพระสุริยงผู้ทรงรถ | เที่ยวเลี้ยวรถส่องสัตว์จำรัสไข | |||
ส่องตรีภพจบทวีปแล้วรีบไป | สว่างในภพโลกชมพูพลัน | |||
ระลึกถึงโฉมงามทรามสวาท | ออกจากราชรถชัยลงไพรสัณฑ์ | |||
ถนอมแนบแอบนางไม่ห่างกัน | เกษมสันต์พิศวาสไม่คลาดคลาย | |||
แต่เช้ามาสายัณห์แล้วคืนกลับ | กำหนดนับเจ็ดวันเหมือนมั่นหมาย | |||
ยุพาพินสิ้นกรรมประจำกาย | จะคลอดสายสุดที่รักโอรสนาง | |||
พอรุ่งแสงสุริยาพระอาทิตย์ | มานั่งชิดโลมน้องอย่าหมองหมาง | |||
สงสารนวลป่วนปั่นพระครรภ์คราง | นาภีนางเพียงจะพังประทังทน | |||
บรรดาเทพธิดาลงมาพร้อม | เข้าแวดล้อมอรไทในไพรสณฑ์ | |||
บ้างนวดครรภ์ผันแปรให้นิรมล | พระสุริยนเคียงน้องประคององค์ | |||
ถึงยามปลอดนางคลอดโอรสราช | เสียงพิณพาทย์ก้องฟ้าป่าระหง | |||
เป็นชายเหมือนพระอาทิตย์ไม่ผิดทรง | สำอางค์องค์นวลละอองดังทองทา | |||
สาวสวรรค์รับขวัญโอรสรัก | พิศพักตร์ลูกน้อยละห้อยหา | |||
นางกางกรช้อนอุ้มกุมารา | เจ้าเกิดมามิได้อยู่ด้วยแม่แล้ว | |||
ไม่เห็นใครที่จะให้นมเสวย | เจ้าแม่เอ๋ยสุดอาลัยนะลูกแก้ว | |||
เจ้าอยู่เถิดมารดาจะลาแล้ว | กอดลูกแก้วโศกาด้วยอาลัย | |||
แล้วก้มกราบสุริยันรำพันสั่ง | พระระวังลูกยาในป่าใหญ่ | |||
พอสิ้นสั่งสุดสวาทก็ขาดใจ | กลับคืนไปสู่สวรรค์ชั้นวิมานฯ | |||
๏ ปางพระสุริย์ใสวิไลลบ | ให้ปรารภด้วยบุตรสุดสงสาร | |||
ไม่เห็นใครที่จะได้พยาบาล | พระสุริยกาลกอดบุตรเข้าโศกา | |||
แล้วผันแปรแลไปเห็นไกรสร | แม่ลูกอ่อนสถิตอยู่ในคูหา | |||
พระอุ้มโอรสราชแล้วยาตรา | ถึงพญาสิงหราชประกาศพลัน | |||
ว่าดูราราชสีห์อันมีศักดิ์ | โอรสรักเราเกิดในไพรสัณฑ์ | |||
กำพร้าแม่แต่คลอดออกจากครรภ์ | จะให้ท่านเลี้ยงไว้ดังใจจง | |||
เป็นบิดามารดาของทารก | เราจะยกให้ตามความประสงค์ | |||
เวลาจวนเราจะด่วนไปอัสดง | ต่อนานนานจึงจะลงมาเชยชมฯ | |||
๏ ราชสีห์ปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | บังคมคัลพระอาทิตย์อิศยม | |||
ไว้ธุระสิงหราอย่าปรารมภ์ | จะส่งนมเลี้ยงดูให้อยู่เย็น | |||
แม้นโตใหญ่ได้พึ่งซึ่งพระเดช | ช่วยปกเกศราชสีห์ไม่มีเข็ญ | |||
อันลูกข้าทารกแม้นอยู่เย็น | จะได้เป็นข้าไทเหมือนใจปอง | |||
พระสุริยงทรงฟังไกรสรสัตว์ | โสมนัสยินดีไม่มีสอง | |||
ส่งลูกให้สิงหราน้ำตานอง | อวยพรสองราชสีห์อย่ามีภัย | |||
พระกอดจูบลูกยาน้ำตาหยด | อุ้มโอรสเศร้าสร้อยละห้อยไห้ | |||
พระสงสารราชบุตรสุดอาลัย | แล้วลาไกรสรไปเวไชยันต์ฯ | |||
๏ ราชสีห์มีจิตพิศวาส | ด้วยองค์ราชโอรสพระสุริย์ฉัน | |||
รักเสมอลูกยาไม่อาธรรม์ | เกษมสันต์อยู่ในถ้ำอันอำไพ | |||
กุมาราชันษาได้สิบทัศ | งามจำรัสเหมือนองค์พระสุริย์ใส | |||
กำลังเจ็ดช้างสารอันชาญชัย | เพราะว่าได้กินนมนางสิงหราฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระอาทิตย์บิตุเรศ | พูนเทวษคิดถึงโอรสา | |||
เสด็จจากรถชัยแล้วไคลคลา | ถึงคูหาถ้ำแก้วอันแพรวพราย | |||
เห็นโอรสลดองค์ลงโอบอุ้ม | ประจงจุมพิตพักตร์พระโฉมฉาย | |||
พระโลมลูบรับขวัญบรรยาย | โอ้พ่อสายสุดที่รักของบิดร | |||
พ่อมิได้อยู่เลี้ยงไว้เคียงพักตร์ | เอาลูกรักฝากไว้กับไกรสร | |||
ชนนีนางฟ้าสถาวร | นั้นม้วยมรณ์แต่เจ้าคลอดออกจากครรภ์ | |||
พระกุมารฟังสารให้สงสัย | จึงถามไถ่ราชสีห์ขมีขมัน | |||
ไกรสรเล่าความหลังให้ฟังพลัน | แจ้งสำคัญพระอาทิตย์เป็นบิดา | |||
ศิโรราบกราบบาทบิตุเรศ | ชลเนตรพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา | |||
พระสุริยันกันแสงด้วยลูกยา | ทั้งสามสัตว์สิงหราก็โศกี | |||
ครั้นเคลื่อนคลายวายโศกกันแสงศัลย์ | พระสุริยันตรัสประภาษกับราชสีห์ | |||
จะให้นามตามวงศ์สวัสดี | แทรกชนกชนนีเข้าในนาม | |||
ชื่อโคบุตรสุริยาวราฤทธิ์ | จงประสิทธิ์แก่กุมารชาญสนาม | |||
ทั้งตรีโลกโลกาสง่างาม | เจริญความเกียรติยศปรากฏครันฯ | |||
๏ พระอาทิตย์นิรมิตเครื่องประดับ | ให้เสร็จสรรพล้วนเทพรังสรรค์ | |||
เป็นเครื่องทิพสาตราสารพัน | ให้ป้องกันอยู่ในกายกุมารา | |||
รณรงค์คงทนด้วยกายสิทธิ์ | พระอาทิตย์จึ่งสั่งโอรสา | |||
อันเครื่องทรงที่ในองค์พระลูกยา | ล้วนเทพสาตราอันเกรียงไกร | |||
จะรบราญรณรงค์เข้ายงยุทธ์ | ไม่พักหาอาวุธอย่าสงสัย | |||
เครื่องประดับรับรบอรินทร์ภัย | เหาะเหินได้รุ่งเรืองด้วยเครื่องทรง | |||
จงคิดอ่านไปผ่านพิภพโลก | มาวิโยคอยู่ไยในไพรระหง | |||
สิงหราชชาติเชื้อเขาชาวดง | เจ้าเป็นพงศ์จักรพรรดิสวัสดี | |||
พ่อจะบอกมรคาไปหาคู่ | นางนั้นอยู่บูรพาพาราณสี | |||
จงลาแม่ลาพ่อจรลี | ถ้าได้ดีแล้วจงกลับมารับกัน | |||
แม้นเคืองเข็ญจงคิดถึงบิตุเรศ | ถ้าแจ้งเหตุจะมาช่วยอย่าโศกศัลย์ | |||
พระกอดจูบลูกยาเฝ้าจาบัลย์ | พระรำพันร่ำไรแล้วให้พร | |||
พ่อจะลาแก้วตาไปส่องโลก | อย่าแสนโศกจงสุขสโมสร | |||
ครั้นเสร็จสั่งสิงหราสถาวร | พระทินกรเหาะไปเวไชยันต์ฯ | |||
๏ พระโคบุตรสุริยาน้ำตาไหล | ด้วยอาลัยสุริย์ฉายนั้นผายผัน | |||
ยิ่งแลลับพระบิดายิ่งจาบัลย์ | สะอื้นอั้นกำสรดระทดกายฯ | |||
๏ สิงหราว่ากล่าวเล้าโลมปลอบ | ตามระบอบโศกเศร้าบรรเทาหาย | |||
พระโคบุตรสุดจิตคิดเสียดาย | ค่อยน้อมกายเกศก้มประนมกร | |||
ลูกขอลาชนนีอย่ามีเหตุ | เที่ยวประเวศตามคำพระร่ำสอน | |||
ว่าคู่สร้างนางอยู่ในสาคร | พเนจรไปในป่าพนาวัน | |||
แม้นบุญช่วยได้สมอารมณ์คิด | ให้ต้องจิตดังคำพระสุริย์ฉัน | |||
กุศลส่งคงพบประสบกัน | ครองเขตขัณฑ์ได้คู่อยู่สำราญ | |||
ถึงลูกไปใช่จะลืมพระคุณแม่ | ถ้าเว้นแต่ชีวังสิ้นสังขาร | |||
แม้นบุญส่งคงสบายไม่วายปราณ | จะเวียนมามัสการพระมารดาฯ | |||
๏ ราชสีห์สุดที่จะทานทัด | กลัวจะขัดเคืองลูกเสน่หา | |||
จึงอวยพรสั่งสอนกุมารา | แล้วให้ยาล้ำเลิศประเสริฐครัน | |||
ถ้าเคี้ยวพ่นคนตายแล้วคลายรอด | ไม่ม้วยมอดมรณาชีวาสัญ | |||
พระรับยาอาลัยใจผูกพัน | กันแสงศัลย์กราบบาทสิงหราฯ | |||
๏ โอ้แม่เจ้าคราวนี้จะนานแล้ว | จงอยู่ครองห้องแก้วถ้ำคูหา | |||
ไม่ปลดปลงลูกคงจะกลับมา | แล้วอำลาราชสีห์ผู้พี่ชาย | |||
ตั้งอารมณ์ข่มใจอาลัยรัก | ค่อยหาญหักอาดูรให้สูญหาย | |||
เสด็จจากห้องแก้วอันแพรวพราย | พระทัยหายกลับมาโศกาลัย | |||
เป็นหลายครั้งตั้งร่ำรำพันรัก | แล้วหวนหักเสน่หาน้ำตาไหล | |||
พระชุบเช็ดชลนาด้วยอาลัย | แล้วหักใจจำทิศพระบิดา | |||
เหาะละลิ่วปลิวคว้างมากลางเมฆ | ลอยวิเวกมาในท้องพระเวหา | |||
พระลอยลมแลชมอรัญวา | ประมาณมาหลายคืนชื่นอารมณ์ฯ | |||
ตอนที่ ๒ ราชปุโรหิตชิงบัลลังก์เมืองพาราณสี นางมณีสาครและพระอรุณไปพบยักษ์ ๔ ตน
๏ จะกล่าวถึงขัตติย์วงศ์พงศ์กษัตริย์ | พรหมทัตธิบดินทร์ปิ่นสนม | ||
ครองพาราณสีบุรีรมย์ | มีเมืองขึ้นมาบังคมไม่ขาดปี | ||
มีเอกองค์ทรงนามประทุมทัศ | เสวยราชสมบัติเกษมศรี | ||
มีพระราชธิดาล้ำนารี | ชื่อมณีสาครฉะอ้อนองค์ | ||
มีพระราชกุมารเสน่หา | อนุชาน้องถัดนวลหง | ||
ชื่ออรุณกุมารชาญณรงค์ | ทั้งสององค์ลูกเจ้ายังเยาว์ครัน | ||
พระพี่ยาชันษาได้สิบทัศ | กุมารถัดเจ็ดขวบเกษมสันต์ | ||
บิตุรงค์ทรงรักดังชีวัน | สารพันมิได้ขัดเคืองระคาย | ||
ครั้นอยู่มาตาพราหมณ์ประโรหิต | ครองโลภจิตนึกเจตนาหมาย | ||
เฒ่าชรามีบุตรบุรุษชาย | เมียนั้นตายจากอกไปหลายปี | ||
คิดการศึกนึกจะเป็นกษัตริย์ | ผ่านสมบัติบ้านเมืองให้เรืองศรี | ||
ทั้งลูกจะครองนุชพระบุตรี | ได้แทนที่พรหมทัตกษัตรา | ||
จึงมั่วสุมซุ่มคนไว้คับคั่ง | ได้พร้อมพรั่งหลายพันก็หรรษา | ||
ธนูง้าวหลาวโล่แลปืนยา | เครื่องสาตราครบถ้วนแลทวนแทง | ||
ถึงวันดีเตรียมทัพเวลาดึก | อึกทึกฮึกหาญชาญกำแหง | ||
เอาปืนใหญ่ยิงประดังพังกำแพง | จุดคบแดงให้ประดังเข้าวังใน | ||
จับกษัตริย์ตัดเศียรสิ้น ชีวิต | ทวารปิดมิให้คนลอบหนีได้ | ||
จับพวกเหล่าสาวสรรค์ กำนัลใน | มาคุมไว้กลางชาลาหน้าพระลาน | ||
แสน สังเวชนางในใจจะขาด | ร้องกรีดกราดแซ่เสียงสำเนียงขาน | ||
ผ้านุ่งห่มลุ่ยหลุดกระเซอซาน | บ้างคลำคลานออกมาทุกหน้านาง ฯ | ||
๏ สงสารองค์อัคเรศเกศกษัตริย์ | สองพระหัตถ์ข้อนทรวงเข้าผางผาง | ||
เขาไล่จับสับสนอยู่บนปรางค์ | นุชนางอุ้มสองกุมารา | ||
แล้ววิ่งวงลงจากปราสาททิพ | ค่อยกระซิบสั่งสองโอรสา | ||
อย่าร้องดังฟังแม่นะแก้วตา | แล้วก็พาลูกเลี้ยว เที่ยวเวียนวง | ||
ชำเลืองดูที่ทวารบานก็ปิด | ดังชีวิตนางจะม้วยเป็นผุยผง | ||
เห็นไม้พุ่มอุ้มลูกเข้าแอบ องค์ | กระซิบทรงเศร้ากำสรดระทดใจ | ||
สายสมรสอนสั่งพระลูก แก้ว | พอรุ่งแล้วถ้าเขาจับแม่ไปได้ | ||
ทั้ง พี่น้องสองราอย่าอาลัย | พากันไปเถิดนะลูกอย่าอยู่เลย | ||
ตามกุศลผลบุญของลูกแก้ว | แม่นี้ไม่อยู่แล้วหนาลูกเอ๋ย | ||
พากันไปอย่าอาลัยถึงแม่เลย | แล้วทรามเชยกอดลูกเข้าโศกี | ||
สามพระองค์ทรงโศกกันแสงไห้ | จนอุทัยจวนรุ่งจำรัสศรี | ||
นางชาววังวุ่นวิ่งเป็นสิงคลี | พระชนนีกอดลูกเข้าร่ำไร | ||
เอาทรายฝุ่นมุนมอมพระลูกรัก | ให้ผิวพักตร์มัวหมองไม่ผ่องใส | ||
รุ่งแล้วสองแก้วตาจงคลาไคล | เขาจับได้ก็จะม้วยด้วยชนนี | ||
แล้วผันแปรมิได้แลดูลูกรัก | นางตั้งพักตร์วิ่งวางขึ้นปรางค์ศรี | ||
เข้าสวมสอดกอดศพพระสามี | นางเทวีกลั้นใจบรรลัยลาญ | ||
น่าสงสารสองกุมารมาลับแม่ | สุดชะแง้แล้วโศกาน่าสงสาร | ||
กลั้นสะอื้นขืนใจอาลัยลาน | สองกุมารเดินเรียงมาเคียงกัน | ||
นางมณีสาครจูงกรน้อง | สงสารสองบุตรีไม่มีขวัญ | ||
เห็นผู้คนปนปลอมไปพร้อมกัน | ใครไม่ทันแจ้งจิตว่าธิดา | ||
พ้นทวารบ้านเมืองชำเลือง เหลียว | ยิ่งเปล่าเปลี่ยวเศร้าสร้อยละห้อยหา | ||
เจ้า รีบรัดตัดเนินดำเนินมา | ไม่รู้ว่าจะไปหนตำบลใด | ||
กันแสงพลางเหลียวพลางดูปรางค์รัตน์ | หน่อกษัตริย์สองราน้ำตาไหล | ||
ทุกเทวาช่วยรักษาทั้งสองไป | ดลพระทัยให้เข้าป่าพนาวัน ฯ | ||
๏ ประโรหิตสมคิดขึ้นปรางค์มาศ | สิงหนาทตั้งปึ่งทำขึงขัน | ||
ท้าวพระยาหาตัวมาพร้อมกัน | ใครแข็งขันสั่งซ้ำให้จำจอง | ||
ที่ยินยอมพร้อมใจให้สมบัติ | เอาความสัตย์อย่าให้หมายเป็นฝ่ายสอง | ||
แล้วแต่งตั้งที่ขุนนางตามทำนอง | ทั้งพวกพ้องพร้อมจิตก็คิดการ | ||
ให้ค้นหาธิดากรุงกษัตริย์ | จบจังหวัดพระนิเวศน์เขตสถาน | ||
มิได้พบพี่น้องสองกุมาร | ตาพราหมณ์พาลจับยามตามตำรา | ||
ก็รู้ว่าไม่อยู่ในนิเวศน์ | สุดสังเกตที่จะเสาะแสวงหา | ||
ก็นิ่งไว้ในใจไม่เจรจา | สั่งให้หาช่างสุวรรณมาทันใด | ||
ทำโกศทองรองศพสองกษัตริย์ | ประจงจัดไว้ปรางค์ทองอันผ่องใส | ||
เที่ยวเลือกชมนางสนมกำนัลใน | สำราญใจพ่อลูกทุกคืนวัน ฯ | ||
๏ แสนสงสารพระกุมารสองสมร | ลับนครเข้าป่าพนาสัณฑ์ | ||
กันแสงส่งสุรเสียงมาเคียงกัน | ได้สามวันเดินไพรไปไกลวัง | ||
อดเสวยเนยนมยิ่งตรมอก | แสนวิตกคิดคะนึงถึงความหลัง | ||
สงสารสองทรงศักดิ์ในนครัง | บรรลัยแล้วหรือยังไม่รู้เลย | ||
เมื่อครั้งบุญทูลกระหม่อมยังครองภพ | เธอเวียนรบตักเตือนให้สรงเสวย | ||
ยามวิบากจากสบายไม่วายเลย | ที่การเคยผาสุกมาทุกข์ทน | ||
เพราะสิ้นบุญทูลกระหม่อมจึงตรอมจิต | เอาชีวิตออกไว้อยู่ไพรสณฑ์ | ||
เอาเสือสางกวางเถื่อนเป็นเพื่อนตน | ทั้งผู้คนเงียบสงัดล้วนสัตว์พาล | ||
พระพี่น้องสององค์ทรงกันแสง | จนสุดแรงที่จะไปในไพรสาณฑ์ | ||
สิ้นกำลังล้มลงในดงดาน | สองกุมารนิ่งซบสลบลง ฯ | ||
๏ เทพไททุกวิมานบันดาลเงียบ | เย็นยะเยียบทุกหย่อมหญ้าป่าระหง | ||
ทุกก้านกอช่อไม้ในไพรพง | สงสารองค์อรุณราชเพียงขาดใจ | ||
ลมรำพายชายพัดมารึ่นรื่น | ทั้งสองฟื้นสมประดีขึ้นโหยไห้ | ||
พระพี่ชวนอนุชาลีลาไป | โศกาลัยเลียบเดินเนินคีริน | ||
บรรลุถึงสระหนึ่งน้ำสะอาด | เดียรดาษด้วยอุบลชลสินธุ์ | ||
ทั้งฝักดอกจอกกระจับในวาริน | ระรื่นกลิ่นเกสรขจรจาย | ||
ทั้งสององค์นั่งลงกำลังหอบ | พระกรกอบดื่มกินกระสินธุ์สาย | ||
แล้วชวนน้องลงในสระชำระกาย | เที่ยวแหวกว่ายเลือกหักฝักอุบล | ||
พี่แหวกจอกปอกเสวยกระจับสด | น้องว่ารสโอชาผลาผล | ||
จะกล่าวถึงยักษ์ร้ายในสายชล | ทั้งสี่ตนฤทธิไกรดังไฟกาฬ | ||
พระเวสสุวัณสาปสรรให้เฝ้าสระ | ด้วยโมหะฤทธิ์แรงกำแหงหาญ | ||
ได้ยินเสียงพี่ น้องสองกุมาร | ลงลอยเล่นชลธารสะเทื้อนไป | ||
แสนพิโรธโดดทะลึ่งเสียงอึงอัด | ไล่สกัดเรียกกันอยู่หวั่นไหว | ||
แสนสงสารสุดสวาทเพียงขาดใจ | เห็นยักษ์ไล่ติดพันกระชั้นมา | ||
สองพี่น้องร้องหวีดกราดกรีดเสียง | ชีวิตเพียงจะพินาศด้วยยักษา | ||
เจ้าแหวกว่ายเวียนวงในคงคา | อสุรากั้นกางไว้กลางชล ฯ | ||
ตอนที่ ๓ โคบุตรมาช่วยชุบชีวิตท้าวพรหมทัตและพระมเหสี
๏ พอโคบุตรสุริยาเหาะมาถึง | ได้ยินอึงหวั่นไหวทั้งไพรสณฑ์ | ||
พระลอยแลมาแต่โพยมบน | เห็นสายชลฟุ้งสายกระจายฟอง | ||
สี่ยักษาไล่ทารกอยู่หมกมุ่น | นึกการุญสงสารเจ้าทั้งสอง | ||
พระโถมลงตรงสระปทุมทอง | อุ้มเอาสองกุมารทะยานมา | ||
ยักษ์พิโรธโกรธไล่กระชั้นชิด | พระทรงฤทธิ์หยุดยืนบนยอดผา | ||
โบกพระหัตถ์ตรัสห้ามแล้วถามมา | อสุราโกรธกันด้วยอันใด | ||
ยักษ์ทมิฬยินถามคำรามร้อง | มันจองหองลงชำระในสระใหญ่ | ||
เก็บโกมินกินฝักแล้วหักใบ | เราขัดใจจึ่งจะล้างให้วางวาย ฯ | ||
๏ พระพี่น้องสองเจ้าเล่าความหลัง | เป็นสัจจังข้าพเจ้าเล่าถวาย | ||
ทินกรร้อนรนกระวนกระวาย | มาเห็นสายชลธีก็ดีใจ | ||
ทั้งพี่น้องสององค์ลงกินอาบ | ก็เย็นซาบสรรพางค์ไม่ตักษัย | ||
คิดว่าน้ำสำหรับอยู่กับไพร | ไม่แจ้งใจว่าเจ้าของเขาป้องกัน | ||
จงเอาบุญเจ้าประคุณเอ็นดูด้วย | เหมือนโปรดช่วยลูกกำพร้าจะอาสัญ | ||
พระทรงฟังสังเวชพระทัยครัน | จึงว่ากับกุมภัณฑ์ไปทันความ | ||
นี่แน่นายฝ่ายเด็กไม่รู้แจ้ง | ใช่จะแกล้งมาข่มเหงไม่เกรงขาม | ||
ถึงจะฆ่าทารกไม่ลือนาม | จะถือความไปทำไมไม่ต้องการ ฯ | ||
๏ พวกรากษสโกรธร้องอยู่ก้องกึก | จองหองฮึกเหิมนักทำหักหาญ | ||
มิส่งมามึงจะพากันวายปราณ | มิใช่การของเอ็งไม่เกรงกัน ฯ | ||
๏ พระฟังสารมารร้ายหมายชีวิต | ไม่หวาดจิตปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
จึ่งว่าเหวยอสุราใจอาธรรม์ | เราไม่พรั่นดอกที่ข้อจะต่อตี | ||
พระถอดเทพสังวาลโองการสั่ง | สังวาลระวังพี่น้องทั้งสองศรี | ||
ยักษ์พิโรธโลดไล่เป็นสิงคลี | กระโดดตีตึงตังประดังมา ฯ | ||
๏ พระลองแรงแผลงฤทธิ์เข้ารบรับ | พระหัตถ์จับข้างละสองสี่ยักษา | ||
เผ่นผงาดฟาดผางกลางศิลา | อสุราดิ้นกระเดือกลงเสือกกาย | ||
จึงโอมอ่านอาคมพรหมประสิทธิ์ | ก็เปลื้องปลิดเจ็บปวดนั้นสูญหาย | ||
เข้ากลาดกลุ้มรุมรบอยู่รอบกาย | ดังเสียงสายสุนีลั่นสนั่นดัง | ||
ด้วยเดชะเครื่องประดับสำหรับศึก | แล่นพิลึกโลดไล่ไม่ถอยหลัง | ||
ได้กินนมราชสีห์มีกำลัง | ไม่พลาดพลั้งติดพันประจัญบาน | ||
ต่างกำแหงแรงเริงในเชิงรบ | ไม่หลีกหลบโลดไล่ด้วยใจหาญ | ||
ยักษ์จะจับพี่น้องสองกุมาร | เพราะสังวาลป้องกันไม่อันตราย ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยาวราเดช | เอาธำมรงค์บิตุเรศอันเรืองฉาย | ||
พระหัตถ์ขว้างเป็นแสงประกายพราย | ประหารกายยักษ์ขาดลงดาษดิน | ||
ด้วยฤทธิ์เทพอาวุํธสุดจะแก้ | ไม่หายแผลม้วยมุดสุดถวิล | ||
ราพณ์ร้ายตายกลาดลงดาษดิน | พระนรินทร์เหาะลงเนินคิรี | ||
จึงเรียกสองกุมาราเข้ามาชิด | พลางพินิจพี่น้องทั้งสองศรี | ||
งามเจริญกิริยากุมารี | ดังมณีเมขลาวิไลทรง | ||
ชมกุมารน้องชายก็เฉิดโฉม | งามประโลมดังเทพครรไลหงส์ | ||
ชะรอยเป็นจักรพรรดิขัตติย์วงศ์ | จึงเอื้อนโองการถามเนื้อความไป | ||
นี่แน่น้องสองเจ้าจงเล่าเรื่อง | อยู่บ้านเมืองแห่งหนตำบลไหน | ||
ยังเด็กนักหักหาญมาเดินไพร | บุญเจ้าไม่มรณาพี่มาทัน ฯ | ||
๏ สองกันแสงเล่าความไปตามเรื่อง | ฉันเสียเมืองยากไร้มาไพรสัณฑ์ | ||
มาประสบพบมารชาญฉกรรจ์ | แล้วโศกศัลย์ร่ำไรอยู่ไปมา | ||
พระโปรดช่วยจึงไม่ม้วยชีวาวาตม์ | ขอรองบาทยุคลจนสังขาร์ | ||
ข้าชื่อมณีสาครแต่ก่อนมา | อนุชาชื่ออรุณร่วมท้องกัน ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริย์วงศ์ใ้ห้สงสาร | ปลอบกุมารว่าอย่าทรงกันแสงศัลย์ | ||
เจ้ายังเด็กพี่็ก็เล็กอยู่ด้วยกัน | ไม่หมายมั่นจะเอามาเป็นข้าไท | ||
จะช่วยน้องให้ได้ครองคืนสถาน | จงสำราญเถิดนะน้องอย่าหมองไหม้ | ||
พี่จะชุบกุมภัณฑ์ที่บรรลัย | จึ่งจะไม่เป็นกรรมประจำกาย | ||
พระหยิบยามาเคี้ยวแล้วเที่ยวพ่น | กุมภัณฑ์พลได้กลิ่นก็กลับหาย | ||
หมอบประนมก้มตัวด้วยกลัวตาย | ต่างถวายอภิวันท์รำพันความ | ||
ขอบพระคุณการุญชุบชีวิต | ได้พูดผิดข้าน้อยนี้หยาบหยาม | ||
ขอรองบาทมุลิกาพยายาม | ไปติดตามกว่าจะสูญสิ้นชีวา | ||
แล้วยักษีสี่นายถวายแก้ว | อันเลิศแล้วเหาะได้ในเวหา | ||
ทั้งสองดวงแต่ล้วนดีมีศักดา | ปรารถนานึกได้ดังใจจง ฯ | ||
๏ พระรับแก้วแล้วตรัสกับขุนยักษ์ | ท่านจงรักสุจริตจิตประสงค์ | ||
เราสงสารพี่น้องทั้งสององค์ | เจ้าเชื้อพงศ์จักรพรรดิสวัสดี | ||
เที่ยวทนทุกข์บุกป่าพนาเวศ | น่าสมเพชใจนักนะยักษี | ||
จะแก้ไขให้สองราคืนธานี | อสุรีจงไปช่วยเราด้วยกัน ฯ | ||
๏ พนาสูรทูลความไปตามเรื่อง | มิให้เคืองบาทมูลทูลผ่อนผัน | ||
ให้สององค์พระกุมารสำราญครัน | เหมือนทรงธรรม์อนุกูลกุมารา ฯ | ||
๏ ได้ฟังสารแสนสำราญอารมณ์รื่น | พระชมชื่นแสนสนิทเสน่หา | ||
พระยื่นแก้วแล้วตรัสจำนรรจา | ถือจินดาเถิดน้องทั้งสองคน | ||
เจ้ากุมแก้วแล้วเหาะไปตามพี่ | ถึงบุรีเรืองรัตน์ไม่ขัดสน | ||
สองกุมารกรานกราบจอมสากล | แล้วกุมแก้วฤทธิรณไว้กับกร ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยาก็พาเหาะ | ข้ามละเมาะเขาเขินเนินสิงขร | ||
สามกษัตริย์อสุราพากันจร | หมายนครลอยฟ้ามาบุรี | ||
ครั้นภาณุมาศผาดแผดแดดร้อนจัด | สามกษัตริย์ต้องแสงนรังสี | ||
พระเคลื่อนคล้อยลอยลงในพงพี | จรลีร่มรื่นชื่นพระทัย | ||
พระโคบุตรชวนน้องสองกษัตริย์ | ชมพนัสหิมวาพฤกษาไสว | ||
ที่ผลิดอกออกผลระคนไป | วายุไกวกิ่งกวดเป็นวงกง | ||
ชมพู่เทศเกดแก้วตะโกโกฐ | ชะลูดโลดตุมกามหาหงส์ | ||
หันเหียนตะเคียนคางยางประยงค์ | วัลย์เปรียงปรงปรูปรางตะลิงปลิง | ||
ฝูงอีลุ้มแอบพุ่มอุโลกลับ | กระสาจับไซ้ขนบนต้นสิง | ||
กาลิงเลี้ยวไล่หานางกาลิง | อัญชันชิงคู่เคียงอยู่เรียงกัน | ||
นกกระเหว่าเฝ้าแฝงฝรั่งร้อง | ฝูงยูงทองย่องเหยียบพะยุงขัน | ||
สามกุมารเพลิดเพลินเจริญครัน | แล้วพากันชมนกไม้ไพรพนม | ||
ตามประสาทารกรักสนิท | ไม่นึกคิดเคืองระคายเท่าปลายผม | ||
สัพยอกหยอกเอินเพลินอารมณ์ | จนแดดร่มเบี่ยงบ่ายลงชายไพร | ||
พระชวนน้องสององค์ขึ้นเหาะเหิน | งานเจริญรีบมาในป่าใหญ่ | ||
ลอยละลิ่วปลิวเมฆมาไรไร | ประมาณได้ยามหนึ่งถึงธานี | ||
สองกุมารทูลความไปตามเรื่อง | นี่แลเมืองข้าน้อยทั้งสองศรี | ||
โน่นปรางค์ทองของพระชนนี | แต่เดี๋ยวนี้ใครจะอยู่ไม่รู้ความ | ||
ได้ทรงฟังทั้งสองพระน้องนาฏ | ลงปราสาทเถิดนะน้องอย่าเกรงขาม | ||
แม้นมิใช่บิดาพะงางาม | จงแจ้งความพี่จะทำให้หนำใจ ฯ | ||
๏ กุมาราพาองค์พระทรงเดช | เข้านิเวศน์ปรางค์ทองอันผ่องใส | ||
สามกษัตริย์อสุราก็คลาไคล | เข้าห้องในปรางค์รัตน์ชัชวาล ฯ | ||
๏ นางชาววังนั่งยามอยู่แออัด | เห็นกษัตริย์สองราน่าสงสาร | ||
ให้ระลึกถึงนายที่วายปราณ | วิ่งเข้ากอดกุมารแล้วโศกา | ||
สิ้นบุญทูลกระหม่อมทั้งสองแล้ว | ดังดวงแก้วมืดมิดทุกทิศา | ||
แม่เป็นไรไปแล้วจึ่งกลับมา | พราหมณ์ชราพ่อลูกมันครองวัง ฯ | ||
๏ ได้ฟังฝูงกัลยาน้ำตาไหล | แข็งพระทัยตรัสถามเนื้อความหลัง | ||
สองพระองค์ปลดปลงชีวาวัง | พระศพยังอยู่หรือสูญไปแห่งใด ฯ | ||
๏ สาวสนมก้มกราบแล้วทูลสนอง | อันศพสองปิ่นกษัตริย์ที่ตัดษัย | ||
เขาใส่พระโกศทองไว้ห้องใน | แล้วร้องไห้ห้ามปรามพระทรามชม | ||
นางมณีสาครกับน้องน้อย | ก็เศร้าสร้อยโลมเล้าสาวสนม | ||
แต่ก่อนปางสร้างกรรมจำนิยม | อย่าปรารมภ์เราจะคืนเอาพารา | ||
แล้วนำองค์ทรงศักดิ์กับยักษ์ร้าย | ค่อยแฝงกายมาถึงแท่นอันเลขา | ||
เห็นพราหมณ์เฒ่าขึ้นสถิตแท่นบิดา | กับลูกยาบนเตียงอยู่เคียงกัน ฯ | ||
๏ พระพี่น้องร้องเรียกให้ยักษ์จับ | สั่งกำชับอย่าเพ่อฆ่าให้อาสัญ | ||
ยักษ์กระโจมโถมจับตาพราหมณ์พลัน | เชือกมัดมั่นสองแขนอยู่แอ่นกาย | ||
ทั้งพ่อลูกถูกมัดอยู่นอนกลิ้ง | พวกผู้หญิงเห็นยักษ์ก็ใจหาย | ||
บ้างหวีดหวาดผาดแลเห็นเจ้านาย | จึงค่อยคลายความกลัวทุกตัวคน ฯ | ||
๏ พระพี่น้องร้องห้ามพวกสาวใช้ | อย่าตกใจใช่ศึกมากลางหน | ||
ต่างรู้ชัดค่อยสงัดสงบตน | พระสุริยนเยี่ยมยอดเมรุไกร | ||
พระพี่น้องร้องเชิญพระโฉมศรี | มาสู่ที่โกศทองอันผ่องใส | ||
ให้เปิดโกศเชิญศพออกทันใด | ภูวไนยพ่นด้วยโอสถพลัน | ||
จอมกษัตริย์สององค์คงชีวิต | ค่อยเคลิ้มจิตคลับคล้ายเหมือนใฝ่ฝัน | ||
เห็นลูกรักยักษ์ร้ายอยู่เคียงกัน | พระโศกศัลย์สวมกอดเอาลูกยา | ||
พ่อบรรลัยใครช่วยจึงรอดเล่า | ไฉนเจ้ารู้จักกับยักษา | ||
พระโฉมยงองค์นั้นนะกัลยา | เสด็จมาแต่หนตำบลใด ฯ | ||
๏ พระโอรสยศยงทรงสดับ | จึงกล่าวกลับความหลังแถลงไข | ||
พระชนกชนนีก็ดีใจ | ราวกับได้ทิพสถานพิมานอินทร์ | ||
เข้าอุ้มองค์บุตราพระอาทิตย์ | พลางจุมพิตเชยชมสมถวิล | ||
สมบัติของบิดาในธานินทร์ | ทั้งม้ารถคชริินทร์อันเพริศพราย | ||
จะมอบให้ทรามชมเสวยราชย์ | ชนชาติจะได้พึ่งพระโฉมฉาย | ||
พระบิดรมารดาชรากาย | จะเบี่ยงบ่ายบรรพชาไม่ราคี | ||
ฝากแต่น้องสององค์ไว้ด้วยเถิด | นึกว่าเกิดร่วมครรภ์พระโฉมศรี | ||
พ่อขอถามนามชนกชนนี | ผ่านบุรีแห่งหนตำบลใด ฯ | ||
๏ พระโคบุตรทรงฟังรับสั่งถาม | ไม่บอกความออกแจ้งแถลงไข | ||
หม่อมฉันชาวหิมวาพนาลัย | ทุเรศไร้สุริย์วงศ์อยู่ดงดอน | ||
พระมารดาอาสัญแต่วันคลอด | ชีวิตรอดด้วยราชไกรสร | ||
ลูกรักเคยอยู่ป่าพนาดร | มาเที่ยวจรเล่นตามความสบาย | ||
มาพบน้องนวลนางที่กลางเถื่อน | เห็นเด็กเหมือนกันก็รักไม่รู้หาย | ||
ฉันชุบช่วยภูวดลให้พ้นตาย | เสร็จแล้วจะถวายบังคมลา | ||
ซึ่งโปรดปรานบ้านเมืองให้ลูกรัก | มิใช่ศักดิ์เชื้อวงศ์เผ่าพงศา | ||
ลูกยกให้แก่พระน้องทั้งสองรา | จะกราบลาเที่ยวให้เพลินเจริญใจ | ||
พระโศกาอาลัยใจจะขาด | ภูวนาถว่าวอนด้วยรักใคร่ | ||
สารพัดพ่อมาตัดอาลัยไป | ทั้งเวียงชัยก็ไม่รักจะหักจร | ||
ทำกระไรจะได้แทนคุณสนอง | ที่ช่วยสองสุดสวาทสโมสร | ||
จงเอ็นดูบิดาที่ว่าวอน | อยู่นครด้วยน้องทั้งสององค์ ฯ | ||
๏ พระฟังห้ามตามมีไมตรีจิต | บุตรอาทิตย์ทูลความตามประสงค์ | ||
ถึงลูกไปใช่จะลืมบาทบงสุ์ | เมื่อนานนานแล้วก็คงจะกลับมา ฯ | ||
๏ พรหมทัตครั้นจะขัดก็สุดคิด | รัญจวนจิตเศร้าสร้อยละห้อยหา | ||
แลดูองค์ทรงฤทธิ์กับธิดา | อุปมาเหมือนแก้วแกมกับทอง | ||
แต่ทรงฤทธิ์จิตยังเด็กไม่รู้จัก | ด้วยเ็ด็กนักยังไม่ควรภิเษกสอง | ||
จะโลมเล้าเอาใจในทำนอง | พระตรึกตรองตรัสไปด้วยไมตรี | ||
ถึงจะไปอาลัยแก่พ่อมั่ง | จงรอรั้งอยู่เมืองให้เรืองศรี | ||
พออุ่นใจไพร่ฟ้าประชาชี | ชาวบุรีหญิงชายกระจายจร | ||
ว่าพ่อได้สายสวาทเป็นโอรส | เฉลิมยศภิญโญสโมสร | ||
พ่อเอ็นดูบิดาให้อาวรณ์ | อย่าเพ่อจรให้พ่อช้ำระกำใจ ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสงสารท้าวพรหมทัต | สุดจะขัดแล้วจึ่งทูลสนองไข | ||
พระตรัสห้ามสามหนแล้วจนใจ | จะอยู่ไปมิให้เคืองเรื่องราคี | ||
เมื่อนานนานลูกจะลาไปเล่นมั่ง | จิตลูกยังอาลัยถึงไพรศรี | ||
จะเที่ยวดูเสียให้ทั่วทั้งธรณี | ชมบุรีจักรพรรดิกษัตรา | ||
กรุงกษัตริย์ฟังสารสำราญรื่น | ประคองชื่นรับขวัญด้วยหรรษา | ||
แล้วเชิญโอรสราชเร่งยาตรา | เสด็จมาพระโรงรัตน์ชัชวาล | ||
ให้ยักษาพาพราหมณ์มาถามซัก | เอาเพื่อนพรรคพี่น้องจองหองหาญ | ||
ทั้งพ่อลูกผูกมัดฝีมือมาร | ก็ให้การซัดเพื่อนออกเปื้อนคำ | ||
เขาจดหมายไล่จับมาคับคั่ง | มีรับสั่งให้ลงโทษแต่คนขำ | ||
บีบขมับขับเฆี่ยนเจียนระยำ | ให้ตรากตรำตรึงตราไว้ตรุใน | ||
แล้วยกข้อพ่อลูกประโรหิต | กระทำผิดสาหัสถึงตัดษัย | ||
ให้ตีฆ้องร้องป่าวตระเวนไป | อย่าฆ่าในธานีเป็นชีพราหมณ์ | ||
ใส่นาวาไปมหาทะเลหลวง | เอาหินถ่วงเสียให้จมสมหยาบหยาม | ||
พระตรัสสั่งสิ้นเสร็จสำเร็จความ | แล้วชวนสามโอรสเข้าสู่วัง | ||
เสวกาพาพราหมณ์ทั้งพ่อลูก | ไปมัดผูกเฆี่ยนขับตามรับสั่ง | ||
ตะโหงกคอข้อมือขื่อประดัง | ข้างหน้าหลังตีฆ้องมาสองคน | ||
พวกดาบแดงแซงเดินกระหนาบข้าง | ขยับย่างจูงพราหมณ์มาตามถนน | ||
ตีฆ้องแล้วให้ร้องประจานตน | ทั้งสองคนพ่อลูกเหมือนอย่างลิง | ||
เสียงหม่องหม่องร้องว่าเจ้าข้าเอ๋ย | อย่าดูเยี่ยงข้าเลยทั้งชายหญิง | ||
ข้าพ่อลูกทุจริตทำผิดจริง | กบฏชิงสมบัติกษัตรา | ||
ทั้งชาวบ้านร้านตลาดก็กลาดเกลื่อน | ร้องเรียกเพื่อนวิ่งกรูมาดูหน้า | ||
ทั้งธานีมิได้มีใครเวทนา | มันอยากชิงวาสนาสาแก่ใจ | ||
ตระเวนรอบขอบเมืองทุกบ้านช่อง | ลงเรือล่องไปในกลางทะเลใหญ่ | ||
เอาพ่อลูกผูกแผ่นศิลาลัย | โยนลงในสาชลก็วายปราณ | ||
กลับมาทูลมูลเหตุเกศกษัตริย์ | พรหมทัตปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | ||
จิตระรื่นชื่นอารมณ์ชมกุมาร | จำเนียรกาลนานมาอยู่ธานี ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริย์วงศ์ทรงสวัสดิ์ | บังคมทูลพรหมทัตเจ้ากรุงศรี | ||
ลูกอยู่กับบิดามากว่าปี | ระลึกถึงพงพีพ้นกำลัง | ||
ลูกจะขอลาองค์พระทรงเดช | ไปเที่ยวชมหิมเวศเหมือนใจหวัง | ||
พรหมทัตขัตติย์วงศ์ได้ทรงฟัง | ท้าวเธอหลั่งชลนาโศกาลัย | ||
ครั้นจะตรัสหักหาญพูดทานทัด | กลัวจะขัดเคืองวิญญาณ์อัชฌาสัย | ||
จึ่งตรัสว่าแก้วตาจะคลาไคล | สำราญใจกลับมายังธานี ฯ | ||
๏ พระโคบุตรรับรสพจนารถ | กราบเบื้องบาทบงกชบทศรี | ||
ลูกไปลับคงจะกลับมาบุรี | ไม่ถึงปีอย่าอาลัยพระทัยปอง | ||
แล้วผินหน้ามาสั่งพระน้องรัก | อยู่ตำหนัีกเถิดเจ้าอย่าเศร้าหมอง | ||
พี่ไปแล้วคงจะกลับมารับน้อง | นวลละอองจงสุโขอย่าโศกา | ||
ทั้งพี่น้องร้องไห้วิ่งไปกอด | รำพันพลอดวิงวอนฉะอ้อนว่า | ||
จะไปไหนฉันจะไปด้วยพี่ยา | อย่าพักว่าเลยไม่อยู่ในบูรี ฯ | ||
๏ พระรับขวัญจูบน้องประคองชิด | ตามจริตทารกทั้งสามศรี | ||
อย่าไปเลยลำบากองค์ในพงพี | ล้วนเสือสีห์ผีสางกลางอารัญ | ||
มันเห็นใครใจอ่่อนมันหลอนหลอก | ไม่ดีดอกเจ้าอย่าไปในไพรสัณฑ์ | ||
ทำไมกับพี่มีมนต์ไม่กลัวมัน | จงครองกันอยู่เมืองอย่าเคืองระคาย ฯ | ||
๏ อย่าพักปดให้เหนื่อยปากไม่อยากเชื่อ | ถึงช้างเสือก็ไม่พรั่นเหมือนมั่นหมาย | ||
มิพาไปแล้วไม่ออกไปนอกกาย | จะกอดคอไว้จนตายไม่ปล่อยเลย ฯ | ||
๏ ดูดู๋ว่าแล้วยังไม่ฟังว่า | ทั้งข้าวปลาก็จะได้ที่ไหนเสวย | ||
ดวงมณีที่พี่ให้เอาไว้เชย | อย่าไปเลยโฉมตรูอยู่พารา | ||
ทั้งพี่น้องร้องไห้ไม่ฟังห้าม | ขืนจะตามไปหิมเวศด้วยเชษฐา | ||
พระโคบุตรสุดจนพ้นปัญญา | ทูลบิดาให้ห้ามเจ้าทรามวัย | ||
บิตุรงค์ทรงพระสรวลสำรวลร่า | ตามแต่เจ้าจะว่าอัชฌาสัย | ||
เมื่อพ่อแม่เขาไม่รักจะหักไป | แล้วภูวไนยเล้าโลมนางโฉมงาม | ||
อนุชาพ่อจงพาไปฝึกสอน | นางมณีสาครจะช่วยห้าม | ||
แล้วตรัสปลอบพระธิดาพะงางาม | แม่อย่าตามไปให้ยากลำบากกาย | ||
แม้นขุกเข็ญเป็นหญิงนี้ยากนัก | พระลูกรักพ่อว่าอย่าผันผาย | ||
พระอนุชาเขาเชื้อเนื้อว่าชาย | อันตรายโพยภัยเขาไม่มี ฯ | ||
๏ นางทรงฟังแค้นจิตบิตุเรศ | ชลเนตรไหลนองหม่นหมองศรี | ||
เจ้าหยิกข่วนเชษฐาไม่ปรานี | แล้วเข้าที่ไสยาโศกาลัย ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยาผวาวิ่ง | มาปลอบมิ่งสมรมิตรพิสมัย | ||
พี่เมตตาจึ่งไม่พาเจ้าเดินไพร | แม่ยังไม่เห็นดีเข้าตีรัน | ||
แต่น้องน้อยยังหน่วงเป็นห่วงนัก | พระทรงศักดิ์เธอจะให้ไปกับฉัน | ||
แม่จงฟังพี่ยาอย่าจาบัลย์ | จะเก็บพรรณบุปผาอัมพาพวง | ||
ที่หอมหวนงามหลากมาฝากแม่ | ห้อยพระแกลเล่นสะพรั่งในวังหลวง | ||
พงศ์กษัตริย์ตรัสล้อแล้วล่อลวง | สุดาดวงค่อยชื่นกลืนน้ำตา ฯ | ||
๏ พระจูงกรยุพยงอนงค์นาฏ | ยุรยาตรจากแท่นอันเลขา | ||
มาฝากองค์ทรงฤทธิ์พระบิดา | แล้วชวนพระอนุชามาสรงชล | ||
ในอ่างทองรองฝักปทุมมาศ | ดูสะอาดชลปรอยเป็นฝอยฝน | ||
น้ำกุหลาบอาบองค์สรงสุคนธ์ | ทรงเครื่่องต้นดูงามอร่ามพราย ฯ | ||
๏ สององค์ออกหน้าโถงพระโรงรัตน์ | หน่อกษัตริย์ทรงแท่นอันเรืองฉาย | ||
โองการสั่งอสุรีทั้งสี่นาย | จงผันผายไปสถานสำราญใจ | ||
แต่จงช่วยกรุณังระวังนิเวศน์ | ทั่วขอบเขตนครังทั้งน้อยใหญ่ | ||
พนาสูรทูลสนองให้ต้องใจ | ในกรุงไกรมิให้มีราคีพาน | ||
สิบห้าวันจะผลัดกันมาสืบข่าว | ให้สองท้าวปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | ||
แล้วกราบลาพี่น้องสองกุมาร | เหาะทะยานหมายมาพนาลี ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยาวราฤทธิ์ | สำราญจิตจากพระโรงอันเรืองศรี | ||
เจ้าอรุณสุริยวงศ์ทรงมณี | จรลีลอยลิ่วปลิวเมฆา | ||
ออกจากรุงมุ่งหมายเข้าไพรระหง | ทั้งสององค์ชมไม้ไพรพฤกษา | ||
พระเหาะเรียงเคียงชมยมนา | ลอยละลิ่วปลิวฟ้ารีบคลาไคล ฯ | ||
๏ พระสุริยงลงลับเหลี่ยมภูผา | พระจันทราส่องสว่างกระจ่างไข | ||
ทั้งสองชมจันทรานภาลัย | มาตามในแถวทางกลางอารัญ | ||
พระเหาะเรียงเคียงชมดาราราย | แสนสบายคลายทุกข์เกษมสันต์ | ||
ศิลาลายพรายเลื่อมด้วยแสงจันทร์ | ชี้ชวนกันทัศนาศิลาลัย ฯ | ||
๏ พระสุริยาฟ้าสางสว่างภพ | กระจ่างจบในป่าพฤกษาไสว | ||
ทั้งพี่น้องสองเหาะระเห็จไป | ถึงเขาใหญ่สูงเงื้อมตระหง่านครัน | ||
เป็นสี่เหลี่ยมสูงวิเวกเทียมเมฆมืด | ดูโยงยืดยาวใหญ่ในไพรสัณฑ์ | ||
เหมือนเมฆมืดเมฆาเมื่อสายัณห์ | พระชวนกันสององค์เดินตรงมา | ||
ครั้นถึงที่เขาใหญ่ในไพรสณฑ์ | แลเห็นต้นนารีผลบนเนินผา | ||
ล้วนคนธรรพ์นักสิทธ์วิทยา | เฝ้ารักษาแลล้อมอยู่พร้อมกัน | ||
ทั้งสององค์่ทรงแลไม่เคยเห็น | มุ่งเขม้นแล้วทรงพระสรวลสันต์ | ||
พระโคบุตรนึกอนาถประหลาดครัน | ต้นไม้นั้นแต่ล้วนนางสล้างไป | ||
ที่ใต้ต้นคนธรรพ์สะพรั่งอยู่ | พระน้องดูให้เห็นเล่นใกล้ใกล้ | ||
ว่าพลางทางชวนกันเหาะไป | สำราญใจชื่นจิตด้วยฤทธิรณ ฯ | ||
ตอนที่ ๔ โคบุตรรบวิชาธร ฆ่าทัศกัณฐมัจฉาตาย
๏ ฝ่ายคนธรรพ์กับพวกวิชาธร | เหาะเร่ร่อนคอยระวังนารีผล | ||
เห็นพี่น้องสององค์ในอำพน | แต่ละตนเดือดดาลทะยานใจ | ||
ด้วยหวงแหนแค้นเคืองเป็นที่สุด | เหม่มนุษย์สองรามาแต่ไหน | ||
แกว่งพระขรรค์หันเหาะระเห็จไป | ทะลวงไล่บุกบั่นกระชั้นมา ฯ | ||
๏ พระโคบุตรหยุดถอดเอาแหวนก้อย | ให้น้องน้อยใส่นิ้วพระหัตถา | ||
เข้าโจมจับกับพวกวิทยา | เสียงศาสตรากริ่งกร่างกลางอัมพร | ||
ชิงพระขรรค์ฟันฟาดเสียงฉาดฉับ | ศีรษะพับตกผางกลางสิงขร | ||
ที่เหลือตายรายรอบเข้าราญรอน | วิชาธรล้อมกลุ้มเข้ารุมองค์ ฯ | ||
๏ พระรบรับจับมารแล้วโยนขว้าง | เสียงผึงผางถูกเพื่อนเป็นผุยผง | ||
ด้วยกำลังยั่งยืนกลางณรงค์ | ดังครุฑยงเหยียบพญาวาสุกรี | ||
วิชาธรอ่อนฤทธิ์ไม่อาจรบ | น้อยกำลังหลีกหลบเอาตัวหนี | ||
ที่วอดวายตายกลาดธรณี | ที่หลบลี้หลีกลอดก็รอดตาย | ||
พระพี่น้องสองราพากันเหาะ | ลงจำเพาะเขาใหญ่เหมือนใจหมาย | ||
เห็นซากศพวิทยาบรรดาตาย | ทั้งกรกายขาดพลัดกระจัดกัน | ||
หวนพระทัยใจจิตคิดสังเวช | แสนสมเพชวิทยาที่อาสัญ | ||
อ้ายเหล่านี้ไม่พอที่ทำดุดัน | พระพูดกันพี่น้องทั้งสองรา | ||
จะชุบชีวิตไว้พอหายหลาบ | อย่าเป็นบาปติดกายไปภายหน้า | ||
ดำริพลางทางหยิบเอายามา | กุมาราเคี้ยวพ่นทุกคนไป ฯ | ||
๏ วิชาธรรอดตายขึ้นไหว้กราบ | ศิโรราบหมอบเรียงเคียงไสว | ||
ยอมถวายกายเป็นเช่นข้าไท | จะอยู่ใกล้บาทบงสุ์พระทรงธรรม์ | ||
ข้าขอถามนามวงศ์พระทรงเดช | จากประเทศมาไยในไพรสัณฑ์ | ||
ฤทธิรงค์นี่กระไรดังไฟกัลป์ | ใครไม่ทันเทีียมศักดิ์ทั้งจักรวาล ฯ | ||
๏ พระฟังพวกวิทยาสามิภักดิ์ | จึ่งประจักษ์เล่าแจ้งแถลงสาร | ||
เราพี่น้องสองราปรีชาชาญ | นึกสำราญเที่ยวเล่นอรัญวา | ||
นั่นโฉมงามนามชื่ออรุณน้อง | อันตัวของเรานี้เป็นเชษฐา | ||
ชื่อโคบุตรสุริย์วงศ์ทรงศักดา | นี่ท่านมาทำไมในไพรวัน | ||
ผูกชฎาอาภรณ์ล้วนหนังเสือ | หรือชาติเชื้อชาวป่าพนาสัณฑ์ | ||
วิชาธรกรประนมบังคมคัล | กระหม่อมฉันพวกข้าวิชาธร | ||
อันพฤกษาต้นนี้นารีผล | ออกเป็นคนได้ชมสมสมร | ||
สำหรับชมชั่วประถมพุทธันดร | ไปกอดนอนชมเล่นเหมือนเช่นคน | ||
จึงสามารถอาจหาญเพราะแสนหวง | กลัวจะช่วงชิงนางนารีผล | ||
พระยกโทษโปรดไว้ไม่วายชนม์ | ทั้งร้อยคนจะเป็นข้าพยาบาล | ||
เชิญพระไปชมป่าพนาเวศ | มีประเทศหนึ่งโตรโหฐาน | ||
ทั้งธารน้ำถ้ำแก้วอลังการ | แสนสำราญรุกขชาติสะอาดครัน | ||
เป็นปิ่นเทพนิกรกินรนาฎ | มาประพาสแสนสุขเกษมสันต์ | ||
เป็นเวรเวียนเปลี่ยนกันมาในอารัญ | ทั้งสุบรรณครุฑาวาสุกรี | ||
จะนำเสด็จสององค์พระทรงเดช | ไปทอดพระเนตรพนมคิรีศรี | ||
สองพระองค์ทรงฟังก็เปรมปรีดิ์ | เออท่านดีแล้วจงพาเราคลาไคล | ||
พระชวนองค์น้องชายสายสมร | วิชาธรพรั่งพร้อมล้อมไสว | ||
ต่างสำแดงศักดาเหาะคลาไคล | นำตรงไปมรกตคิรีวัน ฯ | ||
๏ พระพี่น้องชมป่าพฤกษาสัตว์ | ตามจังหวัดราวป่าพนาสัณฑ์ | ||
บรรลุถึงเขาเขินเนินอรัญ | ก็พากันเหาะตรงลงคิรี ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงเทพไทในไกรลาส | กินรนาฏนางฟ้าทุกราศี | ||
ถึงเวลาก็พากันจรลี | ลงเล่นโบกขรณีในไพรวัน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงฤทธิ์อดิศร | ก็ชวนพวกวิชาธรระเห็จหัน | ||
ลงเล่นน้ำสำราญพระทัยครัน | เกษมสัีนต์รื่นเริงบันเทิงใจ ฯ | ||
๏ ฝ่ายฝูงนางเทพอัปสรบ้างขับขาน | เป็นกังวานก้องเสียงสำเนียงใส | ||
พอเวลาสายัณห์ลงไรไร | เทพไทกลับหลังยังวิมาน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระโคบุตรกับนุชน้อง | สั่งพวกพ้องวิทยาศักดาหาญ | ||
ท่านจงอยู่อย่าเป็นทุกข์สุขสำราญ | ไปถิ่นฐานที่สถิตแต่ก่อนมา | ||
เราพี่น้องจะไปชมพนาเวศ | สีขเรศถ้ำเขาลำเนาผา | ||
วิชาธรได้ฟังหลั่งน้ำตา | ต่างกอดบาทบาทาเข้าร่ำไร | ||
ด้วยจงรักภักดีมีพระเดช | ชลเนตรแถวถั่งลงหลั่งไหล | ||
แล้วทูลว่าจะเดินทางในกลางไพร | พระอย่าไปทางทิศบูรพา | ||
ประกอบด้วยยักขินีผีเสื้อน้ำ | เลิศล้ำฤทธิแรงกำแหงกล้า | ||
ทั้งร้ายกาจสามารถด้วยมารยา | จะเดินป่าระวังองค์ให้จงดี | ||
ต่างอวยพรให้องค์พงศ์ฺนเรศ | จงเรืองเดชฤทธิไกรชาญชัยศรี | ||
แล้วพากันเหาะเหขึ้นเมฆี | กลับไปที่ถาวรเหมือนก่อนมา ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยงดำรงฤทธิ์ | สำราญจิตเกษมสันต์ยิ่งหรรษา | ||
แล้วเชิญชวนโฉมยงองค์นุชา | จากเนินผาแล้วระเห็จเสด็จไป | ||
ไปตามทางข้างทิศบูรพา | ที่บิดาบอกทิศหนทางให้ | ||
ทั้งสององค์ลอยฟ้ามาไรไร | เกือบจะใกล้พระสมุทรแลสุดตา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงอสุรีอันมีฤทธิ์ | นามประสิทธิ์หัศกัณฐมัจฉา | ||
ตัวเป็นยักษ์พื้นล่างเป็นหางปลา | ทั้งกายาโตพียี่สิบกร | ||
มีแว่นแคว้นแดนยาวสิบเก้าโยชน์ | ตัวเป็นโสดยศยิ่งในสิงขร | ||
พระสยมภูวญาณประทานพร | ใครราญรอนราพณ์ร้ายไม่วายปราณ | ||
ออกจากถ้ำสำราญชื่นบานจิต | คะนึงคิดจะไปหาภักษาหาร | ||
ด้วยอดสัตว์มัจฉามาช้านาน | จากสถานเที่ยวมาในวารี ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยาพาพระน้อง | เที่ยวเลื่อนล่องลอยฟ้าในราศี | ||
ถึงฟากฝั่งยมนาท่านที | เห็นยักษีว่ายวงในคงคา | ||
ดูน่ากลัวตัวพักตร์เป็นยักษ์ใหญ่ | หางนั้นไซร้กลายเป็นเช่นมัจฉา | ||
ไม่เคยเห็นดูอนาถประหลาดตา | ชวนน้องยาแลดูอสุรี | ||
หางนั้นเป็นหางปลาหน้าเป็นยักษ์ | ดูโตนักเทียมเท่าคิรีศรี | ||
ทั้งสองสรวลสุขเกษมต่างเปรมปรีดิ์ | ดูยักษีเวียนวงในคงคา ฯ | ||
๏ หัศกัณฐ์แหวกว่ายมาในน้ำ | เที่ยวผุดดำวารินกินมัจฉา | ||
เห็นมนุษย์พี่น้องทั้งสองรา | มันโกรธาโกรธนักดังอัคคี | ||
สิงหนาทผาดแผลงสำแดงฤทธิ์ | ดังจะปิดบังแสงพระสุริย์ศรี | ||
หมายเขม้นเข่นฆ่าเข้าราวี | อสุรีถาโถมกระโจมมา | ||
ยี่สิบหัตถ์รัดรวบพระทรงฤทธิ์ | หมายให้คิดอยู่ในมือของยักษา | ||
พระโคบุตรสุริย์วงศ์ทรงศักดา | พระกรคว้ากอดน้องประคองไว้ | ||
พระหัตถ์ขวาถอดธำมรงค์ขว้าง | หมายจะล้างขุนยักษ์ให้ตักษัย | ||
ถูกมารร้ายกายกรเป็นท่อนไป | โลหิตไหลโซมลงในคงคา ฯ | ||
๏ อสุรินทร์มิได้สิ้นชีวาวาตม์ | ด้วยอำนาจเจ้าดาวดึงส์ไตรตรึงษา | ||
พลางอ่านเวทแสนประสิทธิ์วิทยา | กลับเป็นมาเจ็ดตนเหลือทนทาน | ||
เข้าโลดโผนโจนจับสัประยุทธ์ | ท้องสมุทรเป็นระลอกกระฉอกฉาน | ||
พระโคบุตรหยุดถอดเอาสังวาล | ขว้างประหารมารร้ายก็วายชนม์ | ||
สังวาลกลับเข้าองค์พระทรงศักดิ์ | ประเดี๋ยวยักษ์เป็นกลับขึ้นสับสน | ||
มันตายหนึ่งกลับเกิดขึ้นเจ็ดตน | เป็นยี่สิบเก้าคนเข้าชิงชัย ฯ | ||
๏ พระโคบุตรนิ่งคิดผิดประหลาด | สะดุ้งหวาดจิตพรั่นคิดหวั่นไหว | ||
อันเทพสาตรานี้เกรียงไกร | สังหารใครตายแล้วไม่กลับมา | ||
ไฉนหนอไอ้นี่จึ่งมีฤทธิ์ | ยิ่งม้วยมิดกลับเป็นขึ้นหนักหนา | ||
พระขว้างซ้ำไปต้องอสุรา | พวกยักษาเกิดมากกว่าหมื่นพัน | ||
จนสิ้นเครื่องประดับองค์พระโฉมฉาย | พวกมารร้ายชีวาไม่อาสัญ | ||
ยักษ์พิโรธโกรธใจดังไฟกัลป์ | ต่างประจัญโถมไล่กันไปมา | ||
กำลังองค์ทรงเดชเจ็ดช้างสาร | พญามารสิทธิศักดิ์ฤทธิ์หนักหนา | ||
ครั้นฆ่าตายมารร้ายกลับมากมา | อสุรากลาดกลุ้มเข้ารุมรัน | ||
เสียงพิลึกครึกครื้นเป็นคลื่นซัด | วายุพัดหอบหวนอยู่ป่วนปั่น | ||
ยักษาจะจับองค์พระทรงธรรม์ | ด้วยเครื่องทรงป้องกันพระกายา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงเทพไทอยู่ใกล้สมุทร | สงสารพระโคบุตรเป็นหนักหนา | ||
สิ้นกำลังพลั้งพลาดจะอัปรา | ด้วยยักษาพวกนั้นมันมากมาย | ||
องค์เทเวศร์แปลงเพศให้ผิดผัน | เป็นแมงวันบินมาบอกพระโฉมฉาย | ||
ว่ายักษ์นี้มันเลิศประเสริฐชาย | มนุษย์ฆ่ามันไม่ตายอย่าสงกา | ||
มันได้พรพระอิศวรผู้ทรงเดช | ถ้าแจ้งเหตุแล้วจงจำคำเราว่า | ||
เร่งไปหาพญากระบี่มา | อยู่ที่เขาหิมวากลางพงไพร | ||
เป็นเชื้อชาติสัตว์ป่าพนาเวศ | เขาเรืองเดชฆ่ายักษ์จึงตักษัย | ||
ครั้นบอกแล้วเทวาก็คลาไคล | รีบคืนไปกลับหลังยังวิมาน ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริย์วงศ์ผู้่ทรงเดช | ครั้นแจ้งเหตุเทวามาว่าขาน | ||
จึ่งปลดเปลื้องเครื่องทรงสร้อยสังวาล | พิษฐานขว้างไปมิได้ช้า | ||
เป็นฝูงเทพเทวาออกดาดาษ | ดูเกลื่อนกลาดทั่วไปในเวหา | ||
ถือพระขรรค์ศักดิ์สิทธิ์เรืองฤทธา | กุมาราร้องสั่งไปทันที | ||
ว่าดูก่อนฝูงเทพเทเวศร์ | จงอยู่รอต่อเดชกับยักษี | ||
พระตรัสพลางชวนน้องจรลี | รีบเหาะหนีเข้าป่าพนาลัย ฯ | ||
๏ ฝ่ายองค์ท้าวหัศกัณฐมัจฉา | เห็นฝูงเทพเทวาอยู่ไสว | ||
มนุษย์นั้นหลบลี้หลีกหนีไป | ก็กริ้วโกรธดังไฟประลัยกัลป์ | ||
จึงร้องว่าเหวยเหวยเทวราช | ทำองอาจไม่กลัวจะอาสัญ | ||
ไยมารับรบรุกทำบุกบัน | เข้าป้องกันสองมนุษย์ให้หนีไป | ||
แต่ก่อนมิเคยอวดศักดิ์มาหักหาญ | กูจะผลาญชีพวิบัติให้ตัดษัย | ||
สิ้นทั้งหมดเมืองฟ้าสุราลัย | ให้ฝูงปลาน้อยใหญ่กินเสียพลัน | ||
ว่าพลางต่างแผลงสำแดงฤทธิ์ | เข้าต่อติดตามตีขมีขมัน | ||
บ้างหักโหมโรมรุกไล่บุกบัน | ฝูงเทวัญกายสิทธิ์ฤทธิรอน | ||
ยิ่งตายยิ่งเป็นขึ้นเกลื่อนกล่น | เข้าประจญต้านต่อไม่ย่อหย่อน | ||
เสียงสนั่นลั่นฟ้าริมสาคร | กายสิทธิ์ต่อกรไม่พลาดพลั้ง ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริย์วงศ์องค์เชษฐา | ทั้งสองรารีบไปเหมือนใจหวัง | ||
เหาะข้ามพระสมุทรไม่หยุดยั้ง | ก็ถึงฝั่งฟากทะเลชโลทร | ||
ครั้นมาถึงที่เขาเหมราช | สูงผงาดเงื้อมตลอดยอดสิงขร | ||
เห็นพวกพลโยธาล้วนวานร | อยู่ริมฝั่งสาครนั้นมากมี | ||
แต่พญาวานรเป็นเผือกผู้ | เข้านั่งอยู่ท่ามกลางกระบี่ศรี | ||
ทั้งสององค์เหาะลงเนินคีรี | เฉพาะหน้าขุนกระบี่แล้วเดินมา | ||
พวกลิงไพรแลไปเห็นมนุษย์ | อุตลุดต่างยืนขึ้นพร้อมหน้า | ||
บ้างสำแดงแผลงฤทธิ์ไล่ติดมา | จะโจมเข้าเข่นฆ่าสองกุมาร | ||
พระโคบุตรโบกพระหัตถ์แล้วตรัสห้าม | ปราศรัยถามด้วยสุนทรคำอ่อนหวาน | ||
เรามิใช่ไพรีมารบราญ | จะสมานรักใคร่เป็นไมตรี | ||
ตัวเจ้าเป็นชาวป่าพนาเวศ | อยู่ประเทศเขตเขาคิรีศรี | ||
จะแจ้งความตามข้อคดีมี | ขุนกระบี่ตนใดนั้นเป็นนาย ฯ | ||
๏ ฝ่ายพญาพานรินทร์ที่เผือกผู้ | สถิตอยู่กลางพหลพลทั้งหลาย | ||
จึ่งร้องตอบข้อความตามภิปราย | เราเป็นนายวานรสัญจรไพร | ||
ตัวท่านนี้เป็นมนุษย์หรือเทเวศร์ | มาแต่เขตแห่งหนตำบลไหน | ||
ทั้งสององค์จะประสงค์สิ่งอันใด | จงบอกให้เราแจ้งแห่งคดี ฯ | ||
๏ พระโคบุตรหยุดยั้งได้ฟังถาม | จึงตอบความกับพญากระบี่ศรี | ||
เราเป็นจอมจักรพรรดิสวัสดี | จากบูรีพรหมทัตกษัตรา | ||
มาเที่ยวชมพนมพนาสณฑ์ | ถึงวังวนผ่อนพักพบยักษา | ||
อสุรีศักดิ์สิทธิ์มีฤทธา | หางเป็นปลาหน้าเป็นอสุรี | ||
แต่เราฆ่ายักษ์ตายถึงเจ็ดหน | ครั้นตายตนหนึ่งเกิดเจ็ดยักษี | ||
ฝูงเทพเทวานั้นปรานี | บอกว่ายักษีได้พรชัีย | ||
พระอิศวรทูลกระหม่อมจอมมงกุฎ | แม้นมนุษย์เข่นฆ่าหาตายไม่ | ||
เทพเจ้าชี้แจงให้แจ้งใจ | ว่าตัวท่านอยู่ในหิมวา | ||
เป็นชาติเชื้อขุนกระบี่อันมีศักดิ์ | จึ่งจะล้างขุนยักษ์ให้สังขาร์ | ||
เราตั้งใจเจาะจงรีบตรงมา | ได้เมตตาเราด้วยไปช่วยกัน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพญาพานรินทร์ได้ยินเหตุ | ผิดสังเกตก็ชวนกันสรวลสันต์ | ||
จึ่งร้องตอบวาจามาด้วยพลัน | ท่านพูดนั้นไม่จริงยังกริ่งใจ | ||
ซึ่งว่ามีฤทธามาฆ่ายักษ์ | เห็นหนักนักเชื่อฟังยังไม่ได้ | ||
มนุษย์น้อยเหมือนฝอยเข้าใส่ไฟ | ไม่มีใครเห็นจริงอย่าเจรจา | ||
ถ้ามีฤทธิ์เลิศล้ำดังคำเล่า | ฆ่าแต่เราลิงไพรให้สังขาร์ | ||
จะเห็นดีมีฤทธิ์ดังวาจา | ท่านจะมาเสี้ยมเขาให้ชนกัน | ||
ว่าพลางทางเรียกพลไพร่ | มาจากในแนวป่าพนาสัณฑ์ | ||
สะพรั่งพร้อมล้อมองค์พระทรงธรรม์ | ล้วนเข้มขันคึกคักทำศักดา ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริยันไม่หวั่นไหว | เห็นลิงไพรพร้อมพรักกันหนักหนา | ||
จึ่งเปลื้องเครื่องรัดองค์อลงการ์ | แล้วร้องว่าดูก่อนวานรไพร | ||
เอ็งเป็นแต่เพียงสัตว์เดียรัจฉาน | ทำโวหารไม่มีอัชฌาสัย | ||
กูเป็นจอมจักรพงศ์อันทรงชัย | จะรบกับลิงไพรไม่ต้องการ | ||
อยากเห็นฤทธิ์หรือไรจะให้รู้ | กำลังกูถึงเจ็ดเท่าช้างสาร | ||
จะทำไว้แต่พอให้ประมาณ | ไอ้สาธารณ์อวดกำลังอหังการ์ | ||
ว่าพลางทางทิ้งเทพอาวุธ | กลายเป็นภุชงค์ใหญ่ล้วนใจกล้า | ||
สักหมื่นแสนแน่นทั่วบรรพตา | เข้าไล่มัดลิงป่าพัลวัน | ||
เสียงครึกครื้นตื่นเต้นทั้งไพรชัฏ | พวกลิงกัดนาคกอดสอดกระสัน | ||
นาครัดลิงวิ่งร้องก้องอารัญ | เข้าไล่พันมัดพหลพลวานร | ||
จะฟาดฟัดกัดทึ้งเข้าดึงฉุด | นาคไม่หลุดมัดลิงกลิ้งสลอน | ||
สิ้นกำลังล้มลงในดงดอน | พวกวานรร้องขอชีวาวัน | ||
ประทานโทษโปรดเถิดพระทรงฤทธิ์ | ขอชีวิตไว้อย่าฆ่าให้อาสัญ | ||
จะเป็นข้าอยู่ในองค์พระทรงธรรม์ | กว่าชีวันจะม้วยบรรลัยลาญ ฯ | ||
๏ พระโคบุตรยิ้มเยื้อนเอื้อนพระโอษฐ์ | อันที่โทษเอ็งถึงซึ่งสังขาร | ||
แต่ครั้งนี้มิให้ถึงซึ่งวายปราณ | แล้วกุมารเรียกรัดพระองค์มา | ||
ครั้นนาคหายคลายทุกข์ลุกขึ้นกราบ | ศิโรราบกราบงามลงสามท่า | ||
พญาลิงวิ่งเข้ามาวันทา | พระอิศรายกโทษได้โปรดปราน | ||
แต่ปางหลังพลั้งผิดด้วยคิดโกรธ | สานุโทษข้าควรจะสังขาร | ||
ขอรองบาทโฉมฉายจนวายปราณ | จงประทานโทษผิดที่ติดพัน | ||
ขอทูลความตามจริงทุกสิ่งสิ้น | ซึ่งภูมินทร์จะให้ข้าพาผายผัน | ||
ไปเข่นฆ่าหมู่มารชาญฉกรรจ์ | ข้าคิดพรั่นศักดาพญามาร | ||
แต่คงจะอาสาฝ่าพระบาท | ตามพระราชประสงค์จำนงผลาญ | ||
จนสุดฤทธิ์กว่าชีวิตจะวายปราณ | จะคิดอ่านฉันใดในณรงค์ | ||
พระยิ้มเยื้อนเอื้อนอรรถตรัสสนอง | เราไม่ปองจะให้ท่านเป็นผุยผง | ||
อันเครื่องทิพย์ที่ประดับสำหรับองค์ | ฤทธิรงค์แต่ล้วนเทพสาตรา | ||
ด้วยยักษีมีพรประกาศิต | มนุษย์ล้างชีวิตไม่สังขาร์ | ||
แม้นหาไม่ไหนจะรอดเป็นอสุรา | ไม่พักมากวนท่านให้วุ่นวาย | ||
แม้นท่านไปเรามิได้ให้ลำบาก | ต้องเหนื่อยยากเหมือนเขารบกันทั้งหลาย | ||
ไม่เหนื่อยเหน็ดเด็ดได้ด้วยสบาย | จะให้นายถือธำมรงค์ไป | ||
เข้าต่อฤทธิ์รุกราชพิฆาตขว้าง | คงจะล้างอสุราให้ตักษัย | ||
ถอดธำมรงค์ทรงยื่นให้ทันใด | อย่านอนใจการด่วนจวนเวลา | ||
ขุนกระบี่ดีใจเป็นที่สุด | รับเอาเทพอาวุธทูนเกศา | ||
แล้วสั่งไพร่ให้อยู่ในหิมวา | เชิญเสด็จสองราเหาะทะยาน | ||
คว้างคว้างมาในกลางโพยมมาศ | ดังครุฑราชเรี่ยวแรงกำแหงหาญ | ||
รุกขมูลเมืองแมนแดนวิมาน | สาธุการพร้อมพรั่งทั้งโลกา | ||
พระพิรุณโปรยปรายพระพายพัด | ทุกจังหวัดเทวัญก็หรรษา | ||
เยี่ยมพระแกลแลดูกุมารา | ด้วยจะฆ่ายักษ์ตายสบายใจ | ||
พระโคบุตรสุริยากับพานเรศ | มาถึงเขตพระสมุทรอันสุดใส | ||
รูปนิรมิตเทวาสุราลัย | เข้าลุยไล่รบรุมกับกุมภัณฑ์ | ||
ไม่พลาดเพลี่ยงเสียงระลอกกระฉอกฝั่ง | เพียงจะพังโลกาสุธาลั่น | ||
จึ่งเรียกสร้อยเข้าองค์พระทรงธรรม์ | ฝูงเทวัญรูปทิพย์ก็หายไป ฯ | ||
๏ หัศกัณฐมัจฉาพญายักษ์ | แลเห็นพักตร์ทรงฤทธิ์คิดสงสัย | ||
เทวราชกลับกลายก็หายไป | ยังจำได้แต่พี่น้องสองกุมาร | ||
กับวานรหนึ่งเรียงมาเคียงชิด | สำแดงฤทธิ์ร้องประกาศอยู่ฉาดฉาน | ||
เมื่อตะกี้เหาะหนีไปลนลาน | ไปชวนอ้ายเดียรัจฉานที่ไหนมา | ||
ทั้งสามคนครึ่งคำไม่พอเคี้ยว | ประเดี๋ยวเดียวชีวังจะสังขาร์ | ||
ไม่พอมือครือฤทธิ์อสุรา | เท่าขี้ตาก็จะวิ่งมาชิืงชัย ฯ | ||
๏ ฝ่ายพญาวานรสุนทรเย้ย | ว่าเหวยเหวยยักษาอ้ายหน้าไพร่ | ||
มึงประมาทว่ากูชาติวานรไพร | ตัวเองไซร้เป็นอะไรไม่พิศดู | ||
หางมึงเป็นหางปลาหน้าเป็นยักษ์ | ทรลักษณ์อัปยศไม่อดสู | ||
สองพระองค์พงศ์กษัตริย์ฉัตรชมพู | จะต่อสู้เสื่อมเสียพระเดชา | ||
กูเป็นข้ารองละอองบาท | จะพิฆาตอสุรศักดิ์อ้ายยักษา | ||
จงกราบองค์ทรงฤทธิ์อิศรา | จะเมตตาชีวันไม่บรรลัย ฯ | ||
๏ พญามารฟังสารแสนพิโรธ | ยิ่งกริ้วโกรธกัดฟันอยู่หวั่นไหว | ||
ประกาศก้องรองเหม่อ้ายลิงไพร | แต่ก่อนไม่โอหังเหมือนครั้งนี้ | ||
มึงจะให้ใครนั่นไปนอบนบ | พลางตลบโลดไล่กระบี่ศรี | ||
ทั้งหมื่นแสนแน่นมาในเมฆี | ขุนกระบี่โจนโจมโถมประจัญ | ||
หางกระหวัดปากกัดสองมือกอด | เอาเท้าสอดฟาดฟัดสะบัดหัน | ||
ดูกลมกลิ้งลิงกัดฟัดกุมภัณฑ์ | ยักษ์ประจัญลิงขบต้นคอวาง | ||
พวกยักษ์ไล่ลิงจับสัประยุทธ์ | อุตลุดลิงถีบตกน้ำผาง | ||
จมประดักยักษ์เจ็บลงร้องคราง | ลิงไล่ล้างมารร้ายวายชีวา | ||
จนสิ้นรูปกายสิทธิ์ฤทธิเดช | จะอ่านเวทไม่ชะงัดด้วยสัตว์ป่า | ||
ยังเหลืออยู่แต่ตัวอสุรา | ลิงระอาอ่อนสิ้นกำลังครัน | ||
จึงขว้างเทพธำมรงค์ของทรงศักดิ์ | ถูกอกอักอสุราจะอาสัญ | ||
ลงเซทรุดสุดแรงท้าวกุมภัณฑ์ | หัศกัณฐ์ตกลงในคงคา | ||
ค่อยกระเดือกเสือกกายเข้าฝั่งสมุทร | จะสิ้นสุดสูญชีพสังขาร์ | ||
เลือดชโลมโซมซาบอาบกายา | ภาวนาทิพมนต์ประสานกาย | ||
ไม่คืนติดต่อได้เหมือนใจนึก | หวนระลึกหวั่นไหวหทัยหาย | ||
ชลนัยน์ไหลหลั่งลงพรั่งพราย | โอ้จะตายเสียวันนี้เป็นมั่นคง | ||
ระลึกถึงพรชัยเจ้าไกรลาส | ซึ่งประสาทเคยประสิทธิ์ก็พิศวง | ||
มาแพ้ฤทธิ์ลิงไพรในณรงค์ | เสียดายทรงฤทธิไกรดังไฟกัลป์ | ||
โอ้เสียดายชลสายกระแสเชี่ยว | เคยมาเที่ยวปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
ยามสบายเคยเล่นไม่เว้นวัน | ประพาสพรรณมัจฉากุมภาพาล | ||
โอ้นับปีนับเดือนจะเลื่อนลับ | มิได้กลับมาชมกระแสสาร | ||
โอ้เสียดายคูหาในบาดาล | เคยสำราญเช้าเย็นอยู่เป็นนิตย์ | ||
ยิ่งระลึกนึกไปก็ใจหาย | ราพณ์ร้ายโหยหวนรัญจวนจิต | ||
พอสิ้นคำอสุรินทร์สิ้นชีวิต | ก็ขาดจิดอยู่ยังฝั่งคงคา ฯ | ||
ตอนที่ ๕ ยักขินีพาโคบุตรเข้าเมืองเนรมิต
๏ พระอรุณขุนกระบี่พระโคบุตร | ทั้งสามหยุดอยู่บนห้องท้องเวหา | ||
เห็นกุมภัณฑ์ตกลงปลงชีวา | ฝ่ายพญาพานรินทร์ก็ยินดี | ||
จึงทูลเชิญสององค์ผู้ทรงเดช | กลับประเวศหิมวาพนาศรี | ||
แล้วเหาะด้นดั้นออกนอกเมฆี | มาถึงที่เนินผาไม่ช้านาน | ||
ลงหยุดยั้งนั่งชะง่อนสิงขรเขิน | งามเจริญเลิศลบจบสงสาร | ||
ขุนวานรอ่อนเกศลงกราบกราน | บริวารน้อมกายถวายกร ฯ | ||
๏ พระตรัสทักสนทนาบรรดากระบี่ | เป็นไมตรีสุขเกษมสโมสร | ||
จนอัสดงลงลับยุคุนธร | ขุนวานรเกณฑ์พลกระบี่ไพร | ||
เที่ยวเก็บพรรณบุปผาผกามาศ | มารองลาดต่างแท่นอันผ่องใส | ||
แล้วกะเกณฑ์ให้ตระเวนระวังภัย | ทั้งกองไฟล้อมวงเป็นเวรนอน ฯ | ||
๏ พระโคบุตรชวนนุชพระน้องนาฏ | เข้าไสยาสน์อยู่บนเชิงเพิงสิงขร | ||
บุปผชาติอันสะอาดอรชร | หอมขจรรสรื่นชื่นพระทัย | ||
กอดประคองน้องแนบเข้าแอบอก | ฟังวิหคพลอดเสียงสำเนียงใส | ||
ยิ่งวังเวงเพลงเพลินเจริญใจ | ก็หลับไปทั้งสองกษัตรา | ||
เสนาะเสียงชะนีไพรแลไก่เถื่อน | ทั้งดาวเดือนเลื่อนลับในเวหา | ||
รุ่งสว่างกระจ่างแจ้งในเมฆา | เสียงปักษาแซ่ซุ้มทุกพุ่มพง | ||
พระฟื้นกายลิงถวายกระแสสินธุ์ | หน่อนรินทร์พี่น้องทั้งสองสรง | ||
แสนสำราญบานใจอยู่ในดง | ที่หว่างวงหิมวาพนาวัน ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงเทวาศักดาเดช | ตามประเทศแถวป่าพนาสัณฑ์ | ||
ในแว่นแคว้นแดนจังหวัดหัศกัณฐ์ | เห็นกุมภัณฑ์สิ้นชีวิตสว่างใจ | ||
บ้างสำรวลสรวลสันต์ประสานเสียง | ส่งสำเนียงบอกกันอยู่หวั่นไหว | ||
แต่นี้เราจะเป็นสุขไม่ทุกข์ใจ | ด้วยหน่อไทพระอาทิตย์ฤทธิรอน | ||
เราจะไปจับระบำรำถวาย | พระโฉมฉายหยุดอยู่เนินสิงขร | ||
ต่างจับพิณโทนทับสำหรับกร | ชวนอัปสรนางเทพกัลยา | ||
เที่ยวกู่ก้องร้องประกาศกันกลาดเกลื่อน | แล้วลอยเลื่อนมาในพระเวหา | ||
ทุกห้วยเหวเปลวปล่องช่องศิลา | มายังเขาเหมราพร้อมหน้ากัน | ||
สำแดงกายต่างถวายพรสวัสดิ์ | มากำจัดพาลาให้อาสัญ | ||
ช่วยดับเข็ญเป็นสุขทุกเทวัญ | แล้วชวนกันฟ้อนรำบำเรอเรียง | ||
เสียงครึกครื้นรื่นเริงบนเชิงผา | ฝูงเทวากรีดกรายถวายเสียง | ||
ดุริยางค์เย็นเสนาะเพราะสำเนียง | นางฟ้าเรียงขับขานประสานกร | ||
พวกเทวาคว้าหัตถ์กระหวัดกอด | ประสานสอดฉวยฉุดยุดอัปสร | ||
นางฟ้าบิดปิดปัดสลัดกร | ฝูงวานรดูนางสำอางองค์ | ||
พระโคบุตรชวนน้องประคองชื่น | สำราญรื่นเชยชมสมประสงค์ | ||
เห็นเทวาคว้าไขว่กันเวียนวง | พระสรวลทรงทอดพระเนตรทั้งสองรา | ||
เทวารำทำกระบวนชวนอัปสร | ทำกรีดกรเปลี่ยนซ้ายแล้วย้ายขวา | ||
ตีวงเวียนเวียนไล่กันไปมา | พวกลิงป่าดูงามตามกระบวน | ||
เสียงหน้าทับรับพิณประสานเสียง | เสนาะล้ำสำเนียงร้องโหยหวน | ||
จับระบำรำถวายหลายกระบวน | แล้วก็ชวนกันครรไลไปวิมาน ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุริย์วงศ์องค์อรุณ | ทั้งพวกขุนวานรเกษมศานต์ | ||
ครั้นเทวาคลาไคลไปวิมาน | กระบี่กรานก้มกราบกับบาทา | ||
เชิญเสด็จสององค์สรงสนาน | ที่ในธารอมฤตบนเนินผา | ||
ประกอบด้วยโกสุมปทุมา | ทั้งคงคาเย็นใสสะอาดครัน ฯ | ||
๏ พระฟังสารแสนภิรมย์ด้วยสมจิต | ประคองชิดน้องชายแล้วผายผัน | ||
กับพวกลิงแวดล้อมไปพร้อมกัน | จรจรัลเลียบเดินเนินคิรี | ||
เดินพลางทางชมเนินสิงขร | ชะง้ำชะง่อนวุ้งเวิ้งคิรีศรี | ||
เป็นหุบห้องช่องหินคูหามี | ดูเหมือนทีสัตว์สิงจะวิ่งโจน | ||
ที่เนินผาเป็นศิลาเวิ้งชะวาก | ดูหลายหลากแลโปร่งดังโรงโขน | ||
ที่หน้าผาภูเขาเรียบเทียบไม้โคน | ที่ใบโกร๋นแอบโกรกชะโงกชัน | ||
เสด็จถึงห้องธารละหานน้ำ | วิไลล้ำกว้างใหญ่ในไพรสัณฑ์ | ||
จอกกระจับตับเต่าขึ้นเคียงกัน | บุษบันโกสุมปทุมา | ||
ดูเด่นดอกออกผการะดาดาษ | น้ำสะอาดใสเย็นเห็นมัจฉา | ||
บ้างว่ายเรียงเคียงกันเป็นหลั่นมา | กุมาราเลียบดูอยู่ริมธาร | ||
แล้วปลดเปลื้องเครื่องทรงสร้อยสะอิ้ง | พวกฝูงลิงต่างก็เล่นกระแสสาร | ||
ทั้งสององค์ลงสรงแสนสำราญ | เสียงประสานสรวลสันต์สนั่นดัง | ||
บ้างไล่โลดโดดดำเที่ยวคลำหา | เล่นปิดตาอยู่โยงให้ผินหลัง | ||
เที่ยวซุกซ่อนแอบตัวใบบัวบัง | บ้างแอบฝั่งบ้างก็ดำกำบังกาย | ||
คงคาใสในกระแสแลถนัด | เหมือนครุฑอัดแอ่นอกผงกหงาย | ||
ที่อยู่โยงไล่ขยำคลำตะกาย | เขม้นหมายจับพลัดสะบัดไป | ||
พระสรงชลสุริยนลงบ่ายคล้อย | ชวนน้องน้อยร่วมจิตพิสมัย | ||
ขึ้นจากน้ำลำธารสำราญใจ | พวกลิงไพรพร้อมเพรียงอยู่เรียงรัน | ||
พระโฉมยงทรงเครื่องดังเทพบุตร | ดังหนึ่งอัคนิรุทรนรังสรรค์ | ||
อยู่ที่เขาเหมราจวนสายัณห์ | พระทรงธรรม์โลมลาฝูงวานร | ||
จงปกป้องครองกันให้ผาสุก | อย่ามีทุกข์จงภิญโญสโมสร | ||
เราพี่น้องสองราจะลาจร | ชมนครจักรพรรดิกษัตรา ฯ | ||
๏ ฝ่ายพญาพานรินทร์ได้ยินสั่ง | น้ำตาหลั่งไหลนองลงโซมหน้า | ||
ทั้งกระบี่รี้พลพวกโยธา | ต่างโศการ่ำไห้อาลัยวอน | ||
ถึงเป็นตายไม่เสียดายแก่ชีวาตม์ | ขอรองบาทสององค์พระทรงศร | ||
พระโลมเล้าเอาใจพวกวานร | ท่านอย่าจรไปให้ยากลำบากกาย | ||
เมื่อนานไปคงจะได้มาพบพักตร์ | จงอยู่รักษากันอย่าผันผาย | ||
อันตัวเราพี่น้องทั้งสองชาย | ไม่สบายก็เที่ยวไปตามที | ||
ฝูงวานรอ่อนเกศลงกรานกราบ | ศิโรราบอวยชัยพระโฉมศรี | ||
พระรับพรพานรินทร์ด้วยยินดี | แล้วชวนน้องจรลีขึ้นเมฆา | ||
ลิ่วลิ่วปลิืวมาเหมือนวายุพัด | งามจรัสรุ่งเรืองพระเวหา | ||
ลิงชะแง้แลตามจนลับตา | ต่างโศกาโศกเศร้าเปล่าฤทัย | ||
สองพระองค์เหาะตรงเข้ากลีบเมฆ | เสนาะเสียงการเวกนั้นเย็นใส | ||
ดังปีแก้วแว่ววับจับพระทัย | สำราญใจลอยชมพนมวัน ฯ | ||
๏ พระโคบุตรอนุชาพากันเหาะ | ข้ามละเมาะเนินผาพนาสัณฑ์ | ||
เห็นเงาะป่าหาปูมาปะกัน | ทำดุดันเตะต่อยกันตึงตัง | ||
ที่ตัวกล้าไม่ถอยตบต่อยโขก | เสียงดังโปกเหวี่ยงปัดถูกหมัดปั๋ง | ||
ล้มถลาซวนเซอยู่เก้กัง | โดยกำลังข้างโกงโขย่งไป | ||
ชื่นอารมณ์ชมป่าพฤกษาชาติ | จัตุบาทเสือสิงห์วิ่งไสว | ||
พระชวนน้องเดินพนมเที่ยวชมไพร | เก็บดอกไม้เล่นพลางตามหว่างเนิน ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงอสุรีขินียักษ์ | อยู่สำนักในลำเนาภูเขาเขิน | ||
เห็นพี่น้องสององค์ทรงเจริญ | เที่ยวเล่นเพลินด้นดั้นอรัญวา | ||
พึ่งแรกรุ่นรูปร่างสำอางเอี่ยม | งานเสงี่ยมน่ารักเป็นหนักหนา | ||
เนตรโขนงโก่งวาดเพียงบาดตา | กิริยาขำคมก็สมทรง | ||
ดูสองปรางเหมือนมะปรางเมื่อแรกปลิด | ให้ปลื้มจิตแลแลก็ยิ่งหลง | ||
นึกนึกจะสะอึกเข้าอุ้มองค์ | กลัวจะทรงพระพิโรธกริ้วโกรธไป | ||
จะกลับแกล้งแปลงเพศเสียจากยักษ์ | คงสมศักดิ์เหมือนคิดพิสมัย | ||
แล้วอ่านเวทเพศยักษ์ก็สูญไป | งามวิไลล้ำนางสำอางตา | ||
ทั้งสองเต้าเต่งตั้งดังบัวหลวง | พอเต็มทรวงกำดัดชมทั้งซ้ายขวา | ||
ทำแกล้งเมินเดินทรงโศกามา | ที่ตรงหน้าพี่น้องสองกุมาร | ||
พระโคบุตรสุริยาวราฤทธิ์ | สำคัญคิดว่ามนุษย์สุดสงสาร | ||
พอใกล้องค์ทรงวิ่งมาลนลาน | พจมานไถ่ถามตามเมตตา | ||
เป็นไรน้องร้องไห้ไม่เห็นเพื่อน | ในกลางเถื่อนวุ้งเวิ้งชะวากผา | ||
ไม่กลัวสัตว์เสือสีห์จะบีฑา | อนิจจาเดินเดียวน่าเปลี่ยวใจ | ||
ยักขินีฟังคำทำสะอื้น | แล้วหยุดยืนเช็ดชลนัยน์ไหล | ||
พระบิดาพาน้องมาเล่นไพร | ละเลิงไล่มฤคีกับรี้พล | ||
ฉันหลงชมมิ่งไม้ไพรพฤกษา | หมายจะกลับพาราก็ขัดสน | ||
พระโปรดด้วยช่วยพาข้าจรดล | พอให้พ้นหิมวาถึงธานี | ||
ทั้งแก้วแหวนแสนทรัีพย์ซึ่งสิ่งของ | จะกอบกองแทนคุณพระโฉมศรี | ||
เป็นสัจจังวาจาน้องพาที | ช่วยชีวีน้องไว้อย่าให้ตาย | ||
ทั้งสององค์หลงกลอีนางยักษ์ | ไม่ประจักษ์คิดว่าจริงก็ใจหาย | ||
สงสารเจ้าเสาวภาคย์ลำบากกาย | จะพาสายสุดสวาทไปเวียงชัีย | ||
ถึงแก้วแหวนแสนทรัพย์จะนับโกฏิ | ไม่ประโยชน์เลยนะน้องอย่าหมองไหม้ | ||
เราจะช่วยนิรมลให้พ้นภัย | อยู่ถึงไหนแก้วตาจะพาจร | ||
อสุรีดีใจเข้าเคียงข้าง | อยู่หว่างกลางสององค์พระทรงศร | ||
บอกบุรีอยู่ตรงที่ทิศอุดร | บทจรเดินตามกันสามรา | ||
ได้สมรักยักษ์ร้ายไม่วายยิ้ม | เดินกระหยิ่มมาด้วยความเสน่หา | ||
เดินพลางดูพลางไม่วางตา | วิ่งผวาเข้าไปกอดพระโฉมยง | ||
พระตกใจว่าอะไรนั่นแก้วพี่ | อสุรีแกล้งบอกหลอกให้หลง | ||
เมื่อตะกี้ไหวไหวอยู่ในพง | พยัคฆ์ดงโตใหญ่กระไรเลย | ||
ทั้งสององค์หลงเชื่ออียักษี | ว่ามิใช่พยัคฆีเจ้าพี่เอ๋ย | ||
อย่าหวาดหวั่นพรั่นในพระทัยเลย | แล้วชวนเชยชมนกในหิมวา | ||
อียักษ์แปลงแกล้งถามถึงนามนก | ฝูงวิหคเรียงรายปลายพฤกษา | ||
พระบอกนามตามชื่อสกุณา | สาลิกาจับกิ่งตะโกวัน | ||
โน่นแน่เจ้าเขาไฟนั่นไก่ป่า | นกกระทาจับต้นกระทิงขัน | ||
ฝูงกาลิงจับกิ่งแสลงพัน | ที่ต้นจันทน์นกตะขาบคาบมะปริง | ||
จัตุบาทผาดผยองลำพองโผน | กิเลนโจนไล่นางนรสิงห์ | ||
กระต่ายเต้นเล่นหลอกกับลูกลิง | หมู่มหิงส์แรดช้างเสือกวางทราย | ||
เย็นพยับอับแสงสุริยง | ชะนีส่งเสียงไห้น่าใจหาย | ||
กุมาราพายักษ์จำแลงกาย | กำหนดหมายมุ่งทิศอุดรมา | ||
ยักขินีดีใจเห็นใกล้ค่ำ | นิมิตถ้ำด้วยพระเวทของยักษา | ||
ให้เห็นเป็นเวียงวังอลังการ์ | เป็นพาราบ้านช่องนั้นนองเนือง | ||
ดูผู้คนอลหม่านร้านตลาด | คนเกลื่อนกลาดเดินตามถนนเนื่อง | ||
จึ่งชวนสองหน่อไทเข้าในเมือง | เดินย่างเยื้องขึ้นปราสาทสุวรรณพราย | ||
มีทวารบานบังที่นั่งแก้ว | ดูเลิศแล้วล้วนวิสูตรสลับสาย | ||
ลับแลบังฉากตั้งอยู่เรียงราย | ดูพรอยพรายอัจกลับระยับไฟ | ||
ที่แท่นรัตน์ปัจถรณ์เขนยข้าง | เครื่องสำอางวางเรียงเคียงไสว | ||
ด้วยฤทธิ์ยักษ์หากเห็นให้เป็นไป | พระหน่อไทสององค์ไม่สงกา | ||
อสุรีเชิญองค์พระทรงฤทธิ์ | ขึ้นสถิตแท่นสุวรรณอันเลขา | ||
ทำฉะอ้อนวอนสองกุมารา | เสน่หาพูนเพิ่มเติมอารมณ์ | ||
แสนสงสารสุดสวาทอนาถเหนื่อย | ก็หลัีบเรื่อยไปแต่แรกยามปฐม | ||
อสุรียิ่งทวีสวาทชม | เห็นสององค์ลงบรรทมสนิทใน | ||
อันชาติยักษ์มักหอมเนื้อมนุษย์ | เป็นแสนสุดที่จะอยากน้ำลายไหล | ||
นึกจะหักคอกินให้สิ้นใจ | แล้วอาลัยรักรูปทั้งสององค์ | ||
ลุกขึ้นนั่งตั้งจิตพินิจโฉม | ยิ่งประโลมลานจิตพิศวง | ||
ก็ลืมอยากราคร้อนด้วยรูปทรง | ทั้งสององค์ดูละม้ายคล้ายคลึงกัน | ||
โอ้เสียดายด้วยกายกูเป็นยักษ์ | พระยอดรักแจ้งจิตจะบิดผัน | ||
นึกหันหวนป่วนใจอาลัยครัน | สุดจะกลั้นแล้วเข้ากอดพระยอดฟ้า | ||
จูบพระน้องต้องแก้มอร่อยรื่น | แล้วจูบพี่หอมชื่นในนาสา | ||
แต่อึดอัดผลัดไพล่กันไปมา | ดังกุลาส่ายคว้างอยู่กลางลม | ||
พระรูปหล่อพ่อคุณของน้องเอ๋ย | ไม่ตอบรักบ้างเลยเท่าเส้นผม | ||
น้องกอดจูบลูบต้องประคองชม | พระบรรทมเสียทั้งคู่ไม่รู้เลย | ||
พระโคบุตรสุริยาผวาตื่น | ไม่พลิกฟื้นทำนิ่งอิงเขนย | ||
อียักษ์หลงเคลิ้มตัวยังมัวเชย | เฝ้ากอดเกยก่ายต้องประคองกร | ||
พระโคบุตรคิดในพระทัยกริ่ง | ไฉนหญิงจึงมาร่วมสโมสร | ||
เฝ้ากอดจูบลูบไล้ไม่หลับนอน | พระอาวรณ์หวาดถวิลในวิญญาณ์ | ||
ได้กลิ่นปากรากษสก็เหม็นสาบ | พระทรงทราบแจ้งประจักษ์ว่ายักษา | ||
มันจำแลงแกล้งลวงเราหลงมา | อันพารามิใช่ที่บุรีคน | ||
จึ่งเสียงน้ำลำธารสะท้านลั่น | จักจั่นเรไรในไพรสณฑ์ | ||
ดำริพลางทางนึกรู้สึกตน | อีแสนกลนอนนิ่งไม่ติงกาย | ||
พระถอยถดปลดเปลื้องเอาเครื่องทรง | มาสวมองค์น้องไว้เหมือนใจหมาย | ||
อนุชานั้นก็นึกรู้สึกกาย | เห็นสร้อยสายสวมองค์พระทรงธรรม | ||
เชิงฉลาดชาติเชื้อประยูรศักดิ์ | รู้ประจักษ์แจ้งตามเนื้อความขำ | ||
ทำผุดลุกเรียกพี่ว่าผีอำ | แล้วคลานคลำเข้าไปใกล้พระพี่ยา | ||
พระโคบุตรพูดเบาเบาเล่าแถลง | พี่นึกแคลงในจิตคิดกังขา | ||
อันนารีนี้เป็นอสุรา | พี่นิทรามันเฝ้าจูบจนตกใจ | ||
บ้านเมืองนี้วิปริตพี่คิดเห็น | อันจะเป็นธานีนั้นมิใช่ | ||
สนั่นเสียงเสือสางเหมือนกลางไพร | ประหลาดใจแล้วเจ้าเราหลงมา | ||
อรุณน้อยค่อยสะกิดผิดแล้วพี่ | เราหลบหนีไปเถิดหรือพระเชษฐา | ||
พระโลมเล้าเอาใจพระน้องยา | ว่าช้าช้าอีกสักหน่อยจึ่งค่อยไป | ||
ขินีมารร่านร้อนกำเริบราค | ทำอ้าปากหาวตื่นขึ้นปราศรัย | ||
ฟ้าผี่เถิดวันนี้ประหลาดใจ | หนาวกระไรเหมือนรดด้วยวารี | ||
แล้วแอบองค์วิงวอนฉะอ้อนพลอด | โปรดช่วยกอดน้องสักหน่อยพระโฉมศรี | ||
พระฟังคำซ้ำแค้นแสนทวี | นึกจะล้างชีวีให้มรณา | ||
แล้วหยุดยั้งรั้งรอพระทัยนิ่ง | มันเป็นหญิงฆ่าตายก็ขายหน้า | ||
พอสอนใจไว้จำเป็นตำรา | จะเข่นฆ่ายักษ์ร้ายคงวายวาง | ||
แล้วยิ้มเยื้อนเอื้อนอรรถตรัสประภาษ | สายสวาทนิ่มน้องอย่าหมองหมาง | ||
พี่เป็นชายจะเอากายไปกอดนาง | ไม่มีอย่างเขาจะเย้ยทั้งพารา | ||
พี่จะต้องลาเจ้าจวนจะรุ่ง | พระหัตถ์จูงอรุณน้อยเสน่หา | ||
อียักษ์ฟังคั่งแค้นแน่นอุรา | พิโรธว่าไปกับองค์พระทรงฤทธิ์ | ||
เ์์สียแรงรักชักชวนมาเชยชื่น | ไม่ถึงคืนก็มาทำให้ช้ำจิต | ||
จะขืนไปก็ไม่ไว้ซึ่งชีวิต | แล้วแผลงฤทธิ์กลับร่างอย่างขินี | ||
ทั้งปรางค์มาศราชวังเป็นหิมเวศ | สำแดงเดชเหยียบยอดคิรีศรี | ||
โลดถลาถาโถมเข้าโจมตี | ดังเสียงสายอสนีสนั่นครัน | ||
พระโคบุตรหยุดยืนขยับรับ | กระโจนจับด้วยกำลังดังกังหัน | ||
ฤทธิรอนกรจิกเกศกุมภัณฑ์ | พระบาทยันเหยียบยักขินีมาร | ||
อสุรินทร์สิ้นแรงจะแผลงฤทธิ์ | ขอชีวิตร้องก้องทั้งไพรสาณฑ์ | ||
พระทรงเดชสังเวชอีนางมาร | ยักษ์ก้มกรานกราบกับพระบาทา | ||
ประทานโทษเถิดองค์พระทรงฤทธิ์ | ข้าหลงผิดเพราะความเสน่หา | ||
อย่าฆ่าเสียให้ตายวายชีวา | ขอเป็นข้ากว่าจะม้วยด้วยสัจจัง | ||
พระแย้มยิ้มพริ้มพรายภิปรายโปรด | ถ้างดโทษแล้วอย่าทำเหมือนหนหลัง | ||
กระทิงถึกมฤคาในป่ารัง | ชีวิตยังแล้วอย่าทำให้จำตาย | ||
จงถือมั่นขันตีเป็นที่สุด | เมื่อม้วยมุดจะไปเกิดให้เฉิดฉาย | ||
วันนี้มึงจะถึงชีวาวาย | ได้รอดตายแล้วอุตส่าห์รักษาตน | ||
นางยักษ์รับอัพภิวาทถวายสัตย์ | จะบำหยัดบาปกรรมทำกุศล | ||
ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตให้วายชนม์ | ประจวบจนชีวันนั้นบรรลัย | ||
พระโฉมยงสงสารอีมารนัก | เป็นครู่พักรุ่งแจ้งปัจจุสมัย | ||
ทั้งดวงเดือนเลื่อนลับพยับไพร | สำเนียงไก่ขันขานประสานกัน | ||
สุริยันเยี่ยมยอดยุคุนธเรศ | สว่างท้องหิมเวศพนาสัณฑ์ | ||
สองกษัตริย์ตรัสสั่งนางกุมภัณฑ์ | จรจรัลจากเชิงศิลามา | ||
พระเชษฐานำหน้าอรุณน้อย | ละลิ่วลอยมาในห้องพระเวหา | ||
ยักษ์ชะแง้แลตามจนลับตา | ก็โศกายกหัตถ์มัสการ | ||
พระพี่น้องสองเสด็จระเห็จเหิน | งามเจริญเลิศลบจบสงสาร | ||
ละลิ่วลมแลชมจักรวาล | เห็นถิ่นฐานแว่นแคว้นแดนบุรี | ||
เป็นเกาะน้อยนคราคงคารอบ | เกิดประกองในทวีปชมพูศรี | ||
เหมือนจอกน้อยลอยอยู่กลางวารี | พระหัตถ์ชี้ชวนน้องให้ชมชล | ||
ยมนาสาครกระฉ่อนคลื่น | เสียงครึกครื้นโครมฉ่าเป็นห่าฝน | ||
มัจฉาชาติกลาดเกลื่อนอยู่กลางชล | บ้างผุดพ่นฟองน้ำแล้วดำจร | ||
มัติมิงค์กลิ้งกลอกระลอกซัด | หางกระหวัดว่ายเวียนเศียรสลอน | ||
พระชมชลพ้นฝั่งชโลทร | ทินกรร้อนกายขึ้นพรายพรรณ | ||
พระโคบุตรสุดสวาทกับน้องรัก | ครั้นเหนื่อยนักผ่อนลงตรงไพรสัณฑ์ | ||
หยุดพักเพิงเชิงผาศิลาชัน | แล้วชมพรรณมิ่งไม้ที่ในดง | ||
ดูไม้ตั้งดังดัดมาจัดปลูก | บ้างมีลูกสุกห่ามงามระหง | ||
ระยะยอดสอดแซงแกล้งบรรจง | เหมือนไม้องค์ท้าวไทในพระโรง | ||
ที่ไม้โกร๋นยอดโอนมีต่อแอบ | ใบแฉลบลับพุ่มปุ่มตะโขง | ||
กาฝากแฝงกล้วยไม้ขึ้นในโพรง | ที่กิ่งโกงกอดเกี่ยวประกับกัน | ||
พฤกษาโศกยูงยางที่กลางชัฏ | วายุพัดกิ่งแกว่งดังกังหัน | ||
ที่ไม้พุ่มรุ่มรกเถาวัลย์พัน | เป็นฉัตรชั้นช่อดอกออกระคน | ||
มะเดื่อดกนกจับจิกผลสุก | ต้นมะดูกเต็งรังมะสังสน | ||
กันเกราไกรกร่างกรวยริมห้วยชล | ใบร่มต้นราบรื่นเหมือนพื้นทราย | ||
โศกระบัดผลัดใบลอออ่อน | ใบแก่ก่อนหล่นหลามมาตามสาย | ||
เห็นงูเหลือมเลื่อมแลดูหลายลาย | กระหวัดกายกอดโศกชะโงกงัน | ||
กระบือเปลี่ยวเดินตรงลงกินน้ำ | ทั้งที่ดำเรี่ยวแรงแข็งขยัน | ||
งูเหลือมโลภโอบกระหวัดเข้ารัดพัน | กระบือดันดันดึงกันตึงตัง | ||
พฤกษาโศกโยกโยนอยู่ยวบยาบ | งูเหลือมคาบควายดึงอยู่ขึงขัง | ||
ควายฉกรรจ์ดันโดดสุดกำลัง | งูเหลือมยังไม่วางขาดกลางตัว | ||
หางกระหวัดรัดไม้ก็คลายหลุด | ศีรษะมุดมัดควายไม่คลายหัว | ||
สองสัตว์สิ้นชีวังทั้งสองตัว | ดูน่ากลัวต่างต่างกลางพนม | ||
สองกษัตริย์ทัศนาแสนสนุก | เป็นผาสุกที่ในเชิงคิรีสม | ||
พระเอนอิงพิงแผ่นศิลาชม | ระเรื่อยลมรื่นรื่นชื่นพระทัย ฯ | ||
ตอนที่ ๖ โคบุตรได้นกขุนทองแล้วเข้าเมืองกาหลง
๏ ยังมีบุตรสาลิกาปักษาสัตว์ | ขนระบัดพึ่งขึ้นพอบินได้ | ||
จิตคะนองลองปีกจะบินไป | เหยี่ยวตะไกรโฉบฉาบจะคาบกิน | ||
สาลิกาก็ถลาแถลบหลบ | เหยี่ยวประจบจับพลัดสะบัดดิ้น | ||
พอถึงองค์ทรงฤทธิ์บนคีริน | นกน้อยดิ้นสิ้นกำลังถลามา | ||
สองปีกป้องร้องจ้อคุณพ่อช่วย | เหยี่ยวจะฉวยลูกรักเป็นภักษา | ||
ก็โผนลงตรงพักตร์พระราชา | เหยี่ยวถลากลับหันไปทันใด | ||
ทั้งพี่น้องเข้าประคองเอานกน้อย | เห็นริ้วรอยเล็บเหยี่ยวเฉี่ยวเลือดไหล | ||
พระหัตถ์ลูบลูกนกอย่าตกใจ | เหยี่ยวมันไปลับแล้วนะแก้วตา | ||
นี่ร้อยชั่งรวงรังเจ้าอยู่ไหน | เหยี่ยวจึ่งไล่ลูกรักเป็นหนักหนา | ||
นกขุนทองป้องปีกขึ้นวันทา | ลูกอยู่ค่าคบไม้พระไทรพราย | ||
ออกเที่ยวเล่นเห็นเหยี่ยวไม่ทันหลีก | มันกางปีกต้อนจับลูกใจหาย | ||
ได้พึ่งบุญคุณพ่อจึ่งรอดตาย | ลูกถวายชีวาเป็นข้าไท | ||
สองพระองค์ทรงฟังขุนทองพลอด | เข้าจูบกอดเชยชิดพิสมัย | ||
น่าเอ็นดูรู้พูดเล่นเป็นพ้นใจ | เจ้ามาไปด้วยพ่อจะขอชม | ||
อันเหยี่ยวกาสารพัดที่สัตว์ร้าย | ไม่ให้กรายลูกเลยเท่าเส้นผม | ||
พระตรัสพลางทางชวนกันเชยชม | จนแดดร่มสุริยงเย็นสบาย | ||
สองกษัตริย์ตรัสชวนสกุณชาติ | ภาณุมาศสายัณห์จะผันผาย | ||
อีเหยี่ยวเฉี่ยวลูกน้อยเป็นรอยลาย | ยังเจ็บกายพ่อกอดอย่าบินบน | ||
แล้วชวนน้องประคองนกเหาะระเห็จ | สองเสด็จมาในท้องห้องเวหน | ||
พระแรมไพรไคลคลานภาดล | ประจวบจนเจ็ดราษราตรี | ||
บรรลุถึงพาราเมืองกาหลง | พอสุริยงรุ่งรางสว่่างศรี | ||
พระลอยลมชมราชธานี | ประกอบมีปรางค์มาศปราสาททอง | ||
ทั้งตึกกว้านบ้านเรือนโรงหัตถี | ตลอดมีร้านรายขายข้าวของ | ||
ทั้งม้ารถคชพลอนนต์นอง | นครของใครหนอสนุกครัน | ||
จะลงไปไถ่ถามแต่ตามชื่อ | จะอึงอื้อตกใจทั้งไอศวรรย์ | ||
สำนักนอกธานีเห็นดีครัน | ถามสำคัญนคราดูอาการ | ||
นกขุนทองสององค์ก็พร้อมจิต | พลางพินิจหาที่รโหฐาน | ||
พอเห็นสวนพฤกษาน่าสำราญ | นฤบาลรีบเหาะระเห็จไป | ||
ครั้นถึงจึ่งลงพลางที่กลางสวน | พระชี้ชวนให้น้องชมพฤกษาไสว | ||
ทั้งสระศรีมีบัวขึ้นบังใบ | ตำหนักใหญ่งามหยาดสะอาดตา | ||
เห็นกระท่อมตายายอยู่ท้ายสวน | พระชี้ชวนคลาไคลเข้าไปหา | ||
ครั้นถึงเรือนเอื้อนโอษฐ์จำนรรจา | จึ่งตรัสว่าปราศรัยเป็นไมตรี | ||
ท่านตายายอย่าระคายระคางหมาง | นี่ใครสร้างพระตำหนักแลสวนศรี | ||
ดูพฤกษาน่าชมอุดมดี | ไม่เห็นมีคนผู้มาเก็บกิน ฯ | ||
๏ ฝ่ายตายายใจหายเมื่อแลเห็น | มองเขม้นเพ่งพิศคิดถวิล | ||
ทั้งสองทรงดังองค์อมรินทร์ | สองเฒ่าสิ้นสมประดีไม่มีใจ | ||
แล้วยับยั้งตั้งสติตอบสนอง | พ่อทั้งสองเจ้าข้ามาแต่ไหน | ||
เจ้าเป็นนายหรือชายสัญจรไพร | ขออภัยเถิดจงแจ้งแห่งความจริง | ||
นี่สวนหลวงมีกระทรวงกษัตริย์สร้าง | ประทานนางองค์ธิดาพระยาหญิง | ||
ให้ข้าเฒ่าเฝ้าไล่ฝูงค่างลิง | แล้วหมอบนิ่งก้มหน้าไม่พาที ฯ | ||
๏ พระฟังสารสองเฒ่าเล่าแถลง | ประจักษ์แจ้งฤทัยพระโฉมศรี | ||
ว่าจอมจักรพัตราธิดามี | ให้ยินดีเป็นคู่เชยเคยประคอง | ||
จึ่งตรัสว่าตายายอย่าพรายแพร่ง | จงเล่าแจ้งความจริงสิ่งทั้งสอง | ||
เจตนาหานางเป็นคู่ครอง | ทั้งพี่น้องจากเมืองมาเดินไพร | ||
อันลูกสาวเจ้านายของยายนั้น | ดูผิวพรรณชันษาสักเพียงไหน | ||
พระบุตรีกับบุรีนั้นชื่อไร | ช่วยบอกให้รู้ความแต่ตามตรง | ||
แม้นเหมือนหมายยายตาอย่าเศร้าหมอง | ทั้งเงินทองกองให้งามตามประสงค์ | ||
สองตายายแกก็ไหว้พระโฉมยง | พ่อคุณจงกรุณาอย่าพาที | ||
ถึงเงินทองจะมากองให้ท่วมเกศ | ลูกเกรงเดชพระผู้ผ่านบุรีศรี | ||
แม้นรู้ว่าข้าสื่อพระบุตรี | ทราบคดีตายายจะวายชนม์ | ||
แต่ชื่อเสียงรู้เพียงจะบอกได้ | ที่จะให้สมจิตคิดขัดสน | ||
ทูลกระหม่อมจอมเมืองมิ่งมงคล | ชื่อท้าวหลวิราชเจริญพร | ||
ได้ดำรงนคราเมืองกาหลง | อันนามองค์บุตรีศรีสมร | ||
ชื่ออำพันมาลาพะงางอน | อรชรน้อยแน่งดังแกล้งกลึง | ||
ถึงรูปเขียนเจียนวาดสะอาดเอี่ยม | จะเทียบเทียมพระลูกเจ้าไม่เท่าถึง | ||
เหมือนรูปพ่อเห็นพอจะคล้ายคลึง | อย่าอื้ออึงให้เขารู้เอ็นดูยาย ฯ | ||
๏ พระฟังข่าวกล่าวโฉมประโลมจิต | พระทัยคิดเหมือนจะเห็นนางโฉมฉาย | ||
หยิบจินดามาจากพระน้องชาย | พระนึกให้ตายายเป็นเงินทอง | ||
กวักพระหัตถ์ตรัสเรียกทั้งสองเฒ่า | จงมาเอาไว้เถิดอย่าหม่นหมอง | ||
ถึงเรื่องรักจะไม่ชักให้สมปอง | เราพี่น้องขอสำนักตำหนักจันทน์ | ||
ช่วยปกปิดกิตติศัพท์ให้สูญหาย | พอสบายแล้วเราจะผายผัน | ||
พระตรัสพลางย่างขึ้นตำหนักพลัน | ให้ป่วนปั่นถึงสายสวาทเพียงขาดใจ | ||
สนธยาจะไปหาเจ้าถึงห้อง | ที่อยู่ของน้องรักตำหนักไหน | ||
ถ้าเล้าโลมโฉมยงไม่ปลงใจ | ก็ผิดในธรรมดาปรีชาชาย | ||
จะรุกรบบิตุรงค์ให้ส่งเจ้า | มาคลึงเคล้าก็จะได้ดังใจหมาย | ||
แม่ขวัญเมืองจะได้เคืองเรื่องระคาย | จำเบี่ยงบ่ายถ่ายความตามทำนอง | ||
จึ่งตรัสเรียกสาลิกาเข้ามาใกล้ | พ่อจะใช้ให้เจ้าถือสารสนอง | ||
จะได้หรือมิได้เล่าเจ้าขุนทอง | ดูทำนองเล้าโลมนางโฉมยง ฯ | ||
ตอนที่ ๗ นกขุนทองถือหนังสือถวายนางอำพันมาลา ธิดาท้าววิหลราช
๏ ขุนทองรับอภิวันท์รำพันพลอด | ลูกจะสอดสืบความตามประสงค์ | ||
ลูกอาสากว่าจะได้ดังใจจง | คุณพ่อคงไ้ด้ชมสมคะเน | ||
จะพูดพลอดสอดคล้องให้ต้องจิต | ดูจริตนางในให้หลายเล่ห์ | ||
ปะเลาะเลียบเลียมชวนให้รวนเร | สมคะเนแล้วจะทูลประโลมนาง ฯ | ||
๏ พระกอดจูบลูบสาลิกาแก้ว | ดีจริงแล้วคิดเหมือนใจไม่ขัดขวาง | ||
ระงับภัยที่จะไปในกลางทาง | อย่านอนค้างกลางดงจงกลับมา | ||
นกขุนทองป้องปีกเคารพรับ | ยืนขยับโผผันด้วยหรรษา | ||
ขึ้นลอยลมไปในหว่างกลางนภา | เข้าพาราร่อนลงตรงวังใน | ||
โสตสดับตรับเหตุสังเกตจิต | ว่ามิ่งมิตรอยู่ปรางค์มุขอันสุกใส | ||
มีตนกร่างข้างแกลปราสาทชัย | สำราญใจลงจับขยับมอง | ||
นัยน์ตาสอดลอดแลเห็นแกลแย้ม | ไอกระแอมส่งเสียงสำเนียงก้อง | ||
หัวเราะร่าอยู่หน้าพระแกลทอง | นัยน์ตามองโฉมเฉลาดูเยาวมาลย์ ฯ | ||
๏ โฉมอำพันมาลาไสยาหลับ | ให้วาบวับแว่วเสียงสำเนียงหวาน | ||
นางลงจากแท่นรัตน์ชัชวาล | แล้วเผยบานพระแกลเหลียวแลมา | ||
พอเสียงอาดนกฉลาดเข้าแอบลับ | นัยน์ตาจับเพ่งพิศขนิษฐา | ||
สะอาดเอี่ยมเทียมเทพธิดา | สาลิกาพิศวงด้วยองค์นาง | ||
ทำเลียบเมินเดินมาตรงหน้ามุข | ยืนหัวซุกไซ้ขนบนกิ่งกร่าง | ||
นางเนื้อเย็นเห็นสาลิกาพลาง | งามสำอางเลิศล้ำสกุณี | ||
ปากเหลืองดังทองคำธรรมชาติ | ขนสะอาดผาดขำดูดำสี | ||
คะนึงในน้ำพระทัยนางเทวี | เมื่อตะกี้ชะรอยเสียงสาลิกา | ||
ดำริพลางนางเรียกขุนทองเอ๋ย | เป็นไรเลยเสียไม่พูดเล่าปักษา | ||
หัวเราะหยอกหลอกแม่ให้แลมา | แล้วเมินหน้าเสียไม่พูดให้แม่ฟัง ฯ | ||
๏ นกขุนทองหัวร่อแล้วขอโทษ | อย่าถือโกรธลูกไม่มีนัยน์ตาหลัง | ||
เมื่อแรกมาเห็นหน้าพระแกลบัง | แต่พูดพลั้งออกไปนิดยังคิดกลัว | ||
มิชอบใจจะว่าใครมาพูดแจ้ว | ถ้ากริ้วแล้วว่าขุนทองนี้ชาติืชั่ว | ||
จะให้สาวชาววังมาจับตัว | ลูกก็กลัวที่จะไปไม่ใคร่ทัีน ฯ | ||
๏ ฟังเสนาะเพราะเสียงสำเนียงนก | นางลูบอกแล้วก็ทรงพระสรวลสันต์ | ||
แม่เจ้าเอ๋ยรู้จริงทุกสิ่งอัน | แล้วรับขวัญเรียกสาลิกาทอง | ||
มานี่เถิดเจ้าสาลิกาเอ๋ย | ให้แม่เชยแต่พอชื่นอารมณ์หมอง | ||
ข้าวกับไข่แม่จะใส่จานทองรอง | เจ้าขุนทองเข้ามาชิมให้อิ่มใจ ฯ | ||
๏ สกุณีตีปีกหัวร่อร่า | เจ้าแม่จ๋ามาลวงให้หลงใหล | ||
ครั้นเข้าชิดแล้วจะปิดพระแกลไว้ | แม่คงจับลูกได้ไว้ใส่กรง ฯ | ||
๏ อนิจจาว่าเปล่าดอกเจ้าเอ๋ย | แม่ไม่เคยลวงใครให้ใหลหลง | ||
จะจับเจ้าไว้ทำไมที่ในกรง | แม่ชมเชยแล้วจะส่งไปรวงรัง | ||
จริงกระนั้นหรือฉันจะไปหา | สาลิกาทำขยับแล้วกลับหลัง | ||
หัวเราะร่าว่าเจ้าแม่กรุณัง | ลูกฝรั่งหรืออะไรจะให้ทาน | ||
จะให้จริงทิ้งมาเถิดเจ้าแม่ | แต่พอแก้แสบท้องเป็นของหวาน | ||
พอค่ำไปเช้ากลับมารับประทาน | อ้างพยานกิ่งกร่างกับปรางค์ทอง | ||
ดูดู๋เจ้าใจแข็งเสียแรงปลอบ | คิดเห็นชอบหรือไฉนให้ทิ้งของ | ||
บุญแม่น้อยมิได้อุ้มเจ้าขุนทอง | นุชน้องเจ้างับพระแกลบัง | ||
นกขุนทองป้องปีกเคารพรับ | น้อมคำนับขยับบินแล้วผินหลัง | ||
อนิจจาผิดล้นพ้นกำลัง | นี่หรือยังจะรักไปให้ยืดยาว | ||
ก็สาสมที่อารมณ์เราทำชั่ว | ท่านรักตัวแล้วยังดื้อทำอื้อฉาว | ||
โอ้เคราะห์ร้ายเรื้อรังมาทั้งคราว | ฉันลาเจ้าแม่แล้วอย่าโกรธเลย | ||
ทำยกปีกเหมือนจะถาไปอากาศ | สุดสวาทผลักบานบัญชรเผย | ||
มาเถิดมาสาลิกาอย่าโกรธเลย | แม่เจ้าเอ๋ยใจน้อยนี่้สุดใจ | ||
นกขุนทองว่าฉันลองใจเจ้าแม่ | คิดอยู่แต่จะไม่เผยบัญชรให้ | ||
คอยรับลูกเถิดจะโผนโจนลงไป | ลูกอ่อนใจแสบท้องมาสองวัน | ||
แล้วย่างเหยียบเลียบโจนจากกิ่งกร่าง | พอถึงนางเหมือนจะตกทำหกหัน | ||
นางผวาคว้ารับขุนทองพลัน | แล้วรับขวัญจูบกอดเจ้าสาลิกา | ||
เอาจานทองมารองข้าวกับไข่คลุก | กล้วยน้ำสุกปอกส่งให้ปักษา | ||
ลูกฝรั่งมังคุดอันโอชา | สาลิกากินพลอดเฉาะฉอดไป | ||
เจ้าแม่จ๋าถ้าลูกกินอิ่มแล้ว | จะปล่อยแก้วสาลิกาหรือหาไม่ | ||
นางยิ้มหลอกหยอกนกให้ตกใจ | ถึงมือแล้วจะไปจากเห็นยากครัน | ||
เออนี่แน่แม่จะถามเนื้อความหน่อย | เขาเลี้ยงปล่อยหรืออยู่ป่าพนาสัณฑ์ | ||
มาท่องเที่ยวอดอยากลำบากครัน | อยู่ด้วยกันเถิดเป็นไรอย่าไปเลย | ||
สาลิกาแสนกลเห็นคนว่าง | ได้ท่าทางก็ตอบสารเฉลย | ||
ไม่ทุกข์ร้อนก็จะนอนให้แม่เชย | นี่ใครเลยจะแจ้งที่ใจจง | ||
แม้นแม่รู้ความหลังจะสังเวช | ซึ่งทุเรศมรรคาในป่าระหง | ||
ด้วยเจ้าพ่อพี่น้องทั้งสององค์ | เป็นเชื้อวงศ์จักรพรรดิสวัสดี | ||
พึ่งแรกรุ่นรูปราวกับเจ้าแม่ | เขาลือแซ่เฟื่องฟุ้งทั้งกรุงศรี | ||
ว่าโฉมยงองค์หนึ่งในธรณี | เป็นบุตรีจักรพรรดิกษัตรา | ||
ว่าทรงโฉมงามประโลมวิไลโลก | เธอแสนโศกมาเสาะแสวงหา | ||
แต่พี่น้องสององค์กับสาลิกา | ถึงพาราเจ้าแม่ได้สามวัน | ||
มาพบเหยี่ยวเฉี่ยวโฉบลูกบินหนี | มันตามตีสาลิกาแทบอาสัญ | ||
ครั้นพ้นเหยี่ยวเที่ยวหาไม่พบกัน | จึงโศกศัลย์ตกยากลำบากมา | ||
ได้กินข้าวคลุกไข่ของเจ้าแม่ | สงสารแต่เจ้าพ่อของปักษา | ||
พระพักตร์งามยามโศกจะโรยรา | ทำมารยายืนเหงาไม่จิกกิน ฯ | ||
๏ นางฟังคำนกสาลิกาเล่า | โอ้แม่เจ้าช่างจำได้เสร็จสิ้น | ||
ให้ปั่นป่วนครวญคิดถึงภูมินทร์ | แต่ได้ยินกล่าวโฉมให้ชื่นครัน | ||
นางเสแสร้งแกล้งซักเจ้าปักษา | สาลิกาปดดอกกระมังนั่น | ||
ถ้าคุณพ่อเป็นเจ้าเหมือนเล่ากัน | จะด้นดั้นหาคู่ไม่ควรเลย | ||
จริงจริงหรือชื่อไรเล่าเจ้าพ่อ | มิรูปหล่อหรือเจ้าสาลิกาเอ๋ย | ||
นกขุนทองต้องใจกระไรเลย | จะชมเชยชวนคบเฝ้ารบไป ฯ | ||
๏ ตามแต่เยาะเถิดเป็นเคราะห์ของลูกร้าย | พระโฉมฉายเธอไม่มาก็ว่าได้ | ||
ถึงมิหล่อก็แต่พอประโลมใจ | บุรุษในธรณีไม่มีปาน | ||
หญิงที่เห็นเว้นไว้แต่เจ้าแม่ | จะงามแก้กันได้ไม่หักหาญ | ||
ไม่เชื่อแล้วถึงจะเล่าไม่เข้าการ | มาอยู่นานแล้วจะลาไปหากัน ฯ | ||
๏ นางฟังนกยกยอชะลอโฉม | ยิ่งประโลมลานจิตคิดกระสัน | ||
ฟังปักษาว่าประหลาดพูดพาดพัน | หรือทรงธรรม์ใช้สาลิกามา | ||
ดำริพลางนางแกล้งกระซิบสั่ง | แม้นกลับหลังพบคุณพ่อของปักษา | ||
อย่าบอกเล่าว่าเข้ามาปรางค์ปรา | คุณพ่อเจ้าเธอจะว่าไม่เกรงใจ | ||
เมื่อแรกคิดว่าเจ้ามาแต่ป่า | ไม่แจ้งว่าคุณพ่อเจ้ารักใคร่ | ||
ได้จับผิดนิดหน่อยก็แล้วไป | รำคาญใจเขาจะว่าดูน่าชัง ฯ | ||
๏ นกขุนทองรู้ทำนองว่านางแกล้ง | ทำเสแสร้งตอบไปเหมือนใจหวัง | ||
แม่ให้ทานข้าวกับไข่มิใช่ชัง | ถึงมิสั่งลูกจะบอกทำไมมี | ||
เป็นการด่วนจวนจะจรไปหาคู่ | เจ้าแม่อยู่จะมาบ้างในปรางค์ศรี | ||
ฉันจะลาเจ้าแม่อยู่จงดี | แล้วทำทีจะบินออกนอกบัญชร ฯ | ||
๏ นางขยับจับสาลิกากอด | ระทวยทอดฤทัยสะท้อนถอน | ||
กลัวปักษาจะมิทูลพระำภูธร | เธอจะจรไปเสียจากพารา | ||
จะสั่งไปให้บอกก็อายจิต | แต่นึกคิดป่วนปั่นกระสันหา | ||
เล้าโลมลูบจูบกอดสกุณา | สาลิกาเอ๋ยแม่เชยไม่สิ้นรัก | ||
แม้นเจ้าพ่อพบสาลิกาเข้า | จะพาเจ้าจรไปจากไตรจักร | ||
พ่อหนีมาให้แม่ชมพอสมรัก | อย่าเพ่อหักหวนไปเสียไกลตา | ||
รำพันพลางทางหยิบสุคนธ์รื่น | อันหอมชื่นมาชโลมเจ้าปักษา | ||
ให้รู้ถึงทรงธรรม์ด้วยปัญญา | สาลิกาแจ้งความก็ตามใจ ฯ | ||
๏ ขุนทองเคารพจบปีกขึ้นเหนือเกล้า | จะลาเจ้าแม่แล้วอย่าโหยไห้ | ||
พอพบพ่อลูกจะมาอย่าอาลัย | สำราญใจโผผินบินทะยาน ฯ | ||
๏ นางเยี่ยมแกลแลดูจนลับเนตร | พูนเทวษพิศวงด้วยสงสาร | ||
ไม่เล่นด้วยสาวสนมพนักงาน | อาลัยลานถึงคุณพ่อสา่ลิกา ฯ | ||
๏ ฝ่ายขุนทองบินถลามาถึงสวน | พลางสำรวลพูดจ้อคุณพ่อจ๋า | ||
จูบขุนทองลองรสสุคนธา | สาลิกาเจ้าก็เต้นขึ้นเพลาพลัน ฯ | ||
๏ พระโคบุตรสุดสวาทด้วยนกพลอด | พระกรกอดสาลิกาแล้วรับขวัญ | ||
หอมระรื่นชื่นใจกระแจะจันทน์ | เกษมสันต์แจ้งความว่าทรามเชย | ||
จึงยิ้มเยื้อนเอื้อนถามไปตามเล่ห์ | สมคะเนแล้วหรือเจ้าสาลิกาเอ๋ย | ||
ใครทาแป้งแต่งตัวให้ทรามเชย | เจ้าข้าเอ๋ยหอมหวนรัญจวนใจ ฯ | ||
๏ ขุนทองฟังเจ้าพ่อหัวร่อร่า | ลูกอาสาพระองค์ก็คงได้ | ||
แล้วเล่าเรื่องกล่าวโฉมประโลมใจ | งามวิไลล้ำนางสำอางตา | ||
ถึงนางในไกรลาสว่างามล้ำ | ไม่งามขำเหมือนเจ้าแม่ของปักษา | ||
จะเปรียบกรอ่อนดังงวงไอยรา | จะดูสองนัยนาดังนิลแนม | ||
เปรียบขนงเหมือนหนึ่งวงธนูน้าว | ทั้งสองเต้าตั้งเต่งเปล่งแฉล้ม | ||
ดังสัตตบุษย์ผุดปริ่มคงคาแวม | ทั้งสองแก้มเปรียบอย่างมะปรางทอง | ||
เหมือนเจ้าพ่อพอสมเป็นคู่ชื่น | อันชายอื่นแล้วไม่มีเสมอสอง | ||
ทั้งสมบัติพัสถานก็เนืองนอง | ดุจทองแกมแก้วประกอบกัน ฯ | ||
๏ พระฟังนกยกโฉมให้ปั่นป่วน | ทรงพระสรวลสาลิกาแล้วรับขวัญ | ||
พระฟังพลอดเพลิดเพลินเจริญครัน | ถ้าแม่นมั่นเหมือนเล่าเจ้าขุนทอง | ||
เอานกแอบแนบชมอารมณ์ชื่น | หอมระรื่นพระยิ่งให้อาลัยหมอง | ||
เย็นพยับอับฟ้าน้ำตานอง | พระตรึกตรองถึงแก้วตายิ่งอาวรณ์ | ||
ชวนอรุณขุนทองขึ้นแท่นรัตน์ | สองกษัตริย์บรรทมเหนือบรรจถรณ์ | ||
พระโคบุตรสุริยาพะงางอน | อนาถนอนนิ่งนึกถึงเทวี | ||
โอ้อำพันขวัญใจวิไลลักษณ์ | จะประจักษ์หรือว่าเรียมอยู่สวนศรี | ||
นกมาเล่าเหมือนหนึ่งเจ้าจะปรานี | รุ่งพรุ่งนี้จะให้อ่านสารแสดง | ||
ให้ขวัญเมืองรู้เรื่องว่าเรียมรัก | แจ้งประจักษ์ตื้นลึกไม่นึกแหนง | ||
ยิ่งกลัดกลุ้มรุ่มร้อนดังเพลิงแรง | แต่พลิกแพลงปลาบปลื้มไม่ลืมคิด | ||
จะใกล้หลับคลับคล้ายเหมือนสายสวาท | มาร่วมอาสน์อิงแอบแนบสนิท | ||
พระหัตถ์สอดกอดน้องประคองคิด | แล้วจุมพิตเชยปรางทางสุนทร | ||
นิจจาเจ้าเยาวลักษณ์วิไลโฉม | งามประโลมล้ำเทพอักษร | ||
อรุณฟื้นตื่นปลุกพระภูธร | ละเมอนอนเล้าโลมประหลาดครัน | ||
พระรู้สึกนึกเขินเมินหน้านิ่ง | ยิ่งคิดยิ่งสร้อยเศร้าถึงสาวสวรรค์ | ||
ไม่หลับไหลด้วยพระทัยนั้นผูกพันธ์ | จนไก่ขันจวนรุ่งน้ำค้างโปรย | ||
หอมจำปาดอกลำดวนในสวนหลวง | เรณูร่วงหอมหวนรัญจวนโหย | ||
รื่นรื่นชื่นอารมณ์เมื่อลมโชย | พระพายโรยพัดเฉื่อยระเรื่อยมา | ||
สุริยงทรงราชรถเร่ง | ขึ้นปลั่งเปล่งหมดเมฆในเวหา | ||
พระตื่นขึ้นสรงพักตร์แลกายา | แล้วจารึกสาราเป็นความใน | ||
ด้วยยอดตองรองเขียนประดิษฐ์คิด | ตามจริตแรกเริ่มจะรักใคร่ | ||
สลักหลังสั่งซ้ำประจำไป | พระมอบให้สาลิกาแล้วพาที | ||
พระสั่งนอกบอกว่าโศกานัก | แล้วลูกรักอยู่บรรทมกับโฉมศรี | ||
อย่าปิดแกลนิทราเมื่อราตรี | พอเขาตีฆ้องยามจะตามไป | ||
ขุนทองกราบคาบตองจำลองสาร | บินทะยานจากสวนพฤกษาไสว | ||
ลงจับกร่างข้างแกลปราสาทชัย | หนังสือพิงกิ่งไม้ไว้ดิบดี | ||
แล้วขุนทองร้องเรียกคุณแม่จ๋า | เจ้าแม่มามารับเจ้าปักษี | ||
นางฟังแจ้วแว่วเสียงสกุณี | นางเทวีวิ่งผวามาหน้าแกล | ||
ขุนทองเห็นยกปีกเคารพรับ | ขุนทองกลับมาแล้วจ๊ะพระเจ้าแม่ | ||
สาลิกาถาทะยานจับบานแกล | ไหนเจ้าแม่จะให้ข้าวกับไข่กิน | ||
นางกอดแก้วสาลิกาแล้วกล่าวถ้อย | ให้กล้วยหน่อยข้าวกับไข่เหมือนใจถวิล | ||
เอาใส่จานทองคลุกน้ำผึ้งริน | ขุนทองกินทางพลอดฉะฉอดไป | ||
ลูกประสบพบสองเจ้าพ่อแล้ว | เธอจูบแก้วสาลิกาเป็นไหนไหน | ||
ว่าหอมกลิ่นบุปผาสุมาลัย | ถามว่าใครให้แป้งมาแต่งทา | ||
ฉันไม่บอกออกความว่าเจ้าแม่ | ลูกปดแก้ว่าไปเกลือกกลีบบุปผา | ||
ทั้งสององค์หลงเชื่อลูกเจรจา | เฝ้าจูบกอดสาลิกาไม่อิ่มใจ | ||
ประเดี๋ยวพี่เอาไปจูบแล้วน้องจูบ | เฝ้าโลมลูบลูกรักจนเหงื่อไหล | ||
ลูกหนีมาเสียให้สาแก่น้ำใจ | ไม่กลับไปแล้วจะอยู่เสียในวัง ฯ | ||
๏ นางฟังเล่าเศร้าจิตคิดถวิล | กลัวภูมินทร์จะไม่แจ้งเหมือนใจหวัง | ||
ทำแกล้งโกรธสาลิกาด้วยวาจัง | ข้าเบื่อฟังแล้วเจ้าลิ้นทะเลวน | ||
เขาทาแป้งแต่งตัวให้หอมกรุ่น | เอาบุญคุณนั้นไปล้างเสียกลางหน | ||
ขี้ปดพ่อว่าไปเกลือกกลีบอุบล | ราวกับคนไม่เคยพบกระแจะจันทน์ | ||
อันคุณพ่อเจ้าหรือกระสือแป้ง | ไม่เคยแต่งอยู่แต่ป่าพนาสัณฑ์ | ||
นี่หรือรูปจะมิงามอร่ามครัน | เห็นไรฟันเสียสิ้นทุกสิ่งไป ฯ | ||
๏ นกขุนทองพูดแก้ว่าแม่สั่ง | ไปลับหลังว่าอย่าแจ้งแถลงไข | ||
หรือเจ้าแม่อยากให้บอกจะออกไป | ลูกดีใจอยากจะอยู่ในพารา ฯ | ||
๏ นางฟังคำทำโกรธเป็นทีหยอก | ไยมิบอกจะทำอะไรข้า | ||
ขุนทองตอบไปให้ชอบด้วยปรีชา | พระบิดาเธอจะทำอะไรมี | ||
ลูกคิดดูเธอยิ่งรู้ก็ยิ่งรัก | ไม่รู้จักก็ได้จูบแต่ปักษี | ||
แล้วหัวร่อขอโทษนางเทวี | เมื่อวานนี้ลูกทูลพระบิดา | ||
ว่าแม่เจ้าให้กินข้าวกับไข่คลุก | ทั้งส้มสูกให้ลูกรักนั้นหนักหนา | ||
แป้งอำพันจันทน์จวงกระแจะทา | พระบิดาดีใจแล้วให้พร | ||
ว่าแม่เจ้ามีคุณการุญด้วย | จึ่งให้กล้วยกินอิ่มสโมสร | ||
เหมือนเจ้าแม่มีคุณกับบิดร | ไม่ม้วยมรณ์ก็ไม่ลืมปลื้มอาลัย | ||
แต่แสนยากจากเมืองได้เคืองยิ่ง | ไม่มีสิ่งจะแทนพระคุณให้ | ||
จะมาเฝ้าเจ้าแม่ในปรางค์ชัย | ก็เกรงใจสองกษัตริย์จะขัดเคือง ฯ | ||
๏ ชะปดแล้วปดเล่าเฝ้าแต่ปด | ช่างเลี้ยวลดยืนยาวเป็นราวเรื่อง | ||
ยิ่งให้หลอกแล้วก็หลอกอยู่เนืองเนือง | ราวกับเรื่องรามเกียรติ์เจียวสาลิกา | ||
แต่แรกบอกว่าออกไปหลอกพ่อ | ประดิษฐ์ต่อข้อกลอนมาย้อนว่า | ||
พ่อร้อยลิ้นกินหวานน้ำตาลทา | กินข้าวปลาเสียเถิดเจ้าข้าเข้าใจ | ||
อนิจจาไม่ว่าเปล่าหนาเจ้าแม่ | แม้นไม่แน่แล้วจงฟัดให้ตัดษัย | ||
พยานลูกเอามาพิงไว้กิ่งไทร | ไม่เชื่อใจฉันจะอ้างต้นกร่างทอง | ||
พูดพลางทางบินไปต้นไทรใหญ่ | จับกิ่งไทรไพรศรีไม่มีสอง | ||
ก็สมใจไม่วิตกนกขุนทอง | มาคาบตองไปถวายนางเทวี | ||
เจ้างามพริ้มยิ้มหยิบใบตองอ่อน | เห็นอักษรเรื่องราชสารศรี | ||
เป็นความขำตามคำสกุณี | พระหัตถ์คลี่นิ่งอ่านสำราญใจ ฯ | ||
๏ ในสารว่าอิศเรศเกศมงกุฎ | พระโคบุตรเลิศล้ำในต่ำใต้ | ||
นิราศร้างแรมวังตั้งพระทัย | มาอยู่ในสวนขวัญอันบรรจง | ||
พี่มุ่งหมายมาถวายชีวาวาตม์ | พระจอมนาฏกัลยาเมืองกาหลง | ||
ใบตองแทนแผ่นสุวรรณอันบรรจง | จิตจำนงต่างเครื่องบรรณาการ | ||
ด้วยไกลวังครั้งนี้จนเหลือแสน | ขุนทองแทนอุปทูตที่ถือสาร | ||
มาถึงองค์พระธิดายุพาพาล | ให้แจ้งการเรื่องรักประจักษ์ใจ | ||
แม้นมิพบสบสมสวาทนุช | จนสิ้นสุดชนมชีพให้ตักษัย | ||
เป็นกุศลดลจิตสาลิกาไป | เรียมจึงได้ชมกลิ่นสุคนธา | ||
ค่ำวันนี้พี่จะมาสู่หาน้อง | ขอชมห้องพระตำหนักขนิษฐา | ||
พอจบสารพจมานที่มีมา | พระธิดาปั่นป่วนรัญจวนครัน | ||
แกล้งทรงฉีกยอดตองที่รองเรื่อง | ทำทีเคืองสกุณินแล้วผินผัน | ||
เจ้าปักษีดีแล้วได้เห็นกัน | เที่ยวกล่าวขวัญให้รู้ทุกผู้คน | ||
จะพาเจ้าขึ้นไปเฝ้าพระบิตุเรศ | ให้ทรงเดชรู้ความตามเหตุผล | ||
ยังพวกพ้องเจ้าจะมีสักกี่คน | ทำเล่ห์กลลามเลียมไม่เจียมใจ ฯ | ||
๏ สกุณีรู้ทีไม่ทุกข์ร้อน | พูดอ้อนวอนไปให้ชอบอัชฌาสัย | ||
นี่ยอดตองฟ้องลูกประการใด | ไม่ถามไถ่บ้างเลยแม่ให้แน่ความ ฯ | ||
๏ นางยิ้มพลางทางตอบเจ้าปักษิน | พ่อร้อยลิ้นสิ้นอาลัยไถลถาม | ||
จะยอกย้อนซ่อนเงื่อนให้เลื่อนความ | เจ้าทำงามแล้วจะเป็นอะไรมี ฯ | ||
๏ โอ้ตายจริงแล้วเจ้าสาลิกาเอ๋ย | ไม่รู้เลยเป็นอย่างไรไฉนนี่ | ||
จะฟ้องร้องให้ลูกต้องถูกตี | มิปรานีแล้วกรรมของสาลิกา | ||
พลางชะอ้อนวอนทูลว่าร้อยชั่ง | ขอโทษครั้งหนึ่งเถิดเจ้าแม่จ๋า | ||
นางแกล้งเมินเดินไปที่ไสยา | สาลิกาเต้นตามนางทรามวัย | ||
พลอดประโลมโฉมฉายให้คลายจิต | แสงอาทิตย์ล่วงดับลับไศล | ||
โฉมอำพันปั่นป่วนรัญจวนใจ | ตั้งพระทัยคอยดูพระภูมินทร์ ฯ | ||
ตอนที่ ๘ โคบุตรได้นางอำพันมาลาเป็นชายา
๏ | |||
ตอนที่ ๙ โคบุตรพานางอำพันมาลาหนีไปเมืองพาราณสี
๏ | |||
ตอนที่ ๑๐ อภิเษกโคบุตรกับนางมณีสาครและนางอำพันมาลา
๏ | |||
ตอนที่ ๑๑ นางอำพันมาลาให้เถรกระอำทำเสน่ห์
๏ | |||
ตอนที่ ๑๒ พระอรุณมาเมืองปราการบรรพต จับเสน่ห์เถรกระอำ
๏ | |||
ตอนที่ ๑๓ โคบุตรปรึกษาโทษนางอำพันมาลา
๏ | |||
ตอนที่ ๑๔ ขับนางอำพันมาลาออกจากเมือง
๏ | |||