พงศาวดารญวน

จาก ตู้หนังสือเรือนไทย

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

การปรับปรุง เมื่อ 12:50, 15 กุมภาพันธ์ 2553

แม่แบบ:โครง

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๘

คำนำภาคที่ ๒๘

 หนังสือซึ่งอำมาตย์เอก พระยาประมูลธนรักษ์ (ผูก ผโลประการ) ตช. ตม. ตจว. ได้นำมาถวายไว้แก่หอพระสมุดฯ ได้แก่คำให้การเก่า ๒ เรื่อง คือคำให้การเรื่องพงศาวดารญวนเรื่อง ๑  คำให้การเร่องประวัติพระนาบีมะหะหมัดเรื่อง ๑ ซึ่งเดิมเป็นหนังสือในทางราชการ รัฐบาลให้ถามคำชี้แจงของผู้รู้ไว้
  พงศาวดารญวนนั้นปากฏในบานแผนกว่า ได้เก็บรวบรวมจากฉบับเก่าซึ่งได้จดไว้แต่ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๓๖ ส่วนประวัติเรื่องพระนาบีมะหะหมัดนั้น ปรากฏในบานแผนกว่ารวบรวมเมื่อวันอังคารเดือนยี่ขึ้น ๒ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ ในรัชกาลที่ ๔ แต่ฉบับที่มีก็ไม่จบ ถึงกระนั้นเรื่องราวเพียงที่มีอยู่ก็น่าอ่าน จึงได้รวมพิมพ์เป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๘
  ดำรงราชานุภาพ  สภานายก
 หอสมุดพระวชิรญาณ
 วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖

พงศาวดารญวน

 เจ้าคุณผู้ช่วยกรมท่า เก็บเรื่องความเมืองญวนแต่ก่อนมาเรียบเรียงเข้าไว้ไม่สู้ละเอียดแจ่มแจ้งนัก ด้วยฉบับเดิมเจ้าพนักงานแต่ก่อนรักษาต่อๆ กันมาให้ฉบับหายเสียบ้าง ปลวกกินเสียบ้าง ได้ความประการใดก็เรียงไว้พอเป็นของสำหรับแผ่นดินไปเบื้องหน้า ค้นหาได้ความว่าเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น มีรับสั่งให้ขุนราชมนตรี ขุนศรีเสนา ขุนราชาวดี ล่ามแปลคำองเปดกลึง องเปดจัดพวกองไชสือไว้ เมื่อ ณ วันเดือน ๙ ขึ้น ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลูเบญจศก ได้ความว่าเดิมเมืองญวนนั้นเมืองตังเกี๋ยเป็นเมืองหลวง เจ้ากินเป็นเจ้าเมืองสืบกษัตริย์มาได้ ๖ องค์ กษัตริย์ในที่ ๖ ชื่อ หุงเมือง ครั้งนั้นพระเจ้ากรุงปักกิ่งให้ขุนนางชื่อเลียวท่าง เป้นแม่ทัพมาตีมืองตังเกี๋ยได้ เลียวท่าจับหุงเมืองและพวกพ้อฆ่าเสียสิ้น แล้วเลียวท่างก็อยู่รักษาเมืองตังเกี๋ย เมืองตังเกี๋ยก็ขึ้นแก่เมืองจีนตั้งแต่นั้นมา
เครื่องมือส่วนตัว