โคลงตำราไม้ดัด

จาก ตู้หนังสือเรือนไทย

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|คลโงตำรามไดัด}} [[หมว…')
(บทประพันธ์)
แถว 7: แถว 7:
== บทประพันธ์ ==
== บทประพันธ์ ==
<tpoem>
<tpoem>
-
ตำราไม้ดัดของหลวงมงคลรัตน์ <sup>ช่วง ไกรฤกษ์</sup>
 
-
 
<sup>๑</sup>
<sup>๑</sup>
๏ พระบาทบรมนาถเจ้า  จอมสยาม
๏ พระบาทบรมนาถเจ้า  จอมสยาม
แถว 131: แถว 129:
๏ รอบกลมกว้างต้นคลี่  ยาววัด
๏ รอบกลมกว้างต้นคลี่  ยาววัด
สี่ส่วนประจงตัด  แต่งได้
สี่ส่วนประจงตัด  แต่งได้
-
ตอสองส่วนเสร็จชัด ชาม่อ หมายเอย
+
ตอสองส่วนเสร็จชัด   ชาม่อ หมายเอย
พับท่อนหนึ่งสองให้  หักรู้ส่วนเดิม ฯ
พับท่อนหนึ่งสองให้  หักรู้ส่วนเดิม ฯ
แถว 162: แถว 160:
กิ่งสิบเอ็ดคาดคั้น  คิดไม้หกเหียน ฯ
กิ่งสิบเอ็ดคาดคั้น  คิดไม้หกเหียน ฯ
</tpoem>
</tpoem>
 +
== เชิงอรรถ ==
== เชิงอรรถ ==
== ที่มา ==
== ที่มา ==
โคลงตำราไม้ดัด หลวงมงคลรัตน (ช่วง ไกรฤกษ) แต่ง พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกตรี พระยาราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ) เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
โคลงตำราไม้ดัด หลวงมงคลรัตน (ช่วง ไกรฤกษ) แต่ง พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกตรี พระยาราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ) เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

การปรับปรุง เมื่อ 03:16, 10 ตุลาคม 2552

เนื้อหา

ข้อมูลเบื้องต้น

แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: หลวงมงคงรัตน (ช่วง ไกรฤกษ)

บทประพันธ์

๏ พระบาทบรมนาถเจ้าจอมสยาม
ทรงแบบไม้ดัดงามเรียบร้อย
ขบวนดัดคัดจัดตามกรุงเก่า มาแฮ
โปรดแบบบรรยายถ้อยถูกแล้วเกณฑ์หา ฯ
๏ กรมหลวงพิทักษ์สร้อยมนตรี ทรงเฮย
เขนกับญี่ปุ่นทีป่าข้อม
หกเหียนพับดัดดีถวายเทียม แบบแฮ
สิบเอ็ดกิ่งพริ้งพร้อมแยกใช้กิ่งสาม ฯ
๏ พระด้วงรองบาทไท้กรมหลวง
ฝึกหัดสันทัดปวงปลูกแก้
แสดงบอกบ่หันหวงสอนหัด ชินเฮย
จึงประจักษเหตุแท้ท่านอ้างออกองค์ ฯ
๏ ไม้ขบวนวาดเอี้ยววงเวียน ต้นนา
ตอต่ำตัดเรือนเจียนเรียบร้อย
ที่กิ่งชอบใช้เนียนสนิทช่อง ไฟแฮ
ทรงพุ่มชิดเชิดช้อยช่องชั้นจังหวะวาง ฯ
๏ ฉากแบบโคนทอดน้อยหนึ่งงาม
ที่คดคบขดตามหักค้อม
ตอย่อกิ่งต่อสามสมแบบ เดิมนอ
ต้นชดเค้ากิ่งหย้อมอย่าซ้ำเสียคม ฯ
๏ หกเหียนเห็นดัดคู้ขัดทับ
ตอเพล่เร่เรือนรับลอดพลิ้ว
ที่ยอดทอดทวนทับทบกิ่ง กลแฮ
ดูดุจหมัดมวยงิ้วผงาดง้ำผงกหงาย ฯ
๏ ไม้เขนเบนกิ่งท้ายทวนลง
โคนปุ่มภูต้นทรงเกร่อเก้อ
ที่ยอดทอดหวนหงเห็นขด คู้แฮ
ดุจมฤคเหลียวชะเง้อชะโงกเงื้อมมาหลัง ฯ
๏ ป่าข้อมโคนปุ่มต้นตามตรง
คบแยกสามกิ่งจงจัดเก้า
จังหวะระยะวงเวียนรอบ กลมแฮ
จัดช่องไฟให้เถ้าส่วนต้นตัดเรือน ฯ
๏ ไม้ญี่ปุ่นรวมทั้งกำมะลอ
ตลกรากเอนชายมอมากใช้
ท่วงทีที่ขันพอภูมตลก
คงกิ่งจังหวะได้ช่องพร้อมเรือนเสมอ ฯ
๑๐
๏ เก้าชนิดนับชื่ออ้างออกนาม ไม้เฮย
โดยบุราณเรียกตามต่อถ้อย
จัดคัดจัดดัดงามคงเงื่อน นั้นนา
พอประจักษ์นามน้อยเนื่องไม้มีเดิม ฯ
๑๑
๏ ขุนท่องสือเก่าแจ้งจำถนัด
ลิขิตโคลงไม้ดัดแต่งไว้
เคยฝึกเล่นโดยจัดจวบพระ ด้วงนา
เพื่อจักดัดคงไว้ดุจถ้อยกลอนแถลง ฯ
๑๒
๏ ผู้มีวิริยพร้อมเพลินเพียร
เย็นกมลเนาเนียนเนิ่นแก้
เล่นดัดตัดแต่งเจียนจัดพุ่ม เรือนแฮ
โดยประณีตนับแท้ท่านนั้นจิตต์เสมอ ฯ
๑๓
๏ ทำจนกลบบาทได้นับถือ
จึงจักชมฝีมือแม่นไม้
แผลบาดอุจาดคือรอยตัด คงนอ
เป็นที่ตำหนิได้คัดค้านคำฉิน ฯ
๑๔
๏ พระบัณฑูรโปรดไม้นามเขน
กับป่าข้อมชายเอนออกตั้ง
โรงหุ่นแต่งทุกเวรวางเทียบ งามแฮ
สมฉากสมเขาทั้งเทียบพื้นไพรระหง ฯ
๑๕
๏ กรมพระพิพิธได้ทรงมา
กรมพระพิทักษ์หาเช่นบ้าง
เอนชายป่าข้อมตราตรงชื่อ เดิมเอย
พอประจักษ์จิตต์อ้างออกให้เห็นพยาน ฯ
๑๖
๏ ไม้ขบวนฉากแบบทั้งสองชะนิด
ในพระราชวังสถิตเกิดพร้อม
พระบาทพระนั่งเกล้าสฤดิรังรุกข์ ไว้นา
มาบัดนี้ทรงส้อมแทรกฟื้นพรรค์ขบวน ฯ
๑๗
๏ หกเขียนฉากแบบนี้นานศูนย์
เพราะบ่เห็นสมบูรณ์เริดร้าง
สุดงามสุดยากปูนปานเช่น กันแฮ
สองรุกข์แถวบางช้างเชิดคล้ายพอแปลง ฯ
๑๘
๏ รอบกลมกว้างต้นคลี่ยาววัด
สี่ส่วนประจงตัดแต่งได้
ตอสองส่วนเสร็จชัดชาม่อ หมายเอย
พับท่อนหนึ่งสองให้หักรู้ส่วนเดิม ฯ
๑๙
๏ บาดตัววัดหยั่งพื้นพูนดิน บนเอย
พับสี่ปันสองจินตนะไว้
เป็นตอต่ำพอผินผันเล่น แลพ่อ
ที่ดัดหนึ่งสองให้หักซ้ำส่วนเดิม ฯ
๒๐
๏ ดูงามจังหวะคล้องฉันใด
บิดผลักหักเพล่ไผลไพล่พลิ้ว
ทีแรงท่าเพลงไถลถลาเผ่น โผนแฮ
หงายหมัดชัดมวยงิ้วชะโงกเอี้ยวอาจถลา ฯ
๒๑
๏ ทียอดหวนหกให้เห็นแรง
ทีกิ่งสอดพลิกแพลงเพลี่ยงต้น
ทีเรือนตัดเรือนแสดงดุจกระ ทุ่มเอย
ทีวกจังหวะค้นคิดเท้าต้นเสมอ ฯ
๒๒
๏ เขียนไว้หวังวัดเค้าควรตรอง
ฝึกตัดดัดดูลองเล่ห์นั้น
กะคงหนึ่งสองสองสมเหตุ ใช้นา
กิ่งสิบเอ็ดคาดคั้นคิดไม้หกเหียน ฯ
             

เชิงอรรถ

ที่มา

โคลงตำราไม้ดัด หลวงมงคลรัตน (ช่วง ไกรฤกษ) แต่ง พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกตรี พระยาราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ) เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

เครื่องมือส่วนตัว