ไทยรบพม่า
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(→สงครามครั้งที่ ๓ คราวขอช้างเผือก) |
(→สงครามครั้งที่ ๔ คราวเสียพระนครครั้งแรกแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา) |
||
แถว 26: | แถว 26: | ||
พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองทัพมาครั้งนี้ ได้เปรียบเมืองไทยหลายอย่าง กำลังไพร่พลก็มีมากกว่าครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองเคยเปนแม่ทัพ คน ๑ เข้ามารบเมืองไทยครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ รู้ภูมิ์แผนที่เมืองไทย รู้กำลังแลวิธีรบของ ไทยอยู่ชัดเจน จึงจัดเตรียมการเข้ามาทุกอย่าง ที่จะแก้ไขความขัดข้องซึ่งเคยมีในครั้งก่อน เปนต้นว่า ครั้งก่อนยกกองทัพเข้าทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ตรงเข้ามากรุงศรีอยุทธยา ถูก ไทยเอาพระนครที่มั่นตั้งรับแล้วให้กองทัพหัวเมืองเหนือลงมา ตีโอบหลัง คราวนี้พระเจ้าหงษาวดียกเข้ามาทางด่านแม่สอด จะตีทำลายกำลังหัวเมืองเหนือเสียก่อน แล้วจึงยกลงมาตีกรุงศรีอยุทธยา ไม่มีกำลังข้างนอกช่วยได้ สะเบียงอาหารที่เคยฝืดเคืองขัดข้อง คราวนี้ได้เมืองเชียงใหม่ไว้ในอำนาจ ให้พวกเชียงใหม่เปนกองสะเบียงลำเลียงส่งทางเรือ ในเรื่องที่สู้ กำลังปืนใหญ่ของไม่ได้ในคราวก่อนนั้น คราวนี้พระเจ้าหงษาวดีก็เตรียมปืนใหญ่เข้ามาให้พอ แลจ้างโปจุเกตเข้ามาเปนทหารปืนใหญ่ ๔๐๐ คน กองทัพหงษาวดียกเข้ามาคราวนี้ จัดเปน ๕ ทัพ มีจำนวนพลมาก (พม่าว่า ๕ แสน) ยกออกจากเมืองหงษาวดีเมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๙๒๕ พุทธศักราช ๒๑๐๖ ตรงมาตีเมืองกำแพงเพ็ชร์ก่อน เมื่อตีได้เมืองกำแพงเพ็ชร์แล้ว จึงแยกกองทัพเปน ๓ กอง ให้ไปตีเมืองสุโขไทยกอง ๑ ไปตีเมืองสวรรคโลก กอง ๑ ไปตีเมืองพิศณุโลกกอง ๑ เมืองสุโขไทยสู้รบเปนสามารถ จนพระยาศุโขไทยตายในที่รบ พระเจ้าหงษาวดีจึงได้เมืองศุโขไทย แต่เมืองสวรรคโลกนั้นเมื่อได้ข่าวว่าเสียเมืองศุโขไทยแล้ว ก็ยอมแพ้โดยแพ้โดยดีไม่ได้ต่อสู้ พระเจ้าหงษาวดียกมาตีเมืองพิศณุโลก ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ พระเจ้าหงษาวดีตีได้เมืองพิศณุโลกแลจับพระมหาธรรมราชาได้ เนื้อความที่กล่าวมาด้วยเรื่องพระเจ้าหงษาวดีตีหัวเมืองเหนือตอนนี้ กล่าวตามพงษาวดารพม่า ในหนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐมีเนื้อความปรากฎต่อออกไปว่า ครั้งนั้นเมืองพิศณุโลกขาดสะเบียง แลเกิดไข้ทรพิศม์ขึ้นในเมือง จึงเสียแก่พระเจ้าหงษาวดี เมื่อพระเจ้าหงษาวดีได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว เนื้อความทั้งปวงยุติต้องกันว่า พระเจ้าหงษาวดีเกลี้ยกล่อมพวกไทยข้างฝ่ายเหนือ มีพระมหาธรรมราชาเปนต้นให้เข้าด้วย ไม่ได้ทำอันตราย เช่นเก็บริบทรัพย์สมบัติ หรือกวาดต้อนครอบครัวไปเปนเชลย ให้รวบรวมเรือที่เมืองพิศณุโลก จัดเปนกองทัพเอาปืนใหญ่ลงในเรือ ให้พระเจ้าแปรราชอนุชาเปนนาทัพ ส่วนกองทัพบก ให้พระมหาอุปราชาอนุชาเปนกองกลาง พระเจ้าอังวะราชบุตร์เขยเปนปีกซ้าย ๒ กองนี้เข้าใจว่าเดิมฝั่งตวันออก พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพหลวงตามลงมา ที่กรุงศรีอยุทธยาก็จัดกองทัพให้พระราเมศวรคุมขึ้นไปช่วยหัวเมืองเหนือ แต่เห็นจะขึ้นไปช่วยไม่ทัน ด้วยปรากฎในพงษาวดารพม่าแต่ว่า พระราเมศวรคุมกองทัพเรือมีปืนใหญ่ขึ้นไปตั้งดักอยู่ ณ ที่แห่ง ๑ กองทัพบกหงษาวดียกลงมา ถูกไทยเอาปืนใหญ่ยิงต้องหยุดยั้งอยู่คราว ๑ จนกองทัพเรือของพวกหงษาวดีลงมาจากเมืองพิศณุโลก รบพุ่งตีกองทัพเรือของไทยแตกต้องถอยลงมาแล้ว จึงยกกองทัพตามลงมาตั้งล้อมกรุงศรีอยุทธยาไว้ ลักษณการรบคราวนี้ได้ความตามพงษาวดารพม่า ดูประหนึ่งว่า พม่าตั้งใจจะตัดกำลังปืนใหญ่ของไทยนั้นเปนสำคัญ ไทยเอาปืนใหญ่ลงในเรือ แลปรากฎว่าใช้พวกโปจุเกตเหมือนกัน ไปเที่ยวยิงกองทัพพม่า พม่าเพียรทำลายเรือปืนใหญ่ของไทยได้จนหมดแล้ว จึงยกเข้ามาตั้งใกล้พระนคร พอได้ทางปืนใหญ่ เอาปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนครให้ถูกวัดวาบ้านเรือนแลผู้คนเปนอันตรายไปทุก ๆ วัน ฝ่ายไทยไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จึงขอหย่าทัพ พระเจ้าหงษาวดีเรียกเอาช้างเผือก ๔ ช้าง กับขอเอาตัวพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ซึ่งเปนหัวน่าในการต่อสู้ไปเสียด้วย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ก็ต้องบัญชาตาม ในหนังสือพงษาวดารพม่าว่าในครั้งนั้นพระเจ้าหงษาวดีเอาพระมหาจักรพรรดิ์ไปด้วย แลเรียกเอาเงินภาษีอากรซึ่งเก็บได้ ณ เมืองตะนาวศรีให้ส่งเปรของพม่าต่อไปด้วย ข้อที่ว่าเอาพระมหาจักรพรรดิไปนั้นไม่เห็นสม แลขัดกับเหตุการณ์ในเรื่องพระราชพงษาดาร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าไม่จริง แต่เรื่องเอาภาษีอากรเมืองตะนาวศรีนั้นอาจจะเปนได้ | พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองทัพมาครั้งนี้ ได้เปรียบเมืองไทยหลายอย่าง กำลังไพร่พลก็มีมากกว่าครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองเคยเปนแม่ทัพ คน ๑ เข้ามารบเมืองไทยครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ รู้ภูมิ์แผนที่เมืองไทย รู้กำลังแลวิธีรบของ ไทยอยู่ชัดเจน จึงจัดเตรียมการเข้ามาทุกอย่าง ที่จะแก้ไขความขัดข้องซึ่งเคยมีในครั้งก่อน เปนต้นว่า ครั้งก่อนยกกองทัพเข้าทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ตรงเข้ามากรุงศรีอยุทธยา ถูก ไทยเอาพระนครที่มั่นตั้งรับแล้วให้กองทัพหัวเมืองเหนือลงมา ตีโอบหลัง คราวนี้พระเจ้าหงษาวดียกเข้ามาทางด่านแม่สอด จะตีทำลายกำลังหัวเมืองเหนือเสียก่อน แล้วจึงยกลงมาตีกรุงศรีอยุทธยา ไม่มีกำลังข้างนอกช่วยได้ สะเบียงอาหารที่เคยฝืดเคืองขัดข้อง คราวนี้ได้เมืองเชียงใหม่ไว้ในอำนาจ ให้พวกเชียงใหม่เปนกองสะเบียงลำเลียงส่งทางเรือ ในเรื่องที่สู้ กำลังปืนใหญ่ของไม่ได้ในคราวก่อนนั้น คราวนี้พระเจ้าหงษาวดีก็เตรียมปืนใหญ่เข้ามาให้พอ แลจ้างโปจุเกตเข้ามาเปนทหารปืนใหญ่ ๔๐๐ คน กองทัพหงษาวดียกเข้ามาคราวนี้ จัดเปน ๕ ทัพ มีจำนวนพลมาก (พม่าว่า ๕ แสน) ยกออกจากเมืองหงษาวดีเมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๙๒๕ พุทธศักราช ๒๑๐๖ ตรงมาตีเมืองกำแพงเพ็ชร์ก่อน เมื่อตีได้เมืองกำแพงเพ็ชร์แล้ว จึงแยกกองทัพเปน ๓ กอง ให้ไปตีเมืองสุโขไทยกอง ๑ ไปตีเมืองสวรรคโลก กอง ๑ ไปตีเมืองพิศณุโลกกอง ๑ เมืองสุโขไทยสู้รบเปนสามารถ จนพระยาศุโขไทยตายในที่รบ พระเจ้าหงษาวดีจึงได้เมืองศุโขไทย แต่เมืองสวรรคโลกนั้นเมื่อได้ข่าวว่าเสียเมืองศุโขไทยแล้ว ก็ยอมแพ้โดยแพ้โดยดีไม่ได้ต่อสู้ พระเจ้าหงษาวดียกมาตีเมืองพิศณุโลก ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ พระเจ้าหงษาวดีตีได้เมืองพิศณุโลกแลจับพระมหาธรรมราชาได้ เนื้อความที่กล่าวมาด้วยเรื่องพระเจ้าหงษาวดีตีหัวเมืองเหนือตอนนี้ กล่าวตามพงษาวดารพม่า ในหนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐมีเนื้อความปรากฎต่อออกไปว่า ครั้งนั้นเมืองพิศณุโลกขาดสะเบียง แลเกิดไข้ทรพิศม์ขึ้นในเมือง จึงเสียแก่พระเจ้าหงษาวดี เมื่อพระเจ้าหงษาวดีได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว เนื้อความทั้งปวงยุติต้องกันว่า พระเจ้าหงษาวดีเกลี้ยกล่อมพวกไทยข้างฝ่ายเหนือ มีพระมหาธรรมราชาเปนต้นให้เข้าด้วย ไม่ได้ทำอันตราย เช่นเก็บริบทรัพย์สมบัติ หรือกวาดต้อนครอบครัวไปเปนเชลย ให้รวบรวมเรือที่เมืองพิศณุโลก จัดเปนกองทัพเอาปืนใหญ่ลงในเรือ ให้พระเจ้าแปรราชอนุชาเปนนาทัพ ส่วนกองทัพบก ให้พระมหาอุปราชาอนุชาเปนกองกลาง พระเจ้าอังวะราชบุตร์เขยเปนปีกซ้าย ๒ กองนี้เข้าใจว่าเดิมฝั่งตวันออก พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพหลวงตามลงมา ที่กรุงศรีอยุทธยาก็จัดกองทัพให้พระราเมศวรคุมขึ้นไปช่วยหัวเมืองเหนือ แต่เห็นจะขึ้นไปช่วยไม่ทัน ด้วยปรากฎในพงษาวดารพม่าแต่ว่า พระราเมศวรคุมกองทัพเรือมีปืนใหญ่ขึ้นไปตั้งดักอยู่ ณ ที่แห่ง ๑ กองทัพบกหงษาวดียกลงมา ถูกไทยเอาปืนใหญ่ยิงต้องหยุดยั้งอยู่คราว ๑ จนกองทัพเรือของพวกหงษาวดีลงมาจากเมืองพิศณุโลก รบพุ่งตีกองทัพเรือของไทยแตกต้องถอยลงมาแล้ว จึงยกกองทัพตามลงมาตั้งล้อมกรุงศรีอยุทธยาไว้ ลักษณการรบคราวนี้ได้ความตามพงษาวดารพม่า ดูประหนึ่งว่า พม่าตั้งใจจะตัดกำลังปืนใหญ่ของไทยนั้นเปนสำคัญ ไทยเอาปืนใหญ่ลงในเรือ แลปรากฎว่าใช้พวกโปจุเกตเหมือนกัน ไปเที่ยวยิงกองทัพพม่า พม่าเพียรทำลายเรือปืนใหญ่ของไทยได้จนหมดแล้ว จึงยกเข้ามาตั้งใกล้พระนคร พอได้ทางปืนใหญ่ เอาปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนครให้ถูกวัดวาบ้านเรือนแลผู้คนเปนอันตรายไปทุก ๆ วัน ฝ่ายไทยไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จึงขอหย่าทัพ พระเจ้าหงษาวดีเรียกเอาช้างเผือก ๔ ช้าง กับขอเอาตัวพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ซึ่งเปนหัวน่าในการต่อสู้ไปเสียด้วย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ก็ต้องบัญชาตาม ในหนังสือพงษาวดารพม่าว่าในครั้งนั้นพระเจ้าหงษาวดีเอาพระมหาจักรพรรดิ์ไปด้วย แลเรียกเอาเงินภาษีอากรซึ่งเก็บได้ ณ เมืองตะนาวศรีให้ส่งเปรของพม่าต่อไปด้วย ข้อที่ว่าเอาพระมหาจักรพรรดิไปนั้นไม่เห็นสม แลขัดกับเหตุการณ์ในเรื่องพระราชพงษาดาร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าไม่จริง แต่เรื่องเอาภาษีอากรเมืองตะนาวศรีนั้นอาจจะเปนได้ | ||
- | ===สงครามครั้งที่ ๔ | + | ====สงครามครั้งที่ ๔ คราวเสียพระนครครั้งแรก==== |
+ | เหตุสงครามคราวนี้ เกิดด้วยพระหงษาวดีตั้งพระไทยจะเอากรุงสยามเปนเรื่องขึนให้ได้ แลฝ่ายไทยเราก็แตกสามัคคีกัน มีเรื่องราวที่เปนสาเหตุปรากฎมาในหนังสือพระราชพงษาวดารดังนี้คือ พระไชยเชษฐาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งพระราชธานีอยู่เมืองเวียงจันทร์ มีราชสาสนมาขอพระเทพกระษัตรีย์ ราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เปนอรรคมเหษี ข้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ จะใคร่ได้กรุงศณีสัตนาหุตเปนกำลังช่วยต่อสู้พม่า จึงพระราชทานราชธิดา แต่เมื่อฤกษ์จะส่งไป พระเทพกระษัตริย์ประชวร ทำนองสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ไม่อยากจะให้ทางพระราชไมตรีเริศร้างไป จึงประทานพระแก้วฟ้า เห็นจะเปนราชธิดาเกิดด้วยพระสนมไปแทน ไปอยู่ได้ไม่ช้า ได้ความในพงษาวดารพม่าว่า พระเจ้าหงษาวดีให้ยกไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระไชยเชษฐาคุมกองทัพออกตั้งต่อสู้อยู่ในป่า พวกหงษาวดีตีเมืองเวียงจันทร์ได้จับได้ครอบครัวของพระไชยเชษฐา แต่ไม่ชนะพระไชยเชษฐา ๆ ตีกองทัพหงษาวดีต้องเลิกถอนกลับไป ทำนองพระแก้วฟ้าจะหลบหนีได้ไม่ถูกจับ พระไชยเชษฐาได้พระนครคืน จะต้องครอบครัวใหม่ จึงให้เชิญพระแก้วฟ้ามาส่งที่กรุงศรีอยุทธยา ว่าแต่ก่อนได้ทูลขอพระเทพกระษัตรี ด้วยเห็นว่าเปนราชธิดาของสมเด็จพระสุริโยไทยซึ่งทิวงคตโดยความกตัญญูพระเกียรติยศ ที่พระราชทานพระแก้วฟ้าไปไม่ตรงต่อความประสงค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงส่งพระเทพกระษัตรีย์ขึ้นไป การเรื่องนี้ทราบถึงพระมหาธรรมราชาตั้งแต่แรก พระมหาธรรมราชาลอบส่งข่าวไปถึงหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีจึงให้ทัพพม่ามาตั้งซุ่มอยู่ พอพวกไทยพวกล้านช้าง เชิญพระเทพกระษัตรีย์ ไปถึงแขวงเมืองเพ็ชรบูรณ์ พวกพม่าก็เข้าชิงพระเทพกระษัตรีย์ พาไปถวายพระเจ้าหงษาวดี เปนเหตุให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระไชยเชษฐาขัดเคือง ด้วยรู้ว่าเปนความคิดของพระมหาธรรมราชาจึง อุบายให้พระไชยเชษฐายกกองทัพลงมาตีเมืองพิศณุโลก ข้างกรุงศรีอยุทธยา จะทำเปนแต่งกองทัพขึ้นไปช่วย แต่จะดีกระหนาบขึ้นไปจากข้างใต้อิกทาง ๑ พระมหาธรรมราชาที่กรุงศรีอยุทธยา ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุทธยาในเวลาจัดกองทัพจะขึ้นไปเมืองพิศณุโลกนั้น ให้พระยาสีหราชเดชกับพระท้ายน้ำล่วงน่าขึ้นไปก่อน เปนอย่างให้ไปช่วยพระมหาธรรมราชารักษาเมืองพิศณุโลกแต่สั่งไปให้เปนไส้ศึกเมื่อภายหลัง พระยาสีหราชเดโชกับพระท้ายน้ำกลับเอาความลับไปทูลพระมหาธรรมราชา พอกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาถึงก็เข้าตั้งล้อมเมืองพิศณุโลก พระมหินทร์ก็ยกกองทัพเรือกรุงศรีอยุทธยาขึ้นไปถึงในคราวเดียวกัน ทัพหลวงตั้งอยู่ปากพิง ทัพน่าไปตั้งที่วัดจุฬามณี พระมหาธรรมราชาให้ทำแพไฟปล่อยลงมาเผาเรือทัพน่าแตกพ่ายลงมาจนถึงทัพหลวง ส่วนทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกเข้าปล้นเมืองพิศณุโลกหลายครั้งตีเมืองยังไม่ได้ พอกองทัพพม่าซึ่งพระเจ้าหงษาวดีให้เข้ามาช่วยพระมหาธรรมราชาเข้ามาถึง กองทัพเมืองศรีสัตนาคนหุตก็เลิกถอยไป กองทัพพระมหินทร์ก็เลิกกลับลงมากรุงศรีอยุทธยา พระมหาธรรมราชาจึงออกไปเมืองหงษาวดี ไปทูลความทั้งปวงแก่พระเจ้าหงษาวดี ในเวลาพระมหาธรรมราชาไม่อยู่นั้น พระมหินทร์ขึ้นไปรับพระวิสุทธิกระษัตรีย์ราชธิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ซึ่งเปนอรรคชายาของพระมหาธรรมราชา กับพระเอกาทศรถราชบุตร์องค์น้อย พาลงมาไว้กรุงศรีอยุทธยา เวลานั้นสมเด็จพระนเรศวรอยู่กับพระมหาธรรมราชาที่เมืองหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีเห็นไทยแตกกันขึ้นก็จริงเปนที่ก็ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุทธยาเมื่อปี มะโรง จุลศักราช ๙๓๐ พุทธศักราช ๒๑๑๑ จัดเปนกองทัพ ๗ ทัพ จำนวนพล (พม่าว่า) ห้าแสน พระมหาธรรมราชาคุมกองทัพไทยฝ่ายเหนือลงมาช่วยพระเจ้าหงษาวดีด้วยทัพ ๑ ทัพพม่ายกเข้ามาคราวนี้เดินทางด้านแม่สอดเหมือนคราวก่อน เข้ามาได้สดวกด้วยไม่ต้องรบพุ่งตามระยะทาง ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุทธยาตั้งใจต่อสู้ด้วยเอาพระนครเปนที่มั่นอย่างเดียว การที่ต่อสู้ครั้งนี้ได้ความตามหนังสือพระราชพงษาวดารว่า ผู้คนข้างฝ่ายไทยแตกหนีเข้าป่าเสียมาก เกณฑ์ระดมคนไม่ได้มากเหมือนคราวก่อน การบังคับบัญชาของพระมหินทร์ก็ไม่สิทธ์ขาด สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงผนวชอยู่ ต้องเชิญเสด็จลาผนวชออกมาทรงบัญชาการ แต่มีพระยารามรณรงค์ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพ็ชร์คนเก่าคน ๑ ซึ่งไม่เข้ากับพระมหาธรรมราชา มาทำราชการอยู่ในกรุง ฯ เปนคนเข้มแข็ง จัดการป้องกันพระนครในเวลานั้นลำน้ำทางด้านตวันออก ตั้งแต่วัดมณฑปลงมาจนวัดพระเจ้าพนัญเชิงยังเปนคลองคูพระนคร กำแพงพระนครข้างด้านตวันออกนั้น ก็ยังอยู่ลึกเข้าไปมาก ด้านนี้ไม่มีแม้น้ำใหญ่เปนคูเหมือนอย่างด้านอื่น ตั้งค่ายรายตลอด แต่ข้างด้านอื่นที่มีแม่น้ำใหญ่นั้น ปรากฎว่าปลูกหอรบเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งรายตลอด แลในคราวนี้ไทยหาปืนใหญ่เตรียมไว้มากกว่าคราวก่อน ๆ พม่าตั้งล้อมเข้าตีปล้นพระนครหลายครั้งก็เข้าไม่ได้ ไทยขอกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกลงมาตีโอบหลัง พม่าก็ตีกองทัพกรงุศรีสัตนาคนหุตแตกไป พระเจ้าหงษาวดีตั้งล้อมกรุงศรีอยุทธยาอยู่ถึง ๗ เดือน ตีหักเอาพระนครอย่างไร ๆ ก็ไม่ได้ ด้วยข้างด้านใต้ลำแม่น้ำเจ้าพระยาน้ำลึกลงไปจนออกปากน้ำ ไทยอาไศรยใช้เรือใหญ่หาเครื่องสาตราวุธแลสะเบียงอาหารส่งเข้าพระนครได้ แต่ถึงกระนั้นข้างไทยในพระนครก็บอบช้ำอิดโรยลงทุกที สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ก็สวรรคต พระเจ้าหงษาวดีเห็นจวนจะถึงฤดูน้ำท่วม จึงให้พระมหาธรรมมหาราชาบอกเข้าไปในพระนครว่า พระเจ้าหงษาวดีขัดเคืองพระยารามรณรงค์คนเดียว ถ้าส่งตัวไปถวายแล้ว เห็นจะยอมเปนไมตรี สมเด็จพระมหินทร์สำคัญว่าจริง ส่งตัวพระยารามรณรงค์ออกไปให้ พระเจ้าหงษาวดีก็ไม่เลิกทัพ กลับเร่งการตีพระนครทางข้างด้านตวันออก ข้างไทยก็ยังต่อสู้แขงแรง พระเจ้าหงษาวดีเสียรี้พลลงอีกเปนอันมาก เห็นจะตีเอาพระนครไม่ได้ จึงเกลี้ยกล่อมพระยาจักรีที่เอาตัวไปพร้อมกับพระราเมศวร ให้รับเปนไส้ศึก แล้วปล่อยตัวให้หนีเข้าไปในพระนคร ข้างสมเด็จพระมหินทร์สำคัญว่าพระยาจักรีหนีเข้ามาได้เอง เห็นเปนผู้ที่ต่อสู้พม่าแขงแรงมาแต่ก่อน ก็มอบการงานให้พระยาจักรีบัญชาการรักษาพระนครแทนพระยารามรณรงค์ ข้างพระยาจักรีเปนไส้ศึกแกล้งถอดถอนผลัดเปลียนแม่ทัพ นายกองที่เข้มแขงไปเสียจากน่าที่ ก็เสียพระนครแก่พระเจ้าหงษาวดี เมื่อ ณ วันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๓๑ พุทธศักราช ๒๑๑๒ ด้วยความทรยศของไทยด้วยกันเอง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | พระเจ้าหงษาวดีได้กรุงศรีอยุทธยาแล้ว จึงตั้งพระมหาธรรมราชาให้ครองราชสมบัติ เอาสมเด็จพระมหินทร์ไปด้วย แลเก็บริบทรัพย์สมบัติแลกวาดต้อนผู้คนพลเมืองไปเปนเชลยเสียเกือบสิ้นพระนคร ปรากฎในพระราชพงษาวดารว่า เหลือกำลังไว้ให้รักษาพระนครรวมทั้งชายเพียง ๑๐,๐๐๐ คน แล้วแต่งกองทัพพม่าให้อยู่กำกับที่ในกรุง แลตามหัวเมืองที่สำคัญทุกแห่ง แต่นั้นกรุงศรีอยุทธยาก็ตกลงเปนเมืองประเทศราชขึ้นพม่า อยู่ ๑๕ ปี | ||
+ | ===แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา=== | ||
+ | |||
===สงครามครั้งที่ ๕ คราวสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิศรภาพ=== | ===สงครามครั้งที่ ๕ คราวสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิศรภาพ=== | ||
===สงครามครั้งที่ ๖ คราวรบกับพระญาพสิม=== | ===สงครามครั้งที่ ๖ คราวรบกับพระญาพสิม=== |
การปรับปรุง เมื่อ 09:24, 23 กันยายน 2552
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ เป็นส่วนหนึ่งใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖
บทประพันธ์
แผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช
สงครามครั้งที่ ๑ คราวพม่ายกมาตีเมืองเชียงกราน
เมื่อปีจอ จุลศักราช ๙๐๐ พ.ศ.๒๐๘๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปรากฎว่าพม่ายกทัพมาตีอาณาเขตรสยามที่เมืองเชียงกราน เมืองเชียงกรานนี้เปนเมืองเดียวกับเมืองแครง มอญเรียกว่า “เดีงกรายน์” เดี๋ยวนี้อยู่ในแดนมอญไม่ห่างด่านเม้ยวะดี ทำครั้งนั้นอาณาเขตรไทย จะออกไปถึงแม่น้ำสละวิน เมืองเชียงกรานจึงอยู่ในอาณาเขตรไทย สงครามคราวนี้มีเรื่องปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดาร หนังสือพงษาวดารพม่า แลจดหมายเหตุของปิ่นโตโปจุเจตประกอบกันว่า มังตราพม่าเปนโอรสของเจ้าเมืองตองอูตั้งตัวเปนใหญ่ได้หัวเมืองพม่ารามัญเปนอันมากแล้วราชาภิเศกขนานพระนามว่า “พระเจ้าตะเบงชเวตี้” แปลว่า พระเจ้าสุวรรณเอกฉัตร แล้วยกกองทัพเข้ามาตีได้เมืองเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชากองทัพหลวงไป ได้สู้รบกันเปนสามารถ กองทัพไทยตีกองทัพพม่ารามัญพ่ายถอยไป ไทยได้เมืองเชียงกรานคืน
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
สงครามครั้งที่ ๒ คราวสมเด็จพระสุรโยไทยขาดคอช้าง
ปีมะเมีย จุลศักราช ๙๐๘ พ.ศ. ๒๐๘๙ สมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต เกิดจลาจลในกรุงศรีอยุทธยา เหตุด้วยท้าวศรีสุดาจัทร์ผู้เปนพระชนนีสมเด็จพระยอดฟ้าเปนใจให้ขุนวรวงษาธิราชผู้เปนผู้ชิงราชสมบัติ เวลานั้นพระเจ้าตะเบงชเวตี้ พม่าที่เคยรบกับสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เมืองเชียงกราน มีชัยชนะ ได้ประเทศที่ใกล้เคียง ทั้งมอญแลพม่ารวมไว้ในอำนาจแล้วตั้งเมืองหงษาวดีเปนราชธานี จึงปรากฏพระนามว่า พระเจ้าหงษาวดี เมื่อได้ทราบข่าวว่าเกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงศรีอยุทธยา เห็นเปนท่วงทีจะขยายอำนาจแลแก้ความเสื่อมเสียที่ปรากฎว่าเคยรบแพ้ไทย จึงยกกองทัพใหญ่เข้าทางด้านพระเจดีย์ย์ ๓ องค์ ฝ่ายข้างกรุงสรีอยุทธยา เมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์กับขุนวรวงษาธิราชคบคิดกับสมเด็จพระยอดฟ้าปลงพระชนม์แล้ว ขุนวรวงษาธิราชครองราชสมบัติอยู่ได้ ๔๒ วัน พวกขุนนางข้าราชการก็ช่วยกันจับท้าวศรีสุดาจันร์กับวรวงษาธิราชฆ่าเสีย เชิญพระเทียรราชาราช อนุชาสมเด็จพระไชยราชาธิราชฆ่าเสียขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปีวอก จุลศักราช ๙๙๐ พ.ศ. ๒๐๙๑ ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสวยราชย์ได้ ๗ เดือน พระเจ้าหงษาวดี ตะเบงชเวตี้ก็ยกกองทัพเข้ามา ในครั้งนั้นไทยมีกำลังสมบูรณ์ แต่เสียเปรียบพม่าอยู่อย่าง ๑ ด้วยพม่าทำศึกสงครามมีไชยชนะต่อติดกันมาหลายปี กำลังชำนาญแลอิ่มเอิบในการศึก ไทยแต่งกองทัพออกไปต่อสู้ดูกำลังพม่าที่เมืองสุพรรณ เห็นเปนศึกใหญ่ทัพกษัตริย์ จะต่อสู้ทางหัวเมืองไม่ไหว จึงถอยทัพเข้ามาตั้งมั่นที่กรุงศรีอยุทธยา กองทัพพม่าก็ยกตามเข้ามาตั้งล้อมกรุง ฯ ไว้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ยกกองทัพออกไปรบ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรเสียทีข้าศึก สมเด็จพระสุริโยไทยพระอรรคมเหษี แต่งพระองค์เปนชายออกไปด้วยเห็นพระราชสามีจะเปนอันตราย จึงขับช้างต่างพระที่นั่งเข้าชนให้พระราชสามีพ้นภัยมาได้ แต่องค์สมเด็จพระศรีสุริโยไทยต้องอาวุธข้าศึกทิวงคตในสมรภูมินั้น ไทยเห็นเหลือกำลังจะต่อสู้ข้าศึกด้วยการรบพุ่งในสนาม จึงเปลี่ยนอุบายการรบ เอาพระนครที่มั่นตั้งต่อสู้ แล้วสั่งให้พระมหาธรรมราชาราชบุตรเขยซึ่งครองเมืองพิษณุโลก รวบรวมพลเมืองฝ่ายเหนือยกกองทัพมาตีโอบข้าศึก ฝ่ายข้างพม่ายกเข้ามาปล้นพระนครหลายคราวตีไม่ได้ จะเข้าตั้งค่ายประชิด ไทยก็เอาปืนใหญ่ลงเรือเที่ยวไล่ยิงเข้ามาไม่ได้ พม่าตั้งล้อมพระนครอยู่เสบียงอาหารเบาบางลง พอได้ข่าวว่าทัพเมืองเหนือจะลงมาช่วยกรุงศรีอยุทธยา ก็จำเปนต้องเลิกทัพกลับไป จะกลับไปทางเดิมสะเบียงอาหารตามทางที่มาย่อยยับเสียหายหมด จึงยกกลับไปทางข้างเหนือ จะไปออกทางด่านแม่สอด ซึ่งเรียกอีกนาม ๑ ว่า แม่ลำเมาทางเมืองตาก ความปรากฎในหนังสือพงษาวดารพม่าว่า เมื่อพระเจ้าหงษาวดีถอยทัพไปคราวนั้น พระราเมศวร ราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ คุมกองทัพไทยออกติดตามตีทัพพม่าทาง ๑ พระมหาธรรมราชาเมืองพิศณุโลก ติดตามตีอิกทาง ๑ ฆ่าพม่าล้มตายมาก เมื่อพระเจ้าหงษาวดี ขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพ็ชร์ กองทัพไทยทั้ง ๒ กองตามไปทางอิก ๓ วันจะทัพกองทัพหลวง พระเจ้าหงษาวดีจึงคิดกลอุบายแต่งกองทัพมาซุ่ม แล้วสั่งให้รบล่อกองทัพไทยเข้าไป ฝ่ายไทยหลงไล่ละเลิงเข้าไป พม่าล้อมจับได้ทั้งพระราเมศวรแลพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จึงยอมเปนไมตรี หย่าทัพกับพม่า ยอมให้ช้างชนะงาแก่พระเจ้าแก่พระเจ้าหงษาวดี ๒ ช้างพระเจ้าหงษาวดีจึงปล่อยพระราเมศวรและพระมหาธรรมราชากลับมา
พระเจ้าหงษาวดีตะเบงชเวตี้กลับไปถึงเมืองหงษาวดี แล้วไม่ช้าก็เกิดประพฤติดุร้ายด้วยอารมณ์ฟั่นเฟือน จนพวกขุนนางล่อลวงให้ไปจับช้างเผือก แล้วจับพระเจ้าหงษาวดีตะเบงชเวตี้ฆ่าเสีย หัวเมืองมอญพม่าแลไทยใหญ่ที่เคยขึ้นหงษาวดี พากันกระด้างกระเดื่องปานเมืองจลาจลอยู่กว่าสิบปี ทางนี้ปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ให้ตระเตรียมการป้องกันพระนครหลายอย่าง เปนต้นว่ากำแพงกรุงเก่า แต่ก่อนมาเปนแต่ถมดินเปนเชิงเทินแล้วปักละเนียดไม้ข้างบน แก้ไขก่อเปนกำแพงอิฐปูนเมื่อในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ์คราวนี้ หัวเมืองรายรอบพระนครที่มีเชิงเทินเปนที่มั่นคงมาแต่เดิม เห็นว่าจะรักษาไม่ได้ จะไม่ให้ข้าศึกยึดเปนที่มั่นได้ ให้รื้อเชิงเทินกำแพงเสียทั้งเมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี เมืองนครนายก ส่วนหัวเมืองเหนือที่มีกำแพงของเดิมตั้งเมื่อพระร่วง ให้ทำป้อมคูต่อออกมาสำหรับสู้ทางปืนทั้งเมืองสวรรคโลก ศุโขไทย (แลเข้าใจว่าเมืองกำแพงเพ็ชร์ด้วย) ทางที่ข้าศึกจะเข้ามาที่ย่านเมืองยังห่าง ก็ให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ ทั้งเมืองนครไชยศรีแลเมืองสาครบุรี นอกจากนี้ตระเตรียมกำลังไพร่พลพาหะอิกหลายอย่าง ไม่ได้ประมาท
สงครามครั้งที่ ๓ คราวขอช้างเผือก
ทางเมืองหงษาวดี มีคนสำคัญขึ้นในพวกพม่าคน ๑ เปนพี่พระมเหษีพระเจ้าหงษาวดีตะเบงชเวตี้ ได้เปนแม่ทัพช่วยพระเจ้าหงษาวดีทำศึกสงครามมาแต่แรก พระเจ้าหงษาวดียกย่องให้มียศเปนบุเรงนอง แปลว่าพระเชษฐาธิราช เมื่อสิ้นหงษาวดีตะเบงชเวตี้แล้ว บุเรงนองพยายามรวบรวมกำลังเข้าปราบปรามหัวเมืองพม่ามอญแลไทยใหญ่ รวบรวมได้อาณาจักรของพระเจ้าตะเบงชเวตี้ไว้ในอำนาจทั้งหมดแล้ว ตั้งตัวเปนพระเจ้าหงษาวดีตีประเทศยะไข่แลเมืองเชียงใหม่ ได้อาณาเขตรขยายยิ่งออกไป จึงคิดจะมาตีกรุงศรีอยุทธยาอิก ด้วยพระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองเคยเปนแม่ทัพคน ๑ เข้ามารบเมืองไทยครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ รู้ภูมิฐานแลกำลังทั้งวิธีรบของไทยอยู่แล้ว เวลานั้นไม่มีสาเหตุอะไรกับเมืองไทย ความปรากฎว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์มีบุญญาภิหารได้ช้างเผือกถึง ๗ ช้าง ข้างพระเจ้าหงษาวดีไม่มีช้างเผือก จึงแกล้งมีพระราชสาสนเข้ามาขอช้างเผือก ๒ ช้าง เพื่อให้เปนเหตุ เพราะช้างเผือกเปนของคู่บารมีของพระราชาธิบดี ถ้ายอมถวายแก่พระราชประเทศอื่น ก็เหมือนหนึ่งว่า ยอมอยู่ในอำนาจของพระราชาประเทศนั้น ถ้าหากว่าไม่ยอมถวาย ก็จะถือว่าที่ขัดขืนนั้นเปนการหมิ่นประมาท พอเปนเหตุที่ยกกองทัพเข้ามารบพุ่งปราบปราม ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุทธยา เมื่อได้รับพระราชสาสนของพระเจ้าหงษาวดี ก็รู้เท่าถึงการตลอดสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จึงประชุมข้าราชการปฤกษาความเห็น ข้าราชการแตกเปน ๒ ฝ่าย ฝ่าย ๑ เห็นว่าพระเจ้าหงษาวดี บุเรงนองมีกำลังมาก ยิ่งกว่าพระเจ้าเบงชเวตี้ กำลังไทยในเวลานั้นเห็นจะสู้ไม่ไหว พวกนี้เห็นว่ายอมให้ช้างเผือกเสีย ๒ ช้าง อย่าให้มีเหตุวิวาทบาดหมางกับพระเจ้าหงษาวดีดีกว่า แต่อิกฝ่าย ๑ มีพระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ พระยาจักรี แลพระสุนทรสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ ทั้ง ๓ นี้ เปนต้น ว่าการที่พระเจ้าหงษาวดีขอช้างเผือกนั้นแต่เปนอุบายที่จะให้เกิดเหตุหาอำนาจครอบงำกรุงสยาม ถึงให้ช้างเผือกไป พระเจ้าหงษาวดีก็คงหาเรื่องอื่นให้เปนเหตุเข้ามาเบียดเบียนอิก ที่จะให้ช้างเผือกไม่เปนเครื่องป้องกันเหตุร้ายที่มาจากหงษาวดีได้ เปนแต่จะเสียพระเกียรติไปเปล่า ๆ ไหน ๆ อยู่ในจะเกิดเหตุรบพุ่งกันกับพระเจ้าหงษาวดีแล้ว รักษาพระเกียรติยศไว้จะดีกว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเห็นชอบด้วย จึงมีพระราชสาสนตอบไปยังพระเจ้าหงษาวดีว่า ช้างเผือกเปนของได้ด้วยบุญญาภินิหาร ถ้าพระเจ้าหงษาวดีบำเพ็ญพระบารมีให้แก่กล้า ก็คงจะได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมี ไม่ควรจะต้องทรงวิตก พระเจ้าหงษาวดีจึงถือเอาเหตุที่ไม่ยอมให้ช้างเผือกนั้น ยกกองทัพเข้ารบเมืองไทย
พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองทัพมาครั้งนี้ ได้เปรียบเมืองไทยหลายอย่าง กำลังไพร่พลก็มีมากกว่าครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองเคยเปนแม่ทัพ คน ๑ เข้ามารบเมืองไทยครั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ รู้ภูมิ์แผนที่เมืองไทย รู้กำลังแลวิธีรบของ ไทยอยู่ชัดเจน จึงจัดเตรียมการเข้ามาทุกอย่าง ที่จะแก้ไขความขัดข้องซึ่งเคยมีในครั้งก่อน เปนต้นว่า ครั้งก่อนยกกองทัพเข้าทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ตรงเข้ามากรุงศรีอยุทธยา ถูก ไทยเอาพระนครที่มั่นตั้งรับแล้วให้กองทัพหัวเมืองเหนือลงมา ตีโอบหลัง คราวนี้พระเจ้าหงษาวดียกเข้ามาทางด่านแม่สอด จะตีทำลายกำลังหัวเมืองเหนือเสียก่อน แล้วจึงยกลงมาตีกรุงศรีอยุทธยา ไม่มีกำลังข้างนอกช่วยได้ สะเบียงอาหารที่เคยฝืดเคืองขัดข้อง คราวนี้ได้เมืองเชียงใหม่ไว้ในอำนาจ ให้พวกเชียงใหม่เปนกองสะเบียงลำเลียงส่งทางเรือ ในเรื่องที่สู้ กำลังปืนใหญ่ของไม่ได้ในคราวก่อนนั้น คราวนี้พระเจ้าหงษาวดีก็เตรียมปืนใหญ่เข้ามาให้พอ แลจ้างโปจุเกตเข้ามาเปนทหารปืนใหญ่ ๔๐๐ คน กองทัพหงษาวดียกเข้ามาคราวนี้ จัดเปน ๕ ทัพ มีจำนวนพลมาก (พม่าว่า ๕ แสน) ยกออกจากเมืองหงษาวดีเมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๙๒๕ พุทธศักราช ๒๑๐๖ ตรงมาตีเมืองกำแพงเพ็ชร์ก่อน เมื่อตีได้เมืองกำแพงเพ็ชร์แล้ว จึงแยกกองทัพเปน ๓ กอง ให้ไปตีเมืองสุโขไทยกอง ๑ ไปตีเมืองสวรรคโลก กอง ๑ ไปตีเมืองพิศณุโลกกอง ๑ เมืองสุโขไทยสู้รบเปนสามารถ จนพระยาศุโขไทยตายในที่รบ พระเจ้าหงษาวดีจึงได้เมืองศุโขไทย แต่เมืองสวรรคโลกนั้นเมื่อได้ข่าวว่าเสียเมืองศุโขไทยแล้ว ก็ยอมแพ้โดยแพ้โดยดีไม่ได้ต่อสู้ พระเจ้าหงษาวดียกมาตีเมืองพิศณุโลก ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ พระเจ้าหงษาวดีตีได้เมืองพิศณุโลกแลจับพระมหาธรรมราชาได้ เนื้อความที่กล่าวมาด้วยเรื่องพระเจ้าหงษาวดีตีหัวเมืองเหนือตอนนี้ กล่าวตามพงษาวดารพม่า ในหนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐมีเนื้อความปรากฎต่อออกไปว่า ครั้งนั้นเมืองพิศณุโลกขาดสะเบียง แลเกิดไข้ทรพิศม์ขึ้นในเมือง จึงเสียแก่พระเจ้าหงษาวดี เมื่อพระเจ้าหงษาวดีได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว เนื้อความทั้งปวงยุติต้องกันว่า พระเจ้าหงษาวดีเกลี้ยกล่อมพวกไทยข้างฝ่ายเหนือ มีพระมหาธรรมราชาเปนต้นให้เข้าด้วย ไม่ได้ทำอันตราย เช่นเก็บริบทรัพย์สมบัติ หรือกวาดต้อนครอบครัวไปเปนเชลย ให้รวบรวมเรือที่เมืองพิศณุโลก จัดเปนกองทัพเอาปืนใหญ่ลงในเรือ ให้พระเจ้าแปรราชอนุชาเปนนาทัพ ส่วนกองทัพบก ให้พระมหาอุปราชาอนุชาเปนกองกลาง พระเจ้าอังวะราชบุตร์เขยเปนปีกซ้าย ๒ กองนี้เข้าใจว่าเดิมฝั่งตวันออก พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพหลวงตามลงมา ที่กรุงศรีอยุทธยาก็จัดกองทัพให้พระราเมศวรคุมขึ้นไปช่วยหัวเมืองเหนือ แต่เห็นจะขึ้นไปช่วยไม่ทัน ด้วยปรากฎในพงษาวดารพม่าแต่ว่า พระราเมศวรคุมกองทัพเรือมีปืนใหญ่ขึ้นไปตั้งดักอยู่ ณ ที่แห่ง ๑ กองทัพบกหงษาวดียกลงมา ถูกไทยเอาปืนใหญ่ยิงต้องหยุดยั้งอยู่คราว ๑ จนกองทัพเรือของพวกหงษาวดีลงมาจากเมืองพิศณุโลก รบพุ่งตีกองทัพเรือของไทยแตกต้องถอยลงมาแล้ว จึงยกกองทัพตามลงมาตั้งล้อมกรุงศรีอยุทธยาไว้ ลักษณการรบคราวนี้ได้ความตามพงษาวดารพม่า ดูประหนึ่งว่า พม่าตั้งใจจะตัดกำลังปืนใหญ่ของไทยนั้นเปนสำคัญ ไทยเอาปืนใหญ่ลงในเรือ แลปรากฎว่าใช้พวกโปจุเกตเหมือนกัน ไปเที่ยวยิงกองทัพพม่า พม่าเพียรทำลายเรือปืนใหญ่ของไทยได้จนหมดแล้ว จึงยกเข้ามาตั้งใกล้พระนคร พอได้ทางปืนใหญ่ เอาปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนครให้ถูกวัดวาบ้านเรือนแลผู้คนเปนอันตรายไปทุก ๆ วัน ฝ่ายไทยไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จึงขอหย่าทัพ พระเจ้าหงษาวดีเรียกเอาช้างเผือก ๔ ช้าง กับขอเอาตัวพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ซึ่งเปนหัวน่าในการต่อสู้ไปเสียด้วย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ก็ต้องบัญชาตาม ในหนังสือพงษาวดารพม่าว่าในครั้งนั้นพระเจ้าหงษาวดีเอาพระมหาจักรพรรดิ์ไปด้วย แลเรียกเอาเงินภาษีอากรซึ่งเก็บได้ ณ เมืองตะนาวศรีให้ส่งเปรของพม่าต่อไปด้วย ข้อที่ว่าเอาพระมหาจักรพรรดิไปนั้นไม่เห็นสม แลขัดกับเหตุการณ์ในเรื่องพระราชพงษาดาร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าไม่จริง แต่เรื่องเอาภาษีอากรเมืองตะนาวศรีนั้นอาจจะเปนได้
สงครามครั้งที่ ๔ คราวเสียพระนครครั้งแรก
เหตุสงครามคราวนี้ เกิดด้วยพระหงษาวดีตั้งพระไทยจะเอากรุงสยามเปนเรื่องขึนให้ได้ แลฝ่ายไทยเราก็แตกสามัคคีกัน มีเรื่องราวที่เปนสาเหตุปรากฎมาในหนังสือพระราชพงษาวดารดังนี้คือ พระไชยเชษฐาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งพระราชธานีอยู่เมืองเวียงจันทร์ มีราชสาสนมาขอพระเทพกระษัตรีย์ ราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เปนอรรคมเหษี ข้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ จะใคร่ได้กรุงศณีสัตนาหุตเปนกำลังช่วยต่อสู้พม่า จึงพระราชทานราชธิดา แต่เมื่อฤกษ์จะส่งไป พระเทพกระษัตริย์ประชวร ทำนองสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ไม่อยากจะให้ทางพระราชไมตรีเริศร้างไป จึงประทานพระแก้วฟ้า เห็นจะเปนราชธิดาเกิดด้วยพระสนมไปแทน ไปอยู่ได้ไม่ช้า ได้ความในพงษาวดารพม่าว่า พระเจ้าหงษาวดีให้ยกไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระไชยเชษฐาคุมกองทัพออกตั้งต่อสู้อยู่ในป่า พวกหงษาวดีตีเมืองเวียงจันทร์ได้จับได้ครอบครัวของพระไชยเชษฐา แต่ไม่ชนะพระไชยเชษฐา ๆ ตีกองทัพหงษาวดีต้องเลิกถอนกลับไป ทำนองพระแก้วฟ้าจะหลบหนีได้ไม่ถูกจับ พระไชยเชษฐาได้พระนครคืน จะต้องครอบครัวใหม่ จึงให้เชิญพระแก้วฟ้ามาส่งที่กรุงศรีอยุทธยา ว่าแต่ก่อนได้ทูลขอพระเทพกระษัตรี ด้วยเห็นว่าเปนราชธิดาของสมเด็จพระสุริโยไทยซึ่งทิวงคตโดยความกตัญญูพระเกียรติยศ ที่พระราชทานพระแก้วฟ้าไปไม่ตรงต่อความประสงค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงส่งพระเทพกระษัตรีย์ขึ้นไป การเรื่องนี้ทราบถึงพระมหาธรรมราชาตั้งแต่แรก พระมหาธรรมราชาลอบส่งข่าวไปถึงหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีจึงให้ทัพพม่ามาตั้งซุ่มอยู่ พอพวกไทยพวกล้านช้าง เชิญพระเทพกระษัตรีย์ ไปถึงแขวงเมืองเพ็ชรบูรณ์ พวกพม่าก็เข้าชิงพระเทพกระษัตรีย์ พาไปถวายพระเจ้าหงษาวดี เปนเหตุให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระไชยเชษฐาขัดเคือง ด้วยรู้ว่าเปนความคิดของพระมหาธรรมราชาจึง อุบายให้พระไชยเชษฐายกกองทัพลงมาตีเมืองพิศณุโลก ข้างกรุงศรีอยุทธยา จะทำเปนแต่งกองทัพขึ้นไปช่วย แต่จะดีกระหนาบขึ้นไปจากข้างใต้อิกทาง ๑ พระมหาธรรมราชาที่กรุงศรีอยุทธยา ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุทธยาในเวลาจัดกองทัพจะขึ้นไปเมืองพิศณุโลกนั้น ให้พระยาสีหราชเดชกับพระท้ายน้ำล่วงน่าขึ้นไปก่อน เปนอย่างให้ไปช่วยพระมหาธรรมราชารักษาเมืองพิศณุโลกแต่สั่งไปให้เปนไส้ศึกเมื่อภายหลัง พระยาสีหราชเดโชกับพระท้ายน้ำกลับเอาความลับไปทูลพระมหาธรรมราชา พอกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาถึงก็เข้าตั้งล้อมเมืองพิศณุโลก พระมหินทร์ก็ยกกองทัพเรือกรุงศรีอยุทธยาขึ้นไปถึงในคราวเดียวกัน ทัพหลวงตั้งอยู่ปากพิง ทัพน่าไปตั้งที่วัดจุฬามณี พระมหาธรรมราชาให้ทำแพไฟปล่อยลงมาเผาเรือทัพน่าแตกพ่ายลงมาจนถึงทัพหลวง ส่วนทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกเข้าปล้นเมืองพิศณุโลกหลายครั้งตีเมืองยังไม่ได้ พอกองทัพพม่าซึ่งพระเจ้าหงษาวดีให้เข้ามาช่วยพระมหาธรรมราชาเข้ามาถึง กองทัพเมืองศรีสัตนาคนหุตก็เลิกถอยไป กองทัพพระมหินทร์ก็เลิกกลับลงมากรุงศรีอยุทธยา พระมหาธรรมราชาจึงออกไปเมืองหงษาวดี ไปทูลความทั้งปวงแก่พระเจ้าหงษาวดี ในเวลาพระมหาธรรมราชาไม่อยู่นั้น พระมหินทร์ขึ้นไปรับพระวิสุทธิกระษัตรีย์ราชธิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ซึ่งเปนอรรคชายาของพระมหาธรรมราชา กับพระเอกาทศรถราชบุตร์องค์น้อย พาลงมาไว้กรุงศรีอยุทธยา เวลานั้นสมเด็จพระนเรศวรอยู่กับพระมหาธรรมราชาที่เมืองหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีเห็นไทยแตกกันขึ้นก็จริงเปนที่ก็ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุทธยาเมื่อปี มะโรง จุลศักราช ๙๓๐ พุทธศักราช ๒๑๑๑ จัดเปนกองทัพ ๗ ทัพ จำนวนพล (พม่าว่า) ห้าแสน พระมหาธรรมราชาคุมกองทัพไทยฝ่ายเหนือลงมาช่วยพระเจ้าหงษาวดีด้วยทัพ ๑ ทัพพม่ายกเข้ามาคราวนี้เดินทางด้านแม่สอดเหมือนคราวก่อน เข้ามาได้สดวกด้วยไม่ต้องรบพุ่งตามระยะทาง ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุทธยาตั้งใจต่อสู้ด้วยเอาพระนครเปนที่มั่นอย่างเดียว การที่ต่อสู้ครั้งนี้ได้ความตามหนังสือพระราชพงษาวดารว่า ผู้คนข้างฝ่ายไทยแตกหนีเข้าป่าเสียมาก เกณฑ์ระดมคนไม่ได้มากเหมือนคราวก่อน การบังคับบัญชาของพระมหินทร์ก็ไม่สิทธ์ขาด สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงผนวชอยู่ ต้องเชิญเสด็จลาผนวชออกมาทรงบัญชาการ แต่มีพระยารามรณรงค์ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพ็ชร์คนเก่าคน ๑ ซึ่งไม่เข้ากับพระมหาธรรมราชา มาทำราชการอยู่ในกรุง ฯ เปนคนเข้มแข็ง จัดการป้องกันพระนครในเวลานั้นลำน้ำทางด้านตวันออก ตั้งแต่วัดมณฑปลงมาจนวัดพระเจ้าพนัญเชิงยังเปนคลองคูพระนคร กำแพงพระนครข้างด้านตวันออกนั้น ก็ยังอยู่ลึกเข้าไปมาก ด้านนี้ไม่มีแม้น้ำใหญ่เปนคูเหมือนอย่างด้านอื่น ตั้งค่ายรายตลอด แต่ข้างด้านอื่นที่มีแม่น้ำใหญ่นั้น ปรากฎว่าปลูกหอรบเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งรายตลอด แลในคราวนี้ไทยหาปืนใหญ่เตรียมไว้มากกว่าคราวก่อน ๆ พม่าตั้งล้อมเข้าตีปล้นพระนครหลายครั้งก็เข้าไม่ได้ ไทยขอกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกลงมาตีโอบหลัง พม่าก็ตีกองทัพกรงุศรีสัตนาคนหุตแตกไป พระเจ้าหงษาวดีตั้งล้อมกรุงศรีอยุทธยาอยู่ถึง ๗ เดือน ตีหักเอาพระนครอย่างไร ๆ ก็ไม่ได้ ด้วยข้างด้านใต้ลำแม่น้ำเจ้าพระยาน้ำลึกลงไปจนออกปากน้ำ ไทยอาไศรยใช้เรือใหญ่หาเครื่องสาตราวุธแลสะเบียงอาหารส่งเข้าพระนครได้ แต่ถึงกระนั้นข้างไทยในพระนครก็บอบช้ำอิดโรยลงทุกที สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ก็สวรรคต พระเจ้าหงษาวดีเห็นจวนจะถึงฤดูน้ำท่วม จึงให้พระมหาธรรมมหาราชาบอกเข้าไปในพระนครว่า พระเจ้าหงษาวดีขัดเคืองพระยารามรณรงค์คนเดียว ถ้าส่งตัวไปถวายแล้ว เห็นจะยอมเปนไมตรี สมเด็จพระมหินทร์สำคัญว่าจริง ส่งตัวพระยารามรณรงค์ออกไปให้ พระเจ้าหงษาวดีก็ไม่เลิกทัพ กลับเร่งการตีพระนครทางข้างด้านตวันออก ข้างไทยก็ยังต่อสู้แขงแรง พระเจ้าหงษาวดีเสียรี้พลลงอีกเปนอันมาก เห็นจะตีเอาพระนครไม่ได้ จึงเกลี้ยกล่อมพระยาจักรีที่เอาตัวไปพร้อมกับพระราเมศวร ให้รับเปนไส้ศึก แล้วปล่อยตัวให้หนีเข้าไปในพระนคร ข้างสมเด็จพระมหินทร์สำคัญว่าพระยาจักรีหนีเข้ามาได้เอง เห็นเปนผู้ที่ต่อสู้พม่าแขงแรงมาแต่ก่อน ก็มอบการงานให้พระยาจักรีบัญชาการรักษาพระนครแทนพระยารามรณรงค์ ข้างพระยาจักรีเปนไส้ศึกแกล้งถอดถอนผลัดเปลียนแม่ทัพ นายกองที่เข้มแขงไปเสียจากน่าที่ ก็เสียพระนครแก่พระเจ้าหงษาวดี เมื่อ ณ วันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๓๑ พุทธศักราช ๒๑๑๒ ด้วยความทรยศของไทยด้วยกันเอง
พระเจ้าหงษาวดีได้กรุงศรีอยุทธยาแล้ว จึงตั้งพระมหาธรรมราชาให้ครองราชสมบัติ เอาสมเด็จพระมหินทร์ไปด้วย แลเก็บริบทรัพย์สมบัติแลกวาดต้อนผู้คนพลเมืองไปเปนเชลยเสียเกือบสิ้นพระนคร ปรากฎในพระราชพงษาวดารว่า เหลือกำลังไว้ให้รักษาพระนครรวมทั้งชายเพียง ๑๐,๐๐๐ คน แล้วแต่งกองทัพพม่าให้อยู่กำกับที่ในกรุง แลตามหัวเมืองที่สำคัญทุกแห่ง แต่นั้นกรุงศรีอยุทธยาก็ตกลงเปนเมืองประเทศราชขึ้นพม่า อยู่ ๑๕ ปี