นิราศหนà¸à¸‡à¸„าย
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…')
แตกต่างถัดไป →
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 10:34, 21 กันยายน 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)
บทประพันธ์
๏ จะเริ่มเรื่องเมืองหนองคายจดหมายเหตุ | ในแดนเขตเขื่อนคุ้งกรุงสยาม | ||
บังเกิดพวกอ้ายฮ่อมาก่อความ | ทำสงครามกับลาวพวกชาวเวียง | ||
ซึ่งเจ้าเมืองเขตขัณฑ์ตะวันออก | ก็แต่งบอกเขียนหนังสือลงชื่อเสียง | ||
ในเขตแดนหนองคายเมืองรายเรียง | เมืองใกล้เคียงบอกบั่นกระชั้นมา | ||
ว่าล้วนพวกอ้ายฮ่อทรลักษณ์ | ประมาณสักสามพันล้วนกลั่นกล้า | ||
เที่ยวรบปล้นขนทรัพย์จับประชา | ลาวระอามิได้อาจขยาดกลัว ฯ | ||
๏ สมเด็จพระปรมินทร์บดินทร์เดช | ซึ่งปกเกศร่มเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||
สดับเรื่องเมืองบนกระมลมัว | ศึกพันพัวราษฎร์ประเทศในเขตคัน | ||
ด้วยไพร่บ้านพลเมืองจะเคืองขุ่น | ทรงการุญราษฎรคิดผ่อนผัน | ||
เชิญสมเด็จเจ้าพระยาปรึกษาพลัน | พร้อมด้วยพันธุพงศ์พระวงศ์วาน | ||
เห็นแต่เจ้าพระยามหินทร์เคาซิลลอ | เป็นเนื้อหน่อพงศ์เผ่าเหล่าทหาร | ||
พอจะเป็นแม่ทัพรับราชการ | ที่รำคาญขุ่นข้องเมืองหนองคาย | ||
แล้วจัดพระยา, พระ, หลวงทั้งปวงอีก | ให้เป็นปีกซ้ายขวาทัพหน้าหลาย | ||
ทั้งเกณฑ์เลขสมฉกรรจ์พันทนาย | ทั้งเลขจ่ายตามกรมระดมกัน | ||
เกณฑ์เลขทาสทั้งที่มีค่าตัว | ดูนุงนัวนายหมวดเร่งกวดขัน | ||
ผู้ที่เป็นมุลนายวุ่นวายครัน | บ้างใช้ปัญญาหลอกบอกอุบาย | ||
ว่าตัวทาสหลบลี้หนีไม่อยู่ | ข้างเจ้าหมู่เกาะตัวจำนำใจหาย | ||
ที่ตัวทาสหนีจริงวิ่งตะกาย | ทำวุ่นวายยับเยินเสียเงินทอง | ||
เกณฑ์ขุนหมื่นขึ้นใหม่ในเบี้ยหวัด | ขุนหมื่นตัดเกณฑ์ตามเอาสามสอง | ||
ท่านนายเวรเกณฑ์กวดเต็มหมวดกอง | เอาข้าวของเงินตราปัญญาดี | ||
เหล่าพวกขุนหมื่นไพร่ต้องไปทัพ | ที่มีทรัพย์พอจะจ่ายไม่หน่ายหนี | ||
สุ้จ้างคนแทนตัวกลัวไพรี | ที่เงินมีเขาไม่อยากจะจากจร ฯ | ||
๏ ฉันจำร้างห่างมิตรขนิษฐ์นาฏ | หวานสวาทด้วยจะร้างห่างสมร | ||
แสนถวิลจินดาด้วยอาวรณ์ | สะท้อนถอนฤทัยอาลัยครวญ | ||
กางกรประคองกอดแม่ยอดรัก | พิศพักตร์สาวน้อยละห้อยหวน | ||
นึกก็น่าใจหายเสียดายนวล | ด้วยจำด่วนจากนางไปห่างเรือน | ||
แสนสงสารแต่พธูจะอยู่เดียว | นึกเฉลียวอาลัยใครจะเหมือน | ||
พึ่งอยู่กินด้วยพี่สักสี่เดือน | จะจากเพื่อนพิศวาสแทบขาดใจ | ||
ครั้นเห็นน้องนองเนตรสังเวชจิต | นึกหวนคิดว่าจะเบือนเชือนไถล | ||
จะบอกป่วยเสียให้มากไม่อยากไป | กลัวจะไม่เป็นธรรม์กตัญญู | ||
นายมีกิจควรคิดเอาตัวรอด | คนจะย้อนค่อนขอดได้อดสู | ||
ต้องจำใจจำร้างห่างพธู | จงเชิญอยู่ให้เป็นสุขสนุกดี | ||
อย่าร้องไห้จะเป็นลางจงสร่างโศก | อย่าวิโยคนักน้องจะหมองศรี | ||
แม้นตั้งใจไว้ท่าไม่ราคี | นั่นแลมีความชอบฉันขอบใจ ฯ | ||
๏ ถึงวันพุธเดือนสิบแรมแปดค่ำ | เป็นวันอำมฤตโชคโฉลกใหญ่ | ||
ณ ปีกุนสัปตกศกจะยกไป | จำครรไลโลมลาสุดาดวง | ||
น้ำตาไหลพรากพรากออกจากห้อง | เหลียวดูน้องใจหายไม่วายห่วง | ||
ค่อยแข็งขืนฝืนอารมณ์ที่ตรมทรวง | แล้วเลยล่วงอำลาแม่อาพลัน | ||
ท่านก็ร่ำอวยชัยให้เป็นสุข | อย่ามีทุกข์อันตรายทางผายผัน | ||
สวัสดีมีชียพ้นภัยยัน | เมื่อกลับนั้นจงเป็นสุขสิ้นทุกข์ร้อน | ||
ลงจากเรือนเบือนดูแม่คู่ชื่น | ถอนสะอื้นโหยไห้ฤทัยถอน | ||
สละรักหักใจอาลัยวรณ์ | ฝืนใจจรรีบเดินเมินไม่มอง | ||
มาครู่หนึ่งถึงสถานบ้านเจ้าคุณ | กำลังวุ่นผู้คนเขาขนของ | ||
ฉันฝืนพักตร์เข้าฝาน้ำตานอง | ใจสยองยิ่งสลดระทดระทม | ||
แสนคะนึงภึงมิตรพิศวาส | ใจจะขาดลงด้วยร้างห่างคู่สม | ||
ค่อยแข็งขืนกลืนน้ำตาหักอารมณ์ | ครั้นวายตรมแล้วมานั่งคอยฟังการ | ||
คนพร้อมพรั่งนั่งรอหน้าหอใหญ่ | ทั้งพวกไพร่เหล่าพหลพลทหาร | ||
บ้างขนเสบียงลงเรือเกลือน้ำตาล | ทั้งข้าวสารข้าวตากและหมากพลู | ||
ของเจ้าคุณขนเนื่องทั้งเครื่องใช้ | คนขนไม่หยุดหย่อนร้องอ่อนหู | ||
เกินจะพรรณนาเหลือตาดู | เครื่องควาหวานมีอยู่ก็มากครัน | ||
เครื่องอาวุธสารพัดท่านจัดซื้อ | ล้วนเครื่องมอรบทัพดูขับขัน | ||
ซื้อเสื้อหมวกแจกจ่ายเป็นหลายพัน | ล้วนแพรพรรณสักหลาดสะอาดตา | ||
ลงทุนซื้อของมีบัญชีเสร็จ | สักร้อยเจ็ดสิบชั่งก็ยังกว่า | ||
เครื่องหน้าไม้เครื่องมือซื้อเอามา | ทั้งมีดพร้าจอบเสียบก็เตรียมการ | ||
และท่านทำแวนเพชรสิบเอ็ดวง | หวังใจจงแจกจ่ายนายทหาร | ||
ที่ไม่คิดย่อหย่อนเข้ารอนราญ | ใครทำการศึกสำเร็จบำเหน็จมือ | ||
ทั้งเสื้อผ้าสารพัดท่านจัดครบ | ถ้าใครรบจริงจริงไม่วิ่งตื๋อ | ||
เข้าตีข้าศึกแยกให้แตกฮือ | จดเอาชื่อแล้วจะได้ให้รางวัล ฯ | ||
๏ ครั้นบ่ายสามโมงถ้วนจวนจะฤกษ์ | เอิกเกริกไพร่นายเตรียมผายผัน | ||
พอสมเด็จเจ้าพระยาท่านมาพลัน | เจ้าคุณนั้นออกมารับคำนับกาย | ||
พร้อมสมณพราหมณาโหราศาสตร์ | นั่งเกลื่อนกลาดเคียงขนานประมาณหลาย | ||
พนักงานตั้งเตียงไว้เรียงราย | ที่อาบสายชลธาร์เบญจางาม | ||
เจ้าคุณแม่ทัพคำนับน้อมสมเด็จ | แล้วก็เสร็จสู่เบญจาหน้าสนาม | ||
สรงพุทธมนต์ชลอาบปราบสงคราม | ขึ้นเหยียบไม้ข่มนามศัตรูพาล | ||
พระสงฆ์องค์สมมุตวงศ์พุทโธ | ชยันโตสำเนียงเสียงประสาน | ||
เสียงฆ้องชัยลั่นต้องก้องกังวาน | โหราจารย์พรามหมณ์เคาะบัณเฑาะว์ดัง | ||
พระครูโหรอวยชัยให้เดชะ | พระหมณะผู้เฒ่าก็เป่าสังข์ | ||
พร้อมด้วยเหล่าเจ้าพระยาดาประดัง | ขุนนางนั่งสลอนอวยพรชัย ฯ | ||
๏ ฝ่ายเจ้าคุณแม่ทัพครั้นสรรพเสร็จ | น้อมสมเด็จเจ้าพระยาอัชฌาสัย | ||
ออกมานั่งคอยฤก์เบิกบานใจ | ผินพักตร์ไปฝ่ายบุรพาทางนาคิน | ||
ท่านสมเด็จเจ้าพระยาคอยหาฤกษ์ | พอเมฆเลิกดูอุดมสมถวิล | ||
สุริยงทรงรถหมดมลทิน | ทางกสิณบริบูรณ์เพิ่มพูนดี | ||
สมเด็จท่านขานไขบอกได้ฤกษ์ | แล้วให้เบิกฆ้องชัยได้ดิถี | ||
ก็โห่ร้องเอาชัยปราบไพรี | ท่านแม่ทัพจรลีลงเรือพลัน | ||
ฝีพายพลโห่ร้องก้องสะเทือน | เสร็จคลาเคลื่อนกองทัพดูคับขัน | ||
เรือกระบวนสวนแซงพายแย่งกัน | เสียงสนั่นเป็นระลอกกระฉอกชล | ||
ทั้งสองฟากเรือตลอดจอดเป็นหมู่ | ล้วนคนดูกองทัพเรือสับสน | ||
กลามตลอดจอดแพออกแจจน | กญิงชายบนตลิ่งดูอยู่สำราญ | ||
ดูเรือแพแออัดสงัดหาย | ไม่อาจพายออกมาตัดหน้าฉาน | ||
กลัวจะกีดกันขวางทางชลธาร | หลบหนีซ่านเข้าจอดตลอดมา ฯ | ||
๏ ครั้นถึงตำหนักแพแลไสว | พวกข้างในนั่งอยู่ดูหนักหนา | ||
ปางพระจอมจักรพรรดิ์กษัตรา | เสด็จมาคอยรับกองทัพเอง | ||
เหล่าขุนนางแวดล้อมอยู่พร้อมพรั่ง | ลงที่นั่งปิกนิกกั้นบดเก๋ง | ||
ทอดพระเนตรเรือแพทรงแลเล็ง | เสียงแซ่เซ็งแตรฝรั่งก้องกังวาน | ||
เรือเจ้าคุณจอดเลียบประเทียบลำ | ถวายคำนับน้อมจอมสถาน | ||
แล้วถวายบังคมราบลงกราบกราน | ตามบูราณประเพณีที่มีมา | ||
กรุงกษัตริย์จิ้มเจิมเฉลิมพักตร์ | ทรงสังข์ทักษิณาวัฏต่อหัตถา | ||
เป็นสังข์เวียนซ้ายเรียกทักษิณา | เป็นภาษาไพร่คิดโดยจิตเดา | ||
ด้วยฉันมาหน้าแคร่ท่านแม่ทัพ | ครั้นได้รับน้ำสังข์ไม่นั่งเหงา | ||
เป็นเหตุให้ทุกข์สร่างลงบางเบา | แต่ยังเมาโศกรักหนักอาวรณ์ | ||
ท่านเจ้าคุณแม่ทัพคำนับน้อม | ฝ่ายพระจอมบพิตรอดิศร | ||
เสด็จทรงสังข์สรรเสริญเจริญพร | แล้วกรายกรหยิบนาฬิกามาประทาน | ||
ทองคำทำตลับระยับย้อย | ทั้งสายสร้อยสามกษัตริย์จัดประสาน | ||
พระจอมนาถมีพระราชโองการ | ว่าของนานทำไว้จะให้เธอ | ||
ฉันลงชื่อเขียนไว้ในตลับ | เจ้าคุณรับได้ของประคองเสนอ | ||
ถวายคำนับซ้ำทำบำเรอ | เสด็จเผยอเรือออกบอกฝีพาย | ||
ครั้นเรือออกประตูฝ่านาวาคล้อย | พระสงฆ์คอยประน้ำมนต์พลทั้งหลาย | ||
คนในเรือรับพลางต่างวางพาย | น้อมถวายบังคมประนมกร ฯ | ||
๏ | |||
. | |||
. | |||
. | |||
ครั้นมาถึงคันยาวขึ้นเขาโขด | สูงเด่นโดดแลเยี่ยมเทียมเวหน | ||
ช้างปีนขึ้นตัวตั้งระวังตน | ขึ้นสุดบนยอดเขาลำเนาเนิน | ||
ข้างทางแลเป็นเปลวล้วนเหวผา | หนทางมาสูงโดดบนโขดเขิน | ||
เป็นคันน้อยริมทางพอช้างเดิน | สะทกสะเทิ้นกลัวจะตกหกคะมำ | ||
ภูเขาเล่าก็ชันเป็นหลั่นลด | ช้างค่อยจดเดินเรียงกลัวเพลี่ยงพล้ำ | ||
ค่อยค่อยคุกขาหน้าอุตส่าห์คลำ | แม้นถลำแล้วเป็นเหลวด้วยเหวลึก | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ที่ผืนแผ่นดินบางแห่งบ้างแดงล้ำ | บ้างก็ดำเหมือนแสร้งแกล้งมุสา | ||
บางแห่งเหลืองสีซ้ำดอกจำปา | พื้นสุธาบางแห่งขาวไม่ร้าวราน | ||
ที่ในดงพงพฤกษ์นึกประหลาด | ด้วยอากาศดงร้ายหลายสถาน | ||
บางแห่งร้อนบางแห่งเย็นเป็นวิการ | บ้างสะท้านจับเท้าหนาวขึ้นมา | ||
บ้างครั่นเนื้อตัวร้าวซักหาวนอน | บ้างก็ร้อนวิบัติขัดนาสา | ||
บางแห่งวิงเวียนหัวมืดมัวตา | บ้างจับนาสิกให้ชักไอจาม | ||
บ้างก็เหม็นขื่นเขียวเหม็นเปรี้ยวบูด | ไม่อาจสูดด้วยว่าจิตนั้นคิดขาม | ||
ด้วยอายแร่แต่ดินมักกินลาม | ตลอดตามสองข้างหนทางจร | ||
อีกอายว่านอายยาในป่าชิด | ล้วนมีพิษขึ้นอยู่ดูสลอน | ||
ครั้งต้องแสงสุริยาทิพากร | กำเริบร้อนด้วยพิษฤทธิ์วิกล | ||
อายพื้นดินนำพาให้อาพาธ | วิปลาสแรงกล้าเมื่อหน้าฝน | ||
ตกแล้งหมาดขาดเหงื่อยังเหลือทน | จึงพาคนให้เป็นไข้ได้รำคาญ | ||
คนเดินเท้าก้าวหล่มบ้างล้มลุก | ช้างเดินบุกหล่มล้าน่าสงสาร | ||
เหล่าโคต่างล้าล้มอยู่ซมซาน | บ้างวายปราณกลิ้งตายเป็นหลายโค | ||
ช้างบุกหล่มบ้างล้มด้วยเต็มล้า | ดูก็น่าสมเพชสังเวชโข | ||
เจ้าของช้างเสียใจร้องไห้โฮ | ว่าพุทโธ่ซื้อมาราคาแพง | ||
ที่ช้างใหญ่ไม่สู้ล้ามาติดติด | พระอาทิตย์คล้ายบ่ายลงชายแสง | ||
คนเดินเท้าอ่อนล้าระอาแรง | บ้างย่องแย่งเท้าพุปะทุพอง | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ล้วนความจริงไม่แกล้งมาแต่งปด | ได้จำจดผูกพันจนวันกลับ | ||
ถึงความร้ายการดีที่ลี้ลับ | ได้สดับเรื่องหมดจดจำมา | ||
ซึ่งบางพวกไม่ได้ขึ้นไปทัพ | บางคนกลับผูกจิตริษยา | ||
แล้วกล่าวโทษติฉินแกล้งนินทา | ค่อนขอดว่ากองทัพเสียยับเยิน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
นิราศหนองคาย ของ หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) พิมพ์ครั้งที่ ๔ ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ. ๒๕๔๔