พระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง

จาก ตู้หนังสือเรือนไทย

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
()
()
แถว 149: แถว 149:
วันที่ ๒๒ เมื่อคืนนี้ฝนตกพร่ำเพรื่อไปยังรุ่ง แรกนอนรู้สึกว่าจะเย็น ต่อหลับไปตื่นขึ้นจึงรู้สึกเย็นเยือกไปทั้งตัว ท้องก็แข็งขลุกขลักอยู่เป็นนาน จนเอาสักหลาดขึงอุดหมดจึงนอนหลับ ตื่น ๒ โมงครึ่ง ออกเรือจวน ๓ โมง มาจากท่าขี้เหล็กเลี้ยวเดียวก็ถึงวังพระธาตุ อยู่ฝั่งตะวันตกมีบ้านเรือนเรียงรายตลอดขึ้นมา แต่อยู่ฟากตะวันตก ฟากตะวันออกเป็นป่าตั้งแต่พ้นคลองขลุงขึ้นมามีต้นสักชุม แต่เป็นไม้เล็ก ๆ ซึ่งเป็นเวลาหวงห้าม เดินเรือวันนี้รู้สึกว่าไปในกลางป่าสูง ได้ยินเสียงนกร้องต่าง ๆ อย่างชมดงเพรียกมาตลอดทาง ตำบลที่เรียกชื่อคลอง เช่นคลองขลุงหรือแม่อะไรต่ออะไร ใช่ว่าเราจะแลเห็นในเวลานี้ ปากคลองแห้งอยู่ในหาด ได้พยายามจะไปดูคลองขลุงก็เข้าไม่ถึงด้วยหาดกว้าง คลองขลุงนี้เป็นปลายน้ำอันหนึ่ง วันนี้แลเห็นเขาประทัดซึ่งปันแดนยืนเป็นแถว ที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั้นคือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น จอดเรือที่ที่พักร้อนเหนือวังพระธาตุนิดหนึ่ง พระธาตุนี้มีแท่นซ้อน ๓ ชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ<ref>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์</ref>เรียกว่าทะนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉน ๗ ปล้่องปลีแล้วปักฉัตร ไม่ผิดกันกับพระเจดีย์เมืองฝางที่เห็น ซึ่งแก้เป็นพระเจดีย์มอญเสีย เขาว่าสุโขทัยสวรรคโลกเป็นรูปนี้ทั้งนั้น เป็นรูปของพระเจดีย์ของแผ่นดินฝ่ายเหนือ เห็นจะไม่แปลกกันมาก องค์พระเจดีย์ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร ๔ ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญอยู่ทิศตะวันออกเยื้องไม่ตรงกลาง เขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่งทั้งยืนหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เป็นช่างได้ทำได้ถ่ายรูปที่เหล่านี้ไว้ เวลานี้มีพระซึ่งขึ้นมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาอยู่ในที่นี้ คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิอยู่เยื้องหน้าพระธาตุ ห่างจากศาลามุงกระเบื้องเดิมซึ่งอยู่ข้างริมน้ำใต้ลงไป<ref>ที่วัดวังพระธาตุ มีพระสงฆ์คิดจะไปอยู่หลายคราว ตั้งอยู่ได้ไม่ช้า ทนความไข้ไม่ไหวก็ต้องเลิกไป</ref> เดินจากวังพระธาตุไปตามลำน้ำข้างเหนือ ทาง ๒๖ เส้น ถึงคูด้านใต้ของเมืองไตรตรึงส์ คูนั้นใหญ่กว้างราว ๑๕ วา ลึกลงเสมอพื้นหาดแต่น้ำแห้ง ยื่นเข้าไปจนถึงเชิงเทิน หลังเมืองไปมีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่กลางย่านด้านใต้ แต่ด้านเหนือไม่มีถนน มีแต่ลำคูมาบรรจบด้านใต้ กำหนดเชิงเทินยาวตามลำแม่นำ ๔๐ เส้น ยืนเข้าไปทางตะวันตกตะวันออก ๓๗ เส้น เห็นเป็นเมืองใหญ่โตอยู่ พื้นแผ่นดินเป็นแลงไปทั่วทั้งนั้น ในท้องคูก็เป็นแลง เข้าไปในเมืองหน่อยหนึ่งก็พบโคก เห็นจะเป็นวิหารเจดีย์หักพังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยเรียกว่าเจดีย์ ๗ ยอด จะเป็นด้วยผู้ที่มาตรวจตราค้นพบสามารถจะถางเข้าไปได้แต่ ๗ ยอด แต่ที่จริงคราวนี้เขาได้ถางดีกว่าที่ได้ถางมาแต่ก่อน จึงได้ไปพบว่ากว่า ๗ คือพระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์ราย ๓ ด้าน วิหารด้านเหนือวางเลอะ ๆ ทำนองนี้  
วันที่ ๒๒ เมื่อคืนนี้ฝนตกพร่ำเพรื่อไปยังรุ่ง แรกนอนรู้สึกว่าจะเย็น ต่อหลับไปตื่นขึ้นจึงรู้สึกเย็นเยือกไปทั้งตัว ท้องก็แข็งขลุกขลักอยู่เป็นนาน จนเอาสักหลาดขึงอุดหมดจึงนอนหลับ ตื่น ๒ โมงครึ่ง ออกเรือจวน ๓ โมง มาจากท่าขี้เหล็กเลี้ยวเดียวก็ถึงวังพระธาตุ อยู่ฝั่งตะวันตกมีบ้านเรือนเรียงรายตลอดขึ้นมา แต่อยู่ฟากตะวันตก ฟากตะวันออกเป็นป่าตั้งแต่พ้นคลองขลุงขึ้นมามีต้นสักชุม แต่เป็นไม้เล็ก ๆ ซึ่งเป็นเวลาหวงห้าม เดินเรือวันนี้รู้สึกว่าไปในกลางป่าสูง ได้ยินเสียงนกร้องต่าง ๆ อย่างชมดงเพรียกมาตลอดทาง ตำบลที่เรียกชื่อคลอง เช่นคลองขลุงหรือแม่อะไรต่ออะไร ใช่ว่าเราจะแลเห็นในเวลานี้ ปากคลองแห้งอยู่ในหาด ได้พยายามจะไปดูคลองขลุงก็เข้าไม่ถึงด้วยหาดกว้าง คลองขลุงนี้เป็นปลายน้ำอันหนึ่ง วันนี้แลเห็นเขาประทัดซึ่งปันแดนยืนเป็นแถว ที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั้นคือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น จอดเรือที่ที่พักร้อนเหนือวังพระธาตุนิดหนึ่ง พระธาตุนี้มีแท่นซ้อน ๓ ชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ<ref>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์</ref>เรียกว่าทะนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉน ๗ ปล้่องปลีแล้วปักฉัตร ไม่ผิดกันกับพระเจดีย์เมืองฝางที่เห็น ซึ่งแก้เป็นพระเจดีย์มอญเสีย เขาว่าสุโขทัยสวรรคโลกเป็นรูปนี้ทั้งนั้น เป็นรูปของพระเจดีย์ของแผ่นดินฝ่ายเหนือ เห็นจะไม่แปลกกันมาก องค์พระเจดีย์ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร ๔ ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญอยู่ทิศตะวันออกเยื้องไม่ตรงกลาง เขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่งทั้งยืนหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เป็นช่างได้ทำได้ถ่ายรูปที่เหล่านี้ไว้ เวลานี้มีพระซึ่งขึ้นมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาอยู่ในที่นี้ คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิอยู่เยื้องหน้าพระธาตุ ห่างจากศาลามุงกระเบื้องเดิมซึ่งอยู่ข้างริมน้ำใต้ลงไป<ref>ที่วัดวังพระธาตุ มีพระสงฆ์คิดจะไปอยู่หลายคราว ตั้งอยู่ได้ไม่ช้า ทนความไข้ไม่ไหวก็ต้องเลิกไป</ref> เดินจากวังพระธาตุไปตามลำน้ำข้างเหนือ ทาง ๒๖ เส้น ถึงคูด้านใต้ของเมืองไตรตรึงส์ คูนั้นใหญ่กว้างราว ๑๕ วา ลึกลงเสมอพื้นหาดแต่น้ำแห้ง ยื่นเข้าไปจนถึงเชิงเทิน หลังเมืองไปมีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่กลางย่านด้านใต้ แต่ด้านเหนือไม่มีถนน มีแต่ลำคูมาบรรจบด้านใต้ กำหนดเชิงเทินยาวตามลำแม่นำ ๔๐ เส้น ยืนเข้าไปทางตะวันตกตะวันออก ๓๗ เส้น เห็นเป็นเมืองใหญ่โตอยู่ พื้นแผ่นดินเป็นแลงไปทั่วทั้งนั้น ในท้องคูก็เป็นแลง เข้าไปในเมืองหน่อยหนึ่งก็พบโคก เห็นจะเป็นวิหารเจดีย์หักพังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยเรียกว่าเจดีย์ ๗ ยอด จะเป็นด้วยผู้ที่มาตรวจตราค้นพบสามารถจะถางเข้าไปได้แต่ ๗ ยอด แต่ที่จริงคราวนี้เขาได้ถางดีกว่าที่ได้ถางมาแต่ก่อน จึงได้ไปพบว่ากว่า ๗ คือพระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์ราย ๓ ด้าน วิหารด้านเหนือวางเลอะ ๆ ทำนองนี้  
-
[[Image:เสด็จประพาสต้น๒-๑.jpg]]
+
[[Image:เสด็จประพาสต้น๒-๑.JPG]]
 +
 
==== ====
==== ====
ที่เขาค้นถากถางเข้ามาให้ดูได้เพียงเท่านี้ นอกนั้นยังเป็นป่าทึบอยู่มาก ไม่ใช่รกอย่างกรุงเก่า เป็นป่าสูงไม้ใหญ่ข้างล่างโปร่งทั้งในเมืองนอกเมือง เหตุด้วยทิ้งร้างเป็นป่ามาช้านานกว่ากันมาก ข้อซึ่งจะโจษสงสัยว่าเป็นเมืองไตรตรึงส์แน่ละหรือ เพราะมีข้อที่พากันสงสัยว่า เจ้าแผ่นดินลงมาแต่เชียงราย เวลานั้นเมืองกำแพงเพชรก็มีเจ้า เหตุไฉนจะข้ามลงไปสร้างเมืองไตรตรึงส์ขึ้นในที่ใกล้ห่างกันเพียง ๔๐๐ เส้น ความที่เดาว่าเมืองกำแพงเพชรมีเจ้าอยู่ในเวลานั้น น่าจะเดาจากบาญชีเมืองประเทศราชครั้งแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง ในท้องเรื่องที่ว่า เจ้าเชียงรายยกลงมา ไม่ได้กล่าวว่าตีเมืองกำแพงเพชร ไปตั้งเมืองแปบเป็นเมืองไตรตรึงส์ทีเดียวจึงเกิดสงสัย ที่จริงจะได้เมืองกำแพงเพชรแล้ว แต่หากจะย้ายไปสร้างเมืองใหม่ให้เป็นเกียรติยศ หรือด้วยความขัดข้องประการใด เมืองกำแพงเพชรที่อยู่ฝั่งตะวันออกคงจะเกี่ยวดอง หรืออยู่ในอำนาจเมืองสวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก จึงตั้งฝั่งทางที่เป็นแผ่นดินเดียวกัน ถ้าพวกเชียงรายจรมาจะไปตั้งฝั่งตะวันตกก็จะได้ เพราะถูกต้องความในจดหมาย ว่าข้ามแม่น้ำโพไปตั้งฝั่งตะวันตกเมืองกำแพงเพชร เห็นจะเป็นเมืองไตรตรึงแน่ กลับเวลาเที่ยงลงเรือเหลืองมาถึงพลับพลาประทับร้อนไม่แวะด้วยจะฉ้อวันให้ได้อีก ๑ วัน ระยะเขากะ ๑๐ วัน เป็นฉ้อได้ ๒ วัน คง ๘ วัน ฝนตกเป็นคราว ๆ มาแวะกินข้าวที่บ้านไร่ เป็นบ้านนายเทียนอำแดงแจ่ม ท่วงทีบ้านเรือนสบายพื้นบ้านเตียนหมดจด มีไม้ดอกไม้ผลหลายอย่าง ผิดกันกับบ้านแถบนี้ เจ้าของบ้านก็ไม่ออกมาทักทายตามอย่างที่เคยแวะมา ออกจะหลบ ๆ ครั้งเมื่อจะไปสั่งสนทนาจวนตัวเข้าและหายกลัวด้วยเห็นเป็นคนแปลกหน้า ถ้าจะไม่มีอันตราย จึงได้ขยายว่าเป็นชาวเมืองนนท์ ขึ้นมาอยู่ได้ ๑๐ ปี หน้าตาแยบคายชอบกล เป็นคนฉลาดรู้อะไร ๆ มากและลงหนังสือขอมทั่วทั้งตัว จึงลงเนื้อเห็นกันว่า ที่จะเป็นผู้ร้ายคนโตหลบขึ้นมาอยู่ในที่นี้ ออกจากบ้านไร่มาถูกฝนอีกมาก ถึงกำแพงเพชรจอดหน้าเมืองเก่าเกือบทุ่ม ๑ ที่นี้เขาทำพลับพลาขึ้นไปบนฝั่ง แอบปะรำจอดเรืออีกหลัง ๑ วันนี้ได้ตั้งตาอ้นเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจ
ที่เขาค้นถากถางเข้ามาให้ดูได้เพียงเท่านี้ นอกนั้นยังเป็นป่าทึบอยู่มาก ไม่ใช่รกอย่างกรุงเก่า เป็นป่าสูงไม้ใหญ่ข้างล่างโปร่งทั้งในเมืองนอกเมือง เหตุด้วยทิ้งร้างเป็นป่ามาช้านานกว่ากันมาก ข้อซึ่งจะโจษสงสัยว่าเป็นเมืองไตรตรึงส์แน่ละหรือ เพราะมีข้อที่พากันสงสัยว่า เจ้าแผ่นดินลงมาแต่เชียงราย เวลานั้นเมืองกำแพงเพชรก็มีเจ้า เหตุไฉนจะข้ามลงไปสร้างเมืองไตรตรึงส์ขึ้นในที่ใกล้ห่างกันเพียง ๔๐๐ เส้น ความที่เดาว่าเมืองกำแพงเพชรมีเจ้าอยู่ในเวลานั้น น่าจะเดาจากบาญชีเมืองประเทศราชครั้งแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง ในท้องเรื่องที่ว่า เจ้าเชียงรายยกลงมา ไม่ได้กล่าวว่าตีเมืองกำแพงเพชร ไปตั้งเมืองแปบเป็นเมืองไตรตรึงส์ทีเดียวจึงเกิดสงสัย ที่จริงจะได้เมืองกำแพงเพชรแล้ว แต่หากจะย้ายไปสร้างเมืองใหม่ให้เป็นเกียรติยศ หรือด้วยความขัดข้องประการใด เมืองกำแพงเพชรที่อยู่ฝั่งตะวันออกคงจะเกี่ยวดอง หรืออยู่ในอำนาจเมืองสวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก จึงตั้งฝั่งทางที่เป็นแผ่นดินเดียวกัน ถ้าพวกเชียงรายจรมาจะไปตั้งฝั่งตะวันตกก็จะได้ เพราะถูกต้องความในจดหมาย ว่าข้ามแม่น้ำโพไปตั้งฝั่งตะวันตกเมืองกำแพงเพชร เห็นจะเป็นเมืองไตรตรึงแน่ กลับเวลาเที่ยงลงเรือเหลืองมาถึงพลับพลาประทับร้อนไม่แวะด้วยจะฉ้อวันให้ได้อีก ๑ วัน ระยะเขากะ ๑๐ วัน เป็นฉ้อได้ ๒ วัน คง ๘ วัน ฝนตกเป็นคราว ๆ มาแวะกินข้าวที่บ้านไร่ เป็นบ้านนายเทียนอำแดงแจ่ม ท่วงทีบ้านเรือนสบายพื้นบ้านเตียนหมดจด มีไม้ดอกไม้ผลหลายอย่าง ผิดกันกับบ้านแถบนี้ เจ้าของบ้านก็ไม่ออกมาทักทายตามอย่างที่เคยแวะมา ออกจะหลบ ๆ ครั้งเมื่อจะไปสั่งสนทนาจวนตัวเข้าและหายกลัวด้วยเห็นเป็นคนแปลกหน้า ถ้าจะไม่มีอันตราย จึงได้ขยายว่าเป็นชาวเมืองนนท์ ขึ้นมาอยู่ได้ ๑๐ ปี หน้าตาแยบคายชอบกล เป็นคนฉลาดรู้อะไร ๆ มากและลงหนังสือขอมทั่วทั้งตัว จึงลงเนื้อเห็นกันว่า ที่จะเป็นผู้ร้ายคนโตหลบขึ้นมาอยู่ในที่นี้ ออกจากบ้านไร่มาถูกฝนอีกมาก ถึงกำแพงเพชรจอดหน้าเมืองเก่าเกือบทุ่ม ๑ ที่นี้เขาทำพลับพลาขึ้นไปบนฝั่ง แอบปะรำจอดเรืออีกหลัง ๑ วันนี้ได้ตั้งตาอ้นเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจ

การปรับปรุง เมื่อ 06:59, 19 กันยายน 2552

เนื้อหา

ข้อมูลเบื้องต้น

แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทประพันธ์

วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๒๕ ออกจากสวนดุสิต ๒ ทุ่ม ไปในวังแล้วไปบ้านบุรฉัตร[1] พอสวดมนต์จบเลี้ยงแล้วตัดสินโต๊ะ[2]เฉพาะชิ้นปักกิ่ง ๔ ทุ่มครึ่ง รดน้ำแล้วเข้ามาในวัง ทูลลา[3]แล้วลงเรือ ถึงตำหนักแพวังหน้า ๕ ทุ่ม ถึงวัดเขมา ๕ ทุ่มครึ่ง


วันที่ ๒๘ เช้าโมงครึ่ง ถ่ายรูป[4] รับพวกกรมการผู้ใหญ่บ้านและพระวินัยรักขิต[5] ถวายเงินชั่ง ๑ แล้วลงเรือไปตลาดบางเขนถ่ายรูปที่ด่านภาษี กลับขึ้นเรือชื่นใจ[6] ผ่านหน้าวัดเขมาเวลา ๓ โมง ๑๕ มินิต แต่หน้าวัดเขมาถึงวัดปากอ่าว ๗๐ มินิต จากวัดปากอ่าวถึงวัดเทียนถวาย ๔๐ มินิต ขึ้นวัดถ่ายรูป ถวายเงินสมภาร ๒๐ บาท ออกจากวัดเทียนถวายถึงบางหลวงเชียงรากเที่ยง ๑๕ ถึงดงตาล เที่ยง ๒๐ มีคนมาก ถ่ายรูปแล้วทำกับข้าว กินข้าวแล้วมีสะบ้ามอญ ฝนตกประปราย บ่าย ๓ โมง ๑๕ มินิตมาด้วยเรือมาด มีฝนตลอดทาง ถึงวัดท้ายเกาะใหญ่ที่จอดเรือเวลาบ่าย ๕ โมง จัดที่พักที่ศาลา ๒ หลังต่อกัน มีพิณพาทย์มอญ


วันที่ ๒๙ เช้า ขึ้นไปบนวัดถ่ายรูป วัดนี้เรียกตามตำบลชื่อเวียงจาม เป็นพระรามัญ เป็นวัดที่สุดเขตประทุม พระรามัญมุนีเจ้าคณะเมือง กับพระครูเจ้าคณะรอง เจ้าคณะแขวง เจ้าอธิการและอันดับวัดอื่นในแขวงประทุมมารับถวายวัตถุปัจจัยทั่วกัน แล้วกลับมาลงเรือออกจากท้ายเกาะ ๓ โมงครึ่ง มาแวะคลองตะเคียนซื้อผ้า เวลาล่าไปฝนก็ตก ลืมดูนาฬิกาจนหิวจึงรู้สึก จึงจอดทำกับข้าวที่แพซุงใกล้คลองตะเคียน เป็นกับข้าวปัจจุบันมีปลาแห้งผัดไข่เจียว แกงกะทิ สำเร็จอาหารกินอย่างอร่อย เพราะมอยอมอแกอยู่บ้าง แล้วออกเรือหมายจะแวะวัดพนัญเชิง แต่ฝนไม่หยุดจึงเลยขึ้นมาเกาะลอย พอถึงที่ฝนก็หาย อาบน้ำแล้วลงเรือเล็ก ขึ้นไปทางคลองเพนียดซื้อของตามร้านตามแพแล้วกลับมาเข้าในคลองเมือง ไปจนแพช่างทองนอกตำหนักแพแล้วจึงได้กลับค่ำไม่ได้ขึ้นอยู่บนเรือน เขาถอยแพมาจอดให้อยู่ที่หน้าเรือนกรมมรุพงศ์[7]


วันที่ ๓๐ เช้า ขึ้นไปถ่ายรูปบนสะพานและบ้านกรมมรุพงศ์ แล้วลงเรือไปขึ้นสะพานวังจันทร์ ดูตลาด เลิกบ่อน[8] เสียอยู่ข้างจะซัวไปสักหน่อย[9] ลงเรือจากตลาดแวะซื้อของที่ตลาดเรือสี่แยก แล้วขึ้นมาตามแควป่าสัก แวะกินข้าวกลางวันที่พระนครหลวง[10] ถ่ายรูปและทำกับข้าว กำลังกินฝนตกวันนี้มาก มีฟ้าร้อง ตามพื้นที่รก แต่ที่สร้างขึ้นใหม่สำหรับพระจันทร์ลอยแล้วสำเร็จ ถ้ามีสมภารที่ขยันจริง ๆ จะรักษาไปได้หลายปีแม้ว่าเช่นนี้น่าจะไม่อยู่ได้นาน ลงเรือฝนกำลังตก ออก ๒ โมงครึ่ง ฝนมาหายเกือบถึงศาลาลอยถึงเวลา ๔ โมงเศษ ศาลาลอยนั้นไม่มีพื้น ถ่ายรูปแล้วจึงได้อาบน้ำ


วันที่ ๓๐ เช้า ๓ โมง ออกเรือ แวะท่าเจ้าสนุก[11] เขาถางเห็นรากกำแพงและพระที่นั่ง คงจะเป็นหลังคายาวตามแบบ มีบ่ออยู่แห่งหนึ่งลึกมากก่ออิฐถือปูนลงไปจนตลอด แต่มีรอยชักอิฐอยู่ในระวางกลาง กุ[12]กันว่าเป็นกำแพงข้ามบ่อ บ่อนั้นใช้ได้ทั้งข้างหน้าข้างใน ดูยังไม่เห็นจริง เพราะพึ่งจะค้นพบชิ้นยังไม่ได้ตรวจให้ละเอียด ตรงท่าเจ้าสนุกข้ามเรียกว่าท่าเกยคือเป็นที่เกยประทับช้าง เวลาจะเสด็จพระบาทต้องลงเรือข้ามไปท่าเกย แวะถ่ายรูปบางแห่ง มีสะพานจักรีเป็นต้น กรมนรา[13]มาคอยอยู่ที่ ท.จ.ก. แล้ว[14] แวะพูดกันหน่อยหนึ่งขึ้นมาปลดเรือไฟที่วัดสดาง มีคนมาคอยเข็นเรือตามเคย แต่ไม่ต้องเข็นเพราะฝน ๓ วันนี้พอที่จะให้น้ำขึ้นได้กินข้าวกลางวันที่วัดท่างามซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกกันว่า ท่าหลวง ซึ่งเรียกท่าหลวงนั้นเกิดขึ้นใหม่ เพราะพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระบาท ๒ ครั้ง ขึ้นที่ท่างามทั้ง ๒ ครั้ง เดิมจะแรมที่นี้แต่ตกลงข้ามเสีย เพราะใกล้จะให้ได้วันมาก ขึ้นมาจวนจะถึงเสาไห้ ฝนตกมืดมาข้างหลัง ยังเชื่อว่าจะหนีทัน แต่เพราะที่จอดเรืออยู่ถึงวัดสมุหประดิษฐ์จึงหนีไม่ทัน ฝนตกหนังตั้งแต่ก่อนย่ำค่ำ ๑๕ มินิต ตกหนักจนเวลา๔ ทุ่มจึงได้เลยพรำต่อไปอยู่ข้างจะกันดารที่


วันที่ ๑ สิงหาคม เมื่อคืนนี้ที่ว่าฝนหยุด ๔ ทุ่มนั้นเป็นคำเท็จ กลับตกใหม่หนักอย่างเดียวกันไปจน ๒ ยามจึงพรำไปจน ๗ ทุ่ม น้ำท่วมสะพานหาดค่อย ๆ หายไปจนลบ น้ำขึ้นศอกเศษ ตวงน้ำฝนที่ที่ว่าการเมืองสระบุรีได้ ๘ เซ็นต์ เช้ายังพรำอยู่อีกจนสายจึงได้หายสนิท ลงเรือมาดเรือโมเตอร์อมรโอสถ ลากขึ้นไปตามลำน้ำแวะถ่ายรูปเป็นตอน ๆ จนถึงแก่งม่วง ถ่ายเรือลงแก่งขึ้นแก่ง ขึ้นถ่ายบนบกที่แก่งเพรียว แต่แก่งนี้น้ำขึ้นลบศิลาเสียมาก ล่องกลับลงมาขึ้นบกที่บ้านพระยาสระบุรี[15] ตั้งแต่เสาไห้ไปจนแก่งเพรียวหย่อน ๓ ชั่วโมง ขึ้นดูที่ว่าการและดูตลาดที่จะพอเป็นเมืองขึ้นในภายหน้า มีถนนลงมาเสาไห้ทาง ๒๐๐ เส้น กินข้าวที่บ้านพระยาสระบุรีแล้วลงเรือล่องมาเสาไห้ชั่วโมงเศษ อาบน้ำแล้วออกเรือกระบวนใหญ่เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ ล่องลงมาถึงท่าเรือทุ่มครึ่ง อยู่ใน ๔ ชั่วโมงเต็ม กรมนราแต่งโคมญี่ปุ่นหรู แต่พอถึงก็ฝนตกต้องสั่งให้เก็บ แต่เห็นจะไม่ตกมาก


วันที่ ๒ สามโมงเช้าขึ้นรถไฟกรมนราไปพระบาท ทางเรียบร้อยดีกว่าแต่ก่อน ถมบาลัศเต็มไป จวนถึงฝนตกเรื่อยไปจนกระทั่งเดินขึ้นพระบาททั้งฝน มีเหตุสำหรับเป็นสวัสดิมงคล[16]ในการต้องขลึก[17] ๒ อย่าง คือม่านที่กั้นกลางรถราวหลุดประการหนึ่ง อีกสักเส้นหนึ่งจะถึงรถหลังตกราง เลยต้องลงไม่ถึงสเตชั่น มณฑปพระบาทรื้อเครื่องบนลงหมด มุงสังกะสีไว้เหมือนสวมหมวกแฮลเม็ตน่าเกลียด ข้อที่แปลกนั้นคือเห็นต้นไม้ที่พระบาทใบเขียวและต้นเล็กน้อยขึ้นรกผิดกับเทศกาลที่เคยโกร๋นเกร๋น มีศาลาเมรุหลวงธุระการ[18]ปลูกอยู่ต้นทางเข้าไปหน้าหมู่กุฏิ ซึ่งจัดเป็นที่พักกินข้าวแปลกขึ้นใหม่หลังเดียว นอกนั้นคงเดิมถ่ายรูปออกจะทั้งฝนเกือบทั้งนั้น แล้วกลับมากินข้าวที่ศาลาที่ว่าแล้ว กรมนราแจกแพรแถบพม่ากับตีน[19] ผู้ชายมีมีดเงี้ยวผู้หญิงมีอับเงี้ยว รถขึ้นชั่วโมง ๑ พักอยู่เกือบ ๓ ชั่วโมง กลับมาเรือไม่ถึงบ้าย ๓ โมง ฝนหยุดหน่อยหนึ่งแล้วกลับตกอีก น้ำขึ้นแต่คืนนี้ท่วมร้านที่จอดเรือต้องยกพื้นอีกชั้นหนึ่ง ค่ำยาม ๑ มีละครนฤมิต[20]ในสะเตชั่นรถไฟ จัดโรงหรูแต่โปรแกรมเรื่องล้นเวลา ตอนต้นเล่นหนุมานส่งวานริน นางซึ่งเจ้าจอมมารดาเขียน[21]ตื่นพะเน้าพะนึงอยู่นาน[22] จนเกือบ ๒ ยามจึงได้ลงมือเล่นตอนของกรมนรา เรียกชื่ออิสระแก่ตัว ไม่ทันถึงม่านต้องตัดป่นตัดปี้ แต่กระนั้นก็ ๒ ยามเลยมาก จนง่วงเต็มที ความคิดเห็นตอนแรกตั้งใจจะอวดรำงามร้องเพราะ แต่มันเบื่อที่เป็นลิงกับคนและยืดยาด ตอนหลังตั้งใจจะมีเกร็ดเข้าไปหรูในเรื่องมาก จึงชักให้ช้า แต่ท้องเรื่องหลวมถ้าเล่นแต่ลำพัง เห็นจะดูไม่สู้ช้านัก

วันที่ ๓ เช้า ๒ โมง ล่องด้วยเรือใหญ่ นอนไม่ตื่นจน ๔ โมง จึงลุกขึ้นทำกับข้าว พอถึงเวลากินก็พอถึงกรุงเก่า แล้วไปสะเตชั่น บ่าย ๒ โมง ๔๐ เศษ ลงมาบางกอก เสนาบดีกระทรวงโยธา[23]ไปรับถึงสะเตชั่นบ่าย ๓ โมงเศษ ผู้รักษาพระนคร และเสนาบดีรับไปส่งเจ้าสาย[24]ที่บ้านชายแล้วกลับเข้าในวัง แขกเมืองพร้อมแล้ว กลับเข้าไปอาบน้ำ แต่งตัวครึ่งยศเสื้อสักหลาด ออกรับต้นไม้เงินทองเมืองไทร เมืองปะลิส เมืองสตูล แล้วกลับเข้าดูห้องในพระที่นั่ง นอนเหนื่อย ๆ กินของว่าง หมายว่าจะออกประชุม ๕ โมงเศษ[25]ได้โทรเลขพระยาบำเรอภักดิ์[26]ว่ารถพิเศษจะถึงปากน้ำย่ำค่ำเศษ จึงนัดเลื่อนกันใหม่ ไปรับส่งแล้วจึงจะกลับมาประชุม จนเวลา ๒ ทุ่มพอจะขึ้นรถ ได้โทรเลขมาใหม่ว่าติดรถธรรมดา จนถึงต่อทุ่ม ๔๐ จึงได้พากันขึ้นหอประชุม มีเวลาชั่วโมง ๑ เศษเล็กน้อย มีเรื่องสำคัญหลายเรื่องต้องรีบรัดและได้สั่งการให้สำเร็จจนอีก ๑๕ มินิตจะถึงกำหนด จึงได้ไปสะเตชั่นเลยไม่ทันลูก[27]มาถึงเสียก่อน ๔ - ๕ นาที แล้วยังต่อคอยพวกในที่ประชุมซึ่งไปภายหลังจนพร้อมกันแล้ว จึงได้มาบ้านเลี้ยงกัน ๒ ทุ่ม ยามเศษออกไปสะเตชั่นสามเสน ขึ้นรถไฟกลับมาบางปะอิน ชายมาด้วยแต่สุริยง[28]อยู่บางกอกถึงเกือบ ๕ ทุ่ม จอดเรือที่แพพระยาสุรสีห์[29]ซึ่งเลื่อนขึ้นมาไว้ใต้สะพาน แล้วยังมีพวกสหายหลวง[30]มาเลี้ยงขนมจีน เลี้ยงหมี่ แต่ดึกเสียเต็มทีอิ่มด้วย แจกหีบเงินและผ้าห่ม วันนี้นอนดึก


วันที่ ๔ นอนดึกตื่นสาย และท้องไม่สู้ปกติ กินข้าวกลางวันแล้วจึงได้ออกเรือบ่ายโมง ล่องลงมาเลี้ยวเข้าแควสีกุก ทำหนังสือไปบางกอก ฝนตกเรื่อยมาจนเวลาเย็นมีพายุ หางเสือเรือไม่กินน้ำ ปั่นจะไปต่อก็เห็นว่าฝนตกไม่หยุดและจะมืดค่ำ จึงจอดนอนที่วัดสีกุก เวลาบ่ายกินข้าวต้มเวลาหนึ่ง วันนี้จันทรุปราคา เห็นไม่ได้เพราะฝนตกจนหมดเวลา ที่วัดนี้มีมณฑปอยู่ตรงเรือจอด แต่ยังไม่รู้ว่าอะไรอยู่ในนั้น น้ำขึ้นมากน้ำท่วม จะขึ้นบกต้องใช้เรือ


วันที่ ๕ เช้าโมง ๑ น้ำลดสะพานเดินได้ ขึ้นไปถ่ายรูปในมณฑปที่พูดเมื่อวานนี้ มีพระป่าเลไลยก์และรูปเจ้าอธิการวัดบางปลาหมอ ที่เข้าเรียกในคำจารึกแต่ว่าพระอาจารย์วัดฯหมอ[31] รูปร่างหน้าตางามขนาดเท่าตัว ท่านอาจารย์คนนี้เป็นหมอรักษาบ้า ว่าเป็นพระญาติสมเด็จพระปวเรศ เพราะเดินขึ้นไปไม่มีใครได้พระเจริญพร[32] (โดยไม่รู้จัก) ออกเรือ ๒ โมงเช้า วันนี้ได้เทศา[33]ลงเรือมาด้วยรู้ตำบลมาก ๕ โมงเช้าถึงบ้านตาช้าง[34]หมื่นปฏิพัทธภูวนาถ ทั้งผัวทั้งเมียและลูกลงมาเต้นอยู่ที่ท่าน้ำ ดาดปะรำแต่สะพานตลอดจนถึงบันไดเรือน ปูพรม ทางบนเรือนนั้น หอที่ปลูกใหม่สำหรับรับเสด็จแต่งหรูอย่างกุฏิพระ คือติดนาฬิกาทุกเสา ๑๒ เรือน ติดรูป มีพระรูปและรูปพระสมเด็จพระวันรัตน์เป็นต้น เขากวาง ตู้ถ้วย กระจกเงาเป็นต้น มีถ้วยชา หีบหมากเงิน เชี่ยนหมากชา ก็พอกินหมากก็กินได้ ผู้คนญาติแน่นหนา ลูกแต่งตัวเต็มยศปุกปุยเต็มที่ ที่จริงทำให้เรือนนั้นสบายขึ้นมาก แต่ร้อนจัดสู้โรงที่เคยทำครัวแต่ก่อน ซึ่งแกย้ายไปปลูกห่างเรือนออกไปนั้นไม่ได้ คราวนี้พื้นเต็มเรียบร้อย แต่โรงนั้นก็โรงเก่านั่นเอง มีปลูกขึ้นใหม่หว่างเรือนและโรงที่ทำครัวหลังหนึ่งมุงกระเบื้อง รอดปิดกระดาษ เสาว่าเป็นโรงพิธีฉลองตรา มีหนังสือถวายพระราชกุศลหรือใบอุทิศถวายเรือนฉบับหนึ่ง ว่าได้ลงทุนฉลองตราสิ้นเงิน ๔,๐๐๐ บาท ฉลองพระไล[35]ลูกด้วย มีงาน ๗ วันคนแน่นหลามไปหมด จนเขาพากันว่าจะเกิดเหตุแต่ก็ไม่มีอะไรจนตลอดงาน มียี่เกมีเพลงและอะไรอีกอย่างหนึ่ง เรือนที่ทำถวายนี้ลงทุน ๑,๕๐๐ บาท เสร็จการปราศรัยแล้วก็ลงไปทำครัว นางลูกสาวแกงไก่ ยายพลับแกงบะฉ่อ แก้ซึ่งมีผู้ใส่น้ำปลาครั้งก่อน แต่เสียงยายพลับเบาไปไม่จ้าเหมือนครั้งก่อน ตาช้างว่าคราวนี้สนุกกว่าคราวก่อน แต่ยายพลับว่าคราวก่อนสนุกกว่าคราวนี้ ได้ให้หีบเงินตรา จ.ป.ร.ยายพลับ นายช้างลูกกระดุมเงินลงยาใหญ่ นางลูกสาว ๒ คน ผ้าห่ม มีหนังสือชื่อ อ้ายเจ๊กขันซองบุหรี่เงิน พาลูกเจ๊กขันมาขอชื่อ เป็นผู้ชายน่าเอ็นดูดี ให้ชื่อ เจอ ถ่ายรูปเรือนและทั้งครัว บ่าย ๒ โมงเศษได้ออกเรือ ตาช้างตามส่งถึงป่าโมก สะพานป่าโมกทำสูงน้ำมาก เดิมคิดว่าจะไปให้ถึงอ่างทองเสียทีเดียว แต่เห็นเวลาบ่าย ๔ โมงแล้ว ถ้าจะไปถึงคงย่ำค่ำเลย จึงหยุดที่ป่าโมก หม่อมอมรวงศ์ [36]มาคอยอยู่มีราษฎรมามากเหมือนเทศกาลไหว้พระ แต่ถามดูก็ได้ความว่านัดกันมารับเสด็จเท่านั้น ขึ้นถ่ายรูปนมัสการพระตามเคย


มีเรื่องแปลกที่มาได้พบตัวจริงของผู้ที่ว่าได้เคยพูดกับพระนอนซึ่งเจ้าคณะได้บอกลงไปหลายเดือนมาแล้ว เรื่องราวนั้นคืออำแดงคนหนึ่ง เป็นหลานพระครูป่าโมกข์ มารักษาอุโบสถอยู่ที่วัดนี้ในกาลปักษ์ใดปักษ์หนึ่ง เวลานั้นสัปปุรุษพากันรับเพลตามภาษาที่เขาเรียก อยู่ที่วิหารเขียนแต่นางหลานพระครูคนนี้ไม่รับเพล ด้วยมีความวิตกว่าลุงเจ็บ จึงไปบอกหลวงพ่อคือพระนอน ขอให้ช่วยรักษา นางนั้นตกใจมากที่ได้ยินเสียงพระนอนนั้นพูดตอบออกมา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์เสียงก้องออกมาจากพระอุระ ดังได้ยินจนนอกโบสถ์ บอกตำรายา ถามนางนั้นก็อิดเอื้อนไปว่าจำไม่ได้หมด จำได้แต่ใบเงิน ใบทอง พระครูรับว่าจะให้เพราะได้จดไว้ ยานั้นรักษาลุงหาย ได้แจ้งความให้พระครูทราบ พระครูไม่เชื่อพอประจวบเกิดพระสงฆ์เป็นอหิวาตกโรค จึงได้ไปลองพูดดูบ้างก็ได้รับคำตอบทักทายปราศรัยเป็นอันดี จนถึงว่าอยากพูดกับพระครูมานานแล้ว เป็นต้น แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บด้วยยานั้น เป็นอะไร ๆ ก็หาย ห้ามมิให้เรียกขวัญข้าวค่ายา นอกจากหมากคำเดียว และไม่ใช่พูดแต่ ๒ ครั้งเท่านั้น พูดเนือง ๆ มา พระครูจึงได้บอกลงไปยังเจ้าคณะและกระทรวง ผู้ที่ได้ฟังพระพูดนั้นไม่ต้องเฉพาะว่าคนเดียว พระฟังพร้อมกัน ๑๕ รูปก็ได้ ให้นางคนนั้นลองพูดกับพระ ก็เห็นจะขาดกรมประจักษ์[37]จึงไม่ได้ตอบกลับลงมามีเด็กมากอด ได้ให้เสมา ตกค่ำจึงมีพายุและฝนตกพรำไม่มาก พระครูส่งจดหมายที่เตรียมไว้จะให้มกุฎราชกุมารเรื่องพระพูดและตำรายา ในเนื้อความที่พระครูกล่าวนั้นไม่ยืนยันว่าพระพุทธองค์พูด เป็นคิดเห็นว่าผีสางเทวดาที่สิงอยู่พูด ยานั้นก็เป็น ๒ ขนาน ขนานหนึ่งเข้าใบส้มใบมะกาเป็นยาปัด ขนานหนึ่งเข้าใบมะตูมเป็นยาคุม

ลิขิตของพระครูปาโมกขมุนี


(ลิขิตฉบับนี้ พระครูปาโมกขมุนีเตรียมไว้ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อคราวเสด็จกลับจากมณฑลพายัพ แต่เผอิญหาได้เสด็จประทับที่วัดป่าโมกไม่ ลิขิตฉบับนี้จึงยังตกค้าง)


ที่วัดปาโมกข์

วันที่ ๓๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๔

ลิขิตพระครูปาโมกขมุนี วัดปาโมกข์ เมืองอ่างทอง ขอถวายพระพรยังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงทราบ


๑. เดิมวันที่ ๑๐ ธันวาคม ศก ๑๒๔ ปีนี้ เวลาประมาณบ่าย ๖ โมงเย็น พระโตอยู่ในวัดปาโมกป่วยเป็นไข้อหิวาตกโรค หมอรักษาก็ไม่บรรเทา ขณะนั้นอุบาสิกาเหลียนอยู่บ้านเอกราช แขวงปาโมก เมืองอ่างทอง จึงมาขอยา ตั้งความสัตยาธิษฐานต่อพระพุทธไสยาสน์แล้วก็เอาใบไม้ที่สมมติว่าเป็นยานั้นเอามาต้มให้พระโตที่ป่วยนั้นฉัน พระโตก็ฉันเข้าไป โรคของพระโตก็หายสมประสงค์ พระโตที่ป่วยกับอุบาสิกาเหลียนนั้นเป็นลุงหลานกัน


๒. อุบาสิกาเหลียนมาแจ้งความต่ออาตมาภาพกับพระภิกษุสงฆ์ในวัดปาโมกข์ ว่าพระพุทธไสยาสน์นี้ ท่านเป็นหลวงพ่อฉัน ฉันจะธุระนึกเอาอันใดใปหาท่าน มีเสียงออกจากพระอุระมาเสมอๆ ท่านไม่ขัดฉัน อาตมาภาพถามอุบาสิกาเหลียนว่า เสียงพูดออกมาจากพระอุระพระพุทธไสยาสน์ได้จริงหรือ อุบาสิกาเหลียนตอบว่าจริงเจ้าข้า


๓. วันที่ ๑๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ เพลา ๖ ทุ่ม ๗ ทุ่ม เลิกประชุม อาตมภาพจัดให้พระสงฆ์ในวัดป่าโมกประมาณ ๑๐ รูป คฤหัสถ์ ๕ คน ศิษย์วัดด้วย รวมพระสงฆ์คฤหัสถ์ศิษย์วัดประมาณ ๓๐ คน พากันไปที่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ อุบาสิกาเหลียนก็ไปด้วย ขณะนั้นอาตมภาพจึงให้พระสงฆ์จุดโคมไฟให้แสงสว่างทั่วไปในวิหารนั้น อาตมภาพได้ให้พระสงฆ์ตรวจดูว่าเป็นผู้ใดทำกลมารยา เร้นซ่อนเข้ามาพูดกับอุบาสิกาเหลียน กลัวว่าอุบาสิกาเหลียนจะเป็นคนเท็จทุจริต พระสงฆ์ก็ตรวจดูตามทาง คือพระวิหารและฝาผนังองค์พระทั่วไป ก็ไม่เห็นมีคนที่จะเข้ามาแอบแฝงอยู่ในที่นั้นได้ แล้วอาตมภาพจึงให้พระสงฆ์ปิดประตูพระวิหาร และให้รักษาคอยสอดแนมดูอยู่ในพระวิหารทั่วไป เป็นเหตุที่ไม่เชื่อคำอุบาสิกาเหลียน หวังใจจะจับเท็จอุบาสิกาเหลียน


๔. อุบาสิกาเหลียน ๑ อาตมภาพและพระสงฆ์ ๑๐ รูป คฤหัสถ์ชาวบ้านศิษย์วัดรวม ๓๐ คน พากันเข้าไปในวิหารพร้อมกัน มีแสงไฟสว่างทั่วไป ไปนั่งอยู่ที่ตรงพระพักตร์พระพุทธไสยาสน์ห่างประมาณ ๔ ศอก อุบาสิกาเหลียนจุดธูปเทียน เอาใบพลู ๑ ใบ ทาปูนพับ ๔ เหลี่ยม หมาก ๑ ซีก ยาสูบใส่พานบูชา แล้วออกอุทานวาจาตั้งอธิษฐานว่าดัง ๆ พยานที่ไปก็ได้ยินในคำอธิษฐานนั้น ว่านิมนต์หลวงพ่อเอาเภสัชในพานนี้ไปฉัน ให้พระครูปาโมกขมุนีดู ประมาณ ๒ มินิต หมากในพานก็หายไป อาตมภาพกับพยานได้เห็นอัศจรรย์ชั้นแรกแต่จิตนั้นไม่เชื่อ แล้วอาตมาภาพถามอุบาสิกาเหลียนว่า นี่ฉันจะพูดด้วยได้หรือไม่ได้ อุบาสิกาเหลียนก็ร้องขึ้นว่า นิมนต์หลวงพ่อพูดกับท่านพระครูจะได้หรือไม่ได้ ขณะนั้นได้ยินเสียงปรากฏอยู่ที่พระอุระ สำเนียงกระแสเสียงตอบว่าได้


๕. ขณะนั้นอาตมภาพก็ยกมือขึ้นนมัสการ ร้องเรียกหลวงพ่อคำรบ ๓ มีเสียงปรากฏออกจากพระอุระตอบว่าเรียกทำไม อาตมภาพไต่สวนต่อไป ถามหลวงพ่อในสมัยนี้หลวงพ่อมีความสุขสบายดีหรือ ตอบออกมาว่าสบาย แล้วอาตมภาพถามว่า หลวงพ่อสบายแล้ว หลวงพ่อให้ความสุขสบายแก่ผมบ้างไม่ได้หรือ เสียงตอบว่าพระครูก็เป็นสุขสบายอยู่แล้ว อาตมภาพถามว่า จะให้เป็นสุขสบายขึ้นไปยิ่งกว่านี้จะได้หรือไม่ได้ ตอบว่าไม่ได้ อาตมภาพถามว่า เหตุใดจึงไม่ได้ ตอบออกมาว่าเดือนยี่กับเดือน ๕ จะเกิดเป็นโรคอหิวาตกโรค แล้วอาตมภาพถามว่า ส่วนที่จะเกิดอหิวาตกโรคทำไมจึงทราบได้ หยูกยาจะไม่ทราบบ้างหรือ ถ้าทราบยาได้แล้วบอกให้เป็นทานแก่มหาชนทั้งหลายทั้งปวงสืบไป ตอบว่าไม่ต้องรับประทานยา อาตมภาพถามว่า ไม่รับประทานยาจะรับประทานอะไรจึงจะหาย ตอบว่ารับประทานน้ำมนต์ก็หาย อาตมภาพถามว่าเดือนยี่กับเดือน ๕ ยังอยู่อีกหลายราตรีจะคิดเวียนเทียนถวายจะชอบหรือไม่ชอบ ตอบว่าชอบ ถามว่าจะทำข้างขึ้นหรือข้างแรม ตอบว่าให้ทำข้างแรม ถามว่าเครื่องดนตรีนั้นจะต้องใช้หรือไม่ต้องใช้ ไม่ตอบ อาตมภาพถามว่าหรือจะไม่ชอบ ชอบแต่ดอกไม้ธูปเทียนเวียนเทียนเท่านั้น ตอบว่าฮือ แล้วอาตมภาพไต่สวนถามต่อไปว่า ที่มหาชนมาเวียนเทียนและที่จะมาขอน้ำมนต์ไปรับประทาน ตั้งแต่เดือนอ้ายไปถึงเดือนยี่และเดือน ๕ ที่จะเกิดไข้อหิวาตกโรคนั้น ถ้ากินหนเดียว ครั้งเดียวจะคุ้มไปถึงได้หรือไม่ได้ ตอบว่าได้ พยานพระและคฤหัสถ์ก็ได้ยินที่มานั่งประชุมฟังเสียงพูดเป็นอัศจรรย์ ได้ยินทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ ได้ยินทุก ๆ คนเป็นอัศจรรย์ชั้นปฐม ถึงได้ยินเสียงปรากฏดังนี้ อาตมภาพยังไม่เชื่อแท้ ยังมีความสงสัยอยู่ว่าจะเป็นเสียงภูตปีศาจหรือเทวาดา หรืออารักษเทวาและอมนษย์พูดแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง อาตมภาพไม่เห็นตัวได้ยินแต่เสียงอัศจรรย์จากพระอุระพระพุทธไสยาสน์ดังนี้ สิ้นเวลาวันปฐม


๖. ต่อมาวันที่ ๑๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ เพลา ๔ ทุ่ม อาตมภาพ พระสงฆ์ ๑๕ รูป คฤหัสถ์ ๒๐ คน อุบาสิกาเหลียนด้วย พากันเข้าไปในพระวิหาร ตรวจดูในพระวิหารมีแสงไฟสว่างตามที่ตรวจดูมาแต่เดิม ก็ไม่เห็นผู้คนผู้หนึ่งผู้ใดที่จะเข้ามาแอบแฝงเร้นซ่อนบังกายอยู่ในพระวิหาร และองค์พระพุทธไสยาสน์ตรวจทั่วไป พร้อมด้วยพระสงฆ์คฤหัสถ์พากันจุดธูปเทียนนมัสการบูชาปิดประตูรายกันอยู่ทั่วไปในพระวิหาร คอยดูคนทุจริต อาตมาภาพนั่งอยู่ที่ตรงพระพักตร์พระพุทธไสยาสน์ อุบาสิกาเหลียนก็ร้องขึ้นดัง ๆ ว่าหลวงพ่อ เสียงดังออกมาจากพระอุระว่าฮือ คำตอบก็ดังปรากฏออกมาว่า อยากจะพูดกับพระครูปาโมกขมุนีอีก ขณะนั้นอาตมภาพก็ถามว่า ผมจะทำรั้วสังกะสีตาข่าย ทำเป็นรั้วกั้นในรอบองค์หลวงพ่อ หลวงพ่อจะชอบหรือไม่ คำตอบว่าชอบ คำถามก็รับว่าจะทำถวาย อาตมภาพถามว่า เดิมหลวงพ่ออยู่วิหารเก่าที่ฝั่งมรรคา อยู่เคียงศาลาโรงธรรมหรือกุฏิกระผมขึ้นไป เพราะเจ้านายเสด็จไปมา ตรัสถามว่าวิหารเก่าอยู่ที่ไหน กระผมเพ็ดทูลข้องขัด ถ้าจะถามเดิมตอบว่าอยู่เมืองลาว อาตมภาพถามว่า เมืองลาวที่อยู่นั้น สมมติเรียกว่าเมืองอะไร คำตอบก็ไม่มีปรากฏออกมา อาตมาภาพถามเหตุใดจึงได้มาอยู่วัดป่าโมกได้ ตอบว่าลอยน้ำมา ถามว่าลอยน้ำมาพะปะอยู่ที่ไหน ตอบว่าถ้าอยากจะรู้แล้วให้เข้าไปแต่พระครูองค์เดียว จะเล่าของเก่าให้ฟังทั้งสิ้น ตอบว่าพระพูดเสียงดังจะไม่ให้กลัวด้วย อาตมภาพไต่สวนต่อไป ถามว่ากระผมจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ปิดทองให้เป็นที่งดงามกว่าแต่ก่อน ดังนี้หลวงพ่อจะชอบหรือไม่ชอบ คำตอบว่าชอบคล้ายกับหัวเราะด้วย อาตมภาพกับพยานพระสงฆ์และคฤหัสถ์มีชื่อที่ได้ยินได้ฟัง ได้ทราบเหตุที่เป็นอัศจรรย์บังเกิดขึ้นในวัดดังนี้ อาตมาภาพได้ทำรายงานไว้ลอกคัดถวายพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมทรงทราบ ขอบุญบารมีพระเดชพระคุณเป็นที่พึ่ง เพราะเป็นการอัศจรรย์ จะเป็นเสียงภูตปีศาจ หรือเทพารักษ์ อมนุษย์อย่างใด ก็ยังไม่เชื่อแท้ เป็นเสียงเลื่อนลอยไม่เห็นตัวเห็นตน มีเสียงพูดดังออกมาจากพระอุระพระพุทธไสยาสน์ดังนี้


ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรด


ขอถวายพระพร

พระครูปาโมกขมุนี


ใบส้มโอ ๑ ใบโคนทีสอ ๑ ใบมะกรูด ๑ ใบเงิน ๑ ใบทอง ๑ ใบมะพู่ ๑ ใบมะกา ๑ ใบมะนาว ๑ รวม ๘ สิ่งนี้ เป็นยาต้ม


ต้องลงคุณพระ ลงด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และสักกัตวาจนจบบท พุทธคุณห้องต้นนั้นลงกระดาษปิดปากหม้อ และธรรมคุณ สังฆคุณ สักกัตวานี้ ลงใส่กระดาษไว้ก้นหม้อ ต้มแล้วรับประทานครั้ง ๑ รุ่งราตรีหน้าแล้วเอากระดาษที่ปิดปากหม้อใส่ลงในหม้อต้มเคี่ยวไปกับยา


เมื่อเวลาจะประกอบยานี้ จุดดอกไม้ธูปเทียนแล้วระลึกถึงเจ้าของยา เมื่อรับยาบอกว่าเป็นโรคสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วจึงรับ


ขวัญข้าวหมาก ๑ คำ หาคล้ายกับเมี่ยงลาวพันสำลีสามเปลาะใส่พานแขวนไว้สูงๆ


ถ้าหายโรคแล้ว หมากคำนั้นต้องส่งขวัญข้าว เภสัชนั้นแห้งเสียแล้วหาอื่นแทนก็ได้ แต่ต้องหาเหมือนกับยังที่ตั้งขวัญข้าวไว้


เมื่อพระอาพาธเป็นไข้อหิวาตกโรคนั้น ได้ยาขนานนี้บริโภคหาย ใบขนุน ๑ ใบเข็ม ๑ ใบบานไม่รู้โรยขาว ๑ ใบมะตูม ๑ รวม ๔ สิ่งเป็นยาต้ม


ยา ๒ ขนานนี้ปรุงเสมอภาค

วัน ที่ ๖ เช้า ๒ โมงออกเรือ เช้า ๔ โมงถึงอ่างทองแวะที่ตลาดถ่ายรูปและซื้อของบ้าง เลิกบ่อนเสียตลาดโรยไป ๑ ใน ๑๐ ไม่มากนัก ออกจากตลาดลงเรือมาดมาที่ที่ว่าการเมืองซึ่งย้ายขึ้นไปตั้งข้างเหนือน้ำ โรงเลื่อยซึ่งอยู่ตรงข้ามฟากอันเริ่มทำเมื่อขึ้นไปเมืองเหนือน้ำ บัดนี้สำเร็จแล้ว ที่ว่าการเก่าเปลี่ยนเป็นที่พำนักสำหรับข้าหลวงตรวจราชการ ที่ว่าการใหม่ทำห่างแม่น้ำเข้าไปเป็นตึกงดงามแน่นหนาดี แต่ศาลยังคงเป็นไม้อยู่ ตรวจดูออฟฟิศและศาล ๒ แห่ง ทั้งถ่ายรูป เสร็จแล้วจึงได้ลงเรือขึ้นไปบ้านข้าหลวง ซึ่งอยู่คนละฟากไกลขึ้นไป บ้านนี้คือที่พลับพลาเมื่อครั้งไปเหนือ ซึ่งทำเป็นสวนบนฝั่งหลังที่จอดเรือ มีข่อยมากเป็นที่อาศัยร่มได้ เรือนทำขึ้นใหม่เป็นเรือนไม้สบายดี กลับลงมาพักที่แพทำครัวกินข้าวกลางวัน แพนี้เป็นแพคราวพิษณุโลก บ่าง ๒ โมงออกเรือ บ่าย ๔ โมงเศษจอดที่ไชโย ขึ้นไปนมัสการพระแลถ่ายรูป มีคนมากทั้งตาเกดมหาพุทธพิมพาและมหาอิ่ม[38]ซึ่งมาเป็นนายบ้านก็อยู่ด้วย เวลาพลบฝนตก


วัน ที่ ๗ เวลาเช้า ๒ โมงออกเรือจากไชโย ๔ โมง ถึงวัดชลอนพรหมเทพาวาสของท่านพิมล (อ้น) ขึ้นถ่ายรูป มีพี่น้องท่านพิมลมารับมาก ต้นโพธิ์กิ่งตอนวัดนิเวศน์ใหญ่โตงามดีมาก แต่เอียงไปข้างหนึ่งเพราะหลบต้นมะม่วง อยู่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงออกจากวัดชลอน ขึ้นตลาดหมื่นหาญสนุกครึกครื้นกว่าแต่ก่อน ตลาดนี้ติดได้เพราะเป็นท่าเกวียนมาแต่เมืองลพบุรี ทางแต่ท่านี้ไปถึงวัดไลโดยม้าชั่วโมงหนึ่ง มีผักสดปลาสดมาขายจากลพบุรี แล้วเดินตั้งแต่ตลาดมาที่ว่าการอำเภอ หยุดทำกับข้าวกินที่ตลิ่งหน้าออฟฟิศโทรเลข ยังไม่ทันถึง ๒ โมงลงเรือมาดขึ้นมาเข้าปากน้ำบางพุทรา ซึ่งเดี๋ยวนี้เรือเมล์เดินได้แล้ว แวะที่ไร่พริกแล้วกลับขึ้นมาจอดที่เมืองสิงห์ใหม่ ขึ้นเดินบกถ่ายรูปจนถึงวัดสุดตลาด ที่ตลาดก็ดูครึกครื้นดี แต่สู้อ่างทองไม่ได้ ที่ว่าการต่าง ๆ ทำขึ้นใหม่บ้าง แต่เป็นไม้เล็ก ๆ แต่จวนผู้ว่าราชการยังเป็นจวนพังโทรมเต็มทีทำใหม่ยังไม่แล้ว ถนนดีแต่สำหรับไม่มีฝน ถ้ามีฝนทีจะเป็นโคลน (ที่ข้างวัดใต้เมือง) มีพระแก่เบา ๆ [39]อยู่องค์หนึ่ง กรมประจักษ์[40]ตั้งให้เป็นพระครู คุยพล่ามว่าได้เป็นผู้บังคับการพระบาทมงคลทิพยมงคลเทพก็รู้จัก มีเครื่องอยู่คงมาแจกทหารมาก เมื่อไปพบหมดเสียแล้ว พักทำครัวที่แพชุดพิษณุโลกเหมือนกัน วันนี้กับข้าวดีมาก และฝนไม่ตก เป็นวันแรกตั้งแต่มา


วันที่ ๘ เช้า ๒ โมงออกเรือ เขาเตรียมจะให้พักกลางวันวัดเวฬุวันวัตยาราม แต่เห็นยังเช้านัก จึงได้เลยขึ้นมาจนถึงที่ว่าการเมืองอินทร์ แวะจอดที่นั้นถ่ายรูป ให้พระยาโบราณมาตรวจดูหน้าวัดปลาสุก ว่าจอดได้ เลื่อนเรือมาจอดหน้าวัดปลาสุก ๕ โมงเศษ วัดนี้เป็นที่พระครูอินทมุนีอยู่ ชื่อใหม่เรียกวัดสนามชัย ดูเป็นวัดโบราณมาก ต้นไม้ใหญ่แต่ฝีมือเลว ๆ เอาโบสถ์เข้าไปไว้ในหมู่ไม้ลึกห่างน้ำมาก เดิมเข้าใจว่าหลังข้างในที่สุดซึ่งเป็นผนังตึกจะเป็นโบสถ์ แต่ไม่ใช่กลายเป็นวิหารไป พระอุโบสถนั้นเสาไม้รูปร่างเหมือนการเปรียญ ตั้งต่อออกมาข้างหน้า มีหน้าเมืองสรรค์งามอยู่หน้าหนึ่ง ปั้นพระองค์เป็นปูนต่อขึ้นไว้ ถามได้ความว่าไปเอามาแต่วัดตรงข้ามฟาก ได้บอกให้พระยาโบราณมาทำพระเศียร ทำกับข้าวในหมู่ต้นไม้ลานวัดข้างกุฏิ พระครูอินทมุนีนี้เป็นหมอแต่เป็นหมอยามากว่าหมอเสกเป่า ชาวบ้านนับถือ ฟังตาผู้ใหญ่บ้านมาลือต่าง ๆ แกชื่อบุญ เติมลือให้เป็นเป็นชื่อบุญลือ เรื่องลือที่ ๑ นั้น คือว่าโหรถวายฎีกา ว่าจะได้ผู้มีบุญ จึงได้เสด็จออกไปเมืองตะวันออกได้ลูกเงาะ[41]มาคนหนึ่งโปรดมาก ถึงจะทำอย่างไร ๆ ต่อหน้าขุนนางก็รับสั่งไม่ให้ใครว่ากล่าวห้ามปราม การที่เสด็จมาครั้งนี้ เมื่อพิชัยมีใบบอกลงมาไปว่าเกิดต้นโพธิ์ขึ้นต้นหนึ่งใบขาวเป็นเงิน จึงได้เสด็จขึ้นมาทอดพระเนตรต้นโพธิ์เงิน อีกนัยหนึ่งว่าจะตรวจสุขทุกข์ของราษฎร ห้ามไม่ให้กะเกณฑ์และอื่น ๆ กลับลงมาจากวัดบ่าย ๒ โมง ๔๐ ออกเรือมาถึงอำเภอสรรพยา เวลาบ่าย ๕ โมงเกินเล็กน้อย ท้าวเวสสุวรรณคือพระยาอมรินทร<refคือพระพระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัศ รัตนกุล) เวลานั้นเป็นสมุหเทศาภิบาลนครสวรรค์ ซึ่งดำรัสเรียกว่า ท้าวเวสสุวรรณนั้น เพราะเมื่อครั้งเตรียมการรับเจ้าต่างประเทศที่พระราชวังบางปะอินครั้ง ๑ พระยารัตนกุลฯ ยังเป็นผู้ว่าเมืองอ่างทอง พระยาพิสุทธิธรรมธาดา (สว่าง) ผู้ว่าราชการเมืองลพบุรี พระยาวจีสัตยรักษ์ (ดิศ นามสนธิ) ครั้งยังเป็นผู้ว่าเมืองสระบุรี กับพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค) เมื่อยังเป็นผู้ว่าราชการเมืองสิงห์บุรี ทั้ง ๔ คนนี้ได้เป็นนายด้านทำการแต่งพระราชวัง มีพระราชดำรัสเรียกว่า "จตุโลกบาลทั้ง ๔" พระยารัตนกุลฯ ได้รับสมมติเป็นท้าวเวสสุวรรณ</ref>ลงมาคอยอยู่แล้ว ที่นี่หรูขึ้นไปกว่าที่อื่นด้วยอดไม่ได้ ถึงตีรั้วแทนที่ฉนวนกั้นและตามไฟ ขึ้นเดินไปประมาณ ๒๐ เส้นไม่มีอะไรที่จะพึงดูเลย กลับมาดูทหารชัยนาทซึ่งเจ้าคำรบ[42]พาลงมาเป็นน่าดูกว่าอื่น ๆ หมด เอาลงมารักษาการ ๕๐ คน เวลาคำนับร้องเพลงสรรเสริญบารมีเรียบร้อย ได้ไปลองทักทายตั้งแต่นายสิบจนลูกแถวพูดจาคล่อง พิจะค่ะขอรับเป็นทุกคน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนคนคุ้นเคย เป็นคนหนุ่มๆทั้งสิ้น


วันที่ ๙ ระยะทางมากกว่าวันก่อน เป็นอันจะไปได้เพียงเมืองกำแพงเพชร[43] จึงคิดร่นตอนต้นนี้ที่เคยเห็นให้น้อยเข้า ออกเวลา ๒ โมงเช้าถึงวัดพระธาตุเวลา ๔ โมงเศษ พระครูอินทโมลี[44]จัดรับแข็งแรงถึงทำปะรำเป็นฉนวน ผูกฉัตรและต้นกล้วย แต่ที่เก๋งนั้นพระครูเดินเองออกไปบอกร้องวันทยาหัตถ์ให้ผู้ใหญ่บ้านและนักเรียนคำนับ ได้ถ่ายรูปและบูชาตามเคย พระชัยนฤนาท[45]ออกความเห็น ใหม่ว่า ที่พระธาตุนี้ไม่ใช่เมืองชัยนาทเพราะเมืองใกล้เมืองสรรค์นัก ระยะทาง ๔๐๐ เส้น ได้ไปค้นพบใหม่แห่งอื่นแล้ว กำลังตรวจตราให้แน่กันอยู่[46] ที่วัดพระธาตุนี้เป็นทำนบกั้นน้ำห้วยกรด ซึ่งอยู่ใกล้วัดให้ไปลงน้ำแพรก ของเขาชอบกลดีอยู่ เจ้าครองเมืองเหล่านี้คงตั้งประจำแม่น้ำละองค์ คือน้ำสุพรรณองค์หนึ่ง น้ำแพรกองค์หนึ่ง น้ำชัยนาทองค์หนึ่ง พระธาตุเห็นจะได้สร้างภายหลังเมื่อชักตระกูลสุโขทัยลงมาเป็นเมืองชั่วคราว ๕ โมงครึ่งออกจากวัดพระธาตุไปจอดที่ที่จัดไว้สำหรับแรม ตรงที่ว่าการข้าม เพราะฟากตะวันออกร้อนนัก เขาเลื่อนแพมาจอดไว้ด้วย ขึ้นทำกับข้าวและอาบน้ำ บ่าย ๒ โมงครึ่งได้ออกเรือ แวะที่โรงทหารขึ้นตรวจแถว และตรวจโรงซึ่งแล้วใหม่ ดูคนซึ่งเข้าใหม่ คนชั้นเกณฑ์คราวหลังนี้มีเล็ก ๆ มาก อายุ ๑๙ ยังดูเด็ก กลับจากโรงทหารขึ้นมาถึงหน้าเขาธรรมามูล ๔ โมงครึ่ง ข้ามไปถ่ายรูปที่หาดตรงข้ามจนเย็นจึงได้ขึ้นเขาเรี่ยไรปฏิสังขรณ์ศาลาและวิหารขึ้นใหม่ แต่โบสถ์และพระเจดีย์ยังไม่ได้จัดการ ได้เข้าเรี่ยไรด้วย เทศกาลไหว้พระมี ๓ คราวคือ กลางเดือน ๖ กลางเดือน ๑๒ กลางเดือน ๓ กลางเดือน ๑๒ เป็นการประชุมใหญ่ ฝนไม่ตกมาหลายวันชาวบ้านนี้บ่น วันนี้ฟ้าแลบแต่ไม่ตก


วัน ที่ ๑๐ ออกเรือ ๒ โมงเช้า มาถึงหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมโนรมย์ ๔ โมงเศษ เขาเอาแพเล็ก ๆ มาจอดเรียงกัน ๓ หลัง แล้วทำนอกชานจนดูเป็นแพใหญ่ดี ๕ โมงเช้าลงเรือมาดไปเข้าคลองสะแกกรังชั่วโมงเศษถึง เขายืมแพวัดไปจอดที่ที่เคยจอดแต่ก่อน ทำกับข้าวกินข้าวแล้ว บ่าย ๒ โมงเศษลงเรือขึ้นไปเหนือน้ำ หยุดถ่ายรูปแล้วขึ้นตลาด คราวนี้ถนนแห้งเดินดูได้ทั่วถึง ดูครึกครื้นกว่าตลาดกรุงเก่ามาก กลับมาลงเรือแวะที่หน้าวัดโบสถ์พบพระครูจัน[47]ครู่หนึ่ง แล้วกลับมามโนรมย์ขึ้นเดินบกครึกครื้นดีกว่าที่คาดเป็นอันมาก ที่ติดได้เพราะด้วยหน้าแล้ง พวกสะแกกรังต้องเดินมาซื้อในที่นี้ เพระปากคลองปิด เข้าได้แต่เรือพายม้า ๒ แจว


วันที่ ๑๑ มาถึงวัดพระปรางค์เหลืองเที่ยง พระครู[48]ลงมาคอยอยู่ที่แพ ขึ้นบกทำกับข้าวแล้วดูเหยียบฉ่า[49] กรมหลวงประจักษ์ให้เหยียบถ่ายรูป พบเจ้าพระยาเทเวศร ซึ่งมารักษาตัวอยู่ที่นี้ ดูเดินคล่องขึ้น ถามพระหมอแรกบอกว่าเป็นอัมพาต แต่เป็นมานานเสียถึง ๓๕ ปี ครั้นเถียงว่าอัมพาตทำไมถึงช้าเพียงนั้น ก็รับว่าอ้ายนั่นว่าที่เป็นใหม่นี่หายแล้วยังจะรักษาที่เป็นเก่าต่อไปอีก เดินดูกุฏิและโบสถ์ที่ทำใหม่ ไม่มีสาระอไรกลับลงมาร้อน อาบน้ำเลยให้พระครูรดน้ำมนต์[50] อยู่ข้างจะเหว[51] สบายมาก มาชั่วโมงเศษถึงอำเภอพยุหคีรี มีพายุฝนตกประปราย ต่อฝนหายจึงได้ขึ้นจะไปพระบาทที่เขาสร้างขึ้นไว้ใหม่บนเขาเมือง ๒๐ ปีนี้ กลัวจะมืดจึงเดินไป แต่ที่ต้นทางทางที่ไปเขานี้เป็นทางไปขึ้นรถไฟ ตำบลเนินมะกอก ๑๒๐ เส้น มีคนขึ้นลงเสมอ แต่ไม่มีสินค้านอกจากหมากพลู วันนี้รับหนังสือบางกอก

วันที่ ๑๒ เวลาเที่ยงถึงวัดบ้านเกาะ หยุดสำหรับกินข้าวได้ทำมาตามทางแล้ว ขึ้นบกพบสมภารอายุ ๘๗ ปี เคี้ยวจัดเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์[52] ตาบอดข้างหนึ่ง แต่รูปร่างเปล่งปลั่งดี วัดใหญ่รักษาสะอาด มีตึกอย่างเก่า ๒ หลัง ในโบสถ์จารึกว่า สร้างเมื่อศักราช ๑๑๕๕ มีของประหลาด แต่พระกระจายยืนรูปร่างดี ได้ขอพระแล้วให้เงินไว้ให้สร้างเปลี่ยนใหม่ ต่อมาอีกชั่วโมงเศษถึงนครสวรรค์ จอดแพที่หน้าว่าการ พบพระยาสุรสีห์ลงมาแต่เชียงใหม่ พระยาศรี[53]ขึ้นมาแต่กรุงเทพฯ นึกจะไปดูเรือแม่ปะแต่เรียกเรือไม่ได้ เลยขึ้นบนบกถ่ายรูปที่ว่าการ ไปบ้านเทศาดูคุกและศาล วันนี้นอนบนแพร้อนจัด เพราะมืดฝนแต่ยังไม่ตก น้ำลด ๕ ศอกเพราะฝนขาด


วันที่ ๑๓ ไปตลาดปากน้ำโพ ขึ้นริมห้างจีนสมบุญ[54] ถ่ายรูปและซื้อของ ไปจนถึงบ้านยายจูซึ่งเป็นที่สุดของตลาด เมื่อมาคราวที่แล้วมานี้เวลาไม่พอ ขึ้นแห่งนี้ไปลงท่าหน้าวัดโพธิ์ เพราะฉะนั้นได้เห็นครึ่งตลาดเท่านั้น คราวนี้ได้เห็นตลอด ของขายเป็นของกรุงเทพฯ ของที่เงี้ยวเอามาขาย ถ้าเป็นผ้าก็แมนเชสเตอร์ทั้งนั้น ไม่ใคร่จะมีอะไรที่จะซื้อได้ ยายจูมาเชิญเสด็จถึงกลางตลาด ด้วยความประสงค์จะให้ดูเห็ดซึ่งขึ้นเมื่อเวลากำหนดว่าจะเสด็จ ข้างจีนเขานับถือกันว่าเป็นมงคล ที่จริงไม่เคยเห็นโตอย่างนี้ พอเต็มอ่างเขียวขนาดใหญ่ กลับมาเที่ยง บ่าย ๕ โมง ไปดูโรงทหารตั้งอยู่ต่อค่ายพม่าเก่า ปีนี้เป็นปีที่ ๔ คนสำรับแรกได้ออกไปบ้างแล้ว จึงเป็นการสงบเรียบร้อย ไม่มีการตื่นเต้นอันใด การปลูกสร้างก็ร่วมเข้ามากแต่ยังไม่พอคนอยู่ คนประจำมณฑล ๑,๒๐๐ เต็มอัตรา ปลูกต้นสักแล้วตรวจโรง เลี้ยงน้ำชาที่ที่ว่าการ แล้วกลับดูเรือแม่ปะที่จะเป็นเรือพระที่นั่ง เป็นเรือของลูกโตได้มาจากพระยาสุรสีห์[55] ทำเก๋งเดินได้ตลอดลำอย่างโก้ เจ้าของขอให้ตั้งชื่อว่า "สุวรรณวิจิก" มีเรือเก๋ง ๓ ลำ ของกรมดำรงลำ ๑ พระยาสุจริต[56]ลำ ๑ พระวิเชียร[57]ลำ ๑ เป็นเรือข้างใน แต่เรือที่นั่งจัดประทุนไว้ด้วยลำ ๑ เวลาค่ำฝนตกไม่สู้มากนัก มีลมจัด


วัน ที่ ๑๔ เมื่อคืนนี้ฝนตกพรำต่อไปอีกยังรุ่ง พวกทหารเขาถือว่าเป็นฤกษ์ปลูกต้นสักที่โรงทหาร เพราะเมื่อเวลาปลูกนั้นยอดพับ ครั้นถูกฝนคืนนี้ตลอดยอดกลับตั้ง เวลาเช้าไป(ดู)เขาบวชนาค หน้าแล้งแปลกกว่าหน้าน้ำมาก ใช่แต่สะพานไม่ถึงน้ำ ยังมีหาดขึ้นขวางหน้าร่องน้ำต้องไปเข้าทางเหนือ แต่มิใช่เรืออะไรเข้าไปได้ ต้องเข็นและลุย ให้แต่ผู้หญิงขึ้นถ่ายรูปอยู่ตามสะพานและศาลา พบกองพรานที่เขาเกณฑ์มา จะให้ตามขึ้นไป มีช้าง ๕ เชือก เขากระโจมปืน และตั้งยามล้อมกันอยู่ ได้ถ่ายรูปพวกหัวหน้า ขออย่าให้ต้องตามไป อนุญาตให้ปล่อย แจกให้คนละกึ่งตำลึง แล้วกลับมาจัดเรือ เวลาบ่ายลงเรือไปเที่ยวตลาดแพในแควใหญ่ มีแพห้างจีนของฝรั่งแพ ๑ เหมือนกับร้านแควน้อย เขาช่างเลือกของซึ่งจำเพาะจะใช้เดินทาง เจ้าของร้านดูเป็นคนฉลาด ว่ามีรถไฟแล้วนำของขึ้นมาได้ง่าย มีกำไรดีขึ้นกว่าแต่ก่อน


วันที่ ๑๕ สองโมงเช้า ติดแผ่นเงินชื่อเรือสุวรรณวิจิกแล้วออกเรือ เรือไฟลากขึ้นมาจนพ้นตลาด แล้วจึงได้ถ่อ อันลักษณะถ่อนี้เล่าไม่เข้าใจชัด จนเวลาได้เห็นเอง เรือลำนี้ใช้คนถ่อ ๕ นายร้อยถือท้าย ๑ ที่แท้ได้ถ่อคราวละ ๔ ถ่อ ผลัดกันนั่งเสียคน ๑ ถ้าร่องน้ำไปขวาถ่อซ้าย ถ้าร่องน้ำไปซ้ายถ่อขวา ถ่อที่ขึ้นพ้นน้ำยกลอยข้ามศีรษะคนกำลังถ่อ เมื่อยังไม่เคยมาในเรือเช่นนี้ นึกว่านายร้อยที่ถือท้ายจะเกะกะกีดอยู่ข้างท้ายมาก แต่ที่จริงดีกว่ากะลาสีถือท้ายเรือกรรเชียงซึ่งขึ้นมานั่งข่มอยู่ข้างหลังเรามาก ที่ยืนอยู่ข้างหลังเรามาก ที่ยืนอยู่ต่างหากนอกเก๋งไม่เกี่ยวข้องอันใดเลย เรือลำนี้เดินเร็วมาก ลงเรืองชะล่า[58]ไปขึ้นถ่ายรูปที่หาดทรายงาม ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครสวรรค์ไม่ถึง ๒ เลี้ยว แล้วเปลี่ยนไปขึ้นเรือแม่ปะประทุน เอากรมดำรงกับพระยาโบราณซึ่งไปพบกันที่หาดนั้นลงเรือไปด้วย ลงมือทำกับข้าวไปพลางไปอีกหน่อยทันเรือชายยุคล[59] เอาตัวลงมาด้วย พวกที่ไปจากเรือ ๓ คน คือชายอุรุพงศ์[60] พระยาบุรุษ หลวงนายศักดิ์[61] มหาดเล็กประจำเรือ ๔ คน ตั้งใจจะให้หลงลำแต่ไม่สำเร็จ จนถึงที่พักร้อน เพราะเหตุที่เทศาพาเรือประพาสมาตาม ประเดี๋ยวผู้ใหญ่ถ่อเรือชะล่าตาม ต้องไล่เทศาไปลงเรือสุวรรณวิจิก ให้จอดคอยกระบวนหลัง ซึ่งยังล้าอยู่มากและถอดเสื้อกางเกงคนถ่อ ลงนุ่งกางเกงขาก๊วย ผ่านเรือพวกบางกอกขึ้นมาเสียอีกหลายลำ มารู้ว่าสำเร็จได้เมื่อผ่านเรือนายทหารมณฑลนครสวรรค์ซึ่งขึ้นมาตามเสด็จไม่รู้จัก จึงลงมือเสาะหาที่หยุด ได้ข้างฝั่งขวาเป็นบ้านนายพันอำแดงอิ่ม มีลูกหลานว่านเครือมาก เป็นเจ้าของนาโท เพราะแกเล่าว่าแกเสียค่านา ๓ สลึง เป็นเจ้าของที่ไร่ยาสูบ ซึ่งเป็นที่ดี (สมมติให้) พระยาโบราณเป็นเจ้าตัวผู้ใหญ่ในการเที่ยวครั้งนี้ ในหน้าที่เทศากรุงเก่า ทำท่าทางและพูดจาไต่ถามดีมาก เราเป็นช่างถ่ายรูปของเจ้าคุณ จนกระทั่งเชิญขึ้นเรือน และนั่งสนทนาเป็นที่สนิทสนมดีมาก ข้อความที่สนทนาว่าโดยย่อ แปลกใจที่ค่านาทำไมขึ้นไปกว่าแต่ก่อน ยอมรับว่าหาเงินเดี๋ยวนี้ได้โดยง่าย แต่ใช้ก็มากเหมือนกัน เมื่อก่อนข้าวเคยขายเกวียนละ ๔ ตำลึงเท่านั้น ปล้นตีชิงไม่มี แต่ถ้าเจ้าของไม่ระวังรักษา เช่นควายเป็นต้น ถูกขโมย ถ้าระวังรักษาอยู่แล้ว ขโมยไม่กล้า เคยลงไปเฝ้าในหลวงที่ปากน้ำโพ ได้เฝ้าใกล้จำได้ หลานได้เสมามา ๒ คน เสมานั้นเป็นเครื่องคุ้มกันอันตรายดีอย่างยิ่ง เพราะเวลาท่านประทานท่านให้พร หลานได้มาครั้งนั้น ๒ คน เดี๋ยวนี้ต้องแบ่งไปให้หลานบ้านอื่นเสียอัน ๑ เพราะขี้โรค ที่อยู่บ้านเดี๋ยวนี้ต้องผลัดกันผูก ใครขี้โรคคนนั้นได้ผูก ท่านแจกก็มากจะหาซื้อสักอันหนึ่งไม่ได้เลย ไม่มีใครเขาขาย อยากเฝ้าในหลวง พระยาโบราณรับจะพาเฝ้า นัดหมายกันมั่นคงว่าจะลงไปกรุงเก่า แต่จะรอขายข้าวให้ได้ทุนเสียก่อน แสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นอันมาก เพราะได้อยู่เย็นเป็นสุขเพราะท่าน เป็นใจความเช่นนี้ กินข้าวที่ใต้ต้นไม้ริมตลิ่ง ไม่รับเชิญขึ้นไปกินบนเรือน เมื่อกินอิ่มแล้วชาวบ้านลงมาสนทนากันต่อไป[62] ได้ออกเรือจวนบ่าย ๒ โมงมาถึงที่ประทับแรมยางเอนยังไม่ทันจะบ่าย ๓ โมง เดินขึ้นบก มีพวกชาวบ้านมาคอยอยู่บนฝั่งมาก มีร้านมาขายของกิน นักเรียนพวกหนึ่งเดินขึ้นมาจากวัดเหนือตำบลพังม่วงที่บ้านยายอิ่มอยู่หน่อยหนึ่ง เพื่อจะมาร้องสรรเสริญพระบารมี อันจำจะต้องร้องผิดทุกแห่ง แต่วัดนี้ผิดมากสุ้มเสียงกวัดแกว่งเหลือเกิน แต่เดินเป็นทหารทีเดียว ได้ถามดูบอกว่าเหนื่อยมาก แจกเงินคนละสลึง ชาวบ้านมามาก แจกเสมา ถ่ายรูปเรือและลำน้ำ แล้วกลับลงมาที่จอดเรือซึ่งทำพื้นแตะฝาใบพลู ๕ ห้อง เฉลียงด้านเดียว ลงมือทำกับข้าวแต่เย็นได้กินพอพลบ


วันที่ ๑๖ สองโมงเช้า ออกเรือมาถึงวัดบ้านเกาะ ลงเรือประพาสไปขึ้นที่วัดหมายจะถ่ายรูปกระบวน แต่เวลาอยู่ข้างกระชั้น คนคอยเฝ้ามากนักตั้งกล้องไม่ใคร่จะได้ เกะกะไปหมดเลยไม่ได้รูปดี วัดนั้นก็เป็นแต่ลานใหญ่ ๆ มีอะไรตามเคยของวัด แต่ต้น[63]เต็มที เวลาจะกลับแจกเสมา แย่งกันลงมาเกือบสะพานหัก ครั้นถ่อขึ้นมาได้หน่อยหนึ่งได้ยินเสียงตะโกนร้อง "กินกิน" รู้ว่าเป็นบริษัทดุ๊ก[64] แวะเข้าไปเจอกรมดำรง รพี[65] ชายยุคล พระยาโบราณร้องกันอยู่บนเรือดุ๊ก เป็นผู้ที่ถูกเรียกกินมาแล้ว เขาจะเรียกให้เป็นยุติธรรม ไม่เลือกว่าใคร ๆ เว้นแต่เรือเจ้าสาย</ref>คือพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎอ้างอิงผิดพลาด: Closing </ref> missing for <ref> tag ทักทายปราศรัยก็ต้องสอนกันมาก ข้อที่เกิดความนั้นเห็นจะเป็นด้วยเมียตากำนัน เป็นผู้รับฉันทานุมัติของพวกจีนแคะเจ้าของไร่อ้อยหลายเถ้าแก่ด้วยกัน มาเชิญเสด็จไปที่เรือนเขาทำไว้ถวาย ตกลงยอมไป เรากลับเป็นพระราชาตามเดิม มีผู้คนมาก มีพิณพาทย์ไทยพิณพาทย์จีนและม้าล่อเป็นอันมาก มีธูปเทียนมาเชิญให้ขึ้นบก ได้ขึ้นไปบนเรือนตั้งโต๊ะเครื่องบูชา มีโต๊ะเก้าอี้หุ้มแพร เตียงนอน มุ้งแพรอย่างจีนทั้งนั้น อุทิศถวายไว้ให้เป็นที่สำหรับพักข้าหลวงไปมาต่อไป จีนเม่งกุ่ยเป็นหัวหน้า เมื่อได้รับอนุโมทนาเสร็จแล้ว ลงเรือโมเตอร์แล่นต่อมาอีก มาเกยที่ตื้น ๒ - ๓ คราว เลยทรายเข้าอุดท่อน้ำ ต้องมาหยุดแก้อยู่ช้านาน จนกระบวนมาถึงจึงต้องลงเรือเหลืองมาขึ้นที่บ้านท่าวัว ถ่ายรูปกระบวนเรือ แล้วเดินต่อมาทางบก มาเจอพวกเดินบกด้วยกันหลายคน เลยเป็นกองโต เดินแจกเสมาระมา ที่นี้เป็นหมู่บ้านใหญ่ผู้คนหนาแน่นมาก จนถึงวัดซึ่งสำหรับจะจอดแรม เขาเรียกในระยะทางว่าบ้านหัวดง มีคนมาประชุมอยู่แน่นในลานวัด ต้องไปยืนให้กราบตีนตามความต้องการเป็นอันมาก แถบนั้นแตงไทยอร่อย กินทั้งวานและวันนี้


วันที่ ๑๗ ออกเรือเวลาเช้า ๒ โมง จนใกล้บ้านหูกวางเวลา ๔ โมงเช้า ลงเรือชะล่าประพาส จะไปขึ้นบ้านหูกวาง พระยาอมรินทรบอกว่าบ้านกำนันใยเป็นที่ใกล้บึงที่สุด แต่ที่แท้แกเข้าใจผิด เป็นในท้องที่กำนันใยไปไม่ใช่บ้านกำนันใย ที่ซึ่งใกล้ที่สุดอยู่ใต้บ้านกำนันใยลงไปครึ่งเลี้ยว สิ้นความพยายามที่จะถอยหลังกลับลงไปอีก สังเกตดูตามคำเล่า บึงนั้นเห็นจะเป็นลำแม่น้ำเก่ายาวเหลือเกิน ในลำบึงเป็นพงขึ้น ว่ามีคันดินกว้างประมาณ ๓ วายื่นลงไปในบึงนั้น แต่ไม่ข้ามตลอดพอตกลึกก็จม เห็นว่าเป็นที่ซึ่งล้อมช้างแผ่นดินพระพุทธเจ้าเสือเป็นแน่ แต่ป่ายางกองทองไม่ได้ความ เพราะเหล่านี้แกไม่ข้ามบึง เมื่อมาตามทางพบกรมหลวงประจักษ์แต่ไม่ได้จับตัว เพราะกลัวจะไม่พบดุ๊ก ครั้นขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่ง พบเรือรพีก็รู้ว่าดุ๊กอยู่ ได้ตัวทั้งกรมดำรงแลพระยาโบราณด้วย ให้เอาเรือโมเตอร์ลงไปรับกรมหลวงประจักษ์ พากันไปขึ้นบ้านกำนันใย ได้ความว่าเดิมเป็นเลกขุนกำแหงล้อมวัง แต่ให้พระยาโบราณขึ้นไป หรือว่าพระยาศักดามาเสียก่อนแล้ว จึงกลับไม่ได้ ต้องให้ขุนกำแหงอยู่ในบังคับพระยาศักดา ตาอ้นเป็นพระยาศักดา ถูกนุ่งผ้าคนเดียว ทำท่าอุ้ยอ้ายดีมาก กินข้าวในร่มไม้ที่บ้านกำนันใยสบายดี แต่ตากำนันใยเองอยู่ข้างจะพะวักพะวนมาก ดูเหมือนจะได้รับคำสั่งให้เตรียมตัวเพื่อจะเสด็จขึ้นทอดพระเนตรบึง สงสัยพวกเราที่ไปก็สงสัย ประเดี๋ยวเรือกระบวนไปพากันวิ่งตึงตังลงไปริมน้ำ แบกจอบไปคอยฟันดิน สักครู่หนึ่งหน้าเล่อล่ากลับขึ้นมาว่าเจ้าคุณเทศาไล่ให้กลับขึ้นมาว่าไม่เสด็จแวะ ทำกับข้าววันนี้อร่อยมาก แต่เวลาที่ทำนั้นน้อย ยังต้องไปรออยูที่หน้าบ้านกำนันใยหน่อยหนึ่งจึงได้แล้ว ถ่ายรูปพงศาวดารเวลาเจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพรสั่งให้นายผลไปเชิญเสด็จเจ้าแม่ผู้เฒ่า[66] แล้วลงเรือต่อมา คิดกันว่าจะข้ามระยะหยุดเอาวันไปใช้ที่กำแพงเพชรอีกสักวันหนึ่ง จึงสั่งหลวงอนุชิต[67]ไว้ ให้บอกกระบวนใหญ่เลยข้ามอำเภอบรรพตขึ้นมา ที่อำเภอบรรพตนี้มีคนแน่นหนา มีวัดหลังคาซ้อน ๓ ชั้น ช่อฟ้าปิดทองทำใหม่ๆ ซวดทรงก็ทีจะดี แต่ช่อฟ้านั้นชวนฟ้าชำเลืองอยู่บ้าง[68] ไม่ได้แวะ ถัดขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่งมีวัดรูปพรรณอย่างเดียวกัน แต่หลังคา ๒ ชั้น ด้วยเห็นพระพุทธรูปเก่าตั้งอยู่ที่หัวสะพานจึงได้แวะขึ้นดู เป็นพระเก่าจริง แต่ชำรุดมาก ไม่สู้งาม โบสถ์ที่หรูอยู่นั้นเป็นโบสถ์ทำใหม่ไม่มีฝา หน้าบันเป็นอามมีมงกุฎและราชสีห์ คชสีห์ โซดทำใหม่ทีเดียว แต่พระเก่ามีหลายองค์ไม่สู้งามทั้งนั้น แจกเสมาทั้งที่บ้านกำนันใยและที่วัด ดูเป็นลือล่วงหน้ากันมาเสียมากเรื่องเสมา ถึงที่ไหนแวะแห่งไรมีแต่อุ้มเด็กเต็มไปทั้งนั้น จะไม่ให้ก็สงสาร เพราะต้องการจริง ๆ ที่วัดนี้มีเด็กน่าเอ็นดูหลายคน แต่ชื่อวัดยาวจนพระหนุ่ม ๆ ในวัดก็จำไม่ได้ตลอดคือ ช่องลมวารินศรัทธาราม เป็นเช่นนี้ไปทั้งนั้น ออกจากวัดขึ้นมาจนตาคนถ่อเหนื่อยจึงหยุดที่น้ำพักให้กินข้าวและถ่ายรูปอีกครั้งหนึ่ง เย็นแล้วก็ไม่ถึง เห็นกระบวนใหญ่แล้วกลับหายจนออกเคลือบแคลง ต้องสั่งซาวข้าวถึง ๒ ครั้ง แต่ดีที่ตานายร้อยยืนยันว่าคงจะถึงในเวลาพลบเกือบจะถวายชีวิตได้ ก็เป็นความจริงของแก มาถึงที่พักบ้านแดนอีก ๓ มินิตจะย่ำค่ำ บ้านคนตั้งแต่บรรพตขึ้นมาระยะห่างไปและมีแต่ฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกมีน้อยเป็นป่ามาก เขาว่าฝั่งตะวันตกลุ่ม ทำนาดี มีไร่กล้วยไร่อ้อยเป็นพื้น ไร่เหล่านี้นายร้อยเรือก็ว่าพึ่งตั้งได้สัก ๘ ปีนี้ แต่ก่อนมาเรือเป็ดค้าขายขึ้นมาเพียงบรรพต แต่มาวันนี้เห็นเรือเป็ดจอดที่บ้านแดนมาหลายลำ ผู้เดินทางแถบนี้ไล่เลียงถึงข้างบกไม่ใคร่ได้ความ เป็นแต่ถ่อขึ้นล่องลง

วันที่ ๑๘ เวลาเช้าโมง ๑ ขึ้นไปถ่ายรูปที่วัดอรุณราชศรัทธารามหลังที่จอดเรือ แล้วเดินขึ้นไปเขานอ ระยะ ๘๗ เส้น ตอนนอกเป็นป่าไผ่แล้วมีสะพานข้ามบึงตื้น ๆ ไปขึ้นชายป่าแล้วกลับลงที่ลุ่ม เมื่อเวลาน้ำมาครั้งก่อนท่วม แต่เวลานี้เฉพาะถูกคราวน้ำลด หนทางยังเป็นโคลนเดินยากจนถึงชานเขาจึงดอน ตามคำเล่ากันว่าเป็นเขาซึ่งนางพันธุรัตน์ตามมาพบพระสังข์ มีมนตร์มหาจินดาเขียนอยู่ที่แผ่นศิลา แต่พอไปถึงเห็นฐานพระเจดีย์อยู่บนยอดมีคนยืนชี้อยู่บนนั้นก็สิ้นหวังเหตุ คำว่าจารึกกับพระเจดีย์ไม่ใช่เวลาเดียวกัน ถ้าสร้างเจดีย์แล้วเป็นชั้นใหม่ ได้ความว่าถึงที่เจดีย์ก็ไม่มีจารึกอะไร หน้าเขามีลานกว้าง เพราะมีสัปปุรุษมาไหว้ประจำปี มีทางเกวียนเดินผ่านทางนั้นเข้าไปบ้านดอน ซึ่งเป็นนาดีข้าวตกมาก ขึ้นไปไปแต่ลานหน้าเขาทางไม่ชัน ๒ ทบก็ถึงถ้ำพระนอน ในตรงหว่างทางที่ทบมีรูปปั้น เห็นจะเป็นปูนแลละม้ายศิลาเป็นรูปโพธิสัตว์ซึ่งเขาสมมติกันว่าเป็นรูปพระสังข์ ถ้ำพระนอนก็เป็นเพิงผาตื้นคล้ายหน้าเทวดาเกาะสี่เกาะห้า[69] พระนอนก็ไม่ใหญ่ไม่อัศจรรย์อะไร มีพระเล็ก ๆ ตั้งอยู่มาก มีทางอ้อมขึ้นไปข้างหลังถ้ำมีถ้ำประทุนอีกถ้ำหนึ่ง ถ้ำยายชีอีกถ้ำหนึ่ง ก็ไม่อัศจรรย์อะไรเหมือนกัน ชั่วแต่ถ่ายรูปเล่น กลับยังไม่ทัน ๕ โมง มาเก้าอี้เพราะแดดร้อน อาบน้ำแล้วลงเรือประทุนเหลือง ได้ออกเรือ ๕ โมง ทำกับข้าวไปตามทาง พวกที่เคยทำครัวกระจัดพลัดพรายกันไปหมด ไปคุมกันติดจนจวนถึงเวลากิน ขึ้นกินใต้ร่มไม้ริมฝั่งบ้านบางแก้ว วันนี้ได้หน่อไม้แทงมาใหม่จากที่เขาอร่อยมาก แต่ที่ที่ขึ้นนั้นจืดไม่สนุก เป็นบ้านเจ๊กมียายแก่เป็นป้าของเจ๊ก ชาติภูมิเมืองนี้เดิมอยู่ใกล้หาดส้มเสี้ยวซึ่งเป็นเมืองบรรพต แล้วว่าคับแคบไป จึงขยายออกมาอยู่ที่นี้ เป็นเจ้าของที่ดินมาก เหตุด้วยได้หักร้างไว้แต่แผ่นดินยังไม่มีราคา ใครถางได้เพียงใดก็เป็นเจ้าของอยู่เพียงนั้น มาบัดนี้ต้องซื้อมีราคาทั้งนั้น แจ้งว่าตอนหลังฝ่ายตะวันตกมีที่ลุ่ม เวลาหน้าน้ำจนถึงควายต้องว่ายน้ำลุ่มไปจดป่า ข้างฝั่งตะวันออกที่แลเห็นเป็นเฟือยอยู่ริมตลิ่ง เป็นที่มีเจ้าของทั้งนั้น เขาทิ้งหญ้าไว้ให้กันพัง เมื่อเข้าไปพ้นเฟือยหญ้านั้นเป็นที่เตียนตลอด เว้นไว้แต่ที่เป็นป่ายาง ยางนั้นมักตกถึงชายตลิ่ง แต่มีเจ้าของทุกต้น ได้ความจากพระศรีสิทธิกรรม์ นายอำเภอบรรพตว่า ตั้งแต่เลิกบ่อน พวกที่หากินในการบ่อนสาดขึ้นมาตามลำน้ำ ที่เมืองบรรพตมีมาก ที่หาดส้มเสี้ยวพวกค้าขายมากขึ้น จนต้องถึงทำโรงตลาดเพิ่มเติมหลายสิบห้อง ที่จับการเพาะปลูกแล้วก็มี นี้เป็นข่าวที่ได้ยินใหม่ในผลของการเลิกบ่อนเบี้ย ออกจากบ้านบางแก้วหน่อยหนึ่งก็ทันกระบวน ได้แวะขึ้นเรือสุวรรณวิจิก เพราะออกจะเหนื่อย ๆ หมายจะขึ้นไปเอน แต่มารู้สึกว่าเรือเก๋งกระดานร้อนกว่าเรือประทุนเป็นอันมาก เอนไม่ใคร่จะลง เวลาบ่าย ๔ โมงแวะจอดถ่ายรูปที่หาด แล้วเลยลงเรือชะล่าประพาสเที่ยวต่อไป แวะบ้านข้างฝั่งตะวันออกถูกบ้านตาแสนปม เป็นปมไปทั้งตัว แต่ไม่มีอะไร แดดเผาจึงได้ลงเรือต่อมาจนเวลาย่ำค่ำ ขึ้นที่หาดบ้านแสนตอ เดินข้ามไปวัดสว่างอารมณ์ ตำบลที่เรียกว่าแสนตอจนเป็นชื่อเมืองขาณุ[70]นี้ มีตอมากจริง เรือได้โดนครั้งหนึ่ง เพราะเหตุที่เป็นตลิ่งพังมาก เดินตามถนนฝั่งตะวันตกแวะเก็บอะไรต่ออะไรบ้าง มาจนถึงวัดซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่ เรียกว่าวัดหัวเมือง ต่อแต่วัดนั้นมาถึงที่ว่าการเมือง ซึ่งยังเป็นหลังคามุงแฝกอยู่ทั้งนั้น ที่จอดเรืออยู่เหนือที่ว่าการนิดหนึ่ง


อนึ่ง วันนี้พระยาตากลงมาถึง พาเรือชะล่าประทุนลงมาอีกหลายสิบลำ


วันที่ ๑๙ วันนี้ตื่นสายไป แล้วพระวิเชียรพาคนผมแดงมาให้ดู อันลักษณะผมแดงนั้น เป็นผมม้าแดงอย่างอ่อนหรือเหลืองอย่างแก่ ผมที่แดงนี้มาข้างพันธุ์พ่อ ถ้าผู้หญิงไปได้ผัวผมดำ ลูกออกมาก็ผมดำไปด้วย ผมแดงนั้นเปลี่ยน ๓ อย่าง แรกแดงครั้นอายุมากเข้าก็ดำหม่นลง แก่ก็เลยขาวทีเดียว บอกพืชพันธุ์ว่าทราบว่าตัวมาแต่เวียงจันทน์ แต่มาก่อนอนุเป็นขบถ จะได้ตั้งอยู่นานเท่าไรไม่ทราบ พูดเป็นไทย ประพฤติอาการกิริยาก็เป็นไทย เฉพาะมีมากอยู่ที่เมืองขาณุ ที่กำแพงเพชรนี้มีแต่กระเส็นกระสาย ออกเรือเวลา ๓ โมงตรง เกือบ ๕ โมงจึงได้ขึ้นเรือเหลือง ทำกับข้าว แวะเข้าจอดที่ที่ประทับร้อนเพราะระยะสั้น แต่จืดไปไม่สนุกจึงได้ไปจอดหัวหาดแม่ลาดซึ่งมีต้นไม้ร่ม กินข้าวและถ่ายรูปเล่นในที่นั้นแล้วเดินทางต่อมา หมายว่าจะข้ามระยะไปนอนคลองขลุงแต่เห็นเวลาเย็น ที่พลับพลาตำบลบางแขมนี้ทำดี ตั้งอยู่ที่หาดและพลับพลาหันหน้าต้องลม จึงได้หยุด พอเวลาบ่าย ๔ โมงตรงอาบน้ำ แล้วมีพวกชาวบ้านลงมาหาเล่าถึงเรื่องไปทัพเงี้ยว เวลาเย็นขึ้นไปเที่ยวบนบ้านและที่ไร่ ระยะทางเวลาวันนี้สองฝั่งน้ำระยะบ้านห่างลง มีป่าคั่นมาก แลดูเหมือนจะไม่จับฝั่งตะวันตกเช่นตอนล่าง ๆ มีตะวันตกบ้างตะวันออกบ้างเช่นบ้านบางแขมนี้ก็เป็นบ้านหมู่ใหญ่อยู่ฝั่งตะวันออก ราษฎรอยู่ข้างจะขี้ขลาด[71]กว่าตอนข้างล่าง ไม่ใคร่รู้อะไร สังเกตตามเรื่องราวที่ยื่นเป็นขอไม่ให้ต้องทำอะไร ไม่ให้ต้องเสียอะไรมาก


วัน ที่ ๒๐ ออกเรือเกือบ ๓ โมงเช้า ๔ โมงครึ่งขึ้นเรือเหลือง ทำกับข้าวมาจนถึงที่ประทับร้อน ไม่แวะ เลยขึ้นมาข้างเหนือแวะฝั่งตะวันออก ตลิ่งชันแลสูงมาก แต่ต้นไม้งาม ปีนขึ้นไปกินข้าวบนบกสำหรับถ่ายรูป แล้วลงเรือมาถึงวังนางร้างเป็นที่แรมบ่าย ๓ โมงเท่านั้น ครั้นจะเลยไปอื่นระยะก็ห่าง จึงลงเรือเล็กไปถ่ายรูปฝั่งน้ำข้างตะวันออก แล้วข้ามมาตะวันตกหมายจะเข้าไปถ่ายในป่า ท่วงทีจะเป็นทุ่งเลยไม่ได้ไปถ่าย กลับบ่าย ๔ โมง พลับพลาตั้งฝั่งตะวันออก ที่นี้เป็นหมู่บ้านคนบ้านหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระยะทางตั้งแต่พลับพลามาถึงที่นี่ เกือบจะว่าไม่มีบ้านคนก็ได้ เป็นป่าไม้ทั้งนั้น ไม้สักก็มี


วันที่ ๒๑ ออกเวลาเช้า ๒ โมงเศษ ๔ โมงครึ่งขึ้นเรือเหลือง ชายยุคลเจ็บ เจอะชายบริพัตร[72] จับขึ้นเรือมาทำฉู่ฉี่ ถึงปึกผักกูดที่ประทับร้อน ไม่ได้หยุดเพราะกับข้าวยังไม่แล้ว ระยะสั้นจึงเลยไปจนถึงเกาะธำรง ซึ่งจัดไว้เป็นที่แรมก็เพียงเที่ยง เห็นควรจะย่นทางได้ หยุดกินข้าวเเล้วออกเรือต่อมา หยุดที่พักร้อนบ้านขี้เหล็กถึงบ่าย ๔ โมงครึ่งพอฝนตก ที่พักอาศัยไม่ได้ต้องมุงหลังคา เลยอุดกันอยู่ในเรือ เลี้ยงขนมกันอีกครั้งหนึ่ง จนกระบวนเรือใหญ่มาถึงเวลาย่ำค่ำ ทายถูกว่าพระยาอมรินทรคงกลัวพายุ แต่ที่จริงเรือหลวงไม่ได้ถูกพายุเลยด้วยบังตลิ่ง เรือโมเตอร์ที่มาถึงก่อนบอกว่าพลับพลาจะพังเสียให้ได้ ทางที่มาวันนี้ตั้งแต่พลับพลาวังนางร้างมาฝั่งตะวันตกมีบ้านเรือนมาก มีเรือจอดมาก มีหีบเสียงเล่นด้วย เพราะเป็นท่าสินค้ามาแต่ดอน ต่อขึ้นมาก็มีเรือนเรียงราย ๆ แต่ฝั่งตะวันออกเป็นป่า จนถึงบ้านโคน ซึ่งเดากันว่าจะเป็นเมืองเทพนคร แต่ไม่มีหลักฐานอันใด[73] บ้านเรือนดีมีวัดใหญ่เสาหงส์มากเกินปกติอยู่ฝั่งตะวันออก มาจนถึงบ้านท่าขี้เหล็กอยู่ฝั่งตะวันตก พลับพลาตั้งฝั่งตะวันออก เมื่อคืนนี้ฝนตกเกือบตลอดรุ่ง วันนี้ก็โปรยปรายเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปมีเวลาแดดน้อย จนต้องกินข้าวที่พลับพลาประทับร้อน ตั้งแต่บ่าย ๔ โมงเศษ ฝนก็ตกมาจนเวลานี้ ๒ ทุ่มเกือบครึ่ง ทีก็จะตลอดรุ่ง ที่พักอยู่ข้างจะกันดาร เหตุด้วยเอาร้อนเป็นแรม


วันที่ ๒๒ เมื่อคืนนี้ฝนตกพร่ำเพรื่อไปยังรุ่ง แรกนอนรู้สึกว่าจะเย็น ต่อหลับไปตื่นขึ้นจึงรู้สึกเย็นเยือกไปทั้งตัว ท้องก็แข็งขลุกขลักอยู่เป็นนาน จนเอาสักหลาดขึงอุดหมดจึงนอนหลับ ตื่น ๒ โมงครึ่ง ออกเรือจวน ๓ โมง มาจากท่าขี้เหล็กเลี้ยวเดียวก็ถึงวังพระธาตุ อยู่ฝั่งตะวันตกมีบ้านเรือนเรียงรายตลอดขึ้นมา แต่อยู่ฟากตะวันตก ฟากตะวันออกเป็นป่าตั้งแต่พ้นคลองขลุงขึ้นมามีต้นสักชุม แต่เป็นไม้เล็ก ๆ ซึ่งเป็นเวลาหวงห้าม เดินเรือวันนี้รู้สึกว่าไปในกลางป่าสูง ได้ยินเสียงนกร้องต่าง ๆ อย่างชมดงเพรียกมาตลอดทาง ตำบลที่เรียกชื่อคลอง เช่นคลองขลุงหรือแม่อะไรต่ออะไร ใช่ว่าเราจะแลเห็นในเวลานี้ ปากคลองแห้งอยู่ในหาด ได้พยายามจะไปดูคลองขลุงก็เข้าไม่ถึงด้วยหาดกว้าง คลองขลุงนี้เป็นปลายน้ำอันหนึ่ง วันนี้แลเห็นเขาประทัดซึ่งปันแดนยืนเป็นแถว ที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั้นคือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น จอดเรือที่ที่พักร้อนเหนือวังพระธาตุนิดหนึ่ง พระธาตุนี้มีแท่นซ้อน ๓ ชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ[74]เรียกว่าทะนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉน ๗ ปล้่องปลีแล้วปักฉัตร ไม่ผิดกันกับพระเจดีย์เมืองฝางที่เห็น ซึ่งแก้เป็นพระเจดีย์มอญเสีย เขาว่าสุโขทัยสวรรคโลกเป็นรูปนี้ทั้งนั้น เป็นรูปของพระเจดีย์ของแผ่นดินฝ่ายเหนือ เห็นจะไม่แปลกกันมาก องค์พระเจดีย์ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร ๔ ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญอยู่ทิศตะวันออกเยื้องไม่ตรงกลาง เขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่งทั้งยืนหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เป็นช่างได้ทำได้ถ่ายรูปที่เหล่านี้ไว้ เวลานี้มีพระซึ่งขึ้นมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาอยู่ในที่นี้ คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิอยู่เยื้องหน้าพระธาตุ ห่างจากศาลามุงกระเบื้องเดิมซึ่งอยู่ข้างริมน้ำใต้ลงไป[75] เดินจากวังพระธาตุไปตามลำน้ำข้างเหนือ ทาง ๒๖ เส้น ถึงคูด้านใต้ของเมืองไตรตรึงส์ คูนั้นใหญ่กว้างราว ๑๕ วา ลึกลงเสมอพื้นหาดแต่น้ำแห้ง ยื่นเข้าไปจนถึงเชิงเทิน หลังเมืองไปมีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่กลางย่านด้านใต้ แต่ด้านเหนือไม่มีถนน มีแต่ลำคูมาบรรจบด้านใต้ กำหนดเชิงเทินยาวตามลำแม่นำ ๔๐ เส้น ยืนเข้าไปทางตะวันตกตะวันออก ๓๗ เส้น เห็นเป็นเมืองใหญ่โตอยู่ พื้นแผ่นดินเป็นแลงไปทั่วทั้งนั้น ในท้องคูก็เป็นแลง เข้าไปในเมืองหน่อยหนึ่งก็พบโคก เห็นจะเป็นวิหารเจดีย์หักพังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยเรียกว่าเจดีย์ ๗ ยอด จะเป็นด้วยผู้ที่มาตรวจตราค้นพบสามารถจะถางเข้าไปได้แต่ ๗ ยอด แต่ที่จริงคราวนี้เขาได้ถางดีกว่าที่ได้ถางมาแต่ก่อน จึงได้ไปพบว่ากว่า ๗ คือพระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์ราย ๓ ด้าน วิหารด้านเหนือวางเลอะ ๆ ทำนองนี้

ไฟล์:เสด็จประพาสต้น๒-๑.JPG

ที่เขาค้นถากถางเข้ามาให้ดูได้เพียงเท่านี้ นอกนั้นยังเป็นป่าทึบอยู่มาก ไม่ใช่รกอย่างกรุงเก่า เป็นป่าสูงไม้ใหญ่ข้างล่างโปร่งทั้งในเมืองนอกเมือง เหตุด้วยทิ้งร้างเป็นป่ามาช้านานกว่ากันมาก ข้อซึ่งจะโจษสงสัยว่าเป็นเมืองไตรตรึงส์แน่ละหรือ เพราะมีข้อที่พากันสงสัยว่า เจ้าแผ่นดินลงมาแต่เชียงราย เวลานั้นเมืองกำแพงเพชรก็มีเจ้า เหตุไฉนจะข้ามลงไปสร้างเมืองไตรตรึงส์ขึ้นในที่ใกล้ห่างกันเพียง ๔๐๐ เส้น ความที่เดาว่าเมืองกำแพงเพชรมีเจ้าอยู่ในเวลานั้น น่าจะเดาจากบาญชีเมืองประเทศราชครั้งแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง ในท้องเรื่องที่ว่า เจ้าเชียงรายยกลงมา ไม่ได้กล่าวว่าตีเมืองกำแพงเพชร ไปตั้งเมืองแปบเป็นเมืองไตรตรึงส์ทีเดียวจึงเกิดสงสัย ที่จริงจะได้เมืองกำแพงเพชรแล้ว แต่หากจะย้ายไปสร้างเมืองใหม่ให้เป็นเกียรติยศ หรือด้วยความขัดข้องประการใด เมืองกำแพงเพชรที่อยู่ฝั่งตะวันออกคงจะเกี่ยวดอง หรืออยู่ในอำนาจเมืองสวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก จึงตั้งฝั่งทางที่เป็นแผ่นดินเดียวกัน ถ้าพวกเชียงรายจรมาจะไปตั้งฝั่งตะวันตกก็จะได้ เพราะถูกต้องความในจดหมาย ว่าข้ามแม่น้ำโพไปตั้งฝั่งตะวันตกเมืองกำแพงเพชร เห็นจะเป็นเมืองไตรตรึงแน่ กลับเวลาเที่ยงลงเรือเหลืองมาถึงพลับพลาประทับร้อนไม่แวะด้วยจะฉ้อวันให้ได้อีก ๑ วัน ระยะเขากะ ๑๐ วัน เป็นฉ้อได้ ๒ วัน คง ๘ วัน ฝนตกเป็นคราว ๆ มาแวะกินข้าวที่บ้านไร่ เป็นบ้านนายเทียนอำแดงแจ่ม ท่วงทีบ้านเรือนสบายพื้นบ้านเตียนหมดจด มีไม้ดอกไม้ผลหลายอย่าง ผิดกันกับบ้านแถบนี้ เจ้าของบ้านก็ไม่ออกมาทักทายตามอย่างที่เคยแวะมา ออกจะหลบ ๆ ครั้งเมื่อจะไปสั่งสนทนาจวนตัวเข้าและหายกลัวด้วยเห็นเป็นคนแปลกหน้า ถ้าจะไม่มีอันตราย จึงได้ขยายว่าเป็นชาวเมืองนนท์ ขึ้นมาอยู่ได้ ๑๐ ปี หน้าตาแยบคายชอบกล เป็นคนฉลาดรู้อะไร ๆ มากและลงหนังสือขอมทั่วทั้งตัว จึงลงเนื้อเห็นกันว่า ที่จะเป็นผู้ร้ายคนโตหลบขึ้นมาอยู่ในที่นี้ ออกจากบ้านไร่มาถูกฝนอีกมาก ถึงกำแพงเพชรจอดหน้าเมืองเก่าเกือบทุ่ม ๑ ที่นี้เขาทำพลับพลาขึ้นไปบนฝั่ง แอบปะรำจอดเรืออีกหลัง ๑ วันนี้ได้ตั้งตาอ้นเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจ


วันที่ ๒๓ แต่เช้าฝนตกประปรายอยู่เสมอ ๓ โมงต้องไปทั้งฝน ถ่ายรูปทั้งฝน ไปตามถนนบนฝั่งน้ำชั้นบนขึ้นไปข้างเหนือผ่านวัดเล็ก ๆ ทำด้วยเเลง และที่ว่าการซึ่งยังทำไม่แล้ว เลี้ยวเข้าประตูน้ำอ้อยทิศตะวันตก หน้าประตูนี้เป็นทางลึกลงไปจากฝั่งจนถึงท้องคูแล้วจึงขึ้นเมือง เมืองตั้งอยู่ในที่ดอนน้ำไม่ท่วม เรียบไปตามทางริมกำแพง ซึ่งเขาว่าได้ตัดแล้วรอบเมืองนี้ ไม่ได้ทำเป็นเหลี่ยม โอนไปตามรูปแม่น้ำ ประมาณว่าด้านเหนือด้านใต้ ๕๐ เส้น ด้านสกัดทิศใต้ ๑๒ เส้น สกัดข้างเหนือ ๖ เส้นรูปสอบ ใช้พูนดินเป็นเชิงเทินคิดทั้งท้องคูข้างนอกสูงมาก กำแพงก่อด้วยแลง ใบเสมาเป็นรูปเสมาหยักแต่ใหญ่คออ้วนเหลืออยู่น้อย ตามประตูน่าจะเป็นป้อมทุกแห่ง แต่ที่ได้เห็น ๓ ประตู คือประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น ประตูหลังยังคงมีป้อมก่อด้วยแลง ปรากฏป้อมนั้นเป็นลับแลอยู่ปากคูข้างนอก ตรวจว่าจะชักเข้ามาติดกำแพงอย่างเมืองนครศรีธรรมราชหรืออินเดียก็ไม่มีร่องรอย แต่เป็นเมืองอย่างมั่นคงดีกว่าเมืองนครศรีธรรมราชและนครราชสีมา ที่สำคัญคงอยู่ฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดใหญ่ที่ตกลงกันเรียกว่า วัดพระแก้ว อยู่ข้างเหนือ วังอยู่ใต้ใกล้กัน วัดนั้นมีกำแพงแลงทั้งท่อนตั้งมีทับหลังสูงสัก ๒ ศอกเศษ ไม่ใช่สร้างคราวเดียว ไปเข้าทางช่องกลาง ๆ ย่านของวัด สิ่งที่ก่อสร้างภายในเป็นแลงเป็นพื้นเห็นจะซ่อมแซมด้วยอิฐภายหลัง หย่อมต้นเป็นฐานทักษิณอันเดียวยาว จะเป็นพระเจดีย์เหลี่ยมหรือพระปรางค์อยู่ท้าย กลางเป็นมณฑป ตอนข้างหน้าเป็นวิหารใหญ่ลักษณะเดียวกันกับวัดพระศรีสรรเพชญกรุงเก่า เห็นจะเอาอย่างไปจากนี้ เหมือนกันกับหมู่พุทธปรางค์ (กรุงเทพฯ) เอาอย่างไปจากวัดพระศรีสรรเพชญ ต่อมามีระยะกันถึงวิหารใหญ่ พระเจดีย์กลมลอมฟางอยู่หลังวิหารอีกหน่อยหนึ่ง หย่อมนี้เห็นจะเป็นชั้นลังกา แต่เจดีย์นั้นทำงามมาก ชั้นล่างเป็นซุ้มคูหารอบ มีสิงห์ยืนในคูหา ถัดขึ้นไปอีกชั้น ๑ เป็นคูหาไว้พระพุทธรูปขนาดเดียวกับพระโบโรบุโด ซึ่งเชิญมาไว้ในวัดพระแก้ว แต่คะเนยังไม่ได้ว่าจะเป็นท่าต่าง ๆ หรือไม่ ถัดขึ้นไปจึงถึงองค์พระเจดีย์คว่ำบัวหงายที่รับปากระฆังบัวหลังเบี้ยสลับกลีบกัน งามเข้าทีมาก บัลลังก์มีซุ้มยื่นออกมา ๔ ทิศ ไว้พระ ๔ ปาง ไม่เห็นมีเสารับยอดซึ่งกรมหลวงนริศสงสัยว่าจะเป็นทวย ถัดขึ้นไปปล้องไฉนแต่ยอดด้วน ประมาณว่าจะสูงราว ๑๕ วา ต่อนั้นไปเป็นวิหารโถงมีกำแพงแก้ว กำแพงก่อด้วยแลงแต่ปั้นปูนเป็นรูปรามเกียรติ์ ทำให้เห็นชัดได้ว่า เครื่องแต่งตัวโบราณนั้นไม่ได้นุ่งผ้าแน่แล้ว สวมกางเกง ๒ ชั้น ชั้นหนึ่งยาวหุ้มแข้ง ชั้นนอกเขินเพียงหัวเข่า แล้วคาดผ้าปล่อยชายยาวลงมาทั้งสองชาย จึงสวมเสื้ออย่างน้อยซึ่งมีชายเสื้อทับผ้าคาด แล้วสวมเสื้อแขนสั้นทับอีกชั้น ๑ ในระหว่างชายเสื้อกับเสื้อแขนสั้น คาดเข็มขัด แต่หมวกจะเป็นอย่างไรพิจารณายังไม่เห็นชัดเพราะชำรุดมากเวลาไม่พอ ผู้หญิงก็ดูเหมือนจะนุ่งผ้า ๒ ผืนคล้ายเทวรูป แต่ยังเห็นไม่ชัด ในวิหารโถงนี้มีพระนอนแล้วมีพระเจดีย์องค์เล็ก ๆ รายอยู่ที่ฐานชุกชีรอบ ที่หน้ากระดานและที่บัลลังก์พระเจดีย์เล็ก ๆ นี้ ทำเป็นซุ้มพระพุทธรูปเล็ก ๆ เรียงติดกันไปรอบ มีผู้ไปสร้างพระองค์ใหญ่นั่งอยู่ข้างหลังพระนอนหน้าพระเจดีย์เติมขึ้นอีก ๒ องค์ เห็นชัดว่าคงจะเติมภายหลัง เพราะเบียดเสียดกันมาก รูปพรรณก็เลวทราม วิหารโถงนี้คล้ายกันกับที่ท้ายวัดพระศรีสรรเพชญกรุงเก่านั้นอีก ในระหว่างพระเจดีย์และวิหารโถงนี้มีมณฑปตั้งพระพุทธรูปใหญ่ ๆ อยู่ ๓ มณฑป แต่ไม่ใช่แนวเดียวกัน กลางถลำลงไปหน่อยหนึ่ง บางทีจะสร้างแทรกเติมขึ้น พ้นจากหมู่วิหารโถงนี้เป็นวิหารใหญ่อีกหย่อมหนึ่ง มีพระระเบียงล้อมรอบ พระหน้าตาชนิดหนึ่งซึ่งรู้จักอยู่ และมีที่วัดเบญจมบพิตรหลายองค์นั้น เดิมไม่ได้กล่าวกันว่า เป็นพระเมืองกำแพง บัดนี้รู้จักกันแล้วว่าพระหน้าตาชนิดนี้เป็นพระเมืองกำแพง ถัดนั้นไปอีกหย่อมหนึ่งมีกำแพงคั่นเขาเรียกต่างชื่อว่าเป็นวัดช้างเผือก แต่เห็นว่าจะไม่ใช่เพราะมีถนนคั่นชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่ได้ไปดูถึงที่ ส่วนข้างด้านหน้าหมู่ต้นนั้นเข้าก็เรียกเป็นวัดอื่นต่างหาก เพราะห้อยออกไปมีวิหารใหญ่มีพระปรางค์ แต่ที่จริงเห็นจะเป็นวัดเดียวกันทั้งนั้น เจ้าแผ่นดินวงศ์หนึ่งหรือคนหนึ่งก็จะสร้างเติม ๆ ออกไปเป็นวัดยาวเลื้อยเหมือนอย่างวัดหน้าพระธาตุ เมืองลพบุรี ทีจะมีพระเจดีย์และวิหารเล็ก ๆ รายข้าง ๆ อีกมาก แต่พังเสียหมด ชื่อวัดนี้ไม่ปรากฏ ถ้าจะเรียกตามลพบุรีก็เป็นวัดหน้าพระธาตุ ถ้าจะเรียกตามกรุงเก่าก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราะเหตุที่มีในตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้เป็นแน่ ออกจากวัดไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ในระหว่างวัดกับวัง แล้วไปที่วัง วังนี้มีแนวเชิงเทินดินต่ำ รอบไม่เห็นมีกำแพงเหลือเลยเห็นจะใช้ระเนียดไม้เช่นเมืองพม่าเขาก็ยังใช้อยู่ ยาว ๖ เส้น ไว้ชานในกว้าง ๕ เส้นระหว่างระเนียดชั้นนอกพอสมควร พอการพิทักษ์รักษาและบริษัทบริวารจะอยู่ชั้นใน ขุดคูรอบคงจะมีระเนียดปากคูข้างในอีกชั้น ๑ มีถนนเดินเข้า ๓ ด้านเว้นด้าน ๑ ดูภูมิฐานคล้าย ๆ สระแก้วเมืองพิษณุโลก ในกลางวังมีสระใหญ่รูปรีสระหนึ่งไม่มีรอยก่อสร้างเลย เห็นจะเป็นเรือนไม้ทั้งนั้น เขาปลูกพลับพลาและปะรำที่พักในที่นี้ มีราษฎรมาประชุมอยู่เป็นอันมาก ภรรยาข้าราชการและผู้ดีในเมืองนี้ทำสำรับมาเลี้ยงหลายสิบสำรับ หน้าพลับพลาทำเป็นรูปเต่า รูปช้างเผือก โพล่จากดินรูปเสือและรูปงูอยู่ที่ต้นไม้ริมพลับพลา เป็นความคิดนายอำเภอบ้านพรานกระต่ายทำ ได้กินของเลี้ยง และถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร[76]ซึ่งได้สั่งให้เลือกหาไว้ก่อน เขาคัดเอาแต่ลูกผู้ดี ความจริงราษฎรที่มานั่งอยู่ทั้งหมู่หน้าตาดีกว่าก็มี ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ารูปพรรณสันฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือ คนงามทั้ง ๔ ที่จะมาถ่ายรูปนั้นเขาให้ถือกระเช้าหมากคอยแจกเลี้ยง คือหวีดบุตรหลวงพิพิธอภัย อายุ ๑๖ ปี คนนี้รู้จักนั่งโปสต์ถ่ายรูป จึงได้ถ่ายรูปเฉพาะคนเดียว ยังอีก ๓ คนนั้นชื่อประคอง ลูกหลวงพิพิธอภัยเหมือนกัน อายุ ๑๗ ปี ริ้วลูกพระพล อายุ ๑๗ พิงลูกพระยารามรณรงค์ อายุ ๑๖ อาหารที่เลี้ยงเป็นกับข้าวอย่างเก่า ๆ พอกินได้ดีกว่าบ้านนอกแท้ กลับออกจากวังแวะที่วัดอีกหน่อยหนึ่ง แล้วจึงไปเทวสถานเขา เรียกว่าพระอิศวร แต่ที่แท้เห็นจะเป็นสถานเดียวรวมกัน ลักษณะศาลพระกาฬเมืองลพบุรี คือคงจะเป็นปรางค์แล้วมีเทวสถานต่อข้างหน้าอยู่ในฐานชุกชีอันเดียวกัน ที่นี่ซึ่งคนเยอรมันได้มาลักรูปพระอิศวรที่อยู่ (พระที่นั่ง) พุทไธศวรรย์ เดี๋ยวนี้ไปตามกลับมาได้ ยังคงเหลืออยู่บัดนี้แต่พระอุมาและพระนารายณ์ซึ่งเอาศีรษะไปเสียแล้ว และเทวรูปเล็กน้อยฝีมือดีทันกันกับพระอิศวรองค์ใหญ่นั้น ได้เห็นบ่อกรุ ๒ บ่อแต่ตื้นต้นไปเสียแล้ว ที่เขาว่ายังดีอยู่ก็มี บ่อกรุรายทั่วไปในเมือง มีวัดอื่นที่ย่อม ๆ ลงไปอีก กลับบ่าย ๓ โมง เวลาเย็น พายุจัดฝนตกไม่สู้มาก ได้ข่าวว่ารูปที่ส่งไปล้างบางกอก ได้ส่วน ๑ เสีย ๒ ส่วน เห็นจะเป็นด้วยน้ำยาไม่ถูกกันหรือจะชื้นจะรั่วประการใด นึกเสียดาย เมื่อไรจะได้มาถ่ายรูปเมืองกำแพงเพชรอีก จึงได้จัดการโอนเอาห้องอาบน้ำเป็นห้องล้างรูป ทนล้างเอาในวันนี้ประดักประเดิดมาก ๒ ยามเศษจึงได้หมด ได้รับหนังสือบางกอกซ้ำเข้ามาด้วย


วัน ที่ ๒๔ วันนี้ขึ้นเดินบกไปโดยทางเดิม จนถึงถนนเลี้ยวประตูน้ำอ้อย ไม่เลี้ยวตรงไปตามทางข้างทิศตะวันตกแต่โอนเหนือ พบวัดใหญ่บ้างเล็กบ้างอย่างก่อด้วยกำมะลอ ๒ - ๓ วัด แล้วเลี้ยวเข้าประตูดั้นซึ่งออกไปดูเมื่อวานนี้ เดินเลียบตามในกำแพงต่อไป จนถึงทางที่เคยเลี้ยวเข้าวัดที่เรียกกันว่าวัดพระแก้วเมื่อวานนี้เป็นที่สุดทางที่ได้ไป แล้วจึงเดินเลียบกำแพงนั้นต่อไปอีก ยังเป็นทิศตะวันตกอยู่นั่นเอง มีป้อม ๆ หนึ่งไม่มีชื่อ เป็นป้อม ๓ เหลี่ยมเหมือนกับป้อมอื่น ๆ ฝีมือวิชเยนทร ใกล้ป้อมนั้นมีประตูอีกประตูหนึ่ง เรียกว่าประตูเจ้าอินเจ้าจัน ในระยะนี้ไปมีกำแพงที่ยังดีอยู่หลายตอน เป็นอันได้รูปว่าก่อแลงเสริมขึ้นเป็นเชิงเทิน หลังเนินดินสูงประมาณ ๓ ศอก ๔ ศอก แล้วจึงตั้งฐานเสมาเจาะช่องปืนใต้เสมา เสมานั้นคล้ายอย่างอินเดียเสี้ยมปลายแต่ไม่หยักเม็ด ป้อมมุมตะวันตกต่อกับเหนือหมายว่าจะแปลกก็ไม่แปลกอันใดเท่ากัน ถัดไปจึงถึงประตูเขาเรียกชื่อว่าประตูหัวเมือง ประตูนี้มกุฎราชกุมารคะเนว่าจะเป็นประตูชัย แต่เห็นจะไม่ถูก เพราะไม่ใช่ตรงข้างเหนือแท้ ที่คะเนนั้นคะเนโดยเห็นมีหอรบ ๒ ข้างประตู เมื่อถึงด้านตะวันออกเริ่มต้นเป็นประตูผีออก ซึ่งยังมีกำแพงอยู่ดีกว่าประตูอื่น ๆ ถัดไปถึงป้อมซึ่งพระวิเชียรให้ชื่อไว้ว่าป้อมเพชร เพราะเป็นด้านเหนือเขาถือว่าเป็นป้อมสำคัญ ขึ้นไปดูก็ไม่เห็นแปลกอะไรเป็นป้อม ๓ เหลี่ยมชุดเดียวกันกับป้อมทั้งปวงนั้น ต่อไปอีกจึงถึงประตูเขาเรียกไว้ว่าสะพานโคม ซึ่งน่าจะเรียกหว่าประตูชัย เพราะเป็นทางไปและมากับเมืองสุโขทัย ประตูนั้นเป็นประตูใหญ่ ลักษณะประตูเพนียดลพบุรี ลงไปลึกจึงถึงถนนข้ามคู ปลายถนนข้ามคูเป็นที่ลุ่มลึกใหญ่ มีเกาะอยู่กลาง ซึ่งเขายังไม่ได้แปลว่าอะไรนั้น แลเห็นได้ถนัดว่า เป็นป้อมประจำประตูอย่างประตูดั้นแต่ใหญ่กว่า เมื่อไปพบป้อมนั้นจึงขึ้นถนน ขุดดินเป็นร่อง ๒ ข้างขึ้นพูนเป็นถนนสูง กว้างประมาณ ๘ วาตรงลิ่ว เรียกว่าถนนพระร่วง ถนนพระร่วงชนิดนี้มีในระหว่างสุโขทัยกับสวรรคโลกเหมือนถนนสายนี้ ถนนสายนี้ไปสุโขทัย แต่ขาดเป็นห้วงเป็นตอน เชื่อแน่ได้ว่าเป็นถนนพระร่วงจริง เมื่อไปได้ประมาณสัก ๒๐ เส้นเศษ ย้ายลงเดินจากถนนไปข้างซ้ายมือ ที่นั่นดูเป็นที่ลุ่มต่ำลงไปจนถึงเป็นน้ำเป็นโคลน แล้วจึงไปขึ้นดินสูง ที่สูงนั้นพื้นเป็นแลงทั้งสิ้น ที่เป็นแลงแลเห็นเป็นแท่ง ๆ ก็มี ที่ป่นเป็นทรายแดงไปก็มี พอขึ้นที่สูงนั้นหน่อยหนึ่งก็ถึงวัดเป็นวัดใหญ่ ๆ แต่ไม่มีชื่อทั้งนั้น ด้วยเป็นวัดทิ้งอยู่ในป่าเสียแล้ว วัดเหล่านี้ใช้แลงแผ่นยาว ๆ ตั้ง ๒ ศอกเศษ หน้ากว้างคืบเศษหรือศอก ๑ หนา ๕ นิ้ว ๖ นิ้ว ตั้งเรียงกันเป็นระเนียดมีกรอบแลงเหลี่ยมลอกมุมทับหลังเหมือนกันทุก ๆ วัด แต่วัดที่เขาให้ชื่อว่าวัดกำแพงงามเป็นเรียบร้อยดีกว่าทุกแห่ง ทีจะทำภายหลังวัดอื่น การข้างในจึงไม่มีสลักสำคัญอันใดเห็นจะไม่แล้ว วัดต้นทางที่ไปถึงไม่มีชื่อ ถัดไปถึงวัดพระนอนซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน วัดเหล่านี้มีมักจะมีวิหารหรืออุโบสถใหญ่อยู่ข้างหน้า มีทักษิณชั้นล่างชั้นหนึ่งแล้วจึงถึงฐานบัตร์ลักษณะวัดสุทัศน์ วิหารเหล่านี้ไม่เกิน ๕ ห้อง แต่คงมีมุขเด็จด้านหน้าอย่างวัดหน้าพระธาตุเมืองลพบุรี พนักเป็นช่องลูกฟักเสาเป็นแปดเหลี่ยม ตัดแลงเป็น ๘ เหลี่ยมทีเดียว ด้านหลังมีมุขตั้งทักษิณ ชั้นล่างจดผนังและเสาใช้แลงอย่างเดียวไม่มีอิฐปูน ใช้พื้นโบสถ์พื้นวิหารสูง ไม่ต่ำเหมือนกรุงเก่า เหตุที่เขารวยแลง แต่หลังคาจะหาตัวอย่างให้เห็นว่าเป็นอย่างไรไม่มีสักหลังเดียว ถัดโบสถ์หรือวิหารนี้ไป จึงมีก้อนกลางต่าง ๆ กัน ชิ้นหลังก็ยักไปต่าง ๆ กัน บางทีมีแต่ ๒ ชิ้น


จะว่าด้วยวัดพระนอนนี้ วิหารหน้าใหญ่มาก แต่โทรมไม่มีอะไรอัศจรรย์ ในทักษิณชั้นล่างตั้งสิงห์เบือน เห็นจะมากคู่ แต่เดี๋ยวนี้เหลือ ๒ ตัว ชิ้นกลางเป็นวิหาร ๕ ห้อง กันไว้ข้างหน้า ๒ ห้อง ข้างหลัง ๒ ห้อง เหมือนวิหารพระศาสดาวัดบวรนิเวศและวิหารพระอัฐารสวัดสระเกศแต่ใหญ่มาก เสาใช้แลงท่อนเดียวเป็นเสา ๔ เหลี่ยมสูงใหญ่ ห้องข้างหน้ามีพระนอน ห้องข้างหลังมีพระนั่ง ๒ องค์ ชิ้นหลังเป็นพระเจดีย์ฐาน ๘ เหลี่ยม ระฆังกลมรูปแจ้งามมาก เกือบจะสู้พระเจดีย์กลางถนนเมืองย่างกุ้งได้ ยังดีไม่ซวดเซอันใด เหตุด้วยพื้นเป็นแลงแข็งไม่ต้องทำราก ชั่วแต่ยอดหัก แต่ที่เหลืออยู่บัดนี้สูงกว่า ๑๕ วา ที่หน้าพระเจดีย์นี้มีที่บูชาเป็นศาลาหลังคา ๒ ตอน ลักษณะเดียวกับที่ทูลกระหม่อม[77]สร้างไว้ในที่ต่าง ๆ ต่อไปข้างหลังมีฐานโพธิ์ และมีวิหารอะไรอีกหลังหนึ่ง ชำรุดมากดูไม่ออก เป็นวัดใหญ่มาก แต่จะเรียกว่าวัดพระนอนก็ควร เพราะมีพระนอนเป็นสำคัญ

ตั้งแต่วัดนี้ไปมีกำแพงอีกหลาย ๆ วัดอยู่ชิด ๆ กันอย่างวัดกรุงเก่า แต่ไม่มีเวลาจะแวะดู ทางที่ไปเป็นป่าไม้พลวง เป็นพื้นโปร่ง ๆ เมื่อพ้นวัดกำแพงงามจึงถึงวัดเขา ตั้งชื่อไว้ว่าวัดพระยืน มีสะพานข้ามคู เสาล้วนแต่ศิลาแลงทั้งนั้น วิหารใหญ่ด้านหน้าจนโตกว่าวัดสุทัศน์ แต่ไม่มีอะไรหลงเหลือเลย นอกจากพระเศียรพระเล็ก ๆ น้อย ๆ ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุขแต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิน มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับหลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมทอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืนนั้นขนาดพระโลกนาถวัดพระเชตุพน แต่ประเปรียวกว่า เห็นว่าให้ชื่อไว้ว่าวัดพระยืนนั้นไม่เข้าเค้า จึงเปลี่ยนให้เรียกวัดพระเชตุพนไปพลางกว่าจะมีชื่ออื่นดีกว่า เหตุด้วยเมืองสุโขทัยมีวัดพระเชตุพน บางทีเขาจะตั้งชื่อซ้ำกันบ้าง ต่อนั้นไปจึงถึงวัดใหญ่ ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกัน กลางเป็นรูปไม้สิบสอง จะเป็นเจดีย์ปรางค์อันใดพังเสียหรือไม่แล้ว ด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง ในลานวัดนั้นเต็มไปด้วยพระเจดีย์ที่เป็นฐานเดียวกัน หลาย ๆ องค์บ้าง องค์เดียวบ้าง ลักษณะเดียวกับวัดหน้าพระธาตุลพบุรีและวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย วัดนี้ดูบริบูรณ์มากกว่าวัดอื่น ซุ้มประตูใหญ่น้อยก็ยังมี ข้างหน้าวัดมีสระ ๔ เหลี่ยมกว้างยาวลึกประมาณสัก ๕ วา ขุดลงไปในแลงเหมือนอ่างศิลา ไม่มีรอยก่อเลย มีห้องฝาแลงกั้นสำหรับพระสรงน้ำ คงใช้โพงคันชั่ง น้ำในนั้นมีบริบูรณ์ใช้ได้อยู่จนบัดนี้ เมื่อเห็นวัดนี้เข้าแล้ว เป็นการจำเป็นที่จะยืนยันรับรองว่าวัดในเมืองจะเป็นวัดพระแก้วไม่ได้เลย ถ้าพระแก้วได้อยู่ในเมืองนี้คงจะอยู่วัดนี้ ใช่แต่เฉพาะว่าวัดใหญ่ เกี่ยวด้วยกาลเวลาเสียด้วย เป็นอันลงสันนิษฐานได้ในเรื่องเมืองกำแพงเพชร นี้ดังที่จะว่าต่อไป


เมืองกำแพงเพชรนี้เดิมตั้งอยู่ห่างฝั่งน้ำทุกวันนี้ประมาณ ๑๐๐ เส้น น่าจะมีลำน้ำมาที่ชายเนินแลง ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าเป็นที่ลุ่มน้ำ หรือที่อื่นตลอดจนถึงเวลาพระร่วงเป็นใหญ่ในเมืองสวรรคโลก เป็นเวลาร่วมกันกับมังรายลงมาจากเชียงราย ตั้งเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง พวกเจ้านายในเมืองสวรรคโลกกลัวว่าสวรรคโลกล่อแหลมนัก จึงคิดอ่านตั้งสุโขทัยเป็นเมืองหลวงขึ้นอีกเมืองหนึ่ง สวรรคโลกให้ลูกเธอไปอยู่เป็นทัพหน้า ข้างฝ่ายแม่น้ำน้อยนี้จะเป็นไปด้วยแม่น้ำเปลี่ยนไปก็ตาม หรือเมืองเดิมตั้งอยู่ห่างน้ำก็ตาม พระร่วงหรือวงศ์พระร่วงเห็นว่าควรจะเลื่อนเมืองลงมาตั้งริมน้ำให้ข่มแม่น้ำนี้ จึงมาสร้างกำแพงขึ้นใหม่ให้ชื่อเมืองกำแพงเพชร ทำทางหลวงเดินขึ้นไปสวรรคโลกสายหนึ่ง มากำแพงเพชรสายหนึ่ง เพื่อจะให้เดินทัพช่วยกันได้สะดวก เมืองเหนือคงเป็น ๓ พระนคร ทางเดินในระหว่างกำแพงเพชรไปสุโขทัย นอน ๒ คืน ด้วยเหตุฉะนั้นเจ้าผู้ครองเมืองกำแพงเพชรจึงย้ายเข้ามาอยู่ในกำแพง ได้สร้างวัดใหญ่ขึ้นแต่วัดเดียว เมื่อองค์อื่นจะสร้างก็สร้างเติมต่อ ๆ ไป จึงไม่มีวัดใหญ่ในกำแพงเมือง วัดในกำแพงต้นทางที่มีพระเจดีย์ ซึ่งมกุฎราชกุมารสมมติให้เป็นวัดมหาธาตุ ถ้าจะเทียบกับวัดข้างนอกเมืองเล็กนักเป็นไม่ได้ วัดพระแก้วนั้นเล่าพระแก้วก็อยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่พระแก้วจะตกมาอยู่กำแพงเพชรคงจะมาอยู่ก่อนสร้างกำแพงเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ ด้วยถ้ามาอยู่ภายหลัง คงจะไม่อยู่เมืองกำแพงเพชรต้องไปอยู่สุโขทัย เมืองชั้นกำแพงเพชรไม่เกิน ๖๐๐ ปี แต่เมืองโบราณภายในนี้ไม่ภายหลังพระร่วง ถ้าหากว่าได้ค้นคว้ากันจริง ๆ คงจะพบลำน้ำเขินพบเชิงเทินเมืองเก่า เดี๋ยวนี้พวกที่ค้นหลงว่าเมืองเก่านั้นเป็นวัดนอกเมืองจึงมามัวคลำแต่ในกำแพง ถ้าเป็นนอกเมืองแล้วจะไปสร้างวัดออกเต็มไปเช่นนั้นที่ไหนได้ ถ้าจับบทหันไปค้นนอกเมือง ซึ่งเป็นเมืองโบราณนี้คงจะได้อะไรอีกมาก วันนี้อยู่ข้างจะสนุก แต่เวลาไม่พอ หยุดแต่ชั่วกินข้าวที่ปากสระวัดมหาธาตุครู่เดียว ยังกลับมาถึงเกือบบ่าย ๕ โมง


วันนี้ค่ำล้างรูป และมีละครของมารดาหลวงพิพิธอภัย เล่นเรื่องไชยเชษฐ กรมดำรงเชื่อว่าจะเก่าแท้ ไม่มีโซดขึ้นมาถึง ที่แท้โซดเสียป่นปี้ยับเยินมาก คือนายโรงแต่งตัวเป็นละคร แต่เสื้อผ้าขาวไม่ปักตะพายแพรอย่างเจ้าพระยามหินทร อัตลัดดอกใหญ่ลอยเลื่อม ดอกละ ๓ อัน นายโรงนี้แก่มากแก้มลึกเหมือนช้อนหอย นางใส่เสื้อแพรหรือเสื้อขาวห่มแพรสไบเฉียงสวมนวมและตาบนุ่งผ้าไหมเลี่ยน นางแมวนั้นแต่งหรูคือใส่เสื้อผู้หญิงอย่างใหม่เกี่ยวขอข้างหลัง มีความเสียใจที่คับไปหน่อยหนึ่ง ตั้งแต่บั้นเอวลงมาจนก้นเกี่ยวขอไม่ได้ต้องง่าอยู่เฉย ๆ และการที่สวมนั้นก็พลาดพลั้งเอียงอยู่ข้างหนึ่งด้วย วิเศษขึ้นที่สำรดคาดเอวทับแพรอีกอีกชั้นหนึ่ง สวมกระบังหน้า นารายณ์ธิเบศร สวมเสื้ออย่างใหม่แขนพองสะพายแพร ท้าวสิงหฬสวมเสื้อขาวสะพายแพร หน้าโขนเป็นหน้าเขียวสวมชฎาดอกลำโพง ลูกคู่นั้นไม่กี่คนแต่อายุตั้งแต่ ๗๐ ลงมาหา ๑๕ ปี ร้องเป็นทำนองละครใน เห็นจะเป็นด้วยพระราชนิพนธ์ หมายว่าละครในคงต้องร้องละครในทั้งสิ้น ถามเจ้าของดูว่าหางานกันกลางวันครึ่งวันกลางคืนครึ่งคืนเป็นเงิน ๔๐ ได้เล่นอยู่ทุกปีมิใช่เล่นอยู่เสมอ แต่ยังเล่นเป็นละครไม่ใช่ยี่เก


วันที่ ๒๕ วันนี้ตื่นสายเพราะวานนี้อยู่ข้างจะฟกช้ำ ๔ โมง จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันออก ยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมากต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำไหลเพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกทางขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่าแม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง ๓ วันจึงถึงป่าไม้ แต่มีหลักตอมาก เขาขึ้นเดินไปทางไปวันเดียวถึงป่าไม้นี้ พะโป๊กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นไทยชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนติดกันในที่นั้น ไปขึ้นถ่ายรูปที่หน้าบ้าน ๒ บ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ คลองสวนหมากนี้ตามลัทธิเก่าถือกันว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปเสียข้างฝั่งตะวันออกเพียงแต่แลดูก็จับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำลงมาแต่ห้วยในป่าไม้ แต่เงินไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้ แซงพอกะเหรี่ยงซึ่งเรียกว่าพญาตะก่าพี่พะโป๊มาทำป่าไม้ ราษฎรซึ่งอยู่ฟากตะวันออกก็พลอยข้ามไปหากินมีบ้านเรือนคนมากขึ้น ความกลัวเกรงก็เสื่อมไป กินข้าวแล้วล่องมาขึ้นที่วัดพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่องค์ ๑ ย่อม ๒ องค์ พญาตะก่าสร้างรวม ๓ องค์เป็นองค์เดียว แปลงรูปเป็นพระเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ พญาตะก่าตาย พะโป๊จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกฉัตรยอดซึ่งทำมาแต่เมืองมรแหม่งพึ่งแล้ว แลดูในแม่น้ำงามดี แต่ฐานชุกชียังถือปูนไม่รอบ พระเจดีย์นี้ทาสีเหลืองมีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี มีพระครูอยู่ในวัดเป็นเจ้าคณะรองรูปหนึ่ง พระครูเจ้าคณะแขวงอำเภอพรานกระต่ายอยู่อีกพวกหนึ่ง เป็น ๒ พวกออกจะลอยกัน[78] มีโรงเรียนอยู่ในหมู่กุฏิ มีราษฎรมาหาเป็นอันมาก


พระเจดีย์ ๓ องค์นี้ นาบชิดมหาดเล็กหลานพระยาประธานนคโรทัย ซึ่งเป็นนายอำเภออยู่ในมณฑลนครชัยศรีป่วยลาออกรักษาตัว ไปได้ตำนานและพระพิมพ์มาให้ ว่ามีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามพระยาศรีธรรมาโศกราชจะบำรุงพระพุทธศาสนาจึงไปเชิญพระธาตุมาแต่ลังกา สร้างเจดีย์บรรจุไว้ในแควน้ำปิงและน้ำยมเป็นจำนวนพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ พระฤษีจึงสร้างพระพิมพ์ขึ้นถวายพระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นอุปการะ จึงได้บรรจุพระธาตุและพระพิมพ์ไว้ในพระเจดีย์แต่นั้นมา เหตุที่พบพระพิมพ์กำแพงเพชรขึ้นนี้ ว่าเมื่อปีระกาเอกศกจุลศักราช ๑๒๑๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตวัดระฆังขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่น้ำปิงฝั่งตะวันตกตรงหน้าเมืองข้าม จึงได้ค้นคว้ากันขึ้น พบพระเจดีย์ ๓ องค์นี้ชำรุดทั้ง ๓ องค์ เมื่อพญาตะก่าขอสร้างรวมเป็นองค์เดียว รื้อพระเจดีย์ลงจึงได้พบกับพระพิมพ์ กับได้ลานเงินจารึกอักษรขอม เป็นตำนานสร้างพระพิมพ์และวิธีบูชา นายชิดได้คัดตำนานและวิธีบูชามาให้ด้วย ของถวายในเมืองกำแพงเพชรนี้ก็มีพระพิมพ์เป็นพื้น ได้คัดตำนานติดท้ายหนังสือนี้ไว้ด้วย

เมืองกำแพงเพชร

วันที่ ๒๕ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕


ข้าพระพุทธเจ้า นายชิด มหาดเล็กเวรเดชหลานพระยาประธานนคโรไทยจางวางเมืองอุทัยธานี เดิมได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งนายอำเภอ อยู่มณฑลนครชัยศรี ข้าพระพุทธเจ้าป่วยเจ็บทุพพลภาพ จึงกราบถวายบังคัมลาออกจากหน้าที่ราชการ ขึ้นมารักษาตัวอยู่บ้านภรรยาที่เมืองกำแพงเพชร ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบเสาะหาพระพิมพ์ของโบราณ ซึ่งมีผู้ขุดค้นได้ในเมืองกำแพงเพชรนี้ ได้ไว้หลายอย่างพร้อมกับพิมพ์แบบทำพระ ๑ แบบ ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย


ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ถึงตำนานพระพิมพ์เหล่านี้ อันเป็นที่เชื่อถือกันในแขวงเมืองกำแพงเพชรสืบมาแต่ก่อน ได้ความว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้ มีมหาชนเป็นอันมากนิยมนับถือลือชามาช้านาน ว่ามีคุณานิสงส์แก่ผู้สักการบูชาในปัจจุบัน หรือมีอานุภาพทำให้สำเร็จผลความปรารถนาแห่งผู้สักการบูชาด้วยอเนกประการ


สัณฐานของพระพุทธรูปพิมพ์นี้ ตามที่มีผู้ได้พบเห็นแล้วมี ๓ อย่างคือ พระลีลาศ (ที่เรียกว่าพระเดิน) อย่าง ๑ พระยืนอย่าง ๑ พระนั่งสมาธิอย่าง ๑


วัตถุที่ทำเป็นองค์พระต่างกันเป็น ๔ อย่าง คือดีบุก (หรือตะกั่ว) อย่าง ๑ ว่านอย่าง ๑ เกสรอย่าง ๑ ดินอย่าง ๑ พระพิมพ์นี้ ครั้งแรกที่มหาชนจะได้พบนั้น ได้ในเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งตะวันตกเป็นเดิม


และการที่สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นนั้น ตามสามัญนิยมว่า ณ กาลครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มีพระบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ทรงมหิทธิเดชานุภาพแผ่ไปในทิศานุทิศตลอดถึงทวีปลังกา ทรงอนุสรณ์คำนึงในการสถาปนานุปถัมภกพระพุทธศาสนา เพื่อให้แผ่ไพศาลยิ่งขึ้น จึงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวมพระบรมธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ ในคำกล่าวว่าแควน้ำปิงและน้ำยม เป็นต้น เป็นจำนวนพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ครั้งนั้นฤษีจึงได้กระทำพิธีสร้างพระพิมพ์เหล่านี้ถวายแก่พระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นการอุปการะในพระพุทธศาสนา


ครั้งแรกที่จะได้พบพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุและพระพิมพ์เหล่านี้ เดิม ณ ปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ (นับโดยลำดับปีมาถึงศกนี้ได้ ๕๘ ปี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง กรุงเทพฯ ขึ้นมาเยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชรนี้ ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดเสด็จได้ความว่า มีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่น้ำปิงตะวันตก ตรงหน้าเมืองเก่าข้าม ๓ องค์ ขณะนั้นพระยากำแพง (น้อย) ผู้ว่าราชการเมืองได้จัดการค้นคว้า พบวัดและพระเจดีย์สมตามอักษรในแผ่นศิลา จึงป่าวร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางและปฏิสังขรณ์ขึ้น เจดีย์ที่ค้นพบเดิมมี ๓ องค์ องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุอยู่กลาง ชำรุดบ้างทั้ง ๓ องค์


ภายหลังพระยากำแพง (อ่อน) เป็นผู้ว่าราชการเมืองแซงพอกะเหรี่ยง (ที่ราษฎรเรียกว่าพญาตะก่า) ได้ขออนุญาตรื้อพระเจดีย์สามองค์นี้ทำใหม่รวมเป็นองค์เดียว


ขณะรื้อพระเจดีย์ ๓ องค์นั้น ได้พบตรุพระพุทธรูปพิมพ์และลานเงินจารึกอักษรขอม กล่าวตำนานการสร้างพระพิมพ์และลักษณะการสักการบูชาด้วยประการต่าง ๆ พระพิมพ์ชนิดนี้มีผู้ขุดค้นได้ที่เมืองสรรค์บุรีครั้งหนึ่ง แต่หามีแผ่นลานเงินไม่ แผ่นลานเงินตำนานนี้กล่าวว่า มีเฉพาะแต่ในพระเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งน้ำปิงตะวันตกแห่งเดียว มีสำเนาที่ผู้อื่นเขียนไว้ดังนี้

ตำนาน


ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤษี ๑๑ ตน ฤษีเป็นใหญ่ ๓ ตน ตนหนึ่งฤษีพิลาไลย ตนหนึ่งฤษีตาไฟ ตนหนึ่งฤษีตางัวเป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราท่านทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัดอุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์อายุวัฒนะพระฤษี ประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน ๕,๐๐๐ พรรษา พระฤษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลาย อันมีฤทธิ์เอามาให้สัก ๑,๐๐๐ เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ ๑,๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้ว ฤษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัดสถานหนึ่ง ฤษีทั้ง ๓ องค์นั้นจึงบังคับฤษีทั้งปวง ให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อนประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิ์ทุกอัน จึงให้ฤษีทั้งนั้นเอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิ์แล้วด้วยเนาวะหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤษีที่ทำไว้นั้นเถิด ฤษีไว้อุปเทศดังนี้


แม้อันตรายสักเท่าไรก็ดี ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าการณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่น้ำมันหอมเข้าด้วยเนาวะหรคุณ แล้วเอาใส่ผมศักดิ์สิทธิ์ความปรารถนา ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศาสตราวุธทั้งปวง เพระสรงน้ำหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ เสก ๓ ที ๗ ที แล้วใส่ขันสัมฤทธิ์พิษฐานตามความปรารถนาเถิด ถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคามเอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนกลัวเกรง เอาใส่น้ำมันหอมหุงขี้ผึ้งเสกด้วยเนาวะหรคุณ ๗ ที ถ้าจะค้าขายก็ดี มีที่ไปทางบกทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงแล้วเอาพระสรงน้ำมันหอมเสกด้วยพระพุทธคุณ อิติปิโสภกูราติ เสก ๗ ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล ถ้าจะให้สวัสดีสถาพรทุกอัน ให้เอาดอกไม้ ดอกบัวบูชาทุกวันจะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกประการแล ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดี พระว่านก็ดี พระปรอทก็ดี ก็เหมือนกันอย่าได้ประมาทเลย อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น ถ้าจะให้ความศูนย์ เอาพระสรงน้ำหอมเอาด้าย ๑๑ เส้นชุบน้ำมันหอมและทำไส้เทียนตามถวายพระแล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิด ผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์นี้

ไฟล์:เสด็จประพาสต้น๒-๑.jpg

ใส่ไส้เทียนเถิด แล้วว่านโมไปจนจบ แล้วว่าพาหุง แล้วว่าอิติปิโสกการ มหเชยฺยํมงฺคลํ แล้วว่าพระเจ้าทั้ง ๑๖ พระองค์ เอาทั้งคู่ กิริมิทิ กุรุมุทุ กรมท เกเรเมเท ตามแต่จะเสกเถิด ๓ ที ๗ ที วิเศษนัก ถ้าได้รู้พระคาถานี้แล้ว อย่ากลัวอันใดเลย ท่านตีค่าไว้ควรเมือง จะไปรบศึกก็คุ้มได้สารพัดศัตรูแล


ข้าพระพุทธเจ้าได้พระราชทานคัดต่อมาดังนี้


ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า นายชิด

ขากลับลงเรือชะล่าไปทางท้ายเมืองใหม่เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลา ที่เมืองใหม่นี้มีถนน ๒ สายยาวขึ้นมาตามลำน้ำเคียงกันขึ้นมา สาย ๑ อยู่ริมน้ำ สาย ๑ อยู่บนดอน แต่ถึงสายริมน้ำหน้าน้ำก็ไม่ท่วม บ้านเรือนก็ดูเป็นอย่างลักษณะถนนบ้านหม้อเมืองเพชรบุรี หรือถนนบางกอกอย่างเก่า ไม่ใช่ถนนเสาชิงช้า ผู้คนก็แหน่นหนาอยู่ มาแต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ ๒๐ เส้นเศษ


วันนี้ถ่ายรูปได้มากแต่สนุก เพราะได้เปลี่ยนแว่นเปลี่ยนทำนองถ่าย และถ่ายง่ายไม่เหมือนถ่ายในป่า ๒ วันมาแล้วซึ่งยังไม่เคยถ่ายเลย ล้างรูปไว้แต่กระจกใหญ่ จะล้างหมดกลัวแห้งไม่ทัน วันนี้ได้ตัดผม ตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟแล้ว ลงเรือมาด้วยแต่นครสวรรค์ เพราะหาเวลาตัดไม่ได้


วันที่ ๒๖ หมายจะยังไม่ตื่นแต่หมาเข้าไปปลุก ๒ โมงเศษ กินข้าวแล้วออกไปแจกของให้ผู้ที่มาเลี้ยงดู และรับทั้งผู้หญิงผู้ชาย หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วยซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง (อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง (นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาแก่พระยากำแพง (นาค) ซึ่งเป็นสามีแพงบุตรีพระยากำแพง (นุช) บุตรพระยากำแพง (นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่อมา ๔ คน คือพระยากำแพง (บัว) พระยากำแพง (เถอน) พระยากำแพง (น้อย) พระยากำแพง (เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อ ๆ กันมา ครั้นพระยากำแพง (เกิด) ถึงอนิจกรรม ผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอ้นบุตรพระยากำแพง (เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัย ภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง (อ้น) ถึงแก่กรรม ดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้ พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริง เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรยังไม่มีพระแสงสำหรับเมือง เช่นแควใหญ่ ไม่ได้เตรียมมา จึงได้มอบดาบเล่มนี้ไว้เป็นพระแสงสำหรับเมือง ให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธี แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหา ตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ภรรยาพระยากำแพง (เกิด) อายุ ๙๓ ปีจอ เห็นจะเป็นปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ ยังสบายแจ่มใส พูดจาไม่หลง เดินได้เป็นต้น กับลูกที่มา ๒ คนคือชื่อผึ้งเป็นภรรยาพระพล (เหลี่ยม) อายุ ๗๓ ปี ลูกคนสุดท้องชื่อภู่ เตยไปทำราชการในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรงค์ (หรุ่น) อายุ ๖๔ ปี หลานหญิง ชื่อหลาบ เป็นภรรยาหลวงแพ่งอายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อเพื่อน เป็นภรรยาพระพล อายุ ๔๖ ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธอภัยอายุ ๔๔ ปี หลานชายหลวงพิพิธอภัย อายุ ๔๔ ปี เหลนที่มา ๖ คน คือกระจ่าง ภรรยานายชิด อายุ ๒๔ ปี เปล่งภรรยานายคลอง อายุ ๒๑ ปี ริ้วบุตรีพระพล อายุ ๑๗ ประคองอายุ ๑๗ หวีดอายุ ๑๖ บุตรหลวงพิพิธอภัย ละอองบุตรีนายจีนอายุ ๑๒ ปี โหลนได้ตัวมา ๒ คน แต่ถ่ายคนเดียว แต่ที่ชื่อละเอียดบุตรีโน้มอายุ ๑๓ ปี ได้ถ่ายร่วมกันเป็น ๕ ชั่วคน ที่ถ่านนี้กันออกเสียบ้าง ด้วยมาไม่ครบหมดด้วยกัน ลูก หลาน เหลน โหลน ซึ่งสืบมาแต่ท่านผู้หญิงทรัพย์ซึ่งมีชีวิตอยู่ด้วยกันเดี๋ยวนี้ ๑๑๑ คน ที่เมืองกำแพงเพชรนี้ประหลาดว่าเป็นที่มีไข้เจ็บชุม ถึงถามชาวบ้านเมืองนั้นเองก็ไม่มีใครปฏิเสธสักคนว่าไข้ไม่ชุมและไม่ร้าย แต่ได้พบคนแก่ทั้งหญิงทั้งชายมากกว่าที่ไหน ๆ หมด กรมการคร่ำ ๆ อายุ ๗๐ - ๘๐ ก็มีมากหลายคน ราษฏรตามแถวตลาดก็มีคนแก่มาก ถ้าจะหารือพวกกำแพงจริงคงบอกว่าพระพิมพ์ป้องกัน ด้วยนับถือกันมาก พระเล่าให้ฟังว่าเวลาที่ไม่เสด็จมา หากันนักดูหายากอย่างยิ่ง ต่อเมื่อเสด็จมาจึงรู้ว่าพระพิมพ์มีมากถึงเพียงนี้ ต่างคนต่างตระเตรียมกันอยากจะถวาย ก็เป็นความจริงเพราะผู้ที่มาถวายไม่ได้ถือหรือห่อมาตามปกติ จัดมาในพานดอกไม้นั่งรายตามริมถนน ได้เสมอทุกวันไม่ได้ขาด ดูความนับถือกลัวเกรงเจ้านั้นมากอย่างยิ่ง เพราะไม่ใคร่ได้เคยเฝ้าแหน แต่กิริยาอาการเรียบร้อยไม่เหมือนตำบลบ้านตามระยะทางซึ่งกล้าไปยืนอยู่ คงมีผู้มากราบถึงตีนไม่ได้ขาด


ถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือประพาสล่องไปขึ้นท่าหน้าวัดเสด็จ เพื่อจะถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์ แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯเสียแล้ว[79] แล้วจึงเดินไปวัดคูยาง ซึ่งเป็นที่พระครูเจ้าคณะอยู่ ผ่านถนนสายใน ถนนสายนี้งามมาก ได้ถ่ายรูปไว้และให้ชื่อถนนราชดำเนิน วัดคูยางนี้มีลำคูกว้างประมาณ ๖ วาหรือ ๘ วา น้ำขัง หอไตรและกุฏิปลูกอยู่ในน้ำแปลกอยู่ ต่อข้ามคูเข้าไปจึงถึงบริเวณพระอุโบสถ ทางที่เข้าเป็นทิศตะวันตก ด้านหลังหันหน้าออกทางทุ่ง มีพระอุโบสถย่อมหลังหนึ่ง วิหารใหญ่หลังหนึ่ง ก่อด้วยแลงแต่เสริมอิฐถือปูน หลังคาเห็นจะผิดรูปเตี้ยแบนไป หลังพระวิหารมีฐาน ๓ ชั้น อย่างพระเจดีย์เมืองนี้ แต่ข้างบนแปลงเป็นพระปรางค์ เห็นจะแก้ไขขึ้นใหม่โดยพังเสียแล้วไม่รู้ว่ารูปเดิมเป็นอย่างไร ในพระวิหารมีพระพุทธรูปต่าง ๆ อยู่ข้างจะดี ๆ พระครูเลือกไว้ให้ เป็นพระลีลาสูงศอกคืบ กับอะไรอีกองค์หนึ่งต้นเต็มทีไม่ชอบ จึงได้ขอเลือกเอาเอง ๔ องค์ เป็นพระยืนกำแพงโบราณแท้ชั้นเขมรองค์ ๑ พระนาคปรกขาดฐานเขาหล่อฐานขึ้นเติมไว้องค์ ๑ พระกำแพงเก่าอีกองค์ ๑ พระชินราชจำลองเหมือนพอใช้อีกองค์ ๑ กลับจากวัดหยุดถ่ายรูปบ้างจนเที่ยงจึงได้ลงเรือเหลือง ล่องลงมาไม่พบกรมหลวงประจักษ์ ตกลงทำกับข้าวกันมา ต่อจวนกับข้าวสำเร็จจึงได้พบและกินที่พลับพลาปากอ่าง ล่องเรือลงมาหยุดชั่วแต่พอถ่ายรูปเวลาพบเท่านั้น ขาล่องนี้เรือใช้ตีกรรเชียง แต่ก็เป็นอันสักว่าตี เบาเสียกว่ากรรเชียงเรือเล็ก ๆ อยู่ในลอยน้ำลงมา ถึงที่พักแรมตำบลวังนางร้าง แต่ที่แท้เขาเรียกวังอีร้าง เรียกนางร้างถึงตาถือท้ายไม่เข้าใจ เวลาทุ่มเศษ


วันที่ ๒๗ ออกเรือเช้า ๓ โมง จน ๕ โมง จึงได้ไปขึ้นเรือเหลือง หยุดกินข้าวที่ตลิ่งเป็นป่าตะวันออก แล้วมาหยุดที่หาด ถ่ายรูปเวลาพระอาทิตย์ตก เลยตีกรรเชียงลงมาถึงพลับพลาบ้านแดนเวลาพลบ ไม่มีเรื่องอะไรเลย นอกจากอ้ายกรรเชียงที่ตีง่ายแสนสาหัส ขึ้นชื่อว่ากรรเชียงแล้วไม่มีอะไรจะเบาเท่า ถ้าขืนตีทวนน้ำแล้วเป็นไม่ขึ้นเป็นอันขาด


วันที่ ๒๘ ออกเรือ ๓ โมงเช้า ต้องรอรับพวกจีนไทยที่มาหารวมทั้งตาแสนปมที่เห็นพายเรือมาแต่วานนี้ด้วย แวะกินข้าวที่พลับพลาหัวดงซึ่งเขากะให้มาแรมเวลาบ่ายโมง ๑ เท่านั้น จึงเปลี่ยนเลื่อนลงมายางเอน หยุดถ่ายรูปเขานอครั้งหนึ่ง มาตามทางมีคนรู้จักเรือเหลืองว่าเป็นที่นั่งทั่วทุกแห่ง ที่ไหนเคยแวะที่นั่นคนยิ่งประชุมมาก มีอะไรที่จะตีจะเคาะโห่ร้องได้ ก็ตีเคาะโห่ร้องทุกแห่ง มีลงเรือพายตามเอาของมาให้ก็มาก ที่เก้าเลี้ยวประโคมใหญ่เพิ่มเถิดเทิงด้วย ผู้หญิงตีเถิดเทิง มาถึงเขาดินได้ยินเสียงมโหรีและพระสวด เห็นเวลายังวันอยู่จึงได้คิดแวะถ่ายรูป แต่ชายหาดน้ำตใหญ่ื้นเรือเข้าไปไม่ถึง ต้องลงเรือเล็กลำเลียงเข้าไปอีก เดินหาดร้อนเหลือกำลัง ทั้งเวลาก็บ่าย ๔ โมงแล้ว ไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นเขา แต่ครั้นเข้าถ่ายรูปที่เขาแล้วเห็นที่วัดตระเตรียมรับแน่นหนามาก จึงเลยไปถ่ายรูป ครั้นเข้าไปใกล้ดูคนตะเกียกตะกายกันหนักขึ้น จนต้องยอมขึ้นวัด วัดนี้เรียกชื่อสามัญว่าวัดเขาดิน แต่ชื่อตั้งหรูมากจนจำไม่ได้ต้องจดว่า "วัดพระหน่อธรณินทรใกล้วารินคงคาราม" เจ้าอธิการชื่อเฮ็ง รูปพรรณสัณฐานดี กลางคนไม่หนุ่มไม่แก่ เป็นฝ่ายวิปัสนาธุระ ทีคนจะนับถือมาก พึ่งมาจากวัดมหาโพธิที่ตรงกันข้ามได้ ๒ ปี แต่มีคนแก่สัปปุรุษและชาวบ้านหลายคนมาคอยอธิบายชี้แจงโน่นนี่ เจ้าอธิการว่าได้สร้างศาลาขึ้นไว้หลังหนึ่งขัดครื่องมุง จึงให้เงิน ๑๐๐ บาทช่วยศาลานั้น แล้วสัปปุรุษทายกชักชวนให้เข้าไปดูในวัด ซึ่งเชื่อเสียแล้วว่าไม่มีอะไร แต่เสียอ้อนวอนไม่ได้ ครั้นเข้าไปถึงในลานวัด เห็นใหญ่โตมากเป็นที่เตียนราบใต้ร่มไม้ใหญ่ กว่างเห็นจะเกือบ ๓ เส้น ยาวสัก ๔ เส้น เป็นที่รักษาสะอาดหมดจดอย่างยิ่ง รู้สึกสบาย ถ่ายรูปแล้วพวกสัปปุรุษชวนให้ไปดูพระอุโบสถซึ่งอยู่บนเขา จึงได้รู้ว่ามีทางอีกทางหนึ่งสำหรับขึ้นเขา มีบันไดอิฐขึ้นตลอด จะต่ำกว่าเขาบวชนาคสักหน่อย แต่ทางขึ้นง่ายไม่ใช่เขาดินเป็นเขาศิลา มีดินหุ้มแต่ตอนล่าง ๆ พวกสัปปุรุษพากันตักน้ำขึ้นไปไว้สำหรับจะให้กินจะให้อาบ โบสถ์นั้นรูปร่างเป็นศาลาไม่มีฝาหลังใหญ่ มีพระเจดีย์องค์ ๑ แต่ข้างหลังโบสถ์แลดูภูมิที่งดงามดี คือมีบึงใหญ่เห็นจะเป็นลำเดียวกันกับบึงบ้านหูกวาง แลเห็นเขาหลวงเมืองนครสวรรค์สกัดอยู่ ในที่สุดถ่ายรูปแล้วไล่เลียงเรื่องวัดนี้ได้ความว่าพระครูหวาอยู่วัดมหาโพธิมาเริ่มสร้างได้ ๘๐ ปีมาแล้ว แล้วได้ปฏิสังขรณ์ต่อ ๆ กันมา ตามที่เล่านั้นว่าเป็นที่สิงสู่ของพวกชาวลับแล พึ่งจะย้ายไปอยู่เขาหลวงเมืองชัยนาทเสียเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีตาแก่คนหนึ่งอายุ ๘๐ เศษ เป็นผู้รู้เรื่องชาวลับแลมากตั้งแต่ชั้นต้นมา มีตาเจ๊กดำอีกคนหนึ่งอายุ ๖๐ เศษ เป็นพยานยืนยันชั้นเก่า ๆ ยังมีพวกหนุ่ม ๆ อีกเป็นกองเป็นพยานยืนยันชั้นหลังว่า ได้ยินเสียงพิณพาทย์และเสียงฆ้องเสียงโห่ร้อง เพราะผิดกับสามัญเป็นอันมาก ครั้นขึ้นไปดูก็ไม่เห็นอะไร ในบึงหลังเขาแต่เดิมไม่มีกะบิรกเช่นนี้ เพราะเป็นที่เขาเล่นแข่งเรือกัน ได้ยินเสียงเกรียวกราว ไปดูก็ไม่เห็นอะไร ทั้งการที่ได้ยินเกรียวกราวนั้น ไม่ใช่เวลากลางคืน เป็นกลางวันด้วย ต่อแล้ว ๆ จึงได้เห็นกระทงที่ใส่ของมากินนั้นทิ้งเกลื่อนกลาดอยู่ในบึง จนเมื่อเวลาเสด็จขึ้นไปเหนือทางแควใหญ่เร็ว ๆ นี้เองก็ยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ก่อนที่เขานี้มีถ้ำหลายแห่ง พวกลับแลเขาไปเขาปิดถ้ำเสียด้วย ได้ถามล่อจะให้เห็นคนรู้ไม่ยอมรับเห็น เล่าแต่เรื่องคนลับแลอย่างเดียวเป็นจริงเป็นจังไป คนเชื่อลับแลเช่นนี้ยังมีมาก แล้วเขาพาเดินไปตามสันเขาออกไปลูกนอก ซึ่งแลเห็นจากแม่น้ำ มีวิหารเล็กและทับที่คนอาศัย รักษาสะอาดหมดจดดีเหมือนกัน เอาอ่างมาตั้งเป็นกระถางต้นไม้เล่นเข้าดีพอใช้ กลับลงทางด้ารข้างริมน้ำซึ่งมีบันไดปูนเหมือนกัน เจ้าอธิการถามหาทูลกระหม่อมมีติดขึ้นมาบ้างหรือไม่ ครั้นได้ความว่ามีมาจึงเอาแหวนถักพิรอดมาแจก แหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรัก นี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี กลับลงมาโดยสะพาน เขาทำยื่นลงมาจนพ้นหาดในยาวอยู่ พวกราษฎรทั้งชายหญิงและเด็กลงมาช่วยกันเข็นเรือโดยความเบิกบาน เหมือนอย่างแห่พระ เด็ก ๆ จนจมถึงคอ ยังไม่วางต้องไล่ ล่องลงมาถึงพลับพลายางเอนเวลาพลบ วันนี้ยุงชุมกว่าทุกวัน ถึงเมื่อขามาก็มามีที่นครสวรรค์ ตอนบนมีบ้างก็เป็นยุงนอนหัวค่ำไม่มีไปเท่าไร แต่อย่างไร ๆ ก็คงน้อยกว่าบางกอก

วันที่ ๒๙ เช้า พวกชาวบ้านมาหา แต่ล้วนพวกที่ยังไม่รู้จักต้องการจะมาดู ในหมู่นั้นมียายอิ่มบ้านพังม่วง ซึ่งได้ไปกินข้าววันแรก มาด้วยกับลูกสาวคนหนึ่งหลานคนหนึ่ง ครั้นเวลาออกไปก็ไม่รู้จักอยู่นั่นเอง ได้ถามว่าพระยาโบราณไปที่บ้านหรือ ตอบว่า ท่านว่าท่านเป็นพระยาโบราณ แต่อย่างไรก็ไม่ทราบ ถามว่าท่านนัดให้ลงไปหาจะพาเฝ้าไม่ใช่หรือ ก็รับว่าท่านว่าเช่นนั้นแหละ แต่อย่างไรก็ไม่ทราบ ถามว่าทำไมแกไม่เชื่อท่านหรือ บอกว่าก็เชื่อแต่อย่างไรก็ไม่ทราบ ถามว่าทำไมจึงว่าอย่างไรก็ไม่ทราบ บอกว่าชาวบ้านเขาว่าอย่างหนึ่ง ถามว่าเขาว่ากระไร อิดเอื้อนไม่ใคร่จะบอก ต้องซักแล้วกระซิบกระซาบว่าเขาว่าไม่ใช่พระยาโบราณ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเอง พอรู้เช่นนั้นเข้าขนลุกซ่าทั้งตัว ได้นึกสงสัยอยู่แล้วเลยนอนไม่หลับกระสับกระส่ายไป ถามว่าแกเพ็ดทูลอะไรหรือจึงได้ไม่สบาย ก็ว่าได้พูดมากอยู่มีเรื่องขึ้นค่านาเป็นต้น ถามว่าพระรูปพระโฉมท่านเป็นอย่างไร กระซิบบอกว่าสูง ๆ ผอม ๆ ผิวอยู่ข้างจะคล้ำ จึงถามว่าวันนั้นไปด้วยกับเจ้าคุณโบราณแกจำได้หรือไม่ ว่าไม่ทันสังเกตมัวรับรองอยู่ แล้วหันไปถามลูกสาวว่าท่านไปด้วยหรือไม่ นางลูกสาวหัวร่อบอกว่าท่านไปด้วยจำได้ ถามว่าถ้าข้าจะบอกแกว่าเป็นพระเจ้าอยู่หัวเองแกจะว่าอย่างไร ออกจะเหลือกลานและจ้องอยู่สักครู่หนึ่ง ลุกขึ้นนั่งยอง ๆ ปูผ้าชวนลูกสาวแน่แล้วให้มากราบท่านเสีย ลูกสาวก็หยุดหัวร่อทันที สองคนปูผ้าลงกราบ ๓ หนอย่างไหว้พระ ได้ให้แหวนเนื่องประดับเพชรพลอย ซื้อจากกรุงเก่าทำขวัญคนละวง หลานเผอิญเสมาหมด เป็นของแกต้องการมาก ต้องให้กำไลเงินขื่อผีแทนคู่หนึ่ง แล้วได้ลงเรือเวลา ๓ โมงเช้า มาจนเลี้ยวขึ้นแควใหญ่จึงได้เอาเรือไฟลาก ขึ้นมาจอดที่แพใต้สะเตชั่นรถไฟ พบพระยาสุขุมและจิระ[80]ซึ่งได้พยายามทำเป็นคนตามเสด็จ ลงเรือแม่ปะถ่อขึ้นไปแม่น้ำน้อยบ้าง เรือแม่ปะมาถึงแควใหญ่เข้าดูงุ่มง่ามเต็มที ตานายท้ายบ่นว่าไม่ถึงถ่อ มันเป็นเรือสำหรับแควน้อยอย่างเดียวแท้ ๆ แต่ถ้าผู้ซึ่งไปเรือแม่ปะชั่วแต่ขาล่องไม่ได้ถ่อขึ้นแล้ว นับว่าเป็นผู้ไม่เคยลงเรือแม่ปะได้ เพราะเวลาล่องมันเซ่อพ้นประมาณ ทำกับข้าวเลี้ยงกันที่แพแล้ว สั่งคำพิพากษาประหารชีวิตอ้ายวิม ทหารราบที่ ๑๐ โทษฆ่านายสิบนายหมู่ตัวตาย ความเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ นายร้อยเอกขุนพิทยุทธคุมทหารเมืองนครสวรรค์ตามขึ้นไปจนถึงกำแพงเพชร จอดเรืออยู่ฝั่งตะวันตกห่างเรือที่นั่งจอดประมาณ ๒๐ เส้น วันนั้นอ้ายวิมอยู่ยามในเรือมอซึ่งเป็นเรือทหารอยู่ พวกทหารทั้งปวงมารับเสด็จเวลาเช้า ๒ โมงเศษ อ้ายวิมบ่นว่าหิวข้าว ขอนายสิบเรียกทหารมาเปลี่ยน นายสิบบอกว่ายังไม่มีคนให้อยู่ไปอีกหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นโผล่ออกมาจากขยาบ อ้ายวิมยืนยามอยู่ที่กระดานเลียบ เอาดาบปลายปืนแทงนายสิบที่รักแร้ลึกถึงราวนม พลัดตกน้ำลงไป แต่น้ำตื้นไม่ได้จม และไม่มีหลักตออันใด นายสิบร้องขึ้น คนที่อยู่ในเรือไปช่วยพยุงขึ้นมาก็ขาดใจตาย ได้มีโทรเลขส่งไปถึงจิระเห็นว่าเป็นการสำคัญอยู่ ควรจะต้องลงโทษโดยทันที ความเช่นนี้เป็นหน้าที่ศาลทหาร ให้จัดการตั้งศาลทหารที่เมืองนครสวรรค์พิจารณาให้เสด็จทันวันกลับลงมาถึง คำให้การอ้ายวิมรับแก้ว่าเผลอสติหมายจะสะกิด พยานเบิกว่าไม่มีสาเหตุวิวาทอันใดกัน หมอตรวจว่าอ้ายวิมไม่ได้เป็นคนเสียจริต นายทหารประจำหมวดเบิกความว่าอ้ายวิมเป็นคนเรียบร้อยไม่เคยต้องรับโทษเลย พึ่งเข้ามาเป็นทหารเมื่อเดือนเมษายน ศาลปรึกษาว่า อ้ายวิมทำผิดพระราชกำหนดกฏหมายและข้อบังคับทหาร ทั้งเป็นเวลารักษาราชการเสด็จพระราชดำเนินให้ลงโทษประหารชีวิต ได้สั่งให้ประหารชีวิตตามคำปรึกษา เพราะเห็นว่าทหารเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ๆ ในหัวเมือง ถ้าลดหย่อนโทษจะเป็นเยี่ยงอย่างให้มีความกำเริบ กำหนดจะได้นำไปยิงเสียในเวลาพรุ่งนี้


เวลาบ่ายลงเรือไปเที่ยวหมายจะถ่ายรูป ขึ้นไปพอพ้นจากคลองบอระเพ็ดหน่อยหนึ่ง พอเห็นฝนตั้งจึงให้ปล่อยเรือไฟล่องมาถ่ายรูปได้ ๒ - ๓ แผ่น พอมีพายุจัดฝนตก ต้องกลับลงมาทั้งฝน เวลาค่ำมีคนขายของ แต่ไต่ถามได้ความว่า เขาเกณฑ์ให้มาขายเป็นการกรุด[81] ในแม่น้ำจุดไฟตามเรือแพสว่าง และมีพิณพาทย์ครึกครื้น ไม่มียุงเหมือนเมื่อคืนนี้ด้วย


หมดพระราชนิพนธ์เพียงเท่านี้

เชิงอรรถ

  1. เสด็จไปในการ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ขึ้นวังใหม่กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
  2. ตัดสินโต๊ะ-สมัยนั้นมีผู้สะสมเครื่องลายครามกันหลายท่าน นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงมา ในเวลามีง่านใหญ่ ๆ มักมีการตั้งโต๊ะเครื่องลายครามประกวดกัน และมีกรรมการตัดสิน
  3. ทูลลา-ถ้าจะเสด็จพระราชดำเนินจากพระนครหลาย ๆ วันเมื่อใด ย่อมเสด็จไปกราบถวายบังคมลงพระอัฐิในพระบรมมหาราชวังเสมอ
  4. ในสมัยนั้นโปรดทรงถ่ายรูป
  5. พระวินัยรักขิต (คง) เจ้าอาวาสวัดเขมาฯ
  6. เรือพระที่นั่งยนต์ ซึ่งบริษัทบอเนียวถวาย ต่อมาเป็นชื่อว่า "เรือลบแหล่งรัตน"
  7. คือตำหนักสะพานเกลือ ซึ่งกรมขุนมรุพงศ์เคยประทับเมื่อเป็นสมุหเทศาภิบาล แต่เวลานั้นย้ายไปสำเร็จราชการมณฑลปราจีนฯ แล้ว
  8. เลิกบ่อน-แต่ก่อนนี้มีบ่อนสำหรับเล่นการพนัน เช่น ถั่ว โป ประจำทุกตลาด โปรดเกล้าฯ ให้เลิกไปทีละแห่งสองแห่งจนหมดสิ้นในรัชกาลที่ ๕
  9. หมายถึงเมื่อทรงเลิกบ่อนแล้ว ตลาดดูจะเงียบ ๆ ไป
  10. พระนครหลวง-ซากวัดเก่าซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง นัยว่าสร้างตามแบบพระสถูปแห่งหนึ่งในพระนครหลวงแห่งประเทศกัมพูชา จึงเรียกว่าพระนครหลวงด้วย
  11. ตำหนักท่าเจ้าสนุกสร้างแต่ครั้งกรุงเก่า พระยาโบราณฯ พึ่งค้นพบก่อนเสด็จไม่ช้านัก
  12. กุ-เป็นคำแผลง มาจาก ก.ศ.ร. กุหลาบ หมายความว่ากล่าวเกินจริงไป
  13. กรมนรา-พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ (ในรัชกาลที่ ๖ เป็นกรมพระ) ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างทางรถไฟเล็กเดินระหว่างท่าเรือกับพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
  14. ท.จ.ก. หมายความว่าทุนจำกัด มาแต่ท้ายชื่อบริษัทรถรางพระพุทธบาท ท.จ.ก.
  15. พระยาสระบุรี (ดิศ นามะสนธิ) ต่อมาเป็นพระยาวจีสัตยารักษ์
  16. ตั้งแต่เสด็จโดยรถรางพระพุทธบาท เผอิญมีเหตุขัดข้องมาทุกคราว จึงดำรัสว่าเป็นสวัสดิมงคล
  17. ขลึก-ขัดข้อง
  18. เมรุสร้างเผาหลวงธุระการกำจัด (เทียม อัศวรักษ์) ที่วัดจักรวรรดิ ทำด้วยเครื่องไม้จริง แล้วอุทิศถวายให้ไปสร้างเป็นศาลาที่พระพุทธบาท
  19. บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทำเป็นพระพุทธบาทด้วยอะลูมิเนียม สำหรับขายคนขึ้นพระบาทซื้อไปแขวนนาฬิกาเป็นที่ระลึก มักเรียกกันแต่ว่า "ตีน"
  20. ละครนฤมิต-ละครของกรมพระนราธิปฯ ทรงจัดการให้ฝึกหัดขึ้นในสมัยนั้น โรงสำหรับเล่นอยู่ในวังของพระองค์ท่านที่แพร่งนรา ในพระนคร เรียกว่าปรีดาลัย
  21. เจ้าจอมมารดาเขียน-เจ้าจอมมารดาของกรมพระนราธิปฯ ท่านเคยเป็นละครหลวง ตัวเอกในรัชกาลที่ ๔ มีความสนใจในนาฏศิลป์เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ฝึกหัดของคณะละครนฤมิต และละครอื่น ๆ อีกมาก
  22. นางละครคนนี้ชื่อช้อย ต่อมาเป็นตัวเอกของละครปรีดาลัย เวลาเมื่อเสด็จพึ่งหัดขึ้น
  23. พระยาสุขุมนัยวินิต คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
  24. พระวิมาดาเธอกรมขุนสุทธาสินีนาฏ ตามเสด็จลงมารับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ จะเสด็จกลับจากยุโรปในวันนั้น
  25. ประชุมเสนาบดี
  26. พระยาบำเรอภักดิ์ (เจิม อมาตยกุล) ภายหลังเป็นพระยาเพชรพิชัย
  27. คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
  28. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์ (กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาศ) เสด็จกลับมาจากยุโรป
  29. แพหลังนี้ เดิมเจ้าพระยาสุรสีห์สร้างเป็นที่อยู่ เมื่อเป็นเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก รับซื้อมาเป็นของหลวง
  30. พวกสหายหลวงนี้ มักดำรัสเรียกว่าเพื่อนต้น คือ พวกชาวบ้านที่ทรงคุ้นเคย
  31. อาจารย์วัดบางปลาหมอองค์นี้ ชื่ออาจารย์สุ่น
  32. เจริญพร-เป็นคำที่พระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ที่เป็นสามัญชน ถ้าสำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ควรใช้ "ถวายพระพร" ทรงพอพระหฤทัยที่พระจำพระองค์ไม่ได้ จึงทรงไว้ว่าได้พระเจริญพร
  33. เทศา คือพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชคุปต์) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
  34. นายช้างคนนี้ ได้ทรงคุ้นเคยในคราวเสด็จประพาสครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เสด็จไปแวะที่บ้านนายช้างกับนางพลับภรรยาไม่รู้จัก แต่ต้อนรับเสด็จให้ทรงสำราญพระราชหฤทัย ประพฤติตัวเหมือนฉันมิตรสหายที่เสมอกัน ต่อเสด็จกลับมาแล้วนายช้างนางพลับจึงได้รู้ ทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งเป็นหมื่นปฏิพัทธภูวนาถ เป็นคนโปรดมาแต่ครั้งนั้น เรื่องพิสดารของนายช้างปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุประพาสต้นครั้งแรก
  35. พระไล บุตรนายช้างนางพลับ ได้ลงมาบวชอยู่วัดเบญจมบพิตรแล้วได้เป็นเปรียญ
  36. หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร ณ อยุธยา) ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ต่อมาได้ไปเป็นปลัดมณฑลอีสาน ไปป่วยถึงอนิจกรรมในราชการ
  37. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เคยทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ทางภาคอุดร ต่อมาเป็นเสนาบดีกระทรวงวัง แต่ในตอนนี้พ้นจากราชการแล้ว หากตามเสด็จไปในฐานที่ทรงพระมหากรุณา พระองค์เป็นผู้มีนิสัยตลกคะนอง โปรดทรงเล่นแปลก ๆ
  38. นายเกด เปรียญ เมื่อบวชได้เป็นพระราชาคณะที่พระมหาพุทธพิมพาภิบาล เจ้าอาวาสวัดไชโย มหาอิ่มเดิมนั้นบวชเป็นเปรียญอยู่วัดบุรณศิริ ฯ
  39. หมายความว่าไม่สู้จะมีสติสมบูรณ์ อย่างเดียวกับเบาเต็ง หรือไม่เต็มเต็ง
  40. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
  41. ลูกเงาะคนนี้ คือนายคนัง เป็นลูกเงาะชาวเมืองพัทลุง ทรงเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง และตามเสด็จประพาสด้วยเป็นนิจ
  42. พระองค์เจ้าคำรบ เวลานั้นยังเป็นหม่อมเจ้า ตำแหน่งนายพลผู้บัญชาการทหารบกมณฑลนครสวรรค์
  43. มีพระราชประสงค์จะเสด็จประพาสหัวเมืองทางลำน้ำปิงตอนเหนือปากน้ำโพมาช้านาน แต่ต้องหาโอกาสให้ได้คราวน้ำและเวลาปราศจากความไข้เจ็บ จึงได้รอมาจนคราวนี้
  44. พระครูอินทโมลี (ช้าง) ต่อมาได้เป็นพระราชาคณะที่พระอินทโมลี คงอยู่วัดนั้น
  45. พระชัยนฤนาท (ม.ล.อั้น เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ผู้ว่าราชการเมืองชัยนาท ต่อมาเป็นพระยอดเมืองขวาง
  46. เมืองชัยนาทเก่าที่ว่านี้ ตรวจพบอยู่ใต้วัดมหาธาตุลงมา คราวหลังได้เสด็จไปประพาส
  47. พระครูสุนทรมุนี (จัน) เจ้าคณะใหญ่เมืองอุทัยธานี
  48. พระครูพยุหานุสาสก์ (เงิน) เจ้าคณะเมืองพยุหะคีรี
  49. เวลานั้นมีพระหมอมาแต่เมืองเขมรรูป ๑ มาพักอยู่ที่วัดพระปรางค์เหลือง รับรักษาโรคเมื่อยขัดต่าง ๆ ด้วยวิธีเอายาทาฝ่าเท้าของพระนั้นเอง แล้วเอาเท้าลนไฟถ่านให้ร้อนจัด เวลาเอามาเหยียบตนไข้ตรงที่เมื่อยขบดังฉ่า กรมหลวงประจักษ์ฯ รับอาสาจะลองให้เหยียบ
  50. พระครูพยุหานุสาสก์ (เงิน) มีเกียรติคุณในทางวิปัสสนา พวกชาวเมืองนับถือว่ารดน้ำมนต์ดีนัก
  51. ในที่นี้หมายความว่าปลื้ม คือพระปลื้มในการที่ทรงยอมให้ท่านถวายน้ำมนต์ คำนี้มีอธิบายละเอียดเป็นเลขที่ ๑๘๑ ในหนังสือพระราชหัตถเลขา พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
  52. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว) วัดราชาธิวาส
  53. พระยาศรีสหเทพ ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเป็นพระยามหาอำมาตย์
  54. จีนสมบุญ เป็นพ่อค้าใหญ่อยู่ที่ปากน้ำโพ ต่อมาเป็นที่ขุนพัฒนวานิช
  55. เรือลำนี้ถวายสมเด็จพระบรมโอรสครั้งเสด็จเชียงใหม่
  56. พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ กัลยาณมิตร) ผู้ว่าราชการเมืองตาก
  57. พระวิเชียรปราการ (ฉาย อัมพเศวต) ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นพระยาชัยนฤนาท ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท
  58. เรือชะล่าลำนี้ เป็นเรือเก๋ง เรียกว่าเรือประพาส
  59. พลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
  60. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
  61. หลวงศักดิ์นายเวร (อ้น นรพัลลภ) ต่อมาเป็นพระยาพิพัทธราชกิจ
  62. นางอิ่มคนนี้ ต่อมาลงมาเฝ้าเป็นคนโปรดอีกคน ๑
  63. ต้น ในที่นี้หมายความว่าไม่ประณีตไม่เรียบร้อย เป็นยศเป็นอย่างหรือถูกแบบ
  64. ดุ๊ก คือกรมหลวงสรรพศาสตรศุภกิจ
  65. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
  66. เรื่องพงศาวดาร ตอนพระเจ้าเสือให้เจ้าฟ้า ๒ พระองค์ ทำสะพานข้ามบึงหูกวาง ไม่สำเร็จทันพระทัย ให้ลงพระราชอาญา ที่ทรงถ่ายรูปทรงสมมติให้กรมหลวงประจักษ์ฯ เป็นเจ้าฟ้าเพชร กรมหลวงสรรพสาตรเป็นเจ้าฟ้าพร พระยาโบราณฯ เป็นนายผล
  67. หลวงอนุชิตพิทักษ์ (ชาย สุนทรารชุน) เดี๋ยวนี้เป็นพระยาสฤษดิ์พจนกร
  68. คำว่า "ช่อฟ้าชวนฟ้าชำเลือง" นี้อยู่ในฉันท์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เรื่อง ๑ ทรงยกมาติโบสถ์ที่ทำช่อฟ้ายาวเกินขนาด
  69. เกาะสี่เกาะห้า เป็นเกาะรังนกอยู่ในทะเลสาบแขวงเมืองสงขลา
  70. เดี๋ยวนี้คือ อ.ขาณุวรลักษณ์บุรี ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร
  71. ทรงหมายถึงขี้ตื่นขี้กลัวคนแปลกหน้า
  72. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
  73. เมืองเก่าที่บ้านโคน มีอยู่ห่างตลิ่งเข้าไปกว่า ๑๐ เส้น ค้นพบภายหลังเสด็จคราวนั้น เห็นว่าจะตรงกับเมืองคณฑี ที่เรียกในจารึกครั้งสุโขทัย
  74. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
  75. ที่วัดวังพระธาตุ มีพระสงฆ์คิดจะไปอยู่หลายคราว ตั้งอยู่ได้ไม่ช้า ทนความไข้ไม่ไหวก็ต้องเลิกไป
  76. เมื่อเล่นถ่ายรูปกันคราวนั้น ถ่ายทั้งแผนที่และผู้คน ไปถ่ายถึงที่เมืองไหนจึงหาคนงามในเมืองนั้นถ่าย ใครได้รับเลือกทรงถ่ายรูป ต่อมามักมีผู้พอใจสู่ขอด้วยเหตุนั้น
  77. ทูลกระหม่อม ในที่นี้หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคำที่บรรดาพระโอรสธิดาตรัสเรียกสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชกาลที่ ๔ และ ๕
  78. ไม่ถูกกัน (ลอยแพกัน)
  79. จารึกนี้ เดี๋ยวนี้อยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ ว่าด้วยเรื่องพระธรรมราชาลิไทยสร้างพระมหาธาตุแลปลูกพระศรีมหาโพธิ ซึ่งได้มาจากลังกา ณ เมืองนครชุม สืบสวนได้หลักฐานต่อมาว่าจารึกแผ่นนั้นเดิมอยู่ที่หน้าพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ข้างฝั่งตะวันตกเมืองกำแพงเพชร ฐานปักศิลาจารึกนั้นยังอยู่จนบัดนี้ มีผู้ขนมาไว้ที่วัดเสด็จ แล้วจึงได้ลงมากรุงเทพฯ
  80. จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้าจิรประวัติ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
  81. คือเป็นการตรุษ เป็นการแต่งฉาบหน้าให้ครึกครื้น หรืองดงามชั่วคราว ไม่ใช่ถาวร

ที่มา

เครื่องมือส่วนตัว