เสภาเรื่à¸à¸‡à¸¨à¸£à¸µà¸˜à¸™à¸à¹„ชยเชียงเมี่ยง
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|สเภารเืองศรีธนญชไ…') |
(→) |
||
แถว 191: | แถว 191: | ||
==== ==== | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | ๏ มาวันหนึ่งพระครูผู้ที่บวช ท่านไปสวดในป่าช้ากลับสถาน | ||
+ | ได้อ้อยมาถึงควั่นให้ขอทาน สามเณรกุมารบุตรบุญธรรม์ | ||
+ | ตัวท่านฉันกลางที่หว่างข้อ สามเณรก็ไม่ขอกลางปล้องฉัน | ||
+ | ตั้งแต่กินข้ออ้อยไปวันนั้น มีปัญญามากครันแปลกกว่าคน | ||
+ | จึงคิดทายปฤษณาพระอาจารย์ ห้าข้อไม่วิตถารปัญญาต้น | ||
+ | ลองความรู้พระครูอาจารย์ตน มาทายชนเข้ากับรังดังพูดกัน | ||
+ | ในบทปถมังดังเวหา ที่สองว่าชาโตเนข้อขัน | ||
+ | คูชลามิคาลำดับกัน เปนที่สามด้นดั้นปัญหาเณร | ||
+ | จัตวาติตานี้ที่สี่แถลง แปะๆ ปะๆ มาแจ้งมหาเถร | ||
+ | ถามว่าได้แก่อะไรให้ชัดเจน พระฟังเณรตรองปัญหาปัญญาตัน | ||
+ | ค้นคัมภีร์มีในตู้ดูไม่เห็น ก็นิ่งเว้นมาสามทิวาคั่น | ||
+ | นั่งคิดนอนคิดให้มิดตัน ต่อได้ฉันแกงหมูจึงรู้ความ | ||
+ | บอกแก่สามเณรว่าคิดได้ ปัญญาที่แคะได้เอามาถาม | ||
+ | ดังเวหาคืองาช้างงอนงาม ชาโตตามบทมาว่าคางคก | ||
+ | คูชลามิคาคือครุเก่า ชันที่เขายาไว้ร่วงไหลตก | ||
+ | รั่วร้ำคร่ำคร่ามาหลายยก ถลอกถลกละลายเหลวเลอะเทอะ | ||
+ | จัตวาตีตาตีรั้วบ้าน ทั้งข้อตาตีปสานใส่ออกเปรอะ | ||
+ | แปะๆ ปะ ปฤษณาว่าเคอะ ควายกินหญ้าคี่เลอะหยดย้อยไป | ||
+ | แต่แรกคิดว่าจะฦกลับนักหนา มิรู้ว่าความตื้นอยู่ใกล้ใกล้ | ||
+ | เจ้าสามเณรฟังทายถูกในใจ ชมพระครูผู้ใหญ่ว่าดีจริง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ จะกล่าวถึงพวกลาวชาวส่วยเมี่ยง มาแต่เวียงหาบกระบอกกตุ้งกติ้ง | ||
+ | ห้าร้อยบอกหนักบ่าในตาวิง ถึงตลิ่งจะข้ามฝั่งนั่งหยุดพัก | ||
+ | เมื่อวันนั้นสามเณรมาสรงน้ำ เห็นพวกลาวพุงดำล้วนลายสัก | ||
+ | กระบอกผูกพวงวางพลางถามทัก กระบอกรักฤาอะไรไปไหนมา | ||
+ | ฝ่ายว่าลาวชาวเวียงส่วยเมี่ยงหลวง บอกว่าข้อยทั้งปวงอยู่เมืองป่า | ||
+ | เปนชาวเวียงส่วยเมี่ยงจึงขนมา พักที่ท่าหมายจะข้ามฝั่งนที | ||
+ | อันแม่น้ำตื้นฤาฦกมาก ข้อยทั้งปวงนี้อยากข้ามที่นี่ | ||
+ | จะข้ามได้ฤามิได้ ในชลธี แจ้งคดีมาหน่อยข้อยขอฟัง | ||
+ | ฝ่ายเจ้าเณรฟังพวกส่วยเมี่ยงถาม จึงบอกความว่าน้ำตื้นพอยืนหยั่ง | ||
+ | แต่จะข้ามนั้นขัดสนพ้นกำลัง แกจงรั้งรอก่อนผันผ่อนคิด | ||
+ | ลาวเวียงไม่ทันตรองร้องว่าไป จะข้ามให้ได้ถึงฝั่งสมดังจิตร | ||
+ | ถ้าข้ามได้แล้วจั่วจะกลัวฤทธิ ฤาพนันกันสักนิดก็เล่นกัน | ||
+ | เณรถามว่าถ้าข้ามไปไม่ได้ พี่จะเอาอะไรมาให้ฉัน | ||
+ | พวกส่วยเมี่ยงว่าจะให้เมี่ยงทั้งนั้น แม้นข้ามได้เณรจะปันให้อะไร | ||
+ | สามเณรตอบว่าข้ามถึงฝั่ง ข้าจะรังวัลสบงอังสะให้ | ||
+ | แต่เมี่ยงหลวงมาให้ปันฉันตกใจ จะมาไถ่สินพนันนั่นนึกกลัว | ||
+ | ฝ่ายพวกส่วยตอบว่าถึงของหลวง มิใช่ช่วงชิงแย่งเจ้าอยู่หัว | ||
+ | ถึงมาเสียสินพนันไม่พันพัว ให้พ่อจั่วแล้วจะใช้ให้อื่นแทน | ||
+ | ครั้นพูดจานัดหมายกันแม่นมั่น ชาวเวียงก็นุ่งพันผ้าให้แน่น | ||
+ | แล้วหิ้วเมี่ยงท่องน้ำมาตามแกน ถึงฝั่งแหงนเงยหน้าว่ากับเณร | ||
+ | ข้อยข้ามมาถึงฝั่งดังพนัน จะให้ปันสบงก็ให้เถิดพี่เถร | ||
+ | อย่าช้าเลยจะไปส่งของส่วยเกณฑ์ เร็วพ่อเณรข้อยจะลาเข้าธานี | ||
+ | สามเณรตอบว่าข้าไม่ให้ เดิมว่าไว้จะจะข้ามเล่นท่องหนี | ||
+ | ซึ่งท่องน้ำลุยมาในวารี ที่ตรงนี้ไม่ว่ากันในสัญญา | ||
+ | แกเหล่านี้ลุยน้ำท่องมาฝั่ง ไม่เหมือนดังพูดไวัที่ได้ว่า | ||
+ | จะยึดเอาเมี่ยงทั้งหมดที่เอามา ไม่ข้ามดังสัญญาที่พาที ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ว่าแล้วเณรก็ริบเอาเมี่ยงหมด พวกส่วยหน้าสลดไม่มีศรี | ||
+ | จึงมาเรียนต่อท่านเสนาบดี ให้ทูลใต้ฝ่าธุลีพระทรงธรรม์ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นเจ้าพระยาอธิบดี ฟังวาทีพวกลาวส่วยว่าแขงขัน | ||
+ | แจ้งข้อความตามเรื่องเณรพนัน เอาเมี่ยงส่วยกึ่งพันของชาวเวียง | ||
+ | จึงกราบทูลพระองค์ผู้ทรงภพ ไปจนจบตามเรื่องพนันเมี่ยง | ||
+ | แล้วแต่จะโปรดโทษลาวเชียง หมอบเมียงคอยฟังพระโองการ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระจอมนรินทร์ปิ่นประชา ได้ฟังว่าเณรนั้นทำอาจหาญ | ||
+ | เล่นพนันกันกับลาวฉาวสท้าน อยากฟังคำให้การจะอย่างไร | ||
+ | จึงดำรัสให้หาเณรเข้ามา ตรัสถามว่าพนันเล่นเปนไฉน | ||
+ | เณรถวายพรองค์พระทรงไชย ทูลไปตั้งแต่ต้นจนจบปลาย | ||
+ | ได้ทรงฟังก็ดำริห์ตริตรึกตาม ข้อความโดยทำนองทั้งสองฝ่าย | ||
+ | จึงดำรัสว่าไม่ควรจะวุ่นวาย อย่าเสียดายคิดเงินให้กับเณร | ||
+ | ตามีสักสี่ซ้าห้าบาท เจ้ากูฉลาดคำคมคารมเถร | ||
+ | ให้เปนเลิกอ่าเซ้าซี้จะมีเวร เงินประเคนเจ้ากูอย่าสู้ความ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายสามเณรได้ฟังรับสั่งโปรด ไม่มีโทษกลับจะได้เงินหลายย่าม | ||
+ | ก็รีบมากุฎีที่อาราม | ||
+ | ยืมบาตรตามพระสงฆ์ลงบันได | ||
+ | ถือบาตรห้าฝาสี่ขมีขมัน เข้าวังพลันแล้ววางบาตรลงให | ||
+ | ว่ามีพระโองการมาอย่างไร ฉันมิได้ล่วงละพระบัญชา | ||
+ | รับสั่งให้ใช้เงินแทนเมี่ยงส่วย จึงไปฉวยฝามาสี่แต่บาตรห้า | ||
+ | แน่พวกส่วยจงตวงเอาเงินมา ให้เต็มบาตรเต็มฝาจะลาไป ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ พวกส่วยเห็นบาตรห้าฝาถึงสี่ สุดคิดด้วยไม่มีเงินจะใËé | ||
+ | ปฤกษากันต่างคนต่างจนใจ เราจะได้เงินตราไหนมาพอ | ||
+ | แม้นขายตัวลงทั้งหมดยังลดหย่อน เหลือจะผ่อนแบ่งเบาแล้วเราหนอ | ||
+ | สิ้นปัญญานิ่งนังดังหลักตอ จึงทูลข้อขัดสนพ้นกำลัง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร ทรงฟังทูลเรื่องเณรเหมือนบ้าหลัง | ||
+ | จึงดำรัสโปรดให้ไขพระคลัง ขนเงินใส่บาตรทั้งห้าบาตรพระ | ||
+ | อิกสั่งให้ใส่ฝาครบทั้งสี่ ใช้หนี้เณรแทนพวกเลี้ยงจะกละ | ||
+ | พวกลาวถวายบังคมก้มคารวะ ขอเดชะทูลยกพระเกียรติยศ | ||
+ | แล้วทูลลากลับหลังยังบ้านตน ฝ่ายพระจอมจุมพลให้รวมจด | ||
+ | เปนเงินสี่ร้อยชั่งเศษยังลด อิกสี่ชั่งคิดปะชดถ้วนห้าร้อย | ||
+ | จึงทรงดำริห์ว่าเณรปัญญามาก คนเช่นนี้หายากไม่ชั่วถ่อย | ||
+ | ถ้าได้เลี้ยงเป็นมนตรีดีไม่น้อย จะใช้สอยแคล่วคล่องเห็นว่องไว | ||
+ | จึงโปรดให้เณรสึกทำราชการ เณรไปลาอาจารย์ท่านผู้ใหญ่ | ||
+ | รีบสึกออกมาข้าจะใช้ เณรก็ไปลาสิขาสึกมาพลัน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ คนทั้งหลายเรียกนามว่าเชียงเมี่ยง ได้ชื่อเสียงตามเหตุพนันขัน | ||
+ | เพราะชนะเรื่องเมี่ยงซึ่งเถียงกัน ได้รางวัลเงินตราเกือบห้าร้อย ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงก็ได้มาเปนข้าเฝ้า หมั่นเข้าวังให้ทรงใช้อย | ||
+ | ไม่ไกลปาทจอมนราอุส่าห์คอย ให้ใช้เล็กใช้น้อยข้างน่าใน | ||
+ | ท้าวเธอไม่รังเกียจเดียดฉัน แพรพรรณปูนบำนาญประทานให | ||
+ | ทั้งเงินตราผ้าเสื้อจนเหลือใช้ เข้าข้างในออกข้างน่าไม่ว่ากัน | ||
+ | อยู่มาวันหนึ่งเจ้าจอมสถาน เสวยพระกระยาหารให้อัดอั้น | ||
+ | มิใคร่ได้มาหลายทิวาวัน พระทรงธรรม์ให้หาเชียงเมี่ยงมา | ||
+ | ดำรัสว่ากูกินเข้าไม่ค่อยได้ ทำอย่างไรจึงจะค่อยมีรศหวา | ||
+ | เชี่ยงเมี่ยงทูลมูลคดีว่ามียา ให้เสวยโภชนามามีรศ | ||
+ | ดำรัสว่าเองเอายามาให้กู จะกินแก้ลองดูให้ปรากฎ | ||
+ | เชียงเมี่ยงรับคารวะน้อมประนต พระโอสถหม่อมฉันดีมีที่เรือน | ||
+ | ทูลแล้วลีลามาสู่บ้าน เที่ยวเล่นศุขสำราญกับพวกเพื่อน | ||
+ | ไม่หายาทูลลามาแชเชือน นอนอยู่เรือนจนสายสบายใจ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ ผิดปลาดเชียงเมี่ยงหามาไม | ||
+ | คอยอยู่จนเที่ยงสายก็หายไป แสบอุทรสั่งให้เชิญเครื่องมา | ||
+ | เสวยเวลานั้นมีรศมาก เพราะหิวอยากเสวยได้เปนนักหนา | ||
+ | ตวันบ่ายชายแสงพระสุริยา เชียงเมี่ยงมาเข้าเฝ้าพระภูมี | ||
+ | จึงประภาษตวาดรับสั่งขู่ อ้ายเชียงเมี่ยงลวงกูไม่พอที่ | ||
+ | ไปเอายาเนิ่นนานจนปานนี้ ไหนยาดีขอกูดูอยากรู้รศ | ||
+ | แต่คอยอยู่เห็นสายจวนบ่ายแล้ว ไม่วี่แวดมาจนหิวพ้นกำหนด | ||
+ | แสบอุทรกินเสียก่อนค่อยมีรศ อาหารหมดชามมากกว่าทุกครั้ง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ เชียงเมี่ยงว่านั่นและยาหม่อมฉันถวาย เพราะเวลาเที่ยงสายโอสถขลัง | ||
+ | อร่อยเมื่ออยากเสวยมากมีกำลัง ไม่ต้องตั้งพระโอสถเข้าหมดชาม ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ จอมประชาตรัสว่าเจ้าหมอเอก พูดโหยกเหยกโยกย้ายอ้ายส่ำสาม | ||
+ | มันช่างว่าพลิกไพล่ได้ใจความ ไม่เข็ดขามพูดเปนลิดไม่ติดเลย | ||
+ | ให้ขุ่นเคืองในพระไทยแต่ไม่ตรัส พระดำรัสทีหยอกเย้าเฉลย | ||
+ | เกรงขุนนางรู้ความจะหยามเย้ย ทรงชมเชยพระวาจาทำปรานี ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครั้งหนึ่งพระองค์ผู้ทรงเดช สั่งให้เลือกช้างวิเศษมีศักดิศรี | ||
+ | อันควรเปนพระที่นั่งกำลังดี พ่วงพีกล้าหาญชาญณรงค์ | ||
+ | กรมช้างผูกช้างพระที่นั่ง ขับมานั่งน่าพระลานโดยประสงค์ | ||
+ | เสด็จออกทอดพระเนตรจะลองทรง มีพระองการถามเสนาใน | ||
+ | ว่าช้างนี้ครบทุกสิ่งสรรพ์ ฤาควรติรูปพรรณที่ไหนได้ | ||
+ | อำมาตย์ทูลว่างามควรทรงใช้ ติไม่ได้แต่สักอย่างจนย่างเดิน | ||
+ | เวลานั้นเชียงเมี่ยงเฝ้าอยู่ด้วย จึงว่าจะช่วยตีบ้างเห็นขัดเขิน | ||
+ | ส่วนตัวโตไม่สมตาเล็กเกิน สรรเสริญว่าดีพร้อมไม่ยอมตาม ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระองค์ทรงฟังเชียงเมี่ยงว่า เคืองฤไทยด้วยมาขัดหยาบหยาม | ||
+ | แต่ทรงนิ่งไม่ตรัสให้แจ้งความ มันลวนลามล้อเล่นเห็นไม่ควร | ||
+ | จึงดำรัสความอื่นกับเสวกา ทรงชวนไปเล่นสบ้าที่ปลายสวน | ||
+ | พอเล่นแก้ไม่หยาบหายรัญจวน ตั้งกระบวนแล้วเสด็จยาตราพลัน | ||
+ | ถึงที่ประทับพลับพลาสนามเล่น ขุนนางตั้งสบ้าเปนลำดับคั่น | ||
+ | ตั้งสบ้าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ เปนลดหลั่นรายเรียงเคียงกันไป | ||
+ | สมเด็จพระเจ้าทวาลีมีอำนาจ ทรงยิงสบ้าหมายมาดไม่ผิดไพล่ | ||
+ | ทรงยิงก่อนถูกสุอันที่ตั้งไว้ ขุนนางก็ยิงลำดับไปตามศักดินา | ||
+ | ฝ่ายเชียงเมี่ยงตบมือร้องเสียงหลง ของพระองค์เลยทุกทีอึงมี่ว่า | ||
+ | ครั้นพวกข้าเฝ้าเหล่าเสนา ยิงสบ้าถูกหมายไม่สายซัด | ||
+ | เชียงเมี่ยงร้องยิงผิดสิ้นทุกคน พระจุมพลแลขุนนางต่างเคืองขัด | ||
+ | ได้อับอายขายหน้าโทมนัศ จอมกระษัตริย์ก็เสด็จกลับสู่วัง | ||
+ | ครั้นนานมาพระครูเปนผู้เถ้า โรคเร้าเกิดซุกทนทุกขัง | ||
+ | จันทสุบิงสมญากาละกะตัง ถึงมรณังมรณะชีพประไลย ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ พระครูนั้นไร้ญาติขาดพงษา บุตรนัดดาจะมีก็หาไม่ | ||
+ | พี่น้องมิตรสหายล้วนตายไป เสนาในกราบทูลพระกรุณา | ||
+ | ว่าพระครูผู้เถ้ามรณภาพ อัประลาภไร้วงษ์เผ่าพงษา | ||
+ | จงทรางทราบใต้ฝ่ามุลิกา ศพไม่มีใครนำพาทำกิจการ | ||
+ | จึงดำรัสตรัสให้หมู่เสนา ช่วยกันทำฌาปนาในศพท่าน | ||
+ | แล้วรับสั่งให้สนมบริพาร ไปร้องไห้แทนหลานแลพี่น้อง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงรู้ว่ารับสั่งใช้ พวกนางในพระสนมสิ้นทั้งผอง | ||
+ | ให้ร้องไห้ที่ศพแทนพี่น้อง เดินตรึกตรองในอารมณ์ด้วยสมคิด | ||
+ | จึงแตัดแหวะผ้านุ่งที่ตรงกั้น เปนเล่ห์กลนุ่งโจงกระเบนปิด | ||
+ | พานางสนมมาที่ศพสถิตย์ นางตะบิดตะยอยจะคอยฟัง | ||
+ | แล้วเตือนว่าพระกรุณารับสั่งใช้ มาร้องไห้เหตุไฉนจึ่งนิ่งนั่ง | ||
+ | สนมตอบว่าพระครูผู้มรณัง มิได้ชังแต่ใช่ญาติข้าทั้งปวง | ||
+ | จะร้องไห้ก็ไม่มีน้ำตามา ตัวเปนศิษย์เปนหาของท่านหลวง | ||
+ | เจ้าจงร้องไห้รักอย่าทักท้วง ข้าทั้งปวงขัดไม่ได้จำใจมา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงเห็นได้ที เข้าไปใกล้ศพพระชีแล้วปลดผ้า | ||
+ | เสแสร้งแกล้งทำร่ำโศกา ชลนาไหลนองสองแก้มคาง | ||
+ | ว่าโอ้โอนิจาพระครูเอ๋ย สิบปีพระไม่เคยพบเหล้าบ้าง | ||
+ | เก้าปีมิได้พบสีกานาง มาเริศร้างไม่ได้อุ่นพ่อลุ่นโตง | ||
+ | เกิดมาทั้งชาติตายเสียเปล่า ไม่พบเต่าหลังขนรำไรโหรง | ||
+ | มานอนตายในกุฎีทีในโลง พ่อลุ่นโตงของกูเอ๋ยเลยมอดม้วย | ||
+ | ฝ่ายนายในได้ฟังคำร้องไห้ กลั้นหัวเราไม่ได้ ใจเขินขวย | ||
+ | ก็หัวเราะครึครื้นระรื่นรวย เชียงเมี่ยงฉวยไม้ได้ ไล่ตีเอา | ||
+ | ว่าครั้งนี้มีรับสั่งประทานมา ให้โศการักศพพระครูเฒ่า | ||
+ | อย่างไรชวนกันมาร่าเริงเร้า ทำดูเบาขัดบัญชามาหัวเราะ | ||
+ | ทำอย่างนี้ไม่ต้องอย่างนางฝ่ายใน ตีไล่เขวียวขวับเสียงปับเปาะ | ||
+ | สนมนางขึ้นเลียงเถียงเทลาะ ที่ใจเสาะโศกาน้ำตานอง | ||
+ | เข้าไปเฝ้าพระบาทนารถนาถา ต่างวันทาอาดูรทูลฉลอง | ||
+ | ว่าเชียงเมี่ยงข่มเหงข้าฝ่าลออง ไล่ตีต้องรอยเรียวเขียวทั้งกาย ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูรย์ ทรงฟังทูลนางในพระไทยหาย | ||
+ | ร้อนดังต้องพิศม์ไฟไม่สบาย สั่งให้นายเวรตำรวจไปหาตัว | ||
+ | ฝ่ายตำรวจรับพระราชโองการ ถอยคลานถวายบังคมกราบก้มหัว | ||
+ | แล้วรีบมาร้องบอกแต่นอกรั้ว รับสั่งให้มาเอาตัวท่านเข้าไป ฯ | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | |||
==== ==== | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> |
การปรับปรุง เมื่อ 15:58, 1 กันยายน 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: ไม่ปรากฏ
บทประพันธ์
๏ จะกล่าวเรื่องขุนศรีธนญไชย | บุราณท่านเล่าไว้นานหนักหนา | ||
หวังให้แจ้งคนดีมีปัญญา | กู้ภาราด้วยความคิดบิดวาที | ||
ยังมีราชนิเวศน์เขตรสถาน | ป้อมปราการสูงใหญ่เปนศักดิศรี | ||
บริบูรณ์ภูลสมบัติสวัสดี | นามว่าเมืองทวาลีเลิศนคร | ||
ชนชาวภารากว่าห้าแสน | เนืองแน่นยคั่งคับสลับสลอน | ||
ตั้งเคหารายรอบขอบนคร | ราษฎรแสนศุขสนุกสบาย | ||
ฝ่ายจอมพระนครินทร์ปิ่นประชา | สมญาทวาละเลิศเฉิดฉาย | ||
ข้าศึกศัตรูหมู่คิดร้าย | ไม่กล้ำกรายสยองเกล้าทุกท้าวไท | ||
พระเกียรติยศปรากฎในใต้หล้า | ดังมหาจักรพรรดิกระษัตริย์ใหญ่ | ||
พร้อมจัตุรงค์มหาเสนาใน | ม้ารถคชไกรทหารเดิน | ||
สนมนางพ่วงเพียงอับศรสวรรค์ | หมื่นหกพันหน้านวลควรสรรเสริญ | ||
โฉมสำอางงามจริตต้องจิตรเพลิน | รุ่นจำเริญผิวผ่องดังทองทา | ||
ส่วนพระจอมเทพีศรีสมร | นามกรซื่อสุวรรณบุบผา | ||
ทรงโฉมประโลมใจไนยนา | เปนใหญ่กว่าแสนสุรางค์เหล่านางใน | ||
ได้ว่ากล่าวเถ้าแก่หลวงแม่เจ้า | โขลนจ่าหมอบเฝ้าเรียงไสว | ||
เธอสิทธิขาดราชการงานฝ่ายใน | บำเรอไทธิบดินทร์นรินทร ฯ | ||
๏ ในเมืองมีบ้านพราหมณ์รามราช | เปนครูฉลาดรอบรู้ธนูศร | ||
ทั้งชำนาญไตรเพทวิเศษขจร | อิกตำราพยากรณ์ฝันร้ายดี | ||
เปนทิศาปาโมกข์โฉลกฤกษ์ | เอิกเกริกฦาฟุ้งทั้งกรุงศรี | ||
ทั้งภรรยานงรามพราหมณี | รู้วิธีทายสุบินสิ้นทั้งมวญ ฯ | ||
๏ ยังมีสองสามีภิริยา | ตั้งเคหาอยู่ริมไร่ใกล้เขตรสวน | ||
หมู่ดั้นผู้ภัศดาเคหาซวน | เสาโย้จวนจะพังต้องรั้งโย้ | ||
ภรรยาซื่อยายปลีเมื่อมีครรภ์ | นิมิตรฝันแปลกเพื่อนเชือนโยโส | ||
ว่ากินหยากเยื่อลองจนท้องโต | ดังคนโซกวาดกินสิ้นทั้งเมือง | ||
ครั้นตื่นขึ้นคิดขันฝันเราหนอ | จะเกิดก่อทุกข์ไฉนไม่รู้เรื่อง | ||
ถามหมื่นดั้นจนใจให้ขุ่นเคือง | จึงย่างเยื้องไปหาพฤฒาจารย์ | ||
เมื่อวันนั้นท่านครูหาอยู่ไม่ | จึงวอนไหว้พราหมณีแถลงสาร | ||
เล่าฝันกับภรรยาท่านอาจารย์ | โปรดดีฉานช่วยทายร้ายฤาดี ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านภรรยาพฤฒาเถ้า | ได้ฟังเล่าในฝันนั้นถ้วนถี่ | ||
จึงทำนายทายฝันให้ยายปลี | ว่าจะมีบุตรชายปรีชาคำ | ||
พูดจาแคล่วคล่องว่องไวนัก | รู้หลักลอดคนข้อคำขำ | ||
เปนตลกหลวงดีมีคนยำ | ท่านจงจำไว้เถิดประเสริฐชาย | ||
ส่วนยายปลีได้ฟังทำนายฝัน | ก็อภิวันท์ลามาด้วยสมหมาย | ||
ประดับประคองท้องไว้ ไม่ระคาย | ค่อยสบายหายทุกข์เปนศุขใจ ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านพราหมณ์พฤฒาจารย์ | กลับมายังสถานที่อาไศรย | ||
ฝ่ายภรรยาก็เล่าความตามทายไป | กลัวจะไม่ถูกตำราสามีตน | ||
พฤฒาเถ้าฟังเล่าทำนายฝัน | หุนหันว่าเจ้าทายไม่เปนผล | ||
บุตรเขาดีจะเปนที่เจ้านายคน | ทำนายผิดจะไม่พ้นอันตราย | ||
อิกเจ็ดวันฟ้าจะผ่าศีศะเจ้า | นางฟังเล่าร้อนตัวกลัวใจหาย | ||
ให้อัดอั้นสั่นระรัวทั่วทั้งกาย | ว่าท่านช่วยคิดอุบายให้พ้นไภย | ||
ฝ่ายว่าทิศาปาโมกข์เถ้า | ช่วยแบ่งเบาทำตามคัมภีร์ไสย | ||
ปั้นรูปพราหมณีใส่ชื่อใน | ไปตั้งไว้ห่างบ้านสถานตน | ||
แล้วเอาขันครอบศีศะที่รูปปั้น | พอเจ็ดวันมืดกลุ้มคลุ้มเมฆฝน | ||
ครั่นครื้นเสียงฟ้าคำรามรน | พอเม็ดฝนตกต้องลอองปราย | ||
อสนีฟาดเปรี้ยงเสียงสท้าน | ผ่ากระบานรูปปั้นขนสลาย | ||
พราหมณีก็รอดจากความตาย | ด้วยอุบายภัศดาพฤฒาจารย์ | ||
จึงมิให้ใช้ขันรองน้ำฝน | ทุกตัวคนทั่วประเทศเขตรสถาน | ||
กลัวฟ้าจะผ่าขันด้วยบันดาล | ตลอดกาลจนทุกวันท่านกล่าวมา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบแดนไตรในใต้หล้า | ||
ดำรงเมืองเรืองยศปรากฎมา | แสนสำราญโรคาไม่ยายี | ||
ร่วมภิรมย์สมสวาดินาฎนาเรศ | ซึ่งเปนเกษกำนัลนารีศรี | ||
นางทรงครรภ์สิบเดือนกำหนดมี | จวนจะคลอดเทพีรัญจวนใจ | ||
ให้ป่วนปวดรวดเร้าเศร้าโทมนัศ | พร้อมแพทย์แออัดอยู่ไสว | ||
หมอตำแยอยู่งานนางทรามไวย | เวลาได้ฤกษ์ประสูตรพระกุมาร ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมทวาลีบุรีราช | บรมนารถเห็นโอรสยอดสงสาร | ||
จึงให้โหราพฤฒาจารย์ | ดูลักษณกุมารดวงชตา | ||
คูณหารสอบสวนทบทวนไป | ก็แจ้งใจคืนวันพระชัณษา | ||
จึงกราบทูลว่าองค์กุมารา | มีบุญญาธิการกล้าหาญครัน | ||
มีเดชะอำนาจราชศักดิ | ปรปักษ์ทั่วทิศกลัวฤทธิพรั่น | ||
แต่เลี้ยงเธอยากนักหนักอกครัน | ถ้าได้กุมารร่วมวันทันเวลา | ||
เมื่อประสูตรโอรสยศไกร | หาให้ได้เหมือนกันกับชัณษา | ||
มาเลี้ยงด้วยกันกับราชบุตรา | กุมาราจึงเจริญไม่มีไภย ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงวัง | ได้ทรงฟังโหรแจ้งแถลงไข | ||
จึงเอื้อนอรรถตรัสสั่งเสนาใน | เอาฆ้องไปตีประกาศราษฎร | ||
ว่าผู้ใดคลอดบุตรเมื่อวันวาน | พระโองการต้องประสงค์อย่าเร้นซ่อน | ||
จะทรงเลี้ยงเคียงดไนยไม่อาทร | ทั่วนครใครมีบุตรบุรุษชาย | ||
จงบอกความตามจริงอย่านิ่งช้า | ข้าจะพาบุตรเจ้าเข้าถวาย | ||
อำมาตย์ตีฆ้องพลางทางภิปราย | ถึงบ้านยายปลีที่ฝันขันพิกล | ||
ความว่าเมื่อภรรยาพฤฒาเถ้า | ทำนายฝันตามเล่าซึ่งเหตุผล | ||
ยายปลีมีครรภ์ได้สิบเดือนดล | คลอดบุตรตนเปนชายโฉมโสภา | ||
ฤกษ์ยามเวลาก็พร้อมกัน | กับจอมขวัญประสูตรโอรสา | ||
เมื่ออำมาตย์ตีฆ้องร้องป่าวมา | ตกประหม่าไม่มีขวัญตัวสั่นงก | ||
ครั้นจะนิ่งปิดความว่าไม่มี | พระองค์ทราบคดีว่าโกหก | ||
จะลงโทษกายระบมตรมอกฟก | นึกแล้วอุ้มทารกมาบอกความ ฯ | ||
๏ ครานั้นเสนาข้าราชการ | ฟังว่าขานสอบไล่ซักไซ้ถาม | ||
รู้แน่ว่าเด็กนั้นพร้อมฤกษ์ยาม | กับโอรสจอมสยามทวาลี | ||
จึงรับเอากุมารามาถวาย | ทูลดังยายมารดาว่าถ้วนถี่ | ||
ฝ่ายพระจอมภาราทวาลี | ฟังวาทีเสวกาปรีดาครัน | ||
โปรดให้หานางนมแลพี่เลี้ยง | ประคองเคียงรักษาทารกนั่น | ||
ให้โอรสอย่างไรก็ให้ปัน | แก่กุมารคนนั้นเหมือนกันมา | ||
จนสองกุมารชัณษาสิบห้าปี | โปรดให้เรียนตระบองกระปิติศึกษา | ||
กระบวนรบครบอย่างขี่ช้างม้า | พุ่งสาตรายิงแทงแผลงธนู | ||
อิกให้เรียนไตรเพทเวทมนต์ขลัง | คงจังงังทรหดอดทนสู | ||
แคล้วคลาศสารพัดหัดให้รู้ | ทรงเอนดูสองราเมตตานัก | ||
ครั้นอยู่มาจอมประชาชราร่าง | โรคหลายอย่างก่อกวนประชวรหนัก | ||
ตรัสเรียกสองดไนยผู้ยอดรัก | มอบมไหไตรจักรใครอบครอง | ||
ประทานราโชวาทประสาทให้ | รักใคร่อย่าเดียดฉันกันทั้งสอง | ||
อย่าข่มเหงต่อยตีเหมือนพี่น้อง | เจ้าปรองดองสองรารักษาเมือง | ||
แม้นว่าน้องพ้องผิดโทษถึงฆ่า | ได้เมตตาปัดเป่าให้เบาเปลื้อง | ||
อย่าขุ่นแค้นฆ่าฟันเลยขวัญเมือง | ถ้าขัดเคืองอดออมถนอมกัน | ||
หนึ่งขุนนางข้าเฝ้าเหล่าทั้งหลาย | จงแจกจ่ายเบี้ยหวัดดูจัดสรร | ||
ผู้ใดมีความชอบตอบรางวัล | ให้แบ่งปันสนองคุณการุญรัก | ||
เงินตราผ้าพานทองคำให้ | เครื่องกาไหล่เครื่องถมแลสมปัก | ||
เสลี่ยงแคร่กระบี่สายสพายสพัก | สมยศศักดิความชอบจงตอบแทน | ||
ราษฎรทั่วประเทศในเขตรขัณฑ์ | อย่าเบียนมันให้ทุกข์ร้อนค่อนแค่น | ||
จงเมตตาคนจนขัดสนแกน | ทุกด้าวแดนให้เปนศุขสนุกใจ | ||
สมณะชีพราหมณ์อย่าหยามหยาบ | เกรงกลัวบาปละปลดอดจิตรให้ | ||
ควรบำรุงสงเคราะห์สักเพียงไร | ก็จงให้พองามตามศรัทธา | ||
หนึ่งข้าเฝ้าเหล่าขุนนางต่างตำแหน่ง | แม้นระแวงราชกิจผิดนักหนา | ||
จะลงโทษก็ให้ต้องตามอาชญา | ฤาหนึ่งถ้าทัณฑกรรมทำพอควร | ||
อย่ามากมูลโทษะมนะผิด | ควรคิดโดยระบอบสอบไต่สวน | ||
ควรเฆี่ยนควรขังเชือกหนังทวน | จำโซ่ตรวนขื่อคาอย่าทำเกิน | ||
พ่อจำคำบิดาสั่งตั้งความสัตย์ | แม้นปฏิบัติชื่อตรงคงสรรเสริญ | ||
ราชการภาราพ่อพย่าเมิน | อย่าหลงเพลินนางในไม่ได้การ | ||
พระโอรสฟังโองการประทานสอน | โอนอ่อนเศียรคำนับรับสั่งสาร | ||
ทั้งราชบุตรบุญธรรมก้มกราบกราน | รับโอวาทซึ่งประทานด้วยเศียรตน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์จอมเจิมเฉลิมโลก | ประชวรโรคแรงกล้าดังห่าฝน | ||
สิ้นกำลังลมปราณเหลือทานทน | สวรรคตอยู่บนพระแท่นทอง ฯ | ||
๏ ครานั้นเสวกามหามาตย์ | เกลื่อนกลาดแออัดจัดสิ่งของ | ||
เครื่องสูงแตรสังข์พระโกษฐทอง | จ่าปี่จ่ากลองเรียกร้องมา | ||
กลองชนะเบิงมางวางเตรียมไว้ | ชั้นแว่นฟ้ารีบไปยกคอยท่า | ||
คู่เคียงพระสเลี่ยงเทวดา | โปรยมาลาเข้าตอกบอกมาคอย | ||
พระสงฆ์นำน่าฉานอ่านหนังสือ | สังฆ์การีวิ่งปรื๋อไม่ล้าถอย | ||
เผดียงราชาคณะวัดพระลอย | ไวไวหน่อยเถิดเจ้าคุณวุ่นเต็มที | ||
ฝ่ายว่าราชาคณะพระญาณสิทธิ์ | ซึ่งสถิตย์วัดพระลอยก็เร็วรี่ | ||
รีบครองผ้าเรียกศิษย์ได้ตามมี | สังฆ์การีพามาพักคอยชักนำ ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงพระราชกุมาร | เชิญพระศพสรงสนานจนจวนค่ำ | ||
มาลาภูษาถวายเครื่องทรงประจำ | เครื่องต้นล้วนทองคำลงยาดี | ||
ทรงเครื่องต้นเสร็จสรรพสำหรับกระษัตริย์ | เชิญเข้าโกษฐเนาวรัตน์มณีศรี | ||
ประโคมแตรสังข์สนั่นลั่นดนตรี | กลองชนะพร้อมตีเสียงมี่วัง | ||
ฝ่ายพวกกระบวนแห่เสียงแซ่ซ้อง | ตั้งกระบวนเปนกองคอยรับสั่ง | ||
ได้เวลาพระศพออกจากวัง | ดูสพรั่งกระบวนแห่แลหลามมา | ||
พวกตั้งชั้นแว่นฟ้าเสนาภิมุข | ชาดสีสุกทาซ่อมที่คร่ำคร่า | ||
ช่างรักปิดทองผ่องจับตา | ช่างกระจกประดับประดาที่ชำรุด | ||
เครื่องแก้วตั้งคลังพิมานอากาศจัด | ศุภรัตขนผ้าไตรอุตลุด | ||
รักษาองค์เติมน้ำมันฟันชุด | รายกันจุดอัจกลับสับสนครัน | ||
แห่พระศพถึงที่นั่งมังคลา | เชิญตั้งแท่นแว่นฟ้างามเฉิดฉัน | ||
เรียงรอบเครื่องสูงลายสุวรรณ | จามรทานตวันพัดโบกราย | ||
กลิ้งกลดบดบังพระสุริยนต์ | หักทองขวางห้าชั้นอิกชุมสาย | ||
แว่นทองปักกระเสตขันทองพราย | บุบผาพวงห้อยรายกลิ่นขจร | ||
ข้าราชการกราบราบศิโรตม์ | ถวายบังคมบรมโกษฐสท้อนถอน | ||
ฤไทยโทมนัศาให้อาวรณ์ | พิไรรักภูธรสิ้นทุกคน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระราชโอรสยศไกร | เสด็จมาโศกาไลยพิไรบ่น | ||
พระราชบุตรบุญธรรมก็ทุกข์ทน | น้ำสุชนไหลหลั่งนั่งโศกา | ||
ครั้นจัดแต่งตั้งพระศพครบครัน | สดัปกรณ์นับพันไตรสิบห้า | ||
พระสงฆ์เนื่องแน่นหลามตามชลา | พระราชาคณะได้ไตรทุกองค์ | ||
เสร็จทำกุศลกิจอุทิศไป | ถวายไทชนกนารถราชหงษ์ | ||
จึงสมเด็จโอรสยิ่งยศยง | เสด็จลงจากปราสาทลีลาศมา | ||
พวกร้องไห้นางในก็ส่งเสียง | เสนาะสำเนียงว่าพระพุทธเจ้าข้า | ||
พระร่มโพธิทองล่องสู่ฟ้า | เสด็จไปชั้นใดข้าจะตามไป | ||
โอ้พระร่มโพธิแก้วลับแล้วลิบ | เสวยทิพพิมานสถานไหน | ||
ข้าน้อยพยายามจะตามไป | ไม่ทิ้งไทนฤเบศร์เกษประชา ฯ | ||
๏ ครานั้นหมู่อำมาตย์ข้าราชการ | กับพระราชกุมารโอรสา | ||
พร้อมกันกะเกณฑ์การฌาปนา | ทำมหาเมรุปราค์ตามอย่างยศ | ||
สูงเส้นห้าวาสง่านาม | เมรุทิศงามสามสร้างต้องอย่างหมด | ||
เมรุทองในเครื่องชั้นเปนหลั่นลด | ต้องแบบตามบททุกสิ่งอัน | ||
ราชวัตรฉัตรทองฉัตรเงินนาก | แลหลากตั้งสลับลำดับคั่น | ||
ฉัตรเบญจรงค์รายออกนอกอิกชั้น | ตลอดกั้นราชวัตรขนัดแนว | ||
ราชวัตรฉัตรรายทางข้างถนน | ทางสถลที่จะแห่แลเปนแถว | ||
โรงการเล่นเต้นรำทำเสร็จแล้ว | ท้องสนามกวาดแผ้วสอาดเตียน | ||
โรงรำช่องระทาระดาดาษ | เอาแผงลาดหลังคาทาเครื่องเขียน | ||
กั้นฉากวาดดูงามเรื่องรามเกียรติ์ | ล้วนแนบเนียนนน่าสนุกทุกโรงงาน | ||
หกคเมนลอดบ่วงห่วงน้อยเสา | ติดต่อเข้าสามต่อสูงตะหง่าน | ||
รำแพนเสาไต่ลวดสูงลิ่วทยาน | ตามอย่างงานบรมศพมีครบครัน | ||
เตรียมการเสร็จทุกด้านงานกำหนด | เชิญพระโกษฐขึ้นรถแห่สนั่น | ||
เข้าพระเมรุสมโภชสิบห้าวัน | ถวายพระเพลิงทรงธรรม์กระษัตรา | ||
สมโภชพระอัฐิลอยอังคาร | เสร็จการเชิญอัฐิขั้นรัถา | ||
แห่เข้าสู่พระนครา | เหล่าเสวกาโศกเศร้าเฝ้าพิไร | ||
จึงประชุมมาตยามหาอำมาตย์ | จะยกราชโอรสครองกรุงใหญ่ | ||
เห็นพร้อมกันต่างอำนวยอวยไชย | จึงหมายให้จัดราชาภิเศกการ | ||
เกณฑ์กันทำการทุกด้านทาง | ตามอย่างขัติยามหาศาล | ||
อภิเศกพระราชกุมาร | ให้ขึ้นผานทวาลีบุรีรมย์ | ||
ถวายพระนามเหมือนพระราชบิดา | ว่าทวาลีราชองอาจสม | ||
พระเดชาปรากฎยศอุดม | ครองบรมธานีศรีโสภา | ||
จึงให้กุมารบุญธรรม์นั้นไปบวช | เล่าเรียนสวนพระคัมภีร์มีสิกขา | ||
เปนสามเฌรอู่กับพระครูบา | จันทสุบิงสมญาพระอาจารย์ ฯ | ||
๏ มาวันหนึ่งพระครูผู้ที่บวช | ท่านไปสวดในป่าช้ากลับสถาน | ||
ได้อ้อยมาถึงควั่นให้ขอทาน | สามเณรกุมารบุตรบุญธรรม์ | ||
ตัวท่านฉันกลางที่หว่างข้อ | สามเณรก็ไม่ขอกลางปล้องฉัน | ||
ตั้งแต่กินข้ออ้อยไปวันนั้น | มีปัญญามากครันแปลกกว่าคน | ||
จึงคิดทายปฤษณาพระอาจารย์ | ห้าข้อไม่วิตถารปัญญาต้น | ||
ลองความรู้พระครูอาจารย์ตน | มาทายชนเข้ากับรังดังพูดกัน | ||
ในบทปถมังดังเวหา | ที่สองว่าชาโตเนข้อขัน | ||
คูชลามิคาลำดับกัน | เปนที่สามด้นดั้นปัญหาเณร | ||
จัตวาติตานี้ที่สี่แถลง | แปะๆ ปะๆ มาแจ้งมหาเถร | ||
ถามว่าได้แก่อะไรให้ชัดเจน | พระฟังเณรตรองปัญหาปัญญาตัน | ||
ค้นคัมภีร์มีในตู้ดูไม่เห็น | ก็นิ่งเว้นมาสามทิวาคั่น | ||
นั่งคิดนอนคิดให้มิดตัน | ต่อได้ฉันแกงหมูจึงรู้ความ | ||
บอกแก่สามเณรว่าคิดได้ | ปัญญาที่แคะได้เอามาถาม | ||
ดังเวหาคืองาช้างงอนงาม | ชาโตตามบทมาว่าคางคก | ||
คูชลามิคาคือครุเก่า | ชันที่เขายาไว้ร่วงไหลตก | ||
รั่วร้ำคร่ำคร่ามาหลายยก | ถลอกถลกละลายเหลวเลอะเทอะ | ||
จัตวาตีตาตีรั้วบ้าน | ทั้งข้อตาตีปสานใส่ออกเปรอะ | ||
แปะๆ ปะ ปฤษณาว่าเคอะ | ควายกินหญ้าคี่เลอะหยดย้อยไป | ||
แต่แรกคิดว่าจะฦกลับนักหนา | มิรู้ว่าความตื้นอยู่ใกล้ใกล้ | ||
เจ้าสามเณรฟังทายถูกในใจ | ชมพระครูผู้ใหญ่ว่าดีจริง ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพวกลาวชาวส่วยเมี่ยง | มาแต่เวียงหาบกระบอกกตุ้งกติ้ง | ||
ห้าร้อยบอกหนักบ่าในตาวิง | ถึงตลิ่งจะข้ามฝั่งนั่งหยุดพัก | ||
เมื่อวันนั้นสามเณรมาสรงน้ำ | เห็นพวกลาวพุงดำล้วนลายสัก | ||
กระบอกผูกพวงวางพลางถามทัก | กระบอกรักฤาอะไรไปไหนมา | ||
ฝ่ายว่าลาวชาวเวียงส่วยเมี่ยงหลวง | บอกว่าข้อยทั้งปวงอยู่เมืองป่า | ||
เปนชาวเวียงส่วยเมี่ยงจึงขนมา | พักที่ท่าหมายจะข้ามฝั่งนที | ||
อันแม่น้ำตื้นฤาฦกมาก | ข้อยทั้งปวงนี้อยากข้ามที่นี่ | ||
จะข้ามได้ฤามิได้ ในชลธี | แจ้งคดีมาหน่อยข้อยขอฟัง | ||
ฝ่ายเจ้าเณรฟังพวกส่วยเมี่ยงถาม | จึงบอกความว่าน้ำตื้นพอยืนหยั่ง | ||
แต่จะข้ามนั้นขัดสนพ้นกำลัง | แกจงรั้งรอก่อนผันผ่อนคิด | ||
ลาวเวียงไม่ทันตรองร้องว่าไป | จะข้ามให้ได้ถึงฝั่งสมดังจิตร | ||
ถ้าข้ามได้แล้วจั่วจะกลัวฤทธิ | ฤาพนันกันสักนิดก็เล่นกัน | ||
เณรถามว่าถ้าข้ามไปไม่ได้ | พี่จะเอาอะไรมาให้ฉัน | ||
พวกส่วยเมี่ยงว่าจะให้เมี่ยงทั้งนั้น | แม้นข้ามได้เณรจะปันให้อะไร | ||
สามเณรตอบว่าข้ามถึงฝั่ง | ข้าจะรังวัลสบงอังสะให้ | ||
แต่เมี่ยงหลวงมาให้ปันฉันตกใจ | จะมาไถ่สินพนันนั่นนึกกลัว | ||
ฝ่ายพวกส่วยตอบว่าถึงของหลวง | มิใช่ช่วงชิงแย่งเจ้าอยู่หัว | ||
ถึงมาเสียสินพนันไม่พันพัว | ให้พ่อจั่วแล้วจะใช้ให้อื่นแทน | ||
ครั้นพูดจานัดหมายกันแม่นมั่น | ชาวเวียงก็นุ่งพันผ้าให้แน่น | ||
แล้วหิ้วเมี่ยงท่องน้ำมาตามแกน | ถึงฝั่งแหงนเงยหน้าว่ากับเณร | ||
ข้อยข้ามมาถึงฝั่งดังพนัน | จะให้ปันสบงก็ให้เถิดพี่เถร | ||
อย่าช้าเลยจะไปส่งของส่วยเกณฑ์ | เร็วพ่อเณรข้อยจะลาเข้าธานี | ||
สามเณรตอบว่าข้าไม่ให้ | เดิมว่าไว้จะจะข้ามเล่นท่องหนี | ||
ซึ่งท่องน้ำลุยมาในวารี | ที่ตรงนี้ไม่ว่ากันในสัญญา | ||
แกเหล่านี้ลุยน้ำท่องมาฝั่ง | ไม่เหมือนดังพูดไวัที่ได้ว่า | ||
จะยึดเอาเมี่ยงทั้งหมดที่เอามา | ไม่ข้ามดังสัญญาที่พาที ฯ | ||
๏ ว่าแล้วเณรก็ริบเอาเมี่ยงหมด | พวกส่วยหน้าสลดไม่มีศรี | ||
จึงมาเรียนต่อท่านเสนาบดี | ให้ทูลใต้ฝ่าธุลีพระทรงธรรม์ ฯ | ||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาอธิบดี | ฟังวาทีพวกลาวส่วยว่าแขงขัน | ||
แจ้งข้อความตามเรื่องเณรพนัน | เอาเมี่ยงส่วยกึ่งพันของชาวเวียง | ||
จึงกราบทูลพระองค์ผู้ทรงภพ | ไปจนจบตามเรื่องพนันเมี่ยง | ||
แล้วแต่จะโปรดโทษลาวเชียง | หมอบเมียงคอยฟังพระโองการ ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนรินทร์ปิ่นประชา | ได้ฟังว่าเณรนั้นทำอาจหาญ | ||
เล่นพนันกันกับลาวฉาวสท้าน | อยากฟังคำให้การจะอย่างไร | ||
จึงดำรัสให้หาเณรเข้ามา | ตรัสถามว่าพนันเล่นเปนไฉน | ||
เณรถวายพรองค์พระทรงไชย | ทูลไปตั้งแต่ต้นจนจบปลาย | ||
ได้ทรงฟังก็ดำริห์ตริตรึกตาม | ข้อความโดยทำนองทั้งสองฝ่าย | ||
จึงดำรัสว่าไม่ควรจะวุ่นวาย | อย่าเสียดายคิดเงินให้กับเณร | ||
ตามีสักสี่ซ้าห้าบาท | เจ้ากูฉลาดคำคมคารมเถร | ||
ให้เปนเลิกอ่าเซ้าซี้จะมีเวร | เงินประเคนเจ้ากูอย่าสู้ความ ฯ | ||
๏ ฝ่ายสามเณรได้ฟังรับสั่งโปรด | ไม่มีโทษกลับจะได้เงินหลายย่าม | ||
ก็รีบมากุฎีที่อาราม | |||
ยืมบาตรตามพระสงฆ์ลงบันได | |||
ถือบาตรห้าฝาสี่ขมีขมัน | เข้าวังพลันแล้ววางบาตรลงให | ||
ว่ามีพระโองการมาอย่างไร | ฉันมิได้ล่วงละพระบัญชา | ||
รับสั่งให้ใช้เงินแทนเมี่ยงส่วย | จึงไปฉวยฝามาสี่แต่บาตรห้า | ||
แน่พวกส่วยจงตวงเอาเงินมา | ให้เต็มบาตรเต็มฝาจะลาไป ฯ | ||
๏ พวกส่วยเห็นบาตรห้าฝาถึงสี่ | สุดคิดด้วยไม่มีเงินจะใËé | ||
ปฤกษากันต่างคนต่างจนใจ | เราจะได้เงินตราไหนมาพอ | ||
แม้นขายตัวลงทั้งหมดยังลดหย่อน | เหลือจะผ่อนแบ่งเบาแล้วเราหนอ | ||
สิ้นปัญญานิ่งนังดังหลักตอ | จึงทูลข้อขัดสนพ้นกำลัง ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร | ทรงฟังทูลเรื่องเณรเหมือนบ้าหลัง | ||
จึงดำรัสโปรดให้ไขพระคลัง | ขนเงินใส่บาตรทั้งห้าบาตรพระ | ||
อิกสั่งให้ใส่ฝาครบทั้งสี่ | ใช้หนี้เณรแทนพวกเลี้ยงจะกละ | ||
พวกลาวถวายบังคมก้มคารวะ | ขอเดชะทูลยกพระเกียรติยศ | ||
แล้วทูลลากลับหลังยังบ้านตน | ฝ่ายพระจอมจุมพลให้รวมจด | ||
เปนเงินสี่ร้อยชั่งเศษยังลด | อิกสี่ชั่งคิดปะชดถ้วนห้าร้อย | ||
จึงทรงดำริห์ว่าเณรปัญญามาก | คนเช่นนี้หายากไม่ชั่วถ่อย | ||
ถ้าได้เลี้ยงเป็นมนตรีดีไม่น้อย | จะใช้สอยแคล่วคล่องเห็นว่องไว | ||
จึงโปรดให้เณรสึกทำราชการ | เณรไปลาอาจารย์ท่านผู้ใหญ่ | ||
รีบสึกออกมาข้าจะใช้ | เณรก็ไปลาสิขาสึกมาพลัน ฯ | ||
๏ คนทั้งหลายเรียกนามว่าเชียงเมี่ยง | ได้ชื่อเสียงตามเหตุพนันขัน | ||
เพราะชนะเรื่องเมี่ยงซึ่งเถียงกัน | ได้รางวัลเงินตราเกือบห้าร้อย ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงก็ได้มาเปนข้าเฝ้า | หมั่นเข้าวังให้ทรงใช้อย | ||
ไม่ไกลปาทจอมนราอุส่าห์คอย | ให้ใช้เล็กใช้น้อยข้างน่าใน | ||
ท้าวเธอไม่รังเกียจเดียดฉัน | แพรพรรณปูนบำนาญประทานให | ||
ทั้งเงินตราผ้าเสื้อจนเหลือใช้ | เข้าข้างในออกข้างน่าไม่ว่ากัน | ||
อยู่มาวันหนึ่งเจ้าจอมสถาน | เสวยพระกระยาหารให้อัดอั้น | ||
มิใคร่ได้มาหลายทิวาวัน | พระทรงธรรม์ให้หาเชียงเมี่ยงมา | ||
ดำรัสว่ากูกินเข้าไม่ค่อยได้ | ทำอย่างไรจึงจะค่อยมีรศหวา | ||
เชี่ยงเมี่ยงทูลมูลคดีว่ามียา | ให้เสวยโภชนามามีรศ | ||
ดำรัสว่าเองเอายามาให้กู | จะกินแก้ลองดูให้ปรากฎ | ||
เชียงเมี่ยงรับคารวะน้อมประนต | พระโอสถหม่อมฉันดีมีที่เรือน | ||
ทูลแล้วลีลามาสู่บ้าน | เที่ยวเล่นศุขสำราญกับพวกเพื่อน | ||
ไม่หายาทูลลามาแชเชือน | นอนอยู่เรือนจนสายสบายใจ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ผิดปลาดเชียงเมี่ยงหามาไม | ||
คอยอยู่จนเที่ยงสายก็หายไป | แสบอุทรสั่งให้เชิญเครื่องมา | ||
เสวยเวลานั้นมีรศมาก | เพราะหิวอยากเสวยได้เปนนักหนา | ||
ตวันบ่ายชายแสงพระสุริยา | เชียงเมี่ยงมาเข้าเฝ้าพระภูมี | ||
จึงประภาษตวาดรับสั่งขู่ | อ้ายเชียงเมี่ยงลวงกูไม่พอที่ | ||
ไปเอายาเนิ่นนานจนปานนี้ | ไหนยาดีขอกูดูอยากรู้รศ | ||
แต่คอยอยู่เห็นสายจวนบ่ายแล้ว | ไม่วี่แวดมาจนหิวพ้นกำหนด | ||
แสบอุทรกินเสียก่อนค่อยมีรศ | อาหารหมดชามมากกว่าทุกครั้ง ฯ | ||
๏ เชียงเมี่ยงว่านั่นและยาหม่อมฉันถวาย | เพราะเวลาเที่ยงสายโอสถขลัง | ||
อร่อยเมื่ออยากเสวยมากมีกำลัง | ไม่ต้องตั้งพระโอสถเข้าหมดชาม ฯ | ||
๏ จอมประชาตรัสว่าเจ้าหมอเอก | พูดโหยกเหยกโยกย้ายอ้ายส่ำสาม | ||
มันช่างว่าพลิกไพล่ได้ใจความ | ไม่เข็ดขามพูดเปนลิดไม่ติดเลย | ||
ให้ขุ่นเคืองในพระไทยแต่ไม่ตรัส | พระดำรัสทีหยอกเย้าเฉลย | ||
เกรงขุนนางรู้ความจะหยามเย้ย | ทรงชมเชยพระวาจาทำปรานี ฯ | ||
๏ ครั้งหนึ่งพระองค์ผู้ทรงเดช | สั่งให้เลือกช้างวิเศษมีศักดิศรี | ||
อันควรเปนพระที่นั่งกำลังดี | พ่วงพีกล้าหาญชาญณรงค์ | ||
กรมช้างผูกช้างพระที่นั่ง | ขับมานั่งน่าพระลานโดยประสงค์ | ||
เสด็จออกทอดพระเนตรจะลองทรง | มีพระองการถามเสนาใน | ||
ว่าช้างนี้ครบทุกสิ่งสรรพ์ | ฤาควรติรูปพรรณที่ไหนได้ | ||
อำมาตย์ทูลว่างามควรทรงใช้ | ติไม่ได้แต่สักอย่างจนย่างเดิน | ||
เวลานั้นเชียงเมี่ยงเฝ้าอยู่ด้วย | จึงว่าจะช่วยตีบ้างเห็นขัดเขิน | ||
ส่วนตัวโตไม่สมตาเล็กเกิน | สรรเสริญว่าดีพร้อมไม่ยอมตาม ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงฟังเชียงเมี่ยงว่า | เคืองฤไทยด้วยมาขัดหยาบหยาม | ||
แต่ทรงนิ่งไม่ตรัสให้แจ้งความ | มันลวนลามล้อเล่นเห็นไม่ควร | ||
จึงดำรัสความอื่นกับเสวกา | ทรงชวนไปเล่นสบ้าที่ปลายสวน | ||
พอเล่นแก้ไม่หยาบหายรัญจวน | ตั้งกระบวนแล้วเสด็จยาตราพลัน | ||
ถึงที่ประทับพลับพลาสนามเล่น | ขุนนางตั้งสบ้าเปนลำดับคั่น | ||
ตั้งสบ้าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | เปนลดหลั่นรายเรียงเคียงกันไป | ||
สมเด็จพระเจ้าทวาลีมีอำนาจ | ทรงยิงสบ้าหมายมาดไม่ผิดไพล่ | ||
ทรงยิงก่อนถูกสุอันที่ตั้งไว้ | ขุนนางก็ยิงลำดับไปตามศักดินา | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงตบมือร้องเสียงหลง | ของพระองค์เลยทุกทีอึงมี่ว่า | ||
ครั้นพวกข้าเฝ้าเหล่าเสนา | ยิงสบ้าถูกหมายไม่สายซัด | ||
เชียงเมี่ยงร้องยิงผิดสิ้นทุกคน | พระจุมพลแลขุนนางต่างเคืองขัด | ||
ได้อับอายขายหน้าโทมนัศ | จอมกระษัตริย์ก็เสด็จกลับสู่วัง | ||
ครั้นนานมาพระครูเปนผู้เถ้า | โรคเร้าเกิดซุกทนทุกขัง | ||
จันทสุบิงสมญากาละกะตัง | ถึงมรณังมรณะชีพประไลย ฯ | ||
๏ พระครูนั้นไร้ญาติขาดพงษา | บุตรนัดดาจะมีก็หาไม่ | ||
พี่น้องมิตรสหายล้วนตายไป | เสนาในกราบทูลพระกรุณา | ||
ว่าพระครูผู้เถ้ามรณภาพ | อัประลาภไร้วงษ์เผ่าพงษา | ||
จงทรางทราบใต้ฝ่ามุลิกา | ศพไม่มีใครนำพาทำกิจการ | ||
จึงดำรัสตรัสให้หมู่เสนา | ช่วยกันทำฌาปนาในศพท่าน | ||
แล้วรับสั่งให้สนมบริพาร | ไปร้องไห้แทนหลานแลพี่น้อง ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงรู้ว่ารับสั่งใช้ | พวกนางในพระสนมสิ้นทั้งผอง | ||
ให้ร้องไห้ที่ศพแทนพี่น้อง | เดินตรึกตรองในอารมณ์ด้วยสมคิด | ||
จึงแตัดแหวะผ้านุ่งที่ตรงกั้น | เปนเล่ห์กลนุ่งโจงกระเบนปิด | ||
พานางสนมมาที่ศพสถิตย์ | นางตะบิดตะยอยจะคอยฟัง | ||
แล้วเตือนว่าพระกรุณารับสั่งใช้ | มาร้องไห้เหตุไฉนจึ่งนิ่งนั่ง | ||
สนมตอบว่าพระครูผู้มรณัง | มิได้ชังแต่ใช่ญาติข้าทั้งปวง | ||
จะร้องไห้ก็ไม่มีน้ำตามา | ตัวเปนศิษย์เปนหาของท่านหลวง | ||
เจ้าจงร้องไห้รักอย่าทักท้วง | ข้าทั้งปวงขัดไม่ได้จำใจมา ฯ | ||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงเห็นได้ที | เข้าไปใกล้ศพพระชีแล้วปลดผ้า | ||
เสแสร้งแกล้งทำร่ำโศกา | ชลนาไหลนองสองแก้มคาง | ||
ว่าโอ้โอนิจาพระครูเอ๋ย | สิบปีพระไม่เคยพบเหล้าบ้าง | ||
เก้าปีมิได้พบสีกานาง | มาเริศร้างไม่ได้อุ่นพ่อลุ่นโตง | ||
เกิดมาทั้งชาติตายเสียเปล่า | ไม่พบเต่าหลังขนรำไรโหรง | ||
มานอนตายในกุฎีทีในโลง | พ่อลุ่นโตงของกูเอ๋ยเลยมอดม้วย | ||
ฝ่ายนายในได้ฟังคำร้องไห้ | กลั้นหัวเราไม่ได้ ใจเขินขวย | ||
ก็หัวเราะครึครื้นระรื่นรวย | เชียงเมี่ยงฉวยไม้ได้ ไล่ตีเอา | ||
ว่าครั้งนี้มีรับสั่งประทานมา | ให้โศการักศพพระครูเฒ่า | ||
อย่างไรชวนกันมาร่าเริงเร้า | ทำดูเบาขัดบัญชามาหัวเราะ | ||
ทำอย่างนี้ไม่ต้องอย่างนางฝ่ายใน | ตีไล่เขวียวขวับเสียงปับเปาะ | ||
สนมนางขึ้นเลียงเถียงเทลาะ | ที่ใจเสาะโศกาน้ำตานอง | ||
เข้าไปเฝ้าพระบาทนารถนาถา | ต่างวันทาอาดูรทูลฉลอง | ||
ว่าเชียงเมี่ยงข่มเหงข้าฝ่าลออง | ไล่ตีต้องรอยเรียวเขียวทั้งกาย ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูรย์ | ทรงฟังทูลนางในพระไทยหาย | ||
ร้อนดังต้องพิศม์ไฟไม่สบาย | สั่งให้นายเวรตำรวจไปหาตัว | ||
ฝ่ายตำรวจรับพระราชโองการ | ถอยคลานถวายบังคมกราบก้มหัว | ||
แล้วรีบมาร้องบอกแต่นอกรั้ว | รับสั่งให้มาเอาตัวท่านเข้าไป ฯ | ||