วชิรà¸à¸²à¸“ภาษิต
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…')
แตกต่างถัดไป →
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 07:20, 17 สิงหาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: ?
บทประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ | |||
ข้าขอเผด็จแสดง | ผจงแต่งซึ่งคำสอน | ||
ไว้เป็นสุนทรกลอน | คดีโลกลำดับความ | ||
ไว้ให้แก่นาเรศ | เฉลิมเกศอนงค์งาม | ||
รุ่นสาวเจริญทราม | พิศวาทแสวงชาย | ||
นารีอันมีศักดิ์ | วรพักตรดั่งเดือนฉาย | ||
สงวนตัวไม่มัวระคาย | จะระคนด้วยมลทิน | ||
เสมือนดังวิเชียรรัต | นะลือระบือระบิล | ||
เป็นอรรคนาริน | รจนาวราโฉม | ||
ควรเป็นมงคลขวัญ | นัยเนตรวิเศษโสม | ||
นัสนาฏสวาทโลม | ฤดีชายให้ถวิล | ||
อย่าหยิ่งเผยอผยอง | ลำพองตนกระมลทิน | ||
ปากร้ายผูกไพริน | แก่เพื่อนมิตรสนิทนาง | ||
จงเจียมเสงี่ยมจิต | แต่งจริตให้สำอาง | ||
พูดจาอย่ารานทาง | แก่เพื่อนรักสมัครตน | ||
เดินเหินอย่าเมินพักตร์ | แลชำรักชำเลืองยล | ||
เห็นชายทำอายฉงน | ระริกร่านัยน์ตามัน | ||
แต่งกายให้สมศักดิ์ | วรพักตร์วิไลวรรณ | ||
คนดำห่มแดงฉัน | ไม่ฉายเฉิดประเสริฐศรี | ||
คนขาวจะนุ่งห่ม | อันใด ๆ ก็งามดี | ||
คนดำต้องห่มสี | แต่หม่นหมองและเขียวคราม | ||
ห่มแดงและสีนวล | บ่มิควรจะเห็นงาม | ||
ชายเห็นจะเย้ยหยาม | บริภาษให้บาดใจ | ||
ลุกนั่งระวังตน | อย่าลุกลนทลึ่งไป | ||
ภูษาและผ้าสะใบ | จะปกปิดให้มิดกาย | ||
อย่าทำกระดางลาง | ตลกโลนเหมือนผู้ชาย | ||
สตรีให้มีอาย | เป็นที่ฟังจะบังควร | ||
ยามเดินอย่าประมาท | ให้พลั้งพลาดล้มเซซวน | ||
ยามยืนอย่ายืนยวน | กมลขึงตลึงแล | ||
ยามนอนอย่านอนหงาย | เอากรก่ายวิลาศแปร | ||
กอดอกอาอูรแด | ฤดีดิ้นถวิลชาย | ||
ยามกินอย่ากินเติบ | ค่อยป้อนเปิบให้สบาย | ||
ข้าวตกลงเรี่ยราย | ไม่สู้ดีอัปรีย์ตน | ||
เคี้ยวข้าวดังจับ ๆ | จะอาภัพวิบัติคน | ||
ซดแกงเหมือนเสียงกรน | ดังโฮก ๆ กระโชกลม | ||
นอนหลับละเมอฝัน | บ้างเคี้ยวฟันสยายผม | ||
ครางครวญรัญจวนตรม | กลสะอื้นไม่ฟื้นตัว | ||
บ้างนอนน้ำลายไหล | บ้างถอนใจดูน่ากลัว | ||
เสียงกรนเหมือนเสียงวัว | ดูอนาถประหลาดใจ | ||
บ้างนอนเป็นท่ายักษ์ | ย่อมชั่วนักคนจัญไร | ||
มือสอดเข้าไว้ใน | ระหว่างขาท่าอัปรีย์ | ||
ระมัดระวังตัว | อย่านอนชั่วมักไม่ดี | ||
โรคาจักยายี | อายุน้อยจักถอยแรง | ||
นอนดีจะมีทรัพย์ | กิติศัพท์เป็นศักดิ์แสง | ||
คำสอนนอนตะแคง | เอาแขนพาดตามสกนธ์ | ||
เหยียดเท้าลำดับบาท | เอากรพาดหนุนเศียรตน | ||
เป็นสวัสดิมงคล | ชื่อสีหไสยา | ||
ยามเดินอย่าเดินเหย่า | ระเหยาะย่างเหมือนอย่างกา | ||
อย่าเดินเอาศิร | ชะโงกเงื้อมไปก่อนกาย | ||
ให้เดินผจงบาท | ด้วยลีลาศชำเลืองชาย | ||
แอ่นอกให้ผึ่งผาย | เหมือนดั่งเป็ดวิเศษดี | ||
เดินเหมือนคชาทรง | มงคลาราชหัสดี | ||
จะเป็นเฉลิมศรี | ศุภสุนทรานาน | ||
ยามกินอย่าผินพักตร์ | บริโภคกระยาหาร | ||
แสนทรัพยศฤงคาร | จะเนืองนองดังน้ำไหล | ||
ประจิมจักมียศ | เป็นยอดอย่างสุรางค์ใน | ||
อุดรจักมีภัย | อย่าผินพัตร์รับอาหาร | ||
เป็นหญิงอย่าใจบาป | วาจาหยาบพูดสามานย์ | ||
กล่าวโลมตลกพาล | เหมือนเช่นชายบ่อายใจ | ||
นารีอันมียศ | มธุรสย่อมแจ่มใส | ||
เยือนยิ้มพริ้มละไม | พจนารถสวาทหวาน | ||
อย่ากล่าวยุบลบ่อน | สบถล่อนให้เกินการ | ||
อวดโอ้พูดโวหาร | ยกคนตั้งอวดมั่งมี | ||
อย่าค่อนนินทาท่าน | มิใช่การกสัตรี | ||
ความชั่วและความดี | ย่อมมีทั่วทุกตัวคน | ||
เขาชั่วก็ช่างเขา | อย่าเก็บเอามาใส่ตน | ||
ใครประเสริฐบังเกิดผล | จงเอาอย่างในทางดี | ||
อย่าทำเป็นแม่สื่อ | ให้เขาลือว่าอัปรีย์ | ||
ชักชายให้สมศรี | ชักสตรีให้สมชาย | ||
เป็นหญิงอย่าง่วงเหงา | นอนขี้เซาอยู่จนสาย | ||
การเรือนเร่งขวนขาย | เอาใจใส่ในเคหา | ||
ข้าวปลาอย่าคาหม้อ | ไว้เหลือหลอให้บูดรา | ||
ถ้วยชามอย่าให้คา | หมั่นล้างคว่ำทำให้ดี | ||
ครัวไฟอย่าให้รก | สกปรกมักอัปรีย์ | ||
หม้อข้าวฝาละมี | อย่าเปลี่ยนผลัดพัดกันไป | ||
หุงข้าวอย่าผินหลัง | หมั่นระวังทั้งฟืนไฟ | ||
เสร็จสรรพดับให้ได้ | อย่าทิ้งไว้จะไหม้เรือน | ||
กินแล้วอย่าฉุยแฉ่ | ให้พ่อแม่คอยตักเตือน | ||
อย่าทิ้งให้กลาดเกลื่อน | เปื้อนครัวไฟนั้นไม่ดี | ||
แดดออกดูตากของ | ฝนตกรองเอาวารี | ||
เย็นย่ำค่ำราตรี | อย่าจรลีจากเคหา | ||
หญิงสาวจะไปไหน | มีเพื่อนไปจึงไคลคลา | ||
คนเดียวอย่าลีลา | เขานินทาว่าสามานย์ | ||
ผู้ชายเขาล้อเลียน | เป็นหนามเสี้ยนให้รำคาญ | ||
เมินหน้าอย่าว่าขาน | ตอบคนพาลแพ้ภัยตัว | ||
พูดจาว่าโดยดี | อย่าข่มขี่ให้เขากลัว | ||
รักนวลสงวนตัว | สิ่งใดชั่วจงหลีกหนี | ||
นุ่งห่มพอสมศักดิ์ | โสมมนักมักไม่ดี | ||
แต่งตัวนักก็จักมี | คนนินทาว่าล่อชาย | ||
พี่น้องไปมาหา | นั่งพูดจาอย่าทำอาย | ||
พบปะเข้าทักทาย | ปากเราะรายพูดให้ดี | ||
ลุงอาแลตาปู่ | ไปมาสู่ด้วยไมตรี | ||
ข้าวปลาหุงหาจี่ | ตามยากมีให้ท่านกิน | ||
แม้ว่ามีข้าไท | จงปลอบใช้อย่าใจทมิฬ | ||
ร้ายนักมักติฉิน | นินทาว่าส่งด่าตัว | ||
มีข้าอย่าปั้นเจ๋อ | ทำหยิ่งเย่อให้เขากลัว | ||
รักมัน ๆ รักตัว | ทำใจชั่วบ่าวมันชัง | ||
มีข้าเหมือนศัตรู | พึงให้รู้น้ำใจหวัง | ||
ความลับที่ควรบัง | อย่าได้เล่าแก่บ่าวตน | ||
มันมักชักชู้ให้ | อย่าเชื่อใจอีสัปดน | ||
วิสัยอีคนจน | ได้สินบนไม่รักนาย | ||
ตัวดีมีคนรัก | ทำทรลักษณ์จักได้อาย | ||
หัวแหวนแสนเสียดาย | ตกแตกทะลายหายราคา | ||
เปรียบเหมือนกับหญิงสาว | ทำรานร้าวใส่กายา | ||
ชายดีมีปรีชา | ไม่ปรารถนาจักเชยชม | ||
เปรียบเหมือนกับดอกไม้ | ม้วนแทรกใส่ในอาจม | ||
ผู้ใดใครจักชม | ดอกโสมมไม่นำพา | ||
ถ้าว่าสุมาลี | เกสรมีงามรจนา | ||
เป็นที่เสน่หา | จิตเมตตาทุกตัวตน | ||
โบราณท่านย่อมว่า | ตัวเป็นข้ารักษาตน | ||
นานไปเป็นกุศล | คงจะพ้นเป็นทาสี | ||
เป็นข้าผ้าเหม็นสาบ | ใจยุ่งหยาบหญิงอัปรีย์ | ||
ทำชั่วตัวไม่ดี | เป็นทาสีอยู่จนตาย | ||
๏ | |||
๏ | |||