เพลงยาวพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเà¸à¸¥à¹‰à¸²à¹€à¸ˆà¹‰à¸²à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸«à¸±à¸§
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|พลเงยาวพระราชนิพน…')
แตกต่างถัดไป →
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|พลเงยาวพระราชนิพน…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 09:40, 16 สิงหาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทประพันธ์
สำนวนที่ ๑
๏ เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า | คิดบทเกลาไว้เป็นกลอนสุนทรสนอง | ||
เป็นคติควรดำริขอเชิญตรอง | ตามทำนองโบราณราชประเพณี | ||
แม้ผู้ใดเป็นข้าราชกิจ | อย่าห่อนคิดถือโกรธเท่าเกศี | ||
ถึงจะต้องราชทัณฑ์สักพันที | ก็ควรที่รับผิดอย่าคิดโกง | ||
อีกข้อหนึ่งอย่าพึงทำปากมาก | รู้สิ่งใดแล้วอย่าอยากพูดโผงโผง | ||
ความข้างในออกไปนอกออกตะโกรง | จงชักโยงหักใจอย่าได้ทำ | ||
อันปากบอนนี้เป็นการพานชั่วมาก | พอใจอยากชอบพอในข้อขำ | ||
จึงได้คิดยอกย้อนบอนระยำ | เพราะหมายทำการชอบมอบกายา | ||
ต้องคิดไปจึงจะได้เห็นว่าผิด | ความชั่วนั้นมันจะติดเพราะอิจฉา | ||
วิสัยคนปากคันอกตัญญุตา | ไม่ซื่อต่อภัสดาที่ชื่นเชย | ||
ถึงผู้ใดจักไปเลี้ยงดูเล่า | ชั่วของเจ้าเขาไม่ลืมดอกน้องเอ๋ย | ||
ใครคิดร้ายต่อสามีไม่ดีเลย | อย่าเชือนเฉยตรึกตรองไว้ลองดู | ||
นางโมราฆ่าพระจันทรโครพ | ความไม่จบลือเล่าจนเข้าหู | ||
ควรจะจำใส่ใจไว้เป็นครู | จะได้รู้ชั่วเช่นไว้เป็นตรา | ||
จงรำฤกนึกดูเมื่ออยู่บ้าน | เคยสำราญเป็นไฉนอย่างไรหนา | ||
คนทั้งหลายเขาก็เรียกตามฉายา | ที่มีมาว่าอีนี่อีนั่นไป | ||
ประเดี๋ยวนี้คนทั้งนั้นก็หันกลับ | มาคำนับว่าคุณจอมหม่อมฉันไหว้ | ||
มีวาสนาเหมาะเจาะขึ้นเพราะใคร | เหตุไฉนลืมคุณกรุณา ฯ | ||
๏ อันตัวเรานี้ก็รองพระจอมเจ้า | เป็นปิ่นเกล้าในสยามภาษา | ||
มียศศักดิ์ประจักษ์ทั่วทุกพารา | พระทรงธรรม์กรุณาชุบเลี้ยงเรา | ||
ถึงใครใครที่จะตกมาเป็นห้าม | ไม่มีความขายหน้าดอกหนาเจ้า | ||
เสียแต่ไม่ฉายเฉิดเพริศพริ้งเพรา | เพราะแก่เถ้าหงุบหงับไม่ฉับไว | ||
ถ้าจะว่าไปจริงทุกสิ่งสิ้น | ก็พอกินตามแก่แก้ขัดได้ | ||
ฤาน้ำจิตต์คิดเห็นเป็นอย่างไร | จึงมิได้ปลงรักสักเวลา | ||
การสิ่งใดที่มิดีเรามิชอบ | อ้อนวอนปลอบจงจำอย่าทำหนา | ||
ก็ไม่ฟังขืนขัดอัธยา | ยิ่งกับว่าตอไม้ไม่ไหวติง | ||
ที่ข้อใหญ่ชี้ให้เห็นเรื่องเล่นเพื่อน | ทำให้เฟือนราชกิจผิดทุกสิ่ง | ||
ถ้าจะเปรียบเนื้อความไปตามจริง | เสมอหญิงเล่นชู้จากสามี | ||
นี่หากวังมีกำแพงแขงแรงรอบ | เป็นคันขอบดุจเขื่อนคิรีศรี | ||
ถ้าหาไม่เจ้าจอมหม่อมเหล่านี้ | จะไปเล่นจ้ำจี้กับชาย เอย ฯ | ||
สำนวนที่ ๒
๏ | |||