ร่ายสุภาสิทตัง ฉบับวัดลาด à¸à¸³à¹€à¸ à¸à¹€à¸¡à¸·à¸à¸‡à¸¯ จังหวัดเพชรบุรี
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…')
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…')
รุ่นปัจจุบันของ 11:38, 13 สิงหาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: ไม่ปรากฎนาม
บทประพันธ์
๏ พระผู้หวังสรรเพชญ์ | เล็งเห็นเสร็จทุกประการ | ||
จึงภา...ญา...กล่าวไว้ | สอนชนให้ทั่วโลกา | ||
ข...อย่าได้คลาดคล้อย | เมื่อน้อยให้เรียนวิชา | ||
ให้คิดหาสินต่อใหญ่ | อย่าได้ใฝ่เอาสินท่าน | ||
อย่าได้คร้านชอบเสียผิด | อย่าคบมิตรผู้เป็นพาล | ||
อย่าอวดหาญกับพวกเพื่อน | แม้เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า | ||
ข้าศึกมาอย่านอนใจ | ไปเรือนใครอย่าอยู่นาน | ||
เรือนตอนการงานเร่งให้คิด | อย่านั่งชิดท่านผู้ใหญ่ | ||
อย่าได้ใฝ่สูงศักดิ์ | อันที่รักอย่าดูถูก | ||
ไมตรีปลูกอย่ารู้ร้าง | กุศลสร้างอย่ารู้โรย | ||
หนึ่งอย่าโดยคำพลอยพลอด | เข็นเรือทอดโกลน... | ||
แม้นทำนาอย่าเสียเหมือง | เข้าเมืองอย่าเสียขุนนาง | ||
ห้ามมือห่างและใจใหญ่ | ข้าคนใช้อย่าไฟฟุน | ||
คบขุนนางอย่าทำโหด | โทษตนผิดคิดรำพึง | ||
อย่าคำนึงโทษแก่ท่าน | พืชหว่านจะเอาผล | ||
เลี้ยงคนไว้จะกินแรง | อย่าขัดแข็งท่านผู้ใหญ่ | ||
อย่าให้ใครเขาชังตน | แม้เดินหนอย่าเดินเปลี่ยว | ||
ที่น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ | ที่ซุมเสือให้ประหยัด | ||
ให้ระมัดทั้งฟืนไฟ | ตนเป็นไทอย่าคบทาส | ||
อย่าประมาทท่านผู้ดี | ทรัพย์สินมีอย่าอวดมั่ง | ||
ผู้เฒ่าสั่งเร่งจำความ | ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก | ||
ทำรั้วเรือกไว้กับตน | หนึ่งรักคนอย่าวางใจ | ||
ที่มีภัยให้เร่งหลีก | เป็นแง่ปลีกนั้นอย่าด่วน | ||
แม้นได้ส่วนอย่ามักมาก | อย่ากลัวยากยิ่งกว่าคน | ||
แม้นรักตนให้สงวนตน | ให้รักตนยิ่งกว่าทรัพย์ | ||
อย่าให้รับของอันเข็ญ | ตาเต็มเห็นแล้วอย่าปาก | ||
ของได้ฝากควรจึงรับ | อยู่ที่หลับให้มีไฟ | ||
อันที่ไปให้มีเพื่อน | ที่ฟั่นเฟือนให้จงรู้ | ||
สู้เสียสินให้สงวนศักดิ์ | คนใดภักดีอย่าเกียด | ||
อย่าควรเคียดแก่พงศ์มิตร | ที่ท่านผิดช่วยเตือนตอบ | ||
ที่ท่านชอบช่วยยกยอ | อย่าของของรักเพื่อน | ||
อย่าให้เยือนยืมเงินทอง | ศัตรูปองปากปราศรัย | ||
อันภายในคิดดุจนอก | ไว้ดาบหอกอย่าไกลตัว | ||
อย่าเมามัวให้พินิจ | ความตายคิดถึงทุกเมื่อ | ||
อย่าเบือนเบื่อฝ่ายทางธรรม์ | อย่ามักหมั่นพูนพยาธิ | ||
รู้ที่ขลาดและที่หาญ | อย่าคบพาลเอาเป็นมิตร | ||
เจรจาคิดให้รอบคอบ | อันคิดตอบถ้อยพอตน | ||
จะคบคนดูผู้ใหญ่ | ถ้าช้างไล่แล่นซอนซบ | ||
หมาไล่ขบอย่าขบหมา | อย่าหึงสาแก่เพื่อนบ้าน | ||
เรียนโอมอ่านแต่พอถูก | อย่าได้ปลูกผีในคลอง | ||
อย่าได้ปองเรียนอาถรรพ์ | ฉิบหายพ...มอดม้วย | ||
อย่างเยี่ยงถ้วยต่อไม่ติด | เยี่ยงสำริดแตกมิเสีย | ||
อันลูกเมียอย่าวางใจ | หนึ่งภายในอย่านำออก | ||
ซึ่งภายนอกอย่านำเข้า | อาสาเจ้าจนตัวตาย | ||
อาสานายแต่พอแรง | ของใดแพงอย่ามักกิน | ||
อย่ายินคำแก่คนโลภ | คิดคอยโอบเอาใจเพื่อน | ||
อย่าฟั่นเฟือนแก่ข้าคน | อย่าได้ยลเห็นแต่ใกล้ | ||
หนึ่งท้าวไทอย่าหมายโทษ | คนเฉาโฉดให้เอ็นดู | ||
แม้นยอครูยอต่อหน้า | ให้ยอข้าเมื่อแล้วกิจ | ||
............................ | หนึ่งนักสิทธิอย่านินทา | ||
โหรเชี่ยวว่าให้ควรจำ | หมอยาย้ำอย่าดูถูก | ||
ลูกเมียสอนให้ผ่อนหา | ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ | ||
ให้นบนอบแต่ผู้เฒ่า | เข้าออกเล่าระวังภัย | ||
ระวังระไวทั้งหน้าหลัง | เกลือกผู้ชังจะคอยโทษ | ||
อย่าได้โกรธให้เป็นนิจ | สิ่งใดผิดปลิดเสียบ้าง | ||
หอกดาบวางไว้อย่าหาญ | ใจมารเอาไมตรีตอบ | ||
จะได้ชอบเมื่อภายหลัง | หนึ่งเวียงวังอย่ายืนสนุก | ||
รำพึงทุกข์ถึงสงสาร | อย่าได้หาญทำความผิด | ||
เร่งครวญคิดหาความชอบ | แม้นได้กอบอย่าเสียกำ | ||
คนใดขำอย่ารักใคร่ | ดูเยี่ยงไก่อันกุกหา | ||
ลูกหลานมาเขี่ยกินอยู่ | ความอดสูแล้วอย่าทำ | ||
ของใดขำอย่ารับไว้ | ห้ามอย่าใช้คนบังบด | ||
คุณท่านทดให้เมื่อยาก | ความรักฝากที่พอใจ | ||
เพื่อนผิดไซร้อย่าหมายโทษ | เจ้านายโกรธอย่าโกรธตอบ | ||
ใจนบนอบให้ใสสุทธิ | อย่าให้ขุดท่านด้วยปาก | ||
อย่าให้ถากท่านด้วยตา | อย่าได้พาผิดด้วยหู | ||
อย่าเกินครูคำเจินกา | ตนรู้ว่าอยู่ว่านัก | ||
ที่หลักแหลมนั้นอย่าด่วน | น้ำป่วนนักมักแพ้ไม้ | ||
ถ้าจะให้ให้พอศักดิ์ | ถ้าจะทักให้พอใจ | ||
ภายในคิดเป็นสำรอก | ภายนอกคิดให้สรรเสริญ | ||
เมินใจคนให้เห็นจริง | คนประวิงอย่าให้เชื่อ | ||
อย่าได้เผื่อซึ่งความผิด | อย่าให้คิดความผันผ่อน | ||
หนึ่งท่านสอนอย่าสอนตอบ | สิ่งใดชอบจำใส่ใจ | ||
แล้วจึงไขอรรถบรรหาร | รู้พิจารณ์อันพิจิตร | ||
ค่อยกรองแล้วคิดเจรจา | อย่านินทาท่านผู้อื่น | ||
อย่ายกยืนยอตัวตน | เห็นคนจนอย่าดูถูก | ||
ไมตรีปลุกให้ทั่วผู้ | เร่งรู้ให้เร่งคำนับ | ||
อย่าให้จับถ้อยแก่คน | ใครรักตนให้รักตอบ | ||
ใครนอบตนตนนอบแทน | มีแหนงแค้นให้ประหยัด | ||
เผ่ากระษัตริย์คือไฟงู | อย่าได้ดูถูกว่าน้อย | ||
อันหิ่งห้อยอย่าเปรียบไฟ | อย่าปองภัยต่อท้าว | ||
ห้าวนักเล่ามักพลันแตก | อย่าอ้างแข็งซึ่งงาช้าง | ||
อย่าอวดอ้างกับขุนนาง | ปางต้นชอบท่านมักช่วย | ||
ปางผิดม้วยท่านย่อมชัง | ถ้าจะบังบังให้ลับ | ||
ถ้าจะจับจับให้มั่น | ถ้าจะคั้นคั้นให้ตาย | ||
ถ้าจะหมายหมายให้แท้ | ถ้าจะแก้แก้ให้กระจ่าง | ||
ถ้าจะวางวางให้ถูก | ถ้าจะผูกผูกให้อยู่ | ||
ถ้าจะสู้สู้ให้ดี | ถ้าจะหนีหนีให้พ้น | ||
ถ้าจะค้นค้นให้พบ | ถ้าจะหลบหลบให้พ้นภัย | ||
ถ้าจะไปไปให้พ้นผิด | ถ้าจะคิดคิดให้ตลอด | ||
ถ้าจะจอดเรือให้ดูท่า | ตีด่าข้าให้ดูโทษ | ||
ขึ้นโตนดให้ดูไคล | ขึ้นบันไดให้ดูขั้น | ||
ฟั่นเชื่อนั้นให้ดูเกลียว | คนมักเที่ยวให้ดูตีน | ||
มักมีสินให้เป็นพ่อค้า | มักเมืองฟ้าให้ทำบุญ | ||
รักบุญให้สงวนบุญ | สงวนสกุลของตัวไว้ | ||
เกลือกมีภัยจะเสียตัว | อันใดชั่วอย่าเรียนรู้ | ||
ให้ดูเยี่ยงปราชญ์อันแหลมหลัก | สิ่งใดมักง่ายมิดี | ||
อย่าตีงูให้แก่กา | อย่าตีหมารู้หอนเห่า | ||
ข้าคนร้ายอดเอา | อย่ารักเหายิ่งกว่าผม | ||
อย่ารักลมยิ่งกว่าน้ำ | อย่ารักถ้ำยิ่งกว่าเรือน | ||
อย่ารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน | กล่าวมานั้นใครทำตาม | ||
จะเกิดความสุขทุกเมื่อ | แต่งไว้เพื่อสอนสัตว์ | ||
เป็นศรีสวัสดิ์เที่ยงแท้ | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
ประชุมสุภาษิตพระร่วง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๒
(ขอขอบคุณ คุณโอม สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)