พ่à¸à¹à¸¡à¹ˆà¸£à¸±à¸‡à¹à¸à¸‰à¸±à¸™
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
CrazyHOrse (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|พอมแรังแกฉัน}} [[หมวด…')
แตกต่างถัดไป →
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|พอมแรังแกฉัน}} [[หมวด…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 16:47, 10 สิงหาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: พระยาอุปกิตศิลปสาร
บทประพันธ์
๏ มีซินแสแก่เฒ่าได้เล่าไข | |||
ถึงเรื่องงิ้วว่าเล่นกันเช่นไร | มีข้อใหญ่นั้นก็เป็นเช่นละคร | ||
แต่ข้อหนึ่งแกเล่าเขาประสงค์ | มุ่งจำนงในข้างเป็นทางสอน | ||
ชี้ทางธรรม์มรรยาทแก่ราษฎร | เหมือนละครสุภาษิตไม่ผิดกัน | ||
เราบวชนาคโกนจุกในยุคก่อน | มีกล่าวกลอนเพราะพริ้งทำมิ่งขวัญ | ||
การขันหมากยุคเก่าท่านเล่ากัน | มีสวดฉันท์เรียกว่าสวดมาไลย์ | ||
เค้าก็คือท่านหวังจะสั่งสอน | แต่ผันผ่อนตามนิยมสมสมัย | ||
มีเฮฮาพาสนุกเครื่องปลุกใจ | สมกับได้มีงานการมงคล | ||
ในหมู่บ้านย่านกลางเมื่อปางก่อน | มีโรงสอนธรรมทานการกุศล | ||
เพื่อเป็นเครื่องเรืองปัญญาประชาชน | ในตำบลอัตคัตไกลวัดวา | ||
เรียกศาลาโรงธรรมประจำบ้าน | เหมือนสถานที่ฝึกทางศึกษา | ||
บางคราวมีการกุศลปนเฮฮา | เพื่อให้พาเพลิดเพลินเจริญใจ | ||
ฝ่ายจีนเขาได้มีอย่างที่ว่า | เอางิ้วมาฝึกหัดดัดนิสัย | ||
ย่อมดูดดื่มซึมซาบปลาบปลื้มใจ | เหมือนอย่างได้รู้เห็นที่เป็นจริง | ||
งิ้วเรื่องหนึ่งแกเล่าครั้งเยาว์อยู่ | ได้ไปดูจำไว้ได้ทุกสิ่ง | ||
เกาะในจิตติดแน่นแม้นกับปลิง | เลยเป็นสิ่งสอนใจจนใหญ่มา | ||
ตามเรื่องนั้นว่ามีเศรษฐีหนึ่ง | เป็นคนซึ่งสูงชาติวาสนา | ||
มีทรัพย์สินเหลือล้นคณนา | มีบ้างช่องแน่นหนาด้วยข้าไท | ||
ท่านเศรษฐีมีบุตรสุดที่รัก | แกฟูมฟักใฝ่จิตพิสมัย | ||
บุตรคนเดียวแสนจะห่วงดังดวงใจ | หวังจะให้สืบวงศ์ดำรงไป | ||
มีโรงเรียนไกลบ้านอาจารย์สอน | กลัวลูกอ่อนลำบากไม่พรากได้ | ||
อุตส่าห์จ้างครูบามาแต่ไกล | ให้สอนในบ้านตนสู้ปรนปรือ | ||
ฝ่ายลูกเรียนผู้เดียวให้เปลี่ยวจิต | มักเบือนบิดเบื่อชังเรื่องหนังสือ | ||
อยากได้เพื่อนพูดจาและหารือ | พ่อก็อือออตามด้วยความรัก | ||
เกณฑ์พวกเด็กในบ้านให้อ่านด้วย | ก็เพื่อช่วยชวนใจให้สมัคร | ||
ครั้นมีเพื่อนเรียนล้อมอยู่พร้อมพรัก | กลับชวนชักเล่นกันไม่หมั่นเรียน | ||
ครูก็ดีจี้ไชมิได้หยุด | แกเห็นสุดเอาใจจึงได้เฆี่ยน | ||
หวังให้กลัวอาญาตั้งหน้าเพียร | แต่กลับเพี้ยนผิดคาดถึงขาดกัน | ||
คือบุตรท่านเศรษฐีหนีไปหา | พ่อฟ้องว่า ครูนี้แกตีฉัน | ||
ปลอบให้เรียนก็ไม่ไปจนใจครัน | ต้องเป็นอันเลิกกับครูที่อยู่มา | ||
อุตส่าห์จ้างครูใหม่ตามใจลูก | แต่ไม่ถูกใจบุตรสุดจะหา | ||
ครูคนนั้นฉันเข็ดไม่เมตตา | คนนี้ว่าจู้จี้พิรี้พิไร | ||
แต่เปลี่ยนครูอยู่ฉะนี้ไม่มีเหมาะ | มักทะเลาะเลิกเรียนต้องเปลี่ยนใหม่ | ||
พวกครูๆ เข็ดกลัวกันทั่วไป | ถึงจะให้เงินมากไม่อยากเอา | ||
บิดาผู้รักบุตรสุดจะกลุ้ม | ลูกเป็นหนุ่มใหญ่โตยังโง่เง่า | ||
เที่ยวจ้างครูอยู่ห่างต่างลำเนา | ค่าจ้างเท่าไรนั้นไม่พรั่นกลัว | ||
แต่ก็ไม่ยืดไปเท่าไรนัก | ประเดี๋ยวชักเหหันต้องสั่นหัว | ||
เผอิญมาปะครูที่รู้ตัว | แกหวังชั่วค่าสอนสู้ผ่อนตาม | ||
ศิษย์จะรู้เท่าไรไม่ธุระ | ชื่อเสียงจะเสียไปก็ไม่ขาม | ||
ศิษย์ผู้ใดตั้งหน้าพยายาม | สอนให้ตามแต่รักสมัครเรียน | ||
ครูคนนี้ถูกใจอยู่ได้ยืด | ถึงจะจืดจางการเรื่องอ่านเขียน | ||
ก็ถูกจิตศิษย์ตนย่อมวนเวียน | อยู่จำเนียรโตใหญ่ไร้วิชา | ||
ฝ่ายพ่อแม่รักบุตรสุดจะรัก | บุตรสมัครทางไหนมิได้ว่า | ||
ใช้เงินทองกอบกำไม่นำพา | อยู่ไม่ช้าแกก็ตายทำลายชนม์ | ||
ทรัพย์สมบัติมรดกตกแก่ลูก | ไม่ต้องปลูกเปลืองแรงแสวงผล | ||
มีเพื่อนมาฮาฮือนับถือตน | เฝ้าแต่ขนทรัพย์จ่ายสบายจริง | ||
เอาอะไรได้ทุกอย่างช่างสะดวก | จะหยิบหมวกหมวกรี่เหมือนผีสิง | ||
ทุกอย่างรู้เอาใจไม่ประวิง | ดูเหมือนชิงกันมาคราต้องการ | ||
ไม่ช้านักทรัพย์ลดหมดสะดวก | จะหยิบหมวกหมวกกระเดียดข้างเกียจคร้าน | ||
ถ้าเผลอหน่อยคอยหนีตะลีตะลาน | วิ่งเข้าร้านโรงจำนำไม่อำลา | ||
เพื่อนทั้งมวลล้วนหายเหมือนตายจาก | ที่มีมากคือสหายพวกนายหน้า | ||
บ้านของท่านขายเท่าไร? ให้ราคา | ผมช่วยค้าขายให้ด้วยไมตรี | ||
เพื่อนสนุกพลุกพล่านขายบ้านช่อง | พอเงินทองหมดเรียบก็เงียบจี๋ | ||
ต่อนี้ไปใครเยือนคือเพื่อนดี | ไม่เช่นนี้เพื่อนโหล่โง่ระยำ | ||
บุตรเศรษฐีเป็นมาถึงครานี้ | ไม่เห็นมีมิตรสหายมากรายกล้ำ | ||
ผิวผู้ดีมีกระดากพะอากพะอำ | จะคิดทำการอะไรก็ไม่เป็น | ||
ต้องตรำตรากจากย่านถิ่นบ้านเก่า | ขอทานเขาเลี้ยงตนด้วยข้นเข็ญ | ||
พักสถานศาลเจ้าทุกเช้าเย็น | ค่อยคิดเห็นโทษตัวที่ชั่วมา | ||
คิดถึงเรื่องเก่าแก่พ่อแม่รัก | สู้ฟูมฟักใฝ่ฝึกให้ศึกษา | ||
ตามใจลูกเหลือล้นคณนา | ทุกสิ่งสารพัดไม่ขัดใจ | ||
คิดถึงครูผู้สอนแต่ก่อนเก่า | บางคนเฝ้าฝึกฝนพ้นวิสัย | ||
บางคนเฝ้าจู้จี้พิรี้พิไร | ไม่ถูกใจฟ้องพ่อก็อออือ | ||
จนเหลวไหลได้เข็ญถึงเช่นนี้ | พ่อแม่ที่รักลูกทำถูกหรือ | ||
สิ่งใดพาเสียคนกลับปรนปรือ | ร้องไห้ฮือบ่นว่าเหมือนบ้าบอ | ||
วันหนึ่งไปถึงถิ่นบ้านซินแส | ก็เดินแร่เข้าไปหาตรงหน้าหมอ | ||
ร้องขอทานทันทีไม่รีรอ | ฝ่ายท่านหมอมองหน้าไม่ว่าไร | ||
ลงท้ายแกกลอกหน้าหาว่าหลอก | เฮ้ย. เจ้าวอกเอ็งอย่ามาไถล | ||
หลอกดูลูกสาวข้าหรือว่าไร | หรือเข้าใจว่ากูไม่รู้ที | ||
ข้าหมอดูรู้จักลักษณะ | อย่างมึงน่ะบอกเพศเป็นเศรษฐี | ||
รูปลักษณ์พักตร์เจ้าเผ่าผู้ดี | ทำเช่นนี้ตั้งใจอย่างไรกัน | ||
ลูกเศรษฐีฟังว่าน้ำตาหลั่ง | ตอบเสียงดัง "พ่อแม่รังแกฉัน!" | ||
ร้องไห้โฮซบหน้าพลางจาบัลย์ | คนบ้านนั้นต่างพากันมาดู | ||
ท่านเจ้าข้า! พ่อแม่รังแกฉัน | เขาใฝ่ฝันฟูมฟักฉันอักขู | ||
ฉันทำผิดคิดระยำกลับค้ำชู | จะว่าผู้รักลูกถูกหรือไร | ||
ท่านทายฉันนั้นถูกลูกเศรษฐี | ผู้กลีเลวกว่าบรรดาไพร่ | ||
ซึ่งยังรู้กอบการงานใด ๆ | เลี้ยงชีพได้เพียงพอไม่ขอทาน | ||
โอ๊ย! ยิ่งเล่ายิ่งช้ำระกำเหลือ | โปรดจุนเจือเถอะท่านหมอขอข้าวสาร | ||
เหมือนช่วยชีพข้าเจ้าให้เนานาน | จักเป็นการบุญล้นมีผลงาม | ||
ฝ่ายท่านหมอฟังเล่าสิ้นเค้าเงื่อน | แกจึงเอื้อนโอษฐ์มีวจีถาม | ||
ข้าฟังเจ้าเล่าไปก็ได้ความ | จึงเห็นตามพ่อแม่รังแกตรง | ||
เข็ดหรือไม่ใครรังแกอย่างแม่พ่อ | หรือว่าพอทนดอกบอกประสงค์ | ||
โอ๊ย! หนเดียวชีวิตแทบปลิดปลง | ถ้าซ้ำสองต้องลงอวิจี | ||
อย่ารังแกอีกเลยลูกเคยเข็ด | ขอจงเมตตาเถิดประเสริฐศรี | ||
ท่านหมอฟังยิ้มเยื้อนเอื้อนวจี | เจ้าว่าดีสมจริงทุกสิ่งอัน | ||
ข้าไม่อยากรังแกเช่นแม่พ่อ | ที่เจ้าขอข้าไม่อ่อนตามผ่อนผัน | ||
แม้เจ้าขอสิ่งใดข้าให้ปัน | ก็เป็นอันข้าทำซ้ำรังแก | ||
เจ้าจะตกอวิจีไม่ดีดอก | เจ้าจะออกปากพ้ออย่างพ่อแม่ | ||
ลูกเศรษฐีตกตะลึงทะลึ่งแล | โอ๊ย! ผมแย่ถูกล่อลงบ่อตม | ||
เมื่อไม่ให้ใครจะว่าเจ้าข้าเอ๋ย | นี่กลับเย้ยยกคำทิ่มตำผม | ||
จะไล่ไปก็ไม่ไล่ให้ระทม | ว่าแล้วซมซานกลับด้วยคับใจ | ||
หมอขยับจับบ่าช้าซีเจ้า | คำที่เล่าบอกข้าน่าเลื่อมใส | ||
พ่อแม่รักลูกผิดชนิดไร | เขาก็ได้ทุกข์ถมจนล้มตาย | ||
เวลานั้นตัวเจ้ายังเยาว์อยู่ | จึงไม่รู้ยั้งตนจนฉิบหาย | ||
เดี๋ยวนี้เจ้ารู้สึกสำนึกกาย | จงขวนขวายฝึกหัดดัดสันดาน | ||
ข้าจักเป็นพ่อแม่ช่วยแก้ให้ | ต้องตามใจแต่ข้าจะว่าขาน | ||
ถ้ายอมตามข้าว่าไม่ช้านาน | จักไม่ต้องขอทานเขาต่อไป | ||
ลงท้ายลูกเศรษฐียินดีรับ | ไปอยู่กับซินแสแก้นิสัย | ||
ไม่ว่ามีกิจการสถานใด | แกใช้ให้ทำสิ้นจนชินการ | ||
แกปรานีจี้ไชด้วยใจรัก | จนรู้จักค้าขายหลายสถาน | ||
อยู่กับหมอต่อมาไม่ช้านาน | ก็พ้นการทุรพลเป็นคนแคลน | ||
ชาวเราเอ๋ยพ่อแม่มุ่งแต่รัก | สู้ฟูมฟักในบุตรนั้นสุดแสน | ||
แต่ความรักมักเดินจนเกินแกน | เลยเข้าแดนทุกข์ถมระทมกาย | ||
ดังเศรษฐีรักบุตรสุดสวาท | บุตรอุบาทว์มิได้รักสมัครหมาย | ||
เอาแต่ใจใฝ่ตามความสบาย | พ่อแม่ตายก็เพราะตรมระทมใจ | ||
ยังมิหนำซ้ำว่าด่ากระดูก | หาว่าถูกพ่อแม่รังแกได้ | ||
แต่ชาวเราเนาเขตประเทศไทย | คงจะไม่พบปะขอประกัน | ||
เพราะพระราชบัญญัติอุบัติแล้ว | เหมือนดวงแก้วส่องสว่างทางสวรรค์ | ||
บังคับให้ศึกษาทั่วหน้ากัน | พระคุณธรรม์ข้อนี้ไม่มีเทียม | ||
ที่สุดนี้ชาวเราน้อมเกล้าฯ นบ | พระจอมภพภูบดินทร์พระปิ่นเสียม | ||
พระปลุกใจไทยทั่วตั้งตัวเตรียม | ทุกอย่างเยี่ยมยิ่งคุณวิบุลเอย ฯ | ||