นิราศพระà¹à¸—่นดงรัง (นายมี)
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(→บทประพันธ์) |
(→ข้อมูลเบื้องต้น) |
||
แถว 4: | แถว 4: | ||
[[หมวดหมู่:กลอนสุภาพ]] | [[หมวดหมู่:กลอนสุภาพ]] | ||
[[หมวดหมู่:นิราศ]] | [[หมวดหมู่:นิราศ]] | ||
- | '''ผู้แต่ง:''' [[ | + | '''ผู้แต่ง:''' [[นายมี]] |
ความยังไม่ครบถ้วน | ความยังไม่ครบถ้วน |
การปรับปรุง เมื่อ 09:20, 10 กรกฎาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: นายมี
ความยังไม่ครบถ้วน
บทประพันธ์
๏ นิราศรักหักใจอาลัยหวน | |||
ไปพระแท่นดงรังตั้งแต่ครวญ | มิได้ชวนขวัญใจไปด้วยกัน | ||
ด้วยอยู่ห่างต่างบ้านนาน ๆ ปะ | เหมือนเลยละลืมนุชสุดกระสันต์ | ||
แต่น้ำจิตต์คิดคนึงถึงทุกวัน | จะจากกันเสียทั้งรักพะวักพะวน | ||
ในปีวอกนักษัตร์อัฐศก | ชาตาตกต้องไปถึงไพรสณฑ์ | ||
ลงนาวาหน้าวัดพระเชตุพน | พี่ทุกข์ทนถอนใจครรไลจร | ||
เหลืออาลัยเหลียวหลังจะสั่งน้อง | เฝ้ามอง ๆ มุ่งเขม้นไม่เห็นสมร | ||
เห็นวัดโพธิ์โสภาสถาพร | สง่างอนงามพริ้งทุกสิ่งอัน | ||
โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง | ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์ | ||
แต่ตัวเรียมร้างนุชสุดรำพัน | สักกี่วันจะได้คืนมาชื่นชม | ||
. | |||
. | |||
. | |||
พี่สั่งพลางโศกพลางมากลางน้ำ | ถึงหน้าตำหนักแพกระแสสินธุ์ | ||
เห็นนางในใสสดหมดมณฑิล | ทำดีดดิ้นดัดจริตสะกิดกัน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
มาตะบึงถึงคลองบางกอกน้อย | ยิ่งเศร้าสร้อยเสียใจเป็นใหญ่หลวง | ||
โทรมนัสกลัดกลุ้มถึงพุ่มพวง | จนเลยล่วงครรไลเข้าในคลอง | ||
เห็นตลาดท้องน้ำประจำขาย | บ้างแจวพายอึงอื้อมาซื้อของ | ||
เห็นสาว ๆ แม่ค้าน่าประคอง | พี่ลอง ๆ ปะตาน่าเอ็นดู | ||
ช่างงามเหมือนโฉมเฉลาเยาวยอด | ยังไม่ถอดกำไลใส่ต่างหู | ||
น่าสงสารคอนพายมาขายพลู | ถ้าได้อยู่กับพี่จะดีครัน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ถึงวังหลังเห็นวังสงัดเงียบ | เย็นระเยียบรกตานิจจาเอ๋ย | ||
แต่ก่อนเปรื่องเรืองฟ้าสง่าเงย | พระคุณเอยเย็นเกล้าชาวบุรี | ||
สามพระองค์ทรงชำนาญในการศึก | ออกสอึกราญรบไม่หลบหนี | ||
แต่ครั้งก่อนพวกพม่ามาราวี | พระตอนตีแตกยับอัปรา | ||
ทุกวันนี้มีแต่พระนามเปล่า | พระผ่านเผ้านิพพานนานนักหนา | ||
เสียดายแต่องค์พงศ์กษัตริย์ขัตติยา | ชลนานองเนตรสังเวชวัง | ||
ถึงบ้านบุบุขันสนั่นก้อง | เขาหลอมทองเทถ่ายละลายไหล | ||
ทรวงพี่ร้อนเหมือนหนึ่งทองในกองไฟ | ทำกระไรร้อนเราจะเบาบาง | ||
ถึงวัดทองทองทาบอยู่ปลาบเปล่ง | พี่แลเล็งเนื้อทองยิ่งหมองหมาง | ||
คิดไปถึงแหวนทองของน้องนาง | เคยสำอางค์ใส่อวดประกวดกัน | ||
พี่เคยขอแหวนยอดน้องถอดให้ | มาสวมใส่นิ้วขวับแล้วรับขวัญ | ||
โอ้อกเอ๋ยเคยชื่นทุกคืนวัน | คิดถึงขวัญนัยนาให้อาวรณ์ | ||
มาถึงวัดชีปะขาวให้เศร้าสร้อย | นาวาลอยลับไปไกลสมร | ||
พี่กล้ำกลืนโศกาอนาทร | สะท้อนถอนจิตต์ใจไม่สบาย | ||
ถึงตำบลบางระมาดอนาถจิตต์ | เหมือนพี่คิดมุ่งมาดสวาทหมาย | ||
ก็ได้สมชมน้องประคองกาย | แล้วกลับกลายพลัดพรากไปจากทรวง | ||
มาถึงวัดไก่เตี้ยยิ่งเสียจิตต์ | พี่ยิ่งคิดเสียดายไม่หายห่วง | ||
ยิ่งแลลับแก้วตาสุดาดวง | ครรไลล่วงเลื่อนลอยนาวามา | ||
มาถึงวัดพิกุลให้ฉุนชื่น | หอมระรื่นดอกดวงพวงบุปผา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เห็นต้นโศกเป็นดอกออกระดะ | โศกปะทะสองช้ำทำไฉน | ||
โอ้โศกต้นเข้าระคนกับโศกใจ | ทำกระไรโศกเราจะเบาบาง | ||
เห็นดงรังริมคลองทั้งสองฟาก | ยิ่งรักมากมัวจิตต์พิศวง | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ถึงบางกรวยให้ระทวยระทดทอด | แทบม้วยมอดมรณังสิ้นสังขาร | ||
พี่แข็งขืนกลืนกล้ำที่รำคาญ | ทำชื่นบานแย้มเยื้อนเป็นเพื่อนกัน | ||
มาตะบึงลุถึงบางอ้อยช้าง | ไม่วายว่างวิโยคที่โศกศัลย์ | ||
นั่งคนึงถึงนุชสุดรำพัน | แล้วผายผันรีบมาในวาริน | ||
กระทั่งถึงบางขนุนให้ขุ่นจิตต์ | นั่งพินิจนึกในฤทัยถวิล | ||
เห็นขนุนหนามหนาไม่น่ากิน | แต่รสกลิ่นภายในชอบใจคน | ||
เหมือนรูปชั่วใจดีเจ้าพี่เอ๋ย | ไม่เลือกเลยสุดแท้แต่กุศล | ||
ที่รูปดีใจชั่วตัวซุกซน | ไม่เป็นผลคบยากลำบากใจ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
มาถึงบางขุนกองให้หมองหมาง | ระยะทางที่จะไปยังไกลเหลือ | ||
โอ้แต่นี้มีแต่จะหนาวเนื้อ | ไม่ได้เสื้อมาห่มยิ่งตรมใจ | ||
ถึงบ้านจีนจีนมีที่นี่หรือ | จึงเรียกชื่อจีนจามให้ความฉงน | ||
ชื่อบ้านจีนแล้วทำไมให้ไทยปน | โอ้ตำบลนี้วิบัติอัศจรรย์ | ||
มาถึงบ้านนายไกรฤทัยหมอง | คิดถึงเรื่องไกรทองยิ่งโศกศัลย์ | ||
เขาเรืองฤทธิ์คิดฆ่าชาละวัน | แล้วชมขวัญโฉมศรีวิมาลา | ||
นางกลับเป็นจรเข้เที่ยวเร่ร่อน | ไกรทองนอนคนเดียวเปลี่ยวนักหนา | ||
คิดถึงน้องร้องไห้ฟายน้ำตา | อุปมาเหมือนเรานี้เศร้าใจ | ||
มาถึงวัดอุทยานสำราญจิตต์ | ที่เพ่งพิศพฤกษาบุปผาไสว | ||
เหมือนสวนสวรรค์ชั้นฟ้าสุราลัย | หอมดอกไม้น่าดมลมรำเพย | ||
ถ้าน้องมากับพี่จะชี้บอก | ว่าโนนดอกสารภีเจ้าพี่เอ๋ย | ||
รสสุคนธ์คนชมภิรมย์เชย | เหมือนพี่เคยชมน้องในห้องนอน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ถึงบางระนกบางคูเวียงเคียงกันอยู่ | เหมือนอย่างคู่เชยชมภิรมย์ขวัญ | ||
ทั้งสองบางปากบางไม่ห่างกัน | อัศจรรย์บ้านนี้ดีสุดใจ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ถึงโรงหีบเห็นเขาหีบแต่น้ำอ้อย | ดูหยดย้อยรองไว้ได้นักหนา | ||
พี่รักน้องถ้าระรองเอาน้ำตา | คงมากกว่าน้ำอ้อยแล้วกลอยใจ | ||
ชะรอยรักโฉมฉายมาหลายชาติ | เป็นบุพเพสันนิวาสหรือไฉน | ||
ยิ่งคิดถึงแก้วตาที่อาลัย | ในจิตต์ใจพี่นี้ไม่มีสบาย | ||
ถึงบางม่วงเห็นพวงมะม่วงห้อย | คิดจะสอยก็ไม่สมอารมณ์หมาย | ||
จะปีนต้นก็ยากลำบากกาย | พี่นึกหมายนิ่งอดเหมือนมดแดง | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ถึงบางใหญ่แต่ชื่อเขาลือเล่า | ไม่ใหญ่เท่าทุกข์พี่ที่จากสมร | ||
พี่ทุกข์เท่าฟ้าดินคิรินทร | ไม่หยุดหย่อนโศกาน้ำตาคลอ | ||
มาตามทางบางใหญ่ไกลนักหนา | ไม่เห็นหน้าน้องแก้วพี่แล้วหนอ | ||
มาถึงด่านด่านเรียกให้เรือรอ | แล้วเลยต่อไปในวนชลธาร | ||
มาถึงวัดส้มเกลี้ยงพอเที่ยงสาย | สกนธ์กายร้อนเริงดังเพลิงผลาญ | ||
เห็นส้มเกลี้ยงน่าจะกลืนให้ชื่นบาน | เปรี้ยวหรือหวานก็ไม่รู้ดูแต่ตา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ไม่รู้จักชื่อบ้านรำคาญจิตต์ | นั่งพินิจแนวทางมากลางหน | ||
จนออกทุ่งมุ่งดูพระสุริยน | เมฆหมอกหม่นหมองมัวเหมือนตัวเรา | ||
โอ้สงสารสุริยาฟ้าพยับ | จะเลื่อนลับยุคนธรศิงขรเขา | ||
พระอาทิตย์ดวงเดียวเปลี่ยวเหมือนเรา | กำสรดเศร้าโศกาเอ้กากาย | ||
ถึงมีเพื่อนเหมือนพี่ไม่มีเพื่อน | เพราะไม่เหมือนนุชนาฏที่มาดหมาย | ||
มีเพื่อนเล่นก็ไม่เหมือนกับเพื่อนตาย | มีเพื่อนชายก็ไม่เหมือนมีเพื่อนชม | ||
. | |||
. | |||
. | |||
มาตะบึงลุถึงหัวโยงเชือก | เป็นโคลนเทือกท้องนาชลาสินธุ์ | ||
คลองเล็กล้ำน้ำตื้นเห็นพื้นดิน | ไม่ได้กินน้ำท่าระอาใจ | ||
ต้องจ้างโยง ๆ เรือเหลือลำบาก | ให้ควายลากเรือเลื่อนเขยื่อนไหว | ||
ผูกระนาวยาวยืดเป็นพืดไป | ทั้งเจ๊กไทยปนกับสนั่นอึง | ||
ไม่พักแจวพักถ่อให้รอช้า | เป็นราคาประจำลำสลึง | ||
ควายก็เดินดันดังเสียงกังกึง | พอเชือกตึงเรือตามเป็นหลามมา | ||
จนพลบค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย | พระจันทร์ลอยเด่นดวงช่วงเวหา | ||
ดาวประดับวับวาวอร่ามตา | ดูท้องฟ้าอ้างว้างกลางอัมพร | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ไม่มีมุ้งยุงกัดสะบัดหนาว | ทั้งลมว่าวพัดต้องให้หมองหมาง | ||
เห็นเพื่อนเรือเมื่อตอนจะรุ่งราง | มีมุ้งกางกอดเมียอยู่เคลียคลอ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ทั้งคับใจคับที่เจ้าพี่เอ๋ย | ไม่หลับเลยจนสว่างกระจ่างฉาย | ||
เขาโยงเรือรับรุดไม่หยุดควาย | มาจนสายจึงพ้นตำบลโยง | ||
มาถึงด่านบ้านนอกออกแม่น้ำ | ดูลึกล้ำน่ากลัวจรเข้โขง | ||
พี่นั่งเรือขึ้นไว้มิให้โคลง | แจวชะโลงล่องน้ำมาลำเดียว | ||
มาถึงลานตากฟ้าเวลาเช้า | ยิ่งโศกเศร้าเสียใจอาลัยเหลียว | ||
เป็นทุ่งนาหญ้ารกวิหคเกรียว | กะทุงเที่ยวเลียบหนองคอยมองปลา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ยิ่งรำพันตันจิตต์ให้คิดถึง | แทบประหนึ่งจะเด็ดดิ้นสิ้นสังขาร | ||
เรือก็ล่องตามคลองแม่น้ำมา | ไม่รอรารีบรัดผลัดกันแจว | ||
ถึงงิ้วรายหมายคุ้งมุ่งเขม้น | พี่แลเห็นต้นงิ้ว เป็นทิวแถว | ||
แต่ตัวน้องพี่มองไม่เห็นแล้ว | เห็นแต่แนวแม่น้ำนั้นร่ำไป | ||
มาถึงบ้านสามประทวนหวนละห้อย | น้ำเนตรย้อยซึมโซมชะโลมไหล | ||
ให้หิวหอบบอบช้ำระกำใจ | พลางครรไลล่องลอยนาวามา | ||
ถึงนครไชยศรีมีโรงเหล้า | เป็นของเมาตัดขาดไม่ปรารถนา | ||
ไม่เมาเหล้าเมาแต่รักหนักอุรา | เมายิ่งกว่าเมาเหล้ายิ่งเศร้าใจ | ||
อันรักมักหลงพะวงรัก | ใครจะรักฉกไว้ก็ไม่ไหว | ||
กำลังมืดเมามัวไม่กลัวใคร | คงจะไปหารักที่พักพิง | ||
อันทุกข์โศกโรคร้อนนอนไม่หลับ | เกิดสำหรับร่างกายทั้งชายหญิง | ||
ด้วยรักกันฟั่นเฝือเหลือประวิง | อนาถนิ่งนอนนึกรำลึกกัน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
๏ ถึงบางแก้วมองเขม้นไม่เห็นแก้ว | เห็นแต่แนวดงพฤกษาสลอน | ||
มีวัดหนึ่งโตใหญ่ใกล้สาคร | สง่างอนช่อฟ้าศาลาสะพาน | ||
ดูเบื้องบนอาวาสก็ลาดเลี่ยน | ต้นตะเคียนร่มรกปกวิหาร | ||
ทั้งสระโกสุมภ์ประทุมมาลย์ | บ้างตูมบานเกษรอ่อนละออ | ||
พี่คิดถึงบัวทองของน้องแก้ว | ยังผ่องแผ้วพรรณรายเสียดายหนอ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
พระสุริยฉายสายแสงขึ้นแข็งกล้า | รีบเรือมามิได้หยุดพี่สุดหมอง | ||
ยิ่งร้อนแดดแผดพยับอับละออง | ไม่ผุดผ่องผิวค้ำระกำใจ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
รำพันพลางทางมาถึงวัดสิงห์ | พี่นั่งนิ่งนึกไปฤทัยหวาม | ||
ประณมหัตถ์ทัศนาพระอาราม | แล้วมาตามคลองน้อยละห้อยใจ | ||
๏ ถึงวัดท่าเป็นท่าที่เรือจอด | ไม่เปล่าปลอดเรือแพแลไสว | ||
สิ้นหนทางคงคาชลาลัย | จะขึ้นไปเดินป่าพนาวัน | ||
สัปรุษหยุดเรืออยู่พร้อมหน้า | เสียงเฮฮาอึงอื้อหือฤาหรรษ์ | ||
เป็นพวกพ้องเข้าประสพสมทบกัน | จะผายผันพวกเดียวก็เปลี่ยวใจ | ||
ไปจ้างเกวียนชาวนาสิบห้าเล่ม | บรรทุกเต็มพร้อมกันเสียงหวั่นไหว | ||
ทั้งหนุ่มสาวเฒ่าแก่ออกแซร่ไป | จะเดินไพรสนุกไม่ทุกข์ร้อน | ||
เขาออกเกวียนพร้อมหน้าเวลาบ่าย | แลดูควายเดินระดับสลับสลอน | ||
เจ้าของหวดด้วยตะพดให้บทจร | เกวียนสะท้อนกงสะเทือนเขยื้อนดัง | ||
ดูดุมวงกงหมุนเป็นฝุ่นฟุ้ง | คนเดินมุ่งมาตรมาทั้งหน้าหลัง | ||
ถืออาวุธกันภัยระไวระวัง | ไม่รอรั้งรีบมาเป็นช้านาน | ||
ถึงบ้านธรรมศาลาพนาสณฑ์ | เป็นตำบลใหญ่โตระโหฐาน | ||
เขาบอกว่าบ้านนั้นแสนกันดาร | ตำข้าวสารกรอกหม้อไม่พอกิน | ||
ดูเหย้าเรือนเคหา น่าสังเวช | เต็มทุเรศรุงรังไปทั้งสิ้น | ||
ถึงยากจนทนสู้เขาอยู่ชิน | ไม่ทิ้งถิ่นทิ้งทางให้ร้างโรย | ||
แต่ตัวเรียมร้างนุชมาสุดเนตร | แสนทุเรศร่ำไห้ไม่วายโหย | ||
. | |||
. | |||
. | |||
๏ ถึงประโธนธารามพราหมณ์เขาสร้าง | เป็นพระปรางค์แต่โบราณนานนักหนา | ||
แต่ครั้งดวงพระธาตุพระศาสดา | พราหมณ์ศรัทธาสร้างสรรค์ไว้มั่นคง | ||
บรรจุพระทะนานท่องของวิเศษ | พี่น้อมเกศโมทนาอานิสงส์ | ||
จุดธูปเทียนอภิวันด้วยบรรจง | ถวายธงแพรผ้าแล้วพาจร | ||
ดูสองข้างมรรคาล้วนป่าไผ่ | เขาตัดใช้ทุกกอตอสลอน | ||
หนามแขนงแกว่งห้อยรอยเขารอน | บ้างเป็นท่อนแห้งหักทะลักทะลุย | ||
ที่โคนไผ่ไก่ป่ามาซุ่มชุก | บ้างกอกุกเขี่ยดินกินลุกขุย | ||
พอเห็นคนวนบินดินกระจุย | เห็นร่องคุ้ยรอบข้างหนทางจร | ||
บรรลุถึงพระปฐมประทับหยุด | สัปบุรุษเซ็งแซร่แลสลอน | ||
แวะขึ้นไปไหว้พระปฐมประณมกร | สโมสรโสมนัสนมัสการ | ||
ต่างระรื่นชื่นจิตต์พิศวง | เที่ยวเวียนวงไหว้รอบขอบสถาน | ||
พระปรางค์ใหญ่มีอยู่แต่บุราณ | สูงตระหง่านยอดเยี่ยมเทียมอัมพร | ||
มีบันไดขึ้นไปประทักษิณ | แลเห็นสิ้นทุกทิศจิตต์สยอน | ||
ดูต้นไม้ในป่าเหมือนหญ้าบอน | ระเนนนอนแนบชิดติดสุธา | ||
ดูแผ่นดินรายรอบเป็นขอบขันธ์ | เป็นหมอกควันแลไปไกลนักหนา | ||
ข้างพื้นล่างกลางลานชานชลา | มีพฤกษาร่มรื่น เป็นพื้นทราย | ||
พี่ชมพลางทางพบอภิวาท | สุคนธชาติบุปผาบูชาถวาย | ||
สัปรุษพร้อมพรั่งทั้งหญิงชาย | กราบถวายวันทาแล้วลาลง | ||
เที่ยวเลี้ยวลัดทัศนาพระอาวาส | ดูอนาถน้ำจิตต์พิศวง | ||
บริเวณวัดวาเป็นป่าดง | ดูงวยงงล่วงมาช้านาน | ||
พระปฐมของบรมกษัตริย์สร้าง | เป็นพระปรางค์ใหญ่โตระโหฐาน | ||
สูงเท่านกเขาเหินเกินทะยาน | พระยาพาลก่อสร้างไว้ล้างกรรม | ||
เธอหลงฆ่าปิตุรงค์ทิวงคต | เขารู้หมดเรื่องความไม่งามขำ | ||
เธอทำผิดคิดได้ไม่เป็นธรรม | จึงกลัวกรรมก่อสร้างพระปรางค์ทอง | ||
พี่ได้ฟังเรื่องราวเขาเล่ามาก | เมื่อยามยากคิดไปฤทัยหมอง | ||
ข้ามห้วยหนองคลองบึงถึงอ้ายกอง | สกุณาร้องรัญจวนถึงนวลระหงส์ | ||
พอโพล้เพล้เวลาจะค่ำลง | ให้งวยงงง่วงเหงาเศร้าฤทัย | ||
เสียงจักจั่นแจ้ว ๆ ให้แว่วหวาด | หนาวอนาถนึกน่าน้ำตาไหล | ||
ยะเยือกเย็นเส้นหญ้านภาลัย | วังเวงใจจะมาในราตรี | ||
แล้วหยุดนอนในป่าเวลาดึก | คะนึงนึกถึงน้องให้หมองศรี | ||
หักใบไม้ปูลาดกวาดธุลี | กองอัคคีรอบเกวียนเวียนระวัง | ||
บ้างก็กินโภชนากระยาหาร | ต่างสำราญสู่สมอารมณ์หวัง | ||
บ้างหาร่มไม้ชิดให้ปิดบัง | พอยับยั้งกายตามยามกันดาร | ||
แต่ตัวพี่นอนกลางหว่างต้นไม้ | ยกมือไหว้เทพาพฤกษาสาณฑ์ | ||
อย่าให้มีโภยภัยสิ่งใดพาล | นมัสการแปดทิศแล้วนิทรา | ||
จนดึกดื่นเดือนสว่างกระจ่างแจ้ง | จรัสแสงส่องสอดยอดพฤกษา | ||
น้ำค้างพรมลมว่าวหนาวอุรา | พี่ห่มผ้าซ้อนผืนไม่ชื่นจิตต์ | ||
ไม่อุ่นเหมือนแนบกายสายสวาท | โศกไสยาศน์เกลือกกลับไม่หลับไหล | ||
ลุกขึ้นนั่งหลังอิงแล้วผิงไฟ | ได้ยินไก่เถื่อนขันสำคัญยาม | ||
เสียงจิ้งหรีดกรีดกริ่งระหริงร้อง | เย็นสมองเยี่ยมย่างเข้ายามสาม | ||
จนแสงทองส่องฟ้าสง่างาม | เรืองอร่ามรุ่งรางสว่างวัน | ||
ต่างคนต่างตื่นขึ้นพร้อมหน้า | แล้วรีบมาเร็วไวในไพรสัณฑ์ | ||
ระยะทางกลางไพรยังไกลกัน | แทบอาสัญทางทุเรศสังเกตมา | ||
หนทางเกวียนเตียนโล่งตลอดลิ่ง | สะพร่างทิวแถวไม้ไพรพฤกษา | ||
ระบัดลมร่มรื่นพื้นสุธา | ดาษดาดอกก็ดวงร่วงราย | ||
บ้างทรงผมหล่นหนักเป็นอัคนิษฐ์ | ไม่พักปลิดก็ได้ดังใจหมาย | ||
ถ้าน้องมาเห็นจะพาพี่สบาย | จะชวนสายสุดที่รักให้ชมดง | ||
. | |||
. | |||
. | |||
๏ มาถึงลาดหญ้าไทรให้ใจหาย | ตะวันสายเสียใจด้วยไกลสมร | ||
เห็นไฟป่าไหม้ป่ายิ่งอาวรณ์ | ทรวงพี่ร้อนเริงแรงดังแสงไฟ | ||
เห็นลมพัดปัดควันไปปั่นป่วน | เหมือนลมหวนป่วนจิตต์พิสมัย | ||
เห็นหนองน้ำขุ่น ๆ สนุ่นไคล | เหมือนดวงใจที่พี่ช้ำระกำตรอม | ||
. | |||
. | |||
. | |||
๏ มาถึงโป่งลูกวัวน่ากลัวผี | เสียงชะนีโหยไห้พิไลหวน | ||
พี่คิดว่าเสียงนางมาครางครวญ | ให้รัญจวนจรมาในอารัญ | ||
เห็นต้นไทรใหญ่โตระโหถาน | สูงตระหง่านเงื้อมป่าอนาสัณฑ์ | ||
พี่หยุดยั้งนั่งนบอพภิวันท์ | พลางรำพันนึกในฤทัยปอง | ||
คิดถึงเรื่องอุณรุทกับอุษา | พระเทพาอุ้มสมภิรมย์สอง | ||
แล้วเทวาพาพรากมาจากน้อง | พระร่ำร้องหานางเหมือนอย่างเรา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
๏ ถึงหนองโพธิ์ ๆ มีที่ริมหนอง | ต้นโพธิ์ทองปากป่าคนอาศัย | ||
ครั้นลมพัดกวัดแกว่งพลิกแพลงใบ | ที่ภายใต้ร่มรื่นชื่นอุรา | ||
พี่นั่งนบอภิวันทแล้วผันผาย | ไม่เหือดหายโหยหวนรัญจวนหา | ||
เห็นนกไม้ในดงพงพนา | ไม่เห็นหน้านิ่มนวลยิ่งครวญคราง | ||
๏ มาถึงห้วยหมอนทองมองเขม้น | แลไม่เห็นหมอนทองยิ่งหมองหมาง | ||
คิดถึงหมอนเคยนอนกับหมอนนาง | ทั้งหมอนข้างหมอนอิงเคยพิงกาย | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ด้วยราหูจู่จับเข้าทับลักษณ์ | นิราศรักร้อนใจดังไฟผลาญ | ||
พี่รักน้องมิได้อยู่เป็นคู่นาน | มาเกิดการกำจัดวิบัติเป็น | ||
. | |||
. | |||
. | |||
๏ ถึงหนองกระบอกซอกธารสถานที่ | หนองจะมีคงคาต่อหน้าฝน | ||
ฤดูแล้งแห้งหายสิ้นสายชล | มีแต่ต้นไม้สล้างข้างลำธาร | ||
ต้นซีกซากโศกไทรมะไฟป่า | เคียนมะค่าคางแคแสมสาร | ||
กะเบียนกะบากหมากลิงมะพร้าวตาล | สุดประมาณหมู่ไม้ที่ในดง | ||
ขี้เกียจกล่าวราวป่าจะช้าถึง | รีบตะบึงมาในไพรระหงส์ | ||
จนเบี่ยงบ่ายชายแสงพระสุริยง | อุตส่าห์ทรงการเดิมดำเนินจร | ||
มาถึงห้วยปรากตเขาปลดเกวียน | เป็นที่เตียนหยุดประทับสลับสลอน | ||
ลงอาบน้ำดำเกล้าบันเทาร้อน | เห็นสาครลึกซึ้งเป็นบึงโต | ||
ทั้งสองฟากครื้นครึกล้วนพฤกษา | มีเต่าปลาพรั่งพรูอยู่อักโข | ||
ฝูงสวายว่ายเรียงเคียงเทโพ | ดุกชะโดโดดดิ้นเข้ากินไคล | ||
ตะเพียนทองล่องลอยขึ้นพ้นน้ำ | กระดี่ดำแหวกว่ายอยู่ไสว | ||
ตะโกกาปลาสร้อยก็ลอยไป | เข้าแฝงใบจอกกะจับให้ลับกาย | ||
ยิ่งชมปลาอาวรณ์ให้ร้อนจิตต์ | นึกถึงคู่ชีวิตแล้วใจหาย | ||
. | |||
. | |||
. | |||
รำพันพรางทางแลดูพวกเพื่อน | ออกกล่นเกลื่อนรายเรียงเสียงขรม | ||
ลงอาบน้ำดำมุดบ้างผุดจม | เอาโคลนตมขว้างกันสนั่นไป | ||
พวกผู้หญิงปลิงกัดสะบัดร้อง | ขึ้นจากหนองปลดปลิงวิ่งไสว | ||
ที่ลางคนกล้าแข็งแรงสุดใจ | ก็เล่นไล่เอาเถิดเกิดพะนัน | ||
พวกผู้ชายว่ายจับกันสับสน | ได้นางคนหนึ่งแรงแข็งขยัน | ||
ขยุ้มคลำปะแล้วละกัน | เสียงสนั่นเฮฮาในวารี | ||
แล้วขึ้นจากคงคาเวลาบ่าย | ทั้งหญิงชายปรีด์เปรมเกษมศรี | ||
ก็ออกเกวียนพร้อมกันไปทันที | เกวียนของพี่ออกหน้าน้องพาจร | ||
ระรวยรื่นชื่นหอมพยอมสด | คันธรสโรยร่วงพวงเกสร | ||
ต้องพระพายชายช่ออรชร | หมู่ภมรคลึงเคล้าเฝ้าเชยชม | ||
แมลงภู่เป็นคู่ของบุปผา | โบราณว่ามีจริงทุกสิ่งสม | ||
หญิงกับชายเป็นคู่ดูอารมณ์ | ทั่วปฐมกัปปกัลปพุทธันดร | ||
ใครมีคู่พลัดคู่อยู่ไม่สุข | มักเกิดทุกข์ใหญ่ยิ่งกว่าสิงขร | ||
เหมือนตัวเรียมร่ำรักหนักอาวรณ์ | ด้วยจากจรมิได้อยู่เป็นคู่เชย | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ยิ่งคิดไปใจตื้นสะอื้นไห้ | พลางครรไลเลยมาในป่าเขียว | ||
เห็นค่างลิงวิ่งโลดกระโดดเกรียว | บ้างกลับเหลียวหลังหลอกตะคอกคน | ||
ลางลิงก็เกาะกิ่งพฤกษาโหน | ลางลิงโจนจับคว้าผลาผล | ||
ขี้เกียจดูหมู่ลิงวิ่งซุกซน | ก็รีบล้นเร็วมาในป่าดอน | ||
พระสุริยายอแสงลงแฝงเฝือ | ถึงพระยาพายเรือไม่หยุดหย่อน | ||
ที่ย่านนั้นดูสนุกที่ฝั่งนอน | เป็นทรายอ่อนขาวสะอาดไม่บาดตา | ||
แต่ปางก่อนเป็นลำแม่น้ำกว้าง | ดูสองข้างยังเห็นเป็นฝั่งฝา | ||
แต่น้ำแห้งเหือดหายสายชลา | เป็นสุธารื่นราบดังปราบลาน | ||
ยิ่งพินิจคิดไปแล้วใจหาย | ก็ผันผายล่วงลัดพนัสสถาน | ||
พระสุริยง ลงลับพะโยมมาน | ก็ข้ามบ้านโป่งมาเข้าป่ารัง | ||
ถึงพระแท่นแสนสนุกทุกข์ค่อยหาย | เห็นรังรายใจปลื้มจนลืมหลัง | ||
พวกชายหญิงสัปรุษก็หยุดยัง | เข้าแอบบังพฤกษาริมอาราม | ||
พอพลบค่ำทำที่จะอาศัย | บ้างปักไม้เกะกะแล้วสะหนาม | ||
บ้างก่อไฟจุดใต้ตะเกียงตาม | ดูอร่ามรายเรียงเคียงกันไป | ||
แล้วพักผ่อนนอนหลับระงับงีบ | จนแสงทองสองทวีปสว่างไสว | ||
เอาธูปเทียนบุปผาสุมาลัย | ชวนกันไปไหว้พระแท่นแผ่นศิลา | ||
ในระวางนางรักทั้งคู่ค้อม | คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา | ||
แต่ไม้รังยังรักพระศาสดา | อนิจจาเกิดมาไม่ทันองค์ | ||
เห็นแต่แท่นแผ่นผายังปรากฎ | แสนกำสรดเศร้าจิตต์พิศวง | ||
น้ำเนตรหยัดหยดย้อยเป็นฝอยลง | คิดถึงองค์สัพพัญญูตัญญาณ | ||
พระองค์โปรดเทวาแลมนุษย์ | ให้สูงสุดสิ้นโอฆโลกสงสาร | ||
พระชนม์ได้แปดสิบก็นิพพาน | โปรดประทานศาสนาไว้ห้าพัน | ||
พระองค์เกิดในบุรินทร์กบิลพัสดุ | เป็นกษัตริย์ศรีสุขเกษมสันต์ | ||
มานิพพานในป่าพนาวัน | ถ้าเกิดทันแล้วจะทูลอาราธนา | ||
มิให้องค์ทรงญาณนิพพานก่อน | ให้ถาวรอยู่สืบพระศาสนา | ||
ยิ่งคิดไปใจหายฟายน้ำตา | แทบชีวาจะพินาศเพียงขาดใจ | ||
แลเห็นก้อนโลหิตประดิษฐาน | ยิ่งสงสารสังเวชน้ำเนตรไหล | ||
ประคองวางกลางเกล้าเฝ้าพิไร | แล้วกราบไหว้ตั้งวางไว้อย่างเดิม | ||
ดูพระแท่นแล้วก็แสนจะสังเวช | ถ้าเรืองเดชนิมิตมณฑปเสริม | ||
จะสร้างวัดจัดแจงตบแต่งเติม | ไว้เฉลิมโสภาสถาพร | ||
นี่จนจิตต์ฤทธีหามีไม่ | ยิ่งคิดไปยิ่งทอดฤทัยถอน | ||
โอ้พระแท่นแผ่นผาอยู่ป่าดอน | แต่ปางก่อนที่นี่เป็นที่เมือง | ||
ชื่อกรุงโกสินารายณ์สบายนัก | เป็นเอกอัครออกชื่อย่อมลื่อเลื่อง | ||
ทั้งแก้วแหวนเงินทองก็นองเนือง | ไม่ฝืดเคืองสมบัติกษัตรา | ||
มีสวนแก้วอุทยานสำราญรื่น | ดูดาษดื่นดอกดวงพวงบุปผา | ||
ปลูกไม้รังตั้งแท่นแผ่นศิลา | คือแผ่นผาอันนี้ท่านนิพพาน | ||
ของพระยามลราชประสาทไว้ | ย่อมแจ้งใจทุกประเทศเขตต์สถาน | ||
ที่สำคัญมั่นหมายหลายประการ | สมนิพพานเรื่องเทศน์สังเกตฟัง | ||
แต่บ้านเรือนศูนย์หายกลายเป็นป่า | พยัคฆาอาศัยดังใจหวัง | ||
พระอุทยานร้างราเป็นป่ารัง | อนิจจังอนาถจิตต์อนิจจา | ||
เดชะบุญได้นบอภิวาท | ไม่เสียชาติที่ได้พบพระศาสนา | ||
รำพันพลางทางก้มบังคมลา | ถอยออกมาเที่ยวชมพนมเนิน | ||
ขึ้นคีรีที่ถวายพระเพลิงเผา | บันไดเหล่าลดหลั่นเป็นคั่นเขิน | ||
ขึ้นถึงยอดทอดตาดูน่าเพลิน | เหมือนเหาะเหิรเห็นรอบขอบมณฑล | ||
ดูทิศทางบูรพาน่าวิเวก | เห็นเทียมเมฆกลุ้มเกลื่อนเลื่อนเวหน | ||
ข้างทิศใต้ทิวไม้เป็นหมอกมม | แลดูคนตัวนิด ๆ ติดสุธา | ||
เห็นเขาใหญ่ตะคุ่มชะอุ่มเขียว | ดูลดเลี้ยวหลายหลากชะวากผา | ||
พยับลมกลมกลืนกับพื้นฟ้า | ทัศนานั่งแลอยู่แต่ไกล | ||
พินิจพลางทางเดินบนเนินผา | เห็นศิลาแวววามงามไสว | ||
พรรณรายพรายแพรวดูแววไว | และวิไลเลื่อม ๆ ละลานตา | ||
บ้างเป็นก้อนกลิ้งกลมบ้างคมแหลม | เป็นแถวแกมเกิดก้อนชะง่อนผา | ||
เป็นที่เทพนิรมิตด้วยฤทธา | พิจารณาสมความตามบาลี | ||
เป็นก้อนแก้วแวววาบปละปลาบแสง | คือเครื่องแต่งพระศพพระชินศรี | ||
จึงเกิดเป็นบรรพตปรากฎมี | ด้วยเป็นที่ถวายเพลิงเชิงตะกอน | ||
ยิ่งพิศดูภูผาน้ำตาตก | อยากใคร่ยกโยกยอดให้ถอดถอน | ||
มาปลูกฝังตั้งวางกลางนคร | ให้ถาวรวันทาบูชาชม | ||
ยกไม่ไหวจนใจไม่มีฤทธิ์ | สุดจะคิดขนเหินแผ่นดินถม | ||
แล้วลงจากเขาเขินเนินพนม | เที่ยวเชยชมบุปผาชาติดาษดา | ||
เห็นลั่นทมลมพัดสลัดล่วง | เป็นพุ่มพวงกลิ่นหอมทั้งจอมผา | ||
ต้นงอกขึ้นตามพื้นพสุธา | ดาษดาร่มรื่นด้วยพื้นทราย | ||
เห็นสายหยุด ๆ ยืนให้ชื่นจิต | ที่ยิ่งคิดถึงนุชยิ่งสุดหมาย | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ไม่มีไม้อื่นปนต่อสล้าง | ดูกิ่งกางคดค้อมน้อมไสว | ||
เป็นดอกดวงร่วงผลัดสลัดใบ | ที่ภายใต้ราบรื่นด้วยพื้นทราย | ||
เสียงเรไรจักจั่นสนั่นก้อง | สกุณีร้องเพรียกหูไม่รู้หาย | ||
ประดุจเสียงขำบำเรอราย | ร้องถวายพระแท่นในแดนดง | ||
ฟังวิเวกวังเวงดังเพลงสวรรค์ | อัศจรรย์จับจิตต์พิศวง | ||
พี่เที่ยวทั่วบริเวณจังหวัดวง | จนเลยหลงลับทางมากลางไพร | ||
เห็นพยอมยางยูงสูงสลอน | ดูซับซ้อนโสกสนต้นไสว | ||
ตะลิงปลิงปริงปรางมะทรางไทร | มะคำไก่กันเกาะสะเดาดง | ||
กะถินทุ่มชุมแสงดังแกล้งตัด | เป็นคันฉัตรชูเชิดระเหิดระหงส์ | ||
ปริงประดู่ปรูเปรียงภุมเสียงดง | โลดทะอินทนินและอินจันทร์ | ||
เป็นพวงผลหล่นกลาดดูดาษดื่น | ระดะพื้นพสุธาพนาสัณฑ์ | ||
มะขามป้อมน้อมกิ่งลงชนกัน | เสียงสนั่นเฮฮาในป่าดอน | ||
พี่เดินพลางทางดูหมู่วิหค | บ้างโผนผกบินจับสลับสลอน | ||
นกกาลิงจับกิ่งกาหลงนอน | กระจาบจรจากรังไปพรั่งพรู | ||
อีลุ้มเหล่าเขาชะวากะทาขัน | เบ็ญจวรรณบินถลาเที่ยวหาคู่ | ||
นกนางนวลโนรีสีชมพู | น่าเอ็นดูแต่เจ้าสาริกาทอง | ||
. | |||
. | |||
. | |||
พระสุริยายอแสงแฝงคีรี | เสียงชะนีโหยหวนรัญจวนใจ | ||
เห็นเสือด้อมกวางเดินเนินพนัส | เล็มระบัดใบหญ้าที่อาศัย | ||
วิ่งคะนองลองเชิงระเริงใจ | เห็นคนไปวิ่งซอกตามตรอกเตริ่น | ||
หมีกระโดดหมูคุดเที่ยวมุดแฝง | แรดก็แรงกินหนามไม่ขามเขิน | ||
ชะมดสมันหันหาพากันเดิน | ละมั่งเมินมองเมียงฟังเสียงคน | ||
กะรอกกะแตแย้ตุ่นเที่ยวดุนดุด | บ้างคุ้ยขุดดินป่าพนาสณฑ์ | ||
พี่เที่ยวเดินดูสนุกทุกตำบล | ก็ต่างคนต่างสำราญบานฤทัย | ||
ครั้นเย็นค่ำย่ำมืดขมุกขมัว | พี่นึกกลัวกลับมาที่อาศัย | ||
พระจันทร์ส่องท้องป่าพนาลัย | จุดดอกไม้เพลิงวางตามตะเกียง | ||
ถวายพระแท่นอุทิศตั้งจิตต์หวัง | จุดพลุดังก้องลั่นสนั่นเสียง | ||
กระจายฟุ้งพลุ่งใหญ่ไฟพะเนียง | ขึ้นสูงเพียงปลายรังดังสะท้าน | ||
บ้างก็จุดอ้ายตื้อเสียงหวือหวูด | กรวดก็ฉูดพุ่งปราดอยู่ฉาดฉาน | ||
มีคนดูกรูเกรียวเที่ยวสำราญ | ประกอบการบูชาประสาจน | ||
บ้างก็เต้นเล่นรำทำสมโภช | ด้วยปราโมทย์มุ่งหมายฝ่ายกุศล | ||
บ้างโกนเกล้าเข้าบวชแล้วสวดมนต์ | บ้างก็บ่นภาวนาหลับตาไป | ||
บ้างก็ร้องแก้เพลงกันเครงครื้น | คนฟังยืนยัดเยียดเบียดไม่ไหว | ||
เขาเล่นเรื่องขุนแผนแสนอาลัย | เมื่อจรไปจับน้องวันทองนาง | ||
บ้างก็ร้องสักวาใส่หน้าทับ | ลูกคู่รับเรียบรัดไม่ขัดขวาง | ||
ข้างเสภากุมกรับขยับพลาง | แล้วครวญครางถึงพิมนิ่มอนงค์ | ||
ปี่พาทย์รับขับขานประสานเสียง | ก็กลมเกลี้ยงกล่อมจิตต์พิศวง | ||
คนมานั่งฟังพร้อมล้อมเป็นวง | บ้างขึ้นลงอัดแอเสียงแซ่เซ็ง | ||
จนดึกดื่นครื้นครั่นสนั่นมี | ชวนกันตีแต่ระฆังดังหง่างเหง่ง | ||
สัปรุษพร้อมกันเมื่อวันเพ็ญ | พระจันทร์เปล่งเปลื้องปลดหมดมลทิล | ||
ดารารายพรายพรั่งน้ำค้างย้อย | หวนละห้อยโหยจิตต์คิดถวิล | ||
หักใบไม้ลงนอนกับดอนดิน | เขาหลับสิ้นเสียงเงียบระเยียบเย็น | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ครั้นแสงทองรองเรืองอร่ามฟ้า | สกุณาร่ำร้องก้องประสาน | ||
ดาวก็เลื่อนเดือนก็ลับพระโยมนาน | ระวีวารส่องภพจบสากล | ||
ก็ชวนกันวันทาลาพระแท่น | พี่สุดแสนเสียดายฝ่ายกุศล | ||
ให้ครวญคร่ำร่ำรักพระทศพล | ก็ต่างคนต่างสะอื้นกลืนน้ำตา | ||
พี่ปลดเปลื้องเครื่องประดิษฐอุทิศถวาย | แล้วคลี่คลายคลุมพระแท่นที่แผ่นผา | ||
ก็ชื่นชมโสมนัสด้วยศรัทธา | แล้วก้มหน้าตรวจน้ำเป็นคำไทย | ||
ขอเดชะภูษาอานิสงส์ | เมื่อปลดปลงชีวิตให้คิดได้ | ||
อย่ามีมารมาผจญเข้าดลใจ | เทพไทจงเห็นเป็นพะยาน | ||
ขอให้ข้าได้ตรัสตัดกิเลส | จงข้ามเขตแว่นแคว้นแดนสงสาร | ||
ให้สำเร็จประโยชน์ในโพธิญาณ | เข้านิพพานพ้นทุกข์สนุกสบาย | ||
ขอให้สมปรารถนาอย่าช้านัก | สิ่งไรรักขอให้สมอารมณ์หมาย | ||
ให้พบพระทุกชาติอย่าคลาดคลาย | อย่าให้ตายกลางอายุปัจจุบัน | ||
ตั้งแต่ชาตินี้ไปจนได้ตรัส | อย่าข้องขัดทรัพย์สินทุกสิ่งสรรพ์ | ||
การสิ่งใดที่หยาบบาปทุกวัน | การสิ่งนั้นอย่าได้พบประสพเลย | ||
ครั้นตรวจน้ำสำเร็จเสร็จธุระ | พี่ลาพระแท่นทองนะน้องเอ๋ย | ||
ประดิษฐกลอนอ่อนใจด้วยไกลเชย | ไม่หมดเลยเรื่องรักนี้หนักจริง | ||
ถึงฟ้าดินอิสินธรศิงขรเขา | ไม่หนักเท่าทุกข์พี่นี้สักสิ่ง | ||
เมื่อยามนอนนอนคิดจิตต์ประวิง | อนาถนิ่งนึงถึงตะบึงไป | ||
ใช่จะแกล้งแต่งประกวดอวดฉลาด | ทำนิราศรักมิตรพิสมัย | ||
ด้วยจิตต์รักกาพย์กลอนอักษรไทย | จึงตั้งใจแต่งคำแต่ลำพัง | ||
หวังจะให้ลือเลื่องในเมืองหลวง | คนทั้งปวงอย่าว่าฉันบ้าหลัง | ||
ถ้าใครเป็นก็จะเห็นว่าจริงจัง | ประดุจดังน้ำจิตต์ฉันคิดกลอน | ||
ขอเดชะถ้อยคำที่ร่ำเรื่อง | ให้ลือเลื่องเลิศลักษณ์ในอักษร | ||
ขอเชิญไทเทวราชประสาทพร | ให้สุนทรลือทั่วธานีเอย ฯ | ||