โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระà¸à¸¸à¹‚บสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
ล (แก้ไขหมวดหมู่) |
(→ข้อมูลเบื้องต้น) |
||
แถว 1: | แถว 1: | ||
== ข้อมูลเบื้องต้น == | == ข้อมูลเบื้องต้น == | ||
+ | {{เรียงลำดับ|คลโงสุภาษิตประจำภาพนใพระอุบโสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม}} | ||
[[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]] | [[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:วรรรคดีรัตนโกสินทร์]] | [[หมวดหมู่:วรรรคดีรัตนโกสินทร์]] | ||
- | |||
[[หมวดหมู่:โคลงสี่สุภาพ]] | [[หมวดหมู่:โคลงสี่สุภาพ]] | ||
[[หมวดหมู่:ยังไม่สมบูรณ์]] | [[หมวดหมู่:ยังไม่สมบูรณ์]] | ||
- | + | == บทประพันธ์ == | |
'''อธิบาย''' | '''อธิบาย''' | ||
แถว 131: | แถว 131: | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
- | |||
- | |||
- | |||
- | |||
== เชิงอรรถ == | == เชิงอรรถ == |
การปรับปรุง เมื่อ 05:04, 20 ตุลาคม 2553
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
บทประพันธ์
อธิบาย
โคลงสุภาษิตไทยที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้จารึกแผ่นศิลาติดไว้ใต้รูปภาพซึ่งโปรดฯ ให้พระอาจารย์อินโข่ง วัดราชบูรณะเขียนไว้ที่ผนังกรอบประตูและหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สุภาษิตที่เอามาเขียนภาพและแต่งโคลงเหล่านี้ เป็นสุภาษิตไทยมีมาแต่โบราณ มักชอบอ้างและกล่าวเป็นอุปมากันในพื้นเมือง รู้กันมากบ้างน้อยบ้างแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้รวมสุภาษิตไทยเหล่านี้มาเขียนรูปภาพไว้ที่ท้องฉนวนที่ทรงบาตรในบริเวณพระอภิเนาวนิเวศน์แห่ง ๑ ก่อน ครั้นทรงปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงโปรดฯ ให้อาจารย์อินโข่งเขียนที่ผนังกรอบประตูหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่โคลงนั้นจะโปรดฯ ให้ใครแต่งหาทราบไม่.
ดำรง
คำอุทิศ
ขออำนาจคุณพระรัตนตรัย และผลอันเกิดแต่เชฏฐาปจายนกรรม จงประสิทธิมนุญผลแด่ท่านทั้งหลายทุกเมื่อเทอญ
สมรรัตน
วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๒
.......... .......... ..........
โคลงสุภาษิตประจำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศสดาราม
๑ หน้าเนื้อใจเสือ | |||
หน้า เนตรสมชื่อแม้ | มฤดี | ||
เนื้อ นุ่มนวลดูดี | แต่หน้า | ||
ใจ พาลเก่งโกงมี | จิตต์ดั่ง | ||
เสือ ดุดันกลั่นกล้า | โกรธร้ายอย่าสมาน ฯ | ||
๒ หน้าไหว้หลังหลอก | |||
น่า กลัวหัวหยิบย้อน | ยอกกล | ||
ไหว้ นบสบเศียนซน | ซ่อนเค้า | ||
หลัง ลับกลับยกตน | โตป่อง ปึ่งแฮ | ||
หลอก เล่ห์ลิงหลอกเจ้า | เลิดล้ำหลายขบวน ฯ | ||
๓ น้ำกลอกใบบัว | |||
คนกลมดั่งน้ำกลอก | ใบบัว | ||
ชำนิชำนาญตัว | กลั่นกลิ้ง | ||
ใครเสวนะพัว | พันผูก | ||
มันจักเพโททิ้ง | โทษร้ายถึงเรา ฯ | ||
๔ มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก | |||
พบพาลพูดพล่ำลิ้น | ลมไหว | ||
เพ้อพจน์สบไถล | หลอกล้น | ||
มะกอกสามตะกร้าไป | ปาเปล่า | ||
ปลูกสักผลพ้น | เล่ห์ลิ้นลมพาล ฯ | ||
๕ กะลาครอบหัว | |||
เสือกเศียรสัญจรเข้า | เคียงคน | ||
หัวร่อริกพลิกตน | พูดจ้อ | ||
กะลาครอบหัวซน | เสอกแทรก กลางเฮย | ||
โหลเลื่อมแลบลิ้นล้อ | เลิดล้ำลิงถุง ฯ | ||
๖ ไม้หลักปักมูลควาย | |||
จำคนใดไพล่พล้ำ | พลาดหลาย | ||
ไม้หลักปักมูลควาย | เปรียบอ้าง | ||
ผู้ใหญ่พูดกลับกลาย | โอนอ่อน เอนเอ | ||
คนมักฉินชังบ้าง | เกลียดสิ้นทวยซน ฯ | ||
๗ แปดเลี่ยมแปดคม | |||
ชี้ช่อหมอถ้อยต่อ | แหลหลือ | ||
ลักฉกชาวบกเรือ | ซุ่มส้อง | ||
แปดคมแปดเหลี่ยมเถือ | เอาทุก ด้านเฮย | ||
ชนชนิดเช่นนี้ต้อง | เก็บเข้าคุกขัง ฯ | ||
๘ เหยียบเรือสองแคม | |||
เหยียบเรือสองกราบเค้า | คนคด | ||
จุนโจทก์จำเลยลด | ต่ำแต้ม | ||
บอกกลอุบายปด | ปองแต่ ทรัพย์เฮย | ||
สองฝ่ายหลงแยบแย้ม | อย่างนี้บาปเหลือ ฯ | ||
๙ เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน | |||
แสนชั่วยั่วแหย่เย้า | ยุคน | ||
สอนนี้เสี้ยมโน่นชน | แส่ให้ | ||
สองฝ่ายไม่ทรบขวน | ขวายทเลาะ กันแฮ | ||
เฉกเสี้ยมเขาควายให้ | ขวิดไส้พุงพัง ฯ | ||
๑๐ เหล็กแข็งดัดได้ | |||
เหล็กแข็งตีมีดได้ | โดยปอง | ||
สัตว์บกสัตว์น้ำฟอง | ฝึกได้ | ||
คนซื่ออ่อนตามคลอง | คำปราชญ์ ง่ายนา | ||
พาลชาติแข็งขืนให้ | อ่อนสิ้นสุดแรง ฯ | ||
๑๑ ไม้คดดัดได้ | |||
ไม้คดควรดัดได้ | โดยปอง | ||
เหล็กนากชินเงินทอง | ทุบได้ | ||
เดียรฉานชาติลำพอง | เพียรดัด ซื่อเฮย | ||
คนคดขืนดัดได้ | ซื่อสิ้นสุดเพียร ฯ | ||
๑๒ แม่น้ำคดแจวพายตามได้ | |||
แมน้ำคดลดเลี้ยว | เล่ห์หลาย | ||
แจวถ่อเรือพายผาย | ผ่านได้ | ||
น้ำจิตต์คดขวนขวาย | ผันผ่อน ยากนา | ||
ปราชญ์สุดโปรดแค่นได้ | คดเคี้ยวคนพาล ฯ | ||
๑๓ ไม้โกงดัดได้ | |||
คนโกงโยงยิ่งไม้ | โกงกาง | ||
โกงกิ่งแก่นถากถาง | ดัดได้ | ||
โกงคนคิดคดขวาง | ดัดยาก | ||
เห็นว่าโกงอย่าใกล้ | หลบให้ไกลโกง ฯ | ||
๑๔ อย่าคบคนพาล | |||
คนบิดกิจเกียจคร้าน | การงาน | ||
ยังสั่งสอนจับการ | ถูกถ้า | ||
ชาติพาลบิดเกลียวสมาน | มองจับ ยากเฮย | ||
ทราบว่าบิดอย่าค้า | คบเข้าส่วนทุน ฯ | ||
๑๕ ข้างนอกสุกใสข้างในสกปรก | |||
นกยางข้างนอกล้ำ | เลิดขาว | ||
แต่เสพสัตว์เป็นคาว | ขื่นร้าย | ||
เฉกพาลนอกนั้นราว | กะกระดาษ | ||
ในจิตต์ลามกบ้าย | บาปเปื้อนเป็นหนอง ฯ | ||
๑๖ อย่าประมาทเสือหิว | |||
เสือหิวนอนนั่งแห้ง | เห็นโครง | ||
ดูถูกมันมักโขยง | คาบเคี้ยว | ||
พาลเฉลียวฉลาดโกง | กลเลศ เสมอนา | ||
อย่าประมาทมันเลี้ยว | แล่เนื้อเถือหนัง ฯ | ||
๑๗ ให้เหยื่อเสือผอม | |||
ให้ กรรมกรแซะไซ้ | แสวงหา | ||
เหยื่อ ศพสัตว์สรรมา | มากถ้วน | ||
เสือ เสพไป่อิ่มอา | หารเหตุ หิวแฮ | ||
ผอม ดั่งพาลผอมอ้วน | อาจคั้นคนขุน ฯ | ||
๑๘ สอนลิงขึ้นต้นไม้ | |||
ฝึกหัดพานรให้ | ปิ่นพฤกษ์ | ||
เห็นว่าช่วยการฦก | เล่ห์นี้ | ||
สอนโจรลอบลักฝึก | หัดเชี่ยว ชาญเฮย | ||
สอนเปล่าบ่อต้องกี้ | กอบเกื้อการงาน ฯ | ||
๑๙ สอนจรเข้ว่ายน้ำ | |||
สั่งสอนสัตว์จรเข้ | คงคา | ||
ให้แหวกวนเวียนวา | ริชหว้าย | ||
เปรียบปราชญ์สั่งสอนสา | นุศิษย์ พาลแฮ | ||
มันเก่งโกงยิ่งย้าย | อย่าเยื้องยักสอน ฯ | ||
๒๐ ชี้โพรงให้กะรอก | |||
ชี้ ช่องทางห่างต้น | พฤกษา | ||
โพรง ดั่งรูคูหา | ใช่น้อย | ||
ให้ สำนักเดียรฉาน์ | ชาติโฉด เขลาเฮย | ||
กะรอก ดั่งคนหมอถ้อย | โทษร้ายอย่าขยาย ฯ | ||
เชิงอรรถ
ที่มา
ต้นฉบับ - หนังสือโคลงสุภาษิตประจำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ โปรดให้พิมพ์เป็นมิตรพลีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๒
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร