เสภาเรื่à¸à¸‡à¸žà¸£à¸°à¸£à¸²à¸Šà¸žà¸‡à¸¨à¸²à¸§à¸”าร
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ล |
|||
แถว 109: | แถว 109: | ||
แล้วผินภักตร์ถามบรรดาพวกข้าเฝ้า ซึ่งลูกเราว่าเห็นเป็นไฉน | แล้วผินภักตร์ถามบรรดาพวกข้าเฝ้า ซึ่งลูกเราว่าเห็นเป็นไฉน | ||
จะได้ช่องคล่องจิตรเหมือนคิดไว้ ฤๅเห็นเป็นอย่างไรให้ว่ามา ฯ | จะได้ช่องคล่องจิตรเหมือนคิดไว้ ฤๅเห็นเป็นอย่างไรให้ว่ามา ฯ | ||
- | |||
- | |||
๏ ฝ่ายว่าข้าเฝ้าเหล่าพวกขอม ต่างเห็นพร้อมเพรียงกันยิ่งหรรษา | ๏ ฝ่ายว่าข้าเฝ้าเหล่าพวกขอม ต่างเห็นพร้อมเพรียงกันยิ่งหรรษา | ||
จึงกราบทูลตามมูลกิจจา ซึ่งตรัสมาต้องที่เห็นดีนัก | จึงกราบทูลตามมูลกิจจา ซึ่งตรัสมาต้องที่เห็นดีนัก |
การปรับปรุง เมื่อ 14:20, 25 กุมภาพันธ์ 2553
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตอนที่ ๑ เรื่องตีเมืองขอม
๏ กราบบังคมสมเด็จบดินทร์สูร | ||||
พระยศอย่างปางนารายณ์วายุกูล | มาเพิ่มภูลภิญโญในโลกา | |||
ทุกประเทศเขตรขอบมานอบน้อม | สพรั่งพร้อมเปนศุขทุกภาษา | |||
ขอเดชะพระคุณกรุณา | ด้วยเสภาถวายนิยายความ | |||
๏ จะกล่าวพงศาวดารกาลแต่หลัง | เมื่อแรกตั้งอยุธยาภาษาสยาม | |||
ท้าวอู่ทองท่านอุส่าห์พยายาม | ชีพ่อพราหมร์ปโรหิตคิดพร้อมกัน | |||
มีจดหมายลายลักษณ์ศักราช | เจ็ดร้อยสิบสองคาดเปนข้อขัน | |||
ปีขาลโทศกตกสำคัญ | เดือนห้าวันศุกร์ขึ้นหกค่ำควร | |||
เพลาสามนาฬิกากับเก้าบาท | ตั้งพิธีไสยสาตรพระอิศวร | |||
ได้สังขทักษิณาวัฏมงคลควร | ใต้ต้นหมันตามกระบวนแต่บุราณ | |||
เปนมหามงคลเลิศประเสริฐศักดิ์ | สร้างปราสาทสำนักไพฑูรย์สถาน | |||
สำเร็จแล้วจึงให้สร้างปรางปราการ | ชื่อไพชยนต์ทิพพิมานอลงการ์ | |||
แล้วสร้างพระที่นั่งใหญ่ไอสวรรย์ | สามปราสาทเสร็จพลันด้วยหรรษา | |||
ท้าวอู่ทองครองเสวยสวรรยา | พระชัณษาสามสิบเจ็ดเสร็จสมปอง | |||
ชีพ่อพราหมณ์ถวายนามตามที่ | พระรามาธิบดีไม่มีสอง | |||
นามบุรีศรีอยุธยาครอง | ให้ถูกต้องตามนามพระรามา ฯ | |||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | จุลจักรจอมทศทิศา | |||
บำรุงเมืองเรืองฤทธิ์อิศรา | ฝูงประชาชมชื่นทุกคืนวัน | |||
มีเมืองขึ้นสิบหกพระบุรี | คือเมืองตะนาวศรี นครสวรรค์ | |||
เมืองชวา มละกา พิจิตรนั้น | เมืองสวรรคโลก ศุโขทัย | |||
เมาะลำเลิงบุรี ศรีธรรมราช | ทั้งสงขลามาภิวาทไม่ขาดได้ | |||
พิษณุโลก กำแพงเพ็ชร เมืองพิชัย | ทวายใหญ่ เมาะตมะ จันทบูร | |||
แสนอุดมสมพงษ์วงศ์กระษัตริย์ | เจ้าจังหวัดราเชนทร์นเรนทร์สูร | |||
โภชนาสาลีบริบูรณ์ | ยิ่งเพิ่มพูนผาศุกทุกนิรันดร์ | |||
ทรงรำพึงถึงองค์พระเชษฐา | ร่วมครรภาอัคเรศนรังสรรค์ | |||
จำจะให้ไปบำรุงกรุงสุพรรณ | ด้วยท่านนั้นสิร่วมสุริวงศ์ | |||
อนึ่งราชกุมารชาญศักดา | องค์พระราเมศวรควรประสงค์ | |||
จำเริญไวยใหญ่ยิ่งประยูรวงศ์ | ควรดำรงเมืองลพบุรี | |||
ดำริห์พลางทางออกพระโรงรัตน์ | ตั้งกษัตริย์ขนานนามต้องตามที่ | |||
เฉลิมเดชเชษฐาธิบดี | ให้เปนที่พระบรมราชา ฯ | |||
๏ ครานั้น พระเจ้ากรุงสุพรรณ | พระราเมศวรนั้นก็หรรษา | |||
ต่างองค์ทรงคำนับรับบัญชา | แล้วลีลาไปสู่พระบูรี ฯ | |||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงเดช | มิ่งมงกุฎอยุธเยศจำเริญศรี | |||
สถิตย์แท่นแสนสำราญดาลฤดี | ด้วยบุรีขอมคดประทษร้าย | |||
จำจะให้ราชบุตรสุดสงสาร | ไปรอนราญไล่ริบให้ฉิบหาย | |||
เสด็จออกพระโรงคัลพรรณราย | แล้วเผยผายสิงหนาทประภาษมา | |||
เฮ้ย เสนีย์รีบร้อนจรโดยด่วน | บอกพระราเมศวรมาหน่อยหวา | |||
ตำรวจรับพระโองการคลานออกมา | ลงนาวารีบไปดังใจจง | |||
วันหนึ่งก็ถึงลพบุรี | อัญชลีทูลความตามประสงค์ | |||
ว่าพระทรงฤทธิ์บิตุรงค์ | เชิญเสด็จเสร็จลงไปกรุงไกร ฯ | |||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | ฟังอำมาตย์ทูลแจ้งแถลงไข | |||
ให้จัดเรือเร็วพลันในทันใด | รีบครรไลคืนหนึ่งถึงบุรี | |||
ประทับจอดทอดท่าน่าตำหนัก | ขึ้นเฝ้าองค์หริรักษรังษี | |||
น้อมประนมบังคมคัลอัญชลี | สถิตย์ที่พระโรงรัตน์ชัชวาลย์ ฯ | |||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรแลมาตรงน่าฉาน | |||
เห็นลูกยามาประนตบทมาลย์ | มีโองการทักทายภิปรายเปรย | |||
นี่แน่ เจ้าเยาวยอดปิโยรส | อ้ายขอมคดดูถูกนะลูกเอ๋ย | |||
พ่อสุดแสนแค้นใจไม่เสบย | แม้นละเลยจะกระเจิงละเลิงใจ | |||
เจ้าแก้วตายาจิตรของปิตุเรศ | ไปเหยียบเขตรดับเข็ญให้เย็นใส | |||
จักประหารผลาญชีวันให้บรรไลย | จะได้ฤๅฤๅมิได้ให้ว่ามา ฯ | |||
๏ ครานั้น พระโอรสยศยง | ศิโรราบกราบลงแล้วทูลว่า | |||
ซึ่งข้อขอมคบคิดจิตรพาลา | จะอาสามิให้เคืองเบื้องบทมาลย์ ฯ | |||
๏ ครานั้น พระภูเบนทร์นิเรนทร์สูร | ได้ฟังทูลตบพระหัตถ์อยู่ฉัดฉาน | |||
จึงเอื้อนอรรถตรัสมาไม่ช้านาน | จงจัดการรีบร้อนอย่านอนใจ | |||
พลของเราห้าวหาญชำนาญยุทธ | เจียนจะขุดกัมพุชาก็ว่าได้ | |||
อย่าถอยหลังรั้งรอไปพ่อไป | แม้นมีไชยพ่อจะภูลรางวัลครัน ฯ | |||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | เคารพรับอภิวาทขมีขมัน | |||
มาเกณฑ์พวกโยธาได้ห้าพัน | ล้วนฉกรรจ์แข็งข้อจะต่อตี | |||
ทั้งอาจองคงทนด้วยมนต์เวท | แสนวิเศษฤทธิไกรชาญไชยศรี | |||
ถืออาวุธครบมือล้วนฦๅดี | โพกแพรสีแสดเสียดประเจียดรัด | |||
บ้างก็ผูกลูกสะกดตะกรุดคาด | ล้วนองอาจโล่ห์เขนก็เจนจัด | |||
มาพร้อมพรั่งนั่งเบียดเยียดยัด | สารวัดตรวจตราพลากร ฯ | |||
๏ ครานั้น พระองค์ผู้ทรงยศ | เอกโอรสชาญไชยดังไกรสร | |||
เสด็จเข้าที่สรงอลงกรณ์ | แล้วสอดซ้อนเครื่องทรงณรงค์ครบ | |||
ครั้นสำเร็จเสร็จสรรพจับพระแสง | โดยตำแหน่งสงครามตามขนบ | |||
มาทูลลาบิตุรงค์ทรงพิภพ | ประนมนบคอยสดับรับโองการ ฯ | |||
๏ ครานั้น พระองค์ดำรงราชย์ | สถิตย์อาศน์รจนามุกดาหาร | |||
เห็นพระปิยะบุตรสุดสำราญ | จึงมีรศพจมานประภาษมา | |||
เจ้าดวงใจพ่อจะไปกัมพุชประเทศ | ระวังเหตุกลศึกฤกหนักหนา | |||
จะหยุดยั้งจงระวังพระกายา | ไม่ได้ท่าแล้วอย่าหาญเข้าราญรอน | |||
ชื่อว่าศึกแล้วอย่านึกประมาทหมิ่น | คอยประคิ่นจดจำเอาคำสอน | |||
อย่าให้อายขายหน้าประชากร | จงถาวรสวัสดีอย่ามีไภย | |||
รีบปรามปราบราบเตียนที่เสี้ยนหนาม | ดังองค์รามดับเข็ญให้เย็นใส | |||
จงมีโชคไชยะชนะไภย | ให้สมในมโนรถหมดทุกอัน | |||
ยื่นพระแสงสาตราอาญาสิทธิ์ | ใครคดคิดเข่นฆ่าให้อาสัญ | |||
จงอุดมสมศุขทุกนิรันดร์ | ซึ่งไภยันตร์สิ่งใดอย่าใกล้กราย ฯ | |||
๏ ครานั้น พระโอรสยศยง | กราบลงแทบบาทพระฤาสาย | |||
เคารพรับพรพลางแล้วย่างกราย | ผันผายมาทรงคชาธาร | |||
ได้มหาพิชัยฤกษ์ให้เลิกทัพ | โห่รับแซ่เสียงสำเนียงขาน | |||
ลั่นฆ้องหึ่งอึงออกนอกทวาร | เสียงสะท้านลั่นเลื่อนสเทื้อนสทึก | |||
ทหารธงโบกธงตรงไปน่า | เสียงช้างม้าเริงร้องอยู่กองกึก | |||
ทวยหาญขานโห่โอฬารฦก | อึกกะทึกข้ามทุ่งพ้นกรุงไกร | |||
ประทับร้อนนอนค้างกลางอารัญ | หลายวันตั้งพลับพลาหยุดอาไศรย | |||
เลี้ยวลัดตัดทุ่งเดินมุ่งไป | ถึงเวียงไชยกัมพูชาพอราตรี | |||
มิทันตั้งค่ายคูอยู่สำนัก | สั่งให้พักพลทหารชายไชยศรี | |||
ขึ้นประทับพลับพลาพนาลี | ให้โยธีล้อมรอบเปนขอบคัน ฯ | |||
๏ ครานั้น พระองค์ทรงนัครา | กัมพูชาธิราชรังสรรค์ | |||
รู้เรื่องราวข่าวศึกฮึกฉกรรจ์ | มาบุกบันตั้งประชิดติดภารา | |||
แสนพิโรธโกรธกริ้วกระทืบบาท | ดำรัสเรียกอุปราชโอรสา | |||
กับข้าเฝ้าเจ้าพระยาและพระยา | มาปฤกษาสงครามตามทำนอง | |||
จะผ่อนผันฉันใดไฉนเล่า | ภาราเราเกิดวุ่นจะขุ่นหมอง | |||
จะคิดอ่านการศึกเร่งตรึกตรอง | ใครเห็นช่องฉันใดให้ว่ามา ฯ | |||
๏ ครานั้น เจ้าพระยาอุปราช | เคารพรับอภิวาทแล้วทูลว่า | |||
ซึ่งทัพไทยเดินบกยกกันมา | ขออาสามิให้เคืองเบื้องบทมาลย์ | |||
จะหักโหมโจมจับสัปรยุทธ | ให้ม้วยมุดยับแยกถึงแตกฉาน | |||
ซึ่งทัพมาล้าเมื่อยเดินเหนื่อยนาน | ถึงสถานมิทันยั้งตั้งกระบวน | |||
จะหักหาญรานทำค่ำวันนี้ | เห็นจะมีไชยาสักห้าส่วน | |||
ไม่มีค่ายถ่ายเทคงเรรวน | ใคร่ครวญเห็นจะได้ดังใจปอง ฯ | |||
๏ ครานั้น พระเจ้ากรุงกัมพูชา | ได้ฟังว่าเปรมปริ่มค่อยยิ้มย่อง | |||
จึงเอื้อนอรรถตรัสความตามทำนอง | ดีแล้วลูกถูกต้องคลองฤไทย | |||
แล้วผินภักตร์ถามบรรดาพวกข้าเฝ้า | ซึ่งลูกเราว่าเห็นเป็นไฉน | |||
จะได้ช่องคล่องจิตรเหมือนคิดไว้ | ฤๅเห็นเป็นอย่างไรให้ว่ามา ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าข้าเฝ้าเหล่าพวกขอม | ต่างเห็นพร้อมเพรียงกันยิ่งหรรษา | |||
จึงกราบทูลตามมูลกิจจา | ซึ่งตรัสมาต้องที่เห็นดีนัก | |||
ด้วยทัพไทยไพร่นายยังไรเรี่ย | ทำลายเสียจู่โจมรีบโหมหัก | |||
อย่าให้ตั้งค่ายมั่นขยันนัก | แม้นหน่วงหนักนิ่งไว้ไม่สู้ดี ฯ | |||
๏ ครานั้น พระเจ้ากรุงกัมพุชประเทศ | สดับเหตุปรีดี์เปรมเกษมศรี | |||
ทรงสำรวลสรวญร่าแล้วพาที | เหวยเสนีตรวจตราพลากร | |||
แล้วตรัสสั่งอุปราชรชโอรส | จงคุมทศทวยหาญชาญสมร | |||
ไปโจมทัพจับไทยไพรีรอน | จงถาวรกูลสวัสดิ์กำจัดไภย ฯ | |||
๏ ครานั้น พระอุปราชราชบุตร์ | เกษมสุดยินดีจะมีไหน | |||
บังคมลามาเตรียมพลไกร | จำนวนไพร่โยธาหมื่นห้าพัน | |||
ถึงยามสองกองทัพไม่สับสน | ดำเนินพลออกทวารปราการกั้น | |||
ห้ามมิให้เฮฮาพูดจากัน | ถึงกองทัพฉับพลันในทันที | |||
ให้ยิงปืนครื้นครึกเสียงกึกก้อง | โห่ร้องเลื่อนลั่นสนั่นมี่ | |||
ดาบดั้งพรั่งพร้อมล้อมวารี | ต้อนตีทัพมาไม่รารอ ฯ | |||
๏ ครานั้น แม่กองสองทหาร | อลหม่านตกใจเอ๊ะใครหนอ | |||
ฉวยดาบโดดโลดไล่ไม่ย่อท้อ | ร้องรับพ่อพวกเราเอาให้ตาย | |||
หมู่ทหารราญรัญรับสัปรยุทธ | ปรายอาวุธหอกดาบกำซายสาย | |||
พวกขอมแขงแทงกระทั่งพุงทลาย | ไทยตาแตกตื่นเสียงครื้นครึก | |||
เขมรโดดโลดไล่พวกไทยล่า | มัวหลับตาเสียกระบวนเมื่อจวนดึก | |||
ขอมกระทำซ้ำเติมโห่เหิมฮึก | อึกกะทึกรบรับจนทัพไชย ฯ | |||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | ทรงไสยาศน์ในพลับพลาที่อาไศรย | |||
เสียงครั่นครื้นตื่นพลันในทันใด | ตกพระไทยผลันผลุนหมุนออกมา | |||
เห็นพลเมืองเนืองหนุนขนาบไร่ | กองทัพไทยย่อหย่อนอ่อนหนักหนา | |||
แสนพิโรธโดดกลับเข้าพลับพลา | ทรงสาตราวิ่งวางออกกลางทัพ | |||
ขับพหลพลไกรไล่ตระหลบ | ใครไม่รบหลกเลี่ยงจะเสียงสับ | |||
ทหารกลัวตัวตายเข้ารายรับ | ทั้งสองทัพแขงขันประจัญบาน | |||
ต่างกำแหงแรงเริงในเชิงยุทธ | ฤทธิรุทฟันฟาดกันฉาดฉาน | |||
พวกขอมอ่อนหย่อนยืนไม่ทนทาน | ไทยทหารฮึกโห่เปนโกลา ฯ | |||
๏ ครานั้น มหาอุปราช | กริ้วตวาดพลนิกายทั้งซ้ายขวา | |||
ต้อนกระตุ้นหนุนซ้ำกระหน่ำมา | พวกโยธาร้อนตัวกลัวความตาย | |||
ฟันแทงแย้งยุทธอาวุธสั้น | แขงขันต่อตีไม่หนีหาย | |||
ทั้งสองข้างต่างระทมบ้างล้มตาย | ไพร่นายกลิ้งกลาดอนาถใจ ฯ | |||
๏ ครานั้น พระราเมศวรราช | องอาจมิได้พรั่นประหวั่นไหว | |||
ทรงม้าร่ารับด้วยฉับไว | ต้อนไพรพลทหารเข้าราญรบ | |||
ทั้งสองข้างต่างแขงกำแหงฮึก | อึกกะทึกกรูเกรียวเลี้ยวตระหลบ | |||
ข้างทัพไทยไพร่น้อยต้องถอยทบ | พวกขอมรบบุกบันประจัญบาน | |||
จนเพลาฟ้าขาวเช้าตรู่ตรู่ | ยังเกรียวกรูฮึกโห่ด้วยโมหานธ์ | |||
ไพร่ยิ่งตายนายต้อนเข้ารอนราญ | อลหม่านจนสว่างขึ้นรางรอง ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าพระราเมศวรราช | องอจมิได้หลบสยบสยอง | |||
แต่ห็นพลน้อยกว่าท่าเปนรอง | จำจะต้องผ่อนพักไว้สักที | |||
ดำริห์พลางทางให้โบกธงทัพ | รอรับรบไปแต่ไม่หนี | |||
เขมรโห่โกลาตามราวี | พวกไทยตีถอยทนร่นมาพราง ฯ | |||
๏ ครานั้น อุปราชราชบุตร | เห็นสิ้นสุดแดนเมืองเครื่องขัดขวาง | |||
จะติดตามข้ามเขตรประเทศทาง | ก็เหินห่างเวียงชัยไม่ชอบกล | |||
ไม่มีกองลำเลียงเลี้ยงทหาร | ทางกันดารสารพัดจะขัดสน | |||
ก็เลิกทัพกลับจรไม่ร้อนรน | ประมาทตนมิได้คิดจะติดตาม ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระราเมศวรสุริยวงศ์ | ให้พักพวกจัตุรงค์กลางสนาม | |||
แล้วชุมนุมเสนาปฤกษาความ | แม้นวู่วามเล่าก็เห็นจะเปนรอง | |||
พลเรามาห้าพันถึงกลั่นกล้า | ก็น้อยกว่าสิบเอาหนึ่งไม่ถึงสอง | |||
จึรอราล่าให้ใจคนอง | คงจะต้องแก้เผ็ดไม่เข็ดมือ | |||
บอกขอพลคนเพิ่มเติมมาใหม่ | ไม่มีไชยแล้วพากันกลับอย่านับถือ | |||
ได้เรียนรู้สู้เขาเอาให้ฦๅ | แต่งหนังสือบอกพลันให้ทันที ฯ | |||
๏ ครานั้นข้าเฝ้าเหล่าทหาร | กราบกรานเห็นพร้อน้อมเกษี | |||
แต่งหนังสือปิดตราไม่ราวี | ให้เสนีสิบม้ารีบคลาไคล ฯ | |||
๏ ครานั้นพระราเมศวรราช | ให้เคลื่อนพยุหบาตรทั้งน้อยใหญ่ | |||
ประทับอยู่เขตแคว้นแดนกรุงไกร | ตั้งพระไทยท่าทัพอยุธยา ฯ | |||
๏ ครานั้นเสนีปรีชาชาญ | จำทูลสารทรงยศโอรสา | |||
แรมร้อนนอนในพนาวา | ถึงกรุงศรีอยุธยาด้วยฉับพลัน | |||
ก็เข้าในนักเรศเขตรสถาน | แจ้งสารเสนีขมีขมัน | |||
ถึงเวลามาเตรียมอยู่พร้อมกัน | คอยเฝ้าองค์ทรงธรรม์พระโรงไชย ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช | เนานิเวศน์ปรางทองอันผ่องใส | |||
แสนสำราญบานาชหฤไทย | อนงค์ในเคียงคู่เข้าอยู่งาน | |||
บ้างหมอบเมียงเคียงคอยชม้อยม้วน | เปนนวลนวลน่าชมสมสัณฐาน | |||
บ้างกล่อมขับรับเพลงบรเลงลาน | พระสำราญรื่นเริงบรรเทิงใจ | |||
พอสายแสงสุริยาภนุมาศ | ยุรยาตรออกพระโรงวินิจฉัย | |||
สถิตย์แท่นเนาวรัตน์ใต้ฉัตรไชย | เสนาในหมอบเฝ้าเปนเหล่ากัน | |||
เสียงประโคมโครมครึกพิฦกก้อง | ตามทำนองขันติยราชสังสรรค์ | |||
ดังจักรกฤษณ์ฤทธิรงค์ทรงสุบรรณ | ผันพระภักตร์ซักถามความบุรี ฯ | |||
๏ ครานั้นพระยามหาอำมาตย์ | อภิวาททูลความไปเต็มที่ | |||
ขอเดชะพระองค์ทรงธรณี | อันชีวีอยู่ใต้พระบาทา | |||
บัดนี้พระโอรสยศยง | ให้ขุนโจรจัตุรงค์แม่กองน่า | |||
กับหลวงศักดิเสนีศรีเสนา | นำสารมาเคารพอภิวันท์ | |||
พอทูลเสร็จคลี่สารอ่านถวาย | บรรยายโดยคดีขมีขมัน | |||
อ่านจบนบนิ้วบังคมคัล | ตรงหน้าบัลลังก์รัตน์ชัชวาลย์ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงวัง | ได้ทรงฟังอึ้งอั้นไม่บรรหาร | |||
คนึงนึกตรึกตราเปนช้านาน | มีโองการสิงหนาทประภาษมา | |||
เอออะไรลูกเราช่างเบาจิตร | แพ้ความคิดข้าศึกนึกขายหน้า | |||
ทำให้เสียท่วงทีในปรีชา | ดีแต่กล้าดื้อดื้อถือทนง | |||
จนเสียพระศรีสวัสดิ์น่าขัดแค้น | เข้าเขตแดนอรินไยมาใหลหลง | |||
ไม่ระวังเนื้อตัวมัวทนง | อ้ายขอมคงเหิมฮึกนึกดูเบา | |||
ครั้นจะนิ่งทิ้งไว้ให้กำเริบ | จะโตเติบใหญ่เยี่ยมแทบเทียมเขา | |||
เขม้นหมายหยิ่งเย่อลเมอเมา | โอรสเราหมิ่นประมาทถึงพลาดพลั้ง | |||
จำจะให้พระบรมราชา | ยกโยธาตามไปดังใจหวัง | |||
ทำลายล้างภาราเข้าผ่าพัง | คงได้ดังมโนรถหมดโพยไภย | |||
เหวยมหามนตรีขมีขมัน | ไปสุพรรณภาราอย่าช้าได้ | |||
เชิญเสด็จเชษฐามาไวไว | จึงรีบไปเร็วหวาอย่าช้าที ฯ | |||
ตอนที่ ๒ เรื่องศึกหงสาวดี
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | มหาจักรพรรดิราชานาถนาถ | ||
เฉลิมวงศ์มงกุฎอยุธยา | บำรุงราษฎร์สาสนาให้ถาวร | ||
พระปกเกล้าชาวบุรีเปนที่ชื่น | สำราษรื่นร่มโพธิ์สโมสร | ||
มีคชาพาหนะนรินทร | ห้ากุญชรเผือกผู้คู่บารมี | ||
กับเผือกพังทั้งสองล้วนผ่องแผ้ว | ชาติช้างแก้วเกิดสำหรับกับกรุงศรี | ||
เปนเจ็ดช้างต่างนามล้วนงามดี | อยู่โรงที่ริมปราสาทในราชวัง | ||
ตั้งพานทองรองหญ้าผลาผล | ผ้ารดกัมพลนั้นปกหลัง | ||
พเนกฟูกผูกม่านเพดานบัง | หมอควานทั้งพราหมณ์กล่อมอยู่พร้อมเพรียง | ||
บ่ายสามโมงลงน้ำนำกลองชนะ | ปิ๋งเปิงปะเปิงครื่มกระหึ่มเสียง | ||
เครื่องสูงสำหรับช้างสองข้างเคียง | พร้อมเพรียงเพราะพระบารมี | ||
อุดมทั้งโภไคยไอสูรย์ | เพิ่มภูลภิญโญดังโกสีย์ | ||
ทั้งเหนือใต้ไพร่ฟ้าประชาชี | ล้วนมั่งคั่งมั่งมีต่างปรีดา | ||
อาณาจักรนัคเรศประเทศราช | พึ่งพระบาทบุญฤทธิ์ทุกทิศา | ||
ทุกถิ่นฐานบ้านเมืองเลื่องฦๅชา | พระเจ้าช้างเผือกมหาจักรพรรดิ | ||
ฝ่ายเสนาข้าเฝ้าเหล่าทหาร | ต่างเริงร่านการศึกพร้อมฝึกหัด | ||
ยิงปืนทั้งช้างม้าฝึกสารพัด | สนามน่าจักรวรรดิหัดทุกวัน ฯ | ||
๏ จะกลับกล่าวถึงพระเจ้าเมืองหงษา | เปนปิ่นรามัญประเทศทุกเขตรขัณฑ์ | ||
พม่าทวายฝ่ายลาวเมื่อคราวนั้น | อภิวันท์หงษาพึ่งบารมี | ||
เธอทราบเรื่องเมืองไทยที่ใหญ่กว้าง | มีเจ็ดช้างเผือกอยู่บุรีศรี | ||
คิดจะใคร่ได้มาไว้ธานี | ให้มนตรีคิดอ่านแต่งสารตรา ฯ | ||
๏ ครั้นเสร็จสรรพพับผนิดปิดตราแล้ว | ใส่กล่องแก้วมรกฎตามยศถา | ||
ให้สมิงโยคราชมาตยา | คุมไพร่ห้าสิบตรงเข้าดงตาล | ||
ยี่สิบวันดั้นเดินตามแผนที่ | ถึงเจดีย์สามองค์ลงทางบ้านด่าน | ||
พบขุนพลพามาในป่าลาน | เข้าแจ้งเรื่องเมืองกาญจนบุรี ฯ | ||
๏ ฝ่ายผู้รั้งปลัดยกรบัตรแจ้ง | ให้ขุนแพ่งรีบพามากรุงศรี | ||
นำเข้าหาเจ้าพระยาจักรี | พร้อมอยู่ที่ศาลาว่าราชการ | ||
ให้มอญล่ามถามซักตระหนักแน่ | อ่านเขียนเปลี่ยนแปลพระราชสาร | ||
เปนคำไทยได้ระเบียบแล้วเทียบทาน | พนักงานนำเข้าคอยเฝ้าพลัน ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนัคเรศรังสรรค์ | ||
สถิตย์แท่นแม้นมหาเวชายันต์ | เสมอชั้นบัณฑุกัมพล์อัมรินทร์ | ||
สาวสุรางค์นางบำเรอเสนอบาท | บำรุงราชรู้เชิงบรรเทิงถวิล | ||
บ้างร้องรับขับขานประสานพิณ | บำเรอปิ่นปัถพีให้ปรีดา | ||
ครั้นสายแสงสุริกาญจน์พระผ่านเกล้า | เสด็จเข้าที่สรงทรงภูษา | ||
ประดับเครื่องเรืององค์อลงการ์ | ออกข้างน่าพนักงานไขม่านทอง | ||
เสด็จเหนือพระที่นั่งบัลลังก์อาศน์ | พร้อมมหาดเล็กฟังรับสั่งสนอง | ||
ประโคมดังสังข์แตรเสียงแซ่ซ้อง | มโหรทึกกึกก้องท้องพระโรง | ||
ฝ่ายข้าเฝ้าเหล่าขุนนางต่างตำแหน่ง | ก็ตกแต่งกายาล้วนอ่าโถง | ||
นุ่งสมปักชักกลีบจับจีบโจง | เข้าพระโรงบังคมก้มกราบกราน ฯ | ||
๏ เจ้าพระยาจักรีศรีสมุหะ | ขอเดชะทูลความตามราชสาร | ||
เบิกทูตรเข้าเฝ้าประนตบทมาลย์ | อาลักษณ์พนักงานอ่านสารตรา ฯ | ||
๏ ในลักษณพระราชสารสวัสดิ์ | จอมกระษัตริย์ซึ่งดำรงเมืองหงษา | ||
ทรงพระยศทศธรรม์กรุณา | ให้เย็นใจไพร่ฟ้าประชาชี | ||
มีเมืองน้อยร้อยเอ็ดเปนเขตรขอบ | มานบนอบน้อมประนตบทศรี | ||
กับกรุงเพทวาราวดี | เปนทางราชไมตรีได้มีมา | ||
ทราบว่าองค์ทรงยศมีคชเรศ | ล้วนเผือกผู้คู่พระเดชพระเชษฐา | ||
เสมอบุญจุลจักรทรงศักดา | จนฦๅชาปรากฎบทมาลย์ | ||
เมืองหงษาวดีที่ใหญ่กว้าง | ไม่มีช้างเผือกผู้คู่ถิ่นฐาน | ||
ขอพระองค์ทรงมหาปรีชาชาญ | โปรดประทานให้น้องสักสองช้าง | ||
จะฦๅนามงามภักตร์สูงศักดิ์แสง | สมประเทศเขตรแขวงที่กว้างขวาง | ||
ให้ร่วมแดนแผ่นดินร่วมถิ่นทาง | ขอพระองค์จงสร้างทางไมตรี | ||
แม้นทรงศักดิ์รักข้างช้างเผือกผู้ | ไม่ช่วยชูภักตร์น้องจะหมองศรี | ||
กรุงอยุธยากับหงษาวดี | จะขาดราชไมตรีซึ่งมีมา ฯ | ||
๏ พอจบสารกรานกราบพระทราบเรื่อง | ให้ขุ่นเคืองในพระไทยแต่ไม่ว่า | ||
ให้จ่ายเสบียงเลี้ยงดูพวกทูตา | แล้วตรองตรึกปฤกษาเสนาใน | ||
ซึ่งหงษามาขอช้างเผือกผู้ | จงคิดดูใครจะเห็นเปนไฉน | ||
จะแขงอ่อนผ่อนผันทำฉันใด | เร่งตรึกไตรใคร่ครวญให้ควรการ ฯ | ||
๏ ฝ่ายเสนาข้ารองลอองบาท | อยู่พร้อมพรั่งทั้งมหาดไทยทหาร | ||
ต่งปฤกษาว่าแต่ก่อนเคยรอนราญ | กับผู้ผ่านหงษาเจ้ารามัญ | ||
จับลูกเธอทั้งสองพี่น้องได้ | ก็คุมไว้ไม่ฆ่าให้อาสัญ | ||
เมื่อโปรดให้ไปขอพระหน่อนั้น | เจ้ารามัญคืนให้เปนไมตรี | ||
เดี๋ยวนี้เล่าเขาขอคชสาร | ควรประทานหงษาเปนราษี | ||
แม้นไม่ให้เห็นจะมารบราวี | ในธานีก็คงเกิดสงคราม ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระราเมศวรพระยาจักรี | พระสุนทรอยู่ที่เฝ้าทั้งสาม | ||
ต่างปฤกษาว่จะให้เห็นไม่งาม | จะลวนลามล่วงประมาทบาทยุคล | ||
จึงทูลว่าข้าพเจ้าทั้งสามนี้ | เห็นไม่สมควรที่ให้ช้างต้น | ||
ที่ไมตรีมีแต่ก่อนได้ผ่อนปรน | ให้ช้างดีศรีมงคลทวีปไป | ||
ถึงสองช้างข้างมอญพม่านั้น | จะขี่ขับสับฟันไม่หวั่นไหว | ||
จึงคืนให้ไว้กับเราก็เอาไว้ | เราได้ให้ได้มีไมตรีกัน | ||
ช้างเผือกผู้คู่บุญทูลกระหม่อม | มิควรยอมให้ไปจากไอสวรรย์ | ||
เหมือกลัวดีฝีมือพวกรามัญ | จะเสียชั้นเชิงมอญเพราะอ่อนตาม | ||
แม้นหงษามาตีบุรีเรา | ข้าพเจ้าพร้อมพรั่งกันทั้งสาม | ||
ขออาสาพระองค์ออกสงคราม | มิให้ลามล่วงมาถึงธานี ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินปิ่นพิภพ | หมายจะรบรับศึกไม่นึกหนี | ||
จึงตรัสสั่งทั้งสามว่าตามที | ให้เสนีที่ชำนาญแต่สารตรา | ||
เปนความตอบมอบสมิงโยคราช | บังคมลาฝ่าพระบาทนาถนาถา | ||
กับไพร่ห้าสิบถ้วนด่วนเดินมา | ถึงหงษาเข้าฝ้าเจ้าธานี | ||
กราบทูลความตามราชสารตอบ | แล้วนอบน้อมประนตบทศรี | ||
ฝ่ายเสนารามัญอัญชลี | แล้วก็คลี่ราชสารออกอ่านพลัน ฯ ... 11 | ||
เชิงอรรถ
อ้างอิง
หนังสือเรื่อง สามวัง โดย ประยุทธ สิทธิพันธ์ ไม่ระบุปีทีพิมพ์